สภาวะเห็นทั้งบอด หรือ การเห็นทั้งบอด หรือ เห็นทั้งบอด หรือ บลายน์ดไซต์ (อังกฤษ: blindsight) เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางตา ของผู้ที่มีความบอดเหตุสมอง (cortical blindness) ที่เนื่องมาจากรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ทั้ง ๆ ที่ผู้นั้นไม่สามารถจะเห็นตัวกระตุ้นนั้น
งานวิจัยของสภาวะเห็นทั้งบอดโดยมาก ได้ทำกับคนไข้ที่มีภาวะบอดของลานสายตาเพียงข้างเดียว หลังจากที่คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐมของคนไข้ถูกทำลายแล้วเพราะโรคหรือเหตุอย่างอื่น คือ นักวิจัยจะให้คนไข้ตรวจจับ หาตำแหน่ง และแยกแยะตัวกระตุ้นทางตาที่แสดงให้กับลานสายตาข้างที่คนไข้มองไม่เห็น โดยบอกให้คนไข้เดา และแม้ว่าคนไข้จะมองไม่เห็นตัวกระตุ้นนั้นจริง ๆ งานวิจัยกลับแสดงถึงความแม่นยำของการเดาในระดับหนึ่งที่น่าประหลาดใจ
ความสามารถในการเดาด้วยความแม่นยำที่สูงกว่าความบังเอิญ ถึงลักษณะบางอย่างของตัวกระตุ้นทางตา เช่นตำแหน่ง หรือว่าชนิดของความเคลื่อนไหว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการรับรู้ในตัวกระตุ้นโดยประการทั้งปวง เรียกว่า สภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 1 ส่วนสภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 2 เป็นแบบที่คนไข้อ้างว่า รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนไปในลานสายตาข้างที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหว แต่ว่าไม่ใช่โดยการมองเห็นสิ่งเร้าทางตา
สภาวะเห็นทั้งบอดท้าทายความเชื่อที่แพร่หลายว่า สิ่งเร้าต้องปรากฏต่อการรับรู้ จึงจะสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้
ปรากฏการณ์นี้แสดงว่า พฤติกรรมของเราสามารถเปลี่ยนไปเพราะข้อมูลการรับรู้ ที่ "เรา" ไม่ได้รับรู้ด้วยเลย สภาวะนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะเสียสำนึกความพิการที่รู้จักกันว่า Anton-Babinski syndrome ที่คนไข้เสียการเห็นอย่างบริบูรณ์ แต่กลับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) ว่าเห็น
ประวัติ
ความเข้าใจที่มีเกี่ยวกับสภาวะนี้ในยุคต้น ๆ มาจากงานทดลองที่ทำในลิง โดยเฉพาะลิงตัวหนึ่งเป็นพิเศษที่เรียกว่า เฮเล็น ตัวที่เราอาจจะพิจารณาได้ว่า เป็นดาราลิงในงานวิจัยเกี่ยวกับสายตา เพราะว่า เธอเป็นสัตว์ทดลองดั้งเดิมในงานวิจัยบอดทั้งเห็น เฮเล็นเป็นลิงแม็กแคกที่คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (หรือ V1) ถูกทำลายโดยไม่มีส่วนเหลือ ซึ่งมีผลตามความคาดหมายก็คือ เฮเล็นมองไม่เห็น ซึ่งตรวจได้โดยการทดสอบความบอดทั่ว ๆ ไป
อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เฮเล็นกลับแสดงพฤติกรรมที่เหมือนกับเห็น คือ เมื่อประสบกับตัวกระตุ้นที่อาจจะเป็นภัยกับตาของเธอ ม่านตาของเธอก็จะขยาย และเธอก็กระพริบตา ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้การทดสอบบางอย่าง เธอสามารถตรวจจับตัวกระตุ้นทางตาแบบต่าง ๆ เช่นความมีอยู่ของตัวกระตุ้น ตำแหน่งของตัวกระตุ้น รูปร่าง ลวดลาย แนวทิศทาง ความเคลื่อนไหว และสี
ในหลายกรณี เธอสามารถเคลื่อนที่ไปในสิ่งแวดล้อมและทำปฏิกิริยาต่อวัตถุต่าง ๆ เหมือนกับมองเห็น
ปรากฏการณ์ที่คล้ายกันก็มีอยู่ในมนุษย์ด้วย คือ จะมีคนไข้ที่ประสบความเสียหายในคอร์เทกซ์สายตาเพราะอุบัติเหตุหรือโรคหลอดเลือดสมอง ที่แจ้งว่า มองไม่เห็นอะไรเลย หรือว่ามองเห็นบ้าง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อบอกให้เดา กลับสามารถทำการเดาที่มีความแม่นยำมากกว่าบังเอิญเกี่ยวกับความมีอยู่และรายละเอียดอื่นของตัวกระตุ้น เหมือนกับที่พบในสัตว์ทดลอง ยิ่งไปกว่านั้น คนไข้สามารถคว้าจับวัตถุที่โยนไปให้เมื่อบอกให้รับ
เป็นที่น่าสนใจว่า ความมั่นใจในความสามารถนั้นของคนไข้กลับไม่พัฒนาขึ้น คือ แม้ว่าคนไข้จะรู้ว่าตนทำงานประเภทนั้นได้สำเร็จ คนไข้ก็ยังจะไม่เริ่มทำการเดาเกี่ยวกับตัวกระตุ้นโดยตนเอง แต่ยังต้องอาศัยการบอก ยิ่งไปกว่านั้น คนไข้แทบจะไม่เคยแสดงความอัศจรรย์ใจในความสามารถของตน ตามที่คนอื่นคิดว่า คนไข้ควรจะมี
คำพรรณนา
สมองประกอบด้วยกลไกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเห็น มีระบบการเห็น 2 อย่างที่มีการวิวัฒนาการในสัตว์บรรพบุรุษในยุคสมัยที่แตกต่างกัน ระบบแรกที่มีการวิวัฒนาการก่อนเป็นระบบที่ง่าย ๆ และคล้ายกับระบบการเห็นที่มีในสัตว์ต่าง ๆ เช่นปลาและกบ
ระบบที่สองเป็นระบบที่ซับซ้อนกว่า เป็นระบบการเห็นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีบทบาทในการรับรู้โลกภายนอกรอบ ๆ ตัว ส่วนระบบแรกมีบทบาทหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของตา และส่งความใส่ใจไปยังสิ่งเร้าที่เคลื่อนไหวโดยฉับพลันในส่วนรอบนอกของลานสายตา
คนไข้สภาวะเห็นทั้งบอดจะมีความเสียหายต่อระบบที่สอง คือระบบสายตาที่มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งก็คือคอร์เทกซ์สายตาในสมองและใยประสาทตา (Optic tract และ Optic nerve) ที่ส่งข้อมูลมาจากตา
ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการบางอย่างในสมอง คือ แม้ว่าระบบสายตาที่ซับซ้อนจะเกิดความเสียหายแล้ว คนไข้ยังสามารถใช้ระบบสายตาที่ง่าย ๆ เพื่อนำทางการเคลื่อนไหวของมือ ไปสู่วัตถุตัวกระตุ้น ถึงจะไม่สามารถเห็นว่ากำลังเข้าไปคว้าจับอะไร ดังนั้น ข้อมูลทางตาสามารถควบคุมพฤติกรรมโดยที่ไม่ต้องก่อให้เกิดความรู้สึกคือการเห็น สมรรถภาพในการเห็นที่ไม่มีการรับรู้ของผู้มีสภาวะนี้ บอกเป็นนัยว่า การรับรู้ไม่ใช่เป็นคุณสมบัติหรือองค์ประกอบที่จำเป็นในทุก ๆ เขตภายในสมอง และบอกเป็นนัยว่า เขตบางเขตเท่านั้นในสมองมีบทบาทสำคัญในการรับรู้สิ่งเร้า
สภาวะนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะเสียสำนึกความพิการที่รู้จักกันว่า Anton-Babinski syndrome ที่คนไข้เสียการเห็นอย่างบริบูรณ์ แต่กลับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) ว่าเห็น คนไข้สภาวะเห็นทั้งบอดอาจจะรับรู้ลักษณะของวัตถุอย่างหนึ่ง เช่นขอบและการเคลื่อนไหวของวัตถุ แต่ไม่สามารถรับรู้อารมณ์โดยรวม ๆ ได้ นี้บอกเป็นนัยว่า การรับรู้สิ่งเร้านั้นมีได้ทั้งในระบบย่อยที่แยกเป็นส่วน ๆ (เช่นการเห็นขอบและการเคลื่อนไหวของวัตถุ) และในระบบที่รวบรวมประสานข้อมูลจากระบบย่อยเพื่อให้เกิดการรับรู้สิ่งเร้าโดยรวม ๆ ได้
เพราะฉะนั้น การชี้ตัวอารมณ์ (object identification) และการรู้จำอารมณ์ (object recognition) จึงได้รับการพิจารณาว่า เป็นกระบวนการต่างกัน ที่เกิดขึ้นในเขตสมองต่างกัน ทำงานโดยเป็นอิสระจากกันและกัน ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบย่อยของการชี้ตัวและการรู้จำอารมณ์ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ "การรับรู้แฝง" ที่คนไข้เห็นทั้งบอดประสบ นอกจากนั้น งานวิจัยต่าง ๆ ยังได้แสดงอีกด้วยว่า ตัวกระตุ้นทางตาที่เห็นได้โดยลักษณะอย่างเดียว เช่นขอบเขตที่ชัดเจน ความฉับพลันในการปรากฏและหายไป การเคลื่อนไหวที่ต่ำ เป็นตัวสนับสนุน แม้ว่าจะไม่ใช่เป็นเหตุสำคัญ ของความชัดเจนของอารมณ์ในปรากฏการณ์เห็นทั้งบอด
ทฤษฎีการเกิด
มี 3 ทฤษฎีที่ใช้เป็นคำอธิบายสภาวะเห็นทั้งบอด ทฤษฎีแรกกำหนดว่า แม้ว่าจะมีความเสียหายใน V1 แต่ก็ยังมีเส้นประสาทตาสาขาอื่นที่ส่งข้อมูลสายตาไปยัง superior colliculus และเขตอื่น ๆ อีกหลายเขต รวมทั้งเขตในเปลือกสมอง เขตเหล่านี้อาจจะควบคุมปฏิกิริยาของการเห็นทั้งบอด แต่ทฤษฎียังไม่สมบูรณ์เพราะมีปัญหาว่า มีคนไข้เป็นจำนวนมากที่มีความเสียหายใน V1 แต่ไม่มีการเห็นทั้งบอด หรือว่า มีแต่เฉพาะบางส่วนในลานสายตา
ทฤษฎีที่สองอธิบายว่า แม้ว่าจะมีความเสียหายโดยมากใน V1 ของคนไข้ แต่ว่าก็ยังมีบางส่วนของ V1 ที่เป็นจุดเล็ก ๆ ที่ยังมีสภาพดีอยู่ จุดเล็ก ๆ เหล่านี้ไม่ใหญ่เพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้สิ่งเร้า แต่ว่า เพียงพอสำหรับการเห็นทั้งบอด (Kalat, 2009)
ทฤษฎีที่สามอธิบายว่า สัญญาณที่ใช้ในการตัดสินความใกล้ไกลและความเร็วของสิ่งเร้าในปริภูมิ มีการประมวลโดย lateral geniculate nucleus (ตัวย่อ LGN) ในทาลามัส ก่อนที่จะส่งข้อมูลต่อไปในเปลือกสมอง ในสัตว์ทดลองปกติ LGN ใช้สัญญาณเหล่านี้เพื่อรวบรวมข้อมูลจากตาทั้ง 2 แล้วประมวลเป็นแผนภาพ 3 มิติ โดยรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งและความเร็วของสิ่งเร้าแต่ละอย่างในปริภูมิ ที่มีสัตว์ทดลองนั้นเป็นศูนย์กลาง, โดยดึงข้อมูลเกี่ยวกับการเบนตา (vergence) เพื่อประโยชน์แห่งความแม่นยำ, และโดยดึงข้อมูลตัวควบคุมโฟกัส (focus control signal) ของเลนส์ตา หลังจากนั้น ข้อมูลประมวลมี 3 มิติ ก็จะส่งต่อไปยังเปลือกสมองต่อไป ดังนั้น แม้ว่าเปลือกสมองที่รับข้อมูลจะเกิดความเสียหาย แต่ว่าข้อมูลความใกล้ไกลและความเร็วของสิ่งเร้าเป็นต้น ก็ได้มีการประมวลเกิดขึ้นแล้ว
อาการของสภาวะเห็นทั้งบอดสามารถสังเกตได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 2 เดือน แม้ว่าบางครั้งยากที่จะกำหนดประเภท (ว่าเป็นประเภท 1 หรือ 2) ของสภาวะในคนไข้ ที่มีอายุน้อยเกินไปที่จะตอบคำถาม
กรณีศึกษา
คนไข้เดินผ่านทางมีสิ่งกีดขวาง
ในปี ค.ศ. 2003 คนไข้คนหนึ่งที่รู้จักกันว่า ทีเอ็น สูญเสียคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (V1) ไป เพราะเกิดโรคลมปัจจุบันติดต่อกันถึง 2 ครั้ง ที่น็อคเอาท์เขต V1 ทั้งในสมองซีกซ้ายและในสมองซีกขวา หลังจากนั้น การทดสอบสายตาทั่ว ๆ ไปก็แสดงว่า ทีเอ็นไม่เห็นอะไรเลย ไม่สามารถแม้แต่จะตรวจจับวัตถุขนาดใหญ่ที่กำลังเคลื่อนไปอยู่ต่อหน้าของเขา ในที่สุด นักวิจัยเริ่มจะสังเกตเห็นว่า ทีเอ็นมีอาการของสภาวะเห็นทั้งบอด และในปี ค.ศ. 2008 ก็ตัดสินใจที่จะเช็คว่าเป็นอย่างนั้นหรือไม่
พวกเขาได้นำทีเอ็นไปยังทางเดินหน้าห้อง และขอให้เขาเดินผ่านทางนั้นไปโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าที่เขาถือไปด้วยเสมอตั้งแต่เกิดโรคลมปัจจุบัน ทีเอ็นไม่รู้ในตอนนั้นว่า นักวิจัยได้ตั้งสิ่งกีดขวางหลายอย่างไว้ในทางเดินเพื่อที่จะเช็คว่า ทีเอ็นสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นโดยที่ไม่มีความรู้สึกเห็นหรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นที่ทำให้นักวิจัยดีใจมากก็คือ เขาสามารถหลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้นไปได้อย่างง่ายดาย และครั้งหนึ่งสามารถที่จะเกาะติดผนังไปเพื่อจะเบียดผ่านถังขยะที่อยู่ในทาง หลังจากเดินผ่านทางเดินนั้นไปแล้ว ทีเอ็นบอกว่า เขาเพียงแต่เดินไปในทางที่เขาอยากจะไป ไม่ใช่เพราะว่า เขารู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้น (de Gelder, 2008) (ดู วิดีโอ - ทีเอ็นเดินทางเลี่ยงอุปสรรคทั้งที่มองไม่เห็น)
คนไข้ฉวยจับไม้เท้าในแนวที่ถูกต้อง
อีกกรณีหนึ่งที่บันทึกไว้ในหนังสือ "สรีรภาพในพฤติกรรม (Physiology of Behavior)" พิมพ์ครั้งที่ 11 ของ คาร์ลสัน ได้ให้ความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสภาวะเห็นทั้งบอด ในกรณีนี้ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งพาปู่ (หรือตา) ของเธอมาหานักประสาทจิตวิทยา ปู่ของเด็กผู้ชื่อว่า นายเจ ได้เกิดโรคลมปัจจุบันซึ่งทำให้เขาตาบอดเกือบทั้งหมดยกเว้นจุดเล็ก ๆ ในใจกลางของลานสายตา นักประสาทจิตวิทยาผู้ชื่อว่า คุณหมอเอ็ม ได้ทำกายบริหารร่วมกับเขา
