การรับรู้ไฟฟ้า (อังกฤษ: electroreception, electroception) เป็นสมรรถภาพของสิ่งมีชีวิตในการรับรู้ตัวกระตุ้นทางไฟฟ้าตามธรรมชาติ ซึ่งพบในสัตว์น้ำหรือสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเกือบล้วน ๆ เพราะน้ำนำไฟฟ้าได้ดีกว่าอากาศ ข้อยกเว้นก็คือสัตว์จำพวกโมโนทรีม (รวมอิคิดนาและตุ่นปากเป็ด) แมลงสาบ และผึ้ง การรับรู้ไฟฟ้าสามารถใช้กำหนดที่ตั้งวัตถุโดยไฟฟ้า (electrolocation) และใช้สื่อสารทางไฟฟ้า (electrocommunication)
มุมมองกว้าง ๆ
จนกระทั่งเร็วนี้ ๆ การรับรู้ไฟฟ้าพบแต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่งานศึกษาปี 2013 แสดงว่า ผึ้งสามารถตรวจจับทั้งการมีประจุไฟสถิต (static charge) และรูปแบบของประจุไฟบนดอกไม้ได้ ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง การตรวจจับไฟฟ้ามีอยู่ในบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้าย (last common ancestor) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด เป็นการรับรู้ไฟฟ้าที่เรียกว่า ampullary electroreception (การรับรู้ไฟฟ้าด้วยกระเปาะ) ด้วยอวัยวะรับรู้ไฟฟ้าคือ (Ampullae of Lorenzini) แม้สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถรับรู้ไฟฟ้าจะไม่มีอวัยวะนี้ทั้งหมด แต่ปลากระดูกอ่อน (รวมฉลาม, ปลากระเบน, ปลาอันดับ Chimaeriformes), ปลาปอด, ปลาวงศ์ Polypteridae (bichir), ปลาซีลาแคนท์, ปลาสเตอร์เจียน, ปลาวงศ์ Polyodontidae (paddlefish), ซาลาแมนเดอร์น้ำ และเขียดงู ก็ล้วนมีอวัยวะนี้ สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นที่รับรู้ไฟฟ้าได้ เช่น ปลาหนัง ปลาไหลไฟฟ้า ปลางวงช้าง โมโนทรีม และวาฬและโลมาอย่างน้อยพันธุ์หนึ่ง ล้วนรับรู้ไฟฟ้าด้วยกลไกต่างกันซึ่งปรับระบบอื่นมาใช้
การรับรู้ไฟฟ้าด้วยกระเปาะเป็นแบบไม่ต้องทำอะไร/พาสซีฟ และใช้โดยหลักเพื่อล่าเหยื่อ ปลา 2 กลุ่มใน infraclass "Teleostei" (ชื่อสามัญ teleost) ปล่อยไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ และรับรู้ไฟฟ้าอย่างแอ๊กถีฟ คือ ปลาน้ำจืดเขตร้อนทวีปอเมริกาอันดับ Gymnotiformes (knifefish) และปลางวงช้างแอฟริกาใน suborder "Notopteroidei" (มีทั้งในน้ำจืดน้ำกร่อย) สัตว์บกที่รับรู้ไฟฟ้าซึ่งมีน้อยมากก็คืออิคิดนาพันธุ์ Zaglossus bruijni (ในเกาะนิวกินี) ซึ่งมีตัวรับรู้ไฟฟ้า (electroreceptor) 2,000 ตัวที่ปาก เทียบกับ 40,000 ตัวสำหรับญาติของมันในกลุ่มโมโนทรีมซึ่งใช้เวลาส่วนหนึ่งในน้ำคือตุ่นปากเป็ด (ในออสเตรเลียตะวันออก)
การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้า (electrolocation)
สัตว์ที่รู้ไฟฟ้าใช้ประสาทสัมผัสนี้เพื่อกำหนดที่ตั้งวัตถุรอบ ๆ ตัว ซึ่งสำคัญในวิถีชีวิตเฉพาะนิเวศ (ecological niche) ที่สัตว์พึ่งตาไม่ได้ เช่น ในถ้ำ ในน้ำขุ่น และเวลากลางคืน ปลาหลายชนิดใช้สนามไฟฟ้าเพื่อตรวจจับเหยื่อที่ฝังตัวอยู่ เอ็มบริโอและลูกปลาฉลามบางชนิด จะตัวแข็งเมื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่ล่ามัน มีการเสนอว่า ฉลามสามารถใช้ประสาทสัมผัสไฟฟ้าที่ละเอียดอ่อนนี้เพื่อ(ตรวจจับสนามแม่เหล็กของโลก) โดยตรวจดูกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ที่เหนี่ยวนำโดยการว่ายน้ำของมัน หรือโดยกระแสน้ำทะเล
สนามไฟฟ้าสถิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเดินของแมลงสาบ คือมันจะเลี่ยงสนามไฟฟ้าผีเสื้อราตรีพันธุ์ Trichoplusia ni (Cabbage looper) ก็เลี่ยงสนามไฟฟ้าด้วยเหมือนกัน
การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าอย่างแอ๊กถีฟ
ในการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าอย่างแอ๊กถีฟ สัตว์รู้สิ่งแวดล้อมโดยสร้างสนามไฟฟ้าแล้วตรวจจับความบิดเบือนของสนามด้วยอวัยวะรับรู้ไฟฟ้า สนามไฟฟ้าจะสร้างด้วยอวัยวะไฟฟ้าพิเศษที่พัฒนามาจากเซลล์กล้ามเนื้อและเส้นประสาท สนามไฟฟ้าอาจจะควบคุมให้มีความถี่และรูปแบบคลื่นพิเศษต่อสัตว์สปีชีส์นั้น ๆ และบางครั้งแม้แต่ต่อสัตว์แต่ละตัว
