กระท้อน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Meliaceae |
สกุล: | |
สปีชีส์: | S. koetjape |
ชื่อทวินาม | |
Sandoricum koetjape () | |
ชื่อพ้อง | |
|
กระท้อน เป็นไม้ผลเขตร้อนยืนต้นในวงศ์กระท้อน (Meliaceae) ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระท้อนมีสีสะดุดตา เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระท้อนเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15–30 เมตร อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 40–50 ปี เปลือกต้นสีเทา ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6–15 ซม. ยาว 8–20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล
ผล ผลอ่อนสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางน้อยลง รูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ขนาดประมาณ 5–15 เซนติเมตร ภายในผลจะมีเมล็ด 3–5 เมล็ด และมีปุยสีขาวหุ้มอยู่ ปุยที่รับประทานได้นี้พัฒนามาจากเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งลักษณะ ของปุยและรสชาติจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพันธุ์ เมล็ดรูปรี มีปลอกเหนียวห่อหุ้ม
ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
เชื่อกันว่ากระท้อนมีถิ่นกำเนิดในอินโดจีนและมาเลเซียตะวันตก ก่อนจะถูกนำไปปลูกที่ประเทศอินเดีย, เกาะบอร์เนียว, ประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะโมลุกกะ, ประเทศมอริเชียส, และประเทศฟิลิปปินส์ และกลายเป็นพืชท้องถิ่นไป กระท้อนถูกปลูกเป็นพืชเชิงพาณิชย์ตลอดพื้นที่ในเขตนี้
ชื่อพื้นเมือง
- ฟิลิปปินส์: santol
- อินโดนีเซีย: kecapi, ketuat, sentul
- อาเจะฮ์: seutui
- มลายู: kecapi, kelampu, ranggu
- มลายูเกอดะฮ์: ستول , setul (ชื่อจังหวัดสตูลมาจากภาษามลายูเกอดะฮ์ หมายถึงกระท้อน)
- ไทย: กระท้อน, สะท้อน; มะต้อง, มะตื๋น (ภาคเหนือ); หมากต้อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ล่อน, เตียน, สะตู, สะโต (ภาคใต้)
- พม่า: သစ်တို thi' tou [θɪʔ tò]
- เวียดนาม: sấu đỏ
- เขมร: បំពេញរាជ្យ (ក្រពេញរាជ [krɑpɨɲ riec], លោះ)
- ลาว: ໝາກຕ້ອງ [mȁːktɔ̂ːŋ]
- สิงหล: ඩොංකා [ḍoṁkā], donka
- มลยาฬัม: സാന്റോൾ
- ฝรั่งเศส: faux mangoustanier, santol
- อังกฤษ: santol
สายพันธุ์
พันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสูดเป็นพันธุ์กระท้อนห่อที่มีรสหวาน ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง ส่วนพันธุ์พื้นเมืองจะมีผลดก ผลมีขนาดเล็ก รสเปรี้ยว จึงนิยมนำมาทำเป็น กระท้อนดอง
พันธุ์ปุยฝ้าย
พันธุ์ปุยฝ้ายหรือปุยฝ้ายแท้เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของ ตำบลตะลุง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุด เพราะผลกระท้อนมีรสหวาน มีเปลือกที่นิ่มเหมือนกำมะหยี่ และเม็ดกระท้อนมีปุยเหมือนปุยฝ้าย จึงเป็นกระท้อนที่จำหน่ายได้สูงสุด ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ สีเหลืองนวลสวย ผลกลมแป้น เม็ดกระท้อนจะมีปุยมากกว่าสายพันธุ์อื่น ปุยกระท้อนเมื่อทานไปแล้วจะเหมือนว่า ปุยกระท้อนละลายในปาก ชาวสวนกระท้อนนิยมเรียกว่าปุยฝ้ายแท้ เป็นพันธุ์ที่กลายมาจากพันธุ์ทองหยิบ
พันธุ์อีล่า
