มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาด หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐาน โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
บทความนี้ไม่มีจาก |
ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง หรือไทโคราช เป็นกลุ่มชนพื้นถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน
- จังหวัดลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม, อำเภอชัยบาดาล, อำเภอโคกสำโรง และอำเภอสระโบสถ์
- จังหวัดสระบุรี อำเภอวังม่วง
- จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี
- จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง อำเภอละหานทราย อำเภอชำนิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอหนองกี่ และบางหมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง อำเภอลำปลายมาศ อำเภอประโคนชัย
- จังหวัดชัยภูมิ อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเทพสถิต อำเภอเนินสง่า อำเภอซับใหญ่ และบางหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์
- จังหวัดนครราชสีมา ทุกอำเภอ ยกเว้น อำเภอที่ชาวไทลาวมากกว่าเช่น อำเภอบัวใหญ่ และอำเภอสูงเนิน
- บางส่วนในจังหวัดพระตะบอง และจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา []
ชาวไทโคราชที่วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา | |
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
10,000 คน (ประมาณ พ.ศ. 2542) 600,000 (ประมาณ พ.ศ. 2548) | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย | |
ภาษา | |
สำเนียงโคราช และอื่น ๆ | |
ศาสนา | |
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท |
ซึ่งชาวไทเบิ้งมีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทภาคกลาง แต่มีภาษา ความเชื่อ เพลงพื้นบ้าน การละเล่น การทอผ้า ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนอยู่
ภาคกลาง
หรือในบางครั้งจะเรียกว่า ไทเดิ้ง หรือ ไทโคราช จากเอกสารประวัติศาสตร์และโบราณสถานกำหนดได้ว่าเป็นชุมชนไทยที่อยู่อาศัยมานานอย่างน้อยตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยาราว- ชาวไทยเบิ้ง มีเอกลักษณ์ ในเรื่องของประเพณีความเชื่อ ภูมิปัญญา สังคม สถาปัตยกรรมและผลงานทางวัฒนธรรม เช่น ภาษาและวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี และการละเล่นเพลงพื้นบ้าน การละเล่นทั่วไปและกีฬา มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนไทยเบิ้ง ซึ่งมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวัฒนธรรมไทยโคราช คือ มีประเพณีชีวิตที่สอดแทรกวัฒนธรรมอันดีงาม เช่น ความกตัญญู ความสามัคคี ความมีน้ำใจเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเห็นอกเห็นใจมีประเพณีท้องถิ่นเนื่องในพุทธศาสนา ตรุษสารท และประเพณีเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพและประเพณี เกี่ยวข้องกับความความเชื่อ สำหรับความเชื่อนั้นมีความเชื่อโชคลาง โหราศาสตร์ ภูตผีปีศาจ และไสยศาสตร์
การแต่งกาย
ผู้หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน เป็นผ้าพื้นทอมือสีเข้ม เช่น สีดำ สีน้ำตาล สีกรมท่า คาดเข็มขัดเงิน เข็มขัดทอง หรือเข็มขัดนาก ไม่นิยมนุ่งซิ่น สวมเสื้อตัดเย็บจากผ้าฝ้ายทอมือ เสื้อที่นิยมใช้ เรียกว่า เสื้อ "คอกระโจม" และเสื้อ "อีแปะ" หญิงชาวไทยเบิ้งจะใช้เสื้อประเภทนี้ไปวัด แต่งงานใช้สไบเฉียงห่มทับเสื้อ หรือ สวมเสื้อแขน กระบอกห่มสไบทับเสื้อ ถ้าอยู่บ้านมักใช้ผ้าคาดอกแทนการสวมเสื้อ ตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ไม่นิยมดัดผม และแต่งหน้าเพียงใช้แป้งเม็ดบรรจุกระป๋องทาหน้า กินหมากทำให้ปากแดง ใช้สีผึ้งทาปากเพื่อไม่ให้ปากแห้ง การบำรุงผิวใช้ขมิ้นผสมกับดินสอพอง ทาตัวและทาหน้า สำหรับเครื่องประดับนิยมใช้ทองมากกว่าเพชรพลอย และนิยมใช้ตุ้มหูมากกว่าสร้อยและแหวน สะพายย่ามแทนกระเป๋า ของที่ใส่ในย่ามได้แก่ เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องมือในการประกอบอาชีพ ข้าวห่อและอื่น ๆ ผู้ชาย ในอดีต ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมไม่ผ่าอก นุ่งกางเกงขาก๊วย กางเกงขาสั้น กาง เกงขายาว หากอยู่บ้านนุ่งผ้าถุงและไม่สวมเสื้อ เมื่อออกนอกบ้านสวมเสื้อคอกลม ปกฮาวาย หรือปกเชิ้ต มีผ้าขาวม้าพาดบ่า เหมือนสไบ ตัดผมทรงดอกกระทุ่ม สะพายย่ามไม่สวมรองเท้า
ภูมิปัญญา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทเบิ้ง ได้แก่ อาชีพที่ได้อาศัยประโยชน์จากสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียงเช่น การทำไต้ ทำลาน ส่วนอาชีพอื่นๆ คือการทำไร่ ทำนา หาปลา โดยมีเครื่องมือประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ เครื่องมือดำรงชีวิตบางชิ้น เช่น ตะกร้า มีรูปแบบคล้ายกระบุงขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชน
การทอผ้า
ชาวไทยเบิ้งนิยมผ้าฝ้าย ทำลวดลายผ้า เป็นลายตารางรูปสี่เหลี่ยม ปกติ จะทอไว้ใช้เอง เช่น ผ้าเย็บที่นอน หมอน ผ้าถุง ผ้าขาวม้า ย่าม ปัจจุบันบางครอบครัวทอไว้ขาย เช่น ผ้าขาวม้า และย่าม แต่เดิมการทำผ้าของชาวไทยเบิ้งได้เตรียมการทอผ้าเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ย้อมสีด้ายฝ้าย ในปัจจุบัน ซื้อเส้นด้านย้อมสีสำเร็จรูปมาทอ การแต่งกายใช้ผ้าฝ้าย เอกลัษณษ์ในการแต่งกายคือ สตรีสูงอายุนุ่งโจงกระเบน และสะพายย่าม รูปแบบลักษณะเฉพาะในเวลาไปทำงาน
กลุ่มชนชาวไทเบิ้งที่อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำป่าสัก ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อย่างเข้าฤดูแล้ง ผู้ชายอาจจะเข้าป่า หาของป่า ล่าสัตว์ ผู้หญิงจะทอผ้าไว้ใช้ในครอบครัว และ ปลูกฝ้าย ในเนื้อที่ที่เหลือในบริเวณบ้านเพื่อใช้ทอผ้า
กรรมวิธีการทำเส้นด้าย การอิ้วฝ้าย หรือ หีบฝ้าย เป็นการแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย โดยใช้เครื่องหีบ หรือเครื่องอิ้วฝ้าย การดีดฝ้าย เป็นการทำให้ฝ้ายแตกกระจายออกเป็นเนื้อเดียวกัน การดิ้วฝ้าย เป็นการนำด้ายที่ดีดเป็นปุยแล้วมาล้อหมุนให้ได้ฝ้ายที่มีลักษณะกลม โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไม้ล้อ การเข็นฝ้าย หรือการปั่นฝ้าย เป็นการดึงฝ้ายที่ดิ้วแล้วให้เป็นเส้นด้าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไน หรือ หลา แล้วใช้ไม้เปียด้ายพันด้าย จนมีขนาดโตพอประมาณ แล้วดึงด้ายออก เรียกว่า ปอย หรือ ไจ
การตกแต่งเส้นด้าย การฆ่าด้าย วิธีการทำให้ด้ายมีความเหนียว ทนทานไม่เป็นขนโดยนำไปต้มกับข้าว วิธีการนี้ใช้กับเส้นด้ายที่ไม่ต้องการย้อมสี การย้อมสี เป็นวิธีเพิ่มความสวยงามให้แก่ผืนผ้า โดยใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ดอก ต้น แก่น ลูก และใบ กรรมวิธีการย้อม มีวิธีย้อมตามลักษณะของวัสดุ พืชที่นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า ได้แก่ ผลมะเกลือ เปลือกกระโดน มะเกลือเลือด แก่นแกแล เปลือกอินทนิล ฝักระกำ ต้นคราม ขมิ้นกับ ยอดแค แก่นฝาง ผักงาด ฯลฯ ส่วนวิธีการย้อมสี ผ้าหรือเส้นด้ายที่จะย้อม จะต้องซัก หรือแช่น้ำให้เปียกทั่วทั้งผืนก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สีด่าง จะทำให้สีติดผ้าทั่วกันทั้งผืน และเมื่อย้อมสีเสร็จแล้วจะต้องนำผ้าไปล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปตาก
เครื่องมือเครื่องใช้ในการทอผ้า
กี่พื้นเมืองหรือกี่ทอมือ กี่ชนิดนี้ทอผ้าแต่ละครั้งได้จำนวนจำกัด คือ ได้เพียงครั้งละ 5-6 ผืน หน้ากว้างของผ้าที่ทอได้ จะแคบ กี่ทอมือจะต้องใช้เท้าเหยียบเพื่อบังคับตะกอให้แยกเส้นด้ายยืนออกจากกัน แล้วใช้มือสอดกระสวยใต้เส้นด้ายที่แยกดึงฟันฟืมกระทบเส้นด้ายพุ่งให้ติดกันทีละเส้น ซึ่งทอได้ช้า
กี่กระตุก เป็นกี่ที่เพิ่งจะเริ่มนำเข้ามาใช้ โดยได้รับการส่งเสริมจากกรมพัฒนาชุมชน การทอกี่กระตุก ผู้ทอไม่ต้องสอดกระสวย ใช้มือกระตุกเชือกที่ติดกับกระสวย แล้วกระสวยจะวิ่งผ่านเส้นด้ายยืนที่แยกออกจากกัน โดยการใช้เท้าเหยียบไม้ที่ดึงตะกอ ข้อดีของกี่กระตุก คือ ในการทอแต่ละครั้งไม่ต้องสืบเส้นด้ายยืนบ่อย ๆ มีแกนม้วนด้ายยืนได้ยาวหลายสิบเมตร เส้นด้ายยืนจะตึงเรียบเสมอกันไม่ต้องหวีหรือจัด
กรรมวิธีการทอผ้า การเสาะด้าย คือการนำด้ายที่ย้อมสีแล้วมาเสาะใส่ระวิง สาวลงกระบุง นำด้ายมากรอใส่หลอดทำด้วยไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ แล้วนำไปค้น การค้น คือการนำด้ายสีต่าง ๆ ที่เสาะแล้วมาเกาะหลักพิมพ์ เพื่อกำหนดความยาวของเส้นด้ายยืนว่าต้องการทอกี่ผืน เมื่อเสร็จแล้วนำด้ายออกจากพิมพ์ เรียกว่า เครือ การสืบด้าย นำเครือด้ายมาสืบในฟืมจนครบตามหน้ากว้างของฟืม การทอ นำเส้นด้ายพุ่งที่กรอใส่หลอดด้าย เลือกสีตามต้องการ ใส่กระสวยแล้วนำมาทอ การทอหูกใช้เท้าเหยียบ มือพุ่งกระสวย และใช้มือดึงฟันหวีกระทบด้ายทีละเส้นให้แน่น ทอไป เรื่อย ๆ จนหมดความยาวของเส้นด้ายยืน
ประเภทของผ้าทอของชาวไทเบิ้ง
ประเภทของผ้าทอของชาวไทเบิ้ง ผ้าทอที่พบแบ่งออกเป็นสองยุค ได้แก่
- 1.ผ้าทอโบราณ เป็นผ้าที่ทอขึ้นเพื่อเก็บไว้ใช้เอง หรือให้ญาติพี่น้อง ผู้ที่เคารพนับถือใช้ มีลักษณะเป็นผ้าพื้นสีขาว ถ้าย้อมสี สีจะค่อนข้างเข้ม ทอแบบง่าย ๆ ลวดลายไม่สลับซับซ้อน เส้นด้ายที่ใช้ทอเป็นเส้นด้ายที่ได้มาจากฝ้ายแท้ๆ ได้แก่ ผ้าเย็บที่นอน เย็บหมอน ผ้าห่ม ผ้าพื้นใช้เย็บเสื้อ ผ้าถุงผ้าขาวม้า ย่าม
- 2.ผ้าทอไทเบิ้งในปัจจุบัน มีเพียงตำบลเดียวที่ยังมีการทอผ้าคือตำบลโคกสลุง เป็นการ
ทอเพื่อการค้า เส้นด้ายที่ใช้เป็นเส้นด้ายประดิษฐ์หรือใยสังเคราะห์ ผ้าทอไทยเบิ้งในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ
- ผ้าขาวม้า รูปแบบยังเหมือนเดิม แต่สีสันฉูดฉาดขึ้น ลวดลายของผ้าขาวม้าที่พบคือ ลายตาคู่ หรือลายตาสองลอน ลายตาคู่แทรก ลายตาราง
- ย่ามลวดลายยังคงแบบเดิมมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะการใช้สีคือใช้สีอ่อนกว่าเดิมทอ ๒แบบ คือแบบธรรมดาไม่มีการเข้าเกลียวและแบบเข้าเกลียวเส้นด้าย
- ผ้าถุง เป็นผ้ามัดหมี่ที่ใช้กรรมวิธีการทอแบบชาวบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยทางราชการส่งเสริมอาชีพนี้โดยให้กรมพัฒนาชุมชนจัดวิทยากรไปสอนการทอผ้ามัดหมี่
แนวโน้มการทอผ้าของชาวไทยเบิ้งในอนาคต การทอผ้าจะเป็นการทอเพื่อการค้ามากขึ้น การใช้กี่ทอมือจะน้อยลง เพราะกรรมวิธีในการทอค่อนข้างยุ่งยากและช้า นิยมใช้กี่กระตุก เพราะทอได้รวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการจัดเส้นด้ายยืน ลวดลายแบบใหม่ คือ เป็นการทอลายมัดหมี่ ซึ่งนำด้ายขาวมามัด แล้วย้อมสีตามต้องการ ผ้าทอของชาวไทยเบิ้งไม่ค่อยได้รับความนิยม ราคาค่อนข้างแพง และปัจจุบันหญิงสาว นิยมเรียนหนังสือและทำงานโรงงาน จึงไม่มีใครสืบทอดการทอผ้าแบบเดิม
สถาปัตยกรรม
ชาวไทยเบิ้งมีเอกลักษณ์ของกลุ่มชน คือ สร้างเรือนยกเสาสูง แบบเรือนไทย มีหน้าต่างประตู บานเล็ก สลักอกเลาประตู เป็นลวดลายแบบง่ายๆ ฝาเรือนคือฝาฟาก ฝาค้อ จากการสำรวจ พบว่า หมู่บ้านเกษตรกรรม นิยมสร้างบ้านเป็นกระจุก โดยมีการทำนา ทำไร่ อยู่รอบๆหมู่บ้าน การกระจุกตัวของเรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านนั้นมีเหตุผลว่า เพื่อความปลอดภัย การแยกสร้างเรือนให้กระจายออกไปอาจถูกโจรผู้ร้ายปล้น ได้ง่าย และเพื่อความอบอุ่นที่ได้อยู่อาศัยในระหว่าง ญาติพี่น้องและมิตรสหาย
