อาคารแบบวิลันดา หมายถึง สถาปัตยกรรมไทยก่ออิฐถือปูนใช้ผนังรับน้ำหนักหลังคาและหน้าบันก่ออิฐถือปูนตกแต่งด้วยปูนปั้น ซึ่งแตกต่างจากสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่หน้าบันประดับหน้าไม้ด้วยเครื่องไม้ บางแห่งเป็นลายพันธุ์พฤกษา ประดับประดาให้สวยด้วยเครื่องถ้วยเคลือบลาย อุโบสถบางแห่งมีจุดเด่นที่มีจั่นหับ หรือมีเฉลียงที่ทำหลังคาเป็นเพิงกันแดดกันฝนคลุมไว้ที่ด้านหน้า
อาคารแบบวิลันดาพัฒนาการมาจากอาคารที่เข้ามาสร้างไว้ก่อนรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นจึงมีการสร้างอาคารแบบตะวันตกที่แตกต่างกันไป และมีขนาดแตกต่างกันไป อุโบสถแบบวิลันดาและโบสถ์คาทอลิกขนาดเล็กในประเทศไทย ต่างได้พัฒนามาจากอาคารแบบวิลันดาในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่า อุโบสถแบบวิลันดาได้รับอิทธิพลโดยตรงจากโบสถ์คาทอลิกขนาดเล็ก
ประวัติ
อิทธิพลในช่วงแรก
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวตะวันตกเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้โดยเสรี ทำให้มีการตั้งชุมชนชาวคริสต์ทั้งภายในและภายนอกกรุงศรีอยุธยา รวมถึงกรุงเทพมหานคร พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้มิชชันนารีสร้างอาคารที่พักด้วยอิฐ จึงมีการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยของชาวตะวันตกของด้วยอิฐ ยกตัวอย่างเช่น โบราณสถานวัดเตว็ด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้จะมีชื่อว่าเป็นวัด แต่แท้จริงแล้วเป็นตำหนักของเจ้านายที่สร้างขึ้นเพื่อแปรพระราชฐานจากวังในเขตเมืองมาปลีกวิเวกหรือบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องจากอาคารนี้อยูใกล้วัดต่าง ๆ ในบริเวณนั้น รวมถึงบ้านวิชาเยนทร์ ตึกโคโรซานและตึกปิจูในวัดเสาธงทอง
วัดเตว็ดและบ้านวิชาเยนทร์ได้รับอิทธิพลจากในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งร่วมสมัยกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตึกโคโรซานและตึกปิจู ไม่ปรากฏลวดลาย เด่นชัดว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของฝรั่งเศส แต่มีรูปแบบที่เด่นชัดว่ามิใช่สถาปัตยกรรมไทยประเพณี แม้ว่าช่องหน้าต่างของตึกปิจูเป็นซุ้มปลายแหลมคล้ายกับศิลปะเปอร์เซีย อย่างไรก็ตามอาคารในศิลปะเปอร์เซียไม่ปรากฏการสร้างหลังคาหน้าจั่วแต่นิยมหลังคาตัดและบางครั้งประดับยอดโดม ในขณะที่การสร้างอาคารที่มีหน้าบันก่ออิฐถือปูนจรดอกไก่นิยมในศิลปะตะวันตก แต่ลักษณะร่วมของอาคารดังกล่าวคือ เป็นอาคาร 2 ชั้นและใช้ผนังที่หนาขึ้นเพื่อช่วยรับน้ำหนัก นอกจากนี้หน้าบันของอาคารเหล่านี้เป็นการก่ออิฐถือปูนและประดับหน้าบันด้วยปูนปั้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอาคารที่ใช้ผนังรับน้ำ โครงสร้างหลังคาที่มีหน้าบันก่ออิฐถือปูนจรดอกไก่ เป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก
ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไม่มีการสร้างอาคารแบบตะวันตกอีกและมีการปรับอาคารแบบไทยเพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอยและเพิ่มการประดับตกแต่ง เช่น ตำหนักพุฒโฆษาจารย์ ที่มีการพัฒนาด้านเทคนิค กล่าวคือ มีการใช้ผนังเพื่อรับน้ำหนักหลังคา หน้าบันก่ออิฐถือปูนจรดอกไก่ อาคารสองชั้น มีซุ้มหน้าต่างปลายแหลมรูปกลีบบัว ภายนอกเน้นความเรียบง่าย
