บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาสเปน คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ราชอาณาจักรฮังการี (ฮังการี: Magyar Királyság) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของรัฐฮังการีระหว่าง ค.ศ. 1920 จนถึง ค.ศ. 1946 ราชอาณาจักรดำรงอยู่กระทั่งความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง และการประกาศสาธารณรัฐฮังการีที่ 2 แม้ว่าในช่วงเวลานี้ฮังการีจะปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย แต่กระนั้นก็ยังไม่มีพระมหากษัตริย์ มีเพียงผู้สำเร็จราชการ มิกโลช โฮร์ตี ซึ่งเป็นพลเรือเอกแห่งอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ที่ยังคงเป็นประมุขแห่งรัฐ หลังจากการปกครองแบบอนุรักษนิยมเป็นเวลานานตั้งแต่ ค.ศ. 1920 จนถึง ค.ศ. 1944 ประเทศก็ตกอยู่ภายใต้การครอบงำโดยนาซีเยอรมนีใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังปฏิบัติการทางทหารในเดือนมีนาคม ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการถูกแทนที่โดยผู้นำฟาสซิสต์ แฟแร็นตส์ ซาลอชี แห่งพรรคแอร์โรว์ครอสส์ในเดือนตุลาคม แต่ต่อมากองกำลังนาซีได้ถูกขับไล่ออกจากฮังการีโดยกองกำลังโซเวียต ทำให้ประเทศตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต และมีการล้มเลิกระบอบราชาธิปไตยใน ค.ศ. 1946 ในทางประวัติศาสตร์แล้ว จะมีการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างยุคสมัยอื่น ๆ ที่ใช้ชื่อราชอาณาจักรฮังการีเหมือนกัน ดังนั้นคำว่า ยุคผู้สำเร็จราชการ หรือ ยุคโฮร์ตี จึงมักถูกใช้อธิบายเพื่อบ่งบอกถึงช่วงเวลานี้
ราชอาณาจักรฮังการี Magyar Királyság (ฮังการี) | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1920–1946 | |||||||||||||||||||||||||||||||
ราชอาณาจักรฮังการีใน ค.ศ. 1942 | |||||||||||||||||||||||||||||||
เขตการปกครองของฮังการี ค.ศ. 1942 | |||||||||||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | บูดาเปสต์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาราชการ | ฮังการี | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาพื้นเมือง | รูซึน (ใน) | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | โรมาเนีย • เยอรมัน • สโลวัก • โครเอเชีย • เซอร์เบีย • ยิดดิช • สโลวีเนีย • โรมานี | ||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มชาติพันธุ์ (1941) | |||||||||||||||||||||||||||||||
ศาสนา (1941) | รายการ
| ||||||||||||||||||||||||||||||
เดมะนิม | ชาวฮังการี | ||||||||||||||||||||||||||||||
การปกครอง | รัฐผู้สำเร็จราชการภายใต้ลัทธิอำนาจนิยม (1920-1944) รัฐฮังการีนิยม รัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้ระบอบเผด็จการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (1944-1945) คณะเปลี่ยนผ่านภายใต้รัฐบาลผสม (1945-1946) | ||||||||||||||||||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||||||||||||||||||
• 1920-1946 | ว่าง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ประมุขแห่งรัฐ | |||||||||||||||||||||||||||||||
• 1920-1944 | มิกโลช โฮร์ตี | ||||||||||||||||||||||||||||||
• 1944-1945 | แฟแร็นตส์ ซาลอชี | ||||||||||||||||||||||||||||||
• 1945-1946 | |||||||||||||||||||||||||||||||
• 1920 (คนแรก) | |||||||||||||||||||||||||||||||
• 1945-1946 (คนสุดท้าย) | |||||||||||||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||
• สภาสูง | (Felsőház) | ||||||||||||||||||||||||||||||
• สภาล่าง | (Képviselőház) | ||||||||||||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ระหว่างสงคราม · สงครามโลกครั้งที่สอง | ||||||||||||||||||||||||||||||
• (ฟื้นฟูราชาธิปไตย) | 29 กุมภาพันธ์ 1920 | ||||||||||||||||||||||||||||||
4 มิถุนายน 1920 | |||||||||||||||||||||||||||||||
• | 26 มีนาคม 1921 | ||||||||||||||||||||||||||||||
• | 21 ตุลาคม 1921 | ||||||||||||||||||||||||||||||
2 พฤศจิกายน 1938 | |||||||||||||||||||||||||||||||
• | 14 มีนาคม 1939 | ||||||||||||||||||||||||||||||
30 สิงหาคม 1940 | |||||||||||||||||||||||||||||||
11 เมษายน 1941 | |||||||||||||||||||||||||||||||
27 มิถุนายน 1941 | |||||||||||||||||||||||||||||||
19 มีนาคม 1944 | |||||||||||||||||||||||||||||||
16 ตุลาคม 1944 | |||||||||||||||||||||||||||||||
1 กุมภาพันธ์ 1946 | |||||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||||||||||||
1920 | 92,833 ตารางกิโลเมตร (35,843 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||||||
1930 | 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||||||
1941 | 172,149 ตารางกิโลเมตร (66,467 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||||||||||
• 1920 | 7,980,143 | ||||||||||||||||||||||||||||||
• 1930 | 8,688,319 | ||||||||||||||||||||||||||||||
• 1941 | 14,669,100 | ||||||||||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | (1920-1927) แป็งเกอ (1927-1946) | ||||||||||||||||||||||||||||||
เขตเวลา | UTC+1 (CET) | ||||||||||||||||||||||||||||||
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) | ||||||||||||||||||||||||||||||
ขับรถด้าน | ขวา (ตั้งแต่ ค.ศ. 1941) | ||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | โครเอเชีย ฮังการี โรมาเนีย เซอร์เบีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย ยูเครน | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
หลังจากความพ่ายแพ้ทางทหารของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1919 บรรดาพรรคอนุรักษนิยมต่างเห็นชอบให้มีการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยฮังการีขึ้นมาอีกครั้ง ขณะที่กองทัพและกลุ่มขวาจัดปฏิเสธการกลับมาของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค จึงมีการสถาปนาตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนขึ้นเป็นการชั่วคราวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920 ลักษณะการปกครองของผู้สำเร็จราชการโฮร์ตีนั้นเป็นแบบอนุรักษนิยม ชาตินิยม และต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ระบอบผู้สำเร็จราชการได้รับการสนับสนุนโดยพันธมิตรอนุรักษนิยมที่ไม่มั่นคงและฝ่ายขวาจัด นโยบายระหว่างประเทศของฮังการีในช่วงเวลานี้มีลักษณะเฉพาะคือ การแก้ไขหรือการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนของสนธิสัญญาสันติภาพ เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่แตกต่างจากในอดีตและเพื่อต่อต้านบอลเชวิค ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ ซึ่งต่อมาจะรวมทั้งการต่อต้านชาวยิว และการปฏิเสธการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย ในเดือนพฤศจิกายน มีการลงนามในสนธิสัญญาทรียานง ซึ่งถูกกำหนดไว้โดยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยภายในเนื้อหาของสนธิสัญญาระบุถึงการที่ฮังการีจะต้องสูญเสียดินแดนและประชากรจำนวนสองในสามให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้การเมืองฮังการีในสมัยระหว่างสงครามถูกครอบงำจากการสูญเสียดินแดนตามสนธิสัญญานี้ ซึ่งทำให้ชาวฮังการีมากกว่าสามล้านคนอยู่นอกเขตแดนใหม่ของราชอาณาจักร การแก้ไขพรมแดนไม่เพียงแต่จะเป็นการรวมอำนาจทางการเมืองของชาติเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการขาดการปฏิรูปภายในด้วย การสิ้นสุดสมัยแห่งความไม่มั่นคงหลังการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตเกิดขึ้นในยุคของรัฐบาล ผู้ลงสมัครซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากฝ่ายอนุรักษนิยมและกลุ่มขวาจัด การนำนโยบายทางต่างประเทศอันสงบมาใช้และการยุติความไม่มั่นคงภายใน ทำให้ประเทศฮังการีสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติได้ใน ค.ศ. 1922 จากเสถียรภาพทางการเมืองที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮังการีสามารถเจรจากับสถาบันการเงินของต่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ด้วยการสนับสนุนของโฮร์ตี ทำให้แบตแลนสามารถควบคุมการเลือกตั้งและการครอบงำพรรคร่วมรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รัฐบาลของเขาสามารถอยู่ในอำนาจได้เป็นเวลาสิบปี โดยที่ไม่มีการต่อต้านใด ๆ เลย แรงสนับสนุนของรัฐบาลแบธแลนไม่ได้มาจากพรรคการเมืองเพียงเท่านั้น แต่ยังมาจากนักบวช ชนชั้นนายทุน และเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในชนบทอีกด้วย แม้ว่าประเทศจะมีลักษณะการปกครองในรูปแบบรัฐสภา แต่ก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ยังคงเป็นระบอบเผด็จการอนุรักษนิยม ฮังการีถูกครอบงำโดยชนชั้นสูงและข้าราชการซึ่งส่วนใหญ่มีภูมิฐานจากชนชั้นสูง หลังจากช่วงระยะเวลาสั้น ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิวัติใน ค.ศ. 1919 ชนชั้นสูงก็สามารถนำอำนาจกลับคืนมาได้อีกครั้ง และฟื้นฟูระบอบการเมืองและสภาพสังคมให้กลับไปเป็นแบบในช่วงก่อนสงครามโลก กลุ่มแรงงานในเมืองและชาวนา ซึ่งเป็นจำนวนสองในสามของประชากรทั้งหมด ต่างไม่มีอิทธิพลในรัฐบาลเลยแม้แต่น้อย และการวางตัวเป็นกลางของพวกสังคมนิยม ทำให้ผู้คนในช่วงปลายทศวรรษถัดมา เริ่มมีแนวคิดหัวรุนแรงจนกลายเป็นฟาสซิสต์
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมขนานใหญ่ ซึ่งทำให้รูปแบบทางการเมืองของรัฐบาลแบตแลนเกิดปัญหา ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้สำเร็จราชการโฮร์ตีและนักการเมืองชั้นนำจึงตัดสินใจเข้าพบกับ ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มขวาจัดและเป็นบุคคลที่น่าจะทำให้มวลชนสงบลงได้มากที่สุด เมื่อเกิมเบิชได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เขาจึงค่อย ๆ วางผู้สนับสนุนของเขาไว้ในตำแหน่งสำคัญทั้งในส่วนของรัฐบาลและกองทัพ หลังจากที่แบตแลนลาออกจากตำแหน่ง ระบอบผู้สำเร็จราชการเริ่มได้รับความสำคัญมากขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ค.ศ. 1935 เป็นต้นไป โฮร์ตีกลายเป็นผู้ชี้ขาดทางการเมืองระดับชาติ ทั้งเพราะรัฐบาลที่เริ่มเสื่อมถอยมากขึ้น เนื่องจากความแตกแยกระหว่างพรรคอนุรักษนิยมกับกลุ่มขวาจัด และเพราะแรงสนับสนุนที่เขาได้รับจากกลุ่มฝ่ายขวาส่วนใหญ่ในประเทศ โฮร์ตีจึงพยายามรักษาสมดุลระหว่างทั้งสองฝ่ายไว้ ในช่วงแปดปีของการปกครองโดยระบอบผู้สำเร็จราชการ อิทธิพลของเยอรมนีและความนิยมของจักรวรรดิไรช์เริ่มแพร่กระจายสู่ประชากรส่วนหนึ่ง ทำให้การเมืองภายในประเทศเริ่มเกิดความรุนแรง และได้โน้มน้าวให้ผู้คนเชื่อว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูรูปแบบอนุรักษนิยมให้เหมือนดังในช่วงทศวรรษ 1920 เยอรมนีสามารถบรรเทาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้ ดังนั้นโฮร์ตีจึงเล็งเห็นว่าเยอรมนีน่าจะสามารถสนับสนุนฮังการีให้บรรลุความปรารถนาในการแก้ไขดินแดนได้ แต่มันกลับพังทลายลง เมื่อฮังการีเริ่มกลายเป็นรัฐในอารักขาของเยอรมนีทีละน้อย รัฐบาลฮังการีประสบความล้มเหลวในความพยายามที่จะสกัดกั้นอิทธิพลของเยอรมนีและฝ่ายขวาของประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปฏิเสธที่จะละทิ้งความทะเยอทะยานในการแก้ไขดินแดน ซึ่งความสำเร็จนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลเบอร์ลินด้วย ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสำคัญในการเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มขวาจัดในฮังการี
