ศรีปราชญ์ เป็นบุคคลซึ่งเอกสารพม่าและมอญที่เขียนจากคำบอกเล่าระบุว่า เป็นข้าราชสำนักสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราชและถูกเจ้าเมืองประหาร ก่อนตายแช่งเจ้าเมืองให้ตายด้วยดาบเดียวกัน และภายหลังก็เป็นไปตามนั้น เรื่องราวของเขาได้รับการดัดแปลงและขยายความอย่างมากในเวลาต่อมา โดยระบุว่า เป็นข้าราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ เป็นบุตรชายของพระโหราธิบดี มีความสามารถทางร้อยกรอง และไปเสียชีวิตที่นครศรีธรรมราชเหมือนในเอกสารเดิม เขายังได้รับการนำเสนอว่า เป็นกวีเอกและบุคคลสำคัญของชาติไทย
ศรีปราชญ์ | |
---|---|
อาชีพ | นักประพันธ์ |
ภาษา | ภาษาไทย |
ช่วงเวลา | กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย |
ผลงานที่สำคัญ | ยังเป็นที่ถกเถียง |
อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์เห็นว่า เขาไม่มีตัวตนจริง เพราะปราศจากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เขายังน่าจะเป็นเพียงตัวละครเอกในเรื่องเล่าขานของชาวบ้าน ทำนองเดียวกับศรีธนญชัย โดยทั้งศรีปราชญ์และศรีธนญชัยน่าจะรับมาจากนิทานอินโดนีเซียหรือเปอร์เซีย ศรีปราชญ์เป็นตัวแทนความซื่อตรง ศรีธนญชัยเป็นตัวแทนความคดโกง
อนึ่ง เดิมเชื่อว่า เขาเป็นผู้ประพันธ์ร้อยกรองเรื่อง กำสรวลศรีปราชญ์ นอกเหนือไปจากเรื่องอื่น ๆ แต่ปัจจุบันมีข้อเสนอว่า เป็นพระนิพนธ์ของพระบรมราชาที่ 3 พระโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เรื่องราว
เอกสารพม่ามอญ
เรื่องราวของศรีปราชญ์ปรากฏในเอกสารพม่าซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงได้มาจากแห่งมัณฑะเลย์เมื่อ พ.ศ. 2454 ทรงเชื่อว่า เขียนขึ้นจากการสอบปากคำชาวกรุงศรีอยุธยาที่ถูกจับไปเป็นเชลยเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 จึงให้แปลออกเป็นภาษาไทยและใช้ชื่อว่า คำให้การชาวกรุงเก่า เอกสารนี้ระบุว่า ศรีปราชญ์เป็นบุคคลที่พระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) ทรงชุบเลี้ยงไว้ เพราะเขารอบรู้ทางศาสนาและโหราศาสตร์ ทั้งยังเก่งทางโคลงกลอน เขาแต่งร้อยกรองถวายพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีเป็นที่พอพระทัยเสมอ แต่เขาแอบแต่งเพลงยาวหาสนมนางหนึ่งของพระองค์ เมื่อทรงจับได้ ก็มิได้ฆ่า เพราะเสียดายความสามารถ ทรงเนรเทศเขาไปนครศรีธรรมราชแทน แต่ศรีปราชญ์เป็นคนเจ้าชู้ ไปอยู่นครศรีธรรมราชก็ไปแต่งเพลงยาวหาภรรยาเจ้าเมือง เจ้าเมืองจึงให้ฆ่า คนทั้งหลายห้ามไว้เจ้าเมืองก็ไม่ฟัง ก่อนตายศรีปราชญ์แช่งไว้ว่า "ดาบที่ฆ่าเรานี้ภายหลังจงกลับฆ่าคนที่ใช้ให้ฆ่าเราเถิด" ต่อมา พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีทรงรำลึกถึงศรีปราชญ์ ทรงให้เรียกตัวกลับกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อทรงทราบว่า เขาถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชประหารแล้ว ก็มีท้องตราออกไปให้ประหารเจ้าเมืองด้วยดาบเดียวกับที่ใช้ประหารศรีปราชญ์
