พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศาสนาและได้บวชก่อนผู้อื่น
พระอัญญาโกณฑัญญะ | |
---|---|
ภาพวาดพระอัญญาโกณฑัญญะ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อเดิม | โกณฑัญญะ |
ชื่ออื่น | โกณฑัญญะพราหมณ์ |
สถานที่เกิด | หมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ กรุงกบิลพัสดุ์ |
สถานที่บวช | ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน |
วิธีบวช | เอหิภิกขุอุปสัมปทา |
สถานที่บรรลุธรรม | อิสิปตนมฤคทายวัน |
เอตทัคคะ | เอตทัคคะในด้านรัตตัญญู (มีราตรีนาน คือบวชก่อนผู้อื่น) |
อาจารย์ | พระพุทธเจ้า |
สถานที่นิพพาน | บรรณศาลาริมสระฉัททันต์ ป่าหิมพานต์ |
ฐานะเดิม | |
ชาวเมือง | กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ |
บิดา | พราหมณ์มหาศาล (ไม่ทราบนาม) |
วรรณะเดิม | พราหมณ์ |
การศึกษา | จบ รู้ตำราทำนายลักษณะมหาบุรุษ |
สถานที่รำลึก | |
สถานที่ | ธรรมเมกขสถูป (สถานที่ได้ดวงตาเห็นธรรม), ธรรมราชิกสถูป (สถานที่บรรลุพระอรหันต์) ภายในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือสารนาถในปัจจุบัน |
ส่วนหนึ่งของ |
พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในช่วง 12 ปีสุดท้ายในบั้นปลายของท่าน ท่านได้ไปพักจำพรรษาและได้นิพพานที่สระฉันทันต์ ป่าหิมพานต์ ในช่วงต้นพุทธกาล
ชาติกำเนิด
พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านโทณวัตถุ กรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ “โกณฑัญญะ” เมื่อเจริญเติบโตขึ้นได้ศึกษาศิลปะวิทยาจบไตรเพทและเรียนมนต์ (วิชาการทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ)
สาเหตุที่ได้เป็นเอตทัคคะ
บุพกรรมในอดีตชาติ
พระอัญญาโกณฑัญญะตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรคหบดีมหาศาล ชาวหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู (แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน หมายถึงได้บวชก่อนใครได้รู้ได้ฟังมาก) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง
ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้าย ได้สั่งให้เปิดเรือนคลังเก็บผ้า นำผ้าเนื้อดีเลิศมาวางถวายไว้แทบยุคลบาทของพระพุทธเจ้าและถวายพระสาวกแล้วกราบทูลว่า
“พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเมื่อ 7 วันก่อนจากนี้ด้วยเถิด นั่นคือขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด”
พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างกำแพงแก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ครั้นถึงวันประดิษฐานพระเจดีย์ ก็ได้สร้างเรือนแก้วไว้ภายในพระเจดีย์อีก จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี
ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรของกระฎุมพีชาวเมืองพันโฌฤฆฏธุมดี มีชื่อว่า “มหากาล” มหากาลมีน้องชายชื่อ “จูฬกาล” (ในชาติสุดท้ายคือสุภัททะปริพาชก) ทั้ง 2 มีอุปนิสัยแตกต่างกัน กล่าวคือ มหากาลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าวิปัสสี แต่จูฬกาลกลับไม่เลื่อมใส ดังนั้น ทั้ง 2 จึงมีความเห็นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการทำบุญ
มหากาลได้แบ่งนาออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ส่วนหนึ่งเป็นสมบัติของตน และอีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นสมบัติของจูฬกาล แล้วได้นำเอาผลิตผลที่เกิดจากนาส่วนของตนนั้นมาทำบุญ จนจวบสิ้นอายุขัย จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภูมิต่าง ๆ
การได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะฝ่ายรัตตัญญู-ผู้รู้ราตรีนาน
เมื่อมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันท่านมาเกิดเป็น บุตรพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล
อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่ได้รู้แจ้งธรรมและบวชในพระพุทธศาสนาก่อนใคร พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ดังกล่าวมาแล้ว
ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ คือ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ ซึ่งมีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน ก็ได้สิ่งที่ปรารถนาไว้คือ ได้ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมก่อนใครและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกันในที่สุด
ความสำคัญในพระพุทธศาสนา
ทำนายพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดา ได้เชิญพราหมณ์ 108 คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีทำนายพระลักษณะ ตามราชประเพณี ให้คัดเลือกพราหมณ์ผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษจาก 108 คน เหลือ 8 คน และมีโกณฑัญญะอยู่ในจำนวน 8 คน นี้ด้วย
ในบรรดาพราหมณ์ทั้ง 8 คนนั้น โกณฑัญญะมีอายุน้อยที่สุดจึงทำนายเป็นคนสุดท้ายฝ่ายพราหมณ์ 7 คนแรก ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของสิทธัตถะอย่างละเอียด เห็นถูกต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ ครบทุกประการแล้ว จึงยกนิ้วมือขึ้น 2 นิ้ว เป็นสัญลักษณ์ในการทำนายเป็น 2 นัย เหมือนกันทั้งหมดว่า
“พระราชกุมารนี้ ถ้าดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปราบปรามได้รับชัยชนะทั่วปฐพีมณฑล ถ้าออกบวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก แนะนำสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่มีศาสดาอื่นยิ่งไปกว่า
ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ได้สั่งสมบารมีมาครบถ้วนตั้งแต่อดีตชาติ และมีความปัญญารู้มากกว่า ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของพระกุมาร โดยละเอียดแล้ว ได้ยกนิ้วขึ้นเพียงนิ้วเดียวเป็นการยืนยันการพยากรณ์อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นนัยเดียวเท่านั้นว่า
“พระราชกุมาร ผู้บริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะอย่างนี้ จะไม่อยู่ครองเพศฆราวาสอย่างแน่นอน จักต้องเสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมิต้องสงสัย”
ออกบวชติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ พระบรมโพธิสัตว์
ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาถึง 29 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบรรพชาโกณฑัญญะพราหมณ์ทราบข่าวก็ดีใจ เพราะตรงกับคำทำนายของตน จึงรีบไปชวนบุตรของพราหมณ์ทั้ง 7 คนที่ร่วมทำนายด้วยกันนั้น โดยกล่าวว่า
“บัดนี้ เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จออกบรรพชาแล้ว พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญเจ้าแน่นอน ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็คงจะออกบวชด้วยกันกับเรา ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะบวชก็จงบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษพร้อมกันเถิด”
บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ยอมออกบวชเพียง 4 คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ โกณฑัญญะ จึงพามาณพทั้ง ๔ คนนั้นพร้อมทั้งตนด้วยรวมเป็น 5 ได้นามบัญญัติว่า “ปัญจวัคคีย์” ออกบวช สืบเสาะ ติดตาม ถามหาพระมหาบุรุษไปตามสถานที่ต่าง ๆ
จนมาพบพระพุทธองค์กำลังบำเพ็ญความเพียรอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมด้วยความมั่นใจว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างแน่นอน จึงพากันเข้าไปอยู่เฝ้าทำกิจวัตรอุปัฏฐาก ด้วยการจัดน้ำใช้ น้ำฉัน และ ปัดกวาดเสนาสนะ เป็นต้น ด้วยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดพวกตนให้รู้ตามบ้าง
เมื่อพระมหาบุรุษ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างอุกฤษฏ์เป็นเวลาถึง 6 ปี ก็ยังไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณ จึงทรงพระดำริว่า “วิธีนี้คงจะไม่ใช่ทางตรัสรู้” จึงทรงเลิกละความเพียรด้วยวิธีทรมานกาย หันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต เลิกอดพระกระยาหาร กลับมาเสวยตามเดิม เพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ ผู้มีความเลื่อมใสในการปฏิบัติ แบบทรมานร่างกาย ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ละความเพียรนั้นแล้ว ก็รู้สึกหมดหวัง จึงพากันเหลีกหนีทิ้งพระโพธิสัตว์ ให้ประทับอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว พากันเที่ยวสัญจรไปพักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี
ครั้นพระโพธิสัตว์ ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา และตรัสรู้ตามได้โดยเร็วในชั้นแรก
พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร แต่ได้ทราบด้วยพระญาณว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ 7 วัน แล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบส รามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณเช่นกันว่าท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เอง
ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงระลึกถึง ปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อสมัยทำทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง 5 พักอาศัย อยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ นั่งสนทนากันอยู่ เห็นพระพุทธองค์เสด็จมาแต่ไกลเข้าใจว่า พระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปัฏฐาก จึงทำกติกากันว่า
“พระสมณโคดมนี้ คลายความเพียรแล้วเวียนมา เพราะความเป็นคนมักมาก พวกเราไม่ควรไหว้ ไม่ควรลุกขึ้นต้อนรับ ไม่รับบาตรและจีวรของพระองค์เลย เพียงแต่จัดอาสนะไว้ เมื่อพระองค์ปรารถนาจะประทับนั่ง ก็จงนั่งตามพระอัธยาศัยเถิด”
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ต่างพากันลืมกติกาที่นัดหมายกันไว้ กลับทำการต้อนรับเป็นอย่างดีดังที่เคยทำมา แต่ยังใช้คำทักทายว่า “อาวุโส” และเรียกพระนามว่า “โคดม” อันเป็นถ้อยคำที่แสดงความไม่เคารพ
ดังนั้น พระพุทธองค์ทรงห้ามแล้วตรัสว่า
“อย่าเลย พวกเธออย่างกล่าวอย่างนั้น บัดนี้ ตถาคตได้บรรลุอมตะธรรมเองโดยชอบแล้ว เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงให้ฟัง เมื่อเธอปฏิบัติตามที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็จะบรรลุอมตะธรรมนั้น”
ปัญจวัคคีย์กล่าวตอบ
“อาวุโสโคดม แม้พระองค์บำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์เห็นปานนั้น ก็ยังไม่บรรลุธรรมพิเศษอันใด บัดนี้พระองค์คลายความเพียรนั้นแล้วหันมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมากแล้วจะบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร”
พระพุทธองค์ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ ให้ระลึกถึงความหลังว่า
“ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า วาจาเช่นนี้ เราเคยพูดกับท่านบ้างหรือไม่”
ปัญจวัคคีย์ ระลึกขึ้นได้ว่า พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงยินยอมพร้อมใจกันฟังพระธรรมเทศนาโดยเคารพ
ได้รับฟังปฐมเทศนา
พระพุทธองค์ ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ โดยตรัสพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา ซึ่งเนื้อความในพระธรรมเทศนานี้ พระพุทธองค์ทรงตำหนิหนทางปฏิบัติอันไร้ประโยชน์ 2 ทาง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
- การปฏิบัติที่ย่อหย่อนเกินไป แสวงหาแต่กามสุขอันพัวพันหมกมุ่นแต่รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งเลวทราม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นกิจของคนกิเลสหนา มิใช่ของพระอริยะ มิใช่ทางตรัสรู้หาประโยชน์มิได้
- การปฏิบัติตนให้ได้รับความลำบาก เคร่งครัดเกินไป กระทำตนให้ได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นการกระทำที่เหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น
จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสชี้แนะวิธีปฏิบัติ แบบ “มัชฌิมาปฏิปทา”
คือ การปฏิบัติแบบกลาง ๆ ไม่ย่อหย่อนเกินไปแบบประเภทที่หนึ่ง และไม่ตึงเกินไป แบบประเภทที่สอง ดำเนินตามทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค คือทางอันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ได้แก่
- สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ (ปัญญาเห็นในอริยสัจ 4)
- สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ (ดำริออกจากกาม ไม่เบียดเบียน ไม่พยาบาท)
- สัมมาวาจา เจรจาชอบ (เว้นจากวจีทุจริต 4)
- สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ (เว้นจากกายทุจริต 3)
- สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ (เว้นจากเลี้ยงชีพในทางที่ผิด)
- สัมมาวายามะ เพียรชอบ (เพียรละความชั่วทำความดี)
- สัมมาสติ ระลึกชอบ (ระลึกในสติปัฏฐาน 4)
- สัมมาสมาธิ ตั้งจิตไว้ชอบ (เจริญฌานทั้ง 4)
เมื่อจบพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา”
พระพุทธองค์ ทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานด้วยความพอพระทัยด้วยพระดำรัสว่า
“อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ”
ซึ่งแปลว่า “โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ”
ด้วยพระพุทธดำรัสนี้ คำว่า “อัญญา” จงเป็นคำนำหน้าชื่อของท่าน โกณฑัญญะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนเป็นที่รู้ทั่วกันว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ ข้าพระพุทธเจ้า
เป็นพระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา
เมื่อท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ด้วยพระดำรัสว่า
“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ โกณฑัญญะ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นพระสงฆ์รูปแรกในโลก และการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
วันต่อ ๆ มา ท่านที่เหลืออีก 4 คน ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน และอุปสมบทด้วยกันทั้งหมด
พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระปัจวัคคีย์ มีญาณแก่กล้า พอที่จะบรรลุธรรมเบื้องสูง ได้แล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” คือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน โปรดพระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอเสขบุคคลด้วยกันทั้งหมด
ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะด้านรัตตัญญู
พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระพุทธองค์ทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนาพร้อมกับพระสาวกรุ่นแรก จำนวน 60 รูป ท่านได้เดินทางไปยังบ้านเดิมของท่าน ได้นำหลานชายชื่อ ปุณณมันตานี ซึ่งเป็นบุตรของ นางมันตานี ผู้เป็นน้องสาวของท่านมาบวช และได้มีชื่อว่า
เพราะความที่ท่านเป็นพระเถระ ผู้มีอายุพรรษากาลมาก มีประสบการณ์มาก จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายในด้าน ผู้รัตตัญญู หมายถึง ผู้รู้ราตรีนาน
บั้นปลายชีวิต
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบหลีกเร้นอยู่ในสถานที่อันสงบวิเวกตามลำพัง ในคัมภีร์มโนรถปูรณี และคัมภีร์ธุรัตวิลาสินี กล่าวไว้ตรง กันว่า เป็นเวลา 12 ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพานท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษา ณ ป่าหิมพานต์ ตามลำพัง
นอกจากต้องการความสงบดังกล่าวแล้ว ยังมีเหตุผลส่วนตัวของท่าน อีก 3 ประการคือ
- ท่านไม่ประสงค์จะเห็นพระอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยแบ่งเบาภาระของพระพุทธองค์ และกิจการพระศาสนาด้านต่าง ๆ ที่ต้องมาแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระผู้เฒ่าชราอย่างท่าน ซึ่งสังขารนับวันจะร่วงโรยและใกล้แตกดับเข้าไปทุกขณะ
- ท่านได้รับความเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก ที่ต้องคอยต้อนรับผู้ไปมาหาสู่ ซึ่งมีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ การอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านจึงไม่เหมาะสมสำหรับพระแก่ชราอย่างท่าน
- ท่านเบื่อหน่ายในความดื้อรั้น ของพระสัทธิวิหาริกรุ่นหลัง ๆ ที่มักประพฤตินอกลู่นอกทาง ห่างไกลจากการบรรลุมรรคผล