แต่ด้วยความร่วมมือระหว่างเยอรมนีและอิตาลี ส่งผลให้ประเทศสามารถกู้คืนดินแดนส่วนหนึ่งที่เสียไปให้แก่เชโกสโลวาเกียกลับมาได้ตามการอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ซี่งในช่วงเวลานี้เอง ที่เยอรมนีเริ่มมีบทบาทในการเมืองฮังการี ความปรารถนาของประชาชนในการเปลี่ยนแปลง เจตคติเชิงปฏิกิริยาต่อรัฐบาลที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ความอ่อนแอลงของฝ่ายซ้าย และอำนาจของขบวนการฟาสซิสต์ในยุโรปนั้น เอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตขึ้นของกลุ่มฝ่ายขวาจัดที่คัดค้านการปฏิรูป ในการอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่สอง ซึ่งมีผู้ตัดสินคืออิตาลีและเยอรมนีใน ค.ศ. 1940 ทำให้ฮังการีได้รับดินแดนทางตอนเหนือของทรานซิลเวเนียจากโรมาเนีย ประเทศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองโดยอยู่ฝ่ายอักษะ ซึ่งหันไปต่อต้านยูโกสลาเวียและมีส่วนช่วยในการบุกครองสหภาพโซเวียตเมื่อปลายเดือนมิถุนายน และพันธมิตรตะวันตกในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายอักษะเริ่มพ่ายแพ้แก่กองทัพโซเวียต ทำให้ฮังการีพยายามเปลี่ยนฝ่ายในช่วงปลายสงครามแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากความปรารถนาที่จะรักษาดินแดนที่เคยสูญเสียไปและระบบสังคมที่ล้าสมัย อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่เต็มใจที่จะต่อต้านสหภาพโซเวียต เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนฝ่ายเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอิตาลี เยอรมนีจึงบุกครองประเทศโดยปราศจากการต่อต้านในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ซึ่งดูแลโดยตัวแทนจากนาซีเยอรมนีได้ทำการปฏิรูปกองทัพและเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสนับสนุนความพยายามในการทำสงครามของเยอรมนีและยุติปัญหาชาวยิว พวกนาซีได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล อันเป็นการสิ้นสุดลงของระบอบผู้สำเร็จราชการที่นำโดยโฮร์ตี และได้มอบอำนาจให้แก่ แฟแร็นตส์ ซาลอชี ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคแอร์โรว์ครอสส์ แต่ท้ายที่สุดกองทัพโซเวียตก็สามารถขับไล่นาซีเยอรมนีออกจากดินแดนฮังการีได้เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1945 เป็นเหตุให้การผนวกดินแดนของฮังการีในการอนุญาโตตุลาการเวียนนาทั้งสองครั้งถูกประกาศว่าเป็นโมฆะภายหลังสงคราม
ด้วยประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้การกระจายที่ดินยังคงไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก โดยทั่วไปแล้ว ชาวนาฮังการีต้องอยู่อย่างยากจนข้นแค้น การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศได้รับการสนับสนุนเพื่อพยายามลดจำนวนประชากรล้นเกินในชนบท แต่ก็ไม่เคยเติบโตมากพอที่จะลดจำนวนประชากรในภาคการเกษตรได้ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจชองฮังการีอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตรกรรม ราคาธัญพืชซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของฮังการีทรุดตัวลงในตลาดโลก วิกฤตการณ์ร้ายแรงทางเศรษฐกิจส่งผลให้อิทธิพลของฟาสซิสต์อิตาลีและเยอรมนีเพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งสองประเทศต่างเป็นคู่ค้าหลักของผลผลิตทางการเกษตรเพียงไม่กี่รายในประเทศ ซึ่งไม่ถูกครอบงำโดยตลาดต่างประเทศอีกต่อไป ใน ค.ศ. 1938 เยอรมนีเริ่มควบคุมการนำเข้าและส่งออกของฮังการีถึง 50 % แล้ว การค้าขายกับเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นและการเริ่มต้นนโยบายการเสริมกำลังอาวุธ ทำให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงครึ่งหลังทศวรรษ 1930 ได้ อย่างไรก็ตาม สภาพความเป็นอยู่และการทำงานของคนงานในอุตสาหกรรมยังคงย่ำแย่ แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาวุธมีส่วนช่วยในการขจัดการว่างงานไปได้แทบทั้งหมด สำหรับประชากรชาวยิวใน ค.ศ. 1930 ซึ่งคิดเป็น 5.1 % ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมืองหลวง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านอุตสากรรม พาณิชยกรรม และการเงินของประเทศ ในช่วงปลายทศวรรษ 1930 จนถึงต้นทศวรรษ 1940 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายเลือกปฏิบัติต่อชาวยิว ซึ่งจำกัดสิทธิต่าง ๆ ของชาวยิวอย่างเห็นได้ชัด ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มไม่มั่นคง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวยิวทั้งหมด 565,000 คน ถูกสังหารในดินแดนของฮังการี
การเมือง
การฟื้นฟูราชาธิปไตย
ในข่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1919 กองทัพโรมาเนียได้บุกฝ่าแนวรบของกองทัพแดงฮังการีรัฐบาลโซเวียตจึงมอบอำนาจให้กับรัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมสายกลางใหม่ที่ไม่สามารถป้องกันการบุกครองของโรมาเนียได้ จากนั้นรัฐบาลใหม่ก็ถูกแทนที่โดยรัฐบาลอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับการยอมรับจากโรมาเนีย ฝ่ายกองทัพแห่งชาตินำโดยพลเรือเอก มิกโลช โฮร์ตี ได้รวบรวมกำลังพลจากเมืองแซแก็ด ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกองทัพฝรั่งเศส เคลื่อนพลเข้าสู่เมืองหลวงหลังจากที่กองทัพโรมาเนียถอนกำลังออกจากประเทศในช่วงต้นฤดูหนาว ฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ และกลุ่มผู้นิยมระบอบราชาธิปไตยได้ก่อขึ้นในภูมิภาคตะวันตกของประเทศตั้งแต่ช่วงปลายฤดูร้อนหลังการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี เพื่อลบล้างมรดกจากยุคคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ การกดขี่ข่มเหงต่อสมาชิกของขบวนการฝ่ายซ้ายและชาวยิวจึงแพร่กระจายไปทั่วประเทศ กองกำลังกึ่งทหารใช้วิธีการกวาดล้างผู้ต่อต้านซึ่งไม่ต่างจากการก่ออาชญากรรม โดยมีการกรรโชก การโจรกรรม การทรมาน และการฆาตกรรม ซึ่งพวกเขาได้อ้างถึงการกระทำว่าเป็นเพราะเหตุผลทางการเมือง อำนาจยังคงอยู่ในมือของฝ่ายอนุรักษนิยมและฝ่ายขวาจัด ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มขุนนาง ข้าราชการ และทหาร ชาวนาที่เอือมระอากับการกดขี่ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ (ยกเว้นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม) ยอมรับการกลับมาของระบอบคณาธิปไตยเพื่อแลกกับการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม กองกำลังกึ่งทหารเริ่มผ่อนคลายความรุนแรงลงเมื่อสิ้นสุดสมัยแห่งการปฏิวัติ โดยทั่วไปแล้ว การเมืองของประเทศเริ่มเอนเอียงไปทางฝ่ายขวาในเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังการล่มสลายของรัฐบาลปฏิวัติคอมมิวนิสต์
ภายใต้แรงกดดันจากไตรภาคีถูกจัดขึ้นพร้อมกับการสำรวจสำมะโนประชากร และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศที่ให้สิทธิการเลือกตั้งแก่สตรี จากผลการเลือกตั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1920 ทำให้มีพรรคการเมืองฝ่ายขวาขนาดใหญ่เกิดขึ้น 2 พรรค ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกภายในระหว่างฝ่ายขวาอนุรักษนิยมและฝ่ายมูลวิวัติ
ใน ค.ศ. 1920 กฎหมายฉบับแรกได้ยกเลิกมาตรการทั้งหมดที่ตราขึ้นโดยรัฐบาลปฏิวัติของมิฮาย กาโรยี และเบ-ลอ กุน ฝ่ายอนุรักษนิยมสนับสนุนการฟื้นฟูราชบัลลังก์ของพระเจ้าคาร์ลที่ 4 แห่งฮังการี ขณะที่กองทัพและกลุ่มมูลวิวัติฝ่ายขวาแม้จะสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน แต่กระนั้นได้ปฏิเสธการกลับมาของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค จึงมีการตัดสินใจตั้งระบอบผู้สำเร็จราชการชั่วคราวซึ่งมีอำนาจมากขึ้นมาแทน ฝ่ายกองทัพและกองกำลังกึ่งทหารเข้ายึดอาคารรัฐสภาระหว่างการเลือกตั้ง และแต่งตั้งมิกโลช โฮร์ตี ตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายกองทัพขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม นั่นจึงทำให้เขากลายเป็นประมุขแห่งรัฐฮังการีคนเดียวตลอดสมัยระหว่างสงคราม และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944
การต่อต้านการปฏิวัติ
ระหว่างที่โฮร์ตีดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ฝ่ายมูลวิวัติได้กำหนดนโนบายทางการเมืองของตนในรัฐสภาไว้หลายประการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุมัติการปฏิรูปที่ดินบางส่วน การออกกฎหมายต่อต้านชาวยิว ซึ่งเป็นครั้งแรกในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง และการฟื้นฟูการลงโทษทางร่างกายสำหรับอาชญากรรมบางประเภท ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของความเสื่อมโทรมทางสังคมในยุคนั้น การที่รัฐสภาให้สัตยาบันในสนธิสัญญาทรียานงเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน และลงนามในวันที่ 4 มิถุนายน ซึ่งสนธิสัญญาฉบับนี้ถูกกำหนดไว้โดยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีการปฏิเสธในบางหัวข้อที่กำหนด ทำให้ประเทศต้องสูญเสียดินแดนและประชากรประมาณสองในสามของราชอาณาจักรเดิม ความพยายามของนายกรัฐมนตรี (Pál Teleki) ที่จะจำกัดการสูญเสียเพื่อแลกกับผลประโยชน์แก่ฝรั่งเศสและการให้ความช่วยเหลือโปแลนด์ในสงครามโปแลนด์-โซเวียตประสบความล้มเหลว ทั้งในรัฐบาลและรัฐสภาต่างถูกครอบงำโดยบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นชนชั้นนายทุนมากกว่าชนชั้นสูง และเป็นบุคคลผู้มีอายุน้อยกว่ากลุ่มผู้ปกครองในช่วงก่อนสงครามทั้งสิ้น แต่หลังจากนั้นสถานการณ์ก็เปลี่ยนไปในช่วง ค.ศ. 1921 เมื่อรัฐบาลสายอนุรักษนิยมของ (István Bethlen) ขึ้นสู่อำนาจ
ภายหลังการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยของฮังการี ประเทศได้เข้าสู่ปีแห่งความวุ่นวายครั้งใหญ่ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของฮังการีร้ายแรงเป็นอย่างมาก อดีตพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี (พระเจ้าคาร์ลที่ 4) ทรงพยายามถึงสองครั้งใน ค.ศ. 1921 แต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลซึ่งขาดอำนาจที่เข้มแข็งยังคงปล่อยให้ความน่าสะพรึงกลัวของกองกำลังกึ่งทหารที่ต่อต้านชาวยิว นักสังคมนิยม และปัญญาชนฝ่ายซ้ายดำเนินต่อไป ผู้อพยพจำนวนมากจากดินแดนที่สูญเสียประมาณ 300,000 ถึง 400,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญสำหรับฮังการี ดังนั้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1921 รัฐบาลจึงออกคำสั่งห้ามการเข้ามาของผู้อพยพรายใหม่จำนวนมหาศาล แต่ปัญหาก็ไม่ได้หยุดลง เนื่องจากมีการปล่อยให้ผู้อพยพเข้ามาหลายพันคนในแต่ละเดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวชนชั้นกลางผู้ยากไร้ ทหารปลดประจำการ และข้าราชการจากดินแดนที่สูญเสีย กลุ่มคนเหล่านี้ให้การสนับสนุนฝ่ายฟาสซิสต์ ซึ่งพวกเขาปรารถนาที่จะนำรูปแบบการเมืองระบอบเผด็จการมาใช้ โดยพวกเขาหวังจะเจริญก้าวหน้าในระบอบนี้ ประเทศต้อนรับทหารผู้อพยพประมาณ 17,000 คน ขณะที่สนธิสัญญาสันติภาพจำกัดจำนวนทหารผู้อพยพเพียง 1,700 คน นั่นแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีอำนาจควบคุมกองทัพเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ความต้องการของผู้อพยพต่อการจ้างงานของรัฐและความเป็นไปไม่ได้ในการรับผู้อพยพเพิ่ม กระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจทั้งสำหรับรัฐและผู้อพยพ การที่ประชากรชาวยิวมีความสำคัญยิ่งต่อระบบอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของประเทศและความล้มเหลวของผู้อพยพในการแข่งขันกับชาวยิว ทำให้กระแสการต่อต้านชาวยิวปะทุขึ้นในหมู่ผู้อพยพและเกิดการเรียกร้องการจ้างงานของรัฐอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ความไม่มั่นคงภายในประเทศทำให้นักธุรกิจต่างชาติไม่กล้าเข้ามาลงทุนในฮังการี แม้ตอนนี้รัฐบาลจะไม่ถูกคุกคามโดยขบวนการชาวนาแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลยังคงประสบความขัดแย้งกับคนงานที่ถูกกดขี่ และชนชั้นกลางที่เอือมระอากับการทดลองทางสังคมและกองกำลังกึ่งทหาร การยุติความน่าสะพรึงกลัวทำให้รัฐบาลได้รับการยอมรับในระดับสากลและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจอีกด้วย