รูปทรงเรือน เป็นเรือนใต้ถุนสูง โดยปกติเรือนจะยกพื้นสูงขนาดคนเดินลอดได้ คือสูงราว 2 เมตร หลังคาเรือนในอดีตนิยมหน้าจั่ว ทรงมนิลาและทรงปั้นหยา เรือนจะหันหน้าไปได้ทุกทิศ ยกเว้นทิศตะวันตก รูปทรงของเรือนก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบันมีด้วยกันหลายแบบ ที่สำคัญคือ
- 1.เรือนทรงไทย เป็นเรือนใต้ถุนสูง มีผัง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสากลมปักเอียงสอบเข้าหากัน หลังคาทรงจั่ว ตกแต่งของจั่วด้วยป้านลมที่มีเชิงเป็นรูปตัวเหงา ฝาเรือนทำด้วยไม้จริง ลักษณะเป็นกรอบลูกฟัก หรือตีด้วยไม้กระดาษ เรือนแบบนี้พบทั่วไป
- 2.เรือนทรงไทยแปลง เป็นแบบท้องถิ่น นั้นคือเป็นเรือนใต้ถุนสูง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาเอียงสอบเข้าหากันแต่ไม่เอียงมากนัก หลังคาทรงจั่วแต่มุมบนของจั่วไม่ทำเป็นมุมแหลมมาก ไม่มีป้าน ลมและตัวเหงา ฝานิยมทำด้วยไม้กระดานหรือฝาฟาก หน้าต่างมีขนาดเล็ก หรืออาจจะกล่าวได้อีกว่าแบบดังกล่าวนี้ยึดถือระเบียบกรอบโครงสร้างแบบเรือนไทยแต่มีสัดส่วนที่โค้งมุมแหลมของหลังคาน้อยกว่า
- 3.เรือนทรงไทยอิทธิพลจากที่อื่นๆ เช่น แบบที่ได้รับอิทธิพลจากภาคอีสาน คือ เรือนใต้ถุนสูงมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาไม่เอียงสอบเข้าหากัน หลังคาทรงจั่วมุมบนไม่แหลมมาก ไม่มีป้านลมและตัวเหงา ฝานิยมทำด้วยไม้ฟาก และเจาะหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก แบบที่ได้รับอิทธิพลจากชุมชนไทยยวน มีลักษณะเป็นเรือนแฝดใต้ถุนสูงหลังคาทรงจั่ว ลักษณะคล้ายกับกรอบโครงสร้างของเรือนไทยล้านนา
- 4. เรือนที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองใหญ่ เช่น เรือนหลังคาทรงปั้นหยาเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้งสี่ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เป็นเรือนไม้สองชั้น ยกพื้นใต้ถุนสูง เรือนหลังคาทรงมนิลา คือเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่มีหักหน้าจั่วเหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือน ฝากระดาน มีกลังคาคล้ายกับเรือนบรานอ คือมีหน้าจั่วหลายจั่วของพวกชาวไทยมุสลิม
การใช้เนื้อที่ภายในเรือน จะกั้นภายในเรือนมิดชิดเป็นสัดส่วน เพียงส่วนหนึ่งของเรือนในขณะพื้นที่ส่วนใหญ่ มีหลังคาคลุมใช้เป็นห้องโถงโล่ง ใช้ประโยชน์ของพื้นที่นี้อย่างอเนกประสงค์ เช่นพักผ่อน สังสรรค์ รับแขก รวมทั้งสามารถใช้นอนหลับได้เช่นกัน ครัวไฟจะอยู่บางมุมของชั้นบนเรือน หรือแยกเป็นเรือนต่างหาก เรือนบางหลังจะมีชานโล่งประกอบ
อาหาร
ชาวไทเบิ้งนั้นนิยมกินอาหารสุก กินเนื้อปลา กินผักพื้นเมือง กินข้าวเจ้า ไม่นิยมกินอาหารใส่กะทิหรือทอด อาหารของชาวไทยเบิ้งเป็นอาหารที่ ถูกสุขภาพ และหาได้ง่ายในท้องถิ่น สำหรับ
สังคม
เป็นสังคมสงบสุข มีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีต่อกัน สมาชิกในสังคมมีความเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกัน มีการดูแลรักษาสุขภาพ รักษาความสะอาดชุมชน และที่อยู่อาศัย มีหมอหลายประเภทรักษาโรค เช่น หมอยาสมุนไพร หมอตำแย หมอรักษาโรค ให้กำลังใจ เช่นหมอน้ำมนต์ สังคมไทเบิ้งเป็นสังคมมีประสบการณ์ และเรียนรู้ในการดูแลรักษา สุขภาพอนามัย
ภาษา
ชาวไทเบิ้งมีภาษาพูดคล้ายกับภาษาไทภาคกลาง แต่มีเสียงวรรณยุกต์ต่างไป และนิยมลงท้ายประโยคด้วยคำว่า เบิ้ง เดิ้ง เหว่ย ด๊อก มีผู้เรียกภาษานี้ในชื่ออื่นว่า ภาษาไทเดิ้ง หรือภาษาไทโคราช วรรณกรรมที่เก่าแก่ที่พบเขียนด้วยอักษรไทย เป็นส่วนใหญ่ เขียนบนสมุดไทยได้แก่ นิทาน นิยาย คำสอนและคติธรรม ตำรายา ตำราหมอดู และกฎหมายเป็นต้น มีรูปแบบอักษรอื่นที่พบบ้าง คืออักษรขอมเขียนบนสมุดไทยเป็นคาถา หรือจารบนใบลานเป็นบทเทศน์ของพระภิกษุ
ศิลปกรรม
ศิลปกรรมของชาวไทเบิ้งได้แก่ พระพุทธรูป ธรรมาสน์ จิตรกรรมพบว่ามีลักษณะคล้ายแบบศิลปกรรมของภาคกลาง แต่มีลักษณะพื้นถิ่นปะปนอยู่ด้วย ศิลปกรรมแบบนี้ เช่น พระพุทธรูปจะเป็นแบบในช่วง-
เครื่องดนตรี
เป็นแบบสังคมชนบทไม่มีความซับซ้อนในการเล่น และการประดิษฐ์ ได้แก่เพี้ย (บางครั้งเรียกว่าจิ้งหน่อง) ปี่ โทน และกลองยาว ส่วนเพลงพื้นบ้านที่สำคัญคือเพลงปฏิพากษ์ ใช้โต้ตอบกันด้วยกลอนเพลง มีหลายรูปแบบ เช่น เพลงหอมดอกมะไพ เพลงพวงมาลัย เพลงระบำบ้านไร่ เพลงโนเน เพลงพิษฐาน เพลงช้าเจ้าหงส์ และ เพลงโคราช ในจำนวนเพลงพื้นบ้านเหล่านี้ เพลงโคราชได้รับความนิยมสูงสุด และยังมีผู้เล่นได้บ้างจนถึงปัจจุบัน
การละเล่นทั่วไป
และกีฬาพื้นบ้าน มีทั้งของเด็กและผู้ใหญ่มีลักษณะคล้ายกับชาวไทยภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และชาวไทย โคราช เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง ลูกช่วง เบี้ยริบ สะบ้า ต่อไก่ สันนิษฐานการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง มีข้อสันนิษฐานต่างๆ ดังนี้คือ
- 1.เบิ้ง ตรงกับคำว่า บ้าง ในภาษาไทยภาคกลาง "ไทยเบิ้งก็คงจะหมายถึง เป็นไทยอยู่บ้างเหมือนกัน คือ ส่วนหนึ่งเป็นไทย ส่วนหนึ่งเป็นเผ่าอื่น เช่น อาจจะเป็นลาว หรือเขมร หรือญวนผสมอยู่"
- 2. อาจจะเป็นเพราะคนกลุ่มนี้ใช้คำว่า เบิ้ง ปะปนกันในการพูดจาเสมอ เช่น ภาษาไทยภาคกลางพูดว่าขอไปด้วย ชาวไทยเบิ้งจะพูดว่า ขอไปเบิ้ง เป็นต้น
- 3. เป็นคำที่ชาวไทยลาว หรือเผ่าพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานเรียกชาวไทโคราช ธวัช ปุนโณทก ระบุในงานศึกษา เรื่องกลุ่มชั้นในภาคอีสานว่า "ชาวอีสานจะเรียกชาวโคราช" ว่าไทบ้าง ไทโคราชบ้าง ไทเบิ้ง หรือไทเดิ้ง บ้าง" ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นตรงกับงานศึกษาของสรเชต วรคามวิชัย เมื่อ พ.ศ. 2539 ว่า " ชาวอีสาน กลุ่มต่างๆ เช่น ลาว เขมร จะเรียกชาวไทยโคราชว่าไทยเบิ้ง หรือไทยเดิ้ง ไม่ทราบคำเรียกนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ปัจจุบันชาวบ้าน ยังเรียกอยู่ " และจากการพูดคุยกับวีระพงศ์ มีสถานนักวิจัยของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ระบุไว้ตรงกันว่า คนลาวชัยภูมิจะเรียกคนไทยโคราชว่า ไทยเบิ้ง กลุ่มชาวไทยในชัยภูมิจะยอมรับและหันมาเมื่อมีใครทักว่าเป็นไทยเบิ้ง แสดงว่ามีการรับรู้ว่าตนเองเป็นกลุ่มไทย (เบิ้ง) ไม่ใช่ลาว
ไทโคราช เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมโคราช ได้แก่ มีเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า “เพลงโคราช” ใช้ดนตรีพื้นบ้าน คือ มโหรีโคราช และที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญคือ ใช้ภาษาโคราชในชีวิตประจำวัน ภาษาโคราชเป็นภาษาที่มีวงศัพท์ สำเนียง และสำนวน เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง
ความก้าวหน้าทางการศึกษา ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันส่งผลกระทบถึงกลุ่มชาติพันธุ์ โคราชรุ่นใหม่ ที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของตนเอง ไม่รู้จักการละเล่นดนตรี และเพลงพื้นบ้าน ที่สำคัญคือ พูดภาษาโคราชไม่ได้ วงศัพท์ภาษาโคราชจึงนับวันจะหายไป
ประเพณีและความเชื่อของไทเบิ้ง
ประเพณีชาวไทเบิ้ง ก็ไม่ต่างจากชาวไทยกลุ่มอื่นมากนักในเรื่องของความเชื่อดังกล่าว คือ บางอย่างก็ไม่มีเหตุผล บางอย่างก็มีเหตุผล แต่จะแตกต่างจากประเพณีชาวไทยภาคกลางบ้าง รายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีชีวิตของชาวไทยเบิ้ง มีดังนี้
- ประเพณีแต่งงานการแต่งงานจะมีพิธี หลายขั้นตอนคือ การทาบทามสู่ขอ วิธีชีวิตของชาวไทยเบิ้ง โอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบกันมีน้อย เพราะต้องทำงานตลอดช่วงกลางวัน และเวลาค่ำคืนเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบปะเกี่ยวพากัน และเมื่อชายหนุ่มถูกใจก็จะจัดหาเถ้าแก่ไปสู่ขอ บิดามารดาฝ่ายหญิงอาจเรียกสินสอดทองหมั้นเป็นเงินทอง หรือเป็นเรือนหอเรียกว่า มาดเป็นเงิน มาดเป็นทอง การหมั้น เมื่อได้ทาบทามสู่ขอแล้วก็จะให้พระสงฆ์ หรือหมอดูกำหนดฤกษ์เพื่อเป็นวันหมั้นซึ่งจะต้องเป็นวันฟู เพราะตามประเพณีจะไม่จัดในวันจม วันฟูหมายถึงวันอธิบดี วันธงชัย และวันจมหมายถึงวันอุบาทว์ วันโลกาวินาศ สำหรับเดือนที่นิยมจัดงานจะเป็นเดือนคู่ และไม่จัดงานระหว่างเข้าพรรษา เมื่อใกล้วันแต่งงาน จะต้องมีการเตรียมตำข้าว หาฟืน ลงปลา หาผักป่า เนื้อสัตว์ที่นิยมใช้ทำอาหารของชาวไทยเบิ้ง นิยมใช้ปลาจะไม่มีการฆ่าหมู วัวหรือควาย อาหารจะเป็นอาหารพื้นบ้านง่ายๆ ไม่มีอาหารประเภทใดต้องห้ามสำหรับงานแต่งงานไม่เหมือนประเพณีของทางภาคกลาง
- ในการจัดงานจะแบ่งเป็น 3 วันคือ วันแรกเป็นวันเตรียม วันต่อมาคือวันแต่งงานและวันที่สามคือวันทำบุญบ้าน ส่วนพิธีอื่นๆ จะคล้ายกับภาคกลาง ต่างกันตอนขบวนขันหมาก คือเมื่อบ้านฝ่ายหญิงยิงปืนขึ้น ๑ นัด ฝ่ายชายจึงเริ่มขบวนขันหมาก เมื่อขบวนมาถึงได้มีการขันหมากแล้ว ฝ่ายหญิงจะมอบแป้งกระสอบหนึ่งถุงเป็นของชำร่วย จากนนั้นจึงมีการผูกข้อไม้ข้อมือ วันที่สามมีพิธีทำบุญบ้านบ่าวสาว จะตักบาตร ขนมขันหมากที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจัดมาจะถวายพระ เพราะมีข้อห้ามไม่ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกินขนมขันหมาก หลังจากเลี้ยง พระแล้วจะมีพิธีประพรมน้ำพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จพิธีแต่งงาน หลังจากแต่งฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงอย่างน้อย ๓ คืน แล้วจึงจะแยกเรือนไปดำเนินชีวิตเป็นครอบครัวใหม่ต่อไป
- ประเพณีการเกิดผู้หญิงชาวไทยเบิ้ง เมื่อตั้งครรภ์จะมีการปฏิบัติตนเช่นเดิมปกติ คือ ยังทำงานบ้านทำไร่ทำนา ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น มีความเชื่อมีข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามหลายประการ เช่น ห้ามทำบาปไม่ตกปลาไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ให้ไปดูคนอื่นคลอดลูกเพราะมีความเชื่อว่าจะยันกันทำให้คลอดยาก ไม่ไห้อาบน้ำกลางคืน เพราะกลัวแฝดน้ำ เมื่อเกิดจันทรคราสบางคนก็เอาน้ำลูบท้องเพื่อให้คลอดง่าย ไม่ให้นั่ง ยืนคาบันไดหรือประตู ห้ามกินกล้วยแฝด กลัวจะมีลูกแฝดทำให้คลอดยาก ห้ามเตรียมของใช้ไว้ก่อนถ้าจะเย็บที่นอนและหมอนไว้ ต้องไม่เย็บปิดปากที่นอนหรือหมอน เมื่อคลอดแล้วจึงจะเย็บปิดปากหมอนเวลากินข้าวต้องรีบอิ่มก่อนคนอื่นถึงแม้จะยัง แล้วจึงกลับไปกินต่อที่หลังได้ เพราะเชื่อว่าอิ่มก่อนจะทำให้คลอดง่าย
