เม็ดรู้สัมผัส หรือ เม็ดไวสัมผัส (อังกฤษ: Meissner's corpuscle, Tactile corpuscle) เป็นปลายประสาทรับแรงกลชนิดหนึ่งที่ผิวหนังซึ่งไวสัมผัสแบบเบา ๆ โดยเฉพาะก็คือ ไวสูงสุดเมื่อรับรู้แรงสั่นระหว่าง 2-50 เฮิรตซ์ เป็น(ตัวรับความรู้สึกที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว) โดยหนาแน่นมากสุดที่ปลายนิ้วมือ (เป็นใยประสาทที่มีมากที่สุดในมือมนุษย์ คือ 40%)
เม็ดรู้สัมผัส (Tactile corpuscle) | |
---|---|
Dermal papillae (ปุ่มหนังแท้) ของมือ ขยาย 350 เท่า
| |
รายละเอียด | |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | corpusculum tactus |
H3.11.06.0.00007 | |
FMA | 83605 |
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ] |
ตำแหน่ง
เม็ดไวสัมผัสกระจายอยู่ตามผิวหนัง แต่หนาแน่นในบริเวณที่ไวสัมผัสแบบละเอียดมากที่สุด เช่น นิ้วมือและปาก ที่ผิวหนังเกลี้ยง มันจะอยู่ติดใต้หนังกำพร้าภายในปุ่มหนังแท้ (dermal papillae) ใต้ผิวหนัง 0.5-1.0 มม ซึ่งตื้นที่สุดในบรรดาตัวรับแรงกลที่ผิวเกลี้ยง 4 อย่าง โดยที่มือจะอยู่ที่ด้านทั้งสองของขอบสันลายมือ/นิ้ว แต่จะไม่มีในผิวหนังที่มีผม/ขน
โครงสร้าง
เม็ดไวสัมผัสเป็นปลายประสาทมีแคปซูลหุ้ม โดยแคปซูลจะประกอบด้วยเซลล์สนับสนุนแบน ๆ จัดเป็นชั้นขวาง ๆ อันเกิดมาจากปลอกไมอีลิน (Schwann cell/terminal glia cell) และเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเต็มไปด้วยน้ำ มีรูปร่างเป็นวงรียาว โดยยาวระหว่าง 30-140 ไมโครเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 40-60 ไมโครเมตร[] โครงสร้างเป็นชั้น ๆ เช่นนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกรองสิ่งเร้าซึ่งสามารถอธิบายการตอบสนองแบบปรับตัวอย่างรวดเร็วของเม็ด อย่างน้อยก็โดยบางส่วน
เม็ดแต่ละเม็ดยังเชื่อมกับโครงสร้างของผิวหนัง คือ สันของปุ่มหนังแท้ (dermal papillae) ผ่านเส้นใยคอลลาเจน จึงทำให้ไวมากต่อการลื่น/แรงเสียดทานระหว่างมือ/นิ้วกับวัสดุที่จับอยู่
เม็ดไวสัมผัสจะมีเส้นประสาทมีปลอกไมอีลินแบบหนา (กลุ่ม Aβ) วิ่งมาถึง 2-5 แอกซอน ซึ่งเมื่อเข้าไปในเม็ดแล้วก็จะสูญปลอกไมอีลินแล้ววิ่งวนเวียนระหว่างชั้นต่าง ๆ ตลอดเม็ด โดยที่แอกซอนจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่ง ๆ ปกติจะส่งสาขาไปยัง 10-20 เม็ด (แต่งานศึกษาในลิงก็พบใยประสาทที่มีปลายเป็น Meissner's corpuscle เพียงอันเดียวเหมือนกัน)
อย่างไรก็ดี งานศึกษาในระดับโมเลกุลยังแสดงด้วยว่า
- มีใยประสาทกลุ่ม C สองแบบที่ส่งปลายไปยัง Meissner corpuscle ด้วย
- ใยประสาทต่าง ๆ ของ Meissner corpuscle มีการแสดงออกเป็นช่องไอออน (ion channel) ตัวรับความรู้สึก (receptor) และตัวส่ง (transmitter) ที่สัมพันธ์กับการถ่ายโอนความรู้สึกที่เป็นอุณหภูมิ สารเคมี และโนซิเซ็ปชันด้วย
ดังนั้น เหตุเหล่านี้ร่วมกับเหตุอื่น ๆ จึงทำให้คาดว่า Meissner corpuscle เป็นโครงสร้างถ่ายโอนและรวบรวมความรู้สึกหลายชนิด (multimodal) ที่ซับซ้อน และอุณหภูมิและสภาพทางเคมีของผิวหนังอาจมีผลต่อสมรรถภาพการรับแรงกลตามที่ปรากฏ
ความเปลี่ยนแปลงตามอายุ
ค่าจำนวนเม็ดไวสัมผัส/มม2 ที่ปลายนิ้วของมนุษย์จะลดลง 4 เท่าระหว่างอายุ 12-50 ปี เป็นอัตราที่เข้ากับการเสียความไวสัมผัสเป็นอย่างดีเมื่อทดสอบด้วยปลายเล็ก ๆ[]