ท่านได้อยู่จำพรรษา ในป่าหิมพานต์ บริเวณใกล้สระฉัททันต์ เป็นเวลานาน 12 ปี วันที่ท่านจะนิพพาน ท่านพิจารณาอายุสังขารแล้ว ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลลานิพพาน ครั้นพระพุทธองค์ประทานอนุญาตแล้ว ท่านเดินทางกลับยังป่าหิมพานต์ และนิพพานในบรรณศาลาที่พักริมสระฉัททันต์นั้น
พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก ได้เสด็จไปทำฌาปนกิจศพให้ท่าน
อ้างอิง
- จำเนียร ทรงฤกษ์. (2542). ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 - (โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว สาขาวัดปากน้ำ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภา
- เว็บไซต์ 84000
- เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุพกรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ จาก อรรถกถาธรรมบท
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phraxyyaoknthyya epnphraethrasawkkhxngphraphuththeca epnhnunginpycwkhkhiy aelaphraxsitimhasawkphuepnextthkhkhaindanrttyyu khuxepnphuruthrrmkxnikhrinphraphuththsasnaaelaidbwchkxnphuxunphraxyyaoknthyyaphaphwadphraxyyaoknthyyakhxmulthwipchuxedimoknthyyachuxxunoknthyyaphrahmnsthanthiekidhmubanphrahmnothnwtthu krungkbilphsdusthanthibwchpaxisiptnmvkhthaywnwithibwchexhiphikkhuxupsmpthasthanthibrrluthrrmxisiptnmvkhthaywnextthkhkhaextthkhkhaindanrttyyu miratrinan khuxbwchkxnphuxun xacaryphraphuththecasthanthiniphphanbrrnsalarimsrachththnt pahimphantthanaedimchawemuxngkrungkbilphsdu aekhwnskkabidaphrahmnmhasal imthrabnam wrrnaedimphrahmnkarsuksacb rutarathanaylksnamhaburussthanthiraluksthanthithrrmemkkhsthup sthanthiiddwngtaehnthrrm thrrmrachiksthup sthanthibrrluphraxrhnt phayinpaxisiptnmvkhthaywn hruxsarnathinpccubnswnhnungkhxngsaranukrmphraphuththsasna phraxyyaoknthyya emuxidbrrluepnphraxrhntaelw idmibthbathsakhyinkarephyaephrphraphuththsasna inchwng 12 pisudthayinbnplaykhxngthan thanidipphkcaphrrsaaelaidniphphanthisrachnthnt pahimphant inchwngtnphuththkalchatikaenidphra xyyaoknthyya ekidintrakulphrahmnmhasal inhmubanothnwtthu krungkbilphsdu edimchux oknthyya emuxecriyetibotkhunidsuksasilpawithyacbitrephthaelaeriynmnt wichakarthanaylksnaxyangechiywchay saehtuthiidepnextthkhkhabuphkrrminxditchati phraxyyaoknthyyatngcitprarthnaiwtngaetkhrngphraphuththecapthumuttra khrngnnthanekidepnbutrkhhbdimhasal chawhngswdi wnhnungekhaefaphraphuththeca phrxmkbphwkchawemuxngephuxfngthrrm ehnphraphuththecathrngtngphrasawkruphnungiwintaaehnngextthkhkhadanrttyyu aeplwa phururatrinan hmaythungidbwchkxnikhridruidfngmak aelwekidsrththaprarthnacaidepnechnphrasawkrupnnbang thanaesdngsrththaihpraktdwykarthwaymhathanaedphraphuththecaaelaphrasawktidtxkn 7 wn wnsudthay idsngihepideruxnkhlngekbpha naphaenuxdielismawangthwayiwaethbyukhlbathkhxngphraphuththecaaelathwayphrasawkaelwkrabthulwa phraxngkhphuecriy khxihkhaphraxngkhidepnehmuxnphiksurupthiphraxngkhthrngaetngtngiwintaaehnngextthkhkhaemux 7 wnkxncaknidwyethid nnkhuxkhxihidbwchinsasnakhxngphraphuththecainxnakhtaelwidruaecngthrrmkxnikhrhmd phraphuththecathrngtrwcdukhwamepnipinxnakhtkhxngthandwyphrayanaelw thrngehnwakhwamprarthnakhxngthansaercidaencungthrngphyakrnwa thanidfngphraphuththecatrsphyakrnaelwekidpitiosmnsepnxyangying idthabuyxun snbsnunxyangtxenuxng txmaemuxphraphuththecaesdcdbkhnthpriniphphanaelw idepnkalngsakhyinkarsrangkaaephngaekwlxmphraecdiybrrcuphrabrmsaririkthatukhxngphraxngkh khrnthungwnpradisthanphraecdiy kidsrangeruxnaekwiwphayinphraecdiyxik cakchatinn buysngphlihewiynwaytayekidinphphphumitang cnmathungphuththupbathkalkhxngphraphuththecawipssi chatithiphbphraphuththecawipssinn thanekidepnbutrkhxngkradumphichawemuxngphnochvkhtthumdi michuxwa mhakal mhakalminxngchaychux culkal