อองเลี้ยน (เสียชีวิต ป. ค.ศ. 223) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง เหลียน (จีน: 王連; พินอิน: Wáng Lián) ชื่อรอง เหวินอี๋ (จีน: 文儀; พินอิน: Wényí) เป็นขุนนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน
อองเลี้ยน (หวาง เหลียน) | |
---|---|
王連 | |
หัวหน้าเลขานุการของอัครมหาเสนาบดี (丞相長史 เฉิงเซี่ยงจ๋างสื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
นายกองทหารม้าประจำการ (屯騎校尉 ถุนฉีเซี่ยวเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 223 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ขุนพลผู้ฟื้นฟู (興業將軍 ซิงเย่เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
เจ้าเมืองจ๊ก (蜀郡太守 สู่จฺวิ้นไท่โฉฺ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
นายกองสำนักเกลือ (司鹽校尉 ซือเหยียนเซี่ยวเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
นายอำเภอกว่างตู (廣都令 กว่างตูลิ่ง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
นายอำเภอฉือฟาง (什邡令 ฉือฟางลิ่ง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 214 หรือหลังจากนั้น – ค.ศ. ? | |
นายอำเภอจื่อถง (梓潼令 จื่อถงลิ่ง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 214 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นคร มณฑลเหอหนาน |
เสียชีวิต | ป. ค.ศ. 223 |
บุตร | หวาง ชาน |
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เหวินอี๋ (文儀) |
บรรดาศักดิ์ | ผิงหยางถิงโหฺว (平陽亭侯) |
ประวัติ
อองเลี้ยนเป็นชาวเมืองลำหยง (南陽郡 หนานหยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณนคร มณฑลเหอหนาน อองเลี้ยนเดินทางเข้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นทีของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ในช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 194 ถึง ค.ศ. 214 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เมื่อเล่าเจี้ยงเป็นเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว อองเลี้ยนรับราชการเป็นนายอำเภอ (令 ลิ่ง) ของ (梓潼縣 จื่อถงเซี่ยน) ภายใต้เล่าเจี้ยงในเวลานั้น
ระหว่างปี ค.ศ. 212 ถึง ค.ศ. 214 ขุนศึกเล่าปี่รบกับเล่าเจี้ยงในสงครามแย่งชิงมณฑลเอ๊กจิ๋ว เมื่อทัพของเล่าปี่เข้าโจมตีอำเภอจื่อถง อองเลี้ยนสั่งให้ทหารซ่อนหลังกำแพงเมืองและปิดประตู ปฏิเสธที่จะยอมจำนนต่อเล่าปี่ เล่าปี่ประทับใจอองเลี้ยนที่จงรักภักดีต่อเล่าเจี้ยง จึงยกเลิกการโจมตีอำเภอจื่อถง
ในปี ค.ศ. 214 หลังเล่าปี่ยึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋วสำเร็จ ได้รับอดีตผู้ใต้บังคับบัญชาของเล่าเจี้ยงส่วนใหญ่มารับราชการกับตน เวลานั้นเล่าปี่ตั้งให้อองเลี้ยนเป็นนายอำเภอของ (什邡縣 ฉือฟางเซี่ยน) และภายหลังให้เป็นนายอำเภอของอำเภอกวางตู (廣都縣 กวางตูเซี่ยน; ปัจจุบันอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน) อองเลี้ยนปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดีและภายหลังได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายกองสำนักเกลือ (司鹽校尉 ซือเหยียนเซี่ยวเว่ย์) ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมและเหล็ก สำนักเกลือภายใต้การนำของอองเลี้ยนมีรายได้มหาศาลจากผลกำไรและภาษี ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นอองเลี้ยนยังเสนอชื่อผู้ใต้บังคับบัญชาบางคนที่มีศักยภาพสูง เช่น ลิหงี (呂乂 ลฺหวี่ อี้) (杜祺 ตู้ ฉี) และหลิว ก้าน (劉幹) แนะนำให้เลื่อนหรือแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้น ภายหลังอองเลี้ยนได้รับตำแหน่งเพิ่มเติมเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉฺ่ว) ของเมืองจ๊ก (蜀郡 สู่จฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณใจกลางนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน) และขุนพลผู้ฟื้นฟู (興業將軍 ซิงเย่เจียงจฺวิน)
