บทความนี้ไม่มีจาก |
วิวัฒนาการเงินตราไทย เริ่มตั้งแต่กลุ่มชนดั้งเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ราว 38,000 ปีมาแล้ว ก่อนจะได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียนั้น กลุ่มชนเหล่านี้ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยใช้สิ่งของเป็นสื่อกลาง เมื่อวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาจึงเริ่มผลิตเงินตราเป็นสื่อกลางค้าขาย
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-16 ในวัฒนธรรมแบบฟูนัน-ทวารวดี ได้ผลิตเหรียญกลมแบนจากโลหะเงิน ดีบุก ทองแดง โดยใช้แม่พิมพ์ตราสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น พระอาทิตย์ สังข์ แพะ ปูรณกลศ ตัวอักษร เป็นต้น ซึ่งสื่อถึงความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ อำนาจรัฐ กษัตริย์ และความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเป็นเมืองท่าค้าขายบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยมีอำนาจควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเล มีการผลิตเงินดอกจันทน์และเงินนโม เพื่อระบบเศรษฐกิจอย่างแพร่หลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรสุโขทัยและล้านนาก็ถือกำเนิดขึ้นและได้ติดต่อค้าขายกับราชอาณาจักรในลุ่มเจ้าพระยา คือ กรุงศรีอยุธยา ตลอดจนดำเนินการค้าทางทะเลกับจีน อินเดีย ยุโรป และได้ติดต่อค้าขายกับกลุ่มชนทางตอนเหนือของไทย เช่น ล้านช้าง ยูนาน น่านเจ้า เป็นต้น และไปไกลถึงเปอร์เซีย อาหรับ ในดินแดนตะวันออกกลาง
ราชอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา กรุงศรีอยุธยา ได้ผลิตคิดค้นเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ พร้อมกันนั้นก็ยอมรับเงินตราของต่างชาติด้วย เงินตราที่ใช้ในอาณาจักรล้านนา ได้แก่ เงินไซซี เงินกำไล เงินเจียง เงินท้อก เงินดอกไม้ ส่วนราชอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาได้ผลิตเงินพดด้วง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นใช้ และใช้เบี้ยหอยแทนเงินปลีกย่อย บางครั้งเบี้ยหอยขาดแคลนก็ได้ผลิตเบี้ยโลหะและประกับดินเผาขึ้นใช้ร่วมด้วย
ภายหลังราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสลายลง กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ถือกำเนิดขึ้นตามลำดับ ก็ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 การเปิดประเทศสยามสู่อารยประเทศ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเงินตราให้เป็นสากล นำไปสู่การผลิตเงินตราในลักษณะเหรียญกลมแบนออกใช้เป็นครั้งแรก ต่อมารัชกาลที่ 5 จึงทรงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง นับตั้งแต่นั้นเงินตราไทยจึงคงเป็นลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์เงินไทย
ประวัติหน่วยเงินในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อชุมชนขยายตัวในดินแดนที่เป็นแหลมอินโดจีนในปัจจุบัน หรือที่เรียกกันในสมัยก่อนว่า "สุวรรณภูมิ" ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนหลายเชื้อชาตินับตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ มีสร้างเมือง เขตแคว้นและพัฒนามาเป็นราชอาณาจักร โดยเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป และเงินตราไทยเริ่มมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนเมื่ออาณาจักรสุโขทัยเรืองอำนาจ โดยได้ผลิตเงินตราที่ทำขึ้นจากโลหะเงิน มีสัณฐานกลม เรียกว่า “เงินพดด้วง” ออกใช้ และสืบทอดสู่ยุคกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เงินพดด้วงเป็นเงินตราประจำชาติไทยมายาวนานกว่า 600 ปี ก่อนที่จะมีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้เป็นเงินตราจนกระทั่งทุกวันนี้
สมัยอาณาจักรฟูนัน
อาณาจักรฟูนันเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองทางการค้าขายและมีอำนาจในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 – 11 อาณาจักรฟูนันได้รับเอาวัฒนธรรมมาจากอินเดียที่เด่นชัด ได้แก่ การปกครองในระบอบกษัตริย์ และศาสนาพราหมณ์ ทำให้เงินตราที่ชาวฟูนันใช้ในการค้าขาย มีสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ การปกครองและศาสนา มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะเงิน ลวดลายของเหรียญที่พบด้านหนึ่งเป็นรูปพระอาทิตย์ครึ่งดวงแผ่รัศมี มีจุดไข่ปลาเรียง 2 แถว อีกด้านมีสัญลักษณ์ศรีวัตสะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์อยู่ตรงกลาง ข้างหนึ่งของศรีวัตสะเป็นบัณเฑาะว์ หมายถึง กลองเล็กชนิดหนึ่งที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่าง ๆ อีกข้างหนึ่งเป็นเครื่องหมายสวัสดิกะ ส่วนบนสุดของเหรียญเป็นรูปดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ลวดลายที่ปรากฏบนเหรียญแสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ของชาวอินเดียโบราณ
สมัยอาณาจักรทวารวดี
เมื่ออาณาจักรฟูนันได้ล่มสลายลง ได้มีแคว้นและอาณาจักรหลายแห่งตั้งตัวเป็นอิสระและผลัดเปลี่ยนกันครองอำนาจ รวมทั้งดินแดนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณภาคกลาง ได้แก่ เมืองนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอาณาจักรทวารวดี และมีความรุ่งเรืองอย่างมาก ในพุทธศตวรรษที่ 11 -16 โดยยังคงสืบทอดการปกครองในระบอบกษัตริย์ และในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ขอมเรืองอำนาจ อาณาจักรทวารวดีจึงรับเอาความเชื่อจากขอมไว้ด้วย เงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการค้าขายจึงมีลวดลายและสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ อำนาจรัฐ และความอุดมสมบูรณ์ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ
เหรียญทวารวดีที่สำคัญคือ เหรียญรูปสังข์ใหญ่ รูปสังข์เล็ก รูปกระต่ายบนดอกบัว และรูปแพะ รอบขอบเหรียญมีจุดไข่ปลา อีกด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์ ศรีวัตสะ ขนาบข้างด้วยอังกุศ (ขอช้าง) ด้านบนมีรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์ ด้านล่างมีรูปปลา นอกจากนี้มีการค้นพบเหรียญที่มีลักษณะกลมแบน มีลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปปูรณกลศ (หม้อน้ำ) รูปธรรมจักร รูปวัว อีกด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตโบราณ เป็นต้น
สมัยอาณาจักรศรีวิชัย
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 การค้าทางทะเลมีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้เมืองที่อยู่บนคาบสมุทรมลายู ได้แก่ ไชยา และนครศรีธรรมราช มีความสำคัญมากขึ้น จนในที่สุดดินแดนแถบนี้จนถึงเกาะสุมาตราได้รวมตัวกันเป็นอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีระบบการปกครองในระบอบกษัตริย์ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน และเนื่องจากมีความสามารถทางด้านการค้าขาย จึงมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันมาก หลักฐานการขุดพบสื่อกลางหรือเงินตราในอาณาจักรแห่งนี้มี 2 ประเภท คือ “เงินดอกจัน” ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างกลมแบน ทำด้วยโลหะเงินและทองคำ ด้านหนึ่งเป็นตรา 4 แฉก ส่วนอีกด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตโบราณอ่านได้ว่า “วร” แปลว่า “ประเสริฐ” อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “เงินนโม” มีลักษณะค่อนข้างกลมแบน มีขนาดเล็ก ด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตโบราณคล้ายอักษร “น” ส่วนอีกด้านหนึ่งมีรอยบากเป็นร่องตรงกลาง ทำจากแร่เงินผสมพลวงซึ่งเป็นแร่ที่หาได้ง่ายทางภาคใต้ ด้วยเหตุที่ประชาชนในบริเวณนี้นับถือศาสนาพุทธ จึงได้ตั้งชื่อเงินตราที่มีอักษร “น” ว่า “เงินนโม”
สมัยอาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยมีอำนาจและพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีการขยายอาณาเขตลงไปทางใต้จนตลอดแหลมมลายู รวมทั้งมีการผลิตถ้วยชาม และเครื่องปั้นดินเผาที่สวยงามและมีคุณภาพ เรียกว่า “สังคโลก” ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของสุโขทัย
การค้าขายในอาณาจักรสุโขทัยพบว่ามีการใช้สื่อกลางการแลกเปลี่ยนรูปแบบต่าง ๆ แต่สื่อกลางการแลกเปลี่ยนที่เป็นเอกลักษณ์ คือ “เงินพดด้วง” ซึ่งนับเป็นเงินตราไทยโดยแท้และใช้แลกเปลี่ยนหมุนเวียนมายาวนานกว่า 600 ปี พดด้วงที่ใช้ในรัชสมัยนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลม ทำด้วยโลหะเงิน ปลายขางอเข้าหากันเป็นปลายแหลม มีรูขนาดใหญ่ระหว่างขา มีตราประทับเพื่อแสดงถึงแหล่งผลิตตั้งแต่ 1 ตรา ไปจนถึง 7 ตราส่วนใหญ่ตราที่พบได้แก่ ตราราชสีห์ ช้าง หอยสังข์ ธรรมจักร บัว กระต่าย และราชวัตร
นอกจากนี้ ยังพบว่าในสมัยสุโขทัยมีการนำโลหะชนิดอื่นซึ่งไม่ใช่โลหะเงิน เช่น ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี มาหลอมให้มีลักษณะคล้ายพดด้วงแต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกแตกต่างกัน เช่น พดด้วงชิน เงินคุบ เงินชุบ หรือเงินคุก รวมทั้งการใช้เบี้ยเป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำด้วย
สมัยอาณาจักรอยุธยา
เงินตราหลักที่ใช้ยังคงเป็นพดด้วงเช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สวยงามและมีขนาดเล็กกะทัดรัดขึ้น ปลายขาสั้นและไม่ชิดกันเหมือนของสุโขทัย รวมทั้งมีการทำรอยบากให้เล็กลงและตื้นขึ้น และเริ่มมีรอยเมล็ดข้าวสารมาแทนที่ เงินพดด้วงในสมัยนี้มีตราประทับเพียง 2 ตรา โดยตราที่ประทับอยู่ด้านบนคือ ตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาลลักษณะต่าง ๆ เช่น ตราพุ่มข้าวบิณฑ์ ตราพระมหานครินทร์ ตราช่อดอกไม้ ตราช่ออุทุมพร ตราราชวัตร ตราช้าง และตราสังข์ เป็นต้น
สมัยกรุงธนบุรี
เงินตราที่ใช้ในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้พดด้วงของอยุธยาอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาได้ผลิตพดด้วงประจำรัชกาลออกใช้ มีลักษณะเช่นเดียวกับพดด้วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ประทับตราพระแสงจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาลนั้นใช้ ตราตรีศูล และตราทวิวุธ
สมัยรัชกาลที่ 1 - 3
ในสมัยรัชกาลที่ 1 – 3 เงินตราหลักที่ใช้ยังคงเป็นเงินพดด้วง เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงตราประจำรัชกาลที่ใช้ประทับเท่านั้น โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้มีการผลิตพดด้วง ประทับตรา “บัวอุณาโลม” ซึ่งเป็นเครื่องหมายประจำรัชกาล และตราพระแสงจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน มีขนาดและราคาต่าง ๆ เช่น ตำลึง บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการผลิตพดด้วงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยรัชกาลที่ 1 โดยเปลี่ยนตราประจำรัชกาลเป็นรูป “ครุฑ” สืบเนื่องจากพระนามเดิมของพระองค์ คือ “ฉิม” อันหมายถึงฉิมพลี ซึ่งเป็นวิมานของพญาครุฑ และสำหรับพดด้วงที่ผลิตขึ้นใช้ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับตราพระแสงจักร
สมัยรัชกาลที่ 4
สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เงินตราหลักในช่วงต้นรัชกาลยังคงเป็นเงินพดด้วงประทับตราพระแสงจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน และเปลี่ยนตราประจำรัชกาล เป็น “ตรามงกุฎ” มีความหมายสืบเนื่องถึงพระนามเดิมของพระองค์ คือ “เจ้าฟ้ามงกุฎ”
ขณะนั้นประเทศไทยประสบปัญหาการผลิตพดด้วงไม่ทันต่อความต้องการและมีผู้ทำปลอมกันมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้แก้ไขโดยให้ผลิตเงินกระดาษ เรียกว่า “หมาย” ซึ่งใช้วิธีการพิมพ์บนกระดาษอย่างง่าย ๆ ออกใช้ควบคู่กับเงินพดด้วง แต่เงินกระดาษรุ่นนี้ราษฎรไม่นิยมใช้ และถือได้ว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเงินตราครั้งใหญ่ของไทย จากเงินพดด้วงที่ใช้กันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นเหรียญกลมแบน รวมทั้งนับเป็นจุดกำเนิดของธนบัตรไทยในภายหลัง
ในปี พ.ศ. 2400 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรได้จัดส่งเครื่องผลิตเหรียญกษาปณ์ขนาดเล็กเข้ามาถวายเป็นราชบรรณาการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า “เหรียญบรรณาการ” แต่เนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดเล็กผลิตเหรียญได้เพียงวันละเล็กน้อย จึงโปรดให้เลิกใช้ในที่สุด ประกอบกับได้รับเครื่องผลิตเหรียญกษาปณ์แรงดันไอน้ำมาใหม่ จึงโปรดให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “โรงกระสาปน์สิทธิการ” เงินเหรียญชุดแรกที่ผลิตจากเครื่องจักรนี้ มีลักษณะคล้ายกับเหรียญชุดบรรณาการและให้ใช้ควบคู่ไปกับพดด้วง แต่ห้ามไม่ให้ผลิตพดด้วงเพิ่มขึ้นอีก
นอกจากนั้นในสมัยนี้ยังได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกขึ้นเป็นครั้งแรก คือ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรามหามงกุฎ - กรุงสยาม หรือที่นิยมเรียกว่า “เหรียญแต้เม้ง” เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมายุครบ 5 รอบ เมื่อ พ.ศ. 2407 มี 2 ชนิด คือ ชนิดทองคำ ราคา 4 บาท และชนิดเงิน ราคา 4 บาท
ส่วนการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลให้มีเงินต่างประเทศเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยมาก พอรัฐบาลให้ราษฎรใช้เงินเหรียญ ต่างก็เอาเงินบาทไปซ่อนไม่ยอมเอามาเสียภาษี ส่งผลให้เกิดการตัดขัดทางการค้าในช่วง พ.ศ. 2399-2400 รัฐบาลให้ช่างไปช่วยกงสุลอังกฤษและสหรัฐอเมริกาผลิตเงินเหรียญ ไม่พอผลิตเงินบาท จึงให้คณะทูตที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีซื้อเครื่องจักรทำเงินเหรียญมาด้วย พอติดตั้งแล้วก็ผลิตเงินแบบเงินเหรียญ เรียกว่า "เงินแป" เงินแปมีตั้งแต่บาทหนึ่ง สองสลึง สลึงและเฟื้อง มีตราหน้าหนึ่งรูปพระมหาพิไชยมงกุฎอยู่กล้าง มีฉัตรอยู่สองข้าง มีกิ่งไม้เป็นเปลวแทกรอยู่ในท้องลาย อีกหน้าหนึ่งมีรูปจักร ใจกลางมีรูปช้าง รอบวงจักรชั้นนอกมีดาวแสดงมูลค่าของเงิน นอกจากนี้ยังผลิตเงินออกมาอีกแบบหนึ่ง ทำจากทองคำ มีราคาสิบสลึง ต่อมาก็ได้ผลิตเงินทำจากทองแดงออกมาอีกสองชนิด คือ ซีก และเสี้ยว
สมัยรัชกาลที่ 5
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระยะแรกได้มีการผลิตเหรียญดีบุกโสฬสออกใช้ในรัชกาล ด้านหน้าเป็นตราพระเกี้ยวหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตราพระจุลมงกุฎ อันเป็นตราประจำรัชกาลของพระองค์ ด้านหลังเป็นรูปช้างในวงจักร
ในปี พ.ศ. 2418 ได้โปรดให้สร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ขึ้น พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องจักรใหม่ที่มีกำลังผลิตและประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม และได้เริ่มผลิตเหรียญเงิน ตราพระบรมรูป- ตราอาร์ม (ตราแผ่นดิน) ซึ่งนับเป็นเหรียญรุ่นแรกที่มีพระบรมรูปพระมหากษัตริย์บนหน้าเหรียญตามแบบสากลนิยมและได้ถือปฏิบัติมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังทรงปฏิรูประบบเงินตราครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการปรับเปลี่ยนหน่วยเงินตราของไทยที่มีมาแต่เดิมจากหน่วยเรียกตามน้ำหนัก ได้แก่ ทศ พิศ พัดดึงส์ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส ซึ่งเป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณและการจัดทำบัญชี ด้วยการนำเอาระบบทศนิยมตามแบบสากลมาใช้ คือหน่วยเงินบาท และสตางค์ อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับเงินพดด้วงซึ่งได้หยุดผลิตตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา แต่ยังไม่มีการประกาศยกเลิกใช้อย่างเป็นทางการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นอีก 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีศพพระองค์หญิงเจริญกมลศุขสวัสดิ์ พระราชธิดาองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 2 เนื่องในการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระเทพสิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนี และในวันที่ 28 ตุลาคม 2447 ได้มีการประกาศยกเลิกการใช้พดด้วงทุกชนิดราคา หลังจากที่ได้ใช้มาเป็นเวลานานกว่า 6 ศตวรรษ ซึ่งนับว่าเป็นยุคสิ้นสุดของเงินพดด้วงอย่างแท้จริง
