แร้ง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน–ปัจจุบัน | |
---|---|
แร้งเทาหลังขาวในอินเดีย | |
แร้งดำในปานามา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
Families | |
แร้ง หรือ อีแร้ง เป็นนกขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง อยู่ในกลุ่มนกล่าเหยื่อเช่นเดียวกับเหยี่ยว, อินทรี หรือนกเค้าแมว โดยที่แร้งถือว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้
ลักษณะ
แร้ง จะแตกต่างไปจากนกในกลุ่มนี้คือ จะไม่ล่าเหยื่อหรือกินสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นอาหารได้ แต่จะกินเฉพาะซากสัตว์ที่ตายแล้ว อันเนื่องจากอุ้งตีนของแร้งนั้นไม่แข็งแรงพอที่จะขย้ำเหยื่อได้ เพราะได้วิวัฒนาการให้มีอุ้งตีนที่แบนและกรงเล็บที่เล็กสั้นเหมาะกับการอยู่บนพื้นดินมากกว่านกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แร้งมีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย มีลิ้นที่มีร่องลึกและเงี่ยงเล็ก ๆ หันไปทางด้านหลังเพื่อช่วยในการกินอาหารคำโต อีกทั้งแร้งยังมีกระเพาะพิเศษขนาดใหญ่ที่เก็บอาหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลอดอาหาร รวมถึงในลำไส้รวมถึงกระเพาะของแร้งก็ยังมีกรดที่มีฤทธิกัดกร่อนสามารถฆ่าแบคทีเรียหรือจุลชีพอื่น ๆ ที่มีอยู่ในซากสัตว์ด้วย จึงทำให้แร้งสามารถกินซากเน่าเปื่อยได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่กระนั้นแร้งก็ยังสามารถจับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, จิ้งจก หรือไข่นกชนิดอื่น กินเป็นอาหารในบางครั้งได้อีกด้วย
แร้งบางชนิดสามารถกินอาหารที่มีน้ำหนักถึงร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัวได้ โดยเก็บไว้ในกระเพาะอาหารพิเศษที่เป็นส่วนหนึ่งของหลอดอาหารเพื่อรอการย่อย
การจำแนก
แร้งแบ่งออกได้เป็น 23 ชนิด ใน 2 วงศ์ใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
- แร้งโลกเก่า จัดอยู่ในวงศ์ Aegypiinae ทำรังและวางไข่บนต้นไม้หรือหน้าผาสูง และหาอาหารโดยการใช้สายตามองจากที่สูงขณะบินวนอยู่บนท้องฟ้า แร้งในวงศ์นี้พบได้ทั่วไปในทวีปแอฟริกา, เอเชียและยุโรป
- แร้งโลกใหม่ จัดอยู่ในวงศ์ Cathartidae มีรูปร่างที่แตกต่างไปจากแร้งโลกเก่าอย่างเห็นได้ชัด โดยแร้งในวงศ์นี้พบได้เฉพาะทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ มีชื่อสามัญเรียกในภาษาอังกฤษว่า "Condor" โดยทั่วไปแล้วจะมีสีสันที่สวยงามกว่าแร้งโลกเก่า วางไข่บนพื้นดิน โดยไม่ทำรัง และหาอาหารโดยการดมกลิ่น
แร้งทั้ง 2 กลุ่ม มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน คือ กินซากสัตว์หรือซากศพมนุษย์ที่ตายไป โดยมักจะอยู่รวมเป็นฝูง และบินวนไปรอบ ๆ ที่มีซากศพหรือซากสัตว์ตายเพื่อรอจังหวะกิน แร้งจะตะกละตะกลามมากเวลาลงกินอาหาร มักจะจิกตีหรือแย่งชิงกันเสียงดังบ่อย ๆ เวลากิน จึงมีสำนวนในภาษาไทยว่า "แร้งทึ้ง" อันหมายถึง พฤติกรรมการแย่งชิงกันอย่างน่าเกลียด แต่ด้วยความที่เป็นสัตว์กินซาก แร้งจึงใช้เวลาที่นอกเหนือไปจากการกินอาหาร ด้วยการไซ้ขน กางปีก ผึ่งแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย โดยแร้งอาจใช้พื้นที่หากินกว้างถึง 480,000 ตารางกิโลเมตร โดยร่อนไปบนกระแสลมร้อนโดยที่ไม่ต้องใช้พลังงานมากเลย เนื่องจากช่วงปีกที่กว้างใหญ่ และถึงแม้ว่าสายตาของแร้งอาจจะดีสู้นกล่าเหยื่อจำพวกอื่นไม่ได้ แต่แร้งก็ยังสามารถมองเห็นได้ไกลถึง 35 กิโลเมตร จากบนท้องฟ้า
