บทความนี้ เนื่องจากชื่อเป็นศัพท์เฉพาะทางของจิตเวชศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานยังไม่บัญญัติภาษาไทย หนังสือเฉพาะทางใช้ศัพท์อังกฤษ |
Cotard delusion (อาการหลงผิดกอตาร์) หรือ Cotard's syndrome (กลุ่มอาการกอตาร์) หรือ Walking Corpse Syndrome (กลุ่มอาการศพเดินได้) เป็นโรคทางจิตหาได้ยากที่คนไข้มีอาการหลงผิดว่าตนเองตายแล้ว (ไม่ว่าจะโดยอุปมาหรือจริง ๆ) หรือไม่มีอยู่จริง ๆ หรือกำลังเปื่อยเน่าอยู่ หรือได้สูญเสียเลือดหรืออวัยวะภายในไป หรือบางครั้งในกรณีที่มีน้อย อาจจะมีการหลงผิดว่ามีชีวิตเป็นอมตะ
Cotard's delusion | |
---|---|
ชื่ออื่น | Cotard's syndrome, Walking Corpse Syndrome |
ภาพของนักประสาทวิทยา Jules Cotard (ค.ศ.1840–89) | |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์ |
อาการ
อาการหลักของ Cotard's syndrome คืออาการหลงผิดโดยการปฏิเสธไม่ยอมรับ (delusion of negation) คือบ่อยครั้งคนไข้ปฏิเสธว่าตนมีอยู่หรือว่าบางส่วนของร่างกายของตนมีอยู่ อาการปรากฏเป็น 3 ระยะ
- ในระยะแรก "Germination" คนไข้มีอาการซึมเศร้าพร้อมกับอาการโรคจิตอื่น ๆ (psychotic depression) และอาการ
- ในระยะที่สอง "Blooming" คนไข้ปรากฏอาการของ Cotard delusion และอาการหลงผิดโดยการปฏิเสธไม่ยอมรับอย่างเต็มที่
- ในระยะที่สาม "Chronic" คนไข้มีอาการหลงผิดอย่างรุนแรงและมีอาการซึมเศร้าแบบเรื้อรัง
คนไข้อาการนี้มักจะไม่สุงสิงกับคนอื่นและมักจะละเลยความสะอาดและสุขภาพของตน อาการหลงผิดนี้ทำให้คนไข้ไม่สามารถเข้าใจความจริง มีผลเป็นความเห็นผิดเพี้ยนอย่างรุนแรง เป็นอาการที่บ่อยครั้งพบในคนไข้โรคจิตเภท แม้ว่าอาการนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดประสาทหลอน (hallucination) แต่มีความหลงผิดที่มีกำลังเหมือนกับที่พบในคนไข้โรคจิตเภท
ความเป็นจริงที่ผิดเพี้ยน
ในปี ค.ศ. 1996 ยังและลีฟเฮดพรรณนาถึงกรณีคนไข้อาการนี้ผู้ประสบความบาดเจ็บที่สมองหลังจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
อาการต่าง ๆ ของคนไข้เกิดขึ้นท่ามกลางความรู้สึกรวม ๆ ว่า (สิ่งที่ประสบ) ไม่ใช่เรื่องจริง (เหมือนกับความรู้สึกเมื่อฝันว่าสิ่งที่ฝันไม่เป็นจริง) และความที่ตนเองตายแล้ว ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลของเมืองเอดินบะระ มารดาได้พาเขาไปที่ประเทศแอฟริกาใต้ เขาเชื่อว่า เขาได้ถูกพาไปยังนรก (ซึ่งยืนยันได้โดยความที่อากาศร้อน) และเขาได้สิ้นชีวิตไปแล้วเพราะภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นความเสี่ยงในระยะต้น ๆ ของการฟื้นตัวของเขา หรือเพราะโรคเอดส์ (เพราะได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับคนไข้โรคเอดส์ที่สิ้นชีวิตไปเพราะภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) หรือเพราะการฉีดยาเกินเพื่อโรคไข้เหลือง เขาคิดว่าเขาได้ "ขอยืมวิญญาณมารดาของเขาเพื่อที่จะพาเขาไปดูรอบ ๆ นรก" และเธอ (จริง ๆ แล้ว) ยังนอนหลับอยู่ในประเทศสกอตแลนด์
