ซุ้มโขง ซุ้มประตูโขง หรือ ประตูโขง คือ ประตูทางเข้าวัดที่พบในศิลปะล้านนา รวมถึงศิลปะล้านช้างซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนา ที่ถือคติทางพุทธศาสนาเปรียบเสมือนดั่งป่าหิมพานต์ ทางผ่านระหว่างชมพูทวีปสู่เขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ลักษณะ
ซุ้มประตูโขงที่พบในล้านนา ส่วนใหญ่สร้างเป็นประตูวงโค้งต่อยอดขึ้นไป 5 ชั้น ประดับด้วยลวดลายพรรณพฤกษา รวมถึงรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น นาค มกร หงส์ กินรี มอม และ เป็นต้น ส่วนยอดที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นชั้นได้จำลองซุ้มวิมานของเทพยดาในระดับภพภูมิต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นตัวกั้นระหว่างความไม่สงบภายนอกกับความสงบภายใน เป็นขอบเขตที่ทำให้ผู้ที่เข้าไปภายในต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนให้มีความสำรวม องค์ประกอบของซุ้มโขงประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมรับฐานปัทมยกเก็จ ตัวเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมยกเก็จตามส่วนฐาน มีช่องเจาะทะลุเป็นทางเข้าสู่ภายในทั้งที่ฐานและตัวเรือนธาตุ ซุ้มทางเข้าเป็นซุ้มวงโค้ง ส่วนยอดเป็นหลังคาลาดและชั้นลดที่เลียนแบบจากเรือนธาตุด้านล่าง ยอดบนสุดมักเป็นรูปดอกบัวตูม
ที่มา
ซุ้มโขงน่าจะพัฒนาการมาจากโบราณ ที่มีประตูทางเข้าเขตบริเวณปราสาทหรือศาสนสถานใหญ่ เรียกว่า โคปุระ หรือในอินเดียโบราณเรียกประตูนี้ว่า โตรณะ บ้างก็คาดว่าน่าจะมีที่มาจากรูปแบบของซุ้มพระพิมพ์แบบหริภุญชัย บ้างก็ว่ามีที่มาจากรูปแบบซุ้มประตูที่ซ้อนกันเป็นชั้นซึ่งพบสลักบนใบเสมาสมัยทวารวดีจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ และแนวคิดซุ้มโขงที่ล้อมรอบองค์เจดีย์แบบเจดีย์วัดสวนดอก เป็นลักษณะแผนผังที่เป็นที่นิยมของที่พุกาม สำหรับหลักฐานทางเอกสาร มีการกล่าวถึงซุ้มโขงมาแล้วตั้งแต่สมัยพญากือนา ซุ้มโขงของล้านนาที่เก่าที่สุดที่พบในขณะนี้ไม่น่าจะมีอายุเก่าไปกว่า พุทธศตวรรษที่ 21
ประเภท
ซุ้มประตูโขงหน้าวัด เป็นประติมากรรมแบบลอยตัวก่ออิฐถือปูนที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเข้าออกวัด และเป็นตัวแบ่งเขตแดนที่สําคัญของการก้าวข้ามจากแดนโลกภูมิผ่านเข้าสู่แดนพุทธภูมิ สันนิษฐานว่าในอดีตวัดที่สามารถสร้างซุ้มประตูโขงได้ต้องเป็นวัดที่มีความสำคัญหรือวัดที่มีครูบาแก่กล้าวิชา เนื่องจากผู้คนให้ความเคารพบูชาและลูกศิษย์มีความศรัทธาในครูบาอาจารย์ซึ่งจะสร้างตามผังที่เน้นเรื่องจักรวาล คติโดยใช้ซุ้มประตูโขงเป็นประตูทางเข้าของจักรวาล
ซุ้มประตูโขงเข้าพระธาตุ มีลักษณะคล้ายกับซุ้มประตูโขงหน้าวัดเกือบทุกประการ แต่มีขนาดเล็กกว่า ประดับตกแต่งน้อยกว่า และตำแหน่งที่ตั้งอยู่ข้างพระธาตุ โดยจะปรากฏเฉพาะวัดที่มีพระธาตุองค์สำคัญ และอีกประการหนึ่ง คือ อาจมีไว้สำหรับให้เจ้านายเสด็จผ่านเข้าไปในลานประทักษิณชั้นในเพื่อประกอบพิธีสำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนา
ซุ้มประตูโขงทางเข้าวิหาร มีลักษณะเป็นโขงแบบติดกับผนัง เป็นประติมากรรมนูนสูงหน้าประตูทางเข้าวิหาร
โขงพระเจ้า หรือ กู่พระเจ้า มีลักษณะเป็นมณฑปปราสาทใช้สำหรับประดิษฐานพระประธานสำคัญภายในวิหาร
ระเบียงภาพ
- ซุ้มโขงวัดโลกโมฬี จังหวัดเชียงใหม่
- ซุ้มโขงวัดราชคฤห์ จังหวัดพะเยา
-
อ้างอิง
- "ความหมายของ "ซุ้มประตู" วัดในล้านนา". เชียงใหม่นิวส์.
