หลวงลิขิตปรีชา (19 เมษายน พ.ศ. 2362 – 6 กันยายน พ.ศ. 2439) มีนามเดิมว่า คุ้ม เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล (ฝ่ายวังหน้า) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ราชเลขานุการในพระองค์ และนักกวีสมัยรัชกาลที่ 3–5 กรุงรัตนโกสินทร์
หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม โรจนกุล) | |
---|---|
เจ้ากรมพระอาลักษณ์ พระบรมมหาราชวัง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2428 – 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เจ้ากรมพระอาลักษณ์ พระราชวังบวรสถานมงคล | |
ดำรงตำแหน่ง รัชกาลที่ 3 – พ.ศ. 2428 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระสุนทรโวหาร (ภู่) |
ถัดไป | ยกเลิก (วิกฤตการณ์วังหน้า) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2362 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์ |
เสียชีวิต | 6 กันยายน พ.ศ. 2439 (77 ปี) แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์ |
คู่สมรส | คุณหญิงลิขิตปรีชา (พึ่ง) |
บุตร | หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) |
บุพการี |
|
อาชีพ | อาลักษณ์ |
ประวัติ
หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เกิดที่กรุงเทพพระมหานคร เมื่อวันจันทร์ แรม 10 ค่ำเดือนห้าปีเถาะสัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2362 สมัยรัชกาลที่ 2 มีนิวาสสถานอยู่ที่ย่านบ้านช่างหล่อ วังหลัง เคยเล่าเรียนหนังสือที่วัดโพธิ์ บิดาชื่อขุนหมื่น (ดี) ตำแหน่งช่างเขียนกรมช่างสิบหมู่ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งรับราชการอยู่กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ไม่ปรากฎนามมารดา ภรรยาชื่อ คุณหญิงลิขิตปรีชา (พึ่ง) บุตรปรากฏว่าชื่อ หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) เป็นทหารกองหนุนกระทรวงกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นปู่ของพระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล) กรมราชเลขาธิการ ข้าราชบริพารสำนักพระราชวัง
สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล มีบรรดาศักดิ์เป็น นายราชอักษร (คุ้ม) ตำแหน่งนายเวร ถือศักดินา 400 โดยมีพระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือ สุนทรภู่ เป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 7 ตำลึง หลังรับราชการได้ 3 ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งนายราชอักษร (คุ้ม) นายเวร ให้เป็นหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา 1,500 ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 1 ชั่ง แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งพระสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นจางวางกรมพระอาลักษณ์ เมื่อ พ.ศ. 2408 ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) จึงได้ย้ายไปสมทบกับกรมพระอาลักษณ์ในพระบรมมหาราชวัง
สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) จึงได้ย้ายไปกรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวร หลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคตแล้วจึงย้ายไปสมทบกับกรมพระอาลักษณ์ในพระบรมมหาราชวังอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2435 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานเบี้ยหวัดเพิ่มอีกปีละ 5 ตำลึง พร้อมพระราชทานเหรียญรัชฎาภิเศกมาลา ร.ศ. ๑๑๒ แก่หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ๆ จึงได้รับเบี้ยหวัดเป็นปีละ 1 ชั่ง 5 ตำลึง
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ล้มป่วย จึงให้พระอ่อน วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารรักษามีอาการทรุดๆ ทรงๆ จึงเปลี่ยนให้หมอสีชะเลยศักดิ์ (หมอเชลยศักดิ์) รักษาแทนแต่อาการกลับทรุดลงมาก เมื่อวันที่ 6 กันยายน มีอาการอ่อนเพลียและหอบจวนหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ถึงแก่กรรมเมื่อเวลา 20.00 น. ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 77 ปี คุณหญิงลิขิตปรีชา (พึ่ง) จึงได้เข้าจัดการศพ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เพลิงหลวง พร้อมหีบศพเชิงชายเป็นเกียรติยศ
พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) ผู้ค้นคว้า รวบรวม และบันทึกเรื่องราวของสุนทรภู่ ได้เขียนบันทึกคำกล่าวของพระอมรสินธพ (นก) เมื่อ พ.ศ. 2456 ขณะมีอายุ 77 ปี ซึ่งเล่าว่า "เวลานั้น ใบฎีกามี ของสมเด็จพระปรมา ได้เป็นหลวงลิขิตปรีชา เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ท่านผู้นี้เจ้ายศเจ้าศักดิ์ ถือความมั่งมีภาคภูมิเต็มที่อย่างขุนนางโบราณคือ บ่าวไพร่นุ่งห่มร่มค้างคาว กล้องยาแดงกาน้ำเป็นต้น สุนทรภู่ถึงเป็นจางวางก็จริง แค่ลดความมั่งมีให้ท่านเจ้ากรม เวลาจะนั่งจะเดินอยู่ในกิริยาเป็นผู้ถ่อมตน ยอมเป็นผู้ที่ ๒ ไม่ตีตนเสมอเลย"
ผลงาน
งานประพันธ์ของหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) โดดเด่นที่มีปรากฏและค้นพบได้ในปัจจุบันมีดังนี้
โคลงกลอน
- จารึกวัดโพธิ์ (พ.ศ. 2374-2381)
หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ได้ร่วมแต่งโคลงดั้นบาทกุญชร จารึกวัดโพธิ์ ปรากฏหลักฐานในคำประพันธ์บทหนึ่งความว่า “ฉันทพากย์เพลงโคลงคล่อง สองหลวงว่องโวหาร ชาญภูเบศร์สมญา ลิขิตปรีชาเฉลียวอรรถ เจนแจ้งจัดทุกอัน ร่วมสังสรรค์เสาวพจน์” จารึกวัดโพธิ์ ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำของโลก เมื่อ พ.ศ. 2551 โดย คณะกรรมการองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
คำโคลงจารึกวัดโพธิ์ ที่หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เป็นผู้แต่ง ปรากฏว่ามีดังนี้
จารึกโคลงภาพฤๅษีดัดตน
ท่าที่ 27 ท่าดัดตนแก้อาการลมชักปากเบี้ยว ลมลิ้นตาย ลมเท้าเหน็บ ลมมือเหน็บ
- จารึกนี้กล่าวถึงพระฤๅษีกาลสิทธิ์ (ฤๅษีปู่เจ้าสมิงพราย) แสดงบทอาสนะแห่งฤๅษีด้วยท่าตัดตนแก้ลมชักปากเบี้ยว ลมลิ้นตาย ลมเท้าเหน็บ ลมมือเหน็บ ด้วยการใช้มือหนึ่งเหนี่ยวไหล่ กดปลายนิ้วลงเหนือซอกรักแร้ และอีกมือหนึ่งหน่วงข้อเท้า โดยกดหัวแม่มือกดลงที่เอ็นเหนือตาตุ่มด้านใน จารึกดังกล่าวถูกค้นพบที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ท่าที่ 40 ท่าดัดตนแก้เท้าเย็นสบาย ใจสวิงสวาย
- จารึกนี้กล่าวถึงพระฤๅษีกบิล แสดงบทอาสนะแห่งฤๅษีด้วยท่าดัดตนแก้เท้าเย็น ใจสวิงสวาย โดยการไขว้เท้าหนึ่งไปวางบนตักของอีกข้างหนึ่ง ซึ่งถูกสองมือกุมเข่า รัดแข้งยกเอาไว้จารึกดังกล่าวถูกค้นพบที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา
แผ่นที่ 31 ภาพเขมร
- เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน 32 แผ่น จารึกนี้กล่าวถึงอัตลักษณ์และตัวตนชนชาติเขมรว่ามีผิวดำ นับถือศาสนาพุทธ อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสยาม แต่งกายโดยนุ่งผ้าปูม สวมเสื้อสีคราม คาดแพรเยื่อไม้ของญวนที่สะเอว และไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ไม่ไว้ไรผม จารึกดังกล่าวถูกค้นพบที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
แผ่นที่ 32 ภาพลิ่วขิ่ว
- เป็นหนึ่งในจารึกโคลงภาพต่างภาษาจำนวน 32 แผ่น จารึกนี้กล่าวถึงอัตลักษณ์และตัวตนชนชาติลิ่วขิ่ว ว่ามีการเกล้าผมมวยเหมือนจุกเด็ก สวมเสื้อสีหมากสุกยาวคลุมเข่า โพกศีรษะ บ้านเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และมีการถวายบรรณาการแด่จีนจารึกดังกล่าวถูกค้นพบที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
จารึกเพลงยาวกลบทและกลอักษร
แผ่นที่ 8 กลบทกินรเกบบัว
- จารึกกลบทกินรเกบบัว มีคำจารึก 19 บรรทัดซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงความชอกช้ำใจจากหญิงคนรักที่กลับห่างเหินไป
แผ่นที่ 20 กลบทพระจันท์ธรงกลด
- จารึกกลบทพระจันท์ธรงกลด มีคำจารึก 22 บรรทัดซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงความโศกเศร้าเพราะการพลัดพรากจากหญิงคนรัก
แผ่นที่ 39 กลบทก้านต่อดอก
- จารึกกลบทก้านต่อดอก มีคำจารึก 19 บรรทัดซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงความทุกข์ระทมที่ต้องอยู่ห่างไกลจากหญิงอันเป็นที่รัก
- โคลงศิลาจารึกศาลเจ้าหลักเมืองพระตะบอง (พ.ศ. 2379)
ศิลาจารึกศาลเจ้าหลักเมืองพระตะบอง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เป็นผู้แต่ง เป็นโครงสี่สุภาพสลับกาพย์ฉบับ 16 โดยคำประพันธ์ที่จารึกผนังด้านทิศตะวันออกมีระบุบรรดาศักดิ์เป็นหลวงลิขิตปรีชาเป็นผู้แต่ง ซึ่งณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ราชบัณฑิตประเภทประวัติศาสตร์ ระบุว่า หลวงลิขิตปรีชา เจ้ากรมพระอาลักษณ์ผู้นี้มีนามเดิมว่า คุ้ม กวีในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้แต่งโคลงดังกล่าว
ตัวอย่างคำประพันธ์
๏ อาลักษณ์ศักดิ์ยศพร้อง | สมญา | |
หลวงลิขิตปรีชา | ชื่ออ้าง |
นิพนธ์สรรพ์พจนา | โคลงพากย์ ฉันท์เอย | |
แนะตรนักนามป้อมสร้าง | สฤษดิ์ไว้เปนเฉลิม ฯ |
๏ ป้อมนารายน์นารายน์ทรง | จักรแก้วฤทธิรงค์ | |
ประหารประหัตดัษกร |
ป้อมเสือเสือร้ายแรงขจร | ในด้าวดงดอน | |
จัตุบาทฤๅอาจเทียบทัน ฯ | ||
— ศิลาจารึกศาลเจ้าหลักเมืองพระตะบอง |
ส่วนคำประพันธ์ในจารึกผนังด้านทิศตะวันตก กล่าวถึงเหตุการณ์สร้างเมืองพระตะบองและยังกล่าวถึงการอธิษฐานขอให้เทพยดาช่วยรักษาคุ้มครองเมือง ซึ่งศิลาจารึกส่วนนี้เป็นของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เนื่องด้วยเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) สร้างเมืองไว้เพื่อป้องกันศัตรู
ตัวอย่างคำประพันธ์
๏ ปางปิ่นอดิศวร | ผู้ทรง ทศพิธธำรง | |
จารีตราชประเพณี |
เฉลิมดิลกพิภพศรี | อยุทธเยศบุรี | |
พระเกียรติเกริ่นธราดล ฯ |
๏ สถิตยพระโรงรัตนโสภณ | พร้อมหมู่มุขมน– | |
ตรีชุลีกรเดียรดาษ |