inchatisudthaykhuxsuphththapriphachk thng 2 mixupnisyaetktangkn klawkhux mhakaleluxmisinphraphuththecawipssi aetculkalklbimeluxmis dngnn thng 2 cungmikhwamehnkhdaeyngxyutlxdewlaekiywkbkarthabuy mhakalidaebngnaxxkepn 2 swn odyihswnhnungepnsmbtikhxngtn aelaxikswnhnungnnepnsmbtikhxngculkal aelwidnaexaphlitphlthiekidcaknaswnkhxngtnnnmathabuy cncwbsinxayukhy cakchatinn buysngphlihewiynwaytayekidinphumitang karidrbkarykyxngwaepnextthkhkhafayrttyyu phururatrinan emuxmathungphuththupbathkalkhxngphraphuththecaphraxngkhpccubnthanmaekidepn butrphrahmnmhasal inhmubanphrahmnothnwtthu sungxyuimiklcakemuxngkbilphsdu khrnxxkbwchkidbrrluxrhtphl xasyehtuthitngcitprarthnamaaetxditchatiprakxbkbehtukarninpccubnchati thiidruaecngthrrmaelabwchinphraphuththsasnakxnikhr phraphuththecacungthrngtngthaniwintaaehnngextthkhkhadanrttyyu dngklawmaaelw fayphrapycwkhkhiythiehlux khux phrawppa phraphththiya phramhanamaaelaphraxsschi sungmixditchatirwmkbphraxyyaoknthyya trngthitngcitprarthnaihidfngphraphuththecaaesdngthrrmkxnikhr aelaprarthnacabrrluxrhtphlphrxmkn kidsingthiprarthnaiwkhux idfngphraphuththecathrngaesdngthrrmkxnikhraelaidsaercepnphraxrhntphrxmkninthisudkhwamsakhyinphraphuththsasnathanayphralksnaphraophthistwecachaysiththttha emuxecachaysiththtthaprasutiid 5 wn phraecasuthoththnaphrabida idechiyphrahmn 108 khn maeliyngophchnaharinphrarachniewsn ephuxthaphithithanayphralksna tamrachpraephni ihkhdeluxkphrahmnphumikhwamechiywchayepnphiesscak 108 khn ehlux 8 khn aelamioknthyyaxyuincanwn 8 khn nidwy inbrrdaphrahmnthng 8 khnnn oknthyyamixayunxythisudcungthanayepnkhnsudthayfayphrahmn 7 khnaerk idphicarnatrwcduphralksnakhxngsiththtthaxyanglaexiyd ehnthuktxngtamtaramhaburuslksnaphyakrnsastr khrbthukprakaraelw cungykniwmuxkhun 2 niw epnsylksninkarthanayepn 2 ny ehmuxnknthnghmdwa phrarachkumarni thadarngxyuinephskhrawas ckidepnphraecackrphrrdi prabpramidrbchychnathwpthphimnthl thaxxkbwchckidtrsruepnphrasmmasmphuththeca epnsasdaexkinolk aenanasngsxnewinystw odyimmisasdaxunyingipkwa swnoknthyyaphrahmn idsngsmbarmimakhrbthwntngaetxditchati aelamikhwampyyarumakkwa idphicarnatrwcduphralksnakhxngphrakumar odylaexiydaelw idykniwkhunephiyngniwediywepnkaryunynkarphyakrnxyangeddediywepnnyediywethannwa phrarachkumar phubriburndwymhaburuslksnaxyangni caimxyukhrxngephskhrawasxyangaennxn cktxngesdcxxkbrrphcha aelaidtrsruepnphrasmmasmphuththecaxyangmitxngsngsy xxkbwchtidtamecachaysiththttha phrabrmophthistw khrnkalewlalwngelymathung 29 pi ecachaysiththttha esdcxxkbrrphchaoknthyyaphrahmnthrabkhawkdiic ephraatrngkbkhathanaykhxngtn cungribipchwnbutrkhxngphrahmnthng 7 khnthirwmthanaydwyknnn odyklawwa bdni ecachaysiththttharachkumar oxrskhxngphraecasuthoththna esdcxxkbrrphchaaelw phraxngkhckidtrsruepnphrasphphyyecaaennxn thabidakhxngphwkthanyngmichiwitxyu kkhngcaxxkbwchdwyknkbera thathanthnghlayprarthnacabwchkcngbwchtamesdcphramhaburusphrxmknethid butrphrahmnehlann yxmxxkbwchephiyng 4 khn khux wppa phththiya mhanama aela xsschi oknthyya cungphamanphthng 4 khnnnphrxmthngtndwyrwmepn 5 idnambyytiwa pycwkhkhiy xxkbwch subesaa tidtam thamhaphramhaburusiptamsthanthitang cnmaphbphraphuththxngkhkalngbaephykhwamephiyrxyuthitablxuruewlaesnanikhmdwykhwammnicwaphraxngkhcaidtrsruphraxnutrsmmasmophthiyanxyangaennxn cungphaknekhaipxyuefathakicwtrxuptthak dwykarcdnaich nachn aela pdkwadesnasna epntn dwyhwngwaemuxphraxngkhidtrsruaelw caidaesdngthrrmoprdphwktnihrutambang emuxphramhaburus thrngbaephythukrkiriyaxyangxukvstepnewlathung 6 pi