พญาสามฝั่งแกน พญาสามประหญาฝั่งแกน (ไทยถิ่นเหนือ: ) หรือ พญาสามประหญาแม่ใน เป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรล้านนา แห่งราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 8 และเป็นลำดับที่ 32 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1931 ครองราชสมบัติ 31 ปี สวรรคต พ.ศ. 1990 สิริพระชนมายุได้ 59 พรรษา
พระนามพญาสามฝั่งแกน
ในตำนานเก่าแก่แต่โบราณมีการเรียกนามของพญาสามฝั่งแกนต่างกันไปนานา เช่น “ดิษฐกุมาร” หรือ “เจ้าดิส” ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ “พระเจ้าสามปรายงค์แม่ใน” ในตำนานไม่ปรากฏนามและ “พญาสามประหญาฝั่งแกน” ในหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา ของสรัสวดี อ๋องสกุล เป็นต้น
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดเมธังกราวาส จังหวัดแพร่ กล่าวถึงที่มาของพระนามพญาสามฝั่งแกนว่า ทรงได้รับการตั้งพระนามตามสถานที่ประสูติ ช่วงนั้นพระราชมารดาของพระองค์ทรงครรภ์ได้ 8 เดือน เจ้าแสนเมืองมาพาไปประพาสตามหัวเมืองต่าง ๆ ถึงสิบสองปันนาลื้อ พอล่วง 7 เดือนผ่านไป จึงเสด็จกลับมาที่พันนาสามฝั่งแกน และประสูติราชบุตรที่นั่น ในปัจจุบันสันนิษฐานว่าอยู่ที่ ตำบลอินทขิล อำเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยบริเวณเมืองเก่านี้มีแม่น้ำสามสาย ได้แก่ 1.แม่น้ำแกน 2.แม่น้ำปิง และ 3.แม่น้ำสงัด หรืองัด
ในงานวิจัย รายงานการสำรวจพื้นฐาน ทุ่งพันแอกพันเฝือเมืองแกน ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ได้สันนิษฐานว่าพระนามของพระองค์อาจมาจากทั้งชื่อเมืองพันนาฝั่งแกน หรือชื่อแม่น้ำสามฝั่งแกน ในกรณีของชื่อแม่น้ำแกน อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สันนิษฐานว่า อาจมาจากคำว่า “กั่งแก๊น” ซึ่งตำนานเมืองแกนกล่าวว่า เป็นอาการคับแค้นใจของประชาชนในเมืองแกนที่ถูกศัตรูรุกราน แล้วกวาดต้อนผู้คนไปทำให้พลัดพรากกัน หรืออาจมาจากคำว่า “แก๊น” แปลว่ากลาง
พื้นเมืองเชียงแสนระบุพระนามของพระองค์ว่า “พญาสามประหญาแม่ใน” ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดเชียงมั่น ระบุว่า หลังจากพระองค์ไปอยู่เมืองสาด ได้ไปอยู่ใกล้แม่น้ำใน จึงเรียกว่าพญาแม่ใน หรือพญาสามประหญาแม่ใน
ราชวงศ์พญาสามฝั่งแกน
พญาสามฝั่งแกนเป็นโอรสลำดับที่ 2 ของพญาแสนเมืองมา กับนางรายา ธิดาของเจ้าเมืองในเขตสิบสองพันนาโดยมีพระเชษฐาต่างมารดาชื่อท้าวยี่กุมกาม ในกรณีของลำดับองค์ราชบุตรพญาสามฝั่งแกนนั้น สงวน โชติสุขรัตน์ ได้ให้ข้อสังเกตว่า ‘เข้าใจว่าคงจะเป็นโอรสองค์ที่ 3 เพราะตามธรรมเนียมไทโบราณ มีวิธีนับและเรียกลูกคนโตว่า “พี่อ้าย” คนต่อมาก็จะเรียกว่า ยี่-สาม-สี่-งั่ว-ลก-ตามลำดับ แต่ราชโอรสหรือราชธิดาองค์แรกนั้น อาจจะสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงไม่มีพระนามปรากฏไว้ในประวัติศาสตร์’
ฝ่ายพญาสามฝั่งแกนทรงมีโอรสต่างมารดาทั้งหมด 10 องค์ดังนี้ 1.ท้าวอ้าย 2.ท้าวยี่ 3.ท้าวสาม 4.ท้าวไส 5.ท้าวงัว 6.ท้าวลก 7.ท้าวเจ็ด 8.ท้าวแปด 9.ท้าวเก้า 10.ท้าวสิบ
- ท้าวอ้าย พระบิดาคิดยกราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ เมื่อพระชนม์ได้ 5 พรรษา ตั้งวังอยู่ที่ใกล้เวียงเจ็ดลินได้ 4 ปี ก็ถึงแก่สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุได้ 9 พรรษา
- ท้าวงัว หรือเจ้าเชียงล้าน พระบิดาให้ครองพันนาเชียงเรือ
- ท้าวลก พระบิดาให้ครองเมืองพร้าว แบ่งสรรที่ดินชาวพร้าวังหินให้ 500 พันนา
- ท้าวเจ็ด พระบิดาให้ครองเมืองเชียงราย
- ท้าวสิบ พระบิดาให้ครองเมืองฝาง
ส่วนโอรสที่เหลืออีก 5 องค์นั้น คือ ท้าวยี่ ท้าวใส ท้าวแปด และท้าวเก้า พระบิดาปล่อยให้ไปตามทางเดินชีวิตของตนเอง
พระอัธยาศัย
ตำนานชินกาลมาลินีกล่าวถึงพญาสามฝั่งแกนในด้านลบว่า “พระเจ้าดิฐกุมารไม่เอื้อเฟื้อในศาสนาเหมือนพระบิดา คบหาแต่คนดีมีวิชาความรู้ภายนอก” ตรงกันข้ามกับตำนานเชียงใหม่ที่กล่าวสรรเสริญพระเกียรติของพระองค์ว่า มีสติปัญญาสามารถองอาจกล้าหาญ จัดการรักษาบ้านเมืองในเวลาศึกสงครามดีมาก
ความเชื่อเรื่องวิญญาณและเวทมนตร์คาถา
พญาสามฝั่งแกนทรงบูชาวิญญาณ รวมทั้งนับถือเทวดาอารักษ์ยักษ์ ภูติผีปีศาจแม่มดคนทรง เซ่นสรวงพลีกรรมต่าง ๆ โดยโปรดให้ฆ่าวัวควายสังเวยต้นไม้ เนินดิน ภูเขา และป่า
การสืบราชสันตติวงศ์
ภายหลังจากพญาแสนเมืองมาผู้เป็นพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ในปี พ.ศ. 1954 ราชบุตรสามฝั่งแกนซึ่งมีพระชนมายุ 13 พรรษา ได้รับการสนับสนุนจากอาให้เสวยราชสมบัติราชาภิเษกเป็นพระมหาราชเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ สืบสนององค์พระราชบิดา ภายหลังพระองค์ปูนบำเหน็จให้ โดยแต่งตั้งให้เป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา ส่วนพระราชมารดา พระองค์ได้สถาปนาไว้ในที่สมเด็จพระชนนีพันปีหลวง พระมหาเทวีติโลกจุฑา ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เนื่องด้วยยังทรงพระเยาว์อยู่
การสงคราม
ศึกกรุงสุโขทัย
ขณะนั้นท้าวยี่กุมกามพระเชษฐาทรงครองเมืองเชียงรายอยู่ ครั้นพระองค์ได้ทราบข่าวว่าข้าราชการเสนาอำมาตย์ได้เชิญพระอนุชาขึ้นครองเมืองเชียงใหม่เป็นพญาสามฝั่งแกน หลังพระราชบิดาทิวงคต พระองค์ทรงกริ้วมากที่ตนไม่ได้ครองราชย์ จึงได้ยกรี้พลจากเชียงรายเข้าล้อมหมายจะรบชิงเอาราชสมบัติเมืองเชียงใหม่
ทางฝั่งเมืองเชียงใหม่เองก็ทราบดีว่าไม่ช้านานจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จึงได้มีการเตรียมกองทัพไว้ล่วงหน้าแต่เมื่อแรกยกราชสมบัติให้เจ้าสามฝั่งแกน ครั้นเจ้าท้าวยี่กุมกามยกทัพมา ฝ่ายเชียงใหม่ก็ยกทัพออกรบสู้ป้องกันเมืองจนกองทัพเชียงรายไม่สามารถเข้าหักเอาเมืองนครเชียงใหม่ได้ จำต้องล่าถอยหนีไป กระนั้นก็ตาม ฝ่ายกองทัพเชียงใหม่ยังได้ตั้งกองทัพสกัดทางเท้ายี่กุมกามที่จะเข้าเมืองเชียงราย จนพ่ายแพ้ยับเยินเสียรี้พลเป็นอันมาก เมื่อท้าวยี่กุมกามรู้แน่แล้วว่าตนเองไม่สามารถกินเมืองเชียงใหม่ได้ จึงหนีไปเพิ่งพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย) ณ กรุงสุโขทัย
ฝ่ายพระมหาธรรมราชาที่ 3 เองก็ทรงเห็นชอบ สั่งให้จัดกองทัพหลวงขึ้นมารบ โดยยกไพร่พลไปตามลำน้ำยมเพื่อเข้าไปตีเมืองพะเยาซึ่งอยู่ฝ่ายเหนือก่อน เมื่อเข้าประชิดเมืองพะเยานั้น ให้ปลูกหอเรือกสูง 12 วา ที่ตำบลหนองเต่า เพื่อจะเอาปืนยิงขึ้นกวาดในเมือง ฝ่ายข้างชาวเมืองพะเยาก็ไปรื้อเอาทองเหลืองกระเบื้องมุงหลังคาวัดมหาพนมาหล่อปืนใหญ่เล่มหนึ่ง ใหญ่ 4 กำ หนักสามล้านทอง เสร็จแล้วเซ่นสรวงพลีด้วยกระบือเผือก 1 กระบือ แล้วก็บรรจุลูกกระสุนดินดำ ยิงไปทำลายหอเรือกนั้นพังลง พระมหาธรรมราชาที่ 3เห็นร้าย จึงให้ท้าวยี่กุมกามนำทัพลาดขึ้นไปทางบ้านแจ้พรานไปเมืองเชียงราย พักบำรุงไพร่พลพอหายอิดโรยแล้ว ก็ยกลงมาทางเมืองฝาง
