สถาปัตยกรรมคณะราษฎร คือรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทยที่ก่อสร้างหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คือสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2475−2490
ตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมคณะราษฎร ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อาคารไปรษณีย์กลาง โรงแรมรัตนโกสินทร์ ตึกโดมธรรมศาสตร์ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนามศุภชลาศัย อาคารเทเวศร์ประกันภัย และอาคารสถาปัตยกรรม 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ส่วนในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ อาคารที่ทำการสถานีตำรวจภูธรเมืองลพบุรีหลังเก่า โรงแรมทหานบก วงเวียนศรีสุริโยทัย อาคารหลายแห่งในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย โรงภาพยนตร์ทหานบก อาคารหลายแห่งในโรงพยาบาลอานันทมหิดล และสถานีตำรวจของนิคมกสิกร นอกเมืองลพบุรี เป็นต้น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ สะพานปรีดี-ธำรง อาคารศาลากลางเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาคารสิริมังคลานันท์ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย เป็นต้น
ลักษณะ
สถาปัตยกรรมคณะราษฎรเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ บ้างก็เรียกว่า อลังการศิลป์ ที่มีลักษณะเรียบง่าย ลดทอนรายละเอียด ไม่ตกแต่งรายละเอียด ตลอดจนสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และไม่มีหลังคา มีแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย อุดมการณ์ประชาธิปไตย ความเสมอ มีองค์ประกอบตกแต่งใช้รูปทรงทางเรขาคณิต ใช้เส้นตั้ง เส้นนอน จัดองค์ประกอบให้ดูทันสมัย ไม่ขึ้นเป็นจั่วทรงสูง ไร้ลวดลายไทย สื่อถึงความเสมอภาค และการลดเลิกฐานานุศักดิ์ ชนชั้นทางสังคม
ตัวอย่างของการแสดงระบบสัญลักษณ์ที่เกี่ยวพันกับคณะราษฎรและการปฏิวัติ 2475 เป็นต้นว่า ปีกท้งสี่ด้านของอนุสาวรีย์ที่มีความสูงและรัศมีจากศูนย์กลางอนุสาวรีย์ 24 เมตร สื่อถึงวันที่ 24 มิถุนายน ปืนใหญ่ที่ฝังอยู่โดยรอบของฐานอนุสาวรีย์ที่มีจำนวน 75 กระบอก สื่อถึง พ.ศ. 2475 แนวคิดหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ปรากฏในพระขรรค์ที่อยู่ตรงบานประตูรอบป้อมที่เป็นที่ประดิษฐานพานรัฐธรรมนูญจำนวน 6 เล่ม
ในส่วนการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรม ประดับด้วยงานประติมากรรมสมัยใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจทางรูปแบบที่คล้ายศิลปะแบบ (Social Realism) และคาบเกี่ยวซ้อนทับกับ (Fascist Art) โดยปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของคณะราษฎร
อย่างไรก็ดี ชาตรี ประกิตนนทการ กล่าวว่า "การพยายามจัดแบ่งหมวดหมู่ทางรูปแบบของตึกอาคารสมัยคณะราษฎรนี้ให้เป็นไปตามหมวดหมู่รูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็น นีโอคลาสสิก (Neo-Classic) สากลสมัยใหม่ (International Style) อาร์ตเดโค (Art Deco) นีโอพลาสติก (Neo-Plastic) ฯลฯ ความพยายามจัดหมวดหมู่รูปแบบดังกล่าวเป็นเรื่องผิดพลาด เหตุเพราะมูลเหตุการหยิบยกรูปแบบเหล่านั้นมาใช้ในสังคมไทย ณ ช่วงเวลา มิใช่เป็นรากทางความคิดเดียวกับที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตกแต่อย่างใด"