เอกสารอีกฉบับที่ปรากฏเรื่องศรีปราชญ์ คือ คำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเชื่อว่า มีที่มาเดียวกับ คำให้การชาวกรุงเก่า แต่ คำให้การขุนหลวงหาวัด เป็นภาษามอญ และรัชกาลที่ 4 ทรงให้แปลออกเป็นภาษาไทย เอกสารนี้ระบุว่า พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีโปรดมหาดเล็กคนหนึ่งเพราะมีฝีมือทางร้อยกรอง จึงประทานนามให้ว่า ศรีปราชญ์ แต่ศรีปราชญ์แต่งโคลงหานางใน จึงทรงเนรเทศเขาไปนครศรีธรรมราช ศรีปราชญ์ไปอยู่นครศรีธรรมราชก็ไปแต่งโคลงหาอนุภรรยาของเจ้าเมือง เจ้าเมืองจึงให้เอาไปฆ่า ก่อนตายศรีปราชญ์แช่งไว้ว่า "เรานี้เป็นปราชญ์หลวง แล้วก็เป็นลูกครูบาอาจารย์ แต่องค์พระมหากษัตริย์ยังไม่ฆ่าเราให้ถึงแก่ความตาย ผู้นี้เป็นเจ้าเมืองนคร จักมาฆ่าเราให้ตาย เราก็จักต้องตายด้วยดาบเจ้าเมืองนคร สืบไปเบื้องหน้าขอให้ดาบนี้คืนสนองเถิด" แล้วเขียนโคลงแช่งลงพื้นดินไว้ให้ประจักษ์ ต่อมา พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีทรงให้เรียกตัวเขากลับ แต่เมื่อทรงทราบว่า เขาถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชประหารเสียแล้ว ก็มีรับสั่งให้เอาดาบที่ใช้ประหารศรีปราชญ์นั้นประหารเจ้าเมืองตามไป
การขยายความ
เรื่องราวของศรีปราชญ์ได้รับการดัดแปลงและขยายความเป็นอันมากในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในงานเขียนของพระยาตรัง กวีเอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และงานเขียนของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ข้าราชการสมัยรัชกาลที่ 6
เรื่องราวที่ดัดแปลงนี้ระบุว่า ศรีปราชญ์มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ชื่อเดิมว่า ศรี เป็นบุตรชายของพระโหราธิบดี เกิดราว พ.ศ. 2196 ประมาณ 3 ปีก่อนสมเด็จพระนารายณ์ทรงขึ้นครองราชย์ วันหนึ่งในราว พ.ศ. 2205 สมเด็จพระนารายณ์ทรงนิพนธ์โคลงค้างไว้ 2 บาทว่า
อันใดย้ำแก้มแม่ | หมองหมาย | |
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย | ลอบกล้ำ (บางฉบับว่า ลอบย้ำ) | |
แล้วทรงให้พระโหราธิบดีกลับไปแต่งต่ออีก 2 บาทให้เต็มบท พระโหราธิบดีคิดไม่ออก ศรีจึงแต่งต่อว่า
ผิวชนแต่จะกราย | ยังยาก | |
ใครจักอาจให้ช้ำ | ชอกเนื้อเรียมสงวน | |
พระโหราธิบดีนำขึ้นถวาย สมเด็จพระนารายณ์พอพระทัยมาก จึงโปรดให้ศรีเข้าเป็นมหาดเล็ก พระโหราธิบดีรู้ว่า ลูกชายเป็นคนอุกอาจ จึงทูลขอพระราชทานโทษไว้ว่า วันใดลูกชายทำผิดถึงตาย ขออย่าได้ทรงประหาร เป็นแต่เนรเทศก็พอ สมเด็จพระนารายณ์ก็โปรดให้ตามนั้น