คุณหมอได้ช่วยคุณปู่เจให้ไปนั่งที่เก้าอี้ หลังจากนั้นก็ขอยืมไม้เท้าของคุณปู่ แล้วคุณหมอก็บอกว่า "คุณเจ โปรดมองตรง ๆ ไปข้างหน้า ให้มองไปเรื่อย ๆ และอย่าขยับตาหรือหันหน้า ผมรู้ว่าคุณสามารถเห็นได้หน่อยหนึ่งตรงข้างหน้า แต่ผมไม่ต้องการให้คุณใช้ส่วนที่มองเห็นในการบริหารที่ผมจะให้คุณทำ ดีมากครับ ต่อไปนี้ ผมอยากจะให้คุณเอื้อมมือขวาออกไป แล้วชี้ไปตรงตำแหน่งที่ผมกำลังถือของไว้"
คุณปู่เจตอบว่า "แต่ว่าผมไม่เห็นอะไรเลยนะครับ ผมตาบอด!" คุณหมอจึงตอบว่า "ผมทราบครับ แต่ว่า อย่างไรก็ดี ขอให้ลองทำดู" คุณปู่จึงยักไหล่แล้วก็ชี้ไป แล้วจึงเกิดความประหลาดใจเมื่อนิ้วไปกระทบกับปลายไม้เท้าที่คุณหมอกำลังชี้ไปทางคุณปู่อยู่ คุณปู่จึงกล่าวว่า "บังเอิญจังเลย"
หลังจากนั้น คุณหมอจึงหมุนไม้เท้าให้ด้ามถือหันไปทางคุณปู่ แล้วก็ขอให้คุณปู่ฉวยเอาไม้เท้านั้น คุณปู่เอื้อมมือที่แบออกแล้วก็ฉวยเอาไม้เท้านั้น หลังจากนั้น คุณหมอก็กล่าวว่า "ดีครับ ตอนนี้โปรดปล่อยแขนลงตามปกติ" แล้วคุณหมอก็หมุนไม้เท้าไป 90 องศา จนกระทั่งด้ามถืออยู่ในแนวตั้ง แล้วจึงให้คุณปู่เอื้อมมือเพื่อฉวยเอาไม้เท้าอีกครั้งหนึ่ง คุณปู่ก็ได้ทำอย่างนี้ โดยหมุนข้อมือเพื่อจะให้มืออยู่ในแนวเดียวกันกับด้ามถือ กรณีศึกษานี้แสดงว่า แม้ว่าคุณปู่เจจะไม่มีการรับรู้ถึงความสามารถในการเห็นที่เขามี แต่เขาสามารถหันข้อมือเพื่อที่จะฉวยเอาไม้เท้าได้อย่างเหมาะสม เหมือนกับคนที่ไม่มีปัญหาอะไรในการเห็น
งานวิจัย
งานวิจัยที่ทำในคริสต์ทศวรรษ 1970 พบว่า ถ้าคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอดถูกบังคับให้เดาว่า มีตัวกระตุ้นอยู่ในเขตสายตาที่มองไม่เห็นหรือไม่ บางคนจะสามารถทำได้ดีกว่าบังเอิญ ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นที่คนไข้ไม่มีการรับรู้ อาจจะขยายไปถึงการแยกแยะประเภทของตัวกระตุ้น เป็นต้นว่า เป็นตัวอักษร X หรือ O ที่อยู่ในเขตสายตาที่มองไม่เห็น
หลักฐานทางสรีรไฟฟ้าจากปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 (เดอ โมนาสเตริโอ, ค.ศ 1978; มาร์รอคโคและลี, ค.ศ 1977; ชิวล์เลอร์และมัลเพลี, ค.ศ. 1977) แสดงว่า ไม่มีข้อมูลเรตินาที่ไปจากเซลล์รูปกรวยในจอตาประเภท S (ซึ่งรับรู้แสงในความถี่สีน้ำเงิน) ไปยัง superior colliculus โดยตรง และบอกเป็นนัยว่า การรับรู้สีน่าจะเสียหายในคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอด แต่ว่า หลักฐานเร็ว ๆ นี้กลับแสดงว่ามีวิถีประสาทจากเซลล์รูปกรวยในจอตาประเภท S ไปยัง superior colliculus ซึ่งเป็นผลตรงข้ามกับงานวิจัยที่เกิดขึ้นก่อนของเดอ โมนาสเตริโอ และสนับสนุนความคิดว่า กลไกประมวลข้อมูลเกี่ยวกับสีไม่มีความเสื่อมเสียไปในคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอด
มาร์โค ทาเมียตโต และบีทริซ เดอ เกลเดอร์ ทำการทดลองที่เชื่อมการตรวจจับความรู้สึกของคนอื่นและสภาพเห็นทั้งบอด คือ ในงานวิจัยนั้น มีการแสดงภาพของบุคคลที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ในลานสายตาข้างที่บอดของคนไข้ แต่คนไข้กลับสามารถเดาอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นอย่างถูกต้องโดยมาก และเมื่อมีการตรวจวัดความเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ใช้ในการยิ้มหรือการขมวดคิ้วของคนไข้ ก็พบว่า กล้ามเนื้อเหล่านั้นจะตอบสนองโดยเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลในภาพที่คนไข้มองไม่เห็น ดังนั้น ผลนี้จึงแสดงว่า คนไข้สามารถระบุความรู้สึกของผู้อื่น โดยไม่ต้องใช้ความรู้สึกในการเห็น
งานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2011 พบว่า คนไข้หญิงอายุน้อยที่มีรอยโรคในเขตสายตา V1 ของสมองเพียงข้างเดียว สามารถจะปรับขยายมืออย่างเหมาะสมได้ เมื่อเธอเอื้อมมือออกไปเพื่อจะหยิบจับวัตถุมีขนาดต่าง ๆ กันที่แสดงให้คนไข้ในเขตที่มองไม่เห็น แม้ว่า เธอจะไม่สามารถบอกขนาดของวัตถุเหล่านั้นได้
และคล้าย ๆ กัน คนไข้อีกคนหนึ่งที่มีรอยโรคใน V1 ของสมองเพียงข้างเดียว สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางที่อยู่ในเขตที่มองไม่เห็น เมื่อเขาเอื้อมมือไปทางวัตถุที่อยู่ในเขตที่มองเห็น และถึงแม้ว่า เขาสามารถที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางเหล่านั้นได้ แต่เขาไม่เคยรายงานเลยว่า เขาเห็นสิ่งกีดขวางเหล่านั้น
บทบาทของเขตในสมอง
เพราะเหตุที่การประมวลผลในสมองเป็นไปตามลำดับขั้น ความสูญเสียส่วนของคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ย่อมนำไปสู่การมองไม่เห็นในส่วนของลานสายตาที่สัมพันธ์กับคอร์เทกซ์ที่เสียหาย เขตที่มองไม่เห็นนี้ ซึ่งเรียกว่า (scotoma) อยู่ในลานสายตาด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เสียหาย และมีความแตกต่างกันของขนาด เป็นตั้งแต่เขตเล็ก ๆ จนไปถึงลานสายตาทั้งครึ่งซีก (คือในลานสายตาที่เป็นส่วนเฉพาะของซีกสมองที่เสียหาย) แม้ว่า การประมวลผลทางสายตาจะเกิดขึ้นในสมองเป็นไปตามลำดับขั้น แต่ก็ยังประกอบด้วยการส่งสัญญาณข้ามลำดับ และการส่งสัญญาณป้อนกลับไปในเขตที่ต่ำกว่า
ทางสัญญาณจากเรตินาไปยังเขตสายตา V1 ไม่ใช่วิถีประสาทตาทางเดียวที่ส่งเข้าไปในคอร์เทกซ์ แม้ว่าจะเป็นวิถีที่ใหญ่มากที่สุด เชื่อกันอย่างแพร่หลายว่า สมรรถภาพที่หลงเหลืออยู่ในคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอด เกิดจากวิถีประสาทที่ไม่มีความเสียหาย ที่เข้าไปสู่คอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex) ตั้งแต่ (V2) เป็นต้น โดยไม่ผ่าน V1 แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ การทำงานในเขตคอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลายเหล่านี้ ไม่ปรากฏว่าเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เกิดการรับรู้คือการเห็นโดยปราศจาก V1
