ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าหรือบริการในระยะเวลาหนึ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น เงินตราหนึ่งหน่วยจึงสามารถซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง ดังนั้นจึงอาจมองได้ว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นการสะท้อนถึงอำนาจการซื้อที่ลดลงต่อหนึ่งหน่วยเงินตรา หรือปริมาณการสูญเสียมูลค่าที่แท้จริงของตัวกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าในเศรษฐกิจ วิธีวัดค่าความเฟ้อของราคาสินค้าทำโดยการหาอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงประจำปีของดรรชนีราคาโดยมีหน่วยเป็นอัตราร้อยละ เงินเฟ้อเป็นภาวะตรงข้ามกับภาวะเงินฝืด
ภาวะเงินเฟ้อมีผลต่อเศรษฐกิจทั้งบวกและลบ ผลเสียที่เกี่ยวข้องกับภาวะเงินเฟ้อรวมถึงการเพิ่มของต้นทุนค่าเสียโอกาสในการไม่ใช้เงินและการทำให้ผู้บริโภคกักตุนสินค้าเนื่องจากประเมินว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต (หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มอย่างรวดเร็ว)
ผลเชิงบวกของอัตราเงินเฟ้อมีดังนี้:
- โดยหลักการภาวะเงินเฟ้อช่วยสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนใช้จ่ายและลงทุนเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทำให้เงินที่เก็บไว้มีมูลค่าน้อยลงเรื่อย ๆ การเพิ่มการใช้จ่ายและลงทุนถือเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจแต่ในขณะเดียวกันการกระตุ้นในลักษณะนี้อาจส่งผลให้ทรัพยากรไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ภาวะเงินเฟ้อช่วยลดภาระหนี้ที่แท้จริงของทั้งภาครัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่นการทำสัญญาเงินกู้ซึ่งมีอัตราเบี้ยคงที่ ภาวะเงินเฟ้อทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นในขณะที่รายจ่ายต่อเดือนเพื่อใช้หนี้ยังคงเดิม ดังนั้นลูกหนี้จึงมีเงินเหลือต่อเดือนมากขึ้นว่าเดิม
- ภาวะเงินเฟ้อช่วยรักษาอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางให้มากกว่าศูนย์ ดังนั้นธนาคารกลางจึงสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเวลาจำเป็นเพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
- อัตราเงินเฟ้อช่วยลดอัตราการว่างงานในกรณีที่การว่างงานมีสาเหตุมาจากความหนืดของอัตราค่าจ้าง ยกตัวอย่างเช่น หลายครั้งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอุปสงค์การจ้างแรงงานจะลดลงแต่ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินยังเท่าเดิม เหตุการณ์นี้ทำให้อุปสงค์และอุปทานไม่สามารถเข้าถึงจุดสมดุลได้ (เนื่องผู้จ้างไม่ต้องการแรงงานแต่จำนวนของผู้ต้องการงานมีเท่าเดิมเพราะเงินเดือนเท่าเดิม) ผลจึงทำให้เกิดการว่างงาน การลดมูลค่าที่แท้จริงของค่าจ้างซึ่งเกิดจากภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้จ้างสามารถจ้างคนงานเพิ่มได้ดังนั้นจึงถือเป็นการลดอัตราการว่างงาน
นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อที่มีอัตราสูงและภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดเกิดจากการขยายตัวของปริมาณเงินที่มากเกินไป อย่างไรก็ดีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเสมอไป เช่น ในกรณีกับดักสภาพคล่องที่การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยธนาคารกลางไม่ทำให้เกิดการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เนื่องจากมีความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เช่น ภาวะเงินฝืด อุปสงค์มวลรวมที่ไม่เพียงพอหรือสงคราม คนจึงเก็บเงินไม่ใช้จ่ายหรือกู้เพื่อลงทุน มุมมองว่าปัจจัยใดทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อต่ำถึงปานกลางยังแตกต่างกันอยู่มาก ภาวะเงินเฟ้อต่ำจนถึงปานกลางอาจเกิดจากความผันผวนของอุปสงค์ที่แท้จริงในตัวสินค้าและบริการ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าเช่นการแคลนสินค้า อย่างไรก็ตามฉันทามติของการเกิดภาวะเงินเฟ้อในระยะยาวเกิดจากการขยายตัวของปริมาณเงินที่เร็วกว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นชอบกับการมีอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำและคงที่ อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ (แทนที่จะเป็นศูนย์หรือติดลบ) จะช่วยลดความรุนแรงของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจด้วยการช่วยให้ตลาดแรงงานสามารถปรับตัวได้เร็วขึ้น (จากการลดมูลค่าที่แท้จริงของค่าจ้าง) และลดความเสี่ยงของการเกิดกับดักสภาพคล่องซึ่งทำให้นโยบายการเงินไม่สามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ธนาคารกลางมีหน้าที่รักษาอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำและมีเสถียรภาพโดยผ่านนโยบายการเงิน ไม่ว่าจะด้วยการตั้งค่าของอัตราดอกเบี้ย การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดเปิด หรือการตั้งค่าเงินสำรองขั้นต่ำที่ธนาคารพาณิชย์พึงมี
ภาวะเงินเฟ้อในประวัติศาสตร์
การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเกิดขึ้นในสังคมทุกยุคทุกสมัย จะแตกต่างก็เพียงชนิดของเงินที่ใช้ (เช่นธนบัตร เปลือกหอย หรือ อัญมณี) ยกตัวอย่างสมัยที่ยังมีการใช้เหรียญทองคำแทนเงิน รัฐบาลสามารถนำเหรียญทองมาเจือจางด้วยโลหะอื่น ๆ เช่น เงิน ทองแดง หรือ ตะกั่ว แล้วนำกลับไปใช้ในระบบที่มูลค่าหน้าเหรียญเท่าเดิม การเพิ่มเหรียญให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณทองคำเท่าเดิมถือเป็นการทำกำไรซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า การออกหนี้ (หรือเงิน) โดยไม่มีต้นทุน (หรือลดต้นทุน) เมื่อปริมาณเหรียญในระบบเพิ่มขึ้นมูลค่าที่แท้จริงของเหรียญแต่ละเหรียญจึงลดลง ผู้บริโภคจึงต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการในปริมาณเท่าเดิม
ราชวงศ์ซ่งของจีนเป็นผู้ริเริ่มการตีพิมพ์เงินกระดาษหรือธนบัตรและถือเป็นเงินตราที่บังคับให้ประชาชนใช้โดยที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองครั้งแรกของโลก ในช่วงราชวงศ์หยวนของมองโกลรัฐบาลใช้เงินอย่างมากมายไปกับการศึกสงคราม จึงจัดให้มีการพิมพ์ธนบัตรอย่างมากมายและทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดผู้คนหยุดใช้ธนบัตรเนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียง "กระดาษไร้ค่า" รัฐบาลในสมัยราชวงศ์หมิงตอนต้นเกรงกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์หยวน จึงอนุญาตให้ใช้เงินที่ทำจากเหรียญทองแดงเท่านั้นและไม่มีการออกเงินกระดาษจนกระทั่งปีค.ศ. 1375
หลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการนำทองหรือแร่เงินเข้าสู่ระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ สามารถทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15 จนถึงครึ่งแรกของศควรรษที่ 17 ประเทศยุโรปตะวันตกได้เผชิญกับวงจรเงินเฟ้อครั้งสำคัญซึ่งเรียกว่า การปฏิวัติทางราคา โดยที่สินค้ามีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณหกเท่าภายในเวลา 150 ปี สาเหตุหลักมาจากการหลั่งไหลของแร่เงินและทองจากโลกใหม่เข้าสู่สเปนในสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์กอย่างรวดเร็ว แร่เงินได้กระจายเข้าสู่ยุโรปซึ่งขาดแคลนตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างกว้างขวาง ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากรในยุโรปหลังการระบาดครั้งใหญของโรคกาฬโรคถือเป็นส่วนเสริมให้มีการขยับขึ้นของราคาสินค้าเช่นเดียวกัน
ในช่วงศตวรรษที่ 19 นักเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการขึ้นลงของราคาสินค้ามีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพื้นฐานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า (2) การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งก็คือแร่โลหะที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินนั้น ๆ เช่น ทองคำ หรือ เงิน และ (3) "การลดค่าของสกุลเงิน" ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของปริมาณเงินตรากับปริมาณของโลหะสำรองที่เงินตรานั้น ๆ สามารถนำไปแลกได้ หลังจากมีการใช้บัตรธนาคาร (ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์) อย่างแพร่หลายในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา คำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงเริ่มมีความหมายตรงกับการลดค่าของสกุลเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบัตรธนาคารได้แซงปริมาณของโลหะที่บัตรธนาคารนั้น ๆ สามารถทำไปแลกได้ ในสมัยนั้น "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงหมายถึงการลดค่าของสกุลเงินแทนที่จะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า
นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิคเช่น เดวิด ฮูม และ เดวิด ริคาร์โด ชี้ให้สังคมเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่มากเกินไปของบัตรธนาคารและการลดค่าของตัวบัตร และภายหลังได้ทำการตรวจสอบและอภิปรายผลกระทบของการลดค่าของสกุลเงินที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า
ในช่วงศตวรรษที่ 18 หลายประเทศนำระบบเงินกระดาษที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองมาใช้ จึงทำให้เกิดสกุลเงินต่าง ๆ ขึ้นมากมาย นับตั้งแต่สมัยนั้นการเพิ่มขึ้นของการใช้เงินกระดาษส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดหลายครั้งในหลายประเทศ และในแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากกว่าในสมัยที่ยังใช้เงินที่ทำจากแร่โลหะ ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในสาธารณรัฐไวมาร์ของเยอรมนีเป็นถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ
คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง
ในอดีตคำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" มักถูกใช้เพื่ออ้างถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินที่ไหลเวียนในระบบ แต่ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้คำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" เพื่อกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้า โดยใช้คำว่าความเฟ้อของตัวเงิน (monetary inflation) เพื่อเจาะจงเวลาต้องการสื่อถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน และใช้ความเฟ้อของราคา (price inflation) เพื่อบอกถึงการเพิ่มของราคาสินค้า
ตามหลักการ "ภาวะเงินเฟ้อ" หมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั่ว ๆ ไป หากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเฉพาะสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งตัวอย่างเช่น ถ้ามะเขือเทศแพงขึ้นในขณะที่แตงกวาถูกลงนั่นไม่ถือว่าเกิดจากภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อสามารถเห็นได้ง่ายหากสกุลเงินถูกผูกไว้กับทองคำ หากมีการค้นพบทองคำมาก ๆ ปริมาณทองคำจะสามารถแลกสินค้าได้น้อยลง ดังนั้นผู้ซื้อต้องนำทองคำหรือสกุลเงินซึ่งถูกผูกไว้กับทองคำนั้น ๆ ในปริมาณมากกว่าเดิมไปแลกสินค้า
คำศัพท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเฟ้อรวมถึง ภาวะเงินฝืด (การลดลงของราคาสินค้า), ภาวะเงินเฟ้อลด (การลดลงของอัตราเงินเฟ้อ), ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวด (ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่สามารถควบคุมได้), ภาวะชะงักงันที่มีเงินเฟ้อ (เหตุการณ์ที่มีภาวะอัตราเงินเฟ้อร่วมกับการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจและการว่างงานสูง), การเพิ่มอัตราการหมุนเวียนเงินในประเทศ (ความพยายามที่จะยกระดับของราคาสินค้าเพื่อที่จะรับมือภาวะเงินฝืด) และ เงินเฟ้อในราคาสินทรัพย์ (การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคาของสินค้าและบริการ)
การวัดอัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อสามารถคำนวณได้จากดรรชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเกิดจากการนำราคาสินค้าและการบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำมาคำนวณ และ ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งนำเอาราคาสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในประเทศมาคำนวณ
ในประเทศไทยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่รับผิดชอบในการคำนวณและประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ
สาระสำคัญในการประเมินอัตราเงินเฟ้อ
การวัดอัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจนั้นจำต้องใช้การวัดอย่างเป็นรูปธรรมโดยจะดูจากการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป และจำต้องแยกจากการเปลี่ยนแปลงของราคาซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ คุณภาพ หรือ ประสิทธิภาพของสินค้า ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาของข้าวโพดกระป๋องขนาด 10 ออนซ์ เปลี่ยนจากราคา 30 บาทเป็น 35 บาทในห้วงเวลาหนึ่งปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพและปริมาณ ความแตกต่างของราคาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นตัวแทนของอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเพียงชนิดเดียวไม่สามารถเป็นตัวแทนของของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้ การวัดอัตราเงินเฟ้อโดยรวมจะต้องดูจากการเปลี่ยนแปลงราคาของ "ตะกร้า" สินค้าและบริการในปริมาณมาก ๆ นี่คือวัตถุประสงค์ของการหาค่าดรรชนีราคาซึ่งก็คือ ราคารวมของสินค้าและการบริการทั้งหมดใน "ตะกร้า" โดยราคารวมหมายถึง ผลรวมของราคาถ่วงน้ำหนักของสินค้าทั้งหมดที่อยู่ใน "ตะกร้า" และราคาถ่วงน้ำหนักจะสามารถหาได้จากราคาต่อหน่วยของสินค้าคูณด้วยจำนวนสินค้าชนิดนั้น ๆ ในตะกร้าของผู้บริโภค การหาราคาถ่วงน้ำหนักเป็นวิธีที่จำเป็นในการวัดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าต่อหน่วยที่มีต่อผลอัตราเงินเฟ้อโดยรวมของระบบเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่นดรรชนีราคาผู้บริโภคจะคำนวณจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยการสำรวจตามบ้านเพื่อหาว่าผู้บริโภคทั่วไปใช้เงินซื้อสินค้าแต่ละชนิดเป็นสัดส่วนเท่าไร และทำการถ่วงน้ำหนักราคาสินค้าเหล่านั้นตามปริมาณของสินค้าที่ถูกซื้อ และเพื่อที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ให้ดีขึ้น การทำดัชนีมักจะเลือกราคาใน "ปีฐาน" และกำหนดค่าให้เท่ากับ 100 โดยดัชนีราคาในปีถัดมาจะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับราคาในปีฐาน ดังนั้นการเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อในหลาย ๆ ช่วงเวลาจึงควรคำนึงถึงราคาในปีฐานซึ่งอาจไม่เท่ากันด้วย
สาเหตุ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางแล้วว่าทฤษฎีปริมาณเงินเป็นทฤษฎีที่สามารถใช้อธิบายและคาดการณ์รูปแบบของเงินเฟ้อในระยะยาวได้ดีสุด ดังนั้นข้อตกลงในหมู่นักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับเงินเฟ้อก็คือ อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับอัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นและกลางอาจมาจากแรงกดดันอุปสงค์ (ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น) และอุปทาน (ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น) ในระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของค่าจ้าง ราคาสินค้า และ อัตราดอกเบี้ย คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในระยะสั้นและกลางจะมีผลกระทบมากหรือน้อยต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่อย่างไร นี่คือหัวข้อหลักของการโต้เถียงระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมและนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม ราคาและค่าจ้างมักปรับตัวไปพร้อม ๆ กันพอที่จะทำให้ไม่เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจระยะยาว ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ราคาสินค้าและค่าจ้างปรับมักปรับตัวไปไม่พร้อมกันทำให้ความเกิดความแตกต่างที่ทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม
นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมใช้ทฤษฎีปริมาณเงินเพื่ออธิบายว่า ภาวะเงินเฟ้อจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ ถ้ามีการพิมพ์ธนบัตรหรือผลิตเหรียญเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มูลค่าของเงินลดลง เนื่องจากมีปริมาณของเงินในมือของผู้บริโภคและผู้ผลิตเพิ่มขึ้น อำนาจการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการมีเงินเพิ่มขึ้น ผลักดันให้มีการแย่งชิงสินค้าและบริการซึ่งหากเศรษฐกิจเติบโตไม่ทันกับการขยายตัวของปริมาณเงิน ก็จะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น หรือเกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา ด้วยเหตุผลนี้นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมจึงพิจารณาว่าการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าขึ้นของรัฐบาลไม่ว่าจะโดยการออกนโยบายการคลัง โดยลดภาษีหรือเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐถือเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้จริง
นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมมักกล่าวว่าการศึกษาเชิงประจักษ์ของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเงินได้แสดงให้เห็นแล้วว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ดูสมการทฤษฎีปริมาณเงิน MV = PQ M แทนปริมาณเงิน V แทนการหมุนเวียนของเงินเป็นครั้ง P แทนราคาสินค้า Q แทนปริมาณสินค้า %ΔM+%ΔV = %ΔP+%ΔQ %ΔM แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน %ΔV แทนอัตราการหมุนเวียนของเงิน %ΔP แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า หรืออัตราเงินเฟ้อ %ΔQ แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้า หรือ GDP ตัวอย่างเช่น นาย A ไปซื้อของ 1 ชิ้นก็จะเป็นรายได้ของพ่อค้าซึ่งพ่อค้าก็จะเอาธนบัตร 100 บาทของนาย A ไปซื้อของต่อ ตามตัวอย่างนี้ปริมาณเงินทั้งระบบมีเพียงธนบัตร 100 บาทใบเดียว (M = 100) แต่ใช้ 2 ครั้ง (V = 2) จะเท่ากับซื้อของได้ 2 ชิ้น (Q = 2) ชิ้นละ 100 บาท (P = 100) เนื่องจาก V หรือ การหมุนเวียนของเงินของทั้งระบบเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมเชื่อว่ารัฐบาลควบคุมไม่ได้และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ดังนั้น %ΔV จึงใกล้เคียงหรือเท่ากับ 0 หากรัฐบาลผลิตเงินตราเข้าสู่ระบบมากเกินกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้า (%ΔM มากกว่า %ΔQ) ก็จะเป็นแรงกดดันให้ราคาสินค้าเพิ่ม (%ΔP จะเป็นบวก) หรือทำให้เกิดเงินเฟ้อ ในทางกลับกันหากรัฐบาลนำเงินตราเข้าระบบน้อยเกินไป (%ΔM น้อยกว่า %ΔQ) เมื่อเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก็อาจส่งผลให้เกิดเงินฝืด (%ΔP เป็นลบ)
มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อราคาสินค้า ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันในทางเศรษฐกิจ สาเหตุหรือแรงกดดันที่นำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ซึ่งโรเบิร์ต เจ กอร์ดอน เรียกว่า "Triangle Model" ได้แก่
- เงินเฟ้อแบบบิลท์อิน (Built-in inflation) ซึ่งเกิดจากการปรับตัวที่เป็นผลมาจากการคาดการณ์ เช่นพนักงานในบริษัทเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือน (ในอัตราที่สูงกว่าเงินเฟ้อ) บริษัทจึงปล่อยให้ต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นภาระของลูกค้า แล้วราคาสินค้าและค่าแรงก็ผลัดกันเป็นต้นเหตุและผลเกลียวแล้วเกลียวเล่า Price/Wage Spiral จนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ (vicious circle) ทำให้ราคาสินค้าลอยขึ้นไปค้างเติ่งบนยอดดอย (hangover inflation)
- ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
- ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้น ๆ จึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
นโยบายการเงิน
รัฐบาลและธนาคารกลางส่วนใหญ่ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐสามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ชะลอหรือหยุดการผลิตเงิน เพื่อให้เกิดการลดปริมาณของเงินในระบบ ธนาคารกลางบางแห่งมีเป้าหมายควบคุมเงินเฟ้อแบบสมมาตร (symmetrical inflation target) กล่าวคือควบคุมไม่ให้อัตราเงินเฟ้อต่ำหรือสูงเกินไป ในขณะที่ธนาคารกลางบางแห่งจะเพียงควบคุมอัตราเงินเฟ้อเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ธนาคารกลางส่วนใหญ่จะได้รับมอบหมายให้รักษาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารภายในประเทศในระดับที่ต่ำ ซึ่งโดยปกติจะมีเป้าหมายคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไว้ที่ประมาณ 2% ถึง 3% ซึ่งจะอยู่ในช่วงเป้าหมายประจำปีของอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีค่าประมาณ 2% ถึง 6% ธนาคารกลางมักกำหนดเป้าหมายอัตราเงินให้เฟ้อต่ำ แต่ไม่เป็นลบเพราะผู้บริหารธนาคารกลางส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเงินฝืดนั้นเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ
การปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นสามารถทำให้ปริมาณของเงินในระบบลดลงได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้คนขอสินเชื่อน้อยลง โดยปกติเงินใหม่ที่จะถูกสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในรูปแบบของสินเชื่อหรือการปล่อยเงินกู้จากธนาคาร หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือหากธนาคารต้องการจะปล่อยเงินกู้ ธนาคารจำต้องสร้างเงินใหม่เพื่อนำไปใช้ปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการปล่อยกู้เงิน เงินในระบบจึงมีปริมาณมากขึ้น และหากลูกหนี้จ่ายคืนเงินกู้ ธนาคารก็สามารถที่จะทำลายเงินนั้นทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง ยกตัวอย่างเช่นในต้นปี 1980 เมื่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ปริมาณเงินของธนาคารกลางสหรัฐมีค่าลดลงถึงร้อยละ 8.1 จาก 8.6 ล้านล้าน เหลือเพียง 7.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมจะเน้นอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเงินและการใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์จะเน้นการลดอุปสงค์รวมในช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการสร้างอุปสงค์ขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ การควบคุมของอุปสงค์รวมในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์สามารถทำได้โดยใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง (เช่นการเก็บภาษีเพิ่มหรือลดการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อลดอุปสงค์รวม)
การตรึงอัตราแลกเปลี่ยน
ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน หมายถึงการผูกมูลค่าของสกุลเงินนั้น ๆ ให้เท่ากับมูลค่าของสกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ที่มีความแข็งแกร่งเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ) หรือสกุลเงินของหลาย ๆ ประเทศ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสามารถนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เนื่องจากมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิงมีการเพิ่มและลดลงตลอดเวลา ดังนั้นมูลค่าของเงินในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ซึ่งหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้น ๆ จะถูกกำหนดโดยอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้นโยบายการเงินของตัวเองในการที่จะบรรลุเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคได้
ภายใต้ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ ประเทศหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้ทำการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ แต่ข้อเสียคือทำให้ประเทศเหล่านั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีค่าเงิน ดังนั้นภายหลังจากที่ข้อตกลงเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 ประเทศต่าง ๆ จึงได้ทยอยหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อย่างไรก็ดีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 มีหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาใต้เช่น อาร์เจนตินา (ค.ศ. 1991 - 2002), โบลิเวีย, บราซิลและชิลี) ได้หวนกลับไปใช้การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ระบบมาตรฐานทองคำ
ระบบมาตรฐานทองคำเป็นระบบการเงินที่ประเทศต่างใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยแต่ละประเทศจะต้องกำหนดความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างหน่วยเงินของประเทศของตัวเองกับทองคำ ในระบบนี้สกุลเงินของประเทศต่าง ๆ ไม่ถือว่ามีมูลค่าด้วยตัวของมันเอง แต่ผู้ค้ายอมรับตัวเงินเนื่องจากสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ ตัวอย่างเช่น ธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐในอดีตจะมีการประทับตรารับรองบนธนบัตรว่าสามารถนำไปแลกเป็นแร่เงินได้จากรัฐบาล
มาตรฐานทองคำได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วนภายหลังการนำข้อตกลงเบรตตันวูดส์มาใช้ ภายใต้ระบบนี้เงินสกุลใหญ่ทุกสกุลจะถูกตรึงให้มีอัตราคงที่กับเงินดอลลาร์ ในขณะที่เงินดอลลาร์จะถูกผูกติดอยู่กับทองคำในอัตรา 35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ ระบบเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในปี 1971 ทำให้ประเทศส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้ระบบเงินกระดาษที่รัฐบาลไม่ต้องถือเงินทุนสำรอง ซึ่งหมายถึงการที่เงินตรามีค่าตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด
ศาสตราจารย์ไวท์ (Lawrence H. White) และฮาเยค (F. A. Hayek) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจได้กล่าวไว้ว่า หากระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับมาตรฐานทองคำโอกาสที่ประเทศจะพบอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 2 ต่อปีนั้นมีอยู่น้อยมาก อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐต้องพบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 2% หลายครั้งและจุดที่สูงที่สุดของอัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นภายใต้มาตรฐานทองคำ เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อภายหลังจากที่มาตรฐานทองคำได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำ อัตราเงินเฟ้อ (หรือภาวะเงินฝืด) ในระยะยาวจะถูกกำหนดโดยอัตราการเติบโตของปริมาณของทองคำที่ถูกผลิตขึ้น จึงมีผู้วิจารณ์ว่าระบบทองคำทำให้เกิดความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินจะถูกกำหนดจากผลผลิตการทำเหมืองแร่ทองคำเป็นหลัก
การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้า
การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้านั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีการนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในอดีต การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้ามักจะทำให้เกิดผลดีในช่วงภาวะสงครามเมื่อนำมาใช้ร่วมกับการปันส่วนอาหารและเครื่องบริโภค อย่างไรก็ตามในบริบทอื่น ๆ ผลลัพธ์ของการควบคุมราคาสินค้ามีทั้งดีและร้าย ตัวอย่างความล้มเหลวของการควบคุมเงินเฟ้อด้วยวิธีนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีการกำหนดค่าจ้างและการควบคุมราคาโดยประธานาธิบดีบดี ริชาร์ด นิกสัน ในปีค.ศ. 1972 ในขณะที่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจะเห็นได้จากข้อตกลงราคาสินค้าและค่าจ้างของออสเตรเลีย และข้อตกลงวาสเสนน่าของประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยทั่วไปการควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้าจะถูกมองว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวซึ่งสามารถนำมาใช้เฉพาะในกรณีพิเศษ และจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อใช้ร่วมกับนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อแก้ต้นเหตุของภาวะเงินเฟ้อ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเข้าสู่ภาวะสงครามก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จึงใช้การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้าชั่วคราว ในขณะที่รัฐบาลควรออกนโยบายแก้ปัญหาต้นเหตุของภาวะเงินเฟ้อซึ่งก็คือการยุติหรือการมีชัยชนะจากสงคราม การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณที่บิดเบี้ยวไปยังตลาด การบังคับให้ขายสินค้าในราคาต่ำมักจะเป็นต้นเหตุของการจำกัดการกระจายและการขาดแคลนสินค้า และการทำให้นักลงทุนไม่อยากนำสินค้ามาขายในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้าให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม หากจะใช้การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์อาจกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการใด ๆ ที่มีราคาต่ำจะมีการบริโภคสูง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ปริมาณของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในตลาดจะลดต่ำลง หากไม่มีการปรับตัวของราคาสินค้าให้กลับมา ณ จุดเดิมก็จะไม่เกิดการลงทุนเพื่อที่จะผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในอนาคต และจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรงในระยะยาว
หมายเหตุ
- See:
- Wyplosz & Burda 1997 (Glossary);
- Blanchard 2000 (Glossary)
- Barro 1997 (Glossary)
- Abel & Bernanke 1995 (Glossary)
- Why price stability? 2008-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Central Bank of Iceland, Accessed on September 11, 2008.
