แถบดาวเคราะห์น้อย (อังกฤษ: asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์
ดวงอาทิตย์ วงโคจรของดาวเคราะห์ | แถบดาวเคราะห์น้อย (การคัดเลือก) |
มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือมีขนาดลดหลั่นกันไปจนถึงเศษฝุ่น วัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยกระจายอยู่อย่างเบาบางจนกระทั่งยานอวกาศหลายลำสามารถเคลื่อนผ่านไปได้โดยไม่ชนกับอะไรเลย นอกจากนั้น การชนกันระหว่างดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ได้ทำให้เกิดวงศ์ดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบธาตุและวงโคจรใกล้เคียงกัน การแตกสลายทำให้เกิดเศษฝุ่นละเอียดซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของแสงในแนวจักรราศี ดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงในแถบดาวเคราะห์น้อยได้รับการจำแนกตามสเปกตรัม โดยหลักมี 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดคาร์บอน (C-type) ชนิดซิลิเกต (S-type) และชนิดโลหะ (M-type)
แถบดาวเคราะห์น้อยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเนบิวลาสุริยะในยุคเริ่มต้น ซึ่งเตรียมจะก่อตัวขึ้นเป็นดาวเคราะห์ แต่เนื่องจากระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีมีแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ยักษ์รบกวน ทำให้ชิ้นส่วนกำเนิดดาวเคราะห์มีพลังงานในการโคจรสูงเกินไปจนไม่สามารถรวมตัวกันขึ้นเป็นดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ยังเกิดการชนกันอย่างรุนแรง ซึ่งแทนที่ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะรวมเข้าด้วยกัน กลับยิ่งแตกกระจัดกระจาย ด้วยเหตุนี้มวลส่วนใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อยจึงมลายหายไปนับแต่ยุคเริ่มต้นของระบบสุริยะ บางส่วนอาจหลุดรอดเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในและพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์ชั้นใน วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยยังคงถูกรบกวนอยู่เสมอ บางครั้งวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของมันบังเอิญไปสอดคล้องกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ทำให้เกิดช่องว่างเคิร์กวูด
ประวัติการสังเกตการณ์
ในเชิงอรรถที่ไม่ระบุที่มาจากงานแปลของ เรื่อง Contemplation de la Nature เมื่อปี ค.ศ. 1766นักดาราศาสตร์ชื่อ โยฮัน ดานีเอล ทีทซีอุส ฟ็อน วิทเทินแบร์ค สังเกตเห็นรูปแบบการจัดวางตัวของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ถ้าเริ่มต้นอนุกรมตัวเลขที่เลข 0 แล้วเพิ่มเป็น 3, 6, 12, 24, 48, ฯลฯ โดยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกครั้ง บวกเลขแต่ละลำดับด้วย 4 และหารด้วย 10 จะได้ค่าประมาณของวงโคจรดาวเคราะห์ที่เรารู้จักแล้วในหน่วยดาราศาสตร์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1 AU มีค่าเท่ากับระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์) รูปแบบเช่นนี้เป็นที่รู้จักต่อมาในชื่อกฎของทีทซีอุส–โบเดอ ซึ่งสามารถทำนายแนวแกนรองของดาวเคราะห์หกดวงในเวลานั้น (คือดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์) และตัวเลขอีกหนึ่งชุดอยู่ใน "ช่องว่าง" ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ในเชิงอรรถนั้น ทีทซีอุสอธิบายว่า "พระผู้เป็นเจ้าจะทรงละช่องว่างไว้เช่นนั้นหรือ? หามิได้" ในปี ค.ศ. 1768 นักดาราศาสตร์ชื่อ โยฮัน เอเลิร์ท โบเดอ เขียนผลงานที่เกี่ยวเนื่องกับงานของทีทซีอุส ชื่อว่า Anleitung zur Kenntniss des gestirnten Himmels แต่เขาไม่ได้เอ่ยถึงทีทซีอุส ดังนั้นจึงทำให้หลายคนเอ่ยถึงงานชิ้นนี้ว่า "กฎของโบเดอ" เมื่อวิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบดาวยูเรนัสในปี ค.ศ. 1781 ตำแหน่งของดาวเคราะห์ก็เข้ากันกับกฎนี้แทบจะสมบูรณ์แบบ ซึ่งทำให้เหล่านักดาราศาสตร์สรุปว่าจะต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดีเป็นแน่
ปี ค.ศ. 1800 นักดาราศาสตร์ชื่อฟรันทซ์ ซาเวอร์ ฟ็อน ซัค เชิญเพื่อน ๆ ของเขา 24 คนเข้าร่วมในชมรมไม่เป็นทางการแห่งหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า "สมาคมลีเลียนทาล" มีเป้าหมายจะจัดระเบียบให้ระบบสุริยะ ต่อมากลุ่มนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "ฮิมเมิลส์โพลีทไซ" (Himmelspolizey) หรือ ตำรวจอวกาศ สมาชิกคนสำคัญได้แก่ เฮอร์เชล, เนวิล แมสคิลิน, ชาร์ล เมซีเย และ สมาชิกนักดาราศาสตร์แต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้ดูแลอาณาบริเวณ 15 องศาของจักรราศี เพื่อเสาะหาดาวเคราะห์ที่หายไป
ไม่กี่เดือนถัดมา นักดาราศาสตร์คนอื่นซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกตำรวจอวกาศ ได้ตรวจพบสิ่งที่พวกเขาค้นหา วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 จูเซปเป ปีอัซซี ประธานสมาคมดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปาแลร์โม ซิซิลี พบวัตถุเคลื่อนที่ชิ้นเล็ก ๆ ในบริเวณที่คาดคะเนโดยกฎของทีทซีอุส–โบเดอ เขาเรียกวัตถุชิ้นนั้นว่า ซีรีส ตามชื่อเทพเจ้าโรมันองค์หนึ่ง คือเทพีแห่งการเก็บเกี่ยวและผู้พิทักษ์เกาะซิซิลี ในตอนแรกปีอัซซีเชื่อว่าวัตถุนั้นคือดาวหาง แต่เนื่องจากมันไม่มีโคม่า มันจึงน่าจะเป็นดาวเคราะห์ สิบห้าเดือนต่อมา อ็อลเบิร์สค้นพบวัตถุชิ้นที่สองในบริเวณฟากฟ้าเดียวกัน คือ พัลลัส มันไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เพราะปรากฏเป็นเพียงจุดแสงไม่ว่าจะใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสักเท่าใด นอกจากการเคลื่อนที่ของมันแล้ว ก็แทบไม่แตกต่างไปจากดวงดาวทั่วไปเลย ต่อมาในปี ค.ศ. 1802 วิลเลียม เฮอร์เชล เสนอให้จัดประเภทวัตถุเหล่านี้เป็นอีกชนิดหนึ่ง ให้ชื่อว่า "ดาวเคราะห์น้อย" (asteroid) ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า asteroeide หมายถึง "เหมือนดวงดาว"
แต่ทั้งที่เฮอร์เชลเสนออย่างนั้น วัตถุเหล่านี้กลับถูกเรียกว่าเป็น ดาวเคราะห์ ต่อมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ราวปี ค.ศ. 1807 มีการศึกษาเพิ่มเติมพบวัตถุอีก 2 ชิ้นในย่านฟ้าเดียวกัน คือ และ เวสตา แต่สงครามของนโปเลียนทำให้การศึกษาค้นคว้าในช่วงแรกนี้ต้องยุติลง และไม่มีความคืบหน้าใด ๆ อีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1845 จึงมีการค้นพบวัตถุชิ้นที่ 5 คือ แอสเตรีย นับจากนั้นก็มีการค้นพบวัตถุชิ้นใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องในเวลาอันรวดเร็ว และความคิดที่จะเรียกสิ่งเหล่านี้เป็นดาวเคราะห์ก็เริ่มมีปัญหา ในที่สุดมันก็หลุดจากผังรายชื่อดาวเคราะห์ และข้อเสนอของวิลเลียม เฮอร์เชล ที่แนะให้เรียกมันว่า ดาวเคราะห์น้อย ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันต่อมา
การค้นพบดาวเนปจูนในปี ค.ศ. 1846 ทำให้กฎของทีทซีอุส–โบเดอ ด้อยค่าลงในสายตาของเหล่านักวิทยาศาสตร์ เพราะตำแหน่งของมันไม่ใกล้เคียงการคำนวณเลย นับถึงปัจจุบันไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ อธิบายกฎนั้นได้ และนักดาราศาสตร์มีความเห็นพ้องกันว่า กฎนั้นเป็นแค่เรื่องบังเอิญเท่านั้น
ล่วงถึงกลางปี ค.ศ. 1868 มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 100 ดวง และเมื่อมีการคิดค้นภาพถ่ายดาราศาสตร์โดย แมกซ์ วูล์ฟ ในปี ค.ศ. 1891 ก็ทำให้อัตราการค้นพบวัตถุอวกาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์น้อยถูกค้นพบ 1,000 ดวงในปี ค.ศ. 1921[] พบ 10,000 ดวงในปี ค.ศ. 1981 และ 100,000 ดวงในปี ค.ศ. 2000 ระบบการสำรวจดาวเคราะห์น้อยสมัยใหม่ใช้ค่าเฉลี่ยอัตโนมัติในการระบุตำแหน่งดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ ๆ ได้เป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
กำเนิดของดาวเคราะห์น้อย
การก่อตัว
ปี ค.ศ. 1802 ไฮน์ริช อ็อลเบิร์ส เสนอกับวิลเลียม เฮอร์เชล ว่า แถบใหญ่นี้น่าจะเกิดจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ระเบิดเป็นผุยผงด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป สมมุติฐานนี้ก็ตกไป เพราะไม่สมเหตุผลที่จะมีพลังงานจำนวนมากในการกระทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น รวมทั้งปริมาณมวลรวมของวัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยก็มีน้อยมาก เพียงเสี้ยวเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ของโลกเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีข้อมูลด้านเคมีที่แสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันมากจนเกินจะอธิบายได้ว่ามันเกิดมาจากดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยไม่ได้เกิดจากดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน แต่มันไม่เคยรวมตัวเป็นดาวเคราะห์ได้สำเร็จมากกว่า
ตามปกติแล้ว การกำเนิดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากกระบวนการที่คล้ายคลึงกับเนบิวลา กล่าวคือมีกลุ่มเมฆฝุ่นและก๊าซในห้วงอวกาศที่มารวมตัวกันเนื่องจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง ทำให้เกิดเป็นจานหมุนประกอบด้วยวัตถุสสารที่อัดแน่นจนกลายเป็นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ ในช่วงไม่กี่ล้านปีแรกของประวัติศาสตร์ระบบสุริยะ กระบวนการอัดแน่นนี้ทำให้ชิ้นส่วนฝุ่นหินเล็ก ๆ รวมตัวกันและเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีการรวมตัวกันจนได้ขนาดมวลมากพอ มันจะสามารถดึงดูดวัตถุอื่นเข้ามาด้วยแรงโน้มถ่วง เกิดเป็นดาวเคราะห์ในระยะเริ่มต้น แรงโน้มถ่วงที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการก่อตัวของดาวเคราะห์หินและกลุ่มก๊าซขนาดยักษ์
ดาวเคราะห์ระยะต้นที่อยู่ในย่านที่ปัจจุบันเป็นแถบดาวเคราะห์น้อย ถูกแรงโน้มถ่วงใกล้เคียงก่อกวนจนไม่สามารถรวมตัวกันได้ มันยังคงโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้อย่างที่เคยเป็น แต่แยกสลายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย วัตถุในย่านนั้นมีความเร็วเฉลี่ยสูงมากเกินไป และการกระจายตัวของดาวเคราะห์ระยะต้นทำให้มันมีแนวโน้มจะแตกออกมากกว่า และไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์วงโคจรทับซ้อน คือไปซ้อนกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ทำให้เกิดการรบกวนการเคลื่อนที่ของวัตถุบางชิ้นและดึงพวกมันข้ามไปยังอีกวงโคจรหนึ่ง ย่านอวกาศระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีมีวงโคจรทับซ้อนมากมาย บางคราวดาวพฤหัสบดีก็เคลื่อนเข้าใกล้วงโคจรด้านใน เกิดการกระตุ้นเหล่าวัตถุในย่านแถบหลักและทำให้พวกมันเพิ่มความเร็วสัมพัทธ์มากยิ่งขึ้น
ในยุคเริ่มต้นของระบบสุริยะ ดาวเคราะห์น้อยมีการหลอมละลายไปส่วนหนึ่ง ทำให้องค์ประกอบภายในมีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับมวล วัตถุยุคดั้งเดิมบางส่วนต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการระเบิดของภูเขาไฟ และทำให้เกิดมหาสมุทรหินหนืด อย่างไรก็ดี เนื่องจากรูปร่างของตัววัตถุเองที่ค่อนข้างเล็ก จึงเกิดช่วงเวลาในการหลอมละลายนี้ค่อนข้างสั้น (เมื่อเทียบกับวัตถุที่ใหญ่กว่ามาก เช่น ดาวเคราะห์) และสิ้นสุดลงในราว 4,500 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งนับเป็นเวลาหลายสิบล้านปีแรก ๆ ของยุคการก่อตัว ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 มีการศึกษาผลึกเพทายในอุกกาบาตที่แอนตาร์กติกที่เชื่อว่ามีกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย 4 เวสตา ผลการศึกษาชี้ว่ามันถือกำเนิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในช่วงสิบล้านปีแรกของการกำเนิดระบบสุริยะ ซึ่งดาวเคราะห์น้อยอื่น ๆ ในแถบหลักก็น่าจะมีกำเนิดในช่วงเดียวกัน
วิวัฒนาการ
ดาวเคราะห์น้อยไม่อาจถือเป็นตัวอย่างของระบบสุริยะในยุคดั้งเดิม เพราะมันได้ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากการก่อตัวในครั้งแรกแล้ว ซึ่งรวมถึงความร้อนภายใน (ในช่วงหลายสิบล้านปีแรก ๆ) การหลอมเหลวบนพื้นผิวเนื่องจากการชน การผุกร่อน (space weathering) จากการแผ่รังสี ตลอดจนการถูกชนจากสะเก็ดดาวขนาดเล็ก นักวิทยาศาสตร์บางส่วนอ้างว่าดาวเคราะห์น้อยเป็นเศษที่เหลือมาจากดาวเคราะห์ แต่นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่ามันเป็นวัตถุที่แตกต่างออกไป
เชื่อกันว่า แถบดาวเคราะห์น้อยในปัจจุบันเป็นแต่เพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของมวลที่เคยมีในแถบดั้งเดิม แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่าแถบดาวเคราะห์น้อยดั้งเดิมน่าจะมีมวลมากเทียบเท่ากับมวลของโลก ทั้งนี้เนื่องจากการถูกรบกวนแรงโน้มถ่วง ทำให้สสารส่วนใหญ่ดีดตัวออกไปจากแถบหลักในราวช่วงหนึ่งล้านปีของยุคการก่อตัว คงเหลือมวลอยู่ในแถบหลักเพียงประมาณ 0.1% เท่านั้น หลังจากยุคการก่อตัว ขนาดการกระจายของดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักก็ค่อนข้างคงที่ ไม่มีสัญญาณที่ชี้ว่ามีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของขนาดแถบดาวเคราะห์น้อยเลย