หน้าที่
เม็ดไวสัมผัสเป็นตัวรับแรงกลที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งไวต่อความเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและลายผิว ในการสัมผัสแบบสำรวจหรือแบบจำแนก ความไวสูงของมันเป็นมูลฐานทางประสาทในการ "อ่าน" อักษรเบรลล์ได้ เพราะอยู่ที่หนังแท้ส่วนตื้น ๆ และเชื่อมกับโครงสร้างของผิวหนังผ่านเส้นใยคอลลาเจน จึงไวต่อสัมผัสและแรงสั่นมาก
เม็ดจะตอบสนองต่อสัมผัสแบบเบา ๆ และแรงดัน โดยที่มือจะทำให้รู้สึกสัมผัสในเบื้องต้นเมื่อถูกวัสดุหรือเมื่อวัสดุลื่นมือ รู้ลายผิววัสดุเมื่อลูบ รู้แรงสั่นที่ความถี่ระหว่าง 1-300 เฮิรตซ์โดยไวสุดที่ 50 เฮิรตซ์ (2-50 เฮิรตซ์ ซึ่งเป็นความถี่ที่เรียกว่าในวรรณกรรมภาษาอังกฤษว่า "flutter") ช่วยให้รู้ความขรุขระและรอยนูนที่เล็กถึง 10 ไมโครเมตร (μm) (หรือเฉลี่ยที่ 6 μm ดีสุด 2 μm) และเมื่อจับยกวัตถุอยู่ ช่วยให้รู้ว่าควรใช้แรงแค่ไหน และให้รู้ว่าวัสดุกำลังลื่นมือ จึงควรใช้แรงจับมากขึ้น
การแปรรูปของเม็ดจะเป็นเหตุให้ใยประสาทสร้างศักยะงาน แต่เพราะปรับตัวอย่างรวดเร็ว หรือส่งสัญญาณเป็นพัก ๆ (phasic) ศักยะงานที่สร้างจะลดอัตราการยิงอย่างรวดเร็วจนในที่สุดก็หยุด ซึ่งเป็นเหตุให้เราไม่รู้สึกถึงเสื้อผ้าอีกต่อไป ถ้าเอาสิ่งเร้าออก เม็ดก็จะคืนสภาพและในขณะเดียวกัน (เพราะรูปกำลังแปรไปอีก) ก็จะเป็นเหตุให้สร้างศักยะงานอีกชุดหนึ่ง
ลานรับสัญญาณ
ลานรับสัญญาณของตัวรับแรงกล ก็คือบริเวณพื้นที่ที่เซลล์ประสาทตอบสนองต่อสิ่งเร้า ถ้ามีการสัมผัสผิวหนังสองที่ภายในลานรับสัญญาณเดียวกัน บุคคลนั้นจะไม่สามารถจำแนกจุดสองจุดเช่นนั้นได้ และถ้ามีการสัมผัสภายในลานสัญญาณที่ต่างกัน บุคคลนั้นก็จะจำแนกได้ ดังนั้น ขนาดลานรับสัญญาณของตัวรับแรงกล จึงเป็นตัวกำหนดการจำแนกสิ่งเร้าที่ละเอียดได้ ยิ่งมีลานสัญญาณเล็กเท่าไรมีกลุ่มลานรับสัญญาณที่อยู่ใกล้ ๆ กันเท่าไร ก็จะสามารถจำแนกละเอียดยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะเหตุนี้ เม็ดรู้สัมผัสและ Merkel ending จึงรวมกลุ่มอยู่อย่างหนาแน่นที่ปลายนิ้วมือซึ่งไวความรู้สึก แต่หนาแน่นน้อยกว่าที่ฝ่ามือและหน้าแขนที่ไวสัมผัสน้อยกว่า
เซลล์ประสาทที่มีเม็ดรู้สัมผัสเป็นปลาย มีลานสัญญาณเล็ก (25 มม2 ที่ปลายนิ้ว) ซึ่งช่วยให้สามารถจำแนกสัมผัสที่อยู่ใกล้ ๆ กันได้ (3 มม ที่ปลายนิ้ว)
เทียบกับตัวรับความรู้สึกอื่น ๆ
การรู้สึกถึงแรงดันในนระดับลึก (เช่นจากการถูกทิ่ม) อาศัย Pacinian corpuscle ซึ่งเป็นตัวรับแรงกลโดยสัมผัสที่ส่งสัญญาณเป็นพัก ๆ อีกอย่างหนึ่ง และอยู่ในหนังแท้ส่วนที่ลึกกว่า และอาศัยปลายประสาทอิสระบางอย่าง
อนึ่ง เม็ดไวสัมผัสไม่สามารถตรวจจับสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย (noxious stimuli) เพราะนี่เป็นหน้าที่โดยเฉพาะของปลายประสาทอิสระ/โนซิเซ็ปเตอร์
กลไกรับความรู้สึก
ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบที่หุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Meissner's corpuscle) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ เมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na+ และ Ca2+ ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์ลดขั้ว และในที่สุดก็จะส่งศักยะงานไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง ตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง ความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย
วิถีประสาท
- ดูเพิ่มเติมที่(วิถีประสาทเพื่อการรู้สัมผัสและการรู้อากัปกิริยา)
วิถีประสาทรับความรู้สึกทางกายที่ตัวรับความรู้สึกส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทกลางเพื่อการรับรู้เหนือจิตสำนึก โดยปกติจะมีนิวรอนส่งสัญญาณต่อ ๆ กันยาว 3 ตัว คือ first order neuron, second order neuron, และ third order neuron
เม็ดไวสัมผัสในระบบรับความรู้สึกทางกายจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ในสมองรวมทั้งทาลามัสและเปลือกสมอง ผ่านวิถีประสาทรวมทั้ง
- ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสละเอียด (รวมทั้งของเม็ดไวสัมผัส) จากร่างกายรวมศีรษะครึ่งหลัง ผ่านไขสันหลังไปยังทาลามัส แล้วต่อไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย โดย first order neuron อยู่ที่ปมประสาทรากหลัง ซึ่งส่งแอกซอนขึ้นผ่าน dorsal column ในไขสันหลังซีกร่างกายเดียวกันไปยัง second order neuron ที่ dorsal column nuclei ในก้านสมองซีกกายเดียวกัน ซึ่งก็ส่งแอกซอนข้ามไขว้ทแยง (decussate) ที่ medulla (ในก้านสมองเช่นกัน) แล้วขึ้นผ่าน medial lemniscus ไปยัง third order neuron ในทาลามัสส่วน ventral posteriorlateral nucleus (VPL) ซึ่งก็จะส่งแอกซอนไปสุดที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex/postcentral gyrus) ของสมองกลีบข้าง โดยข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสจะส่งไปที่บริเวณ "3b" เป็นหลัก
- ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดจากศีรษะส่วนหน้ารวมทั้งใบหน้า ไปยังทาลามัส แล้วต่อไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย โดย first order neuron อยู่ที่ปมประสาทของเส้นประสาทสมอง (รวมทั้ง trigeminal [V], facial [VII], glossopharyngeal [IX], และ vagus [X]) ซึ่งส่งแอกซอนไปยัง second order neuron ในซีกร่างกายเดียวกันที่ Trigeminal nuclei ซึงก็ส่งแอกซอนข้ามไขว้ทแยงที่ก้านสมอง (mid-pons) ไปสุดที่ทาลามัสส่วน ventral posterior medial nucleus (VPM) ส่วน third order neuron ในทาลามัสก็จะส่งแอกซอนไปที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex/postcentral gyrus) ของสมองกลีบข้างที่บริเวณ "3b" เป็นหลัก
การตั้งชื่อ
นักกายวิภาคชาวเยอรมันจอร์จ ไมส์เนอร์เป็นผู้ค้นพบเม็ดไวสัมผัส (หรือ เม็ดของไมส์เนอร์)
รูปภาพอื่น ๆ
- "Meissner's corpuscle" อยู่ด้านบนขวา
- ผังตัดขวางของผิวหนัง
- ภาพถ่ายผ่านกล้องจุลทรรศน์ ลูกศรชี้ตำแหน่งของ Meissner's corpuscle
เชิงอรรถและอ้างอิง
- "corpuscle", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(วิทยาศาสตร์) เม็ด
- "tactile", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) -รู้สัมผัส, (พฤกษศาสตร์) -ไวสัมผัส
- Gardner & Johnson 2013b, p. 509
- Purves et al 2008a, p. 213
- Cauna, Nikolajs; Ross, Leonard L. (1 October 1960). "The fine structure of Meissner's touch corpuscles of human fingers". The Journal of Cell Biology. 8 (2): 467–82. doi:10.1083/jcb.8.2.467. PMC 2224947. PMID 13691669.