- Paul H. Walgenbach, Norman E. Dittrich and Ernest I. Hanson, (1973), Financial Accounting, New York: Harcourt Brace Javonovich, Inc. Page 429. "The Measuring Unit principle: The unit of measure in accounting shall be the base money unit of the most relevant currency. This principle also assumes that the unit of measure is stable; that is, changes in its general purchasing power are not considered sufficiently important to require adjustments to the basic financial statements."
- Mankiw 2002, pp. 22–32
- Mankiw 2002, pp. 238–255
- Robert Barro and Vittorio Grilli (1994), European Macroeconomics, Ch. 8, p. 139, Fig. 8.1. Macmillan, .
- (November 2010). (PDF). . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-17. สืบค้นเมื่อ 2015-10-28.
- ; . (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-17. สืบค้นเมื่อ 2015-10-28.
- "MZM velocity". สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
- Mankiw 2002, pp. 81–107
- Abel & Bernanke 2005, pp. 266–269
- Hummel, Jeffrey Rogers. "Death and Taxes, Including Inflation: the Public versus Economists" (January 2007).[1] p.56
- "Escaping from a Liquidity Trap and Deflation: The Foolproof Way and Others" Lars E.O. Svensson, Journal of Economic Perspectives, Volume 17, Issue 4 Fall 2003, pp. 145–166
- Taylor, Timothy (2008). Principles of Economics. Freeload Press. ISBN .
- Dobson, Roger (January 27, 2002). . The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2011. สืบค้นเมื่อ April 12, 2010.
- (1996). Coinage in the Roman Economy, 300 B.C. to A.D. 700. Baltimore: . ISBN .
- "Annual Report (2006), Royal Canadian Mint, p. 4" (PDF). Mint.ca. สืบค้นเมื่อ May 21, 2011.
- Frank Shostak, "Commodity Prices and Inflation: What's the connection", Mises Institute 2009-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Richard von Glahn (1996). Fountain of Fortune: Money and Monetary Policy in China, 1000–1700. University of California Press. p. 48. ISBN .
- Paul S. Ropp (2010). China in World History. Oxford University Press. p. 82. ISBN .
- Peter Bernholz (2003). Monetary Regimes and Inflation: History, Economic and Political Relationships. Edward Elgar Publishing. pp. 53–55. ISBN .
- , American Treasure and the Price Revolution in Spain, 1501–1650 Harvard Economic Studies, 43 (Cambridge, Massachusetts: , 1934)
- (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 6, 2009.
- Walton, Timothy R. (1994). The Spanish Treasure Fleets. Pineapple Press (FL). p. 85. ISBN .
- Bernholz, Peter; Kugler, Peter (August 1, 2007). "The Price Revolution in the 16th Century: Empirical Results from a Structural Vectorautoregression Model" – โดยทาง ideas.repec.org.
- Tracy, James D. (1994). Handbook of European History 1400–1600: Late Middle Ages, Renaissance, and Reformation. Boston: Brill Academic Publishers. p. 655. ISBN .
- Michael F. Bryan, "On the Origin and Evolution of the Word 'Inflation' 2008-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- Mark Blaug, "Economic Theory in Retrospect", pg. 129: "...this was the cause of inflation, or, to use the language of the day, 'the depreciation of banknotes.'"
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1922). "Inflation". Encyclopædia Britannica (12th ed.). London & New York: The Encyclopædia Britannica Company.
- Michael F. Bryan, On the Origin and Evolution of the Word "Inflation"{research/Commentary/1997/]
- "What is inflation? - Inflation, explained - Vox". Vox. July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
- Federal Reserve Board's semiannual Monetary Policy Report to the CongressRoundtable Introductory statement by Jean-Claude Trichet on July 1, 2004
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
- Lagassé, Paul (2000). "Monetarism". The Columbia Encyclopedia (6th ed.). New York: Columbia University Press. .
- [Friedman, Milton. A Monetary History of the United States 1867-1960 (1963).]
- Monetarism The Basics
- [Robert J. Gordon (1988), Macroeconomics: Theory and Policy, 2nd ed., Chap. 22.4, 'Modern theories of inflation'. McGraw-Hill.]
- http://www.vcharkarn.com/varticle/34764
- (2008). "Inflation". ใน (บ.ก.). (2nd ed.). Indianapolis: . ISBN . OCLC 237794267.
- Bordo, Michael D. (2002). "Gold Standard". The Concise Encyclopedia of Economics. Library of Economics and Liberty.
- Barsky, Robert B; DeLong, J Bradford (1991). "Forecasting Pre-World War I Inflation: The Fisher Effect and the Gold Standard". Quarterly Journal of Economics. 106 (3): 815–836. doi:10.2307/2937928. JSTOR 2937928. สืบค้นเมื่อ September 27, 2008.
- DeLong, Brad. . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2010. สืบค้นเมื่อ September 25, 2008.
อ้างอิง
- ; ; Croushore, Dean (2005). Macroeconomics (5th ed.). Pearson. ISBN . Measurement of inflation is discussed in Ch. 2, pp. 45–50; Money growth & Inflation in Ch. 7, pp. 266–269; Keynesian business cycles and inflation in Ch. 9, pp. 308–348.
- (1997). Macroeconomics. Cambridge, MA.: MIT Press. p. 895. ISBN .
- (2000). Macroeconomics (2nd ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall. ISBN .
- (2002). Macroeconomics (5th ed.). Worth. ISBN . Measurement of inflation is discussed in Ch. 2, pp. 22–32; Money growth & Inflation in Ch. 4, pp. 81–107; Keynesian business cycles and inflation in Ch. 9, pp. 238–255.
- ; (1993). Macroeconomics. New York: W.W. Norton. p. 637. ISBN .
- ; Wyplosz, Charles (1997). Macroeconomics: a European text. Oxford [Oxfordshire]: . ISBN .
หนังสืออ่านเพิ่ม
- World Bank, 2018. Inflation in Emerging and Developing Economies: Evolution, Drivers and Policies. Edited by Jongrim Ha, M. Ayhan Kose, and Franziska Ohnsorge.
- , "The Honest Government's Guide to the Revenue From the Creation of Money," Journal of Political Economy, Vol. 82, No. 3, May/June 1974, pp. 598–606.
- and , Macroeconomics: Principles and Policy, Tenth edition. Thomson South-Western, 2006. ISBN
- Friedman, Milton, Nobel lecture: Inflation and unemployment 1977
- , The Economics of Money, Banking, and Financial Markets, New York, Harper Collins, 1995.