หลัง พ.ศ. 2490 สถาปัตยกรรมคณะราษฎรไม่ได้ถูกสร้างเพิ่มเติม และสถาปัตยกรรมที่ยังคงอยู่ เช่น อนุสาวรีย์ หรือตึกอาคารที่มีความโดดเด่นสำคัญ ถูกพูดถึงในเชิงลบ เช่น หน้าตาน่าเกลียดไม่เป็นไทย บดบังโบราณสถาน และยังมีข้อเสนอให้มีการรื้อถอนทำลายไปบ้าง เช่น โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ถึงกระนั้นแนวคิดคณะราษฎรถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ หลังการรัฐประหาร 2549 โดยกลุ่มปัญญาชน นักศึกษา นักประวัติศาสตร์ และนักกิจกรรมทางการเมือง ที่ใช้อนุสาวรีย์สิ่งปลูกสร้าง วัตถุสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นสถานที่รวมตัวทางการเมือง
สถานที่สาธารณะและอาคารพาณิชย์
คณะราษฎรได้ทำการสร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏที่บางเขน และยังได้ปรับเปลี่ยนถนนราชดำเนินกลาง เพื่อเน้นย้ำถึงความก้าวหน้าของประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตย นับตั้งแต่การขยายถนน ตัดต้นมะฮอกกานีเดิมที่ปลูกไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และได้สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตรงสี่แยกถนนดินสอ ตลอดจนสร้างโรงแรม (เช่น โรงแรมรัตนโกสินทร์และสุริยานนท์) โรงภาพยนตร์ (ศาลาเฉลิมไทย) ห้างสรรพสินค้า (ตึกไทยนิยม) และอาคารพาณิชย์คอนกรีตสองฝั่งถนนราชดำเนินกลาง
แนวคิดหลัก 6 ประการของคณะราษฎร มีเห็นในงานสถาปัตยกรรมของรัฐ เช่นหน้าต่าง 6 บานบนโดมของตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ที่พบมากคือแถวเสา 6 ต้น เช่นที่มุขหน้าตึกกระทรวงยุติธรรม และมุขหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเก่า) นอกจากนั้นยังพบสถาปัตยกรรมคณะราษฎรในจังหวัดลพบุรี มีการสร้าง 3 วงเวียน รวมถึงมีกลุ่มอาคารใหญ่ ๆ อาคารพาณิชย์ หน้าตาแบบสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎรกระจายตัวอยู่ เช่น อาคารที่ทำการสถานีตำรวจภูธรเมืองลพบุรีหลังเก่า โรงแรมทหานบก (ตัวสะกดภาษาไทยสมัย จอมพล ป.) ตรงวงเวียนศาลพระกาฬ อาคารหลายแห่งในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย โรงภาพยนตร์ทหานบก ซึ่งปัจจุบันกรมธนารักษ์ดูแลและให้ เอกชนบริษัทรักษาความปลอดภัยเช่าอยู่ อาคารหลายแห่งในโรงพยาบาลอานันทมหิดล และ สถานีตำรวจของนิคมกสิกร นอกเมืองลพบุรี
คณะราษฎรได้เลือกสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมีการจัดทำแบบพานรัฐธรรมนูญส่งไปตามจังหวัดต่าง ๆ สร้างเป็นอนุสาวรีย์ซึ่งส่วนมากตั้งอยู่ที่ภาคอีสาน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ผู้แทนราษฎรแสดงบทบาทอย่างโดดเด่นและประชาชนตื่นตัวทางการเมืองสูงหลังปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ปัจจุบันอนุสาวรีย์ที่แสดงสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญยังมีเหลืออยู่ 6 แห่ง ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ ขอนแก่น และบุรีรัมย์
วัด
สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่คณะราษฎรจัดสร้างขึ้น มีการละทิ้งแนวทางแบบจารีตนิยมเดิม หันมาสร้างอาคารแบบเรียบง่าย ไม่มีฐานานุศักดิ์ ทางด้านวัดวาอารามก็มีการสอดแทรกแนวคิดประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ การเปลี่ยนลวดลายประดับบนหน้าบันของอุโบสถ จากเดิมหน้าบันตกแต่งด้วยลายแบบจารีต เช่น พระนารายณ์ทรงครุฑ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เปลี่ยนมาเป็นลายแบบใหม่ที่เรียกว่า ลายอรุณเทพบุตร ชาตรี ประกิตนนทการ อธิบายไว้ในหนังสือ การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม ว่าน่าจะมีความหมายสื่อถึง "แสงสว่างแรกขึ้นของไทยในยุคใหม่" หรือ "รุ่งอรุณใหม่ของชาติในระบอบประชาธิปไตย" ลายนี้มีการนำมาประดับอยู่ที่หน้าบันของอุโบสถมาตรฐานแบบ ก. ที่ได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อให้วัดต่าง ๆ นำไปสร้างขึ้นด้วย