สัตว์ซึ่งกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าอย่าแอ๊กถีฟรวมทั้งปลาไฟฟ้าแบบอ่อน ซึ่งทำโดยสร้างพัลส์ไฟฟ้า หรือไม่ก็ปล่อยคลื่นไฟฟ้าคล้าย ๆ รูปไซน์ (quasi-sinusoidal) ด้วยอวัยวะไฟฟ้า ปลาเหล่านี้สร้างศักย์ไฟฟ้าที่ปกติน้อยกว่า 1 โวลต์ และจำแนกวัตถุด้วยค่าความต้านทานและค่าความจุ (capacitance) ที่ต่าง ๆ กันซึ่งอาจช่วยระบุวัตถุ การกำหนดที่ตั้งวัตถุโดยไฟฟ้าอย่างแอ๊กถีฟปกติจะรู้ได้ไกลราว ๆ 1 ลำตัว แต่วัตถุที่มีอิมพีแดนซ์ไฟฟ้าใกล้กับของน้ำรอบ ๆ ก็อาจไม่รู้ได้เลย
การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าอย่างพาสซีฟ
ในการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าอย่างพาสซีฟ สัตว์จะรับรู้สนามไฟฟ้าชีวภาพอ่อน ๆ ที่สัตว์อื่นสร้างโดยรับรู้เพื่อระบุตำแหน่ง สัตว์ทั้งหมดสร้างสนามไฟฟ้าเช่นนี้เพราะการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แหล่งสนามไฟฟ้าอีกอย่างของปลาก็คือปัมพ์ไอออนที่ควบคุมความดันออสโมซิส (osmoregulation) ที่เนื้อเยื่อเหงือก สนามไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปตามการเปิดปิดปากและช่องเหงือก ปลาที่ล่าปลาซึ่งก่อไฟฟ้าจะใช้ประจุไฟฟ้าของเหยื่อเพื่อหามัน ซึ่งทำให้เหยื่อวิวัฒนาการสัญญาณไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นหรือมีความถี่สูงขึ้นที่ตรวจจับได้ยากกว่า
การกำหนดที่ตั้งวัตถุโดยไฟฟ้าอย่างพาสซีฟจะทำด้วยตัวรับไฟฟ้าในกระเปาะ (ampullary electroreceptor) เท่านั้นในปลา ซึ่งจูนรับสัญญาณไฟฟ้าความถี่ต่ำ คือน้อยกว่า 1 เฮิรตซ์จนถึงเป็นสิบ ๆ เฮิรตซ์[] ปลาใช้ประสาทสัมผัสนี้เพื่อเสริมหรือแทนที่ประสาทสัมผัสอื่น ๆ เมื่อตรวจพบเหยื่อหรือสัตว์ที่ล่ามัน ในฉลาม การพบสนามไฟฟ้ามีสองขั้ว (electric dipole) เพียงเท่านั้นก็เป็นเหตุให้มันพยายามกินสิ่งนั้นแล้ว[]
การสื่อสารด้วยไฟฟ้า
ปลาไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ สามารถสื่อสารโดยควบคุมรูปคลื่นที่มันสร้าง เป็นสมรรถภาพในการสื่อสารด้วยไฟฟ้า (electrocommunication) ซึ่งอาจใช้ดึงดูดคู่ หรือเพื่อระบุอาณาเขต ปลาหนังบางพันธุ์จะปล่อยไฟฟ้าเพื่อแสดงความดุก้าวร้าวเท่านั้น (agonistic behaviour)[] ปลาแม่น้ำอเมริกาใต้ในวงศ์ Hypopomidae สกุล Brachyhypopomus (ชื่อสามัญ bluntnose knifefish) ปล่อยไฟฟ้าแรงโวลต์ต่ำที่คล้ายกับรูปแบบไฟฟ้าเพื่อกำหนดที่ตั้งวัตถุของปลาไหลไฟฟ้า นี่เชื่อว่าเป็นการเลียนแบบเพื่องป้องกันตัว (Batesian mimicry) ให้สัตว์อื่นกลัว เพราะปลาไหลไฟฟ้ามีกำลังไฟฟ้าสูง
กลไกรับความรู้สึก
การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าแบบแอ๊กถีฟจะอาศัยตัวรับรู้ไฟฟ้ารูปหัวมันซึ่งไวต่อตัวกระตุ้นระหว่างความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ ตัวรับไฟฟ้าเช่นนี้จะมีตัวอุดเป็นเซลล์เยื่อบุผิว (epithelial cells) ซึ่งจับคู่ค่าเก็บประจุ (capacitance) ของเซลล์รับความรู้สึกกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ส่วนการกำหนดที่ตั้งวัตถุโดยไฟฟ้าแบบพาสซีฟที่ใช้กระเปาะจะไวต่อตัวกระตุ้นความถี่ต่ำกว่า 50 เฮิรตซ์ ตัวรับไฟฟ้าจะประกอบด้วยช่องมีวุ้นเต็มเริ่มตั้งแต่ตัวรับความรู้สึกจนไปถึงผิวหนัง ส่วนปลาไฟฟ้าวงศ์ปลางวงช้างจากแอฟริกาใช้ตัวรับความรู้สึกรูปหัวมันที่เรียกว่า Knollenorgans เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าในการสื่อสาร
ตัวอย่าง
ฉลามและปลากระเบน
ฉลามและปลากระเบน (เป็นสัตว์ในชั้นย่อย "อีแลสโมแบรงไค") เช่น ฉลามเลมอน (Negaprion brevirostris, lemon shark) ต้องกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าเมื่อโจมตีเหยื่อในระยะสุดท้าย ซึ่งแสดงให้เห็นด้วยพฤติกรรมการกินอย่างดุเดือดเมื่อล่อด้วยสนามไฟฟ้าคล้าย ๆ กับของเหยื่อ ฉลามเป็นสัตว์ที่ไวไฟฟ้ามากที่สุด คือตอบสนองต่อสนามไฟฟ้ากระแสตรงมีค่าต่ำเพียง 5 นาโนโวลต์/ซม. อวัยวะรับรู้สนามไฟฟ้าของฉลามเรียกว่า (ampullae of Lorenzini) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์รับความรู้สึกที่เชื่อมกับน้ำทะเลด้วยรูเล็ก ๆ ที่จมูกและบริเวณอื่น ๆ ของหัว สายโทรเลขใต้น้ำในยุคต้น ๆ มีปัญหาฉลามทำความเสียหายเพราะสนามไฟฟ้าที่สายสร้าง เป็นไปได้ว่า ฉลามอาจใช้สนามแม่เหล็กของโลกเพื่อหาเส้นทางในทะเลด้วยประสาทสัมผัสนี้
