นิพพาน (บาลี: निब्बान nibbāna นิพฺพาน; สันสกฤต: निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ
ศัพทมูล
คำว่า นิพพาน หรือ นิรวาณ ในภาษาสันสกฤต มาจาก 2 บทคือ นิสฺ- निस्- (ไม่มี; คำอุปสรรค)+วาณ वाण (เครื่องร้อยรัด) ประกอบกัน จึงแปลว่าไม่มีเครื่องร้อยรัด อีกนัยหนึ่งว่ามาจาก นิสฺ- (ออก)+วา (พัดแล้ว) จึงแปลว่าพัดออกแล้ว หมายถึงความดับ
หลักฐานในคัมภีร์
ในพระไตรปิฎก
ใน อิติวุตตกะ ธาตุสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวถึงนิพพานธาตุ 2 ประเภท คือ
- สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานโดยที่อินทรีย์ 5 ยังคงอยู่ จึงยังเสวยสุขและทุกข์อยู่เมื่อประสบกับประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
- อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานทั้งดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิงแล้ว
ในพระวินัยปิฎก ปริวาร สมุฏฐานสีสสังเขป ระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา (สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระนิพพานและบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่าเป็นอนัตตา)
นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว ( คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน ) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ ( ทุกข์ ) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา "
ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"
ในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" ( ที.สี.14/350 )
พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" ( ที.สี.14/90 )
ในอรรถกถา
ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะ พยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" ( วิสุทฺธิ.3/101 ) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย
นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก ในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ ( สัจจะ 4 ) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." ( ขุ.ขุ.อ.25/50 )
ในปกรณ์วิเสส
ผู้รจนาคัมภีร์ ได้พรรณนาคุณของนิพพานว่า ปทมจฺจุตฺ มจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ นิพฺพานมีติ ภาสนฺติ วานมุตฺตามเหสโย "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ตรัสถึงสภาวะธรรมชาติหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่จุติ พ้นจากขันธ์ 5 ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยใดๆ เลย หาสภาวะอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือพระนิพพาน"
ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนเถระทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า
"ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี ( แต่ ) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..." ( มิลินฺท.336 )
การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพาน
การถกเถียงเรื่องสภาวะของนิพพาน มีมาเป็นพันปีแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มที่มีความเชื่อไว้ 2 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพานมีสภาวะเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา กลุ่มนี้เชื่อว่า โดยมีแนวคิดว่าสภาวะของนิพพานนั้นต้องตรงข้ามกับกฎไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) โดยเฉพาะข้อความใน อนัตลักขณสูตร ที่กล่าวว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์ และอนัตตา โดยทรงยกเอาขันธ์ 5 มาเป็นตัวอย่างในคุณลักษณะแห่ง สภาวะที่อยู่จริง ซึ่งตัวตนที่แท้จริงนั้นมีอยู่ เป็นอสังขตธรรม เป็นสภาวะที่เที่ยงโดยวิมุติ
2. กลุ่มที่เชื่อว่า นิพพาน มีสภาวะ เป็นอนัตตา เป็นสุขสูงสุดคือความสงบ ไม่ใช่สุขอย่างโลก ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่ใช่สถานที่ คือความหยุดโดยสมบูรณ์สิ้นสุดความเปลี่ยนแปลงจึงคงอยู่ในสภาพเดิมหรือ เป็น ( ความเป็นเช่นนั้นเอง ) ไม่มีการปรุงแต่งใดๆ เป็นสุญญตา ( ความว่าง ) ธรรมธาตุของนิพพานนั้นจึงเป็นธาตุว่าง กลุ่มนี้แปล อนัตตา ว่า ไม่มีตัวตน คือ สภาพแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย เมื่อส่วนประกอบทั้งหลายหายไปย่อมสูญสิ้น
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 635
- สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (30 ตุลาคม 2547). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์:นิพพาน". 84000.org. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - Collins 2010, pp. 63–64.