ตำแหน่งการสั่นพ้องวงโคจรกับดาวพฤหัสบดีที่ 4:1 และรัศมี 2.06 หน่วยดาราศาสตร์ อาจพิจารณาเป็นขอบเขตด้านในของแถบหลักได้ แรงรบกวนที่เกิดจากดาวพฤหัสบดีทำให้วัตถุเคลื่อนไหวไปสู่วงโคจรที่ไม่เสถียร วัตถุส่วนมากที่รวมตัวกันอยู่ด้านในของรัศมีของช่องว่างนี้จะถูกดาวอังคารเก็บกวาดไป (ระยะไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ที่ประมาณ 1.67 หน่วยดาราศาสตร์) หรือมิฉะนั้นก็ถูกดีดออกไปจากการรบกวนแรงโน้มถ่วงของดาวนับแต่ยุคแรกเริ่มของระบบสุริยะดาวเคราะห์น้อยฮังกาเรียเกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าระยะการสั่นพ้อง 4:1 แต่ก็ได้รับการปกป้องจากการก่อกวนนี้เนื่องจากมันมีความเอียงของวงโคจรค่อนข้างมาก
เมื่อแถบหลักเริ่มมีการก่อตัวขึ้นแล้ว อุณหภูมิที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 2.7 หน่วยดาราศาสตร์ทำให้เกิด "แนวหิมะ" ขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดควบแน่นของน้ำ ดาวเคราะห์ที่อยู่เกินไปกว่ารัศมีโคจรระดับนี้จะมีน้ำแข็งสะสมอยู่บนดาว ในปี ค.ศ. 2006 มีการประกาศการค้นพบดาวหางในแถบหลักจำนวนหนึ่งซึ่งอยู่ในระยะที่เกินกว่าแนวหิมะ ซึ่งเป็นดาวหางที่น่าจะเป็นต้นกำเนิดของน้ำในมหาสมุทรของโลก เพราะตามแบบจำลองบางแบบ โลกไม่ควรจะมีปริมาณน้ำมากพอในช่วงการก่อตัวของดาวเคราะห์ที่จะทำให้เกิดมหาสมุทรขึ้นได้ แหล่งน้ำจึงน่าจะมาจากภายนอกเช่นจากการพุ่งเข้าชนของดาวหางเหล่านี้
คุณลักษณะ
ลักษณะตามจริงของแถบดาวเคราะห์น้อยไม่ได้เป็นไปอย่างภาพยอดนิยมในจินตนาการ เพราะที่จริงแล้วแถบดาวเคราะห์น้อยแทบจะว่างเปล่า ดาวเคราะห์น้อยจะกระจายตัวกันออกไปในพื้นที่กว้าง จนแทบจะไม่สามารถไปถึงดาวเคราะห์น้อยดวงใดดวงหนึ่งได้ถ้าไม่ตั้งเป้าหมายอย่างระมัดระวัง ถึงกระนั้นก็มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยแล้วกว่าแสนดวง และเชื่อว่ามีจำนวนดาวเคราะห์น้อยอยู่ทั้งหมดเป็นจำนวนหลายล้านดวง ขึ้นกับว่าจะนับวัตถุที่มีขนาดเล็กเพียงไหน มีดาวเคราะห์น้อยมากกว่า 200 ดวงที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 กิโลเมตร ขณะที่การสำรวจด้วยคลื่นอินฟราเรดแสดงให้เห็นว่า มีดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักราว 700,000 ถึง 1.7 ล้านดวงที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 กิโลเมตรความส่องสว่างปรากฏของดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ที่เป็นที่รู้จักแล้ว มีค่าอยู่ระหว่าง 11-19 โดยมีค่ามัธยฐานที่ประมาณ 16
มวลรวมทั้งหมดของแถบดาวเคราะห์น้อยประมาณว่ามีค่าเท่ากับ 3.0×1021–3.6×1021 กิโลกรัม เทียบเท่ากับ 4% ของมวลของดวงจันทร์ของโลกเรา ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่สุดสี่ดวงคือ 1 ซีรีส, 4 เวสตา, 2 พัลลัส และ 10 ไฮเจีย มีมวลรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของมวลทั้งหมดของแถบหลัก เฉพาะ ซีรีส ดวงเดียว ก็มีมวลนับเป็น 1 ใน 3 ของมวลทั้งหมด ระยะห่างของวงโคจรของซีรีส ที่ 2.8 หน่วยดาราศาสตร์ ถือเป็นตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์กลางมวลของแถบดาวเคราะห์น้อยด้วย
องค์ประกอบ
ในแถบหลักประกอบด้วยดาวเคราะห์น้อยซึ่งจัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท C หรือกลุ่มคาร์บอน, ประเภท S หรือกลุ่มซิลิกา และประเภท M หรือกลุ่มโลหะ
ดาวเคราะห์น้อยประเภทคาร์บอน หรือประเภท C มีองค์ประกอบที่เป็นคาร์บอนในปริมาณสูง มักพบอยู่ในบริเวณรอบนอกของแถบหลัก และปรากฏอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มองเห็นเป็นสัดส่วนถึงกว่า 75% มีสีออกไปทางแดงมากกว่าดาวเคราะห์น้อยประเภทอื่น ๆ และมี (albedo) ต่ำมาก องค์ประกอบบนพื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงกับอุกกาบาตแบบ carbonaceous chondrite นอกจากนี้ ในทางเคมี สเปคตรัมของดาวเคราะห์น้อยประเภทนี้คล้ายคลึงกับองค์ประกอบในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะอย่างมาก เพียงแต่มีส่วนประกอบที่เบากว่า และไม่มีองค์ประกอบที่สามารถระเหยได้
ดาวเคราะห์น้อยประเภทซิลิกา หรือประเภท S มักพบมากบริเวณด้านในของแถบหลัก คือมีวงโคจรจากดวงอาทิตย์น้อยกว่า 2.5 หน่วยดาราศาสตร์ สเปกตรัมพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นซิลิเกตจำนวนมากรวมถึงโลหะบางชนิด แต่ไม่มีร่องรอยที่เด่นชัดขององค์ประกอบคาร์บอน แสดงว่าแร่ธาตุในตัวได้ผ่านการปรับเปลี่ยนไปจากองค์ประกอบดั้งเดิม ซึ่งอาจเกิดจากการหลอมละลายหรือการก่อตัวใหม่ ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงค่อนข้างสูง และมีจำนวนประมาณ 17% ของจำนวนประชากรดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด
ดาวเคราะห์น้อยประเภท M ซึ่งมีแร่ธาตุโลหะอยู่มากมีจำนวนประมาณ 10% ของจำนวนทั้งหมด ค่าสเปกตรัมแสดงให้เห็นองค์ประกอบของเหล็ก-นิกเกิล เชื่อว่าบางดวงก่อตัวมาจากแกนกลางโลหะของดาวเคราะห์น้อยดั้งเดิมที่มีการเปลี่ยนรูปเนื่องจากการชน อย่างไรก็ดีดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มซิลิกาบางส่วนก็อาจให้ผลสเปกตรัมแบบเดียวกันนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น ดาวเคราะห์น้อยประเภท M ขนาดใหญ่ 22 Kalliope ซึ่งไม่มีร่องรอยองค์ประกอบดั้งเดิมที่เป็นโลหะ ภายในแถบหลัก การกระจายตัวของดาวเคราะห์ประเภท M มีค่าสูงสุดที่กึ่งแกนเอกประมาณ 2.7 หน่วยดาราศาสตร์ ยังไม่ชัดเจนว่าดาวเคราะห์น้อยประเภท M ทั้งหมดมีองค์ประกอบอย่างเดียวกันหรือไม่ มันอาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันมากมายซึ่งไม่อาจจัดเข้าเป็นประเภท C และ S ได้เท่านั้นเอง
ยังมีความลึกลับประการหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยเกี่ยวกับร่องรอยของดาวเคราะห์น้อยประเภท V หรือพวกที่มีบะซอลต์ ตามทฤษฎีเกี่ยวกับการก่อตัวของดาวเคราะห์น้อยได้ทำนายว่าวัตถุขนาดใหญ่อย่างเวสตาหรือที่ใหญ่กว่านั้นจะมีโครงสร้างส่วนที่เป็นแผ่นและส่วนที่เป็นชั้นเนื้อ ซึ่งน่าจะมีองค์ประกอบหลักเป็นหินบะซอลต์ ทำให้จำนวนดาวเคราะห์น้อยมากกว่าครึ่งจะต้องมีองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นบะซอลต์หรือโอลิวีน อย่างไรก็ดี ผลการสังเกตการณ์แสดงว่า 99% ของสสารที่ควรจะเป็นบะซอลต์กลับหายไป จนกระทั่งปี ค.ศ. 2001 ก็ยังเชื่อว่าวัตถุโครงสร้างบะซอลต์ส่วนใหญ่ที่ค้นพบในแถบหลักน่าจะมีกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อยเวสตา (เหตุนี้มันจึงได้ชื่อประเภท V) อย่างไรก็ดี การค้นพบดาวเคราะห์น้อย ได้เผยให้เห็นความแตกต่างเล็กน้อยขององค์ประกอบทางเคมีของดาวเคราะห์น้อยบะซอลต์อื่น ๆ ที่ค้นพบจนถึงเวลานั้น บ่งชี้ว่ามันมีกำเนิดมาจากต่างแหล่งกัน สมมุติฐานนี้ได้รับการสนับสนุนจากการค้นพบดาวเคราะห์น้อยเพิ่มเติมในแถบด้านนอกอีก 2 ดวงในปี ค.ศ. 2007 คือ และ ซึ่งมีองค์ประกอบบะซอลต์ที่แตกต่างออกไปอีกเป็นการยืนยันว่ามันไม่ได้มีกำเนิดมาจากเวสตา นับถึงปัจจุบัน ดาวเคราะห์น้อย 2 ดวงนี้ถือเป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท V เพียง 2 ดวงเท่านั้นที่ค้นพบในแถบด้านนอก
อุณหภูมิในแถบดาวเคราะห์น้อยมีความแตกต่างกันมากตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ สำหรับอนุภาคฝุ่นในแถบ อุณหภูมิทั่วไปมีค่าระหว่าง 200 K (−73 °C) ที่ระยะ 2.2 หน่วยดาราศาสตร์ ลงไปจนถึง 165 K (−108 °C) ที่ 3.2 หน่วยดาราศาสตร์ ทว่าเมื่อคำนึงถึงการหมุนรอบตัวเอง อุณหภูมิพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยก็อาจเปลี่ยนแปลงไปมากในแต่ละด้านเนื่องจากรังสีของดวงอาทิตย์และพื้นหลังระหว่างดาว
วงโคจรและการหมุนตัว
ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ในแถบหลักมีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรต่ำกว่า 0.4 และมีความเอียงของวงโคจรน้อยกว่า 30° โดยที่มีค่าการกระจายตัวสูงสุดของความเยื้องศูนย์กลางประมาณ 0.07 และการกระจายของความเอียงวงโคจรไม่ถึง 4° ดังนั้น แม้ดาวเคราะห์น้อยโดยทั่วไปจะมีวงโคจรค่อนข้างเป็นวงกลมและอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับระนาบของดาวเคราะห์ แต่ก็อาจมีวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยบางดวงที่บิดเบี้ยวออกไปมาก หรือเคลื่อนตัวออกไปไกลจากระนาบนี้
ในบางครั้ง คำว่า "แถบหลัก" มักใช้อ้างถึงดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ที่อยู่บริเวณ "แกนกลาง" ของกลุ่ม ซึ่งมีจำนวนดาวเคราะห์น้อยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ในกลุ่มของแถบหลักนี้มีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรประมาณ 0.33 และความเอียงวงโคจรประมาณ 20° "แกนกลาง" ของกลุ่มดาวเคราะห์น้อยนี้เป็นศูนย์รวมของมวลมากกว่า 93.4% ของจำนวนดาวเคราะห์ขนาดเล็กในระบบสุริยะทั้งหมด
การวัดรอบการหมุนของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในแถบหลักแสดงให้เห็นว่ามีเขตจำกัดล่างอยู่ ไม่มีดาวเคราะห์น้อยดวงใดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 100 เมตรจะมีคาบการหมุนรอบตัวเองต่ำกว่า 2.2 ชั่วโมงเลย สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่มีคาบการหมุนเฉลี่ยเร็วกว่านี้ แรงเหวี่ยงที่พื้นผิวจะมีค่าสูงกว่าแรงโน้มถ่วง ทำให้วัตถุพื้นผิวที่ไม่ติดแน่นสามารถหลุดออกไปได้ อย่างไรก็ดี วัตถุที่เป็นของแข็งจะสามารถหมุนได้อย่างรวดเร็วกว่า จากเหตุผลนี้แสดงว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนมากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 เมตรมีองค์ประกอบค่อนข้างยืดหยุ่นอันเกิดจากการสะสมของเศษหินดินทราบที่ถมกันไว้จากการปะทะกันระหว่างดาวเคราะห์น้อย
ช่องว่างเคิร์กวูด
กึ่งแกนเอกของดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ๆ ใช้สำหรับอธิบายขนาดของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ค่าตัวเลขอธิบายถึงรอบการโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนั้น ในปี ค.ศ. 1866 ประกาศการค้นพบช่องว่างของวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ช่องว่างนี้อยู่ในบริเวณที่ระยะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นสัดส่วนจำนวนเต็มของรอบการโคจรของดาวพฤหัสบดี เคิร์กวูดเสนอแนวคิดว่านี่เป็นผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ทำให้ดาวเคราะห์น้อยถูกไล่ออกไปจากแนวโคจรของตน
เมื่อค่าเฉลี่ยรอบโคจรของดาวเคราะห์น้อยมีค่าเป็นสัดส่วนจำนวนเต็มของค่ารอบโคจรของดาวพฤหัสบดี จะเกิดการสั่นพ้องของวงโคจรที่รุนแรงพอจะผลักดาวเคราะห์น้อยในตำแหน่งนั้นออกไปยังระดับวงโคจรใหม่ ดาวเคราะห์น้อยที่บังเอิญอยู่ในตำแหน่งที่เป็นช่องว่างของวงโคจร (ไม่ว่าจะอยู่มาแต่เดิมจากผลของวงโคจรดาวพฤหัสบดี หรือจากผลของแรงผลักครั้งก่อน หรือจากการปะทะระหว่างดาว) ก็จะถูกแรงผลักอย่างแรงส่งไปยังตำแหน่งกึ่งแกนเอกใหม่ซึ่งอาจมากขึ้นหรือน้อยกว่าเดิมก็ได้
ช่องว่างเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่ว่างคงที่เมื่อเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เพราะวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยนั้นเป็นวงรี และดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากก็ยังเคลื่อนที่ข้ามไปมาผ่านช่วงรัศมีของช่องว่างเหล่านั้น ความหนาแน่นของดาวเคราะห์น้อยภายในขอบเขตของช่องว่างจึงอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากจนมีนัยสำคัญมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับอาณาบริเวณโดยรอบ
ช่องว่างหลักปรากฏอยู่ที่ตำแหน่ง 3:1, 5:2, 7:3, และ 2:1 ของค่าการสั่นพ้องวงโคจรกับดาวพฤหัสบดี หมายความว่า ดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ในช่องว่างเคิร์กวูด 3:1 จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ไป 3 รอบสำหรับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี 1 รอบ นอกจากนี้ อาจมีการสั่นพ้องอย่างอ่อน ๆ เกิดขึ้นที่ค่ากึ่งแกนเอกอื่น ๆ ซึ่งมีดาวเคราะห์น้อยอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวอย่างเบาบางก็เป็นได้ (ตัวอย่างเช่น การสั่นพ้องที่ตำแหน่ง 8:3 ของดาวเคราะห์น้อยที่มีค่ากึ่งแกนเอกเท่ากับ 2.71 หน่วยดาราศาสตร์ เป็นต้น)
ดาวเคราะห์น้อยโดยหลัก ๆ ทั้งหมดจะแบ่งออกได้เป็น 3 พื้นที่ใหญ่ ๆ โดยยึดถือเอาช่องว่างเคิร์กวูดที่โดดเด่นมาเป็นหลักในการจัดแบ่ง พื้นที่ที่หนึ่งอยู่ระหว่างช่องว่างเคิร์กวูดในบริเวณการสั่นพ้องที่ 4:1 (2.06 หน่วยดาราศาสตร์) จนถึงช่องว่างของการสั่นพ้องที่ 3:1 (2.5 หน่วยดาราศาสตร์) พื้นที่ที่สองอยู่ต่อจากรอยต่อของพื้นที่ที่หนึ่งไปจนถึงช่องว่างที่ตำแหน่ง 5:2 (2.82 หน่วยดาราศาสตร์) พื้นที่ที่สามอยู่ต่อเนื่องจากขอบนอกของพื้นที่ที่สองไปจนถึงช่องว่างที่ตำแหน่ง 2:1 (3.28 หน่วยดาราศาสตร์)
