การเลือกตั้งระบบสัดส่วน (อังกฤษ: proportional representation, ย่อ: PR) เป็นระบบการลงคะแนนที่แบ่งจำนวนผู้แทนที่ได้รับเลือกตามสัดส่วนคะแนนที่ได้รับทั่วประเทศ โดยคิดเป็นสัดส่วนของจำนวนที่นั่งในสภา กล่าวคือ วิธีนี้ต้องการลดความแตกต่างระหว่างคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้รับจากคะแนนเสียงทั่วประเทศกับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร เช่น หากพรรคการเมืองที่ได้รับชัยชนะได้รับคะแนนเสียงทั่วประเทศร้อยละ 40 พรรคการเมืองนั้นควรได้ที่นั่งราวร้อยละ 40 ของที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงทั่วประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 ควรได้ที่นั่งร้อยละ 10 ของที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรป โดยแต่ละประเทศสมาชิกมีจำนวนที่นั่งเป็นสัดส่วนประชากรในประเทศนั้น (โดยเฉลี่ย)
การเลือกตั้งระบบสัดส่วนมีหลายแบบย่อย โดยแบบที่นิยมใช้กันมากได้แก่ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง และระบบสัดส่วนผสม
- ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ (Party List PR) พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเลือกทั้งรายชื่อ โดยคะแนนรวมที่ได้คิดเป็นสัดส่วนแล้วจะนำมาคิดจำนวนผู้ได้รับการเลือกตั้ง โดยบัญชีรายชื่อมีทั้งแบบเปิด และแบบปิด บัญชีรายชื่อแบบปิดนั้นถูกเลือกหรือจัดลำดับโดยผู้บริหารพรรคผ่านกลไกต่าง ๆ ส่วนบัญชีรายชื่อแบบเปิดนั้นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถมีส่วนร่วมในการเลือกตัวผู้สมัครได้เอง
- แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเลือกผู้สมัครโดยใส่ลำดับความนิยมส่วนบุคคล (ลำดับ 1 ถึง....) แทนที่จะเลือกเพียงผู้สมัครรายเดียว ในระหว่างการนับคะแนน ผู้สมัครใดที่ได้รับเลือกแล้ว หรือไม่ได้รับเลือกนั้น คะแนนเสียงในส่วนของทั้งสมาชิกผู้ที่ได้รับเลือกไปแล้ว และผู้ที่ไม่ได้รับเลือกนั้นจะไม่เสียไป โดยจะถ่ายโอนไปยังผู้สมัครลำดับถัดไป โดยการเลือกตั้งระบบนี้ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครได้จากทุกพรรคการเมือง โดยเน้นที่ตัวบุคคลมากกว่าพรรคในหลักการที่ว่าคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นจะไม่สูญไป
- ระบบสัดส่วนผสม (MMP) หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบเสริมสมาชิกเพิ่มเติม (AMS) เป็นระบบการเลือกตั้งผสมซึ่งใช้ทั้งระบบเสียงส่วนใหญ่ และระบบสัดส่วนซึ่งใช้สำหรับบัญชีรายชื่อระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ โดยผู้มิสิทธิ์เลือกตั้งจะมี 2 เสียง โดยหนึ่งเสียงสำหรับรายชื่อผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง และอีกเสียงสำหรับบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ไม่ได้รับเลือกในระดับเขตนั้น อาจจะได้รับเลือกในแบบบัญชีรายชื่อแทนได้ตามจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดในประเภทบัญชีรายชื่อ
จากรายงานของ ACE Electoral Knowledge Network การเลือกตั้งระบบสัดส่วนถูกใช้ในการเลือกตั้งสภาล่างในระดับชาติทั้งหมด 94 ประเทศ โดยเป็นระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อถึง 85 ประเทศ ในขณะที่ระบบสัดส่วนผสมถูกใช้ในการเลือกตั้งสภาล่างใน 7 ประเทศ และแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงถูกใช้ใน 2 ประเทศเท่านั้น คือ ประเทศไอร์แลนด์ และประเทศมอลตา นอกเหนือจากสภาล่างยังใช้ในวุฒิสภาของออสเตรเลีย และการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงยังสามารถใช้สำหรับการเลือกตั้งแบบไม่แบ่งพรรคการเมืองได้ เช่นในกรณีของสภาเมืองเคมบริดจ์
เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ และการกำหนดเขตเลือกตั้งขนาดเล็ก รวมถึงวิธีการบิดเบือนผลการเลือกตั้ง เช่น การแยกพรรคการเมือง และการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ จึงทำให้สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบนั้นยากที่จะเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งระบบเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตามยังถือว่าเข้าใกล้ความเป็นสัดส่วนมากกว่าระบบอื่นๆ ในบางประเทศได้มีการใช้ที่นั่งชดเชยเพื่อปรับสมดุลให้กับตัวแปรเหล่านี้เพื่อยังคงความเป็นสัดส่วนไว้ให้ได้มากที่สุด
ข้อดีและข้อเสีย
ความเป็นธรรม
ระบบสัดส่วนมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมของระบบการลงคะแนนแบบเสียงข้างมากและระบบคะแนนนำซึ่งพรรคขนาดใหญ่นั้นจะได้รับที่นั่งมากเหมือนโบนัสที่ไม่เป็นธรรม และพรรคเล็กนั้นเสียเปรียบอันเนื่องมาจากไม่ได้ที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนที่ไรับจริงและในบางกรณีนั้นอาจจะไม่ได้รับเลยสักที่นั่งเดียว (ตามกฎของ): 6–7 พรรคการเมืองใหญ่ในสหราชอาณาจักรสามารถที่จะชนะคะแนนเสียงได้อย่างล้นหลามและควบคุมสภาสามัญชนได้โดยใช้คะแนนเสียงแค่เพียงร้อยละ 35 ของคะแนนทั้งหมด (จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2005) ในกรณีของการเลือกตั้งทั่วไปในแคนาดา รัฐบาลโดยพรรคร่วมรัฐบาลสามารถจัดตั้งได้โดยมีคะแนนเสียงรวมน้อยกว่าร้อยละ 40 (ในการเลือกตั้งสหพันธรัฐในแคดานา ค.ศ. 2011 และค.ศ. 2015) ในกรณีที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์น้อยกว่าร้อยละ 60 เมื่อใด พรรคการเมืองใหญ่จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้โดยแค่ต้องการจำนวนคะแนนเสียงสนับสนุนเพียงแค่เศษหนึ่งส่วนสี่ของเขตเลือกตั้งเท่านั้น การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2005 พรรคแรงงาน นำโดยโทนี แบลร์ได้รับเสียงข้างมากในสภาด้วยคะแนนเสียงทั้งหมดเพียงร้อยละ 21.6 ของคะแนนเสียงรวมจากเขตเลือกตั้งทั้งหมด: 3 ซึ่งประเด็นในการผิดสัดส่วนในการจัดสรรผู้แทนนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า "ไม่ใช่แค่เรื่องความเป็นธรรมแล้วแต่เป็นเรื่องสิทธิพื้นฐานของพลเมือง": 22 อย่างไรก็ตาม การลงคะแนนเสียงในระบบสัดส่วนที่มีการกำหนดคะแนนเสียงขั้นต่ำสูง หรือข้อกำหนดพิเศษที่ลดความเป็นสัดส่วนลงก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะให้ความเป็นธรรมได้มากกว่าเท่าใดนัก เช่น ในการเลือกตั้งทั่วไปในตุรกี ค.ศ. 2002 ซึ่งใช้ระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเปิดโดยมีคะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 10 นั้นได้ผลลัพธ์เป็นคะแนนเสียงกว่าร้อยละ 46 นั้นเป็นคะแนนเสียเปล่า: 83
ในระบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากนั้นยังช่วยให้พรรคการเมืองในท้องถิ่นนั้นสามารถชนะการเลือกตั้งในท้องถิ่นของตนได้จำนวนมากโดยเฉพาะในเขตท้องถิ่นที่ได้รับแรงสนับสนุนมาก แต่ไม่ใช่พรรคระดับประเทศ ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น ๆ ที่ได้ความนิยมระดับประเทศและไม่ได้มุ่งเน้นในระดับท้องถิ่น เช่น พรรคกรีน มักจะได้ที่นั่งน้อยมากหรือไม่ได้เลย ตัวอย่างเช่น พรรคบล็อกเกเบกัวในแคนาดาซึ่งชนะกว่า 52 ที่นั่งแค่เพียงในรัฐควิเบกในการเลือกตั้งสหพันธรัฐในแคนาดา ค.ศ. 1993 โดยมีคะแนนเสียงรวมเพียงร้อยละ 13.5 ของระดับประเทศ ในขณะที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในระดับประเทศ (ได้รับเพียง 2 ที่นั่ง) ด้วยคะแนนเสียงกระจายถึงร้อยละ 16 ของคะแนนทั้งหมด ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมนั้นถึงแม้จะเป็นที่นิยมในระดับประเทศซึ่งมีผู้สนับสนุนอยู่ในภาคตะวันตกแต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ผู้สนับสนุนเปลี่ยนไปเลือกพรรคปฏิรูปแทน ซึ่งพรรคปฏิรูปได้รับที่นั่งเป็นส่วนใหญ่ในแถบตะวันตกของรัฐซัสแคตเชวัน และไม่ได้เลยในรัฐแมนิโทบา กรณีคล้ายคลึงกันกับการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2015 ซึ่งพรรคชาติสกอตได้ถึง 52 ที่นั่งจากทั่วสกอตแลนด์ โดยมีคะแนนเสียงในระดับประเทศเพียงแค่ร้อยละ 4.7 ในขณะที่ได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 12.6 แต่ได้แค่เพียงที่นั่งเดียว
เอื้อต่อพรรคขนาดเล็ก
การใช้ระบบเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนหลายคนสามารถทำให้มีผู้แทนได้หลากหลาย ในเขตเลือกตั้งที่จำนวนผู้แทนมาก และจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำที่ต้องการนั้นต่ำเท่าไรยิ่งจะช่วยให้พรรคการเมืองขนาดเล็กได้ประโยชน์การระบบสัดส่วนได้มากขึ้น ซึ่งในประเด็นที่ถกเถียงกันในประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นใหม่นั้น การมีพรรคขนาดเล็กจำนวนมากในสภานิติบัญญัติเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงทางสังคมและเพื่อทำให้กระบวนการประชาธิไตยนั้นแข็งแรงขึ้น: 58
ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้น ในอีกด้านหนึ่งกล่าวว่าระบบนี้จะเป็นโอกาสให้พรรคหัวรุนแรงสุดโต่งสามารถเข้ามามีที่นั่งในสภาได้ ซึ่งบ้างว่าเป็นสาเหตุของการล่มสลายของสาธารณรัฐไวมาร์ ในระบบสัดส่วนที่กำหนดคะแนนเสียงขั้นต่ำต่ำมากนั้น พรรคการเมืองขนาดเล็ก ๆ หลายพรรคสามารถกลายเป็น "ผู้เลือกกษัตริย์" (King-makers) ได้ง่ายดายโดยเพียงต่อรองกับพรรคการเมืองขนาดใหญ่แลกกับเสียงสนับสนุนเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเป็นข้อต่อรอง ตัวอย่างนี้เกิดขึ้นในอิสราเอล: 59 แต่ปัญหานี้สามารถจำกัดได้ดั่งที่ใช้ในบุนเดิสทาคของเยอรมนีในปัจจุบัน โดยมีกฎให้คะแนนขั้นต่ำของพรรคการเมืองที่ใช้ในการได้ที่นั่งในสภานั้นมีจำนวนสูง (ซึ่งในทางกลับกันทำให้มีปริมาณคะแนนเสียเปล่ามากขึ้น)
อีกข้อวิจารณ์คือระบบสัดส่วนทำให้พรรคการเมืองหลักขนาดใหญ่ในระบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากนั้นแตกออกเนื่องจากระบบสัดส่วนจะได้ประโยชน์แก่พรรคการเมืองขนาดเล็ก โดยเห็นในตัวอย่างของอิสราเอล อิตาลี และบราซิลเป็นต้น: 59, 89 แต่อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มจำนวนของพรรคการเมืองในสภาไม่มากนักจากระบบสัดส่วนนี้ (แต่ละพรรคเล็กได้ที่นั่งมากขึ้น)
ในระบบการลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อเปิด (open list) และแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงเป็นเพียงแบบย่อยของระบบสัดส่วนที่พรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ทำให้ผู้สมัครอิสระนั้นสามารถได้รับเลือกตั้งโดยง่าย ในไอร์แลนด์ มีผู้สมัครอิสระประมาณหกคนได้รับเลือกเข้าสภาโดยเฉลี่ยทุกสมัย ทำให้ในการหาแนวร่วมในสภานั้นจะต้องนำผู้แทนอิสระนี้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยเสมอ ในบางกรณีผู้แทนอิสระเหล่านี้อยู่ในสถานะใกล้ชิดกับพรรคร่วมรัฐบาล โดยรัฐบาลไอริชในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2016 นั้นรวมผู้แทนอิสระในรายชื่อของรัฐมนตรีในรัฐบาลเสียงข้างน้อยด้วย
รัฐบาลแบบพรรคร่วม
การได้รับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมากกลายเป็นข้อโต้แย้งหลักของระบบสัดส่วนซึ่งจะทำให้เกิดรัฐบาลพรรคร่วมทุกครั้ง: 59
ผู้สนับสนุนระบบสัดส่วนมองพรรคร่วมรัฐบาลเป็นข้อได้เปรียบ โดยทำให้มีการประนีประนอมกันในระหว่างต่างพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคร่วมตรงกลางของสเปกตรัมการเมือง และทำให้มีความต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ส่วนผู้ต่อต้านระบบนี้เห็นว่าในหลายนโยบายนั้นไม่สามารถจะรอมชอมกันได้ เนื่องจากแต่ละนโยบายไม่สามารถจะจัดแบ่งขั้วได้ง่ายดาย (ตัวอย่างเช่น นโยบายสิ่งแวดล้อม) ดังนั้นนโยบายต่าง ๆ กลายเป็นข้อแลกเปลี่ยนในการร่วมรัฐบาลแทนซึ่งทำให้ผู้ลงคะแนนไม่มีทางรู้ได้เลยว่านโยบายใดจะได้รับการผลักดันจากรัฐบาลที่พวกเขาเลือกมา กล่าวคือผู้ลงคะแนนมีอิทธิพลน้อยต่อรัฐบาล เช่นกัน การร่วมรัฐบาลนั้นจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป และพรรคการเมืองขนาดเล็กก็จะมีอิทธิพลมากโดยต่อรองการร่วมรัฐบาลด้วยข้อแม้ว่านโยบายต่าง ๆ ของพรรคเล็กที่มาจากผู้สนับสนุนจำนวนน้อยจะต้องเป็นผล สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสามารถที่ผู้ลงคะแนนสนับสนุนพรรคการเมืองถูกตัดทอนลงไป
ด้วยข้อเสียต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ ผู้ต่อต้านระบบสัดส่วนโต้แย้งว่าในระบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากนั้นช่วยหลีกเลี่ยงประเด็นเหล่านี้ได้ ซึ่งในกรณีนี้การร่วมรัฐบาลนั้นแทบไม่เกิดขึ้น โดยพรรคการเมืองหลักสองพรรคจะต้องแข่งขันกันอยู่ตรงกลางของสเปกตรัมเพื่อคะแนนเสียงทำให้รัฐบาลที่ได้นั้นอยู่จะต้องอยู่ตรงกลาง พรรคฝ่ายค้านที่ได้ก็มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบรัฐบาล และรัฐบาลนั้นก็จะต้องรับฟังเสียงของประชาชนอยู่เสมอเพราะสามารถจะสลับขั้วได้โดยการเลือกตั้งเสมอ อย่างไรก็ตามไม่ได้เป็นไปตามกรณีนี้เสมอ ในการเมืองระบบสองพรรคนั้นสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนข้างไปอย่างสุดโต่งออกไปจากตรงกลางได้ หรืออย่างน้อยพรรคใดพรรคหนึ่งจะกลายเป็นพรรคนโยบายสุดโต่งได้ เหล่าผู้ต่อต้านระบบสัดส่วนยังโต้แย้งอีกว่ารัฐบาลพรรคร่วมในระบบสัดส่วนนั้นไม่มีเสถียรภาพ ซึ่งทำให้มีการเลือกตั้งบ่อยขึ้น ดังตัวอย่างสำคัญคืออิตาลี ซึ่งมีหลายรัฐบาลอันประกอบไปด้วยพรรคเล็กพรรคพรรคน้อยประกอบเป็นพรรคร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตามในอิตาลีนั้นผิดปกติตรงที่ทั้งสองสภานั้นสามารถทำให้สภาล่มได้ ในขณะที่ในประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ระบบสัดส่วนมีเพียงสภาเดียวหรือใช้แค่เพียงสภาเดียวจากสองสภาเป็นหลักเพื่อสนับสนุนรัฐบาล ในอิตาลีนั้นใช้การลงคะแนนระบบผสมระหว่างแบบคะแนนนำแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดกับระบบสัดส่วนตั้งแต่ปีค.ศ. 1993 อันประกอบด้วยกฎเกณฑ์ซับซ้อนจึงทำให้อิตาลีไม่ใช้ตัวอย่างที่ดีของระบบสัดส่วนที่มีเสถียรภาพ
การมีส่วนร่วมของผู้ลงคะแนน
ในระบบคะแนนนำส่วนมากจะทำให้เกิดรัฐบาลพรรคเดียวที่มีเสียงข้างมากในสภาเนื่องจากพรรคเล็กจะไม่ค่อยได้รับเลือกในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบสัดส่วนแล้ว โดยระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดนั้นมักจะทำให้การเมืองเหลือเพียงพรรคใหญ่ไม่กี่พรรคและมีโอกาสที่คะแนนเสียงเพียงเล็กน้อยจะพลิกผลการเลือกตั้งได้แบบในกรณีของ "ที่นั่งแกว่ง" ซึ่งสามารถเปลี่ยนเสียงข้างมากในสภาจากพรรคหนึ่งไปอีกพรรคหนึ่งได้ โดยในระบบคะแนนนำผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันนั้นมักจะครองที่นั่งและมักจะถูกโค่นลงยาก ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น เขตเลือกตั้งประมาณครึ่งหนึ่งมักจะเลือกผู้แทนสังกัดพรรคการเมืองเดิมตั้งแต่ค.ศ. 1945 ในปีค.ศ. 2012 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีเพียงแค่ 45 เขต (คิดเป็นร้อยละ 10) ที่สามารถถูกเอาชนะโดยพรรคฝ่ายตรงข้ามได้ ผู้ลงคะแนนส่วนมากจะรู้ว่าคะแนนเสียงตัวเองต่อผู้สมัครที่มีแนวโน้มจะแพ้นั้นไม่มีแรงจูงใจในการไปลงคะแนน หรือหากไปลงคะแนนก็เทียบกับไม่มีประโยชน์อันใด เพราะคะแนนสูญ (ไม่มีค่า) ถึงแม้จะนำคะแนนมาคิดคะแนนรวมก็ตาม (ป็อปปูลาร์ โหวต)
ในระบบสัดส่วน จะไม่เกิดปัญหาเรื่องที่นั่งแกว่ง เพราะคะแนนเสียงทั้งหมดจะมีส่วนในผลการเลือกตั้งทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นพรรคการเมืองจะต้องทำการหากเสียงในทุกเขตเลือกตั้ง ไม่เพียงเฉพาะเขตที่ได้รับการสนับสนุนหรือเขตที่ได้เปรียบเท่านั้น โดยพบว่ามีส่วนทำให้พรรคการเมืองมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อผู้ลงคะแนน และส่งผลให้การเลือกตั้งมีความสมดุลมากขึ้นโดยส่งชื่อผู้สมัครที่เป็น"สตรี" หรือผู้สมัครจากชนกลุ่มน้อย เป็นต้น โดยจากค่าเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 8 ของสตรีได้รับเลือกมากขึ้นในระบบการลงคะแนนนี้
