ในทางศาสนาพุทธ บัวสี่เหล่า คืออุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ตามฐานะที่จะบรรลุนิพพานได้และไม่ได้ในชาตินั้น ตามที่ปรากฏในโพธิราชกุมารสูตร ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีและคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ว่าเมื่อแรกตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาว่าพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว 3 เหล่า (ตามนัยโพธิราชกุมารสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี) หรือบัว 4 เหล่า (ตามนัยสุมังคลวิลาสินี)
การที่สุมังคลวิลาสินีกล่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบบุคคลเป็นดอกบัว 4 เหล่านั้น เป็นการประยุกต์จากพุทธพจน์เรื่องบุคคล 4 จำพวกที่ตรัสไว้ในอุคฆฏิตัญญุสูตร อังคุตตรนิกาย ปุคคลวรรคที่ 4 มาผสานกับพระพุทธพจน์เรื่องดอกบัว 3 เหล่าที่ตรัสไว้ในโพธิราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกาย จึงกลายเป็นดอกบัว 4 เหล่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน
บัวสามเหล่า (ตามโพธิราชกุมารสูตร)
ในพระไตรปิฏก พระพุทธองค์ทรงพิจารณาตามคำเชื้อเชิญของที่เชิญให้พระองค์แสดงธรรม พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาตรวจสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ และทรงเห็นว่าสัตวโลกที่ยังสอนได้มีอยู่ (เรียกว่าเวไนยสัตว์) เปรียบด้วยดอกบัว 3 จำพวก ดังความต่อไปนี้
... ครั้นอาตมภาพทราบว่าอาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่า ตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่า ตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี...
— มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า
บุคคลสี่จำพวก (ตามอุคฆฏิตัญญุสูตร)
อุคฆฏิตัญญุสูตรและมโนรถปูรณีได้อธิบายบุคคล 4 จำพวก ไว้ดังนี้
- อุคคฏิตัญญู พวกที่มีฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
- วิปจิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาดี เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
- เนยยะ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
- ปทปรมะ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน
3 จำพวกแรกเรียกว่าเวไนยสัตว์ (ผู้แนะนำสั่งสอนได้) ส่วนปทปรมะเป็นอเวไนยสัตว์ (ผู้ไม่อาจแนะนำสั่งสอนได้)
บัวสี่เหล่า (ตามนัยสุมังคลวิลาสินี)
สุมังคลวิลาสินีระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบบุคคลเป็นดอกบัว 4 เหล่า โดยนำปทปรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอุคฆฏิตัญญุสูตร บุคคลวรรค อังคุตตรนิกาย มาเปรียบเป็นบัวเหล่าที่ 4 จึงได้เป็นแนวคิดดอกบัว 4 เหล่า ดังนี้
บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.
— อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา
ดูเพิ่ม
- พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ ในวิกิซอร์ซ
อ้างอิง
- พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) บุคคล ๔. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
- อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนาอรรถกถา. พระไตรปิฏก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
- พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปุคคลวรรคที่ ๔. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [4]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
- อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ อรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓. อรรถกถาพระไตรปิฏก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [5]. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
inthangsasnaphuthth bwsiehla khuxxupmaepriybbukhkhlehmuxndxkbw 4 caphwk tamthanathicabrrluniphphanidaelaimidinchatinn tamthipraktinophthirachkumarsutr inphraitrpidkphasabaliaelakhmphirsumngkhlwilasini waemuxaerktrsru phraphuththecaidthrngphicarnawaphrathrrmthithrngbrrlunnmikhwamlaexiydxxnsukhumkhmphirphaph yaktxbukhkhlcaru ekhaicaelaptibtiid aettxmaidthrngphicarnaxyangluksungaelw thrngehnwabukhkhlinolknimihlaycaphwk bangphwksxnid bangphwksxnimid epriybesmuxnbw 3 ehla tamnyophthirachkumarsutrinphraitrpidkphasabali hruxbw 4 ehla tamnysumngkhlwilasini citrkrrmrwmsmyphraokhtmphuththecathrngphicarnabukhkhlepriybdwybwsiehla aelaekhaefakhxihthrngaesdngthrrm karthisumngkhlwilasiniklawwaphraphuththecathrngepriybbukhkhlepndxkbw 4 ehlann epnkarprayuktcakphuththphcneruxngbukhkhl 4 caphwkthitrsiwinxukhkhtityyusutr