พันธุ์อีล่าหรือปุยฝ้ายเกษตรเป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งชาวบ้าน ต.ตะลุง ได้รับแจกสายพันธุ์มาจากกระทรวงเกษตร เล่ากันว่าชาวปราจีนบุรี เรียกกระท้อนพันธุ์นี้ว่าปุยฝ้ายเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่รสชาติที่กระท้อนอีล่าเมื่อยังไม่แก่จัดจะมีรสอมเปรี้ยว และผลกระท้อนจะมีขนาดใหญ่มากบางผลน้ำหนักถึง 0.9 กิโลกรัม ขนาดของผลมีขนาดใหญ่ ผิวจะไม่เรียบ สีโทนเหลืองสด ผลคล้ายเป็นจุก รสอมเปรี้ยวเมื่อยังไม่แก่จัด หากผลแก่รสชาติจะหวานมีปุยเหมือนปุยฝ้ายกระท้อนพันธุ์อีล่า มักจะสุกช้ากว่ากระท้อนทุกพันธุ์
พันธุ์ทับทิม
เป็นกระท้อนพันธุ์เมืองดั้งเดิม ของ ต.ตะลุง แต่ไม่มีคนรู้จักมากนัก เนื่องจากมีชาวสวนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทับทิมไม่มาก แต่ด้วยรสชาติที่มีรสหวาน ลักษณะผลกลม มีขนาดไม่ใหญ่มาก สีเหลืองนวล ผิวกระท้อนเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม ผลกลม
พันธุ์นิ่มนวล
เป็นกระท้อนที่มีลักษณะ เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวานจัดเป็นสายพันธุ์ที่นิยมบริโภคกันมาก ทรงผลกลมแป้น มีขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง ขนาดผล 300–600 กรัมต่อผล ผลกลม
การใช้ประโยชน์
กระท้อนใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลายชนิด ทั้งอาหารคาว เช่น แกงฮังเล แกงคั่ว ผัด ตำกระท้อน และอาหารหวาน เช่น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง แยม กระท้อนกวน และเยลลี่ หรือกินเป็นผลไม้สด กระท้อนเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ในเขตบีโคล ประเทศฟิลิปปินส์ นำกระท้อนไปแกงกับกะทิ
ทางด้านสมุนไพร กระท้อนมีสรรพคุณทางยาหลายประการ ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้ เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย รักษา ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ หลายส่วนของกระท้อนมีฤทธิ์แก้อักเสบ และสารสกัดจากกิ่งกระท้อนบางชนิดมีผลยับยั้งมะเร็งในหลอดทดลอง สารสกัดจากเมล็ดกระท้อนมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง
อ้างอิง
- สวนอนุรักษ์และพัฒนาพรรณไม้เขตร้อน. กรมวิชาการเกษตร. ISBN .
- "กระท้อนป่า".ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย สืบค้นเมือ 17-06-2567
- "เรื่องน่ารู้: กระท้อน". เดลินิวส์. 29 สิงหาคม 2016.
- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. "กระท้อน" ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพฯ: แสงแดด. ตุลาคม 2550. หน้า 23. ISBN .
- . เชียงใหม่นิวส์. 16 ตุลาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2007.
- Rasadah, M. A. et al. (2004). Anti-inflammatory agents from Sandoricum koetjape Merr. Phytomedicine. 11:2 261–3.
- Norito Kaneda, et al (พฤษภาคม 1992). "Plant Anticancer Agents, L. Cytotoxic Triterpenes from Sandoricum koetjape Stems". Journal of Natural Products. 55: 654–659.
- Richard G. Powell; Kenneth L. Mikolajczak; และคณะ (1 มกราคม 1991). "Limonoid antifeedants from seed of Sandoricum koetjape". Journal of Natural Products. 54 (1): 241–246. doi:10.1021/np50073a025.
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sandoricum koetjape ที่วิกิสปีชีส์
- Morton, J. 1987. Santol. หน้า 199–201. ใน: Fruits of warm climates. Miami, FL: J.F. Morton. ISBN .