ต่อมา สมเด็จพระนารายณ์เสด็จประพาสป่าแก้ว ฝูงลิงร่วมประเวณีอยู่บนต้นไม้ ตรัสถามศรีว่า ลิงทำอะไรกัน ศรีทูลด้วยโวหารว่า "นั้นคือเสียงมักกโฏ...มันทำสมัครสังวาสผิดประหลาดกว่าธรรมดา" บางฉบับก็ว่า ลิงในป่าแก้วถ่ายมูลรดศีรษะขุนนางผู้ใหญ่ ทุกคนหัวเราะจนสมเด็จพระนารายณ์ตื่นบรรทม ทรงถามว่า เกิดอะไรขึ้น ศรีทูลด้วยโวหารว่า "พยัคฆะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยาเดโช" สมเด็จพระนารายณ์เห็นว่า ศรีมีสติปัญญา จึงพระราชทานนามให้โดยตรัสว่า "ศรีเอ๋ย เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ตั้งแต่บัดนี้"
ต่อมา เจ้านครเชียงใหม่ เสด็จลงมากรุงศรีอยุธยา ได้พบศรีปราชญ์ และประลองปัญญาโต้ตอบกันเป็นโคลงดังนี้
พระแสนหลวง: ศรีเอยพระเจ้าฮื่อ | ปางใด | |
ศรีปราชญ์: ฮื่อเมื่อเสด็จไป | ป่าแก้ว | |
พระแสนหลวง: รังสีบ่สดใส | สักหยาด | |
ศรีปราชญ์: ดำแต่นอกในแผ้ว | ผ่องเนื้อนพคุณ |
เรื่องราวที่ได้รับการขยายความนี้มีอีกหลายแห่งที่กล่าวถึงความสามารถของศรีปราชญ์ในการเจรจาเป็นร้อยกรอง เช่น ระบุว่า ศรีปราชญ์ได้รับพระราชทานแหวน เดินผ่านประตูวัง และนายประตูทัก จึงโต้ตอบกันดังนี้
นายประตู: แหวนนี้ท่านได้แต่ | ใดมา | |
ศรีปราชญ์: เจ้าพิภพโลกา | ท่านให้ | |
นายประตู: ทำชอบสิ่งใดนา | วานบอก | |
ศรีปราชญ์: เราแต่งโคลงถวายไท้ | ท่านให้รางวัล |
ต่อมา ศรีปราชญ์ล่วงเกินนางในคนหนึ่ง โดยนางแต่งโคลงต่อว่าเขาว่า
หะหายกระต่ายเต้น | ชมจันทร์ | |
มันบ่เจียมตัวมัน | ต่ำต้อย | |
นกยูงหางกระสัน | ถึงเมฆ | |
มันบ่เจียมตัวน้อย | ต่ำต้อยเดียรฉาน |
และเขาแต่งตอบว่า
หะหายกระต่ายเต้น | ชมแข | |
สูงส่งสุดตาแล | สู่ฟ้า | |
ระดูฤดีแด | สัตว์สู่ กันนา | |
อย่าว่าเราเจ้าข้า | อยู่พื้นดินเดียว |
เรื่องราวดังกล่าวระบุว่า นางในคนนั้น คือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) สนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ โดยเชื่อมโยงกับ กำสรวลศรีปราชญ์ ที่เชื่อว่า เขาแต่งให้หญิงนาม ศรีจุฬาลักษณ์ การล่วงละเมิดนางในเป็นความผิดถึงตาย แต่สมเด็จพระนารายณ์ทรงเนรเทศเขาไปนครศรีธรรมราชแทน ตามที่ทรงรับปากไว้กับบิดาของเขา เขาถูกเนรเทศไปในเดือนยี่
ที่นครศรีธรรมราช ศรีปราชญ์ถูกกล่าวหาว่า มีสัมพันธ์กับอนุภรรยาของเจ้าเมือง และถูกประหารชีวิตใน พ.ศ. 2226 ก่อนตายเขาเขียนโคลงสาปแช่งไว้บนพื้นดินว่า
ธรณีนี่นี้ | เป็นพยาน | |
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ | หนึ่งบ้าง | |
เราผิดท่านประหาร | เราชอบ | |
เราบ่ผิดท่านมล้าง | ดาบนี้คืนสนอง |
บางแหล่งระบุ 2 บาทแรกของโคลงดังกล่าวไว้แตกต่างออกไปดังนี้
ธรณีภพนี้เพ่ง | ทิพญาณ หนึ่งรา | |
เราก็ลูกอาจารย์ | หนึ่งบ้าง | |