xngkhuttrnikay pukhkhlwrrkhthi 4 maphsankbphraphuththphcneruxngdxkbw 3 ehlathitrsiwinophthirachkumarsutr mchchimnikay cungklayepndxkbw 4 ehlathiruckkninpccubnbwsamehla tamophthirachkumarsutr inphraitrpitk phraphuththxngkhthrngphicarnatamkhaechuxechiykhxngthiechiyihphraxngkhaesdngthrrm phraphuththxngkhcungthrngphicarnatrwcstwolkdwyphuththcksu aelathrngehnwastwolkthiyngsxnidmixyu eriykwaewinystw epriybdwydxkbw 3 caphwk dngkhwamtxipni khrnxatmphaphthrabwaxarathna aelaxasykhwamkrunainstwthnghlay cungtrwcduolkdwyphuththcksu emuxxatmphaphtrwcduolkdwyphuththcksu kidehnhmustwsungmikielsducthuliincksunxykmi mikielsducthuliincksumakkmi mixinthriyaekklakmi mixinthriyxxnkmi mixakardikmi mixakarelwkmi caphungsxnihruidngaykmi caphungsxnihruidyakkmi bangphwkmipktiehnothsinprolkodyepnphyxyukmi epriybehmuxninkxbwkhab inkxbwhlwng hruxinkxbwkhaw dxkbwkhab dxkbwhlwng hruxdxkbwkhaw sungekidinna ecriyinna bangehlayngimphnna cmxyuinna nahlxeliyngiw bangehla tngxyuesmxna bangehla tngkhunphnna naimtid chnid dukrrachkumar emuxxatmphaphtrwcduolkdwyphuththcksu kchnnn idehnhmustwsungmikielsducthuliincksunxykmi mikielsducthuliincksumakkmi mixinthriyaekklakmi mixinthriyxxnkmi mixakardikmi mixakarelwkmi caphungsxnihruidngaykmi caphungsxnihruidyakkmi bangphwkmipktiehnothsinprolkodyepnphyxyukmi mchchimnikay mchchimpnnask thrngepriybbukhkhldwydxkbw 3 ehla bukhkhlsicaphwk tamxukhkhtityyusutr xukhkhtityyusutraelamonrthpurniidxthibaybukhkhl 4 caphwk iwdngni xukhkhtityyu phwkthimichladechliyw epnsmmathitthi emuxidfngthrrmksamarthru aelaekhaicinewlaxnrwderw epriybesmuxndxkbwthixyuphnna emuxtxngaesngxathitykebngbanthnthi wipcityyu phwkthimistipyyadi epnsmmathitthi emuxidfngthrrmaelwphicarnatamaelaidrbkarxbrmfukfnephimetim casamarthruaelaekhaicidinewlaxnimcha epriybesmuxndxkbwthixyuprimnasungcabaninwnthdip enyya phwkthimistipyyanxy aetepnsmmathitthi emuxidfngthrrmaelwphicarnatamaelaidrbkarxbrmfukfnephimxyuesmx mikhwamkhynhmnephiyrimyxthx mistimnprakxbdwysrththa psatha inthisudksamarthruaelaekhaicidinwnhnungkhanghna epriybesmuxndxkbwthixyuitna sungcakhxy ophlkhunebngbanidinwnhnung pthprma phwkthiirstipyya aelayngepnmicchathitthi aemidfngthrrmkimxacekhaickhwamhmayhruxrutamid thngyngkhadsrththapsatha irsungkhwamephiyr epriybesmuxndxkbwthicmxyukbokhlntm yngaetcatkepnxaharkhxngetapla immioxkasophlkhunphnnaephuxebngban 3 caphwkaerkeriykwaewinystw phuaenanasngsxnid swnpthprmaepnxewinystw phuimxacaenanasngsxnid bwsiehla tamnysumngkhlwilasini sumngkhlwilasinirabuwaphraphuththecathrngepriybbukhkhlepndxkbw 4 ehla odynapthprmathiphraphuththecatrsiwinxukhkhtityyusutr bukhkhlwrrkh xngkhuttrnikay maepriybepnbwehlathi 4 cungidepnaenwkhiddxkbw 4 ehla dngni bukhkhl 4 caphwk khux xukhkhtityyu wipcityyu enyy pthprma kepriybehmuxndxkbw 4 ehlannael inbukhkhl 4 caphwknn bukhkhlthitrsruthrrmphrxmkbewlathithanykkhunaesdng chuxxukhkhtityyu bukhkhlthitrsruthrrmemuxthanaeckkhwamaehngkhayxodyphisdar chuxwawipcityyu bukhkhlthitrsruthrrmodyladbdwykhwamphakephiyrthxngca dwykarittham dwythaiwinicodyaeybkhay dwykhbhasmakhmkbklyanmitr chuxwaenyy bukhkhlthiimtrsruthrrmidinchatinn aemeriynmak thrngiwmak sxnekhamak chuxwapthprma xrrthktha thikhnikay mhawrrkh mhapthansutr thm methsnathit thanwn nnaduephimphraitrpitkchbbsyamrth inwikisxrsxangxingphcnanukrmphuththsasn chbbpramwlsphth phraphrhmkhunaphrn p x pyut ot bukhkhl 4 xxniln ekhathungidcak 1 ekhathungemux 5 6 52 xrrthktha thikhnikay mhawrrkh mhapthansutr thm methsnathit thanwn nnaxrrthktha phraitrpitk xxniln ekhathungidcak 2 ekhathungemux 5 6 52 phraitrpitk elmthi 21 phrasuttntpidk elmthi 13 xngkhuttrnikay ctukknibat pukhkhlwrrkhthi 4 phraitrpitkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak 3 ekhathungemux 5 6 52 phraitrpidk elmthi 13 phrasuttntpidk elmthi 5 mchchimnikay mchchimpnnask epriybbukhkhldwydxkbw 3 ehla phraitrpitkchbbsyamrth xxniln ekhathungidcak 4 ekhathungemux 5 6 52 xrrthktha xngkhuttrnikay ctukknibat ttiypnnask xrrthkthaxukhkhtityyusutrthi 3 xrrthkthaphraitrpitk xxniln ekhathungidcak 5 ekhathungemux 5 6 52