อีกสัญลักษณ์คือ รูปที่แสดงเป็นเล่มสมุดไทยวางบนพานแว่นฟ้า ยังปรากฏตามวัด เช่น ตามหน้าบัน หรือลวดลายไม้แกะสลักต่าง ๆ เช่นวัดหลายแห่งในจังหวัดลำปาง อาทิ วัดปงสนุกเหนือและ ในที่อื่นอย่างหน้าบันวิหารวัดรัตนตรัย จังหวัดเพชรบุรี บนเพดานของสิมวัดท่าคก จังหวัดเลย หน้าบันของศาลาวัดท่านางหอม จังหวัดสงขลา
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารซึ่งเคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างกลุ่มทหารในเหตุการณ์กบฏบวรเดช การริเริ่มก่อสร้างวัดนี้ รัฐบาลได้ประกาศรับบริจาคเงินราษฎรทั่วไปที่มีจิตศรัทธา เพื่อร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการสร้างวัดแห่งนี้ให้สมกับเป็นวัดที่สร้างขึ้นในระบอบประชาธิปไตย โดยในระยะแรกใช้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย เจดีย์ของวัดบรรจุอัฐิของคณะราษฎรหรือบุคคลที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ เจดีย์องค์นี้มีการลดทอนรายละเอียดคือ ไม่ทำบัลลังค์ และลดทอนรายละเอียดส่วนอื่น เช่น ฐานบัวด้านล่างและบัวคลุมเถา รูปทรงเจดีย์ไม่มีความอ่อนช้อยดั่งเจดีย์แบบประเพณี มีการทำบัวคลุมเถาซ้อน 6 ชั้น อันสื่อความหมายหลัก 6 ประการ
-
- หน้าบันอุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นลายอรุณเทพบุตร
การรื้อถอน
อาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมคณะราษฎรหลายแห่งถูกรื้อถอน ได้แก่
- อาคารศาลฎีกาเดิม ตั้งอยู่บริเวณศาลหลักเมือง ถนนราชดำเนินใน ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486 ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2550 มีการรื้อถอนอาคารและสร้างทับใหม่ โดยศาลฎีกาให้เหตุผลว่าอาคารเหล่านี้กำลังเสื่อมสภาพ มีความแตกร้าว และไม่ปลอดภัยต่อผู้ที่ทำงาน
- ศาลาเฉลิมไทย ตั้งอยู่ที่มุมถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาไชย ออกแบบโดยจิตรเสน อภัยวงศ์ สร้างสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 แต่เปิดทำการเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2492 มีการแสดงครั้งสุดท้ายที่จัดขึ้นที่ศาลาเฉลิมไทย คือการแสดงละครเวที พันท้ายนรสิงห์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ก่อนจะถูกรื้อถอนออกเพื่อสร้างเป็นลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เหตุผลในการรื้อเพราะอาคารศาลาเฉลิมไทยบดบังทัศนียภาพสง่างามของโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
- อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ออกแบบโดย โดยเมื่อราว พ.ศ. 2555–2559 กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานลอยข้ามแยกวงเวียนหลักสี่ จึงทำให้ต้องเคลื่อนย้ายตัวอนุสาวรีย์ออกไปจากบริเวณเดิม
อ้างอิง
- "มรดกคณะราษฎร". brandthink.me.
- ธันยพร บัวทอง. "คณะราษฎร : เยือนลพบุรี ดูมรดกที่เหลืออยู่ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และการอภิวัฒน์ 2475". บีบีซีไทย.
- หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ. "ย่ำกรุงเก่า เล่าเรื่องราชวงศ์จักรี-คณะราษฎรในอยุธยา กับ ชาตรี ประกิตนนทการ". บีบีซีไทย.