- นิพพานธาตุสูตร
- สมุฏฐานสีสสังเขป
- บรรณานุกรม
- พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN
- Collins, Steven (1998), Nirvana and Other Buddhist Felicities, Cambridge University Press
- Collins, Steven (2010), Nirvana: Concept, Imagery, Narrative, Cambridge University Press
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
niphphan bali न ब ब न nibbana niph phan snskvt न र व ण nirvaṇa nir wan hmaythung khwamdbsnithaehngkielsaelakxngthukkh epnsphapholkutraxnepncudmunghmaysungsudinsasnaphuththphaphwadphraphuththecaekhasuxnupathiessniphphansphawasphthmulkhawa niphphan hrux nirwan inphasasnskvt macak 2 bthkhux nis न स immi khaxupsrrkh wan व ण ekhruxngrxyrd prakxbkn cungaeplwaimmiekhruxngrxyrd xiknyhnungwamacak nis xxk wa phdaelw cungaeplwaphdxxkaelw hmaythungkhwamdbhlkthaninkhmphirinphraitrpidk in xitiwuttka thatusutr phraphuththecaklawthungniphphanthatu 2 praephth khux sxupathiessniphphanthatu hmaythung niphphanodythixinthriy 5 yngkhngxyu cungyngeswysukhaelathukkhxyuemuxprasbkbprasbxittharmnaelaxnittharmn xnupathiessniphphanthatu hmaythung niphphanthngdbphphaelaewthnaidsinechingaelw inphrawinypidk priwar smutthansissngekhp rabuwa xnic ca sph phsng khara thuk khant ta c sng khta niph phany ecw pn nt ti xnt ta xiti nic chya sngkharthngpwngthipccyprungaetng imethiyng epnthukkh epnxntta phraniphphanaelabyyti thanwinicchywaepnxntta niphphankxyuin xriysc 4 dwy khuxepncudhmaykhxngphraphuththsasna idaek xriysckhx 3 thieriykwa niorth khawaniorthniepn iwphcn khuxichaethnknidkb niphphan phraitrpidkelm 31 rabuwaxriysc 4 thnghmdsungrwmthngniorth khuxniphphan dwynn epnxntta dngni xnt tt ethn ct tari sc cani exkptiewthani niorths s niortht oth xnt tt oth khu pti 31 546 450 aeplwa sccathng 4 thukkh smuthy niorth mrrkh mikartrsrudwyknepnxnediyw khuxdwymrrkh yanediywkn odykhwamhmaywaepnxntta niorthmikhwamhmaywadb thukkh kmikhwamhmaywa epnxntta inphrasuttntpidk sngyuttnikay khnthwarwrrkhrabuwa sngkharthngpwngimethiyng thrrmthngpwngepnxntta aelainxngkhuttrnikay tiknibatmirabuwa sngkharthngpwngimethiyng sngkharthngpwngepnthukkh thrrmthngpwngepnxntta sung thrrm inthiniphraxrrthkthacaryxthibaytxwa hmayrwmthungniphphandwy nxkcakni yngmikhxkhwaminkhmphirphraitrpidkxikhlayaehngthngthirabuodytrngaelaodyxxmthiminybxkwa niphphanepnxntta inekwttsutr thikhnikay silkhnthwrrkh idklawthungniphphanwaepn thrrmchatithiruaecng immiikhrchiid immithisud aecmisodyprakarthngpwng pthwithatu xaopthatu etochthatu aelawaoythatu yxmtngxyuimidinthrrmni xupathyrupthiyawaelasn laexiydaelahyab thingamaelaimngam yxmtngxyuimidinthrrmni namaelarupyxmdbimmiehluxinthrrmchatini ephraawiyyandb namaelarupyxmdb immiehluxinthrrmchati dngni thi si 14 350 phraphuththecaimekhythrngxthibaywa phraxrhntphubrrluniphphanemuxdbkhnthaelwcaxyuinsphaphechnid karxthibaythaidinlksnaephiyngwa niphphankhuxkardbthukkh sintnha ehmuxnifthidbcnsinechuximsamarththicaluklamkhunmaidxik sahrbphraxrhntthipriniphphanaelwnn phraphuththxngkhimtrsyunynthungkhwammixyuhruxkhwamdbsuy phraxngkhtrsaetephiyngwa emuxphraxngkhpriniphphanaelw thngethwdaaelamnusycaimsamarthehnphraxngkhxiktxip dukr phiksuthnghlay kaykhxngtthakht mitnhaxnnaipsuphphkhadaelw yngdarngxyu ethwdaaelamnusythnghlayckehntthakhtchwewlathikaykhxngtthakhtyngdarngxyu emuxkayaetksinchiphaelw ethwdaaelamnusythnghlayckimehntthakht thi si 14 90 inxrrthktha inkhmphirrunxrrthktha yngmikhxkhwamaesdngsphawakhxngniphphanxikhlayaehng echninptismphithamrrkh mixthibaywa niph phanthm om xt ts esw xphawot xt tsuy oy thrrmkhuxniphphan