บทความนี้ เนื่องจากชื่อเป็นศัพท์เฉพาะทางของจิตวิทยา ราชบัณฑิตยสถานยังไม่บัญญัติภาษาไทย หนังสือเฉพาะทางใช้ศัพท์อังกฤษ |
cutive functions (แปลว่า หน้าที่บริหาร ตัวย่อ AF) หรือ ความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการ, ทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร สามารถนิยามได้ว่า "เป็นทักษะที่จำเป็นในการทำกิจที่มีเป้าหมาย มีจุดมุ่งหมาย" เป็นคำครอบคลุมที่ใช้กล่าวถึงกระบวนการทางประชานที่ควบคุมและจัดการกระบวนการทางประชานอื่น ๆ เช่น การวางแผน (planning), ความจำใช้งาน (working memory), การใส่ใจ, การแก้ปัญหา, การเข้าใจเหตุผลโดยใช้คำ (verbal reasoning), cognitive inhibition (การมีสมาธิ), cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน), task switching (การทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน) และการเริ่มและตรวจสอบการกระทำ ตามทฤษฏีทางจิตวิทยา ระบบบริหาร (executive system) เป็นตัวควบคุมและบริหารกระบวนการทางประชานอื่น ๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการที่บางครั้งเรียกว่าเป็น "executive functions" (หน้าที่บริหาร) "executive skills" (ทักษะการบริหาร) "supervisory attentional system" (ระบบควบคุมโดยการใส่ใจ) หรือ "cognitive control" (การควบคุมทางประชาน) ส่วน prefrontal cortex ของสมองกลีบหน้าเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ แต่ไม่ใช่ส่วนเดียว ที่ทำหน้าที่ดังที่กล่าวมานี้
ประสาทกายวิภาค
โดยประวัติแล้ว EF พิจารณาว่าควบคุมโดยสมองส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้า แต่จริง ๆ แล้วก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ แม้ว่า บทความเกี่ยวกับรอยโรคในส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้าจะกล่าวถึงความผิดปกติของ EF และบทความเกี่ยวกับความผิดปกติของ EF ก็จะกล่าวถึงรอยโรคในส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้า บทความปริทัศน์หนึ่งพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง EF กับสมองกลีบหน้าที่ไม่เสียหายและใช้งานได้ มี sensitivity สูง (คือถ้า EF ปกติ สมองกลีบหน้าก็ปกติด้วย) แต่มี specificity ต่ำ (คือถ้า EF ผิดปกติ สมองกลีบหน้าอาจจะปกติ) ซึ่งหมายความว่า เขตสมองทั้งในส่วนหน้าและไม่ใช่ส่วนหน้าจำเป็นต่อการทำงานปกติในระบบบริหาร คือ สมองกลีบหน้าอาจจะต้องมีส่วนร่วมใน EF ทั้งหมด แต่ไม่ใช่สมองส่วนเดียวที่มีบทบาท
บทความปริทัศน์ของอัลวาเรซและเอ็มมอรี่ในปี ค.ศ. 2006 แสดงว่า งานวิจัยที่ใช้การสร้างภาพสมอง (neuroimaging) หรือการศึกษารอยโรคได้ระบุถึงหน้าที่ต่าง ๆ ที่บ่อยครั้งสัมพันธ์กับเขตต่าง ๆ โดยเฉพาะของ PFC กล่าวคือ
- ส่วน dorsolateral prefrontal cortex มีหน้าที่เกี่ยวกับการประมวลผลแบบ "on-line" (คือมีการประมวลผลสด ๆ ร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือประสบการณ์นั้น ๆ) เช่นการประสานมิติต่าง ๆ ของประชานและพฤติกรรม ดังนั้น เขตนี้จึงพบว่ามีความสัมพันธ์กับความคล่องแคล่วทางภาษา (verbal fluency), ความคล่องแคล่วในการออกแบบ (design fluency), การคิดถึงเพียงเรื่องเดียวและการเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น, การวางแผน, cognitive inhibition (การมีสมาธิ), ทักษะในการจัดระเบียบ, การคิดอย่างมีเหตุผล, การแก้ปัญหา และการคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking)
- anterior cingulate cortex (ตัวย่อ ACC) มีบทบาทเกี่ยวกับแรงจูงใจ (emotional drive) ประสบการณ์ทางอารมณ์ (emotional experience) และการประสานอารมณ์ (emotional integration) หน้าที่ทางประชานที่เกี่ยวข้องกันอย่างอื่น ๆ รวมทั้งการยับยั้งการตอบสนองที่ไม่เหมาะสม การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่มีแรงจูงใจ รอยโรคในเขตนี้สามารถนำไปสู่ภาวะที่มีแรงจูงใจต่ำรวมทั้งภาวะไร้อารมณ์ (apathy) ภาวะไร้แรงผลักดันและการริเริ่ม (abulia) หรือสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว (akinetic mutism) และอาจจะมีผลเป็นสภาวะไร้แรงจูงใจสำหรับความต้องการพื้นฐานของชีวิตเช่นความต้องการอาหารและเครื่องดื่ม และอาจจะมีความสนใจน้อยลงในกิจกรรมทางสังคม ทางอาชีพ และเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์
- orbitofrontal cortex (ตัวย่อ OFC) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมแรงกระตุ้นฉับพลัน (impulse) การตรวจดูพฤติกรรมที่กำลังเป็นไป, การดำรงรักษาพฤติกรรมที่ตั้งเป็นรูปแบบแล้ว, การมีสมาธิคิดถึงเรื่อง ๆ เดียว, และพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม นอกจากนั้นแล้ว OFC ยังมีบทบาทเกี่ยวกับเป็นตัวแทนค่ารางวัลที่เกิดจากตัวกระตุ้นทางประสาทสัมผัส และเกี่ยวกับการประเมินประสบการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ที่เป็นอัตวิสัยรอยโรคใน OFC อาจทำให้เกิดความไม่มีการยับยั้งชั่งใจ (disinhibition) ความหุนหันพลันแล่น (impulsivity) การประทุออกของความก้าวร้าว (aggressive outburst) ความสำส่อนทางเพศ และพฤติกรรมต่อต้านสังคม
นอกจากนั้นแล้ว อัลวาเรซและเอ็มมอรี่ยังได้กล่าวไว้ว่า
สมองกลีบหน้ามีการเชื่อมต่อกันอย่างหลากลายกับเขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ ใต้คอร์เทกซ์ และในก้านสมอง หน้าที่ทางประชาน "ในระดับสูง" เช่นการยับยั้งชั่งใจ การเปลี่ยนแนวความคิดหรือการคิดถึงหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน การแก้ปัญหา การวางแผน การควบคุมความหุนหันพลันแล่น การสร้างความคิด ความคิดเชิงนามธรรม และความคิดสร้างสรรค์ มักจะมีมูลฐานมาจากรูปแบบของประชานและพฤติกรรมที่ง่ายกว่า "ในระดับต่ำ" กว่า ดังนั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับ EF จะต้องกว้างขวางพอที่จะรวมโครงสร้างทางกายวิภาคต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของระบบประสาทกลางที่มีความแตกต่างกันและแพร่ขยายไปในที่ต่าง ๆ กัน
บทบาทตามสมมติฐาน
ระบบบริหารพิจารณากันว่า มีบทบาทสำคัญในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่จัดการได้โดยกระบวนการจิตวิทยาอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเพียงการทำซ้ำซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เคยเรียนรู้มาก่อน นักจิตวิทยาดอน นอร์แมน และทิม แชลไลซ์ ได้ร่างสถานการณ์ 5 อย่างที่การทำงานแบบซ้ำ ๆ กันของพฤติกรรมจะไม่มีประสิทธิภาพ คือ
- ที่ต้องมีการวางแผนหรือการตัดสินใจ
- ที่ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดหรือต้องสืบหาข้อผิดพลาด
- ที่การตอบสนองยังไม่ได้มีการซ้อมมาดีหรือว่าต้องมีการกระทำรูปแบบใหม่ ๆ ในบางส่วน
- ที่มีอันตรายหรือยากโดยเทคนิค
- ที่ต้องฝืนการตอบสนองโดยนิสัยหรือต้องฝืนความอยาก
"prepotent response" (แปลว่า การตอบสนองมหาอำนาจ) เป็นการตอบสนองที่เกิดการเสริมแรง (reinforcement) ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบโดยทันที หรือว่าที่ได้มีการสัมพันธ์กับตัวเสริมกำลังมาก่อน ๆ แล้ว ต้องมีการทำงานของ EF เมื่อจำเป็นที่จะต้องเลี่ยงการตอบสนองเช่นนั้น ซึ่งถ้าไม่มีการเลี่ยงแล้ว อาจเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งแวดล้อมภายนอก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าปรารถนา เช่น เค้กช็อกโกแลตที่อร่อย เราอาจจะมีการตอบสนองอัตโนมัติเป็นการลองรับประทาน แต่ว่า ถ้าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่ลงรอยกับแผนการภายในอื่น ๆ (เช่น ได้ตัดสินใจมาก่อนแล้วว่าจะไม่ทานเค้กช็อกโกแลตในขณะที่กำลังลดอาหารอยู่) EF อาจจะต้องทำงานเพื่อยับยั้งการตอบสนองเช่นนั้น
แม้ว่า จะมีการพิจารณาว่าการยับยั้ง prepotent response ปกติเป็นพฤติกรรมปรับตัวตามทฤษฎีวิวัฒนาการ แต่ว่าปัญหาการพัฒนาบุคคลหรือของกลุ่มชนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ามีการหลบเลี่ยงความรู้สึกถูกผิด (คือเลี่ยงการประพฤติให้ชอบตามศีลธรรม) เพราะเหตุแห่งความกดดันทางสังคม หรือว่า ความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ เกิดการยับยั้งโดย EF
มุมมองทางประวัติศาสตร์
แม้ว่าจะมีงานวิจัยเกี่ยวกับ EF และมูลฐานทางประสาทที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปีที่ผ่าน ๆ มา โครงสร้างทางทฤษฎีของเรื่องนี้ไม่ใช่ของใหม่ ในคริสต์ทศวรรษ 1950 นักจิตวิทยาชาวอังกฤษโดนัลด์ บรอดเบ็นต์ได้กำหนดความแตกต่างกันระหว่างกระบวนการ "อัตโนมัติ" และกระบวนการ "มีการควบคุม" (ซึ่งมีกำหนดอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยชิฟฟรินและชไนเดอร์ในปี ค.ศ. 1977) และได้เสนอไอเดียเกี่ยวกับความใส่ใจโดยเลือก (selective attention) ซึ่งเป็นไปควบคู่กันกับ EF ในปี ค.ศ. 1975 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันไมเคิล โพสเนอร์ได้ใช้คำว่า การควบคุมทางประชาน (cognitive control) ในหนังสือของเขาในบทที่มีชื่อว่า "Attention and cognitive control (ระบบควบคุมความใส่ใจและประชาน)"
จากนั้น งานของนักวิจัยทรงอิทธิพลต่าง ๆ เช่น ไมเคิล โพสเนอร์, โจควิน ฟัสเตอร์, ทิม แชลไลซ์ และนักวิจัยอื่น ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้ตั้งรากฐานสำหรับงานวิจัยต่อ ๆ มาเกี่ยวกับเรื่อง EF ยกตัวอย่างเช่น โพสเนอร์ได้เสนอว่ามีสาขาของระบบความใส่ใจเป็นสาขา "บริหาร" แยกออกต่างหาก ซึ่งมีหน้าที่เพ่งเล็งความใส่ใจไปยังลักษณะหนึ่ง ๆ ของสิ่งแวดล้อม ส่วนนักประสาทจิตวิทยาชาวอังกฤษทิม แชลไลซ์ได้เสนอโดยมีส่วนคล้าย ๆ กันว่า ความใส่ใจมีการควบคุมโดย ""ระบบควบคุมดูแล" (supervisory system) ซึ่งสามารถเลี่ยงการตอบสนองอัตโนมัติโดยตอบสนองทางพฤติกรรมที่มีมูลฐานจากแผนการหรือความตั้งใจ ในช่วงเวลานี้ ได้มีมติที่เห็นพ้องกันว่า ระบบควบคุมนี้อยู่ในส่วนหน้าสุดของสมอง ซึ่งก็คือ prefrontal cortex (PFC)
ในปี ค.ศ. 1986 นักจิตวิทยาอลาน แบดดะลี ได้เสนอระบบที่คล้าย ๆ กันโดยเป็นส่วนของแบบจำลองของความจำใช้งาน (working memory) ของเขา และอ้างว่า ต้องมีส่วนประกอบองค์หนึ่ง (ซึ่งภายหลังเขาให้ชื่อว่า "central executive") ที่ทำให้สามารถจัดการข้อมูลในความจำระยะสั้นได้ (เช่น คิดเลข)
พัฒนาการ