ทศวรรษแห่งแบตแลน
การสิ้นสุดสมัยแห่งความไม่มั่นคงหลังการล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตเกิดขึ้นในยุคของรัฐบาล ผู้สมัครเลือกตั้งซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากฝ่ายอนุรักษนิยม (เนื่องจากเขาถูกมองว่าเป็นนักการเมืองที่มีความสามารถมากคนหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นสมาชิกจากตระกูลขุนนางชั้นสูงด้วย) ฝ่ายขวามูลวิวัติ (เนื่องจากแบตแลนมีแนวคิดแบบเทววิทยาปฏิรูปและเป็นหนึ่งในผู้อพยพจากดินแดนทรานซิลเวเนียที่สูญเสีย) นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และนักปฏิบัตินิยม ทำให้ในเวลาไม่นานแบตแลนกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลเหนือกว่าโฮร์ตี (แบตแลนเริ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคอนุรักษนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าเขาจะมีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายขวามูลวิวัติก็ตาม) ทัศนคติแบบอนุรักษนิยมเสรีของแบตแลนเป็นตัวกลางระหว่างทั้งสองฝ่ายที่สนับสนุนระบอบการปกครองแบบอนุรักษนิยมและฝ่ายขวามูลวิวัติ ซึ่งถือเป็นนโยบายภายในประเทศในช่วงระยะเวลาอันยาวนานของแบตแลนในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยพื้นฐานแล้ว รัฐบาลใหม่นี้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงปฏิกิริยา พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบการเมืองและรูปแบบสังคมให้กลับไปเป็นดังช่วงก่อนสงครามโลก
แบตแลนตัดสินใจระงับการก่อกวนของฝ่ายขวาจัดก่อน โดยการติดสินบนบุคคลสำคัญบางคน ซึ่งเขาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล กองกำลังกึ่งทหารได้รับมอบหมายให้กักขังคนงาน ชาวนา และข่มขู่ฝ่ายค้านทางการเมือง โดยพวกเขาได้กระทำการจนเกินกว่าเหตุและกลายเป็นภัยคุกคามอย่างยิ่งต่อชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษนิยมที่ต่อต้านการปฏิวัติ การดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาลเป็นไปอย่างเชื่องช้าและใช้เวลาดำเนินการเกือบสองปี ส่วนหนึ่งเพราะกองกำลังกึ่งทหารมีผู้สนับสนุนที่มีอำนาจทั้งในฝ่ายกองทัพและฝ่ายบริหารพลเรือน ซึ่งรวมถึงตัวของผู้สำเร็จราชการอย่างโฮร์ตีด้วย (ซึ่งพวกเขาได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมสำหรับอาชญากรรมทั้งหมดของกองกำลังกึ่งทหารในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1921) ในช่วงกลางทศวรรษ 1920 กองกำลังกึ่งทหารในชนบทถูกรวมเข้ากับกองพลตระเวนภายใต้การควบคุมของกองทัพและถูกยุบตัวลงไปโดยส่วนใหญ่ ด้วยการควบคุมที่เพียงพอจากทางกองทัพและตำรวจ รัฐบาลจึงแสดงความมุ่งมั่นที่จะยุบเลิกกองกำลังกึ่งทหารทั้งหมดภายในสิ้นปี 1921 เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ รัฐบาลจึงเพิ่มงบประมาณทางทหารโดยไม่สนใจถึงข้อจำกัดที่กำหนดโดยสนธิสัญญาสันติภาพ เจ้าหน้าที่ทหารส่วนหนึ่งได้รับตำแหน่งในฝ่ายบริหารพลเรือน เจ้าหน้าที่ลับทั่วไปถูกควบคุมโดยทหารผ่านศึกอนุรักษนิยมในสมัยจักรวรรดิมากกว่าผู้บัญชาการทหารที่ต่อต้านการปฏิวัติ เมื่อ ค.ศ. 1922 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการยุติได้ในที่สุด ด้วยนโยบายต่างประเทศที่สันติและการยุติความไม่มั่นคงภายใน แบตแลนจึงสามารถนำพาประเทศเข้าสู่สันนิบาตชาติได้ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1922 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายอนุรักษนิยมและฝ่ายขวามูลวิวัติ ทำให้แบตแลนรับประกันชัยชนะในอดีตได้เป็นการชั่วคราว
ด้วยรัฐเผชิญกับการล้มละลายอย่างถึงขีดสุด เนื่องจากรายได้ของประเทศไม่เพียงพอ แบตแลนจึงขายทองคำและทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศก้อนสุดท้าย เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับธุรกิจและครอบคลุมงบประมาณแผ่นดินระหว่าง ค.ศ. 1921 ถึง ค.ศ. 1923 จากเสถียรภาพทางการเมืองที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮังการีสามารถเจรจากับสถาบันการเงินของต่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น การเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติทำให้ประเทศได้รับสินเชื่อการรักษาเสถียรภาพระหว่างประเทศจำนวน 250 ล้านโกโรนอใน ค.ศ. 1924 อย่างไรก็ตาม สินเชื่อเหล่านี้ส่งผลให้เกิดแรงกดดันในการชำระหนี้เก่าและการขาดดุลงบประมาณต่อเนื่อง โดยหนี้ภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดชะงักในช่วงทศวรรษของแบตแลน ซึ่งอยู่ที่ 70 % ของจีดีพีใน ค.ศ. 1931 กลยุทธ์ของแบตแลนขึ้นอยู่กับการรักษาสินเชื่อระหว่างประเทศ ซึ่งเขาสามารถรักษาไว้ได้ตลอดทศวรรษ 1920 แม้ว่าผู้คนภายในประเทศหรือตัวของแบตแลนเองจะมีความเกลียดชังชาวยิว แต่เขาก็ยังแสวงหาความร่วมมือจากชนชั้นนายทุนชาวยิวในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงคราม การปกครองในสมัยนี้ยังคงทัศนคติต่อต้านยิวเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นชนชั้นสูงยิวที่ให้ความร่วมมือแก่รัฐบาล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาณาเขต
การเสียดินแดน
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ผู้สำเร็จราชการ มิกโลช โฮร์ตี ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง ได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง ซึ่งเป็นการยินยอมสละดินแดนส่วนใหญ่ของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ทำให้ฮังการีสูญเสียดินแดนคิดเป็น 72 % ของดินแดนเดิม (จาก 282,870 ตารางกิโลเมตร เป็น 92,963 ตารางกิโลเมตร) และประชากรลดลงจาก 18.2 ล้านคน เป็น 7.98 ล้านคน ประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการเสียดินแดนของฮังการี คือ ออสเตรีย, เชโกสโลวาเกีย, โรมาเนีย (ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับดินแดนมากที่สุด ทั้งทรานซิลเวเนียทั้งหมด บานัตส่วนใหญ่ และดินแดนอื่น ๆ), และยูโกสลาเวีย อีกทั้งฮังการียังสูญเสียพื้นที่ทางออกทะเลเพียงแห่งเดียวของประเทศอย่างเมืองท่าฟีอูเมให้กับอิตาลี ชาวฮังการีราวสองถึงสามล้านคน (คิดเป็นหนึ่งในสามของประชากร) กลายเป็นส่วนหนึ่งของประชากรในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้คนเหล่านี้สนับสนุนในความปรารถนาที่จะกู้คืนดินแดนที่เสียไป เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายเป็นศัตรูกับทางการบูดาเปสต์ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ ในบางกรณี ก็มีการแบ่งพรมแดนของภูมิภาคที่มีชาวฮังการีอาศัยเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับกรณีของเชโกสโลวาเกีย ประชากรชาวฮังการีจำนวนมากบางส่วนถูกแยกออกจากดินแดนราชอาณาจักรเพียงไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้น
อย่างไรก็ดี สนธิสัญญายังคงกำหนดประชากรองค์รวมของประเทศให้เป็นมาตรฐาน โดยประกอบด้วยชาวฮังการี 89.8 % ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานั้น สำหรับชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ คือ ชาวเยอรมัน ซึ่งคิดเป็น 6.8 % ของประชากรทั้งหมด ส่วนชนกลุ่มน้อยสโลวัก โรมาเนีย และโครเอเชียก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน แต่มีสัดส่วนที่น้อยกว่า ทำให้ปัญหาชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่งในภูมิภาค ได้รับการแก้ปัญหาโดยสนธิสัญญาสันติภาพฉบับนี้
นอกจากการสูญเสียทางดินแดนและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่งแล้ว สนธิสัญญายังได้จํากัดกำลังพลของฮังการีไว้อีกด้วย โดยกองทัพบกไม่สามารถมีกำลังพลเกิน 35,000 นาย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นอาสาสมัครมิใช่ทหารชำนาญการ ส่วนกองทหารรักษาการณ์และตํารวจสามารถมีเจ้าหน้าที่ได้ไม่เกิน 12,000 นาย ในขณะที่สามประเทศเพื่อนบ้านของฮังการี (เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย และโรมาเนีย) ที่รวมกันแล้วมีกำลังพลประมาณ 5 แสนนาย กองทัพฮังการีไม่ได้รับอนุญาตให้มีหน่วยการบิน หน่วยรถถัง หน่วยปืนใหญ่หนัก กองเสนาธิการทหาร หรือแม้แต่กําหนดการรับราชการทหารภาคบังคับ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ชนชั้นสูงได้รับการฟื้นฟูอำนาจกลับคืนมาจากความชอบธรรมในการต่อต้านชาวยิว โดยกล่าวหาว่าประชากรชาวยิวเป็นต้นเหตุให้กองทัพพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อีกทั้งฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ในระหว่างสงคราม และเป็นผู้สนับสนุนที่แท้จริงของสาธารณรัฐโซเวียต ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้พวกเขาสามารถหลีกเลี่ยงการปะทะกันโดยตรงกับแรงงานและชาวนาได้
- ผู้สำเร็จราชการแห่งฮังการีแทบจะมีอำนาจเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ แม้จะไม่สามารถมอบตำแหน่งอันสูงส่งหรือยับยั้งการตัดสินใจของฝ่ายคริสตจักรได้ แต่ผู้สำเร็จราชการมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี สามารถสั่งยุบสภา หรือยับยั้งกฎหมายได้ อีกทั้งผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพด้วย ใน ค.ศ. 1925 อำนาจของผู้สำเร็จราชการได้รับการขยายมากขึ้น โดยสามารถแต่งตั้งวุฒิสมาชิกตลอดชีพในวุฒิสภาแห่งชาติได้
- เป็นคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม โดยมี (Sándor Simonyi-Semadam) เป็นประธานคณะรัฐมนตรี ซึ่งต้องลงนามในสนธิสัญญาที่กำหนดโดยผู้ชนะสงครามในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศปาล แตแลกี ได้ทำการปลดชีโมนยี-แชมอด็อม หลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลได้ไม่นาน
- เนื่องจากการสวรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 4 ใน ค.ศ. 1922 ทำให้ความพยายามในการฟื้นฟูราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คสิ้นสุดลงในการเมืองฮังการี
- การแก้ไขสนธิสัญญาสันติภาพทั้งหมดหรือบางส่วนที่ลงนามหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยมากขึ้นสำหรับฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ ในกรณีของฮังการี การเมืองของประเทศถูกครอบงำด้วยความปรารถนาที่จะกอบกู้ดินแดนอันกว้างใหญ่ที่สูญเสียไปทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าจะโดยสันติหรือใช้กำลังก็ตาม
- Nagy-Talavera กล่าวถึงผู้ถูกเนรเทศทั้งหมด 70,000 คน ได้รับการส่งตัวไปยังค่ายกักกัน มีการพิจารณาคดีถึง 27,000 ครั้งสำหรับบุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมยุคสาธารณรัฐ มีการประหารชีวิต 329 ครั้ง การสังหาร 1,200 คน และมีอีกหลายหมื่นคนที่ต้องลี้ภัยเพราะความน่าสะพรึงกลัวนี้
- อย่างไรก็ตาม Nagy-Talavera ระบุว่ายังมีความวุ่นวายบางส่วนเกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1924-1925 โดยผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่อาศัยประโยชน์จากความผ่อนปรนของศาลฮังการีอยู่เสมอ
- ใน ค.ศ. 1923 งบประมาณแผ่นดินของรัฐทั้งหมด 79 % มาจากทองคำและทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ
อ้างอิง
- "A m. kir. minisztérium 1939. évi 6.200. M. E. számú rendelete, a Magyar Szent Koronához visszatért kárpátaljai terület közigazgatásának ideiglenes rendezéséről" [Order No. 6.200/1939. M. E. of the Royal Hungarian Ministry on the provisional administration of the Subcarpathian territory returned to the Hungarian Holy Crown]. Magyarországi Rendeletek Tára (ภาษาฮังการี). Budapest: Royal Hungarian Ministry of the Interior. 73: 855. 1939.
