ศิลปะของการเขียนภาพ หรือ อุปมานิทัศน์ของการเขียนภาพ หรือ จิตรกรในห้องเขียนภาพ (อังกฤษ: The Art of Painting หรือ The Allegory of Painting หรือ Painter in his Studio) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยโยฮันส์ เวร์เมร์จิตรกรสมัยบาโรกชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะในกรุงเวียนนาในประเทศออสเตรีย
ศิลปะของการเขียนภาพ | |
---|---|
ศิลปิน | โยฮันส์ เวร์เมร์ |
ปี | ค.ศ. 1666 |
ประเภท | จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา |
เวร์เมร์เขียนภาพ “ศิลปะของการเขียนภาพ” เสร็จในปี ค.ศ. 1666 ผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะหลายท่านกล่าวว่างานชิ้นนี้เป็นอุปมานิทัศน์ของการเขียนภาพฉะนั้นภาพเขียนจึงรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “อุปมานิทัศน์ของการเขียนภาพ” และเป็นภาพเขียนที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดของงานทั้งหมดที่เวร์เมร์เขียน
ภาพเขียนนี้มีชื่อเสียงเป็นภาพเขียนที่เวร์เมร์ชอบที่สุดและเป็นภาพที่เป็นงานเขียนแบบภาพลวงตา แม้ว่าจะเป็นภาพที่เขียนในสมัยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีในด้านการถ่ายภาพแต่ก็สามารถแสดงความเป็นจริงในการสร้างรายละเอียดทางจักษุอย่างภาพถ่ายได้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของภาพนี้คือการใช้สีที่สดและแสงที่จัดจ้าที่สาดเข้ามาทางหน้าต่างที่อาบบนสิ่งต่างๆ ในภาพ
เนื้อหาของภาพ
ภาพเขียนนี้เป็นภาพที่มีบรรยากาศที่เป็นเป็นส่วนตัวของจิตรกรและนางแบบภายในห้องเขียนภาพที่มีหน้าต่างอยู่ด้านหนึ่งและบนกำแพงมีแผนที่ขนาดใหญ่ของเนเธอร์แลนด์
องค์ประกอบ
ในภาพนี้มีตัวแบบเพียงสองคน: จิตรกรและนางแบบ จิตรกรเชื่อกันว่าเป็นเวร์เมร์เองแต่เราไม่เห็นใบหน้า
สิ่งของต่างๆ ในห้องเขียนภาพหลายสิ่งดูไม่ควรจะเป็นสิ่งของที่น่าจะมีในห้องเขียนภาพของจิตรกรตามปกติ พื้นหินอ่อนตาหมากรุกและโคมทองเหลืองเป็นตัวอย่างของสิ่งที่ตามปกติแล้วจะเป็นสิ่งของที่มีอยู่ในบ้านของผู้มีฐานะดีเท่านั้น
แผนที่ในฉากหลังเป็นแผนที่ของกลุ่มสหพันธ์สิบเจ็ดจังหวัดของเนเธอร์แลนด์ขนาบด้วยศูนย์กลางของอำนาจที่พิมพ์โดยแคลส ยานสซ์ วิสเชอร์ (Claes Jansz Visscher) ในปี ค.ศ. 1635
สัญลักษณ์และอุปมานิทัศน์
ผู้เชี่ยวชาญพบสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์หลายอย่างในภาพเขียนนี้ หัวเรืองของภาพคือ (Clio) ผู้เป็นมิวส์ของประวัติศาสตร์ ที่เห็นได้จากการที่ตัวแบบสวมมงกุฏช่อลอเรลถือทรัมเป็ต (=ชื่อเสียง) และอาจจะถือหนังสือที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์กรีกธูซิดดิดีส
เหยี่ยวสองหัวกลางโคมเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์แฮ็บสเบิร์กแห่งออสเตรียที่เดิมเป็นผู้ครองฮอลแลนด์อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อของนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเวร์เมร์เองผู้เป็นโรมันคาทอลิกในประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นโปรเตสแตนต์ การที่โคมระย้าไม่มีเทียนอาจจะหมายถึงการกดความเชื่อของนิกายโรมันคาทอลิก