- "Sandoricum koetjape". Germplasm Resources Information Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ธันวาคม 2012.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
krathxnkarcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Plantaehmwd Magnoliophytachn Magnoliopsidaxndb Sapindaleswngs Meliaceaeskul spichis S koetjapechuxthwinamSandoricum koetjape chuxphxngMelia koetjape Burm f Sandoricum indicum Cav krathxn epnimphlekhtrxnyuntninwngskrathxn Meliaceae thimithinkaenidxyuinbriewnexechiytawnxxkechiyngit phlkrathxnmisisadudta epntnimthithnaelngiddilksnathangphvkssastrphlkhxngkrathxntnaelaibkhxngkrathxn krathxnepnimyuntn sungpraman 15 30 emtr xayukhyechliypraman 40 50 pi epluxktnsietha ibprakxb miibyxy 3 ib karekaatidkhxngibbnkingaebberiyngslb ibyxyrupriaekmikhcnthungkhxbkhnan khnadpraman kwang 6 15 sm yaw 8 20 sm emuxibaekcdcaepliynepnsismaedngdxkxxkepnchx thisxkibbriewnplayking dxkyxycanwnmak klibdxksiehluxngnwl phl phlxxnsiekhiywminayangsikhaw emuxphlaekepluxkphlcaepliynepnsiehluxngaelaminayangnxylng rupklmaepn phiwmikhnaebbkamahyixxnnum khnadpraman 5 15 esntiemtr phayinphlcamiemld 3 5 emld aelamipuysikhawhumxyu puythirbprathanidniphthnamacakepluxkhumemld sunglksna khxngpuyaelarschaticaaetktangknxxkipinaetlaphnthu emldrupri miplxkehniywhxhumthinkaenidaelakarkracayphnthuechuxknwakrathxnmithinkaenidinxinodcinaelamaelesiytawntk kxncathuknaipplukthipraethsxinediy ekaabxreniyw praethsxinodniesiy hmuekaaomlukka praethsmxriechiys aelapraethsfilippins aelaklayepnphuchthxngthinip krathxnthukplukepnphuchechingphanichytlxdphunthiinekhtnichuxphunemuxngfilippins santol xinodniesiy kecapi ketuat sentul xaecah seutui mlayu kecapi kelampu ranggu mlayuekxdah ستول setul chuxcnghwdstulmacakphasamlayuekxdah hmaythungkrathxn ithy krathxn sathxn matxng matun phakhehnux hmaktxng phakhtawnxxkechiyngehnux lxn etiyn satu saot phakhit phma သစ တ thi tou 8ɪʔ to ewiydnam sấu đỏ ekhmr ប ព ញ រ ជ យ ក រព ញរ ជ krɑpɨɲ riec ល law ໝາກຕ ອງ mȁːktɔ ːŋ singhl ඩ ක ḍoṁka donka mlyalm സ ന റ ൾ frngess faux mangoustanier santol xngkvs santolsayphnthuphnthuthiidrbkhwamniymsungsudepnphnthukrathxnhxthimirshwan idaek phnthuxila puyfay nimnwl xinthrchit thbthim khnthxng ethphrs xiaedng swnphnthuphunemuxngcamiphldk phlmikhnadelk rsepriyw cungniymnamathaepn krathxndxng phnthupuyfay phnthupuyfayhruxpuyfayaethepnkrathxnphnthuphunemuxngkhxng tabltalung xaephxemuxng cnghwdlphburi epnthiniymbriophkhmakthisud ephraaphlkrathxnmirshwan miepluxkthinimehmuxnkamahyi aelaemdkrathxnmipuyehmuxnpuyfay cungepnkrathxnthicahnayidsungsud khnadkhxngphlmitngaetelkipthungihy siehluxngnwlswy phlklmaepn emdkrathxncamipuymakkwasayphnthuxun puykrathxnemuxthanipaelwcaehmuxnwa puykrathxnlalayinpak chawswnkrathxnniymeriykwapuyfayaeth epnphnthuthiklaymacakphnthuthxnghyib phnthuxila phnthuxilahruxpuyfayekstrepnkrathxnphnthuphunemuxng