เวเลนซ์ หรือ เวเลนซี (อังกฤษ: valence or valency) ของธาตุเคมีเป็นการระบุความสามารถของอะตอมในการเกิดเป็นสารประกอบหรือโมเลกุล โดยหลักการเกี่ยวกับเวเลนซีนี้ได้ถูกพัฒนาในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และใช้ในการอธิบายโครงสร้างของสารได้ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับเวเลนซ์จะถูกกล่าวถึงมานานแต่ยังสามารถใช้ได้กับอีกทฤษฎีเกี่ยวกับพันธะเคมี อาทิ ทฤษฎีอะตอมทรงลูกบาศก์ (cubical atom) โครงสร้างลิวอีส (Lewis structures) ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ (valence bond theory; VBT) ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (molecular orbital theory; MOT) ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์ (valence shell electron pair repulsion theory; VSEPR) รวมถึงทฤษฎีควอนตัมสมัยใหม่ เป็นต้น
คำอธิบาย
ความสามารถในการรวมตัวหรือสัมพรรคภาพ (affinity) ของอะตอมสามารถพิจารณาได้จากจำนวนอะตอมไฮโดรเจนที่รวมตัวกับธาตุนั้น ๆ ตัวอย่าง มีเทน (CH4) อะตอมคาร์บอนมีเวเลนซ์เท่ากับ 4 แอมโมเนีย (NH3) อะตอมไนโตรเจนมีเวเลนซ์เท่ากับ 3 น้ำ (H2O) อะตอมออกซิเจนมีเวเลนซ์เท่ากับ 2 และในไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) อะตอมคลอรีนจะมีเวเลนซ์เท่ากับ 1 ในขณะที่ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ (PCl5) อะตอมฟอสฟอรัสมีเวเลนซ์เท่ากับ 5 เป็นต้น แผนภาพเวเลนซ์ (valence diagram) เป็นการแสดงการเชื่อมต่ออะตอมต่างๆโดยใช้เส้นเชื่อมระหว่าง 2 อะตอม (บางครั้งเรียกว่า "พันธะ") ตัวอย่างเวเลนซ์ของอะตอมต่าง ๆ แสดงดังตาราง
สารประกอบ | โพรเพน (C3H8) | อะเซทิลีน (C2H2) | แอมโมเนีย (NH3) | โซเดียมไซยาไนด์ NaCN | ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) | กรดซัลฟิวริก (H2SO4) | ไดคลอรีนเฮปทอกไซด์ (Cl2O7) |
---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนภาพ | |||||||
เวเลนซี่ | คาร์บอน, 4 ไฮโดรเจน, 1 | คาร์บอน, 4 ไฮโดรเจน, 1 | ไนโตรเจน, 3 ไฮโดรเจน, 1 | โซเดียม, 1 คาร์บอน, 4 ไนโตรเจน, 3 | กำมะถัน, 2 ไฮโดรเจน, 1 | กำมะถัน, 6 ออกซิเจน, 2 ไฮโดรเจน, 1 | คลอรีน, 7 ออกซิเจน, 2 |
แนวคิดเกี่ยวกับเวเลนซ์ใช้ในการอธิบายการเชื่อมต่อของอะตอมในโครงสร้างของสารได้แต่ไม่สามารถบอกรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุล และไม่สามารถอธิบายโครงสร้างที่เป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ เช่น โครงข่ายโคเวเลนต์และสารประกอบไอออนิกได้
นิยาม