ตัวอย่างของความจริงที่ผิดเพี้ยนที่เป็นผลมาจากอาการหลงผิดกอตาร์พบในคนไข้อายุ 14 ปีผู้มีโรคลมชัก (epilepsy) คุณหมอกุมารจิตเวชในแผนกผู้ป่วยนอกที่ดูแลเขาพรรณนาถึงประวัติที่เขาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความตายที่เขารู้สึกเศร้าใจตลอดเวลา ไม่ค่อยเล่น ไม่สุงสิงกับคนอื่นและมีสภาพผิดปกติอื่น ๆ ทางร่างกาย เขาจะมีอาการอย่างนี้ 2 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งเป็นอยู่นาน 3 อาทิตย์ถึง 3 เดือน ในแต่ละครั้ง เด็กกล่าวว่า "ทุกคนตายแล้ว รวมทั้งต้นไม้ด้วย" และจะพรรณนาถึงตัวเองว่าเป็นกายที่ตายแล้ว และเตือนว่า โลกจะถูกทำลายภายใน 2-3 ชม. เขาจะไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่น่าชอบใจและไม่มีความสนใจในกิจกรรมอะไร ๆ
พยาธิสรีรภาพ
สภาพทางจิตและทางประสาทที่เป็นฐานของอาการนี้อาจจะสัมพันธ์กับอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ delusional misidentification (การระบุผิดด้วยความหลงผิด) ซึ่งเป็นความเชื่อว่าบุคคล สิ่งของหรือว่าสถานที่มีการเปลี่ยนตัวหรือแปรสภาพไป โดยสภาพทางประสาท อาการนี้เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับอาการหลงผิดคะกราส์ และอาการหลงผิดทั้งสองเชื่อกันว่าเป็นผลจากการขาดการเชื่อมต่อกันระหว่างเขตในสมองที่รู้จำใบหน้า (fusiform face area) กับเขตที่เชื่อมอารมณ์ความรู้สึกกับความรู้จำนั้น (อะมิกดะลาและเขตลิมบิกอื่น ๆ)
การขาดการเชื่อมต่อทำให้เกิดความรู้สึกว่าใบหน้าที่ได้เห็นไม่ใช่เป็นของบุคคลที่เห็น ดังนั้นจึงไม่เกิดความรู้สึกคุ้นเคยที่ใบหน้านี้ควรจะทำให้เกิดและทำให้เกิดความรู้สึกแบบ derealization คือเหมือนกับสิ่งที่ประสบนั้นไม่ใช่เป็นจริง ถ้าใบหน้าที่เห็นเป็นใบหน้าที่คนไข้รู้จัก คนไข้ก็จะมีความรู้สึกว่าเป็นของตัวปลอม (ซึ่งเป็นอาการของอาการหลงผิดคะกราส์) แต่ถ้าคนไข้เห็นหน้าตนเองแล้วไม่เกิดความรู้สึกว่าใบหน้ากับตนเองนั้นสัมพันธ์กัน ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า ตนเองไม่มีอยู่จริง ๆ
สิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ แสดงว่า อาการนี้สัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบข้าง (parietal lobe) คนไข้อาการนี้จะมีการฝ่อในสมองมากกว่ากลุ่มควบคุมโดยเฉพาะในสมองกลีบหน้าด้านใน (median)
อาการนี้พบโดยหลักในคนไข้โรคจิต เช่น โรคจิตเภท แต่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกับความเจ็บป่วยทางประสาทหรือทางจิตและมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับโรคซึมเศร้าและความรู้สึกแบบ derealization คือเหมือนกับสิ่งที่ประสบนั้นไม่ใช่เป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว ยังเกิดขึ้นในคนไข้โรคไมเกรนอีกด้วย
นอกจากนั้นแล้ว อาการหลงผิดนี้ยังเกิดจากผลข้างเคียงลบของยาต้านไวรัสอะไซโคลเวียร์ คืออาการมีความสัมพันธ์กับซีรั่มของเลือดที่มี CMMG ในระดับสูง (CMMG เป็น metabolite ของอะไซโคลเวียร์) คนไข้ที่มีไตเสียหายดูเหมือนจะมีความเสี่ยงแม้กับระดับยาที่ลดลงและในกรณีที่กล่าวถึงในสิ่งตีพิมพ์ การฟอกไตสามารถกำจัดอาการหลงผิดได้ภายใน 2-3 ชม. ซึ่งบอกเป็นนัยว่า อาการหลงผิดเช่นนี้อาจจะไม่ใช่เหตุที่เพียงพอเพื่อที่จะให้เข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทางจิตเวช
งานวิจัยพบว่า วัฒนธรรมมีผลต่อประสบการณ์หลงผิดของคนไข้อาการนี้ ซึ่งสนับสนุนความคิดว่า มีระบบประชานโดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นอมตะ โดยที่ความคิดหลักในปัจจุบันเชื่อว่า ความรู้สึกว่าเป็นอมตะและอาการหลงผิดอื่น ๆ เป็นวิวัฒนาการในมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความกดดันทางสังคม[]
การบำบัดรักษา
มีรายงานถึงการรักษาด้วยยาที่ประสบความสำเร็จหลายรายงาน มีทั้งการใช้การรักษาวิธีเดียวและการรักษาหลายวิธี มีการใช้ยาแก้ซึมเศร้า ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) และยารักษาอารมณ์ (mood stabilizer) หลายรายงานกล่าวถึงผลบวกที่เกิดขึ้นจากการช็อตด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy) ซึ่งโดยมากจะทำพร้อมกับการบำบัดด้วยยา
ประวัติ
อาการนี้มีชื่อตามประสาทแพทย์ชาวฝรั่งเศสนามว่าฌูล กอตาร์ (ค.ศ. 1840-1889) ผู้ได้พรรณนาถึงอาการนี้เป็นครั้งแรกในการบรรยายที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1880 ซึ่งเขาเรียกอาการนี้ว่า le délire de négation (อาการเพ้อโดยปฏิเสธไม่ยอมรับ) เขาแสดงว่า อาการมีระดับต่าง ๆ กันตั้งแต่เบาจนถึงหนัก ความสิ้นหวังและความเกลียดตนเองเป็นอาการของระดับเบา ส่วนระดับหนักมีอาการหลงผิดขั้นรุนแรงและความซึมเศร้าแบบเรื้อรัง
ในการบรรยายครั้งหนึ่ง นพ. กอตาร์ได้กล่าวถึงคนไข้คนหนึ่งซึ่งมีนามสมมติว่านางสาว X ผู้ปฏิเสธถึงการมีอยู่ของหลายส่วนในร่างกายของเธอและว่าเธอต้องทานอาหาร หลังจากนั้นเธอก็เชื่อว่าเธอถูกพระเจ้าสาปชั่วกาลนานและไม่สามารถเสียชีวิตได้โดยธรรมชาติ ในที่สุดเธอก็เสียชีวิตเพราะขาดอาหาร
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- (PDF). p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-06. สืบค้นเมื่อ 2557-06-18.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) 2016-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Berrios G.E. and Luque R. (1995) Cotard's delusion or syndrome?. Comprehensive Psychiatry 36: 218-223
- Berrios G.E., Luque R. (1995). "Cotard Syndrome: clinical analysis of 100 cases". Acta Psychiatrica Scandinavica. 91: 185–188. doi:10.1111/j.1600-0447.1995.tb09764.x.
- Provider: John Wiley & Sons, Ltd Content:text/plain; charset="UTF-8" TY - JOUR AU - Yarnada, K. AU - Katsuragi, S. AU - Fujii, I. TI - A case study of Cotard's syndrome: stages and diagnosis JO - Acta Psychiatrica Scandinavica VL - 100 IS - 5 PB - Blackwell Publishing Ltd SN - 1600-0447 UR - http://dx.doi.org/10.1111/j.1600-0447.1999.tb10884.x DO - 10.1111/j.1600-0447.1999.tb10884.x SP - 396 EP - 398 KW - Cotard's syndrome KW - depression KW - electroconvulsive therapy PY - 1999 ER -
- Young, A. W., Robertson, I. H., Hellawell, D. J., de, P. K. W., & Pentland, B. (January 1, 1992) . Cotard delusion after brain injury. Psychological Medicine, 22, 3, 799-804.
- Young, A. W.; Leafhead, K. M. (1996). "Betwixt Life and Death: Case Studies of the Cotard Delusion". ใน Halligan, P. W.; Marshall, J. C. (บ.ก.). Method in Madness: Case studies in Cognitive Neuropsychiatry. Hove: Psychology Press. p. 155.