- Hoffmann, Joscelyn N.; Montag, Anthony G.; Dominy, Nathaniel J. (November 2004). "Meissner corpuscles and somatosensory acuity: the prehensile appendages of primates and elephants". The Anatomical Record Part A: Discoveries in Molecular, Cellular, and Evolutionary Biology. 281 (1): 1138–47. doi:10.1002/ar.a.20119. PMID 15470674.
- Martini / Bartholomew (2010) [1995]. . Pearson Benjamin Cummings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ 2017-09-14.
- Afifi, Adel K.; Ronald Arly Bergman (2005) [1998]. Functional neuroanatomy: text and atlas. McGraw-Hill Professional. p. 16. ISBN . 10.1036/0071408126.
- "Nervous system - Touch". BBC. สืบค้นเมื่อ 7 May 2010.
- García-Mesa, Yolanda; García-Piqueras, Jorge; Cobo, Ramón; Martín-Cruces, José; Suazo, Iván; García-Suárez, Olivia; Feito, Jorge; Vega, José A. (12 June 2021). "Sensory innervation of the human male prepuce: Meissner's corpuscles predominate". Journal of Anatomy. 239 (4): 892–902. doi:10.1111/joa.13481. PMC 8450466. PMID 34120333.
- Winkelmann, R. K. (1959-01-21). "The Erogenous Zones: Their Nerve Supply and Significance". Proceedings of the Staff Meetings of the Mayo Clinic. 34 (2): 39–47. PMID 13645790.
- Gardner & Johnson 2013b, p. 482, 500
- Gardner & Johnson 2013b, The Hand Has Four Mechanoreceptors, pp. 499-502
- Goodwin & Wheat 2008, 6.03.2.3 Afferent Responses to Ramps and Vibration, p. 41-42
- Gardner & Johnson 2013b, p. 501
- Rice & Albrecht 2008, Figure 5, pp. 13; 6.01.2.2.2. (ii) Meissner corpuscles, Figure 7, pp. 17 อ้างอิง Paré et al 2002
- Rice & Albrecht 2008, pp. 7, 12
- p. 7, Figure 2 อ้างอิง
- Paré, M; Albrecht, PJ; Noto, CJ; Bodkin, NL; Pittenger, GL; Schreyer, DJ; Tigno, XT; Hansen, BC; Rice, FL (2007). "Differential hypertrophy and atrophy among all types of cutaneous innervation in the glabrous skin of the monkey hand during aging and naturally occurring type 2 diabetes". J. Comp. Neurol. 501: 543–567.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Paré et al 2002
- Paré, M; Albrecht, PJ; Noto, CJ; Bodkin, NL; Pittenger, GL; Schreyer, DJ; Tigno, XT; Hansen, BC; Rice, FL (2007). "Differential hypertrophy and atrophy among all types of cutaneous innervation in the glabrous skin of the monkey hand during aging and naturally occurring type 2 diabetes". J. Comp. Neurol. 501: 543–567.
- p. 12, Figure 4 อ้างอิง
- p. 7, Figure 2 อ้างอิง
- Rice & Albrecht 2008, 6.01.4.1.1 Meissner corpuscle innervation, pp. 23 อ้างอิง
- Purves et al (2008), Glossary, หน้า G-8, "Meissner’s corpuscles - Encapsulated cutaneous mechanosensory receptors specialized for the detection of fine touch and pressure."
- Gardner & Johnson 2013b, p. 508
- CITEREFPurves_et_al2008a
- Gardner & Johnson 2013b, p. 510
- Gardner & Johnson 2013b, p. 503
- Gardner & Johnson 2013a, p. 480
- Gardner & Johnson 2013a, p. 476, 480, 481
- Saladin, KS (2010a). "13: The Spinal Cord, Spinal Nerves, and Somatic Reflexes". Anatomy and Physiology: The Unity of Form and Function (5th ed.). New York: McGraw-Hill. pp. 486 (502). ISBN .
- Gardner & Johnson 2013a, p. 488-495
- Gardner & Johnson 2013a, p. 492, 494
- Gardner & Johnson 2013a, p. 494
- Gardner & Johnson 2013a, p. 488
- Purves et al 2008a, p. 219-220
- "Georg Meissner". www.whonamedit.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-01-30.
แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ
- Paré, M; Elde, R; Mazurkiewicz, JE; Smith, AM; Rice, FL (2001). "The Meissner corpuscle revised: a multiafferented mechanoreceptor with nociceptor immunochemical properties". J. Neurosci. 21: 7236–7246.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Paré, M; Smith, AM; Rice, FL (2002). "Distribution and terminal arborizations of cutaneous mechanoreceptors in the glabrous finger pads of the monkey". J. Comp. Neurol. 445: 347–359.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Rice, FL; Albrecht, PJ (2008). 6.01 Cutaneous Mechanisms of Tactile Perception: Morphological and Chemical Organization of the Innervation to the Skin. The Senses: A Comprehensive Reference. Vol. 6: Somatosensation. Elsevier.