บัดเอื้อนราโชยงการประภาษ | สั่งตูข้าบาท | |
ผู้รองเบื้องมุลิกา ฯ | ||
— ศิลาจารึกศาลเจ้าหลักเมืองพระตะบอง |
- โคลงนิทานเบ็ดเตล็ด (พ.ศ. 2430)
- สุริยพันธ์คำกลอน (พ.ศ. 2431)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงนิพนธ์ขึ้นในขณะยังทรงดำรงพระยศเป็น กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เริ่มนิพนธ์ครั้งแรกเมื่อ 12 กรกฎาคม ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2431) ปรากฏว่าหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในขณะนั้นเป็นหนึ่งในกวีที่ได้ร่วมแต่งคำกลอนลงในพระนิพนธ์นี้ด้วยโดยมีปรากฏคำกล่อนใน สุริยพันธ์คำกลอน ตอนที่ 5 ตอนที่ 8 ตอนที่ 9 ตอนที่ 12 และตอนที่ 21 เป็นต้น และเคยได้รับการเผยแพร่ลงใน วารสารศิลปากร ฉบับปีที่ 4 เล่มที่ 5 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 - ฉบับ ปีที่ 8 เล่มที่ 12 วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ตัวอย่างคำประพันธ์
๏ ฝ่ายพระสุริยพันธุ์พงศ์กษัตริย์ | ซึ่งวิบัติเรือแตกแยกสลาย | |
ลงเรือน้อยลอยไปไม่วางวาย | เอกากายผู้เดียวให้เปลี่ยวใจ |
ด้วยเวลาราตรีก็มืดมิด | ทั่วทุกทิศไม่เห็นสิ่งใดได้ | |
พายุกล้าสลาตันพรั่นฤทัย | โอ้ที่ไหนจะได้รอดตลอดคืน ฯ | |
— สุริยพันธ์คำกลอน ตอนที่ 5 |
- โคลงพิพิธพากย์ (พ.ศ. 2455)
เป็นคำโคลงสุภาษิตที่แสดงถึงคุณและโทษของเรื่องที่ตั้งกระทู้ความ เช่นว่า ความงาม ความรัก ความชัง ความเบื่อหน่าย เป็นต้น ซึ่งกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณได้รวบรวมโคลงเหล่าให้เป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2457 หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ได้ร่วมแต่งโคลงนี้ในกระทู้ความเรื่อง ความอิจฉา
ตัวอย่างคำประพันธ์
๏ ความอิจฉาเกิดขึ้น | คนใด | |
พาจิตรไม่ผ่องใส | สดชื่น |
มักงุ่นง่านทยานใจ | เจียนคลั่ง | |
เพราะตฤกตรองตื้นตื้น | ต่ำช้าตนเฉา ฯ | |
— โคลงความอิจฉา |
- กำนันหลอกพราน
เป็นเพลงยาวมีความยาว 27 บท หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ร่วมแต่งกับนายนาน บางขุนพรหม ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกใน วารสารวชิรญาณวิเศษ หมวดนิทานคำกลอน เล่ม 8 แผ่นที่ 20 ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 111 ตรงกับ พ.ศ. 2435 และถูกตีพิมพ์อีกครั้งในหนังสือ นิทานวชิรญาณ เล่ม 1 เมื่อ พ.ศ. 2555 โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
นิราศ
นิราศสรวมครวญเป็นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วยโคลงสุภาพชาตรีจำนวน 186 บท และใช้ร่ายสุภาพปิดท้ายโคลงนิราศซึ่งหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ร่วมแต่งกับขุนสาราบรรจง ขุนจำนงสุนธร และนายเวรจำลอง ภายหลังหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนีได้ตรวจสอบ ชำระใหม่และเขียนเพิ่มเติมเป็นฉบับ นรินทร์จัน-ประชันนรินทร์อิน ทรงใช้นามปากกาว่า พ.ณ.ประมวญมารค
ตัวอย่างคำประพันธ์
๏ เทเวนทรวาสุเทพท้าว | ผทมสินธุ์ | |
อ่อนอาสน์อุรัคคินทร์ | ค่ำเช้า |
ทรงสังข์จักราจิณ | เจนหัตถ์ | |
หลับอย่าลืมละเจ้า | ปิ่นไท้ผไทสยาม ฯ | |
— นิราศสรวมครวญ |
อื่นๆ
- จินดามณี ฉบับหลวงลิขิตปรีชา
จินดามณี ฉบับหลวงลิขิตปรีชา เป็นตำราภาษาไทยมีลักษณะเป็นฉันท์นมัสการว่าด้วยการใช้ตัว ส ศ ษ การไม้ม้วน ไม้มลาย การตัว ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ การแจกลูกอักษร การแต่งฉันท์ โคลง รหัสอักษร ตัวอย่างโคลงมณฑกคติ กาพย์ก่อโคลง และโคลงกลบท และมีเรื่องกลอนเพลงยาวและกลอนบทละคร พบต้นฉบับบันทึกเป็นสมุดไทยเลขที่ ๒๓๙ โดยกรมศิลปากร
- เลียดก๊ก พงศาวดารจีน (พ.ศ. 2362)
เมือ พ.ศ. 2362 ตรงกับรัชกาลที่ 2 หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ได้ร่วมแปลและเป็นบรรณาธิการ เลียดก๊ก พงศาวดารจีน ปรากฏในย่อหน้าที่ 3 ของพงศาวดารว่า "ห้องสินแลในเลียดก๊กนั้น ว่าด้วยพระเจ้าบู๊อ่องครองเมืองทั้งปวงคิดทำศึกกัน ข้าพเจ้าหลวงลิขิตปรีชา เจ้ากรมอาลักษณ์ชำระขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย" พร้อมด้วยกวีดังนี้ ขุนมหาสิทธิโวหาร พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี หลวงญาณปรีชา เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) พระยาโชดึกราชเศรษฐี หลวงวิเชียรปรีชา ขุนท่องสื่อ จมื่นไวยวรนาถ นายเล่ห์อาวุธ และจ่าเรศ
- ตำรานพรัตน์
ตำรานพรัตน์ ฉบับร้อยแก้วคือตำราว่าด้วยอัญมณี ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน งานบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ ๖๐ พระพรรษาของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อ พ.ศ. 2464 ในวาระต่อมาได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง นับว่า ตำรานพรัตน์ ฉบับนี้เป็นฉบับที่แพร่หลายมากที่สุด ซึ่งหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เป็นผู้แต่งตำรับพุทธศาสตร์ประกอบ ตำรานพรัตน์ ว่า "วชิรํ รัตตํ อินฺทนีลํ เวฬุริยํ รัตฺตกาฬมิสิสกํ โอทาตปีตมิสสฺกํ นีลํ ปุสฺสราคํ มุตตาหารญจาติ อิมานิ นวากาทีนิ รตนานิ ตฺสมา รตนชาติ โย อเนกวิธา นานาปเทเสสุ อุปปชฺชนตีติ เวทิตฺพพา" ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถอดความพระบาลี ว่า:-
อันว่ารัตนชาติทั้งหลายมีประการเป็นอันมากจะประมาณมิได้ มีแก้วเก้าประการเป็นอาทิ คือ แก้ววิเชียร ๑ แก้วแดง ๑ แก้วอินทนิล ๑ แก้วไพทูรย์ ๑ แก้วรัตกาลมิสก ๑ แก้วโอทาตปปิตมิสก ๑ นิลรัตน์ ๑ แก้วบุษราคัม ๑ แก้วมุกดาหาร ๑ แก้วทั้งเก้าประการมีพรรณต่างกัน แต่แก้ววิเชียรนั้นมีสีงามบริสุทธิ์ดังน้ำอันใส ตำราไสยศาสตร์ชื่อว่าเพชร นับถือว่าเป็นมงคล อันพราหมณ์ทั้งหลายนำมาใช้ให้ช่างเจียรนัยผูกเรือนธำมรงค์ประดับด้วยเนาวรัตน์จัดเอาเพชรตั้งเป็นปฐม อันว่าแก้วมีพรรณแดงงามสดใสยิ่งนักในตำราไสยศาสตร์สมมุติชื่อว่าปัทมราช ถ้ามีสีแดงอ่อนดังผลเมล็ดทับทิมสุกนั้นชื่อว่าทับทิมประดับเรือนธำมรงค์เนาวรัตน์เป็นที่สอง อันว่าแก้วอินทนิลมีพรรณผลนั้นเขียวเลื่อมประภัสสรดังแสงแห่งปีกแมลงทับประดับเรือนนพรัตน์เป็นที่สาม อันว่าแก้วไพทูรย์มีสีเหลืองเลื่อมพรายดังสีสรรพ์พรรณบุปผชาติทั้งหลายมีสีดอกทรึกเป็นอาทิ ประดับนับเข้าในเรือนนพรัตน์เป็นที่สี่ อันว่าแก้วอันมีสีดำและสีแดงเจือแกมกันดูงามสดใส สมมติว่ามีคุณอันพิเศษนำมาผูกเรือนธำมรงค์เนาวรัตน์จัดเป็นที่ห้า อันว่าแก้วอันมีสีขาวกับสีเหลืองเจือกันนั้นประดับเนาวรัตน์เป็นที่หก อันว่าแก้วอันมีสีขาวกับสีเหลืองเจือกันนั้นประดับเนาวรัตน์เป็นที่หก มีสีดอกอัญชันและดอกสามหาว ประดับเรือนเนาวรัตน์เป็นที่เจ็ด อันว่าบุษราคัม มีสีเหลืองเลื่อมประภัสสรดังสีวงแววหางปลาสลาด นัยหนึ่งมีสีดังหลังปู ประดับเรือนนพรัตน์เป็นที่แปด อันว่ามุกดาหารมีสีดังมุกอันเลื่อมพราย ดูงามเป็นที่จำเริญจักขุบุคคลอันเล็งแลดู ประดับเรือนพระธำมรงค์นพรัตน์เป็นที่เก้า
โดยมีกวีในครั้งนั้นร่วมแต่ง ตำรานพรัตน์ ปรากฏว่ามี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) (ขณะยังเป็นพระยาสุริยวงศ์มนตรี) พระมหาวชิรธรรรม หลวงภักดีจินดาและนายชม รวมถึงบรรดากวีท่านอื่น ๆ ที่ได้ร่วมนิพนธ์กับหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ช่วงรัชกาลที่ 3 เช่น พระมหามนตรี (ทรัพย์) ขุนธนสิทธิ์ หมื่นพรหมสมพัตรสร หมื่นนิพนธ์อักษร ครูแจ้ง นายเกตุ นายช้าง นายนก นายพัต และกวีหญิงอีก 2 ท่านคือ คุณพุ่มและคุณสุวรรณ
ข้าพระพุทธเจ้า พระยาสุริยวงศ์มนตรี, พระมหาวชิรธรรรม, หลวงลิขิตปรีชา, หลวงภักดีจินดา, นายชม ปรึกษาพร้อมกับสอบตำราเพชรรัตน์ตำหรับพราหมณ์ ซึ่งหลวงภักดีจินดาได้เรียนไว้มาชำระเทียบต้องกันสามฉบับ พระมหาวิชาธรรนค้นพระบาลีพุทธศาสตร์ ประกอบกับตำราไสยศาสตร์ หลวงลิขิตปรีชาอาลักษณ์แต่งตำหรับพุทธศาสตร์ ประกอบกับตำราไสยศาสตร์ทูนเกล้าถวาย
- พระพิไชยสงคราม (พ.ศ. 2368)
เมื่อ พ.ศ. 2368 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยวงศ์ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิสุขวัฒนวิไชย ได้จัดข้าทูลอองธุลีพระบาทสนองพระบัณฑูรสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้ชำระคัมภีร์สาตรพยากรณ์ฤกษบนล่าง วิทธีวิชาไมยมนต์เลกยันต์แลอาถันข่มนาม และพระราชพิทธีข่มนามที่พยุหะ ซึ่งหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ได้ร่วมชำระตำรับ พระพิไชยสงคราม เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 6 ค่ำ เดือน 8 ปีระกาสัพศก เป็นตำราลับปกปิดที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงแต่งขึ้นเมื่อปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก ตรงกับ พ.ศ. 2041 โดยเชิญพระตำรับจำนวน 14 เล่ม ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพระราชวังบวรสถานมงคล ความว่า "...พระเจ้าน้องยาเธอรับพระราชปริหาญ จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้มีสติปัญญา ได้ พระยาบำเรอบริรักษ์ จางวางมหาดเล็ก ๑ พระมหาวิชาธรรม ๑ จางวาง ราชบัณฑิต ๑ หลวงลิขิตรปรีชา เจ้ากรมอาลักษณ์ ๑ หลวงสุธรรมาจารย์ ๑ พระโหราธิบดี จางวางโหร ๑ หลวงญาณเวท ๑ หลวงไตรเพทวิไศรย ๑ ขุนโลกยพรหมา ปลัดกลม ๑ รวม ๙ นาย พระเจ้าน้องยาเธอเป็นแม่กอง ครั้น ณ วัน ๕ ๖ฯ ๘ ปีระกาสัพศก พร้อมกัน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ หลวงลิขิตรปรีชา เจ้ากรมพระอาลักษณ์ เชิญพระตำรับพระพิไชยสงครามข้างที่ออกมาเป็นสมุดพระราชตำรับ ๑๔ เล่ม ให้ลงมือจับชำระสอบสวนกันที่ฟั่นเฟือนวิปลาดซ้ำกันก็วงกาตกเต็มให้ถูกถ้วนแล้วขึ้นกราบทูลพระกรุณา ทุกเวลาเสด็จออกวถายสังฑภัตทาน ทรงฟังเทศนาเช้าเย็น ภอพระทัยบ้าง ทรงชำระวงกาดัดแปลงบ้าง โปรดให้ออกมาเรียบเรียงชำระใหม่บ้าง แต่ได้ชำระพระตำรับพระพิไชยสงคราม ณ วัน ๕ ๖ฯ ๘ จุลศักราช ๑๑๘๗ ปีระกาสัพศก จนถึง ณ วัน จึงสำเร็จ ให้คัดส่งเข้าไว้ข้างที่ฉบับหนึ่งไว้ ณ หอหลวงฉบับหนึ่ง..."