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การศึกษาทางสรีรภาพเร็ว ๆ นี้บอกเป็นนัยว่า การประมวลผลทางสายตา เกิดขึ้นในวิถีประสาทหลายทางที่เป็นอิสระจากกันและกัน และมีการประมวลผลที่เป็นไปพร้อม ๆ กันอย่างขนาน คือ ระบบหนึ่งประมวลข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่าง ระบบหนึ่งเกี่ยวกับสี ระบบหนึ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ตำแหน่ง และระเบียบในปริภูมิ ข้อมูลสายตาเกิดขึ้นเริ่มที่เรตินา และเดินทางผ่านเขตของสมองคือ lateral geniculate nucleus ที่อยู่ในทาลามัส แล้วมีการส่งต่อไปเพื่อประมวลผลในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (V1 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอร์เทกซ์ลาย เพราะปรากฏให้เห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีรอยริ้ว)
ถึงแม้ว่า คนไข้ที่มีความเสียหายใน V1 จะไม่มีการเห็น จะไม่สามารถจินตนาการมโนภาพได้ และจะไม่เห็นอะไร ๆ เมื่อฝัน อย่างไรก็ดี คนไข้บางพวกเหล่านี้กลับยังมีสภาวะเห็นทั้งบอด (Kalat, 2009)
ยิ่งไปกว่านั้น superior colliculus และ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ก็ปรากฏว่ามีบทบาทสำคัญในการรับรู้ตัวกระตุ้นทางตา
ดู
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ความบอดเหตุสมอง (cortical blindness) เป็นความสูญเสียของการเห็นในตาที่เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นโดยบางส่วนหรือว่าโดยบริบูรณ์ เพราะความเสียหายในคอร์เทกซ์ของสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) ความบอดเหตุสมองอาจจะมีตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นหลังจากนั้น และอาจจะเป็นสภาวะที่เป็นแค่ชั่วคราวในบางกรณี สภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังมักจะเกิดขึ้นเพราะการสูญเสียเลือดที่ไหลไปยังสมองกลีบท้ายทอย เพราะโรคหลอดเลือดสมองหรือเพราะการผ่าตัดหัวใจ
- Celesia, G (2010). "Visual perception and awareness: a modular system". Journal of Psychophysiology. 24 (2): 62–67. doi:10.1027/0269-8803/a000014.
- Weiskrantz, Lawrence (1997). Consciousness Lost and Found: A Neuropsychological Exploration. ISBN .
- Carlson, Neil (2013). Physiology of Behavior, 11th edition. University of Massachusetts, Amherst: Pearson Education, Inc. p. 4. ISBN .
- Humphrey, N (1970). "What the frog's eye tells the monkey's brain". Brain, Behavior, and Evolution. 3: 324–337.
- Humphrey, N (1974). "Vision in a monkey without striate cortex: A case study". Perception. 3: 241–255.
- Humphrey, N (1992). A History of the Mind. New York: Simon & Schuster.
- Holt, J (2003). Blindsight & The Nature of Consciousness. New York: Broadview Press.
- Humphrey, N (2006). Seeing Red: A study in Consciousness. Cambridge: Belknap.
- Alexander, I; Cowey, A (2010). "Edges, colour and awareness in blindsight". Consciousness and Cognition. 19: 520–533.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Ffytche, DH; Zeki, S (2011). "The primary visual cortex, and feedback to it, are not necessary for conscious vision". Brain. 134: 247–257. doi:10.1093/brain/awq305.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - ในคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรม ความถี่ปริภูมิ (spatial frequency) เป็นลักษณะเฉพาะของโครงสร้างชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ ที่เคลื่อนที่ไปในปริภูมิอย่างเป็นคาบ ๆ ความถี่ปริภูมิวัดได้โดยองค์ประกอบรูปไซน์ (sinusoidal component) ที่กำหนดโดยการแปลงฟูรีเย ของโครงสร้างที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันในช่วงระยะทางหนึ่ง หน่วยวัดสากลของความถี่ปริภูมิก็คือรอบต่อเมตร (cycles per meter)
- Sahraiea, A; Hibbardb, PB; Trevethana, CT; Ritchiea, KL; Weiskrantz, L (2010). "Consciousness of the first order in blindsight". PANS. 107 (49): 21217–21222.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - การเบนตา (vergence) เป็นการเคลื่อนไหวของตาสองข้างพร้อม ๆ กันในทิศทางต่าง ๆ กัน เพื่อดำรงการเห็นด้วยสองตา (binocular vision) คือ เมื่อสัตว์ที่มีการเห็นด้วยสองตามองสิ่งที่เห็นอย่างหนึ่ง ตาทั้งสองต้องหมุนไปตามแกนแนวตั้ง เพื่อให้สิ่งที่เห็นนั้นกระทบกับส่วนตรงกลางของเรตินาทั้งสองตา เมื่อจะดูวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ ตาทั้งสองจะหมุนเข้าหากัน (การเบนเข้า) และเมื่อจะดูวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ตาทั้งสองจะหมุนแยกออกจากกัน (การเบนออก)
- Fulton, J (2004). (PDF). neuronresearch.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-09.
- Boyle NJ, Jones DH, Hamilton R, Spowart KM, Dutton GN. (2005). "Blindsight in children: does it exist and can it be used to help the child? Observations on a case series". Developmental medicine and child neurology. 47 (10): 699–702. doi:10.1017/S0012162205001428. PMID 16174315.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Weiskrantz, Lawrence (1986). Blindsight: A Case Study and Implications. Oxford University Press. ISBN . OCLC 21677307.
- Hall, N. J; Colby, C. L (2009). "Response to blue visual stimuli in the macaque superior colliculus". Society for Neuroscience: 756.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Garret, Bob (2011). Brain & behavior: an introduction to biological psychology. SAGE Publications Inc. pp. 315–318.