- "สถาปัตยกรรมคณะราษฎร' มรดกและวัธนธัมจอมพล ป". วอยซ์ทีวี. 24 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
((help)) - ธันยพร บัวทอง (16 กุมภาพันธ์ 2563). "คณะราษฎร : เยือนลพบุรี ดูมรดกที่เหลืออยู่ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และการอภิวัฒน์ 2475". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
((help)) - โดม ไกรปกรณ์ และ ธนสิษฐ์ ขุนทองพันธ์ (2559). "ความหมายทางการเมืองและความล้มเหลวของ การสื่อความในงานสถาปัตยกรรมคณะราษฎร". หน้าจั่ว (13): 144.
- ชาตรี ประกิตนนทการ, ศิลปะสถาปัตยกรรมคณะราษฎร: สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2552).
- หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (22 มิถุนายน 2562). "24 มิถุนายน 2475 : สำรวจความคิด "คณะราษฎร" ผ่านมรดกทางวัฒนธรรม". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
((help)) - ศรัณย์ ทองปาน (10 กันยายน 2552). "โลกใบใหญ่ สถาปัตยกรรม – มรดก ๒๔๗๕ : สถาปัตยกรรมคณะราษฎร". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
((help)) - กิตติยา มหาวงษ์. "มรดกคณะราษฎรผ่านสถาปัตยกรรมความเป็น "สมัยใหม่" สู่เมืองมหาสารคาม". ศิลปวัฒนธรรม.
- ""อรุณเทพบุตร" บนหน้าบันโบสถ์และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สัญลักษณ์ของ "คณะราษฎร"". มิวเซียมเพรส.
- "วัดธรรมนูญ". เดอะคลาวด์.
- "จากวัดประชาธิปไตยสู่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน มรดกวัดในระบอบประชาธิปไตยของคณะราษฎร". เดอะสแตนดาร์ด.
- กมลรัตน์ ชวนสบาย. "แนวคิดและคติการสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิของบุคคลในสมัยรัตนโกสินทร์" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- "วาทะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เมื่อทุบ "ศาลาเฉลิมไทย" มอง "สถาปัตยกรรมคณะราษฎร" ต่ำทราม". ศิลปวัฒนธรรม.
- "มรดก 'คณะราษฎร' ประวัติศาสตร์ที่ถูกรื้อถอน". เดอะโมเมนตัม.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sthaptykrrmkhnarasdr khuxrupaebbhnungkhxngsthaptykrrmithythikxsranghlngkarepliynaeplngkarpkkhrxng ph s 2475 khuxsrangkhunrahwangpi ph s 2475 2490xnusawriyprachathipity twxyangkhxngngansthaptykrrmkhnarasdr inkrungethphmhankhr idaek xnusawriyprachathipity xakhariprsniyklang orngaermrtnoksinthr tukodmthrrmsastr hxprachumculalngkrnmhawithyaly snamsuphchlasy xakharethewsrpraknphy aelaxakharsthaptykrrm 1 khnasthaptykrrmsastr culalngkrnmhawithyaly epntn swnincnghwdlphburi idaek xakharthithakarsthanitarwcphuthremuxnglphburihlngeka orngaermthhanbk wngewiynsrisurioythy xakharhlayaehnginorngeriynphibulwithyaly orngphaphyntrthhanbk xakharhlayaehnginorngphyabalxannthmhidl aelasthanitarwckhxngnikhmksikr nxkemuxnglphburi epntn incnghwdphrankhrsrixyuthya idaek saphanpridi tharng xakharsalaklangekacnghwdphrankhrsrixyuthya aelaxakharsirimngkhlannthkhxngorngeriynxyuthyawithyaly epntnlksnahlk 6 prakarkhxngkhnarasdr insumnganchlxngrththrrmnuy sthaptykrrmkhnarasdrepnrupaebbsthaptykrrmsmyihm bangkeriykwa xlngkarsilp thimilksnaeriybngay ldthxnraylaexiyd imtkaetngraylaexiyd