โครงสร้างการพัฒนาการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการศึกษา EF เพราะว่า ความสามารถต่าง ๆ ของ EF พัฒนาเร็วช้าไม่เท่ากันตามกาลเวลา คือ ความสามารถบางอย่างถึงการพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ในปลายวัยเด็กหรือวัยรุ่น ในขณะที่ส่วนที่เหลือยังพัฒนาอยู่แม้ในวัยผู้ใหญ่ระยะต้น ๆ เพราะว่า สมองยังเจริญเติบโตและสร้างการเชื่อมต่อต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในวัยผู้ใหญ่ ความสามารถเกี่ยวกับ EF ได้รับอิทธิพลจากทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในสมองและประสบการณ์ชีวิต ทั้งในห้องเรียนทั้งในชีวิตจริง ๆ นอกจากนั้นแล้ว การพัฒนาการทำงานของ EF ยังสัมพันธ์กับการพัฒนาทางประสาทสรีรภาพในสมองที่ยังเติบโตอยู่ คือ เมื่อสมรรถภาพการประมวลผลของสมองกลีบหน้าและส่วนอื่น ๆ ที่มีการเชื่อมต่อถึงกันและกันสูงขึ้น หน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบบริหารจึงจะปรากฏ เมื่อสมรรถภาพเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะเกิดการพัฒนาต่อไปบางครั้งอย่างรวดเร็วเป็นช่วง ๆ ในขณะที่สมรรถภาพที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นอื่น ๆ ก็จะเจริญขึ้นด้วย ซึ่งบ่งถึงความแตกต่างกันของแนวทางการพัฒนาของส่วนประกอบต่าง ๆ
วัยเด็กต้น ๆ
ระบบการยับยั้ง (inhibitory control) และความจำใช้งาน (working memory) เป็นกิจบริหารพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนากิจบริหารที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นอื่น ๆ เช่นการแก้ปัญหาเป็นไปได้ ระบบการยับยั้งและความจำใช้งานเป็นระบบแรก ๆ สุดที่ปรากฏ คือพบการพัฒนาเบื้องต้นได้ในทารกวัย 7-12 เดือน และหลังจากนั้นในวัยก่อนปฐมศึกษา เด็ก ๆ จะแสดงประสิทธิภาพในงานเกี่ยวกับการยับยั้งและความจำใช้งานที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วโดยปกติในระหว่างอายุ 3-5 ขวบ นอกจากนั้นแล้วก็อยู่ในช่วงเวลานี้ด้วย ที่ความสามารถในการทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน (cognitive flexibility) พฤติกรรมมีเป้าหมาย (goal-directed behavior) และการวางแผนเริ่มเกิดการพัฒนา อย่างไรก็ดี เด็กวัยก่อนปฐมศึกษายังไม่มีสมรรถภาพทางการบริหารที่สมบูรณ์ จึงยังเกิดการทำงานผิดพลาดเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพที่กำลังเติบโตขึ้น แต่โดยปกติจะไม่ใช่เป็นเพราะความไม่มีสมรรถภาพเหล่านั้น แต่เป็นเพราะว่า เด็ก ๆ ยังไม่มีความสำนึกว่าเมื่อไรและอย่างไรที่จะใช้วิธีการบริหารหนึ่ง ๆ ในกรณีเช่นนั้น
ก่อนวัยรุ่น
เด็กก่อนวัยรุ่นยังปรากฏการเจริญขึ้นของ EF บางอย่างที่รวดเร็วอีกด้วยพร้อมกับการเจริญขึ้นอย่างสมบูรณ์ของหน้าที่บางอย่าง ซึ่งบอกเป็นนัยว่า การพัฒนาของ EF ไม่ได้เป็นการเจริญขึ้นในแนว น
ในช่วงก่อนวัยรุ่น เด็ก ๆ มีสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญเกี่ยวกับความจำใช้งานทางภาษา (verbal working memory) พฤติกรรมมีเป้าหมาย (โดยอาจมีช่วงที่พัฒนาเร็วที่สุดใกล้อายุ 12 ขวบ) การยับยั้งการตอบสนอง (response inhibition) และความใส่ใจโดยเลือก และการวางแผนและทักษะในการจัดระเบียบต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้ว ในระหว่างวัย 8-10 ขวบ cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน) โดยเฉพาะจะเริ่มเทียบกับระดับของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ดี เปรียบเหมือนกับรูปแบบการพัฒนาที่เกิดขึ้นในวัยเด็กต้น ๆ สมรรถภาพการบริหารในเด็กก่อนวัยรุ่นมีขีดจำกัด เพราะว่าไม่สามารถใช้สมรรถภาพเหล่านี้ในกรณีต่าง ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ อันเป็นผลจากการพัฒนาที่ยังเป็นไปอยู่ในระบบการยับยั้ง (inhibitory control)
วัยรุ่น
แม้ว่าจะมีสมรรถภาพต่าง ๆ กันที่เริ่มขึ้นในสมัยวัยเด็กต้น ๆ และก่อนวัยรุ่น เช่นการยับยั้ง แต่ว่า เป็นสมัยช่วงวัยรุ่นที่ระบบต่าง ๆ ในสมองจะเกิดการทำงานที่ประสานกันดี จะเป็นในวัยนี้นี่แหละที่เยาวชนจะมีสมรรถภาพทางการบริหารต่าง ๆ เช่น การยับยั้ง (inhibitory control) ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับที่ระบบการควบคุมเกิดขึ้นในวัยเด็กและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ การวางแผนและพฤติกรรมมีเป้าหมายจะมีการพัฒนาขึ้นตลอดระยะช่วงวัยรุ่น นอกจากนั้นแล้ว สมรรถภาพต่าง ๆ เช่น การควบคุมการใส่ใจ (โดยอาจจะเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วช่วงอายุ 15 ปี) และความจำใช้งาน ก็จะมีการพัฒนาต่อไปในช่วงนี้ด้วย
วัยผู้ใหญ่
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นในสมองในวัยผู้ใหญ่ก็คือการสร้างปลอกไมอีลินของเซลล์ประสาทใน prefrontal cortex ในช่วงวัย 20-29 ปี สมรรถภาพการบริหารจะอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งทำให้คนในช่วงอายุนี้สามารถทำงานทางใจที่ยากที่น่าสนใจที่สุด เป็นสมรรถภาพที่จะเสื่อมลงต่อ ๆ ไป โดยความจำใช้งานและ spatial span เป็นส่วนที่เสื่อมให้เห็นมากที่สุด ส่วน cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน) เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังและมักจะไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งถึงอายุ 70 ปีในผู้ใหญ่ปกติ สมรรถภาพการบริหารที่เสื่อมลงเป็นตัวพยากรณ์สมรรถภาพการช่วยเหลือตนเองได้ดีที่สุดในคนชรา
แบบจำลอง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การประเมิน
การประเมิน EF ต้องอาศัยการหารวมข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่ง และอาศัยการสร้างภาพโดยรวมเพื่อหาแนวโน้มและรูปแบบที่เหมือนกันข้ามกาลเวลาและสถานการณ์ นอกจากการตรวจสอบตามแบบแผนแล้ว วิธีการประเมินอื่น ๆ ก็ยังสามารถใช้ได้ เช่น รายการตรวจสอบมาตรฐาน การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และตัวอย่างของผลงานในอาชีพ จากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะสามารถอนุมานข้อสรุปเกี่ยวกับสมรรถภาพของ EF ในบุคคลนั้นได้
มีการทดสอบหลายประเภท (เช่น ตามผลการทดสอบ หรือตามที่ตนรายงาน) ที่วัดประสิทธิภาพของ EF ในช่วงการพัฒนาต่าง ๆ การทดสอบเพื่อประเมินผลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อการรักษาบำบัดโรค เช่น
- Behavioural Assessment of Dysexecutive Syndrome (BADS)
- CogScreen: Aeromedical Edition
- Continuous Performance Task (CPT)
- Controlled Oral Word Association Test (COWAT)
- d2 Test of Attention
- Delis-Kaplan Executive Function System (D-KEFS)
- Digit Vigilance Test
- Figural Fluency Test
- Halstead Category Test
- Hayling and Brixton tests
- Iowa gambling task
- Kaplan Baycrest Neurocognitive Assessment (KBNA)
- Kaufman Short Neuropsychological Assessment
- Paced Auditory Serial Addition Test (PASAT)
- Pediatric Attention Disorders Diagnostic Screener (PADDS)
- Rey-Osterrieth Complex Figure
- Ruff Figural Fluency Test
- Stroop effect
- Test of Variables of Attention (T.O.V.A.)
- Tower of London Test
- Trail-Making Test (TMT) หรือ Trails A & B
- Wisconsin Card Sorting Test (WCST)
- Symbol Digit Modalities Test
หลักฐานจากงานทดลอง
ระบบการบริหารเป็นเรื่องที่กำหนดได้ยาก ดังที่นักจิตวิทยาพอล เบอร์กีส์ได้กล่าวว่า เพราะไม่มี "ความเชื่อมต่อกันระหว่างกระบวนการทำงานกับพฤติกรรม" ซึ่งก็คือ ไม่มีพฤติกรรมอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะที่สัมพันธ์กับ EF หรือกับระบบการบริหารที่เกิดความเสียหาย ยกตัวอย่างเช่น ปกติจะชัดเจนว่า คนไข้ที่มีการอ่านเสียหายจะไม่สามารถที่จะทำกิจอะไร แต่ว่า จะไม่ชัดเจนว่า คนไข้ที่มี EF เสียหายจะไม่สามารถที่จะทำกิจอะไร
นี้เป็นผลของธรรมชาติของระบบบริหารโดยตรง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประสานงานการใช้ทรัพยากรทางประชานที่ไม่อยู่นิ่ง ที่เป็นไปในปัจจุบัน และดังนั้น จะเห็นผลของการทำงานของระบบได้ก็โดยวัดผลกระบวนการทางประชานอื่น ๆ นอกจากนั้นแล้ว โดยนัยเดียวกัน ระบบอาจไม่เกิดการทำงานนอกสถานการณ์ในโลกจริง ๆ (เช่น ในสถานการณ์ในแล็บ) ดังที่ประสาทแพทย์อันโตนิโอ ดามาซิโอได้รายงานว่า คนไข้คนหนึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับระบบบริหารในชีวิตประจำวันจริง ๆ แต่ก็ยังสามารถผ่านการทดสอบที่ทำโดยกระดาษและปากกาหรือการทดสอบในแล็บที่เกี่ยวกับ EF ได้
ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบบริหารโดยมากมาจากสังเกตการณ์ในคนไข้ที่มีสมองกลีบหน้าเสียหาย คือ คนไข้มีการกระทำและกลยุทธ์ในการทำกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ไม่มีระเบียบ (ซึ่งเป็นกลุ่มพฤติกรรมที่เรียกว่า dysexecutive syndrome) แม้ว่า คนไข้จะสามารถผ่านการทดสอบทางคลินิกหรือภายในแล็บที่ใช้ประเมินการทำงานทางประชานขั้นพื้นฐานเช่นความจำ การเรียนรู้ ภาษา และการคิดหาเหตุผล มีสมมติฐานที่แสดงว่า เพื่อที่จะอธิบายพฤติกรรมที่น่าแปลกใจเช่นนี้ จะต้องมีระบบประสาทครอบคลุมที่ประสานงานของกระบวนการทางประชานต่าง ๆ
หลักฐานการทดลองมากมายเกี่ยวกับโครงสร้างทางประสาทที่เกี่ยวข้องกับ EF มาจากการทดสอบโดยใช้ stroop effect และ Wisconsin Card Sorting Task (WCST) โดย Stroop task ให้ผู้รับการทดลองบ่งสีของคำที่ระบายสีโดยที่สีและความหมายของคำอาจจะขัดแย้งกัน (เช่น คำว่า "แดง" ที่ระบายสีเป็นสีเขียว) ผู้รับการทดลองจะต้องใช้ EF ในการทำงานนี้ เพราะว่า ต้องมีการยับยั้งพฤติกรรมที่ทำอย่างช่ำชองและอัติโนมัติ (เช่นการอ่านคำหนังสือ) เพื่อที่จะทำงานที่ไม่ค่อยได้ทำ ซึ่งก็คือบ่งสีของคำ งานทดลองที่ใช้การสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) แสดงว่า มีสองส่วนใน PFC ซึ่งก็คือ anterior cingulate cortex (ACC) และ dorsolateral prefrontal cortex (DLPFC) ที่พิจารณาว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษในการทำงานทดสอบนี้
ความไวต่อสิ่งแวดล้อมของ PFC
มีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องของ PFC ใน EF จากการทดลองในลิงอันดับวานรเช่นในลิงมาคาก โดยใช้การวัดสรีรภาพทางไฟฟ้า (electrophysiology) ของเซลล์เดี่ยว ๆ ซึ่งแสดงว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ประสาทในด้านหลังของสมอง เซลล์ของ PFC เป็นจำนวนมากไวต่อการประกอบรวมกันของสิ่งเร้าและสถานการณ์สิ่งแวดล้อม (context) ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ของ PFC อาจจะตอบสนองต่อตัวช่วยสีเขียว ในกรณีที่ตัวช่วยบ่งว่า ควรจะขยับตาทั้งสองและศีรษะอย่างรวดเร็วไปทางซ้าย แต่ไม่ตอบสนองต่อตัวช่วยสีเขียวในสถานการณ์ทางการทดลองอื่น ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่า การทำงานในระดับที่ดีสุดของ EF จะต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตัวอย่างที่ให้โดยมิลเล่อร์และโคเฮ็นก็คือ ผู้ที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องเรียนรู้อย่างช่ำชองที่จะมองไปทางซ้ายก่อนที่จะข้ามถนน แต่ว่า เมื่อมีสถานการณ์เปลี่ยนไปที่แสดงว่า อยู่ในประเทศอังกฤษ ต้องมีการห้ามการตอบสนองเช่นนี้ คือต้องแทนที่พฤติกรรมด้วยการจับคู่สิ่งเร้า-การตอบสนองที่ต่างกันไป (คือให้มองไปทางขวาก่อนข้ามถนน) กลุ่มพฤติกรรมเหล่านี้ชัดเจนว่าต้องอาศัยระบบประสาทที่สามารถประสานสิ่งเร้า (คือถนนในกรณีนี้) กับสถานที่ (ประเทศสหรัฐ ประเทศอังกฤษ) เพื่อตอบสนองด้วยพฤติกรรม (มองซ้าย มองขวา) หลักฐานในปัจจุบันบอกเป็นนัยว่า เซลล์ประสาทใน PFC ดูเหมือนจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้อมูลเช่นนี้อย่างชัดเจน[]
หลักฐานอื่น ๆ จากงานวิจัยสรีรภาพไฟฟ้าของเซลล์เดี่ยว ๆ ในลิงแสดง ventrolateral PFC ว่าเป็นตัวควบคุมการตอบสนองทางการเคลื่อนไหว (motor responses) ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ที่เพิ่มอัตราการยิงสัญญาณเพราะสัญญาณภายนอกที่บอกว่า "อย่าไป" และสัญญาณที่บอกว่า "อย่ามองที่นั่น" ได้รับการระบุแล้ว
ความเอนเอียงเพราะความใส่ใจในระบบการรับรู้ต่าง ๆ
มีการใช้งานวิจัยโดยสรีรวิทยาไฟฟ้า (electrophysiology) และการสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในมนุษย์เพื่อระบุกลไกทางประสาทที่เป็นเหตุของความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attentional bias) โดยงานวิจัยโดยมากสืบหาการทำงานในระบบที่เกิดความเอนเอียง เช่น ในเปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex) หรือเปลือกสมองส่วนการได้ยิน (auditory cortex) งานวิจัยยุคต้น ๆ ใช้ event-related potential (ตัวย่อ ERP หมายถึง การตอบสนองทางไฟฟ้าของสมองเพราะเหตุการณ์หนึ่ง ๆ) เพื่อที่จะแสดงว่า ระดับการตอบสนองด้วยไฟฟ้าในสมองที่บันทึกในคอร์เทกซ์สายตาทั้งในซีกซ้ายและซีกขวาของสมองเกิดการเพิ่มระดับขึ้น ถ้าให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจในด้านที่เหมาะสม (คือตรงข้ามกับซีกสมองที่ระดับการตอบสนองเพิ่มขึ้น)
เทคนิคใหม่ ๆ ในการสร้างภาพสมองที่อาศัยการเดินโลหิต เช่น fMRI และ การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (PET) ได้ทำให้สามารถแสดงได้ว่า ระดับการทำงานของประสาทในเขตประสาทสัมผัสต่าง ๆ รวมทั้ง (เขตรับรู้สี) (เขตการเคลื่อนไหว) และเขตรับรู้ใบหน้า เกิดการเพิ่มระดับขึ้นเมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจในลักษณะที่สมควรของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งบอกว่า มีการควบคุมการขยายสัญญาณ (gain control) ในเขตคอร์เทกซ์ใหม่ที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยในปี ค.ศ. 2003 ลิวและคณะ แสดงขบวนของจุดที่เคลื่อนไหวไปทางซ้ายหรือทางขวา เป็นสีแดงหรือสีเขียว ให้ผู้ร่วมการทดลองดู และก่อนที่จะแสดงสิ่งเร้า จะมีตัวช่วยที่บอกว่า ผู้ร่วมการทดลองควรที่จะตอบสนองโดยอาศัยสีหรือทิศทางของจุดเหล่านั้น แม้ว่าสีและการเคลื่อนไหวจะมีอยู่ในขบวนจุดเหล่านั้นทั้งหมด การทำงานใน(เขตที่ไวสี) (V4) ดังที่แสดงโดย fMRI ก็เกิดในระดับที่สูงขึ้นเมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจที่สี และการทำงานใน(เขตที่ไวต่อการเคลื่อนไหว) ก็เกิดในระดับที่สูงขึ้นเมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจที่ทิศทางของการเคลื่อนไหว นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานวิจัยอีกหลายงานที่รายงานหลักฐานของสัญญาณแสดงความเอนเอียงที่เกิดขึ้นก่อนการแสดงสิ่งเร้า โดยแสดงว่า เขตต่าง ๆ ในสมองกลีบหน้ามักจะเกิดการทำงานก่อนที่จะแสดงสิ่งเร้าที่คาดหมาย
การเชื่อมต่อกันของ PFC และเขตประสาทสัมผัส
แม้ว่า น้ำหนักของแบบจำลองว่า EF มีส่วนในการทำให้เกิดความเอนเอียงในประสาทสัมผัส จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลักฐานโดยตรงที่แสดงการเชื่อมต่อกันโดยกิจระหว่าง PFC และเขตประสาทสัมผัสต่าง ๆ เมื่อมีการทำงานของ EF ก็ยังมีน้อยอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ คือจริง ๆ แล้ว มีหลักฐานเดียวที่มาจากการศึกษาที่คนไข้มีความเสียหายในส่วนหนึ่งของสมองกลีบหน้า และเกิดผลในส่วนสมองที่ไกลจากรอยโรคที่สืบเนื่องกับการตอบสนองของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก แต่ว่า มีงานวิจัยน้อยงานที่ได้ตรวจสอบว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดในเฉพาะสถานการณ์ที่เกิดการทำงานของ EF หรือไม่ ส่วนวิธีอื่น ๆ ที่วัดความเชื่อมต่อกันระหว่างเขตสมองที่อยู่ห่างกัน เช่นโดยสหสัมพันธ์ของการตอบสนองที่เห็นใน fMRI ได้แสดงหลักฐานโดยอ้อมว่า สมองกลีบหน้าและเขตประสาทสัมผัส (เขตรับความรู้สึก) ต่าง ๆ มีการสื่อสารถึงกันและกันในกระบวนการต่าง ๆ ที่พิจารณาว่า ทำให้เกิดการทำงานของ EF เช่นความจำใช้งาน ดังนั้น จึงยังต้องการงานวิจัยเพิ่มขึ้นอีกเพื่อที่จะระบุว่า มีการส่งข้อมูลกลับไปกลับมาอย่างไรระหว่าง PFC และส่วนอื่น ๆ ของสมองเมื่อ EF เกิดการทำงาน
มีงานวิจัยหนึ่งที่เริ่มมุ่งหน้าไปทางทิศทางนี้ เป็นงานวิจัยโดย fMRI ที่ศึกษาสายการประมวลข้อมูลในระหว่างการคิดเหตุผลเกี่ยวกับพื้นที่เนื่องกับการเห็น เป็นงานที่ให้หลักฐานของความเป็นเหตุและผล (โดยอนุมานจากลำดับการเกิดของการทำงาน) ระหว่างการทำงานทางประสาทสัมผัสในสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบข้าง กับการทำงานใน PFC ส่วนหลังและส่วนหน้า งานวิจัยในแนวนี้สามารถทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องการประมวลข้อมูลเพื่อทำกิจเกี่ยวกับ EF ใน PFC และส่วนอื่น ๆ ของสมอง
การพูดได้สองภาษาและ EF
มีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงว่า ผู้ที่พูดได้สองภาษามี EF ที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า โดยเฉพาะในส่วนการยับยั้ง (inhibitory control) และการทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน (task switching) คำอธิบายที่อาจเป็นไปได้อย่างหนึ่งก็คือ ผู้พูดสองภาษาต้องควบคุมความใส่ใจและเลือกภาษาที่เหมาะสมในการพูด. ในทุกช่วงพัฒนาการ บุคคลที่พูดสองภาษาได้รวมทั้งทารก เด็ก และผู้ชรา แสดงความได้เปรียบของผู้พูดได้สองภาษาในประเด็นการทำงานของ EF แต่น่าสนใจว่า ผู้พูดได้สองภาษาเป็นสองรูปแบบ คือพูดภาษาหนึ่งได้และรู้ภาษาใบ้ กลับไม่ปรากฏความได้เปรียบเกี่ยวกับสมรรถภาพของ EF นี้อาจเป็นเพราะไม่ต้องทำการยับยั้งภาษาหนึ่งอย่างแอ๊กถีฟเพื่อที่จะใช้อีกภาษาหนึ่ง ผู้พูดสองภาษาดูเหมือนจะได้เปรียบในการจัดการความขัดแย้ง (conflict processing) อีกด้วย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสามารถใช้รูปแบบหลายอย่างในการตอบสนองหนึ่ง ๆ (ยกตัวอย่างเช่น คำ ๆ หนึ่งในภาษาหนึ่งที่แปลได้หลายรูปแบบในอีกภาษาหนึ่ง) โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว lateral prefrontal cortex เป็นส่วนที่มีบทบาทในการจัดการความขัดแย้ง
อย่างไรก็ดี มีผู้ที่วิจารณ์ว่า ความแตกต่างของผู้พูดได้สองภาษาและภาษาเดียวอาจเกิดขึ้นจากองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ได้ควบคุมในงานทดลองที่แสดงความแตกต่าง หรือว่าผู้ร่วมการทดลองมีความสามารถลักษณะที่ไม่ใกล้เคียงกัน งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 โดยใช้ Attentional Network Test ในเด็กพูดได้สองภาษา 180 คนพร้อมกับเด็กกลุ่มทดลองที่มีลักษณะความสามารถที่คล้ายคลึงกันพบว่า เด็กสองกลุ่มนี้ทำคะแนนในงานนั้นได้โดยไม่มีความต่างกันทางสถิติ
แนวทางเพื่ออนาคต
มีหลักฐานสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของ EF ใน PFC เช่นงานปริทัศน์ที่อ้างอิงกันอย่างกว้างขวางงานหนึ่ง ขับเน้นบทบาทของ PFC ส่วนใน (medial) ในสถานการณ์ที่มักจะต้องใช้ EF ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสำคัญที่จะตรวจจับความผิดพลาด ระบุสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้าที่ขัดแย้งกัน ทำการตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่ใจ หรือว่าเมื่อรู้ว่ามีโอกาสน้อยลงที่จะได้ผลที่ต้องการในการกระทำ บทความปริทัศน์นี้คล้ายกับบทความอื่น ๆ ที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง PFC ส่วนใน (medial) และส่วนข้าง (lateral) ที่ส่วนในด้านหลัง (posterior medial) ส่งสัญญาณเกี่ยวกับความต้องการ EF ที่เพิ่มขึ้น โดยส่งไปยังเขตของส่วนข้างด้านบน (dorsolateral) ซึ่งเป็นที่เกิดสัญญาณการควบคุมการปฏิบัติการ ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าทัศนคตินี้ถูกต้อง และจริง ๆ แล้ว กลับมีบทความหนึ่งที่แสดงถึงคนไข้หลายคนที่มีความเสียหายต่อ PFC ด้านข้างที่มีระดับ ERN (Error-related negativity ซึ่งเป็นสัญญาณที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากการตรวจสอบความผิดพลาดของส่วนในด้านบน) ลดลง ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ส่วนที่ส่งสัญญาณควบคุมอาจจะกลับกันกับที่แสดงในทัศนคตินี้
ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งที่มีชื่อเสียง เน้นการทำงานร่วมกันของส่วนต่าง ๆ ของสมองกลีบหน้าในแนวนอน โดยอ้างว่า มีการทำงานต่อเรียงกันระหว่าง PFC ส่วนหน้า, PFC ส่วนข้างด้านบน, และ premotor cortex ที่ช่วยนำพฤติกรรมอาศัยสถานการณ์ที่มีในอดีต อาศัยสถานการณ์ในปัจจุบัน และอาศัยความสัมพันธ์ปัจจุบันของประสาทสัมผัสและการสั่งการ (sensorimotor associations) ไปตามลำดับคอร์เทกซ์ (ในแนวนอน)
ความก้าวหน้าในการสร้างภาพในสมอง (neuroimaging) ช่วยในการศึกษาความเกี่ยวข้องทางกรรมพันธุ์ของ EF โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้เทคนิคการสร้างภาพนี้เป็น endophenotype เพื่อสืบค้นเหตุทางพันธุกรรมของ EF
เชิงอรรถและอ้างอิง
- (PDF). p. 212. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2557-06-18.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - Usha Goswami. (2562). จิตวิทยาเด็ก: ความรู้ฉบับพกพา. แปลโดย สุภลัคน์ ลวดลาย และวรัญญู กองชัยมงคล. หน้า 167. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป. .
- การประเมินทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร (Executive Function) ในเด็กปฐมวัย https://thaichild21.com/2019/11/09/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/[]
- Anderson, Vicki (2001). "Assessing executive functions in children: biological, psychological, and developmental considerations" (PDF). Pediatric Rehabilitation. 4 (3): 119–136. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2557.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - Elliott R (2003) . Executive functions and their disorders. British Medical Bulletin. (65) ; 49–59
- Monsell S (2003). "Task switching". TRENDS in Cognitive Sciences. 7 (3): 134–140. doi:10.1016/S1364-6613(03)00028-7. PMID 12639695.
- Chan, R. C. K., Shum, D., Toulopoulou, T. & Chen, E. Y. H., R; Shum, D; Toulopoulou, T; Chen, E (2008). "Assessment of executive functions: Review of instruments and identification of critical issues". Archives of Clinical Neuropsychology. 2. 23 (2): 201–216. doi:10.1016/j.acn.2007.08.010. PMID 18096360.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Alvarez, J. A. & Emory, E., Julie A.; Emory, Eugene (2006). "Executive function and the frontal lobes: A meta-analytic review". Neuropsychology Review. 16 (1): 17–42. doi:10.1007/s11065-006-9002-x. PMID 16794878.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Lezak, M. D., Howieson, D. B. & Loring, D. W. (2004). Neuropsychological Assessment (4th ed.). New York: Oxford University Press. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Clark, L., Bechara, A., Damasio, H., Aitken, M. R. F., Sahakian, B. J. & Robbins, T. W., L.; Bechara, A.; Damasio, H.; Aitken, M. R. F.; Sahakian, B. J.; Robbins, T. W. (2008). "Differential effects of insular and ventromedial prefrontal cortex lesions on risky decision making". Brain. 131 (5): 1311–1322. doi:10.1093/brain/awn066. PMC 2367692. PMID 18390562.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Allman, J. M., Hakeem, A., Erwin, J.M., Nimchinsky E. & Hof, P., John M.; Hakeem, Atiya; Erwin, Joseph M.; Nimchinsky, Esther; Hof, Patrick (2001). "The anterior cingulate cortex: the evolution of an interface between emotion and cognition". Annals of the New York Academy of Sciences. 935 (1): 107–117. doi:10.1111/j.1749-6632.2001.tb03476.x. PMID 11411161.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Rolls, E. T. & Grabenhorst, F., Edmund T.; Grabenhorst, Fabian (2008). "The orbitofrontal cortex and beyond: From affect to decision-making". Progress in Neurobiology. 86 (3): 216–244. doi:10.1016/j.pneurobio.2008.09.001. PMID 18824074.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Norman DA, Shallice T (2000). "(1980) Attention to action: Willed and automatic control of behaviour". ใน Gazzaniga MS (บ.ก.). Cognitive neuroscience: a reader. Oxford: Blackwell. ISBN .
- Russell A. Barkley, Kevin R. Murphy: Attention-Deficit Hyperactivity Disorder, Third Edition: A Clinical Workbook, Volym 2, (found on Google books)
- Cherkes-Julkowski, Miriam (2005). The DYSfunctionality of Executive Function. surviving education guides. ISBN . OCLC 77573143.
- Shiffrin, RM; Schneider, W (March 1977). "Controlled and automatic human information processing: II: Perceptual learning, automatic attending, and a general theory". Psychological Review. 84 (2): 127–90. 10.1.1.227.1856. doi:10.1037/0033-295X.84.2.127.
- Posner, MI; Snyder, CRR (1975). "Attention and cognitive control". ใน Solso, RL (บ.ก.). Information processing and cognition: the Loyola symposium. Hillsdale, NJ: L. Erlbaum Associates. ISBN .
- Posner, MI; Petersen, SE (1990). "The attention system of the human brain". Annual Review of Neuroscience. 13 (1): 25–42. doi:10.1146/annurev.ne.13.030190.000325. PMID 2183676. S2CID 2995749.
- Shallice, T (1988). From neuropsychology to mental structure. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN .
- Baddeley AD (1986). Working memory. Oxford: Clarendon Press. ISBN .
- De Luca, Cinzia R.; Leventer, Richard J. (2008). "Developmental trajectories of executive functions across the lifespan". ใน Anderson, Peter; Anderson, Vicki; Jacobs, Rani (บ.ก.). Executive functions and the frontal lobes: a lifespan perspective. Washington, DC: Taylor & Francis. pp. 24–47. ISBN . OCLC 182857040.
- Anderson, PJ (2002). "Assessment and development of executive functioning (EF) in childhood". Child Neuropsychology. 8 (2): 71–82. doi:10.1076/chin.8.2.71.8724. PMID 12638061. S2CID 26861754.
- Senn, TE; Espy, KA; Kaufmann, PM (2004). "Using path analysis to understand executive function organization in preschool children". Developmental Neuropsychology. 26 (1): 445–464. doi:10.1207/s15326942dn2601_5. PMID 15276904. S2CID 35850139.
- Best, JR; Miller, PH; Jones, LL (2009). "Executive functions after age 5: Changes and correlates". Developmental Review. 29 (3): 180–200. doi:10.1016/j.dr.2009.05.002. PMC 2792574. PMID 20161467.
- Espy, KA (2004). "Using developmental, cognitive, and neuroscience approaches to understand executive functions in preschool children". Developmental Neuropsychology. 26 (1): 379–384. doi:10.1207/s15326942dn2601_1. PMID 15276900. S2CID 35321260.
- Brocki, KC; Bohlin, G (2004). "Executive functions in children aged 6 to 13: A dimensional and developmental study;". Developmental Neuropsychology. 26 (2): 571–593. doi:10.1207/s15326942dn2602_3. PMID 15456685. S2CID 5979419.
- Anderson, VA; Anderson, P; Northam, E; Jacobs, R; Catroppa, C (2001). "Development of executive functions through late childhood and adolescence in an Australian sample". Developmental Neuropsychology. 20 (1): 385–406. doi:10.1207/S15326942DN2001_5. PMID 11827095. S2CID 32454853.
- Klimkeit, EI; Mattingley, JB; Sheppard, DM; Farrow, M; Bradshaw, JL (2004). "Examining the development of attention and executive functions in children with a novel paradigm". Child Neuropsychology. 10 (3): 201–211. doi:10.1080/09297040409609811. PMID 15590499. S2CID 216140710.
- De Luca, CR; Wood, SJ; Anderson, V; Buchanan, JA; Proffitt, T; Mahony, K; Pantelis, C (2003). "Normative data from the CANTAB I: Development of executive function over the lifespan". Journal of Clinical and Experimental Neuropsychology. 25 (2): 242–254. doi:10.1076/jcen.25.2.242.13639. PMID 12754681. S2CID 36829328.
- Luciana, M; Nelson, CA (2002). "Assessment of neuropsychological function through use of the Cambridge Neuropsychological Testing Automated Battery: Performance in 4- to 12-year-old children". Developmental Neuropsychology. 22 (3): 595–624. doi:10.1207/S15326942DN2203_3. PMID 12661972. S2CID 39133614.
- Luna, B; Garver, KE; Urban, TA; ; Sweeney, JA (2004). "Maturation of cognitive processes from late childhood to adulthood". Child Development. 75 (5): 1357–1372. 10.1.1.498.6633. doi:10.1111/j.1467-8624.2004.00745.x. PMID 15369519.
- Leon-Carrion, J; García-Orza, J; Pérez-Santamaría, FJ (2004). "Development of the inhibitory component of the executive functions in children and adolescents". International Journal of Neuroscience. 114 (10): 1291–1311. doi:10.1080/00207450490476066. PMID 15370187. S2CID 45204519.
- spatial span เป็นแบบการประเมินสมรรถภาพความจำใช้งาน (working memory) ที่แสดงกล่องสีขาวที่กระจัดกระจายไปทั่วทั้งจอ โดยที่ผู้รับการทดสอบต้องแสดงกล่องที่เปลี่ยนสีไปตามลำดับ จำนวนกล่องที่ใช้ทดสอบเริ่มตั้งแต่ 2 ไปสุดที่ 9 จาก "Spatial Span (SSP)". สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2557.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-12. สืบค้นเมื่อ 2014-08-06.
- Rabbitt PMA (1997). "Theory and methodology in executive function research". Methodology of frontal and executive function. East Sussex: Psychology Press. ISBN .
- Saver, JL; Damasio, AR (1991). "Preserved access and processing of social knowledge in a patient with acquired sociopathy due to ventromedial frontal damage". Neuropsychologia. 29 (12): 1241–9. doi:10.1016/0028-3932(91)90037-9. PMID 1791934. S2CID 23273038.
- Shimamura, AP (2000). "The role of the prefrontal cortex in dynamic filtering". Psychobiology. 28 (2): 207–218. doi:10.3758/BF03331979. S2CID 140274181.
- Sakagami, M; Tsutsui, Ki; Lauwereyns, J; Koizumi, M; Kobayashi, S; Hikosaka, O (1 July 2001). "A code for behavioral inhibition on the basis of color, but not motion, in ventrolateral prefrontal cortex of macaque monkey". The Journal of Neuroscience. 21 (13): 4801–8. doi:10.1523/JNEUROSCI.21-13-04801.2001. PMC 6762341. PMID 11425907.
- Hasegawa, RP; Peterson, BW; Goldberg, ME (August 2004). "Prefrontal neurons coding suppression of specific saccades". Neuron. 43 (3): 415–25. doi:10.1016/j.neuron.2004.07.013. PMID 15294148. S2CID 1769456.
- Hillyard, SA; Anllo-Vento, L (February 1998). "Event-related brain potentials in the study of visual selective attention". Proceedings of the National Academy of Sciences. 95 (3): 781–7. Bibcode:1998PNAS...95..781H. doi:10.1073/pnas.95.3.781. PMC 33798. PMID 9448241.
- Liu, T; Slotnick, SD; Serences, JT; Yantis, S (December 2003). "Cortical mechanisms of feature-based attentional control". Cerebral Cortex. 13 (12): 1334–43. 10.1.1.129.2978. doi:10.1093/cercor/bhg080. PMID 14615298.
- Kastner, S; Pinsk, MA; De Weerd, P; Desimone, R; Ungerleider, LG (April 1999). "Increased activity in human visual cortex during directed attention in the absence of visual stimulation". Neuron. 22 (4): 751–61. doi:10.1016/S0896-6273(00)80734-5. PMID 10230795.
- Miller, BT; d'Esposito, M (November 2005). "Searching for "the top" in top-down control". Neuron. 48 (4): 535–8. doi:10.1016/j.neuron.2005.11.002. PMID 16301170. S2CID 7481276.
- Barceló, F; Suwazono, S; Knight, RT (April 2000). "Prefrontal modulation of visual processing in humans". Nature Neuroscience. 3 (4): 399–403. doi:10.1038/73975. PMID 10725931. S2CID 205096636.
- Fuster, JM; Bauer, RH; Jervey, JP (March 1985). "Functional interactions between inferotemporal and prefrontal cortex in a cognitive task". Brain Research. 330 (2): 299–307. doi:10.1016/0006-8993(85)90689-4. PMID 3986545. S2CID 20675580.