แร้งเป็นนกที่ครองคู่เพียงคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต ซึ่งอาจจะครองคู่อยู่ด้วยกันนานถึง 30 ปี
ชนิดที่พบในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยพบแร้งทั้งหมด 5 ชนิด โดยแบ่งเป็นแร้งอพยพ 2 ชนิด คือ แร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) และ แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (Gyps himalayensis) แร้งประจำถิ่น 3 ชนิด คือ พญาแร้ง (Sarcogyps calvus), แร้งสีน้ำตาล (Gyps itenuirostris) และแร้งเทาหลังขาว (G. bengalensis) ซึ่งทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมด
แร้งประจำถิ่นไทยในปัจจุบันนี้ มีโครงการเพาะพันธุ์พญาแร้งเพื่อฟื้นฟูประชากรในถิ่นอาศัยที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกทั้งยังมีการจัดทำแหล่งอาหารโดยจัดหาซากสัตว์ที่ปลอดจากยาต้านอักเสบไดโคลฟีแนค ให้แร้งสีน้ำตาลหิมาลัยกินเป็นอาหารในฤดูหนาว เรียกว่า "ร้านอาหารแร้ง" (Vulture restaurant หรือ feeding station) ที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครนายก โดยกลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศไทย และงานวิจัยนกนักล่าและอายุรศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และกองทุนวิจัยนกนักล่าเพื่อการอนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร ์ ร่วมกับชมรมอนุรักษ์นกเหยี่ยวปากพลี และกลุ่มถ่ายภาพนกและธรรมชาติ Bird Home
ในวัฒนธรรมและความเชื่อ
ของไทย
แร้งในความเชื่อของมนุษย์ แทบทุกวัฒนธรรมจะถือว่าเป็นนกที่อัปมงคล เพราะพฤติกรรมที่กินซากศพและรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดน่ากลัว ในความเชื่อของคนไทย แร้งเป็นนกที่นำมาซึ่งความอัปมงคลเช่นเดียวกับนกแสก เมื่อสมัยอดีต ประเพณีการปลงศพในบางพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญหรือในบางวัฒนธรรม เช่น ทิเบต จะทิ้งซากศพไว้กลางแจ้ง มักจะมีแร้งมาเกาะคอยรอกินศพอยู่บริเวณรอบ ๆ นั้นเสมอ ๆ และเมื่อครั้งที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างร้ายแรง ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๓ ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๒ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในพระนคร การเผาศพทำไม่ทัน จนต้องมีศพกองสุมกันที่วัดสระเกศ มีแร้งลงมาจิกกินเป็นที่น่าสังเวชแก่ผู้พบเห็น จนมีคำกล่าวว่า "แร้งวัดสระเกศ" คู่กับ "เปรตวัดสุทัศน์" นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่าในเช้าของวันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2481 มีแร้งนับจำนวนนับร้อยตัวได้บินมาลงที่ท้องสนามหลวงอย่างไม่ทราบสาเหตุ จากนั้นในเวลาบ่ายของวันเดียวกันก็ได้บินกลับไป ซึ่งต่อมาก็ได้มีเหตุร้ายแรงของบ้านเมืองเกิดขึ้น คือ กบฏพระยาทรงสุรเดช และสงครามอินโดจีน
และชื่อของอำเภอแก่งคอย อำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี อันเป็นปากทางเข้าสู่ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่หรือ "ดงพญาไฟ" ในอดีต ก็เคยมีชื่อเรียกว่า "แร้งคอย" อันเนื่องมาจากการที่ผู้คนที่สัญจรเข้าไปในป่าแห่งนี้ มักจะตายลงด้วยไข้ป่า จนแร้งต้องมาคอยกินซากศพ จึงเป็นที่มาของชื่ออำเภอ