ต่อมา สมเด็จพระนารายณ์ทรงรำลึกถึงเขา จึงรับสั่งให้เรียกตัวเขากลับกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อทรงทราบว่า เขาถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชประหารแล้ว จึงรับสั่งให้เอาดาบที่ใช้ประหารเขานั้นประหารเจ้าเมืองตายตกตามกันสมดังคำสาปแช่งของเขา
มีผู้เชื่อว่า ที่ประหารศรีปราชญ์ ปัจจุบันคือ และสระล้างดาบที่ใช้ประหารนั้น ปัจจุบันคือ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
การนำเสนอ
เรื่องราวของศรีปราชญ์ได้รับการผลิตซ้ำในฐานะกวีเอกและบุคคลสำคัญของชาติไทย ทั้งยังปรากฏในแบบเรียน จนเหมือนเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
มุมมองทางประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์เห็นว่า เรื่องราวของศรีปราชญ์เป็น "จินตนาการ" มากกว่าเป็นความจริง เพราะไม่เคยมีการบันทึกที่น่าเชื่อถือได้
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า เอกสารพม่ามอญข้างต้นมีหลายส่วนที่เลอะเทอะคลาดเคลื่อน รับสั่งว่า "วิเคราะห์ดูเนื้อเรื่องตอนพงศาวดารเข้าใจว่า คงจะเป็นคำให้การตามที่พวกไทยจำได้คนละเล็กละน้อยช่วยกันปะติดปะต่อ ไม่ได้มีหนังสือพงศาวดารไทยติดไปด้วย อีกประการหนึ่ง จะเป็นด้วยพวกไทยที่ถูกพม่าถามประสงค์จะรักษาเกียรติมิให้พม่าข้าศึกรู้เรื่องอันใดจึงจะเป็นเหตุให้หมิ่นประมาทชาติไทย ไม่ได้ตั้งใจจะแสดงเรื่องราวในพระราชพงศาวดารแม้ที่จำได้ให้แก่พม่าทุกอย่างไป เรื่องพงศาวดารตามคำให้การนี้จึงเคลื่อนคลาดนัก"
เช่นเดียวกับสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่กล่าวว่า "คำให้การชาวกรุงเก่า เป็นหนังสือคำให้การของเชลยชาวกรุงศรีอยุธยาหลายคนที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปเมื่อคราวกรุงแตก พ.ศ. 2310 แล้วให้การเป็นภาษาไทย แต่แปลเป็นภาษามอญและพม่า แล้วถ่ายกลับมาเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง เรื่องราวต่าง ๆ จึงเลอะเลือน 'ใส่สีใส่ไข่' จนสับสนไปหมด"
สุจิตต์ยังเห็นว่า เรื่องของศรีปราชญ์เป็นเพียงนิทานเล่าขานทำนองเดียวกับศรีธนญชัย โดยศรีปราชญ์เป็นตัวแทนของความกล้าหาญ ซื่อตรง แข็งกร้าว และรักความเป็นธรรม ส่วนศรีธนญชัยเป็นตัวแทนของความกะล่อน ปลิ้นปล้อน เจ้าเล่ห์ ขี้โกง และเอารัดเอาเปรียบ สุจิตต์เสนอว่า เรื่องทั้งของศรีปราชญ์และศรีธนญชัยน่าจะได้รับมาจากวัฒนธรรมอินโดนีเซียหรือเปอร์เซียไว้เล่าสู่กันฟังคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวันตามระบอบจารีตประเพณี
ผลงาน
กำสรวลศรีปราชญ์
เดิมเชื่อว่า ศรีปราชญ์เป็นเจ้าของบทประพันธ์เรื่อง กำสรวลศรีปราชญ์ เพราะเริ่มด้วยโคลงบทนี้
กำสรวลศรีปราชญ์ร้าง | แรมสมร | |
เสาะแต่ปางนคร | ล่มแล้ว | |
ไป่พบไป่พานกลอน | โคลงท่าน จบแฮ | |
จวบแต่ต้นปลายแคล้ว | หนึ่งน้อยยืมถวาย |