เนื่องจากทุกคะแนนจะมีผลต่อการเลือกตั้ง จึงแทบไม่มีคะแนนสูญเลย จึงทำให้ผู้ลงคะแนนย่อมตระหนักว่าการลงคะแนนมีความหมายและสามารถสร้างความแตกต่างได้ จึงส่งผลให้มีแรงจูงใจในการไปเลือกตั้ง และเกิดปัญหาการเลือกตั้งเชิงกลยุทธ์น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้ระบบคะแนนนำนั้น จำนวนผู้มาใช้สิทธิมีสูงกว่า และประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการทางการเมือง อย่างไรก็ดีเหล่าผู้เชี่ยวชาญได้โต้แย้งว่าการเปลี่ยนผ่านจากระบบคะแนนนำไปเป็นระบบสัดส่วนนั้นสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้สิทธิได้แค่ในเขตเลือกตั้งที่สามารถคาดคะเนผู้ชนะได้ (safe seat) ในขณะที่ระบบคะแนนนำจำนวนผู้ใช้สิทธิจะลดลงในบริเวณที่เคยมีปัญหาที่นั่งแกว่ง
การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบไม่เป็นธรรม
ในระบบคะแนนนำนั้น หัวใจของความเป็นสัดส่วนอยู่ที่การแบ่งเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนหนึ่งคน (single-member districts) โดยขนาดประชากร ซึ่งขั้นตอนนี้มีความเปราะบางต่อการละเมิดโดยอิทธิพลทางการเมือง (การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ หรือ "Gerrymandering") โดยเพื่อจะแก้ปัญหานี้การแบ่งเขตเลือกตั้งจะต้องปรับตามขนาดการขยายตัวประชากรในเขตนั้นอยู่เสมอ โดยแม้แต่จะแบ่งเขตอย่างเป็นธรรมแล้วก็ยังมีความเสี่ยงต่อปัญหานี้อย่างไม่ตั้งใจอันเป็นผลมาจากการรวมกลุ่มของประชากรทางธรรมชาติ: 65
ในระบบสัดส่วนแบบที่มีผู้แทนหลายคนต่อหนึ่งเขตนั้นมีภูมิต้านทานกับปัญหานี้ได้มากกว่าโดยผลการวิจัยระบุว่าเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนห้าคนหรือมากกว่าจะป้องกันปัญหาการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบได้ดี: 66
เนื่องจากความเท่ากันในขนาดของเขตเลือกตั้งในการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนหลายคนนั้นไม่สำคัญ (จำนวนที่นั่งผันแปร) ดังนั้นแต่ละเขตเลือกตั้งสามารถแบ่งตามอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ได้โดยง่าย เช่น เมือง เคาน์ตี รัฐ หรือจังหวัด เป็นต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับจำนวนประชากรในอนาคตก็แค่ปรับเพิ่มหรือลดจำนวนผู้แทนในเขตนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ในแผนของศาสตราจารย์มอลลิสันในปีค.ศ. 2010 ที่เสนอให้สหราชอาณาจักรใช้ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนั้นได้แบ่งสหราชอาณาจักรเป็น 143 เขต และกำหนดจำนวนผู้แทนจำนวนแตกต่างกันในแต่ละเขต (โดยรวมทั้งหมด 650 คนเท่าปัจจุบัน) โดยขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นโดยมีพิสัยค่อนข้างกว้าง (เขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนห้าคนมีเขตที่มีประชากร 327,000 คน และอีกเขตถึง 382,000 คน) โดยในแผนนี้ได้แบ่งเขตเลือกตั้งตามเขตเคาน์ตี และเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำให้ได้จำนวนสัดส่วนที่ถูกต้องมากกว่าที่ทำโดยซึ่งมีหน้าที่ตรงในการแบ่งเขตเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP)
ส่วนในระบบการลงคะแนนแบบผสมนั้นก็ยังมีเสี่ยงต่อการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบในแบบที่มีการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ในระบบคู่ขนาน ซึ่งเป็นระบบการเลือกตั้งแบบกึ่งสัดส่วนนั้นไม่มีกลไกในการชดเชยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเอาเปรียบในการแบ่งหน่วยเลือกตั้งได้ ส่วนในระบบสัดส่วนผสม (MMP) เนื่องจากมีกลไกสำคัญคือการชดเชยที่นั่งจึงไม่เป็นปัญหามากนัก อย่างไรก็ตามความมีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละระบบ รวมถึงขนาดของเขตเลือกตั้ง สัดส่วนของจำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อต่อที่นั่งทั้งหมด และปัญหาเรื่องความสมรู้ร่วมคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นจาการใช้ประโยชน์อย่างผิดวัตถุประสงค์ในกลไกการชดเชยที่นั่งเกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปในฮังการี ค.ศ. 2014 ซึ่งพรรคการเมืองผู้นำ คือ Fidesz ใช้กลยุทธ์การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบร่วมกับบัญชีรายชื่อแบบตัวแทน (decoy list) ทำให้ได้มาซึ่งสองในสามของที่นั่งทั้งหมดในสภาโดยได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 45 เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบสัดส่วนผสมนั้นสามารถทำให้ได้ผลลัพธ์แบบที่ไม่ค่อยเป็นสัดส่วนมากได้คล้ายๆ กับระบบคู่ขนาน
การยึดโยงระหว่างผู้แทนกับเขตเลือกตั้ง
ในระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำ อาทิเช่น ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) และระบบเสียงข้างมาก อาทิเช่น การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที เป็นที่ยอมรับกันกว้างขวางว่ามีความเชื่อมโยงกันทางภูมิศาสตร์ระหว่างตัวผู้แทนกับประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้นๆ: 36 : 65 : 21 ข้อเสียของระบบสัดส่วนที่ชัดเจนคือเนื่องจากการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนหลายคน ซึ่งมีการจัดเขตภูมิศาสตร์ที่กว้างกว่า ทำให้ความยึดโยงต่อประชาชนในท้องที่นั้นอ่อนแอกว่า: 82 ยิ่งในระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อซึ่งไม่ได้มีการแบ่งเขตเลือกตั้งเลย เช่น ในเนเธอร์แลนด์ และอิสราเอลนั้นความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนในท้องที่กับตัวผู้แทนนั้นเกือบจะไม่มีเลย ยกเว้นเพียงบางพรรคการเมืองเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีข้อโต้แย้งในระบบการเลือกตั้งที่มีเขตเลือกตั้งแบบผู้แทนหลายคนเขตเล็กๆ โดยเฉพาะในกรณีใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ว่ากว่าร้อยละ 90 ของผู้แทนในเขตเลือกตั้งสามารถเข้าถึงผู้แทนที่พวกเขาเลือกตั้งเข้ามาได้ ซึ่งเป็นคนที่เข้าใจปัญหาในท้องถิ่นนั้นๆ จึงกล่าวได้ว่าประชาชนในท้องที่และผู้แทนมีความใกล้ชิด: 212 โดยประชาชนผู้มีสิทธิในท้องที่นั้นมีทางเลือกในการเลือกผู้แทนที่สามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาในท้องถิ่นนั้นๆ ได้: 212 ส่วนในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคนนั้น ผู้สมัครรายที่โดดเด่นมักจะมีโอกาสได้รับเลือกในเขตท้องที่ของตนซึ่งประชาชนรู้จักดีและมั่นใจให้เป็นผู้แทนได้จริง และโอกาสที่จะส่งตัวผู้สมัครไปลงแข่งขันในเขตที่เหมือนเป็นคนแปลกหน้าหน้านั้นย่อมไม่เกิดผลดีต่อทั้งผู้สมัครและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น: 248–250 ส่วนในระบบสัดส่วนผสม (MMP) นั้นมีการใช้ข้อดีของการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบผู้แทนคนเดียวซึ่งช่วยเก็บรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้แทนกับประชาชนในท้องที่ไว้: 95 แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีจำนวนผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อมากสุดได้ถึงครึ่งหนึ่งของสภา จึงทำให้เขตเลือกตั้งในแต่ละเขตอาจจะมีขนาดใหญ่กว่าในกรณีของระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนนำ ได้ถึงสองเท่าซึ่งผู้แทนแต่ละคนนั้นถือเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวของแต่ละเขตเลือกตั้ง
กรณีศึกษาที่น่าสนใจเคยเกิดขึ้นเนเธอร์แลนด์ ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1994 เมื่อมีพรรคการเมืองใหม่ พรรคพันธมิตรแห่งผู้สูงวัยทั่วไป (General Elderly Alliance) ชนะถึง 6 ที่นั่ง เนื่องจากก่อนหน้านั้นไม่เคยมีพรรคการเมืองใดให้การใส่ใจในประเด็นนี้มาก่อน โดยในการเลือกตั้งครั้งถัดไปนั้น พรรคการเมืองนี้ก็จบบทบาทลงเนื่องจากพรรคการเมืองหลักๆ ได้เริ่มนโยบายรับฟังเสียงของผู้สูงวัยอย่างทั่วถึง ในปัจจุบันนี้มีพรรคการเมืองสำหรับผู้สูงอายุ ไฟฟ์ติคปลึส (50+) ได้มามีบทบาทสำคัญในการเมืองเนเธอร์แลนด์อย่างมีนัยสำคัญ โดยเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์นั้นไม่อาจเป็นตัวชีวัดคะแนนเสียงที่ดีได้ หรือในอีกนัยหนึ่งคือ การลงคะแนนในแบบแบ่งเขตจำกัดผู้ลงคะแนนแค่ในเขตนั้นๆ ในขณะที่การลงคะแนนแบบสัดส่วนนั้นมีผลตามผลลัพธ์คะแนนเสียงทั้งหมด
คุณสมบัติของระบบสัดส่วน
ขนาดของเขตเลือกตั้ง
เหล่านักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่าอิทธิพลที่สำคัญที่สุดในระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนคือขนาดของเขตเลือกตั้ง (district magnitude) ซึ่งคือจำนวนของผู้แทนในเขตเลือกตั้งนั้น ความเป็นสัดส่วนจะดีมากขึ้นหากขนาดเขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้นโดยปริยาย โดยผลงานวิจัยโดยนักวิชาการการเมืองส่วนใหญ่มีข้อแนะนำให้แบ่งเขตเลือกตั้งให้มีผู้แทนจำนวนสี่ถึงแปดคนจะดีที่สุด ซึ่งจำนวนประมาณนี้จะถือว่าน้อยในระบบสัดส่วนโดยทั่วไป
ในอีกมุมหนึ่ง คือ ระบบการลงคะแนนแบบทวินาม (binomial voting) ซึ่งใช้ในชิลี ช่วงปีค.ศ. 1989 จนถึงค.ศ. 2013 เป็นระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเปิดแบบหนึ่งซึ่งมีผู้แทนเขตละสองคน โดยในระบบนี้ผลการเลือกตั้งมักจะได้ผู้แทนพรรคละหนึ่งคนจากพรรคใหญ่ต่อหนึ่งเขต (ในเขตเลือกตั้งส่วนใหญ่) จึงไม่ถือว่าเป็นสัดส่วนโดยปริยาย: 79
ในอีกกรณีหนึ่ง หากเขตเลือกตั้งทั้งเขตกินอาณาบริเวณเดียวทั้งประเทศ (และมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำน้อย ซึ่งจะทำให้ความเป็นสัดส่วนสูงที่สุด) พรรคการเมืองต่างๆ สามารถได้เปรียบจากการเสริมภาพลักษณ์ของตนได้ง่ายผ่านการส่งผู้สมัครจากชนกลุ่มน้อย หรือผู้แทนสตรี: 83
ภายหลังจากการเริ่มใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงในไอร์แลนด์เมื่อค.ศ. 1921 ขนาดของเขตเลือกตั้งได้เริ่มลดลงอย่างช้าๆ จนกลายเป็นเขตละสามคนเกือบทั้งหมด ซึ่งพรรคหลักที่ได้รับประโยชน์โดยตรงคือ พรรค Fianna Fáil จนกระทั่งค.ศ. 1979 เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการอิสระด้านเขตแดน ซึ่งได้ปรับแก้ขนาดของเขตเลือกตั้งใหม่ ต่อมาในปีค.ศ. 2010 คณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญในรัฐสภาได้แนะนำให้มีขนาดอย่างน้อยเขตละ 4 คน นอกจากนั้นถึงแม้ว่าไอร์แลนด์จะมีขนาดเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างเล็กแต่ส่วนใหญ่จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นสัดส่วนสูงอยู่อย่างสม่ำเสมอ: 73
องค์การ FairVote ซึ่งได้เคยพิจารณาแผนการใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้เสนอให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีขนาดตั้งแต่ 3-5 คนต่อเขต
ในแผนการของศาสตราจารย์มอลลิสันซึ่งได้เคยพิจารณาแผนการใช้ระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงสำหรับการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักรนั้น เขตเลือกตั้งส่วนใหญ่มีขนาด 4-5 คนต่อเขต โดยมีบางเขตที่มี 3 คน และบางเขตมากถึง 6 คน และยังมีบางเขตเพียงสองคน และคนเดียวซึ่งเป็นตามข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ในบางสถานที่
เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ
เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำคือจำนวนคะแนนเสียงที่น้อยที่สุดที่ต้องการเพื่อที่จะได้ 1 ที่นั่ง ยิ่งเกณฑ์ขั้นต่ำน้อย ยิ่งทำให้มีความเป็นสัดส่วนของสภาผู้แทนสูงมากขึ้น และจำนวนของคะแนนสูญน้อยลงเท่านั้น
โดยส่วนใหญ่ระบบการลงคะแนนทั้งหลายมักจะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำไว้ ไม่ว่าจะเป็นตามบทบัญญัติกฎหมาย หรือเป็นจากการคำนวนตัวแปรต่างๆ ของการเลือกตั้ง: 83
เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำนั้นปกติจะให้พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงจำนวนหนึ่งเป็นร้อยละ โดยเมื่อถึงเกณฑ์แล้วจะได้รับที่นั่งจากบัญชีรายชื่อ ในเยอรมนี และนิวซีแลนด์ (ทั้งสองประเทศใช้ระบบสัดส่วนผสม) มีเกณฑ์ขั้นต่ำที่ร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทั้งประเทศ แต่เกณฑ์นั้นจะไม่บังคับใช้ในพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวนหนึ่งแล้ว (สามที่นั่งในเยอรมนี และที่นั่งเดียวในนิวซีแลนด์) ตุรกีนั้นกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ร้อยละ 10 เนเธอร์แลนด์ร้อยละ 0.67อิสราเอลได้เพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำจากร้อยละ 1 (ก่อนค.ศ. 1992) เป็นร้อยละ 1.5 (จนถึงปีค.ศ. 2004) และต่อมาร้อยละ 2 (ในปีค.ศ. 2006) และร้อยละ 3.25 ในปีค.ศ. 2014
ในระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) นั้น หากพรรคการเมืองได้คะแนนเสียงถึงเกณฑ์โควตา (คือ คะแนนเสียง÷จำนวนที่นั่ง+1) ของคะแนนเสียงในลำดับแรกก็จะได้รับเลือก อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครรายสำคัญยอดนิยมของแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งอาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีในลำดับที่สองหรือสามเป็นต้น อาจจะได้รับเลือกไปด้วยคะแนนเพียงครึ่งเดียวจากโควตาของลำดับแรก ดังนั้น ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนหกคน จะมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำเริ่มที่ร้อยละ 7.14 สำหรับลำดับแรก (คำนวนโดย 100÷(6+1)÷2) ซึ่งการเลือกผู้สมัครในลำดับที่สองนั้นถือเป็นการสนับสนุนระบบฉันทามติได้ดี
ขนาดของพรรคในเขตเลือกตั้ง
ขนาดของพรรคในเขตเลือกตั้ง (party magnitude) คือจำนวนผู้แทนที่สังกัดพรรคการเมืองเดียวกันในเขตเลือกตั้งหนึ่ง โดยเมื่อใดที่ขนาดของพรรคในเขตนั้นๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ผู้แทนมีความสมดุลมากขึ้นซึ่งเหมาะที่จะส่งผู้สมัครที่เป็นสตรีและกลุ่มชาติพันธุ์เข้าลงแข่งขัน
แต่ในระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนั้นหากส่งผู้สมัครจำนวนมากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียแทน โดยจะเกิดปัญหาเสียงแตกในคะแนนลำดับแรกและจะเป็นเหตุให้ผู้สมัครตกรอบไปก่อนที่จะได้รับโอนคะแนนจากผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นๆ ตัวอย่างเกิดขึ้นในการเลือกตั้งท้องถิ่นสกอตแลนด์ ค.ศ. 2007 ที่พรรคแรงงานได้ส่งผู้สมัครถึงสามคนโดยชนะเพียงแค่คนเดียวในขณะที่ควรจะชนะได้ถึงสองคนเพราะปัญหาการแย่งคะแนนเสียงกันเอง กรณีเดียวกันเกิดขึ้นใน ซึ่งเป็นผลให้พรรค Fianna Fáil ล่มสลายลงในเวลาต่อมา
ความไม่สมดุลในระบบประธานาธิบดี
ในระบบประธานาธิบดี การเลือกประธานาธิบดีนั้นมีที่มาจากการเลือกตั้งที่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐสภา ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐบาลที่แบ่งขั้วโดยที่รัฐสภาและประธานาธิบดีมีความเห็นตรงกันข้ามและมีความพยายามที่จะคานอำนาจซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ดีในระบบสัดส่วนนั้นมีผลดีต่อรัฐบาลที่มาจากหลายพรรคเล็กรวมกันซึ่งจำเป็นจะต้องมีการรอมชอมและการเจรจาต่อรอง จึงทำให้การร่วมพรรคการเมืองนั้นจะมีความยากลำบากในการรวมตัวเป็นปึกแผ่นเพื่อคานอำนาจกับประธานาธิบดีซึ่งจะเป็นเหตุให้อำนาจทั้งสองฝ่ายนั้นไม่สมดุล โดยประธานาธิบดีจะใช้อำนาจได้มากกว่าในเรื่องการเมืองบางประเด็นได้
ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นในกรณีของระบบรัฐสภาที่มีนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมผ่านกลไกรัฐสภา ดังนั้นทำให้กรณีของรัฐบาลแบ่งขั้วนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย ถึงแม้ว่ามุมมองทางการเมืองสามารถสลับสับเปลี่ยนได้อยู่ตลอด และอาจทำให้นายกรัฐมนตรีไม่ได้รับการไว้วางใจจากรัฐสภาโดยจะถูกเปลี่ยนตัวได้โดยการลงมติไม่ไว้วางใจโดยในกรณีนี้จึงทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดรัฐบาลแบ่งขั้วได้ในระบบรัฐสภา