- Fedinec, Csilla (2002). "A Kárpátaljai Kormányzóság idõszaka" [The period of the Governorate of Subcarpathia]. A kárpátaljai magyarság történeti kronológiája, 1918-1944 [Historical chronology of the Hungarians in Subcarpathia, 1918-1944] (PDF) (ภาษาฮังการี). Galánta - Dunaszerdahely: Fórum Intézet - Lilium Aurum Könyvkiadó. p. 336. ISBN .
- Fogarasi, Zoltán (1944). "A népesség anyanyelvi, nemzetiségi és vallási megoszlása törvényhatóságonkint 1941-ben" [Distribution of the population by mother tongue, ethnicity and religion in the municipalities of Hungary in 1941.]. Magyar Statisztikai Szemle (ภาษาฮังการี). Budapest: Royal Hungarian Central Statistical Office. 22 (1–3): 4, 13.
- Kollega Tarsoly, István, บ.ก. (1995). "Magyarország". Révai nagy lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. 20. Budapest: Hasonmás Kiadó. pp. 595–597. ISBN .
- Kollega Tarsoly, István, บ.ก. (1996). "Magyarország". Révai nagy lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. 21. Budapest: Hasonmás Kiadó. p. 572. ISBN .
- Élesztős László; และคณะ, บ.ก. (2004). "Magyarország". Révai új lexikona (ภาษาฮังการี). Vol. 13. Budapest: Hasonmás Kiadó. pp. 882, 895. ISBN .
- The Horthy Era (1920-1944)
- Nagy-Talavera 1970, p. 55.
- Rothschild 1990, p. 191.
- Dreisziger 1998, p. 31.
- Rogger & Weber 1974, p. 364-365.
- Nagy-Talavera 1970, p. 77.
- Janos 1981, p. 205.
- Nagy-Talavera 1970, pp. 56–57.
- Rothschild 1990, p. 166.
- Rogger & Weber 1974, p. 375.
- Nagy-Talavera 1970, p. 58.
- Janos 1981, p. 208.
- Rothschild 1990, p. 163.
- Janos 1981, p. 209.
- Rothschild 1990, p. 162-163.
- Seton-Watson 1946, p. 240-241.
- Seton-Watson 1946, p. 241.
- Nagy-Talavera 1970, p. 59.
- Janos 1981, p. 246.
- Janos 1981, p. 246-247.
- Rothschild 1990, pp. 173–174.
- Janos 1981, p. 300.
- Janos 1981, p. 298-300.
- Rothschild 1990, p. 176.
- Juhász 1979, p. 135.
- Janos 1981, p. 292.
- Janos 1981, p. 301.
- Sugar 1971, p. 75.
- Rothschild 1990, p. 183.
- Rothschild 1990, p. 187.
- Janos 1981, p. 308-309.
- Janos 1981, p. 309.
- Rothschild 1990, p. 188.
- Seton-Watson 1956, p. 105.
- Balogh 1983, p. 44.
- Seton-Watson 1946, p. 240.
- Berend & Ránki 1969, p. 183.
- Janos 1981, p. 244.
- Rothschild 1990, p. 171.
- Basch 1943, p. 206.
- Rothschild 1990, p. 189.
- Rothschild 1990, p. 196.
- Janos 1981, p. 223.
- Janos 1981, p. 302.
- Nagy-Talavera 1970, p. 242.
- Janos 1981, p. 201.
- Rothschild 1990, p. 152.
- Rothschild 1990, p. 151-152.
- Rogger & Weber 1974, p. 371.
- Nagy-Talavera 1970, p. 54.
- Rothschild 1990, p. 153.
- Mocsy 1983, p. 145.
- Janos 1981, p. 201-202.
- Cohen 1984, p. 136.
- Sugar 1971, p. 74.
- Rogger & Weber 1974, p. 370.
- Bodó 2006, p. 129-132.
- Mocsy 1983, p. 145-146.
- Macartney 1929, p. 585.
- Macartney 1929, p. 586.
- Janos 1981, p. 202-203.
- Janos 1981, p. 202.
- Rothschild 1990, p. 154.
- Macartney 1929, p. 582.
- Janos 1981, p. 203.
- Rothschild 1990, p. 154, 158.
- Rogger & Weber 1974, p. 373.
- Horel 2008, p. 91.
- Rogger & Weber 1974, p. 376.
- Nagy-Talavera 1970, p. 73.
- Janos 1981, p. 204.
- Rothschild 1990, p. 155.
- Rogger & Weber 1974, p. 372.
- Ablonczy 2006, p. 67, 69.
- Rothschild 1990, p. 157.
- Nagy-Talavera 1970, p. 56.
- Janos 1981, p. 279.
- Janos 1981, p. 206.
- Nagy-Talavera 1970, p. 57.
- Rothschild 1990, p. 159.
- Horel 2008, p. 92.
- Sugar 1971, p. 73.
- Nagy-Talavera 1970, p. 51.
- Mocsy 1983, p. 180.
- Sugar 1971, p. 66.
- Sakmyster 1975, p. 38.
- Mocsy 1983, p. 179.
- Mocsy 1983, p. 183.
- Rothschild 1990, p. 158.
- Nagy-Talavera 1970, p. 50.
- Sakmyster 1975, p. 21.
- Bodó 2006, p. 141.
- Bodó 2006, p. 142.
- Nagy-Talavera 1970, p. 53.
- Nagy-Talavera 1970, p. 58, 69.
- Sugar 1971, p. 68, 74.
- Bodó 2006, p. 122.
- Bodó 2006, p. 142, 148.
- Bodó 2006, p. 145.
- Bodó 2006, p. 143.
- Nagy-Talavera 1970, p. 57-58.
- Janos 1981, p. 208-209.
- Sakmyster 1975, p. 22.
- Janos 1981, p. 225.
- Bodó 2006, p. 146.
- Nagy-Talavera 1970, p. 74.
- Sugar 1971, p. 68.
- Nagy-Talavera 1970, p. 83.
- Nagy-Talavera 1970, p. 64.
- Lorman 2005, p. 291.
- Rothschild 1990, p. 156.
- Rothschild 1990, p. 192.
บรรณานุกรม
- (2006). Pal Teleki (1879-1941): The Life of a Controversial Hungarian Politician (ภาษาอังกฤษ). East European Monographs. p. 338. ISBN .
- Balogh, Eva S. (1983). "Peaceful Revision: The Diplomatic Road to War" (PDF). Hungarian Studies Review. 10 (1): 43-51.
- (1943). The Danube basin and the German economic sphere (ภาษาอังกฤษ). . p. 275. OCLC 2226815.
- Batowski, Henryk (1971). "Diplomatic Events in East-Central Europe in 1944". . 5 (3): 313-324.
- ; (1969). "Economic Problems of the Danube Region after the Break-Up of the Austro-Hungarian Monarchy". . 4 (3): 169-185. ISSN 0022-0094.
- Berend, Ivan T.; Ránki, György (1961). "German-Hungarian Relations Following Hitler's Rise to Power (1933-34)". Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae. 8 (3–4): 313-348.
- Bodó, Béla (2006). "Militia Violence and State Power in Hungary, 1919-1922" (PDF). Hungarian Studies Review. 33 (1–2): 121–156.
- Cohen, Asher (1996). "The Holocaust of Hungarian Jews in Light of the Research of Randolph Braham". Yad Vashem Studies. 25: 361-382.
- Cohen, Asher (1984). "Continuity in the Change: Hungary, 19 March 1944". Jewish Social Studies. 46 (2): 131-144.
- Dombrády, Lóránd (1987). "The Hungarian War Economy and Industry during the Second World War". Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae. 33 (1): 123-125.
- Dreisziger, Nándor (1998). Hungary in the Age of Total War, 1938-1948 (ภาษาอังกฤษ). East European Monographs. p. 384. ISBN .
- Ferber, Katalin (1983). "The Domestic and International Equilibrium of the Hungarian Economy in the Years Following the Stabilization (1924–1931)". Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae. 29 (2–4): 283-286.
- Grenzebach, William S. (1988). Germany's Informal Empire: German Economic Policy Toward Yugoslavia and Rumania, 1933-1939 (ภาษาอังกฤษ). Franz Steiner. p. 269. ISBN .
- Horel, Catherine (2008). "L'aristocratie en Hongrie entre les deux guerres: Une apparente continuité". Vingtième Siècle. Revue d'histoire. 99: 91-103.
- Incze, M. (1954). "The Conditions of the Masses in Hungary during the World Economic Crisis of 1929-1933". Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae. 3 (1–2): 1-93.
- (1981). The Politics of Backwardness in Hungary: Dependence and Development on the European Periphery, 1825-1945 (ภาษาอังกฤษ). . p. 370. ISBN .
- (1979). Hungarian foreign policy, 1919-1945 (ภาษาอังกฤษ). Akadémiai Kiadó. p. 356. ISBN .
- (1980). Economic Diplomacy and the Origins of the Second World War: Germany, Britain, France and Eastern Europe, 1930-1939 (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 346. ISBN .
- Klay, Andor (1974). "Hungarian Counterfeit Francs: A Case of Post-World War I Political Sabotage". . 33 (1): 107-113.
- Klein, Bernard (1966). "Hungarian politics and the Jewish question in the inter-war period". Jewish social studies. 28 (2): 79-98.
- Klein, Bernard (1982). "Anti-Jewish Demonstrations in Hungarian Universities, 1932-1936: István Bethlen vs Gyula Gömbös". Jewish Social Studies. 44 (2): 113-124.
- Lorman, Tom (2005). "Missed Opportunities? Hungarian Policy Towards Romania, 1932-1936". The Slavonic and East European Review. 83 (2): 290-317.
- (1929). "Hungary Since 1918". The Slavonic and East European Review. 7 (21): 577-594.
- Mocsy, Istvan I. (1983). The Uprooted: Hungarian Refugees and Their Impact on Hungary's Domestic Politics, 1918-1921 (ภาษาอังกฤษ). East European Monographs. p. 252. ISBN .
- (1970). The Green Shirts and the Others: A History of Fascism in Hungary and Rumania (ภาษาอังกฤษ). Hoover Institution publications. p. 427. ISBN .
- (1964). "Problems of the Development of Hungarian Industry, 1900-1944". The Journal of Economic History. 24 (2): 204-228.
- Ránki, György (1981). "Surmounting the Economic Crisis in South-East Europe in the 1930s". Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae. 27 (3–4): 499-523.
- ; (1974). The European Right (ภาษาอังกฤษ). . p. 593. ISBN .
- (1990). East Central Europe Between the Two World Wars (ภาษาอังกฤษ). University of Washington Press. p. 438. ISBN .
- (1975). "Army Officers and Foreign Policy in Interwar Hungary, 1918-41". Journal of Contemporary History (ภาษาอังกฤษ). 10 (1): 19-40.
- Sakmyster, Thomas L. (1973). "Hungary and the Munich Crisis: The Revisionist Dilemma". (ภาษาอังกฤษ). 32 (4): 725-740.
- (1956). The East European revolution (ภาษาอังกฤษ). Praeger. p. 435. OCLC 396016.
- Seton-Watson, Hugh (1946). "The Danubian Satellites: A Survey of the Main Social and Political Factors in the Present Situation". International Affairs. 22 (2): 240-253.