นิยามตามหนังสือเล่มสีทอง (Gold Book) ของสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) ได้ให้นิยามคำว่าเวเลนซ์ว่า "เวเลนซ์ คือ จำนวนอะตอมยูนิเวเลนซ์ (มีที่มาจากอะตอมไฮโดรเจนหรืออะตอมคลอรีน) สูงสุดที่อาจรวมกับอะตอมหนึ่ง ๆ ของธาตุที่กำลังพิจารณา โดยที่อะตอมของธาตุนั้น ๆ จะสามารถถูกแทนที่ได้"
อย่างไรก็ตาม มีการนิยามคำว่าเวเลนซ์ในหนังสืออื่น ๆเช่น "เวเลนซ์ คือ จำนวนอะตอมไฮโดรเจนที่สามารถรวมตัวกับธาตุหนึ่ง ๆ ในสารประกอบธาตุคู่ไฮไดรด์ (binary hydride) หรือสองเท่าของจำนวนอะตอมออกซิเจนที่รวมกับธาตุนั้น ๆ ในสารประกอบออกไซด์ชนิดหนึ่ง ๆ หรือหลายชนิด" ซึ่งจะเห็นได้ว่านิยามอย่างหลังได้ขยายความอีกนัยหนึ่งว่าเวเลนซ์ของอะตอมธาตุชนิดหนึ่ง ๆ อาจมีได้หลายค่านั่นเอง
เวเลนซ์โดยทั่วไปของธาตุในตารางธาตุ
สำหรับธาตุหมู่หลัก (main groups) เวเลนซ์ของอะตอมอาจจะเป็นไปได้ตั้งแต่ 1 ถึง 7 ดังตาราง
หมู่ | เวเลนซ์ 1 | เวเลนซ์ 2 | เวเลนซ์ 3 | เวเลนซ์ 4 | เวเลนซ์ 5 | เวเลนซ์ 6 | เวเลนซ์ 7 | เวเลนซ์โดยทั่วไป |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | NaCl | 1 | ||||||
2 | MgCl2 | 2 | ||||||
13 | BCl3 , AlCl3 Al2O3 | 3 | ||||||
14 | CO | CH4 | 4 | |||||
15 | NO | NH3 PH3 As2O3 | NO2 | N2O5 PCl5 | 3 และ 5 | |||
16 | H2O H2S | SO2 | SO3 | 2 และ 6 | ||||
17 | HCl | ClO2 | Cl2O7 | 1 และ 7 |
ธาตุในตารางธาตุหลายชนิดโดยเฉพาะธาตุหมู่หลักเราสามารถทำนายเวเลนซีของอะตอมได้จากตำแหน่งในตารางธาตุ เช่น ธาตุหมู่ 1 และ ธาตุหมู่ 17 มีเวเลนซ์โดยทั่วไปเท่ากับ 1 ธาตุหมู่ 2 และธาตุหมู่ 16 มีเวเลนซ์โดยทั่วไปเท่ากับ 2 ธาตุหมู่ 13 และธาตุหมู่ 15 มีเวเลนซ์โดยทั่วไปเท่ากับ 3 เป็นต้น ซึ่งการทำนายนี้เป็นไปตามกฎออกเตต (octet rule) การบอกจำนวนเวเลนซ์โดยทั่วไปมักจะใช้เลขละตินหรือกรีกเป็นคำนำหน้า เช่น ยูนิ-/มอนอ- (uni-/mono-) ไบ-/ได- (bi-/di-) เทอร์-/ไตร- (ter-/tri-) ควอดริ-/เตตระ- (quadri-/tetra-) ควินควิ-/เพนตะ- (quinque-/penta-) แทนเวเลนซ์เท่ากับ 1 2 3 4 และ 5 ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ซัลเฟตไอออน (SO42-) จัดเป็น ไอออนลบไดเวเลนต์ หรือ ไอออนลบไบเวเลนต์ เป็นต้น
เวเลนซ์และสถานะออกซิเดชัน
เนื่องจากความกำกวมของคำว่าเวเลนซ์ การใช้เลขออกซิเดชันในการอ่านชื่อสารแบบสตอก (Stock nomenclature) ของสารประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination compounds) รวมถึงการใช้สัญกรณ์แลมบ์ดา (lambda notation) ในการอ่านชื่อสารอนินทรีย์ จึงจำเป็นต้องแยกความแตกต่างของคำว่า เวเลนซ์ และ สถานะออกซิเดชัน