ตกวันเสาร์ก็เดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่ ตั้งกองทัพอยู่ ณ ตำบลหนองหลวง ใช้คนถือหนังสือเข้าไปในเมืองเชียงใหม่เป็นใจความว่า ท้าวยี่กุมกามเป็นพี่ควรจะได้สืบราชสมบัติแทนบิดา ถ้าไม่ให้ท้าวยี่กุมกามเป็นเจ้านครพิงค์เชียงใหม่แล้ว พระมหาธรรมราชาที่ 3ก็จะให้พลโยธาเข้าหักเอาเมืองเชียงใหม่ให้จงได้ ท้าวขุนเสนาในนครพิงค์เชียงใหม่มีหนังสือตอบไปว่า ท้าวยี่กุมกามไม่สมควรจะได้เป็นเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ ถึงแม้เป็นพี่ก็หาสติปัญญาและบุญญาภิสมภารมิได้ เพราะเหตุฉะนั้น การที่จะรบกันด้วยกำลังพลโยธา ไพร่พลก็คงจะล้มตายลงมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าจะให้รู้ว่าเจ้าท้าวยี่กุมกามกับเจ้าท้าวสามฝั่งแกน ใครจะมีบุญญาภิสมภารยิ่งกว่ากัน ขอให้จัดสรรทหารที่มีฝีมือเพลงอาวุธอย่างดีฝ่ายละคนให้ต่อสู้กันตัวต่อตัว ถ้าคนทั้งสองที่สู้กันนั้น ฝ่ายใดแพ้และชนะ กองทัพฝ่ายนั้นก็เป็นแพ้ด้วยชนะด้วย เป็นการเสี่ยงบุญวาสนาแห่งเจ้าทั้งสองนั้น พระมหาธรรมราชาที่ 3ได้ฟังตอบเช่นนั้นก็ทรงเห็นชอบด้วย จึงให้เลือกสรรได้คนสุโขทัยผู้หนึ่ง เป็นผู้ชำนาญเพลงดาบสองมือหาผู้ใดเสมอมิได้ ฝ่ายข้างชาวเชียงใหม่เลือกได้หาญยอดใจเพชรชำนาญดาบเขน ทั้งสองฝ่ายจึงประชุมกันตั้งสนามที่ตำบลเชียงขวาง ครั้นคนทั้งสองเข้าสู้รบกัน ถ้อยทีมีฝีมือปัดป้องว่องไวด้วยกันทั้งสองข้าง แต่ต่อสู้กันอยู่ช้านาน ประหารกันและกันมิได้ ในที่สุดหาญยอดใจเพชรได้ท่วงที ก็ฟันถูกนิ้วแม่เท้าทหารสุโขทัยผู้นั้นเพิกไปนิดหนึ่ง ฝ่ายไทยก็เป็นแพ้แก่ชาวเชียงใหม่
ขณะที่กองทัพสุโขทัยมาตั้งอยู่นั้น มีชายหนุ่มชาวเชียงใหม่ผู้หนึ่งชื่อเพ็ดยศ รวบรวมคนหนุ่มฉกรรจ์ตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไปถึง 30 ปี ได้ 200 คน ขึ้นไปตั้งซุ่มอยู่บนดอยอุสุจบรรต คอยดูชาวทัพสุโขทัยออกลาดหาหญ้าช้าง ครั้นได้ทีก็ออกทะลวงฟัน ได้ศีรษะมาถวายเจ้าสามฝั่งแกนทุกวัน เจ้าสามฝั่งแกนตรัสชมว่าเขาเหล่านี้เป็นเด็กชายน้อยยังมีใจสวามิภักดิ์กล้าหาญถึงปานนี้ จึงตั้งให้เป็น เพ็ดยศที่เป็นหัวศึกสี่หมู่ มีตำแหน่งว่า พระยาเด็กชายสืบแต่นั้นมาจนทุกวันนี้ (ตำแหน่งหัวศึกขุนพล) สี่หมู่นั้นคือ พระยาแสนหลวง 1 พระยาสามล้าน 1 พระยาจ่าบ้าน 1 พระยาเด็กชาย 1
ครั้นอยู่มาได้ 7 วันพระมหาธรรมราชาที่ 3 ก็ถอยทัพไปตั้งอยู่บนดอยเจ็ดลิน แล้วก็ขึ้นไปสรงน้ำดำเศียรยังดอยผาลาดหลวง แล้วก็เลิกทัพกลับไปข้ามน้ำแม่ระมิงค์ที่ท่าสบกาง (ปากน้ำกาง) ไปทางตะวันออกแต่งกองทัพซุ่มไว้รั้งท้ายเป็นสามกอง ณ ใกล้หนองน้ำแห่งหนึ่ง ฝ่ายเจ้าพญาสามฝั่งแกนเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ จึงแต่งให้หมื่นมะขาม 1 หมื่นสามหมาก 1 หมื่นเข็ม 1 หมื่นเขือ 1 ถือพลยกไปตามตีตัดท้ายพลพระมหาธรรมราชาที่ 3 หมื่นทั้งสี่คนยกกองทัพไปจวบกองทัพสุโขทัยที่ซุ่มไว้ จึงได้ตกเข้าอยู่ในที่ล้อม กองทัพสุโขทัยล้อมไว้ ได้สู้รบกันถึงตะลุมบอนฟันแทงกันเป็นบั้นเป็นบ่อนตายกลาดอยู่ที่ใกล้หนองแสนท่อนนั้น
ศึกฮ่อ
ครั้นศึกพระมหาธรรมราชาที่ 3 เลิกกลับไปแล้ว อยู่มามินาน พระยาฮ่อลุ่มฟ้าเมืองแสนหลวง (ฮุน- หนำ) ใช้ให้มาทวงบรรณาการเป็นส่วยสองหมื่นคาน (สองหมื่นหาบ) พญาสามฝั่งแกนตอบว่าส่วนข้าวซึ่งแต่ก่อนเคยส่งเก้าพันคานนั้น หากได้เลิกละเสียแล้วตั้งแต่ครั้งแผ่นดินเจ้าพระยากือนาเป็นต้นมา เสนาฮ่อกลับไปทูลพระยาฮ่อเจ้าลุ่มฟ้า พระยาฮ่อจึงให้ฝ่ายฟ้าเมืองแสยกพลศึกเป็นอันมากเข้ามาติดเมืองเชียงแสน พญาสามฝั่งแกนเจ้านครพิงค์เชียงใหม่จึงมอบให้เจ้าแสนคำเรืองเป็นที่เจ้าแสนชัยปราบศัตรู ยกพลชาวเชียงใหม่แปดหมื่นขึ้นไปรักษาเมืองเชียงแสน ฝ่ายเจ้าผู้ครองเมืองเชียงแสนก็ประมวลรี้พลชาวเชียงแสนและชาวเมืองฝาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงของ เมืองพะเยา รวมพลสองแสนสองหมื่น แต่งรักษาเมืองเชียงแสนทั้งภายนอกภายในอย่างมั่นคง แล้วแต่งสนามรบเหนือเมืองเชียงแสนแห่งหนึ่งยาว 5000 วา กว้าง 1700 วา ในเวลากลางคืนแต่งกันไปขุดหลุมไว้หลายแห่ง สานเรือกปิดปากหลุม กรุใบไม้เกลี่ยดินกลบปากหลุมให้เสมอเหมือนพื้นดินธรรมดาไว้ระยะห่างกัน 1 วาต่อหลุมนั้นๆ กว้าง 1 วา ลึก 1 วา ทุกหลุมทำทางไว้ด้านเหนือและด้านตะวันตก ตะวันออกกว้าง 100 วา จึงให้ทัพเมืองเชียงรายเมืองฝางเป็นปีกขวา ทัพเมืองเชียงของเมืองเทิงเป็นปีกซ้าย ทัพเมืองเชียงใหม่เมืองพะเยาเป็นองค์ แล้วจัดกองทัพม้า 500 ออกยั่วทัพฮ่อ วันนั้นเป็นยามแตรใกล้เที่ยง ฮ่อก็ยกพลศึกเข้ามา ฝ่ายกองทัพชาวล้านนาไทยก็แยกปีกกายอพลศึกเข้าต่อรบตามทางโดยแผนที่ๆ แต่งไว้นั้น และตีฆ้องกลองโห่ร้องเป็นโกลาหล เมื่อทัพทั้งสองฝ่ายได้รบพุ่งติดพันกันแล้ว ฝ่ายทัพชาวล้านนาก็แสร้งล่าถอยลงมาตามทางที่ทำหลุมไว้นั้น ฮ่อก็ยกพลไพร่รบตะลุยลงมาถึงหลุมที่แต่งไว้ ก็ตกหลุมลงไปเป็นอันมาก กองทัพชาวล้านนากลับรุกล้อม เข้ามารบราฆ่าฟันฮ่อตายในหลุมเป็นอันมาก อยู่มาอีกสามวัน กองทัพฮ่อยกหนุนมาอีก เข้าปล้นเวียงเชียงแสน ชาวล้านนานำกองทหารอาสาออกทะลวงฟันต่อยุทธ์กันถึงตะลุมบอน ฝ่ายพลฮ่อมีเกราะเหล็กเกราะหนัง ฟันแทงไม่เป็นอันตราย ชาวเมืองจึงเอากรวดทรายมาคั่วไฟให้ร้อน และโปรยสาดให้เข้าไปในเกราะนั้นร้อนไหม้ ฮ่อจึงพ่ายแพ้เลิกถอยไป
ถัดนั้นมาได้ 3 ปี ถึงปีระกา สัปตศก จุลศักราชได้ 727 กองทัพฮ่อยกมาติดเมืองเชียงแสนอีกหลายทัพหลายกอง มีรี้พลมากนัก ครั้งนั้นมหาเถรศิริวังโสบวชอยู่วัดดอนแท่นเมืองเชียงแสนเป็นผู้รอบรู้ศิลปศาสตร์และวิทยาอาคม มีสติปัญญาสามารถ เจ้าพญาสามฝั่งแกนอาราธนาให้ไปครองอารามกู่หลวง รับอาสาแต่งการพิธีพลีกรรมกระทำวิทยา ให้บังเกิดลมพายุและฝนใหญ่อัสนีบาตตกในกองทัพฮ่อ ต้องนายทัพและรี้พลฮ่อเป็นอันตรายหลายคน ทัพฮ่อก็เลิกถอยไปตั้งอยู่เมืองยอง พญาสามฝั่งแกนจึงปูนบำเหน็จสถาปนาพระมหาศิริวังโสขึ้นเป็นราชครู ยกแคว้นดอนแท่นให้เป็นกัลปนาแล้ว จึงให้หมื่นเมืองพร้าวอยู่ครองเมืองเชียงแสน
ฝ่ายกองทัพฮ่อไปตั้งอยู่เมืองยองสิบสองพันนาลื้ออาฬวิเชียงรุ้ง เมืองแรมนานได้ 3 ปี ไพร่พลเมืองแตกฉานออกอยู่ป่าอยู่เถื่อน ไม่เป็นบ้านเป็นเมือง พญาสามฝั่งแกนจึงมอบหมายให้เจ้าขุนแสนลูกพระยาวังพร้าวเป็นแม่ทัพ ยกพลขึ้นไปรบฮ่อยังเมืองยอง ฮ่อทั้งหลายก็พ่ายหนีไป เจ้าขุนแสนตามตีฮ่อไปถึงที่สุดดินแดนสิบสองพันนาแล้ว ก็กลับมาตั้งทัพอยู่เมืองยอง ให้ตั้งเวียง ณ ตำบลดอนดาบสทิศตะวันออกเมืองยองเรียกว่า เวียงเชียงใหม่ ครั้งนั้นพระยาแสนฟ้าเมืองอาฬวิเชียงรุ้งและเมืองแรมเมืองเขมรัฐ ก็มากระทำสัตย์ปฏิญาณเป็นไมตรีกับเจ้าขุนแสน แล้วจึงปักปันเขตแดนแว่นแคว้นเชียงรุ้งกับเชียงแสนต่อกัน ตั้งแต่น้ำโอน้ำดำลงมาภายใต้เป็นแดนเมืองยอง และเมืองยองเป็นเมืองขึ้นเชียงใหม่แต่นั้นมา เจ้าขุนแสนจึงตั้งเจ้าเมืองยองเป็นที่พระยาอนุรุธ เป็นประธานแก่เมืองทั้งหลาย อยู่อุปัฏฐากมหาธาตุเจ้าจอมยองตามโบราณประเพณีแต่ครั้งพระยาอโสกราชตั้งไว้ และเมืองนี้เป็นเมืองอุปัฏฐากมหาธาตุเจ้ามาแต่โบราณกาล พลเมืองทั้งหลายหากเป็นข้าพระธาตุทั้งสิ้น เหตุฉะนั้น จึงไม่ต้องส่งส่วย นอกจากบรรณาการปีละครั้ง
เจ้าขุนแสนจัดการเมืองยองสำเร็จแล้ว ก็พาเอาเชลยฮ่อและช่างฟ้อนหอกฟ้อนดาบลงมาถวายเจ้าพญาสามฝั่งแกนยังเมืองนครพิงค์เชียงใหม่ พระเจ้าเชียงใหม่ทรงพระโสมนัสยินดียิ่งนักจึงสถาปนาเจ้าขุนแสน ให้เป็นเจ้าพระยาศรีสุวรรณคำล้านนาไชยสงครามครองเมืองชัยบุรีเชียงแสน เป็นใหญ่แก่ล้านนาเชียงแสนทั้งมวล มีอาณาเขตฝ่ายใต้ตั้งแต่น้ำตกแม่ของ ฝ่ายตะวันตกถึงริมน้ำแม่คง ฝ่ายเหนือถึงน้ำโอน้ำดำ ฝ่ายตะวันออกถึงดอยหลวงเชียงชีเป็นอาณาเขตมลฑลเชียงแสนส่วนหนึ่ง
สิ้นสุดสมัยพญาสามฝั่งแกน
ในปี พ.ศ. 1952 ท้าวลกราชบุตรของพญาสามฝั่งแกนทรงครองเมืองพร้าวอยู่ไม่นานเท่าใด ก็ทำความผิดอาชญาจนพระบิดาทรงพิโรธ ให้นำตัวไปไว้ยังเมืองยวมใต้ ต่อมาในปี พ.ศ. 1985 ได้เกิดเหตุการณ์ กบฏท้าวลกชิงราชสมบัติ ทำให้รัชสมัยพญาสามฝั่งแกนถึงคราวสิ้นสุด
ช่วงเวลานั้นพญาสามฝั่งแกนผู้ครองนครเมืองเชียงใหม่ทรงประทับสำราญอยู่ ณ เวียงเจ็ตริน ก็ได้มีอำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อว่าสามเด็กย้อย คิดไม่ซื่อจึงแปรพักตร์เข้ารับใช้ท้าวลก คิดการไกลถึงกับจะเอาราชสมบัติให้พระองค์ หลังจากนั้นสามเด็กย้อยจึงรวบรวมซ่องสุมกำลังจนพร้อม แล้วจึงลอบไปรับเจ้าท้าวลกจากเมืองยวมใต้ มาซุ่มซ่อนไว้ในเวียงเชียงใหม่ เมื่อเจ้าท้าวลกกับขุนสามเด็กย้อยเตรียมการทั้งปวงพร้อมแล้ว ตกเวลาเที่ยงคืนก็ให้คนลอบไปจุดไฟเผาเวียงเจ็ดลินไหม้ขึ้น พญาสามฝั่งแกนจึงทรงม้าหนีออกมาเข้าในเวียง พระองค์นั้นหารู้ไม่ว่าในขณะนั้นท้าวลกนั้นยึดครองราชย์มนเทียรอยู่ พอเข้ามาถึงคุ้ม ท้าวลกก็ให้กุมเอาตัวพญาสามฝั่งแกนพระบิดาไว้บังคับให้มอบราชสมบัติแก่ตน