cnghwdpracinburi sungchawban t talung idrbaecksayphnthumacakkrathrwngekstr elaknwachawpracinburi eriykkrathxnphnthuniwapuyfayehmuxnkn aetaetktangknthirschatithikrathxnxilaemuxyngimaekcdcamirsxmepriyw aelaphlkrathxncamikhnadihymakbangphlnahnkthung 0 9 kiolkrm khnadkhxngphlmikhnadihy phiwcaimeriyb siothnehluxngsd phlkhlayepncuk rsxmepriywemuxyngimaekcd hakphlaekrschaticahwanmipuyehmuxnpuyfaykrathxnphnthuxila mkcasukchakwakrathxnthukphnthu phnthuthbthim epnkrathxnphnthuemuxngdngedim khxng t talung aetimmikhnruckmaknk enuxngcakmichawswnthiplukkrathxnphnthuthbthimimmak aetdwyrschatithimirshwan lksnaphlklm mikhnadimihymak siehluxngnwl phiwkrathxneriybeniynswy epluxknim phlklm phnthunimnwl epnkrathxnthimilksna epluxkbang enuxhnanim imkradang puyhumemldhnafu rshwancdepnsayphnthuthiniymbriophkhknmak thrngphlklmaepn mikhwsn phiwepluxkeriybmisiehluxngxmnatal epluxkbang khnadphl 300 600 krmtxphl phlklmkarichpraoychntakrathxn krathxnichthaxaharkhawhwanidhlaychnid thngxaharkhaw echn aeknghngel aekngkhw phd takrathxn aelaxaharhwan echn krathxnthrngekhruxng krathxnlxyaekw krathxndxng aeym krathxnkwn aelaeylli hruxkinepnphlimsd krathxnepnphlimthimisartanxnumulxisrasung inekhtbiokhl praethsfilippins nakrathxnipaekngkbkathi thangdansmuniphr krathxnmisrrphkhunthangyahlayprakar ibsd ichkhbehngux tmxabaekikh epluxktntmnadumaekthxngesiy rksa rak epnyakhblm aekthxngesiy bid epnyathatu hlayswnkhxngkrathxnmivththiaekxkesb aelasarskdcakkingkrathxnbangchnidmiphlybyngmaernginhlxdthdlxng sarskdcakemldkrathxnmivththiepnyakhaaemlngxangxingswnxnurksaelaphthnaphrrnimekhtrxn krmwichakarekstr ISBN 978 974 436 697 9 krathxnpa sunywicyphuchswnsuokhthy subkhnemux 17 06 2567 eruxngnaru krathxn edliniws 29 singhakhm 2016 nidda hngswiwthn aelathwithxng hngswiwthn krathxn in phlim 111 chnid khunkhaxaharaelakarkin krungethph aesngaedd tulakhm 2550 hna 23 ISBN 978 974 9665 74 9 echiyngihmniws 16 tulakhm 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 19 tulakhm 2007 Rasadah M A et al 2004 Anti inflammatory agents from Sandoricum koetjape Merr Phytomedicine 11 2 261 3 Norito Kaneda et al phvsphakhm 1992 Plant Anticancer Agents L Cytotoxic Triterpenes from Sandoricum koetjape Stems Journal of Natural Products 55 654 659 Richard G Powell Kenneth L Mikolajczak aelakhna 1 mkrakhm 1991 Limonoid antifeedants from seed of Sandoricum koetjape Journal of Natural Products 54 1 241 246 doi 10 1021 np50073a025 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb Sandoricum koetjape khxmulthiekiywkhxngkb Sandoricum koetjape thiwikispichis Morton J 1987 Santol hna 199 201 in Fruits of warm climates Miami FL J F Morton ISBN 978 0 9610184 1 2 Sandoricum koetjape Germplasm Resources Information Network khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 12 thnwakhm 2012