สถานะออกซิเดชันนั้นพิจารณาการสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอนเมื่ออะตอมเกิดพันธะเคมี โดยพิจารณาประจุได้จากการประมาณแบบไอออนิก (ionic apprximation) ซึ่งพิจารณาการมีส่วนร่วมของแต่ละอะตอมในออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (MO) หรือพิจารณาได้จากค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีแบบอัลเลน (Allen's electronegativity) ซึ่งสถานะออกซิเดชันของอะตอมอาจจะมีค่าเป็นบวกหรือลบ และอาจเป็นจำนวนเต็มหรือไม่ก็ได้ ในขณะที่เวเลนซ์เป็นค่าจำนวนเต็มบวกเท่านั้น
ตัวอย่างสารประกอบที่เวเลนซ์มีค่าตรงกับค่าสัมบูรณ์ของสถานะออกซิเดชัน
สารประกอบ | สูตร | เวเลนซ์ | สถานะออกซิเดชัน |
---|---|---|---|
ไฮโดรเจนคลอไรด์ | HCl | H = 1 Cl = 1 | H = +1 Cl = −1 |
กรดเพอร์คลอริก | HClO4 | H = 1 Cl = 7 O = 2 | H = +1 Cl = +7 O = −2 |
โซเดียมไฮไดรด์ | NaH | Na = 1 H = 1 | Na = +1 H = −1 |
เฟอร์รัสออกไซด์ | FeO | Fe = 2 O = 2 | Fe = +2 O = −2 |
เฟอร์ริกออกไซด์ | Fe2O3 | Fe = 3 O = 2 | Fe = + 3 O = −2 |
ตัวอย่างสารประกอบที่เวเลนซ์มีค่าไม่ตรงกับค่าสัมบูรณ์ของสถานะออกซิเดชัน
สารประกอบ | สูตร | เวเลนซ์ | สถานะออกซิเดชัน |
---|---|---|---|
คลอรีน | Cl2 | Cl = 1 | Cl = 0 |
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ | H2O2 | H = 1 O = 2 | H = +1 O = −1 |
อะเซทิลีน | C2H2 | C = 4 H = 1 | C = −1 H = +1 |
เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์ | Hg2Cl2 | Hg = 2 Cl = 1 | Hg = +1 Cl = −1 |
เวเลนซ์อาจจะแตกต่างจากค่าสัมบูรณ์ของสถานะออกซิเดชันเนื่องจากความแตกต่างของสภาพขั้วของโมเลกุล เช่น ไดคลอโรมีเทน (CH2Cl2) คาร์บอนมีเวเลนซ์เท่ากับ 4 แต่มีสถานะออกซิเดชันเท่ากับ 0 เป็นต้น
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Partington, James Riddick (1921). A text-book of inorganic chemistry for university students (1st ed.)
- IUPAC Compendium of Chemical Terminology, 2nd ed. (the "Gold Book"). Compiled by A. D. McNaught and A. Wilkinson. Blackwell Scientific Publications, Oxford (1997)..
- Greenwood, Norman N.; Earnshaw, Alan (1997). Chemistry of the Elements (2nd ed.). Butterworth-Heinemann. .
- Clugston, M.; Flemming, R. (2000). Advanced Chemistry. Oxford University Press. pp. 214–215. .
- Nomenclature of Inorganic Chemistry (IUPAC Recommendations 2005)
- Karen, Pavel; McArdle, Patrick; Takats, Josef (2014). Toward a comprehensive definition of oxidation state (IUPAC Technical Report). Pure and Applied Chemistry 86 (6).
