บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
โรคจอตามีสารสี หรือ โรคอาร์พี (อังกฤษ: Retinitis pigmentosa ตัวย่อ RP) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมทางตาที่ทำให้เสียสายตา อาการรวมทั้งตาฟางกลางคืน (nyctalopia) และการเสียการเห็นรอบนอก (peripheral vision) คือเห็นข้าง ๆ หรือรอบ ๆ ได้น้อยลง อาการปกติจะค่อย ๆ ปรากฏ เมื่อเห็นรอบนอกได้แย่ลง บางคนอาจลานสายตาแคบลงเหมือนมองผ่านอุโมงค์ (tunnel vision) แต่ตาบอดสนิทจะไม่สามัญ
โรคจอตามีสารสี (Retinitis pigmentosa) | |
---|---|
ด้านหลัง/ก้นตา (Fundus) ของคนไข้โรคอาร์พีระยะกลาง (mid stage) ให้สังเกตสารสี/รอยเปรอะสีดำ (bony spicule) ที่ส่วนรอบ ๆ ตรงกลางที่เกิดกับการเสื่อมของจอตา (retinal atrophy) แม้จุดภาพชัด (macula) จะคงสภาพอยู่แต่ส่วนรอบ ๆ ก็ซีดไป เส้นเลือดในจอตาก็ลีบลงด้วย | |
สาขาวิชา | จักษุวิทยา |
อาการ | เห็นไม่ดีต่อกลางคืน เห็นรอบนอก (peripheral vision) ได้แย่ลง |
การตั้งต้น | ตั้งแต่เด็ก |
สาเหตุ | กรรมพันธุ์ |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจตา |
การรักษา | อุปกรณ์ช่วยคนที่เห็นได้น้อย ไฟส่องที่พกพาได้ สุนัขนำทาง |
ยา | Vitamin A palmitate |
ความชุก | 1 คนใน 4,000 คน |
โรคปกติจะสืบทอดมาจากพ่อแม่ โดยมีการกลายพันธุ์ของยีนหนึ่ง ๆ ในบรรดา 50 ยีนที่ได้ระบุแล้วเป็นอย่างน้อย วิถีการดำเนินของโรครวมการค่อย ๆ เสียเซลล์รับแสงรูปแท่งที่ด้านหลังของตา แล้วปกติจะตามด้วยการเสียเซลล์รูปกรวยต่อมาการวินิจฉัยจะทำเมื่อตรวจจอตาแล้วพบสารสี/รอยเปรอะดำ วิธีการตรวจยืนยันอื่น ๆ รวมทั้ง electroretinography, การตรวจลานสายตา และการตรวจยีน
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ วิธีช่วยบรรเทาปัญหาในชีวิตรวมทั้งอุปกรณ์ช่วยการมองเห็น (เช่น แว่นขยาย) ไฟส่องที่พกพาได้ (เช่น ไฟฉาย) และสุนัขนำทาง อาหารเสริมคือ vitamin A palmitate อาจช่วยให้สายตาแย่ช้าลง ตาเทียม (visual prosthesis) อาจเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับคนที่มีโรครุนแรงมาก ประเมินว่าคน 1 คนใน 4,000 คนมีโรค โรคจะเริ่มตั้งแต่วัยเด็กแต่บางคนอาจไม่ได้รับผลกระทบจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
ผลของโรคเห็นได้ง่ายถ้าเปรียบเทียบกับทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ คือ แสงจากพิกเซลที่สร้างภาพบนจอเหมือนกับเซลล์รับแสงเป็นล้าน ๆ ตัวในจอตา ยิ่งมีพิกเซลน้อยลงเท่าไร ภาพที่เห็นก็ชัดน้อยลงเท่านั้น มีเซลล์รับแสงจำนวนน้อยกว่า 10% ที่สามารถรับภาพสี โดยเป็นแสงสว่างดังที่มีในช่วงกลางวัน เซลล์เหล่านี้อยู่ตรงกลางของจอตา เซลล์รับแสงกว่า 90% ที่เหลือสามารถรับแสงสลัวเป็นภาพขาวดำ ซึ่งใช้ในที่สลัวและในตอนกลางคืน เป็นเซลล์ซึ่งอยู่รอบ ๆ จอตา โรคทำลายเซลล์รับแสงจากนอกเข้ามาส่วนตรงกลาง หรือจากส่วนตรงกลางออกไปส่วนนอก หรือทำลายเป็นย่อม ๆ ที่ทำให้เซลล์ส่วนตรงนั้นมีประสิทธิภาพตรวจจับแสงได้น้อยลง ความเสื่อมจากโรคนี้จะลุกลามโดยยังไม่มีวิธีรักษา
อาการ
อาร์พีเป็นโรคที่เกิดอาการเพราะเสียเซลล์รับแสงอันบุอยู่ที่ด้านหลังของดวงตาและทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป โดยปกติแล้ว เซลล์รูปแท่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นเวลากลางคืน มักจะเสียหายก่อน ซึ่งอธิบายว่า ทำไมความมีตาบอดแสง (nyctalopia) จึงเป็นอาการที่ปรากฏขึ้นก่อน การเห็นเวลากลางวันซึ่งอำนวยโดยเซลล์รูปกรวยจะคงสภาพจนถึงระยะหลัง ๆ ของโรค ความเปรอะเปื้อนของ retinal pigment epithelium ด้วยสีดำ ๆ (เหมือนกระดูกและเข็ม) เป็นอาการทั่ว ๆ ไปของโรค ลักษณะที่เห็นได้ในตาอย่างอื่นคือจานประสาทตา (optic disc) ปรากฏเป็นสีเหลืองซีด และเส้นเลือดเกิดตีบแคบ
อาการเสื่อมของจอตาเบื้องต้นก็คือตาฟางกลางคืน (nyctalopia) และการเสียการเห็นที่ลานสายตารอบนอกถัดเข้ามา (mid-peripheral visual field) เซลล์รับแสงรูปแท่ง ซึ่งทำหน้าที่ในแสงสลัวและมีอยู่โดยมากที่รอบ ๆ จอตา เป็นส่วนที่ได้รับผลก่อนเพื่อนในโรคแบบที่ไม่เกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ (non-syndromic) ตาจะแย่ลงค่อนข้างเร็วโดยขยายไปถึงลานสายตารอบนอกสุด แล้วในที่สุดก็จะเข้ามาถึงส่วนตรงกลางทำให้เห็นเหมือนผ่านอุโมงค์มากขึ้น ความคมชัดและการเห็นเป็นสีอาจแย่ลงเพราะความผิดปกติของเซลล์รูปกรวย ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเห็นเป็นสี ความคมชัด และการเห็นส่วนตรงกลาง โรคอาจจะดำเนินไปอย่างเท่า ๆ กันทั้งสองข้าง คือตาซ้ายและขวาจะเกิดอาการคล้ายกัน นอกจากผลโดยตรงที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์รูปแท่งและต่อมาเซลล์รูปกรวย ก็ยังมีผลโดยอ้อมอื่น ๆ ซึ่งปรากฏเป็นอาการของโรค ปรากฏการณ์เช่น อาการกลัวแสง (photophobia) คือมองเห็นแสงธรรมดาเป็นแสงจ้ามาก และ photopsia คือมองเห็นแสงกระพริบหรือแสงวาบ (เช่นเหมือนฟ้าแลบ) ภายในลานสายตา บ่อยครั้งจะเกิดในระยะหลัง ๆ ของโรค มีอาการ 3 อย่างที่ก้นตา (fundus) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่า ophthalamic triad คือ
- ชั้น retinal pigment epithelium (RPE) ของจอตาจะปรากฏเป็นรอยเปรอะดำเพราะเกิด bony spicule
- จานประสาทตา (optic disc) ปรากฏเป็นสีเหลืองซีดคล้าย ๆ ขี้ผึ้ง
- หลอดเลือดในจอตาจะลีบลงลง
โรคที่ไม่เกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ (Nonsyndromic RP) ปกติจะมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ตาฟางกลางคืน (nyctalopia)
- ลานสายตาแคบลงเหมือนมองผ่านอุโมงค์/การไม่เห็นรอบนอก (tunnel vision)
- Latticework vision
- photopsia คือมองเห็นแสงกระพริบหรือแสงวาบ (เช่น เหมือนฟ้าแลบ) ภายในลานสายตา
- อาการกลัวแสง (photophobia) คือมองเห็นแสงธรรมดาเป็นแสงจ้ามาก
- การเกิดรอยเปรอะดำคือ bony spicule (การสะสมสารสีเป็นรูปโครงมีปลายเหมือนเข็ม) ที่ก้นตา
- การปรับตัวจากที่มืดเป็นที่สว่าง และนัยตรงกันข้ามได้ช้า
- การเห็นมัว
- แยกสีได้ไม่ดี
- การเสียการเห็นตรงกลาง
- ในที่สุดจะจัดว่าบอด
เหตุ
โรคอาจจะเป็น
- Nonsyndromic คือเกิดโดยลำพังโดยไม่พบอาการอื่น ๆ
- Syndromic คือพบกับความผิดปกติของการรับความรู้สึกทางประสาทอื่น ๆ, กับความผิดปกติทางพัฒนาการ หรือกับอาการที่ซับซ้อนอื่น ๆ
- เกิดเป็นอาการทุติยภูมิ (secondary) ของโรคทั่วร่างกายอื่น ๆ
อนึ่ง
- อาร์พีเมื่อเกิดกับหูหนวก (ไม่ว่าจะแต่กำเนิดหรือค่อย ๆ เป็น) เรียกว่า Usher syndrome
- กลุ่มอาการอัลพอร์ตที่สัมพันธ์กับอาร์พี เป็นโรคความผิดปกติที่ basement membrane ของ glomerulus ซึ่งทำให้มีอาการไตเสื่อม โรคจะสืบทอดแบบ X-linked dominant
- อาร์พีเมื่อเกิดกับอัมพาตกล้ามเนื้อตา (ophthalmoplegia), การกลืนลำบาก (dysphagia), ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) และความผิดปกติการนำไฟฟ้าที่หัวใจ จะพบในคนไข้ Kearns-Sayre syndrome หรือ Ragged Red Fiber Myopathy โดยเป็นความผิดปกติทางดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย
- อาร์พีเมื่อเกิดกับปัญญาอ่อน, โรคเส้นประสาทนอกประสาทกลาง (peripheral neuropathy), acanthotic (spiked) RBCs คือเม็ดเลือดแดงที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ยื่นออกเป็นหนาม, steatorrhea คือภาวะไขมันเกินในอุจจาระ และการขาดลิโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL) จะพบในคนไข้ abetalipoproteinemia ซึ่งเป็นภาวะขัดขวางการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันจากอาหาร
- ในทางคลินิก อาร์พีเกิดกับความผิดปกติของยีนที่มีน้อยหลายอย่าง รวมทั้งโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (muscular dystrophy) และ chronic granulomatous disease โดยเป็นส่วนของ McLeod syndrome นี่เป็นฟิโนไทป์แบบ X-linked recessive ปรากฏเป็นการขาดโปรตีน XK ที่ผิวเซลล์อย่างสิ้นเชิง และดังนั้น จึงมีการเแสดงออกของแอนติเจนแบบ Kell น้อยมากที่เม็ดเลือดแดง เมื่อต้องถ่ายเลือด คนไข้เหล่านี้จึงมีเลือดที่จัดว่าไม่เข้ากับผู้บริจาคเลือดปกติ และผู้บริจาคเลือด K0/K0 โดยสิ้นเชิง
- โรคที่สัมพันธ์กับการทำงานน้อยผิดปกติของอัณฑะหรือรังไข่ (hypogonadism) ทำให้พัฒนาการอย่างล่าช้า และสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive) จะพบในคนไข้โรค Bardet-Biedl syndrome เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมเกี่ยวกับซีเลียของเซลล์และมีผลต่อระบบต่าง ๆ หลายอย่างในร่างกาย
ภาวะอื่น ๆ ที่อาจมีอาการอาร์พีรวมทั้งซิฟิลิสระบบประสาท (neurosyphilis), โรคติดเชื้อท็อกโซพลาสมา (toxoplasmosis) และโรคติดเชื้ออะแคนตามีบา (Refsum's disease)
พันธุศาสตร์
โรคอาร์พีเป็นโรคจอตาเสื่อมอันสืบทอดทางพันธุกรรมซึ่งสามัญที่สุด และปรากฏเป็นความสูญเสียเซลล์รับแสงที่ลุกลาม และอาจจะทำให้ตาบอดได้โดยที่สุด
มียีนหลายยีนที่เมื่อกลายพันธุ์ อาจเป็นเหตุของโรค รูปแบบการสืบทอดทางพันธุกรรมของโรครวมทั้งทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant), ทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive), X-linked, สืบจากแม่ (โดยไมโทคอนเดรีย) โดยจะขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์ของยีนอาร์พีที่มีในพ่อแม่
ในปี 1989 นักวิจัยได้พบการกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซิน (rhodopsin) ซึ่งเป็นสารสี (pigment) ที่จำเป็นในการถ่ายโอนแสงที่รับทางตาให้เป็นกระแสประสาท (visual transduction cascade) เพื่อให้เห็นในที่สลัว ยีนนี้เข้ารหัสโปรตีนหลักชนิดหนึ่งที่ส่วนนอก (outer segment) ของเซลล์รับแสง การกลายพันธุ์ของยีนที่สามัญที่สุดเป็น missense mutation หรือการพับตัวผิดปกติ (misfolding) ของโปรตีนโรด็อปซิน และปกติจะสืบทอดทางพันธุกรรมในรูปแบบทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant) ตั้งแต่ได้ค้นพบยีนนี้ (มีสัญลักษณ์ RHO) ก็ได้ค้นพบการกลายพันธุ์ของยีนถึง 100 รูปแบบ ซึ่งเป็นเหตุของจอตาเสื่อม (retinal degeneration) รูปแบบต่าง ๆ ถึง 15% และเป็นเหตุของอาร์พีที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นถึง 25%
ในปี 1990 มีการค้นพบการกลายพันธุ์ Pro23His ของยีนอ็อปซิน (opsin) เบสเดียวที่ intradiscal domain ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอาร์พี และจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ได้มีการระบุการกลายพันธุ์ของยีนกว่า 150 อย่าง การกลายพันธุ์เหล่านี้พบทั่วยีนอ็อปซินโดยกระจายไปตามโดเมน 3 โดเมนของโปรตีน คือ intradiscal domain, transmembrane domain และ cytoplasmic domain เหตุทางชีวเคมีของโรคในกรณีที่ยีนโรด็อปซินกลายพันธุ์ก็คือการพับตัวผิดปกติของโปรตีน (protein misfolding) และการขัดการทำงานของ molecular chaperones ซึ่งช่วยในการพับโปรตีน