- "ซุ้มโขง โคปุระ : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม". ข่าวสด.
- . ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
- ฐาปกรณ์ เครือระยา. "โขง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21–25 รูปแบบ เทคนิค และแนวคิดของกลุ่มสกุลช่างลำปาง".
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sumokhng sumpratuokhng hrux pratuokhng khux pratuthangekhawdthiphbinsilpalanna rwmthungsilpalanchangsungidrbxiththiphlsilpalanna thithuxkhtithangphuththsasnaepriybesmuxndngpahimphant thangphanrahwangchmphuthwipsuekhaphrasuemruxnepnsunyklangkhxngckrwalsumokhngwdphrathatulapanghlwng cnghwdlapanglksnasumpratuokhngthiphbinlanna swnihysrangepnpratuwngokhngtxyxdkhunip 5 chn pradbdwylwdlayphrrnphvksa rwmthungrupstwtang echn nakh mkr hngs kinri mxm aela epntn swnyxdthisxnldhlnknepnchnidcalxngsumwimankhxngethphydainradbphphphumitang thahnathiepntwknrahwangkhwamimsngbphaynxkkbkhwamsngbphayin epnkhxbekhtthithaihphuthiekhaipphayintxngprbepliynphvtikrrmkhxngtnihmikhwamsarwm xngkhprakxbkhxngsumokhngprakxbdwythansiehliymrbthanpthmykekc tweruxnthaturupsiehliymykekctamswnthan michxngecaathaluepnthangekhasuphayinthngthithanaelatweruxnthatu sumthangekhaepnsumwngokhng swnyxdepnhlngkhaladaelachnldthieliynaebbcakeruxnthatudanlang yxdbnsudmkepnrupdxkbwtumthimasumokhngnacaphthnakarmacakobran thimipratuthangekhaekhtbriewnprasathhruxsasnsthanihy eriykwa okhpura hruxinxinediyobraneriykpratuniwa otrna bangkkhadwanacamithimacakrupaebbkhxngsumphraphimphaebbhriphuychy bangkwamithimacakrupaebbsumpratuthisxnknepnchnsungphbslkbnibesmasmythwarwdicakemuxngfaaeddsngyang cnghwdkalsinthu aelaaenwkhidsumokhngthilxmrxbxngkhecdiyaebbecdiywdswndxk epnlksnaaephnphngthiepnthiniymkhxngthiphukam sahrbhlkthanthangexksar mikarklawthungsumokhngmaaelwtngaetsmyphyakuxna sumokhngkhxnglannathiekathisudthiphbinkhnaniimnacamixayuekaipkwa phuththstwrrsthi 21praephthsumpratuokhnghnawd epnpratimakrrmaebblxytwkxxiththuxpunthisrangkhunephuxepnthangekhaxxkwd aelaepntwaebngekhtaednthisakhykhxngkarkawkhamcakaednolkphumiphanekhasuaednphuththphumi snnisthanwainxditwdthisamarthsrangsumpratuokhngidtxngepnwdthimikhwamsakhyhruxwdthimikhrubaaekklawicha enuxngcakphukhnihkhwamekharphbuchaaelaluksisymikhwamsrththainkhrubaxacarysungcasrangtamphngthienneruxngckrwal khtiodyichsumpratuokhngepnpratuthangekhakhxngckrwal sumpratuokhngekhaphrathatu milksnakhlaykbsumpratuokhnghnawdekuxbthukprakar aetmikhnadelkkwa pradbtkaetngnxykwa aelataaehnngthitngxyukhangphrathatu odycapraktechphaawdthimiphrathatuxngkhsakhy aelaxikprakarhnung khux xacmiiwsahrbihecanayesdcphanekhaipinlanprathksinchninephuxprakxbphithisakhy thangphuththsasna sumpratuokhngthangekhawihar milksnaepnokhngaebbtidkbphnng epnpratimakrrmnunsunghnapratuthangekhawihar okhngphraeca hrux kuphraeca milksnaepnmnthpprasathichsahrbpradisthanphraprathansakhyphayinwiharraebiyngphaphsumokhngwdolkomli cnghwdechiyngihm sumokhngwdrachkhvh cnghwdphaeya sumokhngwdphrathatuhriphuychywrmhawiharxangxing khwamhmaykhxng sumpratu wdinlanna echiyngihmniws sumokhng okhpura khti sylksn sthaptykrrm khawsd sunysthaptykrrmlanna khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2021 06 04 subkhnemux 2021 06 04 thapkrn ekhruxraya okhng rahwangphuththstwrrsthi 21 25 rupaebb ethkhnikh aelaaenwkhidkhxngklumskulchanglapang