wangcakxtta ephraaimmixtta khu p x 2 287 nxkcakniinwisuththimrrkh phraphuththokhsa phyayamxthibayihehnthungkhwamimmitwtnkhxngphuidchuxwabrrluniphphan sungethakbwaimmixtta aelaniphphankmiichsingthicatxngmixttathungcamixyuid dngthiphraphuththokhsaklawwa niphphanmixyu aetimmiphuekhathungniphphan mrrkhamixyu aetprascakphudaeninip wisuth thi 3 101 khxkhwamniaesdngihehnwa immitwtnbukhkhlid thiptibtitammrrkhmixngkhaepd aelwbrrluniphphan emuxprascak twtn khxngphuekhathungniphphan niphphankyxmimichxttaipdwy niphphanepnthrrmthiphnipcakolk inphahiysutr khwamwa din na if aelalm yxmimhynglnginniphphanthatuid inniphphanthatunn dawthnghlayyxmimswang phraxathityyxmimprakt phracnthryxmimswang khwammudyxmimmi kemuxidphrahmnchuxwaepnmuniephraaru scca 4 ruaelwdwytnexng emuxnnphrahmnyxmhludphnaelwcakrupaelaxrup cakkhwamsukhaelakhwamthukkh khu khu x 25 50 inpkrnwiess phurcnakhmphir idphrrnnakhunkhxngniphphanwa pthmc cut mc cn t xsng khtmnut tr niph phanmiti phasn ti wanmut tamehsoy phraphuththecathnghlay phuaeswnghakhunxnyingihy phuphnaelwcaktnhaekhruxngrxyrd trsthungsphawathrrmchatihnungthiekhathungid epnthrrmchatithiimcuti phncakkhnth 5 imthukprungaetngdwypccyid ely hasphawaxunepriybethiybimid wasphawthrrmnnkhuxphraniphphan inkhmphirmilinthpyha phranakhesnethrathulaekpyhakhxngphrayamilinththithrngthamwa thaniphphanimmithitngxasy niphphankyxmimmi odykrabthulwa khxthwayphraphrmhabphitr oxkasxnepnthitngkhxngniphphanhamiim aetniphphannnmixyu phraoykhawcrphuptibtichxb yxmthaihaecngniphphan dwykarphicarnaodyxubayxnaeybkhay mhabphitr ehmuxndngwachuxwaifyxmmixyu aetoxkasxnepnthitngkhxngifnnhamiim emuxbukhkhlexaimsxngxnmakhdsiknkyxmidifkhunmachnid mhabphitr niphphankmixyuchnnnnnael oxkasxnepnthitngkhxngniphphannnimmi aet phraoykhawcrphuptibtichxb yxmthaniphphanihaecngdwykarphicarnaodyxubayxnaeybkhay milin th 336 karthkethiyngeruxngsphawakhxngniphphankarthkethiyngeruxngsphawakhxngniphphan mimaepnphnpiaelw sungsamarthaebngklumthimikhwamechuxiw 2 klumdngni 1 klumthiechuxwa niphphanmisphawaepn niccng sukhkhng xtta klumniechuxwa odymiaenwkhidwasphawakhxngniphphannntxngtrngkhamkbkditrlksn xniccng thukkhng xntta odyechphaakhxkhwamin xntlkkhnsutr thiklawwa singidimethiyng singnnyxmepnthukkh aelaxntta odythrngykexakhnth 5 maepntwxyanginkhunlksnaaehng sphawathixyucring sungtwtnthiaethcringnnmixyu epnxsngkhtthrrm epnsphawathiethiyngodywimuti 2 klumthiechuxwa niphphan misphawa epnxntta epnsukhsungsudkhuxkhwamsngb imichsukhxyangolk imichthukkh imichkarma imichkarip imichsthanthi khuxkhwamhyudodysmburnsinsudkhwamepliynaeplngcungkhngxyuinsphaphedimhrux epn khwamepnechnnnexng immikarprungaetngid epnsuyyta khwamwang thrrmthatukhxngniphphannncungepnthatuwang klumniaepl xntta wa immitwtn khux sphaphaehngsngkhtthrrmthnghlay emuxswnprakxbthnghlayhayipyxmsuysinxangxingechingxrrthphcnanukrm chbbrachbnthitysthan ph s 2554 hna 635 smedcphraphuththokhsacary prayuthth pyut ot 30 tulakhm 2547 phcnanukrmphuththsasn chbbpramwlsphth niphphan 84000 org subkhnemux 12 emsayn 2561 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help Collins 2010 pp 63 64 niphphanthatusutr smutthansissngekhp brrnanukrmphraitrpidkphasaithy chbbmhaculalngkrnrachwithyaly rachbnthitysthan phcnanukrm chbbrachbnthitysthan ph s 2554 phimphkhrngthi 2 krungethph rachbnthitysthan 2556 1 544 hna ISBN 978 616 7073 80 4 Collins Steven 1998 Nirvana and Other Buddhist Felicities Cambridge University Press Collins Steven 2010 Nirvana Concept Imagery Narrative Cambridge University Press