- Whitwell RL, Striemer CL, Nicolle DA, Goodale MA. (2011). "Grasping the non-conscious: preserved grip scaling to unseen objects for immediate but not delayed grasping following a unilateral lesion to primary visual cortex". Vision Res. 51 (8): 908–24. doi:10.1016/j.visres.2011.02.005. PMID 21324336.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Striemer CL, Chapman CS, Goodale MA. (2009). ""Real-time" obstacle avoidance in the absence of primary visual cortex". Proc. Natl. Acad. Sci. USA. 106 (37): 15996–6001. doi:10.1073/pnas.0905549106. PMID 19805240.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Hall, N. J; Colby, C. L (2009). "Response to blue visual stimuli in the macaque superior colliculus". Society for Neuroscience: 756. doi:10.1016/j.concog.2010.01.008.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list ()
แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ
- Danckert, J. & Rossetti, Y. (2005). "Blindsight in action: what can the different sub-types of blindsight tell us about the control of visually guided actions?". Neurosci Biobehav Rev. 29 (7): 1035–1046. doi:10.1016/j.neubiorev.2005.02.001. PMID 16143169.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Stoerig, P. & Cowey, A. (1997). "Blindsight in man and monkey". Brain. 120 (3): 535–559. doi:10.1093/brain/120.3.535. PMID 9126063.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Leh, S.E., Mullen, K.T., and Ptito, A. (2006). "Absence of S-cone input in human blindsight". European Journal of Neuroscience. 24 (10): 2954–60. doi:10.1111/j.1460-9568.2006.05178.x. PMID 17156217.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Leh, S.E., Johansen-Berg, H. and Ptito,A. (2006). "Unconscious vision: New insights into the neuronal correlate of blindsight using Diffusion Tractography". Brain. 129 (Pt7): 1822–32. doi:10.1093/brain/awl111. PMID 16714319.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Ptito, A. and Leh, S.E. (2007). "Brain Mechanisms of Blindsight". Article invitée; Neuroscientist. 13 (5): 506–18. doi:10.1177/1073858407300598. PMID 17901259.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Carlson, N. R. (2010). Physiology of behavior. (10th ed., pp. 4-5). Boston, MA: Pearson Education, Inc.
- Collins, G. (2010, April 22). Blindsight: Seeing without knowing it [Web log message]. Retrieved from http://blogs.scientificamerican.com/observations/2010/04/22/blindsight-seeing-without-knowing-it/
- de Gelder, B. (2010, April 27). Uncanny sight in the blind. Retrieved from http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=uncanny-sight-in-the-blind
- Tamietto, M., de Gelder, B. (2010). Neural basis of the non-conscious perception of emotional signals. Nature reviews neuroscience 11, 697-709. doi:10.1038/nrn2889
- de Gelder, B., Tamietto, M., & van Boxtel, G. (2008). Intact navigation skills after bilateral loss of striate cortex. Current Biology, 18th (24th), doi: 10.1016/j.cub.2008.11.002
- Kalat, J. W. (2009). Biological psychology. (10th ed., pp. 169-170). Belmont, CA: Wadsworth.
- Physorg. (2008, October 14). Retrieved from http://phys.org/news143222136.html
- Ratey, J. J. (2002). A user's guide to the brain: Perception, attention, and the four theaters of the brain . (p. 99). New York, NY: Vintage Books.
- De Monasterio, F. M. (1978). Properties of ganglion cells with atypical receptive-field organization in the retina of macaques. Neurophysiology 41, 1435-1449.
- McIntosh, A., R., Rajah, M., N., Lobaugh, N., J. (1999). Interactions of prefrontal cortex in relation to awareness in sensory learning. Science 284, 1531-1533.
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
- Blindsight at Scholarpedia
- (วิดีโอจาก BBC ไม่มีเสียง) ทีเอ็นเดินทางเลี่ยงอุปสรรคทั้งที่มองไม่เห็น
- Blind man avoids obstacles when reaching
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sphawaehnthngbxd hrux karehnthngbxd hrux ehnthngbxd hrux blayndist xngkvs blindsight epnkhwamsamarthinkartxbsnxngtxtwkratunthangta khxngphuthimikhwambxdehtusmxng cortical blindness thienuxngmacakrxyorkhinkhxrethkssaytakhnpthm thng thiphunnimsamarthcaehntwkratunnn nganwicykhxngsphawaehnthngbxdodymak idthakbkhnikhthimiphawabxdkhxnglansaytaephiyngkhangediyw hlngcakthikhxrethkssaytakhnpthmkhxngkhnikhthukthalayaelwephraaorkhhruxehtuxyangxun khux nkwicycaihkhnikhtrwccb hataaehnng aelaaeykaeyatwkratunthangtathiaesdngihkblansaytakhangthikhnikhmxngimehn odybxkihkhnikheda aelaaemwakhnikhcamxngimehntwkratunnncring nganwicyklbaesdngthungkhwamaemnyakhxngkaredainradbhnungthinaprahladic khwamsamarthinkaredadwykhwamaemnyathisungkwakhwambngexiy thunglksnabangxyangkhxngtwkratunthangta echntaaehnng hruxwachnidkhxngkhwamekhluxnihw thng thiimmikarrbruintwkratunodyprakarthngpwng eriykwa sphawaehnthngbxdaebb 1 swnsphawaehnthngbxdaebb 2 epnaebbthikhnikhxangwa rusukwamixairbangxyangthiepliynipinlansaytakhangthimxngimehn twxyangechn karekhluxnihw aetwaimichodykarmxngehnsingerathangta sphawaehnthngbxdthathaykhwamechuxthiaephrhlaywa singeratxngprakttxkarrbru cungcasamarthmixiththiphltxphvtikrrmid praktkarnniaesdngwa phvtikrrmkhxngerasamarthepliynipephraakhxmulkarrbru thi era imidrbrudwyely sphawanisamarthphicarnawaepnsphawatrngknkhamknkbphawaesiysanukkhwamphikarthiruckknwa Anton Babinski syndrome thikhnikhesiykarehnxyangbriburn aetklbkarkuehtukhwamcaesuxm confabulation waehnprawtikhwamekhaicthimiekiywkbsphawaniinyukhtn macaknganthdlxngthithainling odyechphaalingtwhnungepnphiessthieriykwa eheln twthieraxaccaphicarnaidwa epndaralinginnganwicyekiywkbsayta ephraawa ethxepnstwthdlxngdngediminnganwicybxdthngehn ehelnepnlingaemkaekhkthikhxrethkssaytakhnpthm hrux V1 thukthalayodyimmiswnehlux sungmiphltamkhwamkhadhmaykkhux ehelnmxngimehn sungtrwcidodykarthdsxbkhwambxdthw ip xyangirkdi phayitsthankarnbangxyang ehelnklbaesdngphvtikrrmthiehmuxnkbehn khux emuxprasbkbtwkratunthixaccaepnphykbtakhxngethx mantakhxngethxkcakhyay aelaethxkkraphribta yingipkwann phayitkarthdsxbbangxyang ethxsamarthtrwccbtwkratunthangtaaebbtang echnkhwammixyukhxngtwkratun taaehnngkhxngtwkratun