- , "Understanding Inflation and the Implications for Monetary Policy: A Phillips Curve Retrospective" สิงหาคม 26, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Conference Series 53, June 9–11, 2008, Chatham, Massachusetts. (Also cf. article)
แหล่งข้อมูลอื่น
- สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisud phawaenginefx xngkvs inflation hmaythung karthiradbrakhasinkhahruxbrikarinrayaewlahnungsungkhuneruxy xyangtxenuxngxtraenginefxthwolkinpi 2019 emuxrakhasinkhasungkhun engintrahnunghnwycungsamarthsuxsinkhaaelabrikaridnxylng dngnncungxacmxngidwaphawaenginefxepnkarsathxnthungxanackarsuxthildlngtxhnunghnwyengintra hruxprimankarsuyesiymulkhathiaethcringkhxngtwklangthiichinkaraelkepliynsinkhainesrsthkic withiwdkhakhwamefxkhxngrakhasinkhathaodykarhaxtraenginefx sungcakhanwncakkarepliynaeplngpracapikhxngdrrchnirakhaodymihnwyepnxtrarxyla enginefxepnphawatrngkhamkbphawaenginfud phawaenginefxmiphltxesrsthkicthngbwkaelalb phlesiythiekiywkhxngkbphawaenginefxrwmthungkarephimkhxngtnthunkhaesiyoxkasinkarimichenginaelakarthaihphubriophkhkktunsinkhaenuxngcakpraeminwarakhacaephimkhuninxnakht hakxtraenginefxephimxyangrwderw phlechingbwkkhxngxtraenginefxmidngni odyhlkkarphawaenginefxchwysrangaerngcungicihthukkhnichcayaelalngthunenuxngcakphawaenginefxthaihenginthiekbiwmimulkhanxylngeruxy karephimkarichcayaelalngthunthuxepnpraoychntxrabbesrsthkicaetinkhnaediywknkarkratuninlksnanixacsngphlihthrphyakrimthuknaipichihekidpraoychnsungsud phawaenginefxchwyldpharahnithiaethcringkhxngthngphakhrthaelaexkchn twxyangechnkarthasyyaenginkusungmixtraebiykhngthi phawaenginefxthaihkhaaerngephimkhuninkhnathiraycaytxeduxnephuxichhniyngkhngedim dngnnlukhnicungmienginehluxtxeduxnmakkhunwaedim phawaenginefxchwyrksaxtradxkebiykhxngthnakharklangihmakkwasuny dngnnthnakharklangcungsamarthldxtradxkebiyewlacaepnephuxthicakratunesrsthkic xtraenginefxchwyldxtrakarwangnganinkrnithikarwangnganmisaehtumacakkhwamhnudkhxngxtrakhacang yktwxyangechn hlaykhrnginchwngphawaesrsthkicthdthxyxupsngkhkarcangaerngngancaldlngaetkhacangthiepntwenginyngethaedim ehtukarnnithaihxupsngkhaelaxupthanimsamarthekhathungcudsmdulid enuxngphucangimtxngkaraerngnganaetcanwnkhxngphutxngkarnganmiethaedimephraaengineduxnethaedim phlcungthaihekidkarwangngan karldmulkhathiaethcringkhxngkhacangsungekidcakphawaenginefxthaihphucangsamarthcangkhnnganephimiddngnncungthuxepnkarldxtrakarwangngan nkesrsthsastrodythwipechuxwaphawaenginefxthimixtrasungaelaphawaenginefxyingywdekidcakkarkhyaytwkhxngprimanenginthimakekinip xyangirkdikarephimkhunkhxngprimanenginimcaepntxngthaihekidphawaenginefxesmxip echn inkrnikbdksphaphkhlxngthikarxdchidenginekhasurabbodythnakharklangimthaihekidkarldxtradxkebiykhxngthnakharphanichyenuxngcakmikhwamkngwlwacaekidehtukarnimphungprasngkhechn phawaenginfud xupsngkhmwlrwmthiimephiyngphxhruxsngkhram khncungekbenginimichcayhruxkuephuxlngthun mummxngwapccyidthaihekidphawaenginefxtathungpanklangyngaetktangknxyumak phawaenginefxtacnthungpanklangxacekidcakkhwamphnphwnkhxngxupsngkhthiaethcringintwsinkhaaelabrikar hruxxacekidcakkarepliynaeplngkhxngprimansinkhaechnkaraekhlnsinkha xyangirktamchnthamtikhxngkarekidphawaenginefxinrayayawekidcakkarkhyaytwkhxngprimanenginthierwkwaxtrakarecriyetibotthangesrsthkic inpccubnnkesrsthsastrswnihyehnchxbkbkarmixtraenginefxinradbtaaelakhngthi xtraenginefxthita aethnthicaepnsunyhruxtidlb cachwyldkhwamrunaerngkhxngphawathdthxythangesrsthkicdwykarchwyihtladaerngngansamarthprbtwiderwkhun cakkarldmulkhathiaethcringkhxngkhacang aelaldkhwamesiyngkhxngkarekidkbdksphaphkhlxngsungthaihnoybaykarenginimsamarthrksaesthiyrphaphthangesrsthkicidthnakharklangmihnathirksaxtraenginefxihtaaelamiesthiyrphaphodyphannoybaykarengin imwacadwykartngkhakhxngxtradxkebiy karsuxkhayhlkthrphyintladepid hruxkartngkhaenginsarxngkhntathithnakharphanichyphungmiphawaenginefxinprawtisastrxtraenginefxpracapikhxngxemrikatngaetpikh s 1666 thung 2019 karephimkhunkhxngprimanenginthihmunewiyninrabbekidkhuninsngkhmthukyukhthuksmy caaetktangkephiyngchnidkhxngenginthiich echnthnbtr epluxkhxy hrux xymni yktwxyangsmythiyngmikarichehriyythxngkhaaethnengin rthbalsamarthnaehriyythxngmaecuxcangdwyolhaxun echn engin thxngaedng hrux takw aelwnaklbipichinrabbthimulkhahnaehriyyethaedim karephimehriyyihmakkhunodyichprimanthxngkhaethaedimthuxepnkarthakairsunginthangesrsthsastreriykwa karxxkhni hruxengin odyimmitnthun hruxldtnthun emuxprimanehriyyinrabbephimkhunmulkhathiaethcringkhxngehriyyaetlaehriyycungldlng phubriophkhcungtxngcayenginmakkhunephuxaelkepliynsinkhaaelakarbrikarinprimanethaedim rachwngssngkhxngcinepnphurierimkartiphimphenginkradashruxthnbtraelathuxepnengintrathibngkhbihprachachnichodythirthbalimtxngthuxthunsarxngkhrngaerkkhxngolk inchwngrachwngshywnkhxngmxngoklrthbalichenginxyangmakmayipkbkarsuksngkhram cungcdihmikarphimphthnbtrxyangmakmayaelathaihekidphawaenginefx pyhaenginefxthwikhwamrunaerngkhuneruxy cninthisudphukhnhyudichthnbtrenuxngcakehnwaepnephiyng kradasirkha rthbalinsmyrachwngshmingtxntnekrngklwtxsingthiekidkhunkbrachwngshywn cungxnuyatihichenginthithacakehriyythxngaedngethannaelaimmikarxxkenginkradascnkrathngpikh s 1375 hlkthanthangprawtisastraesdngihehnwakarnathxnghruxaerenginekhasurabbmakkhuneruxy samarththaihekidphawaenginefxidechnediywkn tngaetchwngkhrunghlngkhxngstwrrsthi 15 cnthungkhrungaerkkhxngskhwrrsthi 17 praethsyuorptawntkidephchiykbwngcrenginefxkhrngsakhysungeriykwa karptiwtithangrakha odythisinkhamirakhaechliyephimkhunpramanhkethaphayinewla 150 pi saehtuhlkmacakkarhlngihlkhxngaerenginaelathxngcakolkihmekhasusepninsmyrachwngshbsburkxyangrwderw aerenginidkracayekhasuyuorpsungkhadaekhlntwklanginkaraelkepliynsinkhasngphlihekidphawaenginefxxyangkwangkhwang inkhnathikarephimkhunkhxngprachakrinyuorphlngkarrabadkhrngihykhxngorkhkalorkhthuxepnswnesrimihmikarkhybkhunkhxngrakhasinkhaechnediywkn inchwngstwrrsthi 19 nkesrsthsastrchiihehnwakarkhunlngkhxngrakhasinkhamisaehtumacak 3 pccyidaek 1 karepliynaeplngmulkhaphunthanhruxkhaichcayinkarphlitsinkha 2 karepliynaeplngrakhakhxngsinkhaophkhphnthsungkkhuxaerolhathiekiywkhxngkbskulenginnn echn thxngkha hrux engin aela 3 karldkhakhxngskulengin sungkhunxyukbxtraswnkhxngprimanengintrakbprimankhxngolhasarxngthiengintrann samarthnaipaelkid hlngcakmikarichbtrthnakhar sungxxkodythnakharphanichy xyangaephrhlayinchwngsngkhramklangemuxngxemrika khawa phawaenginefx cungerimmikhwamhmaytrngkbkarldkhakhxngskulengin enuxngcakkarephimkhunkhxngbtrthnakharidaesngprimankhxngolhathibtrthnakharnn samarththaipaelkid insmynn phawaenginefx cunghmaythungkarldkhakhxngskulenginaethnthicahmaythungkarephimkhunkhxngrakhasinkha nkesrsthsastraebbkhlassikhechn edwid hum aela edwid rikharod chiihsngkhmehnthungkhwamsmphnthrahwangprimanthimakekinipkhxngbtrthnakharaelakarldkhakhxngtwbtr aelaphayhlngidthakartrwcsxbaelaxphiprayphlkrathbkhxngkarldkhakhxngskulenginthimitxkarephimkhunkhxngrakhasinkha inchwngstwrrsthi 18 hlaypraethsnarabbenginkradasthirthbalimtxngthuxthunsarxngmaich cungthaihekidskulengintang khunmakmay nbtngaetsmynnkarephimkhunkhxngkarichenginkradassngphlihekidphawaenginefxyingywdhlaykhrnginhlaypraeths