แถบดาวเคราะห์น้อยหลักยังอาจแบ่งออกเป็นแถบด้านในและแถบด้านนอก โดยที่แถบด้านในคือดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้กับดาวอังคารมากกว่าช่องว่างเคิร์กวูดที่ 3:1 (2.5 หน่วยดาราศาสตร์) ส่วนแถบด้านนอกคือดาวเคราะห์น้อยส่วนที่เหลือซึ่งอยู่ใกล้กับวงโคจรของดาวพฤหัสบดีมากกว่า (นักวิชาการบางคนแบ่งแถบด้านในกับแถบด้านนอกที่ช่องว่างเคิร์กวูด 2:1 (3.3 หน่วยดาราศาสตร์) ขณะที่บางคนก็แบ่งออกเป็นสามส่วนตามจำนวนช่องว่างเคิร์กวูด คือแถบใน แถบกลาง และแถบนอก)
การปะทะ
จำนวนประชากรดาวเคราะห์น้อยอันหนาแน่นในแถบหลักทำให้มีสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงสูงมาก การปะทะกันระหว่างดาวเคราะห์น้อยสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ (ตามมาตรเวลาในทางดาราศาสตร์) ประมาณว่าดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักที่มีขนาดรัศมีเฉลี่ยมากกว่า 10 กิโลเมตรอาจมีการปะทะกันหนึ่งครั้งในทุก ๆ 10 ล้านปี ผลจากการปะทะทำให้ดาวเคราะห์น้อยแตกออกเป็นชิ้นที่เล็กลงหลายชิ้น (เป็นที่มาของตระกูลดาวเคราะห์น้อย) ในทางกลับกัน การปะทะที่เกิดขึ้นด้วยความเร็วสัมพัทธ์ค่อนข้างต่ำอาจทำให้ดาวเคราะห์น้อยสองดวงรวมเข้าเป็นดวงเดียวก็ได้ กระบวนการปะทะกันเหล่านี้ดำเนินมาเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีและทำให้ประชากรดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักปัจจุบันแตกต่างไปจากประชากรในยุคแรก ๆ อย่างมาก
นอกเหนือจากตัวดาวเคราะห์น้อยเองแล้ว ในแถบหลักยังมีแถบฝุ่นจำนวนมากที่มีขนาดอนุภาคเพียงไม่กี่ร้อยไมโครเมตร เศษฝุ่นละเอียดเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการปะทะระหว่างดาวเคราะห์น้อย อีกส่วนหนึ่งจากการที่ดาวเคราะห์น้อยถูกอุกกาบาตขนาดเล็กพุ่งชน แรงดันจากการแผ่รังสีสุริยะทำให้เศษฝุ่นเหล่านี้ค่อย ๆ หมุนควงเข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นผลจาก
ฝุ่นละเอียดของดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ ประกอบกับสารที่ดาวหางปล่อยทิ้งออกมา เป็นต้นเหตุของการเกิดแสงจักรราศี แสงสว่างเรืองรองจาง ๆ นี้สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืนในตำแหน่งสุริยวิถีหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า อนุภาคที่ทำให้เกิดแสงจักรราศีที่มองเห็นได้มีขนาดรัศมีเฉลี่ยประมาณ 40 ไมโครเมตร อายุเฉลี่ยของอนุภาคเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 700,000 ปี ดังนั้นเพื่อจะให้มีแถบฝุ่นนี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีอนุภาคใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากแถบหลักอย่างต่อเนื่อง
ดาวตก
เศษดินและหินจากการปะทะกันของดาวเคราะห์น้อยอาจกลายมาเป็นสะเก็ดดาวที่หลุดเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลกได้ มากกว่า 99.8% ของสะเก็ดดาวจำนวนกว่า 30,000 ดวงที่พบบนโลกนับถึงปัจจุบันเชื่อว่ามีกำเนิดมาจากแถบดาวเคราะห์น้อย การศึกษาร่วมระหว่างสหรัฐกับสาธารณรัฐเช็กในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 ได้แสดงให้เห็นถึงการปะทะระหว่างวัตถุขนาดใหญ่กับดาวเคราะห์น้อย ซึ่งทำให้เกิดชิ้นส่วนมากมายขึ้นในระบบสุริยะชั้นใน เชื่อว่าเศษชิ้นส่วนเหล่านี้น่าจะเป็นต้นเหตุของบนดวงจันทร์ และแอ่งชิกชูลุบในประเทศเม็กซิโก อันเป็นซากที่หลงเหลืออยู่จากการปะทะของวัตถุขนาดใหญ่มากที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว
ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่
มีวัตถุขนาดใหญ่อยู่ 4 ชิ้นในแถบหลัก คือ ซีรีส เวสตา พัลลัส และไฮเจีย ซึ่งทำให้มันถูกแยกออกไปจากสถานะดาวเคราะห์ตามปกติ ทว่าการพิจารณาความเป็นดาวเคราะห์มีขอบเขตส่วนหนึ่งว่าด้วยสมดุลของน้ำบนดาวดวงนั้น และวัตถุทั้งสี่นี้ก็มีปริมาณน้ำอยู่อย่างก้ำกึ่ง ทั้งยังมีคุณลักษณะหลายอย่างที่สอดคล้องกับความเป็นดาวเคราะห์ แต่ก็ยังมีคุณสมบัติอื่นที่ใกล้เคียงก้อนหินดาวเคราะห์น้อยอยู่
ซีรีสเป็นวัตถุเพียงชิ้นเดียวในแถบหลักที่มีขนาดใหญ่พอจะสร้างแรงโน้มถ่วงของตัวเองขึ้นและทำให้มีลักษณะค่อนข้างกลม ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากคำนิยามดาวเคราะห์ของสหภาพดาราศาสตร์สากลเมื่อปี ค.ศ. 2006 ปัจจุบันจึงนับว่าซีรีสเป็นดาวเคราะห์แคระ ส่วนอีกสามดวงก็มีโอกาสจะได้รับการจัดสถานะใหม่เช่นกัน ซีรีสมีค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์ที่ประมาณ 3.32 ซึ่งสูงกว่าดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น ๆ มาก เป็นไปได้ว่าอาจมีพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็ง ซีรีสมีองค์ประกอบที่แบ่งแยกได้เช่นเดียวกับลักษณะของดาวเคราะห์ คือมีส่วนพื้นผิว ส่วนเปลือก และส่วนแกน เวสตาเองก็มีองค์ประกอบภายในที่แบ่งแยกได้เช่นเดียวกัน แม้ว่ามันจะอยู่ภายใน "แนวหิมะ" ของระบบสุริยะและไม่มีองค์ประกอบของน้ำ แต่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ สำหรับพัลลัสเป็นวัตถุที่ผิดปกติ มันหมุนรอบตัวเองในแนวตะแคงคล้ายกับดาวยูเรนัส ขั้วด้านหนึ่งชี้ไปยังดวงอาทิตย์และอีกด้านหนึ่งชี้ออกไปนอกระบบ องค์ประกอบของพัลลัสคล้ายคลึงกับของซีรีส คือมีคาร์บอนและซิลิกอนในปริมาณสูง ส่วนดวงสุดท้ายคือ ไฮเจีย เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน และอยู่ใกล้ระนาบสุริยะมากกว่าดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ดวงอื่น ๆ
ตระกูลและกลุ่มดาวเคราะห์น้อย
ปี ค.ศ. 1918 นักดาราศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ สังเกตพบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันมาก และได้จัดกลุ่มหรือตระกูลของดาวเคราะห์น้อยขึ้น
ดาวเคราะห์น้อยประมาณหนึ่งส่วนในสามส่วนของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดในแถบหลักจะเป็นสมาชิกของตระกูลดาวเคราะห์น้อยตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้มีลักษณะวงโคจรใกล้เคียงกัน เช่นค่ากึ่งแกนเอก ค่าความเบี้ยวศูนย์กลาง และค่าระนาบวงโคจร รวมถึงคุณสมบัติทางแสงที่คล้ายคลึงกัน สิ่งเหล่านี้แสดงว่าดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากวัตถุเดียวกันแล้วจึงแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากแผนภาพแสดงตำแหน่งวัตถุที่เป็นสมาชิกในแถบหลักแสดงให้เห็นความหนาแน่นของวัตถุในบางตำแหน่งซึ่งส่อถึงตระกูลดาวเคราะห์น้อย ประมาณได้ว่ามีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันเช่นนี้อยู่ราว 20-30 กลุ่มที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยตระกูลเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันน้อยลงมา เราสามารถแยกแยะตระกูลดาวเคราะห์น้อยได้จากวัตถุที่มีคุณสมบัติทางแสงตรงกัน ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่มีความสัมพันธ์น้อยลงมาจะเรียกว่า กลุ่มหรือกระจุกดาวเคราะห์น้อย
ตระกูลดาวเคราะห์น้อยที่โดดเด่นในแกนหลัก (เรียงตามค่ากึ่งแกนเอกที่เพิ่มขึ้น) ได้แก่ และ ตระกูลฟลอราเป็นหนึ่งในตระกูลที่ใหญ่ที่สุดโดยมีสมาชิกถึงกว่า 800 ดวง น่าจะเกิดการปะทะภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งล้านปีก่อน ดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้และน่าจะเป็นสมาชิกแท้จริง คือ เวสตา (ตรงข้ามกับกรณีของซีรีสที่น่าจะเป็นความเกี่ยวข้องโดยบังเอิญในตระกูล) เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยในตระกูลของเวสตาน่าจะเกิดจากการปะทะหรือเข้าชนเวสตานั่นเอง กลุ่ม ก็น่าจะมีกำเนิดมาจากเวสตาเนื่องจากการปะทะเช่นกัน
นอกจากนี้ยังพบว่าแถบฝุ่นขนาดใหญ่ 3 แถบในแถบดาวเคราะห์น้อยหลักที่มีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับตระกูลดาวเคราะห์น้อยอีออส โคโรนิส และเทมิส จึงเป็นไปได้ว่าแถบฝุ่นเหล่านั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มเหล่านี้ด้วย
ขอบของแถบหลัก
ตลอดแนวริมขอบด้านในของแถบดาวเคราะห์น้อย (ในระยะตั้งแต่ 1.78 ถึง 2.0 หน่วยดาราศาสตร์ โดยมีค่ากึ่งแกนเอกเฉลี่ยที่ 1.9 หน่วยดาราศาสตร์) เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กในตระกูลฮังการี ซึ่งได้ชื่อมาจากสมาชิกหลักของกลุ่มคือดาวเคราะห์น้อย 434 ฮังกาเรีย ดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มนี้ได้รับการตั้งชื่อแล้วอย่างน้อย 52 ดวง โดยแยกตัวออกมาจากแถบหลักด้วยช่องว่างเคิร์กวูด 4:1 และมีความเอียงของวงโคจรค่อนข้างมาก สมาชิกบางส่วนในกลุ่มอยู่ในจำนวนดาวเคราะห์น้อยที่ตัดวงโคจรของดาวอังคารด้วย จึงถูกแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวอังคารทำให้จำนวนสมาชิกในกลุ่มนี้ลดน้อยลง
กลุ่มที่มีความเอียงวงโคจรค่อนข้างสูงอีกกลุ่มหนึ่งบนแถบด้านในของแถบหลัก คือ (Phocaea) ดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มนี้มีพื้นฐานเป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท S ขณะที่ดาวเคราะห์น้อยเพื่อนบ้านอย่างตระกูลฮังกาเรียมี อยู่ด้วย กลุ่มของดาวเคราะห์น้อยตระกูลโฟไคยามีวงโคจรอยู่ระหว่าง 2.25 ถึง 2.5 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์
สำหรับตระกูลดาวเคราะห์น้อยที่แถบด้านนอกของแถบหลัก ได้แก่ (Cybele) ซึ่งมีวงโคจรระหว่าง 3.3 ถึง 3.5 หน่วยดาราศาสตร์ มีความสั่นพ้องของวงโคจร 7:4 กับดาวพฤหัสบดี (Hilda) มีวงโคจรระหว่าง 3.5 ถึง 4.2 หน่วยดาราศาสตร์ โดยลักษณะของวงโคจรค่อนข้างกลม และมีความสั่นพ้องวงโคจร 3:2 กับดาวพฤหัสบดี นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์น้อยอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ไกลเกินกว่า 4.2 หน่วยดาราศาสตร์ไปจนกระทั่งถึงวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ในบริเวณนี้จะสามารถพบดาวเคราะห์น้อยตระกูลทรอย ซึ่งจำนวนมากมายเกือบเท่ากับดาวเคราะห์น้อยที่มีอยู่ในแถบหลักทีเดียว
ตระกูลใหม่
มีตระกูลดาวเคราะห์น้อยบางส่วนที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนัก ตามความหมายทางดาราศาสตร์ เช่น เพิ่งเกิดขึ้นประมาณ 5.7 ล้านปีก่อนจากการปะทะกับดาวเคราะห์น้อยดั้งเดิมขนาดรัศมี 16 กิโลเมตร ดาวเคราะห์น้อยเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 8.3 ล้านปีก่อน โดยมีหลักฐานรวมถึงฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ที่เก็บได้จากตะกอนในมหาสมุทร
ย้อนหลังไปไกลกว่านั้น ดูจะก่อตัวขึ้นประมาณ 450,000 ปีก่อนจากการปะทะกับแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ระยะเวลานี้ประเมินจากความน่าจะเป็นที่สมาชิกในกระจุกมีวงโคจรอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากยิ่งกว่าหลักฐานทางกายภาพอื่น ๆ อย่างไรก็ดี กระจุกดาวเคราะห์น้อยนี้อาจเป็นแหล่งกำเนิดของฝุ่นแสงจักรราศีก็เป็นได้ แต่กระจุกดาวเคราะห์น้อยอื่นที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน เช่น (Iannini) (ประมาณ 1-5 ล้านปีก่อน) ก็อาจเป็นแหล่งที่มาเพิ่มเติมของบรรดาฝุ่นดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ก็ได้
การสำรวจ
ยานสำรวจอวกาศลำแรกที่เดินทางผ่านแถบดาวเคราะห์น้อยคือ ยานไพโอเนียร์ 10 ซึ่งเข้าสู่ย่านนี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 ในครั้งนั้นมีความวิตกกังวลกันอยู่ว่ายานจะถูกวัตถุในแถบหลักชนหรือทำให้เกิดความเสียหาย แต่ยานสำรวจอวกาศก็สามารถเดินทางผ่านแถบดาวเคราะห์น้อยไปได้อย่างปลอดภัย หลังจากนั้นมียานเดินทางผ่านอีก 9 ลำโดยไม่มีอุบัติเหตุใด ๆ เลย ยานไพโอเนียร์ 11 วอยเอจเจอร์ 2 และ เดินทางผ่านแถบหลักโดยไม่ได้ถ่ายภาพ ยานกาลิเลโอถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อย ในปี ค.ศ. 1991 และภาพ 243 ไอดา ในปี ค.ศ. 1993 ถ่ายภาพ 253 แมธิลด์เมื่อ ค.ศ. 1997 ถ่ายภาพ ในปี ค.ศ. 2000 ถ่ายภาพ 5535 แอนน์แฟรงค์ ในปี ค.ศ. 2002 ยานนิวฮอไรซันส์ถ่ายภาพ ในปี ค.ศ. 2006 และ ถ่ายภาพ ในปี ค.ศ. 2008 ความหนาแน่นของดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักนั้นต่ำมาก จนโอกาสที่ยานสำรวจจะชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อยดวงใดดวงหนึ่งน้อยถึงหนึ่งในพันล้านทีเดียว
ภาพถ่ายของดาวเคราะห์น้อยที่ถ่ายจากยานอวกาศนับจนถึงปัจจุบันล้วนเป็นการถือโอกาสเก็บภาพระหว่างที่ยานเดินทางผ่านโดยมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายตามภารกิจของแต่ละยาน มีเพียงยานเนียร์และยาน ที่มีเป้าหมายในการศึกษาระยะเวลาวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยรวมถึงข้อมูลพื้นผิว ซึ่งเป็นการศึกษาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกเท่านั้น ส่วนยานอวกาศดอว์น ได้รับมอบหมายพิเศษให้สำรวจดาวเคราะห์น้อยเวสตาและซีรีสในแถบหลัก ถ้ายานยังคงสามารถทำงานได้หลังการสำรวจดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ทั้งสองแล้ว ก็จะได้รับภารกิจสำรวจต่อเนื่องออกไปอีก
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Krasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002). "Hidden Mass in the Asteroid Belt". Icarus 158 (1): 98–105. doi:10.1006/icar.2002.6837.