- การเตรียมการคลอด หญิงมีท้องโดยเฉพาะลูกคนแรก จะกลับไปคลอดที่บ้านแม่ตนเอง โดยจัดเตรียมห้อง"ในเรือน" เป็นห้องคลอดบางบ้านทำสายสิญจน์วนรอบห้องคลอด บางคนเอาคล้องคอคนท้องไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ผีมารบกวน ในห้องที่จะใช้เป็นห้องคลอดต้องทำเตาไฟ โดยเอาไม้ขอนวางขวางกันเป็นคอกหมู เอากาบกล้วยปูรองพื้นและนำดินใส่จนเต็ม เตรียมแคร่นอนไว้ข้างเตาไฟ ใต้ถุนของห้องคลอดจะขุดหลุมตรงกับร่องขับถ่ายของเสียไว้ และรอบๆหลุมนั้นจะตัดหนามพุทรา หรือหนามอื่นมาสะไว้โดยรอบเพื่อป้องกันผีปอบ ผีกระสือ ไม่ให้มากินเลือดกินของคาว ของเสียที่ถ่ายมาตามร่องนั้น การคลอด เมื่อท้องแก่เริ่มปวดท้อง จะไปตามหมอตำแยมาทำคลอด เริ่มด้วยหมอตำแยจะทำพิธีไหว้ผีบ้านผีเรือนก่อน โดยจัดทำขนมต้ม ข้าวเหนียวนึ่ง กล้วย ดอกไม้ ธูป เทียน และเงิน จัดใส่พานไหว้ "ปู่ ย่า ตา ยาย ทางพ่อก็ดี ทางแม่ก็ดี ให้มาช่วยให้การคลอดง่ายให้มาปกปักรักษาให้คลอดง่าย" โดยการคลอดจะนิยมให้คนท้องหันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก และให้นั่งพิงครกหรือพิงหลังสามีเอาเท้ายันฝาไว้ เมื่อเด็กคลอดออกมาผู้เป็นสามีหรือคนในบ้านจะรีบติดไฟต้มน้ำร้อนเพื่ออาบน้ำเด็กต่อไป ถ้าการคลอดมีการผิดปกติจะใช้วิธีหาหมอพื้นบ้านมาเสกเป่า หรือทำน้ำมนต์ให้ดื่ม เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์
- การอยู่ไฟ การอยู่ไฟ"อยู่กรรม" จะเป็นการอยู่ไฟฟืนโดยท่อนล่างจะนุ่งเตี่ยว ท่อนบนจะเอาผ้าชุบน้ำโปะหน้าอกไว้ นอนเหยียดแขนขาบนแคร่ซึ่งส่วนมากจะเป็นไม้กระดานแผ่นเดียว การนอนอยู่ไฟจะไม่ให้งอแขนงอขา และห้ามไม่ให้ออกไปนอกบริเวณที่อยู่ไฟ เมื่อแข็งแรงดีแล้วจะลุกเดินได้
- การเลี้ยงลูก การเลี้ยงดูเด็กอ่อน ขณะที่แม่ยังไม่มีน้ำนมคือให้เด็กกินน้ำ หรือน้ำผึ้งโดยใช้สำลีชุบน้ำผึ้งให้ดูด และเริ่มให้เด็กกินกล้วยสุกบด จนกระทั่งอายุประมาณ 1 เดือน จึงจะเลี้ยงด้วยข้าวบดใส่กล้วยสุก และเริ่มให้เด็กกินข้าวกับปลาก็ต่อเมื่อเด็กเริ่มหัดพูดและพูดคำว่า "ปลา"ได้ ถ้าเด็กลิ้นเป็นฝ้าจะใช้ปัสสวะของเด็กเองป้ายกวาดถ้าปวดท้องจะใช้ด้ายผูกก้อนมหาหิงค์ผูกติดข้อมือเด็กไว้เพื่อให้เด็กดมกลิ่น
- ประเพณีการบวช ผู้ที่จะบวชตามประเพณีของชาวพุทธต้องมีอายุครบ 20 ปี มีร่างกายครบ 32 ประการ ส่วนมากนิยมบวชก่อนแต่งงาน การบวชของชาวไทยเบิ้งมีพิธีกรรมคล้ายกับประเพณีบวช ในพื้นที่อื่นๆ เช่น การเตรียมการบวช นิยมหาฤกษ์เพื่อกำหนดวันที่ดีทำพิธี ผู้บวชจะต้องหัดขานนาค หัดสวดมนต์ให้คล่อง โดยบิดามารดาจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ใส่พานพาผู้ที่จะบวชไปให้อยู่ที่วัดอย่างน้อย 1 เดือน การบวช ประเพณีการบวชของชาวไทยเบิ้ง นิยมจัดกัน 2 วัน คือวันสุกดิบ และวันบวช ตอนกลางวันก่อนเพลในวันสุกดิบ จะทำพิธีปลงผมที่วัด บิดามารดานาคจะเป็นผู้เริ่มขลิบผมก่อน ต่อด้วยญาติและพระสงฆ์เป็นผู้โกนจนหมด ผมที่โกนจะนำไปลอยน้ำ หลังจากนั้นบิดามารดานาคจะอาบน้ำให้นาคและแต่งตัวใหม่ ตอนค่ำจะทำพิธีสู่ขวัญ หรือ ทำขวัญนาค โดยมีหมอซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้คนในหมู่บ้าน หมอทำขวัญจะเริ่มทำพิธีนำไหว้พระ สวดบทชุมนุมประชุมเทวดา แหล่บทไหว้ครูบทว่าด้วยคุณบิดามารดา บทว่าด้วยตัวนาคตั้งแต่เล็กจนโต และบทสอนนาคให้ประพฤติให้ถูกต้องตามกฎของวัด และบทบัญญัติพระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักศีล สวดมนต์ภาวนา และบทสุดท้ายจะเป็นบทเชิญขวัญนาค ซึ่งในการแหล่จบแต่ละครั้งแต่ละบทจะมีการตีฆ้อง 3 ครั้ง โห่ร้องเอาชัย และเวียนเทียน วันรุ่งขึ้นเป็นวันบวช นิยมบวชตอนเช้าหลังจากถวายภัตตาหารเช้าแล้ว จะแห่นาคเดินจากบ้านไปวัด อาจมีกลองยาวหรือแตรวงนำขบวน
- การลาสิกขาบท ชาวไทยเบิ้ง นิยมบวช 1 พรรษา คนที่บวชไม่ครบจะถูกเรียกว่า เป็นคนไม่เต็มคน ก่อนจะลาสิกขาบทจะหาฤกษ์ดี แล้วนำกรวยใบตองดอกไม้ ธูป เทียน ไปกราบลาพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาส ซึ่งจะสวดคาถาและรดน้ำมนต์ให้ ขณะที่ก้มลงกราบจะชักผ้าสังฆาฏิออก แล้วให้นำน้ำมนต์ไปอาบ จากนั้นแต่งกายเป็นฆราวาส ถึงแม้จะลาสิกขาบทแล้ว ทิดสึกใหม่จะคงอยู่ที่วัดอีก 3 วัน เพื่อช่วยงานในวัด
- ประเพณีงานศพ การทำงานศพของชาวไทยเบิ้ง ในอดีตโดยทั่วไปนิยมการเผา นอกจากศพที่เกิดจากการถูกฆ่าตาย ตกต้นไม้ ฟ้าผ่า ตกน้ำตาย คลอดบุตรตาย หรือตายด้วยอุบัติเหตุต่างๆ จะนำศพฝังไว้ 3 - 5 ปี แล้วจึงทำพิธีเผาที่หลัง การทำความสะอาดศพ ด้วยน้ำร้อนต้มใส่ใบมะขาม ใบฝรั่ง ซึ่งการอาบน้ำ ศพนี้จะทำเฉพาะลูกหลาน และญาติใกล้ชิด ต่อจากนั้นแต่งตัวศพ ทาขมิ้น ผัดแป้ง หวีผม โดยจะหวีไปในทางตรงข้าม กับตอนมีชีวิตอยู่ ใส่เสื้อผ้ากลับด้านหน้าไว้ข้างหลัง จัดทำกรวยใบตองใส่ดอกไม้ ธูป เทียน ใส่มือพนมไว้เพื่อให้ผู้ตายนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และบอกกับศพว่าใครขอก็ไม่ให้ นำเงินเหรียญ ใส่ในปากศพ แล้วใช้ผ้าขาวมัดตราสังศพ แล้วทำพิธีเบิกโลงก่อนนำศพลงโลง ซึ่งเป็นหน้าที่ของสัปเหร่อ โดยใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกเป็นปากกา มีลักษณะเป็นไม้คีบเหมือนไม้ปิ้งปลา 8 อันนำไปคีบตามขอบโลงด้านละ 2 อัน แล้วนำด้ายสายสิญจน์มัดโยงตามไม้คีบปากกาทั้ง 8 อัน ทำกระทงใบฝรั่ง 4 กระทง ใส่ข้าวดำ ข้าวแดง เพื่อวางในโลงเป็นเครื่องสังเวย ทำน้ำมนต์ธรณีสารพรมที่โลงและศพ แล้วใช้เทียนจุดด้ายสายสิญจน์ที่โยงไว้ระหว่างไม้คีบปากโลง ให้สายสิญจน์ขาดเป็นช่องๆ เป็นการแสดงว่าได้ตัดขาดจากญาติพี่น้อง ลูกหลานให้หมด ต่อจากนั้นจึงม้วนด้ายสายสิญจน์และนำไม้คีบปากทั้งหมดใส่ในโลงด้วย หลังจากนั้นจะยกโลงไปตั้งบนเรือนหันด้านศีรษะไปทางทิศตะวันตกเพื่อทำพิธีสวดศพต่อไป
- การสวดศพ ในอดีตจะตั้งศพที่บ้าน ไม่นิยมไปตั้งศพที่วัดเหมือนปัจจุบัน และตั้งศพบำเพ็ญกุศลเพียง 1-3 วัน เนื่องจากในอดีตยังไม่มีการฉีดยาป้องกันศพเน่าเปื่อย จึงต้องรีบเผา ตลอดเวลาตั้งศพสวดนั้นจะจุดธูปหรือจุดตะเกียงตลอดไม่ให้ดับเมื่อถึงเวลาอาหารญาติของผู้ตายจะจัดสำรับอาหารไปวางข้างโลง และเคาะโลงเรียกให้กินอาหาร หรือเมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมก็จะเคาะโลงเรียกให้ฟังพระสวดด้วย
- การเผาศพ เมื่อสวดศพวันสุดท้ายแล้วจะหามศพไปทำพิธีที่วัดถ้าเป็นพ่อ แม่ หรือญาติผู้ใหญ่หลังจากการหามศพลงจากบ้านแล้วจะคว่ำโอ่งน้ำ 1 ใบ ขบวนศพที่หามไปนั้นจะนำหน้าศพด้วยหม้อไฟ (หม้อตาลใส่ฝ้ายจุดไฟ) และมีถาดใส่มะพร้าวปอกเปลือกแล้ว 1 ลูก กระทงใบฝรั่ง หรือ กระทงใบตองใส่ข้าวดำข้าวแดง และสตางค์กระทงละ 1 บาท แต่ละกระทงจะปักธงสามเหลี่ยม ขณะที่หามศพไปก็จะโรยข้าวตอกไปตลอดทาง เป็นการนำไปสู่สวรรค์ และตลอดทางที่หามศพไปจะไม่มีการหยุดพักระหว่างกลางทาง การกำหนดวันเผาศพของชาวไทยเบิ้ง จะห้ามเผาศพวันพระ และวันคู่ จะเผาศพเฉพาะวันคี่ ห้ามเผาวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอังคาร การแต่งกายของผู้ไปร่วมงานศพจะแต่งกายสีใดก็ได้จะไม่ถือว่าผิดธรรมเนียมประเพณีแต่อย่างใด ประเพณีการแต่งกายสีดำ หรือสีขาว - ดำ ไปงานศพในเวลาต่อมานั้นได้รับแบบอย่างจากคนภาคกลาง การทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย หลังจากเผาศพ 3 วันจะทำพิธีกลบธาตุ หรือกลับธาตุ โดยจะนิมนต์พระสงฆ์ ไปที่เชิงตะกอน สวดบังสุกุลตายพรมน้ำมนต์ที่กระดูก แล้วเขี่ยกระดูกเป็นรูปคนหันศีรษะไปทางตะวันออก แล้วพระสงฆ์สวดบังสุกุลเป็นเพื่อเป็นการแสดงการเกิด แล้วจึงเก็บกระดูกใส่โกศไว้บนหิ้งบูชา หรือเก็บไว้ที่วัด เมื่อถึงวันตรุษสงกรานต์ แต่ละปีจะนำโกศไปวัดให้พระสงฆ์สวดบังสุกุล หรือนิมนต์พระสงฆ์ไปทำบุญที่บ้าน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ นับเป็นการทำบุญใหญ่ประจำปี
- การต่ออายุ เมื่อมีผู้ป่วยหนักมักจะทำพิธีต่ออายุโดยนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีที่บ้านมีการทำ บุญเลี้ยงพระ สวดต่อชะตาชักบังสุกุลเป็น เป็นการสร้างเสริมกำลังใจผู้ป่วย ยืดอายุผู้ป่วยไปอีกระยะหนึ่ง
- การบอกทางคนใกล้สิ้นใจเมื่อผู้ป่วยอาการหนัก เห็นว่าไม่มีทางรอดมีอาการใกล้สิ้นใจ ญาติพี่น้องจะบอกทางแก่ผู้ป่วย ให้นึกถึงพระอรหันต์ หรือบอกให้ท่องพุทโธๆ หรือจะกล่าวนำดังๆ ให้ผู้ป่วยได้ยินจะได้ยึดคำพุทโธๆ เป็นพุทธานุสติ ให้จิตใจสบายและเชื่อมั่นว่าเมื่อจากโรคนี้ไปแล้วจะไปสู่ภพภูมิที่ดี
ประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยเบิ้ง ชาวไทยเบิ้งมีความเชื่อ และทำประเพณีต่างๆ คล้ายๆ กับชาวไทยภาคกลาง ประเพณีที่ทำในท้องถิ่นตลอดทั้งปีทีดังนี้
- เทศน์มหาชาติ แต่ละวัดอาจจะจัดในเวลาต่างกัน ถ้าไม่เทศน์ในช่วงเข้าพรรษาก็จะเทศน์กลางเดือน ๑๒ งานเล็ก หรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละวัด วัดที่จัดงานใหญ่จะตกแต่งสวยงาม บางวัดก็ไม่จัด เทศน์มหาชาติถือเป็นงานบุญที่สำคัญ ชาวบ้านจะร่วมมือกันจัดงานให้สำเร็จลงได้ด้วยดี
- ทำบุญในวันมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา การทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาทั้ง 3 วันนี้ ชาวไทยเบิ้ง จะให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชามากที่สุด
- ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา ถือเป็นวันพระสำคัญทำบุญในวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ต่อจากงานบุญวันอาสาฬหบูชา ชาวบ้านจะนำพุ่มดอกไม้ ผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษาไปถวายพระ
- บุญออกพรรษาหรือลาพรรษาจะมีการตักบาตรเทโวในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ตามประเพณีชาวบ้านจะเตรียมอาหารไปตักบาตรเทโวกันอย่างพร้อมเพรียง ขนมที่ชาวไทยเบิ้งทำเป็นหลักเพื่อนำไป ตักบาตรเทโว คือ ข้าวต้มมัด ขนมเทียน และขนมกล้วย
- วันตรุษและสงกรานต์ ประเพณีตรุษจะทำในวันพระสิ้นเดือน ๔ ชาวบ้านจะกวนข้าวเหนียวแดงเพื่อนำไปถวายพระ ข้าวโป่งเป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายกับข้าวเกรียบว่าวของภาคกลาง ปัจจุบันชาวบ้านไม่ค่อยทำกันเอง เนื่องจากขั้นตอนการทำยุ่งยากและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนประเพณีสงกรานต์จะทำในวันที่ 13 – 15 เมษายน เหมือนทั่วๆ ไป คือมีการทำบุญตักบาตรสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ และชาวบ้านจะเล่นสาดน้ำกัน และที่พิเศษคือจะมีการละเล่นรื่นเริง ต่างๆ เช่น รำโทน ลูกช่วง ชักเย่อ ฯลฯ
- ลอยกระทง ทำในวันเพ็ญเดือน 12 ชาวบ้านช่วยทำกระทง ซึ่งกระทงที่จัดทำมีหลายแบบส่วนมากทำจากต้นกล้วย ใช้กาบกล้วยตัดได้ขนาดแล้วตัดเป็นรูปเรือ แล้วใส่ดอกไม้ ธูป เทียน ลงในแพ แล้วนำไปลอยแม่น้ำป่าสัก ชาวบ้านมักจะมาประชุมกันบริเวณวัด และมาลอยกระทงหน้าวัดพร้อมๆ กัน
- ประเพณีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การทอดกฐิน จะทอดตั้งแต่หลังออกพรรษาถึงวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งการทอดกฐินของชาวไทยเบิ้ง มี 2 แบบ คือ ทอดกฐินแบบธรรมดา และแบบจุลกฐิน ส่วนการทอด ผ้าป่าจะไม่มีกำหนดแน่นอน ในสมัยก่อนมักจะทอดผ้าป่าทุกวันพระในช่วงเข้าพรรษา
- วันสารท เป็นประเพณีที่นิยม เป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ ในเดือน ๑๐ ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทเพื่อนำไปถวายพระหลังเสร็จพิธี ก็จะชวนกันเข้าป่าไปหาผลไม้ป่ากันอย่างสนุกสนาน
- บุญกลางบ้าน เป็นประเพณีของชาวไทยเบิ้ง จะทำเฉพาะปีที่ฝนฟ้าไม่ตก วัตถุประสงค์ในการทำเพื่อเป็นการทำบุญบูชาผี ให้คนในหมู่บ้านอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขไม่มีโรคภัยร้ายแรง
- ประเพณีแห่นางแมวขอฝน (จะอธิบายรายละเอียดในเรื่อง ความเชื่อของชาวไทยเบิ้ง)
- รับท้องข้าว เป็นประเพณีที่ทำมาแต่โบราณนิยมทำในวันเข้าพรรษาหรือลาพรรษา หลังจากเสร็จพิธีทำบุญพรรษาแล้ว แต่ละบ้านจะทำพิธีรับท้องข้าว ต่างคนต่างทำในที่นาของตน