แต่ลักษณะทางภาษาที่เก่าแก่ รูปแบบคำประพันธ์ ตลอดจนเนื้อหาที่บรรยาย เช่น เส้นทางล่องเรือ ศิลปกรรม สถานที่ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประพันธ์กับผู้ที่กล่าวถึงในคำประพันธ์ ทำให้นักวิชาการในปัจจุบันเห็นว่า กำสรวลศรีปราชญ์ ประพันธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ไม่ใช่ตอนปลายอันเป็นยุคของศรีปราชญ์ และไม่ใช่ผลงานของศรีปราชญ์ที่ไม่น่ามีตัวตนจริง
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีแล้วเสนอเมื่อ พ.ศ. 2502 ว่า กำสรวลศรีปราชญ์ เป็นผลงานของพระบรมราชาที่ 3 พระโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ทรงประพันธ์ถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สตรีสูงศักดิ์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ในคราวที่ต้องจากกัน เพราะท้าวศรีจุฬาลักษณ์ต้องตามเสด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปพิษณุโลก เมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 2006 ส่วนพระบรมราชาต้องทรงรั้งกรุงศรีอยุธยา ไม่อาจติดตามขึ้นไปด้วย[Note 1]
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ยังเสนอให้เรียก กำสรวลศรีปราชญ์ ว่า กำสรวลสมุทร เพราะน่าจะเป็นชื่อที่ถูกต้องกว่า ทั้งนี้ กำสรวลสมุทร เป็นชื่อที่อ้างถึงในตำรา จินดามณี
อื่น ๆ
ยังมีผลงานอื่น ๆ ที่เชื่อกันว่า เป็นฝีมือของศรีปราชญ์ เช่น อนิรุทธ์คำฉันท์ และ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นงานของเขาจริงหรือไม่ สืบเนื่องจากทฤษฎีที่ว่า เขาไม่น่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
ในวัฒนธรรมประชานิยม
เรื่องของศรีปราชญ์จัดทำเป็นภาพยนตร์ชื่อ เมื่อ พ.ศ. 2500 ผู้กำกับ คือ นักแสดงนำ คือ และ
ศรีปราชญ์ยังเป็นตัวละครในนวนิยายเรื่อง บุพเพสันนิวาส ของรอมแพง พิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2552 โดยเป็นบุตรชายของพระโหราธิบดี และเป็นพี่ชายของขุนศรีวิสารวาจา ตัวเอกฝ่ายชายของเรื่อง ในการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์เมื่อ พ.ศ. 2561 ผู้รับบทศรีปราชญ์ คือ ณฐณพ ชื่นหิรัญ
เชิงอรรถ
- ^ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ว่า "ศักราช 825 มะแมศก (พ.ศ. 2006) สมเด็จพระบรมใตรโลกเจ้าไปเสวยราชสมบัติเมืองพีดณูโลก แลตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระนาม สมเด็จบรมราชา"
อ้างอิง
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, 2553: 545–546.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, 2553: 741–742.
- ปิยะนัย เกตุทอง, 2561: ออนไลน์.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2561: ออนไลน์.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, 2553: 429.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, 2553: 693–694.