- Pitjeva, E. V. (2005). "High-Precision Ephemerides of Planets—EPM and Determination of Some Astronomical Constants" (PDF) 2008-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Solar System Research 39 (3): 176. doi:10.1007/s11208-005-0033-2.
- For recent estimates of the masses of Ceres, 4 Vesta, 2 Pallas and 10 Hygiea, see the references in the infoboxes of their respective articles.
- Yeomans, Donald K. (July 13, 2006). JPL Small-Body Database Browser. NASA JPL. Retrieved on 2007-04-25.
- J. Hilton (2001). When Did the Asteroids Become Minor Planets? 2006-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. US Nava Observatory.
- Dawn: A Journey to the Beginning of the Solar System เก็บถาวร 2012-05-24 ที่ . Space Physics Center: UCLA (2005).
- Michael Hoskin. BODE'S LAW AND THE DISCOVERY OF CERES. Churchill College, Cambridge.
- "Call the police! The story behind the discovery of the asteroids" . Astronomy Now (June 2007): 60–61.
- Prof. Richard Pogge (2006). Introduction to Solar System Astronomy: Lecture 45: Is Pluto a Planet?[]. An Introduction to Solar System Astronomy. Ohio State University.
- etymonline: asteroid
- DeForest, Jessica (2000). Greek and Latin Roots. Michigan State University.
- Staff (2002). Astronomical Serendipity. NASA JPL.
- Is it a coincidence that most of the planets fall within the Titius-Bode law's boundaries?. astronomy.com.
- Hughes, David W. (2007). A Brief History of Asteroid Spotting 2011-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. BBC.
- Asteroid Discovery From 1980 - 2010
- MPC Archive Statistics
- A Brief History of Asteroid Spotting 2011-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Open2.net.
- Masetti, M.; Mukai, K. (December 1, 2005). Origin of the Asteroid Belt. NASA Goddard Spaceflight Center.
- Watanabe, Susan (July 20, 2001). Mysteries of the Solar Nebula 2012-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. NASA.
- Petit, J.-M.; Morbidelli, A.; Chambers, J. (2001). "The Primordial Excitation and Clearing of the Asteroid Belt" 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF). Icarus 153: 338-347.
- Edgar, R.; Artymowicz, P. (2004). "Pumping of a Planetesimal Disc by a Rapidly Migrating Planet" 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF). Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 354 (3): 769–772.
- Scott, E. R. D. (March 13–17, 2006). "Constraints on Jupiter's Age and Formation Mechanism and the Nebula Lifetime from Chondrites and Asteroids". Proceedings 37th Annual Lunar and Planetary Science Conference, League City, Texas: Lunar and Planetary Society.
- Taylor, G. J.; Keil, K.; McCoy, T.; Haack, H.; Scott, E. R. D. (1993). "Asteroid differentiation - Pyroclastic volcanism to magma oceans". Meteoritics 28 (1): 34-52.
- Karen Kelly (2007). "U of T researchers discover clues to early solar system". University of Toronto.
- Clark, B. E.; Hapke, B.; Pieters, C.; Britt, D. (2002). "Asteroid Space Weathering and Regolith Evolution". University of Arizona. Michael J. Gaffey (1996). "The Spectral and Physical Properties of Metal in Meteorite Assemblages: Implications for Asteroid Surface Materials". Keil K. (2000). "Thermal alteration of asteroids: evidence from meteorites". Planetary and Space Science. Baragiola, R. A.; Duke, C. A.; Loeffler, M.; McFadden, L. A.; Sheffield, J. (2003). "Impact of ions and micrometeorites on mineral surfaces: Reflectance changes and production of atmospheric species in airless solar system bodies".
- "From Dust to Planetesimals: Workshop at Ringberg Castle Germany" 2012-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2006).
- A. Kracher (2005). "Asteroid 433 Eros and partially differentiated planetesimals: bulk depletion versus surface depletion of sulfur". Ames Laboratory.
- Stiles, Lori (September 15, 2005). "Asteroids Caused the Early Inner Solar System Cataclysm" 2012-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, University of Arizona News.
- Alfvén, H.; Arrhenius, G. (1976). "The Small Bodies". SP-345 Evolution of the Solar System. NASA. สืบค้นเมื่อ 2007-04-12.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - The Hungaria group of minor planets
- Lecar, M.; Podolak, M.; Sasselov, D.; Chiang, E. (2006). "Infrared cirrus - New components of the extended infrared emission". The Astrophysical Journal. 640: 1115–1118. doi:10.1086/500287. สืบค้นเมื่อ 2007-04-11.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list ()[] - Berardelli, Phil (March 23, 2006). "Main-Belt Comets May Have Been Source Of Earths Water". Space Daily. สืบค้นเมื่อ 2007-10-27.
- Lakdawalla, Emily (April 28, 2006). . The Planetary Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-01. สืบค้นเมื่อ 2007-04-20.
- Yeomans, Donald K. (April 26, 2007). "JPL Small-Body Database Search Engine". NASA JPL. — การค้นหาดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง >100.
- Tedesco, E. F.; Desert, F.-X. (2002). "The Infrared Space Observatory Deep Asteroid Search"[]. The Astronomical Journal 123: 2070–2082. doi:10.1086/339482.
- Williams, Gareth (April 3, 2007). "Distribution of the Minor Planets". Minor Planets Center.
- McBride, N.; Hughes, D. W. (1990). "The spatial density of asteroids and its variation with asteroidal mass". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 244: 513-520.
- Wiegert, P.; Balam, D.; Moss, A.; Veillet, C.; Connors, M.; Shelton, I. (2007). "Evidence for a Color Dependence in the Size Distribution of Main-Belt Asteroids"[]. The Astronomical Journal 133: 1609–1614. doi:10.1086/512128.
- Clark, B. E. (1996). "New News and the Competing Views of Asteroid Belt Geology". Lunar and Planetary Science. 27: 225–226. สืบค้นเมื่อ 2007-03-27.
- Margot, J. L.; Brown, M. E. (2003). "A Low-Density M-type Asteroid in the Main Belt". Science. 300 (5627): 1939–1942. doi:10.1126/science.1085844. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Lang, Kenneth R. (2003). "Asteroids and meteorites". NASA's Cosmos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02.
- Mueller, M.; Harris, A. W.; Delbo, M.; MIRSI Team (2005). "21 Lutetia and other M-types: Their sizes, albedos, and thermal properties from new IRTF measurements". Bulletin of the American Astronomical Society. 37: 627. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Duffard, R.; Roig, F. (2007). "Two new basaltic asteroids in the Outer Main Belt". สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Ker Than (2007). "Strange Asteroids Baffle Scientists". space.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- Low, F. J.; และคณะ (1984). "Infrared cirrus - New components of the extended infrared emission". Astrophysical Journal, Part 2 - Letters to the Editor. 278: L19–L22. doi:10.1086/184213. สืบค้นเมื่อ 2007-04-11.
- ค่านี้ได้มาจากการคำนวณโดยประมาณของวัตถุท้องฟ้าทั้งหมด จากจำนวน 120437 ชิ้นของดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่จัดหมายเลขแล้ว จากฐานข้อมูลวงโคจร Minor Planet Center, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2006
- Rossi, Alessandro (May 20, 2004). "The mysteries of the asteroid rotation day". The Spaceguard Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-27. สืบค้นเมื่อ 2007-04-09.
- เจ. โดนัลด์ เฟอร์นี (1999). "The American Kepler" 2016-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Americal Scientist 87 (5): 398. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-02-04.
- Liou, Jer-Chyi; Malhotra, Renu (1997). "Depletion of the Outer Asteroid Belt". Science 275 (5298): 375–377. doi:10.1126/science.275.5298.375. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-08-01.
- เอส. เฟอร์ราซ-เมลโล. (14–18 มิถุนายน 1993). "Kirkwood Gaps and Resonant Groups". ตีพิมพ์ในโอกาสครบรอบ 160 ปีของสหภาพดาราศาสตร์สากล: 175-188, Belgirate, Italy: Kluwer Academic Publishers. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-03-28.
- โจเซฟ คลาคกา (1992). "Mass distribution in the asteroid belt". Earth, Moon, and Planets 56 (1): 47–52. doi:10.1007/BF00054599. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-12.
- ดี. อี. แบคแมน (6 มีนาคม 1998). "Fluctuations in the General Zodiacal Cloud Density" 2013-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Backman Report. NASA Ames Research Center. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-04.
- วิลเลียม ที. รีช (1992). "Zodiacal emission. III - Dust near the asteroid belt". Astrophysical Journal 392 (1): 289–299. doi:10.1086/171428. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-04.
- Kingsley, Danny (May 1, 2003). "Mysterious meteorite dust mismatch solved". ABC Science. สืบค้นเมื่อ 2007-04-04.
- (PDF). NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-01-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.
- "Breakup event in the main asteroid belt likely caused dinosaur extinction 65 million years ago". Southwest Research Institute. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- "The Final IAU Resolution on the Definition of "Planet" Ready for Voting" 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. IAU (24 สิงหาคม 2006). เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-03-02.
- "IAU draft resolution" 2008-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2006). เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-20.
- "IAU 2006 General Assembly: Result of the IAU Resolution votes" 2006-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-03-29.
- Parker, J. W.; Stern, S. A.; Thomas, P. C.; Festou, M. C.; Merline, W. J.; Young, E. F.; Binzel, R. P.; Lebofsky, L. A. (2002). "Analysis of the First Disk-resolved Images of Ceres from Ultraviolet Observations with the Hubble Space Telescope"[]. The Astronomical Journal 123 (1): 549–557. doi:10.1086/338093. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-09-06.
- "Asteroid 1 Ceres". The Planetary Society. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-20.
- "Key Stages in the Evolution of the Asteroid Vesta". Hubble Space Telescope news release (1995). เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-20. และ CT Russel et al. (2007). "Dawn mission and operations". NASA/JPL. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-20.
- Ker Than (2007). "Strange Asteroids Baffle Scientists". space.com. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-14.
- J. Torppa et al (1996). "Shapes and rotational properties of thirty asteroids from photometric data". Icarus 164 (2): 346–383. doi:10.1016/S0019-1035(03)00146-5. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-03-15.
- Larson, H. P.; Feierberg, M. A.; Lebofsky, L. A. (1983). "The composition of asteroid 2 Pallas and its relation to primitive meteorites". เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-20.
- M. A. Barucci et al. (2002). "10 Hygiea: ISO Infrared Observations" 2007-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-21. "Ceres the Planet". orbitsimulator.com. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-20.
- Hughes, David W. (2007). "Finding Asteroids In Space". BBC. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-20.
- อันเนอ เลไมเตร (31 สิงหาคม - 4 กันยายน 2004). "Asteroid family classification from very large catalogues". Proceedings Dynamics of Populations of Planetary Systems: 135-144, เบลเกรด, เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-15.
- เคนเนธ อาร์. แลง (2003). "Asteroids and meteorites" 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. NASA's Cosmos. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-02.
- Martel, Linda M. V. (March 9, 2004). "Tiny Traces of a Big Asteroid Breakup". Planetary Science Research Discoveries. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-02.
- ไมเคิล เจ. เดรค (2001). "The eucrite/Vesta story". Meteoritics & Planetary Science 36 (4): 501–513. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-02-04.