kyngimidbrrluphraophthiyan cungthrngphradariwa withinikhngcaimichthangtrsru cungthrngeliklakhwamephiyrdwywithithrmankay hnmabaephyephiyrthangcit elikxdphrakrayahar klbmaeswytamedim ephuxbarungphrawrkayihaekhngaerng faypycwkhkhiy phumikhwameluxmisinkarptibti aebbthrmanrangkay khrnehnphraophthistwlakhwamephiyrnnaelw krusukhmdhwng cungphaknehlikhnithingphraophthistw ihprathbxyutamlaphngphraxngkhediyw phaknethiywsycripphkxasyxyuthipaxisiptnmvkhthaywn krungpharansi khrnphraophthistw trsruphraxnutrsmmasmophthiyanaelw thrngdariphicarnahabukhkhlphusmkhwrcarbfngphrapthmethsna aelatrsrutamidodyerwinchnaerk phraxngkhthrngralukthungxacarythngsxngthiphraxngkhekhyekhaipsuksa khux xalardabs kalamokhtr aetidthrabdwyphrayanwathanidthungaekkrrmipid 7 wn aelwaelaxikthanhnung khux xuthkdabs rambutr aetkidthrabdwyphrayanechnknwathanephingcasinchiphipemuxwnwanniexng txcaknn phraphuththxngkhthrngralukthung pycwkhkhiy phusungekhymixupkarkhunaekphraxngkhemuxsmythathukrkiriya aelathrngthrabwakhnanithanthng 5 phkxasy xyuthi paxisiptnmvkhthaywn thrngdaridngniaelw cungidesdcphuththdaeninipsupaxisiptnmvkhthaywn faypycwkhkhiy nngsnthnaknxyu ehnphraphuththxngkhesdcmaaetiklekhaicwa phraxngkhesdcmaephuxaeswnghaphuxuptthak cungthaktikaknwa phrasmnokhdmni khlaykhwamephiyraelwewiynma ephraakhwamepnkhnmkmak phwkeraimkhwrihw imkhwrlukkhuntxnrb imrbbatraelaciwrkhxngphraxngkhely ephiyngaetcdxasnaiw emuxphraxngkhprarthnacaprathbnng kcngnngtamphraxthyasyethid khrnphraphuththxngkhesdcmathung tangphaknlumktikathindhmaykniw klbthakartxnrbepnxyangdidngthiekhythama aetyngichkhathkthaywa xawuos aelaeriykphranamwa okhdm xnepnthxykhathiaesdngkhwamimekharph dngnn phraphuththxngkhthrnghamaelwtrswa xyaely phwkethxxyangklawxyangnn bdni tthakhtidbrrluxmtathrrmexngodychxbaelw ethxthnghlaycngtngicfngethid eracaaesdngihfng emuxethxptibtitamthierasxnaelw imnankcabrrluxmtathrrmnn pycwkhkhiyklawtxb xawuosokhdm aemphraxngkhbaephyxyangxukvstehnpannn kyngimbrrluthrrmphiessxnid bdniphraxngkhkhlaykhwamephiyrnnaelwhnmaptibtiephuxkhwamepnkhnmkmakaelwcabrrluxmtthrrmidxyangir phraphuththxngkhtrsetuxnpycwkhkhiy ihralukthungkhwamhlngwa thanthnghlaycaidhruximwa wacaechnni eraekhyphudkbthanbanghruxim pycwkhkhiy ralukkhunidwa phraxngkhimekhytrsmakxnely cungyinyxmphrxmicknfngphrathrrmethsnaodyekharph idrbfngpthmethsna phraphuththxngkh thrngprakasphrasphphyyutyanaekehlapycwkhkhiy odytrsphrathrrmckrkpwtnsutr epnpthmethsna sungenuxkhwaminphrathrrmethsnani phraphuththxngkhthrngtahnihnthangptibtixnirpraoychn 2 thang thibrrphchitimkhwresph khux karptibtithiyxhyxnekinip aeswnghaaetkamsukhxnphwphnhmkmunaetrup esiyng klin rs aelasmphs sungepnsingelwthram epnehtuihtngbaneruxn epnkickhxngkhnkielshna miichkhxngphraxriya miichthangtrsruhapraoychnmiid karptibtitnihidrbkhwamlabak ekhrngkhrdekinip krathatnihidrbkhwamthukkhthrman epnkarkrathathiehnuxyepla immipraoychn imichthangaehngkhwamhludphn caknn phraphuththxngkhtrschiaenawithiptibti aebb mchchimaptiptha khux karptibtiaebbklang imyxhyxnekinipaebbpraephththihnung aelaimtungekinip aebbpraephththisxng daenintamthangsayklangsungepnkhxptibtiihthungkhwamdbthukkh eriykwa xriyxtthngkhikmrrkh khuxthangxnprakxbdwyxngkh 8 prakar idaek smmathitthi ehnchxb pyyaehninxriysc 4 smmasngkppa darichxb darixxkcakkam imebiydebiyn imphyabath smmawaca ecrcachxb ewncakwcithucrit 4 smmakmmnta thakarnganchxb ewncakkaythucrit 3 smmaxachiwa eliyngchiphchxb ewncakeliyngchiphinthangthiphid smmawayama ephiyrchxb ephiyrlakhwamchwthakhwamdi