แผนที่บนฉากหลังมีรอบพับที่แยกด้านเหนือของเนเธอร์แลนด์จากด้านใต้ (ด้านตะวันตกอยู่ทางเหนือของแผนที่ตามธรรมเนียมที่ทำกัน) รอบพับเป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกสารธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ทางเหนือและกลุ่มจังหวัดทางใต้ที่ปกครองโดยแฮ็บสเบิร์ก แผนที่วาดโดย Claes Jansz Visscher (Nicolaum Piscatorem) และเขียนก่อนหน้าที่ภาพเขียนนี้และแสดงการแบ่งแยกทางการเมืองก่อนหน้าสมัยที่ภาพนี้เขียนที่เป็นการแบ่งแยกระหว่างสหภาพอูเทร็คช์ทางเหนือและอาณานิคมทางใต้
หน้ากากที่วางอยู่บนโต๊ะข้างจิตรกรเชื่อกันว่าเป็น (death mask) ที่เป็นสัญลักษณ์ของความด้อยสมรรถภาพของแฮ็บสเบิร์ก[]
ซัลบาดอร์ ดาลีกล่าวถึง “ศิลปะของการเขียนภาพ” ในงานจิตรกรรมเหนือจริง “” (The Ghost of Vermeer of Delft Which Can Be Used As a Table) ในภาพเขียนของดาลีร่างของเวร์เมร์เห็นจากข้างหลังที่สร้างเป็นโต๊ะที่รูปร่างแปลก
ประวัติ
ภาพเขียนนี้เป็นภาพเขียนชิ้นสำคัญเพราะเวร์เมร์ไม่ยอมขายแม้เมื่อมีหนี้สิน ในปี ค.ศ. 1676 คาทารินาแม่หม้ายของเวร์เมร์ยกภาพเขียนให้มาเรีย ทินส์ผู้เป็นแม่เพื่อจะเลี่ยงการที่จะต้องขายภาพนี้เพราะหนี้สิน แต่อันโทน ฟาน เลเวนเฮิคผู้จัดการมรดกของเวร์เมร์กล่าวว่าการโอนภาพเขียนไปให้แม่ยายของเวร์เมร์เป็นการผิดกฎหมาย
ภาพเขียนนี้เป็นของผู้ที่ได้รับจาก (Gottfried van Swieten) จนกระทั่งเคานท์โยฮันน์ รูดอล์ฟ เซร์นินแห่งออสเตรียซื้อเป็นจำนวนเงิน 50 ดัทช์ฟลอรินในปี ค.ศ. 1813 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1860 ภาพเขียนนี้เชื่อกันว่าเขียนโดยจิตรกรคู่แข่งของเวร์เมร์เปียเตอร์ เดอ ฮูค (Pieter de Hooch) ถึงกับมีการปลอมลายเซ็นของฮูคบนภาพนี้ จนกระทั่งผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานของเวร์เมร์ชาวฝรั่งเศส Théophile Thoré-Bürger และนักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวเยอรมัน (Gustav Friedrich Waagen) เข้ามาเกี่ยวข้องจึงได้ทราบกันว่าเป็นภาพเขียนของเวร์เมร์ ภาพเขียนตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์เซร์นินในเวียนนา และ (Andrew W. Mellon) มิใช่แต่เพียงผู้เดียวที่ต้องการเป็นเจ้าของภาพเขียนนี้
ความสนใจของนาซี
หลังจากนาซีเข้ารุกรานออสเตรีย นายทหารคนสำคัญของนาซีรวมทั้งแฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Göring) ผู้พยายามเป็นเจ้าของภาพนี้ ในที่สุดอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก็ซื้อภาพนี้จากเคานท์จาโรเมร์ เซร์นินเป็นจำนวนเงิน 1.65 ล้านไรค์สมาร์คเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ออสเตรียได้รับภาพเขียนนี้คืนหลังจากที่ถูกนำไปเก็บไว้ในเหมืองเกลือเพื่อป้องกันจากการถูกระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 ฝ่ายอเมริกาคืนภาพเขียนให้แก่รัฐบาลออสเตรียในปี ค.ศ. 1946 ในปัจจุบันภาพนี้จึงเป็นสมบัติของประเทศออสเตรีย
อ้างอิง
- http://www.metmuseum.org/special/Vermeer_Delft/11.R.htm
- เวร์เมร์: The Art of Painting, Exhibitions - NGA
- John Michael Montias (1989) Vermeer and his Milieu. A Web of Social History, p. 338-339.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-18. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