อย่างไรก็ดีภายหลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ความสัมพันธ์ระหว่างชาวคริสต์กับราชสำนักเสื่อมทรามลง ชุมชนชาวคริสต์หลายแห่งถูกห้ามและต่อมาอาคารต่าง ๆ ในชุมชนถูกทำลายลงภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 ดังนั้นโบสถ์ของชาวคริสต์ในพระนครศรีอยุธยาจึงไม่ปรากฏถึงปัจจุบัน สันนิษฐานว่าอาคารทั้งสองนำรูปแบบอาคารแบบวิลันดามาประยุกต์สร้างเป็นศาสนาสถาน หรือมีการนำรูปแบบอาคารแบบวิลันดามาสร้างโบสถ์ศาสนาคริสต์คาทอลิกในชุมชนขนาดเล็กนอกกรุงศรีอยุธยาขึ้นก่อน และต่อมาชุมชนชาวพุทธขนาดเล็กอาจจะนำรูปแบบของอาคารแบบวิลันดาที่ดัดแปลงโบสถ์คาทอลิกขนาดเล็กนี้มาเป็นต้นแบบสร้างอุโบสถขนาดเล็กที่เรียกว่า อุโบสถแบบวิลันดา
พัฒนาการ
เมื่อชุมชนชาวตะวันตกขยายตัวและชุมชนไทยในบริเวณรอบ ๆ กรุงศรีอยุธยาเติบโตขึ้น จึงสันนิษฐานว่าอาจจะมีการสร้างอาคารแบบวิลันดาโดยทั่วไป เทคนิคการก่อสร้างทำให้สถาปัตยกรรมไทยประเพณีมีพัฒนาการ จากหน้าบันเครื่องไม้เป็นการก่ออิฐถือปูนประดับหน้าบันด้วยลายปูนปั้น การใช้ผนังรับน้ำหนัก ทำให้พื้นที่ใช้สอยในอาคารมีมากขึ้น สามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการ จนได้รับความนิยมมากขึ้น จนนำไปสู่การสร้างที่หลากหลาย ตั้งแต่อุโบสถ วิหารขนาดเล็ก ตำหนักเจ้านาย บ้านพัก ห้องเก็บสินค้า อาคารเหล่านี้สร้างขึ้นในกรุงศรีอยุธยาและลพบุรี
ส่วนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยาพบตัวอย่างอุโบสถสมัยอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลจากอาคารแบบวิลันดา ได้แก่ อุโบสถหลังเก่าวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี อาคารอีกแหล่งที่สันนิษฐานวาสร้างขึ้นในกรุงศรีอยุธยา คือ โบสถ์คอนเซ็ปชัญหลังเก่า ซึ่งเป็นโบสถ์คาทอลิคขนาดเล็ก ตั้งอยูที่วัดคอนเซ็ปชัญ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เข้ามามีอิทธิพลต่องานช่างจนก่อเกิดรูปแบบที่เรียกว่า พระราชนิยม โดยมีวัดราชโอรสเป็นต้นแบบ หน้าบันเป็นเครื่องก่อเป็นแผงทับ ไม่มีคูหาหน้าบันหรือไขราหน้าจั่ว โดยหน้าบันลักษณะเช่นนี้มีชื่อเรียกแบบเฉพาะว่า กระเท่เซ ในพื้นหน้าบันนิยมปั้นปูนเป็นลวดลายดอกบ๋วย หรือดอกพุดตานใบเทศ ประดับกระเบื้องสี เป็นลวดลายเครือเถาหรือประดับตุ๊กตาประกอบเขามอ ส่วนกรอบหน้าบันไม่ติดช่อฟ้ารวย นาคสะดุ้ง และหางหงส์ แต่ปั้นรูปเป็นรวยหน้ากระดาน คล้ายปั้นลมหางปลา ลักษณะอาคารสมัยนี้พัฒนาการต่อเนื่องมาจากพระอุโบสถแบบวิลันดา
ลักษณะ
สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ใช้เทคนิคผนังรับน้ำหนักของส่วนหลังคาของอาคาร ปรากฏในอุโบสถและวิหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร มีหน้าบันก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ประดับด้วยลายปูนปั้นและบางครั้งมีการประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ ส่วนอุโบสถขนาดเล็ก มีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญ คงได้รับอิทธิพลจากโบสถ์ในคริสตศาสนาจะให้ความสำคัญกับทางเข้าด้านหน้า (ส่วนผนังด้านหลังของโบสถ์คริสต์จะประดิษฐานรูปเคารพและเป็นมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์) กันสาดยื่นออกมาเหนือทางเข้า กรอบหน้าบันมัก ประดับด้วยใบระกา เรียกอาคารที่มีหน้าบันแบบนี้วา วิลันดา หรือ แบบ ฮอลันดา