งานต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ต่อ ๆ มาพบว่า การกลายพันธุ์ที่โคดอน (codon) 23 ในยีนโรด็อปซิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโปรลีน (proline) เป็นฮิสตาดีน (histidine) เป็นการกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซินซึ่งเกิดบ่อยที่สุดในสหรัฐ งานวิจัยอื่น ๆ ได้รายงานการกลายพันธุ์ที่โคดอนอื่น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอาร์พีรวมทั้ง Thr58Arg, Pro347Leu, Pro347Ser บวกกกับการหลุดหาย (deletion) ของยีน Ile-255
ในปี 2000 การกลายพันธุ์ที่มีน้อยของโคดอน 23 ได้ระบุว่าก่อโรคโดยสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะเด่น และโปรลีนจะเปลี่ยนเป็นอะลานีน (alanine) แต่งานศึกษานี้ก็ได้แสดงว่า ความเสื่อมจอตาที่สัมพันธ์กับกลายพันธุ์นี้ค่อนข้างเบาทั้งโดยอาการและการลุกลาม อนึ่ง แอมพลิจูดที่วัดโดย electroretinography จะดีกว่าที่พบในการกลายพันธุ์ Pro23His ที่มีมากกว่า
การสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะด้อยของโรคได้ระบุแล้วในยีนอย่างน้อย 45 ยีน การสืบทอดเช่นนี้หมายความว่า พ่อแม่ที่เป็นพาหะของยีนกลายพันธุ์ที่ก่อโรคโดยมีสองอัลลีล (diallelic) อาจมีลูกที่เกิดโรค
ส่วนการกลายพันธุ์ของยีนแบบ USH2A รู้ว่าเป็นเหตุของโรคแบบเกิดกับอาการอื่น (syndromic) ที่รู้จักว่า Usher's Syndrome โดยจะสืบทอดแบบทายกรรมลักษณะด้อย
การกลายพันธุ์ของ pre-mRNA splicing factors ถึง 4 แบบรู้แล้วว่าเป็นเหตุของโรคที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่น การกลายพันธุ์รวมทั้ง PRPF3 (PRPF3 ของมนุษย์ก็คือ HPRPF3 หรือ PRP3), PRPF8, PRPF31 และ PAP1 เพราะแฟกเตอร์มีการแสดงออกอย่างแพร่หลาย จึงเสนอว่าความบกพร่องของแฟกเตอร์ที่แพร่หลาย (คือโปรตีนที่แสดงออกทุกหนทุกแห่ง) เช่นนี้แต่เป็นเหตุของโรคภายในจอตาเท่านั้น เพราะโรด็อปซินในเซลล์รับแสงจำเป็นต้องอาศัยฤทธิ์ของแฟกเตอร์มากกว่าที่อื่น ๆ
การกลายพันธุ์ของยีน 6 ยีนก่อโรคที่สืบทอดแบบ X-linked โดยที่สามัญสุดจะเกิดที่ตำแหน่ง (loci) โดยเฉพาะ ๆ ของยีน RPGR และ RP2
รูปแบบของอาร์พีรวมทั้ง
OMIM | ยีน | รูปแบบ |
---|---|---|
180100 | RP1 | Retinitis pigmentosa-1 |
312600 | RP2 | Retinitis pigmentosa-2 |
300029 | RPGR | Retinitis pigmentosa-3 |
608133 | PRPH2 | Retinitis pigmentosa-7 |
180104 | RP9 | Retinitis pigmentosa-9 |
180105 | IMPDH1 | Retinitis pigmentosa-10 |
600138 | PRPF31 | Retinitis pigmentosa-11 |
600105 | CRB1 | Retinitis pigmentosa-12, ทายกรรมลักษณะด้อย |
600059 | PRPF8 | Retinitis pigmentosa-13 |
600132 | TULP1 | Retinitis pigmentosa-14 |
600852 | CA4 | Retinitis pigmentosa-17 |
601414 | HPRPF3 | Retinitis pigmentosa-18 |
601718 | ABCA4 | Retinitis pigmentosa-19 |
602772 | EYS | Retinitis pigmentosa-25 |
608380 | CERKL | Retinitis pigmentosa-26 |
607921 | FSCN2 | Retinitis pigmentosa-30 |
609923 | TOPORS | Retinitis pigmentosa-31 |
610359 | SNRNP200 | Retinitis pigmentosa 33 |
610282 | SEMA4A | Retinitis pigmentosa-35 |
610599 | PRCD | Retinitis pigmentosa-36 |
611131 | NR2E3 | Retinitis pigmentosa-37 |
268000 | MERTK | Retinitis pigmentosa-38 |
268000 | USH2A | Retinitis pigmentosa-39 |
612095 | PROM1 | Retinitis pigmentosa-41 |
612943 | KLHL7 | Retinitis pigmentosa-42 |
268000 | CNGB1 | Retinitis pigmentosa-45 |
613194 | BEST1 | Retinitis pigmentosa-50 |
613464 | TTC8 | Retinitis pigmentosa 51 |
613428 | C2orf71 | Retinitis pigmentosa 54 |
613575 | ARL6 | Retinitis pigmentosa 55 |
613617 | ZNF513 | Retinitis pigmentosa 58 |
613861 | DHDDS | Retinitis pigmentosa 59 |
613194 | BEST1 | Retinitis pigmentosa, concentric |
608133 | PRPH2 | Retinitis pigmentosa, digenic |
613341 | LRAT | Retinitis pigmentosa, juvenile |
268000 | SPATA7 | Retinitis pigmentosa, juvenile, ทายกรรมลักษณะด้อย |
268000 | CRX | Retinitis pigmentosa, late-onset dominant |
300455 | RPGR | Retinitis pigmentosa, X-linked, and sinorespiratory infections, อาจจหูหนวกหรือไม่ |
พยาธิสรีรภาพ
นักวิชาการได้จับคู่การทำงานระดับโมเลกุลที่บกพร่องหลายอย่างกับการกลายพันธุ์ของยีนเกี่ยวกับโรคแล้ว การกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซิน ซึ่งก่อโรคที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นโดยมาก จะขัดการทำงานของโปรตีนอ็อปซินของเซลล์รูปแท่งซึ่งจำเป็นในการแปลข้อมูลแสงให้เป็นกระแสประสาท (phototransduction cascade) ของระบบประสาทกลาง ความผิดปกติในการทำงานของโรด็อปซิน ซึ่งเป็นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (GPCR) จะจัดเป็นหมู่ ๆ (class) ขึ้นอยู่กับการพับตัวผิดปกติของโปรตีนและวิถีการทำงานที่ผิดปกติของโปรตีน
ฤทธิ์ของโปรตีนกลายพันธุ์หมู่หนึ่ง (Class I) จะเสียไปเพราะการกลายพันธุ์ของเบสนิวคลีโอไทด์ 1 เบส (point mutation) ภายในลำดับกรดอะมิโนที่เข้ารหัสโปรตีน และมีผลต่อการขนส่งโปรตีนเข้าไปที่ส่วนนอก (outer segment) ของเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนที่ถ่ายโอนแสงเป็นกระแสประสาท อนึ่ง การพับตัวผิดปกติของโปรตีนกลายพันธุ์หมู่สอง (Class II) จะขัดการประกอบโปรตีนกับ 11-cis-retinal เพื่อสร้างส่วนกำเนิดสี (chromophore) ที่เหมาะสม การกลายพันธุ์อื่น ๆ ในยีนที่เข้ารหัสสารสีนี้จะมีผลต่อเสถียรภาพของโปรตีน, ทำลายบูรณภาพของ mRNA ในระยะ post-translational และมีผลต่ออัตราการก่อกัมมันต์ (activation rate) ของ transducin บวกกับอ็อปซินซึ่งเป็นโปรตีนนำแสง
การทดลองในสัตว์ตัวแบบแสดงว่า เซลล์ชั้น retinal pigment epithelium ของจอตาไม่ทำการฟาโกไซโทซิสต่อจานส่วนนอกของเซลล์รูปแท่ง (outer rod segment disc) ที่หลุดออกแล้ว เป็นการสะสมเศษส่วนนอกที่ละทิ้งแล้วอย่างผิดปกติ ในหนูที่มีการกลายพันธุ์ให้จอตาเสื่อมและสืบทอดแบบ homozygous recessive เซลล์รูปแท่งจะหยุดพัฒนาการแล้วเสื่อมก่อนที่เซลล์จะโตเต็มที่ อนึ่ง ได้พบความบกพร่องของเอนไซม์ cGMP-phosphodiesterase อีกด้วย ซึ่งทำให้ cyclic guanosine monophosphate (cGMP) สะสมในระดับที่เป็นพิษ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำจะอาศัยประวัติความเสียหายที่แย่ลงอย่างต่อเนื่องของเซลล์รับแสง ซึ่งยืนยันด้วยการตรวจสอบต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจลานสายตา (visual field test), การตรวจสายตา (visual acuity test), การถ่ายภาพจอตา, optical coherence imagery และ electroretinography (ERG)
การตรวจลานสายตาและการตรวจสายตาเทียบขนาดลานสายตาและความคมชัดของการเห็นกับค่าวัดของบุคคลที่มีสายตาสมบูรณ์ (20/20 vision) ลักษณะทางคลินิกที่บ่งโรครวมทั้งลานสายตาที่แคบลงและแย่ลง ๆ และสายตาที่มองชัดแย่ลง ๆ อนึ่ง การถ่ายภาพรังสีระนาบ (optical tomography) เช่นภาพ fundus optical coherence และ retinal optical coherence สามารถใช้ช่วยวินิจฉัยโรค การถ่ายภาพจอตาที่ขยายม่านตาแล้วช่วยยืนยันการเกิดรอยเปรอะดำคือ bony spicule ที่ก้นตา ซึ่งจะเกิดในระยะหลัง ๆ ของโรค เมื่อรวมกับภาพส่วนตัดด้วย optical coherence tomography ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับความหนาของเซลล์รับแสง, สัณฐานของชั้นจอตา (retinal layer) และสรีรภาพของ retinal pigment epithelium ภาพถ่ายจอตาก็จะช่วยระบุความเคลื่อนไหวของโรคอาร์พี
แม้การตรวจลานสายตา การตรวจสายตา และภาพจอตาจะสนับสนุนการวินิจฉัยเป็นโรคอาร์พี แต่การทดสอบอื่น ๆ ก็จำเป็นเพื่อยืนยันลักษณะอื่น ๆ ของโรค Electroretinography (ERG) ยืนยันการวินิจฉัยเพราะตรวจสอบการทำงานของสายตาเนื่องกับการเสื่อมของเซลล์รับแสง และสามารถตรวจจับความผิดปกติทางสรีรภาพก่อนที่อาการจะปรากฏ เจ้าหน้าที่จะใช้เลนส์ที่เป็นอิเล็กโทรดเพื่อวัดการตอบสนองของเซลล์รับแสงต่อแสงกะพริบที่ฉายให้ดูในระดับความสว่างต่าง ๆ คนไข้ที่มีฟีโนไทป์ของโรคจะมีการตอบสนองทางไฟฟ้าที่ลดลงหรือช้าลงของเซลล์รูปแท่ง และอาจจะเซลล์รูปกรวยด้วย
เมื่อวินิจฉัย แพทย์อาจพิจารณาประวัติครอบครัวของคนไข้เพราะเป็นโรคที่อาจติดต่อทางกรรมพันธุ์ มียีนอย่างน้อย 35 ตำแหน่ง (locus) ที่เป็นเหตุของโรคแบบ "nonsyndromic" คืออาร์พีที่ไม่ใช่ผลของอีกโรคหนึ่ง หรือเป็นส่วนของกลุ่มอาการอื่น ๆ การกลายพันธุ์ของยีนที่ก่อโรคอาจระบุได้ด้วยการตรวจดีเอ็นเอ (DNA testing) ซึ่งมีใช้ทางคลินิกในบางประเทศ การกลายพันธุ์รวมทั้ง
- RLBP1 (ทายกรรมลักษณะด้อย, Bothnia type RP)
- RP1 (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP1)
- RHO (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP4)
- RDS (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP7)
- PRPF8 (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP13)
- PRPF3 (ทายกรรมลักษณะเด่น, RP18)
- CRB1 (ทายกรรมลักษณะด้อย, RP12)
- ABCA4 (ทายกรรมลักษณะด้อย, RP19)
- RPE65 (ทายกรรมลักษณะด้อย, RP20)
สำหรับยีนอื่น ๆ (เช่น DHDDS) การตรวจดีเอ็นเอมีใช้ในการวิจัยเท่านั้น
โรคสามารถสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant), ทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive) หรือ X-linked แบบ X-linked อาจเป็นแบบด้อย (recessive) ซึ่งโดยหลักมีผลต่อผู้ชายเท่านั้น หรือเป็นแบบเด่น (dominant) ซึ่งมีผลต่อทั้งชายหญิง แม้ชายจะมีอาการเบากว่า รูปแบบโรคที่เกิดจากยีนสองยีน (digenic) และจากไมโทคอนเดรียก็มีด้วย
ในบางประเทศ เจ้าหน้าที่อาจให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการสืบทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยที่ทำอย่างแม่นยำ การระบุวิธีสืบทอดทางพันธุกรรม และผลการตรวจดีเอ็นเอ
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคให้หาย แม้จะมีการตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของวิธีการรักษาต่าง ๆ อยู่ ประสิทธิภาพของอาหารเสริมต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ, กรดไขมัน docosahexaenoic acid (DHA) และ Lutein เพื่อชะลอโรคยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ แต่ก็เป็นทางเลือกในการรักษา การทดลองทางคลินิกที่ตรวจสอบอุปกรณ์ฝังที่จอตา/เรตินาเทียม (optic prosthetic device), การบำบัดด้วยยีน (gene therapy) และการผ่าตัดเปลี่ยนจอตา (retinal sheet transplantation) เป็นเรื่องที่กำลังศึกษาเพื่อคืนการเห็นเป็นบางส่วนให้แก่คนไข้โรคอาร์พี
วิตามิน A ในรูปแบบ Palmitate
งานวิจัยปี 1993 ของศาสตราจารย์จักษุวิทยาผู้หนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแสดงว่า คนไข้บางพวกสามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์รูปแท่งโดยทานวิตามินเอในรูปแบบของ vitamin A palmitate ประมาณ 15,000 หน่วยสากล (เท่ากับ 4.5 มิลลิกรัม) ต่อวัน แม้จะไม่พบปัญหาความปลอดภัยเมื่อใช้วิตามินเอในระดับสูงในช่วงระยะงานวิจัย แต่ความปลอดภัยระยะยาวก็ยังไม่ชัดเจน เพราะการใช้วิตามินเอในระดับนี้อาจมีผลข้างเคียงหลายอย่างและจัดว่า สามารถก่อความผิดปกติทางพัฒนาการ (teratogenic) อนึ่ง บทความปริทัศน์ปี 2004 สรุปว่า