ปลากระดูกแข็ง
ปลาไหลไฟฟ้า (ความจริงไม่ใช่อยู่ในอันดับปลาไหล แต่อยู่ในวงศ์ Gymnotidae [knifefish]) นอกจากจะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงระยะสั้น ๆ (860 โวลต์ 1 แอมแปร์ 860 วัตต์ 2 มิลลิวินาที ไม่พอฆ่ามนุษย์ผู้ใหญ่) แล้ว ยังสามารถใช้พัลส์ไฟฟ้าแรงดันต่ำเพื่อนำทางและตรวจจับเหยื่อในแหล่งที่อยู่อันเป็นน้ำขุ่น ซึ่งเป็นสมรรถภาพที่ปลาอันดับปลาไหลไฟฟ้า (gymnotiformes) อื่น ๆ ก็มี
โมโนทรีม
โมโนทรีมเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกกลุ่มเดียวที่วิวัฒนาการการรับรู้ไฟฟ้า ในขณะที่ตัวรับไฟฟ้า (electroreceptor) ของปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจะวิวัฒนาการมาจากอวัยวะ lateral line แต่ของโมโนทรีมวิวัฒนาการมาจากต่อมผิวหนังที่ต่อกับเส้นประสาทสมองไทรเจมินัล และประกอบด้วยปลายประสาทอิสระที่ต่อมเมือก (mucous gland) ตรงจมูก ในบรรดาโมโนทรีม ตุ่นปากเป็ด (Ornithorhynchus anatinus) มีประสาทสัมผัสไฟฟ้าไวสุด โดยมีตัวรับไฟฟ้าเกือบ 40,000 ตัวเรียงต่อ ๆ กันเป็นริ้ว ๆ ตามปาก ซึ่งน่าจะช่วยระบุตำแหน่งของเหยื่อ ระบบรับรู้ไฟฟ้าของตุ่นมีทิศทางที่เฉพาะเจาะจง ด้านที่ไวสุดอยู่ข้างหน้าลงล่าง เมื่อกำลังว่ายน้ำ ตุ่นจะขยับหัวอย่างรวดเร็วแบบที่เรียกว่า "saccades" เป็นการใช้ส่วนไวสุดของปากรับตัวกระตุ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งเหยื่อให้แม่นยำที่สุด ตุ่นปากเป็ดดูเหมือนจะใช้การรับรู้ไฟฟ้าบวกกับตัวรับรู้แรงดันเพื่อระบุความห่างจากเหยื่อ คือระยะเวลาระหว่างการได้รับสัญญาณไฟฟ้ากับการรู้แรงดันที่เปลี่ยนไปของน้ำ
ส่วนสมรรถภาพการรู้ไฟฟ้าของอิคิดนาซึ่งเป็นสัตว์บกสองพันธุ์ดังต่อไปนี้ไม่ซับซ้อนเท่า คือ อิคิดนาปากยาวสกุล Zaglossus (long-beaked echidna) มีตัวรับไฟฟ้าเพียงแค่ 2,000 ตัว ส่วนอิคิดนาปากสั้นพันธุ์ Tachyglossus aculeatus (short-beaked echidna) มีเพียงแค่ 400 ตัวโดยอยู่ที่ปลายจมูก ความแตกต่างเช่นนี้มาจากแหล่งที่อยู่และวิธีหากิน คือ อิคิดนาปากยาวตะวันตก (Zaglossus bruijni) อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนและกินไส้เดือนดินที่อยู่ในกองใบไม้ชื้น ดังนั้น แหล่งที่อยู่ของมันจึงน่าจะดีสำหรับการรับรู้สัญญาณไฟฟ้า เทียบกับแหล่งที่อยู่ที่ต่าง ๆ กันแต่ทั่วไปแห้งแล้งกว่าของอิคิดนาปากสั้นที่เป็นญาติกัน ซึ่งโดยหลักกินปลวกและมดในรัง ความชื้นในรังเช่นนี้เชื่อว่า ทำให้สามารถรับรู้ไฟฟ้าได้เมื่อล่าเหยื่อที่ฝังตัวอยู่โดยเฉพาะหลังฝนตกการทดลองได้แสดงว่า อิคิดนาสามารถฝึกให้ตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าอ่อน ๆ ในน้ำและดินชื้น มีสมมติฐานว่า ประสาทสัมผัสของอิคิดนาเป็นส่วนเหลือทางวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่คล้ายตุ่นปากเป็ด
โลมา
โลมาได้วิวัฒนาการการรับรู้ไฟฟ้าด้วยโครงสร้างที่ต่างกับของปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และโมโนทรีม รูหนวด (vibrissal crypt) ซึ่งไร้ขนที่จะงอยปาก (rostrum) ของโลมาเกียนา (Sotalia guianensis, Guiana dolphin) ซึ่งดั้งเดิมเป็นรูหนวดสัตว์เลี้ยงลูกด้วนม สามารถรับรู้ไฟฟ้ามีค่าต่ำจนถึง 4.8 ไมโครโวลต์/ซม. ซึ่งพอให้ตรวจจับปลาเล็ก ๆ ได้ นี่ไวเทียบกับตุ่นปากเป็ด แต่จนถึงเดือนมิถุนายน 2013 ก็ได้ระบุเซลล์เช่นนี้ในโลมาตัวเดียวเท่านั้น
ผึ้ง
ผึ้งสะสมประจุไฟฟ้าสถิตขั้วบวกเมื่อบินไปในอากาศ เมื่อไปจับที่ดอกไม้ ประจุซึ่งปล่อยลงที่ดอกไม้จะรั่วไปถึงดินหลังจากผ่านไปพักหนึ่ง ผึ้งสามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าว่ามีหรือไม่มีและรูปแบบสนามไฟฟ้าบนดอกไม้ และใช้ข้อมูลนี้เพื่อรู้ว่า ผึ้งอื่นได้มาที่ดอกไม้เร็ว ๆ นี้ซึ่งอาจทำให้มีน้ำต้อย/น้ำหวานน้อยกว่าหรือไม่ แต่ผึ้งก็ตรวจจับสนามไฟฟ้าทะลวงอากาศที่เป็นฉนวนด้วยการรับรู้แรงกล (เหตุกฎของคูลอมบ์) ไม่ใช้รับรู้ไฟฟ้า คือรู้สึกความเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าด้วยอวัยวะคือ Johnston's organ ที่หนวด และอาจด้วยตัวรับแรงกลอื่น ๆ โดยแยกแยะรูปแบบต่าง ๆ ตามกาลเวลาแล้วจำมันได้ ในช่วงการทำ waggle dance (บินเต้นรำเพื่อสื่อสาร) ผึ้งในสกุล Apis (honeybee) อาจใช้สนามไฟฟ้าที่แผ่ออกจากผึ้งที่กำลังบินเต้นรำเพื่อสื่อสาร
