เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: microeconomics) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ และความสัมพันธ์ของการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้น
หัวข้อศึกษาหลักข้อหนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการศึกษากลไกการทำงานของตลาด ซึ่งกำหนดของสินค้าต่างๆ และจัดสรรสินค้าเหล่านั้นให้กับแต่ละฝ่าย แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มีฐานเริ่มต้นเป็นการตัดสินใจของแต่ละผู้บริโภคแต่ละคนที่ต้องการตัดสินใจเพื่อให้ได้รับสูงสุด และองค์กรธุรกิจที่ต้องการกำไรสูงสุด แบบจำลองเศรษฐศาสตร์จุลภาค มักมีพื้นฐานเป็นปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อศึกษาหัวข้อเฉพาะทางต่างๆ เช่น ตลาดแรงงาน สาธารณสุข การศึกษา
การจำแนกเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค
การจำแนกเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ออกเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ในปี 1933 เขียนบทความที่กล่าวถึงคำว่า "micro-dynamic" และ "macro-dynamic" ในความหมายที่ใกล้เคียงกับการจำแนกเนื้อหาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค แนวคิดการแบ่งจุลภาคและมหภาคนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากที่จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ตีพิมพ์ตำรา General Theory of Employment, Interest and Money ในปี 1936 ซึ่งมีการแยกแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตและการจ้างงานแบบมวลรวม ออกจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตลาดหรือหน่วยธุรกิจย่อยๆ จากคำอธิบายของ งานเขียนชิ้นแรกที่ใช้คำว่า "microeconomics" โดยตรงคือบทความของ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1941
ความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคให้ความสำคัญกับการอธิบายพฤติกรรมและความสำคัญระหว่างหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย เช่น ผู้บริโภคแต่ละคน หรือองค์กรธุรกิจแต่ละแห่ง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นให้ความสำคัญกับตัวแปรมวลรวมทางเศรษฐกิจ เช่น การบริโภคมวลรวม การลงทุน การจ้างงาน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางระเบียบวิธีทางทฤษฎีระหว่างเศรษฐศาสตร์สองแขนงนี้แคบลงในยุคหลัง จากการที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคเริ่มมีการใช้ "รากฐานแบบจุลภาค" ที่ใช้แบบจำลองพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วยเป็นฐานของแบบจำลองเศรษฐกิจระดับมหภาค แนวทางรากฐานแบบจุลภาคนี้มีฐานจากงานของในช่วงทศวรรษ 1970
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค
ระเบียบวิธีและข้อสมมติพื้นฐาน
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการจำลองพฤติกรรมของบุคคลหรือองค์กรต่างๆ และศึกษาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจเหล่านั้น โดยแต่ละบุคคลเลือกทางเลือกที่ตัวเองต้องการมากที่สุดในบรรดาทางเลือกที่เป็นไปได้ของตัวเอง แบบจำลองทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จึงมีลักษณะเป็นการหาค่าเหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์ (แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคอาจถือเอาว่าองค์กรธุรกิจแต่ละหน่วยเปรียบเสมือนมีผู้ตัดสินใจหนึ่งคน ) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคจึงประกอบไปด้วยการระบุผู้ตัดสินใจ ทางเลือกที่ทำได้ และวัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจ วัตถุประสงค์ของผู้ตัดสินใจนี้ มักจะเป็นการทำกำไรสูงสุด ในกรณีขององค์กรธุรกิจ หรือสูงสุด ในกรณีของปัจเจกบุคคล