- Mendhekar, D. N., & Gupta, N. (January 1, 2005) . Recurrent postictal depression with Cotard delusion. Indian Journal of Pediatrics, 72, 6, 529-31.
- Pearn, J. & Gardner-Thorpe, C (May 14, 2002). "Jules Cotard (1840-1889) His life and the unique syndrome that bears his name" (abstract). Neurology. 58 (9): 1400–3. PMID 12011289.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - TY - JOUR T1 - Brain atrophy and interhemispheric fissure enlargement in Cotard's syndrome. AU - Joseph,AB AU - O'Leary,DH PY - 1986/10/ JF - The Journal of clinical psychiatry JO - J Clin Psychiatry IS - 10 VL - 47 N1 - Case Reports, KW - Adolescent KW - Adult KW - Atrophy KW - Brain KW - Death KW - Delusions KW - Female KW - Frontal Lobe KW - Humans KW - Male KW - Middle Aged KW - Tomography, X-Ray Computed SP - 518-20 UR - http://ukpmc.ac.uk/abstract/MED/3759917 N2 - อาการหลักของ Cotard's syndrome ก็คืออาการหลงผิดว่าตายแล้ว สิ่งตีพิมพ์ชี้ว่ามักเกิดขึ้นกับรอยโรคของสมองกลีบข้าง ความสัมพันธ์เช่นนี้พบโดยการเปรียบเทียบที่ใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (computed tomography) ในคนไข้ 8 คนผู้มี Cotard's syndrome กับกลุ่มควบคุม 8 คนที่มีความเหมือนกันเท่าที่จะเป็นไปได้ในเรื่องของวัย เพศ เผ่าพันธ์และข้อวินิจฉัยหลักทางจิตเวช มีแนวโน้ม 2 อย่างที่พบ คือเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม คนไข้อาการนี้มีการฝ่อในสมองโดยทั่ว ๆ ไปมากกว่า โดยเฉพาะในสมองกลีบหน้าด้านใน (median) แต่ว่าความผิดปกติในสมองกลีบข้างอย่างเดียวไม่สามารถแยกกลุ่มวิจัยจากกลุ่มควบคุมได้ ซึ่งหมายความว่า อาการนี้อาจสัมพันธ์กับการฝ่อในสมองหลายเขต (multifocal) และความผิดปกติในสมองกลีบหน้า ER -
- Anders Helldén, Ingegerd Odar-Cederlöf, Kajsa Larsson, Ingela Fehrman-Ekholm,Thomas Lindén (December 2007). "Death delusion" (Journal Article). BMJ. 335 (7633): 1305–1305. doi:10.1136/bmj.39408.393137.BE. PMC 2151143. PMID 18156240.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Cohen, David; Consoli, Angèle (2006). "Production of supernatural beliefs during Cotard's syndrome, a rare psychotic depression". Behavioral and Brain Sciences. 29 (5): 468–470. doi:10.1017/S0140525X06299102.
- Debruyne, H.; Portzky, M.; Van den Eynde, F.; Audenaert, K. (June 2010). "Cotard's syndrome: A Review". Current Psychiatry Reports. 11 (3): 197–202. doi:10.1007/s11920-009-0031-z. PMID 19470281. S2CID 23755393.
- Cotard's syndrome ใน Who Named It?