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้โรงกษาปณ์ปารีส ผลิตเหรียญตราพระบรมรูป-ไอราพต เพื่อนำออกใช้หมุนเวียนแทนเงินตรารุ่นเก่า แต่ยังไม่ทันออกใช้พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นที่ระลึกในงานพระเมรุพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาเหรียญดังกล่าวได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนอย่างมาก และนิยมเรียกว่า “เหรียญหนวด”
สมัยรัชกาลที่ 6 - 8
ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 8 เป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อันเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนั้นยังเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสำคัญของประเทศไทย
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เงินตราที่ใช้ในช่วงต้นรัชกาลยังคงเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงทรงให้กรมกระสาปน์สิทธิการผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดเงินราคาหนึ่งบาท ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังเป็นรูปไอราพตออกใช้หมุนเวียน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการผลิตเหรียญประจำรัชกาลออกใช้ เป็นเหรียญกษาปณ์เงินพระบรมรูป ชนิดราคา 50 สตางค์ และ 25 สตางค์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีการผลิตเหรียญชนิดราคา 50 สตางค์ 25 สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ ออกใช้หมุนเวียนในรัชกาล 2 รุ่น รุ่นแรกมีพระบรมรูปขณะทรงพระเยาว์ประทับด้านหน้า ส่วนด้านหลังเป็นพระครุฑพ่าห์ รุ่นที่สองมีลักษณะด้านหน้าและด้านหลังเหมือนกับรุ่นแรก แต่พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเปลี่ยนเป็นพระบรมรูปเมื่อครั้งเจริญพระชนมพรรษา
สมัยรัชกาลที่ 9
ในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นแรกออกใช้ เป็นเหรียญอะลูมิเนียมบรอนซ์ หรือทองแดง ชนิดราคา 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ และ 50 สตางค์ ลวดลายด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชด้านหลังเป็นตราแผ่นดินของไทย
และในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการปรับเปลี่ยนการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนครั้งใหญ่ทุกชนิดราคา ทั้งส่วนผสม ขนาด และรูปแบบ รวมทั้งได้กำหนดให้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 10 บาท และ 10 สตางค์ ขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่นำออกใช้มี 8 ชนิดราคา ได้แก่ ชนิดราคา 10 บาท 5 บาท 1 บาท 50 สตางค์ 25 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ และในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ชนิดราคา 2 บาท ออกใช้เพิ่มขึ้นอีก 1 ชนิดราคา ทำให้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ออกใช้ในปัจจุบันมี 9 ชนิดราคาด้วยกัน แต่เหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ ไม่ได้นำออกใช้หมุนเวียนในชีวิตประจำวัน หากแต่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในระบบบัญชีเท่านั้น
นอกจากนั้นยังมีการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกขึ้นในโอกาสและเหตุการณ์สำคัญ ๆ โดยมีสภาพเป็นเงินตราสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมายตามราคาที่ปรากฏบนหน้าเหรียญ โดยเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ผลิตเป็นเหรียญแรกในรัชสมัยนี้ คือ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเสด็จนิวัตพระนคร ซึ่งผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จนิวัตพระนครหลังจากเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในภาคพื้นยุโรป เป็นเหรียญชนิดนิกเกิล ราคา 1 บาท มีลวดลายด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งนับเป็นเหรียญแรกที่ปรากฏพระรูปเจ้านายฝ่ายหญิงบนเหรียญกษาปณ์ไทย ส่วนด้านหลังมีตราอาร์มและข้อความบอกราคา
ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการทดลองผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดพิเศษซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมเหรียญทั่วโลก เป็นเหรียญขัดเงา (Proof Coin) ขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเฉพาะราชวงศ์ ไม่ได้นำออกจ่ายแลกให้กับประชาชนทั่วไป จนกระทั่งในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา 12 สิงหาคม 2535 จึงได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกประเภทขัดเงาให้ประชาชนแลกซื้อได้เป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงได้มีการผลิตเหรียญประเภทขัดเงาควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศด้วย
และในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งนับเป็นปีแห่งการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสดังกล่าว กรมธนารักษ์ได้มีการผลิตเหรียญประเภทขัดเงาและลงสีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้สั่งผลิตเหรียญที่ใช้เทคนิคการพิมพ์สีลงบนโลหะเงินบริสุทธิ์จาก ประเทศออสเตรเลีย ในการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสที่สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของการผลิตเหรียญกษาปณ์ไทย
อ้างอิง
- ชัย เรืองศิลป์ (2541). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. 2352-2453 ด้านเศรษฐกิจ. ไทยวัฒนาพานิช. . หน้า 184-185.
- ชัย เรืองศิลป์ (2541). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. 2352-2453 ด้านเศรษฐกิจ. ไทยวัฒนาพานิช. . หน้า 186.