ครั้นรุ่งขึ้นเช้า พญาสามฝั่งแกนได้นิมนต์ชาวเจ้าสังฆะเข้าประชุมในพระราชมณเฑียร แล้วจึงประกาศมอบราชสมบัติ และหลั่งน้ำให้แก่ราชบุตรในท่ามกลางประชุมสงฆ์ ให้ท้าวลกเป็นเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ตามความประสงค์ เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก็ตั้งการ ปราบดาพิเษกเจ้าท้าวลกเป็นพระมหาราชเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ใ นปีจอ จัตวาศก จุลศักราชได้ 804 เดือนแปด (คือเดือนหก) เพ็ญวันศุกร์ ถวายพระนามว่า พระมหาศรีสุธรรมติโลกราช เมื่อได้เถลิงราชสมบัติพระชนมายุได้ 34 พรรษาจึงปูนบำเหน็จหมื่นสามเด็กย้อยผู้ต้นคิดเอาราชสมบัติให้นั้น ตั้งให้เป็นเจ้าครองพันนาขาน ชื่อเจ้าแสนขาน ส่วนพญาสามฝั่งแกนนั้นพระเจ้าติโลกราชเนรเทศไปไว้เมืองสาด
ฝ่ายเจ้าท้าวช้อย พระอนุชาท้าวลกผู้ครองเมืองฝาง รู้ข่าวว่าเจ้าท้าวลกเป็นขบถ แย่งราชสมบัติบิดา แล้วเนรเทศพระบิดาไปไว้เมืองสาดก็มีความแค้นเจ้าท้าวลกพระเชษฐายิ่งนัก จึงให้ไปรับเสด็จพระบิดาจากเมืองสาดมาไว้ในเวียงเมืองฝาง เตรียมกำลังตั้งมั่นแข็งเมืองอยู่ เมื่อเจ้าพระยาติโลกราชได้ทราบข่าวดังนั้น จึงให้หมื่นหาญแต่งตั้งผู้ครองเมืองเขลางค์ยกพลหนึ่งหมื่นไปตีเมืองฝาง ชาวฝางรู้ข่าวก็ยกกองทัพออกโจมตีหมื่นหาญแต่ท้องแต่กลางทาง หมื่นหาญแต่ท้องเสียที แตกฝ่ายหนีมา เจ้าพระยาติโลกราชจึงให้หมื่นโลกสามล้าน (คือหมื่นโลกนคร) ยกพลสี่หมื่นเศษพันไปตีเมืองฝางให้จงได้ ครั้งหลังนี้ชาวฝางต้านทางกำลังไม่ได้ ทัพเชียงใหม่จึงเข้าปล้นเอาเมืองฝางได้ จับได้ตัวพญาสามฝั่งแกนส่งมาเมืองนครพิงค์เชียงใหม่ แต่เจ้าท้าวช้อยนั้นหนีไปเมืองเทิง เจ้าท้าวช้อยสู้รบเป็นสามารถ จนสิ้นพระชนม์ในที่รบ
ล่วงถึงปี พ.ศ. 1991 (จุลศักราช 809 ปีเถาะนพศก) พญาสามฝั่งแกนถึงแก่ทิวงคต พระเจ้าติโลกราชจัดการปลงพระศพ ณ ป่าแดงหลวง แล้วสถาปนา พระสถูปบรรจุอัฐิธาตุไว้ ณ สถานที่นั้น
การเมืองการปกครอง
พญาสามฝั่งแกนนั้นกษัตริย์จะใช้ความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็นหลักในการปกครอง กล่าวคือ ส่งเชื้อพระวงศ์ที่ทรงวางพระทัยไปปกครองเมืองต่าง ๆ ในลักษณะการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง ดังเห็นได้จาก พญาสามฝั่งแกนส่งโอรสหลายองค์ไปครองเมืองตามที่ต่าง ๆ เช่น ท้าวลกครองเมืองพร้าว ท้าวเจ็ดครองเมืองเชียงราย ท้าวสิบครองเมืองฝาง เป็นต้นนอกจากนั้นยังใช้ความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการอภิเษกสมรสกับธิดาของกษัตริย์ หรือเจ้าเมือง เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น พญาแสนเมืองมาอภิเษกสมรสกับธิดาของเจ้าเมืองในเขตสิบสองพันนา แล้วกำเนิดพญาสามฝั่งแกน เป็นต้น
ในสมัยเริ่มแรกของพระองค์พบว่าการปกครองยังหละหลวมอยู่ อีกทั้งที่ตั้งเมืองก็อยู่แยกกันทำให้หัวเมืองมีอำนาจทางการเมืองสูง พร้อมที่จะแข็งข้อได้ง่าย ด้านการเมืองการปกครองนั้น กษัตริย์มีอำนาจปกครองจำกัดอยู่เพียงเมืองราชธานี ส่วนเมืองอื่นที่ขึ้นต่อนั้นจะปล่อยให้เจ้าเมืองมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการตามลำพัง ลักษณะนี้พบเห็นได้จากการไม่มีสายบังคับบัญชาเชื่อมโยงไปสู่หัวเมือง ในแง่ของระบบพันนา รวมถึงไพร่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ กล่าวคือ หน่วยพันนาของที่ดินจะเป็นตัวกำหนดไพร่ในสังกัด ยิ่งทั้งสองส่วนนี้มีมากเท่าใดก็จะเป็นต่อสูง เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมเสบียงจากที่ดิน (พันนา) และกำลังคน (ไพร่ที่สังกัดในพันนา) ลักษณะดังกล่าวทำให้หัวเมืองมีอำนาจเบ็ดเสร็จในตัวเอง หากย้อนมาดูเหตุการณ์ที่ท้าวยี่กุมกามเจ้าเมืองเชียงรายที่คิดการชิงราชสมบัติของพญาสามฝั่งแกนผู้เป็นอนุชานั้นก็สามารถทำได้โดยง่าย เนื่องจากมีไพร่จำนวนมาก พันนาในสังกัดมากถึง 32 พันนา สามารถปลูกข้าวได้มาก อีกทั้งที่ตั้งยังเป็นฐานเศรษฐกิจใช้ส่งผ่านสินค้า
ภายหลังพญาสามฝั่งแกนพยายามจัดการปรับปรุงการปกครองให้เป็นระเบียบแบบแผนมากขึ้น มีการควบคุมหัวเมืองที่ไม่ให้เป็นภัยต่อราชธานี เท่าที่พบคือ การแต่งตั้งและย้ายตำแหน่ง พระองค์จะใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการสั่งให้บุคคลที่ไว้วางใจไปครองเมืองต่างๆ กล่าวคือส่งท้าวลก ซึ่งเดิมกินเมืองพร้าว ไปกินเมืองยวมใต้ เป็นต้น นอกจากนั้นมีการแต่งตั้งโอรสองค์ใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่ใกล้ชิดพระองค์ที่เมืองใหญ่ ซึ่งทำให้เมืองเชียงรายลดความสำคัญลงกลายเป็นเมืองอุปราช
ศาสนา
ในสมัยพญาสามฝั่งแกน มีการสถาปนานิกายสงฆ์ใหม่คือ นิกายลังกาวงศ์ มูลเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้สืบเนื่องมาจากความไม่พอใจของบรรดาพระสงฆ์ที่มีต่อพญาสามฝั่งแกนที่ยกเลิกเอากัลปนาค่าส่วยสำหรับพระสงฆ์ในที่ต่างๆ ไปขึ้นกับวัดวัดบุรณฉันท์ หรือวัดศรีมุงเมือง ผลคือพระมหาเถรทั้งหลายที่เป็นพหูสูต ผู้รู้ปริยัติ พากันออกไปจากเมืองเชียงใหม่ ไปศึกษาพระธรรมที่เมืองลังกา
เมื่ออยู่ที่เมืองลังกาก็เกิดฝนแล้งข้าวแพง บรรดาพระเถรานุเถระเหล่านี้เห็นว่าจะอยู่ต่อไปไม่สุข จึงชักชวนกันกลับจากลังกาทวีป ได้ชวนเอาพระภิกษุชาวลังกามาด้วย 2 รูป ชื่อพระมหาวิกรมพาหุ มีพรรษาได้ 15 พรรษารูปหนึ่ง ชื่อพระอุดมปัญญา มีพรรษาได้ 10 พรรษาอีกรูปหนึ่ง พอถึงปีพ.ศ. 1973 (จุลศักราช 792 ปีระกา โทศก) พระเหล่านี้ได้พากันขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ สำนักอยู่ ณ รัตนมหาวิหาร คือ ในปีพ.ศ. 1975 (จุลศักราช 794 ปีชวด จัตวาศก) ได้เดินทางไปเมือง เขลางค์นคร กระทำสังฆกรรม ณ อุทกสีมา ในแม่น้ำวัง บวชพระจันทรเถร เป็นต้น และกุลบุตรอื่นเป็นอันมาก ล่วงในปีพ.ศ. 1977 (ลุจุลศักราช 796 ปีเถาะ ฉศก) ได้ขึ้นไปเมืองเชียงแสน บวชกุลบุตรในเกาะชื่อว่าปักลังกทิปะกะในแม่น้ำโขง มีพระมหาธรรมเสนาบดีกุลวงษ์เป็นต้น
ผลจากที่พระภิกษุจากลังกามาสืบศาสนาในล้านนานี้ทำให้บรรดาพระภิกษุตื่นตัวศึกษาปริยัติธรรมจนแตกฉานมากมาย
วัตถุและสถานที่
พระแก้วมรกต
ในปี พ.ศ. 1979 ณ เมืองเชียงราย เกิดอัสนีบาตฟาดใส่พระสถูปใหญ่ที่วัดพระแก้วจนพังครืนลงมา ต่อมาได้มีผู้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่ง จึงได้มีการเชิญเข้าไปไว้ในวัดนั้น กาลเวลาผ่านไป รักปิดทองที่ลงไว้เกิดหลุดลอกออกมาจนเห็นเป็นสีเขียวมรกต เมื่อเจ้าอาวาสมาพบเข้าจึงได้นำมาชำระขัดสี แล้วพบว่าพระพุทธรูปนั้นเป็นแก้วมรกตทั้งองค์ ท่านจึงดีใจเป็นล้นพ้นเลยนำมาจัดการให้สระสรงตามประเพณีนิยม จากนั้นปรากฏว่ามีผู้คนมาเคารพสักการะเป็นอันมาก
ต่อมาเรื่องราวทราบไปถึงพระกรรณของพญาสามฝั่งแกน จึงมีรับสั่งให้เชิญพระแก้วมรกตไปเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงรายจึงเชิญพระแก้วขึ้นสถิตบนหลังช้าง แล้วเดินออกไปเมืองเชียงใหม่ ครั้นถึงทางแยกจะไปทางเมืองเชียงใหม่ทางหนึ่ง และไปยังเมืองลำปางทางหนึ่งช้างก็ตื่นหนีไปทางเมืองลำปางทุกครั้ง หมื่นโลกพระนครพระญาติของพญาสามฝั่งแกน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองลำปางก็ทูลขอพระแก้วไว้ที่เมืองลำปาง พระองค์ก็ทรงอนุญาต
วัดศรีมุงเมือง