ในปี ค.ศ. 223 หลังเล่าเสี้ยนขึ้นเป็นจักพรรดิแห่งรัฐจ๊กก๊ก อองเลี้ยนได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกองทหารม้าประจำการ (屯騎校尉 ถุนฉีเซี่ยวเว่ย์) และเป็นหัวหน้าเลขานุการ (長史 จ๋างสื่อ) ของจูกัดเหลียงผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี (丞相 เฉิงเซี่ยง) อองเลี้ยนยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นผิงหยางถิงโหฺว (平陽亭侯)
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 223 และ ค.ศ. 224 เมื่อเกิดกบฏขึ้นในภูมิภาคหนานจงทางตอนใต้ของจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงต้องการนำทัพจ๊กก๊กในการทัพปราบกบฏและสยบภูมิภาคหนานจงด้วยตนเอง อองเลี้ยนคัดค้านอย่างหนักแน่นกล่าวว่าจูกัดเหลียงมีสถานะที่สำคัญจึงไม่ควรเสี่ยงไปยังภูมิภาคหนานจงที่อันตราย แต่จูกัดเหลียงยืนกรานว่าจะนำการทัพด้วยตนเองเพราะกังวลว่าไม่มีขุนพลจ๊กก๊กคนใดที่มีความสามารถเพียงพอสำหรับภารกิจนี้ อย่างไรก็ตาม ความจริงใจของอองเลี้ยนก็ทำให้จูกัดเหลียงพิจารณาทบทวนอยู่หลายครั้ง ก่อนที่ในที่สุดจะตัดสินใจไปในการทัพเมื่อต้นปี ค.ศ. 225
อองเลี้ยนเสียชีวิตหลังจากนั้นอีกไม่นาน อาจจะเป็นราวปี ค.ศ. 223 หลังอองเลี้ยนเสียชีวิต หวาง ชาน (王山) บุตรชายของอองเลี้ยนสืบทอดบรรดาศักดิ์และศักดินาของบิดา หวาง ชานรับราชการเป็นขุนนางของจ๊กก๊กเช่นเดียวกับบิดา โดยมีตำแหน่งสูงสุดเป็นเจ้าเมืองเจียงหยาง (江陽郡 เจียงหยางจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนคร มณฑลเสฉวน)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. p. 824. ISBN .
- (王連字文儀,南陽人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
- (劉璋時入蜀,為梓潼令。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
- จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 66–67.
- (先主起事葭萌,進軍來南,連閉城不降,先主義之,不彊偪也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
- (及成都旣平,以連為什邡令,轉在廣都,所居有績。遷司鹽校尉,較鹽鐵之利,利入甚多,有裨國用,於是簡取良才以為官屬,若呂乂、杜祺、劉幹等,終皆至大官,自連所拔也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
- (遷蜀郡太守、興業將軍,領鹽府如故。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
- (建興元年,拜屯騎校尉,領丞相長史,封平陽亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
- (時南方諸郡不賔,諸葛亮將自征之,連諫以為「此不毛之地,疫癘之鄉,不宜以一國之望,冒險而行」。亮慮諸將才不及己,意欲必往,而連言輒懇至,故停留者乆之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
- จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 70.
- (會連卒。子山嗣,官至江陽太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
xxngeliyn esiychiwit p kh s 223 michuxinphasacinklangwa hwang ehliyn cin 王連 phinxin Wang Lian chuxrxng ehwinxi cin 文儀 phinxin Wenyi epnkhunnnangkhxngrthckkkinyukhsamkkkhxngcinxxngeliyn hwang ehliyn 王連hwhnaelkhanukarkhxngxkhrmhaesnabdi 丞相長史 echingesiyngcangsux darngtaaehnng kh s kh s kstriyelaesiynhwhnarthbalcukdehliyngnaykxngthharmapracakar 屯騎校尉 thunchiesiywewy darngtaaehnng kh s 223 223 kh s kstriyelaesiynhwhnarthbalcukdehliyngkhunphlphufunfu 興業將軍 singeyeciyngc win darngtaaehnng kh s kh s ecaemuxngck 蜀郡太守 suc winithoch w darngtaaehnng kh s kh s naykxngsankeklux 司鹽校尉 suxehyiynesiywewy darngtaaehnng kh s kh s nayxaephxkwangtu 廣都令 kwangtuling darngtaaehnng kh s kh s nayxaephxchuxfang 什邡令 chuxfangling darngtaaehnng kh s 214 hruxhlngcaknn 214 hruxhlngcaknn kh s nayxaephxcuxthng 梓潼令 cuxthngling darngtaaehnng kh s kh s 214 214 khxmulswnbukhkhlekidimthrab nkhr mnthlehxhnanesiychiwitp kh s 223butrhwang chanxachiphkhunnangchuxrxngehwinxi 文儀 brrdaskdiphinghyangthingoh w 平陽亭侯 prawtixxngeliynepnchawemuxnglahyng 南陽郡 hnanhyangc win sungpccubnxyubriewnnkhr mnthlehxhnan xxngeliynedinthangekhamnthlexkciw