ผลต่อสัตว์ป่า
มีการอ้างว่า สนามไฟฟ้าแม่เหล็กที่เสาเหล็กซึ่งขึงสายไฟฟ้าและที่เสาวิทยุ/โทรทัศน์มีผลเสียต่อสัตว์ป่า จนถึงปี 2012 มีงานศึกษา 153 งานในเรื่องนี้ที่ได้ตีพิมพ์
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Electroreception. Bullock, Theodore Holmes. New York: Springer. 2005. ISBN . OCLC 77005918.
{{}}
: CS1 maint: others () - Heiligenberg, Walter (1977). Principles of Electrolocation and Jamming Avoidance in Electric Fish: A Neuroethological Approach. Springer-Verlag. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - "Scene analysis in the natural environment". 2014. doi:10.3389/fpsyg.2014.00199.
{{}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
((help)) - Clarke, D.; Whitney, H.; Sutton, G.; Robert, D. (2013). "Detection and Learning of Floral Electric Fields by Bumblebees". Science. 340 (6128): 66–69. doi:10.1126/science.1230883. PMID 23429701.
- Bullock, T. H.; Bodznick, D. A.; Northcutt, R. G. (1983). "The phylogenetic distribution of electroreception: Evidence for convergent evolution of a primitive vertebrate sense modality". Brain Research Reviews. 6 (1): 25–46. doi:10.1016/0165-0173(83)90003-6.
- King, Benedict; Hu, Yuzhi; Long, John A. (2018-02-11). "Electroreception in early vertebrates: survey, evidence and new information". Palaeontology. 61 (3): 325–358. doi:10.1111/pala.12346.
- Lavoué, Sébastien; Miya, Masaki; Arnegard, Matthew E.; Sullivan, John P.; Hopkins, Carl D.; Nishida, Mutsumi (2012-05-14). "Comparable Ages for the Independent Origins of Electrogenesis in African and South American Weakly Electric Fishes". PLoS ONE. 7 (5): e36287. doi:10.1371/journal.pone.0036287. PMC 3351409. PMID 22606250.
- Kempster, R. M.; McCarthy, I. D.; Collin, S. P. (2012-02-07). "Phylogenetic and ecological factors influencing the number and distribution of electroreceptors in elasmobranchs". Journal of Fish Biology. 80 (5): 2055–2088. doi:10.1111/j.1095-8649.2011.03214.x. PMID 22497416.
- Gardiner, Jayne M.; Atema, Jelle; Hueter, Robert E.; Motta, Philip J. (2014-04-02). "Multisensory Integration and Behavioral Plasticity in Sharks from Different Ecological Niches". PLoS ONE. 9 (4): e93036. doi:10.1371/journal.pone.0093036. PMC 3973673. PMID 24695492.
- "Electroreception in fish, amphibians and monotremes". Map of Life. สืบค้นเมื่อ 2012-10-26.
- Coplin, S. P.; Whitehead, D. (2004). "The functional roles of passive electroreception in non-electric fishes". Animal Biology. 54 (1): 1–25. doi:10.1163/157075604323010024.
- Jackson, C. W.; Hunt, E.; Sharkh, S.; Newland, P. L. (2011). "Static electric fields modify the locomotory behaviour of cockroaches" (PDF). The Journal of Experimental Biology. 214 (Pt 12): 2020–2026. doi:10.1242/jeb.053470. PMID 21613518.
- Albert, J. S.; Crampton, W. G. (2006). "Electroreception and Electrogenesis". ใน Lutz, P. L. (บ.ก.). The Physiology of Fishes. Boca Raton, FL: CRC Press. pp. 429–470. ISBN .
- Babineau, D.; Longtin, A.; Lewis, J. E. (2006). "Modeling the Electric Field of Weakly Electric Fish". Journal of Experimental Biology. 209 (Pt 18): 3636–3651. doi:10.1242/jeb.02403. PMID 16943504.
- Bodznick, D.; Montgomery, J. C.; Bradley, D. J. (1992). "Suppression of Common Mode Signals Within the Electrosensory System of the Little Skate Raja erinacea" (PDF). Journal of Experimental Biology. 171 (Pt 1): 107–125.