- Hitler and the European Art
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-18. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
ดูเพิ่ม
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha silpakhxngkarekhiynphaph hrux xupmanithsnkhxngkarekhiynphaph hrux citrkrinhxngekhiynphaph xngkvs The Art of Painting hrux The Allegory of Painting hrux Painter in his Studio epnphaphekhiynsinamnthiekhiynodyoyhns ewremrcitrkrsmybaorkchawenethxraelnd thipccubntngaesdngxyuthiphiphithphnthprawtisastrsilpainkrungewiynnainpraethsxxsetriysilpakhxngkarekhiynphaphsilpinoyhns ewremrpikh s 1666praephthcitrkrrmsinamnbnphaibsthanthiphiphithphnthprawtisastrsilpa ewiynna ewremrekhiynphaph silpakhxngkarekhiynphaph esrcinpi kh s 1666 phuechiywchaythangsilpahlaythanklawwanganchinniepnxupmanithsnkhxngkarekhiynphaphchannphaphekhiyncungruckkninxikchuxhnungwa xupmanithsnkhxngkarekhiynphaph aelaepnphaphekhiynthiihythisudaelasbsxnthisudkhxngnganthnghmdthiewremrekhiyn phaphekhiynnimichuxesiyngepnphaphekhiynthiewremrchxbthisudaelaepnphaphthiepnnganekhiynaebbphaphlwngta aemwacaepnphaphthiekhiyninsmythiyngimmiethkhonolyiindankarthayphaphaetksamarthaesdngkhwamepncringinkarsrangraylaexiydthangcksuxyangphaphthayid singthisakhyxikxyanghnungkhxngphaphnikhuxkarichsithisdaelaaesngthicdcathisadekhamathanghnatangthixabbnsingtang inphaphenuxhakhxngphaphphaphekhiynniepnphaphthimibrryakasthiepnepnswntwkhxngcitrkraelanangaebbphayinhxngekhiynphaphthimihnatangxyudanhnungaelabnkaaephngmiaephnthikhnadihykhxngenethxraelnd xngkhprakxb inphaphnimitwaebbephiyngsxngkhn citrkraelanangaebb citrkrechuxknwaepnewremrexngaeteraimehnibhna singkhxngtang inhxngekhiynphaphhlaysingduimkhwrcaepnsingkhxngthinacamiinhxngekhiynphaphkhxngcitrkrtampkti phunhinxxntahmakrukaelaokhmthxngehluxngepntwxyangkhxngsingthitampktiaelwcaepnsingkhxngthimixyuinbankhxngphumithanadiethann aephnthiinchakhlngepnaephnthikhxngklumshphnthsibecdcnghwdkhxngenethxraelndkhnabdwysunyklangkhxngxanacthiphimphodyaekhls yanss wisechxr Claes Jansz Visscher inpi kh s 1635 sylksnaelaxupmanithsn phuechiywchayphbsingthiepnsylksnhlayxyanginphaphekhiynni hweruxngkhxngphaphkhux Clio phuepnmiwskhxngprawtisastr thiehnidcakkarthitwaebbswmmngkutchxlxerlthuxthrmept chuxesiyng aelaxaccathuxhnngsuxthiekhiynodynkprawtisastrkrikthusiddidis ehyiywsxnghwklangokhmepnsylksnkhxngrachwngsaehbsebirkaehngxxsetriythiedimepnphukhrxnghxlaelndxaccaepnsylksnkhxngkhwamechuxkhxngnikayormnkhathxlik sungepnsylksnkhxngewremrexngphuepnormnkhathxlikinpraethsthiprachachnswnihyepnopretsaetnt karthiokhmrayaimmiethiynxaccahmaythungkarkdkhwamechuxkhxngnikayormnkhathxlik