งานวิจัยและข้อแนะนำ (ของศาสตราจารย์ที่ว่า) นั้นยังมีข้อโต้แย้งอยู่ มีการเสนอว่า มีความจำเป็นต้องมีหลักฐานพิสูจน์ว่า มีประโยชน์ที่กว้างขวางยิ่งกว่านี้ ก่อนที่จะแนะนำการใช้วิตามินเอสำหรับอาร์พี
งานวิจัยของศาสตราจารย์คนเดียวกันปี 2007 แสดงว่าการใช้วิตามินเอที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ในบางระยะของโรคบางรูปแบบ สามารถชะลอการตาบอดได้ถึง 10 ปี โดยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในอัตรา 10% ต่อปีให้เป็น 8.3% ต่อปี
เรตินาเทียม
อุปกรณ์ฝังในตา/เรตินาเทียม Argus II retinal prosthesis เป็นวิธีการรักษาโรคแรกที่ได้รับอนุมัติในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ปัจจุบันมีใช้รักษาในประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหราชอาณาจักร ผลในระหว่างที่ได้จากคนไข้ 30 คนในการทดลองระยะยาวได้เผยแพร่ในปี 2012
ต่อมาปี 2013 องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงได้อนุมัติให้ใช้การรักษานี้ในสหรัฐอเมริกา อุปกรณ์อาจช่วยคนไข้โรคอาร์พีผู้ใหญ่ที่เสียการเห็นรูปร่างและการเคลื่อนไหวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น แม้คนไข้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในระดับ 20/1260 เท่านั้น ซึ่งยังจัดว่าบอดอยู่ทั้งโดยองค์การอนามัยโลกและประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนายน 2013 รพ. 12 แห่งในสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มรับคนไข้โรคอาร์พีที่สนใจจะใช้อุปกรณ์ที่จะเริ่มวางตลาดในปลายปีนั้น ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์อยู่ที่ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.7 ล้านบาท) โดยไม่รวมค่าผ่าตัดหรือค่าฝึกใช้อุปกรณ์
ส่วนอุปกรณ์ Alpha-IMS เป็นไมโครชิปบันทึกภาพที่สามารถผ่าตัดฝังใต้รอยบุ๋มจอตา (fovea) แต่เพื่อศึกษาว่าอุปกรณ์สามารถทำให้เห็นดีขึ้นหรือไม่ ผู้ผลิตจำต้องแสดงความปลอดภัยของอุปกรณ์ก่อนทำการทดลองทางคลินิกและอนุมัติให้วางตลาด โดยค่าอุปกรณ์และการผ่าตัดจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ยูโร (ประมาณ 4.1 ล้านบาท)
การบำบัดด้วยยีน (gene therapy)
ส่วนเป้าหมายของการศึกษาเรื่องการบำบัดด้วยยีน (gene therapy) ก็คือเพื่อเสริมเซลล์จอตาอันแสดงออกยีนที่กลายพันธุ์ซึ่งสัมพันธ์กับฟีโนไทป์ของโรคด้วยยีนที่ดี เพื่อให้เซลล์รับแสงสามารถซ่อมแซมตนเองและทำงานได้อย่างถูกต้องด้วยข้อมูลที่ได้จากยีนที่ดี การทดลองทางคลินิกที่ใส่ยีน RPE65 ปกติในจอตาที่แสดงออกฟีโนไทป์โรคอาร์พีแบบ LCA2 (Leber's congenital amaurosis) พบว่าทำให้เห็นดีขึ้นได้เล็กน้อย แต่เซลล์รับแสงก็ยังเสื่อมในอัตราปกติของโรค การบำบัดด้วยยีนน่าจะช่วยรักษาเซลล์จอตาที่ยังดีอยู่ แต่ไม่สามารถซ่อมความเสียหายต่อเซลล์รับแสงที่สั่งสมมาก่อน ๆ ได้ โดยทฤษฎีแล้ว การตอบสนองรับการบำบัดด้วยยีนน่าจะดีต่อคนไข้วัยเยาว์ที่โรคมีระยะการดำเนินสั้นที่สุด เพราะมีโอกาสช่วยเซลล์ให้พ้นโรคด้วยยีนที่ใส่เข้าไปมากที่สุด
ในปี 2017 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติการบำบัดด้วยีนที่เรียกว่า Luxturna เพื่อรักษาคนไข้ที่จอตาฝ่อ (retinal dystrophy) เนื่องกับการกลายพันธุ์ของยีน RPE65 ค่ารักษาอยู่ที่ 850,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 27.5 ล้านบาท) สำหรับตาทั้งสองข้างเมื่อต้นปี 2018
พยากรณ์โรค
เพราะโรคแย่ลงเรื่อย ๆ และไม่มีวิธีการรักษา คนไข้จึงมีพยากรณ์โรคที่ไม่ค่อยดี แม้ปกติตาจะไม่บอดโดยสิ้นเชิง สายตาและลานสายตาของคนไข้จะแย่ลงเรื่อย ๆ เริ่มจากการเสื่อมของเซลล์รูปแท่งและต่อมาเซลล์รูปกรวย การรักษาที่เป็นไปได้ก็ยังอยู่ในระยะวิจัยหรือการทดลองทางคลินิก อย่างไรก็ดี การรักษาด้วยการคืนสภาพสายตาดูเหมือนจะมีอนาคตที่แจ่มใส
งานศึกษาได้แสดงว่า เด็กที่มีจีโนไทป์ของโรคจะได้ประโยชน์จากการปรึกษากับแพทย์ก่อนจะมีโรค เพื่อเตรียมตัวรับมือปัญหาทางตาและทางสังคมเนื่องกับสายตาที่แย่ลงเรื่อย ๆ แม้ปัญหาทางจิตใจจะดีขึ้นเมื่อทำเช่นนี้ แต่ผลทางตาและการแย่ลงของโรคโดยมากจะขึ้นอยู่กับอายุที่อาการเริ่มปรากฏและอัตราการเสื่อมของเซลล์รับแสง ไม่ใช่การมีโอกาสไปหาแพทย์ อุปกรณ์ปรับสายตาและการบำบัดตาที่ปรับให้เหมาะกับตนซึ่งทำกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการมองเห็นได้น้อย อาจช่วยคนไข้แก้ปัญหาการมองเห็น คือช่วยให้มองด้วยลานสายตาที่เหลืออยู่ได้ดีที่สุด กลุ่มสนับสนุน, ประกันเกี่ยวกับสายตา และการปรับวิถีชีวิต อาจเป็นประโยชน์ในการรับมือกับการเห็นที่ลดลง
วิทยาการระบาด
โรคอาร์พีเป็นเหตุชั้นนำของความตาบอดที่สืบทอดทางพันธุกรรม คนประมาณ 1 ใน 4,000 คนจะมีโรคแบบไม่เกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ (non-syndromic) ในช่วงชีวิต ประเมินว่ามีคน 1.5 ล้านคนทั่วโลกที่มีโรค โรคที่เริ่มเกิดเร็วจะเกิดภายในไม่กี่ปีแรกของชีวิตและปกติจะสัมพันธ์กับความผิดปกติอื่น ๆ ในขณะที่โรคที่เริ่มเกิดช้าจะปรากฏในวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ จนถึงวัยกลางคน
โรคที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นและทายกรรมลักษณะด้อยจะมีทั้งในชายหญิงเท่า ๆ กัน แต่โรคที่สืบทอดแบบ X-linked ซึ่งมีน้อยกว่าจะมีผลต่อชายที่ได้รับยีนกลายพันธุ์ แต่หญิงจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ รูปแบบนี้จัดว่ารุนแรง และปกติจะทำให้ตาบอดสนิทในช่วงท้าย ๆ ส่วนในกรณีที่มีน้อย โรคที่สืบทอดแบบ X-linked เป็นลักษณะเด่นจะมีผลต่อทั้งชายหญิงเท่า ๆ กัน
เนื่องจากการสืบทอดทางพันธุกรรมของโรค กลุ่มประชากรที่แยกอยู่ต่างหากจะเกิดโรคบ่อยกว่าหรือมีความชุกโรคที่สูงขึ้นโดยมีการกลายพันธุ์ของยีนโดยเฉพาะ ๆ ที่ก่อโรค การกลายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นแบบที่มีอยู่แล้วหรือเกิดขึ้นใหม่ซึ่งทำให้เซลล์รับแสงรูปแท่งเสื่อมในโรคอาร์พีจะสืบทอดมาตามครอบครัว ดังนั้น จึงทำให้โรคเกิดขึ้นมากในภูมิภาคบางส่วนโดยปรากฏประวัติในครอบครัว มีงานศึกษาหลายงานที่ได้ทำเพื่อระบุความชุกโรคต่าง ๆ ในรัฐเมน (สหรัฐ) เมืองเบอร์มิงแฮม (สหราชอาณาจักร) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (1 คนใน 7,000 คน) ประเทศเดนมาร์ก (1 คนใน 2,500 คน) และประเทศนอร์เวย์ คนพื้นเมืองอเมริกันชาวนาวาโจ (Navajo) มีระดับการสืบทอดโรคที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยประเมินว่ามีผลต่อคน 1 คนทุก ๆ 1,878 คน โรคอาร์พีแม้จะสืบทอดตามกรรมพันธุ์ในครอบครัว แต่ก็จัดว่าไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล ๆ เพราะมีผลต่อประชากรทั่วโลก
งานวิจัย
การรักษาในอนาคตอาจรวมการผ่าตัดเปลี่ยนจอตา การใช้จอตาเทียม การบำบัดด้วยยีน (gene therapy) การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาหารเสริม และ/หรือยารักษา
ในปี 2006 นักวิจัยชาวอังกฤษได้ปลูกเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้พัฒนาการมาจนถึงระยะสุดท้ายพร้อมที่จะกลายเป็นเซลล์รับแสง เข้าในตาของหนูที่ได้เปลี่ยนพันธุกรรมให้มีอาการเลียนโรคอาร์พีและโรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อมของมนุษย์ แล้วพบว่า เซลล์รับแสงเช่นนี้ได้พัฒนาการแล้วเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทในจอตาของหนู ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการคืนสภาพสายตา เพราะก่อนหน้านี้ได้เชื่อว่า จอตาที่พัฒนาสมบูรณ์แล้วไม่สามารถฟื้นฟูซ่อมแซมได้ งานวิจัยนี้อาจทำให้สามารถปลูกฝังเซลล์เช่นนี้ในมนุษย์ในอนาคตได้
ในปี 2008 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่สถาบันชีววิทยาศาสตร์โอซากะ (Osaka Bioscience Institute) ได้ค้นพบโปรตีนที่ตั้งชื่อว่า Pikachurin ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าอาจนำไปสู่วิธีการรักษาโรคอาร์พี
ในปี 2008 มีความพยายามที่จะเชื่อมการแสดงออกของยีน FAM46A กับโรค
ในปี 2010 การรักษาด้วยยีนวิธีหนึ่งดูเหมือนจะได้ผลในหนู
ในปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้แสดงกับสัตว์ตัวแบบว่า การรักษาด้วยยีน (gene therapy) และการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดแบบ induced pluripotent stem cell อาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้เพื่อรักษาโรคในอนาคต
ในปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันจักษุแบสคอมปาลเมอร์ (Bascom Palmer Eye Institute) แห่งมหาวิทยาลัยไมแอมี ได้แสดงการป้องกันรักษาเซลล์รับแสงในสัตว์ตัวแบบ เมื่อฉีด mesencephalic astrocyte-derived neurotrophic factor (MANF) เข้าไปในตา
ในปี 2014 นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ได้คืนสภาพการเห็นของหนูตาบอดโดยใช้ photoswitch ที่เริ่มการทำงานของ retinal ganglion cell ในสัตว์ที่มีเซลล์รับแสง (ทั้งรูปแท่งและรูปกรวย) เสียหาย
งานศึกษาปี 2015 ที่ศูนย์การแพทย์ซีดาร์ส-ซีนาย (Cedars-Sinai Medical Center) ในนครลอสแอนเจลิสแสดงว่า ยีน CRISPR/Cas9 สามารถใช้รักษาหนูที่มีโรคซึ่งสืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่น
ในปี 2016 บริษัท RetroSense Therapeutics มีแผนจะฉีดไวรัสที่มีดีเอ็นเอของสาหร่ายไวแสงเข้าไปในตาของคนตาบอดเนื่องกับโรคอาร์พีหลายคน โดยเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะเห็นเป็นขาวดำ
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
- missense mutation เป็น point mutation คือนิวคลีโอไทด์อันหนึ่งเปลี่ยนไป มีผลกลายเป็น codon ที่เข้ารหัสสำหรับกรดอะมิโนที่ต่างกัน
- ในอณูชีววิทยา molecular chaperone เป็นโปรตีนที่ช่วยในการพับ (folding) หรือการคลี่ (unfolding) หรือการประกอบ (assembly) หรือการแยก (disassembly) โครงสร้างมาโครโมเลกุลอื่น ๆ chaperone จะมีในสถานการณ์ที่มาโครโมเลกุลต้องทำกิจทางชีววิทยาของตน ๆ เพื่อให้การพับ/การประกอบทำสำเร็จอย่างถูกต้อง
อ้างอิง
- "Facts About Retinitis Pigmentosa". National Eye Institute (ภาษาอังกฤษ). May 2014. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-07. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
- "Retinitis pigmentosa", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) โรคจอตามีสารสี
- นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย. "โรคอาร์พี". จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- Openshaw, Amanda (Feb 2008). (PDF). University of Michigan Kellogg Eye Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
- Shintani, Kelly; Shechtman, Diana L.; Gurwood, Andrew S. (2009). "Review and update: Current treatment trends for patients with retinitis pigmentosa". Optometry. 80 (7): 384–401. doi:10.1016/j.optm.2008.01.026. PMID 19545852.