และด้วยความที่แร้งเป็นนกขนาดใหญ่ที่หัวและคอล้านเลี่ยนดูคล้ายไก่งวง ในอดีตก็เคยมีคนไทยนำแร้งมาขายแก่ชาวต่างชาติเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า โดยหลอกว่าเป็นไก่งวงมาแล้ว แต่ท้ายที่สุดความก็แตก เนื่องจากแร้งตัวนั้นได้บินหนีไปในที่สุด
ในวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป
|
ในวัฒนธรรมของทิเบต มีพิธีศพที่เรียกว่า "" ที่ญาติผู้ตายจะให้สัปเหร่อนำร่างผู้ตาย ไม่ใส่โลง ไม่ใส่เสื้อผ้า ทำพิธีสวดมนต์ส่งวิญญาณ ก่อนที่สัปเหร่อจะหามร่างของผู้ตายขึ้นไปบนภูเขาสูง พร้อมใช้มีดแล่เนื้อของผู้ตายเป็นชิ้น ๆ แล้วให้แร้งกิน เชื่อว่าแร้งจะเป็นผู้นำทางวิญญาณผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์
ในชนเผ่าพื้นเมืองแถบแอฟริกาใต้ มียาพื้นบ้านที่เรียกว่า "มูติ" (Muti) ทำมาจากหัวแร้งตากแห้ง เชื่อว่าหากนำไปเผาไฟ ผู้ที่ได้สูดดมควันที่ลอยขึ้นมาจะเคลิบเคลิ้มทำให้ล่วงรู้อนาคตได้เหมือนการเข้าฌาน
จากบันทึกของชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้เป็นที่รู้จักจากการเผยแพร่แนวคิดเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการและการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ขณะที่โดยสารบนเรือบีเกิลในปี ค.ศ. 1835 ดาร์วินได้บันทึกถึงแร้งไว้ว่า "น่าขยะแขยง", "มีหัวล้าน" และ "เลือกเกลือกกลิ้งบนซากเน่าเหม็น"
สถานะในปัจจุบัน
ปัจจุบัน แร้งแทบทุกชนิดตกอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์และหายาก เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ประเพณีการปลงศพก็ไม่ได้ทำอย่างในอดีต ทำให้แร้งจำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน และในอนุทวีปอินเดีย แร้งหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ
อ้างอิง
- บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร์. ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2514, หน้า 67
- หน้า 86-109, วายร้ายแสนดี โดย เอลิซาเบท รอยต์. เนชั่นแนลจีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย ฉบับที่ 174: มกราคม 2559
- แร้ง - ชีวิตพิศดารของสัตว์ (๒) โดย ประพันธ์ บุญกลิ่นขจร: ต่วยตูน
- ช่วยแร้งเชิงรุก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1442482
- Thai Raptor Group www.facebook.com/ThaiRaptorGroup.TRG
- ร้านอาหารแร้ง https://adaymagazine.com/condor-restuarant/
- Feeding stations for near-threatened HImalayan Vultures http://www.birdsofthailand.org/content/feeding-stations-near-threatened-himalayan-vultures 2019-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หน้า 19-21, ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช โดย พายัพ โรจนวิภาต (พ.ศ. 2554)
- [] สารคดีพิเศษ : แก่งคอย : ผู้คน สายน้ำ ขุนเขา ใต้เงาหมอกควัน จากสารคดี
- [] รายการ ตอน สามแพร่งแห่งคลองรอบกรุง ปริศนารอบป้อมมหากาฬ ออกอากาศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
- เวหาฌาปนกิจ (Sky Burial) วิธีทำศพแบบ ทิเบต เลือดเนื้อเพื่อสัตว์โลก[]
- นักสิ่งแวดล้อมร่วมด้วยช่วยอีแร้งพม่า 2021-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากผู้จัดการออนไลน์
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 2009-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นออนไลน์)