อื่นๆ
ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อความเป็นสัดส่วนของระบบสัดส่วน ได้แก่ ขนาดของสภา การเลือกใช้ระหว่างบัญชีรายชื่อแบบเปิดหรือปิด การออกแบบบัตรลงคะแนน และวิธีการนับคะแนน
มาตรวัดความไม่เป็นสัดส่วน
ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วนแบบต่างๆ
ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ
ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบการลงคะแนนที่จำนวนที่นั่งในสภาจะได้รับการจัดสรรปันส่วนให้กับพรรคการเมืองต่างๆ ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ และจึงค่อยเลือกผู้แทนจากลำดับในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นๆ ระบบนี้ใช้กันในหลายประเทศ รวมถึง ฟินแลนด์ (บัญชีเปิด) ลัตเวีย (บัญชีเปิด) สวีเดน (บัญชีเปิด) อิสราเอล (บัญชีปิด) บราซิล (บัญชีเปิด) เนปาล (บัญชีปิด) เริ่มในปีค.ศ. 2008 เนเธอร์แลนด์ (บัญชีเปิด) รัสเซีย (บัญชีปิด) แอฟริกาใต้ (บัญชีปิด) และยูเครน (บัญชีเปิด) สำหรับการเลือกตั้งสภายุโรป ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ใช้ระบบบัญชีเปิด แต่ประเทศขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรปล้วนใช้ระบบบัญชีปิด เพื่อให้คะแนนเสียงข้างมากในสภานั้นแบ่งตามนั้น ส่วนบัญชีท้องถิ่นนั้นเคยใช้ในการเลือกตั้งวุฒิสภาอิตาลีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ประเภทของบัญชีรายชื่อแบ่งได้ดังนี้
- ระบบบัญชีปิด ซึ่งบัญชีรายชื่อมีรายชื่อผู้สมัครที่เลือกตามขั้นตอนของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้กำหนดลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อเองซึ่งหมายถึงความเป็นไปได้มากน้อยที่จะได้รับเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละราย โดยรายชื่ออันดับแรกจะได้ที่นั่งพรรคที่นั่งแรกไป ในการลงคะแนนนั้นผู้ลงคะแนนจะเลือกทั้งบัญชีรายชื่อเลย และไม่สามารถปรับเปลี่ยนลำดับการเลือกเป็นรายบุคคลตามความชอบส่วนบุคคลได้ โดยพรรคการเมืองจะได้รับจัดสรรปันส่วนที่นั่งตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้รับ
- ระบบบัญชีเปิด ซึ่งผู้ลงคะแนนสามารถเลือกลงคะแนนได้ตั้งแต่หนึ่งคน หรือสองคน หรือแม้แต่ลงลำดับความชอบในรายชื่อที่ปรากฏในบัตรลงคะแนนได้ โดยขึ้นอยู่กับกฎหมายเลือกตั้งในประเทศนั้นๆ ซึ่งการลงคะแนนจะเป็นตัวกำหนดลำดับในบัญชีรายชื่อก่อนหลังโดยเรียงจากคะแนนของผู้สมัครแต่ละรายในบัญชีรายชื่อ
- ระบบบัญชีท้องถิ่น เป็นระบบที่พรรคการเมืองแบ่งบัญชีรายชื่อแตกต่างกันตามแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยวิธีนี้ผู้ลงคะแนนจะสามารถเลือกตัวผู้แทนที่ชอบได้คล้ายกับในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด
- ระบบบัญชีรายชื่อสองชั้น เช่นในเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ ในเดนมาร์กนั้นมีการแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด 10 เขต โดยแต่ละเขตมีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งในสามภูมิภาคเพื่อเลือกผู้แทน 135 คน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนอีก 40 คนมาจากการชดเชยที่นั่ง ผู้ลงคะแนนจะมีเพียงคะแนนเดียวซึ่งจะใช้เลือกตัวผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง หรือใช้เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งนั้น โดยในการนับคะแนนผู้ชนะในเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละรายจะได้รับการจัดสรรที่นั่งจากคะแนนเสียงรวมของพรรครวมกับคะแนนเสียงของผู้สมัครแต่ละคน โดยจะมีที่นั่งชดเชยให้ในแต่ละเขตเลือกตั้งเพื่อปรับสัดส่วนให้พอดีระหว่างภูมิภาคกับคะแนนเสียงรวมในระดับประเทศ ในการเลือกตั้งทั่วไปในเดนมาร์ก ค.ศ. 2007 นั้นขนาดเลือกตั้งซึ่งเมื่อรวมกับที่นั่งชดเชยแล้วมีขนาดระหว่าง 14 ถึง 28 คนต่อเขต โดยพื้นฐานการลงคะแนนของเดนมาร์กไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัยเริ่มใช้ในปีค.ศ. 1920
แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง
ระบบลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (อังกฤษ: single transferable vote, ย่อ STV) หรือเรียกอีกอย่างว่า "การลงคะแนนตามลําดับความชอบ" (อังกฤษ: ranked-choice voting) เป็นระบบการลงคะแนนที่ผู้ลงคะแนนออกเสียงเลือกผู้สมัครตามลำดับความชอบ ในเขตเลือกตั้งหนึ่งมักมีผู้แทนตั้งแต่สามถึงเจ็ดคน โดยการนับคะแนนนั้นเกิดขึ้นเป็นรอบๆ โดยเลือกและกำจัดผู้สมัครแต่ละคนในแต่ละรอบ และโอนคะแนนเสียงไปให้ผู้สมัครคนอื่นตามลำดับจนกว่าจะได้ผู้ชนะครบจำนวนที่นั่งในเขตนั้นๆ ผู้สมัครแต่ละรายในรอบๆ หนึ่งที่ได้รับคะแนนเสียงถึงจำนวนโควตาซึ่งเป็นจำนวนคะแนนขั้นต่ำเพื่อชนะการเลือกตั้ง คะแนนเสียงส่วนที่เกินจากโควตาจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่นตามลำดับที่ผู้ลงคะแนนระบุไว้ หากในรอบถัดไปไม่มีผู้สมัครรายได้รวมคะแนนถึงโควตา ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดจะถูกกำจัด โดยคะแนนทั้งหมดของผู้สมัครรายที่ตกรอบนั้นจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่นตามที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง และเริ่มนับใหม่รอบถัดไป การคำนวนคะแนนสำหรับการถ่ายโอนคะแนนนั้นมีหลายวิธี บางวิธีใช้การคำนวนอย่างง่าย บางวิธีใช้การถ่ายโอนคะแนนส่วนเกิน หรือถ่ายโอนแค่เป็นเศษส่วนหนึ่งของคะแนนเสียง (นำคะแนนส่วนเกินหารด้วยคะแนนรวมของผู้สมัคร) ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยนับคะแนน ในแต่ละวิธีอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันในการนับคะแนนใหม่ในแต่ละรอบ และยังมีวิธีที่แตกต่างกันในการจัดการคะแนนเสียงของผู้สมัครที่ชนะไปแล้วหรือตกรอบไปแล้วซึ่งก็ต้องการคอมพิวเตอร์เช่นกัน
วิธีการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงทำให้เกิดผู้ลงคะแนนเป็นกลุ่มๆ ในแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางการเมืองในเขตตามความหลากหลายของผู้แทน โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ของผู้ลงคะแนนได้ผู้แทนที่มาจากตัวเลือกอันดับหนึ่ง โดยผู้ลงคะแนนเสียงแต่ละคนสามารถออกเสียงเลือกได้ตามความชอบของตนและผลลัพธ์ที่ได้ก็มีความเป็นสัดส่วน จึงทำให้ในระบบนี้พรรคการเมืองกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ในแนวคิดของระบบสัดส่วนอนุมานว่าพรรคการเมืองนั้นย่อมเกิดมาได้จากการความพึงพอใจของผู้ลงคะแนน และจึงเป็นผู้ให้อำนาจแก่พรรคการเมือง ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงเป็นไปตามเกณฑ์ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนในความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง (proportionality for solid coalitions) โดยการมีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งโดยกลุ่มผู้สมัครนั้นหมายถึงกลุ่มของผู้ลงคะแนนที่เป็นผู้จัดลำดับผู้สมัครเหล่านี้เหนือเหตุผลอื่นใด จึงถือเป็นระบบการมีผู้แทนแบบเป็นสัดส่วนอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามขนาดของเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างเล็กได้ถูกวิจารณ์ว่าทำให้ลดความเป็นสัดส่วนลง โดยเฉพาะเมื่อมีพรรคการเมืองจำนวนมากกว่าที่นั่งที่มี: 50 จึงทำให้ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนี้บางครั้งถูกตีตราว่าเป็น "ระบบเสมือนสัดส่วน": 83 โดยคำกล่าวนี้อาจจะเป็นจริงในเขตที่อยู่ห่างไกลแต่ผลลัพธ์โดยรวมจะเป็นสัดส่วน ในไอร์แลนด์ซึ่งมีเขตเลือกตั้งขนาดเล็กจำนวนมากได้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนมาก: 73 ในปีค.ศ. 1997 ค่าเฉลี่ยของขนาดเขตเลือกตั้งอยู่ที่ 4.0 ในขณะที่มีพรรคการเมืองทั้งหมดแปดพรรคที่ได้ที่นั่ง โดยมีสี่พรรคมีผู้ชนะในลำดับแรกได้คะแนนรวมระดับชาติน้อยกว่าร้อยละ 3 นอกจากนี้ยังพบผู้สมัครอิสระหกคนที่ได้รับเลือกตั้ง ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนี้ได้รับคำชมว่าเป็นระบบที่เป็นสัดส่วนมากที่สุด: 83 และยังช่วยกลั่นกรองผู้สมัครสายสุดโต่งออกไปจากระบบเนื่องจากในการลงคะแนนนั้นผู้สมัครแต่ละรายจะต้องแย่งกันอยู่ในลำดับต้นๆ ตามความชอบของผู้ลงคะแนนโดยจะต้องมีนโยบายที่ผ่อนปรน และนโยบายที่เข้าถึงกลุ่มผู้ลงคะแนนทุกกลุ่มได้โดยง่าย
ระบบผสมแบบมีการชดเชย
ระบบการลงคะแนนแบบผสม (อังกฤษ: mixed electoral system) เป็นระบบการลงคะแนนที่รวมเอาวิธีการลงคะแนนแบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากกับการคำนวนแบบสัดส่วน และยังใช้ระบบการชดเชยที่นั่งเพื่อปรับให้เป็นสัดส่วนที่สุด อันเป็นผลจากระบบคำแนนนำ/เสียงข้างมาก
ระบบการลงคะแนนแบบผสมที่ใช้กันมากที่สุดคือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (อังกฤษ: mixed-member proportional representation; ย่อ: MMP) หรือ "ระบบสัดส่วนผสม" ซึ่งประกอบด้วยการลงคะแนนแบบแบ่งเขตแบบมีผู้แทนเขตละคนโดยผ่านระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) โดยมีระบบการชดเชยที่นั่งจากบัญชีรายชื่อในระดับชาติหรือภูมิภาค ตัวอย่างเช่น สมมติว่าพรรคการเมืองชนะ 10 ที่นั่งจากระบบคะแนนนำ แต่จำเป็นต้องมีทั้งหมดถึง 15 ที่นั่งเพื่อจะให้เท่ากับสัดส่วนคะแนนเสียงรวมในระดับชาติ (ที่นั่งพึงมี) ในกรณีนี้หากใช้ระบบการลงคะแนนแบบสัดส่วนผสมที่มีการชดเชยเต็มรูปแบบนั้นจะมีการเพิ่มที่นั่งชดเชยให้แก่พรรคการเมืองจำนวน 5 ที่นั่งเพื่อให้พรรคการเมืองได้ที่นั่งรวมเป็น 15 ที่นั่งตามจำนวนร้อยละของคะแนนเสียงที่ได้รับจริง ในระบบสัดส่วนผสมนั้นสามารถทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความเป็นสัดส่วนได้ตั้งแต่ปานกลางจนถึงสูงโดยขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกตั้ง อาทิเช่น สัดส่วนของที่นั่งที่มาจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดต่อที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อ การใช้ระบบชดเชยที่นั่งเพิ่มผ่านที่นั่งส่วนขยาย และเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ เป็นต้น ระบบการลงคะแนนนี้คิดขึ้นเพื่อใช้กับสภาบุนเดิสทาคของเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมาได้รับไปใช้ในอีกหลายประเทศ เช่น เลโซโท โบลิเวีย และในประเทศไทย (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560) เป็นต้น ในสหราชอาณาจักรมีการใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติของเวลส์และสกอตแลนด์ โดยเรียกอีกชื่อว่า ระบบสมาชิกเพิ่มเติม (อังกฤษ: additional member system)
ในระบบนี้ โดยปกติผู้ลงคะแนนจะมีสองคะแนนเสียง โดยหนึ่งคะแนนสำหรับเลือกผู้แทนแบบแบ่งเขต และอีกหนึ่งสำหรับบัญชีรายชื่อพรรค คะแนนเสียงบัญชีรายชื่อนั้นปกติจะเป็นตัวกำหนดจำนวนที่นั่งในสภา โดยหลังจากที่ได้ตัวผู้ชนะในแบบแบ่งเขตทั้งหมดแล้ว ผู้สมัครในบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกเพื่อเป็นการเติมจำนวนที่นั่งของแต่ละพรรคเพื่อให้ครบกับจำนวนผู้แทนที่พึงมีจากการคำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดของพรรค ก่อนการจัดสรรปันส่วนที่นั่งในบัญชีรายชื่อนั้น คะแนนทั้งหมดของบัญชีรายชื่อที่ไม่ถึงเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจะไม่ถูกนำมาคิด หากพรรคการเมืองต่างๆ ที่ถูกกำจัดจากเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำจะไม่ได้ที่นั่งและจึงทำให้จำนวนที่นั่งของพรรคการเมืองที่ผ่านเกณฑ์ได้ที่นั่งจำนวนมากขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ผู้ชนะการเลือกตั้งนามอิสระ (ไม่สังกัดพรรคการเมือง) จะไม่ถูกนำไปคำนวนในการจัดสรรปันส่วนของบัญชีรายชื่อทั้งหมด
ความเป็นสัดส่วนของระบบสัดส่วนผสมอาจมีปัญหาได้หากอัตราส่วนที่นั่งในแบบบัญชีรายชื่อต่อแบบแบ่งเขตนั้นต่ำเกินไป ซึ่งอาจทำให้จำนวนที่นั่งชดเชยไม่พอกับผลการเลือกตั้งจากแบบแบ่งเขตและส่งผลให้ไม่เป็นสัดส่วนขึ้นได้ อีกตัวแปรหนึ่งคือการจัดการเรื่องที่นั่งส่วนขยาย (overhang seats) ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีที่พรรคการเมืองชนะเลือกตั้งแบบแบ่งเขตมากกว่าจำนวนคะแนนเสียงรวมของพรรคในแบบบัญชีรายชื่อ (สูงกว่าจำนวนผู้แทนพึงมี) โดยเพื่อที่จะทำให้เป็นสัดส่วนนั้น พรรคการเมืองอื่นๆ จำเป็นจะต้องได้รับที่นั่งเพิ่ม ซึ่งจะขยายขนาดของสภาเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่นั่งส่วนขยาย แต่ระบบการเพิ่มที่นั่งโดยขยายขนาดสภาเป็นการชั่วคราวนั้นไม่ได้ถูกรับไปใช้ในทุกประเทศ เช่นในประเทศเยอรมนี ที่เพิ่งเริ่มใช้การขยายขนาดสภาโดยชั่วคราวด้วยการเพิ่มจำนวนที่นั่ง ส่วนในเวลส์ สกอตแลนด์ และเลโซโทไม่พบการขยายขนาดของสภาเลย และในค.ศ. 2012 คณะกรรมาธิการรัฐสภาของนิวซีแลนด์ได้เสนอให้มีการยกเลิกการชดเชยที่นั่งส่วนขยาย และดังนั้นจึงปรับขนาดของสภาไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกันก็จะยกเลิกเกณฑ์ขั้นต่ำที่พรรคการเมืองจะต้องชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างน้อยหนึ่งเขตจึงจะได้ที่นั่งในบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะเป็นเหตุหลักที่ทำให้เกิดที่นั่งส่วนขยายและทำให้สภามีขนาดใหญ่ขึ้น และยังเสนอให้มีการปรับลดเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 4 ซึ่งจะทำให้ได้สัดส่วนมากขึ้น
ระบบการลงคะแนนแบบผสมอีกระบบหนึ่งคือ ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (อังกฤษ: dual-member proportional representation; ย่อ: DMP) ซึ่งเป็นระบบการลงคะแนนแบบเสียงเดียวเลือกผู้แทนพร้อมกันเขตละสองคน โดยที่นั่งแรกของแต่ละเขตจะให้ผู้สมัครรายที่ชนะคะแนนนำ คล้ายกับการลงคะแนนในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด ที่นั่งที่เหลือจะจัดสรรให้โดยการชดเชยเพื่อให้ได้ผลรวมในระดับภูมิภาคมีความเป็นสัดส่วน ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ใช้สูตรคำนวนคล้ายกับระบบสัดส่วนผสมแบบหนึ่งที่ใช้หา "ผู้เกือบชนะที่ดีที่สุด" (best near-winner) ซึ่งใช้ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์คของเยอรมนี โดยมีการชดเชยที่นั่งให้แก่ผู้สมัครที่ได้เสียงสนับสนุนจำนวนมากในระดับเขตโดยเปรียบเทียบกับผู้สมัครรายอื่นจากพรรคการเมืองเดียวกัน ความแตกต่างของระบบสัดส่วนคู่ คือแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีผู้แทนอย่างมากหนึ่งคนได้รับการชดเชยที่นั่ง หากในเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครหลายรายแข่งขันกันแย่งที่นั่งชดเชยนี้ ผู้สมัครรายที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับเลือกและทำให้รายอื่นตกรอบ ระบบสัดส่วนคู่มีความคล้ายคลึงกับระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงตรงที่ผู้แทนทั้งหมดรวมถึงประเภทที่มาจากการชดเชยที่นั่งนั้นจะมาจากแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมด ระบบนี้ถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 2013 สำหรับรัฐแอลเบอร์ตาในแคนาดา และยังได้รับความสนใจจากรัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ในการลงประชามติเมื่อปีค.ศ. 2016 เพื่อหาระบบการลงคะแนนมาแทนที่ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด แต่ถูกตีตกไปในรอบที่สาม อีกทั้งระบบนี้ยังเคยอยู่ในระบบสัดส่วนทั้งสามระบบที่ถูกเสนอชื่อในการลงประชามติปีค.ศ. 2018 สำหรับรัฐบริติชโคลัมเบีย
การแบ่งสรรปันส่วนแบบสัดส่วนคู่
ระบบสัดส่วนอื่นๆ
ประเทศที่ใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วน