- Berrios G.E. & Luque R. (1999) Cotard's 'On hypochondriacal delusions in a severe form of anxious melancholia'. History of Psychiatry 10: 269-278.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnimichuxepnphasaxngkvs enuxngcakchuxepnsphthechphaathangkhxngcitewchsastr rachbnthitysthanyngimbyytiphasaithy hnngsuxechphaathangichsphthxngkvs Cotard delusion xakarhlngphidkxtar hrux Cotard s syndrome klumxakarkxtar hrux Walking Corpse Syndrome klumxakarsphedinid epnorkhthangcithaidyakthikhnikhmixakarhlngphidwatnexngtayaelw imwacaodyxupmahruxcring hruximmixyucring hruxkalngepuxyenaxyu hruxidsuyesiyeluxdhruxxwywaphayinip hruxbangkhrnginkrnithiminxy xaccamikarhlngphidwamichiwitepnxmtaCotard s delusionchuxxunCotard s syndrome Walking Corpse Syndromephaphkhxngnkprasathwithya Jules Cotard kh s 1840 89 sakhawichacitewchsastrxakarxakarhlkkhxng Cotard s syndrome khuxxakarhlngphidodykarptiesthimyxmrb delusion of negation khuxbxykhrngkhnikhptiesthwatnmixyuhruxwabangswnkhxngrangkaykhxngtnmixyu xakarpraktepn 3 raya inrayaaerk Germination khnikhmixakarsumesraphrxmkbxakarorkhcitxun psychotic depression aelaxakar inrayathisxng Blooming khnikhpraktxakarkhxng Cotard delusion aelaxakarhlngphidodykarptiesthimyxmrbxyangetmthi inrayathisam Chronic khnikhmixakarhlngphidxyangrunaerngaelamixakarsumesraaebberuxrng khnikhxakarnimkcaimsungsingkbkhnxunaelamkcalaelykhwamsaxadaelasukhphaphkhxngtn xakarhlngphidnithaihkhnikhimsamarthekhaickhwamcring miphlepnkhwamehnphidephiynxyangrunaerng epnxakarthibxykhrngphbinkhnikhorkhcitephth aemwaxakarnixaccaimthaihekidprasathhlxn hallucination aetmikhwamhlngphidthimikalngehmuxnkbthiphbinkhnikhorkhcitephth khwamepncringthiphidephiyn inpi kh s 1996 yngaelalifehdphrrnnathungkrnikhnikhxakarniphuprasbkhwambadecbthismxnghlngcakxubtiehturthckryanynt xakartang khxngkhnikhekidkhunthamklangkhwamrusukrwm wa singthiprasb imicheruxngcring ehmuxnkbkhwamrusukemuxfnwasingthifnimepncring aelakhwamthitnexngtayaelw ineduxnmkrakhm kh s 1990 hlngcakthixxkcakorngphyabalkhxngemuxngexdinbara mardaidphaekhaipthipraethsaexfrikait ekhaechuxwa ekhaidthukphaipyngnrk sungyunynidodykhwamthixakasrxn aelaekhaidsinchiwitipaelwephraaphawaphisehtutidechux sepsis sungcring aelwkepnkhwamesiynginrayatn khxngkarfuntwkhxngekha hruxephraaorkhexds ephraaidxankhawhnngsuxphimphekiywkbkhnikhorkhexdsthisinchiwitipephraaphawaphisehtutidechux hruxephraakarchidyaekinephuxorkhikhehluxng ekhakhidwaekhaid khxyumwiyyanmardakhxngekhaephuxthicaphaekhaipdurxb nrk aelaethx cring aelw yngnxnhlbxyuinpraethsskxtaelnd twxyangkhxngkhwamcringthiphidephiynthiepnphlmacakxakarhlngphidkxtarphbinkhnikhxayu 14 piphumiorkhlmchk epilepsy khunhmxkumarcitewchinaephnkphupwynxkthiduaelekhaphrrnnathungprawtithiekhaphudthungeruxngekiywkbkhwamtaythiekharusukesraictlxdewla imkhxyeln imsungsingkbkhnxunaelamisphaphphidpktixun thangrangkay ekhacamixakarxyangni 2 khrngtxpi aetlakhrngepnxyunan 3 xathitythung 3 eduxn inaetlakhrng edkklawwa thukkhntayaelw rwmthngtnimdwy aelacaphrrnnathungtwexngwaepnkaythitayaelw aelaetuxnwa olkcathukthalayphayin 2 3 chm ekhacaimmiptikiriyatxsingerathinachxbicaelaimmikhwamsnicinkickrrmxair phyathisrirphaphsphaphthangcitaelathangprasaththiepnthankhxngxakarnixaccasmphnthkbxakarxun thiekiywkhxngkb delusional misidentification