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ewelns hrux ewelnsi xngkvs valence or valency khxngthatuekhmiepnkarrabukhwamsamarthkhxngxatxminkarekidepnsarprakxbhruxomelkul odyhlkkarekiywkbewelnsiniidthukphthnainkhrunghlngkhxngkhriststwrrsthi 19 aelaichinkarxthibayokhrngsrangkhxngsaridthngsarxinthriyaelasarxninthriy aemwaaenwkhidekiywkbewelnscathukklawthungmananaetyngsamarthichidkbxikthvsdiekiywkbphnthaekhmi xathi thvsdixatxmthrnglukbask cubical atom okhrngsrangliwxis Lewis structures thvsdiphnthaewelns valence bond theory VBT thvsdixxrbithlechingomelkul molecular orbital theory MOT thvsdikarphlkknkhxngkhuxielktrxnwngewelns valence shell electron pair repulsion theory VSEPR rwmthungthvsdikhwxntmsmyihm epntnkhaxthibaykhwamsamarthinkarrwmtwhruxsmphrrkhphaph affinity khxngxatxmsamarthphicarnaidcakcanwnxatxmihodrecnthirwmtwkbthatunn twxyang miethn CH4 xatxmkharbxnmiewelnsethakb 4 aexmomeniy NH3 xatxminotrecnmiewelnsethakb 3 na H2O xatxmxxksiecnmiewelnsethakb 2 aelainihodrecnkhlxird HCl xatxmkhlxrincamiewelnsethakb 1 inkhnathifxsfxrsephnthxkisd PCl5 xatxmfxsfxrsmiewelnsethakb 5 epntn aephnphaphewelns valence diagram epnkaraesdngkarechuxmtxxatxmtangodyichesnechuxmrahwang 2 xatxm bangkhrngeriykwa phntha twxyangewelnskhxngxatxmtang aesdngdngtarang sarprakxb ophrephn C3H8 xaesthilin C2H2 aexmomeniy NH3 osediymisyaind NaCN ihodrecnslifd H2S krdslfiwrik H2SO4 idkhlxrinehpthxkisd Cl2O7 aephnphaphewelnsi kharbxn 4 ihodrecn 1 kharbxn 4 ihodrecn 1 inotrecn 3 ihodrecn 1 osediym 1 kharbxn 4 inotrecn 3 kamathn 2 ihodrecn 1 kamathn 6 xxksiecn 2 ihodrecn 1 khlxrin 7 xxksiecn 2 aenwkhidekiywkbewelnsichinkarxthibaykarechuxmtxkhxngxatxminokhrngsrangkhxngsaridaetimsamarthbxkrupranghruxrupthrngerkhakhnitkhxngomelkul aelaimsamarthxthibayokhrngsrangthiepnokhrngkhaykhnadihy echn okhrngkhayokhewelntaelasarprakxbixxxnikidniyamniyamtamhnngsuxelmsithxng Gold Book khxngshphaphekhmibrisuththiaelaekhmiprayuktrahwangpraeths IUPAC idihniyamkhawaewelnswa ewelns khux canwnxatxmyuniewelns mithimacakxatxmihodrecnhruxxatxmkhlxrin sungsudthixacrwmkbxatxmhnung khxngthatuthikalngphicarna odythixatxmkhxngthatunn casamarththukaethnthiid xyangirktam mikarniyamkhawaewelnsinhnngsuxxun echn ewelns khux canwnxatxmihodrecnthisamarthrwmtwkbthatuhnung insarprakxbthatukhuihidrd binary hydride hruxsxngethakhxngcanwnxatxmxxksiecnthirwmkbthatunn insarprakxbxxkisdchnidhnung hruxhlaychnid sungcaehnidwaniyamxyanghlngidkhyaykhwamxiknyhnungwaewelnskhxngxatxmthatuchnidhnung xacmiidhlaykhannexngewelnsodythwipkhxngthatuintarangthatusahrbthatuhmuhlk main groups ewelnskhxngxatxmxaccaepnipidtngaet 1 thung 7 dngtarang hmu ewelns 1 ewelns 2 ewelns 3 ewelns 4 ewelns 5 ewelns 6 ewelns 7 ewelnsodythwip1 NaCl 12 MgCl2 213 BCl3 AlCl3 Al2O3 314 CO CH4 415 NO NH3 PH3 As2O3 NO2 N2O5 PCl5 3 aela 516 H2O H2S SO2 SO3 2 aela 617 HCl ClO2 Cl2O7 1 