ประเทศ | ชนิด |
---|---|
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% ในระดับชาติ และ 2.5% ในระดับเขต | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อสำหรับสภาผู้แทนราษฎร | |
บัญชีรายชื่อแบบสองชั้น โดยบัญชีปิดในระดับประเทศ และบัญชีเปิดในเขตเลือกตั้งทั้ง 13 เขต หากต้องการมีเสียงข้างมากเด็ดขาดโดยมีที่นั่งอย่างน้อยร้อยละ 54 ของทั้งหมด พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงดีที่สุดสองอันดับแรกจะต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งที่นั่งโบนัส โดยมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 5 สำหรับพรรคการเมือง และร้อยละ 7 สำหรับชุดคะแนนทั้งหมด | |
บัญชีรายชื่อ | |
แบบถ่ายโอนคะแนนเสียงใช้เฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% threshold | |
(เบลเยียม) | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% |
บัญชีรายชื่อ | |
แบบสัดส่วนผสมและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 2% | |
กัมพูชา | บัญชีรายชื่อ |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% | |
บัญชีรายชื่อสองชั้นและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 2% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% | |
แต่ละประเทศสมาชิกจะต้องเลือกระหว่างแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง หรือแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% | |
บัญชีรายชื่อ | |
เยอรมนี | แบบสัดส่วนผสมและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% (หรือมีผู้ชนะแบบแบ่งเขตอย่างน้อย 3 คน) |
บัญชีรายชื่อแบบสองชั้น ใช้บัญชีปิดในระดับประเทศ และบัญชีเปิดในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแบบผู้แทนหลายคน พรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะได้ที่นั่งโบนัสจำนวน 50 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 300 ที่นั่ง) แต่ระบบถูกยกเลิกหลังจากการเลือกตั้งสองครั้งจากปีค.ศ. 2016 และในปีค.ศ. 2020 รัฐสภาได้รับรองให้เปลี่ยนมาใช้ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่งในการเลือกตั้งในอีกสองสมัยถัดไป โดยมีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่ร้อยละ 3 | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% | |
แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3.25% | |
ผสม และเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 7% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% | |
บัญชีรายชื่อ | |
แบบสัดส่วนผสม | |
ลิกเตนสไตน์ | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 8% |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 6% | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
แบบสัดส่วนผสมและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% (หรือต้องมีผู้ชนะแบบแบ่งเขตอย่างน้อย 1 ที่นั่ง) | |
บัญชีรายชื่อผสม | |
แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง | |
บัญชีรายชื่อสองชั้นและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% ของระดับชาติ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% หรือมากกว่าสำหรับพรรคการเมืองเดียว 8% หรือมากกว่าสำหรับพรรคร่วมพันธมิตร หรือ 0% หรือมากกว่าสำหรับพรรคเล็กน้อย | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ หากต้องการเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภา พรรคการเมืองสองอันดับแรกจะต้องแข่งขันในรอบชี้ขาดเพื่อแย่งที่นั่งโบนัส โดยมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ 3.5% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% หรือน้อยกว่า | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 3% ในเขตเลือกตั้งขนาดเล็ก | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อสองชั้นและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 4% ในระดับชาติ และ 12% ในระดับเขต | |
บัญชีรายชื่อ | |
ผสม: บัญชีรายชื่อจำนวน 34 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 113 ที่นั่ง) | |
ไทย | แบบสัดส่วนผสม โดยมี 350 ที่นั่งจากแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ 150 ที่นั่ง |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อ | |
บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 10% | |
ญี่ปุ่น | บัญชีรายชื่อและเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 2% |
ยูเครน | แบบสัดส่วนผสม และเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% และบัญชีรายชื่อแบบเปิด |
บัญชีรายชื่อ |
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- เมืองรัตน, ฤทัยชนก. "การเลือกตั้ง-วิถีแห่งประชาธิปไตย" (PDF). สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
- Amy, Douglas J. "How Proportional Representation Elections Work". . สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- "Electoral System Design: the New International IDEA Handbook". . 2005. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- "Additional Member System". London: . สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
- ACE Project: The Electoral Knowledge Network. "Electoral Systems Comparative Data, Table by Question". สืบค้นเมื่อ 20 November 2014.
- Gallagher, Michael. (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-20. สืบค้นเมื่อ 26 October 2014.
- Hirczy de Miño, Wolfgang, University of Houston; Lane, John, State University of New York at Buffalo (1999). "Malta: STV in a two-party system" (PDF). สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
- Amy, Douglas J. "A Brief History of Proportional Representation in the United States". . สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
- Laakso, Markku (1980). "Electoral Justice as a Criterion for Different Systems of Proportional Representation". Scandinavian Political Studies. Wiley. 3 (3): 249–264. doi:10.1111/j.1467-9477.1980.tb00248.x. ISSN 0080-6757.
- Koriyama, Y.; Macé, A.; Laslier, J.-F.; Treibich, R. (2013). "Optimal apportionment". Journal of Political Economy. 121 (3): 584–608. doi:10.1086/670380. S2CID 10158811.
- Amy, Douglas. . Fairvote.org. Takoma Park. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
- Norris, Pippa (1997). (PDF). Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- Colin Rallings; Michael Thrasher. (PDF). Electoral Commission, Research, Electoral data. London: . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
- Commission On Electoral Reform, Hansard Society for Parliamentary Government (1976). "Report of the Hansard Society Commission on Electoral Reform". . London.
- . University of British Columbia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
- "Election 2015 - BBC News". BBC. สืบค้นเมื่อ 11 May 2015.
- Ana Nicolaci da Costa; Charlotte Greenfield (September 23, 2017). "New Zealand's ruling party ahead after poll but kingmaker in no rush to decide". Reuters.
- Roberts, Iain (29 June 2010). . . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-06. สืบค้นเมื่อ 29 July 2014.
- "A look at the evidence". Fair Vote Canada. สืบค้นเมื่อ 2 January 2019.
- Amy, Douglas J. . . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- "Electoral Reform Society's evidence to the Joint Committee on the Draft Bill for House of Lords Reform". . 21 October 2011. สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
- อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อforder
- Harris, Paul (20 November 2011). "'America is better than this': paralysis at the top leaves voters desperate for change". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 November 2014.
- Krugman, Paul (19 May 2012). "Going To Extreme". The Conscience of a Liberal, Paul Krugman Blog. สืบค้นเมื่อ 24 Nov 2014.
- Mollison, Denis. "Fair votes in practice STV for Westminster" (PDF). . สืบค้นเมื่อ 3 June 2014.
- . . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
- Cox, Gary W.; Fiva, Jon H.; Smith, Daniel M. (2016). "The Contraction Effect: How Proportional Representation Affects Mobilization and Turnout" (PDF). . 78 (4): 1249–1263. doi:10.1086/686804. :11250/2429132. S2CID 55400647.
- Amy, Douglas J (2002). Real Choices / New Voices, How Proportional Representation Elections Could Revitalize American Democracy. . ISBN .
- Mollison, Denis (2010). "Fair votes in practice: STV for Westminster". . สืบค้นเมื่อ 3 June 2014.
- Scheppele, Kim Lane (April 13, 2014). "Legal But Not Fair (Hungary)". The Conscience of a Liberal, Paul Krugman Blog. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
- (11 July 2014). "Hungary, Parliamentary Elections, 6 April 2014: Final Report". OSCE.
- "Voting Counts: Electoral Reform for Canada" (PDF). Law Commission of Canada. 2004. p. 22.
- "Single Transferable Vote". London: . สืบค้นเมื่อ 28 July 2014.
- อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อhumphreys
- (Dutch) "Evenredige vertegenwoordiging". www.parlement.com (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2020-01-28.
{{}}
: ตรวจสอบค่า|url=
((help)) - Carey, John M.; Hix, Simon (2011). "The Electoral Sweet Spot: Low-Magnitude Proportional Electoral Systems" (PDF). . 55 (2): 383–397. doi:10.1111/j.1540-5907.2010.00495.x.
- "Electoral reform in Chile: Tie breaker". The Economist. 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
- Laver, Michael (1998). "A new electoral system for Ireland?" (PDF). The Policy Institute, .
- (PDF). Dublin: Houses of the . July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- (PDF). Monopoly Politics 2014 and the Fair Voting Solution. . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- Lubell, Maayan (March 11, 2014). . Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 10 July 2014.
- "Party Magnitude and Candidate Selection". .
- O'Kelly, Michael. "The fall of Fianna Fáil in the 2011 Irish general election". . , . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06.
{{}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown () - As counted from the table in http://www.wahlrecht.de/ausland/europa.htm [in German]; "Vorzugsstimme(n)" means "open list".
- "Party List PR". Electoral Reform Society. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
- Gordon Gibson (2003). Fixing Canadian Democracy. The Fraser Institute. p. 76. ISBN .
- Gallagher, Michael; Mitchell, Paul (2005). The Politics of Electoral Systems. Oxford, New York: Oxford University Press. p. 11. ISBN .
- . Copenhagen: Ministry of the Interior and Health. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-23. สืบค้นเมื่อ 1 Sep 2014.
- "The main features of the Norwegian electoral system". Oslo: Ministry of Local Government and Modernisation. 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 1 Sep 2014.
- . Stockholm: Election Authority. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2014. สืบค้นเมื่อ 1 Sep 2014.
- . . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 9 April 2014.
- (1995). "The Single Transferable Vote". Journal of Economic Perspectives. 9 (1): 27–38. doi:10.1257/jep.9.1.27.
- O’Neill, Jeffrey C. (July 2006). "Comments on the STV Rules Proposed by British Columbia". Voting Matters (22). สืบค้นเมื่อ 10 August 2013.
- David M. Farrell; Ian McAllister (2006). The Australian Electoral System: Origins, Variations, and Consequences. Sydney: . ISBN .
- "Referendum 2011: A look at the STV system". . Auckland: The New Zealand Herald. 1 Nov 2011. สืบค้นเมื่อ 21 Nov 2014.
- "Change the Way We Elect? Round Two of the Debate". The Tyee. Vancouver. 30 Apr 2009. สืบค้นเมื่อ 21 Nov 2014.
- ACE Project Electoral Knowledge Network. "Mixed Systems". สืบค้นเมื่อ 29 June 2016.
- Massicotte, Louis (2004). (PDF) (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- Bochsler, Daniel (May 13, 2010). "Chapter 5, How Party Systems Develop in Mixed Electoral Systems". Territory and Electoral Rules in Post-Communist Democracies. Palgrave Macmillan. ISBN .
- "Electoral Systems and the Delimitation of Constituencies". . 2 Jul 2009.
- Moser, Robert G. (December 2004). "Mixed electoral systems and electoral system effects: controlled comparison and cross-national analysis". Electoral Studies. 23 (4): 575–599. doi:10.1016/S0261-3794(03)00056-8.
- Massicotte, Louis (September 1999). "Mixed electoral systems: a conceptual and empirical survey". Electoral Studies. 18 (3): 341–366. doi:10.1016/S0261-3794(98)00063-8.
- "Deutschland hat ein neues Wahlrecht" (ภาษาเยอรมัน). . 22 February 2013.
- . Wellington: . 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2014. สืบค้นเมื่อ 10 Aug 2014.
- Antony Hodgson (Jan 21, 2016). "Why a referendum on electoral reform would be undemocratic". .
- Kerry Campbell (April 15, 2016). "P.E.I. electoral reform committee proposes ranked ballot". .
- Eby, David (May 30, 2018). (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 31, 2018. สืบค้นเมื่อ June 9, 2018.
- McElroy, Justin (June 2, 2018). "Know your voting systems: three types of electoral reform on B.C.'s ballot". .
- "2018 Referendum on Electoral Reform: Voting Results Available". . สืบค้นเมื่อ November 1, 2020.
- ACE Project: The Electoral Knowledge Network. "Electoral Systems Comparative Data, World Map". สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
- ACE Project: The Electoral Knowledge Network. "Electoral Systems Comparative Data, Table by Country". สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
- . "Republic of Armenia, Parliamentary Elections, 2 April 2017". OSCE.
- "Greek MPs approve end to bonus seats, lower voting age". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2016-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-06-22.
- "Parliament votes to change election law | Kathimerini". www.ekathimerini.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-25.