aephnthibnchakhlngmirxbphbthiaeykdanehnuxkhxngenethxraelndcakdanit dantawntkxyuthangehnuxkhxngaephnthitamthrrmeniymthithakn rxbphbepnsylksnkhxngkaraebngaeyksartharnrthenethxraelndthangehnuxaelaklumcnghwdthangitthipkkhrxngodyaehbsebirk aephnthiwadody Claes Jansz Visscher Nicolaum Piscatorem aelaekhiynkxnhnathiphaphekhiynniaelaaesdngkaraebngaeykthangkaremuxngkxnhnasmythiphaphniekhiynthiepnkaraebngaeykrahwangshphaphxuethrkhchthangehnuxaelaxananikhmthangit hnakakthiwangxyubnotakhangcitrkrechuxknwaepn death mask thiepnsylksnkhxngkhwamdxysmrrthphaphkhxngaehbsebirk txngkarxangxing slbadxr daliklawthung silpakhxngkarekhiynphaph inngancitrkrrmehnuxcring The Ghost of Vermeer of Delft Which Can Be Used As a Table inphaphekhiynkhxngdalirangkhxngewremrehncakkhanghlngthisrangepnotathiruprangaeplkprawtiphaphekhiynniepnphaphekhiynchinsakhyephraaewremrimyxmkhayaememuxmihnisin inpi kh s 1676 khatharinaaemhmaykhxngewremrykphaphekhiynihmaeriy thinsphuepnaemephuxcaeliyngkarthicatxngkhayphaphniephraahnisin aetxnothn fan elewnehikhphucdkarmrdkkhxngewremrklawwakaroxnphaphekhiynipihaemyaykhxngewremrepnkarphidkdhmay phaphekhiynniepnkhxngphuthiidrbcak Gottfried van Swieten cnkrathngekhanthoyhnn rudxlf esrninaehngxxsetriysuxepncanwnengin 50 dthchflxrininpi kh s 1813 cnkrathngpi kh s 1860 phaphekhiynniechuxknwaekhiynodycitrkrkhuaekhngkhxngewremrepiyetxr edx hukh Pieter de Hooch thungkbmikarplxmlayesnkhxnghukhbnphaphni cnkrathngphuechiywchayekiywkbngankhxngewremrchawfrngess Theophile Thore Burger aelankprawtisastrsilpachaweyxrmn Gustav Friedrich Waagen ekhamaekiywkhxngcungidthrabknwaepnphaphekhiynkhxngewremr phaphekhiyntngaesdngthiphiphithphnthesrnininewiynna aela Andrew W Mellon miichaetephiyngphuediywthitxngkarepnecakhxngphaphekhiynni khwamsnickhxngnasi hlngcaknasiekharukranxxsetriy naythharkhnsakhykhxngnasirwmthngaehrmnn wilehlm ekxring Hermann Goring phuphyayamepnecakhxngphaphni inthisudxdxlf hitelxrksuxphaphnicakekhanthcaoremr esrninepncanwnengin 1 65 lanirkhsmarkhemuxwnthi 20 phvscikayn kh s 1940 xxsetriyidrbphaphekhiynnikhunhlngcakthithuknaipekbiwinehmuxngekluxephuxpxngkncakkarthukraebidrahwangsngkhramolkkhrngthisxnginpi kh s 1945 fayxemrikakhunphaphekhiynihaekrthbalxxsetriyinpi kh s 1946 inpccubnphaphnicungepnsmbtikhxngpraethsxxsetriyxangxinghttp www metmuseum org special Vermeer Delft 11 R htm ewremr The Art of Painting Exhibitions NGA John Michael Montias 1989 Vermeer and his Milieu A Web of Social History p 338 339 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 05 18 subkhnemux 2009 06 11 Hitler and the European Art khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 05 18 subkhnemux 2009 06 11 duephimoyhns ewremr xupmanithsn phaphehmuxn