โฉวกั๋วลุ่น (จีน: 仇國論; แปลว่า "วิจารณ์เรื่องรัฐอริ") เป็นบทความที่เขียนในปี ค.ศ. 257 โดยเจาจิ๋วขุนนางตำแหน่งขุนนางที่ปรึกษารับใช้ (中散大夫 จงซ่านต้าฟู) ของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบทความที่มีเนื้อหาต่อต้านความกระหายสงครามของเกียงอุยขุนพลของจ๊กก๊กและการยกทัพบุกขึ้นเหนือของเกียงอุยที่ดำเนินต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี บทความนี้ยังถือเป็นการแสดงจุดยืนต่อต้านโดยเหล่าคนท้องถิ่นมณฑลเอ๊กจิ๋วที่มีต่อกลุ่มผู้ปกครองของรัฐจ๊กก๊กซึ่งมีพื้นเพมาจากภายนอกมณฑล
โฉวกั๋วลุ่น | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 仇國論 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 仇国论 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | วิจารณ์เรื่องรัฐอริ | ||||||
|
ภูมิหลังของงานเขียน
หลังจากที่จูกัดเหลียง เจียวอ้วน และบิฮุยซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐจ๊กก๊กเสียชีวิตไปตามลำดับ เกียงอุยก็ยกทัพบุกขึ้นเหนือเพื่อรบกับรัฐวุยก๊กที่เป็นรัฐอริเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของราษฎรในจ๊กก๊ก เจาจิ๋วไม่เห็นด้วยต่อแนวทางของเกียงอุยในการยกทัพบุกขึ้นเหนืออย่างต่อเนื่อง จึงต่อต้านการบุกขึ้นเหนือของเกียงอุยและคนอื่น ๆ
ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลของรัฐวุยก๊กร่วมมือกับรัฐง่อก๊กในการก่อกบฏที่อำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วฉุน; อยู่บริเวณ มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) เพื่อต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก ราชสำนักวุยก๊กระดมกำลังทหารจากภูมิภาค (關中 กวานจง) เพื่อปราบกบฏ เกียงอุยต้องการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้เพื่อเตรียมบุกวุยก๊กอีกครั้ง โดยส่งกำลังทหารไปยังจิวฉวน (秦川 ฉินชฺวาน) ตัวเกียงอุยนำหลายหมื่นนายผ่านหุบเขาล่อก๊ก (駱谷 ลั่วกู่) เจาจิ๋วหารือกับเฉิน จือ (陳祗) ผู้เป็นหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง) ในเรื่องข้อดีข้อเสียของการยกทัพออกไป แล้วเจาจิ๋วจึงเขียนบทความตำหนิเกียงอุยที่ไม่เรียนรู้ที่จะอดทน และ "ทุ่มกำลังจำนวนมากยกไปทำศึก" ทำให้ "ราษฎรเบื่อหน่าย" ต่อมาบทความโต้แย้งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อว่าโฉวกั๋วลุ่น
นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 112 ก็มีการกล่าวถึงบทความโฉวกั๋วลุ่นของเจาจิ๋วที่ต่อต้านการยกทัพบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย
เนื้อหา
ในโฉวกั๋วลุ่น เจาจิ๋วยกอุทาหรณ์เป็นเรื่องรัฐสมมติ 2 รัฐชื่อ "อิน-ยฺหวี" (因餘) และ "เจ้าเจี้ยน" (肇建) อิน-ยฺหวีเป็นรัฐเล็ก เจ้าเจี้ยนเป็นรัฐใหญ่ ทั้งสองรัฐเป็นอริต่อกัน เกา เสียนชิง (高賢卿) ชาวรัฐอิน-ยฺหวีถามฝู ยฺหวีจื่อ (伏愚子) ว่าในฐานะที่อิน-ยฺหวี่เป็นรัฐเล็กควรใช้กลยุทธ์ใดเมื่อเผชิญหน้ากับรัฐใหญ่ ฝู ยฺหวีจื่อจึงยกเรื่องจิวบุนอ๋อง (周文王 โจวเหวินหวาง) และเกาเจียน (勾踐 โกวเจี้ยน) เป็นตัวอย่างเพื่อแสดงให้เห็นว่าหากให้ราษฎรได้พักฟื้น ใจของราษฎรมั่นคงแล้ว ก็จะสามารถเอาชนะข้าศึกได้
เกา เสียนชิงถามต่อไปอีกว่า "เมื่อฌ้อ (楚 ฉู่) กับฮั่น (漢) รบกัน เล่าปัง (劉邦 หลิว ปัง) และห้างอี๋ (項羽 เซี่ยง ยฺหวี) ตกลงแบ่งดินแดนที่หงโกว (鴻溝) ไม่รุกรานซึ่งกันและกัน หลังห้างอี๋กลับไป เตียวเหลียง (張良 จาง เหลียง) เห็นว่าหากราษฎรมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงแล้วก็จะไม่คิดเป็นอื่นอีก จึงเสนอเล่าปังให้ไล่ตามตีห้างอี๋ ในที่สุดก็ได้รับชัยชนะ ยังต้องใช้วิธีการเยี่ยงอย่างจิวบุนอ๋องอีกหรือ บัดนี้เจ้าเจี้ยนมีปัญหาภายใน หากเราใช้โอกาสนี้ส่งกำลังทหารเข้าโจมตีชายแดน จะเพิ่มความยุ่งยากให้พวกมันและเอาชนะพวกมันได้หรือไม่"
ฝู ยฺหวีจื่อตอบว่า "ในสมัยราชวงศ์เซียง (商 ชาง) และจิวตะวันตก (西周 ซีโจว)" กษัตริย์และขุนนางเข้มแข็ง สังคมมั่นคง ราษฎรในเวลานั้นคุ้นชินกับชนชั้นปกครอง แม้นเล่าปังมีชีวิตอยู่ในยุคเช่นนี้จะถือกระบี่และแส้ม้าพิชิตแผ่นดินได้อย่างไร ตรงข้ามกับช่วงปลายราชวงศ์จิ๋น (秦 ฉิน) แผ่นดินแตกแยก ทุกปีทุกเดือนมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง ราษฏรไม่รู้จะทำอย่างไร ผู้เข้มแข็งก็เข้ารบพุ่งกัน ผู้แข็งแกร่งได้รับมาก ผู้อ่อนแอถูกยึดครอง ในยามนี้ทั้งรัฐของเราและรัฐเจ้าเจี้ยนมีความมั่นคงมาช้านานแล้ว ไม่ใช่ยุคสมัยแห่งความวุ่นวายอย่างช่วงปลายราชวงศ์จิ๋น แต่สถานการณ์เหมือนเมื่อครั้งมีหลายรัฐดำรงอยู่ร่วมกัน ดังนั้นเราสามารถใช้วิธีปกครองแบบจิวบุนอ๋อง และไม่ควรทำศึกทุกทิศทางเหมือนที่เล่าปังทำ หาไม่แล้วราษฎรจะเบื่อหน่าย รัฐจะล่มสลาย ดังสุภาษิตที่ว่า "ยิงเกาทัณฑ์หลายดอกแต่ไม่ถูกเป้า ก็ไม่เท่าเล็งดี ๆ ก่อนแล้วจึงยิง ไม่สักแต่โจมตีอย่างเดียว" ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่เปลี่ยนเป้าหมายเพียงเพื่อผลประโยชน์เล็กน้อย แต่รอคอยให้โอกาสอำนวยจึงยกพลออกไปในคราเดียว ดังนั้นเสี่ยงทาง (商湯 ชางทาง) และจิวบูอ๋อง (周武王 โจวอู่หวาง) จึงรบไม่นานก็เอาชนะได้ หากพวกเขาสักแต่ยกพลเข้าปะทะก็ไม่อาจประเมินสถานการณ์ได้ แม้ยอดปราชญ์ก็ไม่อาจช่วยเหลือได้ หากส่งกำลังทหารเยี่ยงเทพ ข้ามกระแสน้ำเชี่ยว ข้ามหุบเขา ข้ามไปถึงท่าข้ามเมิ่งจิน (孟津) โดยไม่ต้องใช้เรือ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ข้าพเจ้ายฺหวีจื่อจะทำได้เลย"
อ้างอิง
- 易中天 (June 2007). 品三國(下). 香港: 三聯書店. ISBN .
- (是時,維數出兵,蜀人愁苦,中散大夫譙周作仇國論以諷之曰:「或問往古能以弱勝強者,其術如何? ... 如遂極武黷征,土崩勢生,不幸遇難,雖有智者將不能謀之矣。」) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77.
- สามก๊ก ตอนที่ 112
- (因餘之國小,而肇建之國大,並爭於世而為仇敵。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 42.
- (因餘之國有高賢卿者,問於伏愚子曰:「今國事未定,上下勞心,往古之事,能以弱勝強者,其術何如?」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 42.
- (伏愚子曰:「吾聞之,處大無患者恆多慢,處小有憂者恆思善;多慢則生亂,恩善則生治,理之常也。故周文養民,以少取多;勾踐卹眾,以弱斃強,此其術也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 42.
- (賢卿曰:「囊者項強漢弱,相與戰爭,無日寧息,然項羽與漢約分鴻溝為界,各欲歸息民;張良以為民志既定,則難動也,尋帥追羽,終斃項氏,豈必由文王之事乎?肇建之國方有疾疢,我因其隙,陷其邊陲,覬增其疾而斃之也。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 42.
- (伏愚子曰:「當殷、周之際,王侯世尊,君臣久固,民習所專;深根者難拔,據固者難遷。當此之時,雖漢祖安能杖劍鞭馬而取天下乎?當秦罷候置守之後,民疲秦役,天下土崩;或歲改主,或月易公,鳥驚獸駭,莫知所從,於是豪強並爭,虎裂狼分,疾搏者獲多,遲後者見吞。今我與肇建皆傳國易世矣,既非秦末鼎沸之時,實有六國並據之勢,故可為文王,難為漢祖。夫民疲勞,則騷擾之兆生,上慢下暴則瓦解之形起。諺曰:『射幸數跌,不如審發。』是故智者不為小利移目,不為意似改步,時可而後動,數合而後舉,故湯、武之師不再戰而克,誠重民勞而度時審也。如遂極武黜征,土崩勢生,不幸遇難,雖有智者將不能謀之矣;若乃奇變縱橫,出入無間,沖波截轍,超谷越山,不由舟楫而濟盟津者,我愚子也,實所不及。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 42.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
แหล่งข้อมูลอื่น
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ochwkwlun cin 仇國論 aeplwa wicarneruxngrthxri epnbthkhwamthiekhiyninpi kh s 257 odyecaciwkhunnangtaaehnngkhunnangthipruksarbich 中散大夫 cngsantafu khxngrthckkkinyukhsamkkkhxngcin epnbthkhwamthimienuxhatxtankhwamkrahaysngkhramkhxngekiyngxuykhunphlkhxngckkkaelakarykthphbukkhunehnuxkhxngekiyngxuythidaenintxenuxngtidtxknhlaypi bthkhwamniyngthuxepnkaraesdngcudyuntxtanodyehlakhnthxngthinmnthlexkciwthimitxklumphupkkhrxngkhxngrthckkksungmiphunephmacakphaynxkmnthlochwkwlunxksrcintwetm仇國論xksrcintwyx仇国论khwamhmaytamtwxksrwicarneruxngrthxrikarthxdesiyngphasacinklangmatrthanhny hwiphinxinChou guo lunphumihlngkhxngnganekhiynhlngcakthicukdehliyng eciywxwn aelabihuysungepnphusaercrachkaraethnphraxngkhkhxngrthckkkesiychiwitiptamladb ekiyngxuykykthphbukkhunehnuxephuxrbkbrthwuykkthiepnrthxriepnewlatxenuxngyawnan sngphlkrathbtxkhwamepnxyukhxngrasdrinckkk ecaciwimehndwytxaenwthangkhxngekiyngxuyinkarykthphbukkhunehnuxxyangtxenuxng cungtxtankarbukkhunehnuxkhxngekiyngxuyaelakhnxun inpi kh s 257 cukdexiynkhunphlkhxngrthwuykkrwmmuxkbrthngxkkinkarkxkbtthixaephxchiwchun 壽春 ochwchun xyubriewn mnthlxanhuyinpccubn ephuxtxtansumaeciywphusaercrachkaraethnphraxngkhaehngwuykk rachsankwuykkradmkalngthharcakphumiphakh 關中 kwancng ephuxprabkbt ekiyngxuytxngkarichpraoychncaksthankarnniephuxetriymbukwuykkxikkhrng odysngkalngthharipyngciwchwn 秦川 chinch wan twekiyngxuynahlayhmunnayphanhubekhalxkk 駱谷 lwku ecaciwharuxkbechin cux 陳祗 phuepnhwhnasankrachelkhathikar 尚書令 changchuling ineruxngkhxdikhxesiykhxngkarykthphxxkip aelwecaciwcungekhiynbthkhwamtahniekiyngxuythiimeriynruthicaxdthn aela thumkalngcanwnmakykipthasuk thaih rasdrebuxhnay txmabthkhwamotaeyngniepnthiruckinchuxwaochwkwlun nwniyayxingprawtisastrinkhriststwrrsthi 14 eruxngsamkk sankwehyiynxi txnthi 112 kmikarklawthungbthkhwamochwkwlunkhxngecaciwthitxtankarykthphbukkhunehnuxkhxngekiyngxuyenuxhainochwkwlun ecaciwykxuthahrnepneruxngrthsmmti 2 rthchux xin y hwi 因餘 aela ecaeciyn 肇建 xin y hwiepnrthelk ecaeciynepnrthihy thngsxngrthepnxritxkn eka esiynching 高賢卿 chawrthxin y hwithamfu y hwicux 伏愚子 wainthanathixin y hwiepnrthelkkhwrichklyuththidemuxephchiyhnakbrthihy fu y hwicuxcungykeruxngciwbunxxng 周文王 ocwehwinhwang aelaekaeciyn 勾踐 okweciyn epntwxyangephuxaesdngihehnwahakihrasdridphkfun ickhxngrasdrmnkhngaelw kcasamarthexachnakhasukid eka esiynchingthamtxipxikwa emuxchx 楚 chu kbhn 漢 rbkn elapng 劉邦 hliw png aelahangxi 項羽 esiyng y hwi tklngaebngdinaednthihngokw 鴻溝 imrukransungknaelakn hlnghangxiklbip etiywehliyng 張良 cang ehliyng ehnwahakrasdrmikhwamepnxyuthimnkhngaelwkcaimkhidepnxunxik cungesnxelapngihiltamtihangxi inthisudkidrbchychna yngtxngichwithikareyiyngxyangciwbunxxngxikhrux bdniecaeciynmipyhaphayin hakeraichoxkasnisngkalngthharekhaocmtichayaedn caephimkhwamyungyakihphwkmnaelaexachnaphwkmnidhruxim fu y hwicuxtxbwa insmyrachwngsesiyng 商 chang aelaciwtawntk 西周 siocw kstriyaelakhunnangekhmaekhng sngkhmmnkhng rasdrinewlannkhunchinkbchnchnpkkhrxng aemnelapngmichiwitxyuinyukhechnnicathuxkrabiaelaaesmaphichitaephndinidxyangir