aelainaetlakhrngmikhwamrunaerngmakkwainsmythiyngichenginthithacakaerolha phawaenginefxyingywdinsatharnrthiwmarkhxngeyxrmniepnthuxepntwxyangthinasnickhacakdkhwamthiekiywkhxnginxditkhawa phawaenginefx mkthukichephuxxangthungkarephimkhunkhxngprimanenginthiihlewiyninrabb aetinpccubnnkesrsthsastrswnihyichkhawa phawaenginefx ephuxklawthungkarephimkhunkhxngradbrakhasinkha odyichkhawakhwamefxkhxngtwengin monetary inflation ephuxecaacngewlatxngkarsuxthungkarephimkhunkhxngprimanengin aelaichkhwamefxkhxngrakha price inflation ephuxbxkthungkarephimkhxngrakhasinkha tamhlkkar phawaenginefx hmaythungkarephimkhunkhxngrakhasinkhathw ip hakrakhasinkhaephimkhunechphaasinkhachnididchnidhnungtwxyangechn thamaekhuxethsaephngkhuninkhnathiaetngkwathuklngnnimthuxwaekidcakphawaenginefx phawaenginefxsamarthehnidngayhakskulenginthukphukiwkbthxngkha hakmikarkhnphbthxngkhamak primanthxngkhacasamarthaelksinkhaidnxylng dngnnphusuxtxngnathxngkhahruxskulenginsungthukphukiwkbthxngkhann inprimanmakkwaedimipaelksinkha khasphthxun thiekiywkhxngkbxtraenginefxrwmthung phawaenginfud karldlngkhxngrakhasinkha phawaenginefxld karldlngkhxngxtraenginefx phawaenginefxyingywd phawaenginefxthisungkhuneruxy xyangimsamarthkhwbkhumid phawachangkngnthimienginefx ehtukarnthimiphawaxtraenginefxrwmkbkarchalxkaretibotthangesrsthkicaelakarwangngansung karephimxtrakarhmunewiynengininpraeths khwamphyayamthicaykradbkhxngrakhasinkhaephuxthicarbmuxphawaenginfud aela enginefxinrakhasinthrphy karephimkhunkhxngsinthrphythangkarenginthiimsxdkhlxngkbkarephimkhunkhxngrakhakhxngsinkhaaelabrikar karwdxtraenginefxxtraenginefxsamarthkhanwnidcakdrrchnirakhaphubriophkh sungekidcakkarnarakhasinkhaaelakarbrikarthikhrxbkhrwhruxphubriophkhsuxhaepnpracamakhanwn aela dchnirakhaphlitphnthmwlrwminpraeths sungnaexarakhasinkhaaelabrikarthnghmdthiphlitinpraethsmakhanwn inpraethsithysankdchniesrsthkickarkha krathrwngphanichymihnathirbphidchxbinkarkhanwnaelaprakastwelkhenginefxxyangepnthangkar sarasakhyinkarpraeminxtraenginefx karwdxtraenginefxinrabbesrsthkicnncatxngichkarwdxyangepnrupthrrmodycaducakkarepliynaeplngkhxngrakhakhxngsinkhaaelabrikarthw ip aelacatxngaeykcakkarepliynaeplngkhxngrakhasungekidcakkarepliynaeplngthangdanpriman khunphaph hrux prasiththiphaphkhxngsinkha twxyangechn tharakhakhxngkhawophdkrapxngkhnad 10 xxns epliyncakrakha 30 bathepn 35 bathinhwngewlahnungpiodyimmikarepliynaeplnginkhunphaphaelapriman khwamaetktangkhxngrakhathiekidkhuninchwngewlanithuxepntwaethnkhxngxtraenginefx xyangirkdikarepliynaeplngkhxngrakhasinkhaephiyngchnidediywimsamarthepntwaethnkhxngkhxngxtraenginefxthwipkhxngrabbesrsthkicthngrabbid karwdxtraenginefxodyrwmcatxngducakkarepliynaeplngrakhakhxng takra sinkhaaelabrikarinprimanmak nikhuxwtthuprasngkhkhxngkarhakhadrrchnirakhasungkkhux rakharwmkhxngsinkhaaelakarbrikarthnghmdin takra odyrakharwmhmaythung phlrwmkhxngrakhathwngnahnkkhxngsinkhathnghmdthixyuin takra aelarakhathwngnahnkcasamarthhaidcakrakhatxhnwykhxngsinkhakhundwycanwnsinkhachnidnn intakrakhxngphubriophkh karharakhathwngnahnkepnwithithicaepninkarwdphlkrathbkhxngkarepliynaeplngrakhasinkhatxhnwythimitxphlxtraenginefxodyrwmkhxngrabbesrsthkic yktwxyangechndrrchnirakhaphubriophkhcakhanwncakkhxmulthiekbrwbrwmodykarsarwctambanephuxhawaphubriophkhthwipichenginsuxsinkhaaetlachnidepnsdswnethair aelathakarthwngnahnkrakhasinkhaehlanntamprimankhxngsinkhathithuksux aelaephuxthithaihehnkarepliynaeplngkhxngrakhasinkhainchwngewlahnung ihdikhun karthadchnimkcaeluxkrakhain pithan aelakahndkhaihethakb 100 odydchnirakhainpithdmacaaesdngihehnkhwamsmphnthkbrakhainpithan dngnnkarepriybethiybxtraenginefxinhlay chwngewlacungkhwrkhanungthungrakhainpithansungxacimethakndwysaehtupccubnepnthiyxmrbxyangkwangkhwangaelwwathvsdiprimanenginepnthvsdithisamarthichxthibayaelakhadkarnrupaebbkhxngenginefxinrayayawiddisud dngnnkhxtklnginhmunkesrsthsastrekiywkbenginefxkkhux xtraenginefxinrayayawcakhunxyukbxtrakarkhyaytwkhxngprimanengin xyangirktamsaehtukhxngkarekidphawaenginefxinrayasnaelaklangxacmacakaerngkddnxupsngkh khwamtxngkarsinkhaaelabrikarthiephimkhun aelaxupthan tnthuninkarphlitsinkhasungkhun inrabbesrsthkic karepliynaeplngkhxngkhacang rakhasinkha aela xtradxkebiy khathamsakhycungxyuthiwaenginefxthiekidkhuninrayasnaelaklangcamiphlkrathbmakhruxnxytxrabbesrsthkicodyrwmhruximxyangir nikhuxhwkhxhlkkhxngkarotethiyngrahwangnkesrsthsastrthvsdisankkarenginniymaelankesrsthsastrsankekhns inmummxngkhxngnkesrsthsastrthvsdisankkarenginniym rakhaaelakhacangmkprbtwipphrxm knphxthicathaihimekidphlkrathbkbrabbesrsthkicrayayaw inmummxngnkesrsthsastrsankekhns rakhasinkhaaelakhacangprbmkprbtwipimphrxmknthaihkhwamekidkhwamaetktangthithaihekidphlkrathbkbrabbesrsthkicinrayayaw mummxngkhxngnkesrsthsastrthvsdisankkarenginniym nkesrsthsastrthvsdisankkarenginniymichthvsdiprimanenginephuxxthibaywa phawaenginefxcamikhwamsmphnthodytrngkbprimanengininrabbesrsthkic klawkhux thamikarphimphthnbtrhruxphlitehriyyephimkhuninrabbesrsthkic cathaihmulkhakhxngenginldlng enuxngcakmiprimankhxngengininmuxkhxngphubriophkhaelaphuphlitephimkhun xanackarsuxthiephimkhuncakkarmienginephimkhun phlkdnihmikaraeyngchingsinkhaaelabrikarsunghakesrsthkicetibotimthnkbkarkhyaytwkhxngprimanengin kcathaihrakhasinkhaephimsungkhun hruxekidphawaenginefxtamma dwyehtuphlninkesrsthsastrthvsdisankkarenginniymcungphicarnawakaraekikhpyharakhasinkhakhunkhxngrthbalimwacaodykarxxknoybaykarkhlng odyldphasihruxephimkarichcaykhxngrththuxepnwithithiimmiprasiththiphaphaelaimsamarthkhwbkhumxtraenginefxidcring nkesrsthsastrthvsdisankkarenginniymmkklawwakarsuksaechingprackskhxngprawtisastrekiywkbkarenginidaesdngihehnaelwwaxtraenginefxepnpraktkarnthiekiywkhxngkbprimankhxngengininrabbesrsthkicephiyngxyangediyw dusmkarthvsdiprimanengin MV PQ M aethnprimanengin V aethnkarhmunewiynkhxngenginepnkhrng P aethnrakhasinkha Q aethnprimansinkha DM DV DP DQ DM aethnxtrakarepliynaeplngkhxngprimanengin DV aethnxtrakarhmunewiynkhxngengin DP aethnxtrakarepliynaeplngkhxngrakhasinkha hruxxtraenginefx DQ aethnxtrakarepliynaeplngkhxngprimansinkha hrux GDP twxyangechn nay A ipsuxkhxng 1 chinkcaepnrayidkhxngphxkhasungphxkhakcaexathnbtr 100 bathkhxngnay A ipsuxkhxngtx tamtwxyangniprimanenginthngrabbmiephiyngthnbtr 100 bathibediyw M 100 aetich 2 khrng V 2 caethakbsuxkhxngid 2 chin Q 2 chinla 100 bath P 100 enuxngcak V hrux karhmunewiynkhxngenginkhxngthngrabbepnsingthinkesrsthsastrthvsdisankkarenginniymechuxwarthbalkhwbkhumimidaelaimkhxyepliynaeplnginrayayaw dngnn DV cungiklekhiynghruxethakb 0 hakrthbalphlitengintraekhasurabbmakekinkwaxtrakarepliynaeplngkhxngprimansinkha DM makkwa DQ kcaepnaerngkddnihrakhasinkhaephim DP caepnbwk hruxthaihekidenginefx inthangklbknhakrthbalnaengintraekharabbnxyekinip DM nxykwa DQ emuxethiybkbkarkhyaytwthangesrsthkic kxacsngphlihekidenginfud DP epnlb mummxngkhxngnkesrsthsastrsankekhns thvsdiesrsthsastrkhxngekhnsklawwakarepliynaeplngprimankhxngengininrabbesrsthkiccaimsngphlodytrngtxrakhasinkha rakhasinkhathiephimkhunepnphlcakaerngkddninthangesrsthkic saehtuhruxaerngkddnthinaipsukarekidenginefxaebngidepn 3 saehtuhlk sungorebirt ec kxrdxn eriykwa Triangle Model idaek