- Gazzaley, A; Rissman, J; d'Esposito, M (December 2004). "Functional connectivity during working memory maintenance". Cognitive, Affective, & Behavioral Neuroscience. 4 (4): 580–99. doi:10.3758/CABN.4.4.580. PMID 15849899.
- Shokri-Kojori, E; Motes, MA; Rypma, B; Krawczyk, DC (May 2012). "The network architecture of cortical processing in visuo-spatial reasoning". Scientific Reports. 2 (411): 411. Bibcode:2012NatSR...2E.411S. doi:10.1038/srep00411. PMC 3355370. PMID 22624092.
- Bialystok E (2001). Bilingualism in development: Language, literacy, and cognition. New York: Cambridge University Press.
- Carlson SM, Meltzoff AM (2008). "Bilingual experience and executive functioning in young children". Developmental Science. 11 (2): 282–298. doi:10.1111/j.1467-7687.2008.00675.x. PMC 3647884. PMID 18333982.
- Conboy BT, Summerville JA, Kuhl PK (2008). "Cognitive control factors in speech at 11 months". Developmental Psychology. 44 (5): 1505–1512. doi:10.1037/a0012975. PMC 2562344. PMID 18793082.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () อ้างอิง Bialystok, E (1999). "Cognition and language: Cognitive complexity and attentional control in the bilingual mind". Child Development. 70: 636–644. - Bialystok E, Craik FIM, Klein R, Viswanathan M (2004). "Bilingualism, aging, and cognitive control: Evidence from the Simon task". Psychology and Aging. 19 (2): 290–303. doi:10.1037/0882-7974.19.2.290. PMID 15222822.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Emmorey K, Luk G, Pyers JE, Bialystok E (2008). "The source of enhanced cognitive control in bilinguals". 19: 1201–1206.
{{}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
((help))CS1 maint: multiple names: authors list () - Costa A, Hernandez M, and Sebastian-Galles, N (2008). "Bilingualism aids conflict resolution: Evidence from the ANT task". Cognition. 106 (1): 59–86. doi:10.1016/j.cognition.2006.12.013. PMID 17275801.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Antón1, Eneko; Duñabeitia, JA; Estévez, Adelina; Hernández, JA; Castillo, Alejandro; Fuentes, LJ; Davidson, DJ; Carreiras, Manuel. (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-29. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2557.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - Ridderinkhof, KR; Ullsperger, M; Crone, EA; Nieuwenhuis, S (October 2004). "The role of the medial frontal cortex in cognitive control" (PDF). Science. 306 (5695): 443–7. Bibcode:2004Sci...306..443R. doi:10.1126/science.1100301. :1871/17182. PMID 15486290. S2CID 5692427.
- Botvinick, MM; Braver, TS; Barch, DM; Carter, CS; Cohen, JD (July 2001). "Conflict monitoring and cognitive control". Psychological Review. 108 (3): 624–52. doi:10.1037/0033-295X.108.3.624. PMID 11488380.
- Gehring, WJ; Knight, RT (May 2000). "Prefrontal-cingulate interactions in action monitoring". Nature Neuroscience. 3 (5): 516–20. doi:10.1038/74899. PMID 10769394. S2CID 11136447.
- Koechlin, E; Ody, C; Kouneiher, F (November 2003). "The architecture of cognitive control in the human prefrontal cortex". Science. 302 (5648): 1181–5. Bibcode:2003Sci...302.1181K. 10.1.1.71.8826. doi:10.1126/science.1088545. PMID 14615530. S2CID 18585619.
- Greene, CM; Braet, W; Johnson, KA; Bellgrove, MA (2007). "Imaging the genetics of executive function". Biological Psychology. 79 (1): 30–42. doi:10.1016/j.biopsycho.2007.11.009. :10197/6121. PMID 18178303. S2CID 32721582.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Executive functions
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnimichuxepnphasaxngkvs enuxngcakchuxepnsphthechphaathangkhxngcitwithya rachbnthitysthanyngimbyytiphasaithy hnngsuxechphaathangichsphthxngkvs cutive functions aeplwa hnathibrihar twyx AF hrux khwamsamarthkhxngsmxngdanbriharcdkar thksadankarkhidechingbrihar samarthniyamidwa epnthksathicaepninkarthakicthimiepahmay micudmunghmay epnkhakhrxbkhlumthiichklawthungkrabwnkarthangprachanthikhwbkhumaelacdkarkrabwnkarthangprachanxun echn karwangaephn planning khwamcaichngan working memory karisic karaekpyha karekhaicehtuphlodyichkha verbal reasoning cognitive inhibition karmismathi cognitive flexibility karkhidthunghlay eruxngidphrxmkn task switching karthanganhlay nganidphrxmkn aelakarerimaelatrwcsxbkarkratha tamthvstithangcitwithya rabbbrihar executive system epntwkhwbkhumaelabriharkrabwnkarthangprachanxun mihnathiekiywkbkrabwnkarthibangkhrngeriykwaepn executive functions hnathibrihar executive skills thksakarbrihar supervisory attentional system rabbkhwbkhumodykarisic hrux cognitive control karkhwbkhumthangprachan swn prefrontal cortex khxngsmxngklibhnaepnswnthikhadimid aetimichswnediyw thithahnathidngthiklawmaniprasathkaywiphakhodyprawtiaelw EF phicarnawakhwbkhumodysmxngswn prefrontal khxngsmxngklibhna aetcring aelwkyngepnpraednthithkethiyngknxyu aemwa bthkhwamekiywkbrxyorkhinswn prefrontal khxngsmxngklibhnacaklawthungkhwamphidpktikhxng EF aelabthkhwamekiywkbkhwamphidpktikhxng EF kcaklawthungrxyorkhinswn prefrontal khxngsmxngklibhna bthkhwamprithsnhnungphbwa khwamsmphnthrahwang EF kbsmxngklibhnathiimesiyhayaelaichnganid mi sensitivity sung khuxtha EF pkti smxngklibhnakpktidwy aetmi specificity ta khuxtha EF phidpkti smxngklibhnaxaccapkti sunghmaykhwamwa ekhtsmxngthnginswnhnaaelaimichswnhnacaepntxkarthanganpktiinrabbbrihar khux smxngklibhnaxaccatxngmiswnrwmin EF thnghmd aetimichsmxngswnediywthimibthbath bthkhwamprithsnkhxngxlwaersaelaexmmxriinpi kh s 2006 aesdngwa nganwicythiichkarsrangphaphsmxng neuroimaging hruxkarsuksarxyorkhidrabuthunghnathitang thibxykhrngsmphnthkbekhttang odyechphaakhxng PFC klawkhux swn dorsolateral prefrontal cortex mihnathiekiywkbkarpramwlphlaebb on line khuxmikarpramwlphlsd rwmxyuinehtukarnhruxprasbkarnnn echnkarprasanmititang khxngprachanaelaphvtikrrm dngnn ekhtnicungphbwamikhwamsmphnthkbkhwamkhlxngaekhlwthangphasa verbal fluency khwamkhlxngaekhlwinkarxxkaebb design fluency karkhidthungephiyngeruxngediywaelakarepliynipkhideruxngxun karwangaephn cognitive inhibition karmismathi thksainkarcdraebiyb karkhidxyangmiehtuphl karaekpyha aelakarkhidechingnamthrrm abstract thinking mummxngdankhangkhxngsmxng aesdngswn dorsolateral prefrontal cortex aela orbitofronal cortexanterior cingulate cortex twyx ACC mibthbathekiywkbaerngcungic emotional drive prasbkarnthangxarmn emotional experience aelakarprasanxarmn emotional integration hnathithangprachanthiekiywkhxngknxyangxun rwmthngkarybyngkartxbsnxngthiimehmaasm kartdsinic aelaphvtikrrmthimiaerngcungic rxyorkhinekhtnisamarthnaipsuphawathimiaerngcungictarwmthngphawairxarmn apathy phawairaerngphlkdnaelakarrierim abulia hruxsphawaimphudaelaesiykarekhluxnihw akinetic mutism aelaxaccamiphlepnsphawairaerngcungicsahrbkhwamtxngkarphunthankhxngchiwitechnkhwamtxngkarxaharaelaekhruxngdum aelaxaccamikhwamsnicnxylnginkickrrmthangsngkhm thangxachiph aelaekiywkbephssmphnth orbitofrontal cortex twyx OFC mibthbathsakhyinkarkhwbkhumaerngkratunchbphln impulse kartrwcduphvtikrrmthikalngepnip kardarngrksaphvtikrrmthitngepnrupaebbaelw karmismathikhidthungeruxng ediyw aelaphvtikrrmthiehmaasmthangsngkhm nxkcaknnaelw OFC yngmibthbathekiywkbepntwaethnkharangwlthiekidcaktwkratunthangprasathsmphs aelaekiywkbkarpraeminprasbkarnthithaihekidxarmnthiepnxtwisyrxyorkhin OFC xacthaihekidkhwamimmikarybyngchngic disinhibition khwamhunhnphlnaeln impulsivity karprathuxxkkhxngkhwamkawraw aggressive outburst khwamsasxnthangephs aelaphvtikrrmtxtansngkhm nxkcaknnaelw xlwaersaelaexmmxriyngidklawiwwa smxngklibhnamikarechuxmtxknxyanghlaklaykbekhttang inkhxrethks itkhxrethks aelainkansmxng hnathithangprachan inradbsung echnkarybyngchngic karepliynaenwkhwamkhidhruxkarkhidthunghlayeruxngphrxm kn karaekpyha karwangaephn karkhwbkhumkhwamhunhnphlnaeln karsrangkhwamkhid khwamkhidechingnamthrrm aelakhwamkhidsrangsrrkh mkcamimulthanmacakrupaebbkhxngprachanaelaphvtikrrmthingaykwa inradbta kwa dngnn monthsnekiywkb EF catxngkwangkhwangphxthicarwmokhrngsrangthangkaywiphakhtang thiepnswnkhxngrabbprasathklangthimikhwamaetktangknaelaaephrkhyayipinthitang knbthbathtamsmmtithanrabbbriharphicarnaknwa mibthbathsakhyinkarephchiyhnakbsthankarnihm thiimidxyuinrupaebbthicdkaridodykrabwnkarcitwithyaxtonmti sungepnephiyngkarthasasungphvtikrrmtang thiekhyeriynrumakxn nkcitwithyadxn nxraemn aelathim aechlils idrangsthankarn 5 xyangthikarthanganaebbsa knkhxngphvtikrrmcaimmiprasiththiphaph khux thitxngmikarwangaephnhruxkartdsinic thitxngaekikhkhxphidphladhruxtxngsubhakhxphidphlad thikartxbsnxngyngimidmikarsxmmadihruxwatxngmikarkratharupaebbihm inbangswn thimixntrayhruxyakodyethkhnikh thitxngfunkartxbsnxngodynisyhruxtxngfunkhwamxyak prepotent response aeplwa kartxbsnxngmhaxanac epnkartxbsnxngthiekidkaresrimaerng reinforcement imwacaepnechingbwkhruxechinglbodythnthi hruxwathiidmikarsmphnthkbtwesrimkalngmakxn aelw txngmikarthangankhxng EF emuxcaepnthicatxngeliyngkartxbsnxngechnnn sungthaimmikareliyngaelw xacekidkhunodyxtonmtiephuxtxbsnxngtxsingerakhxngsingaewdlxmphaynxk yktwxyangechn emuxmisingerathinaprarthna echn ekhkchxkokaeltthixrxy eraxaccamikartxbsnxngxtonmtiepnkarlxngrbprathan aetwa thaphvtikrrmechnniimlngrxykbaephnkarphayinxun echn idtdsinicmakxnaelwwacaimthanekhkchxkokaeltinkhnathikalngldxaharxyu EF xaccatxngthanganephuxybyngkartxbsnxngechnnn aemwa camikarphicarnawakarybyng prepotent response pktiepnphvtikrrmprbtwtamthvsdiwiwthnakar aetwapyhakarphthnabukhkhlhruxkhxngklumchnnnsamarthekidkhunid thamikarhlbeliyngkhwamrusukthukphid khuxeliyngkarpraphvtiihchxbtamsilthrrm ephraaehtuaehngkhwamkddnthangsngkhm hruxwa khwamkhidsrangsrrkhtang ekidkarybyngody EFmummxngthangprawtisastraemwacaminganwicyekiywkb EF aelamulthanthangprasaththiephimkhunxyangehnidchdinpithiphan ma okhrngsrangthangthvsdikhxngeruxngniimichkhxngihm inkhristthswrrs 1950 nkcitwithyachawxngkvsodnld brxdebntidkahndkhwamaetktangknrahwangkrabwnkar xtonmti aelakrabwnkar