แหล่งข้อมูลอื่น
- [] อีแร้ง Vulture เกิดมาเพื่อกินศพ - by pook จากโอเคเนชั่น
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
aerng chwngewlathimichiwitxyu smyimoxsin pccubn PreꞒ Ꞓ O S D C P T J K Pg N aerngethahlngkhawinxinediyaerngdainpanamakarcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Animaliaiflm Chordatachn AvesFamiliesAccipitridae Aegypiinae Cathartidae aerngsinatal Gyps indicus aerng hrux xiaerng epnnkkhnadihycaphwkhnung xyuinklumnklaehyuxechnediywkbehyiyw xinthri hruxnkekhaaemw odythiaerngthuxwaepnnkthimikhnadihythisudinklumnilksnaaerng caaetktangipcaknkinklumnikhux caimlaehyuxhruxkinstwthiyngmichiwitxyu epnxaharid aetcakinechphaasakstwthitayaelw xnenuxngcakxungtinkhxngaerngnnimaekhngaerngphxthicakhyaehyuxid ephraaidwiwthnakarihmixungtinthiaebnaelakrngelbthielksnehmaakbkarxyubnphundinmakkwanklaehyuxcaphwkxun aerngmiruprangodyrwmkhux pikkwang hangsn mikhxthiyaw hwelk briewntnkhxmikhnsikhawrxbehmuxnswmphwngmaly milksnaednkhux khnthihwaelalakhxaethbimmielycnduehmuxnolneliyn snnisthanwakhngepnephraaphvtikrrmkarkinsakstw cungimmikhnephuximihepnthisasmkhxngechuxorkh aelaephuxkhwamsadwkinkarinkarmudkinsakdwy milinthimirxnglukaelaengiyngelk hnipthangdanhlngephuxchwyinkarkinxaharkhaot xikthngaerngyngmikraephaaphiesskhnadihythiekbxaharsungepnswnhnungkhxnghlxdxahar rwmthunginlaisrwmthungkraephaakhxngaerngkyngmikrdthimivththikdkrxnsamarthkhaaebkhthieriyhruxculchiphxun thimixyuinsakstwdwy cungthaihaerngsamarthkinsakenaepuxyidodyimepnxntray aetkrannaerngkyngsamarthcbstwkhnadelk echn aemlnghruxstweluxykhlankhnadelk echn kingka cingck hruxikhnkchnidxun kinepnxaharinbangkhrngidxikdwy aerngbangchnidsamarthkinxaharthiminahnkthungrxyla 20 khxngnahnktwid odyekbiwinkraephaaxaharphiessthiepnswnhnungkhxnghlxdxaharephuxrxkaryxykarcaaenklksnahwaelalakhxphyaaerng Sarcogyps calvus thiolneliyn aerngaebngxxkidepn 23 chnid in 2 wngsihy dwykn khux aerngolkeka cdxyuinwngs Aegypiinae tharngaelawangikhbntnimhruxhnaphasung aelahaxaharodykarichsaytamxngcakthisungkhnabinwnxyubnthxngfa aernginwngsniphbidthwipinthwipaexfrika exechiyaelayuorp aerngolkihm cdxyuinwngs Cathartidae miruprangthiaetktangipcakaerngolkekaxyangehnidchd odyaernginwngsniphbidechphaathwipxemrikaehnuxaelaxemrikait michuxsamyeriykinphasaxngkvswa Condor odythwipaelwcamisisnthiswyngamkwaaerngolkeka wangikhbnphundin odyimtharng aelahaxaharodykardmklin aerngthng 2 klum miphvtikrrmthikhlaykhlungkn khux kinsakstwhruxsaksphmnusythitayip odymkcaxyurwmepnfung aelabinwniprxb thimisaksphhruxsakstwtayephuxrxcnghwakin aerngcataklataklammakewlalngkinxahar mkcaciktihruxaeyngchingknesiyngdngbxy ewlakin cungmisanwninphasaithywa aerngthung xnhmaythung phvtikrrmkaraeyngchingknxyangnaekliyd aetdwykhwamthiepnstwkinsak aerngcungichewlathinxkehnuxipcakkarkinxahar dwykariskhn kangpik phungaedd