- รับขวัญข้าว จะทำในเดือน 12 หลังจากเกี่ยวข้าวนวดเข้า นำข้าวเข้ายุ้งแต่ละบ้านที่เก็บเกี่ยวได้จะทำ พิธีรับขวัญ หรือเรียกขวัญข้าว โดยเลือกผู้หญิงที่มีเรือนและมีวัยวุฒิ ให้คอนกระบุงข้าวขึ้นบ่าเดินไปที่ลานจะวางกระบุงลง จุดธูปกล่าวเชิญแม่โพสพ จากนั้นจะมีคนช่วยนำฟางข้าวมาถูกเป็นรูปหุ่น มีแขน ขา ลำตัว ศีรษะขนาดสูงประมาณ 1 ฟุต สมมติว่าเป็นแม่โพสพ วางลงในกระบุงกล่าวเชิญเสร็จก็คอนกระบุงกลับยุ้งมีเคล็ดลับว่าตลอดทางห้ามพูดกับใคร ห้ามทักใคร คอนกระบุงมาเข้ายุ้งข้าวแล้วนำหุ่นฟางแม่โพสพไปตั้งไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งบนกองข้าวในยุ้งเหมือนให้แม่โพสพตามจากนามาอยู่ในยุ้งข้าวด้วย
ความเชื่อของชาวเบิ้ง
มีความเชื่อทั้ง 2 ประเภท แต่ในสมัยก่อนมีความเชื่อต่างจากในปัจจุบัน ทุกหมู่บ้านจะมีความเชื่อในเรื่องต่างๆ คล้ายๆ กัน ความเชื่อสำคัญมีดังนี้ ความเชื่อเรื่องผี ชาวไทยเบิ้งที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ยังมีความเชื่อเรื่องผีอยู่ ดังนี้
ผีบ้านผีเรือนหรือผีปู่ย่าตายาย ชาวไทยเบิ้งไม่นิยมตั้งศาลบูชาผีบ้านผีเรือนผีปู่ย่าตายาย หรือศาลเจ้าที่ แต่เชื่อว่ามีผีประจำอยู่ ในบ้านเรือน ผีปอบ ชาวไทยเบิ้ง มีความเชื่อว่าปอบมีจริง ชาวบ้านบางคนเคยเห็น และผีปอบเคยสิงคนในหมู่บ้าน คนที่ถูกผีเข้าบางคนยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คนที่ถูกสิงจะมีอาการแปลกๆ เช่นอย่างกินของคาว บางคนเดินแก้ผ้าไม่อายใคร ผีนางไม้ ส่วนใหญ่เชื่อเรื่องผีนางตะเคียนมากที่สุด และต่างเชื่อกันว่าตามต้นไม้ ใหญ่จะมีผีประจำอยู่ใครไปทำอะไรไม่ดีจะถูกลงโทษ ผีกระสือ ชาวไทยเบิ้ง เล่าว่าเคยเห็นผีกระสือเข้ามาในหมู่บ้านจะมาตอนค่ำๆ หรือตอนกลางคืน มองเห็นเป็นดวงไฟแวบๆ ลอยมาวนเวียนใต้ถุนบ้าน บางทีก็ดูดกินตับไตไส้พุงของสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในใต้ถุนบ้านจนตายก็มี ผีพราย หรือผีเงือก ผีพรายหรือผีน้ำหรือผีเงือกจะเหมือนๆ กัน เชื่อว่าผีเงือกอยู่ประจำวังน้ำ เวลาใครไปหาปลา ลงเล่นน้ำหรือถ่ายปฏิกูลลงน้ำ อาจจะถูกผีเงือกหลอกได้ ผีปะกำหรือผีประกำ ชาวบ้านสมัยโบราณเชื่อว่าผีชนิดนี้เพราะมีอาชีพเกี่ยวกับการคล้องช้าง เชื่อว่าก่อนจะออกไปคล้องช้างจะต้องทำพิธีเซ่นสรวงบูชาผีปะกำก่อนจึงจะเกิดผลดีต่อการไปคล้องช้าง ผีโรงหรือผีโลง ผีโรงเป็นผีของบรรพบุรุษ ของแต่ละบ้านนั้นเองผีพวกนี้จะไม่ทำร้ายใคร แต่ต้องกราบไหว้บูชา ผีตายโหง มีความเชื่อว่าคนที่ตายไม่ดี จะเป็นผีตายโหง ผีเหล่านี้จะมาหลอกหลอนคนอื่นไม่ค่อยยอมไปผุดไปเกิดง่าย ๆ ผีตะมอย ชาวบ้านบางหมู่บ้านเชื่อเรื่องผีตะมอย ชาวบ้านบอกไม่แน่ชัดว่าผีตะมอยมีรูปร่างอย่างไร แต่เป็นผีขี้ขโมย ชอบมาขโมย มาลักกินข้าวของชาวบ้าน
สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ชาวไทยเบิ้งมีความเชื่อเหมือนกับคนทั่วๆ ไปจะอธิบายดังนี้
- พระพุทธรูปและพระเครื่องต่างๆ ชาวไทยเบิ้งล้วนเป็นชาวพุทธ จึงมีความเชื่อในพระพุทธเจ้ากราบไหว้บูชาพระพุทธรูป และนิยมพระเครื่องต่างๆ แต่ละบ้านจะจัดโต๊ะหมู่บูชาหรือหิ้งสำหรับกราบไหว้
- ความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและเทวดา คนไทยเบิ้ง ไม่ค่อยเชื่อในเรื่องเทพเจ้าและเทวดามากนักรู้จักเพียงชื่อว่ามีหลายคน เช่น พระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ เป็นต้น ส่วนเทวดาที่คนในชุมชน นับถือกราบไหว้บูชามากที่สุดคือ เพราะเป็นเทวดาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ของพวกตนโดยตรง ส่วนเทวดาองค์อื่นๆ บอกเล่ากันว่ามี แต่ก็ไม่มีพิธีบูชาแต่อย่างใด
- ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดและนรกสวรรค์ ไทยเบิ้งทุกคนเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดตามคติในพระพุทธศาสนาส่วนความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์นั้นบางคนก็เชื่อบางคนก็ไม่เชื่อเพราะพิสูจน์ไม่ได้
- ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ชาวไทยเบิ้ง จำนวนหนึ่งมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์แตกต่างกันไป เช่น เชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถาอาคม ซึ่งมีใช้ทั้งในทางเลวร้าย และทางดี เครื่องรางของขลัง ผู้ชายไทยเบิ้งบางคน นิยมเสาะหาเครื่องรางของขลังไว้สวมใส่ หรือมีไว้ การเสกเป่าและรดน้ำมนต์ วิธีหนึ่งที่อาจช่วยแก้ปัญหาได้ ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาโดยการไปรดน้ำมนต์ การสัก ซึ่งนิยมสักตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา นิยมสักหลังจากบวชเรียนแล้ว เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน สักเพื่อแสดงว่า บวชเรียนมาแล้ว ฯลฯ
- ความเชื่อในเรื่องอาหารการกินบางชนิด มีความเชื่อแตกต่างกันไปบ้าง เช่น เชื่อว่าผู้ชายที่เล่นของเล่นไสยศาสตร์ ห้ามกินปลาไหล มะขามป้อม ลูกสมอและมะเฟือง กินแล้วของจะเสื่อม เชื่อว่าชายที่เป็นโรคผู้หญิง (กามโรค) ห้ามกินปลากระเบนจะทำให้โรคกำเริบ เป็นต้น
- ความเชื่อเรื่องการขอฝน เนื่องด้วยชาวไทยเบิ้ง มีอาชีพเกษตรกรรม จึงต้องอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเพื่อให้พืชผลทางการเกษตรเจริญงอกงามจึงมีวิธีการขอฝน ตัวอย่างวิธีขอฝนคือ
- การแห่นางแมวขอฝน มักทำในเดือน 9 เดือน 10 หลังจากดำนาหรือหว่านข้าวแล้ว ชาวบ้านจะนำแมวใส่กรงขังไว้แล้วเดินแห่แมวไปยังหมู่บ้าน ขณะแห่จะร้องเพลงแห่นางแมว เนื้อร้องจะมีคำร้องเป็นการขอเรียกฝน การทำให้ฝนตกโดยวิธีการท่องคาถาขอฝน มี 2 คาถา คือ สวด หรือท่องคาถาหัวใจร้อยแปด จะแก้เหตุร้ายภัยพิบัติรวมทั้งฝนแล้งได้ด้วย คาถาที่ 2 สวดคาถาปลาช่อน ก่อนสวดปลาช่อนต้องทำบุญตักบาตร 3 วัน การพายเรือบนบก เป็นการทำต่อเนื่องคาถาปลาช่อน และสุดท้ายการปั้นไอ้เมฆ คือการปั้นหุ่นดินเหนียว เพศหญิงชาย แล้ววางทั้งไว้ที่ทาง 3 แพร่ง ขอเรียนฝน
- ความเชื่อเกี่ยวกับสวัสดิมงคลในการดำเนินชีวิต เป็นความเชื่อเกี่ยวเนื่องกับอาชีพเกษตรกรรมเป็นสำคัญ เช่น ห้ามสวมรองเท้าเดินลุยผ่านลานข้าว จะทำให้พระแม่โพสพโกรธ หรือการเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ใช้งาน ไม่นิยมเลี้ยงวัว 5 ม้า 6 ตัว ตามลำดับ ถือว่าอัปมงคล ให้นำไปปล่อย
- เครื่องมือดำรงชีวิตประกอบอาชีพและพิธีกรรม เครื่องมือดำรงชีวิต และประกอบอาชีพซึ่งบางชิ้นจัดเป็นงานศิลปหัตถกรรมได้คือ ในสังคมเกษตรกรรมแบบพึ่งพาธรรมชาติ หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จจะมีเวลาพักในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ชาวบ้านมีเวลาที่จะทำงานหัตถกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อการคมนาคมสะดวก ความเจริญทางวัตถุเพิ่มมากขึ้น ชาว บ้านเริ่มแสวงหาวัตถุอื่นๆ มาใช้แทนงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิม หรือชาวบ้านมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแหล่งอื่นบ้าง ทำให้เกิดความหลากหลาย ในอดีต ชาวบ้านมักทำของขึ้นใช้เองภายในครัวเรือน
- ของใช้ในชีวิตประจำวันบางอย่างชาวบ้านเลิกใช้ไปแล้ว เนื่องจากมีสิ่งอื่นเข้ามาแทนที่ เช่นไถ คราด เกวียน โดยชาวบ้านนิยมใช้รถไถนาไถไร่ รถเกี่ยวข้าว เครื่องนวดข้าว และเครื่องจักรกลต่างๆ ทำงานแทนแรงงานจากคน เครื่องสีข้าว ครกตำข้าว ทุกหมู่บ้านลดบทบาทลงจนถึงกับเกือบเลิกใช้ หรือถูกเปลี่ยนหน้าที่ใหม่เมื่อชาวบ้านหันมาซื้อข้าวสาร จากโรงสี หรือซื้อข้าวสารจากร้านค้าแทนการสีข้าว ตำข้าวด้วยตนเองดังแต่ก่อน แต่ผลิตภัณฑ์บางอย่างยังคงใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่นกระบุง ตะกร้า เครื่องจักสานต่างๆ หรือเครื่องมือจับสัตว์น้ำถึงแม้ว่าจะลดจำนวนการใช้ลงบ้างแต่ก็ยังมีกิจกรรมต้อง ใช้เครื่องมือเหล่านี้อยู่
- งานหัตถกรรมบางอย่าง มีคุณค่าทางความงาม และแสดงเทคโนโลยีพื้นบ้าน เช่น เครื่องมือดักจับสัตว์ ชนิดต่างๆ ที่ใช้กลไกแบบง่ายๆ โดยศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตของสัตว์แล้วสร้างกลไกเพื่อดักจับสัตว์เหล่านั้นได้ ผลิตภัณฑ์บางอย่างยังมีการออกแบบได้อย่างเหมาะสมกับการใช้สอย เช่นมีดจักตอก ชาวบ้านจะทำด้ามมีดให้ยาวโค้งงอ กระชับแนบกับลำตัวเวลาใช้มีดเหลาตอกจะสามารถบังคับมีดได้ดียิ่งขึ้น ช่างชาวบ้านผู้มีฝีมือในการจักสานหรือประดิษฐ์ภาชนะสิ่งของต่างๆ เริ่มหายาก ส่วนใหญ่ผู้มีความรู้ความชำนาญจะ มีอายุมาก คนรุ่นหลังไม่ค่อนสนใจที่จะเรียนรู้สืบทอดวิธีการต่อ จากผู้ใหญ่ทำให้งานหัตถกรรมที่มีคุณค่าหายากขึ้น อีกทั้งของเก่าที่มีอยู่แล้วก็ชำรุด หรือบางทีก็ถูกเก็บอย่างไม่รู้คุณค่า
- งานหัตถกรรมประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน ที่พบในพื้นที่สำรวจ ส่วนใหญ่มีรูปแบบและลักษณะการใช้สอยคล้ายกับที่พบในภูมิภาคอื่น แต่มีงานหัตถกรรมบางอย่างที่มีความโดดเด่น ในด้านความงาม ความประณีต ได้แก่ งานจักสาน กระบุง ตะกร้า งานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ควรแก่การยกย่อง งานจักสานกระบุง ตะกร้า ที่ช่างพื้นบ้านทำขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนมีความประณีต สวยงาม แข็งแรงและคงทน โดยสามารถเห็นได้ชัดในเรื่องรูปแบบลักษณะของผลงาน
- อาหาร ชาวไทยเบิ้งใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติปรุงอาหาร การประกอบอาหารเป็นวิธีที่จัดว่าทำง่ายและกินอาหารที่สดใหม่หากต้องการเก็บอาหารไว้กินนานหลายวันใช้วิธีการถนอมอาหารแบบธรรมชาติเช่นการตากแห้ง การทำเค็มหรือการดองเปรี้ยว ไม่มีการใช้สารมีไขมันต่ำ กินปลาเป็นส่วนใหญ่ และกินผักกินข้าวเป็นประจำทุกมื้อ อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยเบิ้ง คือ แกงหัวลาน แกงไก่สามสิบ และแกงบุก แกงส้มหัวลานมีการแกงน้อยมากเพราะหาต้นลานยาก ส่วนแกงไก่สามสิบ และแกงบุกยังมีให้เห็นบ้าง
- สังคมของชาวไทยเบิ้ง เป็นครอบครัวเกษตรกรรม จึงมีลูกหลายคนเพราะต้องการแรงงานในการทำมาหากิน ดังนั้นพ่อแม่จะต้องอบรมสั่งสอนให้ลูกรักกัน สามารถทำงานแทนพ่อแม่ได้ ช่วยเลี้ยงน้อง น้องต้องเชื่อฟังพี่และการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ คือ ถ้าพ่อแม่มีความยุติธรรม ลูกก็จะมีความรักใคร่สามัคคีกัน
- ความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่า ตายาย และหลาน ปู่ย่า ตายาย คือผู้ใหญ่ในบ้านช่วยเลี้ยงดูหลานเมื่อพ่อแม่ต้องออกทำมาหากิน เด็กบางคนอาจเรียกว่า แม่ใหญ่ พ่อใหญ่ การที่เด็กสนิทกับปู่ย่า ตายาย ทำให้ได้มีโอกาสติดตามไปที่ต่างๆ เช่น วัด งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ทำให้เด็กได้รู้วัฒนธรรมของท้องถิ่น
เพลงโคราช เป็นศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเพลงโคราชนั้นมีเอกลักษณ์การร้องรำเป็นภาษาโคราช ซึ่งมีความไพเราะ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
แต่ปัจจุบันเพลงโคราชค่อยๆ ได้รับความนิยมและความสนใจน้อยลง พวกเราจึงควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ เพื่อให้ลูกหลานของเราได้สัมผัส ได้รับชมและรับความสนุกสนานเพลิดเพลินดีกว่าการเล่าขานเป็นตำนาน .