- Spira, Thomas (1981). "Hungary and the Little Entente: The Failed Rapprochement of 1937". Südost Forschungen. 40: 144–163.
- Sugar, Peter F. (1971). Native fascism in the Successor States, 1918-1945 (ภาษาอังกฤษ). ABC-Clio. p. 166. ISBN .
- Szilassy, Sándor (1971). Revolutionary Hungary 1918-1921 (ภาษาอังกฤษ). Danubian Press. p. 141. ISBN .
- Winchester, Betty Jo (1976). "Hungary and the Austrian Anschluss". East European Quarterly. 10 (4): 409–25.
- Zsigmond, L. (1966). "La politique extérieure de la Hongrie de 1933 à 1939". Revue d'histoire de la Deuxième Guerre mondiale (62): 7-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ History of Hungary between the World Wars
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnixackhyaykhwamidodykaraeplbthkhwamthitrngkninphasasepn khlikthi khyay ephuxsuksaaenwthangkaraeplkhunsamarthdu karaepldwykhxmphiwetxrcakbthkhwaminphasasepn ekhruxngmuxchwyaeplxyang diphaexl hrux kuekilthranselth epncuderimtnthidisahrbkaraepl xyangirktam phuaeplcatxngtrwcsxbkhxphidphladcakkaraepldwykhxmphiwetxraelayunynwakaraeplnnthuktxng erakhxptiesthenuxhathikhdlxkcakekhruxngmuxaeplthiimmikartrwcthankxnephyaephr krunaxyaaeplswnkhxngkhxkhwamthiduaelwechuxthuximidhruxmikhunphaphta thaepnipid oprdchwyyunyndwykartrwcsxbaehlngxangxingthipraktinbthkhwamphasann oprdrabuiwinkhwamyxkaraekikhwakhunaeplenuxhamacakphasaid khunkhwrephimaemaebb Translated es Reino de Hungria 1920 1946 iwinhnaphudkhuy sahrbkhaaenanaaelaaenwthangephimetim oprdsuksaidthi wikiphiediy karaepl rachxanackrhngkari hngkari Magyar Kiralysag epnchuxxyangepnthangkarkhxngrthhngkarirahwang kh s 1920 cnthung kh s 1946 rachxanackrdarngxyukrathngkhwamphayaephinsngkhramolkkhrngthisxng aelakarprakassatharnrthhngkarithi 2 aemwainchwngewlanihngkaricapkkhrxngdwyrabxbrachathipity aetkrannkyngimmiphramhakstriy miephiyngphusaercrachkar mikolch ohrti sungepnphleruxexkaehngxditckrwrrdixxsetriy hngkari thiyngkhngepnpramukhaehngrth hlngcakkarpkkhrxngaebbxnurksniymepnewlanantngaet kh s 1920 cnthung kh s 1944 praethsktkxyuphayitkarkhrxbngaodynasieyxrmniin kh s 1944 sungekidkhunphayhlngptibtikarthangthharineduxnminakhm taaehnngphusaercrachkarthukaethnthiodyphunafassist aefaernts salxchi aehngphrrkhaexrorwkhrxssineduxntulakhm aettxmakxngkalngnasiidthukkhbilxxkcakhngkariodykxngkalngosewiyt thaihpraethstkxyuphayitxiththiphlkhxngshphaphosewiyt aelamikarlmelikrabxbrachathipityin kh s 1946 inthangprawtisastraelw camikaraebngaeykkhwamaetktangrahwangyukhsmyxun thiichchuxrachxanackrhngkariehmuxnkn dngnnkhawa yukhphusaercrachkar hrux yukhohrti cungmkthukichxthibayephuxbngbxkthungchwngewlanirachxanackrhngkari Magyar Kiralysag hngkari 1920 1946thngchati traaephndinkhakhwy Regnum Mariae Patrona Hungariae latin rachxanackraehngphraaemmariy phuxupthmphaehnghngkari ephlngchati Himnusz ithy ephlngsdudi source source track track track track rachxanackrhngkariin kh s 1942ekhtkarpkkhrxngkhxnghngkari kh s 1942emuxnghlwng aelaemuxngihysudbudaepstphasarachkarhngkariphasaphunemuxngrusun in phasathwipormaeniy eyxrmn solwk okhrexechiy esxrebiy yiddich solwieniy ormaniklumchatiphnthu 1941 raykar 80 9 hngkari 7 2 3 7 3 6 eyxrmn 1 2 1 1 esirb 1 yiw 0 5 okhraext 0 5 ormani 0 1 solwin 0 2 xun sasna 1941 raykar 55 ormnkhathxlik 19 lththikhalwin 11 6 xisethirnxxrthxdxks 5 luethxaern 4 9 sasnayudah 3 8 0 7 xun edmanimchawhngkarikarpkkhrxngrthphusaercrachkarphayitlththixanacniym 1920 1944 rthhngkariniym rthphrrkhkaremuxngediywphayitrabxbephdckarrwbxanacebdesrc 1944 1945 khnaepliynphanphayitrthbalphsm 1945 1946 phramhakstriy 1920 1946wang pramukhaehngrth 1920 1944mikolch ohrti 1944 1945aefaernts salxchi 1945 1946 1920 khnaerk 1945 1946 khnsudthay sphanitibyyti sphasung Felsohaz sphalang Kepviselohaz yukhprawtisastrrahwangsngkhram sngkhramolkkhrngthisxng funfurachathipity29 kumphaphnth 1920 snthisyyathriyanng4 mithunayn 1920 26 minakhm 1921 21 tulakhm 1921 karxnuyaottulakarewiynnakhrngthihnung2 phvscikayn 1938 14 minakhm 1939 karxnuyaottulakarewiynnakhrngthisxng30 singhakhm 1940 bukkhrxngyuokslaewiy11 emsayn 1941 bukkhrxngshphaphosewiyt27 mithunayn 1941 eyxrmniyudkhrxng19 minakhm 1944 hngkariniymyudxanac16 tulakhm 1944 lmelikrachathipity1 kumphaphnth 1946phunthi192092 833 tarangkiolemtr 35 843 tarangiml 193093 073 tarangkiolemtr 35 936 tarangiml 1941172 149 tarangkiolemtr 66 467 tarangiml prachakr 19207 980 143 19308 688 319 194114 669 100skulengin 1920 1927 aepngekx 1927 1946 ekhtewlaUTC 1 CET vdurxn ewlaxxmaesng UTC 2 CEST khbrthdankhwa tngaet kh s 1941 kxnhna thdip1920 satharnrthhngkari1938 echoksolwaekiysolwaekiy1940 ormaeniy1941 yuokslaewiy1944 rthhngkari 1944 rthhngkariormaeniyyuokslaewiyshphaphosewiyt1946 satharnrthhngkaripccubnepnswnhnungkhxng okhrexechiy hngkari ormaeniy esxrebiy solwaekiy solwieniy yuekhrnxangsiththiodyxditphraecakharlthi 4 aehnghngkariin kh s 1921 sungphraxngkhswrrkhtinxikimkipitxma mikolch ohrti epn phusaercrachkar aefaernts salxchi epn phunaaehngchati pkkhrxngepnhmukhnainthanapramukhaehngrth sngektkarnin kh s 1920 aela kh s 1941 1946 hlngcakkhwamphayaephthangthharkhxngsatharnrthosewiythngkariinplayeduxnkrkdakhm kh s 1919 brrdaphrrkhxnurksniymtangehnchxbihmikarfunfurabxbrachathipityhngkarikhunmaxikkhrng khnathikxngthphaelaklumkhwacdptiesthkarklbmakhxngrachwngshaphsbwrkh cungmikarsthapnataaehnngphusaercrachkaraethnkhunepnkarchwkhrawineduxnminakhm kh s 1920 lksnakarpkkhrxngkhxngphusaercrachkarohrtinnepnaebbxnurksniym chatiniym aelatxtanlththikhxmmiwnistxyangrunaerng rabxbphusaercrachkaridrbkarsnbsnunodyphnthmitrxnurksniymthiimmnkhngaelafaykhwacd noybayrahwangpraethskhxnghngkariinchwngewlanimilksnaechphaakhux karaekikhhruxkarprbprungihmthnghmdhruxbangswnkhxngsnthisyyasntiphaph ephuxihidenguxnikhthiaetktangcakinxditaelaephuxtxtanbxlechwikh sungepncudprasngkhhlkkhxngfaytxtankarptiwti sungtxmacarwmthngkartxtanchawyiw aelakarptiesthkarpkkhrxnginrabxbprachathipitydwy ineduxnphvscikayn mikarlngnaminsnthisyyathriyanng sungthukkahndiwodypraethsphuchnainsngkhramolkkhrngthihnung odyphayinenuxhakhxngsnthisyyarabuthungkarthihngkaricatxngsuyesiydinaednaelaprachakrcanwnsxnginsamihaekpraethsephuxnban sngphlihkaremuxnghngkariinsmyrahwangsngkhramthukkhrxbngacakkarsuyesiydinaedntamsnthisyyani sungthaihchawhngkarimakkwasamlankhnxyunxkekhtaednihmkhxngrachxanackr karaekikhphrmaednimephiyngaetcaepnkarrwmxanacthangkaremuxngkhxngchatiethann aetyngaesdngihehnthungkarkhadkarptirupphayindwy karsinsudsmyaehngkhwamimmnkhnghlngkarlmslaykhxngsatharnrthosewiytekidkhuninyukhkhxngrthbal phulngsmkhrsungidrbaerngsnbsnuncakfayxnurksniymaelaklumkhwacd karnanoybaythangtangpraethsxnsngbmaichaelakaryutikhwamimmnkhngphayin thaihpraethshngkarisamarthekharwmepnsmachikkhxngsnnibatchatiidin kh s 1922 cakesthiyrphaphthangkaremuxngthiprasbkhwamsaercxyangrwderw thaihhngkarisamarthecrcakbsthabnkarenginkhxngtangpraeths sngphlihesrsthkicerimfuntwdikhun dwykarsnbsnunkhxngohrti thaihaebtaelnsamarthkhwbkhumkareluxktngaelakarkhrxbngaphrrkhrwmrthbalidxyangmiprasiththiphaph sngphlihrthbalkhxngekhasamarthxyuinxanacidepnewlasibpi odythiimmikartxtanid ely aerngsnbsnunkhxngrthbalaebthaelnimidmacakphrrkhkaremuxngephiyngethann aetyngmacaknkbwch chnchnnaythun aelaecakhxngthidinrayihyinchnbthxikdwy aemwapraethscamilksnakarpkkhrxnginrupaebbrthspha aetkimichrabxbprachathipity yngkhngepnrabxbephdckarxnurksniym hngkarithukkhrxbngaodychnchnsungaelakharachkarsungswnihymiphumithancakchnchnsung hlngcakchwngrayaewlasn xnenuxngmacakkarptiwtiin kh s 1919 chnchnsungksamarthnaxanacklbkhunmaidxikkhrng aelafunfurabxbkaremuxngaelasphaphsngkhmihklbipepnaebbinchwngkxnsngkhramolk klumaerngnganinemuxngaelachawna sungepncanwnsxnginsamkhxngprachakrthnghmd tangimmixiththiphlinrthbalelyaemaetnxy aelakarwangtwepnklangkhxngphwksngkhmniym thaihphukhninchwngplaythswrrsthdma erimmiaenwkhidhwrunaerngcnklayepnfassist phawaesrsthkictktakhrngihythaihekidwikvtesrsthkicaelasngkhmkhnanihy sungthaihrupaebbthangkaremuxngkhxngrthbalaebtaelnekidpyha insthankarnechnni phusaercrachkarohrtiaelankkaremuxngchnnacungtdsinicekhaphbkb sungepntwaethnkhxngklumkhwacdaelaepnbukhkhlthinacathaihmwlchnsngblngidmakthisud emuxekimebichidrbkaraetngtngepnnaykrthmntri ekhacungkhxy wangphusnbsnunkhxngekhaiwintaaehnngsakhythnginswnkhxngrthbalaelakxngthph hlngcakthiaebtaelnlaxxkcaktaaehnng rabxbphusaercrachkarerimidrbkhwamsakhymakkhuninchwngthswrrs 1930 odyechphaaxyangyinghlngcak kh s 1935 epntnip ohrtiklayepnphuchikhadthangkaremuxngradbchati thngephraarthbalthierimesuxmthxymakkhun enuxngcakkhwamaetkaeykrahwangphrrkhxnurksniymkbklumkhwacd aelaephraaaerngsnbsnunthiekhaidrbcakklumfaykhwaswnihyinpraeths ohrticungphyayamrksasmdulrahwangthngsxngfayiw inchwngaepdpikhxngkarpkkhrxngodyrabxbphusaercrachkar xiththiphlkhxngeyxrmniaelakhwamniymkhxngckrwrrdiircherimaephrkracaysuprachakrswnhnung thaihkaremuxngphayinpraethserimekidkhwamrunaerng aelaidonmnawihphukhnechuxwaimmikhwamcaepnthicatxngfunfurupaebbxnurksniymihehmuxndnginchwngthswrrs 