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help))
- Neuroscience (2008)
- "9 - The Somatic Sensory System: Touch and Proprioception". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. 2008a. pp. 207–229. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help)) - Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. 2008. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help))
- Principles of Neural Science (2013)
- Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013a). "22 - The Somatosensory System: Receptors and Central Pathway". Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 475–497. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help)) - Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013b). "23 - Pain". Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 498–529. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|editors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=
) ((help))
แหล่งที่มา
แหล่งข้อมูลอื่น
- Donald L. Rubbelke D.A. Tissues of the Human Body: An Introduction. McGraw-Hill. 1999 Meissner's and Pacinian corpuscles
- Dawn A. Tamarkin, Ph.D.
- ภาพเนื้อเยื่อจาก 08105loa (อังกฤษ) - "Integument pigmented skin, Meissner's corpuscles "
- - "Meissner's Tactile Corpuscle"
- Histology at rutgers.edu 2006-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
emdrusmphs hrux emdiwsmphs xngkvs Meissner s corpuscle Tactile corpuscle epnplayprasathrbaerngklchnidhnungthiphiwhnngsungiwsmphsaebbeba odyechphaakkhux iwsungsudemuxrbruaerngsnrahwang 2 50 ehirts epntwrbkhwamrusukthiprbtwxyangrwderw odyhnaaennmaksudthiplayniwmux epniyprasaththimimakthisudinmuxmnusy khux 40 emdrusmphs Tactile corpuscle Dermal papillae pumhnngaeth khxngmux khyay 350 etha phaphdankhangkhxngpumhnngaeththimux chnepluxk Cortical layer emdrusmphs Tactile corpuscle iyprasathkhxngpumhnngaeth phrxmkbplxk neurolemma iyprasath 2 esnthiwingewiynepnknhxyrxb emdrusmphs playkhxngiyprasaththiwaxnhnungpumhnngaethmxngcakdanbnephuxaesdngphaphtdkhwang chnepluxk Cortical layer iyprasath chnnxkkhxng tactile body phrxmkbniwekhliys wsduis daninraylaexiydtwrabuphasalatincorpusculum tactusH3 11 06 0 00007FMA83605 aekikhbnwikisneths taaehnngemdiwsmphskracayxyutamphiwhnng aethnaaenninbriewnthiiwsmphsaebblaexiydmakthisud echn niwmuxaelapak thiphiwhnngekliyng mncaxyutidithnngkaphraphayinpumhnngaeth dermal papillae itphiwhnng 0 5 1 0 mm sungtunthisudinbrrdatwrbaerngklthiphiwekliyng 4 xyang odythimuxcaxyuthidanthngsxngkhxngkhxbsnlaymux niw aetcaimmiinphiwhnngthimiphm khnokhrngsrangemdiwsmphsepnplayprasathmiaekhpsulhum odyaekhpsulcaprakxbdwyesllsnbsnunaebn cdepnchnkhwang xnekidmacakplxkimxilin Schwann cell terminal glia cell aelaepnenuxeyuxekiywphnetmipdwyna miruprangepnwngriyaw odyyawrahwang 30 140 imokhremtr aelamiesnphansunyklangrahwang 40 60 imokhremtr txngkarxangxing okhrngsrangepnchn echnnithahnathiepntwkrxngsingerasungsamarthxthibaykartxbsnxngaebbprbtwxyangrwderwkhxngemd xyangnxykodybangswn emdaetlaemdyngechuxmkbokhrngsrangkhxngphiwhnng khux snkhxngpumhnngaeth dermal papillae phanesniykhxllaecn cungthaihiwmaktxkarlun aerngesiydthanrahwangmux niwkbwsduthicbxyu emdiwsmphscamiesnprasathmiplxkimxilinaebbhna klum Ab wingmathung 2 5 aexksxn sungemuxekhaipinemdaelwkcasuyplxkimxilinaelwwingwnewiynrahwangchntang tlxdemd odythiaexksxncakesllprasathtwhnung pkticasngsakhaipyng 10 20 emd aetngansuksainlingkphbiyprasaththimiplayepn Meissner s corpuscle ephiyngxnediywehmuxnkn xyangirkdi ngansuksainradbomelkulyngaesdngdwywa miiyprasathklum C sxngaebbthisngplayipyng Meissner corpuscle dwy iyprasathtang khxng Meissner corpuscle mikaraesdngxxkepnchxngixxxn