- Soucy, E; Wang, Y; Nirenberg, S; Nathans, J; Meister, M (1998). "A Novel Signaling Pathway from Rod Photoreceptors to Ganglion Cells in Mammalian Retina". Neuron. 21 (3): 481–93. doi:10.1016/S0896-6273(00)80560-7. PMID 9768836.
- Hartong, Dyonne T; Berson, Eliot L; Dryja, Thaddeus P (2006). "Retinitis pigmentosa". The Lancet. 368 (9549): 1795–1809. doi:10.1016/S0140-6736(06)69740-7. PMID 17113430.
- O'Neal, Teri B; Luther, Euil E (2018-12-20). "Retinitis Pigmentosa". StatPearls Publishing LLC. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Lim, Jennifer I; Chow, Clement C; Genead, Mohamed Ali; Akkara, John Davis; Epley, K David; Shah, Vinay A (2019-03-14). "Retinitis Pigmentosa". American Academy of Ophthalmology. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-30.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Daiger, S P; Sullivan, L S; Bowne, S J (2013). "Genes and mutations causing retinitis pigmentosa". Clinical Genetics. 84 (2): 132–41. doi:10.1111/cge.12203. PMC 3856531. PMID 23701314.
- "Usher Syndrome". จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17.
- "Diseases - MM - Types Of Overview". Muscular Dystrophy Association. 2015-12-18. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-17.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17.
- Farrar, GJ; Kenna, PF; Humphries, P (March 2002). "On the genetics of retinitis pigmentosa and on mutation-independent approaches to therapeutic intervention". EMBO J. 21 (5): 857–64. doi:10.1093/emboj/21.5.857. PMC 125887. PMID 11867514.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - (OMIM) RETINITIS PIGMENTOSA; RP -268000
- Rivolta, C.; Sharon, D; Deangelis, M. M.; Dryja, T. P. (2002). "Retinitis pigmentosa and allied diseases: Numerous diseases, genes, and inheritance patterns". Human Molecular Genetics. 11 (10): 1219–27. doi:10.1093/hmg/11.10.1219. PMID 12015282.
- Berson, Eliot L.; Rosner, B; Sandberg, M. A.; Dryja, T. P. (1991). "Ocular Findings in Patients with Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa and a Rhodopsin Gene Defect (Pro-23-His)". Archives of Ophthalmology. 109 (1): 92–101. doi:10.1001/archopht.1991.01080010094039. PMID 1987956.
- Senin, Ivan I.; Bosch, Laia; Ramon, Eva; Zernii, Evgeni Yu.; Manyosa, Joan; Philippov, Pavel P.; Garriga, Pere (2006). "Ca2+/recoverin dependent regulation of phosphorylation of the rhodopsin mutant R135L associated with retinitis pigmentosa". Biochemical and Biophysical Research Communications. 349 (1): 345–52. doi:10.1016/j.bbrc.2006.08.048. PMID 16934219.
- Dryja, Thaddeus P.; McGee, Terri L.; Reichel, Elias; Hahn, Lauri B.; Cowley, Glenn S.; Yandell, David W.; Sandberg, Michael A.; Berson, Eliot L. (1990). "A point mutation of the rhodopsin gene in one form of retinitis pigmentosa". Nature. 343 (6256): 364–6. Bibcode:1990Natur.343..364D. doi:10.1038/343364a0. PMID 2137202.
- Dryja, Thaddeus P.; McGee, Terri L.; Hahn, Lauri B.; Cowley, Glenn S.; Olsson, Jane E.; Reichel, Elias; Sandberg, Michael A.; Berson, Eliot L. (1990). "Mutations within the Rhodopsin Gene in Patients with Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa". New England Journal of Medicine. 323 (19): 1302–7. doi:10.1056/NEJM199011083231903. PMID 2215617.
- Berson, E. L.; Rosner, B; Sandberg, M. A.; Weigel-Difranco, C; Dryja, T. P. (1991). "Ocular findings in patients with autosomal dominant retinitis pigmentosa and rhodopsin, proline-347-leucine". American Journal of Ophthalmology. 111 (5): 614–23. doi:10.1016/s0002-9394(14)73708-0. PMID 2021172.
- Inglehearn, C. F.; Bashir, R; Lester, D. H.; Jay, M; Bird, A. C.; Bhattacharya, S. S. (1991). "A 3-bp deletion in the rhodopsin gene in a family with autosomal dominant retinitis pigmentosa". American Journal of Human Genetics. 48 (1): 26–30. PMC 1682750. PMID 1985460.
- Oh, Kean T.; Weleber, R. G.; Lotery, A; Oh, D. M.; Billingslea, A. M.; Stone, E. M. (2000). "Description of a New Mutation in Rhodopsin, Pro23Ala, and Comparison with Electroretinographic and Clinical Characteristics of the Pro23His Mutation". Archives of Ophthalmology. 118 (9): 1269–76. doi:10.1001/archopht.118.9.1269. PMID 10980774.
- "Retinitis pigmentosa". NIH, US National Library of Medicine. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- Bujakowska, K.; Maubaret, C.; Chakarova, C. F.; Tanimoto, N.; Beck, S. C.; Fahl, E.; Humphries, M. M.; Kenna, P. F.; Makarov, E.; Makarova, O.; Paquet-Durand, F.; Ekstrom, P. A.; Van Veen, T.; Leveillard, T.; Humphries, P.; Seeliger, M. W.; Bhattacharya, S. S. (2009). "Study of Gene-Targeted Mouse Models of Splicing Factor Gene Prpf31 Implicated in Human Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa (RP)". Investigative Ophthalmology & Visual Science. 50 (12): 5927–5933. doi:10.1167/iovs.08-3275. PMID 19578015.
- Mendes, HF; van der Spuy, J; Chapple, JP; Cheetham, ME (April 2005). "Mechanisms of cell death in rhodopsin retinitis pigmentosa: implications for therapy". Trends in Molecular Medicine. 11 (4): 177–185. doi:10.1016/j.molmed.2005.02.007. PMID 15823756.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 2015-03-16.
- Fahim, Abigail T (1993). "Nonsyndromic Retinitis Pigmentosa Overview". Retinitis Pigmentosa Overview. University of Washington, Seattle.
- Chang, S; Vaccarella, L; Olatunji, S; Cebulla, C; Christoforidis, J (2011). "Diagnostic Challenges in Retinitis Pigmentosa: Genotypic Multiplicity and Phenotypic Variability". Current Genomics. 12 (4): 267–75. doi:10.2174/138920211795860116. PMC 3131734. PMID 22131872.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Gundogan, Fatih Cakir; Tas, Ahmet; Sobaci, Gungor (2011). Belusic, Gregor (บ.ก.). Electroretinogram in Hereditary Retinal Disorders (PDF). Electroretinograms. Turkey: In Tech. ISBN . (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-17.
- "Retinitis Pigmentosa". จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-22.
- Hartong, DT; Berson, EL; Dryja, TP (November 2006). "Retinitis pigmentosa". The Lancet. 368 (9549): 1795–1809. doi:10.1016/S0140-6736(06)69740-7. PMID 17113430.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Rayapudi, S; Schwartz, SG; Wang, X; Chavis, P (2013). "Vitamin A and fish oils for retinitis pigmentosa". Cochrane Database Syst Rev. 12 (12): CD008428. doi:10.1002/14651858.CD008428.pub2. PMC 4259575. PMID 24357340.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Lok, Corie (2014). "Curing blindness: Vision quest". Nature News & Comment. 513 (7517): 160–162. doi:10.1038/513160a. PMID 25209781.
- Berson, Eliot L.; Rosner, B; Sandberg, M. A.; Hayes, K. C.; Nicholson, B. W.; Weigel-Difranco, C; Willett, W (1993). "A Randomized Trial of Vitamin a and Vitamin E Supplementation for Retinitis Pigmentosa". Archives of Ophthalmology. 111 (6): 761–72. doi:10.1001/archopht.1993.01090060049022. PMID 8512476.
- Sharma, Yog Raj; Reddy, P Raja Rami; Singh, Deependra V (2004). "Retinitis Pigmentosa and Allied Disorders (Review Article)" (PDF). JK SCIENCE. 6 (3): 115–120. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2557.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help))CS1 maint: uses authors parameter () - Berson, Eliot L. (2007). "Long-term visual prognoses in patients with retinitis pigmentosa: The Ludwig von Sallmann lecture". Experimental Eye Research. 85 (1): 7–14. doi:10.1016/j.exer.2007.03.001. PMC 2892386. PMID 17531222.
- "Nahrungsergänzungsmittel: ALLES, was du wissen musst!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19. []
- Humayun, Mark S.; Dorn, Jessy D.; Da Cruz, Lyndon; Dagnelie, Gislin; Sahel, José-Alain; Stanga, Paulo E.; Cideciyan, Artur V.; Duncan, Jacque L.; Eliott, Dean; Filley, Eugene; Ho, Allen C.; Santos, Arturo; Safran, Avinoam B.; Arditi, Aries; Del Priore, Lucian V.; Greenberg, Robert J.; Argus Ii Study, Group (2012). "Interim Results from the International Trial of Second Sight's Visual Prosthesis". Ophthalmology. 119 (4): 779–88. doi:10.1016/j.ophtha.2011.09.028. PMC 3319859. PMID 22244176.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27.
- Fernandes, RA; Diniz, B; Ribeiro, R; Humayun, M (2012-06-25). "Artificial vision through neuronal stimulation". Neuroscience letters. 519 (2): 122–8. PMID 22342306.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - . Science Daily. 2013-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
- "The Argus II Retinal Prosthesis ("Bionic Eye") Receives Medicare Approval". Visionware, American Printing House for the Blind. 2013-08-19. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-31.
- Belluck, Pam (2013-02-15). "Device Offers Partial Vision for the Blind". New York Times. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Stingl, K; Bartz-Schmidt, KU; Besch, D; Braun, A; Bruckmann, A; Gekeler, F; Greppmaier, U; Hipp, S; Hörtdörfer, G; Kernstock, C; Koitschev, A; Kusnyerik, A; Sachs, H; Schatz, A; Stingl, KT; Peters, T; Wilhelm, B; Zrenner, E (2013). "Artificial vision with wirelessly powered subretinal electronic implant alpha-IMS". Proc. Biol. Sci. 280 (1757): 20130077. doi:10.1098/rspb.2013.0077. PMC 3619489. PMID 23427175.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - "A Second Artificial Retina Option for the E.U." Technology Review. 2013-07-03.
- Bainbridge, James W.B.; Smith, Alexander J.; Barker, Susie S.; Robbie, Scott; Henderson, Robert; Balaggan, Kamaljit; Viswanathan, Ananth; Holder, Graham E.; Stockman, Andrew; Tyler, Nick; Petersen-Jones, Simon; Bhattacharya, Shomi S.; Thrasher, Adrian J.; Fitzke, Fred W.; Carter, Barrie J.; Rubin, Gary S.; Moore, Anthony T.; Ali, Robin R. (2008). "Effect of Gene Therapy on Visual Function in Leber's Congenital Amaurosis". New England Journal of Medicine. 358 (21): 2231–9. 10.1.1.574.4003. doi:10.1056/NEJMoa0802268. PMID 18441371.
- Maguire, AM; High, KA; Auricchio, A และคณะ (November 2009). "Age-dependent effects of RPE65 gene therapy for Lebers congenital amaurosis: a phase 1 dose-escalation trial". The Lancet. 374 (9701): 1597–1605. doi:10.1016/S0140-6736(09)61836-5. PMC 4492302. PMID 19854499.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Commissioner, Office of the. "Press Announcements - FDA approves novel gene therapy to treat patients with a rare form of inherited vision loss". www.fda.gov (ภาษาอังกฤษ). จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-12. สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
- "Spark's price for Luxturna blindness gene therapy too high: ICER". Reuters. 2018-01-13. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-05.
- "Well". The New York Times.[]
- Mezer, E; Babul-Hirji, R; Wise, R; Chipman, M; Dasilva, L; Rowell, M; Thackray, R; Shuman, C. T.; Levin, A. V. (2007). "Attitudes regarding predictive testing for retinitis pigmentosa". Ophthalmic Genet. 28 (1): 9–15. doi:10.1080/13816810701199423. PMID 17454742.
- Parmeggiani, F (2011). "Clinics, Epidemiology and Genetics of Retinitis Pigmentosa". Current Genomics. 12 (4): 236–7. doi:10.2174/138920211795860080. PMC 3131730. PMID 22131868.
- Hamel, Christian (2006). "Retinitis pigmentosa". Orphanet Journal of Rare Diseases. 1: 40. doi:10.1186/1750-1172-1-40. PMC 1621055. PMID 17032466.
- Prokisch, Holger; Hartig, Monika; Hellinger, Rosa; Meitinger, Thomas; Rosenberg, Thomas (2007). "IOVS - A Population-Based Epidemiological and Genetic Study of X-Linked Retinitis Pigmentosa". Investigative Ophthalmology & Visual Science. 48 (9): 4012–8. doi:10.1167/iovs.07-0071. PMID 17724181.
- Haim, Marianne (2002). "The epidemiology of retinitis pigmentosa in Denmark". Acta Ophthalmologica Scandinavica. 80: 1–34. doi:10.1046/j.1395-3907.2002.00001.x.
- (Press release). Rush University Medical Center. 2005-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
- MacLaren, R. E.; Pearson, R. A.; MacNeil, A.; Douglas, R. H.; Salt, T. E.; Akimoto, M.; Swaroop, A.; Sowden, J. C.; Ali, R. R. (2006). "Retinal repair by transplantation of photoreceptor precursors". Nature. 444 (7116): 203–7. Bibcode:2006Natur.444..203M. doi:10.1038/nature05161. PMID 17093405.
- Sato, Shigeru; Omori, Yoshihiro; Katoh, Kimiko; Kondo, Mineo; Kanagawa, Motoi; Miyata, Kentaro; Funabiki, Kazuo; Koyasu, Toshiyuki; Kajimura, Naoko; Miyoshi, Tomomitsu; Sawai, Hajime; Kobayashi, Kazuhiro; Tani, Akiko; Toda, Tatsushi; Usukura, Jiro; Tano, Yasuo; Fujikado, Takashi; Furukawa, Takahisa (2008). "Pikachurin, a dystroglycan ligand, is essential for photoreceptor ribbon synapse formation". Nature Neuroscience. 11 (8): 923–31. doi:10.1038/nn.2160. PMID 18641643.