1920 eyxrmnisamarthbrrethawikvtesrsthkickhxngpraethsinchwngphawaesrsthkictktaid dngnnohrticungelngehnwaeyxrmninacasamarthsnbsnunhngkariihbrrlukhwamprarthnainkaraekikhdinaednid aetmnklbphngthlaylng emuxhngkarierimklayepnrthinxarkkhakhxngeyxrmnithilanxy rthbalhngkariprasbkhwamlmehlwinkhwamphyayamthicaskdknxiththiphlkhxngeyxrmniaelafaykhwakhxngpraeths swnhnungepnephraakarptiesththicalathingkhwamthaeyxthayaninkaraekikhdinaedn sungkhwamsaercnncatxngkhunxyukbthangrthbalebxrlindwy sungepnphusnbsnunsakhyinkaresrimkhwamaekhngaekrngkhxngklumkhwacdinhngkari aetdwykhwamrwmmuxrahwangeyxrmniaelaxitali sngphlihpraethssamarthkukhundinaednswnhnungthiesiyipihaekechoksolwaekiyklbmaidtamkarxnuyaottulakarewiynnakhrngthihnungineduxnphvscikayn kh s 1938 singinchwngewlaniexng thieyxrmnierimmibthbathinkaremuxnghngkari khwamprarthnakhxngprachachninkarepliynaeplng ectkhtiechingptikiriyatxrthbalthitxtankarepliynaeplng khwamxxnaexlngkhxngfaysay aelaxanackhxngkhbwnkarfassistinyuorpnn exuxpraoychntxkaretibotkhunkhxngklumfaykhwacdthikhdkhankarptirup inkarxnuyaottulakarewiynnakhrngthisxng sungmiphutdsinkhuxxitaliaelaeyxrmniin kh s 1940 thaihhngkariidrbdinaednthangtxnehnuxkhxngthransileweniycakormaeniy praethsekharwminsngkhramolkkhrngthisxngodyxyufayxksa sunghniptxtanyuokslaewiyaelamiswnchwyinkarbukkhrxngshphaphosewiytemuxplayeduxnmithunayn aelaphnthmitrtawntkineduxnthnwakhm xyangirktam emuxfayxksaerimphayaephaekkxngthphosewiyt thaihhngkariphyayamepliynfayinchwngplaysngkhramaetimsaerc enuxngcakkhwamprarthnathicarksadinaednthiekhysuyesiyipaelarabbsngkhmthilasmy xikthngrthbalkimetmicthicatxtanshphaphosewiyt ephuxhlikeliyngkarepliynfayehmuxnthiekhyekidkhuninxitali eyxrmnicungbukkhrxngpraethsodyprascakkartxtanineduxnminakhm kh s 1944 khnarthmntrichudihmsungduaelodytwaethncaknasieyxrmniidthakarptirupkxngthphaelaesrsthkickhxngpraeths ephuxsnbsnunkhwamphyayaminkarthasngkhramkhxngeyxrmniaelayutipyhachawyiw phwknasiidthakarrthpraharrthbal xnepnkarsinsudlngkhxngrabxbphusaercrachkarthinaodyohrti aelaidmxbxanacihaek aefaernts salxchi phusungepnhwhnaphrrkhaexrorwkhrxss aetthaythisudkxngthphosewiytksamarthkhbilnasieyxrmnixxkcakdinaednhngkariidemuxwnthi 4 emsayn kh s 1945 epnehtuihkarphnwkdinaednkhxnghngkariinkarxnuyaottulakarewiynnathngsxngkhrngthukprakaswaepnomkhaphayhlngsngkhram dwyprachakrmakkwakhrunghnungkhxngpraethsprakxbxachiphekstrkrrm thaihkarkracaythidinyngkhngimethaethiymknxyangmak odythwipaelw chawnahngkaritxngxyuxyangyakcnkhnaekhn karphthnaxutsahkrrmkhxngpraethsidrbkarsnbsnunephuxphyayamldcanwnprachakrlnekininchnbth aetkimekhyetibotmakphxthicaldcanwnprachakrinphakhkarekstrid phawaesrsthkictktakhrngihysngphlkrathbtxrabbesrsthkicchxnghngkarixyanghnk odyechphaaxyangyinginphakhekstrkrrm rakhathyphuchsungepnsinkhasngxxksakhykhxnghngkarithrudtwlngintladolk wikvtkarnrayaerngthangesrsthkicsngphlihxiththiphlkhxngfassistxitaliaelaeyxrmniephimkhun sungthngsxngpraethstangepnkhukhahlkkhxngphlphlitthangkarekstrephiyngimkirayinpraeths sungimthukkhrxbngaodytladtangpraethsxiktxip in kh s 1938 eyxrmnierimkhwbkhumkarnaekhaaelasngxxkkhxnghngkarithung 50 aelw karkhakhaykbeyxrmnithiephimkhunaelakarerimtnnoybaykaresrimkalngxawuth thaihpraethshludphncakphawaesrsthkictktainchwngkhrunghlngthswrrs 1930 id xyangirktam sphaphkhwamepnxyuaelakarthangankhxngkhnnganinxutsahkrrmyngkhngyaaey aetkarphthnaxutsahkrrmthiekiywkhxngkbkarphlitxawuthmiswnchwyinkarkhcdkarwangnganipidaethbthnghmd sahrbprachakrchawyiwin kh s 1930 sungkhidepn 5 1 khxngcanwnprachakrthnghmdkhxngpraeths swnihycaxasyxyuinemuxnghlwng sungmibthbathsakhyindanxutsakrrm phanichykrrm aelakarenginkhxngpraeths inchwngplaythswrrs 1930 cnthungtnthswrrs 1940 idmikarprakasichkdhmayeluxkptibtitxchawyiw sungcakdsiththitang khxngchawyiwxyangehnidchd thaihsthankarnthangesrsthkicerimimmnkhng inchwngsngkhramolkkhrngthisxng chawyiwthnghmd 565 000 khn thuksngharindinaednkhxnghngkarikaremuxngkarfunfurachathipity inkhwngplayeduxnkrkdakhm kh s 1919 kxngthphormaeniyidbukfaaenwrbkhxngkxngthphaednghngkarirthbalosewiytcungmxbxanacihkbrthbalprachathipitysngkhmniymsayklangihmthiimsamarthpxngknkarbukkhrxngkhxngormaeniyid caknnrthbalihmkthukaethnthiodyrthbalxnurksniym sungidrbkaryxmrbcakormaeniy faykxngthphaehngchatinaodyphleruxexk mikolch ohrti idrwbrwmkalngphlcakemuxngaesaekd sungkhnannxyuphayitkarkhwbkhumduaelkhxngkxngthphfrngess ekhluxnphlekhasuemuxnghlwnghlngcakthikxngthphormaeniythxnkalngxxkcakpraethsinchwngtnvduhnaw faytxtankarptiwti faytxtankhxmmiwnist aelaklumphuniymrabxbrachathipityidkxkhuninphumiphakhtawntkkhxngpraethstngaetchwngplayvdurxnhlngkarlmslaykhxngsatharnrthosewiythngkari ephuxlblangmrdkcakyukhkhxmmiwnistthnghmd dwyehtuni karkdkhikhmehngtxsmachikkhxngkhbwnkarfaysayaelachawyiwcungaephrkracayipthwpraeths kxngkalngkungthharichwithikarkwadlangphutxtansungimtangcakkarkxxachyakrrm odymikarkrrochk karocrkrrm karthrman aelakarkhatkrrm sungphwkekhaidxangthungkarkrathawaepnephraaehtuphlthangkaremuxng xanacyngkhngxyuinmuxkhxngfayxnurksniymaelafaykhwacd sungprakxbdwyklumkhunnang kharachkar aelathhar chawnathiexuxmraxakbkarkdkhikhxngrthbalkhxmmiwnist ykewnaerngnganinorngnganxutsahkrrm yxmrbkarklbmakhxngrabxbkhnathipityephuxaelkkbkarfunfukhwamsngberiybrxy xyangirktam kxngkalngkungthharerimphxnkhlaykhwamrunaernglngemuxsinsudsmyaehngkarptiwti odythwipaelw karemuxngkhxngpraethserimexnexiyngipthangfaykhwainewlaephiyngimkieduxnhlngkarlmslaykhxngrthbalptiwtikhxmmiwnist phleruxexkmikolch ohrti ekhasabantnrbtaaehnngphusaercrachkaraehnghngkari emuxwnthi 1 minakhm kh s 1920 phayitaerngkddncakitrphakhithukcdkhunphrxmkbkarsarwcsamaonprachakr aelaepnkhrngaerkinprawtisastrkhxngpraethsthiihsiththikareluxktngaekstri cakphlkareluxktngineduxnmkrakhm kh s 1920 thaihmiphrrkhkaremuxngfaykhwakhnadihyekidkhun 2 phrrkh sungthuxidwaepncuderimtnkhxngkaraebngaeykphayinrahwangfaykhwaxnurksniymaelafaymulwiwti in kh s 1920 kdhmaychbbaerkidykelikmatrkarthnghmdthitrakhunodyrthbalptiwtikhxngmihay kaoryi aelaeb lx kun fayxnurksniymsnbsnunkarfunfurachbllngkkhxngphraecakharlthi 4 aehnghngkari khnathikxngthphaelaklummulwiwtifaykhwaaemcasnbsnunsthabnphramhakstriyechnkn aetkrannidptiesthkarklbmakhxngrachwngshaphsbwrkh cungmikartdsinictngrabxbphusaercrachkarchwkhrawsungmixanacmakkhunmaaethn faykxngthphaelakxngkalngkungthharekhayudxakharrthspharahwangkareluxktng aelaaetngtngmikolch ohrti twaethnphusmkhrrbeluxktngfaykxngthphkhunepnphusaercrachkaraehnghngkari sungekharbtaaehnngemuxwnthi 1 minakhm nncungthaihekhaklayepnpramukhaehngrthhngkarikhnediywtlxdsmyrahwangsngkhram aeladarngtaaehnngcnkrathngeduxntulakhm kh s 1944 kartxtankarptiwti rahwangthiohrtidarngtaaehnngphusaercrachkar faymulwiwtiidkahndnonbaythangkaremuxngkhxngtninrthsphaiwhlayprakar sungekiywkhxngkbkarxnumtikarptirupthidinbangswn karxxkkdhmaytxtanchawyiw sungepnkhrngaerkinyuorphlngsngkhramolkkhrngthihnungyutilng aelakarfunfukarlngothsthangrangkaysahrbxachyakrrmbangpraephth sungthuxepnhnunginsylksnkhxngkhwamesuxmothrmthangsngkhminyukhnn karthirthspha ih styabn insnthisyyathriyanngemuxwnthi 13 phvscikayn aelalngnaminwnthi 4 mithunayn sungsnthisyyachbbnithukkahndiwodypraethsphuchnainsngkhramolkkhrngthihnung aemwaodythwipaelwcamikarptiesthinbanghwkhxthikahnd thaihpraethstxngsuyesiydinaednaelaprachakrpramansxnginsamkhxngrachxanackredim khwamphyayamkhxngnaykrthmntri Pal Teleki thicacakdkarsuyesiyephuxaelkkbphlpraoychnaekfrngessaelakarihkhwamchwyehluxopaelndinsngkhramopaelnd osewiytprasbkhwamlmehlw thnginrthbalaelarthsphatangthukkhrxbngaodybukhkhlthimiprasbkarnthangkaremuxngta sungswnihylwnaetepnchnchnnaythunmakkwachnchnsung aelaepnbukhkhlphumixayunxykwaklumphupkkhrxnginchwngkxnsngkhramthngsin aethlngcaknnsthankarnkepliynipinchwng kh s 1921 emuxrthbalsayxnurksniymkhxng Istvan Bethlen khunsuxanac phayhlngkarfunfurabxbrachathipitykhxnghngkari praethsidekhasupiaehngkhwamwunwaykhrngihy sthankarnthangesrsthkicaelakhwamsmphnthrahwangpraethskhxnghngkarirayaerngepnxyangmak xditphramhakstriyaehnghngkari phraecakharlthi 4 thrngphyayamthungsxngkhrngin kh s 1921 aetimsaerc rthbalsungkhadxanacthiekhmaekhngyngkhngplxyihkhwamnasaphrungklwkhxngkxngkalngkungthharthitxtanchawyiw nksngkhmniym aelapyyachnfaysaydaenintxip phuxphyphcanwnmakcakdinaednthisuyesiypraman 300 000 thung 400 000 khn sungswnihyepnchnchnklang thuxepnxikhnungpyhasakhysahrbhngkari dngnnineduxnkrkdakhm kh s 1921 rthbalcungxxkkhasnghamkarekhamakhxngphuxphyphrayihmcanwnmhasal aetpyhakimidhyudlng enuxngcakmikarplxyihphuxphyphekhamahlayphnkhninaetlaeduxn sungswnihyepnkhrxbkhrwchnchnklangphuyakir thharpldpracakar aelakharachkarcakdinaednthisuyesiy klumkhnehlaniihkarsnbsnunfayfassist sungphwkekhaprarthnathicanarupaebbkaremuxngrabxbephdckarmaich odyphwkekhahwngcaecriykawhnainrabxbni praethstxnrbthharphuxphyphpraman 17 000 khn khnathisnthisyyasntiphaphcakdcanwnthharphuxphyphephiyng 1 700 khn nnaesdngihehnwarthbalmixanackhwbkhumkxngthphephiyngelknxyethann