- Love, S. G.; Brownlee, D. E. (1992). "The IRAS dust band contribution to the interplanetary dust complex - Evidence seen at 60 and 100 microns". Astronomical Journal 104 (6): 2236–2242. doi:10.1086/116399. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-11.
- Spratt, Christopher E. (1990). "The Hungaria group of minor planets". Journal of the Royal Astronomical Society of Canada. 84 (2): 123–131. สืบค้นเมื่อ 2007-02-04.
- Carvano, J. M.; Lazzaro, D.; Mothé-Diniz, T.; Angeli, C. A.; Florczak, M. (2001). "Spectroscopic Survey of the Hungaria and Phocaea Dynamical Groups". Icarus. 149 (1): 173–189. doi:10.1006/icar.2000.6512. สืบค้นเมื่อ 2007-02-04.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - The Trojan Page (Scott Sheppard)
- "SwRI researchers identify asteroid breakup event in the main asteroid belt". SpaceRef.com. June 12, 2002. สืบค้นเมื่อ 2007-04-15.[]
- McKee, Maggie (January 18, 2006). . New Scientist Space. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2007-04-15.
- Nesvorný, D.; Vokrouhlick, D.; Bottke, W. F. (2006). "The Breakup of a Main-Belt Asteroid 450 Thousand Years Ago". Science. 312 (5779): 1490. doi:10.1126/science.1126175. สืบค้นเมื่อ 2007-04-15.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Nesvorný, D.; Bottke, W. F.; Levison, H. F.; Dones, L. (2003). "Recent Origin of the Solar System Dust Bands". The Astrophysical Journal. 591: 486–497. doi:10.1086/374807. สืบค้นเมื่อ 2007-04-15.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list ()[] - M. A. Barucci, M. Fulchignoni and A. Rossi (2007). "Rosetta Asteroid Targets: 2867 Steins and 21 Lutetia". Space Science Reviews. 128 (1–4): 67–78. doi:10.1007/s11214-006-9029-6.
- Stern, Alan (June 2, 2006). "New Horizons Crosses The Asteroid Belt". Space Daily. สืบค้นเมื่อ 2007-04-14.
- Staff (April 10, 2007). "Dawn Mission Home Page". NASA JPL. สืบค้นเมื่อ 2007-04-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
- "ดาวเคราะห์น้อย" จาก NinePlanets.org
- "ดาวเคราะห์น้อย" 2007-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก โครงการสำรวจระบบสุริยะ ขององค์การนาซา
- แถบดาวเคราะห์น้อย จากบทความ เอกภพในปัจจุบัน, astronomycast.com
- แถบดาวเคราะห์น้อย จาก solstation.com
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
aethbdawekhraahnxy xngkvs asteroid belt epnbriewninrabbsuriyathixyurahwangwngokhcrkhxngdawxngkharkbdawphvhsbdi prakxbipdwywtthuruprangimaennxncanwnmak eriykwadawekhraahnxy asteroid hrux minor planet bangkhrngkeriykaethbdawekhraahnxywa aethbhlk ephuxaeykaeyamnxxkcakdawekhraahnxyklumxun thimixyuinrabbsuriya echn aethbikhepxrdawekhraahnxykhxngrabbsuriyachninaeladawphvhsbdi aethbnitngxyurahwangwngokhcrkhxngdawphvhsbdiaeladawxngkhar dwngxathity wngokhcrkhxngdawekhraah aethbdawekhraahnxy karkhdeluxk mwlkwakhrunghnungkhxngaethbdawekhraahnxyxyuindawekhraahnxythimikhnadihythisud 4 dwng idaek siris ewsta phlls aelaiheciy thngsidwngnimiesnphansunyklangechliymakkwa 400 kiolemtr sahrbsirissungthuxepndawekhraahaekhraephiyngdwngediywinaethbdawekhraahnxy miesnphansunyklangpraman 950 kiolemtr swnthiehluxmikhnadldhlnknipcnthungessfun wtthuinaethbdawekhraahnxykracayxyuxyangebabangcnkrathngyanxwkashlaylasamarthekhluxnphanipidodyimchnkbxairely nxkcaknn karchnknrahwangdawekhraahnxykhnadihyidthaihekidwngsdawekhraahnxythimixngkhprakxbthatuaelawngokhcriklekhiyngkn karaetkslaythaihekidessfunlaexiydsungklayepnxngkhprakxbswnhnungkhxngaesnginaenwckrrasi dawekhraahnxyaetladwnginaethbdawekhraahnxyidrbkarcaaenktamsepktrm odyhlkmi 3 chnid idaek chnidkharbxn C type chnidsiliekt S type aelachnidolha M type aethbdawekhraahnxyepnxngkhprakxbphunthankhxngenbiwlasuriyainyukherimtn sungetriymcakxtwkhunepndawekhraah aetenuxngcakrahwangwngokhcrkhxngdawxngkharkbdawphvhsbdimiaerngonmthwngcakdawekhraahyksrbkwn thaihchinswnkaeniddawekhraahmiphlngnganinkarokhcrsungekinipcnimsamarthrwmtwknkhunepndawekhraahid nxkcakniyngekidkarchnknxyangrunaerng sungaethnthichinswnehlanncarwmekhadwykn klbyingaetkkracdkracay dwyehtunimwlswnihyinaethbdawekhraahnxycungmlayhayipnbaetyukherimtnkhxngrabbsuriya bangswnxachludrxdekhamayngrabbsuriyachninaelaphungekhachndawekhraahchnin wngokhcrkhxngdawekhraahnxyyngkhngthukrbkwnxyuesmx bangkhrngwngokhcrrxbdwngxathitykhxngmnbngexiyipsxdkhlxngkbwngokhcrkhxngdawphvhsbdi thaihekidchxngwangekhirkwudprawtikarsngektkarncuespep pixssi phukhnphbdawekhraahnxydwngaerk siris inechingxrrththiimrabuthimacaknganaeplkhxng eruxng Contemplation de la Nature emuxpi kh s 1766nkdarasastrchux oyhn daniexl thithsixus fxn withethinaebrkh sngektehnrupaebbkarcdwangtwkhxngdawekhraahtang thaerimtnxnukrmtwelkhthielkh 0 aelwephimepn 3 6 12 24 48 l odyephimkhunepnethatwthukkhrng bwkelkhaetlaladbdwy 4 aelahardwy 10 caidkhapramankhxngwngokhcrdawekhraahthieraruckaelwinhnwydarasastr hnunghnwydarasastr hrux 1 AU mikhaethakbrayathangcakolkthungdwngxathity rupaebbechnniepnthirucktxmainchuxkdkhxngthithsixus obedx sungsamarththanayaenwaeknrxngkhxngdawekhraahhkdwnginewlann khuxdawphuth dawsukr olk dawxngkhar dawphvhsbdi aeladawesar aelatwelkhxikhnungchudxyuin chxngwang rahwangdawxngkharkbdawphvhsbdi inechingxrrthnn thithsixusxthibaywa phraphuepnecacathrnglachxngwangiwechnnnhrux hamiid inpi kh s 1768 nkdarasastrchux oyhn exelirth obedx ekhiynphlnganthiekiywenuxngkbngankhxngthithsixus chuxwa Anleitung zur Kenntniss des gestirnten Himmels aetekhaimidexythungthithsixus dngnncungthaihhlaykhnexythungnganchinniwa kdkhxngobedx emuxwileliym ehxrechl khnphbdawyuernsinpi kh s 1781 taaehnngkhxngdawekhraahkekhaknkbkdniaethbcasmburnaebb sungthaihehlankdarasastrsrupwacatxngmidawekhraahxikdwnghnungxyurahwangdawxngkharaeladawphvhsbdiepnaen pi kh s 1800 nkdarasastrchuxfrnths saewxr fxn skh echiyephuxn khxngekha 24 khnekharwminchmrmimepnthangkaraehnghnungsungekhaeriykwa smakhmlieliynthal miepahmaycacdraebiybihrabbsuriya txmaklumniepnthiruckinchux himemilsophlithis Himmelspolizey hrux tarwcxwkas smachikkhnsakhyidaek ehxrechl enwil aemskhilin charl emsiey aela smachiknkdarasastraetlakhncaidrbmxbhmayihduaelxanabriewn 15 xngsakhxngckrrasi ephuxesaahadawekhraahthihayip imkieduxnthdma nkdarasastrkhnxunsungimidepnsmachiktarwcxwkas idtrwcphbsingthiphwkekhakhnha wnthi 1 mkrakhm kh s 1801 cuespep pixssi prathansmakhmdarasastraehngmhawithyalypaaelrom sisili phbwtthuekhluxnthichinelk inbriewnthikhadkhaenodykdkhxngthithsixus obedx ekhaeriykwtthuchinnnwa siris tamchuxethphecaormnxngkhhnung khuxethphiaehngkarekbekiywaelaphuphithksekaasisili intxnaerkpixssiechuxwawtthunnkhuxdawhang aetenuxngcakmnimmiokhma mncungnacaepndawekhraah sibhaeduxntxma xxlebirskhnphbwtthuchinthisxnginbriewnfakfaediywkn khux phlls mnimehmuxndawekhraahdwngxun ephraapraktepnephiyngcudaesngimwacaichklxngothrthrrsnthimikalngkhyayskethaid nxkcakkarekhluxnthikhxngmnaelw kaethbimaetktangipcakdwngdawthwipely txmainpi kh s 1802 wileliym ehxrechl esnxihcdpraephthwtthuehlaniepnxikchnidhnung ihchuxwa dawekhraahnxy asteroid sungmacakphasakrikwa asteroeide hmaythung ehmuxndwngdaw aetthngthiehxrechlesnxxyangnn wtthuehlaniklbthukeriykwaepn dawekhraah txmaepnewlahlaythswrrs rawpi kh s 1807 mikarsuksaephimetimphbwtthuxik 2 chininyanfaediywkn khux aela ewsta aetsngkhramkhxngnopeliynthaihkarsuksakhnkhwainchwngaerknitxngyutilng aelaimmikhwamkhubhnaid xikelycnkrathngpi kh s 1845 cungmikarkhnphbwtthuchinthi 5 khux aexsetriy nbcaknnkmikarkhnphbwtthuchinihm xyangtxenuxnginewlaxnrwderw aelakhwamkhidthicaeriyksingehlaniepndawekhraahkerimmipyha inthisudmnkhludcakphngraychuxdawekhraah aelakhxesnxkhxngwileliym ehxrechl thiaenaiheriykmnwa dawekhraahnxy kerimepnthiniymkntxma karkhnphbdawenpcuninpi kh s 1846 thaihkdkhxngthithsixus obedx dxykhalnginsaytakhxngehlankwithyasastr ephraataaehnngkhxngmnimiklekhiyngkarkhanwnely nbthungpccubnimmihlkkarthangwithyasastrid xthibaykdnnid aelankdarasastrmikhwamehnphxngknwa kdnnepnaekheruxngbngexiyethann lwngthungklangpi kh s 1868 mikarkhnphbdawekhraahnxy 100 dwng aelaemuxmikarkhidkhnphaphthaydarasastrody aemks wulf inpi kh s 1891 kthaihxtrakarkhnphbwtthuxwkasephimkhunxyangrwderw dawekhraahnxythukkhnphb 1 000 dwnginpi kh s 1921 txngkarxangxing phb 10 000 dwnginpi kh s 1981 aela 100 000 dwnginpi kh s 2000 rabbkarsarwcdawekhraahnxysmyihmichkhaechliyxtonmtiinkarrabutaaehnngdawekhraahnxydwngihm idepnprimanthiephimkhuneruxy kaenidkhxngdawekhraahnxykarkxtw pi kh s 1802 ihnrich xxlebirs esnxkbwileliym ehxrechl wa aethbihyninacaekidcakdawekhraahdwnghnungthiraebidepnphuyphngdwysaehtuidsaehtuhnung aetemuxewlaphanip smmutithanniktkip ephraaimsmehtuphlthicamiphlngngancanwnmakinkarkrathaihekidehtukarnechnnn rwmthngprimanmwlrwmkhxngwtthuinaethbdawekhraahnxykminxymak ephiyngesiywelk swnhnungkhxngdwngcnthrkhxngolkethann nxkcaknnyngmikhxmuldanekhmithiaesdngihehnwa dawekhraahnxyaetladwngmikhunsmbtithangekhmithiaetktangknmakcnekincaxthibayidwamnekidmacakdawekhraahdwngediywkn pccubnnkwithyasastrswnihyechuxwachinswndawekhraahnxyimidekidcakdawekhraahdwngediywkn aetmnimekhyrwmtwepndawekhraahidsaercmakkwa tampktiaelw karkaenidkhxngdawekhraahinrabbsuriyaechuxknwaekidkhuncakkrabwnkarthikhlaykhlungkbenbiwla klawkhuxmiklumemkhfunaelakasinhwngxwkasthimarwmtwknenuxngcakxiththiphlkhxngaerngonmthwng thaihekidepncanhmunprakxbdwywtthussarthixdaenncnklayepndwngxathityaeladawekhraah inchwngimkilanpiaerkkhxngprawtisastrrabbsuriya krabwnkarxdaennnithaihchinswnfunhinelk rwmtwknaelaephimkhnadkhuneruxy emuxmikarrwmtwkncnidkhnadmwlmakphx mncasamarthdungdudwtthuxunekhamadwyaerngonmthwng ekidepndawekhraahinrayaerimtn aerngonmthwngthiephimkhunthaihekidkarkxtwkhxngdawekhraahhinaelaklumkaskhnadyks dawekhraahrayatnthixyuinyanthipccubnepnaethbdawekhraahnxy thukaerngonmthwngiklekhiyngkxkwncnimsamarthrwmtwknid mnyngkhngokhcrrxbdwngxathityidxyangthiekhyepn aetaeykslayxxkepnchinelkchinnxy wtthuinyannnmikhwamerwechliysungmakekinip aelakarkracaytwkhxngdawekhraahrayatnthaihmnmiaenwonmcaaetkxxkmakkwa aelaimsamarthrwmtwknepndawekhraahthimikhnadihyephiyngphx nxkcakniyngekidehtukarnwngokhcrthbsxn khuxipsxnkbwngokhcrkhxngdawphvhsbdi thaihekidkarrbkwnkarekhluxnthikhxngwtthubangchinaeladungphwkmnkhamipyngxikwngokhcrhnung yanxwkasrahwangdawxngkharkbdawphvhsbdimiwngokhcrthbsxnmakmay bangkhrawdawphvhsbdikekhluxnekhaiklwngokhcrdanin ekidkarkratunehlawtthuinyanaethbhlkaelathaihphwkmnephimkhwamerwsmphththmakyingkhun inyukherimtnkhxngrabbsuriya dawekhraahnxymikarhlxmlalayipswnhnung thaihxngkhprakxbphayinmikhwamaetktangxyangmakemuxethiybkbmwl wtthuyukhdngedimbangswntxngphankrabwnkarepliynaeplngxyangmakinkarraebidkhxngphuekhaif aelathaihekidmhasmuthrhinhnud xyangirkdi enuxngcakruprangkhxngtwwtthuexngthikhxnkhangelk cungekidchwngewlainkarhlxmlalaynikhxnkhangsn emuxethiybkbwtthuthiihykwamak echn dawekhraah aelasinsudlnginraw 4 500 lanpithiaelw sungnbepnewlahlaysiblanpiaerk khxngyukhkarkxtw ineduxnsinghakhm kh s 2007 