ประวัติเพลงโคราช
ประวัติของเพลงโคราชนั้นมีการเล่าขานกันมาว่า มีนายพรานคนหนึ่งชื่อ เพชรน้อย ออกไปล่าสัตว์ ในเขตหนองบุนนาก บ้านหนองบุนนาก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา คืนหนึ่งแกไปพบลูกสาวพญานาค ขึ้นมาจากหนองน้ำ มานั่งร้องเพลงคนเดียว พรานเพชรน้อยได้ยินเสียง จึงแอบเข้าไปฟังใกล้ ๆ แกประทับใจ ในความไพเราะ และเนื้อหาของเพลง จึงจำเนื้อและทำนองมาร้องให้คนอื่นฟัง ลักษณะเพลงที่ร้องเป็นเพลงก้อม หรือเพลงคู่สอง
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ชาวโคราชได้เพลงโคราชมาจากอินเดีย โดยพระยาเข็มเพชรเป็นผู้นำมาพร้อมๆ กับลิเก และลำตัด โดยให้ลิเกอยู่กรุงเทพฯ ลำตัดอยู่ภาคกลาง และเพลงโคราชอยู่ที่นครราชสีมา เพลงโคราชระยะแรกๆ เป็นแบบเพลงก้อม คนที่เรียนรู้เพลงโคราช จากพระยาเข็มเพชร ชื่อตาจัน บ้านสก อยู่ "ซุมบ้านสก" ติดกับ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ
ตำนานทั้งสองถึงเม้จะต่างกันในด้านกำเนิดแต่ตรงกันอย่างหนึ่งที่กล่าวว่าเพลงโคราชระยะแรกเล่นแบบเพลงก้อม
ก้อม เป็นภาษาโคราชและภาษาอีสาน แปลว่า สั้น เพลงก้อมหมายถึง เพลงสั้น ๆ ว่าโต้ตอบกล่าวลอย ๆ ทั้งที่มีความหมายลึกซึ้ง หรือไม่มีความหมายเลยก็ได้
เพลงโคราชจะเริ่มเล่นตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด หลักฐานจากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีเพียงว่า สมัยท้าวสุรนารี ( คุณย่าโม ) ยังมีชีวิตอยู่ ( พ.ศ. 2313 ถึง 2395 ) ท่านชอบเพลงโคราชมาก เรื่องราวของเพลงโคราชได้ปรากฏหลัดฐานชัดเจน คือในปี พ.ศ. 2456 ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมานครราชสีมาทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จไปพิมาย ในโอกาสรับเสด็จครั้งนั้น หมอเพลงชายรุ่นเก่าชื่อเสียงโด่งดังมากชื่อนายหรี่ บ้านสวนข่า ได้มีโอกาสเล่นเพลงโคราชถวาย เพลงที่เล่นใช้เพลงหลัก เช่น กลอนเพลงที่ว่า " ข้าพเจ้านายหรี่อยู่บุรีโคราชเป็นนักเลงเพลงหัด บ่าวพระยากำแหง ฯ เจ้าคุณเทศา ท่านตั้งให้เป็นขุนนาง .....ตำแหน่ง " ความอีกตอนเอ่ยถึงการรับเสด็จว่า " ได้สดับว่าจะรับเสด็จเพื่อเฉลิมพระเดชพระจอมแผ่นดิน โห่สามลา ฮาสามหลั่นเสียงสนั่น....ธานินทร์ " ( สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษประจำกรมทหารม้านครราชสีมา จนถึง พ.ศ. 2462 เมื่อเสด็จนครราชสีมา นายหรี่ สวนข่า ก็มีโอกาสเล่นเพลงถวาย ) เพลงโคราชมีโอกาสเล่นถวายหน้าพระที่นั่งในงานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 1 ในนามการแสดงมหรสพของมณฑลนครราชสีมา เกี่ยวกับกำเนิดของเพลงโคราช มีทั้งที่เป็นคำเล่าและตำนานหลักฐานจากคำบอกเล่าของหมอเพลงอีกจำนวนหนึ่งเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสงครามระหว่างไทยกับเขมร เมื่อไทยชนะสงครามเขมรครั้งไร ชาวบ้านจะมีการเฉลิมฉลองชัยชนะ ด้วยการขับร้องและร่ายรำกันในหมู่สกที่เขาเรียกว่า " ซุมบ้านสก " ใกล้ ๆ กับชุมทางรถไฟ ถนนจิระและเริ่มเล่นเพลงโคราชกันที่หมู่บ้านนี้ ท่าทางการรำรุกรำถอย และการป้องหู มีผู้สันนิษฐานว่าประยุกต์มาจากการเล่นเจรียง ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ผสมผสาน กับเพลงทรงเครื่องของภาคกลาง
ประเภทของเพลงโคราช
การแบ่งประเภทของเพลงโคราชนั้น แบ่งได้หลายวิธี พอจะแยกกล่าวได้ดังนี้
1. แบ่งตามโอกาสที่จะเล่น ได้ 2 ประเภท
เพลงอาชีพ ได้แก่ เพลงโคราชที่เล่นเป็นอาชีพ มีการว่าจ้างเป็นเงินตามราคาที่กำหนด เพลงประเภทนี้จะเล่นในงานฉลองหรือสมโภชต่าง ๆ เช่น งานศพ งานบวชนาค ทอดกฐินงานประจำปี หรือเล่นแก้บน ผู้ประกอบอาชีพเพลงโคราชนี้เรียกว่า " หมอเพลง" การเล่นจะเล่นเป็นพิธีการ มีเวที การแต่งกายตามแบบของหมอเพลงและมีการยกครูเป็นต้น เพลงชาวบ้าน เพลงประเภทนี้ เป็นเพลงของชาวบ้านที่ร้องเล่นกันในยามว่างงานเพื่อความสนุกสนาน เช่น ในงานลงแขก ไถนา หรือเกี่ยวข้าว หรือพบปะพูดคุยกันในวงสุราชาวบ้านที่ว่าเพลงได้ จะว่าเพลงโต้ตอบกันเพื่อความสนุกสนาน ไม่มีพิธีรีตอง ไม่ต้องสร้างเวทีหรือ " โรงเพลง " และไม่มีการแต่งกายแบบหมอเพลงอาชีพ
2. แบ่งตามวิวัฒนาการของเพลงโคราช ตั้งแต่ยุคแรกมาจนถึงยุคปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่เพลงสั้น ๆ มาจนถึงเพลงยาว ๆ ที่ใช้เล่นกันในปัจจุบันนี้แบ่งได้ 5 ประเภท คือ
2.1 เพลงขัดอัน เป็นเพลงสั้น ๆ มีสัมผัสอยู่แห่งเดียว คือ ระหว่างวรรคที่ 1 กับวรรคที่ 2 เท่านั้น ส่วนวรรคที่ 3 และ 4 ไม่มีสัมผัส ( สัมผัสที่ใช้เป็นสัมผัสสระ ) เช่น 2.1.1 เอ้อเอ่อ....สะรุสะระ อีแม่กะทะขั่วถั่ว เมิ้ดบุญผัวแล้ว เหมือนไข่ไก่ร่างรัง 2.1.2 เอ้อเอ่อ....สะรุสะระ อีแม่กะทะขั่วหมี่ รู้ว่ากินไม่เมิ้ด มึงจิขั่วมากทำไม ( ในข้อ 2.1.2 นี้ จะเห็นได้ว่ามีการเล่นอักษรเพิ่มเข้ามาแต่ยังไม่บังคับ ลักษณะนี้จะกลายเป็นสัมผัสบังคับในสมัยหลัง ) 2.2 เพลงก้อม เป็นเพลงสั้น ๆ เช่นเดียวกับเพลงขัดอัน แต่เพิ่มสัมผัสในระหว่างวรรคที่ 3 และ 4 ซึ่งไม่มีในในเพลงขัดอัน เช่น ทำกะต้องกะแต้ง อยู่เหมือนกะแต๋งคอกะติก ขอให่พี่ซักหน่อย จะเอาไปฝากถ่วยน่ามพริก
2.3 เพลงหลัก เป็นเพลงที่เพิ่มจำนวนวรรคจาก 4 วรรคในเพลง 2 ประเภทต้นมาเป็น 6 วรรค เพลงประเภทนี้จะเห็นว่าการเริ่มใช้สัมผัสประเภทอักษรเด่นชัดขึ้นเช่น
2.3.1 อันคนเราทุกวัน เปรียบกันกะโคม พอคนโห่ควันโหม ก็ลอยบนเวหา พอเมิ้ดควันโคมคืน ก็ต๊กลงพื้นสุธา...ใหญ่ 2.3.2 เกษาว่าผม แก่แล้วบานผี เมื่อผมดำงามดี ก็ลับมาหายดำ ไม่เป็นผลดีดอกผม จะไม่นิยมมันทำ...ไม
2.4 เพลงสมัยปัจจุบัน คือเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันในปัจจุบัน มีขนาดยาวกว่าสมัยก่อน ๆ แต่ถ้าร้องจะร้องช้าบางทีจังหวะไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับผู้ร้อง ร้องช้าหรือร้องเร็วไม่สม่ำเสมอเช่น
โอ้โอ่ ...... ประเทศของไทยเราถึงคราวแคบ มันต้องมีคนแอบดอกนาพี่เอย .......คนแฝงเพลงโคราช สมัยเจริญจ้างเป็นเงินมาก็แพง .......เองจะว่ากันยังไงจะถูกใจคนฟังขอให้หนุ่มนำหน้าพอ .......เหนื่อยมาจะนำนอน ถ้าเข่าใจครรไลจร ให้ชี่นิ่วนำทาง .......อุปมาเหมือนยังพระ.....เดินนำเณร (ตบมือ) สมัยวิวัฒน์พัฒนา เขาก้าวหน่ามิใช่น่อย มาฉันจะเดินซ่อนรอย ขอแต่ให้พี่ชายนำ ถ้ายังไม่จรจะนำไปถึงจุ๊ด ฉันคงไม่ยุ๊ดพยายาม จะนำน้องเข่าไปเขาใหญ่ หรือดงพญา....เย็น
2.5 เพลงจังหวะรำ เพลงประเภทนี้ เป็นที่ใช้ร้องกันอยู่ในสมัยปัจจุบันเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2.4 แตกต่างกันที่ตรงจังหวะรำนี้จะเล่นสัมผัสมาก และสม่ำเสมอ สามารถเคาะจังหวะตามได้ และขณะที่ร้อง ผู้ร้องจะรำขย่มตัวไปตามจังหวะเพลงด้วย โดยจะเริ่มรำเมื่อว่าไปแล้วประมาณ 4 วรรค เพราะใน 4 วรรคต้นนี้จังหวะยังไม่กระชั้นหรือคงที่ อาจช้าบ้างเร็วบ้าง จะรำด้วยก็ได้แต่เป็นการรำช้า ๆ ไปรำจังหวะเร็วที่วรรคที่ 5 - 8 เป็นการจบท่อนแรก พร้อมทั้งตบมือ 1 ครั้ง พอขึ้นท่อนที่ 2 จะร้องช้าลงเพื่อเตรียมจบหรือเตรียมลง การรำหลอกล่อกันระหว่างชายและหญิง คือถ้าฝ่ายชายร้อง ฝ่ายหญิงก็จะรำด้วย ถ้าฝ่ายหญิงร้องฝ่ายชายก็จะรำด้วย การรำจึงเป็นการรำทีละคู่
3. แบ่งตามลักษณะกลอน จะได้เป็น 5 ประเภทคือ เพลงคู่สอง เพลงคู่สี่ เพลงคู่แปด และเพลงคู่สิบสอง การแบ่งเช่นนี้ เป็นการกำหนดประเภทคล้ายแบบที่แบ่งตามวิวัฒนาการนั่นเอง คือเพลงคู่สองกับคู่สี่ เป็นเพลงก้อม ส่วนเพลงคู่หก กับคู่แปดเป็นเพลงที่ใช้ร้องกันในปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ในด้านจำนวนคำในวรรค ส่วนเพลงคู่สิบสองนั้นเป็นเพลงที่ดัดแปลง มาจากเพลงคู่แปด โดยเพิ่มจำนวนคำ ในวรรคมากขึ้น และร้องเร็วมาก จังหวะถี่ยังไม่แพร่หลายนักในปัจจุบัน เพราะหมอเพลงส่วนใหญ่ จะคิดคำไม่ทัน กับที่ต้องว่าเร็ว ๆ จึงปรากฏให้เห็น เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4. แบ่งตามเนื้อหาของเพลง จะได้หลายชนิด เช่น เพลงเกริ่น เพลงเชิญ เพลงไหว้ครู เพลงถามข่าว เพลงชวน เพลงชมนกชมไม้ เพลงเกี้ยวเพลงเปรียบ เพลงสาบาน เพลงด่า เพลงคร่ำครวญ เพลงสู่ขอ เพลงเกี้ยวแกมจาก เพลงจาก เพลงลา เพลงพาหนี เพลงปลอบ เพลงไหว้พระ เพลงตัวเดียว เพลงเรื่อง ( นิทาน ) เป็นต้น
อ้างอิง
- อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSchliesinger
- อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCERD
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
mikhxsngsywabthkhwamnixaclaemidlikhsiththi aetrabuimidchdecnephraakhadaehlngthima hruxxangthungsingphimphthiyngtrwcsxbimid hakaesdngidwabthkhwamnilaemidlikhsiththi ihaethnpaynidwy laemidlikhsiththi hakkhunmnicwabthkhwamniimidlaemidlikhsiththi ihaesdnghlkthaninhnaxphipray oprdxyanapaynixxkkxnmikhxsrupbthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir ithebing itheding hruxithokhrach epnklumchnphunthinthitngthinthanxyuincnghwdlphburi xaephxphthnanikhm xaephxchybadal xaephxokhksaorng aelaxaephxsraobsth cnghwdsraburi xaephxwngmwng cnghwdephchrburn xaephxsriethph aelaxaephxwiechiyrburi cnghwdburirmy xaephxnangrxng xaephxlahanthray xaephxchani xaephxechlimphraekiyrti xaephxhnxngki aelabanghmubaninekhtxaephxemuxng xaephxlaplaymas xaephxpraokhnchy cnghwdchyphumi xaephxcturs xaephxbaehncnrngkh xaephxethphsthit xaephxeninsnga xaephxsbihy aelabanghmubaninekhtxaephxemuxngchyphumi xaephxkhxnswrrkh cnghwdnkhrrachsima thukxaephx ykewn xaephxthichawithlawmakkwaechn xaephxbwihy aelaxaephxsungenin bangswnincnghwdphratabxng aelacnghwdbnthaymichy praethskmphucha txngkarxangxing ithokhrachchawithokhrachthiwdphranaraynmharachwrwihar cnghwdnkhrrachsimaprachakrthnghmd10 000 khn praman ph s 2542 600 000 praman ph s 2548 phumiphakhthimiprachakrxyangminysakhycnghwdnkhrrachsima praethsithyphasasaeniyngokhrach aelaxun sasnasasnaphuththnikayethrwath sungchawithebingmikhnbthrrmeniympraephni aelawthnthrrmkhlayithphakhklang aetmiphasa khwamechux ephlngphunban karlaeln karthxpha thiepnexklksnkhxngklumchnxyuphakhklanghruxinbangkhrngcaeriykwa itheding hrux ithokhrach cakexksarprawtisastraelaobransthankahndidwaepnchumchnithythixyuxasymananxyangnxytngaetkhrngsmyxyuthyaraw chawithyebing miexklksn ineruxngkhxngpraephnikhwamechux phumipyya sngkhm sthaptykrrmaelaphlnganthangwthnthrrm echn phasaaelawrrnkrrm silpkrrm dntri aelakarlaelnephlngphunban karlaelnthwipaelakila miexklksnechphaakhxngchumchnithyebing sungmilksnaphsmphsan rahwangwthnthrrmithylumaemnaecaphrayaaelawthnthrrmithyokhrach khux mipraephnichiwitthisxdaethrkwthnthrrmxndingam echn khwamktyyu khwamsamkhkhi khwamminaicesiysla khwamexuxefuxephuxaeph khwamehnxkehnicmipraephnithxngthinenuxnginphuththsasna trussarth aelapraephniekiywenuxngkbkarprakxbxachiphaelapraephni ekiywkhxngkbkhwamkhwamechux sahrbkhwamechuxnnmikhwamechuxochkhlang ohrasastr phutphipisac aelaisysastrkaraetngkayphuhying nungphaocngkraebn epnphaphunthxmuxsiekhm echn sida sinatal sikrmtha khadekhmkhdengin ekhmkhdthxng hruxekhmkhdnak imniymnungsin swmesuxtdeybcakphafaythxmux esuxthiniymich eriykwa esux khxkraocm aelaesux xiaepa hyingchawithyebingcaichesuxpraephthniipwd aetngnganichsibechiynghmthbesux hrux swmesuxaekhn krabxkhmsibthbesux thaxyubanmkichphakhadxkaethnkarswmesux tdphmthrngdxkkrathum imniymddphm aelaaetnghnaephiyngichaepngemdbrrcukrapxngthahna kinhmakthaihpakaedng ichsiphungthapakephuximihpakaehng karbarungphiwichkhminphsmkbdinsxphxng thatwaelathahna sahrbekhruxngpradbniymichthxngmakkwaephchrphlxy aelaniymichtumhumakkwasrxyaelaaehwn saphayyamaethnkraepa khxngthiisinyamidaek ekhruxngichswntw ekhruxngmuxinkarprakxbxachiph khawhxaelaxun phuchay inxdit chaynungocngkraebn swmesuxkhxklmimphaxk nungkangekngkhakwy kangekngkhasn kang ekngkhayaw hakxyubannungphathungaelaimswmesux emuxxxknxkbanswmesuxkhxklm pkhaway hruxpkechit miphakhawmaphadba ehmuxnsib tdphmthrngdxkkrathum saphayyamimswmrxngethaphumipyyaphumipyyathxngthinkhxngchawithebing idaek xachiphthiidxasypraoychncaksphaphaewdlxmthrrmchatithixyuiklekhiyngechn karthait thalan swnxachiphxun khuxkarthair thana hapla odymiekhruxngmuxprakxbxachiphswnihythacakimiph ekhruxngmuxdarngchiwitbangchin echn takra mirupaebbkhlaykrabungkhnadelk milksnaepnexklksnkhxngklumchnkarthxphachawithyebingniymphafay thalwdlaypha epnlaytarangrupsiehliym pkti cathxiwichexng echn phaeybthinxn hmxn phathung phakhawma yam pccubnbangkhrxbkhrwthxiwkhay echn phakhawma aelayam aetedimkarthaphakhxngchawithyebingidetriymkarthxphaexngthukkhntxn tngaetkarplukfay pnday yxmsidayfay inpccubn suxesndanyxmsisaercrupmathx karaetngkayichphafay exklsnsinkaraetngkaykhux strisungxayunungocngkraebn aelasaphayyam rupaebblksnaechphaainewlaipthangan klumchnchawithebingthixasyxyuaethblumaemnapask prakxbxachiphthanaepnhlk emuxyangekhavduaelng phuchayxaccaekhapa hakhxngpa lastw phuhyingcathxphaiwichinkhrxbkhrw aela plukfay inenuxthithiehluxinbriewnbanephuxichthxpha krrmwithikarthaesnday karxiwfay hrux hibfay epnkaraeykemldxxkcakpuyfay odyichekhruxnghib hruxekhruxngxiwfay kardidfay epnkarthaihfayaetkkracayxxkepnenuxediywkn kardiwfay epnkarnadaythididepnpuyaelwmalxhmunihidfaythimilksnaklm odyichekhruxngmuxthieriykwa imlx karekhnfay hruxkarpnfay epnkardungfaythidiwaelwihepnesnday odyichekhruxngmuxthieriykwa in hrux hla aelwichimepiydayphnday cnmikhnadotphxpraman aelwdungdayxxk eriykwa pxy hrux ic kartkaetngesnday karkhaday withikarthaihdaymikhwamehniyw thnthanimepnkhnodynaiptmkbkhaw withikarniichkbesndaythiimtxngkaryxmsi karyxmsi