khwamtxngkarkhxngphuxphyphtxkarcangngankhxngrthaelakhwamepnipimidinkarrbphuxphyphephim kratunihekidkarptirupxyangtxenuxng sungepnsingthinaphungphxicthngsahrbrthaelaphuxphyph karthiprachakrchawyiwmikhwamsakhyyingtxrabbxutsahkrrmaelakarphanichykhxngpraethsaelakhwamlmehlwkhxngphuxphyphinkaraekhngkhnkbchawyiw thaihkraaeskartxtanchawyiwpathukhuninhmuphuxphyphaelaekidkareriykrxngkarcangngankhxngrthxyangtxenuxng sthankarnkhwamimmnkhngphayinpraethsthaihnkthurkictangchatiimklaekhamalngthuninhngkari aemtxnnirthbalcaimthukkhukkhamodykhbwnkarchawnaaelwktam aetrthbalyngkhngprasbkhwamkhdaeyngkbkhnnganthithukkdkhi aelachnchnklangthiexuxmraxakbkarthdlxngthangsngkhmaelakxngkalngkungthhar karyutikhwamnasaphrungklwthaihrthbalidrbkaryxmrbinradbsaklaelakhwamchwyehluxthangesrsthkicxikdwy thswrrsaehngaebtaeln say naykrthmntrihngkaritngaet kh s 1921 1931 karsinsudsmyaehngkhwamimmnkhnghlngkarlmslaykhxngsatharnrthosewiytekidkhuninyukhkhxngrthbal phusmkhreluxktngsungidrbaerngsnbsnuncakfayxnurksniym enuxngcakekhathukmxngwaepnnkkaremuxngthimikhwamsamarthmakkhnhnung xikthngyngepnsmachikcaktrakulkhunnangchnsungdwy faykhwamulwiwti enuxngcakaebtaelnmiaenwkhidaebbethwwithyaptirupaelaepnhnunginphuxphyphcakdinaednthransileweniythisuyesiy nkkaremuxngphumiprasbkarn aelankptibtiniym thaihinewlaimnanaebtaelnklayepnphuthrngxiththiphlehnuxkwaohrti aebtaelnerimmikhwamsmphnthiklchidkbphrrkhxnurksniymmakkhuneruxy aemwaekhacamikhwamsmphnthxndikbfaykhwamulwiwtiktam thsnkhtiaebbxnurksniymesrikhxngaebtaelnepntwklangrahwangthngsxngfaythisnbsnunrabxbkarpkkhrxngaebbxnurksniymaelafaykhwamulwiwti sungthuxepnnoybayphayinpraethsinchwngrayaewlaxnyawnankhxngaebtaelninthananaykrthmntri odyphunthanaelw rthbalihmnidaeninkarepliynaeplngokhrngsrangechingptikiriya phrxmthngfunfurabbkaremuxngaelarupaebbsngkhmihklbipepndngchwngkxnsngkhramolk aebtaelntdsinicrangbkarkxkwnkhxngfaykhwacdkxn odykartidsinbnbukhkhlsakhybangkhn sungekhaaetngtngihdarngtaaehnnginrthbal kxngkalngkungthharidrbmxbhmayihkkkhngkhnngan chawna aelakhmkhufaykhanthangkaremuxng odyphwkekhaidkrathakarcnekinkwaehtuaelaklayepnphykhukkhamxyangyingtxchnchnnafayxnurksniymthitxtankarptiwti kardaeninkardngklawkhxngrthbalepnipxyangechuxngchaaelaichewladaeninkarekuxbsxngpi swnhnungephraakxngkalngkungthharmiphusnbsnunthimixanacthnginfaykxngthphaelafaybriharphleruxn sungrwmthungtwkhxngphusaercrachkarxyangohrtidwy sungphwkekhaidxxkkdhmaynirothskrrmsahrbxachyakrrmthnghmdkhxngkxngkalngkungthharineduxnphvscikayn kh s 1921 inchwngklangthswrrs 1920 kxngkalngkungthharinchnbththukrwmekhakbkxngphltraewnphayitkarkhwbkhumkhxngkxngthphaelathukyubtwlngipodyswnihy dwykarkhwbkhumthiephiyngphxcakthangkxngthphaelatarwc rthbalcungaesdngkhwammungmnthicayubelikkxngkalngkungthharthnghmdphayinsinpi 1921 ephuxihidrbkarsnbsnuncakkxngthph rthbalcungephimngbpramanthangthharodyimsnicthungkhxcakdthikahndodysnthisyyasntiphaph ecahnathithharswnhnungidrbtaaehnnginfaybriharphleruxn ecahnathilbthwipthukkhwbkhumodythharphansukxnurksniyminsmyckrwrrdimakkwaphubychakarthharthitxtankarptiwti emux kh s 1922 rthbalprasbkhwamsaercinkaryutiidinthisud dwynoybaytangpraethsthisntiaelakaryutikhwamimmnkhngphayin aebtaelncungsamarthnaphapraethsekhasusnnibatchatiidinwnthi 18 knyayn kh s 1922 xyangirktam enuxngcakkaraeyngchingxanacrahwangfayxnurksniymaelafaykhwamulwiwti thaihaebtaelnrbpraknchychnainxditidepnkarchwkhraw dwyrthephchiykbkarlmlalayxyangthungkhidsud enuxngcakrayidkhxngpraethsimephiyngphx aebtaelncungkhaythxngkhaaelathunsarxngengintrarahwangpraethskxnsudthay ephuxepnenginthunsahrbthurkicaelakhrxbkhlumngbpramanaephndinrahwang kh s 1921 thung kh s 1923 cakesthiyrphaphthangkaremuxngthiprasbkhwamsaercxyangrwderw thaihhngkarisamarthecrcakbsthabnkarenginkhxngtangpraeths sngphlihesrsthkicerimfuntwdikhun karepnsmachiksnnibatchatithaihpraethsidrbsinechuxkarrksaesthiyrphaphrahwangpraethscanwn 250 lanokornxin kh s 1924 xyangirktam sinechuxehlanisngphlihekidaerngkddninkarcharahniekaaelakarkhaddulngbpramantxenuxng odyhniphaynxkephimkhunxyangimhyudchangkinchwngthswrrskhxngaebtaeln sungxyuthi 70 khxngcidiphiin kh s 1931 klyuththkhxngaebtaelnkhunxyukbkarrksasinechuxrahwangpraeths sungekhasamarthrksaiwidtlxdthswrrs 1920 aemwaphukhnphayinpraethshruxtwkhxngaebtaelnexngcamikhwamekliydchngchawyiw aetekhakyngaeswnghakhwamrwmmuxcakchnchnnaythunchawyiwinkarfunfuesrsthkichlngsngkhram karpkkhrxnginsmyniyngkhngthsnkhtitxtanyiwepnswnihy ykewnchnchnsungyiwthiihkhwamrwmmuxaekrthbal swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidxanaekhtkaresiydinaedn karaebnghngkaritamphrmaednihmkhxngsnthisyyathriyanng aelaprachakrtamsamaon kh s 1910 emuxwnthi 4 mithunayn kh s 1920 phusaercrachkar mikolch ohrti thiephingidrbkaraetngtng idlngnaminsnthisyyathriyanng sungepnkaryinyxmsladinaednswnihykhxngxditckrwrrdixxsetriy hngkari thaihhngkarisuyesiydinaednkhidepn 72 khxngdinaednedim cak 282 870 tarangkiolemtr epn 92 963 tarangkiolemtr aelaprachakrldlngcak 18 2 lankhn epn 7 98 lankhn praethsthiidrbpraoychncakkaresiydinaednkhxnghngkari khux xxsetriy echoksolwaekiy ormaeniy sungepnpraethsthiidrbdinaednmakthisud thngthransileweniythnghmd bantswnihy aeladinaednxun aelayuokslaewiy xikthnghngkariyngsuyesiyphunthithangxxkthaelephiyngaehngediywkhxngpraethsxyangemuxngthafixuemihkbxitali chawhngkarirawsxngthungsamlankhn khidepnhnunginsamkhxngprachakr klayepnswnhnungkhxngprachakrinpraethsephuxnban sungphukhnehlanisnbsnuninkhwamprarthnathicakukhundinaednthiesiyip enuxngcakpraethsephuxnbanthnghlayepnstrukbthangkarbudaepstdwyehtuphlthangesrsthkicaelayuththsastr inbangkrni kmikaraebngphrmaednkhxngphumiphakhthimichawhngkarixasyepnswnihy echnediywkbkrnikhxngechoksolwaekiy prachakrchawhngkaricanwnmakbangswnthukaeykxxkcakdinaednrachxanackrephiyngimkikiolemtrethann xyangirkdi snthisyyayngkhngkahndprachakrxngkhrwmkhxngpraethsihepnmatrthan odyprakxbdwychawhngkari 89 8 sungepncanwnthiephimkhuninchwngewlann sahrbchnklumnxythiihythisudinpraeths khux chaweyxrmn sungkhidepn 6 8 khxngprachakrthnghmd swnchnklumnxysolwk ormaeniy aelaokhrexechiykyngkhngmixyuechnkn aetmisdswnthinxykwa thaihpyhachnklumnxy sungepnpyhathiphbbxythisudpyhahnunginphumiphakh idrbkaraekpyhaodysnthisyyasntiphaphchbbni nxkcakkarsuyesiythangdinaednaelaesrsthkicepnxyangyingaelw snthisyyayngidcakdkalngphlkhxnghngkariiwxikdwy odykxngthphbkimsamarthmikalngphlekin 35 000 nay sungthnghmdnilwnepnxasasmkhrmiichthharchanaykar swnkxngthharrksakarnaelatarwcsamarthmiecahnathiidimekin 12 000 nay inkhnathisampraethsephuxnbankhxnghngkari echoksolwaekiy yuokslaewiy aelaormaeniy thirwmknaelwmikalngphlpraman 5 aesnnay kxngthphhngkariimidrbxnuyatihmihnwykarbin hnwyrththng hnwypunihyhnk kxngesnathikarthhar hruxaemaetkahndkarrbrachkarthharphakhbngkhb swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidduephimrachxanackrhngkarihmayehtuchnchnsungidrbkarfunfuxanacklbkhunmacakkhwamchxbthrrminkartxtanchawyiw odyklawhawaprachakrchawyiwepntnehtuihkxngthphphayaephinsngkhramolkkhrngthihnung xikthngchwyoxkasaeswnghaphlpraoychninrahwangsngkhram aelaepnphusnbsnunthiaethcringkhxngsatharnrthosewiyt dwywithini cungthaihphwkekhasamarthhlikeliyngkarpathaknodytrngkbaerngnganaelachawnaid phusaercrachkaraehnghngkariaethbcamixanacethiybethaphramhakstriy aemcaimsamarthmxbtaaehnngxnsungsnghruxybyngkartdsinickhxngfaykhristckrid aetphusaercrachkarmixanacinkaraetngtngnaykrthmntri samarthsngyubspha hruxybyngkdhmayid xikthngphusaercrachkaryngdarngtaaehnngphubychakarthharsungsudkhxngkxngthphdwy in kh s 1925 xanackhxngphusaercrachkaridrbkarkhyaymakkhun odysamarthaetngtngwuthismachiktlxdchiphinwuthisphaaehngchatiid epnkhnarthmntrithimacakkareluxktngineduxnminakhm odymi Sandor Simonyi Semadam epnprathankhnarthmntri sungtxnglngnaminsnthisyyathikahndodyphuchnasngkhramineduxnmithunayn xyangirktam rthmntriwakarkrathrwngtangpraethspal aetaelki idthakarpldchiomnyi aechmxdxm hlngcakthiekhadarngtaaehnnghwhnarthbalidimnan enuxngcakkarswrrkhtkhxngphraecakharlthi 4 in kh s 1922 thaihkhwamphyayaminkarfunfurachathipityhaphsbwrkhsinsudlnginkaremuxnghngkari karaekikhsnthisyyasntiphaphthnghmdhruxbangswnthilngnamhlngsngkhramolkkhrngthihnung ephuxihidenguxnikhthiexuxxanwymakkhunsahrbfaythiidrbphlkrathb inkrnikhxnghngkari karemuxngkhxngpraethsthukkhrxbngadwykhwamprarthnathicakxbkudinaednxnkwangihythisuyesiyipthnghmdhruxbangswn imwacaodysntihruxichkalngktam Nagy Talavera klawthungphuthukenrethsthnghmd 70 000 khn idrbkarsngtwipyngkhaykkkn mikarphicarnakhdithung 27 000 khrngsahrbbukhkhlthimiswnrwminkickrrmyukhsatharnrth mikarpraharchiwit 329 khrng karsnghar 1 200 khn aelamixikhlayhmunkhnthitxngliphyephraakhwamnasaphrungklwni xyangirktam Nagy Talavera rabuwayngmikhwamwunwaybangswnekidkhuninchwng kh s 1924 1925 odyphukrathakhwamphidswnihyxasypraoychncakkhwamphxnprnkhxngsalhngkarixyuesmx in kh s 1923 ngbpramanaephndinkhxngrththnghmd 79 macakthxngkhaaelathunsarxngengintrarahwangpraethsxangxing A m kir miniszterium 1939 evi 6 200 M E szamu rendelete a Magyar