ion channel twrbkhwamrusuk receptor aelatwsng transmitter thismphnthkbkarthayoxnkhwamrusukthiepnxunhphumi sarekhmi aelaonsiespchndwy dngnn ehtuehlanirwmkbehtuxun cungthaihkhadwa Meissner corpuscle epnokhrngsrangthayoxnaelarwbrwmkhwamrusukhlaychnid multimodal thisbsxn aelaxunhphumiaelasphaphthangekhmikhxngphiwhnngxacmiphltxsmrrthphaphkarrbaerngkltamthipraktkhwamepliynaeplngtamxayukhacanwnemdiwsmphs mm2 thiplayniwkhxngmnusycaldlng 4 etharahwangxayu 12 50 pi epnxtrathiekhakbkaresiykhwamiwsmphsepnxyangdiemuxthdsxbdwyplayelk txngkarxangxing hnathiemdiwsmphsepntwrbaerngklthiprbtwxyangrwderw sungiwtxkhwamepliynaeplngkhxngruprangaelalayphiw inkarsmphsaebbsarwchruxaebbcaaenk khwamiwsungkhxngmnepnmulthanthangprasathinkar xan xksrebrllid ephraaxyuthihnngaethswntun aelaechuxmkbokhrngsrangkhxngphiwhnngphanesniykhxllaecn cungiwtxsmphsaelaaerngsnmak emdcatxbsnxngtxsmphsaebbeba aelaaerngdn odythimuxcathaihrusuksmphsinebuxngtnemuxthukwsduhruxemuxwsdulunmux rulayphiwwsduemuxlub ruaerngsnthikhwamthirahwang 1 300 ehirtsodyiwsudthi 50 ehirts 2 50 ehirts sungepnkhwamthithieriykwainwrrnkrrmphasaxngkvswa flutter chwyihrukhwamkhrukhraaelarxynunthielkthung 10 imokhremtr mm hruxechliythi 6 mm disud 2 mm aelaemuxcbykwtthuxyu chwyihruwakhwrichaerngaekhihn aelaihruwawsdukalnglunmux cungkhwrichaerngcbmakkhun karaeprrupkhxngemdcaepnehtuihiyprasathsrangskyangan aetephraaprbtwxyangrwderw hruxsngsyyanepnphk phasic skyanganthisrangcaldxtrakaryingxyangrwderwcninthisudkhyud sungepnehtuiheraimrusukthungesuxphaxiktxip thaexasingeraxxk emdkcakhunsphaphaelainkhnaediywkn ephraarupkalngaepripxik kcaepnehtuihsrangskyanganxikchudhnunglanrbsyyanlanrbsyyankhxngtwrbaerngkl kkhuxbriewnphunthithiesllprasathtxbsnxngtxsingera thamikarsmphsphiwhnngsxngthiphayinlanrbsyyanediywkn bukhkhlnncaimsamarthcaaenkcudsxngcudechnnnid aelathamikarsmphsphayinlansyyanthitangkn bukhkhlnnkcacaaenkid dngnn khnadlanrbsyyankhxngtwrbaerngkl cungepntwkahndkarcaaenksingerathilaexiydid yingmilansyyanelkethairmiklumlanrbsyyanthixyuikl knethair kcasamarthcaaenklaexiydyingkhunethann ephraaehtuni emdrusmphsaela Merkel ending cungrwmklumxyuxyanghnaaennthiplayniwmuxsungiwkhwamrusuk aethnaaennnxykwathifamuxaelahnaaekhnthiiwsmphsnxykwa esllprasaththimiemdrusmphsepnplay milansyyanelk 25 mm2 thiplayniw sungchwyihsamarthcaaenksmphsthixyuikl knid 3 mm thiplayniw ethiybkbtwrbkhwamrusukxun karrusukthungaerngdninnradbluk echncakkarthukthim xasy Pacinian corpuscle sungepntwrbaerngklodysmphsthisngsyyanepnphk xikxyanghnung aelaxyuinhnngaethswnthilukkwa aelaxasyplayprasathxisrabangxyang xnung emdiwsmphsimsamarthtrwccbsingerathiepnxntray noxious stimuli ephraaniepnhnathiodyechphaakhxngplayprasathxisra onsiespetxrklikrbkhwamrusukplayprasathrbaerngklinrabbrbkhwamrusukthangkay camilksnathangkaywiphakhodyechphaa thiehmaakbsingera aelaodythwipxacepnaebbthihumplxk aekhpsul echn Meissner s corpuscle xnepnenuxeyuxnxkesllprasath hruxxacepnplayprasathxisra emuxenuxeyuxrxb playprasathaeprrupephraasingerathiehmaasm oprtinthiphiwkhxngesllprasathkcaaeprrupdwy thaihixxxn Na aela Ca2 ihlekhaphanchxngixxxnkhxngesllepnkraaesiffa sungthathungkhiderimepliynkcathaihesllldkhw aelainthisudkcasngskyanganipyngrabbprasathklang odyerimtnsngipthiikhsnhlnghruxkansmxng twrbkhwamrusukaetlapraephth caktaaehnngodyechphaa camiiyprasathepnkhxngtnexngcnthungikhsnhlngtlxdipcnthungsmxng khwamechphaaecaacngechnnithaihrabbprasathklangcaaenkidwa epnkhwamrusukpraephthiraelamacakswnihnkhxngrangkaywithiprasathduephimetimthiwithiprasathephuxkarrusmphsaelakarruxakpkiriya withiprasathrbkhwamrusukthangkaythitwrbkhwamrusuksngsyyanipyngrabbprasathklangephuxkarrbruehnuxcitsanuk