- สัมพันธ์ ก้องสมุทร, 2527: 134.
- สำนวน แสงเพ็ง, 2527: 138.
- ธนากิต, 2545: 116.
- สัมพันธ์ ก้องสมุทร, 2527: 135–136.
- ธนากิต, 2545: 116–117.
- สัมพันธ์ ก้องสมุทร, 2527: 136–137.
- ธนากิต, 2545: 118.
- ธนากิต, 2545: 119.
- สัมพันธ์ ก้องสมุทร, 2527: 141.
- ธนากิต, 2545: 119–120.
- สัมพันธ์ ก้องสมุทร, 2527: 142.
- ธนากิต, 2545: 120.
- สำนวน แสงเพ็ง, 2527: 139.
- สัมพันธ์ ก้องสมุทร, 2527: 133.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, 2553: 434.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2540: 30.
- "ศรีปราชญ์ (2500)": ม.ป.ป.: ออนไลน์.
- "พลิกปูม 'ศรีปราชญ์' กวีเอกของขุนหลวงนารายณ์...", 2561: ออนไลน์.
- ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1, 2542: 216.
บรรณานุกรม
- ธนากิต (2545). วีรบุรุษ วีรสตรี และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ปิรามิด. ISBN .
- ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2542. ISBN .
- ปิยะนัย เกตุทอง (2561-03-12). "นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชี้ชัด ศรีปราชญ์ มหากวีเอกผู้โด่งดัง ไม่มีตัวตนจริง". tnews.co.th. กรุงเทพฯ: Tnews.co.th. สืบค้นเมื่อ 2561-04-07.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา. 2553. ISBN .
- "พลิกปูม 'ศรีปราชญ์' กวีเอกของขุนหลวงนารายณ์ พี่ชายของ 'คุณพี่หมื่น'". khaosod.co.th. กรุงเทพฯ: ข่าวสด. 2561-04-04. สืบค้นเมื่อ 2561-04-07.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - "ศรีปราชญ์ (2500)". library.mju.ac.th. กรุงเทพฯ: กลุ่มภารกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 2561-04-07.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
((help))[] - สัมพันธ์ ก้องสมุทร (2527). วีรบุรุษ–วีรสตรี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ISBN .
- สุจิตต์ วงษ์เทศ (2540). ท้าวศรีสุดาจันทร์ 'แม่หยั่วเมือง' ใครว่าหล่อนชั่ว?. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN .
- สุจิตต์ วงษ์เทศ (2561-03-12). "ศรีปราชญ์ไม่มีจริง แต่เป็นนิทานคู่กับศรีธนญชัย". matichon.co.th. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2561-04-07.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - สำนวน แสงเพ็ง (2546). บันทึกกรุงศรีอยุธยาในสายตาฝรั่ง. กรุงเทพฯ: แม็ค. ISBN .
อ่านเพิ่ม
- คมทวน คันธนู (2530). วิเคราะห์วรรณกรรม วิจารณ์วรรณกร: วิเคราะห์กำสรวล (ศรีปราชญ์)ฯ : ศึกษา 200 ปีสุนทรภู่จากผลงาน. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
- ล้อม เพ็งแก้ว (2549). สุจิตต์ วงษ์เทศ (บ.ก.). กำสรวลสมุทร หรือกำสรวลศรีปราชญ์ เป็นพระราชนิพนธ์ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN .
แหล่งข้อมูลอื่น
ศรีปราชญ์
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sriprachy epnbukhkhlsungexksarphmaaelamxythiekhiyncakkhabxkelarabuwa epnkharachsanksmedcphrasrrephchythi 8 phraecaesux aehngkrungsrixyuthya thukenrethsipnkhrsrithrrmrachaelathukecaemuxngprahar kxntayaechngecaemuxngihtaydwydabediywkn aelaphayhlngkepniptamnn eruxngrawkhxngekhaidrbkarddaeplngaelakhyaykhwamxyangmakinewlatxma odyrabuwa epnkharachsanksmedcphranarayn epnbutrchaykhxngphraohrathibdi mikhwamsamarththangrxykrxng aelaipesiychiwitthinkhrsrithrrmrachehmuxninexksaredim ekhayngidrbkarnaesnxwa epnkwiexkaelabukhkhlsakhykhxngchatiithysriprachyxachiphnkpraphnthphasaphasaithychwngewlakrungsrixyuthyatxnplayphlnganthisakhyyngepnthithkethiyngsaena kasrwlsriprachy tnrtnoksinthr xyangirkdi nkprawtisastrehnwa ekhaimmitwtncring ephraaprascakkarbnthukthangprawtisastrthiechuxthuxid ekhayngnacaepnephiyngtwlakhrexkineruxngelakhankhxngchawban thanxngediywkbsrithnychy odythngsriprachyaelasrithnychynacarbmacaknithanxinodniesiyhruxepxresiy sriprachyepntwaethnkhwamsuxtrng srithnychyepntwaethnkhwamkhdokng xnung edimechuxwa ekhaepnphupraphnthrxykrxngeruxng kasrwlsriprachy nxkehnuxipcakeruxngxun aetpccubnmikhxesnxwa epnphraniphnthkhxngphrabrmrachathi 3 phraoxrskhxngsmedcphrabrmitrolknatheruxngrawexksarphmamxy eruxngrawkhxngsriprachypraktinexksarphmasungkrmphrayadarngrachanuphaphthrngidmacakaehngmnthaelyemux ph s 2454 thrngechuxwa ekhiynkhuncakkarsxbpakkhachawkrungsrixyuthyathithukcbipepnechlyemuxkhrawesiykrungkhrngthi 2 cungihaeplxxkepnphasaithyaelaichchuxwa khaihkarchawkrungeka exksarnirabuwa sriprachyepnbukhkhlthiphraecasurieynthrathibdi phraecaesux thrngchubeliyngiw ephraaekharxbruthangsasnaaelaohrasastr thngyngekngthangokhlngklxn ekhaaetngrxykrxngthwayphraecasurieynthrathibdiepnthiphxphrathyesmx aetekhaaexbaetngephlngyawhasnmnanghnungkhxngphraxngkh emuxthrngcbid kmiidkha ephraaesiydaykhwamsamarth thrngenrethsekhaipnkhrsrithrrmrachaethn aetsriprachyepnkhnecachu ipxyunkhrsrithrrmrachkipaetngephlngyawhaphrryaecaemuxng ecaemuxngcungihkha khnthnghlayhamiwecaemuxngkimfng kxntaysriprachyaechngiwwa dabthikhaeraniphayhlngcngklbkhakhnthiichihkhaeraethid txma phraecasurieynthrathibdithrngralukthungsriprachy thrngiheriyktwklbkrungsrixyuthya aetemuxthrngthrabwa ekhathukecaemuxngnkhrsrithrrmrachpraharaelw kmithxngtraxxkipihpraharecaemuxngdwydabediywkbthiichpraharsriprachy exksarxikchbbthiprakteruxngsriprachy khux khaihkarkhunhlwnghawd sungkrmphrayadarngrachanuphaphthrngechuxwa mithimaediywkb khaihkarchawkrungeka aet khaihkarkhunhlwnghawd epnphasamxy aelarchkalthi 4 thrngihaeplxxkepnphasaithy exksarnirabuwa phraecasurieynthrathibdioprdmhadelkkhnhnungephraamifimuxthangrxykrxng cungprathannamihwa sriprachy aetsriprachyaetngokhlnghanangin cungthrngenrethsekhaipnkhrsrithrrmrach