อุปสงค์และอุปทานในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
แบบจำลองว่าด้วย ตั้งข้อสมมติว่าผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าทราบราคาสินค้าต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ แล้วเลือกปริมาณการบริโภคหรือการผลิตของตนเองเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์สูงสุด โดยที่ผู้ซื้อหรือผู้ผลิตแต่ละรายไม่ได้พิจารณาว่าปริมาณการซื้อหรือขายของตัวเองมีผลเปลี่ยนแปลงราคาตลาดได้ การตัดสินใจของผู้ซื้อและผู้ขายเขียนออกมาได้ในรูปแบบของฟังก์ชันอุปสงค์และอุปทาน ที่ระบุปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายที่ราคาแต่ละระดับ
ระบุว่า ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นจะลดลง ในขณะที่ระบุว่า ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ปริมาณความต้องการขายสินค้านั้นจะเพิ่มขึ้น ตลาดอยู่ในภาวะสมดุล ถ้าราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจนั้น ทำให้ปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานของสินค้าแต่ละชนิดเท่ากัน
ข้อที่หนึ่ง พิสูจน์ว่า การจัดสรรทรัพยากรในจุดสมดุลแบบแข่งขันสมบูรณ์ มี นั่นคือ ไม่มีการจัดสรรทรัพยากรในทางอื่นที่สามารถทำให้บุคคลหนึ่งพึงพอใจมากขึ้นโดยไม่ทำให้อีกคนหนึ่งพึงพอใจน้อยลงได้
ทฤษฎีผู้บริโภคและทฤษฎีผู้ผลิต
แบบจำลองอุปสงค์และอุปทาน มีที่มาจากจำลองการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้ผลิตในลักษณะของการหาค่าที่เหมาะที่สุดทางคณิตศาสตร์ เรียกว่าทฤษฎีผู้บริโภคและทฤษฎีผู้ผลิต
ในทฤษฎีผู้บริโภค ข้อสมมติตั้งต้นคือผู้บริโภคแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจสามารถจัดลำดับความพึงพอใจกับการบริโภคสินค้าในแต่ละรูปแบบ ดังนั้นผู้บริโภคแต่ละคนจะเลือกปริมาณสินค้าแต่ละชนิดที่ต้องการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ความพึงพอใจสูงสุดภายใต้งบประมาณของตัวเอง เราจึงสามารถเขียนปริมาณความต้องการซื้อได้ออกมาเป็นฟังก์ชันของราคา
ทฤษฎีผู้ผลิต ตั้งข้อสมมติว่าผู้ผลิตแต่ละรายมีสามารถแปลงปัจจัยการผลิตเป็นผลผลิตด้วยเทคโนโลยีบางอย่าง ผู้ผลิตแต่ละรายทราบราคาสินค้าในตลาดและเลือกผลิตภายใต้เทคโนโลยีของตัวเองให้ได้กำไรสูงสุด
แต่เดิมที นักเศรษฐศาสตร์ในยุคคลาสสิกในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ให้เหตุผลสนับสนุนกฎอุปสงค์ด้วยข้อสมมติที่เคร่งครัดกว่าที่ใช้ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในยุคหลัง โดยตั้งข้อสมมติว่ามนุษย์วัดความสุขและความทุกข์ได้ในรูปของที่สามารถวัดและเปรียบเทียบกันได้ตามพื้นฐานปรัชญาแบบอรรถประโยชน์นิยม ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคในยุคหลังได้ลดทอนข้อสมมติเรื่องอรรถประโยชน์นี้ลง โดยสามารถตั้งสัจพจน์พื้นฐานที่มีลักษณะทั่วไปกว่า ที่ยังคงให้ผลลัพธ์ในลักษณะของฟังก์ชันอรรถประโยชน์และกฎอุปสงค์ได้
การแข่งขันไม่สมบูรณ์
ในแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายตัดสินใจโดยที่คิดว่าลำพังพฤติกรรมการซื้อหรือขายสินค้าของตัวเอง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดได้ การตัดสินใจของแต่ละคนนั้นจึงมีลักษณะเป็นปัญหาการหาค่าที่เหมาะที่สุดโดยที่มีราคาเป็นปัจจัยภายนอก หากว่าผู้ขายหรือผู้ซื้อเลือกพฤติกรรมของตัวเองโดยที่คำนึงถึงว่าพฤติกรรมของตัวเองจะมีผลเปลี่ยนแปลงราคาได้โดยตรง ผลลัพธ์ของตลาดก็จะแตกต่างจากการแข่งขันสมบูรณ์ ตัวอย่างแบบจำลองประเภทนี้ได้แก่ เป็นต้น สาขาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นสาขาที่เจาะจงศึกษารูปแบบการแข่งขันไม่สมบูรณ์แบบต่างๆ
ผลกระทบภายนอก
ในแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์ การผลิตหรือบริโภคสินค้าของแต่ละคน ไม่ส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ นอกเหนือจากผลผ่านการเปลี่ยนแปลงของราคาสมดุลในตลาด ผลกระทบภายนอก เป็นแนวคิดที่จำลองผลที่การผลิตหรือบริโภคของคนหนึ่ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของคนอื่นโดยตรง เช่น การก่อมลภาวะที่ผู้ผลิตสินค้าไม่ได้พิจารณาต้นทุนที่เกิดขึ้นต่อคนอื่น ผลกระทบภายนอกนี้สามารถเป็นทั้งผลดีและผลเสีย หากว่าการผลิตหรือบริโภคสินค้าหนึ่งส่งผลกระทบภายนอกต่อคนอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจการผลิตหรือการบริโภคนั้น การผลิตและบริโภคในจุดสมดุลก็จะไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต
สารสนเทศไม่สมมาตร
หากว่าผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดมี ผลลัพธ์ในตลาดนั้นๆ อาจแตกต่างจากผลลัพธ์ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งทำให้การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต
ตัวอย่างหนึ่งของปัญหาสารสนเทศไม่สมมาตรคือ ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลฝ่ายหนึ่งไม่สามารถทราบลักษณะที่แท้จริงของอีกฝ่ายได้ เช่น ผู้ซื้อสินค้ามือสองไม่ทราบคุณภาพสินค้าที่แท้จริงเท่ากับเจ้าของเดิม หรือผู้รับประกันภัยไม่ทราบความเสี่ยงที่แท้จริงของผู้เอาประกันมากเท่ากันตัวผู้เอาประกัน ในกรณีของสินค้ามือสอง ผู้ซื้อไม่ทราบคุณภาพที่แท้จริงของสินค้าแต่ละชิ้น ราคาตลาดที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายจึงเป็นราคาที่คาดการณ์เผื่อว่าสินค้าที่ได้รับเป็นสินค้าคุณภาพต่ำ ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายถ้ามั่นใจว่าสินค้าที่ได้รับมีคุณภาพสูง แต่ราคาตลาดนี้ทำให้เจ้าของสินค้าเดิมที่ทราบว่าสินค้าตัวเองมีคุณภาพต่ำ ยินดีที่จะขายมากกว่าเจ้าของสินค้าคุณภาพสูง ทำให้มีสินค้าคุณภาพต่ำมาขายมากกว่าคุณภาพสูง สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพแบบปาเรโต เพราะผู้ซื้อยินดีซื้อสินค้าคุณภาพสูงที่ผู้ขายยินดีขาย แต่การซื้อขายนี้ไม่เกิดขึ้นเนื่องจากสารสนเทศที่ไม่สมมาตร
ประยุกต์
เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์ (อังกฤษ: Applied Microeconomics) เป็นคำเรียกรวมๆ ที่หมายถึงการนำหลักเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาประยุกต์เพื่อศึกษาหัวข้อเป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นต้น การศึกษาในหัวข้อเหล่านี้มักนำแนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่น กลไกราคา อุปสงค์และอุปทาน มาศึกษาหัวข้อเจาะจงทั้งในเชิงทฤษฎีและ
อ้างอิง
- Varian, Hal R. (1987). "Microeconomics". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_1212-1. ISBN .
- Tubaro, Paola (2015). "Microeconomics, History of". ใน Wright, James D. (บ.ก.). International encyclopedia of the social & behavioral sciences (2 ed.). Oxford: Elsevier. pp. 331–337. ISBN .
- Howitt, Peter (1987). "Macroeconomics: Relations with microeconomics". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_691-1. ISBN .
- Janssen, Maarten C. W. (2008). "Microfoundations". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_2707-1. ISBN .
- Shubik, Martin (1970). "A curmudgeon's guide to microeconomics". Journal of Economic Literature. 8 (2): 405–434. ISSN 0022-0515. JSTOR 2720472.
- Jehle, Geoffrey A.; Reny, Philip J. (2011). Advanced microeconomic theory. Pearson. ISBN .
- Varian, Hal (2014). Intermediate microeconomics: A modern approach (9 ed.). W. W. Norton & Company. ISBN .