enginefxaebbbilthxin Built in inflation sungekidcakkarprbtwthiepnphlmacakkarkhadkarn echnphnknganinbristheriykrxngihkhunengineduxn inxtrathisungkwaenginefx bristhcungplxyihtnthunthisungkhunepnpharakhxnglukkha aelwrakhasinkhaaelakhaaerngkphldknepntnehtuaelaphlekliywaelwekliywela Price Wage Spiral cnklayepnwngcrxubathw vicious circle thaihrakhasinkhalxykhunipkhangetingbnyxddxy hangover inflation tnthuninkarphlitsinkhasungkhun Cost push inflation thaihphuphlittxngprbrakhasinkhakhun saehtuthithaihtnthunkarphlitsungkhun echn karephimkhunkhxngkhacangaerngngan karekidwikvtkarnthangthrrmchati karephimkairkhxngphuprakxbkar karepliynaeplngkhxngrakhasinkhanaekha sungxacephimiptamphawa tladolk hruxphlkhxngxtraaelkepliyn khwamtxngkarsinkhaaelabrikarthiephimkhunmakkwathimixyuinkhnann cungdungihrakhasinkhaephimsungkhun Demand pull inflation hrux miaerngdungthangdanxupsngkh karephimkhunkhxngkhwamtxngkarsinkhaaelabrikarxacmacakhlaysaehtu echn karepliynaeplngkhxngprimanengin kardaeninnoybaykarkhlngkhxngphakhrthbal karephimkhunkhxngxupsngkhintangpraeths aelakarepliynaeplngphvtikrrmkarbriophkhkhxngprachachnkarkhwbkhumphawaenginefxnoybaykarengin rthbalaelathnakharklangswnihyichnoybaykarenginephuxkhwbkhumxtraenginefx twxyangechn thnakharklangshrthsamarthephimxtradxkebiy chalxhruxhyudkarphlitengin ephuxihekidkarldprimankhxngengininrabb thnakharklangbangaehngmiepahmaykhwbkhumenginefxaebbsmmatr symmetrical inflation target klawkhuxkhwbkhumimihxtraenginefxtahruxsungekinip inkhnathithnakharklangbangaehngcaephiyngkhwbkhumxtraenginefxemuxxtraenginefxephimkhunsungkwaepahmaythikahndiw thnakharklangswnihycaidrbmxbhmayihrksaxtradxkebiyenginkurahwangthnakharphayinpraethsinradbthita sungodypkticamiepahmaykhngxtradxkebiyniiwthipraman 2 thung 3 sungcaxyuinchwngepahmaypracapikhxngxtraenginefxsungmikhapraman 2 thung 6 thnakharklangmkkahndepahmayxtraenginihefxta aetimepnlbephraaphubriharthnakharklangswnihyechuxwaphawaenginfudnnepnxntraytxesrsthkic karprbxtradxkebiyihsungkhunsamarththaihprimankhxngengininrabbldlngid enuxngcakxtradxkebiythisungkhunthaihkhnkhxsinechuxnxylng odypktienginihmthicathuksrangkhuncathuknaipichinrupaebbkhxngsinechuxhruxkarplxyenginkucakthnakhar hruxphudxiknyhnungkkhuxhakthnakhartxngkarcaplxyenginku thnakharcatxngsrangenginihmephuxnaipichplxysinechux dngnnemuxihrktamthimikarplxykuengin engininrabbcungmiprimanmakkhun aelahaklukhnicaykhunenginku thnakharksamarththicathalayenginnnthaihprimanengininrabbldlng yktwxyangechnintnpi 1980 emuxxtradxkebiykhxngthnakharklangshrthephimkhunekinkwarxyla 15 primanenginkhxngthnakharklangshrthmikhaldlngthungrxyla 8 1 cak 8 6 lanlan ehluxephiyng 7 9 lanlandxllarshrth nkesrsthsastrthvsdisankkarenginniymcaennxtrakaretibotxyangtxenuxngkhxngenginaelakarichnoybaykarenginephuxkhwbkhumenginefxodykarephimxtradxkebiyaelachalxkarephimkhunkhxngprimanengin inkhnathinkesrsthsastrsankekhnscaennkarldxupsngkhrwminchwngthimikarkhyaytwthangesrsthkic aelakarsrangxupsngkhkhuninchwngthiesrsthkicthdthxy ephuxihxtraenginefxmiesthiyrphaph karkhwbkhumkhxngxupsngkhrwminmummxngkhxngnkesrsthsastrsankekhnssamarththaidodyichnoybaykarenginaelanoybaykarkhlng echnkarekbphasiephimhruxldkarichcaykhxngphakhrthephuxldxupsngkhrwm kartrungxtraaelkepliyn rabbkartrungxtraaelkepliynkhxngskulengin hmaythungkarphukmulkhakhxngskulenginnn ihethakbmulkhakhxngskulenginkhxngpraethsidpraethshnung thimikhwamaekhngaekrngechn engindxllarshrth hruxskulenginkhxnghlay praeths kartrungxtraaelkepliynsamarthnamaichephuxkhwbkhumxtraenginefxid aetenuxngcakmulkhakhxngskulenginthinamaxangxingmikarephimaelaldlngtlxdewla dngnnmulkhakhxngengininpraethsthixyuphayitrabbkartrungxtraaelkepliyncungepliynaeplngkhunlngtammulkhakhxngskulenginthinamaxangxing sunghmaykhwamwaxtraenginefxkhxngpraethsnn cathukkahndodyxtraenginefxkhxngpraethsthiepnecakhxngskulenginthinamaxangxing dngnnkartrungxtraaelkepliyncungthaihrthbalimsamarthichnoybaykarenginkhxngtwexnginkarthicabrrluesthiyrphaphthangesrsthkicmhphakhid phayitkhxtklngebrttnwuds praethshlay praethsthwolkidthakartrungxtraaelkepliyniwkbdxllarshrth sungmipraoychninkarcakdkarephimkhunkhxngxtraenginefx aetkhxesiykhuxthaihpraethsehlanntkepnepakhxngkarocmtikhaengin dngnnphayhlngcakthikhxtklngebrttnwudsmixnepnthisinsudlnginchwngtnpi kh s 1970 praethstang cungidthyxyhnipichxtraaelkepliynaebblxytw xyangirkdiinchwngplaystwrrsthi 20 mihlaypraeths odyechphaaxyangyingklumpraethsinthwipxemrikaitechn xarecntina kh s 1991 2002 obliewiy brasilaelachili idhwnklbipichkartrungxtraaelkepliynephuxthicakhwbkhumxtraenginefx rabbmatrthanthxngkha rabbmatrthanthxngkhaepnrabbkarenginthipraethstangichephuxaelkepliynskulengin odyaetlapraethscatxngkahndkhwamsmphnthechingprimanrahwanghnwyenginkhxngpraethskhxngtwexngkbthxngkha inrabbniskulenginkhxngpraethstang imthuxwamimulkhadwytwkhxngmnexng aetphukhayxmrbtwenginenuxngcaksamarthnaipaelkepliynepnthxngkhaid twxyangechn thnbtrdxllarshrthinxditcamikarprathbtrarbrxngbnthnbtrwasamarthnaipaelkepnaerenginidcakrthbal matrthanthxngkhaidthukelikichipbangswnphayhlngkarnakhxtklngebrttnwudsmaich phayitrabbnienginskulihythukskulcathuktrungihmixtrakhngthikbengindxllar inkhnathiengindxllarcathukphuktidxyukbthxngkhainxtra 35 dxllarshrthtxxxns rabbebrttnwudsmixnepnthisinsudlnginpi 1971 thaihpraethsswnihyepliynipichrabbenginkradasthirthbalimtxngthuxenginthunsarxng sunghmaythungkarthiengintramikhatamthikdhmaykhxngaetlapraethsepnphukahnd sastracaryiwth Lawrence H White aelahaeykh F A Hayek sungepnphuechiywchaythangdanprawtisastrkhxngrabbesrsthkicidklawiwwa hakrabbesrsthkickhunxyukbmatrthanthxngkhaoxkasthipraethscaphbxtraenginefxsungkwarxyla 2 txpinnmixyunxymak xyangirktaminxditthiphanma shrthtxngphbkbxtraenginefxthisungkwa 2 hlaykhrngaelacudthisungthisudkhxngxtraenginefxekidkhunphayitmatrthanthxngkha emuxethiybkbxtraenginefxphayhlngcakthimatrthanthxngkhaidthukykelikipaelw phayitrabbmatrthanthxngkha xtraenginefx hruxphawaenginfud inrayayawcathukkahndodyxtrakaretibotkhxngprimankhxngthxngkhathithukphlitkhun cungmiphuwicarnwarabbthxngkhathaihekidkhwamphnphwnkhxngxtraenginefx aelanoybaykarengincathukkahndcakphlphlitkarthaehmuxngaerthxngkhaepnhlk karkhwbkhumkhacangaelarakhasinkha karkhwbkhumkhacangaelarakhasinkhannepnxikhnungwithithimikarnamaichephuxkhwbkhumxtraenginefxinxdit karkhwbkhumkhacangaelarakhasinkhamkcathaihekidphldiinchwngphawasngkhramemuxnamaichrwmkbkarpnswnxaharaelaekhruxngbriophkh xyangirktaminbribthxun phllphthkhxngkarkhwbkhumrakhasinkhamithngdiaelaray twxyangkhwamlmehlwkhxngkarkhwbkhumenginefxdwywithinisamarthehnidxyangchdecninkrnikarkahndkhacangaelakarkhwbkhumrakhaodyprathanathibdibdi richard niksn inpikh s 1972 inkhnathitwxyangthiprasbkhwamsaerccaehnidcakkhxtklngrakhasinkhaaelakhacangkhxngxxsetreliy aelakhxtklngwasesnnakhxngpraethsenethxraelnd odythwipkarkhwbkhumkhacangaelarakhasinkhacathukmxngwaepnephiyngmatrkarchwkhrawsungsamarthnamaichechphaainkrniphiess aelacamiprasiththiphaphktxemuxichrwmkbnoybaythixxkaebbmaephuxaektnehtukhxngphawaenginefx yktwxyangechn praethsekhasuphawasngkhramkxihekidphawaenginefx cungichkarkhwbkhumkhacangaelarakhasinkhachwkhraw