tlxdcnsrangdwykhxnkritesrimehlk aelaimmihlngkha miaenwkhideruxngprachathipity xudmkarnprachathipity khwamesmx mixngkhprakxbtkaetngichrupthrngthangerkhakhnit ichesntng esnnxn cdxngkhprakxbihduthnsmy imkhunepncwthrngsung irlwdlayithy suxthungkhwamesmxphakh aelakarldelikthananuskdi chnchnthangsngkhm twxyangkhxngkaraesdngrabbsylksnthiekiywphnkbkhnarasdraelakarptiwti 2475 epntnwa pikthngsidankhxngxnusawriythimikhwamsungaelarsmicaksunyklangxnusawriy 24 emtr suxthungwnthi 24 mithunayn punihythifngxyuodyrxbkhxngthanxnusawriythimicanwn 75 krabxk suxthung ph s 2475 aenwkhidhlk 6 prakarkhxngkhnarasdr praktinphrakhrrkhthixyutrngbanpraturxbpxmthiepnthipradisthanphanrththrrmnuycanwn 6 elm inswnkarpradbtkaetngsthaptykrrm pradbdwynganpratimakrrmsmyihmthiidrbaerngbndalicthangrupaebbthikhlaysilpaaebb Social Realism aelakhabekiywsxnthbkb Fascist Art odyprbepliynenuxhaihsxdkhlxngkbxudmkarnkhxngkhnarasdr xyangirkdi chatri prakitnnthkar klawwa karphyayamcdaebnghmwdhmuthangrupaebbkhxngtukxakharsmykhnarasdrniihepniptamhmwdhmurupaebbsthaptykrrmtawntkinyukhnn imwacaepn nioxkhlassik Neo Classic saklsmyihm International Style xartedokh Art Deco nioxphlastik Neo Plastic l khwamphyayamcdhmwdhmurupaebbdngklawepneruxngphidphlad ehtuephraamulehtukarhyibykrupaebbehlannmaichinsngkhmithy n chwngewla miichepnrakthangkhwamkhidediywkbthiekidkhuninolktawntkaetxyangid hlng ph s 2490 sthaptykrrmkhnarasdrimidthuksrangephimetim aelasthaptykrrmthiyngkhngxyu echn xnusawriy hruxtukxakharthimikhwamoddednsakhy thukphudthunginechinglb echn hnatanaekliydimepnithy bdbngobransthan aelayngmikhxesnxihmikarruxthxnthalayipbang echn orngphaphyntrechlimithy thungkrannaenwkhidkhnarasdrthukruxfunkhunmaihm hlngkarrthprahar 2549 odyklumpyyachn nksuksa nkprawtisastr aelankkickrrmthangkaremuxng thiichxnusawriysingpluksrang wtthusylksntang epnsthanthirwmtwthangkaremuxngsthanthisatharnaaelaxakharphanichyorngaermrtnoksinthr mirupaebbsthaptykrrmkhnarasdrsalaklangcnghwdphrankhrsrixyuthya sthaptykrrmkhnarasdr miesaihyhkesadanhna sungxangxingthunghlkhkprakarkhxngkhnarasdr khnarasdridthakarsrangxnusawriyphithksrththrrmnuy hruxxnusawriyprabkbtthibangekhn aelayngidprbepliynthnnrachdaeninklang ephuxennyathungkhwamkawhnakhxngpraethsphayitrabxbprachathipity nbtngaetkarkhyaythnn tdtnmahxkkaniedimthiplukiwtngaetsmyrchkalthi 5 aelaidsrangxnusawriyprachathipitytrngsiaeykthnndinsx tlxdcnsrangorngaerm echn orngaermrtnoksinthraelasuriyannth orngphaphyntr salaechlimithy hangsrrphsinkha tukithyniym aelaxakharphanichykhxnkritsxngfngthnnrachdaeninklang aenwkhidhlk 6 prakarkhxngkhnarasdr miehninngansthaptykrrmkhxngrth echnhnatang 6 banbnodmkhxngtukodm mhawithyalythrrmsastr aetthiphbmakkhuxaethwesa 6 tn echnthimukhhnatukkrathrwngyutithrrm aelamukhhnasalaklangcnghwdphrankhrsrixyuthya hlngeka nxkcaknnyngphbsthaptykrrmkhnarasdrincnghwdlphburi mikarsrang 3 wngewiyn rwmthungmiklumxakharihy