- Stoddard, P. K. (2002). "The evolutionary origins of electric signal complexity". Journal of Physiology - Paris. 96 (5–6): 485–491. doi:10.1016/S0928-4257(03)00004-4. PMID 14692496.
- Hopkins, C. D. (1999). "Design features for electric communication". Journal of Experimental Biology. 202 (Pt 10): 1217–1228. PMID 10210663.
- Stoddard, P. K. (1999). "Predation enhances complexity in the evolution of electric fish signals". Nature. 400 (6741): 254–256. doi:10.1038/22301. PMID 10421365.
- Fields, R. Douglas (August 2007). "The Shark's Electric Sense" (PDF). Scientific American. (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-15. สืบค้นเมื่อ 2013-12-02.
- Catania, Kenneth C. (October 2015). "Electric Eels Concentrate Their Electric Field to Induce Involuntary Fatigue in Struggling Prey". Current Biology. 25 (22): 2889–2898. doi:10.1016/j.cub.2015.09.036. PMID 26521183.
- Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2005). "Electrophorus electricus" in . December 2005 version.
- Scheich, H.; Langner, G.; Tidemann, C.; Coles, R. B.; Guppy, A. (1986). "Electroreception and electrolocation in platypus". Nature. 319 (6052): 401–402. doi:10.1038/319401a0. PMID 3945317.
- Pettigrew, J. D. (1999). (PDF). The Journal of Experimental Biology. 202 (Pt 10): 1447–1454. PMID 10210685. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-24.
- . Map Of Life. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-09. สืบค้นเมื่อ 2013-06-12.
- Proske, U.; Gregory, J. E.; Iggo, A. (1998). "Sensory receptors in monotremes". Philosophical Transactions of the Royal Society B. 353 (1372): 1187–1198. doi:10.1098/rstb.1998.0275. PMC 1692308. PMID 9720114.
- Czech-Damal, N. U.; Liebschner, A.; Miersch, L.; Klauer, G.; Hanke, F. D.; Marshall, C.; Dehnhardt, G.; Hanke, W. (2012). "Electroreception in the Guiana dolphin (Sotalia guianensis)" (PDF). Proceedings of the Royal Society B. 279 (1729): 663–668. doi:10.1098/rspb.2011.1127. PMC 3248726. PMID 21795271.
- Greggers, U.; Koch, G.; Schmidt, V.; Dürr, A.; Floriou-Servou, A.; Piepenbrock, D.; Göpfert, M. C.; Menzel, R. (2013). "Reception and learning of electric fields". Proceedings of the Royal Society B. 280 (1759): 1471–2954. doi:10.1098/rspb.2013.0528. PMC 3619523. PMID 23536603. 20130528.
- Greggers, U. . Free University Berlin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21.
- . EMFsafety. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-07-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ReefQuest Centre for Shark Research
- Electrolocation on Scholarpedia
- Video clips of Gnathonemus, Apteronotus, and Ameiurus
- Electroreception in fish, amphibians and monotremes — Map of Life, University of Cambridge
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha karrbruiffa xngkvs electroreception electroception epnsmrrthphaphkhxngsingmichiwitinkarrbrutwkratunthangiffatamthrrmchati sungphbinstwnahruxstwsaethinnasaethinbkekuxblwn ephraananaiffaiddikwaxakas khxykewnkkhuxstwcaphwkomonthrim rwmxikhidnaaelatunpakepd aemlngsab aelaphung karrbruiffasamarthichkahndthitngwtthuodyiffa electrolocation aelaichsuxsarthangiffa electrocommunication twrbiffa Ampullae of Lorenzini aela lateral line thihwchlammummxngkwang karkahndthitngwtthudwyiffaaebbaexkthif wtthuthinaiffa Conductance cathaihsnamiffaekhmkhun swnwtthuthitanif Resistance cathaihsnamiffakracayxxkplangwngchangnacud wngs Mormyridae inskul Gnathonemus misnamiffakracayxxkmacakxwywaiffaaethwhang aesdngepnsiehliymphunphaetha mibriewnphiwhnngthirbruiffa khuxruiffa electric pit fovea khuhnungthisamarthsubhaaelatrwcsxbwtthutang xyangaexkthif phaphthiehnepnkarbidebuxnkhxngsnamiffaodywtthu 2 praephth khux phaphbn phuch ekhiyw thinaiffaiddikwana aela phaphlang kxnhin etha thiimnaiffa cnkrathngerwni karrbruiffaphbaetinstwmikraduksnhlng aetngansuksapi 2013 aesdngwa phungsamarthtrwccbthngkarmipracuifsthit static charge aelarupaebbkhxngpracuifbndxkimid instwmikraduksnhlng kartrwccbiffamixyuinbrrphburusrwmknsudthay last common ancestor khxngstwmikraduksnhlngthnghmd epnkarrbruiffathieriykwa ampullary electroreception karrbruiffadwykraepaa dwyxwywarbruiffakhux Ampullae of Lorenzini aemstwmikraduksnhlngthisamarthrbruiffacaimmixwywanithnghmd aetplakradukxxn rwmchlam plakraebn plaxndb Chimaeriformes plapxd plawngs Polypteridae bichir plasilaaekhnth plasetxreciyn plawngs Polyodontidae paddlefish salaaemnedxrna aelaekhiydngu klwnmixwywani stwmikraduksnhlngxunthirbruiffaid echn plahnng plaihliffa