อาคารที่มีหน้าบันแบบวิลันดา น. ณ ปากน้ำ สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเรียกอุโบสถหลังเก่าของวัดราชาธิวาสซึ่งมีลักษณะอาคารแบบทรงตึกไม่มีไขราหน้าจั่ว รวมถึงทรงเรียกอาคารที่ได้รับอิทธิพลแบบตะวันตกในช่วงอยุธยาตอนปลายโดยทัวไปมิได้ชี้เฉพาะแต่อาคารที่สร้างโดยชาวฮอลันดา
อ้างอิง
- "สะพานหก มรดกวิลันดา". มิวเซียมไทยแลนด์.
- วิภาวัลย์ แสงลิ้มสุวรรณ, โบสถ์คาทอลิคภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึง พุทธศักราช 2475 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542), 10.
- สันติ เล็กสุขุม, พัฒนาการของลายไทย : กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2553), 320.
- อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช, สถาปัตยกรรมประเภทอาคารสมัยพระนารายณ์ (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555), 36.
- วิษณุ สมบุญปีติ. "อาคารแบบวิลันดา : อิทธิพลของโบสถ์คาทอลิกสมัยอยุธยาตอนปลาย" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- ติ๊ก แสนบุญ. "หน้าบันปูนปั้นแบบ "วิลันดา" ถึง "กระเท่เซ" สายสัมพันธ์ของวัฒนธรรมทางงานช่างไทย-เทศ". ศิลปวัฒนธรรม.
- ติ๊ก แสนบุญ [นามแฝง], "หน้าบันปูนปั้นแบบ "วิลันดา" ถึง "กระเท่เซ" สายสัมพันธ์ของวัฒนธรรมงานช่างไทย-เทศ," ศิลปวัฒนธรรม 27, 321 (กรกฎาคม 2549), 60.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
xakharaebbwilnda hmaythung sthaptykrrmithykxxiththuxpunichphnngrbnahnkhlngkhaaelahnabnkxxiththuxpuntkaetngdwypunpn sungaetktangcaksthaptykrrmithypraephnithihnabnpradbhnaimdwyekhruxngim bangaehngepnlayphnthuphvksa pradbpradaihswydwyekhruxngthwyekhluxblay xuobsthbangaehngmicudednthimicnhb hruxmiechliyngthithahlngkhaepnephingknaeddknfnkhlumiwthidanhnaxuobsthekawdchmphuewk xakharaebbwilndaphthnakarmacakxakharthiekhamasrangiwkxnrchsmysmedcphranaraynmharach txmaemuxchawtawntkekhamatngthinthanmakkhuncungmikarsrangxakharaebbtawntkthiaetktangknip aelamikhnadaetktangknip xuobsthaebbwilndaaelaobsthkhathxlikkhnadelkinpraethsithy tangidphthnamacakxakharaebbwilndainsmyxyuthyatxnplay aetkimxacsrupidwa xuobsthaebbwilndaidrbxiththiphlodytrngcakobsthkhathxlikkhnadelkprawtixiththiphlinchwngaerk banwichaeynthr smedcphranaraynmharachthrngmiphrabrmrachanuyatihchawtawntkephyaephrkhristsasnaidodyesri thaihmikartngchumchnchawkhristthngphayinaelaphaynxkkrungsrixyuthya rwmthungkrungethphmhankhr phraxngkhthrngmiphrabrmrachanuyatihmichchnnarisrangxakharthiphkdwyxith cungmikarkxsrangxakharthiphkxasykhxngchawtawntkkhxngdwyxith