- หนังสือ "องเลโบ” (พ.ศ. 2390)
หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) รับสั่งจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ให้แปลหนังสืออักษรญวนออกเป็นไทย พร้อมนำสำเนาแปลหนังสือญวนคำให้การของพญาราชเดชกับพญาธนาธิบดีขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งให้เป็นผู้พาพญาราชเดชกับพญาธนาบดี องค์ญวนของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) ทั้ง 2 องค์เข้ามาแจ้งราชการที่กรุงเทพด้วย เมื่อแปลเสร็จแล้วหลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ) นำหนังสือบอก และสำเนาแปลหนังสือญวนคำให้การของพญาราชเดชกับพญาธนาธิบดี ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทราบแล้ว ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าฯ ว่า "ตั้งแต่แผ่นดินเทียวตรีมา ๗ ปี ได้ทรงฟังแต่หนังสือขุนนางญวนแม่ทัพซึ่งมีไปมาถึงเจ้าพญาบดินทรเดชา ก็เห็นเป็นปากร้ายตามทำนองแต่ก่อน พึ่งจะได้ทรงทราบสำนวนเจ้าเทียวตรีรู้ทำนองครั้งนี้ เห็นเป็นปากกล้าใจอ่อนผิดกับทำนองเจ้ามินมาง, เจ้าญาลอง, ทรงพระราชดำริราชการเมืองเขมรเข้าพระทัยว่า ทำนองญวนก็จะเหมือนกันกับทำนองแต่ก่อน ที่ไหนจะให้กลับมาให้สมคิดสมหมายง่าย ๆ พระราชดำริผิดไปแล้ว เจ้าพญาบดินทรเดชา ฯ คิดราชการถูกอุตส่าห์พวกเพียรจนสำเร็จได้ตามความปรารถนา ด้วยเดชะพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวที่จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้ตั้งอยู่ในเมืองเขมรฐีติการ ควรที่จะยินดีรับขวัญเอา ได้มาเถิงเมืองพร้อมเมืองแล้วก็กระหมวดไว้ให้หมั่น แต่ญวนเอาเมืองเขมรของเราไปตั้งแต่ปีวอกจัตวาศนับได้ถึง ๓๖ ปีแล้ว พึ่งได้ คืนมาเป็นของเราเมื่อ ณ วัน ๕ ๗ ค่ำ ปีมะแมนพศก และเจ้าพญาบดินทรเดชาฯ ออกไปลำบากกรากกรำคิดราชการจะเอาเมืองเขมรคืนตั้งแต่ปีมะเส็งเบ็ญจศกช้านานถึง ๑๕ ปี อุปมาเหมือนหนึ่งว่ายน้ำอยู่กลางพระมหาสมุทรไม่เห็นเกาะเห็นฝั่ง พึ่งจะได้"
- พระสมุดโคลงแผนม้า ตำราพุกาม ฉบับกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ (พ.ศ. 2395)
หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมพระอาลักษณ์รับสั่งให้ชำระตำราร่วมกับขุนจำนงสุนทร ปลัดกรม เมื่อวันพฤหัสบดีเดือนสิบขึ้นห้าค่ำ ปีชวดจัตวาศก ตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม ในสมัยรัชกาลที่ 4
- พระราชปุจฉาในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๕ เล่ม 2
ประชุม พระราชปุจฉาในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๕ เป็นหนังสือประชุมพระราชปุจฉาที่พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชดำรัสถามข้ออรรถธรรมที่ทรงสงสัยให้พระราชาคณะประชุมถวายวิสัชนา เมื่อ พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรรหารให้หาหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลเข้าเฝ้าทูลลองธุลีพระบาทเพื่อนำข้อความพระราชปุจฉา เช่น ข้ออรรถธรรมว่าด้วยเถรวาทผู้แต่งคัมภีร์อัตโนมัติเรื่องมารวิชัย และทศโพธิสัตว์แอบอ้างเอาพระพุทธฎีกาจะเป็นกล่าวพระพุทธวจนะหรือไม่ ถวายนิมนต์เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชให้วิสัชนา ณ วัน 6 แรม 6 ค่ำเดือน 12 วานรสังวัจฉรนักษัตรฉศก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2367
จึงมีรับสั่งโปรดดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้พระมหาวิชาธรรม หลวงลิขิตปรีชา นำข้อความพระราชปุจฉานั้นออกไปเผดียงแก่สมเด็จพระสังฆราช ให้ประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงพร้อมกันวิสัชนา จึงจะหายความสงสัย
- ศิริวิบุลยกิตต์
หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ได้ร่วมแต่งเพลงยาวกลบทและกลอักษรกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หลวงนายชาญภูเบศร์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต ขุนธนสิทธิ์และจ่าจิตร์นุกูล
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน เป็นพระสมุดพระราชพงศาวดารสมุดไทย 42 เล่ม มีเนื้อเรื่องตั้งต้นแต่พระเจ้าเชียงราย (พระเจ้าชัยศิริ) มาสร้างเมืองไตรตรฤง (เมืองไตรตรึงส์) แล้วพระเจ้าศิริไชยเชียงแสนสร้างเมืองเทพนคร พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยาจนขุนพิเรนคิดการจะจับขุนวรวงศาธิราช จนถึงจนถึงนายบุญเรืองเผาตัวตายที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารเมื่อปี พ.ศ. 2333 ซึ่งพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) รัชกาลที่ 4-5 ได้แบ่งกันคัดลอก โดยมี หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ขุนสาราบรรจง ปลัดกรมจำลอง และขุนจำนงสุนทร ปลัดกรม ปรากฏในปกหน้าสมุดไทย พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนฉบับตัวเขียน ว่า:-
๏ ข้าพระพุทธเจ้าขุนษาราบันจงปลัดกรมจำลอง หลวงลิขิตปรีชาเจ้ากรม ขุนจำนงสุนทรปลัดกรม ธารทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายขอเดชะ ๚ะ
การมีส่วนร่วมในสงครามเมืองพระตะบอง
ช่วงรัชกาลที่ 3 ขณะนั้นมีสงครามระหว่างเขมร และญวน เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้จัดกองทัพเพื่อยกไปเมืองพระตะบอง ใกล้กับจังหวัดจันทบุรี ณ วันเดือนยี่ ปีกุนเอกศก กรมอาลักษณ์ซึ่งหลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) เจ้ากรมขณะนั้นเป็นนายทัพ พร้อมเสื้อพระราชทานนายทัพ ดอกถี่ 1 ชุด ได้จัดบัญชีแก่กองทัพเจ้าคุณจำนวน 2 คน เป็นนาย 1 คน และไพร่ 1 คน และขุนสาราบรรจง ปลัดกรมขวา เป็นนายกอง พร้อมเสื้อพระราชทานนายกอง ดอกลาย 1 ชุด จัดกำลังขุนหมื่นในกรมจัดกำลังจำนวน 25 คน ประกอบด้วยขุนหมื่นในกรม 7 คน ช่างสมุด 6 คน ช่างสมุดเลว 9 คน นาย 2 คน และ ไพร่ 1 คน ตามลำดับ ดังปรากฏใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม 42 ภาคที่ 66 (ต่อ) – 67 เรื่อง จดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี เล่าเรื่องไปชะวา ครั้งที่ 3 ฉบับที่ 2 บัญชีกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อยกไปเมืองพระตะบอง หน้า 180 วรรคที่ 2 ความว่า "กรมอาลักษณ์ หลวงลิขิตปรีชา นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนสาราบรรจง ๑ ขุนหมื่นในกรม ๗ ช่างสมุด ๖ เป็น ๑๓ ช่างสมุดเลว ๙ นาย ๒ ขุนหมื่น ๒๒ เป็น ๒๔ ไพร่ ๑ เป็น ๒๕"
บรรดาศักดิ์
- บรรดาศักดิ์
- นายราชอักษร (คุ้ม) ศักดินา 400
- หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม) ศักดินา 1,500 (ทำเนียบวังหน้าบอกว่าถือศักดินา 1,800)
หมายเหตุ: บรรดาศักดิ์ หลวงลิขิตปรีชา ปรากฏในทำเนียบตำแหน่งข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งเป็นทำเนียบในสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลองค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์ บรรดาศักดิ์เจ้ากรมพระอาลักษณ์หลังรัชกาลที่ 5 ล้วนเป็น พระยาศรีสุนทรโวหาร และกองรายงานหนังสือไปมา กรมราชเลขานุการ ปรากฏบรรดาศักดิ์ เป็น พระยาศรีราชอักษร กระทั่ง ปี พ.ศ. 2475 กรมพระอาลักษณ์ ยุบเลิกตำแหน่งไปอยู่กับคณะรัฐมนตรี
ตำแหน่งราชการ
- นายเวรพระอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล
- พ.ศ. ?? – พ.ศ. 2428 เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล
- พ.ศ. 2428 – พ.ศ. 2439 เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- พ.ศ. 2435 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
หมายเหตุ:พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ กรมราชเลขานุการในขณะนั้นรับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการกรมพระอาลักษณ์ในรัชกาลก่อนมาจนถึงปีวอกวัตวาศกศักราช 123 ในงานพระราชพิธีสมภาคาภิเษก โดยหมายให้ข้าราชการมาบอกบัญชีที่กรมพระอาลักษณ์ หมายวันที่วันที่ 18 สิงหาคม 2444 โดยให้มาแจ้งความที่ ณ กรมพระอาลักษณ์ ให้จดบัญชีชื่อตั้งชื่อเดิม และรับตำแหน่งยศเป็นที่อะไร ปีใด ศักราชใด ให้เสร็จภายในวันที่ 10 กันยายน รัตนโกสินทร์ศก 122 (พ.ศ. 2446) สำหรับตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์โปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต.ช.) (ป.ม.) ประจำตำแหน่ง เหรียญราชอิสริยาภรณ์ (ร.ด.ม.) และ (ร.บ.ม.) สำหรับนักกวี ส่วน (ร.จ.พ.) กรณีที่รับราชการมามากกว่า 25 ปี สำหรับเครื่องราชอิสรยาภรณ์จุลจอมเกล้าโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สำหรับตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ (ชั้น ท.จ.) และร่วมทำหน้าที่ราชการทหาร การสงคราม (ต่อมารัชกาลภายหลังโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีแทน)
อ้างอิง
- หมายเหตุ
- เชิงอรรถ
- ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (2505). สามเจ้าพระยา: เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร), เจ้าพระยาบดินทร์เดชา สิงห์ (สิงหเสนี), เจ้าพระยาทิพากรณ์วงศ์ (ขำ บุนนาค). พระนคร: โรงพิมพ์อาศรมอักษร. หน้า 454.
- ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2541). ประวัติวรณคดีวิจารณ์ไทย พ.ศ. 2325-2525 ทอไหมในสายน้ำ 200 ปี วรรณคดีวิจารณ์ไทย. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สานส์, 2541. 291 หน้า. ISBN
- ชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล), พระยา. คำสอนจากขุนพิสณฑ์สู่ลูกหลาน. หน้า 5.
- สำนักราชเลขาธิการ. (2544). ประวัติสํานักราชเลขาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ. 379 หน้า. หน้า 177. ISBN
- กฤตภาส โรจนกุล. (2554). เอกสารการค้นคว้าประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาเรื่อง โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.] (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่).
- ชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล), พระยา. คำสอนจากขุนพิสณฑ์สู่ลูกหลาน. หน้า 18.
- ชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล), พระยา. คำสอนจากขุนพิสณฑ์สู่ลูกหลาน. หน้า 19.
- ข่าวตาย. (๒๔๓๙). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๓. หน้า ๒๘๙–๒๙๐.
- บุญชัย ใจเย็น. (2556). "เรื่องการเมืองในวังหลวง," ชายในหม่อมห้าม. กรุงเทพฯ: ปราชญ์. 160 หน้า. หน้า 65. ISBN
- ปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์), พระยา. (2554). "สุนทรภู่จากพระอมรสินธพ (นก)," ประวัติสุนทรภู่ จากบันทึกของ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. 375 หน้า. หน้า 14. ISBN
- กลิ่น คงเหมือนเพชร. (2547). วรรณกรรมทักษิณ: วรรณกรรมปริทัศน์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์. 728 หน้า.
- จารึกวัดโพธิ์. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
- เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2540). กายบริหารแบบไทย: ท่าฤๅษีดัดตน. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า. 373 หน้า.
- ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘จารึกวัดโพธิ์’ ‘มรดกความทรงจำของโลก’. (2551, 1 เมษายน). MRG Online.
- เก้า มกรา. (2551). ธรรมลีลา, (89).
- ปัฐมาภรณ์ เหมือนทอง. (2554). การศึกษาฤๅษีดัดตนเพื่อเป็นแนวคิดในการออกแบบตกแต่งภายในสถานบริการแพทย์แผนไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. ศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ 24 ฉบับที่ 4-6. [ม.ป.ป.] : 2546.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. คนแปลกหน้านานาชาติของกรุงสยาม. มติชน 2546.
- ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2538.
- ศานติ ภักดีคำ. (25 ธันวาคม 2562). "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กับบทบาทสร้างเมืองใหม่ในกัมพูชา". ศิลปวัฒนธรรมออนไลน์. สิบค้นเมื่อ เมษายน 2563
- รวมสารบัญหนังสือชุด "วชิรญาณ". กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2561. 404 หน้า. ISBN
- กรมศิลปากร. (2495). วารสารศิลปากร, 6(5): 32.
- หอพระสมุดวชิรญาณ. โคลงพิพิธพากย์. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2457. พระยาราชพินิจจัย พิมพ์แจกในงานศพ ว่าที่นายพันโท หลวงไกรกรีธา (ยรรยง บุรณศิริ) พ.ศ. ๒๔๕๗.
- หนังสือเก่าชาวสยาม, วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๘ แผ่น ๑๖–๒๐. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สำนักหอสมุดแห่งชาติ.
- กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (2555). นิทานวชิรญาณ เล่ม 1–2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 849 หน้า. ISBN
- เอมอร จิตตะโสภณ. (2513). วรรณคดีนิราศ. ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี, หม่อมเจ้า. (2513). นิราศนรินทร์คำโคลงและนิราศปลีกย่อย ฉบับพิมพ์. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา. 347 หน้า
- จินดามณี ฉบับหลวงลิขิตปรีชา. ศูนย์ข้อมูลวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2567.
- กรมศิลปากร. (2548). เลียดก๊ก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
- พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร. (2544). สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
- บรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค), สมเด็จเจ้าพระยา และคณะ. (2464). ตำรานพรัตน์. พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทรงแจกในงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ฉลองพระชนมายุครบหกสิบพรรษา” วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๔. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.
- เอนก นาวิกมูล. (2541). เที่ยวชมหนังสือเก่า. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า. 385 หน้า.
- อรุณวรรณ คงมีผล. "อัญมณีวิทยาในวรรณคดีไทย," วารสารมนุษยศาสตร์, 20(พิเศษ) (2556): 16. ISSN 0859-3485
- พลูหลวง. (2540). คติสยาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. 203 หน้า. ISBN
- สุริยวงศ์มนตรี, พระยา และคณะ. (2454). ตำรานพรัตน์. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. 23 หน้า. หน้า 1.
- กรมศิลปากร. (2545). ปูมราชธรรม เอกสารสมัยอยุธยาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 224 หน้า.
- นิยะดา เหล่าสุนทร. (2544). พินิจวรรณคดี รวมบทความวิชาการด้านวรรณคดี. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.
- ตำราพิไชยสงครามคำกลอน. พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตรี พระยารามจตุรงค์ (เพ็ชร บุณยรัตพันธุ์). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, 2469.
- ภมรี สุรเกียรติ. "เสนางตพยุหะ และพยุหจักรี: ตำราพิชัยสงครามพม่าสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18", สงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 20(1): 235.
- "ตำราพิไชยสังคราม" สมุดไทยดำอักษรไทยเส้นสีเหลือง. หน้า 179 (หน้าต้น). อ้างถึงใน วสันต์ มหากาญจนะ. (2539): 13–14.
- ศานติ ภักดีคำ. (2557). ยุทธมรรคา เส้นทางเดินทัพไทยเขมร. กรุงเทพฯ: มติชน. 288 หน้า. หน้า 44. ISBN อ้างใน ตราให้หากองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชากลับจากกัมพูชา.
- วารสารศิลปากร, 46(1–3)(2546).
- พระราชปุจฉาในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-รัชกาลที่ ๕ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 2513. หน้า 68–76.
- ศานติ ภักดีคำ (ชำระ, บรรณาธิการ). (2558). "บานแพนก," ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 558 หน้า. หน้า 2. ISBN
- จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เลขที่ ๑๓. หนังสือออกญาสุภาวดี เรื่อง ส่งหลวงลิขิตปรีชาออกสืบราชการ. หอสมุดแห่งชาติ.
- ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๔๒ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๗ (ต่อ) ๖๘) จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ ตอนที่ ๑ (ต่อ) และตอนที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2512. 296 หน้า. หน้า 180.
- จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ ร.๔ จ.ศ. ๑๒๒๓ (พ.ศ. 2404) เลขที่ ๒๘๕.
- ประวัติขุนนางวังหน้า ร.๒.. หน้า 12.
- เทพ สุนทรศารทูล. (2533). ชีวประวัติพระสุนทรโวหาร (ภู่ ภู่เรือหงส์). กรุงเทพฯ: พระนารายณ์. 225 หน้า. ISBN
- สมบัติ พลายน้อย. (2536). เจ้าฟ้าจุฑามณี พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1977). 315 หน้า.
- ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2504). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ เล่ม ๒. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
- ตำแหน่งข้าราชการกรมรัฐมนตรีแลกรมพระอาลักษณ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๗. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๕. ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. 2441). หน้า ๙๒.
- ตำแหน่งข้าราชการกรมรัฐมนตรีแลกรมพระอาลักษณ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๘. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๖. ๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ.2442). หน้า ๑๘๓.
- ตำแหน่งข้าราชการราชเลขานุการแลกรมพระอาลักษณ์ ศก ๑๒๙. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๗. ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. 2453). หน้า ๖๖๕.
- ราชพระนามและนามสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๓๓. ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙. หน้า ๒,๑๗๒.
- ประกาศปลดอธิบดีกรมพระอาลักษณ์. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๔๙. ๑๗ ฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕. หน้า ๔๙๗.
- ราชกิจจานุเบกษา. หมายให้ข้าราชการมาบอกบัญชีที่กรมพระอาลักษณ์. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาในรัชกาลก่อนมาจนถึงปีวอกวัตวาศกศักราช ๑๒๓๔ ในงานพระราชพิธีสมภาคาภิเษก. กรุงเทพ ฯ. เล่มที่ 18 หน้า 296 วันที่ 18 สิงหาคม 2444.