ruprang lwdlay aenwthisthang khwamekhluxnihw aelasi inhlaykrni ethxsamarthekhluxnthiipinsingaewdlxmaelathaptikiriyatxwtthutang ehmuxnkbmxngehn praktkarnthikhlayknkmixyuinmnusydwy khux camikhnikhthiprasbkhwamesiyhayinkhxrethkssaytaephraaxubtiehtuhruxorkhhlxdeluxdsmxng thiaecngwa mxngimehnxairely hruxwamxngehnbang aetxyangirkdi emuxbxkiheda klbsamarththakaredathimikhwamaemnyamakkwabngexiyekiywkbkhwammixyuaelaraylaexiydxunkhxngtwkratun ehmuxnkbthiphbinstwthdlxng yingipkwann khnikhsamarthkhwacbwtthuthioynipihemuxbxkihrb epnthinasnicwa khwammnicinkhwamsamarthnnkhxngkhnikhklbimphthnakhun khux aemwakhnikhcaruwatnthanganpraephthnnidsaerc khnikhkyngcaimerimthakaredaekiywkbtwkratunodytnexng aetyngtxngxasykarbxk yingipkwann khnikhaethbcaimekhyaesdngkhwamxscrryicinkhwamsamarthkhxngtn tamthikhnxunkhidwa khnikhkhwrcamikhaphrrnnasmxngprakxbdwyklikhlayxyangthiekiywkhxngkbkarehn mirabbkarehn 2 xyangthimikarwiwthnakarinstwbrrphburusinyukhsmythiaetktangkn rabbaerkthimikarwiwthnakarkxnepnrabbthingay aelakhlaykbrabbkarehnthimiinstwtang echnplaaelakb rabbthisxngepnrabbthisbsxnkwa epnrabbkarehnkhxngstweliynglukdwynm thimibthbathinkarrbruolkphaynxkrxb tw swnrabbaerkmibthbathhlkinkarkhwbkhumkarekhluxnihwkhxngta aelasngkhwamisicipyngsingerathiekhluxnihwodychbphlninswnrxbnxkkhxnglansayta khnikhsphawaehnthngbxdcamikhwamesiyhaytxrabbthisxng khuxrabbsaytathimiinstweliynglukdwynm sungkkhuxkhxrethkssaytainsmxngaelaiyprasathta Optic tract aela Optic nerve thisngkhxmulmacakta praktkarnniaesdngihehnthungkrabwnkarbangxyanginsmxng khux aemwarabbsaytathisbsxncaekidkhwamesiyhayaelw khnikhyngsamarthichrabbsaytathingay ephuxnathangkarekhluxnihwkhxngmux ipsuwtthutwkratun thungcaimsamarthehnwakalngekhaipkhwacbxair dngnn khxmulthangtasamarthkhwbkhumphvtikrrmodythiimtxngkxihekidkhwamrusukkhuxkarehn smrrthphaphinkarehnthiimmikarrbrukhxngphumisphawani bxkepnnywa karrbruimichepnkhunsmbtihruxxngkhprakxbthicaepninthuk ekhtphayinsmxng aelabxkepnnywa ekhtbangekhtethanninsmxngmibthbathsakhyinkarrbrusingera sphawanisamarthphicarnawaepnsphawatrngknkhamknkbphawaesiysanukkhwamphikarthiruckknwa Anton Babinski syndrome thikhnikhesiykarehnxyangbriburn aetklbkarkuehtukhwamcaesuxm confabulation waehn khnikhsphawaehnthngbxdxaccarbrulksnakhxngwtthuxyanghnung echnkhxbaelakarekhluxnihwkhxngwtthu aetimsamarthrbruxarmnodyrwm id nibxkepnnywa karrbrusingerannmiidthnginrabbyxythiaeykepnswn echnkarehnkhxbaelakarekhluxnihwkhxngwtthu aelainrabbthirwbrwmprasankhxmulcakrabbyxyephuxihekidkarrbrusingeraodyrwm id ephraachann karchitwxarmn object identification aelakarrucaxarmn object recognition cungidrbkarphicarnawa epnkrabwnkartangkn thiekidkhuninekhtsmxngtangkn thanganodyepnxisracakknaelakn thvsdiekiywkbrabbyxykhxngkarchitwaelakarrucaxarmn samarthxthibaypraktkarn karrbruaefng thikhnikhehnthngbxdprasb nxkcaknn nganwicytang yngidaesdngxikdwywa twkratunthangtathiehnidodylksnaxyangediyw echnkhxbekhtthichdecn khwamchbphlninkarpraktaelahayip karekhluxnihwthita epntwsnbsnun aemwacaimichepnehtusakhy khxngkhwamchdecnkhxngxarmninpraktkarnehnthngbxdthvsdikarekidmi 3 thvsdithiichepnkhaxthibaysphawaehnthngbxd thvsdiaerkkahndwa aemwacamikhwamesiyhayin V1 aetkyngmiesnprasathtasakhaxunthisngkhxmulsaytaipyng superior colliculus aelaekhtxun xikhlayekht rwmthngekhtinepluxksmxng ekhtehlanixaccakhwbkhumptikiriyakhxngkarehnthngbxd aetthvsdiyngimsmburnephraamipyhawa mikhnikhepncanwnmakthimikhwamesiyhayin V1 aetimmikarehnthngbxd hruxwa miaetechphaabangswninlansayta thvsdithisxngxthibaywa aemwacamikhwamesiyhayodymakin V1 khxngkhnikh aetwakyngmibangswnkhxng V1 thiepncudelk thiyngmisphaphdixyu cudelk ehlaniimihyephiyngphxthicaihekidkarrbrusingera aetwa ephiyngphxsahrbkarehnthngbxd Kalat 2009 thvsdithisamxthibaywa syyanthiichinkartdsinkhwamikliklaelakhwamerwkhxngsingerainpriphumi mikarpramwlody lateral geniculate nucleus twyx LGN inthalams kxnthicasngkhxmultxipinepluxksmxng instwthdlxngpkti LGN ichsyyanehlaniephuxrwbrwmkhxmulcaktathng 2 aelwpramwlepnaephnphaph 3 miti odyrwmkhxmulekiywkbtaaehnngaelakhwamerwkhxngsingeraaetlaxyanginpriphumi thimistwthdlxngnnepnsunyklang odydungkhxmulekiywkbkarebnta vergence ephuxpraoychnaehngkhwamaemnya aelaodydungkhxmultwkhwbkhumofks focus control signal khxngelnsta hlngcaknn khxmulpramwlmi 3 miti kcasngtxipyngepluxksmxngtxip dngnn aemwaepluxksmxngthirbkhxmulcaekidkhwamesiyhay aetwakhxmulkhwamikliklaelakhwamerwkhxngsingeraepntn kidmikarpramwlekidkhunaelw xakarkhxngsphawaehnthngbxdsamarthsngektidinedktngaetxayu 2 eduxn aemwabangkhrngyakthicakahndpraephth waepnpraephth 1 hrux 2 khxngsphawainkhnikh thimixayunxyekinipthicatxbkhathamkrnisuksakhnikhedinphanthangmisingkidkhwang inpi kh s 2003 khnikhkhnhnungthiruckknwa thiexn suyesiykhxrethkssaytakhnpthm V1 ip ephraaekidorkhlmpccubntidtxknthung 2 khrng thinxkhexathekht V1 thnginsmxngsiksayaelainsmxngsikkhwa hlngcaknn karthdsxbsaytathw ipkaesdngwa thiexnimehnxairely imsamarthaemaetcatrwccbwtthukhnadihythikalngekhluxnipxyutxhnakhxngekha inthisud nkwicyerimcasngektehnwa thiexnmixakarkhxngsphawaehnthngbxd aelainpi kh s 2008 ktdsinicthicaechkhwaepnxyangnnhruxim phwkekhaidnathiexnipyngthangedinhnahxng aelakhxihekhaedinphanthangnnipodyimtxngichimethathiekhathuxipdwyesmxtngaetekidorkhlmpccubn thiexnimruintxnnnwa nkwicyidtngsingkidkhwanghlayxyangiwinthangedinephuxthicaechkhwa thiexnsamarthhlikeliyngsingehlannodythiimmikhwamrusukehnhruxim singthiekidkhunthithaihnkwicydiicmakkkhux ekhasamarthhlikeliyngxupsrrkhehlannipidxyangngayday aelakhrnghnungsamarththicaekaatidphnngipephuxcaebiydphanthngkhyathixyuinthang hlngcakedinphanthangedinnnipaelw thiexnbxkwa ekhaephiyngaetedinipinthangthiekhaxyakcaip imichephraawa ekharuwamixairxyutrngnn de Gelder 2008 du widiox thiexnedinthangeliyngxupsrrkhthngthimxngimehn khnikhchwycbimethainaenwthithuktxng xikkrnihnungthibnthukiwinhnngsux srirphaphinphvtikrrm Physiology of Behavior phimphkhrngthi 11 khxng kharlsn idihkhwamekhaicxikxyanghnungekiywkbsphawaehnthngbxd inkrnini edkphuhyingkhnhnungphapu hruxta khxngethxmahankprasathcitwithya pukhxngedkphuchuxwa nayec idekidorkhlmpccubnsungthaihekhatabxdekuxbthnghmdykewncudelk