mikarkhwbkhum sungmikahndxyangchdecnyingkhunodychiffrinaelachinedxrinpi kh s 1977 aelaidesnxixediyekiywkbkhwamisicodyeluxk selective attention sungepnipkhwbkhuknkb EF inpi kh s 1975 nkcitwithyachawxemriknimekhil ophsenxridichkhawa karkhwbkhumthangprachan cognitive control inhnngsuxkhxngekhainbththimichuxwa Attention and cognitive control rabbkhwbkhumkhwamisicaelaprachan caknn ngankhxngnkwicythrngxiththiphltang echn imekhil ophsenxr ockhwin fsetxr thim aechlils aelankwicyxun inchwngkhristthswrrs 1980 idtngrakthansahrbnganwicytx maekiywkberuxng EF yktwxyangechn ophsenxridesnxwamisakhakhxngrabbkhwamisicepnsakha brihar aeykxxktanghak sungmihnathiephngelngkhwamisicipynglksnahnung khxngsingaewdlxm swnnkprasathcitwithyachawxngkvsthim aechlilsidesnxodymiswnkhlay knwa khwamisicmikarkhwbkhumody rabbkhwbkhumduael supervisory system sungsamartheliyngkartxbsnxngxtonmtiodytxbsnxngthangphvtikrrmthimimulthancakaephnkarhruxkhwamtngic inchwngewlani idmimtithiehnphxngknwa rabbkhwbkhumnixyuinswnhnasudkhxngsmxng sungkkhux prefrontal cortex PFC inpi kh s 1986 nkcitwithyaxlan aebddali idesnxrabbthikhlay knodyepnswnkhxngaebbcalxngkhxngkhwamcaichngan working memory khxngekha aelaxangwa txngmiswnprakxbxngkhhnung sungphayhlngekhaihchuxwa central executive thithaihsamarthcdkarkhxmulinkhwamcarayasnid echn khidelkh phthnakarokhrngsrangkarphthnakarepnsingthimipraoychninkarsuksa EF ephraawa khwamsamarthtang khxng EF phthnaerwchaimethakntamkalewla khux khwamsamarthbangxyangthungkarphthnakarxyangsmburninplaywyedkhruxwyrun inkhnathiswnthiehluxyngphthnaxyuaeminwyphuihyrayatn ephraawa smxngyngecriyetibotaelasrangkarechuxmtxtang cnkrathngthunginwyphuihy khwamsamarthekiywkb EF idrbxiththiphlcakthngkarepliynaeplngthangkayphaphinsmxngaelaprasbkarnchiwit thnginhxngeriynthnginchiwitcring nxkcaknnaelw karphthnakarthangankhxng EF yngsmphnthkbkarphthnathangprasathsrirphaphinsmxngthiyngetibotxyu khux emuxsmrrthphaphkarpramwlphlkhxngsmxngklibhnaaelaswnxun thimikarechuxmtxthungknaelaknsungkhun hnathitang ekiywkbrabbbriharcungcaprakt emuxsmrrthphaphehlaniekidkhunaelw kcaekidkarphthnatxipbangkhrngxyangrwderwepnchwng inkhnathismrrthphaphthisbsxnyingkhunxun kcaecriykhundwy sungbngthungkhwamaetktangknkhxngaenwthangkarphthnakhxngswnprakxbtang wyedktn rabbkarybyng inhibitory control aelakhwamcaichngan working memory epnkicbriharphunthanxyanghnung thithaihkarphthnakicbriharthisbsxnyingkhunxun echnkaraekpyhaepnipid rabbkarybyngaelakhwamcaichnganepnrabbaerk sudthiprakt khuxphbkarphthnaebuxngtnidintharkwy 7 12 eduxn aelahlngcaknninwykxnpthmsuksa edk caaesdngprasiththiphaphinnganekiywkbkarybyngaelakhwamcaichnganthidikhunxyangrwderwodypktiinrahwangxayu 3 5 khwb nxkcaknnaelwkxyuinchwngewlanidwy thikhwamsamarthinkarthanganhlay nganidphrxmkn cognitive flexibility phvtikrrmmiepahmay goal directed behavior aelakarwangaephnerimekidkarphthna xyangirkdi edkwykxnpthmsuksayngimmismrrthphaphthangkarbriharthismburn cungyngekidkarthanganphidphladekiywkhxngkbsmrrthphaphthikalngetibotkhun aetodypkticaimichepnephraakhwamimmismrrthphaphehlann aetepnephraawa edk yngimmikhwamsanukwaemuxiraelaxyangirthicaichwithikarbriharhnung inkrniechnnn kxnwyrun edkkxnwyrunyngpraktkarecriykhunkhxng EF bangxyangthirwderwxikdwyphrxmkbkarecriykhunxyangsmburnkhxnghnathibangxyang sungbxkepnnywa karphthnakhxng EF imidepnkarecriykhuninaenw n inchwngkxnwyrun edk mismrrthphaphthiephimkhunxyangsakhyekiywkbkhwamcaichnganthangphasa verbal working memory phvtikrrmmiepahmay odyxacmichwngthiphthnaerwthisudiklxayu 12 khwb karybyngkartxbsnxng response inhibition aelakhwamisicodyeluxk aelakarwangaephnaelathksainkarcdraebiybtang nxkcaknnaelw inrahwangwy 8 10 khwb cognitive flexibility karkhidthunghlay eruxngidphrxmkn odyechphaacaerimethiybkbradbkhxngphuihy xyangirkdi epriybehmuxnkbrupaebbkarphthnathiekidkhuninwyedktn smrrthphaphkarbriharinedkkxnwyrunmikhidcakd ephraawaimsamarthichsmrrthphaphehlaniinkrnitang knxyangsmaesmx xnepnphlcakkarphthnathiyngepnipxyuinrabbkarybyng inhibitory control wyrun aemwacamismrrthphaphtang knthierimkhuninsmywyedktn aelakxnwyrun echnkarybyng aetwa epnsmychwngwyrunthirabbtang insmxngcaekidkarthanganthiprasankndi caepninwyniniaehlathieyawchncamismrrthphaphthangkarbrihartang echn karybyng inhibitory control thimiprasiththiphaphephimkhuneruxy ehmuxnkbthirabbkarkhwbkhumekidkhuninwyedkaelaphthnakhuneruxy karwangaephnaelaphvtikrrmmiepahmaycamikarphthnakhuntlxdrayachwngwyrun nxkcaknnaelw smrrthphaphtang echn karkhwbkhumkarisic odyxaccaecriykhunxyangrwderwchwngxayu 15 pi aelakhwamcaichngan kcamikarphthnatxipinchwngnidwy wyphuihy khwamepliynaeplngsakhythiekidkhuninsmxnginwyphuihykkhuxkarsrangplxkimxilinkhxngesllprasathin prefrontal cortex inchwngwy 20 29 pi smrrthphaphkarbriharcaxyuinradbsungsud sungthaihkhninchwngxayunisamarththanganthangicthiyakthinasnicthisud epnsmrrthphaphthicaesuxmlngtx ip odykhwamcaichnganaela spatial span epnswnthiesuxmihehnmakthisud swn cognitive flexibility karkhidthunghlay eruxngidphrxmkn epnkhwamesiyhaythiekidkhunphayhlngaelamkcaimekidkhuncnkrathngthungxayu 70 piinphuihypkti smrrthphaphkarbriharthiesuxmlngepntwphyakrnsmrrthphaphkarchwyehluxtnexngiddithisudinkhnchraaebbcalxngswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarpraeminkarpraemin EF txngxasykarharwmkhxmulmacakhlay aehlng aelaxasykarsrangphaphodyrwmephuxhaaenwonmaelarupaebbthiehmuxnknkhamkalewlaaelasthankarn nxkcakkartrwcsxbtamaebbaephnaelw withikarpraeminxun kyngsamarthichid echn raykartrwcsxbmatrthan karsngektkarn karsmphasn aelatwxyangkhxngphlnganinxachiph cakkhxmultang ehlani xaccasamarthxnumankhxsrupekiywkbsmrrthphaphkhxng EF inbukhkhlnnid mikarthdsxbhlaypraephth echn tamphlkarthdsxb hruxtamthitnrayngan thiwdprasiththiphaphkhxng EF inchwngkarphthnatang karthdsxbephuxpraeminphlehlanisamarthichephuxkarwinicchythangkaraephthyinklumbukhkhltang ephuxkarrksababdorkh echn Behavioural Assessment of Dysexecutive Syndrome BADS CogScreen Aeromedical Edition Continuous Performance Task CPT Controlled Oral Word Association Test COWAT d2 Test of Attention Delis Kaplan Executive Function System D KEFS Digit Vigilance Test Figural Fluency Test Halstead Category Test Hayling and Brixton tests Iowa gambling task Kaplan Baycrest Neurocognitive Assessment KBNA Kaufman Short Neuropsychological Assessment Paced Auditory Serial Addition Test PASAT Pediatric Attention Disorders Diagnostic Screener PADDS Rey Osterrieth Complex Figure Ruff Figural Fluency Test Stroop effect Test of Variables of Attention T O V A Tower of London Test Trail Making Test TMT hrux Trails A amp B Wisconsin Card Sorting Test WCST Symbol Digit Modalities Testhlkthancaknganthdlxngrabbkarbriharepneruxngthikahndidyak dngthinkcitwithyaphxl ebxrkisidklawwa ephraaimmi khwamechuxmtxknrahwangkrabwnkarthangankbphvtikrrm sungkkhux immiphvtikrrmxnidxnhnungodyechphaathismphnthkb EF hruxkbrabbkarbriharthiekidkhwamesiyhay yktwxyangechn pkticachdecnwa khnikhthimikarxanesiyhaycaimsamarththicathakicxair aetwa caimchdecnwa khnikhthimi EF esiyhaycaimsamarththicathakicxair niepnphlkhxngthrrmchatikhxngrabbbriharodytrng thimiswnekiywkhxngkbkarprasanngankarichthrphyakrthangprachanthiimxyuning thiepnipinpccubn aeladngnn caehnphlkhxngkarthangankhxngrabbidkodywdphlkrabwnkarthangprachanxun nxkcaknnaelw odynyediywkn rabbxacimekidkarthangannxksthankarninolkcring echn insthankarninaelb dngthiprasathaephthyxnotniox damasioxidraynganwa khnikhkhnhnungmipyhaekiywkbrabbbriharinchiwitpracawncring aetkyngsamarthphankarthdsxbthithaodykradasaelapakkahruxkarthdsxbinaelbthiekiywkb EF id thvsdiekiywkbrabbbriharodymakmacaksngektkarninkhnikhthimismxngklibhnaesiyhay khux khnikhmikarkrathaaelaklyuththinkarthakictang inchiwitpracawnthiimmiraebiyb sungepnklumphvtikrrmthieriykwa dysexecutive syndrome aemwa khnikhcasamarthphankarthdsxbthangkhlinikhruxphayinaelbthiichpraeminkarthanganthangprachankhnphunthanechnkhwamca kareriynru phasa aelakarkhidhaehtuphl mismmtithanthiaesdngwa ephuxthicaxthibayphvtikrrmthinaaeplkicechnni catxngmirabbprasathkhrxbkhlumthiprasanngankhxngkrabwnkarthangprachantang Stroop task hlkthankarthdlxngmakmayekiywkbokhrngsrangthangprasaththiekiywkhxngkb EF macakkarthdsxbodyich stroop effect aela Wisconsin Card Sorting Task WCST ody Stroop task ihphurbkarthdlxngbngsikhxngkhathirabaysiodythisiaelakhwamhmaykhxngkhaxaccakhdaeyngkn echn khawa aedng thirabaysiepnsiekhiyw phurbkarthdlxngcatxngich EF inkarthanganni ephraawa txngmikarybyngphvtikrrmthithaxyangchachxngaelaxtionmti echnkarxankhahnngsux ephuxthicathanganthiimkhxyidtha sungkkhuxbngsikhxngkha nganthdlxngthiichkarsrangphaphsmxngodykic functional neuroimaging aesdngwa misxngswnin PFC sungkkhux anterior cingulate cortex ACC aela dorsolateral prefrontal cortex DLPFC thiphicarnawamikhwamsakhyepnphiessinkarthanganthdsxbni khwamiwtxsingaewdlxmkhxng PFC mihlkthanxun thiaesdngkhwamekiywkhxngkhxng PFC in EF cakkarthdlxnginlingxndbwanrechninlingmakhak odyichkarwdsrirphaphthangiffa electrophysiology khxngesllediyw sungaesdngwa emuxepriybethiybkbesllprasathindanhlngkhxngsmxng esllkhxng PFC epncanwnmakiwtxkarprakxbrwmknkhxngsingeraaelasthankarnsingaewdlxm context yktwxyangechn esllkhxng PFC xaccatxbsnxngtxtwchwysiekhiyw inkrnithitwchwybngwa khwrcakhybtathngsxngaelasirsaxyangrwderwipthangsay aetimtxbsnxngtxtwchwysiekhiywinsthankarnthangkarthdlxngxun eruxngniepneruxngsakhy ephraawa karthanganinradbthidisudkhxng EF catxngkhunxyukbsthankarn twxyangthiihodymilelxraelaokhehnkkhux phuthixyuinpraethsshrthxemrikacatxngeriynruxyangchachxngthicamxngipthangsaykxnthicakhamthnn aetwa emuxmisthankarnepliynipthiaesdngwa xyuinpraethsxngkvs txngmikarhamkartxbsnxngechnni khuxtxngaethnthiphvtikrrmdwykarcbkhusingera kartxbsnxngthitangknip khuxihmxngipthangkhwakxnkhamthnn klumphvtikrrmehlanichdecnwatxngxasyrabbprasaththisamarthprasansingera khuxthnninkrnini kbsthanthi praethsshrth praethsxngkvs ephuxtxbsnxngdwyphvtikrrm mxngsay mxngkhwa