ephuxkhaechuxorkhdwy odyaerngxacichphunthihakinkwangthung 480 000 tarangkiolemtr odyrxnipbnkraaeslmrxnodythiimtxngichphlngnganmakely enuxngcakchwngpikthikwangihy aelathungaemwasaytakhxngaerngxaccadisunklaehyuxcaphwkxunimid aetaerngkyngsamarthmxngehnidiklthung 35 kiolemtr cakbnthxngfa aerngepnnkthikhrxngkhuephiyngkhuediywtlxdthngchiwit sungxaccakhrxngkhuxyudwyknnanthung 30 pichnidthiphbinpraethsithysahrbinpraethsithyphbaerngthnghmd 5 chnid odyaebngepnaerngxphyph 2 chnid khux aerngdahimaly Aegypius monachus aela aerngsinatalhimaly Gyps himalayensis aerngpracathin 3 chnid khux phyaaerng Sarcogyps calvus aerngsinatal Gyps itenuirostris aelaaerngethahlngkhaw G bengalensis sungthukchnidepnstwpakhumkhrxng misthanphaphiklsuyphnthuthnghmd aerngpracathinithyinpccubnni miokhrngkarephaaphnthuphyaaerngephuxfunfuprachakrinthinxasythiekhtrksaphnthustwpahwykhaaekhng odykrmxuthyanaehngchati stwpaaelaphnthuphuch xngkhkarswnstwinphrabrmrachupthmph aelamhawithyalyekstrsastr xikthngyngmikarcdthaaehlngxaharodycdhasakstwthiplxdcakyatanxkesbidokhlfiaenkh ihaerngsinatalhimalykinepnxaharinvduhnaw eriykwa ranxaharaerng Vulture restaurant hrux feeding station thicnghwdphuektaelacnghwdnkhrnayk odyklumsuksaehyiywaelankxinthriinpraethsithy aelanganwicynknklaaelaxayursastrephuxkarxnurks aelakxngthunwicynknklaephuxkarxnurks khnastwaephthysastr m ekstrsastr rwmkbchmrmxnurksnkehyiywpakphli aelaklumthayphaphnkaelathrrmchati Bird Homeinwthnthrrmaelakhwamechuxkhxngithy aernginkhwamechuxkhxngmnusy aethbthukwthnthrrmcathuxwaepnnkthixpmngkhl ephraaphvtikrrmthikinsaksphaelarupranghnatathinaekliydnaklw inkhwamechuxkhxngkhnithy aerngepnnkthinamasungkhwamxpmngkhlechnediywkbnkaesk emuxsmyxdit praephnikarplngsphinbangphunthithihangiklkhwamecriyhruxinbangwthnthrrm echn thiebt cathingsaksphiwklangaecng mkcamiaerngmaekaakhxyrxkinsphxyubriewnrxb nnesmx aelaemuxkhrngthiekidxhiwatkorkhrabadxyangrayaerng inpiphuththskrach 2363 trngkbrchsmykhxngrchkalthi 2 miphuesiychiwitcanwnmakinphrankhr karephasphthaimthn cntxngmisphkxngsumknthiwdsraeks miaernglngmacikkinepnthinasngewchaekphuphbehn cnmikhaklawwa aerngwdsraeks khukb eprtwdsuthsn nxkcakniyngmibnthukwainechakhxngwnxngkharthi 2 singhakhm ph s 2481 miaerngnbcanwnnbrxytwidbinmalngthithxngsnamhlwngxyangimthrabsaehtu caknninewlabaykhxngwnediywknkidbinklbip sungtxmakidmiehturayaerngkhxngbanemuxngekidkhun khux kbtphrayathrngsuredch aelasngkhramxinodcin aelachuxkhxngxaephxaekngkhxy xaephxhnungincnghwdsraburi xnepnpakthangekhasupadngphyaeyn ekhaihyhrux dngphyaif inxdit kekhymichuxeriykwa aerngkhxy xnenuxngmacakkarthiphukhnthisycrekhaipinpaaehngni mkcataylngdwyikhpa cnaerngtxngmakhxykinsaksph cungepnthimakhxngchuxxaephx aeladwykhwamthiaerngepnnkkhnadihythihwaelakhxlaneliyndukhlayikngwng inxditkekhymikhnithynaaerngmakhayaekchawtangchatienuxnginwnkhxbkhunphraeca odyhlxkwaepnikngwngmaaelw