- หนังสือวิวัฒนาการเงินตราไทย,กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง,จัดทำ และพิมพ์ บริษัท ดาวฤกษ์ จำกัด, 2545
ดูเพิ่ม
โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
แหล่งข้อมูลอื่น
- http://emuseum.treasury.go.th/th/home/ 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักกษาปณ์
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir wiwthnakarengintraithy erimtngaetklumchndngediminsmykxnprawtisastridxasyxyuindinaednthiepnpraethsithyinpccubntngaetraw 38 000 pimaaelw kxncaidrbwthnthrrmcakxinediynn klumchnehlanitidtxkhakhayaelkepliynsinkhakn odyichsingkhxngepnsuxklang emuxwthnthrrmxinediyaephrekhamacungerimphlitengintraepnsuxklangkhakhaywiwthnakarengintraithyinxdit chwngphuththstwrrsthi 6 16 inwthnthrrmaebbfunn thwarwdi idphlitehriyyklmaebncakolhaengin dibuk thxngaedng odyichaemphimphtrasylksntang echn phraxathity sngkh aepha purnkls twxksr epntn sungsuxthungkhwamechuxthangsasnaphrahmn xanacrth kstriy aelakhwammngkhngxudmsmburn chwngphuththstwrrsthi 13 18 xanackrsriwichy sungepnemuxngthakhakhaybriewnkhabsmuthrphakhitkhxngithymixanackhwbkhumesnthangkarkhathangthael mikarphlitengindxkcnthnaelaenginnom ephuxrabbesrsthkicxyangaephrhlay rawphuththstwrrsthi 19 rachxanackrsuokhthyaelalannakthuxkaenidkhunaelaidtidtxkhakhaykbrachxanackrinlumecaphraya khux krungsrixyuthya tlxdcndaeninkarkhathangthaelkbcin xinediy yuorp aelaidtidtxkhakhaykbklumchnthangtxnehnuxkhxngithy echn lanchang yunan naneca epntn aelaipiklthungepxresiy xahrb indinaedntawnxxkklang rachxanackrsuokhthy lanna krungsrixyuthya idphlitkhidkhnengintrakhunichinrabbesrsthkic phrxmknnnkyxmrbengintrakhxngtangchatidwy engintrathiichinxanackrlanna idaek enginissi enginkail engineciyng enginthxk engindxkim swnrachxanackrsuokhthyaelaxyuthyaidphlitenginphddwng sungmilksnaechphaakhxngtnexngkhunich aelaichebiyhxyaethnenginplikyxy bangkhrngebiyhxykhadaekhlnkidphlitebiyolhaaelaprakbdinephakhunichrwmdwy phayhlngrachxanackrkrungsrixyuthyaslaylng krungthnburiaelartnoksinthrthuxkaenidkhuntamladb kyngkhngichenginphddwngechnkhrngkrungsrixyuthya cnkrathngthungrchkalthi 4 karepidpraethssyamsuxarypraeths mikhwamcaepntxngprbepliynrupaebbengintraihepnsakl naipsukarphlitengintrainlksnaehriyyklmaebnxxkichepnkhrngaerk txmarchkalthi 5 cungthrngprakasykelikkarichenginphddwng nbtngaetnnengintraithycungkhngepnlksnaepnehriyyklmaebntxenuxngmacnthung pccubnprawtisastrenginithyprawtihnwyengininpraethsithyerimkhunemuxchumchnkhyaytwindinaednthiepnaehlmxinodcininpccubn hruxthieriykkninsmykxnwa suwrrnphumi sungepnthitngthinthankhxngchnhlayechuxchatinbtngaetkxnprawtisastr misrangemuxng ekhtaekhwnaelaphthnamaepnrachxanackr odyengintrathiichepnsuxklanginkaraelkepliyncamirupaebbthiaetktangknxxkip aelaengintraithyerimmiexklksnthichdecnemuxxanackrsuokhthyeruxngxanac odyidphlitengintrathithakhuncakolhaengin misnthanklm eriykwa enginphddwng xxkich aelasubthxdsuyukhkrungsrixyuthya krungthnburi aelakrungrtnoksinthrtxntn enginphddwngepnengintrapracachatiithymayawnankwa 600 pi kxnthicamikarphlitehriyyksapnxxkichepnengintracnkrathngthukwnni enginphddwngsmykrungsrixyuthyainhnngsux Histoire generale des voyages khxng xaeb ephrwxst aedksil frngess Abbe Antoine Francois Prevost d Exiles bathhlwngchawfrngessthiekhamaphankinkrungsrixyuthyainrchsmysmedcphraecaxyuhwbrmokssmyxanackrfunn xanackrfunnepnxanackrthimikhwamrungeruxngthangkarkhakhayaelamixanacinrahwangphuththstwrrsthi 6 11 xanackrfunnidrbexawthnthrrmmacakxinediythiednchd idaek karpkkhrxnginrabxbkstriy aelasasnaphrahmn thaihengintrathichawfunnichinkarkhakhay misylksnekiywkbkstriy karpkkhrxngaelasasna milksnaepnehriyyklmaebn swnihythadwyolhaengin lwdlaykhxngehriyythiphbdanhnungepnrupphraxathitykhrungdwngaephrsmi micudikhplaeriyng 2 aethw xikdanmisylksnsriwtsa sungepnsylksnkhxngphranaraynxyutrngklang khanghnungkhxngsriwtsaepnbnethaaw hmaythung klxngelkchnidhnungthiphrahmnichinphithitang xikkhanghnungepnekhruxnghmayswsdika swnbnsudkhxngehriyyepnrupdwngxathityaeladwngcnthr lwdlaythipraktbnehriyyaesdngihehnthungkhtikhwamechuxthangsasnaphrahmnkhxngchawxinediyobran smyxanackrthwarwdi emuxxanackrfunnidlmslaylng idmiaekhwnaelaxanackrhlayaehngtngtwepnxisraaelaphldepliynknkhrxngxanac rwmthngdinaedninlumnaecaphrayabriewnphakhklang idaek emuxngnkhrpthm rachburi suphrrnburi idrwmtwknkhunepnxanackrthwarwdi aelamikhwamrungeruxngxyangmak inphuththstwrrsthi 11 16 odyyngkhngsubthxdkarpkkhrxnginrabxbkstriy aelainkhnannepnchwngewlathikhxmeruxngxanac xanackrthwarwdicungrbexakhwamechuxcakkhxmiwdwy