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
esrsthsastrculphakh xngkvs microeconomics epnsakhakhxngesrsthsastrsungsuksakartdsinicinradbbukhkhlhruxxngkhkrthurkic aelakhwamsmphnthkhxngkartdsinickhxngaetlafay esrsthsastrculphakhaetktangcakesrsthsastrmhphakh thiphicarnakhwamsmphnthrahwangtwaeprthangesrsthkicinradbmwlrwm echn phlitphnthmwlrwm xtraenginefx xtrakarwangngan epntn hwkhxsuksahlkkhxhnungkhxngesrsthsastrculphakhkhuxkarsuksaklikkarthangankhxngtlad sungkahndkhxngsinkhatang aelacdsrrsinkhaehlannihkbaetlafay aebbcalxngesrsthsastrculphakh mithanerimtnepnkartdsinickhxngaetlaphubriophkhaetlakhnthitxngkartdsinicephuxihidrbsungsud aelaxngkhkrthurkicthitxngkarkairsungsud aebbcalxngesrsthsastrculphakh mkmiphunthanepnpyhakarhakhaehmaathisudthangkhnitsastr nkesrsthsastrprayuktthvsdiesrsthsastrculphakhephuxsuksahwkhxechphaathangtang echn tladaerngngan satharnsukh karsuksakarcaaenkesrsthsastrculphakhaelamhphakhkarcaaenkenuxhawichaesrsthsastrxxkepnesrsthsastrculphakhaelaesrsthsastrmhphakh ekidkhuninstwrrsthi 20 inpi 1933 ekhiynbthkhwamthiklawthungkhawa micro dynamic aela macro dynamic inkhwamhmaythiiklekhiyngkbkarcaaenkenuxhaesrsthsastrculphakhaelamhphakh aenwkhidkaraebngculphakhaelamhphakhnnidrbkhwamniymmakkhunhlngcakthicxhn emynard ekhns tiphimphtara General Theory of Employment Interest and Money inpi 1936 sungmikaraeykaenwkhidthangthvsdithiekiywkhxngkbphlphlitaelakarcangnganaebbmwlrwm xxkcakthvsdithiekiywkhxngkbtladhruxhnwythurkicyxy cakkhaxthibaykhxng nganekhiynchinaerkthiichkhawa microeconomics odytrngkhuxbthkhwamkhxng sungtiphimphinpi 1941 khwamaetktangrahwangesrsthsastrculphakhkbesrsthsastrmhphakh khux thvsdiesrsthsastrculphakhihkhwamsakhykbkarxthibayphvtikrrmaelakhwamsakhyrahwanghnwyesrsthkicaetlahnwy echn phubriophkhaetlakhn hruxxngkhkrthurkicaetlaaehng inkhnathiesrsthsastrmhphakhnnihkhwamsakhykbtwaeprmwlrwmthangesrsthkic echn karbriophkhmwlrwm karlngthun karcangngan epntn xyangirktam khwamaetktangthangraebiybwithithangthvsdirahwangesrsthsastrsxngaekhnngniaekhblnginyukhhlng cakkarthithvsdiesrsthsastrmhphakherimmikarich rakthanaebbculphakh thiichaebbcalxngphvtikrrmkhxnghnwyesrsthkicaetlahnwyepnthankhxngaebbcalxngesrsthkicradbmhphakh aenwthangrakthanaebbculphakhnimithancakngankhxnginchwngthswrrs 1970thvsdiesrsthsastrculphakhraebiybwithiaelakhxsmmtiphunthan thvsdiesrsthsastrculphakhepnkarcalxngphvtikrrmkhxngbukhkhlhruxxngkhkrtang aelasuksakhwamsmphnthkhxngkartdsinicehlann odyaetlabukhkhleluxkthangeluxkthitwexngtxngkarmakthisudinbrrdathangeluxkthiepnipidkhxngtwexng aebbcalxngthvsdiesrsthsastrcungmilksnaepnkarhakhaehmaathisudthangkhnitsastr aebbcalxngthangesrsthsastrculphakhxacthuxexawaxngkhkrthurkicaetlahnwyepriybesmuxnmiphutdsinichnungkhn aebbcalxngthangesrsthsastrculphakhcungprakxbipdwykarrabuphutdsinic thangeluxkthithaid aelawtthuprasngkhkhxngphutdsinic wtthuprasngkhkhxngphutdsinicni mkcaepnkarthakairsungsud inkrnikhxngxngkhkrthurkic hruxsungsud inkrnikhxngpceckbukhkhl xupsngkhaelaxupthanintladaekhngkhnsmburn