odypkticaminiwrxnsngsyyantx knyaw 3 tw khux first order neuron second order neuron aela third order neuron emdiwsmphsinrabbrbkhwamrusukthangkaycasngkhxmulipyngsunypramwlphltang insmxngrwmthngthalamsaelaepluxksmxng phanwithiprasathrwmthng sngkhxmulekiywkbsmphslaexiyd rwmthngkhxngemdiwsmphs cakrangkayrwmsirsakhrunghlng phanikhsnhlngipyngthalams aelwtxipyngkhxrethksrbkhwamrusukthangkay ody first order neuron xyuthipmprasathrakhlng sungsngaexksxnkhunphan dorsal column inikhsnhlngsikrangkayediywknipyng second order neuron thi dorsal column nuclei inkansmxngsikkayediywkn sungksngaexksxnkhamikhwthaeyng decussate thi medulla inkansmxngechnkn aelwkhunphan medial lemniscus ipyng third order neuron inthalamsswn ventral posteriorlateral nucleus VPL sungkcasngaexksxnipsudthikhxrethksrbkhwamrusukthangkay somatosensory cortex postcentral gyrus khxngsmxngklibkhang odykhxmulekiywkbsmphscasngipthibriewn 3b epnhlk sngkhxmulekiywkbsmphslaexiydcaksirsaswnhnarwmthngibhna ipyngthalams aelwtxipyngkhxrethksrbkhwamrusukthangkay ody first order neuron xyuthipmprasathkhxngesnprasathsmxng rwmthng trigeminal V facial VII glossopharyngeal IX aela vagus X sungsngaexksxnipyng second order neuron insikrangkayediywknthi Trigeminal nuclei sungksngaexksxnkhamikhwthaeyngthikansmxng mid pons ipsudthithalamsswn ventral posterior medial nucleus VPM swn third order neuron inthalamskcasngaexksxnipthikhxrethksrbkhwamrusukthangkay somatosensory cortex postcentral gyrus khxngsmxngklibkhangthibriewn 3b epnhlkkartngchuxnkkaywiphakhchaweyxrmncxrc imsenxrepnphukhnphbemdiwsmphs hrux emdkhxngimsenxr rupphaphxun Meissner s corpuscle xyudanbnkhwa phngtdkhwangkhxngphiwhnng phaphthayphanklxngculthrrsn luksrchitaaehnngkhxng Meissner s corpuscleechingxrrthaelaxangxing corpuscle sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 withyasastr emd tactile sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 aephthysastr rusmphs phvkssastr iwsmphs Gardner amp Johnson 2013b p 509 Purves et al 2008a p 213 Cauna Nikolajs Ross Leonard L 1 October 1960 The fine structure of Meissner s touch corpuscles of human fingers The Journal of Cell Biology 8 2 467 82 doi 10 1083 jcb 8 2 467 PMC 2224947 PMID 13691669 Hoffmann Joscelyn N Montag Anthony G Dominy Nathaniel J November 2004 Meissner corpuscles and somatosensory acuity the prehensile appendages of primates and elephants The Anatomical Record Part A Discoveries in Molecular Cellular and Evolutionary Biology 281 1 1138 47 doi 10 1002 ar a 20119 PMID 15470674 Martini Bartholomew 2010 1995 Pearson Benjamin Cummings khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 04 03 subkhnemux 2017 09 14 Afifi Adel K Ronald Arly Bergman 2005 1998 Functional neuroanatomy text and atlas McGraw Hill Professional p 16 ISBN 978 0 07 001589 0 10 1036 0071408126 Nervous system Touch BBC subkhnemux 7 May 2010 Garcia Mesa Yolanda Garcia Piqueras Jorge Cobo Ramon Martin Cruces Jose Suazo Ivan Garcia Suarez Olivia Feito Jorge Vega Jose A 12 June 2021 Sensory innervation of the human male prepuce Meissner s corpuscles predominate Journal of Anatomy 239 4 892 902 doi 10 1111 joa 13481 PMC 8450466 PMID 34120333 Winkelmann R K 1959 01 21 The Erogenous Zones Their Nerve Supply and Significance Proceedings of the Staff Meetings of the Mayo Clinic 34 2 39 47 PMID 13645790 Gardner amp Johnson 2013b p 482 500 Gardner amp Johnson 2013b The Hand Has Four Mechanoreceptors pp 499 502 Goodwin amp Wheat 2008 6 03 2 3 Afferent Responses to Ramps and Vibration p 41 42harvnb error no target CITEREFGoodwinWheat2008 Gardner amp Johnson 2013b p 501 Rice