mikarsuksaphlukephthayinxukkabatthiaexntarktikthiechuxwamikaenidcakdawekhraahnxy 4 ewsta phlkarsuksachiwamnthuxkaenidkhunxyangrwderwphayinchwngsiblanpiaerkkhxngkarkaenidrabbsuriya sungdawekhraahnxyxun inaethbhlkknacamikaenidinchwngediywkn wiwthnakar dawekhraahnxyimxacthuxepntwxyangkhxngrabbsuriyainyukhdngedim ephraamnidphankrabwnkarthithaihekidkarepliynaeplngipcakkarkxtwinkhrngaerkaelw sungrwmthungkhwamrxnphayin inchwnghlaysiblanpiaerk karhlxmehlwbnphunphiwenuxngcakkarchn karphukrxn space weathering cakkaraephrngsi tlxdcnkarthukchncaksaekddawkhnadelk nkwithyasastrbangswnxangwadawekhraahnxyepnessthiehluxmacakdawekhraah aetnkwithyasastrxikklumhnungehnwamnepnwtthuthiaetktangxxkip echuxknwa aethbdawekhraahnxyinpccubnepnaetephiyngswnelk swnhnungkhxngmwlthiekhymiinaethbdngedim aebbcalxngthangkhxmphiwetxraesdngihehnwaaethbdawekhraahnxydngedimnacamimwlmakethiybethakbmwlkhxngolk thngnienuxngcakkarthukrbkwnaerngonmthwng thaihssarswnihydidtwxxkipcakaethbhlkinrawchwnghnunglanpikhxngyukhkarkxtw khngehluxmwlxyuinaethbhlkephiyngpraman 0 1 ethann hlngcakyukhkarkxtw khnadkarkracaykhxngdawekhraahnxyinaethbhlkkkhxnkhangkhngthi immisyyanthichiwamikarephimkhunhruxldlngkhxngkhnadaethbdawekhraahnxyely taaehnngkarsnphxngwngokhcrkbdawphvhsbdithi 4 1 aelarsmi 2 06 hnwydarasastr xacphicarnaepnkhxbekhtdaninkhxngaethbhlkid aerngrbkwnthiekidcakdawphvhsbdithaihwtthuekhluxnihwipsuwngokhcrthiimesthiyr wtthuswnmakthirwmtwknxyudaninkhxngrsmikhxngchxngwangnicathukdawxngkharekbkwadip rayaiklcakdwngxathitythisudxyuthipraman 1 67 hnwydarasastr hruxmichannkthukdidxxkipcakkarrbkwnaerngonmthwngkhxngdawnbaetyukhaerkerimkhxngrabbsuriyadawekhraahnxyhngkaeriyekaaklumknxyuikldwngxathitymakkwarayakarsnphxng 4 1 aetkidrbkarpkpxngcakkarkxkwnnienuxngcakmnmikhwamexiyngkhxngwngokhcrkhxnkhangmak emuxaethbhlkerimmikarkxtwkhunaelw xunhphumithirayahangcakdwngxathity 2 7 hnwydarasastrthaihekid aenwhima khunthixunhphumitakwacudkhwbaennkhxngna dawekhraahthixyuekinipkwarsmiokhcrradbnicaminaaekhngsasmxyubndaw inpi kh s 2006 mikarprakaskarkhnphbdawhanginaethbhlkcanwnhnungsungxyuinrayathiekinkwaaenwhima sungepndawhangthinacaepntnkaenidkhxngnainmhasmuthrkhxngolk ephraatamaebbcalxngbangaebb olkimkhwrcamiprimannamakphxinchwngkarkxtwkhxngdawekhraahthicathaihekidmhasmuthrkhunid aehlngnacungnacamacakphaynxkechncakkarphungekhachnkhxngdawhangehlanikhunlksnadawekhraahnxy epndawekhraahnxydwngaerkthithayphaphidcakyanxwkas emuxyankalieloxekhluxnekhaiklinpi kh s 1991 lksnatamcringkhxngaethbdawekhraahnxyimidepnipxyangphaphyxdniymincintnakar ephraathicringaelwaethbdawekhraahnxyaethbcawangepla dawekhraahnxycakracaytwknxxkipinphunthikwang cnaethbcaimsamarthipthungdawekhraahnxydwngiddwnghnungidthaimtngepahmayxyangramdrawng thungkrannkmikarkhnphbdawekhraahnxyaelwkwaaesndwng aelaechuxwamicanwndawekhraahnxyxyuthnghmdepncanwnhlaylandwng khunkbwacanbwtthuthimikhnadelkephiyngihn midawekhraahnxymakkwa 200 dwngthimikhnadesnphansunyklangmakkwa 100 kiolemtr khnathikarsarwcdwykhlunxinfraerdaesdngihehnwa midawekhraahnxyinaethbhlkraw 700 000 thung 1 7 landwngthimikhnadesnphansunyklangmakkwa 1 kiolemtrkhwamsxngswangpraktkhxngdawekhraahnxyswnihythiepnthiruckaelw mikhaxyurahwang 11 19 odymikhamthythanthipraman 16 mwlrwmthnghmdkhxngaethbdawekhraahnxypramanwamikhaethakb 3 0 1021 3 6 1021 kiolkrm ethiybethakb 4 khxngmwlkhxngdwngcnthrkhxngolkera dawekhraahnxykhnadihythisudsidwngkhux 1 siris 4 ewsta 2 phlls aela 10 iheciy mimwlrwmknpramankhrunghnungkhxngmwlthnghmdkhxngaethbhlk echphaa siris dwngediyw kmimwlnbepn 1 in 3 khxngmwlthnghmd rayahangkhxngwngokhcrkhxngsiris thi 2 8 hnwydarasastr thuxepntaaehnngthiepncudsunyklangmwlkhxngaethbdawekhraahnxydwy xngkhprakxb Allende dawtkaebb carbonaceous chondrite thitksuolkthipraethsemksiok emux kh s 1969 inaethbhlkprakxbdwydawekhraahnxysungcdaebngidepn 3 praephth idaek praephth C hruxklumkharbxn praephth S hruxklumsilika aelapraephth M hruxklumolha dawekhraahnxypraephthkharbxn hruxpraephth C mixngkhprakxbthiepnkharbxninprimansung mkphbxyuinbriewnrxbnxkkhxngaethbhlk aelapraktxyuindawekhraahnxythimxngehnepnsdswnthungkwa 75 misixxkipthangaedngmakkwadawekhraahnxypraephthxun aelami albedo tamak xngkhprakxbbnphunphiwmilksnakhlaykhlungkbxukkabataebb carbonaceous chondrite nxkcakni inthangekhmi sepkhtrmkhxngdawekhraahnxypraephthnikhlaykhlungkbxngkhprakxbinyukherimaerkkhxngrabbsuriyaxyangmak ephiyngaetmiswnprakxbthiebakwa aelaimmixngkhprakxbthisamarthraehyid dawekhraahnxypraephthsilika hruxpraephth S mkphbmakbriewndaninkhxngaethbhlk khuxmiwngokhcrcakdwngxathitynxykwa 2 5 hnwydarasastr sepktrmphunphiwkhxngdawekhraahnxyinklumniaesdngihehnsiliektcanwnmakrwmthungolhabangchnid aetimmirxngrxythiednchdkhxngxngkhprakxbkharbxn aesdngwaaerthatuintwidphankarprbepliynipcakxngkhprakxbdngedim sungxacekidcakkarhlxmlalayhruxkarkxtwihm dawekhraahnxyklumnimikhasmprasiththikarsathxnaesngkhxnkhangsung aelamicanwnpraman 17 khxngcanwnprachakrdawekhraahnxythnghmd dawekhraahnxypraephth M sungmiaerthatuolhaxyumakmicanwnpraman 10 khxngcanwnthnghmd khasepktrmaesdngihehnxngkhprakxbkhxngehlk nikekil echuxwabangdwngkxtwmacakaeknklangolhakhxngdawekhraahnxydngedimthimikarepliynrupenuxngcakkarchn xyangirkdidawekhraahnxyinklumsilikabangswnkxacihphlsepktrmaebbediywknnidwy twxyangechn dawekhraahnxypraephth M khnadihy 22 Kalliope sungimmirxngrxyxngkhprakxbdngedimthiepnolha phayinaethbhlk karkracaytwkhxngdawekhraahpraephth M mikhasungsudthikungaeknexkpraman 2 7 hnwydarasastr yngimchdecnwadawekhraahnxypraephth M thnghmdmixngkhprakxbxyangediywknhruxim mnxacmixngkhprakxbthiaetktangknmakmaysungimxaccdekhaepnpraephth C aela S idethannexng yngmikhwamluklbprakarhnungkhxngaethbdawekhraahnxyekiywkbrxngrxykhxngdawekhraahnxypraephth V hruxphwkthimibasxlt tamthvsdiekiywkbkarkxtwkhxngdawekhraahnxyidthanaywawtthukhnadihyxyangewstahruxthiihykwanncamiokhrngsrangswnthiepnaephnaelaswnthiepnchnenux sungnacamixngkhprakxbhlkepnhinbasxlt thaihcanwndawekhraahnxymakkwakhrungcatxngmixngkhprakxbxyangidxyanghnungimwacaepnbasxlthruxoxliwin xyangirkdi phlkarsngektkarnaesdngwa 99 khxngssarthikhwrcaepnbasxltklbhayip cnkrathngpi kh s 2001 kyngechuxwawtthuokhrngsrangbasxltswnihythikhnphbinaethbhlknacamikaenidmacakdawekhraahnxyewsta ehtunimncungidchuxpraephth V xyangirkdi karkhnphbdawekhraahnxy idephyihehnkhwamaetktangelknxykhxngxngkhprakxbthangekhmikhxngdawekhraahnxybasxltxun thikhnphbcnthungewlann bngchiwamnmikaenidmacaktangaehlngkn smmutithanniidrbkarsnbsnuncakkarkhnphbdawekhraahnxyephimetiminaethbdannxkxik 2 dwnginpi kh s 2007 khux aela sungmixngkhprakxbbasxltthiaetktangxxkipxikepnkaryunynwamnimidmikaenidmacakewsta nbthungpccubn dawekhraahnxy 2 dwngnithuxepndawekhraahnxypraephth V ephiyng 2 dwngethannthikhnphbinaethbdannxk xunhphumiinaethbdawekhraahnxymikhwamaetktangknmaktamrayahangcakdwngxathity sahrbxnuphakhfuninaethb xunhphumithwipmikharahwang 200 K 73 C thiraya 2 2 hnwydarasastr lngipcnthung 165 K 108 C thi 3 2 hnwydarasastr thwaemuxkhanungthungkarhmunrxbtwexng xunhphumiphunphiwkhxngdawekhraahnxykxacepliynaeplngipmakinaetladanenuxngcakrngsikhxngdwngxathityaelaphunhlngrahwangdaw wngokhcraelakarhmuntw dawekhraahnxyswnihyinaethbhlkmikhakhwameyuxngsunyklangkhxngwngokhcrtakwa 0 4 aelamikhwamexiyngkhxngwngokhcrnxykwa 30 odythimikhakarkracaytwsungsudkhxngkhwameyuxngsunyklangpraman 0 07 aelakarkracaykhxngkhwamexiyngwngokhcrimthung 4 dngnn aemdawekhraahnxyodythwipcamiwngokhcrkhxnkhangepnwngklmaelaxyuinranabiklekhiyngkbranabkhxngdawekhraah aetkxacmiwngokhcrkhxngdawekhraahnxybangdwngthibidebiywxxkipmak hruxekhluxntwxxkipiklcakranabni inbangkhrng khawa aethbhlk mkichxangthungdawekhraahnxyswnihythixyubriewn aeknklang khxngklum sungmicanwndawekhraahnxyxyurwmknxyanghnaaenn inklumkhxngaethbhlknimikhakhwameyuxngsunyklangkhxngwngokhcrpraman 0 33 aelakhwamexiyngwngokhcrpraman 20 aeknklang khxngklumdawekhraahnxyniepnsunyrwmkhxngmwlmakkwa 93 4 khxngcanwndawekhraahkhnadelkinrabbsuriyathnghmd karwdrxbkarhmunkhxngdawekhraahnxykhnadihyinaethbhlkaesdngihehnwamiekhtcakdlangxyu immidawekhraahnxydwngidthimiesnphansunyklangihykwa 100 emtrcamikhabkarhmunrxbtwexngtakwa 2 2 chwomngely sahrbdawekhraahnxythimikhabkarhmunechliyerwkwani aerngehwiyngthiphunphiwcamikhasungkwaaerngonmthwng thaihwtthuphunphiwthiimtidaennsamarthhludxxkipid xyangirkdi wtthuthiepnkhxngaekhngcasamarthhmunidxyangrwderwkwa cakehtuphlniaesdngwadawekhraahnxyswnmakthimiesnphansunyklangmakkwa 100 emtrmixngkhprakxbkhxnkhangyudhyunxnekidcakkarsasmkhxngesshindinthrabthithmkniwcakkarpathaknrahwangdawekhraahnxy chxngwangekhirkwud aephnphaphaesdngkarkracaytwkhxngdawekhraahnxytamkungaeknexktang tamkhaaeknkhxngaethbhlk taaehnngluksrchikhuxtaaehnngchxngwangekhirkwud kungaeknexkkhxngdawekhraahnxydwnghnung ichsahrbxthibaykhnadkhxngwngokhcrrxbdwngxathity khatwelkhxthibaythungrxbkarokhcrkhxngdawekhraahnxydwngnn inpi kh s 1866 prakaskarkhnphbchxngwangkhxngwngokhcrkhxngdawekhraahnxythiokhcrrxbdwngxathity chxngwangnixyuinbriewnthirayaokhcrrxbdwngxathityepnsdswncanwnetmkhxngrxbkarokhcrkhxngdawphvhsbdi ekhirkwudesnxaenwkhidwaniepnphlkrathbcakaerngonmthwngkhxngdawekhraahthaihdawekhraahnxythukilxxkipcakaenwokhcrkhxngtn emuxkhaechliyrxbokhcrkhxngdawekhraahnxymikhaepnsdswncanwnetmkhxngkharxbokhcrkhxngdawphvhsbdi caekidkarsnphxngkhxngwngokhcrthirunaerngphxcaphlkdawekhraahnxyintaaehnngnnxxkipyngradbwngokhcrihm dawekhraahnxythibngexiyxyuintaaehnngthiepnchxngwangkhxngwngokhcr imwacaxyumaaetedimcakphlkhxngwngokhcrdawphvhsbdi hruxcakphlkhxngaerngphlkkhrngkxn hruxcakkarpatharahwangdaw kcathukaerngphlkxyangaerngsngipyngtaaehnngkungaeknexkihmsungxacmakkhunhruxnxykwaedimkid chxngwangehlaniimidepnthiwangkhngthiemuxepriybethiybkbkarekhluxnthikhxngdawekhraahnxy n ewlaidewlahnung ephraawngokhcrkhxngdawekhraahnxynnepnwngri aeladawekhraahnxycanwnmakkyngekhluxnthikhamipmaphanchwngrsmikhxngchxngwangehlann khwamhnaaennkhxngdawekhraahnxyphayinkhxbekhtkhxngchxngwangcungxacimmikarepliynaeplngmakcnminysakhymaknkemuxepriybethiybkbxanabriewnodyrxb chxngwanghlkpraktxyuthitaaehnng 3 1 5 2 7 3 aela 2 1 khxngkhakarsnphxngwngokhcrkbdawphvhsbdi hmaykhwamwa dawekhraahnxythixyuinchxngwangekhirkwud 3 1 caokhcrrxbdwngxathityip 3 rxbsahrbwngokhcrkhxngdawphvhsbdi 1 rxb nxkcakni xacmikarsnphxngxyangxxn ekidkhunthikhakungaeknexkxun sungmidawekhraahnxyxyuintaaehnngdngklawxyangebabangkepnid twxyangechn karsnphxngthitaaehnng 8 3 khxngdawekhraahnxythimikhakungaeknexkethakb 2 71 hnwydarasastr epntn dawekhraahnxyodyhlk thnghmdcaaebngxxkidepn 3 phunthiihy odyyudthuxexachxngwangekhirkwudthioddednmaepnhlkinkarcdaebng phunthithihnungxyurahwangchxngwangekhirkwudinbriewnkarsnphxngthi 4 1 2 06 hnwydarasastr cnthungchxngwangkhxngkarsnphxngthi 3 1 2 5 hnwydarasastr phunthithisxngxyutxcakrxytxkhxngphunthithihnungipcnthungchxngwangthitaaehnng 5 2 2 82 hnwydarasastr phunthithisamxyutxenuxngcakkhxbnxkkhxngphunthithisxngipcnthungchxngwangthitaaehnng 2 1 3 28 hnwydarasastr