aephnphumiesnaesdngxupsngkhaelaxupthanthiphbehnthwip ihaekntngaesdngrakhaaelaaeknnxnaesdngprimansinkha esnxupsngkh siaedng milksnaladlng inkhnathiesnxupthan sinaengin chnkhun cudtdkhxngesnxupsngkhaelaesnxupthan epncuddulyphaphkhxngtlad thirakhadulyphaph P aelaprimandulyphaph Q aebbcalxngwadwy tngkhxsmmtiwaphusuxaelaphukhaysinkhathrabrakhasinkhatang inrabbesrsthkic aelweluxkprimankarbriophkhhruxkarphlitkhxngtnexngephuxihtwexngidpraoychnsungsud odythiphusuxhruxphuphlitaetlarayimidphicarnawaprimankarsuxhruxkhaykhxngtwexngmiphlepliynaeplngrakhatladid kartdsinickhxngphusuxaelaphukhayekhiynxxkmaidinrupaebbkhxngfngkchnxupsngkhaelaxupthan thirabuprimankhwamtxngkarsuxhruxkhwamtxngkarkhaythirakhaaetlaradb rabuwa tharakhasinkhaephimkhunaelw primankhwamtxngkarsuxsinkhachnidnncaldlng inkhnathirabuwa tharakhasinkhaephimkhunaelw primankhwamtxngkarkhaysinkhanncaephimkhun tladxyuinphawasmdul tharakhasinkhainrabbesrsthkicnn thaihprimanxupsngkhaelaprimanxupthankhxngsinkhaaetlachnidethakn khxthihnung phisucnwa karcdsrrthrphyakrincudsmdulaebbaekhngkhnsmburn mi nnkhux immikarcdsrrthrphyakrinthangxunthisamarththaihbukhkhlhnungphungphxicmakkhunodyimthaihxikkhnhnungphungphxicnxylngid thvsdiphubriophkhaelathvsdiphuphlit aebbcalxngxupsngkhaelaxupthan mithimacakcalxngkartdsinickhxngphubriophkhaelaphuphlitinlksnakhxngkarhakhathiehmaathisudthangkhnitsastr eriykwathvsdiphubriophkhaelathvsdiphuphlit inthvsdiphubriophkh khxsmmtitngtnkhuxphubriophkhaetlakhninrabbesrsthkicsamarthcdladbkhwamphungphxickbkarbriophkhsinkhainaetlarupaebb dngnnphubriophkhaetlakhncaeluxkprimansinkhaaetlachnidthitxngkarbriophkhephuxthicaihidkhwamphungphxicsungsudphayitngbpramankhxngtwexng eracungsamarthekhiynprimankhwamtxngkarsuxidxxkmaepnfngkchnkhxngrakha thvsdiphuphlit tngkhxsmmtiwaphuphlitaetlaraymisamarthaeplngpccykarphlitepnphlphlitdwyethkhonolyibangxyang phuphlitaetlaraythrabrakhasinkhaintladaelaeluxkphlitphayitethkhonolyikhxngtwexngihidkairsungsud aetedimthi nkesrsthsastrinyukhkhlassikinchwngtnstwrrsthi 19 ihehtuphlsnbsnunkdxupsngkhdwykhxsmmtithiekhrngkhrdkwathiichinthvsdiesrsthsastrculphakhinyukhhlng odytngkhxsmmtiwamnusywdkhwamsukhaelakhwamthukkhidinrupkhxngthisamarthwdaelaepriybethiybknidtamphunthanprchyaaebbxrrthpraoychnniym thvsdiesrsthsastrculphakhinyukhhlngidldthxnkhxsmmtieruxngxrrthpraoychnnilng odysamarthtngscphcnphunthanthimilksnathwipkwa thiyngkhngihphllphthinlksnakhxngfngkchnxrrthpraoychnaelakdxupsngkhid karaekhngkhnimsmburn inaebbcalxngkaraekhngkhnsmburn phusuxaelaphukhayaetlaraytdsinicodythikhidwalaphngphvtikrrmkarsuxhruxkhaysinkhakhxngtwexng imsamarthepliynaeplngrakhaintladid kartdsinickhxngaetlakhnnncungmilksnaepnpyhakarhakhathiehmaathisudodythimirakhaepnpccyphaynxk hakwaphukhayhruxphusuxeluxkphvtikrrmkhxngtwexngodythikhanungthungwaphvtikrrmkhxngtwexngcamiphlepliynaeplngrakhaidodytrng phllphthkhxngtladkcaaetktangcakkaraekhngkhnsmburn twxyangaebbcalxngpraephthniidaek epntn sakhaesrsthsastrxutsahkrrmepnsakhathiecaacngsuksarupaebbkaraekhngkhnimsmburnaebbtang phlkrathbphaynxk