khrxbkhlumphunthikhxngmnthleschwnaelankhrchngchinginpccubn inchwngewlarahwang kh s 194 thung kh s 214 inchwngplayrachwngshntawnxxk emuxelaeciyngepnecamnthlexkciw xxngeliynrbrachkarepnnayxaephx 令 ling khxng 梓潼縣 cuxthngesiyn phayitelaeciynginewlann rahwangpi kh s 212 thung kh s 214 khunsukelapirbkbelaeciynginsngkhramaeyngchingmnthlexkciw emuxthphkhxngelapiekhaocmtixaephxcuxthng xxngeliynsngihthharsxnhlngkaaephngemuxngaelapidpratu ptiesththicayxmcanntxelapi elapiprathbicxxngeliynthicngrkphkditxelaeciyng cungykelikkarocmtixaephxcuxthng inpi kh s 214 hlngelapiyudkhrxngmnthlexkciwsaerc idrbxditphuitbngkhbbychakhxngelaeciyngswnihymarbrachkarkbtn ewlannelapitngihxxngeliynepnnayxaephxkhxng 什邡縣 chuxfangesiyn aelaphayhlngihepnnayxaephxkhxngxaephxkwangtu 廣都縣 kwangtuesiyn pccubnxyuthangtawnxxkechiyngehnuxkhxng nkhrechingtu mnthleschwn xxngeliynptibtihnathiidepnxyangdiaelaphayhlngideluxntaaehnngepnnaykxngsankeklux 司鹽校尉 suxehyiynesiywewy thahnathiduaelaelakhwbkhumaelaehlk sankekluxphayitkarnakhxngxxngeliynmirayidmhasalcakphlkairaelaphasi inchwngewlaediywknnnxxngeliynyngesnxchuxphuitbngkhbbychabangkhnthimiskyphaphsung echn lihngi 呂乂 l hwi xi 杜祺 tu chi aelahliw kan 劉幹 aenanaiheluxnhruxaetngtngintaaehnngthisungkhun phayhlngxxngeliynidrbtaaehnngephimetimepnecaemuxng 太守 ithoch w khxngemuxngck 蜀郡 suc win pccubnxyubriewnicklangnkhrechingtu mnthleschwn aelakhunphlphufunfu 興業將軍 singeyeciyngc win inpi kh s 223 hlngelaesiynkhunepnckphrrdiaehngrthckkk xxngeliynidrbkaraetngtngepnnaykxngthharmapracakar 屯騎校尉 thunchiesiywewy aelaepnhwhnaelkhanukar 長史 cangsux khxngcukdehliyngphuepnxkhrmhaesnabdi 丞相 echingesiyng xxngeliynyngidrbbrrdaskdiepnphinghyangthingoh w 平陽亭侯 inchwngrahwangpi kh s 223 aela kh s 224 emuxekidkbtkhuninphumiphakhhnancngthangtxnitkhxngckkk cukdehliyngtxngkarnathphckkkinkarthphprabkbtaelasybphumiphakhhnancngdwytnexng xxngeliynkhdkhanxyanghnkaennklawwacukdehliyngmisthanathisakhycungimkhwresiyngipyngphumiphakhhnancngthixntray aetcukdehliyngyunkranwacanakarthphdwytnexngephraakngwlwaimmikhunphlckkkkhnidthimikhwamsamarthephiyngphxsahrbpharkicni xyangirktam khwamcringickhxngxxngeliynkthaihcukdehliyngphicarnathbthwnxyuhlaykhrng kxnthiinthisudcatdsinicipinkarthphemuxtnpi kh s 225 xxngeliynesiychiwithlngcaknnxikimnan xaccaepnrawpi kh s 223 hlngxxngeliynesiychiwit hwang chan 王山 butrchaykhxngxxngeliynsubthxdbrrdaskdiaelaskdinakhxngbida hwang chanrbrachkarepnkhunnangkhxngckkkechnediywkbbida odymitaaehnngsungsudepnecaemuxngeciynghyang 江陽郡 eciynghyangc win pccubnxyubriewnnkhr mnthleschwn duephimraychuxbukhkhlinyukhsamkkxangxingde Crespigny Rafe 2007 A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23 220 AD Leiden Brill p 824 ISBN 9789004156050 王連字文儀 南陽人也 cdhmayehtusamkk elmthi 41 劉璋時入蜀 為梓潼令 cdhmayehtusamkk elmthi 41 cuxcuxthngeciyn elmthi 66 67 先主起事葭萌 進軍來南 連閉城不降 先主義之 不彊偪也 cdhmayehtusamkk elmthi 41 及成都旣平 以連為什邡令 轉在廣都 所居有績 遷司鹽校尉 較鹽鐵之利 利入甚多 有裨國用 於是簡取良才以為官屬 若呂乂 杜祺 劉幹等 終皆至大官 自連所拔也 cdhmayehtusamkk elmthi 41 遷蜀郡太守 興業將軍 領鹽府如故 cdhmayehtusamkk elmthi 41 建興元年 拜屯騎校尉 領丞相長史 封平陽亭侯 cdhmayehtusamkk elmthi 41 時南方諸郡不賔 諸葛亮將自征之 連諫以為 此不毛之地 疫癘之鄉 不宜以一國之望 冒險而行 亮慮諸將才不及己 意欲必往 而連言輒懇至 故停留者乆之 cdhmayehtusamkk elmthi 41 cuxcuxthngeciyn elmthi 70 會連卒 子山嗣 官至江陽太守 cdhmayehtusamkk elmthi 41 brrnanukrm tnsiw stwrrsthi 3 cdhmayehtusamkk sankwcux ephy sngcux stwrrsthi 5 xrrthathibaycdhmayehtusamkk sankwcuxcu suxhma kwang 1084 cuxcuxthngeciyn