epnwithiephimkhwamswyngamihaekphunpha odyichsithiidcakthrrmchati sungcaidcakswntang khxngphuch echn rak dxk tn aekn luk aelaib krrmwithikaryxm miwithiyxmtamlksnakhxngwsdu phuchthinamaichepnsiyxmpha idaek phlmaeklux epluxkkraodn maekluxeluxd aeknaekael epluxkxinthnil fkraka tnkhram khminkb yxdaekh aeknfang phkngad l swnwithikaryxmsi phahruxesndaythicayxm catxngsk hruxaechnaihepiykthwthngphunkxn ephuxpxngknimihsidang cathaihsitidphathwknthngphun aelaemuxyxmsiesrcaelwcatxngnaphaiplangdwynasaxadkxnnaiptak ekhruxngmuxekhruxngichinkarthxpha kiphunemuxnghruxkithxmux kichnidnithxphaaetlakhrngidcanwncakd khux idephiyngkhrngla 5 6 phun hnakwangkhxngphathithxid caaekhb kithxmuxcatxngichethaehyiybephuxbngkhbtakxihaeykesndayyunxxkcakkn aelwichmuxsxdkraswyitesndaythiaeykdungfnfumkrathbesndayphungihtidknthilaesn sungthxidcha kikratuk epnkithiephingcaerimnaekhamaich odyidrbkarsngesrimcakkrmphthnachumchn karthxkikratuk phuthximtxngsxdkraswy ichmuxkratukechuxkthitidkbkraswy aelwkraswycawingphanesndayyunthiaeykxxkcakkn odykarichethaehyiybimthidungtakx khxdikhxngkikratuk khux inkarthxaetlakhrngimtxngsubesndayyunbxy miaeknmwndayyunidyawhlaysibemtr esndayyuncatungeriybesmxknimtxnghwihruxcd krrmwithikarthxpha karesaaday khuxkarnadaythiyxmsiaelwmaesaaisrawing sawlngkrabung nadaymakrxishlxdthadwyimiphlaelk aelwnaipkhn karkhn khuxkarnadaysitang thiesaaaelwmaekaahlkphimph ephuxkahndkhwamyawkhxngesndayyunwatxngkarthxkiphun emuxesrcaelwnadayxxkcakphimph eriykwa ekhrux karsubday naekhruxdaymasubinfumcnkhrbtamhnakwangkhxngfum karthx naesndayphungthikrxishlxdday eluxksitamtxngkar iskraswyaelwnamathx karthxhukichethaehyiyb muxphungkraswy aelaichmuxdungfnhwikrathbdaythilaesnihaenn thxip eruxy cnhmdkhwamyawkhxngesndayyun praephthkhxngphathxkhxngchawithebing praephthkhxngphathxkhxngchawithebing phathxthiphbaebngxxkepnsxngyukh idaek 1 phathxobran epnphathithxkhunephuxekbiwichexng hruxihyatiphinxng phuthiekharphnbthuxich milksnaepnphaphunsikhaw thayxmsi sicakhxnkhangekhm thxaebbngay lwdlayimslbsbsxn esndaythiichthxepnesndaythiidmacakfayaeth idaek phaeybthinxn eybhmxn phahm phaphunicheybesux phathungphakhawma yam2 phathxithebinginpccubn miephiyngtablediywthiyngmikarthxphakhuxtablokhkslung epnkar thxephuxkarkha esndaythiichepnesndaypradisthhruxiysngekhraah phathxithyebinginpccubnmi 3 praephth khux phakhawma rupaebbyngehmuxnedim aetsisnchudchadkhun lwdlaykhxngphakhawmathiphbkhux laytakhu hruxlaytasxnglxn laytakhuaethrk laytarangyamlwdlayyngkhngaebbedimmikarepliynaeplngechphaakarichsikhuxichsixxnkwaedimthx 2aebb khuxaebbthrrmdaimmikarekhaekliywaelaaebbekhaekliywesndayphathung epnphamdhmithiichkrrmwithikarthxaebbchawbanhmi xaephxbanhmi cnghwdlphburi odythangrachkarsngesrimxachiphniodyihkrmphthnachumchncdwithyakripsxnkarthxphamdhmi aenwonmkarthxphakhxngchawithyebinginxnakht karthxphacaepnkarthxephuxkarkhamakkhun karichkithxmuxcanxylng ephraakrrmwithiinkarthxkhxnkhangyungyakaelacha niymichkikratuk ephraathxidrwderw imesiyewlainkarcdesndayyun lwdlayaebbihm khux epnkarthxlaymdhmi sungnadaykhawmamd aelwyxmsitamtxngkar phathxkhxngchawithyebingimkhxyidrbkhwamniym rakhakhxnkhangaephng aelapccubnhyingsaw niymeriynhnngsuxaelathanganorngngan cungimmiikhrsubthxdkarthxphaaebbedimsthaptykrrmchawithyebingmiexklksnkhxngklumchn khux srangeruxnykesasung aebberuxnithy mihnatangpratu banelk slkxkelapratu epnlwdlayaebbngay faeruxnkhuxfafak fakhx cakkarsarwc phbwa hmubanekstrkrrm niymsrangbanepnkracuk odymikarthana thair xyurxbhmuban karkracuktwkhxngeruxnrwmknepnhmubannnmiehtuphlwa ephuxkhwamplxdphy karaeyksrangeruxnihkracayxxkipxacthukocrphuraypln idngay aelaephuxkhwamxbxunthiidxyuxasyinrahwang yatiphinxngaelamitrshay rupthrngeruxn epneruxnitthunsung odypktieruxncaykphunsungkhnadkhnedinlxdid khuxsungraw 2 emtr hlngkhaeruxninxditniymhnacw thrngmnilaaelathrngpnhya eruxncahnhnaipidthukthis ykewnthistawntk rupthrngkhxngeruxnkxnthicaepliynipepnaebbthiehninpccubnmidwyknhlayaebb thisakhykhux 1 eruxnthrngithy epneruxnitthunsung miphng epnrupsiehliymphunpha esaklmpkexiyngsxbekhahakn hlngkhathrngcw tkaetngkhxngcwdwypanlmthimiechingepnruptwehnga faeruxnthadwyimcring lksnaepnkrxblukfk hruxtidwyimkradas eruxnaebbniphbthwip2 eruxnthrngithyaeplng epnaebbthxngthin nnkhuxepneruxnitthunsung miphngepnrupsiehliymphunpha esaexiyngsxbekhahaknaetimexiyngmaknk hlngkhathrngcwaetmumbnkhxngcwimthaepnmumaehlmmak immipan lmaelatwehnga faniymthadwyimkradanhruxfafak hnatangmikhnadelk hruxxaccaklawidxikwaaebbdngklawniyudthuxraebiybkrxbokhrngsrangaebberuxnithyaetmisdswnthiokhngmumaehlmkhxnghlngkhanxykwa3 eruxnthrngithyxiththiphlcakthixun echn aebbthiidrbxiththiphlcakphakhxisan khux eruxnitthunsungmiphngepnrupsiehliymphunpha esaimexiyngsxbekhahakn hlngkhathrngcwmumbnimaehlmmak immipanlmaelatwehnga faniymthadwyimfak aelaecaahnatangrupsiehliymkhnadelk aebbthiidrbxiththiphlcakchumchnithyywn milksnaepneruxnaefditthunsunghlngkhathrngcw lksnakhlaykbkrxbokhrngsrangkhxngeruxnithylanna4 eruxnthiidrbxiththiphlcakemuxngihy echn eruxnhlngkhathrngpnhyaepnsingpluksrangthimihlngkhaexnekhahaxkikthngsidan immihnacw epneruxnimsxngchn ykphunitthunsung eruxnhlngkhathrngmnila khuxeruxnthithrnghlngkhatrnglngmaimmihkhnacwehmuxneruxnpnhya aetimngxnchxyehmuxneruxn fakradan miklngkhakhlaykberuxnbranx khuxmihnacwhlaycwkhxngphwkchawithymuslim karichenuxthiphayineruxn caknphayineruxnmidchidepnsdswn ephiyngswnhnungkhxngeruxninkhnaphunthiswnihy mihlngkhakhlumichepnhxngothngolng ichpraoychnkhxngphunthinixyangxenkprasngkh echnphkphxn sngsrrkh rbaekhk rwmthngsamarthichnxnhlbidechnkn khrwifcaxyubangmumkhxngchnbneruxn hruxaeykepneruxntanghak eruxnbanghlngcamichanolngprakxbxaharchawithebingnnniymkinxaharsuk kinenuxpla kinphkphunemuxng kinkhaweca imniymkinxahariskathihruxthxd xaharkhxngchawithyebingepnxaharthi thuksukhphaph aelahaidngayinthxngthin sahrbsngkhmepnsngkhmsngbsukh mikhwamsmphnthinkhrxbkhrwthiditxkn smachikinsngkhmmikhwamexuxxathrtxkn chwyehluxkn mikarduaelrksasukhphaph rksakhwamsaxadchumchn aelathixyuxasy mihmxhlaypraephthrksaorkh echn hmxyasmuniphr hmxtaaey hmxrksaorkh ihkalngic echnhmxnamnt sngkhmithebingepnsngkhmmiprasbkarn aelaeriynruinkarduaelrksa sukhphaphxnamyphasachawithebingmiphasaphudkhlaykbphasaithphakhklang aetmiesiyngwrrnyukttangip aelaniymlngthaypraoykhdwykhawa ebing eding ehwy dxk miphueriykphasaniinchuxxunwa phasaitheding hruxphasaithokhrach wrrnkrrmthiekaaekthiphbekhiyndwyxksrithy epnswnihy ekhiynbnsmudithyidaek nithan niyay khasxnaelakhtithrrm taraya tarahmxdu aelakdhmayepntn mirupaebbxksrxunthiphbbang khuxxksrkhxmekhiynbnsmudithyepnkhatha hruxcarbniblanepnbthethsnkhxngphraphiksusilpkrrmsilpkrrmkhxngchawithebingidaek phraphuththrup thrrmasn citrkrrmphbwamilksnakhlayaebbsilpkrrmkhxngphakhklang aetmilksnaphunthinpapnxyudwy silpkrrmaebbni echn phraphuththrupcaepnaebbinchwng ekhruxngdntriepnaebbsngkhmchnbthimmikhwamsbsxninkareln aelakarpradisth idaekephiy bangkhrngeriykwacinghnxng pi othn aelaklxngyaw swnephlngphunbanthisakhykhuxephlngptiphaks ichottxbkndwyklxnephlng mihlayrupaebb echn ephlnghxmdxkmaiph ephlngphwngmaly ephlngrababanir ephlngonen ephlngphisthan ephlngchaecahngs aela ephlngokhrach incanwnephlngphunbanehlani ephlngokhrachidrbkhwamniymsungsud aelayngmiphuelnidbangcnthungpccubnkarlaelnthwipaelakilaphunban mithngkhxngedkaelaphuihymilksnakhlaykbchawithyphakhklanglumaemnaecaphraya aelachawithy okhrach echn mxysxnpha ngukinhang lukchwng ebiyrib saba txik snnisthankareriykchuxklumchatiphnthuithyebing mikhxsnnisthantang dngnikhux 1 ebing trngkbkhawa bang inphasaithyphakhklang ithyebingkkhngcahmaythung epnithyxyubangehmuxnkn khux swnhnungepnithy swnhnungepnephaxun echn xaccaepnlaw hruxekhmr hruxywnphsmxyu 2 xaccaepnephraakhnklumniichkhawaebing papnkninkarphudcaesmx echn phasaithyphakhklangphudwakhxipdwy chawithyebingcaphudwa khxipebing epntn3 epnkhathichawithylaw hruxephaphnthuxunthixasyxyuinphakhxisaneriykchawithokhrach thwch punonthk rabuinngansuksa eruxngklumchninphakhxisanwa chawxisancaeriykchawokhrach waithbang ithokhrachbang ithebing hruxitheding bang khxethccringdngklawnntrngkbngansuksakhxngsrecht wrkhamwichy emux ph s 2539 wa chawxisan klumtang echn law ekhmr caeriykchawithyokhrachwaithyebing hruxithyeding imthrabkhaeriykniekidkhunemuxid aetpccubnchawban yngeriykxyu aelacakkarphudkhuykbwiraphngs misthannkwicykhxngsthabnwicyphasaaelawthnthrrmephuxphthnachnbth mhawithyalymhidl miphumilaenaxyuincnghwdchyphumi rabuiwtrngknwa khnlawchyphumicaeriykkhnithyokhrachwa ithyebing klumchawithyinchyphumicayxmrbaelahnmaemuxmiikhrthkwaepnithyebing aesdngwamikarrbruwatnexngepnklumithy ebing imichlaw ithokhrach epnklumchatiphnthuklumihy thimiwthnthrrmokhrach idaek miephlngphunbanthieriykwa ephlngokhrach ichdntriphunban khux mohriokhrach aelathiepnexklksnsakhykhux ichphasaokhrachinchiwitpracawn phasaokhrachepnphasathimiwngsphth saeniyng aelasanwn epnlksnaechphaakhxngtnexng khwamkawhnathangkarsuksa khwamepliynaeplngthangsngkhmaelawthnthrrm pccubnsngphlkrathbthungklumchatiphnthu okhrachrunihm thiimekhaicwthnthrrmkhxngtnexng imruckkarlaelndntri aelaephlngphunban thisakhykhux phudphasaokhrachimid wngsphthphasaokhrachcungnbwncahayippraephniaelakhwamechuxkhxngithebingpraephnichawithebing kimtangcakchawithyklumxunmaknkineruxngkhxngkhwamechuxdngklaw khux bangxyangkimmiehtuphl bangxyangkmiehtuphl aetcaaetktangcakpraephnichawithyphakhklangbang raylaexiydekiywkbpraephnichiwitkhxngchawithyebing midngni praephniaetngngankaraetngngancamiphithi hlaykhntxnkhux karthabthamsukhx withichiwitkhxngchawithyebing oxkasthihnumsawcaidphbknminxy ephraatxngthangantlxdchwngklangwn aelaewlakhakhunepnoxkasthihnumsawcaidphbpaekiywphakn aelaemuxchayhnumthukickcacdhaethaaekipsukhx bidamardafayhyingxaceriyksinsxdthxnghmnepnenginthxng hruxepneruxnhxeriykwa madepnengin madepnthxng karhmn emuxidthabthamsukhxaelwkcaihphrasngkh hruxhmxdukahndvksephuxepnwnhmnsungcatxngepnwnfu ephraatampraephnicaimcdinwncm wnfuhmaythungwnxthibdi wnthngchy aelawncmhmaythungwnxubathw wnolkawinas sahrbeduxnthiniymcdngancaepneduxnkhu aelaimcdnganrahwangekhaphrrsa emuxiklwnaetngngan catxngmikaretriymtakhaw hafun lngpla haphkpa enuxstwthiniymichthaxaharkhxngchawithyebing niymichplacaimmikarkhahmu wwhruxkhway xaharcaepnxaharphunbanngay immixaharpraephthidtxnghamsahrbnganaetngnganimehmuxnpraephnikhxngthangphakhklanginkarcdngancaaebngepn 3 wnkhux wnaerkepnwnetriym wntxmakhuxwnaetngnganaelawnthisamkhuxwnthabuyban swnphithixun cakhlaykbphakhklang tangkntxnkhbwnkhnhmak khuxemuxbanfayhyingyingpunkhun 1 nd faychaycungerimkhbwnkhnhmak emuxkhbwnmathungidmikarkhnhmakaelw fayhyingcamxbaepngkrasxbhnungthungepnkhxngcharwy caknnncungmikarphukkhximkhxmux wnthisammiphithithabuybanbawsaw catkbatr khnmkhnhmakthifayecabawcdmacathwayphra ephraamikhxhamimihecabawecasawkinkhnmkhnhmak hlngcakeliyng phraaelwcamiphithipraphrmnaphuththmnt epnxnesrcphithiaetngngan hlngcakaetngfaychaycatxngipxyubanfayhyingxyangnxy 3 khun aelwcungcaaeykeruxnipdaeninchiwitepnkhrxbkhrwihmtxippraephnikarekidphuhyingchawithyebing emuxtngkhrrphcamikarptibtitnechnedimpkti khux yngthanganbanthairthana inrahwangkartngkhrrphnn mikhwamechuxmikhxkhwrptibti aelakhxhamhlayprakar echn hamthabapimtkplaimkhastw imihipdukhnxunkhlxdlukephraamikhwamechuxwacaynknthaihkhlxdyak imihxabnaklangkhun ephraaklwaefdna emuxekidcnthrkhrasbangkhnkexanalubthxngephuxihkhlxdngay imihnng yunkhabnidhruxpratu hamkinklwyaefd klwcamilukaefdthaihkhlxdyak hametriymkhxngichiwkxnthacaeybthinxnaelahmxniw txngimeybpidpakthinxnhruxhmxn emuxkhlxdaelwcungcaeybpidpakhmxnewlakinkhawtxngribximkxnkhnxunthungaemcayng aelwcungklbipkintxthihlngid ephraaechuxwaximkxncathaihkhlxdngaykaretriymkarkhlxd hyingmithxngodyechphaalukkhnaerk caklbipkhlxdthibanaemtnexng odycdetriymhxng ineruxn epnhxngkhlxdbangbanthasaysiycnwnrxbhxngkhlxd bangkhnexakhlxngkhxkhnthxngiwephuxpxngknimihphimarbkwn inhxngthicaichepnhxngkhlxdtxngthaetaif odyexaimkhxnwangkhwangknepnkhxkhmu exakabklwypurxngphunaelanadiniscnetm etriymaekhrnxniwkhangetaif itthunkhxnghxngkhlxdcakhudhlumtrngkbrxngkhbthaykhxngesiyiw aelarxbhlumnncatdhnamphuthra hruxhnamxunmasaiwodyrxbephuxpxngknphipxb