inicklangkhxnglansayta nkprasathcitwithyaphuchuxwa khunhmxexm idthakaybriharrwmkbekha khunhmxidchwykhunpuecihipnngthiekaxi hlngcaknnkkhxyumimethakhxngkhunpu aelwkhunhmxkbxkwa khunec oprdmxngtrng ipkhanghna ihmxngiperuxy aelaxyakhybtahruxhnhna phmruwakhunsamarthehnidhnxyhnungtrngkhanghna aetphmimtxngkarihkhunichswnthimxngehninkarbriharthiphmcaihkhuntha dimakkhrb txipni phmxyakcaihkhunexuxmmuxkhwaxxkip aelwchiiptrngtaaehnngthiphmkalngthuxkhxngiw khunpuectxbwa aetwaphmimehnxairelynakhrb phmtabxd khunhmxcungtxbwa phmthrabkhrb aetwa xyangirkdi khxihlxngthadu khunpucungykihlaelwkchiip aelwcungekidkhwamprahladicemuxniwipkrathbkbplayimethathikhunhmxkalngchiipthangkhunpuxyu khunpucungklawwa bngexiycngely hlngcaknn khunhmxcunghmunimethaihdamthuxhnipthangkhunpu aelwkkhxihkhunpuchwyexaimethann khunpuexuxmmuxthiaebxxkaelwkchwyexaimethann hlngcaknn khunhmxkklawwa dikhrb txnnioprdplxyaekhnlngtampkti aelwkhunhmxkhmunimethaip 90 xngsa cnkrathngdamthuxxyuinaenwtng aelwcungihkhunpuexuxmmuxephuxchwyexaimethaxikkhrnghnung khunpukidthaxyangni odyhmunkhxmuxephuxcaihmuxxyuinaenwediywknkbdamthux krnisuksaniaesdngwa aemwakhunpueccaimmikarrbruthungkhwamsamarthinkarehnthiekhami aetekhasamarthhnkhxmuxephuxthicachwyexaimethaidxyangehmaasm ehmuxnkbkhnthiimmipyhaxairinkarehnnganwicynganwicythithainkhristthswrrs 1970 phbwa thakhnikhsphawaehnthngbxdthukbngkhbihedawa mitwkratunxyuinekhtsaytathimxngimehnhruxim bangkhncasamarththaiddikwabngexiy khwamsamarthinkartrwccbtwkratunthikhnikhimmikarrbru xaccakhyayipthungkaraeykaeyapraephthkhxngtwkratun epntnwa epntwxksr X hrux O thixyuinekhtsaytathimxngimehn hlkthanthangsririffacakplaykhristthswrrs 1970 edx omnasetriox kh s 1978 marrxkhokhaelali kh s 1977 chiwlelxraelamlephli kh s 1977 aesdngwa immikhxmulertinathiipcakesllrupkrwyincxtapraephth S sungrbruaesnginkhwamthisinaengin ipyng superior colliculus odytrng aelabxkepnnywa karrbrusinacaesiyhayinkhnikhsphawaehnthngbxd aetwa hlkthanerw niklbaesdngwamiwithiprasathcakesllrupkrwyincxtapraephth S ipyng superior colliculus sungepnphltrngkhamkbnganwicythiekidkhunkxnkhxngedx omnasetriox aelasnbsnunkhwamkhidwa klikpramwlkhxmulekiywkbsiimmikhwamesuxmesiyipinkhnikhsphawaehnthngbxd marokh thaemiytot aelabithris edx ekledxr thakarthdlxngthiechuxmkartrwccbkhwamrusukkhxngkhnxunaelasphaphehnthngbxd khux innganwicynn mikaraesdngphaphkhxngbukhkhlthiaesdngxarmnkhwamrusuktang inlansaytakhangthibxdkhxngkhnikh aetkhnikhklbsamarthedaxarmnkhwamrusukehlannxyangthuktxngodymak aelaemuxmikartrwcwdkhwamekhluxnihwkhxngklamenuxibhnathiichinkaryimhruxkarkhmwdkhiwkhxngkhnikh kphbwa klamenuxehlanncatxbsnxngodyeliynaebbxarmnkhwamrusukkhxngbukhkhlinphaphthikhnikhmxngimehn dngnn phlnicungaesdngwa khnikhsamarthrabukhwamrusukkhxngphuxun odyimtxngichkhwamrusukinkarehn nganwicyhnunginpi kh s 2011 phbwa khnikhhyingxayunxythimirxyorkhinekhtsayta V1 khxngsmxngephiyngkhangediyw samarthcaprbkhyaymuxxyangehmaasmid emuxethxexuxmmuxxxkipephuxcahyibcbwtthumikhnadtang knthiaesdngihkhnikhinekhtthimxngimehn aemwa ethxcaimsamarthbxkkhnadkhxngwtthuehlannid aelakhlay kn khnikhxikkhnhnungthimirxyorkhin V1 khxngsmxngephiyngkhangediyw samarthhlikeliyngsingkidkhwangthixyuinekhtthimxngimehn emuxekhaexuxmmuxipthangwtthuthixyuinekhtthimxngehn aelathungaemwa ekhasamarththicahlikeliyngsingkidkhwangehlannid aetekhaimekhyraynganelywa ekhaehnsingkidkhwangehlannbthbathkhxngekhtinsmxngephraaehtuthikarpramwlphlinsmxngepniptamladbkhn khwamsuyesiyswnkhxngkhxrethkssaytakhnpthm yxmnaipsukarmxngimehninswnkhxnglansaytathismphnthkbkhxrethksthiesiyhay ekhtthimxngimehnni sungeriykwa scotoma xyuinlansaytadantrngkhamkbsiksmxngthiesiyhay aelamikhwamaetktangknkhxngkhnad epntngaetekhtelk cnipthunglansaytathngkhrungsik khuxinlansaytathiepnswnechphaakhxngsiksmxngthiesiyhay aemwa karpramwlphlthangsaytacaekidkhuninsmxngepniptamladbkhn aetkyngprakxbdwykarsngsyyankhamladb aelakarsngsyyanpxnklbipinekhtthitakwa thangsyyancakertinaipyngekhtsayta V1 imichwithiprasathtathangediywthisngekhaipinkhxrethks aemwacaepnwithithiihymakthisud echuxknxyangaephrhlaywa smrrthphaphthihlngehluxxyuinkhnikhsphawaehnthngbxd ekidcakwithiprasaththiimmikhwamesiyhay thiekhaipsukhxrethkssaytanxkkhxrethkslay extrastriate cortex tngaet V2 epntn odyimphan V1 aetsingthinaprahladickkhux karthanganinekhtkhxrethksnxkkhxrethkslayehlani impraktwaephiyngphxthicasnbsnunihekidkarrbrukhuxkarehnodyprascak V1 klawxikxyanghnungkkhux karsuksathangsrirphapherw nibxkepnnywa karpramwlphlthangsayta ekidkhuninwithiprasathhlaythangthiepnxisracakknaelakn aelamikarpramwlphlthiepnipphrxm knxyangkhnan khux rabbhnungpramwlkhxmulekiywkbruprang rabbhnungekiywkbsi rabbhnungekiywkbkarekhluxnihw taaehnng aelaraebiybinpriphumi khxmulsaytaekidkhunerimthiertina aelaedinthangphanekhtkhxngsmxngkhux lateral geniculate nucleus thixyuinthalams aelwmikarsngtxipephuxpramwlphlinkhxrethkssaytakhnpthm V1 hruxthieriykxikxyanghnungwa khxrethkslay ephraapraktihehniddwytaeplawamirxyriw thungaemwa khnikhthimikhwamesiyhayin V1 caimmikarehn caimsamarthcintnakarmonphaphid aelacaimehnxair emuxfn xyangirkdi khnikhbangphwkehlaniklbyngmisphawaehnthngbxd Kalat 2009 yingipkwann superior colliculus aela khxrethksklibhnaphakswnhna kpraktwamibthbathsakhyinkarrbrutwkratunthangtadukhxrethkssayta smmutithanthangsyyansxngthang smxngklibthaythxyechingxrrthaelaxangxingkhwambxdehtusmxng cortical blindness epnkhwamsuyesiykhxngkarehnintathiepnpkti imwacaepnodybangswnhruxwaodybriburn ephraakhwamesiyhayinkhxrethkskhxngsmxngklibthaythxy occipital lobe khwambxdehtusmxngxaccamitngaetkaenid hruxekidkhunhlngcaknn aelaxaccaepnsphawathiepnaekhchwkhrawinbangkrni sphawathiekidkhunphayhlngmkcaekidkhunephraakarsuyesiyeluxdthiihlipyngsmxngklibthaythxy ephraaorkhhlxdeluxdsmxnghruxephraakarphatdhwic Celesia G 2010 Visual perception and awareness a modular system Journal of Psychophysiology 24 2 62 67 doi 10 1027 0269 8803 a000014 Weiskrantz Lawrence 1997 Consciousness Lost and Found A Neuropsychological Exploration ISBN 0 19 852301 7 Carlson Neil 2013 Physiology of Behavior 11th edition University of Massachusetts Amherst Pearson