karrabuphiddwykhwamhlngphid sungepnkhwamechuxwabukhkhl singkhxnghruxwasthanthimikarepliyntwhruxaeprsphaphip odysphaphthangprasath xakarniechuxknwasmphnthkbxakarhlngphidkhakras aelaxakarhlngphidthngsxngechuxknwaepnphlcakkarkhadkarechuxmtxknrahwangekhtinsmxngthirucaibhna fusiform face area kbekhtthiechuxmxarmnkhwamrusukkbkhwamrucann xamikdalaaelaekhtlimbikxun karkhadkarechuxmtxthaihekidkhwamrusukwaibhnathiidehnimichepnkhxngbukhkhlthiehn dngnncungimekidkhwamrusukkhunekhythiibhnanikhwrcathaihekidaelathaihekidkhwamrusukaebb derealization khuxehmuxnkbsingthiprasbnnimichepncring thaibhnathiehnepnibhnathikhnikhruck khnikhkcamikhwamrusukwaepnkhxngtwplxm sungepnxakarkhxngxakarhlngphidkhakras aetthakhnikhehnhnatnexngaelwimekidkhwamrusukwaibhnakbtnexngnnsmphnthkn kcathaihekidkhwamrusukwa tnexngimmixyucring singtiphimphtang aesdngwa xakarnismphnthkbrxyorkhinsmxngklibkhang parietal lobe khnikhxakarnicamikarfxinsmxngmakkwaklumkhwbkhumodyechphaainsmxngklibhnadanin median xakarniphbodyhlkinkhnikhorkhcit echn orkhcitephth aetsamarthekidkhunphrxmkbkhwamecbpwythangprasathhruxthangcitaelamikhwamsmphnthxyangyingkborkhsumesraaelakhwamrusukaebb derealization khuxehmuxnkbsingthiprasbnnimichepncring nxkcaknnaelw yngekidkhuninkhnikhorkhimekrnxikdwy nxkcaknnaelw xakarhlngphidniyngekidcakphlkhangekhiynglbkhxngyataniwrsxaisokhlewiyr khuxxakarmikhwamsmphnthkbsirmkhxngeluxdthimi CMMG inradbsung CMMG epn metabolite khxngxaisokhlewiyr khnikhthimiitesiyhayduehmuxncamikhwamesiyngaemkbradbyathildlngaelainkrnithiklawthunginsingtiphimph karfxkitsamarthkacdxakarhlngphididphayin 2 3 chm sungbxkepnnywa xakarhlngphidechnnixaccaimichehtuthiephiyngphxephuxthicaihekhaorngphyabalephuxrbkarrksathangcitewch nganwicyphbwa wthnthrrmmiphltxprasbkarnhlngphidkhxngkhnikhxakarni sungsnbsnunkhwamkhidwa mirabbprachanodyechphaathikxihekidkhwamrusukwaepnxmta odythikhwamkhidhlkinpccubnechuxwa khwamrusukwaepnxmtaaelaxakarhlngphidxun epnwiwthnakarinmnusythitxbsnxngtxkhwamkddnthangsngkhm karbabdrksamiraynganthungkarrksadwyyathiprasbkhwamsaerchlayrayngan mithngkarichkarrksawithiediywaelakarrksahlaywithi mikarichyaaeksumesra yarksaorkhcit antipsychotic aelayarksaxarmn mood stabilizer hlayraynganklawthungphlbwkthiekidkhuncakkarchxtdwyiffa electroconvulsive therapy sungodymakcathaphrxmkbkarbabddwyyaprawtixakarnimichuxtamprasathaephthychawfrngessnamwachul kxtar kh s 1840 1889 phuidphrrnnathungxakarniepnkhrngaerkinkarbrryaythikrungparisinpi kh s 1880 sungekhaeriykxakarniwa le delire de negation xakarephxodyptiesthimyxmrb ekhaaesdngwa xakarmiradbtang kntngaetebacnthunghnk khwamsinhwngaelakhwamekliydtnexngepnxakarkhxngradbeba swnradbhnkmixakarhlngphidkhnrunaerngaelakhwamsumesraaebberuxrng inkarbrryaykhrnghnung nph kxtaridklawthungkhnikhkhnhnungsungminamsmmtiwanangsaw X phuptiesththungkarmixyukhxnghlayswninrangkaykhxngethxaelawaethxtxngthanxahar hlngcaknnethxkechuxwaethxthukphraecasapchwkalnanaelaimsamarthesiychiwitidodythrrmchati inthisudethxkesiychiwitephraakhadxaharduephimphawaimruibhnaechingxrrthaelaxangxing PDF p 6 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2016 12 06 subkhnemux 2557 06 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help 2016 12 06 thi ewyaebkaemchchin Berrios G E and Luque R 1995 Cotard s delusion or syndrome Comprehensive