aela 7 thatuintarangthatuhlaychnidodyechphaathatuhmuhlkerasamarththanayewelnsikhxngxatxmidcaktaaehnngintarangthatu echn thatuhmu 1 aela thatuhmu 17 miewelnsodythwipethakb 1 thatuhmu 2 aelathatuhmu 16 miewelnsodythwipethakb 2 thatuhmu 13 aelathatuhmu 15 miewelnsodythwipethakb 3 epntn sungkarthanayniepniptamkdxxkett octet rule karbxkcanwnewelnsodythwipmkcaichelkhlatinhruxkrikepnkhanahna echn yuni mxnx uni mono ib id bi di ethxr itr ter tri khwxdri ettra quadri tetra khwinkhwi ephnta quinque penta aethnewelnsethakb 1 2 3 4 aela 5 tamladb twxyangechn sleftixxxn SO42 cdepn ixxxnlbidewelnt hrux ixxxnlbibewelnt epntnewelnsaelasthanaxxksiedchnenuxngcakkhwamkakwmkhxngkhawaewelns karichelkhxxksiedchninkarxanchuxsaraebbstxk Stock nomenclature khxngsarprakxbokhxxrdienchn coordination compounds rwmthungkarichsykrnaelmbda lambda notation inkarxanchuxsarxninthriy cungcaepntxngaeykkhwamaetktangkhxngkhawa ewelns aela sthanaxxksiedchn sthanaxxksiedchnnnphicarnakarsuyesiyhruxidrbxielktrxnemuxxatxmekidphnthaekhmi odyphicarnapracuidcakkarpramanaebbixxxnik ionic apprximation sungphicarnakarmiswnrwmkhxngaetlaxatxminxxrbithlechingomelkul MO hruxphicarnaidcakkhaxielkotrenkathiwitiaebbxleln Allen s electronegativity sungsthanaxxksiedchnkhxngxatxmxaccamikhaepnbwkhruxlb aelaxacepncanwnetmhruximkid inkhnathiewelnsepnkhacanwnetmbwkethann twxyangsarprakxbthiewelnsmikhatrngkbkhasmburnkhxngsthanaxxksiedchn sarprakxb sutr ewelns sthanaxxksiedchnihodrecnkhlxird HCl H 1 Cl 1 H 1 Cl 1krdephxrkhlxrik HClO4 H 1 Cl 7 O 2 H 1 Cl 7 O 2osediymihidrd NaH Na 1 H 1 Na 1 H 1efxrrsxxkisd FeO Fe 2 O 2 Fe 2 O 2efxrrikxxkisd Fe2O3 Fe 3 O 2 Fe 3 O 2twxyangsarprakxbthiewelnsmikhaimtrngkbkhasmburnkhxngsthanaxxksiedchn sarprakxb sutr ewelns sthanaxxksiedchnkhlxrin Cl2 Cl 1 Cl 0ihodrecnephxrxxkisd H2O2 H 1 O 2 H 1 O 1xaesthilin C2H2 C 4 H 1 C 1 H 1emxrkhiwri I khlxird Hg2Cl2 Hg 2 Cl 1 Hg 1 Cl 1 ewelnsxaccaaetktangcakkhasmburnkhxngsthanaxxksiedchnenuxngcakkhwamaetktangkhxngsphaphkhwkhxngomelkul echn idkhlxormiethn CH2Cl2 kharbxnmiewelnsethakb 4 aetmisthanaxxksiedchnethakb 0 epntnduephimsthanaxxksiedchn ewelnsxielktrxn omelkulihephxrewelntxangxingPartington James Riddick 1921 A text book of inorganic chemistry for university students 1st ed IUPAC Compendium of Chemical Terminology 2nd ed the Gold Book Compiled by A D McNaught and A Wilkinson Blackwell Scientific Publications Oxford 1997 ISBN 0 9678550 9 8 Greenwood Norman N Earnshaw Alan 1997 Chemistry of the Elements 2nd ed Butterworth Heinemann ISBN 0 08 037941 9 Clugston M Flemming R 2000 Advanced Chemistry Oxford University Press pp 214 215 ISBN 978 0199146338 Nomenclature of Inorganic Chemistry IUPAC Recommendations 2005 Karen Pavel McArdle Patrick Takats Josef 2014 Toward a comprehensive definition of oxidation state IUPAC Technical Report Pure and Applied Chemistry 86 6