พญาสามฝั่งแกนโปรดให้สร้างวัดใหญ่ในตำบลพันนาฝั่งแกนอันเป็นที่ประสูติ จากนั้นพระองค์จึงขนานนามว่า “วัดวัดพึง” หรือ “วัดบุรณฉันท์” ในชิลกาลมาลินี ในภาษาบาลี คำว่า “ปุรจฺฉนฺน” สามารถแยกศัพท์ออกได้ คือ “ปุร” แปลว่า “เมือง” ส่วน “ฉนฺน” แปลว่า “มุง” ในปัจจุบันชื่อวัดเปลี่ยนเป็น “วัดศรีมุงเมือง” แล้ว วัดศรีมุงเมืองตั้งอยู่ที่ ตำบลลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ต จ.เชียงใหม่
วัดเจดีย์หลวง
แต่เดิมวัดเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในสมัยพญาแสนเมืองมา ก่อมาได้ 10 ปียังไม่แล้วเสร็จ พระองค์ก็เสด็จทิวงคตไปก่อน ครั้นมาในสมัยของพญาสามฝั่งแกนจึงได้มีการก่อสร้างต่อ โดยมีพระมาหาเทวี พระราชมารดาเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างนั้น สืบเนื่องจากพญาสามฝั่งแกนยังทรงพระเยาว์อยู่
ตำนานเมืองเหนือ หน้า 396 กล่าวถึงการก่อสร้างพระเจดีย์หลวงไว้ดังนี้ “พระนางจึงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ แต่หน้ามุขประสาทนั้นขึ้นไปอีกนานได้ 4 ปี ถึงปีตรีศก เพ็ญเดือน 10 พุทธศาสนาได้ 1955 พระนางก็ให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์อันแล้วด้วยทองคำหนัก 8902 เสี้ยวคำ ทั้งเอาแก้ว 3 ลูก ชุมนุมกันใส่ยอดพระมหาเจดีย์นั้นแล มหาเจดีย์นั้นกว้างได้ 20 วาทุกด้าน ส่วนสูงนับแต่ธรณีถึงยอด 39 วา พระมหาเจดีย์นั้นประดับด้วยซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน มีพระพุทธรูปใหญ่นั่งสมาธิด้วยปูน นั่งโคมไม้มหาโพธิ์ทั้ง 4 ด้าน มีรูปนาค 8 ตัวโตๆ ละ 5 หัว อยู่ใน 2 ช้างบันได มีราชสีห์ 4 ตัวยืนค้ำตีนชายปราสาท มีรูปช้าง 28ตัว มหาเจดีย์นั้นปรากฏแก่คนทั้งหลายอันอยู่ไกล 2000 วาดูก็แลเห็น
ลำดับถัดแต่นั้นมา พระนางติโลกจุดาก็ให้สร้างวิหารหลังหนึ่ง แล้วพระนางจึงให้หล่อพระองค์หนึ่งสูง 18 ศอก กับทั้งอัครสาวก 2 องค์ ประดิษฐานไว้ในวิหารนั้นแล้ว พระนางก็ถวายที่นาและคนครัวไว้อุปฐากพระเจดีย์ และพระวิหารหลวงให้เป็นถาวรบูชา แล้วพระนางฉลองพระมหาเจดีย์เจ้าด้วยเข้าของเป็นอันมาก ก็ตรวจน้ำตกเหนือแผ่นดิน อุทิศส่วนบุญนั้นถวายแด่พญาแสนเมืองมา และถวายพญากือนา ผู้เป็นบิดาพญาแสนเมืองมา อุทิศส่วนบุญนั้นถึงแก่พระอินทร์ พรหม สมณะ พราหมณ์ ฤๅษี วิชาธร นางธรณี และชาวประชาราษรัฐทั้งหลาย พระนางเจ้าก็ปรารถนาอรหันตาทิคุณ พร้อมกับปฏิสัมภิทาญาณตั้งแต่ฉลองพระเจดีย์มาแล้วได้ 37 ปี พระนางมหาเทวีก็ถึงอนิจกรรมไปแล”
เวียงเจ็ดลิน
พัฒนาการและความเจริญของเวียงเจ็ดลินนั้นมีมานานแล้ว ในตำนานสุวรรณคำแดง และตำนานเชียงใหม่ได้กล่าวถึงการก่อร่างสร้างเมืองของชนพื้นเมืองในแถบดอยสุเทพว่า เจ้าหลวงคำแดงเป็นผู้สร้าง“เวียงเชฏฐปุรี” หรือเวียงเจ็ดลิน ขึ้นเป็นแห่งที่สอง (เมืองแรกชื่อเมืองนารัฏฐะ) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกตีนดอยอุสุปัพพตา แต่พอมาในสมัยพญาสามฝั่งแกน ตามหลักฐานแล้วพระองค์ทรงเพียงเป็นผู้สถาปนาเวียงเจ็ดลิน หรือสร้างขึ้นใหม่จากที่มีมาแต่เดิมเท่านั้น
ช่วงนั้น เชียงใหม่กับสุโขทัยได้ทำการประลองยุทธ์สู้รบด้วยการส่งทหารที่มีฝีมือเพลงดาบ ผลปรากฏว่าสุโขทัยเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ต้องถอยกำลังออกไปตั้งค่ายพักกำลังพลอยู่ที่ดอยเจ็ดลินตลอดเวลาที่อยู่ ณ ที่นั่น พระองค์ทรงสุบินเห็นแต่ช้างไล่ราชสีห์ติดต่อกัน 7 คืน ยิ่งมาทราบข่าวว่า ทางเชียงใหม่ได้จัดตั้งกองทัพ โดยใช้เกวียน 220 เล่มเกวียนตั้งเรียงรายจากแจ่งหัวลินไปทางเชิงดอยเจ็ดลิน ก็ทำให้ทรงมีความกลัวเกรงยิ่งนัก เกิดมีใจครั่นคร้ามจนเลิกทัพกลับไป
ด้วยเหตุนี้ พญาสามฝั่งแกนจึงได้ถือเอานิมิตของพระยาไสยลือไทยนั้นมาสถาปนาเวียงเจ็ดลินขึ้น วัตถุประสงค์ในการสร้างเวียงเจ็ดลิน หนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พระองค์สร้างขึ้นใหม่เพื่อเป็นวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นป้อมปราการป้องกันข้าศึกที่จะมารุกรานเชียงใหม่ รวมทั้งใช้เป็นพระราชวัง ในการแปรพระราชฐานของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ดังหลักฐานในการเสด็จย้ายเคราะห์มาประทับ ณ เวียงเจ็ดลินเป็นระยะนับแต่พญาสามฝั่งแกน (พ.ศ. ๑๙๕๔) ถึงเจ้าหลวงพุทธวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๖๙ – ๒๓๘๙)
กรณีของการสถาปนาเวียงเจ็ดลินนี้อาจหมายความถึงการกระจายความเจริญเข้ามาสู่เขตพื้นที่เชิงดอยสุเทพ โดยการให้ขุนนางหรือบุคคลในราชวงศ์มาปกครองดูแลขึ้นตรงต่อเมืองเชียงใหม่ ภายหลังจากที่เป็นเขตชุมชนที่อาศัยของกลุ่มคนพื้นเมืองตั้งแต่ระยะก่อนสมัยล้านนา
ประตูสวนปรุง
เดิมในอดีตประตูสวนปรุงคือกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านใต้ แต่พอมา ในช่วงพ.ศ. 1954-1985 ได้มีการเจาะทำเป็นประตูขึ้นตามพระประสงค์ขององค์พระราชเทวี พระราชมารดาของพญาสามฝั่งแกน
ช่วงเวลานั้น พระราชเทวีทรงประทับตำหนัก ณ ตำบลสวนแร ซึ่งตั้งอยู่นอกเวียง ทางทิศใต้นอกเขตกำแพงเมือง ส่วนภายในเขตเมืองนั้นก็มีการก่อสร้างพระเจดีย์หลวง โดยหน้าที่แล้วพระองค์ต้องเสด็จเข้าไปทอดพระเนตรการก่อสร้างทุก ๆ วัน ด้วยเหตุที่พญาสามฝั่งแกนยังทรงพระเยาว์อยู่ พระองค์ทรงดำริเห็นว่าการเสด็จผ่านประตูทางท้ายเวียง (ประตูเชียงใหม่) เป็นระยะทางอ้อมจึงรับสั่งให้เจาะกำแพงตรงข้ามกับพระตำหนักสร้างขึ้นเป็นประตูแทน ระยะแรกเรียกชื่อประตูนี้ว่าประตูสวนแรอยู่ระยะหนึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นประตูสวนปุงหรือสวนปรุง (คือแสนปุง) เนื่องจากได้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของช่างหลอมโลหะ ซึ่งจะมีเตาที่ใช้หลอมโลหะที่ทางภาคเหนือเรียกว่าเตาปุง จึงเป็นที่มาของชื่อประตูแสนปุงที่ความหมายว่ามีเตาปุงจำนวนมาก
ราชตระกูล
พงศาวลีของพญาสามฝั่งแกน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ลำจุล ฮวบเจริญ. เกร็ดพงศาวดารล้านนา. (กรุงเทพฯ: The Knowledge Center, 2550) , หน้า132.
- สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับ ลิชชิ่ง,2539) , หน้า 141
- สมหมาย เปรมจิตต์. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับสอบชำระเชียงใหม่: มิ่งเมือง เชียงใหม่, 2540) , หน้า59
- อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ล้านนาไทย อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ [เชียงใหม่ 2526-27]. (เชียงใหม่ : ทิพย์เนตรการพิมพ์, 2526) , หน้า267-289.
- สรัสวดี อ๋องสกุล ปริวรรต. พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546
- ประชากิจกรจักร์, พระยา, พงศาวดารโยนก. (พระนคร : คลังวิทยา, 2507) ,หน้า 316-319
- สงวน โชติสุขรัตน์. ตำนานเมืองเหนือ. (กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2508) , หน้า171
แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อสันนิษฐานของวัตถุประสงค์การสร้างเวียงเจ็ดลิน. (2549, 13-19 กุมภาพันธ์). พลเมืองเหนือ, 33.
- ชุ่ม ณ บางช้าง. (2526).กำแพงเมืองและประตูเมืองเชียงใหม่. ใน (บก.) , ล้านนาไทย อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ [เชียงใหม่ 2526-27] (หน้า80-92). เชียงใหม่ : ทิพย์เนตรการพิมพ์.
- ประชากิจกรจักร, พระยา. (2507). พงศาวดารโยนก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). พระนคร : คลังวิทยา.
- ประชาไทย. (2548). ค้นวันที่ 4 สิงหาคม 2550, จาก
- ลำจุล ฮวบเจริญ. (2550). เกร็ดพงศาวดารล้านนา. กรุงเทพฯ: The Knowledge Center.
- สงวน โชติสุขรัตน์. (2508). ตำนานเมืองเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
- สมหมาย เปรมจิตต์. (2540). ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับสอบชำระ. เชียงใหม่: มิ่งเมือง เชียงใหม่