- Levenstein, Steve (2008-07-24). . InventorSpot.com. Halcyon Solutions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2014-06-12.
- Barragán, L; Borrego, S; Abd El-Aziz, MM; El-Ashry, MF; Antiñolo, G (January 2008). "Genetic analysis of FAM46A in Spanish families with autosomal recessive retinitis pigmentosa: characterisation of novel VNTRs". Annals of Human Genetics. 72 (Pt 1): 26–34. doi:10.1111/j.1469-1809.2007.00393.x. PMID 17803723.
- Busskamp, V.; Duebel, J.; Balya, D.; Fradot, M.; Viney, T. J.; Siegert, S.; Groner, A. C.; Cabuy, E.; Forster, V.; Seeliger, M.; Biel, M.; Humphries, P.; Paques, M.; Mohand-Said, S.; Trono, D.; Deisseroth, K.; Sahel, J. A.; Picaud, S.; Roska, B. (2010). "Genetic Reactivation of Cone Photoreceptors Restores Visual Responses in Retinitis Pigmentosa" (PDF). Science. 329 (5990): 413–7. Bibcode:2010Sci...329..413B. doi:10.1126/science.1190897. PMID 20576849.
- . Stem Cells Freak. 2012-12-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-13.
- (Press release). Columbia University Medical Center. 2012-12-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 2016-08-07.
- Wen, Rong; Luo, Lingyu; Huang, Dequang; Xia, Xin; Wang, Zhengying; Chen, Pingping; Li, Yiwen (March 2012). "Mesencephalic Astrocyte-derived Neurotrophic Factor (MANF) Protects Rod and Cone Photoreceptors from Degeneration in Transgenic Rats Carrying the S334ter Rhodopsin Mutation". Invest. Ophthalmol. Vis. Sci. 53 (14): 2581. สืบค้นเมื่อ 2016-08-07.
- Wen, Rong; Luo, Lingyu; Huang, Dequang; Xia, Xin; Wang, Zhengying; Chen, Pingping; Li, Yiwen (2012-05-07). Mesencephalic Astrocyte-derived Neurotrophic Factor (MANF) Protects Rod and Cone Photoreceptors from Degeneration in Transgenic Rats Carrying the S334ter Rhodopsin Mutation. ARVO 2012.
- Tochitsky, Ivan; Polosukhina, Aleksandra; Degtyar, Vadim E.; Gallerani, Nicholas; Smith, Caleb M.; Friedman, Aaron; Van Gelder, Russell N.; Trauner, Dirk; Kaufer, Daniela; Kramer, Richard H. (2014). "Restoring Visual Function to Blind Mice with a Photoswitch that Exploits Electrophysiological Remodeling of Retinal Ganglion Cells". Neuron. 81 (4): 800–13. doi:10.1016/j.neuron.2014.01.003. PMC 3933823. PMID 24559673.
- Bakondi, Benjamin; Lv, Wenjian; Lu, Bin; Jones, Melissa K.; Tsai, Yuchun; Kim, Kevin J.; Levy, Rachelle; Akhtar, Aslam Abbasi; Breunig, Joshua J.; Svendsen, Clive N.; Wang, Shaomei (2016). "Molecular Therapy - Abstract of article: In Vivo CRISPR/Cas9 Gene Editing Corrects Retinal Dystrophy in the S334ter-3 Rat Model of Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa". Molecular Therapy. 24 (3): 556–563. doi:10.1038/mt.2015.220. PMC 4786918. PMID 26666451.
- "Gene editing technique improves vision in rats with inherited blindness: Data show the new 'CRISPR/Cas9' system potentially can be used to prevent retinal damage in a type of retinitis pigmentosa". Science Daily. 2016-01-08. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15.
- "FDA approves novel gene therapy to treat patients with a rare form of inherited vision loss". FDA. 2017-12-19. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-12.
- Bourzac, Katherine. "A blind woman in Texas is first person to undergo optogenetic therapy, which could let her see again if successful". technologyreview.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | D |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
|
- โรคจอตามีสารสี ที่เว็บไซต์ Curlie
- GeneReviews/NCBI/NIH/UW entry on Retinitis Pigmentosa Overview
- NCBI/Molecular diagnosis of retinitis pigmentosa
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnitxngkartrwcsxbkhwamthuktxngcakphuechiywchayineruxngnn oprdephimpharamietxr reason hrux talk lnginaemaebbniephuxxthibaypyhakhxngbthkhwamemuxwangaethkni ihphicarnaechuxmoyngkhakhxnikbokhrngkarwikibthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha orkhcxtamisarsi hrux orkhxarphi xngkvs Retinitis pigmentosa twyx RP epnkhwamphidpktithangphnthukrrmthangtathithaihesiysayta xakarrwmthngtafangklangkhun nyctalopia aelakaresiykarehnrxbnxk peripheral vision khuxehnkhang hruxrxb idnxylng xakarpkticakhxy prakt emuxehnrxbnxkidaeylng bangkhnxaclansaytaaekhblngehmuxnmxngphanxuomngkh tunnel vision aettabxdsnithcaimsamyorkhcxtamisarsi Retinitis pigmentosa danhlng knta Fundus khxngkhnikhorkhxarphirayaklang mid stage ihsngektsarsi rxyeprxasida bony spicule thiswnrxb trngklangthiekidkbkaresuxmkhxngcxta retinal atrophy aemcudphaphchd macula cakhngsphaphxyuaetswnrxb ksidip esneluxdincxtakliblngdwysakhawichacksuwithyaxakarehnimditxklangkhun ehnrxbnxk peripheral vision idaeylngkartngtntngaetedksaehtukrrmphnthuwithiwinicchykartrwctakarrksaxupkrnchwykhnthiehnidnxy ifsxngthiphkphaid sunkhnathangyaVitamin A palmitatekhwamchuk1 khnin 4 000 khn orkhpkticasubthxdmacakphxaem odymikarklayphnthukhxngyinhnung inbrrda 50 yinthiidrabuaelwepnxyangnxy withikardaeninkhxngorkhrwmkarkhxy esiyesllrbaesngrupaethngthidanhlngkhxngta aelwpkticatamdwykaresiyesllrupkrwytxmakarwinicchycathaemuxtrwccxtaaelwphbsarsi rxyeprxada withikartrwcyunynxun rwmthng electroretinography kartrwclansayta aelakartrwcyin pccubnyngimmiwithirksaorkhni withichwybrrethapyhainchiwitrwmthngxupkrnchwykarmxngehn echn aewnkhyay ifsxngthiphkphaid echn ifchay aelasunkhnathang xaharesrimkhux vitamin A palmitate xacchwyihsaytaaeychalng taethiym visual prosthesis xacepnthangeluxkxyanghnungsahrbkhnthimiorkhrunaerngmak praeminwakhn 1 khnin 4 000 khnmiorkh orkhcaerimtngaetwyedkaetbangkhnxacimidrbphlkrathbcnkrathngepnphuihy phlkhxngorkhehnidngaythaepriybethiybkbthiwihruxcxkhxmphiwetxr khux aesngcakphikeslthisrangphaphbncxehmuxnkbesllrbaesngepnlan twincxta yingmiphikeslnxylngethair phaphthiehnkchdnxylngethann miesllrbaesngcanwnnxykwa 10 thisamarthrbphaphsi odyepnaesngswangdngthimiinchwngklangwn esllehlanixyutrngklangkhxngcxta esllrbaesngkwa 90 thiehluxsamarthrbaesngslwepnphaphkhawda sungichinthislwaelaintxnklangkhun epnesllsungxyurxb cxta orkhthalayesllrbaesngcaknxkekhamaswntrngklang hruxcakswntrngklangxxkipswnnxk hruxthalayepnyxm thithaihesllswntrngnnmiprasiththiphaphtrwccbaesngidnxylng khwamesuxmcakorkhnicaluklamodyyngimmiwithirksaxakartwxyanglansaytathiaekhblngehmuxnmxngphanxuomngkh tunnel vision phaphlang xarphiepnorkhthiekidxakarephraaesiyesllrbaesngxnbuxyuthidanhlngkhxngdwngtaaelathahnathikhlaykbfilminklxngthayrup odypktiaelw esllrupaethngsungmihnathiekiywkbkarehnewlaklangkhun mkcaesiyhaykxn sungxthibaywa thaimkhwammitabxdaesng nyctalopia cungepnxakarthipraktkhunkxn karehnewlaklangwnsungxanwyodyesllrupkrwycakhngsphaphcnthungrayahlng khxngorkh khwameprxaepuxnkhxng retinal pigment epithelium dwysida ehmuxnkradukaelaekhm epnxakarthw ipkhxngorkh lksnathiehnidintaxyangxunkhuxcanprasathta optic disc praktepnsiehluxngsid aelaesneluxdekidtibaekhb xakaresuxmkhxngcxtaebuxngtnkkhuxtafangklangkhun nyctalopia aelakaresiykarehnthilansaytarxbnxkthdekhama mid peripheral visual field esllrbaesngrupaethng sungthahnathiinaesngslwaelamixyuodymakthirxb cxta epnswnthiidrbphlkxnephuxninorkhaebbthiimekidrwmkbkhwamphidpktixun non syndromic tacaaeylngkhxnkhangerwodykhyayipthunglansaytarxbnxksud aelwinthisudkcaekhamathungswntrngklangthaihehnehmuxnphanxuomngkhmakkhun khwamkhmchdaelakarehnepnsixacaeylngephraakhwamphidpktikhxngesllrupkrwy sungmihnathiekiywkbkarehnepnsi khwamkhmchd aelakarehnswntrngklang orkhxaccadaeninipxyangetha knthngsxngkhang khuxtasayaelakhwacaekidxakarkhlaykn nxkcakphlodytrngthiekidcakkhwamesuxmkhxngesllrupaethngaelatxmaesllrupkrwy kyngmiphlodyxxmxun sungpraktepnxakarkhxngorkh praktkarnechn xakarklwaesng photophobia khuxmxngehnaesngthrrmdaepnaesngcamak aela photopsia khuxmxngehnaesngkraphribhruxaesngwab echnehmuxnfaaelb phayinlansayta bxykhrngcaekidinrayahlng khxngorkh mixakar 3 xyangthiknta fundus sungepnlksnaechphaakhxngorkhthieriykwa ophthalamic triad khux chn retinal pigment epithelium RPE khxngcxtacapraktepnrxyeprxadaephraaekid bony spicule canprasathta optic disc praktepnsiehluxngsidkhlay khiphung hlxdeluxdincxtacaliblnglng orkhthiimekidrwmkbkhwamphidpktixun Nonsyndromic RP pkticamixakartang dngtxipnitafangklangkhun nyctalopia lansaytaaekhblngehmuxnmxngphanxuomngkh karimehnrxbnxk tunnel vision Latticework vision photopsia khuxmxngehnaesngkraphribhruxaesngwab echn ehmuxnfaaelb phayinlansayta xakarklwaesng photophobia khuxmxngehnaesngthrrmdaepnaesngcamak karekidrxyeprxadakhux bony spicule karsasmsarsiepnrupokhrngmiplayehmuxnekhm thiknta karprbtwcakthimudepnthiswang aelanytrngknkhamidcha karehnmw aeyksiidimdi karesiykarehntrngklang inthisudcacdwabxdehtuorkhxaccaepn Nonsyndromic khuxekidodylaphngodyimphbxakarxun Syndromic khuxphbkbkhwamphidpktikhxngkarrbkhwamrusukthangprasathxun kbkhwamphidpktithangphthnakar hruxkbxakarthisbsxnxun ekidepnxakarthutiyphumi secondary khxngorkhthwrangkayxun xnung xarphiemuxekidkbhuhnwk imwacaaetkaenidhruxkhxy epn eriykwa Usher syndrome klumxakarxlphxrtthismphnthkbxarphi epnorkhkhwamphidpktithi basement membrane khxng glomerulus sungthaihmixakaritesuxm orkhcasubthxdaebb X linked dominant xarphiemuxekidkbxmphatklamenuxta ophthalmoplegia karklunlabak dysphagia phawaklamenuxesiyshkar ataxia aelakhwamphidpktikarnaiffathihwic caphbinkhnikh Kearns Sayre syndrome hrux Ragged Red Fiber Myopathy odyepnkhwamphidpktithangdiexnexkhxngimothkhxnedriy xarphiemuxekidkbpyyaxxn orkhesnprasathnxkprasathklang peripheral neuropathy acanthotic spiked RBCs khuxemdeluxdaedngthimieyuxhumesllyunxxkepnhnam steatorrhea khuxphawaikhmnekininxuccara aelakarkhadliophoprtinhnaaenntamak VLDL caphbinkhnikh abetalipoproteinemia sungepnphawakhdkhwangkardudsumikhmnaelawitaminthilalayinikhmncakxahar inthangkhlinik xarphiekidkbkhwamphidpktikhxngyinthiminxyhlayxyang rwmthngorkhklamenuxecriyphidephiyn muscular dystrophy aela chronic granulomatous disease odyepnswnkhxng McLeod syndrome niepnfionithpaebb X linked recessive praktepnkarkhadoprtin XK thiphiwesllxyangsineching aeladngnn cungmikareaesdngxxkkhxngaexntiecnaebb Kell nxymakthiemdeluxdaedng emuxtxngthayeluxd khnikhehlanicungmieluxdthicdwaimekhakbphubricakheluxdpkti aelaphubricakheluxd K0 K0 odysineching orkhthismphnthkbkarthangannxyphidpktikhxngxnthahruxrngikh hypogonadism thaihphthnakarxyanglacha aelasubthxdthangphnthukrrmaebbthaykrrmlksnadxy autosomal recessive caphbinkhnikhorkh Bardet Biedl syndrome epnkhwamphidpktithangphnthukrrmekiywkbsieliykhxngesllaelamiphltxrabbtang hlayxyanginrangkay phawaxun thixacmixakarxarphirwmthngsifilisrabbprasath neurosyphilis orkhtidechuxthxkosphlasma toxoplasmosis aelaorkhtidechuxxaaekhntamiba Refsum s disease phnthusastr orkhxarphiepnorkhcxtaesuxmxnsubthxdthangphnthukrrmsungsamythisud aelapraktepnkhwamsuyesiyesllrbaesngthiluklam aelaxaccathaihtabxdidodythisud miyinhlayyinthiemuxklayphnthu xacepnehtukhxngorkh rupaebbkarsubthxdthangphnthukrrmkhxngorkhrwmthngthaykrrmlksnaedn autosomal dominant thaykrrmlksnadxy autosomal recessive X linked subcakaem odyimothkhxnedriy