อ่านเพิ่มเติม
หนังสือ
- Abbott, Lewis F. British Democracy: Its Restoration and Extension. ISR/Kindle Books, 2019. . Chapter 7, "Electoral System Reform: Increasing Competition and Voter Choice and Influence".
- Ashworth, H.P.C.; Ashworth, T.R. (1900). Proportional Representation Applied to Party Government. Melbourne: Robertson and Co.
- Amy, Douglas J. (1993). Real Choices/New Voices: The Case for Proportional Representation Elections in the United States. Columbia University Press.
- Batto, Nathan F.; Huang, Chi; Tan, Alexander C.; Cox, Gary (2016). Mixed-Member Electoral Systems in Constitutional Context: Taiwan, Japan, and Beyond. Ann Arbor: University of Michigan Press.
- Pilon, Dennis (2007). The Politics of Voting. Edmond Montgomery Publications.
- (2003). Political Institutions. Oxford University Press.
- Colomer, Josep M., บ.ก. (2004). Handbook of Electoral System Choice. Palgrave Macmillan.
- Pukelsheim, Friedrich (2014). Proportional Representation. Springer.
- Linton, Martin; Southcott, Mary (1998). Making Votes Count: The Case for Electoral Reform. London: Profile Books.
- Forder, James (2011). The case against voting reform. Oxford: . ISBN .
- Jenifer Hart, Proportional Representation: Critics of the British Electoral System,1820-1945 (Clarendon Press, 1992)
- F.D. Parsons, Thomas Hare and Political Representation in Victorian Britain (Palgrave Macmillan, 2009)
- Sawer, Marian & Miskin, Sarah (1999). Papers on Parliament No. 34 Representation and Institutional Change: 50 Years of Proportional Representation in the Senate (PDF). Department of the Senate. ISBN .
บทความ
- Hickman, John; Little, Chris (November 2000). "Seat/vote proportionality in Romanian and Spanish parliamentary elections". Journal of Southern Europe and the Balkans Online. 2 (2): 197–212. doi:10.1080/713683348. S2CID 153800069.
- Galasso, Vincenzo; Nannicini, Tommaso (December 2015). "So closed: political selection in proportional systems". . 40 (B): 260–273. doi:10.1016/j.ejpoleco.2015.04.008. S2CID 55902803.
- Golder, Sona N.; Stephenson, Laura B.; Van der Straeten, Karine; Blais, André; Bol, Damien; Harfst, Philipp; Laslier, Jean-François (March 2017). "Votes for women: electoral systems and support for female candidates". . 13 (1): 107–131. doi:10.1017/S1743923X16000684.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Proportional Representation Library 2010-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Handbook of Electoral System Choice 2010-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Quantifying Representativity Article by Philip Kestelman
- The De Borda Institute A Northern Ireland-based organisation promoting inclusive voting procedures
- Election Districts Voting improves PR with overlapping districts elections for first past the post, alternative vote and single transferable vote voters
- founded in England in 1884, the longest running PR organization. Contains good information about single transferable vote – the Society's preferred form of PR
- Electoral Reform Australia
- Proportional Representation Society of Australia
- Fair Vote Canada
- FairVote, USA
- Why Not Proportional Representation?
- Vote Dilution means Voters have Less Voice Law is Cool site
- Proportional Representation and British Democracy Debate on British electoral system reform
- RangeVoting.org. page on PR
- Australia's Upper Houses - ABC Rear Vision A podcast about the development of Australia's upper houses into STV proportional representation elected chambers.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
kareluxktngrabbsdswn xngkvs proportional representation yx PR epnrabbkarlngkhaaennthiaebngcanwnphuaethnthiidrbeluxktamsdswnkhaaennthiidrbthwpraeths odykhidepnsdswnkhxngcanwnthinnginspha klawkhux withinitxngkarldkhwamaetktangrahwangkhaaennesiyngthiphrrkhkaremuxngidrbcakkhaaennesiyngthwpraethskbkarcdsrrthinnginsphaphuaethnrasdr echn hakphrrkhkaremuxngthiidrbchychnaidrbkhaaennesiyngthwpraethsrxyla 40 phrrkhkaremuxngnnkhwridthinngrawrxyla 40 khxngthinnginsphaphuaethnrasdr swnphrrkhkaremuxngthiidrbkhaaennesiyngthwpraethsxyuthirxyla 10 khwridthinngrxyla 10 khxngthinnginsphaphuaethnrasdrechnkn twxyangechn kareluxktngsmachiksphayuorp odyaetlapraethssmachikmicanwnthinngepnsdswnprachakrinpraethsnn odyechliy kareluxktngrabbsdswnmihlayaebbyxy odyaebbthiniymichknmakidaek rabbsdswnaebbbychiraychux aebbthayoxnkhaaennesiyng aelarabbsdswnphsm rabbsdswnaebbbychiraychux Party List PR phrrkhkaremuxngcdthabychiraychuxaelaphumisiththieluxktngeluxkthngraychux odykhaaennrwmthiidkhidepnsdswnaelwcanamakhidcanwnphuidrbkareluxktng odybychiraychuxmithngaebbepid aelaaebbpid bychiraychuxaebbpidnnthukeluxkhruxcdladbodyphubriharphrrkhphankliktang swnbychiraychuxaebbepidnnphumisiththieluxktngsamarthmiswnrwminkareluxktwphusmkhridexng aebbthayoxnkhaaennesiyng STV phumisiththieluxktngeluxkphusmkhrodyisladbkhwamniymswnbukhkhl ladb 1 thung aethnthicaeluxkephiyngphusmkhrrayediyw inrahwangkarnbkhaaenn phusmkhridthiidrbeluxkaelw hruximidrbeluxknn khaaennesiynginswnkhxngthngsmachikphuthiidrbeluxkipaelw aelaphuthiimidrbeluxknncaimesiyip odycathayoxnipyngphusmkhrladbthdip odykareluxktngrabbnithaihphumisiththieluxktngsamartheluxkphusmkhridcakthukphrrkhkaremuxng odyennthitwbukhkhlmakkwaphrrkhinhlkkarthiwakhaaennesiyngkhxngphumisiththieluxktngnncaimsuyip rabbsdswnphsm MMP hruxeriykxikxyangwa rabbesrimsmachikephimetim AMS epnrabbkareluxktngphsmsungichthngrabbesiyngswnihy aelarabbsdswnsungichsahrbbychiraychuxradbphumiphakh hruxradbpraeths odyphumisiththieluxktngcami 2 esiyng odyhnungesiyngsahrbraychuxphusmkhrinekhteluxktng aelaxikesiyngsahrbbychiraychux odyphrrkhkaremuxngthiimidrbeluxkinradbekhtnn xaccaidrbeluxkinaebbbychiraychuxaethnidtamcanwnkhaaennesiyngthnghmdinpraephthbychiraychux cakrayngankhxng ACE Electoral Knowledge Network kareluxktngrabbsdswnthukichinkareluxktngsphalanginradbchatithnghmd 94 praeths odyepnrabbsdswnaebbbychiraychuxthung 85 praeths inkhnathirabbsdswnphsmthukichinkareluxktngsphalangin 7 praeths aelaaebbthayoxnkhaaennesiyngthukichin 2 praethsethann khux praethsixraelnd aelapraethsmxlta nxkehnuxcaksphalangyngichinwuthisphakhxngxxsetreliy aelakareluxktngaebbthayoxnkhaaennesiyngyngsamarthichsahrbkareluxktngaebbimaebngphrrkhkaremuxngid echninkrnikhxngsphaemuxngekhmbridc enuxngcakpccytang xathiechn eknthkhaaennesiyngkhnta aelakarkahndekhteluxktngkhnadelk rwmthungwithikarbidebuxnphlkareluxktng echn karaeykphrrkhkaremuxng aelakaraebngekhteluxktngaebbexaepriyb cungthaihsdswnthismburnaebbnnyakthicaekidkhunidinkareluxktngrabbehlani aetxyangirktamyngthuxwaekhaiklkhwamepnsdswnmakkwarabbxun inbangpraethsidmikarichthinngchdechyephuxprbsmdulihkbtwaeprehlaniephuxyngkhngkhwamepnsdswniwihidmakthisudkhxdiaelakhxesiykhwamepnthrrm rabbsdswnmiwtthuprasngkhephuxaekpyhaeruxngkhwamimepnthrrmkhxngrabbkarlngkhaaennaebbesiyngkhangmakaelarabbkhaaennnasungphrrkhkhnadihynncaidrbthinngmakehmuxnobnsthiimepnthrrm aelaphrrkhelknnesiyepriybxnenuxngmacakimidthinngtamsdswnkhaaennthiirbcringaelainbangkrninnxaccaimidrbelyskthinngediyw tamkdkhxng 6 7 phrrkhkaremuxngihyinshrachxanackrsamarththicachnakhaaennesiyngidxyanglnhlamaelakhwbkhumsphasamychnidodyichkhaaennesiyngaekhephiyngrxyla 35 khxngkhaaennthnghmd cakkareluxktngthwipinshrachxanackr kh s 2005 inkrnikhxngkareluxktngthwipinaekhnada rthbalodyphrrkhrwmrthbalsamarthcdtngidodymikhaaennesiyngrwmnxykwarxyla 40 inkareluxktngshphnthrthinaekhdana kh s 2011 aelakh s 2015 inkrnithiphumisiththieluxktngxxkmaichsiththinxykwarxyla 60 emuxid phrrkhkaremuxngihycasamarthcdtngrthbalesiyngkhangmakidodyaekhtxngkarcanwnkhaaennesiyngsnbsnunephiyngaekhesshnungswnsikhxngekhteluxktngethann kareluxktngthwipinshrachxanackr kh s 2005 phrrkhaerngngan naodyothni aeblridrbesiyngkhangmakinsphadwykhaaennesiyngthnghmdephiyngrxyla 21 6 khxngkhaaennesiyngrwmcakekhteluxktngthnghmd 3 sungpraedninkarphidsdswninkarcdsrrphuaethnniepnthiwiphakswicarnwa imichaekheruxngkhwamepnthrrmaelwaetepneruxngsiththiphunthankhxngphlemuxng 22 xyangirktam karlngkhaaennesiynginrabbsdswnthimikarkahndkhaaennesiyngkhntasung hruxkhxkahndphiessthildkhwamepnsdswnlngkimidcaepnwacaihkhwamepnthrrmidmakkwaethaidnk echn inkareluxktngthwipinturki kh s 2002 sungichrabbkareluxktngaebbbychiraychuxepidodymikhaaennesiyngkhntathirxyla 10 nnidphllphthepnkhaaennesiyngkwarxyla 46 nnepnkhaaennesiyepla 83 inrabbkhaaennna esiyngkhangmaknnyngchwyihphrrkhkaremuxnginthxngthinnnsamarthchnakareluxktnginthxngthinkhxngtnidcanwnmakodyechphaainekhtthxngthinthiidrbaerngsnbsnunmak aetimichphrrkhradbpraeths inkhnathiphrrkhkaremuxngxun thiidkhwamniymradbpraethsaelaimidmungenninradbthxngthin echn phrrkhkrin mkcaidthinngnxymakhruximidely twxyangechn phrrkhblxkekebkwinaekhnadasungchnakwa 52 thinngaekhephiynginrthkhwiebkinkareluxktngshphnthrthinaekhnada kh s 1993 odymikhaaennesiyngrwmephiyngrxyla 13 5 khxngradbpraeths inkhnathilmehlwxyangsinechinginradbpraeths idrbephiyng 2 thinng dwykhaaennesiyngkracaythungrxyla 16 khxngkhaaennthnghmd swnphrrkhxnurksniymnnthungaemcaepnthiniyminradbpraethssungmiphusnbsnunxyuinphakhtawntkaetinkareluxktngkhrngniphusnbsnunepliynipeluxkphrrkhptirupaethn sungphrrkhptirupidrbthinngepnswnihyinaethbtawntkkhxngrthssaekhtechwn aelaimidelyinrthaemniothba krnikhlaykhlungknkbkareluxktngthwipinshrachxanackr kh s 2015 sungphrrkhchatiskxtidthung 52 thinngcakthwskxtaelnd odymikhaaennesiynginradbpraethsephiyngaekhrxyla 4 7 inkhnathiidrbkhaaennesiyngthungrxyla 12 6 aetidaekhephiyngthinngediyw exuxtxphrrkhkhnadelk karichrabbekhteluxktngaebbmiphuaethnhlaykhnsamarththaihmiphuaethnidhlakhlay inekhteluxktngthicanwnphuaethnmak aelacanwnkhaaennesiyngkhntathitxngkarnntaethairyingcachwyihphrrkhkaremuxngkhnadelkidpraoychnkarrabbsdswnidmakkhun sunginpraednthithkethiyngkninprachathipitythiekidkhunihmnn karmiphrrkhkhnadelkcanwnmakinsphanitibyytiepnsingthicaepnsahrbkhwammnkhngthangsngkhmaelaephuxthaihkrabwnkarprachathiitynnaekhngaerngkhun 58 swnphuthiimehndwynn inxikdanhnungklawwarabbnicaepnoxkasihphrrkhhwrunaerngsudotngsamarthekhamamithinnginsphaid sungbangwaepnsaehtukhxngkarlmslaykhxngsatharnrthiwmar inrabbsdswnthikahndkhaaennesiyngkhntatamaknn phrrkhkaremuxngkhnadelk hlayphrrkhsamarthklayepn phueluxkkstriy King makers idngaydayodyephiyngtxrxngkbphrrkhkaremuxngkhnadihyaelkkbesiyngsnbsnunepnphrrkhrwmrthbalepnkhxtxrxng twxyangniekidkhuninxisraexl 59 aetpyhanisamarthcakdiddngthiichinbunedisthakhkhxngeyxrmniinpccubn odymikdihkhaaennkhntakhxngphrrkhkaremuxngthiichinkaridthinnginsphannmicanwnsung sunginthangklbknthaihmiprimankhaaennesiyeplamakkhun xikkhxwicarnkhuxrabbsdswnthaihphrrkhkaremuxnghlkkhnadihyinrabbkhaaennna esiyngkhangmaknnaetkxxkenuxngcakrabbsdswncaidpraoychnaekphrrkhkaremuxngkhnadelk odyehnintwxyangkhxngxisraexl xitali aelabrasilepntn 59 89 aetxyangirktamcakphlkarwicyaesdngihehnwamikarephimcanwnkhxngphrrkhkaremuxnginsphaimmaknkcakrabbsdswnni aetlaphrrkhelkidthinngmakkhun inrabbkarlngkhaaennaebbbychiraychuxepid open list aelaaebbthayoxnkhaaennesiyngepnephiyngaebbyxykhxngrabbsdswnthiphrrkhkaremuxngepnsingthiimcaepn thaihphusmkhrxisrannsamarthidrbeluxktngodyngay inixraelnd miphusmkhrxisrapramanhkkhnidrbeluxkekhasphaodyechliythuksmy thaihinkarhaaenwrwminsphanncatxngnaphuaethnxisraniekhaipmiswnrwmdwyesmx inbangkrniphuaethnxisraehlanixyuinsthanaiklchidkbphrrkhrwmrthbal odyrthbalixrichinkareluxktngpikh s 2016 nnrwmphuaethnxisrainraychuxkhxngrthmntriinrthbalesiyngkhangnxydwy rthbalaebbphrrkhrwm karidrbkareluxktngkhxngphrrkhkaremuxngkhnadelkcanwnmakklayepnkhxotaeynghlkkhxngrabbsdswnsungcathaihekidrthbalphrrkhrwmthukkhrng 59 phusnbsnunrabbsdswnmxngphrrkhrwmrthbalepnkhxidepriyb odythaihmikarpranipranxmkninrahwangtangphrrkhkaremuxngephuxcdtngrthbalphrrkhrwmtrngklangkhxngsepktrmkaremuxng aelathaihmikhwamtxenuxngaelamiesthiyrphaph swnphutxtanrabbniehnwainhlaynoybaynnimsamarthcarxmchxmknid enuxngcakaetlanoybayimsamarthcacdaebngkhwidngayday twxyangechn noybaysingaewdlxm dngnnnoybaytang klayepnkhxaelkepliyninkarrwmrthbalaethnsungthaihphulngkhaaennimmithangruidelywanoybayidcaidrbkarphlkdncakrthbalthiphwkekhaeluxkma klawkhuxphulngkhaaennmixiththiphlnxytxrthbal echnkn karrwmrthbalnncungimcaepntxngxyutrngklangesmxip aelaphrrkhkaremuxngkhnadelkkcamixiththiphlmakodytxrxngkarrwmrthbaldwykhxaemwanoybaytang khxngphrrkhelkthimacakphusnbsnuncanwnnxycatxngepnphl singsakhythisudkhux khwamsamarththiphulngkhaaennsnbsnunphrrkhkaremuxngthuktdthxnlngip praethsinrabbsdswnthimicanwnkareluxktngnxy dwykhxesiytang dngklawmani phutxtanrabbsdswnotaeyngwainrabbkhaaennna esiyngkhangmaknnchwyhlikeliyngpraednehlaniid sunginkrninikarrwmrthbalnnaethbimekidkhun odyphrrkhkaremuxnghlksxngphrrkhcatxngaekhngkhnknxyutrngklangkhxngsepktrmephuxkhaaennesiyngthaihrthbalthiidnnxyucatxngxyutrngklang phrrkhfaykhanthiidkmikhwamekhmaekhnginkartrwcsxbrthbal aelarthbalnnkcatxngrbfngesiyngkhxngprachachnxyuesmxephraasamarthcaslbkhwidodykareluxktngesmx xyangirktamimidepniptamkrniniesmx inkaremuxngrabbsxngphrrkhnnsamarththaihekidkarepliynkhangipxyangsudotngxxkipcaktrngklangid hruxxyangnxyphrrkhidphrrkhhnungcaklayepnphrrkhnoybaysudotngid ehlaphutxtanrabbsdswnyngotaeyngxikwarthbalphrrkhrwminrabbsdswnnnimmiesthiyrphaph sungthaihmikareluxktngbxykhun dngtwxyangsakhykhuxxitali sungmihlayrthbalxnprakxbipdwyphrrkhelkphrrkhphrrkhnxyprakxbepnphrrkhrwmrthbal xyangirktaminxitalinnphidpktitrngthithngsxngsphannsamarththaihsphalmid inkhnathiinpraethsxun