- สรัสวดี อ๋องสกุล. (2539). ประวัติศาสตร์ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับ ลิชชิ่ง.
- อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2526). ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ : สมัยราชวงศ์มังรายและสมัยพม่าปกครอง. ใน (บก.) , ล้านนาไทย อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ [เชียงใหม่ 2526-27]. (หน้า267-289). เชียงใหม่ : ทิพย์เนตรการพิมพ์.
- ฮันส์ เพนธ์ และแอนดรู ฟอร์บส์. (2547). ประวัติศาสตร์ล้านนาฉบับย่อ. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์ม.
ก่อนหน้า | พญาสามฝั่งแกน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พญาแสนเมืองมา | กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1954 - พ.ศ. 1984) | พระเจ้าติโลกราช |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phyasamfngaekn phyasamprahyafngaekn ithythinehnux hrux phyasamprahyaaemin epnphramhakstriykhxngxanackrlanna aehngrachwngsmngray ladbthi 8 aelaepnladbthi 32 aehngrachwngslwcngkrach phrarachsmphphemux ph s 1931 khrxngrachsmbti 31 pi swrrkht ph s 1990 siriphrachnmayuid 59 phrrsaphranamphyasamfngaeknintananekaaekaetobranmikareriyknamkhxngphyasamfngaekntangknipnana echn disthkumar hrux ecadis intananchinkalmalipkrn phraecasamprayngkhaemin intananimpraktnamaela phyasamprahyafngaekn inhnngsuxprawtisastrlanna khxngsrswdi xxngskul epntn tananphunemuxngechiyngihm chbbwdemthngkrawas cnghwdaephr klawthungthimakhxngphranamphyasamfngaeknwa thrngidrbkartngphranamtamsthanthiprasuti chwngnnphrarachmardakhxngphraxngkhthrngkhrrphid 8 eduxn ecaaesnemuxngmaphaippraphastamhwemuxngtang thungsibsxngpnnalux phxlwng 7 eduxnphanip cungesdcklbmathiphnnasamfngaekn aelaprasutirachbutrthinn inpccubnsnnisthanwaxyuthi tablxinthkhil xaephx aemaetng cnghwdechiyngihm odybriewnemuxngekanimiaemnasamsay idaek 1 aemnaaekn 2 aemnaping aela 3 aemnasngd hruxngd innganwicy rayngankarsarwcphunthan thungphnaexkphnefuxemuxngaekn khxngsunywthnthrrmechiyngihm withyalykhruechiyngihmidsnnisthanwaphranamkhxngphraxngkhxacmacakthngchuxemuxngphnnafngaekn hruxchuxaemnasamfngaekn inkrnikhxngchuxaemnaaekn xrunrtn wiechiyrekhiyw xacaryphakhwichaprawtisastr withyalykhruechiyngihm snnisthanwa xacmacakkhawa kngaekn sungtananemuxngaeknklawwa epnxakarkhbaekhnickhxngprachachninemuxngaeknthithukstrurukran aelwkwadtxnphukhnipthaihphldphrakkn hruxxacmacakkhawa aekn aeplwaklang phunemuxngechiyngaesnrabuphranamkhxngphraxngkhwa phyasamprahyaaemin tananphunemuxngechiyngihm chbbwdechiyngmn rabuwa hlngcakphraxngkhipxyuemuxngsad idipxyuiklaemnain cungeriykwaphyaaemin hruxphyasamprahyaaeminrachwngsphyasamfngaeknphyasamfngaeknepnoxrsladbthi 2 khxngphyaaesnemuxngma kbnangraya thidakhxngecaemuxnginekhtsibsxngphnnaodymiphraechsthatangmardachuxthawyikumkam inkrnikhxngladbxngkhrachbutrphyasamfngaeknnn sngwn ochtisukhrtn idihkhxsngektwa ekhaicwakhngcaepnoxrsxngkhthi 3 ephraatamthrrmeniymithobran miwithinbaelaeriyklukkhnotwa phixay khntxmakcaeriykwa yi sam si ngw lk tamladb aetrachoxrshruxrachthidaxngkhaerknn xaccasinphrachnmesiyaetyngthrngphraeyaw cungimmiphranampraktiwinprawtisastr fayphyasamfngaeknthrngmioxrstangmardathnghmd 10 xngkhdngni 1 thawxay 2 thawyi 3 thawsam 4 thawis 5 thawngw 6 thawlk 7 thawecd 8 thawaepd 9 thaweka 10 thawsib thawxay phrabidakhidykrachsmbtisubrachsnttiwngs emuxphrachnmid 5 phrrsa tngwngxyuthiiklewiyngecdlinid 4 pi kthungaeksinphrachnmemuxmiphrachnmayuid 9 phrrsa thawngw hruxecaechiynglan phrabidaihkhrxngphnnaechiyngerux thawlk phrabidaihkhrxngemuxngphraw aebngsrrthidinchawphrawnghinih 500 phnna thawecd phrabidaihkhrxngemuxngechiyngray thawsib phrabidaihkhrxngemuxngfang swnoxrsthiehluxxik 5 xngkhnn khux thawyi thawis thawaepd aelathaweka phrabidaplxyihiptamthangedinchiwitkhxngtnexngphraxthyasytananchinkalmaliniklawthungphyasamfngaeknindanlbwa phraecadithkumarimexuxefuxinsasnaehmuxnphrabida khbhaaetkhndimiwichakhwamruphaynxk trngknkhamkbtananechiyngihmthiklawsrresriyphraekiyrtikhxngphraxngkhwa mistipyyasamarthxngxacklahay cdkarrksabanemuxnginewlasuksngkhramdimakkhwamechuxeruxngwiyyanaelaewthmntrkhathaphyasamfngaeknthrngbuchawiyyan rwmthngnbthuxethwdaxarksyks phutiphipisacaemmdkhnthrng esnsrwngphlikrrmtang odyoprdihkhawwkhwaysngewytnim enindin phuekha aelapakarsubrachsnttiwngsphayhlngcakphyaaesnemuxngmaphuepnphrarachbidaswrrkhtaelw inpi ph s 1954 rachbutrsamfngaeknsungmiphrachnmayu 13 phrrsa idrbkarsnbsnuncakxaiheswyrachsmbtirachaphieskepnphramharachecankhrphingkhechiyngihm subsnxngxngkhphrarachbida phayhlngphraxngkhpunbaehncih odyaetngtngihepnecasihmunkhrxngemuxngphaeya swnphrarachmarda phraxngkhidsthapnaiwinthismedcphrachnniphnpihlwng phramhaethwitiolkcutha inthanaphusaercrachkaraethnphraxngkh enuxngdwyyngthrngphraeyawxyukarsngkhramsukkrungsuokhthy khnannthawyikumkamphraechsthathrngkhrxngemuxngechiyngrayxyu khrnphraxngkhidthrabkhawwakharachkaresnaxamatyidechiyphraxnuchakhunkhrxngemuxngechiyngihmepnphyasamfngaekn hlngphrarachbidathiwngkht phraxngkhthrngkriwmakthitnimidkhrxngrachy cungidykriphlcakechiyngrayekhalxmhmaycarbchingexarachsmbtiemuxngechiyngihm thangfngemuxngechiyngihmexngkthrabdiwaimchanancaekidehtukarnechnnikhun cungidmikaretriymkxngthphiwlwnghnaaetemuxaerkykrachsmbtiihecasamfngaekn khrnecathawyikumkamykthphma fayechiyngihmkykthphxxkrbsupxngknemuxngcnkxngthphechiyngrayimsamarthekhahkexaemuxngnkhrechiyngihmid catxnglathxyhniip krannktam faykxngthphechiyngihmyngidtngkxngthphskdthangethayikumkamthicaekhaemuxngechiyngray cnphayaephybeyinesiyriphlepnxnmak emuxthawyikumkamruaenaelwwatnexngimsamarthkinemuxngechiyngihmid cunghniipephingphramhathrrmrachathi 3 isluxithy n krungsuokhthy fayphramhathrrmrachathi 3 exngkthrngehnchxb sngihcdkxngthphhlwngkhunmarb odyykiphrphliptamlanaymephuxekhaiptiemuxngphaeyasungxyufayehnuxkxn emuxekhaprachidemuxngphaeyann ihplukhxeruxksung 12 wa thitablhnxngeta ephuxcaexapunyingkhunkwadinemuxng faykhangchawemuxngphaeyakipruxexathxngehluxngkraebuxngmunghlngkhawdmhaphnmahlxpunihyelmhnung ihy 4 ka hnksamlanthxng esrcaelwesnsrwngphlidwykrabuxephuxk 1 krabux aelwkbrrculukkrasundinda yingipthalayhxeruxknnphnglng phramhathrrmrachathi 3ehnray cungihthawyikumkamnathphladkhunipthangbanaecphranipemuxngechiyngray phkbarungiphrphlphxhayxidoryaelw kyklngmathangemuxngfang tkwnesarkedinthangmathungemuxngechiyngihm tngkxngthphxyu n tablhnxnghlwng ichkhnthuxhnngsuxekhaipinemuxngechiyngihmepnickhwamwa thawyikumkamepnphikhwrcaidsubrachsmbtiaethnbida