aethbdawekhraahnxyhlkyngxacaebngxxkepnaethbdaninaelaaethbdannxk odythiaethbdaninkhuxdawekhraahnxythimiwngokhcriklkbdawxngkharmakkwachxngwangekhirkwudthi 3 1 2 5 hnwydarasastr swnaethbdannxkkhuxdawekhraahnxyswnthiehluxsungxyuiklkbwngokhcrkhxngdawphvhsbdimakkwa nkwichakarbangkhnaebngaethbdaninkbaethbdannxkthichxngwangekhirkwud 2 1 3 3 hnwydarasastr khnathibangkhnkaebngxxkepnsamswntamcanwnchxngwangekhirkwud khuxaethbin aethbklang aelaaethbnxk karpathaaesngckrrasi thiekidcakfuninaethbhlk canwnprachakrdawekhraahnxyxnhnaaenninaethbhlkthaihmisphawaaewdlxmthiepliynaeplngsungmak karpathaknrahwangdawekhraahnxysamarthekidkhunidbxy tammatrewlainthangdarasastr pramanwadawekhraahnxyinaethbhlkthimikhnadrsmiechliymakkwa 10 kiolemtrxacmikarpathaknhnungkhrnginthuk 10 lanpi phlcakkarpathathaihdawekhraahnxyaetkxxkepnchinthielklnghlaychin epnthimakhxngtrakuldawekhraahnxy inthangklbkn karpathathiekidkhundwykhwamerwsmphththkhxnkhangtaxacthaihdawekhraahnxysxngdwngrwmekhaepndwngediywkid krabwnkarpathaknehlanidaeninmaepnewlakwa 4 phnlanpiaelathaihprachakrdawekhraahnxyinaethbhlkpccubnaetktangipcakprachakrinyukhaerk xyangmak nxkehnuxcaktwdawekhraahnxyexngaelw inaethbhlkyngmiaethbfuncanwnmakthimikhnadxnuphakhephiyngimkirxyimokhremtr essfunlaexiydehlaniswnhnungekidkhuncakkarpatharahwangdawekhraahnxy xikswnhnungcakkarthidawekhraahnxythukxukkabatkhnadelkphungchn aerngdncakkaraephrngsisuriyathaihessfunehlanikhxy hmunkhwngekhahadwngxathity sungepnphlcak funlaexiydkhxngdawekhraahnxyehlani prakxbkbsarthidawhangplxythingxxkma epntnehtukhxngkarekidaesngckrrasi aesngswangeruxngrxngcang nisamarthmxngehnidinewlaklangkhunintaaehnngsuriywithihlngcakdwngxathitylbkhxbfa xnuphakhthithaihekidaesngckrrasithimxngehnidmikhnadrsmiechliypraman 40 imokhremtr xayuechliykhxngxnuphakhehlanixyuthipraman 700 000 pi dngnnephuxcaihmiaethbfunnixyuxyangsmaesmx catxngmixnuphakhihm ekidkhuncakaethbhlkxyangtxenuxng dawtk essdinaelahincakkarpathaknkhxngdawekhraahnxyxacklaymaepnsaekddawthihludekhamayngchnbrryakaskhxngolkid makkwa 99 8 khxngsaekddawcanwnkwa 30 000 dwngthiphbbnolknbthungpccubnechuxwamikaenidmacakaethbdawekhraahnxy karsuksarwmrahwangshrthkbsatharnrthechkineduxnknyayn kh s 2007 idaesdngihehnthungkarpatharahwangwtthukhnadihykbdawekhraahnxy sungthaihekidchinswnmakmaykhuninrabbsuriyachnin echuxwaesschinswnehlaninacaepntnehtukhxngbndwngcnthr aelaaexngchikchulubinpraethsemksiok xnepnsakthihlngehluxxyucakkarpathakhxngwtthukhnadihymakthithaihekidkarsuyphnthukhxngidonesaremux 65 lanpithiaelwdawekhraahnxykhnadihydawekhraahaekhrasiris miwtthukhnadihyxyu 4 chininaethbhlk khux siris ewsta phlls aelaiheciy sungthaihmnthukaeykxxkipcaksthanadawekhraahtampkti thwakarphicarnakhwamepndawekhraahmikhxbekhtswnhnungwadwysmdulkhxngnabndawdwngnn aelawtthuthngsinikmiprimannaxyuxyangkakung thngyngmikhunlksnahlayxyangthisxdkhlxngkbkhwamepndawekhraah aetkyngmikhunsmbtixunthiiklekhiyngkxnhindawekhraahnxyxyu sirisepnwtthuephiyngchinediywinaethbhlkthimikhnadihyphxcasrangaerngonmthwngkhxngtwexngkhunaelathaihmilksnakhxnkhangklm dngnn emuxphicarnacakkhaniyamdawekhraahkhxngshphaphdarasastrsaklemuxpi kh s 2006 pccubncungnbwasirisepndawekhraahaekhra swnxiksamdwngkmioxkascaidrbkarcdsthanaihmechnkn sirismikhakhwamsxngswangsmburnthipraman 3 32 sungsungkwadawekhraahnxydwngxun mak epnipidwaxacmiphunphiwthiepnnaaekhng sirismixngkhprakxbthiaebngaeykidechnediywkblksnakhxngdawekhraah khuxmiswnphunphiw swnepluxk aelaswnaekn ewstaexngkmixngkhprakxbphayinthiaebngaeykidechnediywkn aemwamncaxyuphayin aenwhima khxngrabbsuriyaaelaimmixngkhprakxbkhxngna aetmixngkhprakxbswnihyepnhinbasxlt sahrbphllsepnwtthuthiphidpkti mnhmunrxbtwexnginaenwtaaekhngkhlaykbdawyuerns khwdanhnungchiipyngdwngxathityaelaxikdanhnungchixxkipnxkrabb xngkhprakxbkhxngphllskhlaykhlungkbkhxngsiris khuxmikharbxnaelasilikxninprimansung swndwngsudthaykhux iheciy epndawekhraahnxythimixngkhprakxbswnihyepnkharbxn aelaxyuiklranabsuriyamakkwadawekhraahnxykhnadihydwngxun trakulaelaklumdawekhraahnxyaephnphaphrahwangkhwamexiyngwngokhcrkhxngdawekhraahnxy ip kbkhwameyuxngsunyklangkhxngwngokhcr ep aesdngihehnklumaelatrakultang khxngdawekhraahnxy pi kh s 1918 nkdarasastrchawyipunchux sngektphbwawngokhcrkhxngdawekhraahnxybangdwngmixngkhprakxbthikhlaykhlungknmak aelaidcdklumhruxtrakulkhxngdawekhraahnxykhun dawekhraahnxypramanhnungswninsamswnkhxngdawekhraahnxythnghmdinaethbhlkcaepnsmachikkhxngtrakuldawekhraahnxytrakulidtrakulhnung dawekhraahnxyehlanimilksnawngokhcriklekhiyngkn echnkhakungaeknexk khakhwamebiywsunyklang aelakharanabwngokhcr rwmthungkhunsmbtithangaesngthikhlaykhlungkn singehlaniaesdngwadawekhraahnxyehlanimitnkaenidmacakwtthuediywknaelwcungaetkxxkepnchinelkchinnxy cakaephnphaphaesdngtaaehnngwtthuthiepnsmachikinaethbhlkaesdngihehnkhwamhnaaennkhxngwtthuinbangtaaehnngsungsxthungtrakuldawekhraahnxy pramanidwamikhwamsmphnththisxdkhlxngknechnnixyuraw 20 30 klumthinacaepndawekhraahnxytrakulediywkn nxkcakniyngmiklumthimikhwamsmphnththisxdkhlxngknnxylngma erasamarthaeykaeyatrakuldawekhraahnxyidcakwtthuthimikhunsmbtithangaesngtrngkn swndawekhraahnxythimikhwamsmphnthnxylngmacaeriykwa klumhruxkracukdawekhraahnxy trakuldawekhraahnxythioddedninaeknhlk eriyngtamkhakungaeknexkthiephimkhun idaek aela trakulflxraepnhnungintrakulthiihythisudodymismachikthungkwa 800 dwng nacaekidkarpathaphayinewlaimthunghnunglanpikxn dawekhraahnxythiihythisudintrakulniaelanacaepnsmachikaethcring khux ewsta trngkhamkbkrnikhxngsiristhinacaepnkhwamekiywkhxngodybngexiyintrakul echuxwadawekhraahnxyintrakulkhxngewstanacaekidcakkarpathahruxekhachnewstannexng klum knacamikaenidmacakewstaenuxngcakkarpathaechnkn nxkcakniyngphbwaaethbfunkhnadihy 3 aethbinaethbdawekhraahnxyhlkthimiranabwngokhcriklekhiyngkbtrakuldawekhraahnxyxixxs okhornis aelaethmis cungepnipidwaaethbfunehlannekhyepnswnhnunginklumehlanidwy khxbkhxngaethbhlk tlxdaenwrimkhxbdaninkhxngaethbdawekhraahnxy inrayatngaet 1 78 thung 2 0 hnwydarasastr odymikhakungaeknexkechliythi 1 9 hnwydarasastr epndawekhraahkhnadelkintrakulhngkari sungidchuxmacaksmachikhlkkhxngklumkhuxdawekhraahnxy 434 hngkaeriy dawekhraahnxyinklumniidrbkartngchuxaelwxyangnxy 52 dwng odyaeyktwxxkmacakaethbhlkdwychxngwangekhirkwud 4 1 aelamikhwamexiyngkhxngwngokhcrkhxnkhangmak smachikbangswninklumxyuincanwndawekhraahnxythitdwngokhcrkhxngdawxngkhardwy cungthukaerngonmthwngrbkwncakdawxngkharthaihcanwnsmachikinklumnildnxylng klumthimikhwamexiyngwngokhcrkhxnkhangsungxikklumhnungbnaethbdaninkhxngaethbhlk khux Phocaea dawekhraahnxyinklumnimiphunthanepndawekhraahnxypraephth S khnathidawekhraahnxyephuxnbanxyangtrakulhngkaeriymi xyudwy klumkhxngdawekhraahnxytrakulofikhyamiwngokhcrxyurahwang 2 25 thung 2 5 hnwydarasastrcakdwngxathity sahrbtrakuldawekhraahnxythiaethbdannxkkhxngaethbhlk idaek Cybele sungmiwngokhcrrahwang 3 3 thung 3 5 hnwydarasastr mikhwamsnphxngkhxngwngokhcr 7 4 kbdawphvhsbdi Hilda miwngokhcrrahwang 3 5 thung 4 2 hnwydarasastr odylksnakhxngwngokhcrkhxnkhangklm aelamikhwamsnphxngwngokhcr 3 2 kbdawphvhsbdi nxkcakniyngmidawekhraahnxyxikcanwnhnungthixyuiklekinkwa 4 2 hnwydarasastripcnkrathngthungwngokhcrkhxngdawphvhsbdi inbriewnnicasamarthphbdawekhraahnxytrakulthrxy sungcanwnmakmayekuxbethakbdawekhraahnxythimixyuinaethbhlkthiediyw trakulihm mitrakuldawekhraahnxybangswnthiephingekidkhunimnannk tamkhwamhmaythangdarasastr echn ephingekidkhunpraman 5 7 lanpikxncakkarpathakbdawekhraahnxydngedimkhnadrsmi 16 kiolemtr dawekhraahnxyekidkhunemuxpraman 8 3 lanpikxn odymihlkthanrwmthungfunrahwangdawekhraahthiekbidcaktakxninmhasmuthr yxnhlngipiklkwann ducakxtwkhunpraman 450 000 pikxncakkarpathakbaethbdawekhraahnxyhlk rayaewlanipraemincakkhwamnacaepnthismachikinkracukmiwngokhcrxyangthiepnxyuinpccubnmakyingkwahlkthanthangkayphaphxun xyangirkdi kracukdawekhraahnxynixacepnaehlngkaenidkhxngfunaesngckrrasikepnid aetkracukdawekhraahnxyxunthiephingekidkhunimnan echn Iannini praman 1 5 lanpikxn kxacepnaehlngthimaephimetimkhxngbrrdafundawekhraahnxyehlanikidkarsarwcphaphwadodysilpin aesdngyanxwkasdxwn kbdawekhraahnxyewsta say aeladawekhraahnxysiris khwa yansarwcxwkaslaaerkthiedinthangphanaethbdawekhraahnxykhux yaniphoxeniyr 10 sungekhasuyanniemuxwnthi 16 krkdakhm kh s 1972 inkhrngnnmikhwamwitkkngwlknxyuwayancathukwtthuinaethbhlkchnhruxthaihekidkhwamesiyhay aetyansarwcxwkasksamarthedinthangphanaethbdawekhraahnxyipidxyangplxdphy hlngcaknnmiyanedinthangphanxik 9 laodyimmixubtiehtuid ely yaniphoxeniyr 11 wxyexcecxr 2 aela edinthangphanaethbhlkodyimidthayphaph yankalieloxthayphaphdawekhraahnxy inpi kh s 1991 aelaphaph 243 ixda inpi kh s 1993 thayphaph 253 aemthildemux kh s 1997 thayphaph inpi kh s 2000 thayphaph 5535 aexnnaefrngkh inpi kh s 2002 yanniwhxirsnsthayphaph inpi kh s 2006 aela thayphaph inpi kh s 2008 khwamhnaaennkhxngdawekhraahnxyinaethbhlknntamak cnoxkasthiyansarwccachnekhakbdawekhraahnxydwngiddwnghnungnxythunghnunginphnlanthiediyw phaphthaykhxngdawekhraahnxythithaycakyanxwkasnbcnthungpccubnlwnepnkarthuxoxkasekbphaphrahwangthiyanedinthangphanodymunghnaipyngepahmaytampharkickhxngaetlayan miephiyngyaneniyraelayan thimiepahmayinkarsuksarayaewlawngokhcrkhxngdawekhraahnxyrwmthungkhxmulphunphiw sungepnkarsuksadawekhraahnxyiklolkethann swnyanxwkasdxwn idrbmxbhmayphiessihsarwcdawekhraahnxyewstaaelasirisinaethbhlk thayanyngkhngsamarththanganidhlngkarsarwcdawekhraahnxykhnadihythngsxngaelw kcaidrbpharkicsarwctxenuxngxxkipxikduephimdawekhraahnxy dawekhraahnxythrxy dawekhraahaekhra sirisxangxingKrasinsky G A Pitjeva E V Vasilyev M V Yagudina E I July 2002 Hidden Mass in the Asteroid Belt Icarus 158 1 98 105 doi 10 1006 icar 2002 6837 Pitjeva E V 2005 High Precision Ephemerides of Planets EPM and Determination of Some Astronomical Constants PDF 2008 10 31 thi ewyaebkaemchchin Solar System Research 39 3 176 doi 10 1007 s11208 005 0033 2 For recent estimates of the masses of Ceres 4 Vesta 2 Pallas and 10 Hygiea see the references in the infoboxes of their respective articles Yeomans Donald K July 13 2006 JPL Small Body Database Browser NASA JPL Retrieved on 2007 04 25 J Hilton 2001 When Did the Asteroids Become Minor Planets 2006 05 20 thi ewyaebkaemchchin US Nava Observatory Dawn A Journey to the Beginning of the Solar System ekbthawr 2012 05 24 thi Space Physics Center UCLA 2005 Michael Hoskin BODE S LAW AND THE DISCOVERY OF CERES Churchill College Cambridge Call the police The story behind the discovery of the asteroids Astronomy Now June 2007 60 61 Prof Richard Pogge 2006 Introduction to Solar System Astronomy Lecture 45 Is Pluto a Planet lingkesiy An Introduction to Solar System Astronomy Ohio State University etymonline asteroid DeForest Jessica 2000 Greek and Latin Roots Michigan State University Staff 2002 Astronomical Serendipity NASA JPL Is it a coincidence that most of the planets fall within the Titius Bode law s boundaries astronomy com Hughes David W 2007 A Brief