- ตำแหน่งข้าราชการกรมรัฐมนตรีและกรมอาลักษณ์ รัตนโกสินทร์ศก 118 ตำแหน่งเจ้ากรมอาลักษณ์
- บรรณาณุกรม
- ชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล), พระยา. (2467). คำสอนจากขุนพิสณฑ์สู่ลูกหลาน. พิมพ์แจกในงานศพ พ.ท.หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ท.ช., ร.จ.ม. เมื่อปีจอ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ เมรุวัดอมรินทรารามวรวิหาร บางกอกน้อย. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ, และคณะ. (2556). สุริยพันธุ์คำกลอน. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ISBN
- โครงการประชุมวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 22-23 สิงหาคม 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์: 106-107.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
hlwnglikhitpricha 19 emsayn ph s 2362 6 knyayn ph s 2439 minamedimwa khum ecakrmphraxalksnfayphrarachwngbwrsthanmngkhl faywnghna rchsmyphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhwthungrchsmykrmphrarachwngbwrwiichychay rachelkhanukarinphraxngkh aelankkwismyrchkalthi 3 5 krungrtnoksinthrhlwnglikhitpricha khum orcnkul ecakrmphraxalksn phrabrmmharachwngdarngtaaehnng ph s 2428 27 krkdakhm ph s 2439kstriyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwecakrmphraxalksn phrarachwngbwrsthanmngkhldarngtaaehnng rchkalthi 3 ph s 2428kstriyphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwkxnhnaphrasunthrowhar phu thdipykelik wikvtkarnwnghna khxmulswnbukhkhlekid19 emsayn ph s 2362 aekhwngbanchanghlx ekhtbangkxknxy krungrtnoksinthresiychiwit6 knyayn ph s 2439 77 pi aekhwngbanchanghlx ekhtbangkxknxy krungrtnoksinthrkhusmrskhunhyinglikhitpricha phung butrhlwngphisnthyuththkar puk orcnkul buphkarikhunhmun di bida imprakt marda xachiphxalksnprawtihlwnglikhitpricha khum ekidthikrungethphphramhankhr emuxwncnthr aerm 10 khaeduxnhapiethaasmvththisk trngkbwnthi 19 emsayn ph s 2362 smyrchkalthi 2 miniwassthanxyuthiyanbanchanghlx wnghlng ekhyelaeriynhnngsuxthiwdophthi bidachuxkhunhmun di taaehnngchangekhiynkrmchangsibhmufayphrarachwngbwrsthanmngkhlsungrbrachkarxyukbsmedcecaphrayabrmmhaprayurwngs dis bunnakh imprakdnammarda phrryachux khunhyinglikhitpricha phung butrpraktwachux hlwngphisnthyuththkar puk orcnkul epnthharkxnghnunkrathrwngklaohminsmyrchkalthi 5 aelaepnpukhxngphrayachanayxksr plxb orcnkul krmrachelkhathikar kharachbripharsankphrarachwng smyrchkalthi 3 idekharbrachkarinkrmphraxalksnfayphrarachwngbwrsthanmngkhl mibrrdaskdiepn nayrachxksr khum taaehnngnayewr thuxskdina 400 odymiphrasunthrowhar phu hrux sunthrphu epnecakrmphraxalksn idrbphrarachthanebiyhwdpila 7 talung hlngrbrachkarid 3 piess phrabathsmedcphrapineklaecaxyuhwcungoprdekla tngnayrachxksr khum nayewr ihepnhlwnglikhitpricha khum taaehnngecakrmphraxalksn fayphrarachwngbwr thuxskdina 1 500 idrbphrarachthanebiyhwdpila 1 chng aelwthrngoprdekla tngphrasunthrowhar phu epncangwangkrmphraxalksn emux ph s 2408 khrnphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhwesdcswrrkht hlwnglikhitpricha khum cungidyayipsmthbkbkrmphraxalksninphrabrmmharachwng smyrchkalthi 4 emuxkhrawphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthrngphrakrunaoprdekla aetngtngphraecawrwngsethx krmhmunbwrwiichychaykhunepnkrmphrarachwngbwrwiichychay hlwnglikhitpricha khum cungidyayipkrmphraxalksn fayphrarachwngbwr hlngcakkrmphrarachwngbwrwiichychayesdcthiwngkhtaelwcungyayipsmthbkbkrmphraxalksninphrabrmmharachwngxikkhrng emux ph s 2435 rchkalphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw oprdekla phrarachthanebiyhwdephimxikpila 5 talung phrxmphrarachthanehriyyrchdaphieskmala r s 112 aekhlwnglikhitpricha khum cungidrbebiyhwdepnpila 1 chng 5 talung emuxwnthi 27 krkdakhm ph s 2439 hlwnglikhitpricha khum lmpwy cungihphraxxn wdchnasngkhramrachwrmhawiharrksamixakarthrud thrng cungepliynihhmxsichaelyskdi hmxechlyskdi rksaaethnaetxakarklbthrudlngmak emuxwnthi 6 knyayn mixakarxxnephliyaelahxbcwnhlwnglikhitpricha khum thungaekkrrmemuxewla 20 00 n dwyorkhchra sirirwmxayuid 77 pi khunhyinglikhitpricha phung cungidekhacdkarsph wnthi 7 knyayn ph s 2439 phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwthrngphrakrunaoprdekla phrarachthannahlwngxabsph ephlinghlwng phrxmhibsphechingchayepnekiyrtiys phrayapriytithrrmthada aeph talalksn phukhnkhwa rwbrwm aelabnthukeruxngrawkhxngsunthrphu idekhiynbnthukkhaklawkhxngphraxmrsinthph nk emux ph s 2456 khnamixayu 77 pi sungelawa ewlann ibdikami khxngsmedcphraprma idepnhlwnglikhitpricha ecakrmphraxalksn thanphuniecaysecaskdi thuxkhwammngmiphakhphumietmthixyangkhunnangobrankhux bawiphrnunghmrmkhangkhaw klxngyaaedngkanaepntn sunthrphuthungepncangwangkcring aekhldkhwammngmiihthanecakrm ewlacanngcaedinxyuinkiriyaepnphuthxmtn yxmepnphuthi 2 imtitnesmxely phlngannganpraphnthkhxnghlwnglikhitpricha khum oddednthimipraktaelakhnphbidinpccubnmidngni okhlngklxn carukwdophthi ph s 2374 2381 phaphcarukephlngyawklbthaelaklxksr aephnthi 20 klbthphracnththrngkld phbthiwdphraechtuphnwimlmngkhlaramrachwrmhawihar hlwnglikhitpricha khum idrwmaetngokhlngdnbathkuychr carukwdophthi prakthlkthaninkhapraphnthbthhnungkhwamwa chnthphakyephlngokhlngkhlxng sxnghlwngwxngowhar chayphuebsrsmya likhitprichaechliywxrrth ecnaecngcdthukxn rwmsngsrrkhesawphcn carukwdophthi idrbkarkhunthaebiyn mrdkkhwamthrngcakhxngolk emux ph s 2551 ody khnakrrmkarxngkhkarsuksawithyasastraelawthnthrrmaehngshprachachati yuensok khaokhlngcarukwdophthi thihlwnglikhitpricha khum epnphuaetng praktwamidngni carukokhlngphaphvisiddtn thathi 27 thaddtnaekxakarlmchkpakebiyw lmlintay lmethaehnb lmmuxehnb carukniklawthungphravisikalsiththi visipuecasmingphray aesdngbthxasnaaehngvisidwythatdtnaeklmchkpakebiyw lmlintay lmethaehnb lmmuxehnb dwykarichmuxhnungehniywihl kdplayniwlngehnuxsxkrkaer aelaxikmuxhnunghnwngkhxetha odykdhwaemmuxkdlngthiexnehnuxtatumdanin carukdngklawthukkhnphbthiwdphraechtuphnwimlmngkhlaramrachwrmhawihar dd thavisiddtn thathi 27 aekxakarlmchkpakebiyw lmlintay lmethaehnb lmmuxehnb aelakhaokhlng aetngody hlwnglikhitpricha khum phbthiwdphraechtuphnwimlmngkhlaramrachwrmhawihar thathi 40 thaddtnaekethaeynsbay icswingsway carukniklawthungphravisikbil aesdngbthxasnaaehngvisidwythaddtnaekethaeyn icswingsway odykarikhwethahnungipwangbntkkhxngxikkhanghnung sungthuksxngmuxkumekha rdaekhngykexaiwcarukdngklawthukkhnphbthiwdphraechtuphnwimlmngkhlaramrachwrmhawihar dd carukokhlngphaphkhntangphasa aephnthi 31 phaphekhmr epnhnungincarukokhlngphaphtangphasacanwn 32 aephn carukniklawthungxtlksnaelatwtnchnchatiekhmrwamiphiwda nbthuxsasnaphuthth xasyxyuinpraethskmphuchathangdanthistawnxxksungepnemuxngkhunkhxngsyam aetngkayodynungphapum swmesuxsikhram khadaephreyuximkhxngywnthisaexw aelaiwphmthrngdxkkrathum imiwirphm carukdngklawthukkhnphbthiwdphraechtuphnwimlmngkhlaramrachwrmhawihar dd aephnthi 32 phaphliwkhiw epnhnungincarukokhlngphaphtangphasacanwn 32 aephn carukniklawthungxtlksnaelatwtnchnchatiliwkhiw wamikareklaphmmwyehmuxncukedk swmesuxsihmaksukyawkhlumekha ophksirsa banemuxngtngxyuthangthistawnxxk aelamikarthwaybrrnakaraedcincarukdngklawthukkhnphbthiwdphraechtuphnwimlmngkhlaramrachwrmhawihar dd carukephlngyawklbthaelaklxksr aephnthi 8 klbthkinrekbbw carukklbthkinrekbbw mikhacaruk 19 brrthdsungmienuxhaklawthungkhwamchxkchaiccakhyingkhnrkthiklbhangehinip dd aephnthi 20 klbthphracnththrngkld carukklbthphracnththrngkld mikhacaruk 22 brrthdsungmienuxhaklawthungkhwamoskesraephraakarphldphrakcakhyingkhnrk dd aephnthi 39 klbthkantxdxk carukklbthkantxdxk mikhacaruk 19 brrthdsungmienuxhaklawthungkhwamthukkhrathmthitxngxyuhangiklcakhyingxnepnthirk dd okhlngsilacaruksalecahlkemuxngphratabxng ph s 2379 silacaruksalecahlkemuxngphratabxng ecaphrayabdinthredcha singh singhesni hlwnglikhitpricha khum epnphuaetng epnokhrngsisuphaphslbkaphychbb 16 odykhapraphnththicarukphnngdanthistawnxxkmirabubrrdaskdiepnhlwnglikhitprichaepnphuaetng sungnthwuthi suththisngkhram rachbnthitpraephthprawtisastr rabuwa hlwnglikhitpricha ecakrmphraxalksnphuniminamedimwa khum kwiinsmyrchkalthi 3 epnphuaetngokhlngdngklaw twxyangkhapraphnth xalksnskdiysphrxng