thiichrabbsdswnmiephiyngsphaediywhruxichaekhephiyngsphaediywcaksxngsphaepnhlkephuxsnbsnunrthbal inxitalinnichkarlngkhaaennrabbphsmrahwangaebbkhaaennnaaebbaebngekhtkhaaennsungsudkbrabbsdswntngaetpikh s 1993 xnprakxbdwykdeknthsbsxncungthaihxitaliimichtwxyangthidikhxngrabbsdswnthimiesthiyrphaph karmiswnrwmkhxngphulngkhaaenn inrabbkhaaennnaswnmakcathaihekidrthbalphrrkhediywthimiesiyngkhangmakinsphaenuxngcakphrrkhelkcaimkhxyidrbeluxkinrabbaebngekhtkhaaennsungsudemuxepriybethiybkbrabbsdswnaelw odyrabbaebngekhtkhaaennsungsudnnmkcathaihkaremuxngehluxephiyngphrrkhihyimkiphrrkhaelamioxkasthikhaaennesiyngephiyngelknxycaphlikphlkareluxktngidaebbinkrnikhxng thinngaekwng sungsamarthepliynesiyngkhangmakinsphacakphrrkhhnungipxikphrrkhhnungid odyinrabbkhaaennnaphudarngtaaehnngpccubnnnmkcakhrxngthinngaelamkcathukokhnlngyak inshrachxanackr epntn ekhteluxktngpramankhrunghnungmkcaeluxkphuaethnsngkdphrrkhkaremuxngedimtngaetkh s 1945 inpikh s 2012 inkareluxktngsmachiksphaphuaethnrasdrshrthmiephiyngaekh 45 ekht khidepnrxyla 10 thisamarththukexachnaodyphrrkhfaytrngkhamid phulngkhaaennswnmakcaruwakhaaennesiyngtwexngtxphusmkhrthimiaenwonmcaaephnnimmiaerngcungicinkariplngkhaaenn hruxhakiplngkhaaennkethiybkbimmipraoychnxnid ephraakhaaennsuy immikha thungaemcanakhaaennmakhidkhaaennrwmktam pxppular ohwt inrabbsdswn caimekidpyhaeruxngthinngaekwng ephraakhaaennesiyngthnghmdcamiswninphlkareluxktngthangidthanghnung dngnnphrrkhkaremuxngcatxngthakarhakesiynginthukekhteluxktng imephiyngechphaaekhtthiidrbkarsnbsnunhruxekhtthiidepriybethann odyphbwamiswnthaihphrrkhkaremuxngmikhwamrbphidchxbmakkhuntxphulngkhaaenn aelasngphlihkareluxktngmikhwamsmdulmakkhunodysngchuxphusmkhrthiepn stri hruxphusmkhrcakchnklumnxy epntn odycakkhaechliy pramanrxyla 8 khxngstriidrbeluxkmakkhuninrabbkarlngkhaaennni enuxngcakthukkhaaenncamiphltxkareluxktng cungaethbimmikhaaennsuyely cungthaihphulngkhaaennyxmtrahnkwakarlngkhaaennmikhwamhmayaelasamarthsrangkhwamaetktangid cungsngphlihmiaerngcungicinkaripeluxktng aelaekidpyhakareluxktngechingklyuththnxylng emuxepriybethiybkbpraethsthiichrabbkhaaennnann canwnphumaichsiththimisungkwa aelaprachachnmiswnrwmmakkhuninkrabwnkarthangkaremuxng xyangirkdiehlaphuechiywchayidotaeyngwakarepliynphancakrabbkhaaennnaipepnrabbsdswnnnsamarthephimcanwnphuichsiththiidaekhinekhteluxktngthisamarthkhadkhaenphuchnaid safe seat inkhnathirabbkhaaennnacanwnphuichsiththicaldlnginbriewnthiekhymipyhathinngaekwng karaebngekhteluxktngaebbimepnthrrm inrabbkhaaennnann hwickhxngkhwamepnsdswnxyuthikaraebngekhteluxktngthimiphuaethnhnungkhn single member districts odykhnadprachakr sungkhntxnnimikhwamepraabangtxkarlaemidodyxiththiphlthangkaremuxng karaebngekhteluxktngaebbexaepriyb hrux Gerrymandering odyephuxcaaekpyhanikaraebngekhteluxktngcatxngprbtamkhnadkarkhyaytwprachakrinekhtnnxyuesmx odyaemaetcaaebngekhtxyangepnthrrmaelwkyngmikhwamesiyngtxpyhanixyangimtngicxnepnphlmacakkarrwmklumkhxngprachakrthangthrrmchati 65 inrabbsdswnaebbthimiphuaethnhlaykhntxhnungekhtnnmiphumitanthankbpyhaniidmakkwaodyphlkarwicyrabuwaekhteluxktngthimiphuaethnhakhnhruxmakkwacapxngknpyhakaraebngekhteluxktngaebbexaepriybiddi 66 enuxngcakkhwamethakninkhnadkhxngekhteluxktnginkaraebngekhteluxktngaebbmiphuaethnhlaykhnnnimsakhy canwnthinngphnaepr dngnnaetlaekhteluxktngsamarthaebngtamxanaekhtthangphumisastridodyngay echn emuxng ekhanti rth hruxcnghwd epntn hakmikarepliynaeplngid ekiywkbcanwnprachakrinxnakhtkaekhprbephimhruxldcanwnphuaethninekhtnn twxyangechn inaephnkhxngsastracarymxllisninpikh s 2010 thiesnxihshrachxanackrichrabbthayoxnkhaaennesiyngnnidaebngshrachxanackrepn 143 ekht aelakahndcanwnphuaethncanwnaetktangkninaetlaekht odyrwmthnghmd 650 khnethapccubn odykhunxyukbcanwnkhxngphumisiththieluxktnginekhtnnodymiphisykhxnkhangkwang ekhteluxktngaebbmiphuaethnhakhnmiekhtthimiprachakr 327 000 khn aelaxikekhtthung 382 000 khn odyinaephnniidaebngekhteluxktngtamekhtekhanti aelaekhtkarpkkhrxngswnthxngthin odyphisucnaelwwasamarththaihidcanwnsdswnthithuktxngmakkwathithaodysungmihnathitrnginkaraebngekhteluxktnginrabbaebngekhtkhaaennsungsud FPTP swninrabbkarlngkhaaennaebbphsmnnkyngmiesiyngtxkaraebngekhteluxktngaebbexaepriybinaebbthimikareluxktnginaebbaebngekhtepnswnhnungkhxngrabb inrabbkhukhnan sungepnrabbkareluxktngaebbkungsdswnnnimmiklikinkarchdechyphllphththiekidkhuncakkarexaepriybinkaraebnghnwyeluxktngid swninrabbsdswnphsm MMP enuxngcakmikliksakhykhuxkarchdechythinngcungimepnpyhamaknk xyangirktamkhwammiprasiththiphaphnnkhunxyukblksnakhxngaetlarabb rwmthungkhnadkhxngekhteluxktng sdswnkhxngcanwnthinngaebbbychiraychuxtxthinngthnghmd aelapyhaeruxngkhwamsmrurwmkhidthixacekidkhunid twxyangthiekhyekidkhuncakarichpraoychnxyangphidwtthuprasngkhinklikkarchdechythinngekidkhuninkareluxktngthwipinhngkari kh s 2014 sungphrrkhkaremuxngphuna khux Fidesz ichklyuththkaraebngekhteluxktngaebbexaepriybrwmkbbychiraychuxaebbtwaethn decoy list thaihidmasungsxnginsamkhxngthinngthnghmdinsphaodyidrbkhaaennesiyngephiyngrxyla 45 ethann sungaesdngihehnwarabbsdswnphsmnnsamarththaihidphllphthaebbthiimkhxyepnsdswnmakidkhlay kbrabbkhukhnan karyudoyngrahwangphuaethnkbekhteluxktng inrabbkareluxktngaebbkhaaennna xathiechn rabbaebngekhtkhaaennsungsud FPTP aelarabbesiyngkhangmak xathiechn karlngkhaaennaebbhlayrxbinthnthi epnthiyxmrbknkwangkhwangwamikhwamechuxmoyngknthangphumisastrrahwangtwphuaethnkbprachachninekhteluxktngnn 36 65 21 khxesiykhxngrabbsdswnthichdecnkhuxenuxngcakkaraebngekhteluxktngaebbmiphuaethnhlaykhn sungmikarcdekhtphumisastrthikwangkwa thaihkhwamyudoyngtxprachachninthxngthinnxxnaexkwa 82 yinginrabbsdswnaebbbychiraychuxsungimidmikaraebngekhteluxktngely echn inenethxraelnd aelaxisraexlnnkhwamechuxmoyngrahwangprachachninthxngthikbtwphuaethnnnekuxbcaimmiely ykewnephiyngbangphrrkhkaremuxngethann xyangirktammikhxotaeynginrabbkareluxktngthimiekhteluxktngaebbphuaethnhlaykhnekhtelk odyechphaainkrniichrabbkarlngkhaaennaebbthayoxnkhaaennesiyng STV wakwarxyla 90 khxngphuaethninekhteluxktngsamarthekhathungphuaethnthiphwkekhaeluxktngekhamaid sungepnkhnthiekhaicpyhainthxngthinnn cungklawidwaprachachninthxngthiaelaphuaethnmikhwamiklchid 212 odyprachachnphumisiththiinthxngthinnmithangeluxkinkareluxkphuaethnthisamarthihkhapruksaaelaaekpyhainthxngthinnn id 212 swninekhteluxktngthimiphuaethnmakkwahnungkhnnn phusmkhrraythioddednmkcamioxkasidrbeluxkinekhtthxngthikhxngtnsungprachachnruckdiaelamnicihepnphuaethnidcring aelaoxkasthicasngtwphusmkhriplngaekhngkhninekhtthiehmuxnepnkhnaeplkhnahnannyxmimekidphlditxthngphusmkhraelaprachachnphumisiththieluxktnginekhtnn 248 250 swninrabbsdswnphsm MMP nnmikarichkhxdikhxngkaraebngekhteluxktngaebbphuaethnkhnediywsungchwyekbrksakhwamsmphnthrahwangphuaethnkbprachachninthxngthiiw 95 aetxyangirktamenuxngcakmicanwnphuaethnaebbbychiraychuxmaksudidthungkhrunghnungkhxngspha cungthaihekhteluxktnginaetlaekhtxaccamikhnadihykwainkrnikhxngrabbkareluxktngaebbkhaaennna idthungsxngethasungphuaethnaetlakhnnnthuxepnphuaethnephiyngkhnediywkhxngaetlaekhteluxktng krnisuksathinasnicekhyekidkhunenethxraelnd inkareluxktngthwip kh s 1994 emuxmiphrrkhkaremuxngihm phrrkhphnthmitraehngphusungwythwip General Elderly Alliance chnathung 6 thinng enuxngcakkxnhnannimekhymiphrrkhkaremuxngidihkarisicinpraednnimakxn odyinkareluxktngkhrngthdipnn phrrkhkaremuxngnikcbbthbathlngenuxngcakphrrkhkaremuxnghlk iderimnoybayrbfngesiyngkhxngphusungwyxyangthwthung inpccubnnimiphrrkhkaremuxngsahrbphusungxayu ifftikhplus 50 idmamibthbathsakhyinkaremuxngenethxraelndxyangminysakhy odyepntwxyangthiaesdngihehnwakaraebngekhtthangphumisastrnnimxacepntwchiwdkhaaennesiyngthidiid hruxinxiknyhnungkhux karlngkhaaenninaebbaebngekhtcakdphulngkhaaennaekhinekhtnn inkhnathikarlngkhaaennaebbsdswnnnmiphltamphllphthkhaaennesiyngthnghmdkhunsmbtikhxngrabbsdswnkhnadkhxngekhteluxktng ehlankwichakarmikhwamehntrngknwaxiththiphlthisakhythisudinrabbeluxktngaebbsdswnkhuxkhnadkhxngekhteluxktng district magnitude sungkhuxcanwnkhxngphuaethninekhteluxktngnn khwamepnsdswncadimakkhunhakkhnadekhteluxktngihykhunodypriyay odyphlnganwicyodynkwichakarkaremuxngswnihymikhxaenanaihaebngekhteluxktngihmiphuaethncanwnsithungaepdkhncadithisud sungcanwnpramannicathuxwanxyinrabbsdswnodythwip inxikmumhnung khux rabbkarlngkhaaennaebbthwinam binomial voting sungichinchili chwngpikh s 1989 cnthungkh s 2013 epnrabbsdswnaebbbychiraychuxepidaebbhnungsungmiphuaethnekhtlasxngkhn odyinrabbniphlkareluxktngmkcaidphuaethnphrrkhlahnungkhncakphrrkhihytxhnungekht inekhteluxktngswnihy cungimthuxwaepnsdswnodypriyay 79 inxikkrnihnung hakekhteluxktngthngekhtkinxanabriewnediywthngpraeths aelamieknthkhaaennesiyngkhntanxy sungcathaihkhwamepnsdswnsungthisud phrrkhkaremuxngtang samarthidepriybcakkaresrimphaphlksnkhxngtnidngayphankarsngphusmkhrcakchnklumnxy hruxphuaethnstri 83 phayhlngcakkarerimichrabbkarlngkhaaennaebbthayoxnkhaaennesiynginixraelndemuxkh s 1921 khnadkhxngekhteluxktngiderimldlngxyangcha cnklayepnekhtlasamkhnekuxbthnghmd sungphrrkhhlkthiidrbpraoychnodytrngkhux phrrkh Fianna Fail cnkrathngkh s 1979 emuxmikarcdtngkhnakrrmathikarxisradanekhtaedn sungidprbaekkhnadkhxngekhteluxktngihm txmainpikh s 2010 khnakrrmathikarrththrrmnuyinrthsphaidaenanaihmikhnadxyangnxyekhtla 4 khn nxkcaknnthungaemwaixraelndcamikhnadekhteluxktngthikhxnkhangelkaetswnihycaidphllphththiepnsdswnsungxyuxyangsmaesmx 73 xngkhkar FairVote sungidekhyphicarnaaephnkarichrabbkarlngkhaaennaebbthayoxnkhaaennesiyngsahrbkareluxktngsmachiksphaphuaethnrasdrshrth idesnxihaetlaekhteluxktngmikhnadtngaet 3 5 khntxekht inaephnkarkhxngsastracarymxllisnsungidekhyphicarnaaephnkarichrabbkarlngkhaaennaebbthayoxnkhaaennesiyngsahrbkareluxktnginshrachxanackrnn ekhteluxktngswnihymikhnad 4 5 khntxekht odymibangekhtthimi 3 khn aelabangekhtmakthung 6 khn aelayngmibangekhtephiyngsxngkhn aelakhnediywsungepntamkhxcakdthangphumisastrinbangsthanthi eknthkhaaennesiyngkhnta eknthkhaaennesiyngkhntakhuxcanwnkhaaennesiyngthinxythisudthitxngkarephuxthicaid 1 thinng yingeknthkhntanxy yingthaihmikhwamepnsdswnkhxngsphaphuaethnsungmakkhun aelacanwnkhxngkhaaennsuynxylngethann odyswnihyrabbkarlngkhaaennthnghlaymkcamikarkahndeknthkhaaennesiyngkhntaiw imwacaepntambthbyytikdhmay hruxepncakkarkhanwntwaeprtang khxngkareluxktng 83 eknthkhaaennesiyngkhntannpkticaihphrrkhkaremuxngthiidrbkhaaennesiyngcanwnhnungepnrxyla odyemuxthungeknthaelwcaidrbthinngcakbychiraychux ineyxrmni aelaniwsiaelnd thngsxngpraethsichrabbsdswnphsm mieknthkhntathirxyla 5 khxngkhaaennrwmthngpraeths aeteknthnncaimbngkhbichinphrrkhkaremuxngthichnakareluxktngaebbaebngekhtcanwnhnungaelw samthinngineyxrmni aelathinngediywinniwsiaelnd turkinnkahndeknthkhntathirxyla 10 enethxraelndrxyla 0 67xisraexlidephimeknthkhntacakrxyla 1 kxnkh s 1992 epnrxyla 1 5 cnthungpikh s 2004 aelatxmarxyla 2 inpikh s 2006 aelarxyla 3 25 inpikh s 2014 inrabbkarlngkhaaennaebbthayoxnkhaaennesiyng STV nn hakphrrkhkaremuxngidkhaaennesiyngthungeknthokhwta khux khaaennesiyng canwnthinng 1 khxngkhaaennesiynginladbaerkkcaidrbeluxk xyangirktam phusmkhrraysakhyyxdniymkhxngaetlaekhteluxktngsungxaccaepntweluxkthidiinladbthisxnghruxsamepntn xaccaidrbeluxkipdwykhaaennephiyngkhrungediywcakokhwtakhxngladbaerk dngnn inekhteluxktngthimiphuaethnhkkhn camieknthkhaaennesiyngkhntaerimthirxyla 7 14 sahrbladbaerk khanwnody 100 6 1 2 sungkareluxkphusmkhrinladbthisxngnnthuxepnkarsnbsnunrabbchnthamtiiddi khnadkhxngphrrkhinekhteluxktng khnadkhxngphrrkhinekhteluxktng party magnitude khuxcanwnphuaethnthisngkdphrrkhkaremuxngediywkninekhteluxktnghnung odyemuxidthikhnadkhxngphrrkhinekhtnn mikhnadihykhuncathaihphuaethnmikhwamsmdulmakkhunsungehmaathicasngphusmkhrthiepnstriaelaklumchatiphnthuekhalngaekhngkhn aetinrabbthayoxnkhaaennesiyngnnhaksngphusmkhrcanwnmakekinipcathaihekidphlesiyaethn odycaekidpyhaesiyngaetkinkhaaennladbaerkaelacaepnehtuihphusmkhrtkrxbipkxnthicaidrboxnkhaaenncakphusmkhrcakphrrkhkaremuxngxun twxyangekidkhuninkareluxktngthxngthinskxtaelnd kh s 2007 thiphrrkhaerngnganidsngphusmkhrthungsamkhnodychnaephiyngaekhkhnediywinkhnathikhwrcachnaidthungsxngkhnephraapyhakaraeyngkhaaennesiyngknexng krniediywknekidkhunin sungepnphlihphrrkh Fianna Fail lmslaylnginewlatxma khwamimsmdulinrabbprathanathibdi inrabbprathanathibdi kareluxkprathanathibdinnmithimacakkareluxktngthiepnxisraimkhunkbrthspha dngnncungmikhwamepnipidthicamirthbalthiaebngkhwodythirthsphaaelaprathanathibdimikhwamehntrngknkhamaelamikhwamphyayamthicakhanxanacsungknaelakn xyangirkdiinrabbsdswnnnmiphlditxrthbalthimacakhlayphrrkhelkrwmknsungcaepncatxngmikarrxmchxmaelakarecrcatxrxng cungthaihkarrwmphrrkhkaremuxngnncamikhwamyaklabakinkarrwmtwepnpukaephnephuxkhanxanackbprathanathibdisungcaepnehtuihxanacthngsxngfaynnimsmdul odyprathanathibdicaichxanacidmakkwaineruxngkaremuxngbangpraednid pyhanicaimekidkhuninkrnikhxngrabbrthsphathiminaykrthmntrimacakkareluxktngthangxxmphanklikrthspha dngnnthaihkrnikhxngrthbalaebngkhwnnaethbepnipimidely thungaemwamummxngthangkaremuxngsamarthslbsbepliynidxyutlxd aelaxacthaihnaykrthmntriimidrbkariwwangiccakrthsphaodycathukepliyntwidodykarlngmtiimiwwangicodyinkrninicungthaihepnipimidelythicaekidrthbalaebngkhwidinrabbrthspha xun pccyxun thixacmiphltxkhwamepnsdswnkhxngrabbsdswn idaek khnadkhxngspha kareluxkichrahwangbychiraychuxaebbepidhruxpid karxxkaebbbtrlngkhaaenn aelawithikarnbkhaaennmatrwdkhwamimepnsdswnrabbkarlngkhaaennaebbsdswnaebbtangrabbsdswnaebbbychiraychux rabbsdswnaebbbychiraychuxepnrabbkarlngkhaaennthicanwnthinnginsphacaidrbkarcdsrrpnswnihkbphrrkhkaremuxngtang tamsdswnkhaaennesiyngthiidrb