History of Asteroid Spotting 2011 08 07 thi ewyaebkaemchchin BBC Asteroid Discovery From 1980 2010 MPC Archive Statistics A Brief History of Asteroid Spotting 2011 08 07 thi ewyaebkaemchchin Open2 net Masetti M Mukai K December 1 2005 Origin of the Asteroid Belt NASA Goddard Spaceflight Center Watanabe Susan July 20 2001 Mysteries of the Solar Nebula 2012 01 17 thi ewyaebkaemchchin NASA Petit J M Morbidelli A Chambers J 2001 The Primordial Excitation and Clearing of the Asteroid Belt 2007 02 21 thi ewyaebkaemchchin PDF Icarus 153 338 347 Edgar R Artymowicz P 2004 Pumping of a Planetesimal Disc by a Rapidly Migrating Planet 2007 06 21 thi ewyaebkaemchchin PDF Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 354 3 769 772 Scott E R D March 13 17 2006 Constraints on Jupiter s Age and Formation Mechanism and the Nebula Lifetime from Chondrites and Asteroids Proceedings 37th Annual Lunar and Planetary Science Conference League City Texas Lunar and Planetary Society Taylor G J Keil K McCoy T Haack H Scott E R D 1993 Asteroid differentiation Pyroclastic volcanism to magma oceans Meteoritics 28 1 34 52 Karen Kelly 2007 U of T researchers discover clues to early solar system University of Toronto Clark B E Hapke B Pieters C Britt D 2002 Asteroid Space Weathering and Regolith Evolution University of Arizona Michael J Gaffey 1996 The Spectral and Physical Properties of Metal in Meteorite Assemblages Implications for Asteroid Surface Materials Keil K 2000 Thermal alteration of asteroids evidence from meteorites Planetary and Space Science Baragiola R A Duke C A Loeffler M McFadden L A Sheffield J 2003 Impact of ions and micrometeorites on mineral surfaces Reflectance changes and production of atmospheric species in airless solar system bodies From Dust to Planetesimals Workshop at Ringberg Castle Germany 2012 04 26 thi ewyaebkaemchchin 2006 A Kracher 2005 Asteroid 433 Eros and partially differentiated planetesimals bulk depletion versus surface depletion of sulfur Ames Laboratory Stiles Lori September 15 2005 Asteroids Caused the Early Inner Solar System Cataclysm 2012 03 20 thi ewyaebkaemchchin University of Arizona News Alfven H Arrhenius G 1976 The Small Bodies SP 345 Evolution of the Solar System NASA subkhnemux 2007 04 12 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint multiple names authors list lingk The Hungaria group of minor planets Lecar M Podolak M Sasselov D Chiang E 2006 Infrared cirrus New components of the extended infrared emission The Astrophysical Journal 640 1115 1118 doi 10 1086 500287 subkhnemux 2007 04 11 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk lingkesiy Berardelli Phil March 23 2006 Main Belt Comets May Have Been Source Of Earths Water Space Daily subkhnemux 2007 10 27 Lakdawalla Emily April 28 2006 The Planetary Society khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 05 01 subkhnemux 2007 04 20 Yeomans Donald K April 26 2007 JPL Small Body Database Search Engine NASA JPL karkhnhadawekhraahnxyinaethbhlkthimikhnadesnphansunyklang gt 100 Tedesco E F Desert F X 2002 The Infrared Space Observatory Deep Asteroid Search lingkesiy The Astronomical Journal 123 2070 2082 doi 10 1086 339482 Williams Gareth April 3 2007 Distribution of the Minor Planets Minor Planets Center McBride N Hughes D W 1990 The spatial density of asteroids and its variation with asteroidal mass Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 244 513 520 Wiegert P Balam D Moss A Veillet C Connors M Shelton I 2007 Evidence for a Color Dependence in the Size Distribution of Main Belt Asteroids lingkesiy The Astronomical Journal 133 1609 1614 doi 10 1086 512128 Clark B E 1996 New News and the Competing Views of Asteroid Belt Geology Lunar and Planetary Science 27 225 226 subkhnemux 2007 03 27 Margot J L Brown M E 2003 A Low Density M type Asteroid in the Main Belt Science 300 5627 1939 1942 doi 10 1126 science 1085844 subkhnemux 2007 04 10 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Lang Kenneth R 2003 Asteroids and meteorites NASA s Cosmos khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 01 24 subkhnemux 2007 04 02 Mueller M Harris A W Delbo M MIRSI Team 2005 21 Lutetia and other M types Their sizes albedos and thermal properties from new IRTF measurements Bulletin of the American Astronomical Society 37 627 subkhnemux 2007 07 23 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Duffard R Roig F 2007 Two new basaltic asteroids in the Outer Main Belt subkhnemux 2007 10 14 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint multiple names authors list lingk Ker Than 2007 Strange Asteroids Baffle Scientists space com subkhnemux 2007 10 14 Low F J aelakhna 1984 Infrared cirrus New components of the extended infrared emission Astrophysical Journal Part 2 Letters to the Editor 278 L19 L22 doi 10 1086 184213 subkhnemux 2007 04 11 khaniidmacakkarkhanwnodypramankhxngwtthuthxngfathnghmd cakcanwn 120437 chinkhxngdawekhraahkhnadelkthicdhmayelkhaelw cakthankhxmulwngokhcr Minor Planet Center wnthi 8 kumphaphnth 2006 Rossi Alessandro May 20 2004 The mysteries of the asteroid rotation day The Spaceguard Foundation khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2004 06 27 subkhnemux 2007 04 09 ec odnld efxrni 1999 The American Kepler 2016 06 12 thi ewyaebkaemchchin The Americal Scientist 87 5 398 ekbkhxmulemux 2007 02 04 Liou Jer Chyi Malhotra Renu 1997 Depletion of the Outer Asteroid Belt Science 275 5298 375 377 doi 10 1126 science 275 5298 375 ekbkhxmulemux 2007 08 01 exs efxrras emlol 14 18 mithunayn 1993 Kirkwood Gaps and Resonant Groups tiphimphinoxkaskhrbrxb 160 pikhxngshphaphdarasastrsakl 175 188 Belgirate Italy Kluwer Academic Publishers ekbkhxmulemux 2007 03 28 ocesf khlakhka 1992 Mass distribution in the asteroid belt Earth Moon and Planets 56 1 47 52 doi 10 1007 BF00054599 ekbkhxmulemux 2007 04 12 di xi aebkhaemn 6 minakhm 1998 Fluctuations in the General Zodiacal Cloud Density 2013 04 29 thi ewyaebkaemchchin Backman Report NASA Ames Research Center ekbkhxmulemux 2007 04 04 wileliym thi rich 1992 Zodiacal emission III Dust near the asteroid belt Astrophysical Journal 392 1 289 299 doi 10 1086 171428 ekbkhxmulemux 2007 04 04 Kingsley Danny May 1 2003 Mysterious meteorite dust mismatch solved ABC Science subkhnemux 2007 04 04 PDF NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2010 01 13 subkhnemux 2007 10 17 Breakup event in the main asteroid belt likely caused dinosaur extinction 65 million years ago Southwest Research Institute 2007 subkhnemux 2007 10 14 The Final IAU Resolution on the Definition of Planet Ready for Voting 2016 03 13 thi ewyaebkaemchchin IAU 24 singhakhm 2006 ekbkhxmulemux 2007 03 02 IAU draft resolution 2008 08 27 thi ewyaebkaemchchin 2006 ekbkhxmulemux 2007 10 20 IAU 2006 General Assembly Result of the IAU Resolution votes 2006 11 07 thi ewyaebkaemchchin ekbkhxmulemux 2007 03 29 Parker J W Stern S A Thomas P C Festou M C Merline W J Young E F Binzel R P Lebofsky L A 2002 Analysis of the First Disk resolved Images of Ceres from Ultraviolet Observations with the Hubble Space Telescope lingkesiy The Astronomical Journal 123 1 549 557 doi 10 1086 338093 ekbkhxmulemux 2008 09 06 Asteroid 1 Ceres The Planetary Society ekbkhxmulemux 2007 10 20 Key Stages in the Evolution of the Asteroid Vesta Hubble Space Telescope news release 1995 ekbkhxmulemux 2007 10 20 aela CT Russel et al 2007 Dawn mission and operations NASA JPL ekbkhxmulemux 2007 10 20 Ker Than 2007 Strange Asteroids Baffle Scientists space com ekbkhxmulemux 2007 10 14 J Torppa et al 1996 Shapes and rotational properties of thirty asteroids from photometric data Icarus 164 2 346 383 doi 10 1016 S0019 1035 03 00146 5 ekbkhxmulemux 2007 03 15 Larson H P Feierberg M A Lebofsky L A 1983 The composition of asteroid 2 Pallas and its relation to primitive meteorites ekbkhxmulemux 2007 10 20 M A Barucci et al 2002 10 Hygiea ISO Infrared Observations 2007 11 28 thi ewyaebkaemchchin ekbkhxmulemux 2007 10 21 Ceres the Planet orbitsimulator com ekbkhxmulemux 2007 10 20 Hughes David W 2007 Finding Asteroids In Space BBC ekbkhxmulemux 2007 04 20 xnenx elimetr 31 singhakhm 4 knyayn 2004 Asteroid family classification from very large catalogues Proceedings Dynamics of Populations of Planetary Systems 135 144 eblekrd esxrebiy aelamxnetenokr sankphimphmhawithyalyekhmbridc ekbkhxmulemux 2007 04 15 ekhnenth xar aelng 2003 Asteroids and meteorites 2012 03 24 thi ewyaebkaemchchin NASA s Cosmos ekbkhxmulemux 2007 04 02 Martel Linda M V March 9 2004 Tiny Traces of a Big Asteroid Breakup Planetary Science Research Discoveries ekbkhxmulemux 2007 04 02 imekhil ec edrkh 2001 The eucrite Vesta story Meteoritics amp Planetary Science 36 4 501 513 ekbkhxmulemux 2007 02 04 Love S G Brownlee D E 1992 The IRAS dust band contribution to the interplanetary dust complex Evidence seen at 60 and 100 microns Astronomical Journal 104 6 2236 2242 doi 10 1086 116399 ekbkhxmulemux 2007 04 11 Spratt Christopher E 1990 The Hungaria group of minor planets Journal of the Royal Astronomical Society of Canada 84 2 123 131 subkhnemux 2007 02 04 Carvano J M Lazzaro D Mothe Diniz T Angeli C A Florczak M 2001 Spectroscopic Survey of the Hungaria and Phocaea Dynamical Groups Icarus 149 1 173 189 doi 10 1006 icar 2000 6512 subkhnemux 2007 02 04 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk The Trojan Page Scott Sheppard SwRI researchers identify asteroid breakup event in the main asteroid belt SpaceRef com June 12 2002 subkhnemux 2007 04 15 lingkesiy McKee Maggie January 18 2006 New Scientist Space khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 03 14 subkhnemux 2007 04 15 Nesvorny D Vokrouhlick D Bottke W F 2006 The Breakup of a Main Belt Asteroid 450 Thousand Years Ago Science 312 5779 1490 doi 10 1126 science 1126175 subkhnemux 2007 04 15 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Nesvorny D Bottke W F Levison H F Dones L 2003 Recent Origin of the Solar System Dust Bands The Astrophysical Journal 591 486 497 doi 10 1086 374807 subkhnemux 2007 04 15 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk lingkesiy M A Barucci M Fulchignoni and A Rossi 2007 Rosetta Asteroid Targets 2867 Steins and 21 Lutetia Space Science Reviews 128 1 4 67 78 doi 10 1007 s11214 006 9029 6 Stern Alan June 2 2006 New Horizons Crosses The Asteroid Belt Space Daily subkhnemux 2007 04 14 Staff April 10 2007 Dawn Mission Home Page NASA JPL subkhnemux 2007 04 14 aehlngkhxmulxun dawekhraahnxy cak NinePlanets org dawekhraahnxy 2007 05 24 thi ewyaebkaemchchin cak okhrngkarsarwcrabbsuriya khxngxngkhkarnasa aethbdawekhraahnxy cakbthkhwam exkphphinpccubn astronomycast com aethbdawekhraahnxy cak solstation com