engintrathiichepnsuxklanginkarkhakhaycungmilwdlayaelasylksnekiywkbkstriy xanacrth aelakhwamxudmsmburn tamkhwamechuxkhxngsasnaphrahmnaelasasnaphuthth ehriyythwarwdithisakhykhux ehriyyrupsngkhihy rupsngkhelk rupkrataybndxkbw aelarupaepha rxbkhxbehriyymicudikhpla xikdanhnungmisylksn sriwtsa khnabkhangdwyxngkus khxchang danbnmirupphraxathityaelaphracnthr danlangmiruppla nxkcaknimikarkhnphbehriyythimilksnaklmaebn milwdlaytang echn ruppurnkls hmxna rupthrrmckr rupww xikdanhnungmixksrsnskvtobran epntn smyxanackrsriwichy pramanphuththstwrrsthi 13 karkhathangthaelmikhwamsakhymakkhun sngphlihemuxngthixyubnkhabsmuthrmlayu idaek ichya aelankhrsrithrrmrach mikhwamsakhymakkhun cninthisuddinaednaethbnicnthungekaasumatraidrwmtwknepnxanackrsriwichy thimirabbkarpkkhrxnginrabxbkstriy prachachnnbthuxsasnaphuththnikaymhayan aelaenuxngcakmikhwamsamarththangdankarkhakhay cungmichawtangchatiedinthangekhamatidtxaelkepliynsinkhaknmak hlkthankarkhudphbsuxklanghruxengintrainxanackraehngnimi 2 praephth khux engindxkcn sungmilksnakhxnkhangklmaebn thadwyolhaenginaelathxngkha danhnungepntra 4 aechk swnxikdanhnungmixksrsnskvtobranxanidwa wr aeplwa praesrith xikchnidhnung eriykwa enginnom milksnakhxnkhangklmaebn mikhnadelk danhnungmixksrsnskvtobrankhlayxksr n swnxikdanhnungmirxybakepnrxngtrngklang thacakaerenginphsmphlwngsungepnaerthihaidngaythangphakhit dwyehtuthiprachachninbriewnninbthuxsasnaphuthth cungidtngchuxengintrathimixksr n wa enginnom smyxanackrsuokhthy xanackrsuokhthymixanacaelaphthnabanemuxngcnecriythungkhidsudinrchsmyphxkhunramkhaaehngmharach mikarkhyayxanaekhtlngipthangitcntlxdaehlmmlayu rwmthngmikarphlitthwycham aelaekhruxngpndinephathiswyngamaelamikhunphaph eriykwa sngkholk sungepnsinkhasngxxkthisakhykhxngsuokhthy karkhakhayinxanackrsuokhthyphbwamikarichsuxklangkaraelkepliynrupaebbtang aetsuxklangkaraelkepliynthiepnexklksn khux enginphddwng sungnbepnengintraithyodyaethaelaichaelkepliynhmunewiynmayawnankwa 600 pi phddwngthiichinrchsmynimilksnaepnkxnklm thadwyolhaengin playkhangxekhahaknepnplayaehlm mirukhnadihyrahwangkha mitraprathbephuxaesdngthungaehlngphlittngaet 1 tra ipcnthung 7 traswnihytrathiphbidaek trarachsih chang hxysngkh thrrmckr bw kratay aelarachwtr nxkcakni yngphbwainsmysuokhthymikarnaolhachnidxunsungimicholhaengin echn dibuk takw sngkasi mahlxmihmilksnakhlayphddwngaetmikhnadihykwa eriykaetktangkn echn phddwngchin enginkhub enginchub hruxenginkhuk rwmthngkarichebiyepnenginpliksahrbaelkepliynsinkharakhatadwy smyxanackrxyuthya engintrahlkthiichyngkhngepnphddwngechnediywkbsmysuokhthy ephiyngaetmikarprbprungihswyngamaelamikhnadelkkathdrdkhun playkhasnaelaimchidknehmuxnkhxngsuokhthy rwmthngmikartharxybakihelklngaelatunkhun aelaerimmirxyemldkhawsarmaaethnthi enginphddwnginsmynimitraprathbephiyng 2 tra odytrathiprathbxyudanbnkhux trackr sungepntrapracaaephndin swndanhnaepntrapracarchkallksnatang echn traphumkhawbinth traphramhankhrinthr trachxdxkim trachxxuthumphr trarachwtr trachang aelatrasngkh epntn smykrungthnburi engintrathiichinchwngtnrchkalyngkhngichphddwngkhxngxyuthyaxyurayahnung txmaidphlitphddwngpracarchkalxxkich milksnaechnediywkbphddwngsmyxyuthyatxnplay prathbtraphraaesngckrepntrapracaaephndin swntrapracarchkalnnich tratrisul aelatrathwiwuth smyrchkalthi 1 3 insmyrchkalthi 1 3 engintrahlkthiichyngkhngepnenginphddwng ephiyngaetmikarepliynaeplngtrapracarchkalthiichprathbethann odyinsmyphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkoprdihmikarphlitphddwng prathbtra bwxunaolm sungepnekhruxnghmaypracarchkal aelatraphraaesngckr sungepntrapracaaephndin mikhnadaelarakhatang echn talung bath kungbath slung efuxng smyphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly mikarphlitphddwngthimilksnakhlaykhlungkbsmyrchkalthi 1 odyepliyntrapracarchkalepnrup khruth subenuxngcakphranamedimkhxngphraxngkh khux chim xnhmaythungchimphli sungepnwimankhxngphyakhruth aelasahrbphddwngthiphlitkhunichinrchkalkhxngphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw prathbtraphraaesngckr smyrchkalthi 4 smyrchkalphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw karkharahwangithykbtangpraethsidkhyaytwxyangrwderw engintrahlkinchwngtnrchkalyngkhngepnenginphddwngprathbtraphraaesngckrepntrapracaaephndin aelaepliyntrapracarchkal epn tramngkud mikhwamhmaysubenuxngthungphranamedimkhxngphraxngkh khux ecafamngkud khnannpraethsithyprasbpyhakarphlitphddwngimthntxkhwamtxngkaraelamiphuthaplxmknmak phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwcungoprdihaekikhodyihphlitenginkradas