smyahlwnglikhitpricha chuxxangniphnthsrrphphcna okhlngphaky chnthexyaenatrnknampxmsrang svsdiiwepnechlim pxmnaraynnaraynthrng ckraekwvththirngkhpraharprahtdskrpxmesuxesuxrayaerngkhcr indawdngdxnctubathvixacethiybthn silacaruksalecahlkemuxngphratabxng swnkhapraphnthincarukphnngdanthistawntk klawthungehtukarnsrangemuxngphratabxngaelayngklawthungkarxthisthankhxihethphydachwyrksakhumkhrxngemuxng sungsilacarukswnniepnkhxngecaphrayabdinthredcha singh enuxngdwyepnphrarachprasngkhkhxngphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rchkalthi 3 oprdekla ihecaphrayabdinthredcha singh srangemuxngiwephuxpxngknstru twxyangkhapraphnth pangpinxdiswr phuthrng thsphiththarngcaritrachpraephniechlimdilkphiphphsri xyuththeysburiphraekiyrtiekrinthradl sthityphraorngrtnosphn phrxmhmumukhmn trichulikrediyrdasbdexuxnraochyngkarpraphas sngtukhabathphurxngebuxngmulika silacaruksalecahlkemuxngphratabxngokhlngnithanebdetld ph s 2430 suriyphnthkhaklxn ph s 2431 inrchsmykhxngphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw epnphraniphnthkhxng phraecabrmwngsethx krmphrasmmtxmrphnthu thrngniphnthkhuninkhnayngthrngdarngphraysepn krmhmunsmmtxmrphnthu erimniphnthkhrngaerkemux 12 krkdakhm r s 131 ph s 2431 praktwahlwnglikhitpricha khum ecakrmphraxalksninkhnannepnhnunginkwithiidrwmaetngkhaklxnlnginphraniphnthnidwyodymipraktkhaklxnin suriyphnthkhaklxn txnthi 5 txnthi 8 txnthi 9 txnthi 12 aelatxnthi 21 epntn aelaekhyidrbkarephyaephrlngin warsarsilpakr chbbpithi 4 elmthi 5 wnthi 5 kumphaphnth ph s 2494 chbb pithi 8 elmthi 12 wnthi 3 phvsphakhm ph s 2495 odysankwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr twxyangkhapraphnth fayphrasuriyphnthuphngskstriy sungwibtieruxaetkaeykslaylngeruxnxylxyipimwangway exkakayphuediywihepliywicdwyewlaratrikmudmid thwthukthisimehnsingididphayuklaslatnphrnvthy oxthiihncaidrxdtlxdkhun suriyphnthkhaklxn txnthi 5okhlngphiphithphaky ph s 2455 epnkhaokhlngsuphasitthiaesdngthungkhunaelaothskhxngeruxngthitngkrathukhwam echnwa khwamngam khwamrk khwamchng khwamebuxhnay epntn sungkrrmkarhxphrasmudwchiryanidrwbrwmokhlngehlaihepneruxngediywkn emux ph s 2457 hlwnglikhitpricha khum ecakrmphraxalksn idrwmaetngokhlngniinkrathukhwameruxng khwamxiccha twxyangkhapraphnth khwamxicchaekidkhun khnidphacitrimphxngis sdchunmkngunnganthyanic eciynkhlngephraatvktrxngtuntun tachatnecha okhlngkhwamxicchakannhlxkphran epnephlngyawmikhwamyaw 27 bth hlwnglikhitpricha khum ecakrmphraxalksn rwmaetngkbnaynan bangkhunphrhm thuktiphimphkhrngaerkin warsarwchiryanwiess hmwdnithankhaklxn elm 8 aephnthi 20 chbbwnphvhsbdithi 23 kumphaphnth rtnoksinthrsk 111 trngkb ph s 2435 aelathuktiphimphxikkhrnginhnngsux nithanwchiryan elm 1 emux ph s 2555 odysankwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr niras nirassrwmkhrwyepnwrrnkhdismyrtnoksinthr prakxbdwyokhlngsuphaphchatricanwn 186 bth aelaichraysuphaphpidthayokhlngnirassunghlwnglikhitpricha khum rwmaetngkbkhunsarabrrcng khuncanngsunthr aelanayewrcalxng phayhlnghmxmecacnthrcirayuwthn rchniidtrwcsxb charaihmaelaekhiynephimetimepnchbb nrinthrcn prachnnrinthrxin thrngichnampakkawa ph n pramwymarkh twxyangkhapraphnth ethewnthrwasuethphthaw phthmsinthuxxnxasnxurkhkhinthr khaechathrngsngkhckracin ecnhtthhlbxyalumlaeca pinithphithsyam nirassrwmkhrwyxun cindamni chbbhlwnglikhitpricha cindamni chbbhlwnglikhitpricha epntaraphasaithymilksnaepnchnthnmskarwadwykarichtw s s s karimmwn immlay kartw v vi l li karaecklukxksr karaetngchnth okhlng rhsxksr twxyangokhlngmnthkkhti kaphykxokhlng aelaokhlngklbth aelamieruxngklxnephlngyawaelaklxnbthlakhr phbtnchbbbnthukepnsmudithyelkhthi 239 odykrmsilpakr phrasmudokhlngaephnmataraphukam chbbsmedcphrabwrrachecamhamhaskdiphlesph fimuxekhiynkhrngrchkalthi 2eliydkk phngsawdarcin ph s 2362 emux ph s 2362 trngkbrchkalthi 2 hlwnglikhitpricha khum idrwmaeplaelaepnbrrnathikar eliydkk phngsawdarcin praktinyxhnathi 3 khxngphngsawdarwa hxngsinaelineliydkknn wadwyphraecabuxxngkhrxngemuxngthngpwngkhidthasukkn khaphecahlwnglikhitpricha ecakrmxalksncharakhunthulekla thway phrxmdwykwidngni khunmhasiththiowhar phrasmphnthwngsethx krmhmunnersroythi hlwngyanpricha ecaphrayaymrach ecaphrayawngsasurskdi aesng wngsaorcn phrayaochdukrachesrsthi hlwngwiechiyrpricha khunthxngsux cmuniwywrnath nayelhxawuth aelacaers taranphrtn taranphrtn chbbrxyaekwkhuxtarawadwyxymni idrbkartiphimphephyaephrkhrngaerkin nganbaephyphrakuslchlxngphrachnmayukhrb 60 phraphrrsakhxngsmedcphrapitucchaeca sukhumalmarsri phraxkhrrachethwi emux ph s 2464 inwaratxmaidrbkartiphimphsaxikhlaykhrng nbwa taranphrtn chbbniepnchbbthiaephrhlaymakthisud sunghlwnglikhitpricha khum epnphuaetngtarbphuththsastrprakxb taranphrtn wa wchir rtt xin thnil ewluriy rt tkalmisisk oxthatpitmiss k nil pus srakh muttaharycati ximani nwakathini rtnani t sma rtnchati oy xenkwitha nanapethessu xuppch chntiti ewthit phpha thulekla thwayphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly thxdkhwamphrabali wa xnwartnchatithnghlaymiprakarepnxnmakcapramanmiid miaekwekaprakarepnxathi khux aekwwiechiyr 1 aekwaedng 1 aekwxinthnil 1 aekwiphthury 1 aekwrtkalmisk 1 aekwoxthatppitmisk 1 nilrtn 1 aekwbusrakhm 1 aekwmukdahar 1 aekwthngekaprakarmiphrrntangkn aetaekwwiechiyrnnmisingambrisuththidngnaxnis taraisysastrchuxwaephchr nbthuxwaepnmngkhl xnphrahmnthnghlaynamaichihchangeciyrnyphukeruxnthamrngkhpradbdwyenawrtncdexaephchrtngepnpthm xnwaaekwmiphrrnaedngngamsdisyingnkintaraisysastrsmmutichuxwapthmrach thamisiaedngxxndngphlemldthbthimsuknnchuxwathbthimpradberuxnthamrngkhenawrtnepnthisxng xnwaaekwxinthnilmiphrrnphlnnekhiyweluxmpraphssrdngaesngaehngpikaemlngthbpradberuxnnphrtnepnthisam xnwaaekwiphthurymisiehluxngeluxmphraydngsisrrphphrrnbupphchatithnghlaymisidxkthrukepnxathi pradbnbekhaineruxnnphrtnepnthisi xnwaaekwxnmisidaaelasiaedngecuxaekmkndungamsdis smmtiwamikhunxnphiessnamaphukeruxnthamrngkhenawrtncdepnthiha xnwaaekwxnmisikhawkbsiehluxngecuxknnnpradbenawrtnepnthihk xnwaaekwxnmisikhawkbsiehluxngecuxknnnpradbenawrtnepnthihk misidxkxychnaeladxksamhaw pradberuxnenawrtnepnthiecd xnwabusrakhm misiehluxngeluxmpraphssrdngsiwngaewwhangplaslad nyhnungmisidnghlngpu pradberuxnnphrtnepnthiaepd xnwamukdaharmisidngmukxneluxmphray dungamepnthicaeriyckkhubukhkhlxnelngaeldu pradberuxnphrathamrngkhnphrtnepnthieka odymikwiinkhrngnnrwmaetng taranphrtn praktwami smedcecaphrayabrmmhaprayurwngs dis bunnakh khnayngepnphrayasuriywngsmntri phramhawchirthrrrm hlwngphkdicindaaelanaychm rwmthungbrrdakwithanxun thiidrwmniphnthkbhlwnglikhitpricha khum chwngrchkalthi 3 echn phramhamntri thrphy khunthnsiththi hmunphrhmsmphtrsr hmunniphnthxksr khruaecng nayektu naychang naynk naypht aelakwihyingxik 2 thankhux khunphumaelakhunsuwrrn khaphraphuththeca phrayasuriywngsmntri phramhawchirthrrrm hlwnglikhitpricha hlwngphkdicinda naychm pruksaphrxmkbsxbtaraephchrrtntahrbphrahmn sunghlwngphkdicindaideriyniwmacharaethiybtxngknsamchbb phramhawichathrrnkhnphrabaliphuththsastr prakxbkbtaraisysastr hlwnglikhitprichaxalksnaetngtahrbphuththsastr prakxbkbtaraisysastrthuneklathway phraphiichysngkhram ph s 2368 emux ph s 2368 phraecabrmwngsethx phraxngkhecasuriywngs krmhlwngphiesssriswsdisukhwthnwiichy idcdkhathulxxngthuliphrabathsnxngphrabnthursmedcphrabwrrachecamhaskdiphlesphy krmphrarachwngbwrsthanmngkhl ihcharakhmphirsatrphyakrnvksbnlang withthiwichaimymntelkyntaelxathnkhmnam aelaphrarachphiththikhmnamthiphyuha sunghlwnglikhitpricha khum idrwmcharatarb phraphiichysngkhram emuxwnphvhsbdi aerm 6 kha eduxn 8 pirakasphsk epntaralbpkpidthismedcphraramathibdithi 2 thrngaetngkhunemuxpimaemiy smvththisk trngkb ph s 2041 odyechiyphratarbcanwn 14 elm n phrathinngphuthithswrryinphrarachwngbwrsthanmngkhl khwamwa phraecanxngyaethxrbphrarachprihay cdkhathullaxxngthuliphrabathphumistipyya id phrayabaerxbrirks cangwangmhadelk 1 phramhawichathrrm 1 cangwang rachbnthit 1 hlwnglikhitrpricha ecakrmxalksn 1 hlwngsuthrrmacary 1 phraohrathibdi cangwangohr 1 hlwngyanewth 1 hlwngitrephthwiisry 1 khunolkyphrhma pldklm 1 rwm 9 nay phraecanxngyaethxepnaemkxng khrn n wn 5 6 8 