Psychiatry 36 218 223 Berrios G E Luque R 1995 Cotard Syndrome clinical analysis of 100 cases Acta Psychiatrica Scandinavica 91 185 188 doi 10 1111 j 1600 0447 1995 tb09764 x Provider John Wiley amp Sons Ltd Content text plain charset UTF 8 TY JOUR AU Yarnada K AU Katsuragi S AU Fujii I TI A case study of Cotard s syndrome stages and diagnosis JO Acta Psychiatrica Scandinavica VL 100 IS 5 PB Blackwell Publishing Ltd SN 1600 0447 UR http dx doi org 10 1111 j 1600 0447 1999 tb10884 x DO 10 1111 j 1600 0447 1999 tb10884 x SP 396 EP 398 KW Cotard s syndrome KW depression KW electroconvulsive therapy PY 1999 ER Young A W Robertson I H Hellawell D J de P K W amp Pentland B January 1 1992 Cotard delusion after brain injury Psychological Medicine 22 3 799 804 Young A W Leafhead K M 1996 Betwixt Life and Death Case Studies of the Cotard Delusion in Halligan P W Marshall J C b k Method in Madness Case studies in Cognitive Neuropsychiatry Hove Psychology Press p 155 Mendhekar D N amp Gupta N January 1 2005 Recurrent postictal depression with Cotard delusion Indian Journal of Pediatrics 72 6 529 31 Pearn J amp Gardner Thorpe C May 14 2002 Jules Cotard 1840 1889 His life and the unique syndrome that bears his name abstract Neurology 58 9 1400 3 PMID 12011289 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk TY JOUR T1 Brain atrophy and interhemispheric fissure enlargement in Cotard s syndrome AU Joseph AB AU O Leary DH PY 1986 10 JF The Journal of clinical psychiatry JO J Clin Psychiatry IS 10 VL 47 N1 Case Reports KW Adolescent KW Adult KW Atrophy KW Brain KW Death KW Delusions KW Female KW Frontal Lobe KW Humans KW Male KW Middle Aged KW Tomography X Ray Computed SP 518 20 UR http ukpmc ac uk abstract MED 3759917 N2 xakarhlkkhxng Cotard s syndrome kkhuxxakarhlngphidwatayaelw singtiphimphchiwamkekidkhunkbrxyorkhkhxngsmxngklibkhang khwamsmphnthechnniphbodykarepriybethiybthiichkarthayphaphrngsiswntdxasykhxmphiwetxr computed tomography inkhnikh 8 khnphumi Cotard s syndrome kbklumkhwbkhum 8 khnthimikhwamehmuxnknethathicaepnipidineruxngkhxngwy ephs ephaphnthaelakhxwinicchyhlkthangcitewch miaenwonm 2 xyangthiphb khuxemuxethiybkbklumkhwbkhum khnikhxakarnimikarfxinsmxngodythw ipmakkwa odyechphaainsmxngklibhnadanin median aetwakhwamphidpktiinsmxngklibkhangxyangediywimsamarthaeykklumwicycakklumkhwbkhumid sunghmaykhwamwa xakarnixacsmphnthkbkarfxinsmxnghlayekht multifocal aelakhwamphidpktiinsmxngklibhna ER Anders Hellden Ingegerd Odar Cederlof Kajsa Larsson Ingela Fehrman Ekholm Thomas Linden December 2007 Death delusion Journal Article BMJ 335 7633 1305 1305 doi 10 1136 bmj 39408 393137 BE PMC 2151143 PMID 18156240 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Cohen David Consoli Angele 2006 Production of supernatural beliefs during Cotard s syndrome a rare psychotic depression Behavioral and Brain Sciences 29 5 468 470 doi 10 1017 S0140525X06299102 Debruyne H Portzky M Van den Eynde F Audenaert K June 2010 Cotard s syndrome A Review Current Psychiatry Reports 11 3 197 202 doi 10 1007 s11920 009 0031 z PMID 19470281 S2CID 23755393 Cotard s syndrome in Who Named It Berrios G E amp Luque R 1999 Cotard s On hypochondriacal delusions in a severe form of anxious melancholia History of Psychiatry 10 269 278