plangwngchang omonthrim aelawalaelaolmaxyangnxyphnthuhnung lwnrbruiffadwykliktangknsungprbrabbxunmaich karrbruiffadwykraepaaepnaebbimtxngthaxair phassif aelaichodyhlkephuxlaehyux pla 2 klumin infraclass Teleostei chuxsamy teleost plxyiffaxyangxxn aelarbruiffaxyangaexkthif khux planacudekhtrxnthwipxemrikaxndb Gymnotiformes knifefish aelaplangwngchangaexfrikain suborder Notopteroidei mithnginnacudnakrxy stwbkthirbruiffasungminxymakkkhuxxikhidnaphnthu Zaglossus bruijni inekaaniwkini sungmitwrbruiffa electroreceptor 2 000 tw thipak ethiybkb 40 000 twsahrbyatikhxngmninklumomonthrimsungichewlaswnhnunginnakhuxtunpakepd inxxsetreliytawnxxk karkahndthitngwtthudwyiffa electrolocation stwthiruiffaichprasathsmphsniephuxkahndthitngwtthurxb tw sungsakhyinwithichiwitechphaaniews ecological niche thistwphungtaimid echn intha innakhun aelaewlaklangkhun plahlaychnidichsnamiffaephuxtrwccbehyuxthifngtwxyu exmbrioxaelalukplachlambangchnid catwaekhngemuxtrwccbsyyaniffalksnaechphaakhxngstwthilamn mikaresnxwa chlamsamarthichprasathsmphsiffathilaexiydxxnniephuxtrwccbsnamaemehlkkhxngolk odytrwcdukraaesiffaxxn thiehniywnaodykarwaynakhxngmn hruxodykraaesnathael snamiffasthitmixiththiphltxphvtikrrmkaredinkhxngaemlngsab khuxmncaeliyngsnamiffaphiesuxratriphnthu Trichoplusia ni Cabbage looper keliyngsnamiffadwyehmuxnkn karkahndthitngwtthudwyiffaxyangaexkthif inkarkahndthitngwtthudwyiffaxyangaexkthif stwrusingaewdlxmodysrangsnamiffaaelwtrwccbkhwambidebuxnkhxngsnamdwyxwywarbruiffa snamiffacasrangdwyxwywaiffaphiessthiphthnamacakesllklamenuxaelaesnprasath snamiffaxaccakhwbkhumihmikhwamthiaelarupaebbkhlunphiesstxstwspichis nn aelabangkhrngaemaettxstwaetlatw stwsungkahndthitngwtthudwyiffaxyaaexkthifrwmthngplaiffaaebbxxn sungthaodysrangphlsiffa hruximkplxykhluniffakhlay rupisn quasi sinusoidal dwyxwywaiffa plaehlanisrangskyiffathipktinxykwa 1 owlt aelacaaenkwtthudwykhakhwamtanthanaelakhakhwamcu capacitance thitang knsungxacchwyrabuwtthu karkahndthitngwtthuodyiffaxyangaexkthifpkticaruidiklraw 1 latw aetwtthuthimiximphiaednsiffaiklkbkhxngnarxb kxacimruidely karkahndthitngwtthudwyiffaxyangphassif inkarkahndthitngwtthudwyiffaxyangphassif stwcarbrusnamiffachiwphaphxxn thistwxunsrangodyrbruephuxrabutaaehnng stwthnghmdsrangsnamiffaechnniephraakarthangankhxngrabbprasathaelaklamenux aehlngsnamiffaxikxyangkhxngplakkhuxpmphixxxnthikhwbkhumkhwamdnxxsomsis osmoregulation thienuxeyuxehnguxk snamiffacaepliyniptamkarepidpidpakaelachxngehnguxk plathilaplasungkxiffacaichpracuiffakhxngehyuxephuxhamn sungthaihehyuxwiwthnakarsyyaniffathisbsxnyingkhunhruxmikhwamthisungkhunthitrwccbidyakkwa karkahndthitngwtthuodyiffaxyangphassifcathadwytwrbiffainkraepaa ampullary electroreceptor ethanninpla sungcunrbsyyaniffakhwamthita khuxnxykwa 1 ehirts cnthungepnsib ehirts txngkarxangxing plaichprasathsmphsniephuxesrimhruxaethnthiprasathsmphsxun emuxtrwcphbehyuxhruxstwthilamn inchlam karphbsnamiffamisxngkhw electric dipole ephiyngethannkepnehtuihmnphyayamkinsingnnaelw txngkarxangxing karsuxsardwyiffaplaiffaaebbxxn samarthsuxsarodykhwbkhumrupkhlunthimnsrang epnsmrrthphaphinkarsuxsardwyiffa electrocommunication sungxacichdungdudkhu hruxephuxrabuxanaekht plahnngbangphnthucaplxyiffaephuxaesdngkhwamdukawrawethann agonistic behaviour plaaemnaxemrikaitinwngs Hypopomidae skul Brachyhypopomus chuxsamy bluntnose knifefish plxyiffaaerngowlttathikhlaykbrupaebbiffaephuxkahndthitngwtthukhxngplaihliffa niechuxwaepnkareliynaebbephuxngpxngkntw Batesian mimicry ihstwxunklw ephraaplaihliffamikalngiffasungklikrbkhwamrusukkarkahndthitngwtthudwyiffaaebbaexkthifcaxasytwrbruiffaruphwmnsungiwtxtwkratunrahwangkhwamthi 20 20 000 ehirts twrbiffaechnnicamitwxudepneslleyuxbuphiw epithelial cells sungcbkhukhaekbpracu capacitance khxngesllrbkhwamrusukkbsingaewdlxmphaynxk swnkarkahndthitngwtthuodyiffaaebbphassifthiichkraepaacaiwtxtwkratunkhwamthitakwa 50 ehirts twrbiffacaprakxbdwychxngmiwunetmerimtngaettwrbkhwamrusukcnipthungphiwhnng swnplaiffawngsplangwngchangcakaexfrikaichtwrbkhwamrusukruphwmnthieriykwa Knollenorgans ephuxrbsyyaniffainkarsuxsartwxyangchlamaelaplakraebn chlamaelaplakraebn epnstwinchnyxy xiaelsomaebrngikh echn chlamelmxn Negaprion brevirostris lemon shark txngkahndthitngwtthudwyiffaemuxocmtiehyuxinrayasudthay sungaesdngihehndwyphvtikrrmkarkinxyangdueduxdemuxlxdwysnamiffakhlay kbkhxngehyux chlamepnstwthiiwiffamakthisud khuxtxbsnxngtxsnamiffakraaestrngmikhataephiyng 5 naonowlt sm xwywarbrusnamiffakhxngchlameriykwa ampullae of Lorenzini sungprakxbdwyesllrbkhwamrusukthiechuxmkbnathaeldwyruelk