aelacungkhxyeluxkphuaethncakladbinbychiraychuxkhxngphrrkhkaremuxngnn rabbniichkninhlaypraeths rwmthung finaelnd bychiepid ltewiy bychiepid swiedn bychiepid xisraexl bychipid brasil bychiepid enpal bychipid eriminpikh s 2008 enethxraelnd bychiepid rsesiy bychipid aexfrikait bychipid aelayuekhrn bychiepid sahrbkareluxktngsphayuorp praethssmachikswnihyichrabbbychiepid aetpraethskhnadihyinshphaphyuorplwnichrabbbychipid ephuxihkhaaennesiyngkhangmakinsphannaebngtamnn swnbychithxngthinnnekhyichinkareluxktngwuthisphaxitaliinchwngplaystwrrsthi 20 praephthkhxngbychiraychuxaebngiddngni rabbbychipid sungbychiraychuxmiraychuxphusmkhrthieluxktamkhntxnkhxngphrrkhkaremuxng sungepnphukahndladbphusmkhrinbychiraychuxexngsunghmaythungkhwamepnipidmaknxythicaidrbeluxktngkhxngphusmkhraetlaray odyraychuxxndbaerkcaidthinngphrrkhthinngaerkip inkarlngkhaaennnnphulngkhaaenncaeluxkthngbychiraychuxely aelaimsamarthprbepliynladbkareluxkepnraybukhkhltamkhwamchxbswnbukhkhlid odyphrrkhkaremuxngcaidrbcdsrrpnswnthinngtamsdswnkhaaennesiyngthiidrb rabbbychiepid sungphulngkhaaennsamartheluxklngkhaaennidtngaethnungkhn hruxsxngkhn hruxaemaetlngladbkhwamchxbinraychuxthipraktinbtrlngkhaaennid odykhunxyukbkdhmayeluxktnginpraethsnn sungkarlngkhaaenncaepntwkahndladbinbychiraychuxkxnhlngodyeriyngcakkhaaennkhxngphusmkhraetlarayinbychiraychux rabbbychithxngthin epnrabbthiphrrkhkaremuxngaebngbychiraychuxaetktangkntamaetlaekhteluxktng odywithiniphulngkhaaenncasamartheluxktwphuaethnthichxbidkhlaykbinrabbaebngekhtkhaaennsungsud rabbbychiraychuxsxngchn echninednmark swiedn aelanxrewy inednmarknnmikaraebngekhteluxktngthnghmd 10 ekht odyaetlaekhtmiphuaethnmakkwahnungkhn odyaebngekhteluxktnginsamphumiphakhephuxeluxkphuaethn 135 khn nxkcakniyngmiphuaethnxik 40 khnmacakkarchdechythinng phulngkhaaenncamiephiyngkhaaennediywsungcaicheluxktwphusmkhrinekhteluxktng hruxicheluxkbychiraychuxkhxngphrrkhkaremuxnginekhteluxktngnn odyinkarnbkhaaennphuchnainekhteluxktng phusmkhraetlaraycaidrbkarcdsrrthinngcakkhaaennesiyngrwmkhxngphrrkhrwmkbkhaaennesiyngkhxngphusmkhraetlakhn odycamithinngchdechyihinaetlaekhteluxktngephuxprbsdswnihphxdirahwangphumiphakhkbkhaaennesiyngrwminradbpraeths inkareluxktngthwipinednmark kh s 2007 nnkhnadeluxktngsungemuxrwmkbthinngchdechyaelwmikhnadrahwang 14 thung 28 khntxekht odyphunthankarlngkhaaennkhxngednmarkimidepliynaeplngelytngaetsmyerimichinpikh s 1920aebbthayoxnkhaaennesiyng rabblngkhaaennaebbthayoxnkhaaennesiyng xngkvs single transferable vote yx STV hruxeriykxikxyangwa karlngkhaaenntamladbkhwamchxb xngkvs ranked choice voting epnrabbkarlngkhaaennthiphulngkhaaennxxkesiyngeluxkphusmkhrtamladbkhwamchxb inekhteluxktnghnungmkmiphuaethntngaetsamthungecdkhn odykarnbkhaaennnnekidkhunepnrxb odyeluxkaelakacdphusmkhraetlakhninaetlarxb aelaoxnkhaaennesiyngipihphusmkhrkhnxuntamladbcnkwacaidphuchnakhrbcanwnthinnginekhtnn phusmkhraetlarayinrxb hnungthiidrbkhaaennesiyngthungcanwnokhwtasungepncanwnkhaaennkhntaephuxchnakareluxktng khaaennesiyngswnthiekincakokhwtacathukthayoxnipihphusmkhrrayxuntamladbthiphulngkhaaennrabuiw hakinrxbthdipimmiphusmkhrrayidrwmkhaaennthungokhwta phusmkhrthiidkhaaennsungsudcathukkacd odykhaaennthnghmdkhxngphusmkhrraythitkrxbnncathukthayoxnipihphusmkhrrayxuntamthirabuiwinbtreluxktng aelaerimnbihmrxbthdip karkhanwnkhaaennsahrbkarthayoxnkhaaennnnmihlaywithi bangwithiichkarkhanwnxyangngay bangwithiichkarthayoxnkhaaennswnekin hruxthayoxnaekhepnessswnhnungkhxngkhaaennesiyng nakhaaennswnekinhardwykhaaennrwmkhxngphusmkhr sungmikhwamcaepntxngichkhxmphiwetxrinkarchwynbkhaaenn inaetlawithixaccaimidphllphththiehmuxnkninkarnbkhaaennihminaetlarxb aelayngmiwithithiaetktangkninkarcdkarkhaaennesiyngkhxngphusmkhrthichnaipaelwhruxtkrxbipaelwsungktxngkarkhxmphiwetxrechnkn withikarlngkhaaennaebbthayoxnkhaaennesiyngthaihekidphulngkhaaennepnklum inaetlaekhteluxktngsungsathxnihehnthungkhwamhlakhlaythangkaremuxnginekhttamkhwamhlakhlaykhxngphuaethn odyswnihykwarxyla 90 khxngphulngkhaaennidphuaethnthimacaktweluxkxndbhnung odyphulngkhaaennesiyngaetlakhnsamarthxxkesiyngeluxkidtamkhwamchxbkhxngtnaelaphllphththiidkmikhwamepnsdswn cungthaihinrabbniphrrkhkaremuxngklayepnsingthiimcaepn inaenwkhidkhxngrabbsdswnxnumanwaphrrkhkaremuxngnnyxmekidmaidcakkarkhwamphungphxickhxngphulngkhaaenn aelacungepnphuihxanacaekphrrkhkaremuxng rabbthayoxnkhaaennesiyngepniptameknthrabbeluxktngaebbsdswninkhwamrwmmuxxyangekhmaekhng proportionality for solid coalitions odykarmikhwamrwmmuxxyangekhmaekhngodyklumphusmkhrnnhmaythungklumkhxngphulngkhaaennthiepnphucdladbphusmkhrehlaniehnuxehtuphlxunid cungthuxepnrabbkarmiphuaethnaebbepnsdswnxyangaethcring aetxyangirktamkhnadkhxngekhteluxktngthikhxnkhangelkidthukwicarnwathaihldkhwamepnsdswnlng odyechphaaemuxmiphrrkhkaremuxngcanwnmakkwathinngthimi 50 cungthaihrabbthayoxnkhaaennesiyngnibangkhrngthuktitrawaepn rabbesmuxnsdswn 83 odykhaklawnixaccaepncringinekhtthixyuhangiklaetphllphthodyrwmcaepnsdswn inixraelndsungmiekhteluxktngkhnadelkcanwnmakidphllphththimikhwamepnsdswnmak 73 inpikh s 1997 khaechliykhxngkhnadekhteluxktngxyuthi 4 0 inkhnathimiphrrkhkaremuxngthnghmdaepdphrrkhthiidthinng odymisiphrrkhmiphuchnainladbaerkidkhaaennrwmradbchatinxykwarxyla 3 nxkcakniyngphbphusmkhrxisrahkkhnthiidrbeluxktng rabbthayoxnkhaaennesiyngniidrbkhachmwaepnrabbthiepnsdswnmakthisud 83 aelayngchwyklnkrxngphusmkhrsaysudotngxxkipcakrabbenuxngcakinkarlngkhaaennnnphusmkhraetlaraycatxngaeyngknxyuinladbtn tamkhwamchxbkhxngphulngkhaaennodycatxngminoybaythiphxnprn aelanoybaythiekhathungklumphulngkhaaennthukklumidodyngay rabbphsmaebbmikarchdechy rabbkarlngkhaaennaebbphsm xngkvs mixed electoral system epnrabbkarlngkhaaennthirwmexawithikarlngkhaaennaebbkhaaennna esiyngkhangmakkbkarkhanwnaebbsdswn aelayngichrabbkarchdechythinngephuxprbihepnsdswnthisud xnepnphlcakrabbkhaaennna esiyngkhangmak rabbkarlngkhaaennaebbphsmthiichknmakthisudkhux rabbeluxktngaebbsdswnthimismachikaebbphsm xngkvs mixed member proportional representation yx MMP hrux rabbsdswnphsm sungprakxbdwykarlngkhaaennaebbaebngekhtaebbmiphuaethnekhtlakhnodyphanrabbaebngekhtkhaaennsungsud FPTP odymirabbkarchdechythinngcakbychiraychuxinradbchatihruxphumiphakh twxyangechn smmtiwaphrrkhkaremuxngchna 10 thinngcakrabbkhaaennna aetcaepntxngmithnghmdthung 15 thinngephuxcaihethakbsdswnkhaaennesiyngrwminradbchati thinngphungmi inkrninihakichrabbkarlngkhaaennaebbsdswnphsmthimikarchdechyetmrupaebbnncamikarephimthinngchdechyihaekphrrkhkaremuxngcanwn 5 thinngephuxihphrrkhkaremuxngidthinngrwmepn 15 thinngtamcanwnrxylakhxngkhaaennesiyngthiidrbcring inrabbsdswnphsmnnsamarththaihidphllphththimikhwamepnsdswnidtngaetpanklangcnthungsungodykhunxyukbtwaeprtang thiichinkareluxktng xathiechn sdswnkhxngthinngthimacakrabbaebngekhtkhaaennsungsudtxthinngaebbbychiraychux karichrabbchdechythinngephimphanthinngswnkhyay aelaeknthkhaaennesiyngkhnta epntn rabbkarlngkhaaennnikhidkhunephuxichkbsphabunedisthakhkhxngeyxrmniinchwnghlngsngkhramolkkhrngthisxng aelatxmaidrbipichinxikhlaypraeths echn elosoth obliewiy aelainpraethsithy tamrththrrmnuy ph s 2560 epntn inshrachxanackrmikarichrabbniinkareluxktngsphanitibyytikhxngewlsaelaskxtaelnd odyeriykxikchuxwa rabbsmachikephimetim xngkvs additional member system inrabbni odypktiphulngkhaaenncamisxngkhaaennesiyng odyhnungkhaaennsahrbeluxkphuaethnaebbaebngekht aelaxikhnungsahrbbychiraychuxphrrkh khaaennesiyngbychiraychuxnnpkticaepntwkahndcanwnthinnginspha odyhlngcakthiidtwphuchnainaebbaebngekhtthnghmdaelw phusmkhrinbychiraychuxcaidrbeluxkephuxepnkaretimcanwnthinngkhxngaetlaphrrkhephuxihkhrbkbcanwnphuaethnthiphungmicakkarkhanwnkhaaennesiyngthnghmdkhxngphrrkh kxnkarcdsrrpnswnthinnginbychiraychuxnn khaaennthnghmdkhxngbychiraychuxthiimthungeknthkhaaennkhntacaimthuknamakhid hakphrrkhkaremuxngtang thithukkacdcakeknthkhaaennkhntacaimidthinngaelacungthaihcanwnthinngkhxngphrrkhkaremuxngthiphaneknthidthinngcanwnmakkhunipdwy nxkcakniphuchnakareluxktngnamxisra imsngkdphrrkhkaremuxng caimthuknaipkhanwninkarcdsrrpnswnkhxngbychiraychuxthnghmd khwamepnsdswnkhxngrabbsdswnphsmxacmipyhaidhakxtraswnthinnginaebbbychiraychuxtxaebbaebngekhtnntaekinip sungxacthaihcanwnthinngchdechyimphxkbphlkareluxktngcakaebbaebngekhtaelasngphlihimepnsdswnkhunid xiktwaeprhnungkhuxkarcdkareruxngthinngswnkhyay overhang seats sungekidkhuninkrnithiphrrkhkaremuxngchnaeluxktngaebbaebngekhtmakkwacanwnkhaaennesiyngrwmkhxngphrrkhinaebbbychiraychux sungkwacanwnphuaethnphungmi odyephuxthicathaihepnsdswnnn phrrkhkaremuxngxun caepncatxngidrbthinngephim sungcakhyaykhnadkhxngsphaepncanwnsxngethakhxngcanwnthinngswnkhyay aetrabbkarephimthinngodykhyaykhnadsphaepnkarchwkhrawnnimidthukrbipichinthukpraeths echninpraethseyxrmni thiephingerimichkarkhyaykhnadsphaodychwkhrawdwykarephimcanwnthinng swninewls skxtaelnd aelaelosothimphbkarkhyaykhnadkhxngsphaely aelainkh s 2012 khnakrrmathikarrthsphakhxngniwsiaelndidesnxihmikarykelikkarchdechythinngswnkhyay aeladngnncungprbkhnadkhxngsphaipodypriyay inkhnaediywknkcaykelikeknthkhntathiphrrkhkaremuxngcatxngchnakareluxktngaebbaebngekhtxyangnxyhnungekhtcungcaidthinnginbychiraychux sungcaepnehtuhlkthithaihekidthinngswnkhyayaelathaihsphamikhnadihykhun aelayngesnxihmikarprbldeknthkhaaennesiyngkhntacakrxyla 5 epnrxyla 4 sungcathaihidsdswnmakkhun rabbkarlngkhaaennaebbphsmxikrabbhnungkhux rabbsdswnsmachikkhu xngkvs dual member proportional representation yx DMP sungepnrabbkarlngkhaaennaebbesiyngediyweluxkphuaethnphrxmknekhtlasxngkhn odythinngaerkkhxngaetlaekhtcaihphusmkhrraythichnakhaaennna khlaykbkarlngkhaaenninrabbaebngekhtkhaaennsungsud thinngthiehluxcacdsrrihodykarchdechyephuxihidphlrwminradbphumiphakhmikhwamepnsdswn rabbsdswnsmachikkhuichsutrkhanwnkhlaykbrabbsdswnphsmaebbhnungthiichha phuekuxbchnathidithisud best near winner sungichinrthbaedin ewuxrthethimaebrkhkhxngeyxrmni odymikarchdechythinngihaekphusmkhrthiidesiyngsnbsnuncanwnmakinradbekhtodyepriybethiybkbphusmkhrrayxuncakphrrkhkaremuxngediywkn khwamaetktangkhxngrabbsdswnkhu khuxaetlaekhteluxktngcamiphuaethnxyangmakhnungkhnidrbkarchdechythinng hakinekhteluxktngmiphusmkhrhlayrayaekhngkhnknaeyngthinngchdechyni phusmkhrraythiidkhaaennsungsudcaidrbeluxkaelathaihrayxuntkrxb rabbsdswnkhumikhwamkhlaykhlungkbrabbthayoxnkhaaennesiyngtrngthiphuaethnthnghmdrwmthungpraephththimacakkarchdechythinngnncamacakaebbaebngekhteluxktngthnghmd rabbnithukkhidkhnkhuninpikh s 2013 sahrbrthaexlebxrtainaekhnada aelayngidrbkhwamsniccakrthphrinsexdewirdixaelndinkarlngprachamtiemuxpikh s 2016 ephuxharabbkarlngkhaaennmaaethnthirabbaebngekhtkhaaennsungsud aetthuktitkipinrxbthisam xikthngrabbniyngekhyxyuinrabbsdswnthngsamrabbthithukesnxchuxinkarlngprachamtipikh s 2018 sahrbrthbritichokhlmebiy karaebngsrrpnswnaebbsdswnkhu rabbsdswnxunpraethsthiichkareluxktngrabbsdswnpraethsthiichkareluxktngrabbsdswn aebbbychiraychux aebbesiyngkhangmakphsm aebbsdswnphsm aebbthayoxnkhaaennesiyng tarangdanlangepnraychuxpraethsthiichrabbkarlngkhaaennaebbsdswninkareluxkphuaethninxngkhkrradbpraeths raylaexiydkhxmulinrabbkarlngkhaaennthiichsahrbsphalangrwbrwmcak ACE Electoral Knowledge Network duephimidin praeths chnidbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 4 inradbchati aela 2 5 inradbekhtbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxsahrbsphaphuaethnrasdrbychiraychuxaebbsxngchn odybychipidinradbpraeths aelabychiepidinekhteluxktngthng 13 ekht haktxngkarmiesiyngkhangmakeddkhadodymithinngxyangnxyrxyla 54 khxngthnghmd phrrkhkaremuxngthiidkhaaennesiyngdithisudsxngxndbaerkcatxngaekhngkhnknephuxaeyngthinngobns odymieknthkhaaennesiyngkhntathirxyla 5 sahrbphrrkhkaremuxng aelarxyla 7 sahrbchudkhaaennthnghmdbychiraychuxaebbthayoxnkhaaennesiyngichechphaakareluxktngsmachikwuthisphaethannbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 4 thresholdebleyiym bychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 bychiraychuxaebbsdswnphsmaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 3 bychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 4 bychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 2 kmphucha bychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 bychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 bychiraychuxsxngchnaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 2 bychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 aetlapraethssmachikcatxngeluxkrahwangaebbthayoxnkhaaennesiyng hruxaebbsdswnbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 bychiraychuxeyxrmni aebbsdswnphsmaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 hruxmiphuchnaaebbaebngekhtxyangnxy 3 khn bychiraychuxaebbsxngchn ichbychipidinradbpraeths aelabychiepidinaebbaebngekhteluxktngaebbphuaethnhlaykhn phrrkhthichnakareluxktngcaidthinngobnscanwn 50 thinng cakthnghmd 300 thinng aetrabbthukykelikhlngcakkareluxktngsxngkhrngcakpikh s 2016 aelainpikh s 2020 rthsphaidrbrxngihepliynmaichrabbesiyngkhangmakaebbephimthinnginkareluxktnginxiksxngsmythdip odymieknthkhaaennkhntathirxyla 3bychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 4 aebbthayoxnkhaaennesiyngbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 3 25 phsm aelaeknthkhaaennesiyngkhnta 3 bychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 7 bychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 bychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 bychiraychuxaebbsdswnphsmliketnsitn bychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 8 bychiraychuxbychiraychuxaebbthayoxnkhaaennesiyngbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 