Education Inc p 4 ISBN 978 0 205 23981 8 Humphrey N 1970 What the frog s eye tells the monkey s brain Brain Behavior and Evolution 3 324 337 Humphrey N 1974 Vision in a monkey without striate cortex A case study Perception 3 241 255 Humphrey N 1992 A History of the Mind New York Simon amp Schuster Holt J 2003 Blindsight amp The Nature of Consciousness New York Broadview Press Humphrey N 2006 Seeing Red A study in Consciousness Cambridge Belknap Alexander I Cowey A 2010 Edges colour and awareness in blindsight Consciousness and Cognition 19 520 533 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Ffytche DH Zeki S 2011 The primary visual cortex and feedback to it are not necessary for conscious vision Brain 134 247 257 doi 10 1093 brain awq305 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk inkhnitsastr fisiks aelawiswkrrm khwamthipriphumi spatial frequency epnlksnaechphaakhxngokhrngsrangchnididchnidhnungkid thiekhluxnthiipinpriphumixyangepnkhab khwamthipriphumiwdidodyxngkhprakxbrupisn sinusoidal component thikahndodykaraeplngfuriey khxngokhrngsrangthiekidkhunsa kninchwngrayathanghnung hnwywdsaklkhxngkhwamthipriphumikkhuxrxbtxemtr cycles per meter Sahraiea A Hibbardb PB Trevethana CT Ritchiea KL Weiskrantz L 2010 Consciousness of the first order in blindsight PANS 107 49 21217 21222 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk karebnta vergence epnkarekhluxnihwkhxngtasxngkhangphrxm kninthisthangtang kn ephuxdarngkarehndwysxngta binocular vision khux emuxstwthimikarehndwysxngtamxngsingthiehnxyanghnung tathngsxngtxnghmuniptamaeknaenwtng ephuxihsingthiehnnnkrathbkbswntrngklangkhxngertinathngsxngta emuxcaduwtthuthixyuikl tathngsxngcahmunekhahakn karebnekha aelaemuxcaduwtthuthixyuikl tathngsxngcahmunaeykxxkcakkn karebnxxk Fulton J 2004 PDF neuronresearch net khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2015 02 21 subkhnemux 2013 09 09 Boyle NJ Jones DH Hamilton R Spowart KM Dutton GN 2005 Blindsight in children does it exist and can it be used to help the child Observations on a case series Developmental medicine and child neurology 47 10 699 702 doi 10 1017 S0012162205001428 PMID 16174315 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Weiskrantz Lawrence 1986 Blindsight A Case Study and Implications Oxford University Press ISBN 0 19 852192 8 OCLC 21677307 Hall N J Colby C L 2009 Response to blue visual stimuli in the macaque superior colliculus Society for Neuroscience 756 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Garret Bob 2011 Brain amp behavior an introduction to biological psychology SAGE Publications Inc pp 315 318 Whitwell RL Striemer CL Nicolle DA Goodale MA 2011 Grasping the non conscious preserved grip scaling to unseen objects for immediate but not delayed grasping following a unilateral lesion to primary visual cortex Vision Res 51 8 908 24 doi 10 1016 j visres 2011 02 005 PMID 21324336 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Striemer CL Chapman CS Goodale MA 2009 Real time obstacle avoidance in the absence of primary visual cortex Proc Natl Acad Sci USA 106 37 15996 6001 doi 10 1073 pnas 0905549106 PMID 19805240 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Hall N J Colby C L 2009 Response to blue visual stimuli in the macaque superior colliculus Society for Neuroscience 756 doi 10 1016 j concog 2010 01 008 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk aehlngxangxingxun Danckert J amp Rossetti Y 2005 Blindsight in action what can the different sub types of blindsight tell us about the control of visually guided actions Neurosci Biobehav Rev 29 7 1035 1046 doi 10 1016 j neubiorev 2005 02 001 PMID 16143169 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Stoerig P amp Cowey A 1997 Blindsight in man and monkey Brain 120 3 535 559 doi 10 1093 brain 120 3 535 PMID 9126063 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Leh S E Mullen K T and Ptito A 2006 Absence of S cone input in human blindsight European Journal of Neuroscience 24 10 2954 60 doi 10 1111 j 1460 9568 2006 05178 x PMID 17156217 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Leh S E Johansen Berg H and Ptito A 2006 Unconscious vision New insights into the neuronal correlate of blindsight using Diffusion Tractography Brain 129 Pt7 1822 32 doi 10 1093 brain awl111 PMID 16714319 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Ptito A and Leh S E 2007 Brain Mechanisms of Blindsight Article invitee Neuroscientist 13 5 506 18 doi 10 1177 1073858407300598 PMID 17901259 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Carlson N R 2010 Physiology of behavior 10th ed pp 4 5 Boston MA Pearson Education Inc Collins G 2010 April 22 Blindsight Seeing without knowing it Web log message Retrieved from http blogs scientificamerican com observations 2010 04 22 blindsight seeing without knowing it de Gelder B 2010 April 27 Uncanny sight in the blind Retrieved from http www scientificamerican com article cfm id uncanny sight in the blind Tamietto M de Gelder B 2010 Neural basis of the non conscious perception of emotional signals Nature reviews neuroscience 11 697 709 doi 10 1038 nrn2889 de Gelder B Tamietto M amp van Boxtel G 2008 Intact navigation skills after bilateral loss of striate cortex Current Biology 18th 24th doi 10 1016 j cub 2008 11 002 Kalat J W 2009 Biological psychology 10th ed pp 169 170 Belmont CA Wadsworth Physorg 2008 October 14 Retrieved from http phys org news143222136 html Ratey J J 2002 A user s guide to the brain Perception attention and the four theaters of the brain p 99 New York NY Vintage Books De Monasterio F M 1978 Properties of ganglion cells with atypical receptive field organization in the retina of macaques Neurophysiology 41 1435 1449 McIntosh A R Rajah M N Lobaugh N J 1999 Interactions of prefrontal cortex in relation to awareness in sensory learning Science 284 1531 1533 aehlngkhxmulxun Blindsight at Scholarpedia widioxcak BBC immiesiyng thiexnedinthangeliyngxupsrrkhthngthimxngimehn Blind man avoids obstacles when reaching