pirakasphsk phrxmkn n phrathinngphuthithswrrkh hlwnglikhitrpricha ecakrmphraxalksn echiyphratarbphraphiichysngkhramkhangthixxkmaepnsmudphrarachtarb 14 elm ihlngmuxcbcharasxbswnknthifnefuxnwipladsaknkwngkatketmihthukthwnaelwkhunkrabthulphrakruna thukewlaesdcxxkwthaysngthphtthan thrngfngethsnaechaeyn phxphrathybang thrngcharawngkaddaeplngbang oprdihxxkmaeriyberiyngcharaihmbang aetidcharaphratarbphraphiichysngkhram n wn 5 6 8 culskrach 1187 pirakasphsk cnthung n wn cungsaerc ihkhdsngekhaiwkhangthichbbhnungiw n hxhlwngchbbhnung hnngsux xngelob ph s 2390 hlwnglikhitpricha khum rbsngcakecaphrayabdinthredcha singh singhesni ihaeplhnngsuxxksrywnxxkepnithy phrxmnasaenaaeplhnngsuxywnkhaihkarkhxngphyarachedchkbphyathnathibdikhunkrabbngkhmthulphrakruna phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rwmthngihepnphuphaphyarachedchkbphyathnabdi xngkhywnkhxngsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdi phraxngkhdwng thng 2 xngkhekhamaaecngrachkarthikrungethphdwy emuxaeplesrcaelwhlwnglikhitpricha plxb nahnngsuxbxk aelasaenaaeplhnngsuxywnkhaihkarkhxngphyarachedchkbphyathnathibdi khunkrabbngkhmthulphrakruna phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw emuxthrngthrabaelw thrngphrakrunatrsehnuxekla wa tngaetaephndinethiywtrima 7 pi idthrngfngaethnngsuxkhunnangywnaemthphsungmiipmathungecaphyabdinthredcha kehnepnpakraytamthanxngaetkxn phungcaidthrngthrabsanwnecaethiywtriruthanxngkhrngni ehnepnpakklaicxxnphidkbthanxngecaminmang ecayalxng thrngphrarachdarirachkaremuxngekhmrekhaphrathywa thanxngywnkcaehmuxnknkbthanxngaetkxn thiihncaihklbmaihsmkhidsmhmayngay phrarachdariphidipaelw ecaphyabdinthredcha khidrachkarthukxutsahphwkephiyrcnsaercidtamkhwamprarthna dwyedchaphrabarmiphrabathsmedcphraphuththecaxyuhwthicaidthanubarungphraphuththsasna ihtngxyuinemuxngekhmrthitikar khwrthicayindirbkhwyexa idmaethingemuxngphrxmemuxngaelwkkrahmwdiwihhmn aetywnexaemuxngekhmrkhxngeraiptngaetpiwxkctwasnbidthung 36 piaelw phungid khunmaepnkhxngeraemux n wn 5 7 kha pimaaemnphsk aelaecaphyabdinthredcha xxkiplabakkrakkrakhidrachkarcaexaemuxngekhmrkhuntngaetpimaesngebycskchananthung 15 pi xupmaehmuxnhnungwaynaxyuklangphramhasmuthrimehnekaaehnfng phungcaid phrasmudokhlngaephnma taraphukam chbbkrmphrarachwngbwrmhaskdiphlesph ph s 2395 hlwnglikhitpricha khum ecakrmphraxalksnrbsngihcharatararwmkbkhuncanngsunthr pldkrm emuxwnphvhsbdieduxnsibkhunhakha pichwdctwask trngkbwnthi 19 singhakhm insmyrchkalthi 4 phrarachpucchainchnkrungrtnoksinthr tngaetrchkalthi 1 rchkalthi 5 elm 2 prachum phrarachpucchainchnkrungrtnoksinthr tngaetrchkalthi 1 rchkalthi 5 epnhnngsuxprachumphrarachpucchathiphraecaaephndinmiphrarachdarsthamkhxxrrththrrmthithrngsngsyihphrarachakhnaprachumthwaywischna emux ph s 2367 phrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw miphrabrrharihhahlwnglikhitpricha khum ecakrmphraxalksnfayphrarachwngbwrsthanmngkhlekhaefathullxngthuliphrabathephuxnakhxkhwamphrarachpuccha echn khxxrrththrrmwadwyethrwathphuaetngkhmphirxtonmtieruxngmarwichy aelathsophthistwaexbxangexaphraphuththdikacaepnklawphraphuththwcnahruxim thwaynimntecaphrakhunsmedcphrasngkhrachihwischna n wn 6 aerm 6 khaeduxn 12 wanrsngwcchrnkstrchsk trngkbwnphvhsbdithi 11 phvscikayn ph s 2367 cungmirbsngoprddarsehnuxekla ihphramhawichathrrm hlwnglikhitpricha nakhxkhwamphrarachpucchannxxkipephdiyngaeksmedcphrasngkhrach ihprachumphrarachakhnaphuihyphunxythngpwngphrxmknwischna cungcahaykhwamsngsy siriwibulykitt hlwnglikhitpricha khum idrwmaetngephlngyawklbthaelaklxksrkbphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw hlwngnaychayphuebsr phraecabrmwngsethx phraxngkhecasuthsn krmhmunikrsrwichit khunthnsiththiaelacacitrnukul phrarachphngsawdar chbbsmedcphraphnrtn wdphraechtuphn chbbtwekhiyn phrarachphngsawdar chbbsmedcphraphnrtn wdphraechtuphn chbbtwekhiyn epnphrasmudphrarachphngsawdarsmudithy 42 elm mienuxeruxngtngtnaetphraecaechiyngray phraecachysiri masrangemuxngitrtrvng emuxngitrtrungs aelwphraecasiriichyechiyngaesnsrangemuxngethphnkhr phraecaxuthxngsrangkrungsrixyuthyacnkhunphiernkhidkarcacbkhunwrwngsathirach cnthungcnthungnaybuyeruxngephatwtaythiwdxrunrachwraramrachwrmhawiharemuxpi ph s 2333 sungphraxalksnfayphrarachwngbwrsthanmngkhl wnghna rchkalthi 4 5 idaebngknkhdlxk odymi hlwnglikhitpricha khum ecakrmphraxalksn khunsarabrrcng pldkrmcalxng aelakhuncanngsunthr pldkrm praktinpkhnasmudithy phrarachphngsawdar chbbsmedcphraphnrtn wdphraechtuphnchbbtwekhiyn wa khaphraphuththecakhunsarabncngpldkrmcalxng hlwnglikhitprichaecakrm khuncanngsunthrpldkrm tharthuleklathulkrahmxmthwaykhxedcha akarmiswnrwminsngkhramemuxngphratabxngchwngrchkalthi 3 khnannmisngkhramrahwangekhmr aelaywn ecaphrayabdinthredcha singh singhesni idcdkxngthphephuxykipemuxngphratabxng iklkbcnghwdcnthburi n wneduxnyi pikunexksk krmxalksnsunghlwnglikhitpricha khum ecakrmkhnannepnnaythph phrxmesuxphrarachthannaythph dxkthi 1 chud idcdbychiaekkxngthphecakhuncanwn 2 khn epnnay 1 khn aelaiphr 1 khn aelakhunsarabrrcng pldkrmkhwa epnnaykxng phrxmesuxphrarachthannaykxng dxklay 1 chud cdkalngkhunhmuninkrmcdkalngcanwn 25 khn prakxbdwykhunhmuninkrm 7 khn changsmud 6 khn changsmudelw 9 khn nay 2 khn aela iphr 1 khn tamladb dngpraktin prachumphngsawdar elm 42 phakhthi 66 tx 67 eruxng cdhmayehturaywnthphsmykrungthnburi elaeruxngipchawa khrngthi 3 chbbthi 2 bychikxngthphecaphrayabdinthredcha singh singhesni emuxykipemuxngphratabxng hna 180 wrrkhthi 2 khwamwa krmxalksn hlwnglikhitpricha nay 1 iphr 1 epn 2 khunsarabrrcng 1 khunhmuninkrm 7 changsmud 6 epn 13 changsmudelw 9 nay 2 khunhmun 22 epn 24 iphr 1 epn 25 brrdaskditraprathbpracataaehnngkhxnghlwnglikhitpricha khum tralaychadrupethwdaswmchdayxdchythuxkhmphirnngaethn say thuxphrakhrrkh khwa brrdaskdinayrachxksr khum skdina 400 hlwnglikhitpricha khum skdina 1 500 thaeniybwnghnabxkwathuxskdina 1 800 hmayehtu brrdaskdi hlwnglikhitpricha praktinthaeniybtaaehnngkharachkarfayphrarachwngbwrsthanmngkhlsungepnthaeniybinsmyphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw cnthungrchsmy krmphrarachwngbwrwiichychay thrngepnkrmphrarachwngbwrsthanmngkhlxngkhsudthayinsmyrtnoksinthr brrdaskdiecakrmphraxalksnhlngrchkalthi 5 lwnepn phrayasrisunthrowhar aelakxngraynganhnngsuxipma krmrachelkhanukar praktbrrdaskdi epn phrayasrirachxksr krathng pi ph s 2475 krmphraxalksn yubeliktaaehnngipxyukbkhnarthmntritaaehnngrachkarnayewrphraxalksn fayphrarachwngbwrsthanmngkhl ph s ph s 2428 ecakrmphraxalksn fayphrarachwngbwrsthanmngkhlph s 2428 ph s 2439 ecakrmphraxalksn fayphrabrmmharachwngekhruxngrachxisriyaphrnph s 2446 ekhruxngrachxisriyaphrnculcxmekla chnthi 2 thutiyculcxmekla th c fayhna ph s 2446 ekhruxngrachxisriyaphrnxnmiekiyrtiysyingmngkudithy chnthi 1 prathmaphrnmngkudithy p m ph s 2446 ekhruxngrachxisriyaphrnxnepnthiechidchuyingchangephuxk chnthi 3 tritaphrnchangephuxk t ch ph s 2446 ekhruxngrachxisriyaphrnxnepnthiechidchuyingchangephuxk chnthi 3 tritaphrnchangephuxk t ch ph s 2446 ehriyydusdimala ekhmsilpwithya r d m s ph s imprakt ehriyyckrphrrdimala r c ph ph s 2435 ehriyyrchdaphieskmala r s hmayehtu phraecabrmwngsethx phraxngkhecaswsdiprawti krmphrasmmtxmrphnth krmrachelkhanukarinkhnannrbphrabrmrachoxngkarisekla phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwthrngphrakrunaoprdekla phrarachthanekhruxngrachxisriyaphrnaekkharachkarkrmphraxalksninrchkalkxnmacnthungpiwxkwtwaskskrach 123 innganphrarachphithismphakhaphiesk odyhmayihkharachkarmabxkbychithikrmphraxalksn hmaywnthiwnthi 18 singhakhm 2444 odyihmaaecngkhwamthi n krmphraxalksn ihcdbychichuxtngchuxedim aelarbtaaehnngysepnthixair piid skrachid ihesrcphayinwnthi 10 knyayn rtnoksinthrsk 122 ph s 2446 sahrbtaaehnngecakrmphraxalksnoprdekla phrarachthanekhruxngrachxisriyaphrn t ch p m pracataaehnng ehriyyrachxisriyaphrn r d m aela r b m sahrbnkkwi swn r c ph krnithirbrachkarmamakkwa 25 pi sahrbekhruxngrachxisryaphrnculcxmeklaoprdekla phrarachthanihsahrbtaaehnngecakrmphraxalksn chn th c aelarwmthahnathirachkarthhar karsngkhram txmarchkalphayhlngoprdekla phrarachthanekhruxngrachxisriyaphrnxnmiskdiramathibdiaethn