amp Albrecht 2008 Figure 5 pp 13 6 01 2 2 2 ii Meissner corpuscles Figure 7 pp 17 xangxing Pare et al 2002 Rice amp Albrecht 2008 pp 7 12 p 7 Figure 2 xangxing Pare M Albrecht PJ Noto CJ Bodkin NL Pittenger GL Schreyer DJ Tigno XT Hansen BC Rice FL 2007 Differential hypertrophy and atrophy among all types of cutaneous innervation in the glabrous skin of the monkey hand during aging and naturally occurring type 2 diabetes J Comp Neurol 501 543 567 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Pare et al 2002 p 12 Figure 4 xangxing Pare et al 2001 Rice amp Albrecht 2008 6 01 4 1 1 Meissner corpuscle innervation pp 23 xangxing Pare et al 2001 Purves et al 2008 Glossary hna G 8 Meissner s corpuscles Encapsulated cutaneous mechanosensory receptors specialized for the detection of fine touch and pressure Gardner amp Johnson 2013b p 508 CITEREFPurves et al2008a Gardner amp Johnson 2013b p 510 Gardner amp Johnson 2013b p 503 Gardner amp Johnson 2013a p 480 Gardner amp Johnson 2013a p 476 480 481 Saladin KS 2010a 13 The Spinal Cord Spinal Nerves and Somatic Reflexes Anatomy and Physiology The Unity of Form and Function 5th ed New York McGraw Hill pp 486 502 ISBN 978 0 39 099995 5 Gardner amp Johnson 2013a p 488 495 Gardner amp Johnson 2013a p 492 494 Gardner amp Johnson 2013a p 494 Gardner amp Johnson 2013a p 488 Purves et al 2008a p 219 220 Georg Meissner www whonamedit com phasaxngkvs subkhnemux 2017 01 30 aehlngxangxingxun Pare M Elde R Mazurkiewicz JE Smith AM Rice FL 2001 The Meissner corpuscle revised a multiafferented mechanoreceptor with nociceptor immunochemical properties J Neurosci 21 7236 7246 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Pare M Smith AM Rice FL 2002 Distribution and terminal arborizations of cutaneous mechanoreceptors in the glabrous finger pads of the monkey J Comp Neurol 445 347 359 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Rice FL Albrecht PJ 2008 6 01 Cutaneous Mechanisms of Tactile Perception Morphological and Chemical Organization of the Innervation to the Skin The Senses A Comprehensive Reference Vol 6 Somatosensation Elsevier a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help Neuroscience 2008 9 The Somatic Sensory System Touch and Proprioception Neuroscience 4th ed Sinauer Associates 2008a pp 207 229 ISBN 978 0 87893 697 7 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help Neuroscience 4th ed Sinauer Associates 2008 ISBN 978 0 87893 697 7 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help Principles of Neural Science 2013 Gardner Esther P Johnson Kenneth O 2013a 22 The Somatosensory System Receptors and Central Pathway Principles of Neural Science 5th ed United State of America McGraw Hill pp 475 497 ISBN 978 0 07 139011 8 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help Gardner Esther P Johnson Kenneth O 2013b 23 Pain Principles of Neural Science 5th ed United State of America McGraw Hill pp 498 529 ISBN 978 0 07 139011 8 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr editors thuklaewn aenana editor help aehlngthimaGilman S 2002 Joint position sense and vibration sense anatomical organisation and assessment Journal of Neurology Neurosurgery and Psychiatry 73 5 473 477 doi 10 1136 jnnp 73 5 473 PMC 1738112 PMID 12397137 aehlngkhxmulxunDonald L Rubbelke D A Tissues of the Human Body An Introduction McGraw Hill 1999 Meissner s and Pacinian corpuscles Dawn A Tamarkin Ph D phaphenuxeyuxcak 08105loa xngkvs Integument pigmented skin Meissner s corpuscles Meissner s Tactile Corpuscle Histology at rutgers edu 2006 09 05 thi ewyaebkaemchchin