aetthaythisudkhwamkaetk enuxngcakaerngtwnnidbinhniipinthisud inwthnthrrmthiaetktangxxkip aetinbangwthnthrrm aerngkmikhwamhmaythiaetktangxxkip echn insmyxiyiptobran xksrehiyorkriffikthiepnxksrphaphtwhnung inphaph hmaythung aem knamacak Neophron percnopterus sungepnaerngchnidhnunginwngsaerngolkekathiphbidinpraethsxiyiptaelaaexfrikatxnehnux inwthnthrrmkhxngthiebt miphithisphthieriykwa thiyatiphutaycaihspehrxnarangphutay imisolng imisesuxpha thaphithiswdmntsngwiyyan kxnthispehrxcahamrangkhxngphutaykhunipbnphuekhasung phrxmichmidaelenuxkhxngphutayepnchin aelwihaerngkin echuxwaaerngcaepnphunathangwiyyanphutayipsusrwngswrrkh inchnephaphunemuxngaethbaexfrikait miyaphunbanthieriykwa muti Muti thamacakhwaerngtakaehng echuxwahaknaipephaif phuthiidsuddmkhwnthilxykhunmacaekhlibekhlimthaihlwngruxnakhtidehmuxnkarekhachan cakbnthukkhxngchals darwin nkthrrmchatiwithyachawxngkvs phuepnthiruckcakkarephyaephraenwkhideruxngthvsdiwiwthnakaraelakarkhdeluxkodythrrmchati khnathiodysarbneruxbiekilinpi kh s 1835 darwinidbnthukthungaerngiwwa nakhyaaekhyng mihwlan aela eluxkekluxkklingbnsakenaehmn sthanainpccubnpccubn aerngaethbthukchnidtkxyuinsphaphiklsuyphnthuaelahayak enuxngcakthinthixyuxasytamthrrmchatithukrukran aelasphaphaewdlxmkepliynip praephnikarplngsphkimidthaxyanginxdit thaihaerngcanwnhnungtxngtaylngenuxngcakimmixaharkin aelainxnuthwipxinediy aernghlaytwtxngtaylngenuxngcakipkinsakstwthipnepuxnsarekhmiaelaechuxorkhchnidtang xangxingbrrcb phnthuemtha sastracary dxketxr phasatangpraethsinphasaithy phimphkhrngthi 3 krungethph phakhwichaphasaithyaelaphasatawnxxk khnamnusysastr mhawithyalyramkhaaehng 2514 hna 67 hna 86 109 wayrayaesndi ody exlisaebth rxyt enchnaenlcioxkrafik chbbphasaithy chbbthi 174 mkrakhm 2559 aerng chiwitphisdarkhxngstw 2 ody praphnth buyklinkhcr twytun chwyaerngechingruk https www matichon co th columnists news 1442482 Thai Raptor Group www facebook com ThaiRaptorGroup TRG ranxaharaerng https adaymagazine com condor restuarant Feeding stations for near threatened HImalayan Vultures http www birdsofthailand org content feeding stations near threatened himalayan vultures 2019 04 10 thi ewyaebkaemchchin hna 19 21 yukhthmil bnthuknkothsfaykbtbwredch ody phayph orcnwiphat ph s 2554 ISBN 978 6167146 22 5 lingkesiy sarkhdiphiess aekngkhxy phukhn sayna khunekha itengahmxkkhwn caksarkhdi lingkesiy raykar txn samaephrngaehngkhlxngrxbkrung prisnarxbpxmmhakal xxkxakasemuxwnthi 30 minakhm ph s 2552 ewhachapnkic Sky Burial withithasphaebb thiebt eluxdenuxephuxstwolk lingkesiy nksingaewdlxmrwmdwychwyxiaerngphma 2021 03 03 thi ewyaebkaemchchincakphucdkarxxniln phcnanukrmchbbrachbnthitysthan ph s 2542 2009 03 02 thi ewyaebkaemchchin subkhnxxniln aehlngkhxmulxun lingkesiy xiaerng Vulture ekidmaephuxkinsph by pook cakoxekhenchnwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb aerng