inaebbcalxngkaraekhngkhnsmburn karphlithruxbriophkhsinkhakhxngaetlakhn imsngphlodytrngtxkhwamepnxyukhxngkhnxun inrabbesrsthkic nxkehnuxcakphlphankarepliynaeplngkhxngrakhasmdulintlad phlkrathbphaynxk epnaenwkhidthicalxngphlthikarphlithruxbriophkhkhxngkhnhnung sngphltxkhwamepnxyukhxngkhnxunodytrng echn karkxmlphawathiphuphlitsinkhaimidphicarnatnthunthiekidkhuntxkhnxun phlkrathbphaynxknisamarthepnthngphldiaelaphlesiy hakwakarphlithruxbriophkhsinkhahnungsngphlkrathbphaynxktxkhnxunthiimidepnphutdsinickarphlithruxkarbriophkhnn karphlitaelabriophkhincudsmdulkcaimmiprasiththiphaphaebbpaerot sarsnethsimsmmatr hakwaphusuxaelaphukhayintladmi phllphthintladnn xacaetktangcakphllphthintladaekhngkhnsmburn sungthaihkarcdsrrthrphyakrimmiprasiththiphaphaebbpaerot twxyanghnungkhxngpyhasarsnethsimsmmatrkhux sunghmaythungsthankarnthibukhkhlfayhnungimsamarththrablksnathiaethcringkhxngxikfayid echn phusuxsinkhamuxsxngimthrabkhunphaphsinkhathiaethcringethakbecakhxngedim hruxphurbpraknphyimthrabkhwamesiyngthiaethcringkhxngphuexapraknmakethakntwphuexaprakn inkrnikhxngsinkhamuxsxng phusuximthrabkhunphaphthiaethcringkhxngsinkhaaetlachin rakhatladthiphusuxyindicaycungepnrakhathikhadkarnephuxwasinkhathiidrbepnsinkhakhunphaphta sungtakwarakhathiphusuxyindicaythamnicwasinkhathiidrbmikhunphaphsung aetrakhatladnithaihecakhxngsinkhaedimthithrabwasinkhatwexngmikhunphaphta yindithicakhaymakkwaecakhxngsinkhakhunphaphsung thaihmisinkhakhunphaphtamakhaymakkwakhunphaphsung sthankarnnithaihekidkhwamimmiprasiththiphaphaebbpaerot ephraaphusuxyindisuxsinkhakhunphaphsungthiphukhayyindikhay aetkarsuxkhayniimekidkhunenuxngcaksarsnethsthiimsmmatrprayuktesrsthsastrculphakhprayukt xngkvs Applied Microeconomics epnkhaeriykrwm thihmaythungkarnahlkesrsthsastrculphakhmaprayuktephuxsuksahwkhxepnkarechphaaecaacng echn esrsthsastrxutsahkrrm epntn karsuksainhwkhxehlanimknaaenwkhidphunthankhxngesrsthsastrculphakh echn klikrakha xupsngkhaelaxupthan masuksahwkhxecaacngthnginechingthvsdiaelaxangxingVarian Hal R 1987 Microeconomics New Palgrave dictionary of economics London Palgrave Macmillan doi 10 1057 978 1 349 95121 5 1212 1 ISBN 978 1 349 95121 5 Tubaro Paola 2015 Microeconomics History of in Wright James D b k International encyclopedia of the social amp behavioral sciences 2 ed Oxford Elsevier pp 331 337 ISBN 978 0 08 097087 5 Howitt Peter 1987 Macroeconomics Relations with microeconomics New Palgrave dictionary of economics London Palgrave Macmillan doi 10 1057 978 1 349 95121 5 691 1 ISBN 978 1 349 95121 5 Janssen Maarten C W 2008 Microfoundations New Palgrave dictionary of economics London Palgrave Macmillan doi 10 1057 978 1 349 95121 5 2707 1 ISBN 978 1 349 95121 5 Shubik Martin 1970 A curmudgeon s guide to microeconomics Journal of Economic Literature 8 2 405 434 ISSN 0022 0515 JSTOR 2720472 Jehle Geoffrey A Reny Philip J 2011 Advanced microeconomic theory Pearson ISBN 978 0 273 73191 7 Varian Hal 2014 Intermediate microeconomics A modern approach 9 ed W W Norton amp Company ISBN 978 0 393 12396 8