xangxinghmayehtuhmaythung smedcphramhasmneca krmphraprmanuchitchionrs echingxrrthnthwuthi suththisngkhram 2505 samecaphraya ecaphrayankhrsrithrrmrach nxy n nkhr ecaphrayabdinthredcha singh singhesni ecaphrayathiphakrnwngs kha bunnakh phrankhr orngphimphxasrmxksr hna 454 chlda eruxngrkslikhit 2541 prawtiwrnkhdiwicarnithy ph s 2325 2525 thxihminsayna 200 pi wrrnkhdiwicarnithy krungethph praphnthsans 2541 291 hna ISBN 974 230 708 3 nnthny prasannam 2556 phiphithphrrnwrrna khwamthrngcaaelasyam ithysuksainbribthsakl krungethph skdiosphakarphimph 352 hna hna 303 ISBN 978 616 278 111 7 De Fels Jacqueline 1993 Promotion de la litterature en Thailande vers les prix litteraires 1882 1982 Paris INALCO p 640 ISBN 978 285 5 39587 6 chanayxksr plxb orcnkul phraya khasxncakkhunphisnthsulukhlan hna 5 sankrachelkhathikar 2544 prawtisankrachelkhathikar krungethph sankrachelkhathikar 379 hna hna 177 ISBN 978 9 748 04979 3 kvtphas orcnkul 2554 exksarkarkhnkhwaprawtisastrsmyxyuthyaeruxng orcnkul chiwprawtiaelaechuxsaysmphnth krungethph m p th exksarimtiphimphephyaephr chanayxksr plxb orcnkul phraya khasxncakkhunphisnthsulukhlan hna 18 chanayxksr plxb orcnkul phraya khasxncakkhunphisnthsulukhlan hna 19 khawtay 2439 rachkiccanuebksa elmthi 13 hna 289 290 buychy iceyn 2556 eruxngkaremuxnginwnghlwng chayinhmxmham krungethph prachy 160 hna hna 65 ISBN 978 616 3 44209 3 priytithrrmthada aeph talalksn phraya 2554 sunthrphucakphraxmrsinthph nk prawtisunthrphu cakbnthukkhxng phrayapriytithrrmthada aeph talalksmn phimphkhrngthi 4 krungethph mhawithyalymhidl 375 hna hna 14 ISBN 978 974 1 10958 6 klin khngehmuxnephchr 2547 wrrnkrrmthksin wrrnkrrmprithsn krungethph hanghunswncakd phaphphimph 728 hna carukwdophthi thankhxmulcarukinpraethsithy sunymanusywithyasirinthr xngkhkarmhachn ephynpha thrphyecriy 2540 kaybriharaebbithy thavisiddtn krungethph dxkhya 373 hna yuensokkhunthaebiyn carukwdophthi mrdkkhwamthrngcakhxngolk 2551 1 emsayn MRG Online eka mkra 2551 thrrmlila 89 pthmaphrn ehmuxnthxng 2554 karsuksavisiddtnephuxepnaenwkhidinkarxxkaebbtkaetngphayinsthanbrikaraephthyaephnithy withyaniphnthsilpmhabnthit mhawithyalysilpakr sucitt wngseths silpwthnthrrm elmthi 24 chbbthi 4 6 m p p 2546 sucitt wngseths khnaeplkhnananachatikhxngkrungsyam mtichn 2546 thiphakrwngsmhaoksathibdi kha bunnakh ecaphraya phrarachphngsawdarkrungrtnoksinthr rchkalthi 3 krungethph kxngwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr 2538 santi phkdikha 25 thnwakhm 2562 ecaphrayabdinthredcha singh singhesni kbbthbathsrangemuxngihminkmphucha silpwthnthrrmxxniln sibkhnemux emsayn 2563 rwmsarbyhnngsuxchud wchiryan krungethph mulnithismedcphraethphrtnrachsuda 2561 404 hna ISBN 978 616 412 012 9 krmsilpakr 2495 warsarsilpakr 6 5 32 hxphrasmudwchiryan okhlngphiphithphaky krungethph orngphimphosphnphiphrrththnakr 2457 phrayarachphiniccy phimphaeckinngansph wathinayphnoth hlwngikrkritha yrryng burnsiri ph s 2457 hnngsuxekachawsyam wchiryanwiess elm 8 aephn 16 20 sunymanusywithyasirinthr xngkhkarmhachn sankhxsmudaehngchati krmsilpakr sankwrrnkrrmaelaprawtisastr 2555 nithanwchiryan elm 1 2 krungethph krmsilpakr 849 hna ISBN 978 616 2 83002 0 exmxr cittaosphn 2513 wrrnkhdiniras phakhwichaphasaithy mhawithyalyechiyngihm cnthrcirayuwthn rchni hmxmeca 2513 nirasnrinthrkhaokhlngaelanirasplikyxy chbbphimph krungethph aephrphithya 347 hna cindamni chbbhlwnglikhitpricha sunykhxmulwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr subkhnemux 8 phvsphakhm 2567 krmsilpakr 2548 eliydkk elm 1 krungethph xngkhkarkhakhxngkhuruspha phimphpraiph phisalbutr 2544 saephasyam tananeckbangkxk krungethph nanmibukhs brmmhaprayurwngs dis bunnakh smedcecaphraya aelakhna 2464 taranphrtn phranangecasukhumalmarsri phrarachethwi thrngaeckinnganthrngbaephyphrarachkusl chlxngphrachnmayukhrbhksibphrrsa wnthi 11 phvsphakhm ph s 2464 krungethph osphnphiphrrththnakr exnk nawikmul 2541 ethiywchmhnngsuxeka krungethph dxkhya 385 hna xrunwrrn khngmiphl xymniwithyainwrrnkhdiithy warsarmnusysastr 20 phiess 2556 16 ISSN 0859 3485 phluhlwng 2540 khtisyam krungethph emuxngobran 203 hna ISBN 978 974 7 36781 2 suriywngsmntri phraya aelakhna 2454 taranphrtn phrankhr osphnphiphrrththnakr 23 hna hna 1 krmsilpakr 2545 pumrachthrrm exksarsmyxyuthyacakhxsmudaehngchatikrungparis krungethph krmsilpakr 224 hna niyada ehlasunthr 2544 phinicwrrnkhdi rwmbthkhwamwichakardanwrrnkhdi krungethph aemkhaphang taraphiichysngkhramkhaklxn phimphaeckinnganphrarachthanephlingsph nayphltri phrayaramcturngkh ephchr bunyrtphnthu phrankhr osphnphiphrrththnakr 2469 phmri surekiyrti esnangtphyuha aelaphyuhckri taraphichysngkhramphmasmykhriststwrrsthi 18 sngkhlankhrinthrchbbsngkhmsastraelamnusysastr 20 1 235 taraphiichysngkhram smudithydaxksrithyesnsiehluxng hna 179 hnatn xangthungin wsnt mhakaycna 2539 13 14 santi phkdikha 2557 yuththmrrkha esnthangedinthphithyekhmr krungethph mtichn 288 hna hna 44 ISBN 978 974 0 21342 0 xangin traihhakxngthphecaphrayabdinthredchaklbcakkmphucha warsarsilpakr 46 1 3 2546 phrarachpucchainchnkrungrtnoksinthr tngaetrchkalthi 1 rchkalthi 5 elm 2 krungethph khuruspha 2513 hna 68 76 santi phkdikha chara brrnathikar 2558 banaephnk in phrarachphngsawdar chbbsmedcphraphnrtn wdphraechtuphn trwcsxbcharacakexksartwekhiyn mulnithi thunphraphuththyxdfa inphrabrmrachupthmph cdphimphodyesdcphrarachkuslinkarphrarachthanephlingsph phrathrrmpyyabdi thawr tis sanukor p th 4 n emruhlwnghnaphlbphlaxisriyaphrn wdethphsirinthrawas wnxathitythi 10 phvsphakhm ph s 2558 krungethph xmrinthrphrintingaexndphblichching 558 hna hna 2 ISBN 978 616 9 23510 1 cdhmayehturchkalthi 3 elkhthi 13 hnngsuxxxkyasuphawdi eruxng snghlwnglikhitprichaxxksubrachkar hxsmudaehngchati prachumphngsawdar elmthi 42 prachumphngsawdar phakhthi 67 tx 68 cdhmayehtuekiywkbekhmraelaywninrchkalthi 3 txnthi 1 tx aelatxnthi 2 krungethph orngphimphkhurusphaladphraw 2512 296 hna hna 180 cdhmayehtukrungrtnoksinthr r 4 c s 1223 ph s 2404 elkhthi 285 prawtikhunnangwnghna r 2 hna 12 ethph sunthrsarthul 2533 chiwprawtiphrasunthrowhar phu phueruxhngs krungethph phranarayn 225 hna ISBN 974 575 133 2 smbti phlaynxy 2536 ecafacuthamni phrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw krungethph rwmsasn 1977 315 hna thiphakrwngs ecaphraya 2504 phrarachphngsawdarkrungrtnoksinthr rchkalthi 4 elm 2 phrankhr orngphimphkhuruspha taaehnngkharachkarkrmrthmntriaelkrmphraxalksn rtnoksinthrsk 117 rachkiccanuebksa elm 15 r s 117 ph s 2441 hna 92 taaehnngkharachkarkrmrthmntriaelkrmphraxalksn rtnoksinthrsk 118 rachkiccanuebksa elm 16 2 krkdakhm r s 118 ph s 2442 hna 183 taaehnngkharachkarrachelkhanukaraelkrmphraxalksn sk 129 rachkiccanuebksa elm 27 10 krkdakhm r s 129 ph s 2453 hna 665 rachphranamaelanamsmachikekhruxngrachxisriyaphrnsahrbtrakulculcxmekla rachkiccanuebksa elm 33 19 phvscikayn ph s 2459 hna 2 172 prakaspldxthibdikrmphraxalksn rachkiccanuebksa elm 49 17 vscikayn ph s 2475 hna 497 rachkiccanuebksa hmayihkharachkarmabxkbychithikrmphraxalksn phraecabrmwngsethx phraxngkhecaswsdiprawti krmphrasmmtxmrphnth rachelkhanukar rbphrabrmrachoxngkarisekla thrngphrakrunaoprdekla phrarachthanehriyyckrphrrdimalainrchkalkxnmacnthungpiwxkwtwaskskrach 1234 innganphrarachphithismphakhaphiesk krungethph elmthi 18 hna 296 wnthi 18 singhakhm 2444 taaehnngkharachkarkrmrthmntriaelakrmxalksn rtnoksinthrsk 118 taaehnngecakrmxalksn brrnanukrmchanayxksr plxb orcnkul phraya 2467 khasxncakkhunphisnthsulukhlan phimphaeckinngansph ph th hlwngphisnthyuththkar puk th ch r c m emuxpicx wnthi 3 minakhm ph s 2477 n emruwdxmrinthraramwrwihar bangkxknxy phrankhr orngphimphosphnphiphrrththnakr smmtxmrphnthu phraecabrmwngsethx krmphra aelakhna 2556 suriyphnthukhaklxn krungethph sankwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr ISBN 978 616 5 43226 9 okhrngkarprachumwichakarmnusysastraelasngkhmsastrradbchatiaelananachati khrngthi 2 wnthi 22 23 singhakhm 2562 n khnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalyrachphdsurinthr 106 107