xakharphanichy hnataaebbsthaptykrrmyukhkhnarasdrkracaytwxyu echn xakharthithakarsthanitarwcphuthremuxnglphburihlngeka orngaermthhanbk twsakdphasaithysmy cxmphl p trngwngewiynsalphrakal xakharhlayaehnginorngeriynphibulwithyaly orngphaphyntrthhanbk sungpccubnkrmthnarksduaelaelaih exkchnbristhrksakhwamplxdphyechaxyu xakharhlayaehnginorngphyabalxannthmhidl aela sthanitarwckhxngnikhmksikr nxkemuxnglphburi khnarasdrideluxksylksnphanrththrrmnuyepnsuxinkarprachasmphnththungkarepliynaeplngkarpkkhrxng odymikarcdthaaebbphanrththrrmnuysngiptamcnghwdtang srangepnxnusawriysungswnmaktngxyuthiphakhxisan enuxngcakepnphunthithiphuaethnrasdraesdngbthbathxyangoddednaelaprachachntuntwthangkaremuxngsunghlngptiwti ph s 2475 pccubnxnusawriythiaesdngsylksnphanrththrrmnuyyngmiehluxxyu 6 aehng idaek cnghwdmhasarkham surinthr rxyexd chyphumi khxnaekn aelaburirmywdsthaptykrrmtang thikhnarasdrcdsrangkhun mikarlathingaenwthangaebbcaritniymedim hnmasrangxakharaebberiybngay immithananuskdi thangdanwdwaxaramkmikarsxdaethrkaenwkhidprachathipity karepliynaeplngthiehnidchdecn khux karepliynlwdlaypradbbnhnabnkhxngxuobsth cakedimhnabntkaetngdwylayaebbcarit echn phranaraynthrngkhruth phraxinthrthrngchangexrawn epliynmaepnlayaebbihmthieriykwa layxrunethphbutr chatri prakitnnthkar xthibayiwinhnngsux karemuxngaelasngkhminsilpsthaptykrrm syamsmy ithyprayukt chatiniym wanacamikhwamhmaysuxthung aesngswangaerkkhunkhxngithyinyukhihm hrux rungxrunihmkhxngchatiinrabxbprachathipity laynimikarnamapradbxyuthihnabnkhxngxuobsthmatrthanaebb k thiidrbkarxxkaebbihm ephuxihwdtang naipsrangkhundwy xiksylksnkhux rupthiaesdngepnelmsmudithywangbnphanaewnfa yngprakttamwd echn tamhnabn hruxlwdlayimaekaslktang echnwdhlayaehngincnghwdlapang xathi wdpngsnukehnuxaela inthixunxyanghnabnwiharwdrtntry cnghwdephchrburi bnephdankhxngsimwdthakhk cnghwdely hnabnkhxngsalawdthananghxm cnghwdsngkhla wdphrasrimhathatuwrmhawiharsungekhyepnsmrphumirbrahwangklumthharinehtukarnkbtbwredch karrierimkxsrangwdni rthbalidprakasrbbricakhenginrasdrthwipthimicitsrththa ephuxrwmknepnecaphaphinkarsrangwdaehngniihsmkbepnwdthisrangkhuninrabxbprachathipity odyinrayaaerkichchuxwa wdprachathipity ecdiykhxngwdbrrcuxthikhxngkhnarasdrhruxbukhkhlthithakhunngamkhwamdiaekpraethschati ecdiyxngkhnimikarldthxnraylaexiydkhux imthabllngkh aelaldthxnraylaexiydswnxun echn thanbwdanlangaelabwkhlumetha rupthrngecdiyimmikhwamxxnchxydngecdiyaebbpraephni mikarthabwkhlumethasxn 6 chn xnsuxkhwamhmayhlk 6 prakar ecdiywdphrasrimhathatuwrmhawihar hnabnxuobsthwdphrasrimhathatuwrmhawihar epnlayxrunethphbutrkarruxthxnxakharrupaebbsthaptykrrmkhnarasdrhlayaehngthukruxthxn idaek xakharsaldikaedim tngxyubriewnsalhlkemuxng thnnrachdaeninin xxkaebbodyphrasaorchrtnnimmank saorch sukhyangkh miphithiepidemuxwnthi 24 mithunayn ph s 2486 txma emux ph s 2550 mikarruxthxnxakharaelasrangthbihm odysaldikaihehtuphlwaxakharehlanikalngesuxmsphaph