phikrasux imihmakineluxdkinkhxngkhaw khxngesiythithaymatamrxngnn karkhlxd emuxthxngaekerimpwdthxng caiptamhmxtaaeymathakhlxd erimdwyhmxtaaeycathaphithiihwphibanphieruxnkxn odycdthakhnmtm khawehniywnung klwy dxkim thup ethiyn aelaengin cdisphanihw pu ya ta yay thangphxkdi thangaemkdi ihmachwyihkarkhlxdngayihmapkpkrksaihkhlxdngay odykarkhlxdcaniymihkhnthxnghnhnaipthangthisehnux hruxthistawnxxk aelaihnngphingkhrkhruxphinghlngsamiexaethaynfaiw emuxedkkhlxdxxkmaphuepnsamihruxkhninbancaribtidiftmnarxnephuxxabnaedktxip thakarkhlxdmikarphidpkticaichwithihahmxphunbanmaeskepa hruxthanamntihdum ephuxepnkarsaedaaekhraahkarxyuif karxyuif xyukrrm caepnkarxyuiffunodythxnlangcanungetiyw thxnbncaexaphachubnaopahnaxkiw nxnehyiydaekhnkhabnaekhrsungswnmakcaepnimkradanaephnediyw karnxnxyuifcaimihngxaekhnngxkha aelahamimihxxkipnxkbriewnthixyuif emuxaekhngaerngdiaelwcalukedinidkareliyngluk kareliyngduedkxxn khnathiaemyngimminanmkhuxihedkkinna hruxnaphungodyichsalichubnaphungihdud aelaerimihedkkinklwysukbd cnkrathngxayupraman 1 eduxn cungcaeliyngdwykhawbdisklwysuk aelaerimihedkkinkhawkbplaktxemuxedkerimhdphudaelaphudkhawa pla id thaedklinepnfacaichpsswakhxngedkexngpaykwadthapwdthxngcaichdayphukkxnmhahingkhphuktidkhxmuxedkiwephuxihedkdmklinpraephnikarbwch phuthicabwchtampraephnikhxngchawphuththtxngmixayukhrb 20 pi mirangkaykhrb 32 prakar swnmakniymbwchkxnaetngngan karbwchkhxngchawithyebingmiphithikrrmkhlaykbpraephnibwch inphunthixun echn karetriymkarbwch niymhavksephuxkahndwnthidithaphithi phubwchcatxnghdkhannakh hdswdmntihkhlxng odybidamardacanadxkim thup ethiyn isphanphaphuthicabwchipihxyuthiwdxyangnxy 1 eduxn karbwch praephnikarbwchkhxngchawithyebing niymcdkn 2 wn khuxwnsukdib aelawnbwch txnklangwnkxnephlinwnsukdib cathaphithiplngphmthiwd bidamardanakhcaepnphuerimkhlibphmkxn txdwyyatiaelaphrasngkhepnphuokncnhmd phmthiokncanaiplxyna hlngcaknnbidamardanakhcaxabnaihnakhaelaaetngtwihm txnkhacathaphithisukhwy hrux thakhwynakh odymihmxsungswnihycaepnphukhninhmuban hmxthakhwycaerimthaphithinaihwphra swdbthchumnumprachumethwda aehlbthihwkhrubthwadwykhunbidamarda bthwadwytwnakhtngaetelkcnot aelabthsxnnakhihpraphvtiihthuktxngtamkdkhxngwd aelabthbyytiphraphuththsasna sxnihrucksil swdmntphawna aelabthsudthaycaepnbthechiykhwynakh sunginkaraehlcbaetlakhrngaetlabthcamikartikhxng 3 khrng ohrxngexachy aelaewiynethiyn wnrungkhunepnwnbwch niymbwchtxnechahlngcakthwayphttaharechaaelw caaehnakhedincakbanipwd xacmiklxngyawhruxaetrwngnakhbwnkarlasikkhabth chawithyebing niymbwch 1 phrrsa khnthibwchimkhrbcathukeriykwa epnkhnimetmkhn kxncalasikkhabthcahavksdi aelwnakrwyibtxngdxkim thup ethiyn ipkrablaphraxupchchay aelaecaxawas sungcaswdkhathaaelardnamntih khnathikmlngkrabcachkphasngkhatixxk aelwihnanamntipxab caknnaetngkayepnkhrawas thungaemcalasikkhabthaelw thidsukihmcakhngxyuthiwdxik 3 wn ephuxchwynganinwdpraephningansph karthangansphkhxngchawithyebing inxditodythwipniymkarepha nxkcaksphthiekidcakkarthukkhatay tktnim fapha tknatay khlxdbutrtay hruxtaydwyxubtiehtutang canasphfngiw 3 5 pi aelwcungthaphithiephathihlng karthakhwamsaxadsph dwynarxntmisibmakham ibfrng sungkarxabna sphnicathaechphaalukhlan aelayatiiklchid txcaknnaetngtwsph thakhmin phdaepng hwiphm odycahwiipinthangtrngkham kbtxnmichiwitxyu isesuxphaklbdanhnaiwkhanghlng cdthakrwyibtxngisdxkim thup ethiyn ismuxphnmiwephuxihphutaynaipbuchaphraculamnibnswrrkhchndawdungs aelabxkkbsphwaikhrkhxkimih naenginehriyy isinpaksph aelwichphakhawmdtrasngsph aelwthaphithiebikolngkxnnasphlngolng sungepnhnathikhxngspehrx odyichimiphphasikepnpakka milksnaepnimkhibehmuxnimpingpla 8 xnnaipkhibtamkhxbolngdanla 2 xn aelwnadaysaysiycnmdoyngtamimkhibpakkathng 8 xn thakrathngibfrng 4 krathng iskhawda khawaedng ephuxwanginolngepnekhruxngsngewy thanamntthrnisarphrmthiolngaelasph aelwichethiyncuddaysaysiycnthioyngiwrahwangimkhibpakolng ihsaysiycnkhadepnchxng epnkaraesdngwaidtdkhadcakyatiphinxng lukhlanihhmd txcaknncungmwndaysaysiycnaelanaimkhibpakthnghmdisinolngdwy hlngcaknncaykolngiptngbneruxnhndansirsaipthangthistawntkephuxthaphithiswdsphtxipkarswdsph inxditcatngsphthiban imniymiptngsphthiwdehmuxnpccubn aelatngsphbaephykuslephiyng 1 3 wn enuxngcakinxdityngimmikarchidyapxngknsphenaepuxy cungtxngribepha tlxdewlatngsphswdnncacudthuphruxcudtaekiyngtlxdimihdbemuxthungewlaxaharyatikhxngphutaycacdsarbxaharipwangkhangolng aelaekhaaolngeriykihkinxahar hruxemuxphrasngkhswdphraxphithrrmkcaekhaaolngeriykihfngphraswddwykarephasph emuxswdsphwnsudthayaelwcahamsphipthaphithithiwdthaepnphx aem hruxyatiphuihyhlngcakkarhamsphlngcakbanaelwcakhwaoxngna 1 ib khbwnsphthihamipnncanahnasphdwyhmxif hmxtalisfaycudif aelamithadismaphrawpxkepluxkaelw 1 luk krathngibfrng hrux krathngibtxngiskhawdakhawaedng aelastangkhkrathngla 1 bath aetlakrathngcapkthngsamehliym khnathihamsphipkcaorykhawtxkiptlxdthang epnkarnaipsuswrrkh aelatlxdthangthihamsphipcaimmikarhyudphkrahwangklangthang karkahndwnephasphkhxngchawithyebing cahamephasphwnphra aelawnkhu caephasphechphaawnkhi hamephawnsukr wnesar aelawnxngkhar karaetngkaykhxngphuiprwmngansphcaaetngkaysiidkidcaimthuxwaphidthrrmeniympraephniaetxyangid praephnikaraetngkaysida hruxsikhaw da ipngansphinewlatxmannidrbaebbxyangcakkhnphakhklang karthabuyxuthisswnkuslaekphutay hlngcakephasph 3 wncathaphithiklbthatu hruxklbthatu odycanimntphrasngkh ipthiechingtakxn swdbngsukultayphrmnamntthikraduk aelwekhiykradukepnrupkhnhnsirsaipthangtawnxxk aelwphrasngkhswdbngsukulepnephuxepnkaraesdngkarekid aelwcungekbkradukisoksiwbnhingbucha hruxekbiwthiwd emuxthungwntrussngkrant aetlapicanaoksipwdihphrasngkhswdbngsukul hruxnimntphrasngkhipthabuythiban ephuxxuthisswnkuslihaekphulwnglb nbepnkarthabuyihypracapikartxxayu emuxmiphupwyhnkmkcathaphithitxxayuodynimntphrasngkhmathaphithithibanmikartha buyeliyngphra swdtxchatachkbngsukulepn epnkarsrangesrimkalngicphupwy yudxayuphupwyipxikrayahnungkarbxkthangkhniklsinicemuxphupwyxakarhnk ehnwaimmithangrxdmixakariklsinic yatiphinxngcabxkthangaekphupwy ihnukthungphraxrhnt hruxbxkihthxngphuthoth hruxcaklawnadng ihphupwyidyincaidyudkhaphuthoth epnphuththanusti ihciticsbayaelaechuxmnwaemuxcakorkhniipaelwcaipsuphphphumithidi praephnithxngthinkhxngchawithyebing chawithyebingmikhwamechux aelathapraephnitang khlay kbchawithyphakhklang praephnithithainthxngthintlxdthngpithidngni ethsnmhachati aetlawdxaccacdinewlatangkn thaimethsninchwngekhaphrrsakcaethsnklangeduxn 12 nganelk hruxihykhunxyukbkhwamphrxmkhxngaetlawd wdthicdnganihycatkaetngswyngam bangwdkimcd ethsnmhachatithuxepnnganbuythisakhy chawbancarwmmuxkncdnganihsaerclngiddwydi thabuyinwnmakhbucha wisakhbucha aelaxasalhbucha karthabuyinwnsakhythangphraphuthth sasnathng 3 wnni chawithyebing caihkhwamsakhykbwnwisakhbuchamakthisud praephnithabuyekhaphrrsa thuxepnwnphrasakhythabuyinwnaerm 2 kha eduxn 8 txcaknganbuywnxasalhbucha chawbancanaphumdxkim phaxabnafnaelaethiynphrrsaipthwayphra buyxxkphrrsahruxlaphrrsacamikartkbatrethowinwnaerm 1 kha eduxn 11 tampraephnichawbancaetriymxahariptkbatrethowknxyangphrxmephriyng khnmthichawithyebingthaepnhlkephuxnaip tkbatrethow khux khawtmmd khnmethiyn aelakhnmklwy wntrusaelasngkrant praephnitruscathainwnphrasineduxn 4 chawbancakwnkhawehniywaedngephuxnaipthwayphra khawopngepnkhnmthimilksnakhlaykbkhawekriybwawkhxngphakhklang pccubnchawbanimkhxythaknexng enuxngcakkhntxnkarthayungyakaelawithichiwitthiepliynaeplngip swnpraephnisngkrantcathainwnthi 13 15 emsayn ehmuxnthw ip khuxmikarthabuytkbatrsrngnaphraphuththrup srngnaphrasngkh aelachawbancaelnsadnakn aelathiphiesskhuxcamikarlaelnrunering tang echn raothn lukchwng chkeyx l lxykrathng thainwnephyeduxn 12 chawbanchwythakrathng sungkrathngthicdthamihlayaebbswnmakthacaktnklwy ichkabklwytdidkhnadaelwtdepnruperux aelwisdxkim thup ethiyn lnginaeph aelwnaiplxyaemnapask chawbanmkcamaprachumknbriewnwd aelamalxykrathnghnawdphrxm kn praephnithxdkthin thxdphapa karthxdkthin cathxdtngaethlngxxkphrrsathungwnephyeduxn 12 sungkarthxdkthinkhxngchawithyebing mi 2 aebb khux thxdkthinaebbthrrmda aelaaebbculkthin swnkarthxd phapacaimmikahndaennxn insmykxnmkcathxdphapathukwnphrainchwngekhaphrrsa wnsarth epnpraephnithiniym epnkarxuthisswnkuslipihbrrphburus ineduxn 10 chawbancakwnkrayasarthephuxnaipthwayphrahlngesrcphithi kcachwnknekhapaiphaphlimpaknxyangsnuksnan buyklangban epnpraephnikhxngchawithyebing cathaechphaapithifnfaimtk wtthuprasngkhinkarthaephuxepnkarthabuybuchaphi ihkhninhmubanxyuknxyangrmeynepnsukhimmiorkhphyrayaerng praephniaehnangaemwkhxfn caxthibayraylaexiydineruxng khwamechuxkhxngchawithyebing rbthxngkhaw epnpraephnithithamaaetobranniymthainwnekhaphrrsahruxlaphrrsa hlngcakesrcphithithabuyphrrsaaelw aetlabancathaphithirbthxngkhaw tangkhntangthainthinakhxngtn rbkhwykhaw cathaineduxn 12 hlngcakekiywkhawnwdekha nakhawekhayungaetlabanthiekbekiywidcatha phithirbkhwy hruxeriykkhwykhaw odyeluxkphuhyingthimieruxnaelamiwywuthi ihkhxnkrabungkhawkhunbaedinipthilancawangkrabunglng cudthupklawechiyaemophsph caknncamikhnchwynafangkhawmathukepnruphun miaekhn kha latw sirsakhnadsungpraman 1 fut smmtiwaepnaemophsph wanglnginkrabungklawechiyesrckkhxnkrabungklbyungmiekhldlbwatlxdthanghamphudkbikhr hamthkikhr khxnkrabungmaekhayungkhawaelwnahunfangaemophsphiptngiwthimumidmumhnungbnkxngkhawinyungehmuxnihaemophsphtamcaknamaxyuinyungkhawdwykhwamechuxkhxngchawebingmikhwamechuxthng 2 praephth aetinsmykxnmikhwamechuxtangcakinpccubn thukhmubancamikhwamechuxineruxngtang khlay kn khwamechuxsakhymidngni khwamechuxeruxngphi chawithyebingthimixayumakkwa 50 pi yngmikhwamechuxeruxngphixyu dngni phibanphieruxnhruxphipuyatayay chawithyebingimniymtngsalbuchaphibanphieruxnphipuyatayay hruxsalecathi aetechuxwamiphipracaxyu inbaneruxn phipxb chawithyebing mikhwamechuxwapxbmicring chawbanbangkhnekhyehn aelaphipxbekhysingkhninhmuban khnthithukphiekhabangkhnyngmichiwitxyuinpccubn khnthithuksingcamixakaraeplk echnxyangkinkhxngkhaw bangkhnedinaekphaimxayikhr phinangim swnihyechuxeruxngphinangtaekhiynmakthisud aelatangechuxknwatamtnim ihycamiphipracaxyuikhripthaxairimdicathuklngoths phikrasux chawithyebing elawaekhyehnphikrasuxekhamainhmubancamatxnkha hruxtxnklangkhun mxngehnepndwngifaewb lxymawnewiynitthunban bangthikdudkintbitisphungkhxngstwthieliyngiwinitthunbancntaykmi phiphray hruxphienguxk phiphrayhruxphinahruxphienguxkcaehmuxn kn echuxwaphienguxkxyupracawngna ewlaikhriphapla lngelnnahruxthayptikullngna xaccathukphienguxkhlxkid phipakahruxphipraka chawbansmyobranechuxwaphichnidniephraamixachiphekiywkbkarkhlxngchang echuxwakxncaxxkipkhlxngchangcatxngthaphithiesnsrwngbuchaphipakakxncungcaekidphlditxkaripkhlxngchang phiornghruxphiolng phiorngepnphikhxngbrrphburus khxngaetlabannnexngphiphwknicaimtharayikhr aettxngkrabihwbucha phitayohng mikhwamechuxwakhnthitayimdi caepnphitayohng phiehlanicamahlxkhlxnkhnxunimkhxyyxmipphudipekidngay phitamxy chawbanbanghmubanechuxeruxngphitamxy chawbanbxkimaenchdwaphitamxymiruprangxyangir aetepnphikhikhomy chxbmakhomy malkkinkhawkhxngchawban singskdisiththi khwamechuxineruxngsingskdisiththitang chawithyebingmikhwamechuxehmuxnkbkhnthw ipcaxthibaydngni phraphuththrupaelaphraekhruxngtang chawithyebinglwnepnchawphuthth cungmikhwamechuxinphraphuththecakrabihwbuchaphraphuththrup aelaniymphraekhruxngtang aetlabancacdotahmubuchahruxhingsahrbkrabihwkhwamechuxekiywkbethphecaaelaethwda khnithyebing imkhxyechuxineruxngethphecaaelaethwdamaknkruckephiyngchuxwamihlaykhn echn phraphrhm phraxiswr phranarayn epntn swnethwdathikhninchumchn nbthuxkrabihwbuchamakthisudkhux ephraaepnethwdathiekiywkhxngkbxachiph aelachiwitkhwamepnxyukhxngphwktnodytrng swnethwdaxngkhxun bxkelaknwami aetkimmiphithibuchaaetxyangidkhwamechuxeruxngkarewiynwaytayekidaelanrkswrrkh ithyebingthukkhnechuxeruxngkarewiynwaytayekidtamkhtiinphraphuththsasnaswnkhwamechuxeruxngnrkswrrkhnnbangkhnkechuxbangkhnkimechuxephraaphisucnimidkhwamechuxeruxngisysastr chawithyebing canwnhnungmikhwamechuxeruxngisysastraetktangknip echn echuxeruxngewthmntrkhathaxakhm sungmiichthnginthangelwray aelathangdi ekhruxngrangkhxngkhlng phuchayithyebingbangkhn niymesaahaekhruxngrangkhxngkhlngiwswmis