inkhnathirthbalkhwrxxknoybayaekpyhatnehtukhxngphawaenginefxsungkkhuxkaryutihruxkarmichychnacaksngkhram karkhwbkhumkhacangaelarakhasinkhakxihekidkhwamesiyhayaekrabbesrsthkicxyangmak enuxngcakepnkarsngsyyanthibidebiywipyngtlad karbngkhbihkhaysinkhainrakhatamkcaepntnehtukhxngkarcakdkarkracayaelakarkhadaekhlnsinkha aelakarthaihnklngthunimxyaknasinkhamakhayinxnakht sungcasngphlihekidkarkhadaekhlnsinkhaihephimkhunmakkwaedim hakcaichkarwiekhraahthangesrsthsastrxacklawidwaphlitphnthhruxbrikarid thimirakhatacamikarbriophkhsung aelaemuxepnechnnn primankhxngphlitphnthnn intladcaldtalng hakimmikarprbtwkhxngrakhasinkhaihklbma n cudedimkcaimekidkarlngthunephuxthicaphlitphlitphnthnn ephimephuxtxbsnxngkhwamtxngkarkhxngtladinxnakht aelacasngphlihekidkarkhadaekhlnsinkhaxyangrunaernginrayayawhmayehtuSee Wyplosz amp Burda 1997harvnb error no target CITEREFWyploszBurda1997 Glossary Blanchard 2000 Glossary Barro 1997 Glossary Abel amp Bernanke 1995harvnb error no target CITEREFAbelBernanke1995 Glossary Why price stability 2008 10 14 thi ewyaebkaemchchin Central Bank of Iceland Accessed on September 11 2008 Paul H Walgenbach Norman E Dittrich and Ernest I Hanson 1973 Financial Accounting New York Harcourt Brace Javonovich Inc Page 429 The Measuring Unit principle The unit of measure in accounting shall be the base money unit of the most relevant currency This principle also assumes that the unit of measure is stable that is changes in its general purchasing power are not considered sufficiently important to require adjustments to the basic financial statements Mankiw 2002 pp 22 32 Mankiw 2002 pp 238 255 Robert Barro and Vittorio Grilli 1994 European Macroeconomics Ch 8 p 139 Fig 8 1 Macmillan ISBN 0 333 57764 7 November 2010 PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2013 12 17 subkhnemux 2015 10 28 PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2013 12 17 subkhnemux 2015 10 28 MZM velocity subkhnemux September 13 2014 Mankiw 2002 pp 81 107 Abel amp Bernanke 2005 pp 266 269harvnb error no target CITEREFAbelBernanke2005 Hummel Jeffrey Rogers Death and Taxes Including Inflation the Public versus Economists January 2007 1 p 56 Escaping from a Liquidity Trap and Deflation The Foolproof Way and Others Lars E O Svensson Journal of Economic Perspectives Volume 17 Issue 4 Fall 2003 pp 145 166 Taylor Timothy 2008 Principles of Economics Freeload Press ISBN 1 930789 05 X Dobson Roger January 27 2002 The Independent khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux May 15 2011 subkhnemux April 12 2010 1996 Coinage in the Roman Economy 300 B C to A D 700 Baltimore ISBN 0 8018 5291 9 Annual Report 2006 Royal Canadian Mint p 4 PDF Mint ca subkhnemux May 21 2011 Frank Shostak Commodity Prices and Inflation What s the connection Mises Institute 2009 08 07 thi ewyaebkaemchchin Richard von Glahn 1996 Fountain of Fortune Money and Monetary Policy in China 1000 1700 University of California Press p 48 ISBN 978 0 520 20408 9 Paul S Ropp 2010 China in World History Oxford University Press p 82 ISBN 978 0 19 517073 3 Peter Bernholz 2003 Monetary Regimes and Inflation History Economic and Political Relationships Edward Elgar Publishing pp 53 55 ISBN 978 1 84376 155 6 American Treasure and the Price Revolution in Spain 1501 1650 Harvard Economic Studies 43 Cambridge Massachusetts 1934 PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux March 6 2009 Walton Timothy R 1994 The Spanish Treasure Fleets Pineapple Press FL p 85 ISBN 1 56164 049 2 Bernholz Peter Kugler Peter August 1 2007 The Price Revolution in the 16th Century Empirical Results from a Structural Vectorautoregression Model odythang ideas repec org Tracy James D 1994 Handbook of European History 1400 1600 Late Middle Ages Renaissance and Reformation Boston Brill Academic Publishers p 655 ISBN 90 04 09762 7 Michael F Bryan On the Origin and Evolution of the Word Inflation 2008 08 19 thi ewyaebkaemchchin Mark Blaug Economic Theory in Retrospect pg 129 this was the cause of inflation or to use the language of the day the depreciation of banknotes Chisholm Hugh b k 1922 Inflation Encyclopaedia Britannica 12th ed London amp New York The Encyclopaedia Britannica Company Michael F Bryan On the Origin and Evolution of the Word Inflation research Commentary 1997 What is inflation Inflation explained Vox Vox July 25 2014 subkhnemux September 13 2014 Federal Reserve Board s semiannual Monetary Policy Report to the CongressRoundtable Introductory statement by Jean Claude Trichet on July 1 2004 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 10 19 subkhnemux 2012 05 14 Lagasse Paul 2000 Monetarism The Columbia Encyclopedia 6th ed New York Columbia University Press ISBN 0 7876 5015 3 Friedman Milton A Monetary History of the United States 1867 1960 1963 Monetarism The Basics Robert J Gordon 1988 Macroeconomics Theory and Policy 2nd ed Chap 22 4 Modern theories of inflation McGraw Hill http www vcharkarn com varticle 34764 2008 Inflation in b k 2nd ed Indianapolis ISBN 978 0865976658 OCLC 237794267 Bordo Michael D 2002 Gold Standard The Concise Encyclopedia of Economics Library of Economics and Liberty Barsky Robert B DeLong J Bradford 1991 Forecasting Pre World War I Inflation The Fisher Effect and the Gold Standard Quarterly Journal of Economics 106 3 815 836 doi 10 2307 2937928 JSTOR 2937928 subkhnemux September 27 2008 DeLong Brad khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux October 18 2010 subkhnemux September 25 2008 xangxing Croushore Dean 2005 Macroeconomics 5th ed Pearson ISBN 978 0 32119963 8 Measurement of inflation is discussed in Ch 2 pp 45 50 Money growth amp Inflation in Ch 7 pp 266 269 Keynesian business cycles and inflation in Ch 9 pp 308 348 1997 Macroeconomics Cambridge MA MIT Press p 895 ISBN 0 262 02436 5 2000 Macroeconomics 2nd ed Englewood Cliffs N J Prentice Hall ISBN 0 13 013306 X 2002 Macroeconomics 5th ed Worth ISBN 978 0 71675237 0 Measurement of inflation is discussed in Ch 2 pp 22 32 Money growth amp Inflation in Ch 4 pp 81 107 Keynesian business cycles and inflation in Ch 9 pp 238 255 1993 Macroeconomics New York W W Norton p 637 ISBN 0 393 96307 1 Wyplosz Charles 1997 Macroeconomics a European text Oxford Oxfordshire ISBN 0 19 877468 0 hnngsuxxanephimWorld Bank 2018 Inflation in Emerging and Developing Economies Evolution Drivers and Policies Edited by Jongrim Ha M Ayhan Kose and Franziska Ohnsorge The Honest Government s Guide to the Revenue From the Creation of Money Journal of Political Economy Vol 82 No 3 May June 1974 pp 598 606 and Macroeconomics Principles and Policy Tenth edition Thomson South Western 2006 ISBN 0 324 22114 2 Friedman Milton Nobel lecture Inflation and unemployment 1977 The Economics of Money Banking and Financial Markets New York Harper Collins 1995 Understanding Inflation and the Implications for Monetary Policy A Phillips Curve Retrospective singhakhm 26 2013 thi ewyaebkaemchchin Conference Series 53 June 9 11 2008 Chatham Massachusetts Also cf article aehlngkhxmulxunsankdchniesrsthkickarkha