thicmukaelabriewnxun khxnghw sayothrelkhitnainyukhtn mipyhachlamthakhwamesiyhayephraasnamiffathisaysrang epnipidwa chlamxacichsnamaemehlkkhxngolkephuxhaesnthanginthaeldwyprasathsmphsni plakradukaekhng plaihliffa khwamcringimichxyuinxndbplaihl aetxyuinwngs Gymnotidae knifefish nxkcakcasamarthsrangkraaesiffaaerngdnsungrayasn 860 owlt 1 aexmaepr 860 wtt 2 milliwinathi imphxkhamnusyphuihy aelw yngsamarthichphlsiffaaerngdntaephuxnathangaelatrwccbehyuxinaehlngthixyuxnepnnakhun sungepnsmrrthphaphthiplaxndbplaihliffa gymnotiformes xun kmi omonthrim tunpakepdepnstweliynglukdwynmpraephthomonthrimthisamarthrbruiffa omonthrimepnstweliynglukdwynmbkklumediywthiwiwthnakarkarrbruiffa inkhnathitwrbiffa electroreceptor khxngplaaelastwsaethinnasaethinbkcawiwthnakarmacakxwywa lateral line aetkhxngomonthrimwiwthnakarmacaktxmphiwhnngthitxkbesnprasathsmxngithrecminl aelaprakxbdwyplayprasathxisrathitxmemuxk mucous gland trngcmuk inbrrdaomonthrim tunpakepd Ornithorhynchus anatinus miprasathsmphsiffaiwsud odymitwrbiffaekuxb 40 000 tweriyngtx knepnriw tampak sungnacachwyrabutaaehnngkhxngehyux rabbrbruiffakhxngtunmithisthangthiechphaaecaacng danthiiwsudxyukhanghnalnglang emuxkalngwayna tuncakhybhwxyangrwderwaebbthieriykwa saccades epnkarichswniwsudkhxngpakrbtwkratunephuxkahndtaaehnngehyuxihaemnyathisud tunpakepdduehmuxncaichkarrbruiffabwkkbtwrbruaerngdnephuxrabukhwamhangcakehyux khuxrayaewlarahwangkaridrbsyyaniffakbkarruaerngdnthiepliynipkhxngna swnsmrrthphaphkarruiffakhxngxikhidnasungepnstwbksxngphnthudngtxipniimsbsxnetha khux xikhidnapakyawskul Zaglossus long beaked echidna mitwrbiffaephiyngaekh 2 000 tw swnxikhidnapaksnphnthu Tachyglossus aculeatus short beaked echidna miephiyngaekh 400 twodyxyuthiplaycmuk khwamaetktangechnnimacakaehlngthixyuaelawithihakin khux xikhidnapakyawtawntk Zaglossus bruijni xasyxyuinpaekhtrxnaelakiniseduxndinthixyuinkxngibimchun dngnn aehlngthixyukhxngmncungnacadisahrbkarrbrusyyaniffa ethiybkbaehlngthixyuthitang knaetthwipaehngaelngkwakhxngxikhidnapaksnthiepnyatikn sungodyhlkkinplwkaelamdinrng khwamchuninrngechnniechuxwa thaihsamarthrbruiffaidemuxlaehyuxthifngtwxyuodyechphaahlngfntkkarthdlxngidaesdngwa xikhidnasamarthfukihtxbsnxngtxsnamiffaxxn innaaeladinchun mismmtithanwa prasathsmphskhxngxikhidnaepnswnehluxthangwiwthnakarcakbrrphburusthikhlaytunpakepd olma olmaidwiwthnakarkarrbruiffadwyokhrngsrangthitangkbkhxngpla stwsaethinnasaethinbk aelaomonthrim ruhnwd vibrissal crypt sungirkhnthicangxypak rostrum khxngolmaekiyna Sotalia guianensis Guiana dolphin sungdngedimepnruhnwdstweliynglukdwnm samarthrbruiffamikhatacnthung 4 8 imokhrowlt sm sungphxihtrwccbplaelk id niiwethiybkbtunpakepd aetcnthungeduxnmithunayn 2013 kidrabuesllechnniinolmatwediywethann phung phungsasmpracuiffasthitkhwbwkemuxbinipinxakas emuxipcbthidxkim pracusungplxylngthidxkimcarwipthungdinhlngcakphanipphkhnung phungsamarthtrwccbsnamiffawamihruximmiaelarupaebbsnamiffabndxkim aelaichkhxmulniephuxruwa phungxunidmathidxkimerw nisungxacthaihminatxy nahwannxykwahruxim aetphungktrwccbsnamiffathalwngxakasthiepnchnwndwykarrbruaerngkl ehtukdkhxngkhulxmb imichrbruiffa khuxrusukkhwamepliynaeplngkhxngsnamiffadwyxwywakhux Johnston s organ thihnwd aelaxacdwytwrbaerngklxun odyaeykaeyarupaebbtang tamkalewlaaelwcamnid inchwngkartha waggle dance binetnraephuxsuxsar phunginskul Apis honeybee xacichsnamiffathiaephxxkcakphungthikalngbinetnraephuxsuxsarphltxstwpamikarxangwa snamiffaaemehlkthiesaehlksungkhungsayiffaaelathiesawithyu othrthsnmiphlesiytxstwpa cnthungpi 2012 mingansuksa 153 nganineruxngnithiidtiphimphechingxrrthaelaxangxingElectroreception Bullock Theodore Holmes New York Springer 2005 ISBN 978 0387231921 OCLC 77005918 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint others lingk Heiligenberg Walter 1977 Principles of Electrolocation and Jamming Avoidance in Electric Fish A Neuroethological Approach Springer Verlag ISBN 9780387083674 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Scene analysis in the natural environment 2014 doi 10 3389 fpsyg 2014 00199 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a Cite journal txngkar journal help Clarke D Whitney H Sutton G Robert D 2013 Detection and Learning of Floral Electric Fields by Bumblebees Science 340 6128 66 69 doi 10 1126 science 1230883 PMID 23429701 Bullock T H Bodznick D A Northcutt R G 1983 The phylogenetic distribution of electroreception Evidence for convergent evolution of a primitive vertebrate sense modality Brain