mikhwamaetkraw aelaimplxdphytxphuthithangan salaechlimithy tngxyuthimumthnnrachdaeninklangkbthnnmhaichy xxkaebbodycitresn xphywngs srangsrangaelwesrcinwnthi 10 kumphaphnth ph s 2483 aetepidthakarepnkhrngaerkemux ph s 2492 mikaraesdngkhrngsudthaythicdkhunthisalaechlimithy khuxkaraesdnglakhrewthi phnthaynrsingh emuxwnthi 24 kumphaphnth ph s 2532 kxncathukruxthxnxxkephuxsrangepnlanphlbphlamhaecsdabdinthr insmyrthbalphlexkchatichay chunhawn ehtuphlinkarruxephraaxakharsalaechlimithybdbngthsniyphaphsngangamkhxngolhaprasath wdrachnddaramwrwihar xnusawriyphithksrththrrmnuy tngxyubriewnwngewiynhlksi cudtdrahwangthnnphhloythinkbthnnaecngwthnaaelathnnramxinthra xxkaebbody odyemuxraw ph s 2555 2559 krmthanghlwngiddaeninkarkxsrangsaphanlxykhamaeykwngewiynhlksi cungthaihtxngekhluxnyaytwxnusawriyxxkipcakbriewnedimxangxing mrdkkhnarasdr brandthink me thnyphr bwthxng khnarasdr eyuxnlphburi dumrdkthiehluxxyukhxngcxmphl p phibulsngkhram aelakarxphiwthn 2475 bibisiithy hthykaycn trisuwrrn yakrungeka elaeruxngrachwngsckri khnarasdrinxyuthya kb chatri prakitnnthkar bibisiithy sthaptykrrmkhnarasdr mrdkaelawthnthmcxmphl p wxysthiwi 24 mithunayn 2557 subkhnemux 17 minakhm 2563 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite news title aemaebb Cite news cite news a trwcsxbkhawnthiin access date help thnyphr bwthxng 16 kumphaphnth 2563 khnarasdr eyuxnlphburi dumrdkthiehluxxyukhxngcxmphl p phibulsngkhram aelakarxphiwthn 2475 bibisiithy subkhnemux 17 minakhm 2563 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin access date help odm ikrpkrn aela thnsisth khunthxngphnth 2559 khwamhmaythangkaremuxngaelakhwamlmehlwkhxng karsuxkhwaminngansthaptykrrmkhnarasdr hnacw 13 144 chatri prakitnnthkar silpasthaptykrrmkhnarasdr sylksnthangkaremuxnginechingxudmkarn krungethph mtichn 2552 hthykaycn trisuwrrn 22 mithunayn 2562 24 mithunayn 2475 sarwckhwamkhid khnarasdr phanmrdkthangwthnthrrm bibisiithy subkhnemux 17 minakhm 2563 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite news title aemaebb Cite news cite news a trwcsxbkhawnthiin access date help srny thxngpan 10 knyayn 2552 olkibihy sthaptykrrm mrdk 2475 sthaptykrrmkhnarasdr sarkhdi subkhnemux 17 minakhm 2563 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin access date help kittiya mhawngs mrdkkhnarasdrphansthaptykrrmkhwamepn smyihm suemuxngmhasarkham silpwthnthrrm xrunethphbutr bnhnabnobsthaelaxnusawriyprachathipity sylksnkhxng khnarasdr miwesiymephrs wdthrrmnuy edxakhlawd cakwdprachathipitysuwdphrasrimhathatu bangekhn mrdkwdinrabxbprachathipitykhxngkhnarasdr edxasaetndard kmlrtn chwnsbay aenwkhidaelakhtikarsrangecdiybrrcuxthikhxngbukhkhlinsmyrtnoksinthr PDF mhawithyalysilpakr watha m r w khukvththi emuxthub salaechlimithy mxng sthaptykrrmkhnarasdr tathram silpwthnthrrm mrdk khnarasdr prawtisastrthithukruxthxn edxaomemntm