thaimihthawyikumkamepnecankhrphingkhechiyngihmaelw phramhathrrmrachathi 3kcaihphloythaekhahkexaemuxngechiyngihmihcngid thawkhunesnainnkhrphingkhechiyngihmmihnngsuxtxbipwa thawyikumkamimsmkhwrcaidepnecankhrphingkhechiyngihm thungaemepnphikhastipyyaaelabuyyaphismpharmiid ephraaehtuchann karthicarbkndwykalngphloytha iphrphlkkhngcalmtaylngmakdwyknthngsxngfay thacaihruwaecathawyikumkamkbecathawsamfngaekn ikhrcamibuyyaphismpharyingkwakn khxihcdsrrthharthimifimuxephlngxawuthxyangdifaylakhnihtxsukntwtxtw thakhnthngsxngthisuknnn fayidaephaelachna kxngthphfaynnkepnaephdwychnadwy epnkaresiyngbuywasnaaehngecathngsxngnn phramhathrrmrachathi 3idfngtxbechnnnkthrngehnchxbdwy cungiheluxksrridkhnsuokhthyphuhnung epnphuchanayephlngdabsxngmuxhaphuidesmxmiid faykhangchawechiyngihmeluxkidhayyxdicephchrchanaydabekhn thngsxngfaycungprachumkntngsnamthitablechiyngkhwang khrnkhnthngsxngekhasurbkn thxythimifimuxpdpxngwxngiwdwyknthngsxngkhang aettxsuknxyuchanan praharknaelaknmiid inthisudhayyxdicephchridthwngthi kfnthukniwaemethathharsuokhthyphunnephikipnidhnung fayithykepnaephaekchawechiyngihm khnathikxngthphsuokhthymatngxyunn michayhnumchawechiyngihmphuhnungchuxephdys rwbrwmkhnhnumchkrrctngaetxayu 16 pikhunipthung 30 pi id 200 khn khuniptngsumxyubndxyxusucbrrt khxyduchawthphsuokhthyxxkladhahyachang khrnidthikxxkthalwngfn idsirsamathwayecasamfngaeknthukwn ecasamfngaekntrschmwaekhaehlaniepnedkchaynxyyngmiicswamiphkdiklahaythungpanni cungtngihepn ephdysthiepnhwsuksihmu mitaaehnngwa phrayaedkchaysubaetnnmacnthukwnni taaehnnghwsukkhunphl sihmunnkhux phrayaaesnhlwng 1 phrayasamlan 1 phrayacaban 1 phrayaedkchay 1 khrnxyumaid 7 wnphramhathrrmrachathi 3 kthxythphiptngxyubndxyecdlin aelwkkhunipsrngnadaesiyryngdxyphaladhlwng aelwkelikthphklbipkhamnaaemramingkhthithasbkang paknakang ipthangtawnxxkaetngkxngthphsumiwrngthayepnsamkxng n iklhnxngnaaehnghnung fayecaphyasamfngaeknecankhrphingkhechiyngihm cungaetngihhmunmakham 1 hmunsamhmak 1 hmunekhm 1 hmunekhux 1 thuxphlykiptamtitdthayphlphramhathrrmrachathi 3 hmunthngsikhnykkxngthphipcwbkxngthphsuokhthythisumiw cungidtkekhaxyuinthilxm kxngthphsuokhthylxmiw idsurbknthungtalumbxnfnaethngknepnbnepnbxntaykladxyuthiiklhnxngaesnthxnnn sukhx khrnsukphramhathrrmrachathi 3 elikklbipaelw xyumaminan phrayahxlumfaemuxngaesnhlwng hun hna ichihmathwngbrrnakarepnswysxnghmunkhan sxnghmunhab phyasamfngaekntxbwaswnkhawsungaetkxnekhysngekaphnkhannn hakideliklaesiyaelwtngaetkhrngaephndinecaphrayakuxnaepntnma esnahxklbipthulphrayahxecalumfa phrayahxcungihfayfaemuxngaesykphlsukepnxnmakekhamatidemuxngechiyngaesn phyasamfngaeknecankhrphingkhechiyngihmcungmxbihecaaesnkhaeruxngepnthiecaaesnchyprabstru ykphlchawechiyngihmaepdhmunkhuniprksaemuxngechiyngaesn fayecaphukhrxngemuxngechiyngaesnkpramwlriphlchawechiyngaesnaelachawemuxngfang emuxngechiyngray emuxngechiyngkhxng emuxngphaeya rwmphlsxngaesnsxnghmun aetngrksaemuxngechiyngaesnthngphaynxkphayinxyangmnkhng aelwaetngsnamrbehnuxemuxngechiyngaesnaehnghnungyaw 5000 wa kwang 1700 wa inewlaklangkhunaetngknipkhudhlumiwhlayaehng saneruxkpidpakhlum kruibimekliydinklbpakhlumihesmxehmuxnphundinthrrmdaiwrayahangkn 1 watxhlumnn kwang 1 wa luk 1 wa thukhlumthathangiwdanehnuxaeladantawntk tawnxxkkwang 100 wa cungihthphemuxngechiyngrayemuxngfangepnpikkhwa thphemuxngechiyngkhxngemuxngethingepnpiksay thphemuxngechiyngihmemuxngphaeyaepnxngkh aelwcdkxngthphma 500 xxkywthphhx wnnnepnyamaetriklethiyng hxkykphlsukekhama faykxngthphchawlannaithykaeykpikkayxphlsukekhatxrbtamthangodyaephnthi aetngiwnn aelatikhxngklxngohrxngepnoklahl emuxthphthngsxngfayidrbphungtidphnknaelw faythphchawlannakaesrnglathxylngmatamthangthithahlumiwnn hxkykphliphrrbtaluylngmathunghlumthiaetngiw ktkhlumlngipepnxnmak kxngthphchawlannaklbruklxm ekhamarbrakhafnhxtayinhlumepnxnmak xyumaxiksamwn kxngthphhxykhnunmaxik ekhaplnewiyngechiyngaesn chawlannanakxngthharxasaxxkthalwngfntxyuththknthungtalumbxn fayphlhxmiekraaehlkekraahnng fnaethngimepnxntray chawemuxngcungexakrwdthraymakhwifihrxn aelaoprysadihekhaipinekraannrxnihm hxcungphayaephelikthxyip thdnnmaid 3 pi thungpiraka sptsk culskrachid 727 kxngthphhxykmatidemuxngechiyngaesnxikhlaythphhlaykxng miriphlmaknk khrngnnmhaethrsiriwngosbwchxyuwddxnaethnemuxngechiyngaesnepnphurxbrusilpsastraelawithyaxakhm mistipyyasamarth ecaphyasamfngaeknxarathnaihipkhrxngxaramkuhlwng rbxasaaetngkarphithiphlikrrmkrathawithya ihbngekidlmphayuaelafnihyxsnibattkinkxngthphhx txngnaythphaelariphlhxepnxntrayhlaykhn thphhxkelikthxyiptngxyuemuxngyxng phyasamfngaekncungpunbaehncsthapnaphramhasiriwngoskhunepnrachkhru ykaekhwndxnaethnihepnklpnaaelw cungihhmunemuxngphrawxyukhrxngemuxngechiyngaesn faykxngthphhxiptngxyuemuxngyxngsibsxngphnnaluxxalwiechiyngrung emuxngaermnanid 3 pi iphrphlemuxngaetkchanxxkxyupaxyuethuxn imepnbanepnemuxng phyasamfngaekncungmxbhmayihecakhunaesnlukphrayawngphrawepnaemthph ykphlkhuniprbhxyngemuxngyxng hxthnghlaykphayhniip ecakhunaesntamtihxipthungthisuddinaednsibsxngphnnaaelw kklbmatngthphxyuemuxngyxng ihtngewiyng n tabldxndabsthistawnxxkemuxngyxngeriykwa ewiyngechiyngihm khrngnnphrayaaesnfaemuxngxalwiechiyngrungaelaemuxngaermemuxngekhmrth kmakrathastyptiyanepnimtrikbecakhunaesn aelwcungpkpnekhtaednaewnaekhwnechiyngrungkbechiyngaesntxkn tngaetnaoxnadalngmaphayitepnaednemuxngyxng aelaemuxngyxngepnemuxngkhunechiyngihmaetnnma ecakhunaesncungtngecaemuxngyxngepnthiphrayaxnuruth epnprathanaekemuxngthnghlay xyuxuptthakmhathatuecacxmyxngtamobranpraephniaetkhrngphrayaxoskrachtngiw aelaemuxngniepnemuxngxuptthakmhathatuecamaaetobrankal phlemuxngthnghlayhakepnkhaphrathatuthngsin ehtuchann cungimtxngsngswy nxkcakbrrnakarpilakhrng ecakhunaesncdkaremuxngyxngsaercaelw kphaexaechlyhxaelachangfxnhxkfxndablngmathwayecaphyasamfngaeknyngemuxngnkhrphingkhechiyngihm phraecaechiyngihmthrngphraosmnsyindiyingnkcungsthapnaecakhunaesn ihepnecaphrayasrisuwrrnkhalannaichysngkhramkhrxngemuxngchyburiechiyngaesn epnihyaeklannaechiyngaesnthngmwl mixanaekhtfayittngaetnatkaemkhxng faytawntkthungrimnaaemkhng fayehnuxthungnaoxnada faytawnxxkthungdxyhlwngechiyngchiepnxanaekhtmlthlechiyngaesnswnhnungsinsudsmyphyasamfngaekninpi ph s 1952 thawlkrachbutrkhxngphyasamfngaeknthrngkhrxngemuxngphrawxyuimnanethaid kthakhwamphidxachyacnphrabidathrngphiorth ihnatwipiwyngemuxngywmit txmainpi ph s 1985 idekidehtukarn kbtthawlkchingrachsmbti thaihrchsmyphyasamfngaeknthungkhrawsinsud