Szent Koronahoz visszatert karpataljai terulet kozigazgatasanak ideiglenes rendezeserol Order No 6 200 1939 M E of the Royal Hungarian Ministry on the provisional administration of the Subcarpathian territory returned to the Hungarian Holy Crown Magyarorszagi Rendeletek Tara phasahngkari Budapest Royal Hungarian Ministry of the Interior 73 855 1939 Fedinec Csilla 2002 A Karpataljai Kormanyzosag idoszaka The period of the Governorate of Subcarpathia A karpataljai magyarsag torteneti kronologiaja 1918 1944 Historical chronology of the Hungarians in Subcarpathia 1918 1944 PDF phasahngkari Galanta Dunaszerdahely Forum Intezet Lilium Aurum Konyvkiado p 336 ISBN 80 8062 117 9 Fogarasi Zoltan 1944 A nepesseg anyanyelvi nemzetisegi es vallasi megoszlasa torvenyhatosagonkint 1941 ben Distribution of the population by mother tongue ethnicity and religion in the municipalities of Hungary in 1941 Magyar Statisztikai Szemle phasahngkari Budapest Royal Hungarian Central Statistical Office 22 1 3 4 13 Kollega Tarsoly Istvan b k 1995 Magyarorszag Revai nagy lexikona phasahngkari Vol 20 Budapest Hasonmas Kiado pp 595 597 ISBN 963 8318 70 8 Kollega Tarsoly Istvan b k 1996 Magyarorszag Revai nagy lexikona phasahngkari Vol 21 Budapest Hasonmas Kiado p 572 ISBN 963 9015 02 4 Elesztos Laszlo aelakhna b k 2004 Magyarorszag Revai uj lexikona phasahngkari Vol 13 Budapest Hasonmas Kiado pp 882 895 ISBN 963 9556 13 0 The Horthy Era 1920 1944 Nagy Talavera 1970 p 55 Rothschild 1990 p 191 Dreisziger 1998 p 31 Rogger amp Weber 1974 p 364 365 Nagy Talavera 1970 p 77 Janos 1981 p 205 Nagy Talavera 1970 pp 56 57 Rothschild 1990 p 166 Rogger amp Weber 1974 p 375 Nagy Talavera 1970 p 58 Janos 1981 p 208 Rothschild 1990 p 163 Janos 1981 p 209 Rothschild 1990 p 162 163 Seton Watson 1946 p 240 241 Seton Watson 1946 p 241 Nagy Talavera 1970 p 59 Janos 1981 p 246 Janos 1981 p 246 247 Rothschild 1990 pp 173 174 Janos 1981 p 300 Janos 1981 p 298 300 Rothschild 1990 p 176 Juhasz 1979 p 135 Janos 1981 p 292 Janos 1981 p 301 Sugar 1971 p 75 Rothschild 1990 p 183 Rothschild 1990 p 187 Janos 1981 p 308 309 Janos 1981 p 309 Rothschild 1990 p 188 Seton Watson 1956 p 105 Balogh 1983 p 44 Seton Watson 1946 p 240 Berend amp Ranki 1969 p 183 Janos 1981 p 244 Rothschild 1990 p 171 Basch 1943 p 206 Rothschild 1990 p 189 Rothschild 1990 p 196 Janos 1981 p 223 Janos 1981 p 302 Nagy Talavera 1970 p 242 Janos 1981 p 201 Rothschild 1990 p 152 Rothschild 1990 p 151 152 Rogger amp Weber 1974 p 371 Nagy Talavera 1970 p 54 Rothschild 1990 p 153 Mocsy 1983 p 145 Janos 1981 p 201 202 Cohen 1984 p 136 Sugar 1971 p 74 Rogger amp Weber 1974 p 370 Bodo 2006 p 129 132 Mocsy 1983 p 145 146 Macartney 1929 p 585 Macartney 1929 p 586 Janos 1981 p 202 203 Janos 1981 p 202 Rothschild 1990 p 154 Macartney 1929 p 582 Janos 1981 p 203 Rothschild 1990 p 154 158 Rogger amp Weber 1974 p 373 Horel 2008 p 91 Rogger amp Weber 1974 p 376 Nagy Talavera 1970 p 73 Janos 1981 p 204 Rothschild 1990 p 155 Rogger amp Weber 1974 p 372 Ablonczy 2006 p 67 69 Rothschild 1990 p 157 Nagy Talavera 1970 p 56 Janos 1981 p 279 Janos 1981 p 206 Nagy Talavera 1970 p 57 Rothschild 1990 p 159 Horel 2008 p 92 Sugar 1971 p 73 Nagy Talavera 1970 p 51 Mocsy 1983 p 180 Sugar 1971 p 66 Sakmyster 1975 p 38 Mocsy 1983 p 179 Mocsy 1983 p 183 Rothschild 1990 p 158 Nagy Talavera 1970 p 50 Sakmyster 1975 p 21 Bodo 2006 p 141 Bodo 2006 p 142 Nagy Talavera 1970 p 53 Nagy Talavera 1970 p 58 69 Sugar 1971 p 68 74 Bodo 2006 p 122 Bodo 2006 p 142 148 Bodo 2006 p 145 Bodo 2006 p 143 Nagy Talavera 1970 p 57 58 Janos 1981 p 208 209 Sakmyster 1975 p 22 Janos 1981 p 225 Bodo 2006 p 146 Nagy Talavera 1970 p 74 Sugar 1971 p 68 Nagy Talavera 1970 p 83 Nagy Talavera 1970 p 64 Lorman 2005 p 291 Rothschild 1990 p 156 Rothschild 1990 p 192 brrnanukrm 2006 Pal Teleki 1879 1941 The Life of a Controversial Hungarian Politician phasaxngkvs East European Monographs p 338 ISBN 9780880335959 Balogh Eva S 1983 Peaceful Revision The Diplomatic Road to War PDF Hungarian Studies Review 10 1 43 51 1943 The Danube basin and the German economic sphere phasaxngkvs p 275 OCLC 2226815 Batowski Henryk 1971 Diplomatic Events in East Central Europe in 1944 5 3 313 324 1969 Economic Problems of the Danube Region after the Break Up of the Austro Hungarian Monarchy 4 3 169 185 ISSN 0022 0094 Berend Ivan T Ranki Gyorgy 1961 German Hungarian Relations Following Hitler s Rise to Power 1933 34 Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae 8 3 4 313 348 Bodo Bela 2006 Militia Violence and State Power in Hungary 1919 1922 PDF Hungarian Studies Review 33 1 2 121 156 Cohen Asher 1996 The Holocaust of Hungarian Jews in Light of the Research of Randolph Braham Yad Vashem Studies 25 361 382 Cohen Asher 1984 Continuity in the Change Hungary 19 March 1944 Jewish Social Studies 46 2 131 144 Dombrady Lorand 1987 The Hungarian War Economy and Industry during the Second World War Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae 33 1 123 125 Dreisziger Nandor 1998 Hungary in the Age of Total War 1938 1948 phasaxngkvs East European Monographs p 384 ISBN 9780880334075 Ferber Katalin 1983 The Domestic and International Equilibrium of the Hungarian Economy in the Years Following the Stabilization 1924 1931 Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae 29 2 4 283 286 Grenzebach William S 1988 Germany s Informal Empire German Economic Policy Toward Yugoslavia and Rumania 1933 1939 phasaxngkvs Franz Steiner p 269 ISBN 9783515050050 Horel Catherine 2008 L aristocratie en Hongrie entre les deux guerres Une apparente continuite Vingtieme Siecle Revue d histoire 99 91 103 Incze M 1954 The Conditions of the Masses in Hungary during the World Economic Crisis of 1929 1933 Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae 3 1 2 1 93 1981 The Politics of Backwardness in Hungary Dependence and Development on the European Periphery 1825 1945 phasaxngkvs p 370 ISBN 9780691101231 1979 Hungarian foreign policy 1919 1945 phasaxngkvs Akademiai Kiado p 356 ISBN 9789630518826 1980 Economic Diplomacy and the Origins of the Second World War Germany Britain France and Eastern Europe 1930 1939 phasaxngkvs Princeton University Press p 346 ISBN 9780691101019 Klay Andor 1974 Hungarian Counterfeit Francs A Case of Post World War I Political Sabotage 33 1 107 113 Klein Bernard 1966 Hungarian politics and the Jewish question in the inter war period Jewish social studies 28 2 79 98 Klein Bernard 1982 Anti Jewish Demonstrations in Hungarian Universities 1932 1936 Istvan Bethlen vs Gyula Gombos Jewish Social Studies 44 2 113 124 Lorman Tom 2005 Missed Opportunities Hungarian Policy Towards Romania 1932 1936 The Slavonic and East European Review 83 2 290 317 1929 Hungary Since 1918 The Slavonic and East European Review 7 21 577 594 Mocsy Istvan I 1983 The Uprooted Hungarian Refugees and Their Impact on Hungary s Domestic Politics 1918 1921 phasaxngkvs East European Monographs p 252 ISBN 9780880330398 1970 The Green Shirts and the Others A History of Fascism in Hungary and Rumania phasaxngkvs Hoover Institution publications p 427 ISBN 9739432115 1964 Problems of the Development of Hungarian Industry 1900 1944 The Journal of Economic History 24 2 204 228 Ranki Gyorgy 1981 Surmounting the Economic Crisis in South East Europe in the 1930s Acta Historica Academiae Scientiarum Hungaricae 27 3 4 499 523 1974 The European Right phasaxngkvs p 593 ISBN 9780520010802 1990 East Central Europe Between the Two World Wars phasaxngkvs University of Washington Press p 438 ISBN 9780295953571 1975 Army Officers and Foreign Policy in Interwar Hungary 1918 41 Journal of Contemporary History phasaxngkvs 10 1 19 40 Sakmyster Thomas L 1973 Hungary and the Munich Crisis The Revisionist Dilemma phasaxngkvs 32 4 725 740 1956 The East European revolution phasaxngkvs Praeger p 435 OCLC 396016 Seton Watson Hugh 1946 The Danubian Satellites A Survey of the Main Social and Political Factors in the Present Situation International Affairs 22 2 240 253 Spira Thomas 1981 Hungary and the Little Entente The Failed Rapprochement of 1937 Sudost Forschungen 40 144 163 Sugar Peter F 1971 Native fascism in the Successor States 1918 1945 phasaxngkvs ABC Clio p 166 ISBN 9780874360745 Szilassy Sandor 1971 Revolutionary Hungary 1918 1921 phasaxngkvs Danubian Press p 141 ISBN 9780879340056 Winchester Betty Jo 1976 Hungary and the Austrian Anschluss East European Quarterly 10 4 409 25 Zsigmond L 1966 La politique exterieure de la Hongrie de 1933 a 1939 Revue d histoire de la Deuxieme Guerre mondiale 62 7 17 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb History of Hungary between the World Wars bthkhwamprawtisastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk bthkhwampraethshngkariniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldk