โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี ค.ศ. 1991 ในช่วงเวลาหกสิบปี ค.ศ.ของโครงการมีความสำเร็จในหลายอย่างอาทิ เป็นผู้บุกเบิกขีปนาวุธข้ามทวีป อาร์-7 ,ดาวเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ,ไลก้า สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2, มนุษย์คนแรกในอวกาศ ยูริ กาการิน ใน วอสตอค 1, ผู้หญิงคนแรกในอวกาศ วาเลนตีนา เตเรชโควา ใน วอสตอค 6, มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ อเล็กซี ลีโอนอฟ ใน วอสฮอด 2, การลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรก ลูนา 2, การถ่ายภาพด้านมืดของดวงจันทร์ ลูนา 3 เป็นต้น
ต้นแบบจรวดและโครงการอวกาศโซเวียตได้มีต้นแบบจากโครงการจรวดลับของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2โครงการใหญ่เริ่มหลังจากปี ค.ศ. 1955 และอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีหลายอย่างของ คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี บางครั้งเรียกว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีการสำรวจอวกาศ
เซอร์ไก โคโรเลฟเป็นหัวหน้าสถาปนิกของกลุ่มการออกแบบจรวดแต่ก็มีการแข่งขันในการออกแบบหลายกลุ่มนำโดย โคโรเลฟ, Mikhail Yangel, Valentin Glushko และ Vladimir Chelomei ต่างจากคู่แข่งคือสหรัฐอเมริกาที่มีองค์การในการออกแบบจรวดเดียวคือนาซา
เพราะสถานะโครงการอวกาศของโซเวียตเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ คือจะประกาศแต่ความประสบความสำเร็จในบางครั้ง ส่วนความล้มเหลวบางครั้งก็เก็บเป็นความลับ (อาทิ การตายของไลก้า, อุบัติเหตุโซยุส 1, จรวดเอ็น 1 เป็นต้น) ในท้ายที่สุดเป็นผลมาจากนโยบายกลัสนอสต์ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ข้อเท็จจริงมากมายเกี่ยวกับโครงการอวกาศไม่เป็นลับอีกต่อไป ทั้งการตายของวลาดีมีร์ โคมารอฟ (ใน อุบัติเหตุโซยุส 1) และ ยูริ กาการิน (ในภารกิจในการบินทดสอบเครื่องเจ็ท) ในระหว่างปี ค.ศ. 1966 และ ปี ค.ศ. 1968 ความล้มเหลวของการพัฒนาโครงการจรวดเอ็น 1 ตั้งใจที่จะใช้ไปดวงจันทร์ซึ่งระเบิดไม่นานหลังจากปล่อย
หลัง การล่มสลายของสหภาพโซเวียต, รัสเซีย และยูเครน ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการอวกาศของโซเวียตต่อโดยตั้งเป็นองค์การที่รู้จักในชื่อ รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส ในรัสเซีย และ องค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศยูเครน (NSAU) ในยูเครน
ต้นกำเนิด
การพัฒนาก่อนสงคราม
ทฤษฎีของ การสำรวจอวกาศ มีพื้นฐานใน จักรวรรดิรัสเซีย ก่อน สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยงานเขียนของ คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี (1857-1935) ที่เผยแพร่เอกสารเป็น ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และ 20 และในปี ค.ศ. 1929 มีการแนะนำแนวคิดของ จรวดหลายตอน ด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับการทดลองเริ่มขึ้นโดยสมาชิกของกลุ่มการศึกษาปฏิกิริยาขับเคลื่อนจรวด GIRD (ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1931) ในปี ค.ศ. 1920 และ 1930 ผู้บุกเบิกเช่น เซอร์ไก โคโรเลฟ – ผู้ที่ฝันในการเดินทางไป ดาวอังคาร: 5 และมีฟรีดริช แซนเดอวิศวกรชาวเยอรมัน-รัสเซียร่วมทำงานอยู่ด้วย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1933, GIRD เปิดตัวจรวดเชื้อเพลิงเหลวโซเวียตแรก GIRD-09 และในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1933 เปิดตัวจรวดเชื้อเพลิงไฮบริด GIRD-X ต่อมาในปี ค.ศ. 1940–41 การวิจัยด้านการขับเคลื่อนปฏิกิริยา ทำเกิดการพัฒนาและการผลิตของเครื่องยิงจรวดคัตยูช่าและจรวดหลายตอน
ในเยอรมนี
ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เทคโนโลยีจรวดโซเวียตสามารถเทียบกับเยอรมนีได้แต่ได้เกิดดนโยบายการล้าง: "ศัตรูของประชาชน" วิศวกรชั้นนำหลายคนถูกประหารและเซอร์ไก โคโรเลฟ และคนอื่น ๆ ถูกขังอยู่ในกูลัก: 10–14 แม้ว่าจรวดคัตยูช่าเป็นที่มีประสิทธิภาพมากใน แนวรบด้านตะวันออก ระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สอง ในการบุกเมืองฟอร์พ็อมเมิร์น (Peenemünde) วิศวกรรัสเซียประหลาดใจที่ได้พบกับจรวดวี-2และเทคโนโลยีในเมือง Mittelwerk หลังจากวันชัยในทวีปยุโรป ทหารอเมริกันได้แอบนำนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชั้นนำมากที่สุดและจรวดวี-2 100 ลำกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในปฏิบัติการคลิปหนีบกระดาษแต่โซเวียตได้ประโยชน์อย่างมากจากบันทึกนักวิทยาศาสตร์ เยอรมันและแบบร่างจรวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้รับจรวดจำนวนมากและฐานการผลิตจรวดวี-2: 20, 25, 27, 29–31, 56
ภายใต้การดูแลของ ดมีตรี อุสตีนอฟ โคโรเลฟ และคนอื่น ๆ การตรวจสอบแบบร่างจรวด โดยได้ความช่วยเหลือจากวิทยาศาสตร์ด้านจรวดชาวเยอรมัน Helmut Gröttrup และคนอื่น ๆ ที่ถูกจับจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1950: 30, 80–82 ในที่สุดก็สามารถถอดแบบจรวดวี-2 มาสร้างเป็นจรวดอาร์-1 ได้สำเร็จแต่มันก็ไม่สามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้ โคโรเลฟ ได้ออกแบบมาทุ่มเทให้กับของเหลวเชื้อเพลิงจรวดแข็งที่เขาเคยทดสอบด้วยในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ในที่สุดก็สามารถสร้างจรวดอาร์-7 ที่มีกำลังพอติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ และสามารถยิงข้ามทวีปได้ ซึ่งทดสอบประสบความสำเร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1957
สปุตนิกและวอสตอค
โครงการอวกาศของโซเวียตถูกผูกติดอยู่กับ "แผนห้าปี" และต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากกองทัพโซเวียต แต่โคโรเลฟก็ยังมีความฝันในการสำรวจอวกาศ ถึงแม้เจ้าที่ทหารโซเวียตคิดว่าเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ เหมือนชาวอเมริกัน โดยเฉพาะตอนที่สหภาพโซเวียตสามารถจุดระเบิด RDS-1 ระเบิดปรมาณูแรกของโซเวียต ซึ่งทางกองทัพคิดจะใช้จรวดอาร์-7 ในการทัพมากกว่า อย่างไรก็ตามจรวดโซเวียตลูกแรกก็เปิดตัวให้ทั้งโลกรู้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1955
จรวดอาร์-7 มีกำลังพอรับหัวรบขนาด 5ตันได้ ไม่เพียงที่มีประสิทธิภาพสำหรับขีปนาวุธนิวเคลียร์ แต่ยังสามารถใส่ยานพาหนะในการเดินทางอวกาศได้ด้วย ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1955 สหรัฐฯ มีแผนการที่จะเปิดตัวดาวเทียมดวงแรก ในอีกสองปีข้างหน้า ยิ่งทำให้ โคโรเลฟ มีแรงจูงใจให้ผู้นำโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ สนับสนุนแผนการของเขา เพื่อที่ทำลายความตั้งใจของชาวอเมริกัน: 148–151 ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1956 แผนการสร้างโลกโคจรดาวเทียม (สปุตนิก) ได้รับการอนุมัติ
ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 สปุตนิก 1 ดาวเทียมทรงกลม ทำด้วยอะลูมิเนียมหนัก 84 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดอาร์-7 จากฐานยิงในทะเลทราย ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ คาซัคสถาน ทั่วทุกมุมโลกตะลึงกับการปล่อย
หลังการนั้นโคโรเลฟเริ่มแผนการใหม่ในโครงการสปุตนิก 2 ในการทดลองหาผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต วิศวกรจึงมองว่าเที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้นจำเป็นก่อนภารกิจของมนุษย์มีการฝึกกับสุนัขทั้งสามตัว ไว้ในการรับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับ สปุตนิก 2 ในท้ายที่สุด ไลก้าได้ถูกรับเลือก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 จากฐานยิงในทะเลทราย ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ คาซัคสถาน โลกตะลึงอีกครั้ง ในการโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียต ได้กล่าวว่าเป็นความสำเร็จในการส่งสิ่งมีชีวิตตัวแรกในอวกาศ แต่ความจริงแล้วไลก้าได้ตายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานเนื่องจากความร้อนภายในยานสูงซึ่งเป็นความล้มเหลวในระบบยังชีพกลางอาร์-7 (R-7 sustainer) แต่ก่อนหน้านั้นได้มีรายงานอย่างกว้างขวางว่ามันขาดออกซิเจนตายอย่างสงบในวันที่หก
หลังจากความสำเร็จของสปุตนิก โคโรเลฟ ซึ่งบัดนี้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนว่า"หัวหน้าสถาปนิกจรวดอวกาศ": 168–169 เข้าร่วมระดมทุนเพื่อเร่งบรรจุโครงการส่งคนไปนอกโลก
หลังสปุตนิก 2 ถูกปล่อยพร้อมความล้มเหลวในระบบยังชีพ วิศวกรได้ปรับปรุงแก้ไขในสปุตนิก 4 ในที่สุดพร้อมส่งสุนัขขึ้นไปในอวกาศอีกครั้งในสปุตนิก 5 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1959 พร้อมกับหมาพันธุ์ผสม 2 ตัว ชื่อ เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) กับ หนูและต้นไม้จำนวนหนึ่ง ยานกลับสู่บรรยากโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1959
หลังประสบความสำเร็จวิศวกรมีความมั่นใจมากในความพร้อมส่งมนุษย์ไปยังอวกาศ ทางกองทัพก็ได้อาสาสมัครที่ผ่านการสอบคือยูริ กาการินที่มีประสบการณ์ในกองทัพอากาศโซเวียตมาเป็นนักบิน ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ถูกปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 29 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) ก่อนลงจอดอย่างปลอดภัยเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย
หลังจากวอสตอค 1 มีการปล่อยอีก 5 ลำ ตลอดโครงการวอสตอค (1961–1963) โดย วอสตอค 6 เป็นลำสุดท้ายในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1963 มีวาเลนตีนา เตเรชโควาซึ่งเป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก จากแผนการโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตในการให้ความสำคัญแก่สตรี
การแข่งขันภายใน
ทางฝั่งสหรัฐฯ แม้จะมีความสำเร็จของ สปุตนิก ระหว่างปี ค.ศ. 1957–1961 และ วอสตอค ระหว่างปี ค.ศ. 1961–1964 ของโซเวียตก็ไม่สามรถทำลายความตั้งใจของสหรัฐฯได้ และยังทำให้เกิดความสามัคคีในภายทำให้เกิดองค์การนาซาขึ้นมา ทำให้สามารถไล่ตามทันเทคโนโลยีอวกาศโซเวียตได้ ผิดกับโซเวียตที่เริ่มมีการแข่งขันในการออกแบบหลายกลุ่มนำโดย เซอร์ไก โคโรเลฟ, Mikhail Yangel, Valentin Glushko และ Vladimir Chelomei
โคโรเลฟ วางแผนที่จะก้าวไปข้างหน้ากับโครงการโซยุซ และจรวด N1 ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสถานีอวกาศถาวรและการสำรวจดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม ดมีตรี อุสตีนอฟ กำกับให้เขาเห็นความสำคัญกับภารกิจใกล้โลกมากกว่าในโครงการวอสฮอด (แก้ไขจากโครงการวอสตอค) เช่นเดียวกับในภารกิจส่งดาวเทียมไปยังดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียง คือดาวศุกร์ และ ดาวอังคารมากกว่าจะส่งคนไปที่เหล่านั้น
Yangel เคยได้รับการช่วยเหลือจาก โคโรเลฟ แต่ด้วยการสนับสนุนของทหาร เขาจึงมีสำนักของตัวเองในปี ค.ศ. 1954 ในการทำงานหลักในโครงการอวกาศของทหาร เรื่องนี้มีทีมงานออกแบบเครื่องยนต์จรวดใช้ เชื้อเพลิงไฮเพอร์โบลิก ตั้งแต่เหตุจรวดระเบิดที่ Nedelin ในปี ค.ศ. 1960 Yangel ได้รับคำสั่งการพัฒนา ICBM คล้ายกับจรวด N1 ของโคโรเลฟ สำหรับการใช้งานทั้งทหารและเที่ยวบินขนส่งสินค้าขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสถานีอวกาศในอนาคต
Glushko เป็นหัวหน้าฝ่ายออกแบบเครื่องยนต์จรวด แต่เขามักจะมีปัญหากับ โคโรเลฟ และปฏิเสธที่จะพัฒนาเครื่องยนต์ก๊าซของจรวด N1
Chelomei ได้รับประโยชน์จากสนับสนุนจากครุสชอฟ: 418 และในปี ค.ศ. 1960 ได้รับงานในการพัฒนาจรวดที่จะส่งยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ และประจำสถานีอวกาศทหาร ด้วยประสบการณ์น้อย ทำให้โครงการพัฒนาของเขาล่าช้า
ความคืบหน้าของโครงการอพอลโลทำให้หัวหน้านักออกแบบแต่ละคนตกใจ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1964 กว่าสามปีหลังจากที่สหรัฐประกาศจะไปดวงจันทร์ก่อนปี ค.ศ. 1970 ในที่สุดสหภาพโซเวียตก็ตัดสินใจที่จะแข่งขันไปดวงจันทร์ โดยกำหนดเป้าหมายไปถึงดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งครบรอบ 50 ปี ของการปฏิวัติเดือนตุลาคมหรืออาจเลื่อนไปถึงปี ค.ศ. 1968 : 406–408, 420 ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 มีการพัฒนาช่วงแรกของโครงการอวกาศของโซเวียตกว่า 30 โครงการสำหรับจรวดนำส่งและยานอวกาศ โดยหลังการสิ้นอำนาจของครุสชอฟในปี ค.ศ. 1964 โคโรเลฟ ได้รับมอบการควบคุมโครงการอวกาศอย่างสมบูรณ์
หลังยุคโคโรเลฟ
โคโรเลฟ เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1966 มะเร็งลำไส้ใหญ่ และจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและเลือดออกอย่างรุนแรง Kerim Kerimov ที่เคยเป็นสถาปนิกในการออกแบบของ วอสตอค 1 ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการอวกาศโซเวียต และดำรงตำแหน่งต่อเนื่องนาน 25 ปี (ค.ศ. 1966-1991) เขาดูแลทุกขั้นตอนของการพัฒนา ทั้งการดำเนินงานขององค์ประกอบของยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม และสถานีอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม หนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ Kerimov คือการเปิดตัวของสถานีอวกาศเมียร์ ในปี ค.ศ. 1986
ส่วนสำนักงาน OKB-1 ของโคโรเลฟ Vasily Mishin ได้เข้ามาสานต่อ Mishin โดยไม่มีอำนาจทางการเมืองเหมือนโคโรเลฟ และยังคงต้องเผชิญกับการแข่งขันจากหัวหน้านักออกแบบอื่น ๆ ภายใต้ความกดดัน Mishin ได้รับการอนุมัติการเปิดตัวของเที่ยวบินโซยุส 1 ในปี ค.ศ. 1967 ภารกิจการเปิดตัวกับปัญหาในออกแบบที่เป็นที่ทราบโดยทั่ว จบลงด้วยการไม่ทำงานของร่มทำให้แคปซูลกระแทกกับพื้น ฆ่าวลาดีมีร์ โคมารอฟ เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกที่มีการเสียชีวิตจากโครงการอวกาศโซเวียต
หลังจากเหตุการ Mishin อยู่ภายใต้แรงกดดันและมีปัญหาเรื่องติดสุรา โซเวียตพบกับพ่ายแพ้ในการส่งคนโครงรอบดวงจันทร์โดยอพอลโล 8 ในปี ค.ศ. 1968 แต่ Mishin ก็มีปัญหาหนักสุดในพัฒนาจรวด N1 เขาหวังว่ามีเวลาพอที่จะทำให้ เอ็น-1 สามารถทำงานได้และส่งไปมนุษย์บนดวงจันทร์เป็นชาติแรก มีความสำเร็จกับเที่ยวบินร่วมกันของโซยุส 4 และ 5 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 ที่ผ่านการทดสอบนัดพบ, เชื่อมต่อและการถ่ายโอนลูกเรือที่จะใช้สำหรับการลงจอด และ แอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต) ได้รับการทดสอบในวงโคจรของโลกประสบความสำเร็จ แต่หลังจากนั้นจบลงด้วยความล้มเหลวของจรวด N1 ผู้สนับสนุนยกเลิกการสนับสนุนพร้อมความล้มเหลวในการไปดวงจันทร์
หลังจากความล้มเหลว ดมีตรี อุสตีนอฟได้อนุมัติสถานีอวกาศทหารซัสยุสซึ่งเป็นการตอบโต้โครงการสถานีอวกาศสกายแล็บของสหรัฐฯ Mishin ยังคงมีอำนาจควบคุมโครงการสถานีอวกาศซัสยุส ในปี ค.ศ. 1971 เกิดเหตุร้ายแรงเมื่อสถานีอวกาศซัสยุส 1 ไม่สามารถเปิดทางเข้าได้และโซยุส 11 เกิดรอยแยกบนแคปซูลฆ่าลูกเรือทั้งหมดเมื่อกลับมายังโลก Mishin ถูกลบชื่อออกจากหลายโครงการที่เขาควบคุม Chelomei ได้ฟื้นโครงการสถานีอวกาศซัสยุส หลังจากโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซผู้นำโซเวียตตัดสินใจแนวทางการจัดการใหม่และในปี ค.ศ. 1974 จรวด N1 ถูกยกเลิกและ Mishin ถูกไล่ออก มีการสร้างสำนักงาน NPO Energia แทน OKB-1 โดยมี Glushko เป็นหัวหน้านักออกแบบ
แม้จะล้มเหลวในการไปดวงจันทร์ สหภาพโซเวียตก็ประสบความสำเร็จในการนำส่งหุ่นสำรวจอัตโนมัติ ลูโนฮอด 1–2 และยานสำรวจลูนา 15–24 ได้นำตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับมา นอกจากนี้มีความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ในโครงการสำรวจดาวอังคารอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การสำรวจดาวศุกร์ และดาวหางฮัลเลย์ใน เวเนรา และ เวกา ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม
รายการของโครงการและความสำเร็จ
โครงการทั้งหมดที่สมบรูณ์
สปุตนิก (1956–1959)
เป็นโครงการอวกาศแรกของโซเวียต แบ่งเป็นการพัฒนาดาวเทียมสปุตนิก 1 และสปุตนิก 3 และการทดลองหาผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและการพัฒนาระบบยังชีพในยานอวกาศ สปุตนิก 2 สปุตนิก 4 สปุตนิก 5
ลูนา (1959–1976)
เป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ของโซเวียต มีทั้งหมด 24 ลำอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยดาวเทียมสำรวจ ลูนา 1-9, ยานสำรวจ ลูนา 10-14, ยานสำรวจและเก็บตัวอย่างหิน ลูนา 15-16, 18-20 และ 22-24 และยานขนส่งหุ่นสำรวจ ลูนา 17 กับ ลูโนฮอด 1 และลูนา 21 กับ ลูโนฮอด 2
แม้จะมีโครงการมากกว่านั้นแต่ส่วนใหญ่ล้มเหลวตั้งแต่อยู่ในวงโคจรโลกประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการลูนาเป็นประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
วอสตอค (1961–1963)
เป็นโครงการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลกและพวกเขากลับได้อย่างปลอดภัย การแข่งขันโครงการเมอร์คิวรีของประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในส่งมนุษย์อวกาศคนแรกที่ ยูริ กาการินใน วอสตอค 1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 แคปซูลวอสตอคได้รับการพัฒนาจากโครงการดาวเทียมจารกรรมเซนิต ใช้จรวดอาร์-7 ขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ในการส่ง ในการออกแบบที่เป็นข้อมูลลับจนกระทั่งเที่ยวบินครั้งแรกของโครงการวอสตอคของกาการินเปิดเผยต่อสาธารณชน
โปรแกรมดำเนินการมี 6 ลำระหว่างปี ค.ศ. 1961 และปี ค.ศ. 1963 เที่ยวบินที่นานที่สุดกินเวลาเกือบห้าวันและมีการปล่อยยานคู่กันระหว่างวอสตอค 3 กับวอสตอค 4 ซึ่งมากกว่าโครงการเมอร์คิวรีที่มีเที่ยวบินที่นานที่สุด 34 ชั่วโมง
เวเนรา (1961–1981)
เป็นโครงการสำรวจดาวศุกร์ของโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1961–1984 มีทั้งหมด 10 ลำที่ประสบความสำเร็จลงจอดบนดาวศุกร์และส่งข้อมูลจากพื้นผิวของดาว โดยในช่วงแรกเป็นการสำรวจภายนอกโดย เวเนรา 1–2 จากการสำรวจชั้นบรรยากาศ และการพยายามลงจอดใน เวเนรา 3–8 และลงจอดสำเร็จในเวเนรา 9 ซึ่งสามารถทนได้ถึง 23 นาทีก่อนที่จะถูกทำลาย ในระยะหลังเวเนรา 15 ได้มีการใช้ระบบเรดาร์ในการทำแผนที่บนดาวศุกร์
วอสฮอด (1964–1965)
หลังประสบความสำเร็จ วอสตอค ได้มีการพัฒนาใหม่ในโครงการวอสฮอด ในปี ค.ศ. 1964–1965 ซึ่งปรับเปลี่ยนแคปซูล วอสตอค ให้ใหญ่ขึ้นสามารถจุนักบินได้สองถึงสามคน จรวดขนาดใหญ่ขึ้นและระบบยังชีพทีดีขึ้นจนไม่ต้องสวมชุดอวกาศในยาน วอสตอค 1 เป็นการทดลองให้นักบินสามคนไม่ชุดอวกาศผลประสบความสำเร็จด้วยดี วอสตอค 2 ได้มีการพัฒนาประตูยานให้เปิดปิดจากภายในยานได้เพื่อใช้สำหรับภารกิจนอกยานโดย อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ
โซยุซ (1963–ปัจจุบัน)
เป็นโครงการยานอวกาศพัฒนาโดยสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1960 โดยในตอนแรกจะถูกนำไปใช้ในโครงการส่งมนุษย์บนดวงจันทร์ โดยมีการทดสอบการนัดพบและเทียบท่า เพื่อใช้สำหรับการต่อแอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต)
หลังความล้มเหลวของโครงการ เอ็น 1-แอล 3 โซยุซได้ถูกนำไปใช้ในการเทียบท่าขนส่งคนและสิ่งของยังชีพต่าง ๆ ในแก่สถานีอวกาศทั้งสถานีอวกาศซัสยุส สถานีอวกาศเมียร์ และสถานีอวกาศนานาชาติในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการพัฒนามาถึงปัจจุบันทั้งหมด 4 รุ่น
ซอนด์ (1964–1970)
เป็นโครงการยานอวกาศไร้คนขับจากการดำเนินการในช่วงปี ค.ศ. 1964–1970 แบ่งเป็นโครงการ 3 เอ็มวี เป็นโครงการสำรวจดาวศุกร์ (ซอนด์ 1) ดาวอังคาร (ซอนด์ 2) และดวงจันทร์ (ซอนด์ 3) และโครงการทดสอบโซยุซ 7 เค-แอล 1/แอล 1 เอ็ส เป็นโครงการทดสอบยานโซยุซ (ไร้ตัวเชื่อมต่อ) ในการเดินทางไปดวงจันทร์ โดยในการทดสอบ ซอนด์ 5 ได้ส่ง เต่ารัสเซียโคจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย
เอ็น 1-แอล 3 (ทศวรรษ 1960–1970)
เป็นโครงการส่งมนุษย์บนดวงจันทร์ โดยใช้ยานอวกาศ โซยุซ แอลเค-แลนเดอร์ และจรวด เอ็น 1 ในการไปดวงจันทร์ โดยมีความสำเร็จกับเที่ยวบินร่วมกันของโซยุส 4 และ 5 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 ที่ผ่านการทดสอบนัดพบ, เชื่อมต่อและการถ่ายโอนลูกเรือที่จะใช้สำหรับการลงจอดและ แอลเค-แลนเดอร์ (ยานที่ใช้ลงจอดบนดวงจันทร์ของโซเวียต) ได้รับการทดสอบในวงโคจรของโลกประสบความสำเร็จแต่หลังจากนั้นจบลงด้วยความล้มเหลวของจรวดเอ็น1 ที่เกิดระเบิดไม่นานหลังทะยานขึ้น
ซัสยุส (1971-1986)
เป็นโครงการอวกาศสถานีอวกาศโซเวียต ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สถานีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และ 2 สถานีทางการทหาร ในช่วงระยะเวลา 15 ปี ค.ศ. 1971–1986 และอีก 2 สถานีล้มเหลวในการส่ง อวกาศของซัสยุส ออกแบบมาเพื่อดำเนินการวิจัยในปัญหาในระยะยาวของการอยู่อาศัยในอวกาศและความหลากหลายของดาราศาสตร์, ชีววิทยา และการทดลองต่าง ๆ ปูทางสำหรับโมดูลสถานีอวกาศในปัจจุบัน
บูรัน (1974–1993)
การพัฒนาของโครงการกระสวยอวกาศในสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดความกังวลมากในสหภาพโซเวียต ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อุสตีนอฟ รับรายงานจากนักวิเคราะห์ของเขาว่ากระสวยอวกาศสหรัฐอาจถูกนำมาปรับใช้ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ตามพื้นที่เหนือดินแดนของสหภาพโซเวียต อุสตีนอฟ จึงกังวลเกี่ยวกับกระสวยอวกาศสหรัฐจึงมีการให้การพัฒนากระสวยอวกาศโซเวียต
พัฒนาโดยหัวหน้านักออกแบบ เกลบ โลซีโน-โลซินสกี แห่งบริษัทจรวดอีเนอร์เจีย บูรันตั้งใจให้ใช้ได้ทั้งในโหมดอัตโนมัติและมีคนบังคับ การปล่อยบูรันขึ้นสู่วงโคจรครั้งแรกและครั้งเดียวนั้นเกิดขึ้นเมื่อเวลา 3:00 UTC ของวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 โครงการถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1993
อินเตอร์คอสมอส (1978–1988)
เป็นโครงการอวกาศร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตและกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอและประเทศอื่นเช่น อัฟกานิสถาน, คิวบา, มองโกเลีย และเวียดนาม และกลุ่มประเทศขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เช่น อินเดีย และซีเรีย และประเทศโลกเสรีอย่าง ฝรั่งเศส เป็นต้น
เวกา (1984–1985)
เป็นความร่วมมือระหว่าง สหภาพโซเวียต, ออสเตรีย, บัลแกเรีย, ฮังการี, สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน, โปแลนด์, สโลวาเกีย, ฝรั่งเศส, และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 1984 มีภารกิจสองส่วนคือการสำรวจดาวศุกร์ด้วยบอลลูนตรวจอากาศ กับการสำรวจหางฮัลเลย์ โครงการมีทั้งหมด 2 ลำ ยานอวกาศทั้งสองปล่อยในวันที่ 15 และ 21 เดือนธันวาคม ค.ศ. 1984 ตามลำดับ
โฟบอส (1988)
เป็นโครงการสำรวจดาวอังคารและดวงจันทร์โฟบอสและดีมอส โฟบอส 1 ถูกปล่อยในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 และโฟบอส 2 ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 โฟบอส 1 ประสบความล้มเหลวในการนำเส้นทางไปดาวอังคาร โฟบอส 2 เข้าวงโคจรดาวอังคาร ได้เข้าสำรวจดาวอังคาร และดวงจันทร์โฟบอสและดีมอส แต่การติดต่อได้หายไปก่อนขั้นการสำรวจตอนสุดท้าย
เมียร์ (1986–2001)
เป็นโครงการอวกาศสถานีอวกาศโซเวียต และนับเป็นสถานีวิจัยถาวรระยะยาวแห่งแรกในอวกาศของมนุษยชาติ สถานีประกอบด้วยมอดูลต่าง ๆ หลายมอดูล แต่ละส่วนถูกทะยอยนำขึ้นสู่อวกาศ เริ่มจากส่วนแรกในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 จนถึงมอดูลสุดท้ายในปี ค.ศ. 1996 สถานีอวกาศเมียร์หมดอายุการใช้งานและถูกเผาทำลายในบรรยากาศโลกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2001
การบุกเบิก
สองวันหลังจากที่ สหรัฐอเมริกา ประกาศความตั้งใจที่จะสร้างดาวเทียม, 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1956 สหภาพโซเวียตประกาศความตั้งใจที่จะทำเช่นเดียวกัน โดยสปุตนิก 1 เปิดตัววันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหน้าและคนตื่นตะลึงทั่วทุกมุมโลก
โครงการอวกาศของโซเวียตที่เป็นผู้บุกเบิกสิ่งต่าง ๆ ในการสำรวจอวกาศ:
- ค.ศ. 1957 ขีปนาวุธอาร์-7 เป็นขีปนาวุธข้ามทวีปลูกแรก
- ค.ศ. 1957 สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรก
- ค.ศ. 1957 ไลก้า เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2
- ค.ศ. 1959 ลูนา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดวงจันทร์
- ค.ศ. 1959 ลูนา 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดวงจันทร์
- ค.ศ. 1959 ลูนา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ถ่ายภาพแรกของอีกฟากหนึ่งของดวงจันทร์
- ค.ศ. 1960 เบลก้า (Belka) และ สเตรลก้า (Strelka) ในสปุตนิก 5 เป็นสิ่งมีชีวิตเดินทางไปอวกาศและกลับมาอย่างปลอดภัย
- ค.ศ. 1961 เวเนรา 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวศุกร์
- ค.ศ. 1961 ยูริ กาการินเป็นมนุษย์คนแรกในอวกาศ ใน วอสตอค 1
- ค.ศ. 1961 คนแรกที่จะใช้เวลาในอวกาศ 24 ชั่วโมงคือ Gherman Titov ใน วอสตอค 2
- ค.ศ. 1962 วอสตอค 3 และวอสตอค 4 เป็นการปล่อยยานคู่กันเป็นครั้งแรก
- ค.ศ. 1962 มาร์ส 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ไปถึงดาวอังคาร
- ค.ศ. 1963 วาเลนตีนา เตเรชโควา เป็นผู้หญิงคนแรกในอวกาศใน วอสตอค 6
- ค.ศ. 1964 วอสฮอด 1 เป็นยานที่สามารถบรรทุกลูกเรือได้3 คนลำแรก
- ค.ศ. 1965 อเล็กซี ลีโอนอฟ เป็นมนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศใน วอสฮอด 2
- ค.ศ. 1965 เวเนรา 3 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวศุกร์
- ค.ศ. 1966 ลูนา 9 เป็นดาวเทียมดวงแรกลงจอดบนดวงจันทร์
- ค.ศ. 1966 ลูนา 10 เป็นยานที่ลงจอดบนดวงจันทร์ลำแรก
- ค.ศ. 1967 คอสมอส 186 กับ คอสมอส 188 เป็นการนัดพบและเทียบท่าไร้คนขับครั้งแรก
- ค.ศ. 1968 สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่โครงจรรอบดวงจันทร์และกลับมาอย่างปลอดภัย เต่ารัสเซีย ในซอนด์ 5
- ค.ศ. 1969 โซยุซ 4 และโซยุซ 5 เป็นการนัดพบและเทียบท่าแบบมีคนขับครั้งแรก
- ค.ศ. 1970 ลูนา 16 เป็นยานที่มีการเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์โดยใช้ยานระบบอัตโนมัติครั้งแรก
- ค.ศ. 1970 ลูโนฮอด 1 การนำหุ่นสำรวจอัตโนมัติมาใช้บนดวงจันทร์ครั้งแรก
- ค.ศ. 1970 เวเนรา 7 เป็นยานอวกาศที่ลงจอดและสำรวจดาวศุกร์ยานแรก
- ค.ศ. 1971 ซัสยุส 1 เป็นสถานีอวกาศลำแรก
- ค.ศ. 1971 มาร์ส 2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่กระแทกลงดาวอังคาร
- ค.ศ. 1971 มาร์ส 3 เป็นยานอวกาศลำแรกที่จะลงจอดบนดาวอังคาร
- ค.ศ. 1975 เวเนรา 9 ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวศุกร์เป็นภาพแรก
- ค.ศ. 1980 Arnaldo Tamayo Méndez (คิวบา) เป็นชาวลาตินและผิวสีคนแรกในอวกาศ ซึ่งเดินทางไปกับยานโซยุซ 38
- ค.ศ. 1984 Svetlana Savitskaya เป็นผู้หญิงคนแรกที่เดินในอวกาศ ในสถานีอวกาศซัสยุส 7
- ค.ศ. 1986 ลูกเรือใน สถานีอวกาศซัสยุส 7 กับสถานีอวกาศเมียร์ เป็นลูกเรือชุดแรกที่เยือนสถานีอวกาศสองที่ ในภารกิจเดียวกัน
- ค.ศ. 1986 เวกา 1 และ เวกา 2 เป็นยานแรกที่ใช้บอลลูนบังคับในการสำรวจดาวศุกร์ และการถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวหางครั้งแรก
- ค.ศ. 1986 สถานีอวกาศเมียร์ เป็นสถานีอวกาศแบบประกอบลำแรก
- ค.ศ. 1987 Vladimir Titov และ Musa Manarov เป็นลูกเรือชุดแรกที่ใช้เวลาในอวกาศ มากกว่า 1 ปี ในสถานีอวกาศเมียร์ ซึ่งเดินทางไปโดยยานโซยุซทีเอ็ม-4
ความล้มเหลวและอุบัติเหตุ
โครงการอวกาศของโซเวียตได้มีประสบการณ์กับอุบัติเหตุร้ายแรงและความล้มเหลวจำนวนหลายครั้ง
ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 เกิดภัยพิบัติ Nedelin ความหายนะมาจากจรวดเชื้อเพลิงถูกทดสอบใน Launchpad เกิดระเบิด ฆ่าบุคลากรหลายทางเทคนิค, วิศวกรการบินและอวกาศ และช่างเทคนิคเป็นจำนวนมาก ส่วนนักบินอวกาศคนแรกที่เสียชีวิตอย่างเป็นทางการในระหว่างการฝึกที่เกิดขึ้นวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1961 เกิดไฟไหม้ในห้องปรับความดันที่มีออกซิเจนสูงทำให้ไฟแรงขึ้นทำให้ Valentin Bondarenko เสียชีวิตในกองเพลิง ในวอสฮอด 2 อเล็กซี ลีโอนอฟ มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศเกือบเสียชีวิตจากรอยรั่วบนชุดทำให้ชุดของเขามีแรงดันสูง แต่เขาก็สามารถปรับแรงดันได้ทำให้เขารอดชีวิตมา
ในปี ค.ศ. 1967 โซยุส 1 การไม่ทำงานของร่มสำหรับลงจอดทำให้แคปซูลกระแทกกับพื้นฆ่า วลาดีมีร์ โคมารอฟ นี้เป็นครั้งแรกที่เสียชีวิตมีการตายจากโครงการอวกาศโซเวียต หลังจากนั้นยูริ กาการินก็เสียชีวิตพร้อมกับนักบินผู้ช่วยในการทดสอบเครื่องเจ็ท มิก-15 ตก ตามมาด้วยความล้มเหลวของการพัฒนาโครงการจรวด เอ็น 1 ตั้งใจที่จะใช้ไปดวงจันทร์ซึ่งระเบิดไม่นานหลังจากปล่อย ส่วน สหรัฐอเมริกาเอาชนะในการแข่งขันลงจอดบนดวงจันทร์ใน อะพอลโล 11 บน 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 อีก 4 ปีต่อมา โซยุส 11 เกิดรอยแยกบนแคปซูลทำให้ไม่มีอากาศในการหายใจลูกเรือทั้งหมด Vladislav Volkov, Georgi Dobrovolski และ Viktor Patsayev เสียชีวิตเมื่อกลับมายังโลก
วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1975 โซยุส 18a ได้กลับมายังโลกแต่เกิดความผิดผลาดในระบบนำทางทำให้เลยจุดลงจอดหลายพันไมล์ เกือบเข้าชายแดนประเทศจีน แคปซูลกระแทกภูเขาไถลลื่นไปตามทางลาดชันและเกือบตกหน้าผา; โชคดีที่สายร่มชูชีพเกี่ยวกับต้นไม้ไว้ มีผู้บาดสาหัส 2 คน และความผิดพลาดในระบบนำทางอีกครั้งในโซยุส 23 วันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1976 เลยจุดลงจอด แคปซูลตกลงสู่ทะเลสาบน้ำแข็งโชคดีที่ช่วยเหลือได้ทันท่วงที และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1980 จรวดวอสตอคระเบิดขณะกำลังเติมเชื้อเพลิงทำให้เจ้าหน้าที่ 48 คนเสียชีวิต
มีครั้งหนึ่งที่เกือบจะบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระดับโลก ในคอสมอส 434 ซึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1971 เมื่อกลับเข้าสู่ประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1981 รัฐบาลออสเตรเลียตกใจกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ทีอยู่ในยาน และคิดว่าสหโซเวียตได้ส่งอาวุธนิวเคลียร์มาโจมตี กระทรวงต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในออสเตรเลียยอมรับว่าคอสมอส 434 ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองโครงการลงจอดบนดวงจันทร์ N1-L3 ในอดีต ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1983 โซยุส T-10-1 เกิดการรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้เกิดเปลวเพลิง แคปซูลลูกเรือถูกดีดตัวออกมาทันก่อนจรวดระเบิดในสองวินาทีต่อมา: 736
นอกจากนี้ยังมีบัญชีที่หายไปซึ่งเป็นบัญชีลับที่มีการปกปิดผู้เสียชีวิตตลอดของโครงการอวกาศของโซเวียต
อ้างอิง
- "Gorodomlya Island". Russianspaceweb.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- "German rocket scientists in Moscow". Russianspaceweb.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- . Aeronautics Learning Laboratory for Science Technology, and Research (ALLSTAR) Network. 12 March 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
- The early US space program was developed predominantly by scientists and rocket engineers from Nazi Germany who immigrated to the United States after World War II and was based on German technological experience, and the early Soviet program also benefited from Nazi German experience (see ).
- . ROSCOSMOS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19.
- Siddiqi, Asif A. . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-08.
- George P. Sutton. "History of Liquid-Propellant Rocket Engines in Russia, Formerly the Soviet Union" (PDF). Journal of Propulsion and Power. 19 (6). November–December 2003.
- John Pike. "Katyusha Rocket". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- "Russia opens monument to Laika, first dog in space". Associated Press, April 11, 2008. Retrieved on August 24, 2010.
- Malashenkov, D. C. (2002). "Abstract:Some Unknown Pages of the Living Organisms' First Orbital Flight". IAF abstracts. ADS: 288. Bibcode:2002iaf..confE.288M.
- Asif Siddiqi (2003). Sputnik and the Soviet Space Challenge (1st ed.). University Press of Florida. p. 174. ISBN .
- Beischer, DE; Fregly, AR (1962). . US Naval School of Aviation Medicine. ONR TR ACR-64 (AD0272581). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-11. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.
- "Йепхл Юкхебхв Йепхлнб". Space.hobby.ru (ภาษารัสเซีย). 1998-02-19. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- Peter Bond (2003-04-07). . The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-08.
- Planetary Spacecraft - Moon Missions (RussianSpaceWeb.com)
- . Russian Space Web. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
- "The First Day In Orbit" (PDF). Flight International. London: Iliffe Transport Publications. 80 (2736): 208. 17 August 1961. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.
- Oddbjørn Engvold; Bozena Czerny; John Lattanzio; Rolf Stabell (30 November 2012). Astronomy and Astrophysics - Volume I. Encyclopedia of Life Support Systems (EOLSS). pp. 228–. ISBN .
- Chertok, Boris (2005). Asif A. Siddiqi (บ.ก.). Raketi i lyudi [Rockets and People] (PDF). NASA History Series. p. 179. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
- Launius, Roger (2002). To Reach the High Frontier. University Press of Kentucky. pp. 7–10. ISBN .
- Wade, Mark. "R-7". Encyclopedia Astronautica. สืบค้นเมื่อ 4 July 2011.
- Siddiqi, Asif A. (2018). Beyond Earth: A Chronicle of Deep Space Exploration, 1958–2016 (PDF). The NASA history series (second ed.). Washington, D.C.: NASA History Program Office. p. 11. ISBN . LCCN 2017059404. SP2018-4041.
- "Missions to the Moon". planetary.org.
- "Exploring the Moon – The first robot explorers". Ianridpath.com. สืบค้นเมื่อ 2013-11-06.
- "Venera 1". NASA Space Science Data Coordinated Archive. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
- ""Group Space Flight" Described" (PDF). Flight International. London: Iliffe Transport Publications. 82 (2790): 304–305. 30 August 1962. สืบค้นเมื่อ 2009-03-17.
- "1963: Soviets launch first woman into space". BBC. 1963-06-16. สืบค้นเมื่อ 2015-11-28.
- Rincon, Paul; Lachmann, Michael (2014-10-13). . BBC News. BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-14. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
- Burrows, William E. (1999). This New Ocean: The Story of the First Space Age. Modern Library. p. 432. ISBN .
- . TIME. 8 February 1971. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-21. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
- Solar System Exploration Multimedia Gallery: Venera 9 2009-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NASA website, accessed August 7, 2009.
- Burgess, Colin; Hall, Rex (2009). "The Intercosmos Programme". The First Soviet Cosmonaut Team. Springer. p. 339. ISBN .
- "Soviets Launch World's First Black Cosmonaut". . 59 (4): 8. 9 October 1980. ISSN 0021-5996.
- . Encyclopedia Astronautica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2010. สืบค้นเมื่อ 15 November 2010.
- James E Oberg (1981-05-12). Red Star in Orbit. ISBN .
- "MEDIA REPORTS | Soviet rocket blast left 48 dead". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Soviet Exploration of Venus
- Sputnik: 50 Years Ago
- PBS Red Files
- Korolev, Mastermind of the Soviet Space Program 2015-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Cosmos Family
- Soviet manned lunar program
- Russian Space Program
- The Cosmonautics Memorial Museum in Moscow 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A youtube channel on the Soviet space program
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
okhrngkarxwkasosewiyt prakxbdwykarphthna crwd aela karsarwcxwkasepnokhrngkarthicdthaodyxdit shphaphosewiytcakchwngthswrrsthi 1930 cnthungkar slaytw inpi kh s 1991 inchwngewlahksibpi kh s khxngokhrngkarmikhwamsaercinhlayxyangxathi epnphubukebikkhipnawuthkhamthwip xar 7 dawethiymdwngaerkkhxngolk sputnik 1 ilka singmichiwittwaerkthiedinthangipxwkasinsputnik 2 mnusykhnaerkinxwkas yuri kakarin in wxstxkh 1 phuhyingkhnaerkinxwkas waelntina eterchokhwa in wxstxkh 6 mnusykhnaerkthiedininxwkas xelksi lioxnxf in wxshxd 2 karlngcxdbndwngcnthrkhrngaerk luna 2 karthayphaphdanmudkhxngdwngcnthr luna 3 epntncrwdxar 7 tnaebbcrwdaelaokhrngkarxwkasosewiytidmitnaebbcakokhrngkarcrwdlbkhxngeyxrmninchwngsngkhramolkkhrngthi 2okhrngkarihyerimhlngcakpi kh s 1955 aelaxyubnphunthankhxngthvsdihlayxyangkhxng khxnsaetntin sixxlkhxfski bangkhrngeriykwaepnbidaaehngthvsdikarsarwcxwkas esxrik okhorelfepnhwhnasthapnikkhxngklumkarxxkaebbcrwdaetkmikaraekhngkhninkarxxkaebbhlayklumnaody okhorelf Mikhail Yangel Valentin Glushko aela Vladimir Chelomei tangcakkhuaekhngkhuxshrthxemrikathimixngkhkarinkarxxkaebbcrwdediywkhuxnasa ephraasthanaokhrngkarxwkaskhxngosewiytepnkarokhsnachwnechux khuxcaprakasaetkhwamprasbkhwamsaercinbangkhrng swnkhwamlmehlwbangkhrngkekbepnkhwamlb xathi kartaykhxngilka xubtiehtuosyus 1 crwdexn 1 epntn inthaythisudepnphlmacaknoybayklsnxstinchwngpi kh s 1980 khxngmihaxil kxrbachxf khxethccringmakmayekiywkbokhrngkarxwkasimepnlbxiktxip thngkartaykhxngwladimir okhmarxf in xubtiehtuosyus 1 aela yuri kakarin inpharkicinkarbinthdsxbekhruxngecth inrahwangpi kh s 1966 aela pi kh s 1968 khwamlmehlwkhxngkarphthnaokhrngkarcrwdexn 1 tngicthicaichipdwngcnthrsungraebidimnanhlngcakplxy hlng karlmslaykhxngshphaphosewiyt rsesiy aelayuekhrn idrwmknphthnaokhrngkarxwkaskhxngosewiyttxodytngepnxngkhkarthiruckinchux rthwisahkicrxskhxsmxs inrsesiy aela xngkhkarxwkasaehngchatikhxngpraethsyuekhrn NSAU inyuekhrntnkaenidkarphthnakxnsngkhram thvsdikhxng karsarwcxwkas miphunthanin ckrwrrdirsesiy kxn sngkhramolkkhrngthihnung dwynganekhiynkhxng khxnsaetntin sixxlkhxfski 1857 1935 thiephyaephrexksarepn inchwngplaystwrrsthi 19 aela 20 aelainpi kh s 1929 mikaraenanaaenwkhidkhxng crwdhlaytxn dankarptibtiekiywkbkarthdlxngerimkhunodysmachikkhxngklumkarsuksaptikiriyakhbekhluxncrwd GIRD kxtngkhuninpi kh s 1931 inpi kh s 1920 aela 1930 phubukebikechn esxrik okhorelf phuthifninkaredinthangip dawxngkhar 5 aelamifridrich aesnedxwiswkrchaweyxrmn rsesiyrwmthanganxyudwy emuxwnthi 18 singhakhm 1933 GIRD epidtwcrwdechuxephlingehlwosewiytaerk GIRD 09 aelainwnthi 25 phvscikayn kh s 1933 epidtwcrwdechuxephlingihbrid GIRD X txmainpi kh s 1940 41 karwicydankarkhbekhluxnptikiriya thaekidkarphthnaaelakarphlitkhxngekhruxngyingcrwdkhtyuchaaelacrwdhlaytxn ineyxrmni crwdxar 1 khipnawuthaebbaerkkhxngshphaphosewiytsungmitnaebbmacakcrwdwi 2 inchwngthswrrsthi 1930 ethkhonolyicrwdosewiytsamarthethiybkbeyxrmniidaetidekiddnoybaykarlang strukhxngprachachn wiswkrchnnahlaykhnthukpraharaelaesxrik okhorelf aelakhnxun thukkhngxyuinkulk 10 14 aemwacrwdkhtyuchaepnthimiprasiththiphaphmakin aenwrbdantawnxxk rahwang sngkhramolkkhrngthisxng inkarbukemuxngfxrphxmemirn Peenemunde wiswkrrsesiyprahladicthiidphbkbcrwdwi 2aelaethkhonolyiinemuxng Mittelwerk hlngcakwnchyinthwipyuorp thharxemriknidaexbnankwithyasastrchaweyxrmnchnnamakthisudaelacrwdwi 2 100 laklbipyngpraethsshrthxemrikainptibtikarkhliphnibkradasaetosewiytidpraoychnxyangmakcakbnthuknkwithyasastr eyxrmnaelaaebbrangcrwd odyechphaaxyangyingthiidrbcrwdcanwnmakaelathankarphlitcrwdwi 2 20 25 27 29 31 56 phayitkarduaelkhxng dmitri xustinxf okhorelf aelakhnxun kartrwcsxbaebbrangcrwd odyidkhwamchwyehluxcakwithyasastrdancrwdchaweyxrmn Helmut Grottrup aelakhnxun thithukcbcnthungchwngtnthswrrs 1950 30 80 82 inthisudksamarththxdaebbcrwdwi 2 masrangepncrwdxar 1 idsaercaetmnkimsamarthtidtnghwrbniwekhliyrid okhorelf idxxkaebbmathumethihkbkhxngehlwechuxephlingcrwdaekhngthiekhaekhythdsxbdwyinchwngplaythswrrsthi 1930 inthisudksamarthsrangcrwdxar 7 thimikalngphxtidtnghwrbniwekhliyr aelasamarthyingkhamthwipid sungthdsxbprasbkhwamsaercineduxnsinghakhm kh s 1957sputnikaelawxstxkhokhrngkarxwkaskhxngosewiytthukphuktidxyukb aephnhapi aelatxngphungphakarsnbsnuncakkxngthphosewiyt aetokhorelfkyngmikhwamfninkarsarwcxwkas thungaemecathithharosewiytkhidwaepnkhwamfnlm aelng ehmuxnchawxemrikn odyechphaatxnthishphaphosewiytsamarthcudraebid RDS 1 raebidprmanuaerkkhxngosewiyt sungthangkxngthphkhidcaichcrwdxar 7 inkarthphmakkwa xyangirktamcrwdosewiytlukaerkkepidtwihthngolkruineduxnkrkdakhm kh s 1955 aebbcalxng sputnik 1 crwdxar 7 mikalngphxrbhwrbkhnad 5tnid imephiyngthimiprasiththiphaphsahrbkhipnawuthniwekhliyr aetyngsamarthisyanphahnainkaredinthangxwkasiddwy ineduxnkrkdakhm kh s 1955 shrth miaephnkarthicaepidtwdawethiymdwngaerk inxiksxngpikhanghna yingthaih okhorelf miaerngcungicihphunaosewiyt nikita khruschxf snbsnunaephnkarkhxngekha ephuxthithalaykhwamtngickhxngchawxemrikn 148 151 ineduxnmkrakhmpi kh s 1956 aephnkarsrangolkokhcrdawethiym sputnik idrbkarxnumti inwnthi 4 tulakhm kh s 1957 sputnik 1 dawethiymthrngklm thadwyxalumieniymhnk 84 kiolkrm thuksngkhunwngokhcrdwycrwdxar 7 cakthanyinginthaelthray thaxwkasyanbyokengxr khaskhsthan thwthukmumolktalungkbkarplxy hlngkarnnokhorelferimaephnkarihminokhrngkarsputnik 2 inkarthdlxnghaphlkrathbkhxngkarbinxwkasthimitxsingmichiwit wiswkrcungmxngwaethiywbinthisngstwkhunsuxwkasdwynncaepnkxnpharkickhxngmnusymikarfukkbsunkhthngsamtw iwinkarrbeluxkepnphuodysaripkb sputnik 2 inthaythisud ilkaidthukrbeluxk emuxwnthi 3 phvscikayn kh s 1957 cakthanyinginthaelthray thaxwkasyanbyokengxr khaskhsthan olktalungxikkhrng inkarokhsnachwnechuxkhxngosewiyt idklawwaepnkhwamsaercinkarsngsingmichiwittwaerkinxwkas aetkhwamcringaelwilkaidtayphayinimkichwomnghlngplxyyanenuxngcakkhwamrxnphayinyansungsungepnkhwamlmehlwinrabbyngchiphklangxar 7 R 7 sustainer aetkxnhnannidmiraynganxyangkwangkhwangwamnkhadxxksiecntayxyangsngbinwnthihk caksayipkhwa yuri kakarin nkbinxwkaskhnaerkkhxngolk Pavel Popovich nkbinxwkaswxstxkh 4 waelntina eterchokhwasungepnnkbinxwkashyingkhnaerkkhxngolk aelanikita khruschxfthisusanelnininchwngkarechlimchlxngaeknkbinxwkasosewiyt 1963 hlngcakkhwamsaerckhxngsputnik okhorelf sungbdniepnthirucktxsatharnchnwa hwhnasthapnikcrwdxwkas 168 169 ekharwmradmthunephuxerngbrrcuokhrngkarsngkhnipnxkolk hlngsputnik 2 thukplxyphrxmkhwamlmehlwinrabbyngchiph wiswkridprbprungaekikhinsputnik 4 inthisudphrxmsngsunkhkhunipinxwkasxikkhrnginsputnik 5 emuxwnthi 19 singhakhm kh s 1959 phrxmkbhmaphnthuphsm 2 tw chux eblka Belka aela setrlka Strelka kb hnuaelatnimcanwnhnung yanklbsubrryakolkxyangplxdphyinwnthi 20 singhakhm kh s 1959 hlngprasbkhwamsaercwiswkrmikhwammnicmakinkhwamphrxmsngmnusyipyngxwkas thangkxngthphkidxasasmkhrthiphankarsxbkhuxyuri kakarinthimiprasbkarninkxngthphxakasosewiytmaepnnkbin yanwxstxkh 1 Vostok 1 thukplxycakthanyingemuxewla 9 07 n wnthi 12 emsayn kh s 1961 aelaokhcrrxbolk 1 rxb ichewla 1 chwomng 29 nathi thiradbkhwamsungmakthisud 187 iml 301 kiolemtr kxnlngcxdxyangplxdphyemuxewla 10 55 nalika tamewlainrsesiy hlngcakwxstxkh 1 mikarplxyxik 5 la tlxdokhrngkarwxstxkh 1961 1963 ody wxstxkh 6 epnlasudthayinwnthi 16 mithunayn kh s 1963 miwaelntina eterchokhwasungepnnkbinxwkashyingkhnaerkkhxngolk cakaephnkarokhsnachwnechuxkhxngosewiytinkarihkhwamsakhyaekstrikaraekhngkhnphayinxelksi lioxnxf mnusykhnaerkthiedininxwkasinwxshxd 2 thangfngshrth aemcamikhwamsaerckhxng sputnik rahwangpi kh s 1957 1961 aela wxstxkh rahwangpi kh s 1961 1964 khxngosewiytkimsamrththalaykhwamtngickhxngshrthid aelayngthaihekidkhwamsamkhkhiinphaythaihekidxngkhkarnasakhunma thaihsamarthiltamthnethkhonolyixwkasosewiytid phidkbosewiytthierimmikaraekhngkhninkarxxkaebbhlayklumnaody esxrik okhorelf Mikhail Yangel Valentin Glushko aela Vladimir Chelomei okhorelf wangaephnthicakawipkhanghnakbokhrngkarosyus aelacrwd N1 sungcaepnphunthaninkarsrangsthanixwkasthawraelakarsarwcdwngcnthr xyangirktam dmitri xustinxf kakbihekhaehnkhwamsakhykbpharkiciklolkmakkwainokhrngkarwxshxd aekikhcakokhrngkarwxstxkh echnediywkbinpharkicsngdawethiymipyngdawekhraahthixyuiklekhiyng khuxdawsukr aela dawxngkharmakkwacasngkhnipthiehlann Yangel ekhyidrbkarchwyehluxcak okhorelf aetdwykarsnbsnunkhxngthhar ekhacungmisankkhxngtwexnginpi kh s 1954 inkarthanganhlkinokhrngkarxwkaskhxngthhar eruxngnimithimnganxxkaebbekhruxngyntcrwdich echuxephlingihephxroblik tngaetehtucrwdraebidthi Nedelin inpi kh s 1960 Yangel idrbkhasngkarphthna ICBM khlaykbcrwd N1 khxngokhorelf sahrbkarichnganthngthharaelaethiywbinkhnsngsinkhakhunsuxwkas sungcaepnphunthaninkarsrangsthanixwkasinxnakht Glushko epnhwhnafayxxkaebbekhruxngyntcrwd aetekhamkcamipyhakb okhorelf aelaptiesththicaphthnaekhruxngyntkaskhxngcrwd N1 Chelomei idrbpraoychncaksnbsnuncakkhruschxf 418 aelainpi kh s 1960 idrbnganinkarphthnacrwdthicasngyanxwkasokhcrrxbdwngcnthr aelapracasthanixwkasthhar dwyprasbkarnnxy thaihokhrngkarphthnakhxngekhalacha khwamkhubhnakhxngokhrngkarxphxlolthaihhwhnankxxkaebbaetlakhntkic ineduxnsinghakhm kh s 1964 kwasampihlngcakthishrthprakascaipdwngcnthrkxnpi kh s 1970 inthisudshphaphosewiytktdsinicthicaaekhngkhnipdwngcnthr odykahndepahmayipthungdwngcnthrinpi kh s 1967 sungkhrbrxb 50 pi khxngkarptiwtieduxntulakhmhruxxaceluxnipthungpi kh s 1968 406 408 420 intnkhristthswrrs 1960 mikarphthnachwngaerkkhxngokhrngkarxwkaskhxngosewiytkwa 30 okhrngkarsahrbcrwdnasngaelayanxwkas odyhlngkarsinxanackhxngkhruschxfinpi kh s 1964 okhorelf idrbmxbkarkhwbkhumokhrngkarxwkasxyangsmburnhlngyukhokhorelfkarplxycrwdoprtxn ekh okhorelf esiychiwitinpi kh s 1966 maernglaisihy aelacakphawaaethrksxncakorkhhwicaelaeluxdxxkxyangrunaerng Kerim Kerimov thiekhyepnsthapnikinkarxxkaebbkhxng wxstxkh 1 idrbkaraetngtngepnprathankhnakrrmkarxwkasosewiyt aeladarngtaaehnngtxenuxngnan 25 pi kh s 1966 1991 ekhaduaelthukkhntxnkhxngkarphthna thngkardaeninngankhxngxngkhprakxbkhxngyanxwkasthimimnusykhwbkhum aelasthanixwkasthiimmimnusykhwbkhum hnunginkhwamsaercthiyingihythisudkhxng Kerimov khuxkarepidtwkhxngsthanixwkasemiyr inpi kh s 1986 swnsankngan OKB 1 khxngokhorelf Vasily Mishin idekhamasantx Mishin odyimmixanacthangkaremuxngehmuxnokhorelf aelayngkhngtxngephchiykbkaraekhngkhncakhwhnankxxkaebbxun phayitkhwamkddn Mishin idrbkarxnumtikarepidtwkhxngethiywbinosyus 1 inpi kh s 1967 pharkickarepidtwkbpyhainxxkaebbthiepnthithrabodythw cblngdwykarimthangankhxngrmthaihaekhpsulkraaethkkbphun khawladimir okhmarxf ehtukarnniepnkhrngaerkthimikaresiychiwitcakokhrngkarxwkasosewiyt hlngcakehtukar Mishin xyuphayitaerngkddnaelamipyhaeruxngtidsura osewiytphbkbphayaephinkarsngkhnokhrngrxbdwngcnthrodyxphxlol 8 inpi kh s 1968 aet Mishin kmipyhahnksudinphthnacrwd N1 ekhahwngwamiewlaphxthicathaih exn 1 samarththanganidaelasngipmnusybndwngcnthrepnchatiaerk mikhwamsaerckbethiywbinrwmknkhxngosyus 4 aela 5 ineduxnmkrakhm kh s 1969 thiphankarthdsxbndphb echuxmtxaelakarthayoxnlukeruxthicaichsahrbkarlngcxd aela aexlekh aelnedxr yanthiichlngcxdbndwngcnthrkhxngosewiyt idrbkarthdsxbinwngokhcrkhxngolkprasbkhwamsaerc aethlngcaknncblngdwykhwamlmehlwkhxngcrwd N1 phusnbsnunykelikkarsnbsnunphrxmkhwamlmehlwinkaripdwngcnthr nkbinxwkasosewiyt aela xemrikninokhrngkarokhrngkarthdsxbxaphxlol osyussayipkhwa Slayton Stafford Brand Leonov Kubasov hlngcakkhwamlmehlw dmitri xustinxfidxnumtisthanixwkasthharssyussungepnkartxbotokhrngkarsthanixwkasskayaelbkhxngshrth Mishin yngkhngmixanackhwbkhumokhrngkarsthanixwkasssyus inpi kh s 1971 ekidehturayaerngemuxsthanixwkasssyus 1 imsamarthepidthangekhaidaelaosyus 11 ekidrxyaeykbnaekhpsulkhalukeruxthnghmdemuxklbmayngolk Mishin thuklbchuxxxkcakhlayokhrngkarthiekhakhwbkhum Chelomei idfunokhrngkarsthanixwkasssyus hlngcakokhrngkarthdsxbxaphxlol osyusphunaosewiyttdsinicaenwthangkarcdkarihmaelainpi kh s 1974 crwd N1 thukykelikaela Mishin thukilxxk mikarsrangsankngan NPO Energia aethn OKB 1 odymi Glushko epnhwhnankxxkaebb aemcalmehlwinkaripdwngcnthr shphaphosewiytkprasbkhwamsaercinkarnasnghunsarwcxtonmti luonhxd 1 2 aelayansarwcluna 15 24 idnatwxyanghindwngcnthrklbma nxkcaknimikhwamsaercelk nxy inokhrngkarsarwcdawxngkharxyangtxenuxng inkhnathikarsarwcdawsukr aeladawhanghlelyin ewenra aela ewka prasbkhwamsaercxyangyxdeyiymraykarkhxngokhrngkaraelakhwamsaercokhrngkarthnghmdthismbrun phaphthaykhxngsthanixwkasemiyrcakkraswyxwkasaextaelntis kxnthicaechuxmtxrahwanginpharkic STS 76 pharkicinpi kh s 1996aebbcalxnghunyntsarwc luonhxd 2yanosyus inokhrngkarthdsxbxaphxlol osyusaebbcalxngyanewka 1 aela 2sputnik 1956 1959 epnokhrngkarxwkasaerkkhxngosewiyt aebngepnkarphthnadawethiymsputnik 1 aelasputnik 3 aelakarthdlxnghaphlkrathbkhxngkarbinxwkasthimitxsingmichiwitaelakarphthnarabbyngchiphinyanxwkas sputnik 2 sputnik 4 sputnik 5 luna 1959 1976 epnokhrngkarsarwcdwngcnthrkhxngosewiyt mithnghmd 24 laxyangepnthangkar prakxbdwydawethiymsarwc luna 1 9 yansarwc luna 10 14 yansarwcaelaekbtwxyanghin luna 15 16 18 20 aela 22 24 aelayankhnsnghunsarwc luna 17 kb luonhxd 1 aelaluna 21 kb luonhxd 2 aemcamiokhrngkarmakkwannaetswnihylmehlwtngaetxyuinwngokhcrolkpraeminkhaichcaykhxngokhrngkarlunaepnpraman 4 5 phnlandxllarshrth wxstxkh 1961 1963 epnokhrngkarsngmnusyipyngxwkaskhunsuwngokhcrtakhxngolkaelaphwkekhaklbidxyangplxdphy karaekhngkhnokhrngkaremxrkhiwrikhxngpraethsshrthxemrika prasbkhwamsaercinsngmnusyxwkaskhnaerkthi yuri kakarinin wxstxkh 1 emuxwnthi 12 emsayn kh s 1961 aekhpsulwxstxkhidrbkarphthnacakokhrngkardawethiymcarkrrmesnit ichcrwdxar 7 khipnawuthkhamthwip ICBM inkarsng inkarxxkaebbthiepnkhxmullbcnkrathngethiywbinkhrngaerkkhxngokhrngkarwxstxkhkhxngkakarinepidephytxsatharnchn opraekrmdaeninkarmi 6 larahwangpi kh s 1961 aelapi kh s 1963 ethiywbinthinanthisudkinewlaekuxbhawnaelamikarplxyyankhuknrahwangwxstxkh 3 kbwxstxkh 4 sungmakkwaokhrngkaremxrkhiwrithimiethiywbinthinanthisud 34 chwomng ewenra 1961 1981 epnokhrngkarsarwcdawsukrkhxngosewiyt rahwangpi kh s 1961 1984 mithnghmd 10 lathiprasbkhwamsaerclngcxdbndawsukraelasngkhxmulcakphunphiwkhxngdaw odyinchwngaerkepnkarsarwcphaynxkody ewenra 1 2 cakkarsarwcchnbrryakas aelakarphyayamlngcxdin ewenra 3 8 aelalngcxdsaercinewenra 9 sungsamarththnidthung 23 nathikxnthicathukthalay inrayahlngewenra 15 idmikarichrabberdarinkarthaaephnthibndawsukr wxshxd 1964 1965 hlngprasbkhwamsaerc wxstxkh idmikarphthnaihminokhrngkarwxshxd inpi kh s 1964 1965 sungprbepliynaekhpsul wxstxkh ihihykhunsamarthcunkbinidsxngthungsamkhn crwdkhnadihykhunaelarabbyngchiphthidikhuncnimtxngswmchudxwkasinyan wxstxkh 1 epnkarthdlxngihnkbinsamkhnimchudxwkasphlprasbkhwamsaercdwydi wxstxkh 2 idmikarphthnapratuyanihepidpidcakphayinyanidephuxichsahrbpharkicnxkyanody xelksi lioxnxf epnmnusykhnaerkthiedininxwkas osyus 1963 pccubn epnokhrngkaryanxwkasphthnaodyshphaphosewiytinpi kh s 1960 odyintxnaerkcathuknaipichinokhrngkarsngmnusybndwngcnthr odymikarthdsxbkarndphbaelaethiybtha ephuxichsahrbkartxaexlekh aelnedxr yanthiichlngcxdbndwngcnthrkhxngosewiyt hlngkhwamlmehlwkhxngokhrngkar exn 1 aexl 3 osyusidthuknaipichinkarethiybthakhnsngkhnaelasingkhxngyngchiphtang inaeksthanixwkasthngsthanixwkasssyus sthanixwkasemiyr aelasthanixwkasnanachatiinpccubn sungidmikarphthnamathungpccubnthnghmd 4 run sxnd 1964 1970 epnokhrngkaryanxwkasirkhnkhbcakkardaeninkarinchwngpi kh s 1964 1970 aebngepnokhrngkar 3 exmwi epnokhrngkarsarwcdawsukr sxnd 1 dawxngkhar sxnd 2 aeladwngcnthr sxnd 3 aelaokhrngkarthdsxbosyus 7 ekh aexl 1 aexl 1 exs epnokhrngkarthdsxbyanosyus irtwechuxmtx inkaredinthangipdwngcnthr odyinkarthdsxb sxnd 5 idsng etarsesiyokhcrrxbdwngcnthraelaklbmaxyangplxdphy exn 1 aexl 3 thswrrs 1960 1970 epnokhrngkarsngmnusybndwngcnthr odyichyanxwkas osyus aexlekh aelnedxr aelacrwd exn 1 inkaripdwngcnthr odymikhwamsaerckbethiywbinrwmknkhxngosyus 4 aela 5 ineduxnmkrakhm kh s 1969 thiphankarthdsxbndphb echuxmtxaelakarthayoxnlukeruxthicaichsahrbkarlngcxdaela aexlekh aelnedxr yanthiichlngcxdbndwngcnthrkhxngosewiyt idrbkarthdsxbinwngokhcrkhxngolkprasbkhwamsaercaethlngcaknncblngdwykhwamlmehlwkhxngcrwdexn1 thiekidraebidimnanhlngthayankhun ssyus 1971 1986 epnokhrngkarxwkassthanixwkasosewiyt sungprakxbipdwy 4 sthanikarwicythangwithyasastraela 2 sthanithangkarthhar inchwngrayaewla 15 pi kh s 1971 1986 aelaxik 2 sthanilmehlwinkarsng xwkaskhxngssyus xxkaebbmaephuxdaeninkarwicyinpyhainrayayawkhxngkarxyuxasyinxwkasaelakhwamhlakhlaykhxngdarasastr chiwwithya aelakarthdlxngtang puthangsahrbomdulsthanixwkasinpccubn burn 1974 1993 karphthnakhxngokhrngkarkraswyxwkasinshrthxemrikathaihekidkhwamkngwlmakinshphaphosewiyt khnathirthmntriwakarkrathrwngklaohm xustinxf rbrayngancaknkwiekhraahkhxngekhawakraswyxwkasshrthxacthuknamaprbichyingkhipnawuthniwekhliyrtamphunthiehnuxdinaednkhxngshphaphosewiyt xustinxf cungkngwlekiywkbkraswyxwkasshrthcungmikarihkarphthnakraswyxwkasosewiyt phthnaodyhwhnankxxkaebb eklb olsion olsinski aehngbristhcrwdxienxreciy burntngicihichidthnginohmdxtonmtiaelamikhnbngkhb karplxyburnkhunsuwngokhcrkhrngaerkaelakhrngediywnnekidkhunemuxewla 3 00 UTC khxngwnthi 15 phvscikayn kh s 1988 okhrngkarthukykelikinpi kh s 1993 xinetxrkhxsmxs 1978 1988 epnokhrngkarxwkasrwmknrahwangshphaphosewiytaelaklumsnthisyyawxrsxaelapraethsxunechn xfkanisthan khiwba mxngokeliy aelaewiydnam aelaklumpraethskhbwnkarimfkiffayid echn xinediy aelasieriy aelapraethsolkesrixyang frngess epntn ewka 1984 1985 epnkhwamrwmmuxrahwang shphaphosewiyt xxsetriy blaekeriy hngkari satharnrthprachathipityeyxrmn opaelnd solwaekiy frngess aelashphnthsatharnrtheyxrmni ineduxnthnwakhmpi kh s 1984 mipharkicsxngswnkhuxkarsarwcdawsukrdwybxlluntrwcxakas kbkarsarwchanghlely okhrngkarmithnghmd 2 la yanxwkasthngsxngplxyinwnthi 15 aela 21 eduxnthnwakhm kh s 1984 tamladb ofbxs 1988 epnokhrngkarsarwcdawxngkharaeladwngcnthrofbxsaeladimxs ofbxs 1 thukplxyinwnthi 7 krkdakhm kh s 1988 aelaofbxs 2 inwnthi 12 krkdakhm kh s 1988 ofbxs 1 prasbkhwamlmehlwinkarnaesnthangipdawxngkhar ofbxs 2 ekhawngokhcrdawxngkhar idekhasarwcdawxngkhar aeladwngcnthrofbxsaeladimxs aetkartidtxidhayipkxnkhnkarsarwctxnsudthay emiyr 1986 2001 epnokhrngkarxwkassthanixwkasosewiyt aelanbepnsthaniwicythawrrayayawaehngaerkinxwkaskhxngmnusychati sthaniprakxbdwymxdultang hlaymxdul aetlaswnthukthayxynakhunsuxwkas erimcakswnaerkinwnthi 19 kumphaphnth kh s 1986 cnthungmxdulsudthayinpi kh s 1996 sthanixwkasemiyrhmdxayukarichnganaelathukephathalayinbrryakasolkemuxwnthi 23 minakhm kh s 2001 karbukebik phaphaerkkhxngxikfakhnungkhxngdwngcnthrodyluna 3mars 3 yanxwkaslaaerkthicalngcxdbndawxngkhar sxngwnhlngcakthi shrthxemrika prakaskhwamtngicthicasrangdawethiym 31 krkdakhm kh s 1956 shphaphosewiytprakaskhwamtngicthicathaechnediywkn odysputnik 1 epidtwwnthi 4 tulakhm kh s 1957 thaihshrthxemrikaesiyhnaaelakhntuntalungthwthukmumolk okhrngkarxwkaskhxngosewiytthiepnphubukebiksingtang inkarsarwcxwkas kh s 1957 khipnawuthxar 7 epnkhipnawuthkhamthwiplukaerk kh s 1957 sputnik 1 epndawethiymdwngaerk kh s 1957 ilka epnsingmichiwittwaerkthiedinthangipxwkasinsputnik 2 kh s 1959 luna 1 epndawethiymdwngaerkthiipthungdwngcnthr kh s 1959 luna 2 epndawethiymdwngaerkthikraaethklngdwngcnthr kh s 1959 luna 3 epndawethiymdwngaerkthithayphaphaerkkhxngxikfakhnungkhxngdwngcnthr kh s 1960 eblka Belka aela setrlka Strelka insputnik 5 epnsingmichiwitedinthangipxwkasaelaklbmaxyangplxdphy kh s 1961 ewenra 1 epndawethiymdwngaerkthiipthungdawsukr kh s 1961 yuri kakarinepnmnusykhnaerkinxwkas in wxstxkh 1 kh s 1961 khnaerkthicaichewlainxwkas 24 chwomngkhux Gherman Titov in wxstxkh 2 kh s 1962 wxstxkh 3 aelawxstxkh 4 epnkarplxyyankhuknepnkhrngaerk kh s 1962 mars 1 epndawethiymdwngaerkthiipthungdawxngkhar kh s 1963 waelntina eterchokhwa epnphuhyingkhnaerkinxwkasin wxstxkh 6 kh s 1964 wxshxd 1 epnyanthisamarthbrrthuklukeruxid3 khnlaaerk kh s 1965 xelksi lioxnxf epnmnusykhnaerkthiedininxwkasin wxshxd 2 kh s 1965 ewenra 3 epndawethiymdwngaerkthikraaethklngdawsukr kh s 1966 luna 9 epndawethiymdwngaerklngcxdbndwngcnthr kh s 1966 luna 10 epnyanthilngcxdbndwngcnthrlaaerk kh s 1967 khxsmxs 186 kb khxsmxs 188 epnkarndphbaelaethiybthairkhnkhbkhrngaerk kh s 1968 singmichiwittwaerkthiokhrngcrrxbdwngcnthraelaklbmaxyangplxdphy etarsesiy insxnd 5 kh s 1969 osyus 4 aelaosyus 5 epnkarndphbaelaethiybthaaebbmikhnkhbkhrngaerk kh s 1970 luna 16 epnyanthimikarekbtwxyanghindwngcnthrodyichyanrabbxtonmtikhrngaerk kh s 1970 luonhxd 1 karnahunsarwcxtonmtimaichbndwngcnthrkhrngaerk kh s 1970 ewenra 7 epnyanxwkasthilngcxdaelasarwcdawsukryanaerk kh s 1971 ssyus 1 epnsthanixwkaslaaerk kh s 1971 mars 2 epndawethiymdwngaerkthikraaethklngdawxngkhar kh s 1971 mars 3 epnyanxwkaslaaerkthicalngcxdbndawxngkhar kh s 1975 ewenra 9 thayphaphphunphiwkhxngdawsukrepnphaphaerk kh s 1980 Arnaldo Tamayo Mendez khiwba epnchawlatinaelaphiwsikhnaerkinxwkas sungedinthangipkbyanosyus 38 kh s 1984 Svetlana Savitskaya epnphuhyingkhnaerkthiedininxwkas insthanixwkasssyus 7 kh s 1986 lukeruxin sthanixwkasssyus 7 kbsthanixwkasemiyr epnlukeruxchudaerkthieyuxnsthanixwkassxngthi inpharkicediywkn kh s 1986 ewka 1 aela ewka 2 