chwngewlannphyasamfngaeknphukhrxngnkhremuxngechiyngihmthrngprathbsarayxyu n ewiyngectrin kidmixamatyphuhnungchuxwasamedkyxy khidimsuxcungaeprphktrekharbichthawlk khidkariklthungkbcaexarachsmbtiihphraxngkh hlngcaknnsamedkyxycungrwbrwmsxngsumkalngcnphrxm aelwcunglxbiprbecathawlkcakemuxngywmit masumsxniwinewiyngechiyngihm emuxecathawlkkbkhunsamedkyxyetriymkarthngpwngphrxmaelw tkewlaethiyngkhunkihkhnlxbipcudifephaewiyngecdlinihmkhun phyasamfngaekncungthrngmahnixxkmaekhainewiyng phraxngkhnnharuimwainkhnannthawlknnyudkhrxngrachymnethiyrxyu phxekhamathungkhum thawlkkihkumexatwphyasamfngaeknphrabidaiwbngkhbihmxbrachsmbtiaektn khrnrungkhunecha phyasamfngaeknidnimntchawecasngkhaekhaprachuminphrarachmnethiyr aelwcungprakasmxbrachsmbti aelahlngnaihaekrachbutrinthamklangprachumsngkh ihthawlkepnecankhrphingkhechiyngihmtamkhwamprasngkh esnaxamatythnghlayktngkar prabdaphieskecathawlkepnphramharachecankhrphingkhechiyngihmi npicx ctwask culskrachid 804 eduxnaepd khuxeduxnhk ephywnsukr thwayphranamwa phramhasrisuthrrmtiolkrach emuxidethlingrachsmbtiphrachnmayuid 34 phrrsacungpunbaehnchmunsamedkyxyphutnkhidexarachsmbtiihnn tngihepnecakhrxngphnnakhan chuxecaaesnkhan swnphyasamfngaeknnnphraecatiolkrachenrethsipiwemuxngsad fayecathawchxy phraxnuchathawlkphukhrxngemuxngfang rukhawwaecathawlkepnkhbth aeyngrachsmbtibida aelwenrethsphrabidaipiwemuxngsadkmikhwamaekhnecathawlkphraechsthayingnk cungihiprbesdcphrabidacakemuxngsadmaiwinewiyngemuxngfang etriymkalngtngmnaekhngemuxngxyu emuxecaphrayatiolkrachidthrabkhawdngnn cungihhmunhayaetngtngphukhrxngemuxngekhlangkhykphlhnunghmuniptiemuxngfang chawfangrukhawkykkxngthphxxkocmtihmunhayaetthxngaetklangthang hmunhayaetthxngesiythi aetkfayhnima ecaphrayatiolkrachcungihhmunolksamlan khuxhmunolknkhr ykphlsihmunessphniptiemuxngfangihcngid khrnghlngnichawfangtanthangkalngimid thphechiyngihmcungekhaplnexaemuxngfangid cbidtwphyasamfngaeknsngmaemuxngnkhrphingkhechiyngihm aetecathawchxynnhniipemuxngething ecathawchxysurbepnsamarth cnsinphrachnminthirb lwngthungpi ph s 1991 culskrach 809 piethaanphsk phyasamfngaeknthungaekthiwngkht phraecatiolkrachcdkarplngphrasph n paaednghlwng aelwsthapna phrasthupbrrcuxthithatuiw n sthanthinnkaremuxngkarpkkhrxngphyasamfngaeknnnkstriycaichkhwamsmphnththangekhruxyatiepnhlkinkarpkkhrxng klawkhux sngechuxphrawngsthithrngwangphrathyippkkhrxngemuxngtang inlksnakarkracayxanacxxkcaksunyklang dngehnidcak phyasamfngaeknsngoxrshlayxngkhipkhrxngemuxngtamthitang echn thawlkkhrxngemuxngphraw thawecdkhrxngemuxngechiyngray thawsibkhrxngemuxngfang epntnnxkcaknnyngichkhwamsmphnththangekhruxyatiodykarxphiesksmrskbthidakhxngkstriy hruxecaemuxng ephuxphlpraoychnthangkaremuxng echn phyaaesnemuxngmaxphiesksmrskbthidakhxngecaemuxnginekhtsibsxngphnna aelwkaenidphyasamfngaekn epntn insmyerimaerkkhxngphraxngkhphbwakarpkkhrxngynghlahlwmxyu xikthngthitngemuxngkxyuaeykknthaihhwemuxngmixanacthangkaremuxngsung phrxmthicaaekhngkhxidngay dankaremuxngkarpkkhrxngnn kstriymixanacpkkhrxngcakdxyuephiyngemuxngrachthani swnemuxngxunthikhuntxnncaplxyihecaemuxngmisiththiinkarbriharcdkartamlaphng lksnaniphbehnidcakkarimmisaybngkhbbychaechuxmoyngipsuhwemuxng inaengkhxngrabbphnna rwmthungiphrkepnxikpccyhnungthisakhy klawkhux hnwyphnnakhxngthidincaepntwkahndiphrinsngkd yingthngsxngswnnimimakethaidkcaepntxsung enuxngcakepnaehlngsasmesbiyngcakthidin phnna aelakalngkhn iphrthisngkdinphnna lksnadngklawthaihhwemuxngmixanacebdesrcintwexng hakyxnmaduehtukarnthithawyikumkamecaemuxngechiyngraythikhidkarchingrachsmbtikhxngphyasamfngaeknphuepnxnuchannksamarththaidodyngay enuxngcakmiiphrcanwnmak phnnainsngkdmakthung 32 phnna samarthplukkhawidmak xikthngthitngyngepnthanesrsthkicichsngphansinkha phayhlngphyasamfngaeknphyayamcdkarprbprungkarpkkhrxngihepnraebiybaebbaephnmakkhun mikarkhwbkhumhwemuxngthiimihepnphytxrachthani ethathiphbkhux karaetngtngaelayaytaaehnng phraxngkhcaichxanacsiththikhadinkarsngihbukhkhlthiiwwangicipkhrxngemuxngtang klawkhuxsngthawlk sungedimkinemuxngphraw ipkinemuxngywmit epntn nxkcaknnmikaraetngtngoxrsxngkhihyihdarngtaaehnngxuprachxyuiklchidphraxngkhthiemuxngihy sungthaihemuxngechiyngrayldkhwamsakhylngklayepnemuxngxuprachsasnainsmyphyasamfngaekn mikarsthapnanikaysngkhihmkhux nikaylngkawngs mulehtuthithaihekidehtukarnnisubenuxngmacakkhwamimphxickhxngbrrdaphrasngkhthimitxphyasamfngaeknthiykelikexaklpnakhaswysahrbphrasngkhinthitang ipkhunkbwdwdburnchnth hruxwdsrimungemuxng phlkhuxphramhaethrthnghlaythiepnphhusut phurupriyti phaknxxkipcakemuxngechiyngihm ipsuksaphrathrrmthiemuxnglngka emuxxyuthiemuxnglngkakekidfnaelngkhawaephng brrdaphraethranuethraehlaniehnwacaxyutxipimsukh cungchkchwnknklbcaklngkathwip idchwnexaphraphiksuchawlngkamadwy 2 rup chuxphramhawikrmphahu miphrrsaid 15 phrrsaruphnung chuxphraxudmpyya miphrrsaid 10 phrrsaxikruphnung phxthungpiph s 1973 culskrach 792 piraka othsk phraehlaniidphaknkhunipemuxngechiyngihm sankxyu n rtnmhawihar khux inpiph s 1975 culskrach 794 pichwd ctwask idedinthangipemuxng ekhlangkhnkhr krathasngkhkrrm n xuthksima inaemnawng bwchphracnthrethr epntn aelakulbutrxunepnxnmak lwnginpiph s 1977 luculskrach 796 piethaa chsk idkhunipemuxngechiyngaesn bwchkulbutrinekaachuxwapklngkthipakainaemnaokhng miphramhathrrmesnabdikulwngsepntn phlcakthiphraphiksucaklngkamasubsasnainlannanithaihbrrdaphraphiksutuntwsuksapriytithrrmcnaetkchanmakmaywtthuaelasthanthiphraaekwmrkt inpi ph s 1979 n emuxngechiyngray ekidxsnibatfadisphrasthupihythiwdphraaekwcnphngkhrunlngma txmaidmiphuphbphraphuththruplngrkpidthxngxngkhhnung cungidmikarechiyekhaipiwinwdnn kalewlaphanip rkpidthxngthilngiwekidhludlxkxxkmacnehnepnsiekhiywmrkt emuxecaxawasmaphbekhacungidnamacharakhdsi aelwphbwaphraphuththrupnnepnaekwmrktthngxngkh thancungdiicepnlnphnelynamacdkarihsrasrngtampraephniniym caknnpraktwamiphukhnmaekharphskkaraepnxnmak txmaeruxngrawthrabipthungphrakrrnkhxngphyasamfngaekn cungmirbsngihechiyphraaekwmrktipemuxngechiyngihm ecaemuxngechiyngraycungechiyphraaekwkhunsthitbnhlngchang aelwedinxxkipemuxngechiyngihm khrnthungthangaeykcaipthangemuxngechiyngihmthanghnung aelaipyngemuxnglapangthanghnungchangktunhniipthangemuxnglapangthukkhrng hmunolkphrankhrphrayatikhxngphyasamfngaekn sungepnecaemuxnglapangkthulkhxphraaekwiwthiemuxnglapang phraxngkhkthrngxnuyat wdsrimungemuxng phyasamfngaeknoprdihsrangwdihyintablphnnafngaeknxnepnthiprasuti caknnphraxngkhcungkhnannamwa