hlkthaninpccubnbxkepnnywa esllprasathin PFC duehmuxncathahnathiepntwaethnkhxmulechnnixyangchdecn txngkarxangxing hlkthanxun caknganwicysrirphaphiffakhxngesllediyw inlingaesdng ventrolateral PFC waepntwkhwbkhumkartxbsnxngthangkarekhluxnihw motor responses yktwxyangechn esllthiephimxtrakaryingsyyanephraasyyanphaynxkthibxkwa xyaip aelasyyanthibxkwa xyamxngthinn idrbkarrabuaelw khwamexnexiyngephraakhwamisicinrabbkarrbrutang mikarichnganwicyodysrirwithyaiffa electrophysiology aelakarsrangphaphsmxngodykic functional neuroimaging inmnusyephuxrabuklikthangprasaththiepnehtukhxngkhwamexnexiyngodykarisic attentional bias odynganwicyodymaksubhakarthanganinrabbthiekidkhwamexnexiyng echn inepluxksmxngswnkarehn visual cortex hruxepluxksmxngswnkaridyin auditory cortex nganwicyyukhtn ich event related potential twyx ERP hmaythung kartxbsnxngthangiffakhxngsmxngephraaehtukarnhnung ephuxthicaaesdngwa radbkartxbsnxngdwyiffainsmxngthibnthukinkhxrethkssaytathnginsiksayaelasikkhwakhxngsmxngekidkarephimradbkhun thaihphurwmkarthdlxngisicindanthiehmaasm khuxtrngkhamkbsiksmxngthiradbkartxbsnxngephimkhun ethkhnikhihm inkarsrangphaphsmxngthixasykaredinolhit echn fMRI aela karthayphaphrngsiranabdwykarplxyophsitrxn PET idthaihsamarthaesdngidwa radbkarthangankhxngprasathinekhtprasathsmphstang rwmthng ekhtrbrusi ekhtkarekhluxnihw aelaekhtrbruibhna ekidkarephimradbkhunemuxihphurwmkarthdlxngisicinlksnathismkhwrkhxngsingerann sungbxkwa mikarkhwbkhumkarkhyaysyyan gain control inekhtkhxrethksihmthiekiywkbprasathsmphs yktwxyangechn innganwicyinpi kh s 2003 liwaelakhna aesdngkhbwnkhxngcudthiekhluxnihwipthangsayhruxthangkhwa epnsiaednghruxsiekhiyw ihphurwmkarthdlxngdu aelakxnthicaaesdngsingera camitwchwythibxkwa phurwmkarthdlxngkhwrthicatxbsnxngodyxasysihruxthisthangkhxngcudehlann aemwasiaelakarekhluxnihwcamixyuinkhbwncudehlannthnghmd karthanganinekhtthiiwsi V4 dngthiaesdngody fMRI kekidinradbthisungkhunemuxihphurwmkarthdlxngisicthisi aelakarthanganinekhtthiiwtxkarekhluxnihw kekidinradbthisungkhunemuxihphurwmkarthdlxngisicthithisthangkhxngkarekhluxnihw nxkcaknnaelw yngminganwicyxikhlaynganthiraynganhlkthankhxngsyyanaesdngkhwamexnexiyngthiekidkhunkxnkaraesdngsingera odyaesdngwa ekhttang insmxngklibhnamkcaekidkarthangankxnthicaaesdngsingerathikhadhmay karechuxmtxknkhxng PFC aelaekhtprasathsmphs aemwa nahnkkhxngaebbcalxngwa EF miswninkarthaihekidkhwamexnexiynginprasathsmphs caephimkhuneruxy hlkthanodytrngthiaesdngkarechuxmtxknodykicrahwang PFC aelaekhtprasathsmphstang emuxmikarthangankhxng EF kyngminxyxyutrabethathukwnni khuxcring aelw mihlkthanediywthimacakkarsuksathikhnikhmikhwamesiyhayinswnhnungkhxngsmxngklibhna aelaekidphlinswnsmxngthiiklcakrxyorkhthisubenuxngkbkartxbsnxngkhxngesllprasathrbkhwamrusuk aetwa minganwicynxynganthiidtrwcsxbwa praktkarnechnniekidinechphaasthankarnthiekidkarthangankhxng EF hruxim swnwithixun thiwdkhwamechuxmtxknrahwangekhtsmxngthixyuhangkn echnodyshsmphnthkhxngkartxbsnxngthiehnin fMRI idaesdnghlkthanodyxxmwa smxngklibhnaaelaekhtprasathsmphs ekhtrbkhwamrusuk tang mikarsuxsarthungknaelakninkrabwnkartang thiphicarnawa thaihekidkarthangankhxng EF echnkhwamcaichngan dngnn cungyngtxngkarnganwicyephimkhunxikephuxthicarabuwa mikarsngkhxmulklbipklbmaxyangirrahwang PFC aelaswnxun khxngsmxngemux EF ekidkarthangan minganwicyhnungthierimmunghnaipthangthisthangni epnnganwicyody fMRI thisuksasaykarpramwlkhxmulinrahwangkarkhidehtuphlekiywkbphunthienuxngkbkarehn epnnganthiihhlkthankhxngkhwamepnehtuaelaphl odyxnumancakladbkarekidkhxngkarthangan rahwangkarthanganthangprasathsmphsinsmxngklibthaythxyaelasmxngklibkhang kbkarthanganin PFC swnhlngaelaswnhna nganwicyinaenwnisamarththaihchdecnyingkhunineruxngkarpramwlkhxmulephuxthakicekiywkb EF in PFC aelaswnxun khxngsmxng karphudidsxngphasaaela EF miphlnganwicyephimkhuneruxy thiaesdngwa phuthiphudidsxngphasami EF thimiprasiththiphaphthidikwa odyechphaainswnkarybyng inhibitory control aelakarthanganhlay nganidphrxmkn task switching khaxthibaythixacepnipidxyanghnungkkhux phuphudsxngphasatxngkhwbkhumkhwamisicaelaeluxkphasathiehmaasminkarphud inthukchwngphthnakar bukhkhlthiphudsxngphasaidrwmthngthark edk aelaphuchra aesdngkhwamidepriybkhxngphuphudidsxngphasainpraednkarthangankhxng EF aetnasnicwa phuphudidsxngphasaepnsxngrupaebb khuxphudphasahnungidaelaruphasaib klbimpraktkhwamidepriybekiywkbsmrrthphaphkhxng EF nixacepnephraaimtxngthakarybyngphasahnungxyangaexkthifephuxthicaichxikphasahnung phuphudsxngphasaduehmuxncaidepriybinkarcdkarkhwamkhdaeyng conflict processing xikdwy sungekidkhunemuxsamarthichrupaebbhlayxyanginkartxbsnxnghnung yktwxyangechn kha hnunginphasahnungthiaeplidhlayrupaebbinxikphasahnung odyechphaaecaacngaelw lateral prefrontal cortex epnswnthimibthbathinkarcdkarkhwamkhdaeyng xyangirkdi miphuthiwicarnwa khwamaetktangkhxngphuphudidsxngphasaaelaphasaediywxacekidkhuncakxngkhprakxbxun thiimidkhwbkhuminnganthdlxngthiaesdngkhwamaetktang hruxwaphurwmkarthdlxngmikhwamsamarthlksnathiimiklekhiyngkn nganwicyinpi kh s 2014 odyich Attentional Network Test inedkphudidsxngphasa 180 khnphrxmkbedkklumthdlxngthimilksnakhwamsamarththikhlaykhlungknphbwa edksxngklumnithakhaaenninngannnidodyimmikhwamtangknthangsthitiaenwthangephuxxnakhtmihlkthansakhyxun ekiywkbkrabwnkarthangankhxng EF in PFC echnnganprithsnthixangxingknxyangkwangkhwangnganhnung khbennbthbathkhxng PFC swnin medial insthankarnthimkcatxngich EF yktwxyangechn emuxsakhythicatrwccbkhwamphidphlad rabusthankarnthimisingerathikhdaeyngkn thakartdsinicphayitkhwamimaenic hruxwaemuxruwamioxkasnxylngthicaidphlthitxngkarinkarkratha bthkhwamprithsnnikhlaykbbthkhwamxun thiennkarthanganrwmknrahwang PFC swnin medial aelaswnkhang lateral thiswnindanhlng posterior medial sngsyyanekiywkbkhwamtxngkar EF thiephimkhun odysngipyngekhtkhxngswnkhangdanbn dorsolateral sungepnthiekidsyyankarkhwbkhumkarptibtikar thungxyangnn kyngimmihlkthanthichdecnwathsnkhtinithuktxng aelacring aelw klbmibthkhwamhnungthiaesdngthungkhnikhhlaykhnthimikhwamesiyhaytx PFC dankhangthimiradb ERN Error related negativity sungepnsyyanthiechuxknwaekidkhuncakkartrwcsxbkhwamphidphladkhxngswnindanbn ldlng sungbxkepnnywa swnthisngsyyankhwbkhumxaccaklbknkbthiaesdnginthsnkhtini swnxikthvsdihnungthimichuxesiyng ennkarthanganrwmknkhxngswntang khxngsmxngklibhnainaenwnxn odyxangwa mikarthangantxeriyngknrahwang PFC swnhna PFC swnkhangdanbn aela premotor cortex thichwynaphvtikrrmxasysthankarnthimiinxdit xasysthankarninpccubn aelaxasykhwamsmphnthpccubnkhxngprasathsmphsaelakarsngkar sensorimotor associations iptamladbkhxrethks inaenwnxn khwamkawhnainkarsrangphaphinsmxng neuroimaging chwyinkarsuksakhwamekiywkhxngthangkrrmphnthukhxng EF odymicudmunghmaythicaichethkhnikhkarsrangphaphniepn endophenotype ephuxsubkhnehtuthangphnthukrrmkhxng EFechingxrrthaelaxangxing PDF p 212 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2016 03 04 subkhnemux 2557 06 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help Usha Goswami 2562 citwithyaedk khwamruchbbphkpha aeplody suphlkhn lwdlay aelawryyu kxngchymngkhl hna 167 krungethph bukhsekhp ISBN 9786168221112 karpraeminthksadankarkhidechingbrihar Executive Function inedkpthmwy https thaichild21 com 2019 11 09 E0 B8 81 E0 B8 B2 E0 B8 A3 E0 B8 9B E0 B8 A3 E0 B8 B0 E0 B9 80 E0 B8 A1 E0 B8 B4 E0 B8 99 E0 B8 97 E0 B8 B1 E0 B8 81 E0 B8 A9 E0 B8 B0 E0 B8 94 E0 B9 89 E0 B8 B2 E0 B8 99 E0 B8 81 E0 B8 B2 E0 B8 A3 lingkesiy Anderson Vicki 2001 Assessing executive functions in children biological psychological and developmental considerations PDF Pediatric Rehabilitation 4 3 119 136 subkhnemux 8 singhakhm 2557 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a trwcsxbkhawnthiin accessdate help Elliott R 2003 Executive functions and their disorders British Medical Bulletin 65 49 59 Monsell S 2003 Task switching TRENDS in Cognitive Sciences 7 3 134 140 doi 10 1016 S1364 6613 03 00028 7 PMID 12639695 Chan R C K Shum D Toulopoulou T amp Chen E Y H R Shum D Toulopoulou T Chen E 2008 Assessment of executive functions Review of instruments and identification of critical issues Archives of Clinical Neuropsychology 2 23 2 201 216 doi 10 1016 j acn 2007 08 010 PMID 18096360 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Alvarez J A amp Emory E Julie A Emory Eugene 2006 Executive function and the frontal lobes A meta analytic review Neuropsychology Review 16 1 17 42 doi 10 1007 s11065 006 9002 x PMID 16794878 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Lezak M D Howieson D B amp Loring D W 2004 Neuropsychological Assessment 4th ed New York Oxford University Press ISBN 0 19 511121 4 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint multiple names authors list lingk Clark L Bechara A Damasio H Aitken M R F Sahakian B J amp Robbins T W L Bechara A Damasio H Aitken M R F Sahakian B J Robbins T W 2008 Differential effects of insular and ventromedial prefrontal cortex lesions on risky decision making Brain 131 5 1311 1322 doi 10 1093 brain awn066 PMC 2367692 PMID 18390562 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Allman J M Hakeem A Erwin J M Nimchinsky E amp Hof P John M Hakeem Atiya Erwin Joseph M Nimchinsky Esther Hof Patrick 2001 The anterior cingulate cortex the evolution of an interface between emotion and cognition Annals of the New York Academy of Sciences 935 1 107 117 doi 10 1111 j 1749 6632 2001 tb03476 x PMID 11411161 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Rolls E T amp Grabenhorst F Edmund T Grabenhorst Fabian 2008 The orbitofrontal cortex and beyond From affect to decision making Progress in Neurobiology 86 3 216 244 doi 10 1016 j pneurobio 2008 09 001 PMID 18824074 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Norman DA Shallice T 2000 1980 Attention to action Willed and automatic control of behaviour in Gazzaniga MS b k Cognitive neuroscience a reader Oxford Blackwell ISBN 0 631 21660 X Russell