epnyanaerkthiichbxllunbngkhbinkarsarwcdawsukr aelakarthayphaphrayaiklkhxngdawhangkhrngaerk kh s 1986 sthanixwkasemiyr epnsthanixwkasaebbprakxblaaerk kh s 1987 Vladimir Titov aela Musa Manarov epnlukeruxchudaerkthiichewlainxwkas makkwa 1 pi insthanixwkasemiyr sungedinthangipodyyanosyusthiexm 4khwamlmehlwaelaxubtiehtuokhrngkarxwkaskhxngosewiytidmiprasbkarnkbxubtiehturayaerngaelakhwamlmehlwcanwnhlaykhrng khrngaerkinpi kh s 1960 ekidphyphibti Nedelin khwamhaynamacakcrwdechuxephlingthukthdsxbin Launchpad ekidraebid khabukhlakrhlaythangethkhnikh wiswkrkarbinaelaxwkas aelachangethkhnikhepncanwnmak swnnkbinxwkaskhnaerkthiesiychiwitxyangepnthangkarinrahwangkarfukthiekidkhunwnthi 23 minakhm kh s 1961 ekidifihminhxngprbkhwamdnthimixxksiecnsungthaihifaerngkhunthaih Valentin Bondarenko esiychiwitinkxngephling inwxshxd 2 xelksi lioxnxf mnusykhnaerkthiedininxwkasekuxbesiychiwitcakrxyrwbnchudthaihchudkhxngekhamiaerngdnsung aetekhaksamarthprbaerngdnidthaihekharxdchiwitma inpi kh s 1967 osyus 1 karimthangankhxngrmsahrblngcxdthaihaekhpsulkraaethkkbphunkha wladimir okhmarxf niepnkhrngaerkthiesiychiwitmikartaycakokhrngkarxwkasosewiyt hlngcaknnyuri kakarinkesiychiwitphrxmkbnkbinphuchwyinkarthdsxbekhruxngecth mik 15 tk tammadwykhwamlmehlwkhxngkarphthnaokhrngkarcrwd exn 1 tngicthicaichipdwngcnthrsungraebidimnanhlngcakplxy swn shrthxemrikaexachnainkaraekhngkhnlngcxdbndwngcnthrin xaphxlol 11 bn 20 krkdakhm kh s 1969 xik 4 pitxma osyus 11 ekidrxyaeykbnaekhpsulthaihimmixakasinkarhayiclukeruxthnghmd Vladislav Volkov Georgi Dobrovolski aela Viktor Patsayev esiychiwitemuxklbmayngolk wnthi 5 emsayn kh s 1975 osyus 18a idklbmayngolkaetekidkhwamphidphladinrabbnathangthaihelycudlngcxdhlayphniml ekuxbekhachayaednpraethscin aekhpsulkraaethkphuekhaithlluniptamthangladchnaelaekuxbtkhnapha ochkhdithisayrmchuchiphekiywkbtnimiw miphubadsahs 2 khn aelakhwamphidphladinrabbnathangxikkhrnginosyus 23 wnthi 16 tulakhm kh s 1976 elycudlngcxd aekhpsultklngsuthaelsabnaaekhngochkhdithichwyehluxidthnthwngthi aelaemuxwnthi 18 minakhm kh s 1980 crwdwxstxkhraebidkhnakalngetimechuxephlingthaihecahnathi 48 khnesiychiwit mikhrnghnungthiekuxbcabanplayklayepnkhwamkhdaeyngradbolk inkhxsmxs 434 sungthukplxykhunsuxwkasinpi kh s 1971 emuxklbekhasupraethsxxsetreliyemuxwnthi 22 singhakhm kh s 1981 rthbalxxsetreliytkickbechuxephlingniwekhliyrthixyuinyan aelakhidwashosewiytidsngxawuthniwekhliyrmaocmti krathrwngtangpraethskhxngshphaphosewiytinxxsetreliyyxmrbwakhxsmxs 434 waepnswnhnungkhxngkarthdlxngokhrngkarlngcxdbndwngcnthr N1 L3 inxdit txmaemuxwnthi 26 knyayn kh s 1983 osyus T 10 1 ekidkarrwihlkhxngnamnechuxephlingthaihekideplwephling aekhpsullukeruxthukdidtwxxkmathnkxncrwdraebidinsxngwinathitxma 736 nxkcakniyngmibychithihayipsungepnbychilbthimikarpkpidphuesiychiwittlxdkhxngokhrngkarxwkaskhxngosewiytxangxing Gorodomlya Island Russianspaceweb com subkhnemux 2016 01 19 German rocket scientists in Moscow Russianspaceweb com subkhnemux 2016 01 19 Aeronautics Learning Laboratory for Science Technology and Research ALLSTAR Network 12 March 2004 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 28 October 2015 subkhnemux 10 June 2015 The early US space program was developed predominantly by scientists and rocket engineers from Nazi Germany who immigrated to the United States after World War II and was based on German technological experience and the early Soviet program also benefited from Nazi German experience see ROSCOSMOS khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 10 19 Siddiqi Asif A NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 10 08 George P Sutton History of Liquid Propellant Rocket Engines in Russia Formerly the Soviet Union PDF Journal of Propulsion and Power 19 6 November December 2003 John Pike Katyusha Rocket Globalsecurity org subkhnemux 2016 01 19 Russia opens monument to Laika first dog in space Associated Press April 11 2008 Retrieved on August 24 2010 Malashenkov D C 2002 Abstract Some Unknown Pages of the Living Organisms First Orbital Flight IAF abstracts ADS 288 Bibcode 2002iaf confE 288M Asif Siddiqi 2003 Sputnik and the Soviet Space Challenge 1st ed University Press of Florida p 174 ISBN 978 0813026275 Beischer DE Fregly AR 1962 US Naval School of Aviation Medicine ONR TR ACR 64 AD0272581 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 08 11 subkhnemux 2011 06 14 Jephl Yukhebhv Jephlnb Space hobby ru phasarsesiy 1998 02 19 subkhnemux 2016 01 19 Peter Bond 2003 04 07 The Independent khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 01 08 Planetary Spacecraft Moon Missions RussianSpaceWeb com Russian Space Web khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 04 26 subkhnemux 2019 05 20 The First Day In Orbit PDF Flight International London Iliffe Transport Publications 80 2736 208 17 August 1961 subkhnemux 2009 03 12 Oddbjorn Engvold Bozena Czerny John Lattanzio Rolf Stabell 30 November 2012 Astronomy and Astrophysics Volume I Encyclopedia of Life Support Systems EOLSS pp 228 ISBN 978 1 78021 000 1 Chertok Boris 2005 Asif A Siddiqi b k Raketi i lyudi Rockets and People PDF NASA History Series p 179 subkhnemux 2006 07 03 Launius Roger 2002 To Reach the High Frontier University Press of Kentucky pp 7 10 ISBN 0 8131 2245 7 Wade Mark R 7 Encyclopedia Astronautica subkhnemux 4 July 2011 Siddiqi Asif A 2018 Beyond Earth A Chronicle of Deep Space Exploration 1958 2016 PDF The NASA history series second ed Washington D C NASA History Program Office p 11 ISBN 978 1 62683 042 4 LCCN 2017059404 SP2018 4041 Missions to the Moon planetary org Exploring the Moon The first robot explorers Ianridpath com subkhnemux 2013 11 06 Venera 1 NASA Space Science Data Coordinated Archive subkhnemux 2019 08 15 Group Space Flight Described PDF Flight International London Iliffe Transport Publications 82 2790 304 305 30 August 1962 subkhnemux 2009 03 17 1963 Soviets launch first woman into space BBC 1963 06 16 subkhnemux 2015 11 28 Rincon Paul Lachmann Michael 2014 10 13 BBC News BBC News khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2014 10 14 subkhnemux 2014 10 19 Burrows William E 1999 This New Ocean The Story of the First Space Age Modern Library p 432 ISBN 0 375 75485 7 TIME 8 February 1971 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 12 21 subkhnemux 2 January 2013 Solar System Exploration Multimedia Gallery Venera 9 2009 08 03 thi ewyaebkaemchchin NASA website accessed August 7 2009 Burgess Colin Hall Rex 2009 The Intercosmos Programme The First Soviet Cosmonaut Team Springer p 339 ISBN 9780387848242 Soviets Launch World s First Black Cosmonaut 59 4 8 9 October 1980 ISSN 0021 5996 Encyclopedia Astronautica khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 29 November 2010 subkhnemux 15 November 2010 James E Oberg 1981 05 12 Red Star in Orbit ISBN 978 0394514291 MEDIA REPORTS Soviet rocket blast left 48 dead BBC News subkhnemux 2016 01 19 aehlngkhxmulxunSoviet Exploration of Venus Sputnik 50 Years Ago PBS Red Files Korolev Mastermind of the Soviet Space Program 2015 11 29 thi ewyaebkaemchchin Cosmos Family Soviet manned lunar program Russian Space Program The Cosmonautics Memorial Museum in Moscow 2007 10 12 thi ewyaebkaemchchin A youtube channel on the Soviet space program