yktwxyangechn obransthanwdetwd incnghwdphrankhrsrixyuthya aemcamichuxwaepnwd aetaethcringaelwepntahnkkhxngecanaythisrangkhunephuxaeprphrarachthancakwnginekhtemuxngmaplikwiewkhruxbaephyphrarachkusl enuxngcakxakharnixyuiklwdtang inbriewnnn rwmthungbanwichaeynthr tukokhorsanaelatukpicuinwdesathngthxng wdetwdaelabanwichaeynthridrbxiththiphlcakinsmyphraecahluysthi 14 sungrwmsmykbsmedcphranaraynmharach tukokhorsanaelatukpicu impraktlwdlay ednchdwaepnrupaebbthiidrbxiththiphlcaksthaptykrrmkhxngfrngess aetmirupaebbthiednchdwamiichsthaptykrrmithypraephni aemwachxnghnatangkhxngtukpicuepnsumplayaehlmkhlaykbsilpaepxresiy xyangirktamxakharinsilpaepxresiyimpraktkarsranghlngkhahnacwaetniymhlngkhatdaelabangkhrngpradbyxdodm inkhnathikarsrangxakharthimihnabnkxxiththuxpuncrdxkikniyminsilpatawntk aetlksnarwmkhxngxakhardngklawkhux epnxakhar 2 chnaelaichphnngthihnakhunephuxchwyrbnahnk nxkcaknihnabnkhxngxakharehlaniepnkarkxxiththuxpunaelapradbhnabndwypunpn dngnncungsrupidwaxakharthiichphnngrbna okhrngsranghlngkhathimihnabnkxxiththuxpuncrdxkik epnxakharthiidrbxiththiphltawntk insmysmedcphraephthracha immikarsrangxakharaebbtawntkxikaelamikarprbxakharaebbithyephuxephimpraoychnichsxyaelaephimkarpradbtkaetng echn tahnkphuthokhsacary thimikarphthnadanethkhnikh klawkhux mikarichphnngephuxrbnahnkhlngkha hnabnkxxiththuxpuncrdxkik xakharsxngchn misumhnatangplayaehlmrupklibbw phaynxkennkhwameriybngay xyangirkdiphayhlngsmysmedcphranaraynmharach khwamsmphnthrahwangchawkhristkbrachsankesuxmthramlng chumchnchawkhristhlayaehngthukhamaelatxmaxakhartang inchumchnthukthalaylngphayhlngkaresiykrungsrixyuthyakhrngthi 2 in ph s 2310 dngnnobsthkhxngchawkhristinphrankhrsrixyuthyacungimpraktthungpccubn snnisthanwaxakharthngsxngnarupaebbxakharaebbwilndamaprayuktsrangepnsasnasthan hruxmikarnarupaebbxakharaebbwilndamasrangobsthsasnakhristkhathxlikinchumchnkhnadelknxkkrungsrixyuthyakhunkxn aelatxmachumchnchawphuththkhnadelkxaccanarupaebbkhxngxakharaebbwilndathiddaeplngobsthkhathxlikkhnadelknimaepntnaebbsrangxuobsthkhnadelkthieriykwa xuobsthaebbwilnda phthnakar obsthwdkhxnespchyhlngekaxuobsthekahlngeka wdsingh emuxchumchnchawtawntkkhyaytwaelachumchnithyinbriewnrxb krungsrixyuthyaetibotkhun cungsnnisthanwaxaccamikarsrangxakharaebbwilndaodythwip ethkhnikhkarkxsrangthaihsthaptykrrmithypraephnimiphthnakar cakhnabnekhruxngimepnkarkxxiththuxpunpradbhnabndwylaypunpn karichphnngrbnahnk thaihphunthiichsxyinxakharmimakkhun samarthprbkhnadidtamkhwamtxngkar cnidrbkhwamniymmakkhun cnnaipsukarsrangthihlakhlay tngaetxuobsth wiharkhnadelk tahnkecanay banphk hxngekbsinkha xakharehlanisrangkhuninkrungsrixyuthyaaelalphburi