wdwdphung hrux wdburnchnth inchilkalmalini inphasabali khawa purc chn n samarthaeyksphthxxkid khux pur aeplwa emuxng swn chn n aeplwa mung inpccubnchuxwdepliynepn wdsrimungemuxng aelw wdsrimungemuxngtngxyuthi tabllwngehnux x dxysaekt c echiyngihm wdecdiyhlwng aetedimwdecdiyhlwngsrangkhuninsmyphyaaesnemuxngma kxmaid 10 piyngimaelwesrc phraxngkhkesdcthiwngkhtipkxn khrnmainsmykhxngphyasamfngaekncungidmikarkxsrangtx odymiphramahaethwi phrarachmardaepnphuduaelkarkxsrangnn subenuxngcakphyasamfngaeknyngthrngphraeyawxyu tananemuxngehnux hna 396 klawthungkarkxsrangphraecdiyhlwngiwdngni phranangcungoprdihkxphraecdiy aethnamukhprasathnnkhunipxiknanid 4 pi thungpitrisk ephyeduxn 10 phuththsasnaid 1955 phranangkihykchtryxdmhaecdiyxnaelwdwythxngkhahnk 8902 esiywkha thngexaaekw 3 luk chumnumknisyxdphramhaecdiynnael mhaecdiynnkwangid 20 wathukdan swnsungnbaetthrnithungyxd 39 wa phramhaecdiynnpradbdwysumpratuthng 4 dan miphraphuththrupihynngsmathidwypun nngokhmimmhaophthithng 4 dan mirupnakh 8 twot la 5 hw xyuin 2 changbnid mirachsih 4 twyunkhatinchayprasath mirupchang 28tw mhaecdiynnpraktaekkhnthnghlayxnxyuikl 2000 wadukaelehn ladbthdaetnnma phranangtiolkcudakihsrangwiharhlnghnung aelwphranangcungihhlxphraxngkhhnungsung 18 sxk kbthngxkhrsawk 2 xngkh pradisthaniwinwiharnnaelw phranangkthwaythinaaelakhnkhrwiwxupthakphraecdiy aelaphrawiharhlwngihepnthawrbucha aelwphranangchlxngphramhaecdiyecadwyekhakhxngepnxnmak ktrwcnatkehnuxaephndin xuthisswnbuynnthwayaedphyaaesnemuxngma aelathwayphyakuxna phuepnbidaphyaaesnemuxngma xuthisswnbuynnthungaekphraxinthr phrhm smna phrahmn visi wichathr nangthrni aelachawpracharasrththnghlay phranangecakprarthnaxrhntathikhun phrxmkbptismphithayantngaetchlxngphraecdiymaaelwid 37 pi phranangmhaethwikthungxnickrrmipael ewiyngecdlin phthnakaraelakhwamecriykhxngewiyngecdlinnnmimananaelw intanansuwrrnkhaaedng aelatananechiyngihmidklawthungkarkxrangsrangemuxngkhxngchnphunemuxnginaethbdxysuethphwa ecahlwngkhaaedngepnphusrang ewiyngechtthpuri hruxewiyngecdlin khunepnaehngthisxng emuxngaerkchuxemuxngnarttha sungxyuthangtawnxxktindxyxusupphphta aetphxmainsmyphyasamfngaekn tamhlkthanaelwphraxngkhthrngephiyngepnphusthapnaewiyngecdlin hruxsrangkhunihmcakthimimaaetedimethann chwngnn echiyngihmkbsuokhthyidthakarpralxngyuththsurbdwykarsngthharthimifimuxephlngdab phlpraktwasuokhthyepnfayphayaeph thaihtxngthxykalngxxkiptngkhayphkkalngphlxyuthidxyecdlintlxdewlathixyu n thinn phraxngkhthrngsubinehnaetchangilrachsihtidtxkn 7 khun yingmathrabkhawwa thangechiyngihmidcdtngkxngthph odyichekwiyn 220 elmekwiyntngeriyngraycakaecnghwlinipthangechingdxyecdlin kthaihthrngmikhwamklwekrngyingnk ekidmiickhrnkhramcnelikthphklbip dwyehtuni phyasamfngaekncungidthuxexanimitkhxngphrayaisyluxithynnmasthapnaewiyngecdlinkhun wtthuprasngkhinkarsrangewiyngecdlin hnngsuxphimphphlemuxngehnuxklawiwwa phraxngkhsrangkhunihmephuxepnwtthuprasngkhinkarichepnpxmprakarpxngknkhasukthicamarukranechiyngihm rwmthngichepnphrarachwng inkaraeprphrarachthankhxngecaphukhrxngnkhrechiyngihm dnghlkthaninkaresdcyayekhraahmaprathb n ewiyngecdlinepnrayanbaetphyasamfngaekn ph s 1954 thungecahlwngphuththwngs ph s 2369 2389 krnikhxngkarsthapnaewiyngecdlinnixachmaykhwamthungkarkracaykhwamecriyekhamasuekhtphunthiechingdxysuethph odykarihkhunnanghruxbukhkhlinrachwngsmapkkhrxngduaelkhuntrngtxemuxngechiyngihm phayhlngcakthiepnekhtchumchnthixasykhxngklumkhnphunemuxngtngaetrayakxnsmylanna pratuswnprung ediminxditpratuswnprungkhuxkaaephngemuxngechiyngihmdanit aetphxma inchwngph s 1954 1985 idmikarecaathaepnpratukhuntamphraprasngkhkhxngxngkhphrarachethwi phrarachmardakhxngphyasamfngaekn chwngewlann phrarachethwithrngprathbtahnk n tablswnaer sungtngxyunxkewiyng thangthisitnxkekhtkaaephngemuxng swnphayinekhtemuxngnnkmikarkxsrangphraecdiyhlwng odyhnathiaelwphraxngkhtxngesdcekhaipthxdphraentrkarkxsrangthuk wn dwyehtuthiphyasamfngaeknyngthrngphraeyawxyu phraxngkhthrngdariehnwakaresdcphanpratuthangthayewiyng pratuechiyngihm epnrayathangxxmcungrbsngihecaakaaephngtrngkhamkbphratahnksrangkhunepnpratuaethn rayaaerkeriykchuxpratuniwapratuswnaerxyurayahnungtxmaepliynchuxepnpratuswnpunghruxswnprung khuxaesnpung enuxngcakidbriewnphunthidngklawepnphunthikhxngchanghlxmolha sungcamietathiichhlxmolhathithangphakhehnuxeriykwaetapung cungepnthimakhxngchuxpratuaesnpungthikhwamhmaywamietapungcanwnmakrachtrakulphngsawlikhxngphyasamfngaekn 16 phyakhafu 8 phyaphayu 4 phyakuxna 9 phranangcitraethwi 2 phyaaesnemuxngma 5 phranangysunthraethwi 1 phyasamfngaekn 3 phranangtiolkcuthaethwi xangxinglacul hwbecriy ekrdphngsawdarlanna krungethph The Knowledge Center 2550 hna132 srswdi xxngskul prawtisastrlanna krungethph xmrinthrphrintingaexndphb lichching 2539 hna 141 smhmay eprmcitt tanansibharachwngs chbbsxbcharaechiyngihm mingemuxng echiyngihm 2540 hna59 xrunrtn wiechiyrekhiyw lannaithy xnusrnphrarachphithiepidphrabrmrachanusawriysamkstriy echiyngihm 2526 27 echiyngihm thiphyentrkarphimph 2526 hna267 289 srswdi xxngskul priwrrt phunemuxngechiyngaesn krungethph xmrinthr 2546 prachakickrckr phraya phngsawdaroynk phrankhr khlngwithya 2507 hna 316 319 sngwn ochtisukhrtn tananemuxngehnux krungethph oxediynsotr 2508 hna171aehlngkhxmulxunkhxsnnisthankhxngwtthuprasngkhkarsrangewiyngecdlin 2549 13 19 kumphaphnth phlemuxngehnux 33 chum n bangchang 2526 kaaephngemuxngaelapratuemuxngechiyngihm in bk lannaithy xnusrnphrarachphithiepidphrabrmrachanusawriysamkstriy echiyngihm 2526 27 hna80 92 echiyngihm thiphyentrkarphimph prachakickrckr phraya 2507 phngsawdaroynk phimphkhrngthi 5 phrankhr khlngwithya prachaithy 2548 khnwnthi 4 singhakhm 2550 cak lacul hwbecriy 2550 ekrdphngsawdarlanna krungethph The Knowledge Center sngwn ochtisukhrtn 2508 tananemuxngehnux phimphkhrngthi 3 krungethph oxediynsotr smhmay eprmcitt 2540 tanansibharachwngs chbbsxbchara echiyngihm mingemuxng echiyngihm srswdi xxngskul 2539 prawtisastrlanna phimphkhrngthi 2 krungethph xmrinthrphrintingaexndphb lichching xrunrtn wiechiyrekhiyw 2526 prawtisastremuxngechiyngihm smyrachwngsmngrayaelasmyphmapkkhrxng in bk lannaithy xnusrnphrarachphithiepidphrabrmrachanusawriysamkstriy echiyngihm 2526 27 hna267 289 echiyngihm thiphyentrkarphimph hns ephnth aelaaexndru fxrbs 2547 prawtisastrlannachbbyx echiyngihm silkhewxrm kxnhna phyasamfngaekn thdipphyaaesnemuxngma kstriyaehngxanackrlanna ph s 1954 ph s 1984 phraecatiolkrach