Research Reviews 6 1 25 46 doi 10 1016 0165 0173 83 90003 6 King Benedict Hu Yuzhi Long John A 2018 02 11 Electroreception in early vertebrates survey evidence and new information Palaeontology 61 3 325 358 doi 10 1111 pala 12346 Lavoue Sebastien Miya Masaki Arnegard Matthew E Sullivan John P Hopkins Carl D Nishida Mutsumi 2012 05 14 Comparable Ages for the Independent Origins of Electrogenesis in African and South American Weakly Electric Fishes PLoS ONE 7 5 e36287 doi 10 1371 journal pone 0036287 PMC 3351409 PMID 22606250 Kempster R M McCarthy I D Collin S P 2012 02 07 Phylogenetic and ecological factors influencing the number and distribution of electroreceptors in elasmobranchs Journal of Fish Biology 80 5 2055 2088 doi 10 1111 j 1095 8649 2011 03214 x PMID 22497416 Gardiner Jayne M Atema Jelle Hueter Robert E Motta Philip J 2014 04 02 Multisensory Integration and Behavioral Plasticity in Sharks from Different Ecological Niches PLoS ONE 9 4 e93036 doi 10 1371 journal pone 0093036 PMC 3973673 PMID 24695492 Electroreception in fish amphibians and monotremes Map of Life subkhnemux 2012 10 26 Coplin S P Whitehead D 2004 The functional roles of passive electroreception in non electric fishes Animal Biology 54 1 1 25 doi 10 1163 157075604323010024 Jackson C W Hunt E Sharkh S Newland P L 2011 Static electric fields modify the locomotory behaviour of cockroaches PDF The Journal of Experimental Biology 214 Pt 12 2020 2026 doi 10 1242 jeb 053470 PMID 21613518 Albert J S Crampton W G 2006 Electroreception and Electrogenesis in Lutz P L b k The Physiology of Fishes Boca Raton FL CRC Press pp 429 470 ISBN 9780849320224 Babineau D Longtin A Lewis J E 2006 Modeling the Electric Field of Weakly Electric Fish Journal of Experimental Biology 209 Pt 18 3636 3651 doi 10 1242 jeb 02403 PMID 16943504 Bodznick D Montgomery J C Bradley D J 1992 Suppression of Common Mode Signals Within the Electrosensory System of the Little Skate Raja erinacea PDF Journal of Experimental Biology 171 Pt 1 107 125 Stoddard P K 2002 The evolutionary origins of electric signal complexity Journal of Physiology Paris 96 5 6 485 491 doi 10 1016 S0928 4257 03 00004 4 PMID 14692496 Hopkins C D 1999 Design features for electric communication Journal of Experimental Biology 202 Pt 10 1217 1228 PMID 10210663 Stoddard P K 1999 Predation enhances complexity in the evolution of electric fish signals Nature 400 6741 254 256 doi 10 1038 22301 PMID 10421365 Fields R Douglas August 2007 The Shark s Electric Sense PDF Scientific American PDF cakaehlngedimemux 2019 04 15 subkhnemux 2013 12 02 Catania Kenneth C October 2015 Electric Eels Concentrate Their Electric Field to Induce Involuntary Fatigue in Struggling Prey Current Biology 25 22 2889 2898 doi 10 1016 j cub 2015 09 036 PMID 26521183 Froese Rainer and Pauly Daniel eds 2005 Electrophorus electricus in December 2005 version Scheich H Langner G Tidemann C Coles R B Guppy A 1986 Electroreception and electrolocation in platypus Nature 319 6052 401 402 doi 10 1038 319401a0 PMID 3945317 Pettigrew J D 1999 PDF The Journal of Experimental Biology 202 Pt 10 1447 1454 PMID 10210685 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2014 02 24 Map Of Life 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 02 09 subkhnemux 2013 06 12 Proske U Gregory J E Iggo A 1998 Sensory receptors in monotremes Philosophical Transactions of the Royal Society B 353 1372 1187 1198 doi 10 1098 rstb 1998 0275 PMC 1692308 PMID 9720114 Czech Damal N U Liebschner A Miersch L Klauer G Hanke F D Marshall C Dehnhardt G Hanke W 2012 Electroreception in the Guiana dolphin Sotalia guianensis PDF Proceedings of the Royal Society B 279 1729 663 668 doi 10 1098 rspb 2011 1127 PMC 3248726 PMID 21795271 Greggers U Koch G Schmidt V Durr A Floriou Servou A Piepenbrock D Gopfert M C Menzel R 2013 Reception and learning of electric fields Proceedings of the Royal Society B 280 1759 1471 2954 doi 10 1098 rspb 2013 0528 PMC 3619523 PMID 23536603 20130528 Greggers U Free University Berlin khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2018 11 21 EMFsafety 2012 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 06 15 subkhnemux 2013 07 11 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb karrbruiffa ReefQuest Centre for Shark Research Electrolocation on Scholarpedia Video clips of Gnathonemus Apteronotus and Ameiurus Electroreception in fish amphibians and monotremes Map of Life University of Cambridge