trngkhamkbchwngplayrachwngscin 秦 chin aephndinaetkaeyk thukpithukeduxnmikarepliynaeplngphupkkhrxng rastrimrucathaxyangir phuekhmaekhngkekharbphungkn phuaekhngaekrngidrbmak phuxxnaexthukyudkhrxng inyamnithngrthkhxngeraaelarthecaeciynmikhwammnkhngmachananaelw imichyukhsmyaehngkhwamwunwayxyangchwngplayrachwngscin aetsthankarnehmuxnemuxkhrngmihlayrthdarngxyurwmkn dngnnerasamarthichwithipkkhrxngaebbciwbunxxng aelaimkhwrthasukthukthisthangehmuxnthielapngtha haimaelwrasdrcaebuxhnay rthcalmslay dngsuphasitthiwa yingekathnthhlaydxkaetimthukepa kimethaelngdi kxnaelwcungying imskaetocmtixyangediyw dngnnphumipyyacungimepliynepahmayephiyngephuxphlpraoychnelknxy aetrxkhxyihoxkasxanwycungykphlxxkipinkhraediyw dngnnesiyngthang 商湯 changthang aelaciwbuxxng 周武王 ocwxuhwang cungrbimnankexachnaid hakphwkekhaskaetykphlekhapathakimxacpraeminsthankarnid aemyxdprachykimxacchwyehluxid haksngkalngthhareyiyngethph khamkraaesnaechiyw khamhubekha khamipthungthakhamemingcin 孟津 odyimtxngicherux nnimichsingthikhaphecay hwicuxcathaidely xangxing易中天 June 2007 品三國 下 香港 三聯書店 ISBN 978 962 04 2693 3 是時 維數出兵 蜀人愁苦 中散大夫譙周作仇國論以諷之曰 或問往古能以弱勝強者 其術如何 如遂極武黷征 土崩勢生 不幸遇難 雖有智者將不能謀之矣 cuxcuxthngeciyn elmthi 77 samkk txnthi 112 因餘之國小 而肇建之國大 並爭於世而為仇敵 samkkci elmthi 42 因餘之國有高賢卿者 問於伏愚子曰 今國事未定 上下勞心 往古之事 能以弱勝強者 其術何如 samkkci elmthi 42 伏愚子曰 吾聞之 處大無患者恆多慢 處小有憂者恆思善 多慢則生亂 恩善則生治 理之常也 故周文養民 以少取多 勾踐卹眾 以弱斃強 此其術也 samkkci elmthi 42 賢卿曰 囊者項強漢弱 相與戰爭 無日寧息 然項羽與漢約分鴻溝為界 各欲歸息民 張良以為民志既定 則難動也 尋帥追羽 終斃項氏 豈必由文王之事乎 肇建之國方有疾疢 我因其隙 陷其邊陲 覬增其疾而斃之也 samkkci elmthi 42 伏愚子曰 當殷 周之際 王侯世尊 君臣久固 民習所專 深根者難拔 據固者難遷 當此之時 雖漢祖安能杖劍鞭馬而取天下乎 當秦罷候置守之後 民疲秦役 天下土崩 或歲改主 或月易公 鳥驚獸駭 莫知所從 於是豪強並爭 虎裂狼分 疾搏者獲多 遲後者見吞 今我與肇建皆傳國易世矣 既非秦末鼎沸之時 實有六國並據之勢 故可為文王 難為漢祖 夫民疲勞 則騷擾之兆生 上慢下暴則瓦解之形起 諺曰 射幸數跌 不如審發 是故智者不為小利移目 不為意似改步 時可而後動 數合而後舉 故湯 武之師不再戰而克 誠重民勞而度時審也 如遂極武黜征 土崩勢生 不幸遇難 雖有智者將不能謀之矣 若乃奇變縱橫 出入無間 沖波截轍 超谷越山 不由舟楫而濟盟津者 我愚子也 實所不及 samkkci elmthi 42 brrnanukrmtnsiw stwrrsthi 3 samkkci sankwcux suxhma kwang 1084 cuxcuxthngeciyn lxkwntng stwrrsthi 14 samkk snkwehyiynxi aehlngkhxmulxunwikisxrs mingantnchbbekiywkb ochwkwlun