eriykwa hmay sungichwithikarphimphbnkradasxyangngay xxkichkhwbkhukbenginphddwng aetenginkradasrunnirasdrimniymich aelathuxidwarchsmykhxngphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwepnyukhkhxngkarepliynaeplngrupaebbengintrakhrngihykhxngithy cakenginphddwngthiichknmayawnantngaetsmysuokhthyepnehriyyklmaebn rwmthngnbepncudkaenidkhxngthnbtrithyinphayhlng inpi ph s 2400 smedcphrarachininathwiktxeriyaehngshrachxanackridcdsngekhruxngphlitehriyyksapnkhnadelkekhamathwayepnrachbrrnakar phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwcungoprdekla ihcdthaehriyyksapncakekhruxngckrkhunepnkhrngaerk eriykknwa ehriyybrrnakar aetenuxngcakekhruxngckrmikhnadelkphlitehriyyidephiyngwnlaelknxy cungoprdihelikichinthisud prakxbkbidrbekhruxngphlitehriyyksapnaerngdnixnamaihm cungoprdihsrangorngnganphlitehriyyksapnkhunthihnaphrakhlngmhasmbti inphrabrmmharachwng phrarachthannamwa orngkrasapnsiththikar enginehriyychudaerkthiphlitcakekhruxngckrni milksnakhlaykbehriyychudbrrnakaraelaihichkhwbkhuipkbphddwng aethamimihphlitphddwngephimkhunxik nxkcaknninsmyniyngidmikarphlitehriyyksapnthiralukkhunepnkhrngaerk khux ehriyyksapnthiraluktramhamngkud krungsyam hruxthiniymeriykwa ehriyyaetemng ephuxepnthiralukinnganphrarachphithiechlimphrachnmphrrsa phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw phrachnmayukhrb 5 rxb emux ph s 2407 mi 2 chnid khux chnidthxngkha rakha 4 bath aelachnidengin rakha 4 bath swnkarthasnthisyyaebawringsngphlihmiengintangpraethsekhamaaephrhlayinpraethsithymak phxrthbalihrasdrichenginehriyy tangkexaenginbathipsxnimyxmexamaesiyphasi sngphlihekidkartdkhdthangkarkhainchwng ph s 2399 2400 rthbalihchangipchwykngsulxngkvsaelashrthxemrikaphlitenginehriyy imphxphlitenginbath cungihkhnathutthiedinthangipecriysmphnthimtrisuxekhruxngckrthaenginehriyymadwy phxtidtngaelwkphlitenginaebbenginehriyy eriykwa enginaep enginaepmitngaetbathhnung sxngslung slungaelaefuxng mitrahnahnungrupphramhaphiichymngkudxyuklang michtrxyusxngkhang mikingimepneplwaethkrxyuinthxnglay xikhnahnungmirupckr icklangmirupchang rxbwngckrchnnxkmidawaesdngmulkhakhxngengin nxkcakniyngphlitenginxxkmaxikaebbhnung thacakthxngkha mirakhasibslung txmakidphlitenginthacakthxngaedngxxkmaxiksxngchnid khux sik aelaesiyw smyrchkalthi 5 inrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw rayaaerkidmikarphlitehriyydibukoslsxxkichinrchkal danhnaepntraphraekiywhruxeriykxikxyanghnungwatraphraculmngkud xnepntrapracarchkalkhxngphraxngkh danhlngepnrupchanginwngckr inpi ph s 2418 idoprdihsrangorngksapnaehngihmkhun phrxmthngtidtngekhruxngckrihmthimikalngphlitaelaprasiththiphaphsungkwaedim aelaiderimphlitehriyyengin traphrabrmrup traxarm traaephndin sungnbepnehriyyrunaerkthimiphrabrmrupphramhakstriybnhnaehriyytamaebbsaklniymaelaidthuxptibtimacnthungrchkalpccubn nxkcaknnyngthrngptiruprabbengintrakhrngsakhyxikkhrnghnung odymikarprbepliynhnwyengintrakhxngithythimimaaetedimcakhnwyeriyktamnahnk idaek ths phis phddungs chng talung bath slung efuxng iph sik esiyw xth aelaosls sungepnrabbthiyaktxkarkhanwnaelakarcdthabychi dwykarnaexarabbthsniymtamaebbsaklmaich khuxhnwyenginbath aelastangkh xnepnmatraengintraithymacnthungthukwnni sahrbenginphddwngsungidhyudphlittngaetinrchsmyphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwepntnma aetyngimmikarprakasykelikichxyangepnthangkar inrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwidmikarphlitenginphddwngkhunxik 2 khrng khrngthi 1 ephuxepnthiralukinnganphrarachphithisphphraxngkhhyingecriykmlsukhswsdi phrarachthidaxngkhsudthayinphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw khrngthi 2 enuxnginkarbaephyphrarachkuslthwaysmedcphraethphsirinthramaty phrabrmrachchnni aelainwnthi 28 tulakhm 2447 idmikarprakasykelikkarichphddwngthukchnidrakha hlngcakthiidichmaepnewlanankwa 6 stwrrs sungnbwaepnyukhsinsudkhxngenginphddwngxyangaethcring txmaphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw idoprdihorngksapnparis phlitehriyytraphrabrmrup ixrapht ephuxnaxxkichhmunewiynaethnengintraruneka aetyngimthnxxkichphraxngkhidesdcswrrkhtesiykxn phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhwcungthrngphrakrunaoprdekla phrarachthanepnthiralukinnganphraemruphrabrmsphphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw sungtxmaehriyydngklawidrbkhwamniyminhmuprachachnxyangmak aelaniymeriykwa ehriyyhnwd smyrchkalthi 6 8 insmyrchkalthi 6 8 epnchwngthiphawaesrsthkictkta xnepnphlmacaksngkhramolkkhrngthihnungaelasngkhramolkkhrngthisxng