A Barkley Kevin R Murphy Attention Deficit Hyperactivity Disorder Third Edition A Clinical Workbook Volym 2 found on Google books Cherkes Julkowski Miriam 2005 The DYSfunctionality of Executive Function surviving education guides ISBN 0 9765299 2 0 OCLC 77573143 Shiffrin RM Schneider W March 1977 Controlled and automatic human information processing II Perceptual learning automatic attending and a general theory Psychological Review 84 2 127 90 10 1 1 227 1856 doi 10 1037 0033 295X 84 2 127 Posner MI Snyder CRR 1975 Attention and cognitive control in Solso RL b k Information processing and cognition the Loyola symposium Hillsdale NJ L Erlbaum Associates ISBN 978 0 470 81230 3 Posner MI Petersen SE 1990 The attention system of the human brain Annual Review of Neuroscience 13 1 25 42 doi 10 1146 annurev ne 13 030190 000325 PMID 2183676 S2CID 2995749 Shallice T 1988 From neuropsychology to mental structure Cambridge UK Cambridge University Press ISBN 978 0 521 31360 5 Baddeley AD 1986 Working memory Oxford Clarendon Press ISBN 0 19 852133 2 De Luca Cinzia R Leventer Richard J 2008 Developmental trajectories of executive functions across the lifespan in Anderson Peter Anderson Vicki Jacobs Rani b k Executive functions and the frontal lobes a lifespan perspective Washington DC Taylor amp Francis pp 24 47 ISBN 978 1 84169 490 0 OCLC 182857040 Anderson PJ 2002 Assessment and development of executive functioning EF in childhood Child Neuropsychology 8 2 71 82 doi 10 1076 chin 8 2 71 8724 PMID 12638061 S2CID 26861754 Senn TE Espy KA Kaufmann PM 2004 Using path analysis to understand executive function organization in preschool children Developmental Neuropsychology 26 1 445 464 doi 10 1207 s15326942dn2601 5 PMID 15276904 S2CID 35850139 Best JR Miller PH Jones LL 2009 Executive functions after age 5 Changes and correlates Developmental Review 29 3 180 200 doi 10 1016 j dr 2009 05 002 PMC 2792574 PMID 20161467 Espy KA 2004 Using developmental cognitive and neuroscience approaches to understand executive functions in preschool children Developmental Neuropsychology 26 1 379 384 doi 10 1207 s15326942dn2601 1 PMID 15276900 S2CID 35321260 Brocki KC Bohlin G 2004 Executive functions in children aged 6 to 13 A dimensional and developmental study Developmental Neuropsychology 26 2 571 593 doi 10 1207 s15326942dn2602 3 PMID 15456685 S2CID 5979419 Anderson VA Anderson P Northam E Jacobs R Catroppa C 2001 Development of executive functions through late childhood and adolescence in an Australian sample Developmental Neuropsychology 20 1 385 406 doi 10 1207 S15326942DN2001 5 PMID 11827095 S2CID 32454853 Klimkeit EI Mattingley JB Sheppard DM Farrow M Bradshaw JL 2004 Examining the development of attention and executive functions in children with a novel paradigm Child Neuropsychology 10 3 201 211 doi 10 1080 09297040409609811 PMID 15590499 S2CID 216140710 De Luca CR Wood SJ Anderson V Buchanan JA Proffitt T Mahony K Pantelis C 2003 Normative data from the CANTAB I Development of executive function over the lifespan Journal of Clinical and Experimental Neuropsychology 25 2 242 254 doi 10 1076 jcen 25 2 242 13639 PMID 12754681 S2CID 36829328 Luciana M Nelson CA 2002 Assessment of neuropsychological function through use of the Cambridge Neuropsychological Testing Automated Battery Performance in 4 to 12 year old children Developmental Neuropsychology 22 3 595 624 doi 10 1207 S15326942DN2203 3 PMID 12661972 S2CID 39133614 Luna B Garver KE Urban TA Sweeney JA 2004 Maturation of cognitive processes from late childhood to adulthood Child Development 75 5 1357 1372 10 1 1 498 6633 doi 10 1111 j 1467 8624 2004 00745 x PMID 15369519 Leon Carrion J Garcia Orza J Perez Santamaria FJ 2004 Development of the inhibitory component of the executive functions in children and adolescents International Journal of Neuroscience 114 10 1291 1311 doi 10 1080 00207450490476066 PMID 15370187 S2CID 45204519 spatial span epnaebbkarpraeminsmrrthphaphkhwamcaichngan working memory thiaesdngklxngsikhawthikracdkracayipthwthngcx odythiphurbkarthdsxbtxngaesdngklxngthiepliynsiiptamladb canwnklxngthiichthdsxberimtngaet 2 ipsudthi 9 cak Spatial Span SSP subkhnemux 22 singhakhm 2557 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 01 12 subkhnemux 2014 08 06 Rabbitt PMA 1997 Theory and methodology in executive function research Methodology of frontal and executive function East Sussex Psychology Press ISBN 0 86377 485 7 Saver JL Damasio AR 1991 Preserved access and processing of social knowledge in a patient with acquired sociopathy due to ventromedial frontal damage Neuropsychologia 29 12 1241 9 doi 10 1016 0028 3932 91 90037 9 PMID 1791934 S2CID 23273038 Shimamura AP 2000 The role of the prefrontal cortex in dynamic filtering Psychobiology 28 2 207 218 doi 10 3758 BF03331979 S2CID 140274181 Sakagami M Tsutsui Ki Lauwereyns J Koizumi M Kobayashi S Hikosaka O 1 July 2001 A code for behavioral inhibition on the basis of color but not motion in ventrolateral prefrontal cortex of macaque monkey The Journal of Neuroscience 21 13 4801 8 doi 10 1523 JNEUROSCI 21 13 04801 2001 PMC 6762341 PMID 11425907 Hasegawa RP Peterson BW Goldberg ME August 2004 Prefrontal neurons coding suppression of specific saccades Neuron 43 3 415 25 doi 10 1016 j neuron 2004 07 013 PMID 15294148 S2CID 1769456 Hillyard SA Anllo Vento L February 1998 Event related brain potentials in the study of visual selective attention Proceedings of the National Academy of Sciences 95 3 781 7 Bibcode 1998PNAS 95 781H doi 10 1073 pnas 95 3 781 PMC 33798 PMID 9448241 Liu T Slotnick SD Serences JT Yantis S December 2003 Cortical mechanisms of feature based attentional control Cerebral Cortex 13 12 1334 43 10 1 1 129 2978 doi 10 1093 cercor bhg080 PMID 14615298 Kastner S Pinsk MA De Weerd P Desimone R Ungerleider LG April 1999 Increased activity in human visual cortex during directed attention in the absence of visual stimulation Neuron 22 4 751 61 doi 10 1016 S0896 6273 00 80734 5 PMID 10230795 Miller BT d Esposito M November 2005 Searching for the top in top down control Neuron 48 4 535 8 doi 10 1016 j neuron 2005 11 002 PMID 16301170 S2CID 7481276 Barcelo F Suwazono S Knight RT April 2000 Prefrontal modulation of visual processing in humans Nature Neuroscience 3 4 399 403 doi 10 1038 73975 PMID 10725931 S2CID 205096636 Fuster JM Bauer RH Jervey JP March 1985 Functional interactions between inferotemporal and prefrontal cortex in a cognitive task Brain Research 330 2 299 307 doi 10 1016 0006 8993 85 90689 4 PMID 3986545 S2CID 20675580 Gazzaley A Rissman J d Esposito M December 2004 Functional connectivity during working memory maintenance Cognitive Affective amp Behavioral Neuroscience 4 4 580 99 doi 10 3758 CABN 4 4 580 PMID 15849899 Shokri Kojori E Motes MA Rypma B Krawczyk DC May 2012 The network architecture of cortical processing in visuo spatial reasoning Scientific Reports 2 411 411 Bibcode 2012NatSR 2E 411S doi 10 1038 srep00411 PMC 3355370 PMID 22624092 Bialystok E 2001 Bilingualism in development Language literacy and cognition New York Cambridge University Press Carlson SM Meltzoff AM 2008 Bilingual experience and executive functioning in young children Developmental Science 11 2 282 298 doi 10 1111 j 1467 7687 2008 00675 x PMC 3647884 PMID 18333982 Conboy BT Summerville JA Kuhl PK 2008 Cognitive control factors in speech at 11 months Developmental Psychology 44 5 1505 1512 doi 10 1037 a0012975 PMC 2562344 PMID 18793082 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk xangxing Bialystok E 1999 Cognition and language Cognitive complexity and attentional control in the bilingual mind Child Development 70 636 644 Bialystok E Craik FIM Klein R Viswanathan M 2004 Bilingualism aging and cognitive control Evidence from the Simon task Psychology and Aging 19 2 290 303 doi 10 1037 0882 7974 19 2 290 PMID 15222822 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Emmorey K Luk G Pyers JE Bialystok E 2008 The source of enhanced cognitive control in bilinguals 19 1201 1206 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a Cite journal txngkar journal help CS1 maint multiple names authors list lingk Costa A Hernandez M and Sebastian Galles N 2008 Bilingualism aids conflict resolution Evidence from the ANT task Cognition 106 1 59 86 doi 10 1016 j cognition 2006 12 013 PMID 17275801 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Anton1 Eneko Dunabeitia JA Estevez Adelina Hernandez JA Castillo Alejandro Fuentes LJ Davidson DJ Carreiras Manuel PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2014 06 29 subkhnemux 22 singhakhm 2557 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help Ridderinkhof KR Ullsperger M Crone EA Nieuwenhuis S October 2004 The role of the medial frontal cortex in cognitive control PDF Science 306 5695 443 7 Bibcode 2004Sci 306 443R doi 10 1126 science 1100301 1871 17182 PMID 15486290 S2CID 5692427 Botvinick MM Braver TS Barch DM Carter CS Cohen JD July 2001 Conflict monitoring and cognitive control Psychological Review 108 3 624 52 doi 10 1037 0033 295X 108 3 624 PMID 11488380 Gehring WJ Knight RT May 2000 Prefrontal cingulate interactions in action monitoring Nature Neuroscience 3 5 516 20 doi 10 1038 74899 PMID 10769394 S2CID 11136447 Koechlin E Ody C Kouneiher F November 2003 The architecture of cognitive control in the human prefrontal cortex Science 302 5648 1181 5 Bibcode 2003Sci 302 1181K 10 1 1 71 8826 doi 10 1126 science 1088545 PMID 14615530 S2CID 18585619 Greene CM Braet W Johnson KA Bellgrove MA 2007 Imaging the genetics of executive function Biological Psychology 79 1 30 42 doi 10 1016 j biopsycho 2007 11 009 10197 6121 PMID 18178303 S2CID 32721582 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb Executive functions