odycakhunxyukbkarklayphnthukhxngyinxarphithimiinphxaem inpi 1989 nkwicyidphbkarklayphnthukhxngyinordxpsin rhodopsin sungepnsarsi pigment thicaepninkarthayoxnaesngthirbthangtaihepnkraaesprasath visual transduction cascade ephuxihehninthislw yinniekharhsoprtinhlkchnidhnungthiswnnxk outer segment khxngesllrbaesng karklayphnthukhxngyinthisamythisudepn missense mutation hruxkarphbtwphidpkti misfolding khxngoprtinordxpsin aelapkticasubthxdthangphnthukrrminrupaebbthaykrrmlksnaedn autosomal dominant tngaetidkhnphbyinni misylksn RHO kidkhnphbkarklayphnthukhxngyinthung 100 rupaebb sungepnehtukhxngcxtaesuxm retinal degeneration rupaebbtang thung 15 aelaepnehtukhxngxarphithisubthxdaebbthaykrrmlksnaednthung 25 inpi 1990 mikarkhnphbkarklayphnthu Pro23His khxngyinxxpsin opsin ebsediywthi intradiscal domain sungsmphnthkborkhxarphi aelacnkrathngthungthukwnniidmikarrabukarklayphnthukhxngyinkwa 150 xyang karklayphnthuehlaniphbthwyinxxpsinodykracayiptamodemn 3 odemnkhxngoprtin khux intradiscal domain transmembrane domain aela cytoplasmic domain ehtuthangchiwekhmikhxngorkhinkrnithiyinordxpsinklayphnthukkhuxkarphbtwphidpktikhxngoprtin protein misfolding aelakarkhdkarthangankhxng molecular chaperones sungchwyinkarphboprtin ngantnkhristthswrrs 2000 tx maphbwa karklayphnthuthiokhdxn codon 23 inyinordxpsin sungepnkarepliynoprlin proline epnhistadin histidine epnkarklayphnthukhxngyinordxpsinsungekidbxythisudinshrth nganwicyxun idrayngankarklayphnthuthiokhdxnxun sungsmphnthkborkhxarphirwmthng Thr58Arg Pro347Leu Pro347Ser bwkkkbkarhludhay deletion khxngyin Ile 255 inpi 2000 karklayphnthuthiminxykhxngokhdxn 23 idrabuwakxorkhodysubthxdthangphnthukrrmaebbthaykrrmlksnaedn aelaoprlincaepliynepnxalanin alanine aetngansuksanikidaesdngwa khwamesuxmcxtathismphnthkbklayphnthunikhxnkhangebathngodyxakaraelakarluklam xnung aexmphlicudthiwdody electroretinography cadikwathiphbinkarklayphnthu Pro23His thimimakkwa karsubthxdthangphnthukrrmaebbthaykrrmlksnadxykhxngorkhidrabuaelwinyinxyangnxy 45 yin karsubthxdechnnihmaykhwamwa phxaemthiepnphahakhxngyinklayphnthuthikxorkhodymisxngxllil diallelic xacmilukthiekidorkh swnkarklayphnthukhxngyinaebb USH2A ruwaepnehtukhxngorkhaebbekidkbxakarxun syndromic thiruckwa Usher s Syndrome odycasubthxdaebbthaykrrmlksnadxy karklayphnthukhxng pre mRNA splicing factors thung 4 aebbruaelwwaepnehtukhxngorkhthisubthxdaebbthaykrrmlksnaedn karklayphnthurwmthng PRPF3 PRPF3 khxngmnusykkhux HPRPF3 hrux PRP3 PRPF8 PRPF31 aela PAP1 ephraaaefketxrmikaraesdngxxkxyangaephrhlay cungesnxwakhwambkphrxngkhxngaefketxrthiaephrhlay khuxoprtinthiaesdngxxkthukhnthukaehng echnniaetepnehtukhxngorkhphayincxtaethann ephraaordxpsininesllrbaesngcaepntxngxasyvththikhxngaefketxrmakkwathixun karklayphnthukhxngyin 6 yinkxorkhthisubthxdaebb X linked odythisamysudcaekidthitaaehnng loci odyechphaa khxngyin RPGR aela RP2 rupaebbkhxngxarphirwmthng OMIM yin rupaebb180100 RP1 Retinitis pigmentosa 1312600 RP2 Retinitis pigmentosa 2300029 RPGR Retinitis pigmentosa 3608133 PRPH2 Retinitis pigmentosa 7180104 RP9 Retinitis pigmentosa 9180105 IMPDH1 Retinitis pigmentosa 10600138 PRPF31 Retinitis pigmentosa 11600105 CRB1 Retinitis pigmentosa 12 thaykrrmlksnadxy600059 PRPF8 Retinitis pigmentosa 13600132 TULP1 Retinitis pigmentosa 14600852 CA4 Retinitis pigmentosa 17601414 HPRPF3 Retinitis pigmentosa 18601718 ABCA4 Retinitis pigmentosa 19602772 EYS Retinitis pigmentosa 25608380 CERKL Retinitis pigmentosa 26607921 FSCN2 Retinitis pigmentosa 30609923 TOPORS Retinitis pigmentosa 31610359 SNRNP200 Retinitis pigmentosa 33610282 SEMA4A Retinitis pigmentosa 35610599 PRCD Retinitis pigmentosa 36611131 NR2E3 Retinitis pigmentosa 37268000 MERTK Retinitis pigmentosa 38268000 USH2A Retinitis pigmentosa 39612095 PROM1 Retinitis pigmentosa 41612943 KLHL7 Retinitis pigmentosa 42268000 CNGB1 Retinitis pigmentosa 45613194 BEST1 Retinitis pigmentosa 50613464 TTC8 Retinitis pigmentosa 51613428 C2orf71 Retinitis pigmentosa 54613575 ARL6 Retinitis pigmentosa 55613617 ZNF513 Retinitis pigmentosa 58613861 DHDDS Retinitis pigmentosa 59613194 BEST1 Retinitis pigmentosa concentric608133 PRPH2 Retinitis pigmentosa digenic613341 LRAT Retinitis pigmentosa juvenile268000 SPATA7 Retinitis pigmentosa juvenile thaykrrmlksnadxy268000 CRX Retinitis pigmentosa late onset dominant300455 RPGR Retinitis pigmentosa X linked and sinorespiratory infections xacchuhnwkhruximphyathisrirphaphphaphklxngculthrrsnaebbsxngkradinxuomngkhsungaesdngesllrupaethngaelarupkrwy esllrupaethngthiyawkwaaesdngepnsiehluxngaelasm esllrupkrwythisnkwaaesdngepnsiaedng nkwichakaridcbkhukarthanganradbomelkulthibkphrxnghlayxyangkbkarklayphnthukhxngyinekiywkborkhaelw karklayphnthukhxngyinordxpsin sungkxorkhthisubthxdaebbthaykrrmlksnaednodymak cakhdkarthangankhxngoprtinxxpsinkhxngesllrupaethngsungcaepninkaraeplkhxmulaesngihepnkraaesprasath phototransduction cascade khxngrabbprasathklang khwamphidpktiinkarthangankhxngordxpsin sungepnhnwyrbthicbkhukbcioprtin GPCR cacdepnhmu class khunxyukbkarphbtwphidpktikhxngoprtinaelawithikarthanganthiphidpktikhxngoprtin vththikhxngoprtinklayphnthuhmuhnung Class I caesiyipephraakarklayphnthukhxngebsniwkhlioxithd 1 ebs point mutation phayinladbkrdxamionthiekharhsoprtin aelamiphltxkarkhnsngoprtinekhaipthiswnnxk outer segment khxngesll sungepnswnthithayoxnaesngepnkraaesprasath xnung karphbtwphidpktikhxngoprtinklayphnthuhmusxng Class II cakhdkarprakxboprtinkb 11 cis retinal ephuxsrangswnkaenidsi chromophore thiehmaasm karklayphnthuxun inyinthiekharhssarsinicamiphltxesthiyrphaphkhxngoprtin thalayburnphaphkhxng mRNA inraya post translational aelamiphltxxtrakarkxkmmnt activation rate khxng transducin bwkkbxxpsinsungepnoprtinnaaesng karthdlxnginstwtwaebbaesdngwa esllchn retinal pigment epithelium khxngcxtaimthakarfaokisothsistxcanswnnxkkhxngesllrupaethng outer rod segment disc thihludxxkaelw epnkarsasmessswnnxkthilathingaelwxyangphidpkti inhnuthimikarklayphnthuihcxtaesuxmaelasubthxdaebb homozygous recessive esllrupaethngcahyudphthnakaraelwesuxmkxnthiesllcaotetmthi xnung idphbkhwambkphrxngkhxngexnism cGMP phosphodiesterase xikdwy sungthaih cyclic guanosine monophosphate cGMP sasminradbthiepnphiskarwinicchykarwinicchyorkhthiaemnyacaxasyprawtikhwamesiyhaythiaeylngxyangtxenuxngkhxngesllrbaesng sungyunyndwykartrwcsxbtang rwmthngkartrwclansayta visual field test kartrwcsayta visual acuity test karthayphaphcxta optical coherence imagery aela electroretinography ERG kartrwclansaytaaelakartrwcsaytaethiybkhnadlansaytaaelakhwamkhmchdkhxngkarehnkbkhawdkhxngbukhkhlthimisaytasmburn 20 20 vision lksnathangkhlinikthibngorkhrwmthnglansaytathiaekhblngaelaaeylng aelasaytathimxngchdaeylng xnung karthayphaphrngsiranab optical tomography echnphaph fundus optical coherence aela retinal optical coherence samarthichchwywinicchyorkh karthayphaphcxtathikhyaymantaaelwchwyyunynkarekidrxyeprxadakhux bony spicule thiknta sungcaekidinrayahlng khxngorkh emuxrwmkbphaphswntddwy optical coherence tomography sungihkhxmulekiywkbkhwamhnakhxngesllrbaesng snthankhxngchncxta retinal layer aelasrirphaphkhxng retinal pigment epithelium phaphthaycxtakcachwyrabukhwamekhluxnihwkhxngorkhxarphi aemkartrwclansayta kartrwcsayta aelaphaphcxtacasnbsnunkarwinicchyepnorkhxarphi aetkarthdsxbxun kcaepnephuxyunynlksnaxun khxngorkh Electroretinography ERG yunynkarwinicchyephraatrwcsxbkarthangankhxngsaytaenuxngkbkaresuxmkhxngesllrbaesng aelasamarthtrwccbkhwamphidpktithangsrirphaphkxnthixakarcaprakt ecahnathicaichelnsthiepnxielkothrdephuxwdkartxbsnxngkhxngesllrbaesngtxaesngkaphribthichayihduinradbkhwamswangtang khnikhthimifionithpkhxngorkhcamikartxbsnxngthangiffathildlnghruxchalngkhxngesllrupaethng aelaxaccaesllrupkrwydwy emuxwinicchy aephthyxacphicarnaprawtikhrxbkhrwkhxngkhnikhephraaepnorkhthixactidtxthangkrrmphnthu miyinxyangnxy 35 taaehnng locus thiepnehtukhxngorkhaebb nonsyndromic khuxxarphithiimichphlkhxngxikorkhhnung hruxepnswnkhxngklumxakarxun karklayphnthukhxngyinthikxorkhxacrabuiddwykartrwcdiexnex DNA testing sungmiichthangkhlinikinbangpraeths karklayphnthurwmthngRLBP1 thaykrrmlksnadxy Bothnia type RP RP1 thaykrrmlksnaedn RP1 RHO thaykrrmlksnaedn RP4 RDS thaykrrmlksnaedn RP7 PRPF8 thaykrrmlksnaedn RP13 PRPF3 thaykrrmlksnaedn RP18 CRB1 thaykrrmlksnadxy RP12 ABCA4 thaykrrmlksnadxy RP19 RPE65 thaykrrmlksnadxy RP20 sahrbyinxun echn DHDDS kartrwcdiexnexmiichinkarwicyethann orkhsamarthsubthxdthangphnthukrrmaebbthaykrrmlksnaedn autosomal dominant thaykrrmlksnadxy autosomal recessive hrux X linked aebb X linked xacepnaebbdxy recessive sungodyhlkmiphltxphuchayethann hruxepnaebbedn dominant sungmiphltxthngchayhying aemchaycamixakarebakwa rupaebborkhthiekidcakyinsxngyin digenic aelacakimothkhxnedriykmidwy inbangpraeths ecahnathixacihkhapruksaekiywkbpyhakarsubthxdthangphnthukrrminkhrxbkhrw odykhunxyukbkarwinicchythithaxyangaemnya karrabuwithisubthxdthangphnthukrrm aelaphlkartrwcdiexnexkarrksapccubnyngimmiwithirksaorkhihhay aemcamikartrwcsxbprasiththiphlaelakhwamplxdphykhxngwithikarrksatang xyu prasiththiphaphkhxngxaharesrimtang echn witaminex krdikhmn docosahexaenoic acid DHA aela Lutein ephuxchalxorkhyngepneruxngyngimyuti aetkepnthangeluxkinkarrksa karthdlxngthangkhlinikthitrwcsxbxupkrnfngthicxta ertinaethiym optic prosthetic device karbabddwyyin gene therapy aelakarphatdepliyncxta retinal sheet transplantation epneruxngthikalngsuksaephuxkhunkarehnepnbangswnihaekkhnikhorkhxarphi witamin A inrupaebb Palmitate nganwicypi 1993 khxngsastracarycksuwithyaphuhnungaehngmhawithyalyharwardaesdngwa khnikhbangphwksamarthchalxkhwamesuxmkhxngesllrupaethngodythanwitaminexinrupaebbkhxng vitamin A palmitate praman 15 000 hnwysakl ethakb 4 5 millikrm txwn aemcaimphbpyhakhwamplxdphyemuxichwitaminexinradbsunginchwngrayanganwicy aetkhwamplxdphyrayayawkyngimchdecn ephraakarichwitaminexinradbnixacmiphlkhangekhiynghlayxyangaelacdwa samarthkxkhwamphidpktithangphthnakar teratogenic xnung bthkhwamprithsnpi 2004 srupwa nganwicyaelakhxaenana khxngsastracarythiwa nnyngmikhxotaeyngxyu mikaresnxwa mikhwamcaepntxngmihlkthanphisucnwa mipraoychnthikwangkhwangyingkwani kxnthicaaenanakarichwitaminexsahrbxarphi nganwicykhxngsastracarykhnediywknpi 2007 aesdngwakarichwitaminexthiehmaasmsahrbkhnikhinbangrayakhxngorkhbangrupaebb samarthchalxkartabxdidthung 10 pi odyldkhwamesiyhaythiekidkhuninxtra 10 txpiihepn 8 3 txpi ertinaethiym xupkrnfnginta ertinaethiym Argus II retinal prosthesis epnwithikarrksaorkhaerkthiidrbxnumtiineduxnkumphaphnth 2011 pccubnmiichrksainpraethseyxrmni frngess xitali aelashrachxanackr phlinrahwangthiidcakkhnikh 30 khninkarthdlxngrayayawidephyaephrinpi 2012 txmapi 2013 xngkhkarxaharaelayashrthcungidxnumtiihichkarrksaniinshrthxemrika xupkrnxacchwykhnikhorkhxarphiphuihythiesiykarehnruprangaelakarekhluxnihwephuxihsamarthichchiwitpracawnaelachwyehluxtwexngiddikhun aemkhnikhcaehnidchdecnthisudinradb 20 1260 ethann sungyngcdwabxdxyuthngodyxngkhkarxnamyolkaelapraethsshrthxemrika