hruxmiiw kareskepaaelardnamnt withihnungthixacchwyaekpyhaid chwyphxnhnkepnebaodykariprdnamnt karsk sungniymsktamswntang khxngrangkay echn aekhn kha niymskhlngcakbwcheriynaelw ephuxihxyuyngkhngkraphn skephuxaesdngwa bwcheriynmaaelw lkhwamechuxineruxngxaharkarkinbangchnid mikhwamechuxaetktangknipbang echn echuxwaphuchaythielnkhxngelnisysastr hamkinplaihl makhampxm luksmxaelamaefuxng kinaelwkhxngcaesuxm echuxwachaythiepnorkhphuhying kamorkh hamkinplakraebncathaihorkhkaerib epntnkhwamechuxeruxngkarkhxfn enuxngdwychawithyebing mixachiphekstrkrrm cungtxngxasynafntamthrrmchatiephuxihphuchphlthangkarekstrecriyngxkngamcungmiwithikarkhxfn twxyangwithikhxfnkhuxkaraehnangaemwkhxfn mkthaineduxn 9 eduxn 10 hlngcakdanahruxhwankhawaelw chawbancanaaemwiskrngkhngiwaelwedinaehaemwipynghmuban khnaaehcarxngephlngaehnangaemw enuxrxngcamikharxngepnkarkhxeriykfn karthaihfntkodywithikarthxngkhathakhxfn mi 2 khatha khux swd hruxthxngkhathahwicrxyaepd caaekehturayphyphibtirwmthngfnaelngiddwy khathathi 2 swdkhathaplachxn kxnswdplachxntxngthabuytkbatr 3 wn karphayeruxbnbk epnkarthatxenuxngkhathaplachxn aelasudthaykarpnixemkh khuxkarpnhundinehniyw ephshyingchay aelwwangthngiwthithang 3 aephrng khxeriynfnkhwamechuxekiywkbswsdimngkhlinkardaeninchiwit epnkhwamechuxekiywenuxngkbxachiphekstrkrrmepnsakhy echn hamswmrxngethaedinluyphanlankhaw cathaihphraaemophsphokrth hruxkareliyngstw imwacaepnstweliynghruxstwichngan imniymeliyngww 5 ma 6 tw tamladb thuxwaxpmngkhl ihnaipplxyekhruxngmuxdarngchiwitprakxbxachiphaelaphithikrrm ekhruxngmuxdarngchiwit aelaprakxbxachiphsungbangchincdepnngansilphtthkrrmidkhux insngkhmekstrkrrmaebbphungphathrrmchati hlngcakekbekiywesrccamiewlaphkinchwngvduaelng thaihchawbanmiewlathicathanganhtthkrrm sungswnihykepnphlitphnthephuxichinkarprakxbxachiphhruxichinchiwitpracawn emuxkarkhmnakhmsadwk khwamecriythangwtthuephimmakkhun chaw banerimaeswnghawtthuxun maichaethnnganhtthkrrmaebbdngedim hruxchawbanmioxkaseluxkichphlitphnthcakaehlngxunbang thaihekidkhwamhlakhlay inxdit chawbanmkthakhxngkhunichexngphayinkhrweruxnkhxngichinchiwitpracawnbangxyangchawbanelikichipaelw enuxngcakmisingxunekhamaaethnthi echnith khrad ekwiyn odychawbanniymichrthithnaithir rthekiywkhaw ekhruxngnwdkhaw aelaekhruxngckrkltang thanganaethnaerngngancakkhn ekhruxngsikhaw khrktakhaw thukhmubanldbthbathlngcnthungkbekuxbelikich hruxthukepliynhnathiihmemuxchawbanhnmasuxkhawsar cakorngsi hruxsuxkhawsarcakrankhaaethnkarsikhaw takhawdwytnexngdngaetkxn aetphlitphnthbangxyangyngkhngichxyuinchiwitpracawn echnkrabung takra ekhruxngcksantang hruxekhruxngmuxcbstwnathungaemwacaldcanwnkarichlngbangaetkyngmikickrrmtxng ichekhruxngmuxehlanixyunganhtthkrrmbangxyang mikhunkhathangkhwamngam aelaaesdngethkhonolyiphunban echn ekhruxngmuxdkcbstw chnidtang thiichklikaebbngay odysuksaphvtikrrmkardarngchiwitkhxngstwaelwsrangklikephuxdkcbstwehlannid phlitphnthbangxyangyngmikarxxkaebbidxyangehmaasmkbkarichsxy echnmidcktxk chawbancathadammidihyawokhngngx krachbaenbkblatwewlaichmidehlatxkcasamarthbngkhbmididdiyingkhun changchawbanphumifimuxinkarcksanhruxpradisthphachnasingkhxngtang erimhayak swnihyphumikhwamrukhwamchanayca mixayumak khnrunhlngimkhxnsnicthicaeriynrusubthxdwithikartx cakphuihythaihnganhtthkrrmthimikhunkhahayakkhun xikthngkhxngekathimixyuaelwkcharud hruxbangthikthukekbxyangimrukhunkhanganhtthkrrmpraephthekhruxngmuxekhruxngichphayinban thiphbinphunthisarwc swnihymirupaebbaelalksnakarichsxykhlaykbthiphbinphumiphakhxun aetminganhtthkrrmbangxyangthimikhwamoddedn indankhwamngam khwampranit idaek ngancksan krabung takra ngandngklawthuxidwaepnngansilphtthkrrmkhxngthxngthinxyangaethcring khwraekkarykyxng ngancksankrabung takra thichangphunbanthakhunephuxichinkhrweruxnmikhwampranit swyngam aekhngaerngaelakhngthn odysamarthehnidchdineruxngrupaebblksnakhxngphlnganxahar chawithyebingichwtthudibcakthrrmchatiprungxahar karprakxbxaharepnwithithicdwathangayaelakinxaharthisdihmhaktxngkarekbxahariwkinnanhlaywnichwithikarthnxmxaharaebbthrrmchatiechnkartakaehng karthaekhmhruxkardxngepriyw immikarichsarmiikhmnta kinplaepnswnihy aelakinphkkinkhawepnpracathukmux xaharthiepnexklksnkhxngchawithyebing khux aeknghwlan aekngiksamsib aelaaekngbuk aekngsmhwlanmikaraekngnxymakephraahatnlanyak swnaekngiksamsib aelaaekngbukyngmiihehnbangsngkhmkhxngchawithyebing epnkhrxbkhrwekstrkrrm cungmilukhlaykhnephraatxngkaraerngnganinkarthamahakin dngnnphxaemcatxngxbrmsngsxnihlukrkkn samarththanganaethnphxaemid chwyeliyngnxng nxngtxngechuxfngphiaelakarptibtitwkhxngphxaem khux thaphxaemmikhwamyutithrrm lukkcamikhwamrkikhrsamkhkhiknkhwamsmphnthrahwangpuya tayay aelahlan puya tayay khuxphuihyinbanchwyeliyngduhlanemuxphxaemtxngxxkthamahakin edkbangkhnxaceriykwa aemihy phxihy karthiedksnithkbpuya tayay thaihidmioxkastidtamipthitang echn wd nganbwch nganaetngngan ngansph thaihedkidruwthnthrrmkhxngthxngthin ephlngokhrach epnsilpa wthnthrrmphunbankhxngcnghwdnkhrrachsimahruxokhrach sungidsubthxdknmaepnewlayawnan odyephlngokhrachnnmiexklksnkarrxngraepnphasaokhrach sungmikhwamipheraa thaihekidkhwamephlidephlinaelasnuksnan aetpccubnephlngokhrachkhxy idrbkhwamniymaelakhwamsnicnxylng phwkeracungkhwrthicachwyknxnurks aelasubsansilpwthnthrrmxndingamniiw ephuxihlukhlankhxngeraidsmphs idrbchmaelarbkhwamsnuksnanephlidephlindikwakarelakhanepntanan prawtiephlngokhrach prawtikhxngephlngokhrachnnmikarelakhanknmawa minayphrankhnhnungchux ephchrnxy xxkiplastw inekhthnxngbunnak banhnxngbunnak xaephxochkhchy cnghwdnkhrrachsima khunhnungaekipphbluksawphyanakh khunmacakhnxngna manngrxngephlngkhnediyw phranephchrnxyidyinesiyng cungaexbekhaipfngikl aekprathbic inkhwamipheraa aelaenuxhakhxngephlng cungcaenuxaelathanxngmarxngihkhnxunfng lksnaephlngthirxngepnephlngkxm hruxephlngkhusxng xiktananhnungelawa chawokhrachidephlngokhrachmacakxinediy odyphrayaekhmephchrepnphunamaphrxm kbliek aelalatd odyihliekxyukrungethph latdxyuphakhklang aelaephlngokhrachxyuthinkhrrachsima ephlngokhrachrayaaerk epnaebbephlngkxm khnthieriynruephlngokhrach cakphrayaekhmephchr chuxtacn bansk xyu sumbansk tidkb sthanirthifchumthangthnncira tananthngsxngthungemcatangknindankaenidaettrngknxyanghnungthiklawwaephlngokhrachrayaaerkelnaebbephlngkxm kxm epnphasaokhrachaelaphasaxisan aeplwa sn ephlngkxmhmaythung ephlngsn waottxbklawlxy thngthimikhwamhmayluksung hruximmikhwamhmayelykid ephlngokhrachcaerimelntngaetemuxid imprakthlkthanthiaenchd hlkthancakkhabxkelatx knma miephiyngwa smythawsurnari khunyaom yngmichiwitxyu ph s 2313 thung 2395 thanchxbephlngokhrachmak eruxngrawkhxngephlngokhrachidprakthldthanchdecn khuxinpi ph s 2456 thismedcphrasriphchrinthrabrmrachininath phrarachchnniphnpihlwng esdcmankhrrachsimathrngepidthnncxmsurangkhyatr aelaesdcipphimay inoxkasrbesdckhrngnn hmxephlngchayrunekachuxesiyngodngdngmakchuxnayhri banswnkha idmioxkaselnephlngokhrachthway ephlngthielnichephlnghlk echn klxnephlngthiwa khaphecanayhrixyuburiokhrachepnnkelngephlnghd bawphrayakaaehng ecakhunethsa thantngihepnkhunnang taaehnng khwamxiktxnexythungkarrbesdcwa idsdbwacarbesdcephuxechlimphraedchphracxmaephndin ohsamla hasamhlnesiyngsnn thaninthr smedcphraphnpihlwng thrngepnphubngkhbkarphiesspracakrmthharmankhrrachsima cnthung ph s 2462 emuxesdcnkhrrachsima nayhri swnkha kmioxkaselnephlngthway ephlngokhrachmioxkaselnthwayhnaphrathinnginnganchumnumlukesuxkhrngthi 1 innamkaraesdngmhrsphkhxngmnthlnkhrrachsima ekiywkbkaenidkhxngephlngokhrach mithngthiepnkhaelaaelatananhlkthancakkhabxkelakhxnghmxephlngxikcanwnhnungelatx knmawa insmyrtnoksinthrmisngkhramrahwangithykbekhmr emuxithychnasngkhramekhmrkhrngir chawbancamikarechlimchlxngchychna dwykarkhbrxngaelarayrakninhmuskthiekhaeriykwa sumbansk ikl kbchumthangrthif thnnciraaelaerimelnephlngokhrachknthihmubanni thathangkarrarukrathxy aelakarpxnghu miphusnnisthanwaprayuktmacakkarelnecriyng thiepnephlngphunbankhxngchawsurinthrphsmphsan kbephlngthrngekhruxngkhxngphakhklang praephthkhxngephlngokhrach karaebngpraephthkhxngephlngokhrachnn aebngidhlaywithi phxcaaeykklawiddngni 1 aebngtamoxkasthicaeln id 2 praephth ephlngxachiph idaek ephlngokhrachthielnepnxachiph mikarwacangepnengintamrakhathikahnd ephlngpraephthnicaelninnganchlxnghruxsmophchtang echn ngansph nganbwchnakh thxdkthinnganpracapi hruxelnaekbn phuprakxbxachiphephlngokhrachnieriykwa hmxephlng karelncaelnepnphithikar miewthi karaetngkaytamaebbkhxnghmxephlngaelamikarykkhruepntn ephlngchawban ephlngpraephthni epnephlngkhxngchawbanthirxngelnkninyamwangnganephuxkhwamsnuksnan echn innganlngaekhk ithna hruxekiywkhaw hruxphbpaphudkhuykninwngsurachawbanthiwaephlngid cawaephlngottxbknephuxkhwamsnuksnan immiphithiritxng imtxngsrangewthihrux orngephlng aelaimmikaraetngkayaebbhmxephlngxachiph 2 aebngtamwiwthnakarkhxngephlngokhrach tngaetyukhaerkmacnthungyukhpccubn erimtngaetephlngsn macnthungephlngyaw thiichelnkninpccubnniaebngid 5 praephth khux 2 1 ephlngkhdxn epnephlngsn mismphsxyuaehngediyw khux rahwangwrrkhthi 1 kbwrrkhthi 2 ethann swnwrrkhthi 3 aela 4 immismphs smphsthiichepnsmphssra echn 2 1 1 exxexx sarusara xiaemkathakhwthw emidbuyphwaelw ehmuxnikhikrangrng 2 1 2 exxexx sarusara xiaemkathakhwhmi ruwakinimemid mungcikhwmakthaim inkhx 2 1 2 ni caehnidwamikarelnxksrephimekhamaaetyngimbngkhb lksnanicaklayepnsmphsbngkhbinsmyhlng 2 2 ephlngkxm epnephlngsn echnediywkbephlngkhdxn aetephimsmphsinrahwangwrrkhthi 3 aela 4 sungimmiininephlngkhdxn echn thakatxngkaaetng xyuehmuxnkaaetngkhxkatik khxihphiskhnxy caexaipfakthwynamphrik 2 3 ephlnghlk epnephlngthiephimcanwnwrrkhcak 4 wrrkhinephlng 2 praephthtnmaepn 6 wrrkh ephlngpraephthnicaehnwakarerimichsmphspraephthxksrednchdkhunechn 2 3 1 xnkhnerathukwn epriybknkaokhm phxkhnohkhwnohm klxybnewha phxemidkhwnokhmkhun ktklngphunsutha ihy 2 3 2 eksawaphm aekaelwbanphi emuxphmdangamdi klbmahayda imepnphldidxkphm caimniymmntha im 2 4 ephlngsmypccubn khuxephlngthiichrxngelnkninpccubn mikhnadyawkwasmykxn aettharxngcarxngchabangthicnghwaimsmaesmx khunxyukbphurxng rxngchahruxrxngerwimsmaesmxechn oxox praethskhxngithyerathungkhrawaekhb mntxngmikhnaexbdxknaphiexy khnaefngephlngokhrach smyecriycangepnenginmakaephng exngcawaknyngingcathukickhnfngkhxihhnumnahnaphx ehnuxymacananxn thaekhaickhrrilcr ihchiniwnathang xupmaehmuxnyngphra edinnaenr tbmux smywiwthnphthna ekhakawhnamiichnxy machncaedinsxnrxy khxaetihphichayna thayngimcrcanaipthungcud chnkhngimyudphyayam cananxngekhaipekhaihy hruxdngphya eyn 2 5 ephlngcnghwara ephlngpraephthni epnthiichrxngknxyuinsmypccubnechnediywkbthiklawmaaelwinkhx 2 4 aetktangknthitrngcnghwaranicaelnsmphsmak aelasmaesmx samarthekhaacnghwatamid aelakhnathirxng phurxngcarakhymtwiptamcnghwaephlngdwy odycaerimraemuxwaipaelwpraman 4 wrrkh ephraain 4 wrrkhtnnicnghwayngimkrachnhruxkhngthi xacchabangerwbang caradwykidaetepnkarracha ipracnghwaerwthiwrrkhthi 5 8 epnkarcbthxnaerk phrxmthngtbmux 1 khrng phxkhunthxnthi 2 carxngchalngephuxetriymcbhruxetriymlng karrahlxklxknrahwangchayaelahying khuxthafaychayrxng fayhyingkcaradwy thafayhyingrxngfaychaykcaradwy karracungepnkarrathilakhu 3 aebngtamlksnaklxn caidepn 5 praephthkhux ephlngkhusxng ephlngkhusi ephlngkhuaepd aelaephlngkhusibsxng karaebngechnni epnkarkahndpraephthkhlayaebbthiaebngtamwiwthnakarnnexng khuxephlngkhusxngkbkhusi epnephlngkxm swnephlngkhuhk kbkhuaepdepnephlngthiichrxngkninpccubn sungthngsxngpraephthni mikhwamaetktangknephiyngelknxy indancanwnkhainwrrkh swnephlngkhusibsxngnnepnephlngthiddaeplng macakephlngkhuaepd odyephimcanwnkha inwrrkhmakkhun aelarxngerwmak cnghwathiyngimaephrhlaynkinpccubn ephraahmxephlngswnihy cakhidkhaimthn kbthitxngwaerw cungpraktihehn ephiyngelknxyethann 4 aebngtamenuxhakhxngephlng caidhlaychnid echn ephlngekrin ephlngechiy ephlngihwkhru ephlngthamkhaw ephlngchwn ephlngchmnkchmim ephlngekiywephlngepriyb ephlngsaban ephlngda ephlngkhrakhrwy ephlngsukhx ephlngekiywaekmcak ephlngcak ephlngla ephlngphahni ephlngplxb ephlngihwphra ephlngtwediyw ephlngeruxng nithan epntnxangxingxangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux Schliesinger xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux CERD