smmasti ralukchxb ralukinstiptthan 4 smmasmathi tngcitiwchxb ecriychanthng 4 emuxcbphrathrrmethsna thrrmcksu khux dwngtaehnthrrmxnprascakthulimlthin ekidkhunaekoknthyyawa singidsinghnungmikhwamekidkhunepnthrrmda singnnthnghmdmikhwamdbipepnthrrmda phraphuththxngkh thrngthrabwa oknthyyaiddwngtaehnthrrm epnphraosdabnbukhkhlinphraphuththsasnaaelw cungthrngeplngxuthandwykhwamphxphrathydwyphradarswa xy yasi wt oph okn thy oy xy yasi wt oph okn thy oy sungaeplwa oknthyya idruaelwhnx oknthyya idruaelwhnx dwyphraphuththdarsni khawa xyya cngepnkhanahnachuxkhxngthan oknthyya tngaetnnepntnma cnepnthiruthwknwa phraxyyaoknthyya khaphraphuththeca epnphrasngkhrupaerkinphuththsasna emuxthanidbrrluthrrmepnphraosdabnaelw thanidkrabthulkhxxupsmbth phraphuththxngkhprathankarxupsmbthihdwyphradarswa ethxcngepnphiksumaethid thrrmxneraklawdiaelw ethxcngpraphvtiphrhmcrry ephuxthathisudthukkhodychxbethid dwyphrawacaephiyngethani oknthyya ksaercepnphraphiksuinphraphuththsasna nbwaepnphrasngkhrupaerkinolk aelakarxupsmbthdwywithinieriykwa exhiphikkhuxupsmptha wntx ma thanthiehluxxik 4 khn kidbrrluepnphraosdabn aelaxupsmbthdwyknthnghmd phraphuththxngkhthrngphicarnaehnwa phrapcwkhkhiy miyanaekkla phxthicabrrluthrrmebuxngsung idaelw cungtrsphrathrrmethsna xnttlkkhnsutr khuxsutrthiaesdnglksnaaehngebyckhnthwaepnxnttakhwamimmitwtn oprdphrapycwkhkhiy emuxcbphrathrrmethsna kidbrrluphraxrhtphl epnphraxeskhbukhkhldwyknthnghmd idrbykyxngwaepnextthkhkhadanrttyyu phraxyyaoknthyya emuxxxkphrrsapwarnaaelw phraphuththxngkhthrngsngxxkipprakasphrasasnaphrxmkbphrasawkrunaerk canwn 60 rup thanidedinthangipyngbanedimkhxngthan idnahlanchaychux punnmntani sungepnbutrkhxng nangmntani phuepnnxngsawkhxngthanmabwch aelaidmichuxwa ephraakhwamthithanepnphraethra phumixayuphrrsakalmak miprasbkarnmak cungidrbykyxngcakphrabrmsasda intaaehnngextthkhkha epneliskwaphiksu thnghlayindan phurttyyu hmaythung phururatrinanbnplaychiwitphraxyyaoknthyya epnphraethraphuetha imchxbkhlukkhlidwyhmukhna chxbhlikernxyuinsthanthixnsngbwiewktamlaphng inkhmphirmonrthpurni aelakhmphirthurtwilasini klawiwtrng knwa epnewla 12 pi kxnthithancaniphphanthanidkrabthullaphrabrmsasdaipcaphrrsa n pahimphant tamlaphng nxkcaktxngkarkhwamsngbdngklawaelw yngmiehtuphlswntwkhxngthan xik 3 prakarkhux thanimprasngkhcaehnphraxkhrsawk khux phrasaributrethra aelaphramhaomkhkhllanethra phuepnkalngsakhyinkarchwyaebngebapharakhxngphraphuththxngkh aelakickarphrasasnadantang thitxngmaaesdngkhwamekharphnxbnxmtxphraphuethachraxyangthan sungsngkharnbwncarwngoryaelaiklaetkdbekhaipthukkhna thanidrbkhwamehndehnuxyxyangmak thitxngkhxytxnrbphuipmahasu sungmithngbrrphchitaelakhvhsth karxyuinesnasnaiklbancungimehmaasmsahrbphraaekchraxyangthan thanebuxhnayinkhwamduxrn khxngphrasththiwiharikrunhlng thimkpraphvtinxklunxkthang hangiklcakkarbrrlumrrkhphl thanidxyucaphrrsa inpahimphant briewniklsrachththnt epnewlanan 12 pi wnthithancaniphphan thanphicarnaxayusngkharaelw idmaefaphraphuththxngkh ephuxkrabthullaniphphan khrnphraphuththxngkhprathanxnuyataelw thanedinthangklbyngpahimphant aelaniphphaninbrrnsalathiphkrimsrachththntnn phraphumiphraphakhphrxmdwyphrasngkhsawkcanwnmak idesdcipthachapnkicsphihthanxangxingcaeniyr thrngvks 2542 chiwprawtiphuththsawk prawtiphraxcchriyamhaethraemuxkhrngphuththkal elm 1 odysankptibtithrrmswnaekw sakhawdpakna krungethph sankphimphthrrmspha ewbist 84000 ewbicht thrrma ektewy 2009 04 15 thi ewyaebkaemchchin buphkrrmkhxngphraxyyaoknthyya cak xrrthkthathrrmbth