ineduxnmithunayn 2013 rph 12 aehnginshrthprakaswacaerimrbkhnikhorkhxarphithisniccaichxupkrnthicaerimwangtladinplaypinn khaichcaysahrbxupkrnxyuthi 150 000 dxllarshrth praman 4 7 lanbath odyimrwmkhaphatdhruxkhafukichxupkrn swnxupkrn Alpha IMS epnimokhrchipbnthukphaphthisamarthphatdfngitrxybumcxta fovea aetephuxsuksawaxupkrnsamarththaihehndikhunhruxim phuphlitcatxngaesdngkhwamplxdphykhxngxupkrnkxnthakarthdlxngthangkhlinikaelaxnumtiihwangtlad odykhaxupkrnaelakarphatdcaxyuthipraman 100 000 yuor praman 4 1 lanbath karbabddwyyin gene therapy swnepahmaykhxngkarsuksaeruxngkarbabddwyyin gene therapy kkhuxephuxesrimesllcxtaxnaesdngxxkyinthiklayphnthusungsmphnthkbfionithpkhxngorkhdwyyinthidi ephuxihesllrbaesngsamarthsxmaesmtnexngaelathanganidxyangthuktxngdwykhxmulthiidcakyinthidi karthdlxngthangkhlinikthiisyin RPE65 pktiincxtathiaesdngxxkfionithporkhxarphiaebb LCA2 Leber s congenital amaurosis phbwathaihehndikhunidelknxy aetesllrbaesngkyngesuxminxtrapktikhxngorkh karbabddwyyinnacachwyrksaesllcxtathiyngdixyu aetimsamarthsxmkhwamesiyhaytxesllrbaesngthisngsmmakxn id odythvsdiaelw kartxbsnxngrbkarbabddwyyinnacaditxkhnikhwyeyawthiorkhmirayakardaeninsnthisud ephraamioxkaschwyesllihphnorkhdwyyinthiisekhaipmakthisud inpi 2017 xngkhkarxaharaelayashrthxnumtikarbabddwyinthieriykwa Luxturna ephuxrksakhnikhthicxtafx retinal dystrophy enuxngkbkarklayphnthukhxngyin RPE65 kharksaxyuthi 850 000 dxllarshrth praman 27 5 lanbath sahrbtathngsxngkhangemuxtnpi 2018phyakrnorkhephraaorkhaeylngeruxy aelaimmiwithikarrksa khnikhcungmiphyakrnorkhthiimkhxydi aempktitacaimbxdodysineching saytaaelalansaytakhxngkhnikhcaaeylngeruxy erimcakkaresuxmkhxngesllrupaethngaelatxmaesllrupkrwy karrksathiepnipidkyngxyuinrayawicyhruxkarthdlxngthangkhlinik xyangirkdi karrksadwykarkhunsphaphsaytaduehmuxncamixnakhtthiaecmis ngansuksaidaesdngwa edkthimicionithpkhxngorkhcaidpraoychncakkarpruksakbaephthykxncamiorkh ephuxetriymtwrbmuxpyhathangtaaelathangsngkhmenuxngkbsaytathiaeylngeruxy aempyhathangciticcadikhunemuxthaechnni aetphlthangtaaelakaraeylngkhxngorkhodymakcakhunxyukbxayuthixakarerimpraktaelaxtrakaresuxmkhxngesllrbaesng imichkarmioxkasiphaaephthy xupkrnprbsaytaaelakarbabdtathiprbihehmaakbtnsungthakbphuechiywchayineruxngkarmxngehnidnxy xacchwykhnikhaekpyhakarmxngehn khuxchwyihmxngdwylansaytathiehluxxyuiddithisud klumsnbsnun praknekiywkbsayta aelakarprbwithichiwit xacepnpraoychninkarrbmuxkbkarehnthildlngwithyakarrabadorkhxarphiepnehtuchnnakhxngkhwamtabxdthisubthxdthangphnthukrrm khnpraman 1 in 4 000 khncamiorkhaebbimekidrwmkbkhwamphidpktixun non syndromic inchwngchiwit praeminwamikhn 1 5 lankhnthwolkthimiorkh orkhthierimekiderwcaekidphayinimkipiaerkkhxngchiwitaelapkticasmphnthkbkhwamphidpktixun inkhnathiorkhthierimekidchacapraktinwyphuihytn cnthungwyklangkhn orkhthisubthxdaebbthaykrrmlksnaednaelathaykrrmlksnadxycamithnginchayhyingetha kn aetorkhthisubthxdaebb X linked sungminxykwacamiphltxchaythiidrbyinklayphnthu aethyingcaepnphahakhxngorkhodyimmixakar rupaebbnicdwarunaerng aelapkticathaihtabxdsnithinchwngthay swninkrnithiminxy orkhthisubthxdaebb X linked epnlksnaedncamiphltxthngchayhyingetha kn enuxngcakkarsubthxdthangphnthukrrmkhxngorkh klumprachakrthiaeykxyutanghakcaekidorkhbxykwahruxmikhwamchukorkhthisungkhunodymikarklayphnthukhxngyinodyechphaa thikxorkh karklayphnthuimwacaepnaebbthimixyuaelwhruxekidkhunihmsungthaihesllrbaesngrupaethngesuxminorkhxarphicasubthxdmatamkhrxbkhrw dngnn cungthaihorkhekidkhunmakinphumiphakhbangswnodypraktprawtiinkhrxbkhrw mingansuksahlaynganthiidthaephuxrabukhwamchukorkhtang inrthemn shrth emuxngebxrmingaehm shrachxanackr praethsswitesxraelnd 1 khnin 7 000 khn praethsednmark 1 khnin 2 500 khn aelapraethsnxrewy khnphunemuxngxemriknchawnawaoc Navajo miradbkarsubthxdorkhthisungkhunechnkn odypraeminwamiphltxkhn 1 khnthuk 1 878 khn orkhxarphiaemcasubthxdtamkrrmphnthuinkhrxbkhrw aetkcdwaimcakdechphaaklumbukhkhl ephraamiphltxprachakrthwolknganwicykarrksainxnakhtxacrwmkarphatdepliyncxta karichcxtaethiym karbabddwyyin gene therapy karbabddwyeslltnkaenid xaharesrim aela hruxyarksa inpi 2006 nkwicychawxngkvsidplukeslltnkaenidthiidphthnakarmacnthungrayasudthayphrxmthicaklayepnesllrbaesng ekhaintakhxnghnuthiidepliynphnthukrrmihmixakareliynorkhxarphiaelaorkhcudphaphchdkhxngcxtaesuxmkhxngmnusy aelwphbwa esllrbaesngechnniidphthnakaraelwechuxmtxkbesllprasathincxtakhxnghnu sungepnkhntxnsakhyinkarkhunsphaphsayta ephraakxnhnaniidechuxwa cxtathiphthnasmburnaelwimsamarthfunfusxmaesmid nganwicynixacthaihsamarthplukfngesllechnniinmnusyinxnakhtid inpi 2008 nkwithyasastrchawyipunthisthabnchiwwithyasastroxsaka Osaka Bioscience Institute idkhnphboprtinthitngchuxwa Pikachurin sungphwkekhaechuxwaxacnaipsuwithikarrksaorkhxarphi inpi 2008 mikhwamphyayamthicaechuxmkaraesdngxxkkhxngyin FAM46A kborkh inpi 2010 karrksadwyyinwithihnungduehmuxncaidphlinhnu inpi 2012 nkwithyasastrthisunykaraephthymhawithyalyokhlmebiyidaesdngkbstwtwaebbwa karrksadwyyin gene therapy aelakarrksadwyeslltnkaenidaebb induced pluripotent stem cell xacepnthangeluxkthiepnipidephuxrksaorkhinxnakht inpi 2012 nkwithyasastrthisthabncksuaebskhxmpalemxr Bascom Palmer Eye Institute aehngmhawithyalyimaexmi idaesdngkarpxngknrksaesllrbaesnginstwtwaebb emuxchid mesencephalic astrocyte derived neurotrophic factor MANF ekhaipinta inpi 2014 nkwicythimhawithyalyaekhlifxreniy ebirkliyidkhunsphaphkarehnkhxnghnutabxdodyich photoswitch thierimkarthangankhxng retinal ganglion cell instwthimiesllrbaesng thngrupaethngaelarupkrwy esiyhay ngansuksapi 2015 thisunykaraephthysidars sinay Cedars Sinai Medical Center innkhrlxsaexneclisaesdngwa yin CRISPR Cas9 samarthichrksahnuthimiorkhsungsubthxdaebbthaykrrmlksnaedn inpi 2016 bristh RetroSense Therapeutics miaephncachidiwrsthimidiexnexkhxngsahrayiwaesngekhaipintakhxngkhntabxdenuxngkborkhxarphihlaykhn odyepnokhrngkarthiidrbxnumticakxngkhkarxaharaelayashrth thaprasbkhwamsaerc kcaehnepnkhawdaduephimkarthayphaphcxprasathta karthdsxblansayta karbnthukkhluniffacxta Humphrey field analyserechingxrrthmissense mutation epn point mutation khuxniwkhlioxithdxnhnungepliynip miphlklayepn codon thiekharhssahrbkrdxamionthitangkn inxnuchiwwithya molecular chaperone epnoprtinthichwyinkarphb folding hruxkarkhli unfolding hruxkarprakxb assembly hruxkaraeyk disassembly okhrngsrangmaokhromelkulxun chaperone camiinsthankarnthimaokhromelkultxngthakicthangchiwwithyakhxngtn ephuxihkarphb karprakxbthasaercxyangthuktxngxangxing Facts About Retinitis Pigmentosa National Eye Institute phasaxngkvs May 2014 cakaehlngedimemux 2019 03 07 subkhnemux 2017 12 02 Retinitis pigmentosa sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 aephthysastr orkhcxtamisarsi nph smekiyrti xthikhmkulchy orkhxarphi cakaehlngedimemux 2018 11 07 subkhnemux 2014 06 03 Openshaw Amanda Feb 2008 PDF University of Michigan Kellogg Eye Center khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2017 08 29 subkhnemux 2017 12 02 Shintani Kelly Shechtman Diana L Gurwood Andrew S 2009 Review and update Current treatment trends for patients with retinitis pigmentosa Optometry 80 7 384 401 doi 10 1016 j optm 2008 01 026 PMID 19545852 Soucy E Wang Y Nirenberg S Nathans J Meister M 1998 A Novel Signaling Pathway from Rod Photoreceptors to Ganglion Cells in Mammalian Retina Neuron 21 3 481 93 doi 10 1016 S0896 6273 00 80560 7 PMID 9768836 Hartong Dyonne T Berson Eliot L Dryja Thaddeus P 2006 Retinitis pigmentosa The Lancet 368 9549 1795 1809 doi 10 1016 S0140 6736 06 69740 7 PMID 17113430 O Neal Teri B Luther Euil E 2018 12 20 Retinitis Pigmentosa StatPearls Publishing LLC cakaehlngedimemux 2019 04 16 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Lim Jennifer I Chow Clement C Genead Mohamed Ali Akkara John Davis Epley K David Shah Vinay A 2019 03 14 Retinitis Pigmentosa American Academy of Ophthalmology cakaehlngedimemux 2018 07 30 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Daiger S P Sullivan L S Bowne S J 2013 Genes and mutations causing retinitis pigmentosa Clinical Genetics 84 2 132 41 doi 10 1111 cge 12203 PMC 3856531 PMID 23701314 Usher Syndrome cakaehlngedimemux 2016 08 17 Diseases MM Types Of Overview Muscular Dystrophy Association 2015 12 18 cakaehlngedimemux 2018 01 17 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 08 17 Farrar GJ Kenna PF Humphries P March 2002 On the genetics of retinitis pigmentosa and on mutation independent approaches to therapeutic intervention EMBO J 21 5 857 64 doi 10 1093 emboj 21 5 857 PMC 125887 PMID 11867514 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk OMIM RETINITIS PIGMENTOSA RP 268000 Rivolta C Sharon D Deangelis M M Dryja T P 2002 Retinitis pigmentosa and allied diseases Numerous diseases genes and inheritance patterns Human Molecular Genetics 11 10 1219 27 doi 10 1093 hmg 11 10 1219 PMID 12015282 Berson Eliot L Rosner B Sandberg M A Dryja T P 1991 Ocular Findings in Patients with Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa and a Rhodopsin Gene Defect Pro 23 His Archives of Ophthalmology 109 1 92 101 doi 10 1001 archopht 1991 01080010094039 PMID 1987956 Senin Ivan I Bosch Laia Ramon Eva Zernii Evgeni Yu Manyosa Joan Philippov Pavel P Garriga Pere 2006 Ca2 recoverin dependent regulation of phosphorylation of the rhodopsin mutant R135L associated with retinitis pigmentosa Biochemical and Biophysical Research Communications 349 1 345 52 doi 10 1016 j bbrc 2006 08 048 PMID 16934219 Dryja Thaddeus P McGee Terri L Reichel Elias Hahn Lauri B Cowley Glenn S Yandell David W Sandberg Michael A Berson Eliot L 1990 A point mutation of the rhodopsin gene in one form of retinitis pigmentosa Nature 343 6256 364 6 Bibcode 1990Natur 343 364D doi 10 1038 343364a0 PMID 2137202 Dryja Thaddeus P McGee Terri L Hahn Lauri B Cowley Glenn S Olsson Jane E Reichel Elias Sandberg Michael A Berson Eliot L 1990 Mutations within the Rhodopsin Gene in Patients with Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa New England Journal of Medicine 323 19 1302 7 doi 10 1056 NEJM199011083231903 PMID 2215617 Berson E L Rosner B Sandberg M A Weigel Difranco C Dryja T P 1991 Ocular findings in patients with autosomal dominant retinitis pigmentosa and rhodopsin proline 347 leucine American Journal of Ophthalmology 111 5 614 23 doi 10 1016 s0002 9394 14 73708 0 PMID 2021172 Inglehearn C F Bashir R Lester D H Jay M Bird A C Bhattacharya S S 1991 A 3 bp deletion in the rhodopsin gene in a family with autosomal dominant retinitis pigmentosa American Journal of Human Genetics 48 1 26 30 PMC 1682750 PMID 1985460 Oh Kean T Weleber R G Lotery A Oh D M Billingslea A M Stone E M 2000 Description of a New Mutation in Rhodopsin Pro23Ala and Comparison with Electroretinographic and Clinical Characteristics of the Pro23His Mutation Archives of Ophthalmology 118 9 1269 76 doi 10 1001 archopht 118 9 1269 PMID 10980774 Retinitis pigmentosa NIH US National Library of Medicine