swninaethblumaemnaecaphrayathangthisitkhxngkrungsrixyuthyaphbtwxyangxuobsthsmyxyuthyathiidrbxiththiphlcakxakharaebbwilnda idaek xuobsthhlngekawdchmphuewk cnghwdnnthburi xakharxikaehlngthisnnisthanwasrangkhuninkrungsrixyuthya khux obsthkhxnespchyhlngeka sungepnobsthkhathxlikhkhnadelk tngxyuthiwdkhxnespchy ekhtdusit krungethphmhankhr inyukhtnrtnoksinthr smyrchkalthi 3 idekhamamixiththiphltxnganchangcnkxekidrupaebbthieriykwa phrarachniym odymiwdrachoxrsepntnaebb hnabnepnekhruxngkxepnaephngthb immikhuhahnabnhruxikhrahnacw odyhnabnlksnaechnnimichuxeriykaebbechphaawa kraethes inphunhnabnniympnpunepnlwdlaydxkbwy hruxdxkphudtanibeths pradbkraebuxngsi epnlwdlayekhruxethahruxpradbtuktaprakxbekhamx swnkrxbhnabnimtidchxfarwy nakhsadung aelahanghngs aetpnrupepnrwyhnakradan khlaypnlmhangpla lksnaxakharsmyniphthnakartxenuxngmacakphraxuobsthaebbwilndalksnasthaptykrrmthisrangkhuntngaetsmysmedcphranaraynmharach thiichethkhnikhphnngrbnahnkkhxngswnhlngkhakhxngxakhar praktinxuobsthaelawiharincnghwdphrankhrsrixyuthya lphburi nnthburi pthumthani smuthrprakaraelakrungethphmhankhr mihnabnkxxiththuxpunkhnadihypradbdwylaypunpnaelabangkhrngmikarpradbdwykraebuxngekhluxb swnxuobsthkhnadelk mithangekhadanhnaephiyngdanediyw sungepnlksnathisakhy khngidrbxiththiphlcakobsthinkhristsasnacaihkhwamsakhykbthangekhadanhna swnphnngdanhlngkhxngobsthkhristcapradisthanrupekharphaelaepnmnthlxnskdisiththi knsadyunxxkmaehnuxthangekha krxbhnabnmk pradbdwyibraka eriykxakharthimihnabnaebbniwa wilnda hrux aebb hxlnda xakharthimihnabnaebbwilnda n n pakna snnisthanwa phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw thithrngeriykxuobsthhlngekakhxngwdrachathiwassungmilksnaxakharaebbthrngtukimmiikhrahnacw rwmthungthrngeriykxakharthiidrbxiththiphlaebbtawntkinchwngxyuthyatxnplayodythwipmiidchiechphaaaetxakharthisrangodychawhxlndaxangxing saphanhk mrdkwilnda miwesiymithyaelnd wiphawly aesnglimsuwrrn obsthkhathxlikhphakhklangaelaphakhtawnxxkkhxngpraethsithy tngaetsmykrungsrixyuthya thung phuththskrach 2475 withyaniphnthpriyyasilpsastrmhabnthit sakhawichaprawtisastrsthaptykrrm phakhwichasilpsthaptykrrm bnthitwithyaly mhawithyalysilpakr 2542 10 snti elksukhum phthnakarkhxnglayithy krahnkkbexklksnithy krungethphmhankhr sankphimphemuxngobran 2553 320 xchirchy ichyphcnphanich sthaptykrrmpraephthxakharsmyphranarayn krungethph mhawithyalysilpakr 2555 36 wisnu smbuypiti xakharaebbwilnda xiththiphlkhxngobsthkhathxliksmyxyuthyatxnplay PDF mhawithyalysilpakr tik aesnbuy hnabnpunpnaebb wilnda thung kraethes saysmphnthkhxngwthnthrrmthangnganchangithy eths silpwthnthrrm tik aesnbuy namaefng hnabnpunpnaebb wilnda thung kraethes saysmphnthkhxngwthnthrrmnganchangithy eths silpwthnthrrm 27 321 krkdakhm 2549 60