nxkcaknnyngepnchwngkhxngkarepliynaeplngkarpkkhrxngkhrngsakhykhxngpraethsithy smyphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw engintrathiichinchwngtnrchkalyngkhngepnehriyyksapnthiphlittngaetsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw txmacungthrngihkrmkrasapnsiththikarphlitehriyyksapnchnidenginrakhahnungbath danhnaepnphrabrmrupphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw danhlngepnrupixraphtxxkichhmunewiyn rchsmyphrabathsmedcphrapkeklaecaxyuhwmikarphlitehriyypracarchkalxxkich epnehriyyksapnenginphrabrmrup chnidrakha 50 stangkh aela 25 stangkh insmyphrabathsmedcphraecaxyuhwxannthmhidl idmikarphlitehriyychnidrakha 50 stangkh 25 stangkh 10 stangkh aela 5 stangkh xxkichhmunewiyninrchkal 2 run runaerkmiphrabrmrupkhnathrngphraeyawprathbdanhna swndanhlngepnphrakhruthphah runthisxngmilksnadanhnaaeladanhlngehmuxnkbrunaerk aetphrabrmrupphrabathsmedcphraecaxyuhwxannthmhidlepliynepnphrabrmrupemuxkhrngecriyphrachnmphrrsa smyrchkalthi 9 inpi ph s 2493 idmikarphlitehriyyksapnhmunewiynrunaerkxxkich epnehriyyxalumieniymbrxns hruxthxngaedng chnidrakha 5 stangkh 10 stangkh 25 stangkh aela 50 stangkh lwdlaydanhnaepnphrabrmrupphrabathsmedcphraecaxyuhwphumiphlxdulyedchdanhlngepntraaephndinkhxngithy aelainpi ph s 2529 idmikarprbepliynkarphlitehriyyksapnhmunewiynkhrngihythukchnidrakha thngswnphsm khnad aelarupaebb rwmthngidkahndihmikarphlitehriyyksapnhmunewiynchnidrakha 10 bath aela 10 stangkh khunepnkhrngaerk thaihehriyyksapnhmunewiynthinaxxkichmi 8 chnidrakha idaek chnidrakha 10 bath 5 bath 1 bath 50 stangkh 25 stangkh 10 stangkh 5 stangkh aela 1 stangkh aelainpi ph s 2548 idmikarphlitehriyyksapnhmunewiyn chnidrakha 2 bath xxkichephimkhunxik 1 chnidrakha thaihehriyyksapnhmunewiynthixxkichinpccubnmi 9 chnidrakhadwykn aetehriyyksapnchnidrakha 1 stangkh 5 stangkh 10 stangkh imidnaxxkichhmunewiyninchiwitpracawn hakaetphlitkhunephuxichinrabbbychiethann nxkcaknnyngmikarcdthaehriyyksapnthiralukkhuninoxkasaelaehtukarnsakhy odymisphaphepnengintrasamarthcharahniidtamkdhmaytamrakhathipraktbnhnaehriyy odyehriyyksapnthiralukthiphlitepnehriyyaerkinrchsmyni khux ehriyyksapnthiralukesdcniwtphrankhr sungphlitkhuninpi ph s 2504 inworkasthiphrabathsmedcphraecaxyuhwaelasmedcphranangeca phrabrmrachininath esdcniwtphrankhrhlngcakesdcphrarachdaenineyuxnshrthxemrika xngkvs aelapraethsinphakhphunyuorp epnehriyychnidnikekil rakha 1 bath milwdlaydanhnaepnphrabrmrupphrabathsmedcphraecaxyuhwphumiphlxdulyedch aelaphrabrmrupsmedcphranangeca phrabrmrachininath sungnbepnehriyyaerkthipraktphrarupecanayfayhyingbnehriyyksapnithy swndanhlngmitraxarmaelakhxkhwambxkrakha inpi ph s 2525 idmikarthdlxngphlitehriyyksapnthiralukchnidphiesssungidrbkhwamniyminhmunksasmehriyythwolk epnehriyykhdenga Proof Coin khunepnkhrngaerk enuxnginoxkassmophchkrungrtnoksinthr 200 pi odynakhunthulekla thwayechphaarachwngs imidnaxxkcayaelkihkbprachachnthwip cnkrathnginworkasthismedcphranangecasirikiti phrabrmrachininath thrngecriyphrachnmayu 50 phrrsa 12 singhakhm 2535 cungidmikarphlitehriyyksapnthiralukpraephthkhdengaihprachachnaelksuxidepnkhrngaerk sungidrbkhwamniymepnxyangmak dngnn cungidmikarphlitehriyypraephthkhdengakhwbkhuipkbehriyyksapnthiralukinoxkastang tngaetnnepntnma nxkcakniyngmikarphlitehriyyksapnthiralukinoxkastang rwmkbxngkhkarrahwangpraethsdwy aelainpi ph s 2549 sungnbepnpiaehngkarkhrxngsirirachsmbtikhrb 60 pi khxngphrabathsmedcphraecaxyuhwphumiphlxdulyedch ephuxepnkarechlimchlxnginworkasdngklaw krmthnarksidmikarphlitehriyypraephthkhdengaaelalngsikhunepnkhrngaerk odyidsngphlitehriyythiichethkhnikhkarphimphsilngbnolhaenginbrisuththicak praethsxxsetreliy inkarphlitehriyyksapnthiralukechlimphraekiyrtiphrabathsmedcphraprminthrmhaphumiphlxdulyedch enuxnginoxkasthisanknganokhrngkarphthnaaehngshprachachatithuleklathulkrahmxmthwayrangwlkhwamsaercsungsuddankarphthnamnusy sungnbepnnwtkrrmihmkhxngkarphlitehriyyksapnithyxangxingchy eruxngsilp 2541 prawtisastrithysmy ph s 2352 2453 danesrsthkic ithywthnaphanich ISBN 9740841244 hna 184 185 chy eruxngsilp 2541 prawtisastrithysmy ph s 2352 2453 danesrsthkic ithywthnaphanich ISBN 9740841244 hna 186 hnngsuxwiwthnakarengintraithy krmthnarks krathrwngkarkhlng cdtha aelaphimph bristh dawvks cakd 2545duephimwikisxrs mingantnchbbekiywkb tananengintra ody smedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph skulenginbath prawtisastrithyaehlngkhxmulxunhttp emuseum treasury go th th home 2011 06 28 thi ewyaebkaemchchin sankksapn