cakaehlngedimemux 2019 02 06 subkhnemux 2019 04 06 Bujakowska K Maubaret C Chakarova C F Tanimoto N Beck S C Fahl E Humphries M M Kenna P F Makarov E Makarova O Paquet Durand F Ekstrom P A Van Veen T Leveillard T Humphries P Seeliger M W Bhattacharya S S 2009 Study of Gene Targeted Mouse Models of Splicing Factor Gene Prpf31 Implicated in Human Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa RP Investigative Ophthalmology amp Visual Science 50 12 5927 5933 doi 10 1167 iovs 08 3275 PMID 19578015 Mendes HF van der Spuy J Chapple JP Cheetham ME April 2005 Mechanisms of cell death in rhodopsin retinitis pigmentosa implications for therapy Trends in Molecular Medicine 11 4 177 185 doi 10 1016 j molmed 2005 02 007 PMID 15823756 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2017 03 29 subkhnemux 2015 03 16 Fahim Abigail T 1993 Nonsyndromic Retinitis Pigmentosa Overview Retinitis Pigmentosa Overview University of Washington Seattle Chang S Vaccarella L Olatunji S Cebulla C Christoforidis J 2011 Diagnostic Challenges in Retinitis Pigmentosa Genotypic Multiplicity and Phenotypic Variability Current Genomics 12 4 267 75 doi 10 2174 138920211795860116 PMC 3131734 PMID 22131872 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Gundogan Fatih Cakir Tas Ahmet Sobaci Gungor 2011 Belusic Gregor b k Electroretinogram in Hereditary Retinal Disorders PDF Electroretinograms Turkey In Tech ISBN 978 953 307 383 5 PDF cakaehlngedimemux 2017 11 17 Retinitis Pigmentosa cakaehlngedimemux 2018 12 22 Hartong DT Berson EL Dryja TP November 2006 Retinitis pigmentosa The Lancet 368 9549 1795 1809 doi 10 1016 S0140 6736 06 69740 7 PMID 17113430 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Rayapudi S Schwartz SG Wang X Chavis P 2013 Vitamin A and fish oils for retinitis pigmentosa Cochrane Database Syst Rev 12 12 CD008428 doi 10 1002 14651858 CD008428 pub2 PMC 4259575 PMID 24357340 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Lok Corie 2014 Curing blindness Vision quest Nature News amp Comment 513 7517 160 162 doi 10 1038 513160a PMID 25209781 Berson Eliot L Rosner B Sandberg M A Hayes K C Nicholson B W Weigel Difranco C Willett W 1993 A Randomized Trial of Vitamin a and Vitamin E Supplementation for Retinitis Pigmentosa Archives of Ophthalmology 111 6 761 72 doi 10 1001 archopht 1993 01090060049022 PMID 8512476 Sharma Yog Raj Reddy P Raja Rami Singh Deependra V 2004 Retinitis Pigmentosa and Allied Disorders Review Article PDF JK SCIENCE 6 3 115 120 subkhnemux 5 mithunayn 2557 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a trwcsxbkhawnthiin accessdate help CS1 maint uses authors parameter Berson Eliot L 2007 Long term visual prognoses in patients with retinitis pigmentosa The Ludwig von Sallmann lecture Experimental Eye Research 85 1 7 14 doi 10 1016 j exer 2007 03 001 PMC 2892386 PMID 17531222 Nahrungserganzungsmittel ALLES was du wissen musst khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 08 19 subkhnemux 2013 08 19 txngkarxangxingetmrupaebb Humayun Mark S Dorn Jessy D Da Cruz Lyndon Dagnelie Gislin Sahel Jose Alain Stanga Paulo E Cideciyan Artur V Duncan Jacque L Eliott Dean Filley Eugene Ho Allen C Santos Arturo Safran Avinoam B Arditi Aries Del Priore Lucian V Greenberg Robert J Argus Ii Study Group 2012 Interim Results from the International Trial of Second Sight s Visual Prosthesis Ophthalmology 119 4 779 88 doi 10 1016 j ophtha 2011 09 028 PMC 3319859 PMID 22244176 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 07 27 Fernandes RA Diniz B Ribeiro R Humayun M 2012 06 25 Artificial vision through neuronal stimulation Neuroscience letters 519 2 122 8 PMID 22342306 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Science Daily 2013 06 29 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 02 27 subkhnemux 2013 06 30 The Argus II Retinal Prosthesis Bionic Eye Receives Medicare Approval Visionware American Printing House for the Blind 2013 08 19 cakaehlngedimemux 2018 12 31 Belluck Pam 2013 02 15 Device Offers Partial Vision for the Blind New York Times cakaehlngedimemux 2019 04 12 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Stingl K Bartz Schmidt KU Besch D Braun A Bruckmann A Gekeler F Greppmaier U Hipp S Hortdorfer G Kernstock C Koitschev A Kusnyerik A Sachs H Schatz A Stingl KT Peters T Wilhelm B Zrenner E 2013 Artificial vision with wirelessly powered subretinal electronic implant alpha IMS Proc Biol Sci 280 1757 20130077 doi 10 1098 rspb 2013 0077 PMC 3619489 PMID 23427175 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk A Second Artificial Retina Option for the E U Technology Review 2013 07 03 Bainbridge James W B Smith Alexander J Barker Susie S Robbie Scott Henderson Robert Balaggan Kamaljit Viswanathan Ananth Holder Graham E Stockman Andrew Tyler Nick Petersen Jones Simon Bhattacharya Shomi S Thrasher Adrian J Fitzke Fred W Carter Barrie J Rubin Gary S Moore Anthony T Ali Robin R 2008 Effect of Gene Therapy on Visual Function in Leber s Congenital Amaurosis New England Journal of Medicine 358 21 2231 9 10 1 1 574 4003 doi 10 1056 NEJMoa0802268 PMID 18441371 Maguire AM High KA Auricchio A aelakhna November 2009 Age dependent effects of RPE65 gene therapy for Lebers congenital amaurosis a phase 1 dose escalation trial The Lancet 374 9701 1597 1605 doi 10 1016 S0140 6736 09 61836 5 PMC 4492302 PMID 19854499 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Commissioner Office of the Press Announcements FDA approves novel gene therapy to treat patients with a rare form of inherited vision loss www fda gov phasaxngkvs cakaehlngedimemux 2019 03 12 subkhnemux 2019 01 16 Spark s price for Luxturna blindness gene therapy too high ICER Reuters 2018 01 13 cakaehlngedimemux 2018 12 05 Well The New York Times lingkesiy Mezer E Babul Hirji R Wise R Chipman M Dasilva L Rowell M Thackray R Shuman C T Levin A V 2007 Attitudes regarding predictive testing for retinitis pigmentosa Ophthalmic Genet 28 1 9 15 doi 10 1080 13816810701199423 PMID 17454742 Parmeggiani F 2011 Clinics Epidemiology and Genetics of Retinitis Pigmentosa Current Genomics 12 4 236 7 doi 10 2174 138920211795860080 PMC 3131730 PMID 22131868 Hamel Christian 2006 Retinitis pigmentosa Orphanet Journal of Rare Diseases 1 40 doi 10 1186 1750 1172 1 40 PMC 1621055 PMID 17032466 Prokisch Holger Hartig Monika Hellinger Rosa Meitinger Thomas Rosenberg Thomas 2007 IOVS A Population Based Epidemiological and Genetic Study of X Linked Retinitis Pigmentosa Investigative Ophthalmology amp Visual Science 48 9 4012 8 doi 10 1167 iovs 07 0071 PMID 17724181 Haim Marianne 2002 The epidemiology of retinitis pigmentosa in Denmark Acta Ophthalmologica Scandinavica 80 1 34 doi 10 1046 j 1395 3907 2002 00001 x Press release Rush University Medical Center 2005 01 31 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2005 02 08 subkhnemux 2007 06 16 MacLaren R E Pearson R A MacNeil A Douglas R H Salt T E Akimoto M Swaroop A Sowden J C Ali R R 2006 Retinal repair by transplantation of photoreceptor precursors Nature 444 7116 203 7 Bibcode 2006Natur 444 203M doi 10 1038 nature05161 PMID 17093405 Sato Shigeru Omori Yoshihiro Katoh Kimiko Kondo Mineo Kanagawa Motoi Miyata Kentaro Funabiki Kazuo Koyasu Toshiyuki Kajimura Naoko Miyoshi Tomomitsu Sawai Hajime Kobayashi Kazuhiro Tani Akiko Toda Tatsushi Usukura Jiro Tano Yasuo Fujikado Takashi Furukawa Takahisa 2008 Pikachurin a dystroglycan ligand is essential for photoreceptor ribbon synapse formation Nature Neuroscience 11 8 923 31 doi 10 1038 nn 2160 PMID 18641643 Levenstein Steve 2008 07 24 InventorSpot com Halcyon Solutions khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 07 11 subkhnemux 2014 06 12 Barragan L Borrego S Abd El Aziz MM El Ashry MF Antinolo G January 2008 Genetic analysis of FAM46A in Spanish families with autosomal recessive retinitis pigmentosa characterisation of novel VNTRs Annals of Human Genetics 72 Pt 1 26 34 doi 10 1111 j 1469 1809 2007 00393 x PMID 17803723 Busskamp V Duebel J Balya D Fradot M Viney T J Siegert S Groner A C Cabuy E Forster V Seeliger M Biel M Humphries P Paques M Mohand Said S Trono D Deisseroth K Sahel J A Picaud S Roska B 2010 Genetic Reactivation of Cone Photoreceptors Restores Visual Responses in Retinitis Pigmentosa PDF Science 329 5990 413 7 Bibcode 2010Sci 329 413B doi 10 1126 science 1190897 PMID 20576849 Stem Cells Freak 2012 12 22 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2018 12 13 Press release Columbia University Medical Center 2012 12 20 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2018 06 27 subkhnemux 2016 08 07 Wen Rong Luo Lingyu Huang Dequang Xia Xin Wang Zhengying Chen Pingping Li Yiwen March 2012 Mesencephalic Astrocyte derived Neurotrophic Factor MANF Protects Rod and Cone Photoreceptors from Degeneration in Transgenic Rats Carrying the S334ter Rhodopsin Mutation Invest Ophthalmol Vis Sci 53 14 2581 subkhnemux 2016 08 07 Wen Rong Luo Lingyu Huang Dequang Xia Xin Wang Zhengying Chen Pingping Li Yiwen 2012 05 07 Mesencephalic Astrocyte derived Neurotrophic Factor MANF Protects Rod and Cone Photoreceptors from Degeneration in Transgenic Rats Carrying the S334ter Rhodopsin Mutation ARVO 2012 Tochitsky Ivan Polosukhina Aleksandra Degtyar Vadim E Gallerani Nicholas Smith Caleb M Friedman Aaron Van Gelder Russell N Trauner Dirk Kaufer Daniela Kramer Richard H 2014 Restoring Visual Function to Blind Mice with a Photoswitch that Exploits Electrophysiological Remodeling of Retinal Ganglion Cells Neuron 81 4 800 13 doi 10 1016 j neuron 2014 01 003 PMC 3933823 PMID 24559673 Bakondi Benjamin Lv Wenjian Lu Bin Jones Melissa K Tsai Yuchun Kim Kevin J Levy Rachelle Akhtar Aslam Abbasi Breunig Joshua J Svendsen Clive N Wang Shaomei 2016 Molecular Therapy Abstract of article In Vivo CRISPR Cas9 Gene Editing Corrects Retinal Dystrophy in the S334ter 3 Rat Model of Autosomal Dominant Retinitis Pigmentosa Molecular Therapy 24 3 556 563 doi 10 1038 mt 2015 220 PMC 4786918 PMID 26666451 Gene editing technique improves vision in rats with inherited blindness Data show the new CRISPR Cas9 system potentially can be used to prevent retinal damage in a type of retinitis pigmentosa Science Daily 2016 01 08 subkhnemux 2016 01 15 FDA approves novel gene therapy to treat patients with a rare form of inherited vision loss FDA 2017 12 19 cakaehlngedimemux 2019 03 12 Bourzac Katherine A blind woman in Texas is first person to undergo optogenetic therapy which could let her see again if successful technologyreview com aehlngkhxmulxunkarcaaenkorkhDICD 10 H35 5ICD 362 74 268000MeSH D012174 11429thrphyakrphaynxk 001029 orkhcxtamisarsi Retinitis Pigmentosa Overvieworkhcxtamisarsi thiewbist Curlie GeneReviews NCBI NIH UW entry on Retinitis Pigmentosa Overview NCBI Molecular diagnosis of retinitis pigmentosa