6 bychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 3 bychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaebbsdswnphsmaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 hruxtxngmiphuchnaaebbaebngekhtxyangnxy 1 thinng bychiraychuxphsmaebbthayoxnkhaaennesiyngbychiraychuxsxngchnaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 4 khxngradbchatibychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 hruxmakkwasahrbphrrkhkaremuxngediyw 8 hruxmakkwasahrbphrrkhrwmphnthmitr hrux 0 hruxmakkwasahrbphrrkhelknxybychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxbychiraychux haktxngkaresiyngkhangmakeddkhadinspha phrrkhkaremuxngsxngxndbaerkcatxngaekhngkhninrxbchikhadephuxaeyngthinngobns odymieknthkhaaennesiyngkhntathi 3 5 bychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 hruxnxykwabychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 bychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 4 bychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 3 inekhteluxktngkhnadelkbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxsxngchnaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 4 inradbchati aela 12 inradbekhtbychiraychuxphsm bychiraychuxcanwn 34 thinng cakthnghmd 113 thinng ithy aebbsdswnphsm odymi 350 thinngcakaebbaebngekht aelabychiraychux 150 thinngbychiraychuxbychiraychuxbychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 10 yipun bychiraychuxaelaeknthkhaaennesiyngkhnta 2 yuekhrn aebbsdswnphsm aelaeknthkhaaennesiyngkhnta 5 aelabychiraychuxaebbepidbychiraychuxduephimokhwtaaehr withiaesngt lakuwxangxingemuxngrtn vthychnk kareluxktng withiaehngprachathipity PDF sankphasatangpraeths sanknganelkhathikarsphaphuaethnrasdr subkhnemux 6 June 2021 Amy Douglas J How Proportional Representation Elections Work subkhnemux 26 October 2017 Electoral System Design the New International IDEA Handbook 2005 subkhnemux 9 April 2014 Additional Member System London subkhnemux 16 October 2015 ACE Project The Electoral Knowledge Network Electoral Systems Comparative Data Table by Question subkhnemux 20 November 2014 Gallagher Michael PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2017 10 20 subkhnemux 26 October 2014 Hirczy de Mino Wolfgang University of Houston Lane John State University of New York at Buffalo 1999 Malta STV in a two party system PDF subkhnemux 24 July 2014 Amy Douglas J A Brief History of Proportional Representation in the United States subkhnemux 16 October 2015 Laakso Markku 1980 Electoral Justice as a Criterion for Different Systems of Proportional Representation Scandinavian Political Studies Wiley 3 3 249 264 doi 10 1111 j 1467 9477 1980 tb00248 x ISSN 0080 6757 Koriyama Y Mace A Laslier J F Treibich R 2013 Optimal apportionment Journal of Political Economy 121 3 584 608 doi 10 1086 670380 S2CID 10158811 Amy Douglas Fairvote org Takoma Park khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2021 06 14 subkhnemux 25 August 2017 Norris Pippa 1997 PDF Harvard University khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2013 01 20 subkhnemux 9 April 2014 Colin Rallings Michael Thrasher PDF Electoral Commission Research Electoral data London khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 20 October 2017 subkhnemux 29 March 2015 Commission On Electoral Reform Hansard Society for Parliamentary Government 1976 Report of the Hansard Society Commission on Electoral Reform London University of British Columbia khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 08 30 subkhnemux 25 January 2016 Election 2015 BBC News BBC subkhnemux 11 May 2015 Ana Nicolaci da Costa Charlotte Greenfield September 23 2017 New Zealand s ruling party ahead after poll but kingmaker in no rush to decide Reuters Roberts Iain 29 June 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2021 03 06 subkhnemux 29 July 2014 A look at the evidence Fair Vote Canada subkhnemux 2 January 2019 Amy Douglas J khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2021 06 14 subkhnemux 9 April 2014 Electoral Reform Society s evidence to the Joint Committee on the Draft Bill for House of Lords Reform 21 October 2011 subkhnemux 10 May 2015 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux forder Harris Paul 20 November 2011 America is better than this paralysis at the top leaves voters desperate for change The Guardian subkhnemux 17 November 2014 Krugman Paul 19 May 2012 Going To Extreme The Conscience of a Liberal Paul Krugman Blog subkhnemux 24 Nov 2014 Mollison Denis Fair votes in practice STV for Westminster PDF subkhnemux 3 June 2014 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 09 28 subkhnemux 7 July 2014 Cox Gary W Fiva Jon H Smith Daniel M 2016 The Contraction Effect How Proportional Representation Affects Mobilization and Turnout PDF 78 4 1249 1263 doi 10 1086 686804 11250 2429132 S2CID 55400647 Amy Douglas J 2002 Real Choices New Voices How Proportional Representation Elections Could Revitalize American Democracy ISBN 9780231125499 Mollison Denis 2010 Fair votes in practice STV for Westminster subkhnemux 3 June 2014 Scheppele Kim Lane April 13 2014 Legal But Not Fair Hungary The Conscience of a Liberal Paul Krugman Blog subkhnemux 12 July 2014 11 July 2014 Hungary Parliamentary Elections 6 April 2014 Final Report OSCE Voting Counts Electoral Reform for Canada PDF Law Commission of Canada 2004 p 22 Single Transferable Vote London subkhnemux 28 July 2014 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux humphreys Dutch Evenredige vertegenwoordiging www parlement com phasadtch subkhnemux 2020 01 28 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkha url help Carey John M Hix Simon 2011 The Electoral Sweet Spot Low Magnitude Proportional Electoral Systems PDF 55 2 383 397 doi 10 1111 j 1540 5907 2010 00495 x Electoral reform in Chile Tie breaker The Economist 14 February 2015 subkhnemux 11 April 2018 Laver Michael 1998 A new electoral system for Ireland PDF The Policy Institute PDF Dublin Houses of the July 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2018 05 09 subkhnemux 2022 05 22 PDF Monopoly Politics 2014 and the Fair Voting Solution khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2015 09 24 subkhnemux 9 July 2014 Lubell Maayan March 11 2014 Thomson Reuters khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 09 24 subkhnemux 10 July 2014 Party Magnitude and Candidate Selection O Kelly Michael The fall of Fianna Fail in the 2011 Irish general election khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2014 08 06 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint bot original URL status unknown lingk As counted from the table in http www wahlrecht de ausland europa htm in German Vorzugsstimme n means open list Party List PR Electoral Reform Society subkhnemux 23 May 2016 Gordon Gibson 2003 Fixing Canadian Democracy The Fraser Institute p 76 ISBN 9780889752016 Gallagher Michael Mitchell Paul 2005 The Politics of Electoral Systems Oxford New York Oxford University Press p 11 ISBN 978 0 19 925756 0 Copenhagen Ministry of the Interior and Health 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 11 23 subkhnemux 1 Sep 2014 The main features of the Norwegian electoral system Oslo Ministry of Local Government and Modernisation 2017 07 06 subkhnemux 1 Sep 2014 Stockholm Election Authority 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 18 August 2014 subkhnemux 1 Sep 2014 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 12 08 subkhnemux 9 April 2014 1995 The Single Transferable Vote Journal of Economic Perspectives 9 1 27 38 doi 10 1257 jep 9 1 27 O Neill Jeffrey C July 2006 Comments on the STV Rules Proposed by British Columbia Voting Matters 22 subkhnemux 10 August 2013 David M Farrell Ian McAllister 2006 The Australian Electoral System Origins Variations and Consequences Sydney ISBN 978 0868408583 Referendum 2011 A look at the STV system Auckland The New Zealand Herald 1 Nov 2011 subkhnemux 21 Nov 2014 Change the Way We Elect Round Two of the Debate The Tyee Vancouver 30 Apr 2009 subkhnemux 21 Nov 2014 ACE Project Electoral Knowledge Network Mixed Systems subkhnemux 29 June 2016 Massicotte Louis 2004 PDF Report khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2019 12 24 subkhnemux 2021 06 29 Bochsler Daniel May 13 2010 Chapter 5 How Party Systems Develop in Mixed Electoral Systems Territory and Electoral Rules in Post Communist Democracies Palgrave Macmillan ISBN 9780230281424 Electoral Systems and the Delimitation of Constituencies 2 Jul 2009 Moser Robert G December 2004 Mixed electoral systems and electoral system effects controlled comparison and cross national analysis Electoral Studies 23 4 575 599 doi 10 1016 S0261 3794 03 00056 8 Massicotte Louis September 1999 Mixed electoral systems a conceptual and empirical survey Electoral Studies 18 3 341 366 doi 10 1016 S0261 3794 98 00063 8 Deutschland hat ein neues Wahlrecht phasaeyxrmn 22 February 2013 Wellington 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 7 July 2014 subkhnemux 10 Aug 2014 Antony Hodgson Jan 21 2016 Why a referendum on electoral reform would be undemocratic Kerry Campbell April 15 2016 P E I electoral reform committee proposes ranked ballot Eby David May 30 2018 PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux August 31 2018 subkhnemux June 9 2018 McElroy Justin June 2 2018 Know your voting systems three types of electoral reform on B C s ballot 2018 Referendum on Electoral Reform Voting Results Available subkhnemux November 1 2020 ACE Project The Electoral Knowledge Network Electoral Systems Comparative Data World Map subkhnemux 24 October 2017 ACE Project The Electoral Knowledge Network Electoral Systems Comparative Data Table by Country subkhnemux 24 October 2017 Republic of Armenia Parliamentary Elections 2 April 2017 OSCE Greek MPs approve end to bonus seats lower voting age Reuters phasaxngkvs 2016 07 21 subkhnemux 2019 06 22 Parliament votes to change election law Kathimerini www ekathimerini com phasaxngkvs subkhnemux 2020 01 25 xanephimetimhnngsux Abbott Lewis F British Democracy Its Restoration and Extension ISR Kindle Books 2019 ISBN 9780906321522 Chapter 7 Electoral System Reform Increasing Competition and Voter Choice and Influence Ashworth H P C Ashworth T R 1900 Proportional Representation Applied to Party Government Melbourne Robertson and Co Amy Douglas J 1993 Real Choices New Voices The Case for Proportional Representation Elections in the United States Columbia University Press Batto Nathan F Huang Chi Tan Alexander C Cox Gary 2016 Mixed Member Electoral Systems in Constitutional Context Taiwan Japan and Beyond Ann Arbor University of Michigan Press Pilon Dennis 2007 The Politics of Voting Edmond Montgomery Publications 2003 Political Institutions Oxford University Press Colomer Josep M b k 2004 Handbook of Electoral System Choice Palgrave Macmillan Pukelsheim Friedrich 2014 Proportional Representation Springer Linton Martin Southcott Mary 1998 Making Votes Count The Case for Electoral Reform London Profile Books Forder James 2011 The case against voting reform Oxford ISBN 978 1 85168 825 8 Jenifer Hart Proportional Representation Critics of the British Electoral System 1820 1945 Clarendon Press 1992 F D Parsons Thomas Hare and Political Representation in Victorian Britain Palgrave Macmillan 2009 Sawer Marian amp Miskin Sarah 1999 Papers on Parliament No 34 Representation and Institutional Change 50 Years of Proportional Representation in the Senate PDF Department of the Senate ISBN 0 642 71061 9 bthkhwam Hickman John Little Chris November 2000 Seat vote proportionality in Romanian and Spanish parliamentary elections Journal of Southern Europe and the Balkans Online 2 2 197 212 doi 10 1080 713683348 S2CID 153800069 Galasso Vincenzo Nannicini Tommaso December 2015 So closed political selection in proportional systems 40 B 260 273 doi 10 1016 j ejpoleco 2015 04 008 S2CID 55902803 Golder Sona N Stephenson Laura B Van der Straeten Karine Blais Andre Bol Damien Harfst Philipp Laslier Jean Francois March 2017 Votes for women electoral systems and support for female candidates 13 1 107 131 doi 10 1017 S1743923X16000684 aehlngkhxmulxunProportional Representation Library 2010 03 09 thi ewyaebkaemchchin Handbook of Electoral System Choice 2010 04 28 thi ewyaebkaemchchin Quantifying Representativity Article by Philip Kestelman The De Borda Institute A Northern Ireland based organisation promoting inclusive voting procedures Election Districts Voting improves PR with overlapping districts elections for first past the post alternative vote and single transferable vote voters founded in England in 1884 the longest running PR organization Contains good information about single transferable vote the Society s preferred form of PR Electoral Reform Australia Proportional Representation Society of Australia Fair Vote Canada FairVote USA Why Not Proportional Representation Vote Dilution means Voters have Less Voice Law is Cool site Proportional Representation and British Democracy Debate on British electoral system reform RangeVoting org page on PR Australia s Upper Houses ABC Rear Vision A podcast about the development of Australia s upper houses into STV proportional representation elected chambers