sriprachyipxyunkhrsrithrrmrachkipaetngokhlnghaxnuphrryakhxngecaemuxng ecaemuxngcungihexaipkha kxntaysriprachyaechngiwwa eraniepnprachyhlwng aelwkepnlukkhrubaxacary aetxngkhphramhakstriyyngimkhaeraihthungaekkhwamtay phuniepnecaemuxngnkhr ckmakhaeraihtay erakcktxngtaydwydabecaemuxngnkhr subipebuxnghnakhxihdabnikhunsnxngethid aelwekhiynokhlngaechnglngphundiniwihpracks txma phraecasurieynthrathibdithrngiheriyktwekhaklb aetemuxthrngthrabwa ekhathukecaemuxngnkhrsrithrrmrachpraharesiyaelw kmirbsngihexadabthiichpraharsriprachynnpraharecaemuxngtamip karkhyaykhwam hnapk tanansriprachy ph s 2462 khxngphrayapriytithrrmthada aeph talalksmn eruxngrawkhxngsriprachyidrbkarddaeplngaelakhyaykhwamepnxnmakinsmyrtnoksinthr odyechphaainnganekhiynkhxngphrayatrng kwiexksmytnkrungrtnoksinthr aelanganekhiynkhxngphrayapriytithrrmthada aeph talalksmn kharachkarsmyrchkalthi 6 eruxngrawthiddaeplngnirabuwa sriprachymichiwitxyuinrchsmysmedcphranarayn chuxedimwa sri epnbutrchaykhxngphraohrathibdi ekidraw ph s 2196 praman 3 pikxnsmedcphranaraynthrngkhunkhrxngrachy wnhnunginraw ph s 2205 smedcphranaraynthrngniphnthokhlngkhangiw 2 bathwa xnidyaaekmaem hmxnghmayyungehluxbvirinphray lxbkla bangchbbwa lxbya aelwthrngihphraohrathibdiklbipaetngtxxik 2 bathihetmbth phraohrathibdikhidimxxk sricungaetngtxwa phiwchnaetcakray yngyakikhrckxacihcha chxkenuxeriymsngwn phraohrathibdinakhunthway smedcphranaraynphxphrathymak cungoprdihsriekhaepnmhadelk phraohrathibdiruwa lukchayepnkhnxukxac cungthulkhxphrarachthanothsiwwa wnidlukchaythaphidthungtay khxxyaidthrngprahar epnaetenrethskphx smedcphranaraynkoprdihtamnn txma smedcphranaraynesdcpraphaspaaekw funglingrwmpraewnixyubntnim trsthamsriwa lingthaxairkn srithuldwyowharwa nnkhuxesiyngmkkot mnthasmkhrsngwasphidprahladkwathrrmda bangchbbkwa linginpaaekwthaymulrdsirsakhunnangphuihy thukkhnhweraacnsmedcphranarayntunbrrthm thrngthamwa ekidxairkhun srithuldwyowharwa phykhkha khxedcha wanra thayxuccara rdsirsa phrayaedoch smedcphranaraynehnwa srimistipyya cungphrarachthannamihodytrswa sriexy ecacngepnsriprachytngaetbdni txma ecankhrechiyngihm esdclngmakrungsrixyuthya idphbsriprachy aelapralxngpyyaottxbknepnokhlngdngni phraaesnhlwng sriexyphraecahux pangidsriprachy huxemuxesdcip paaekwphraaesnhlwng rngsibsdis skhyadsriprachy daaetnxkinaephw phxngenuxnphkhun eruxngrawthiidrbkarkhyaykhwamnimixikhlayaehngthiklawthungkhwamsamarthkhxngsriprachyinkarecrcaepnrxykrxng echn rabuwa sriprachyidrbphrarachthanaehwn edinphanpratuwng aelanaypratuthk cungottxbkndngni naypratu aehwnnithanidaet idmasriprachy ecaphiphpholka thanihnaypratu thachxbsingidna wanbxksriprachy eraaetngokhlngthwayith thanihrangwl txma sriprachylwngekinnanginkhnhnung odynangaetngokhlngtxwaekhawa hahaykratayetn chmcnthrmnbeciymtwmn tatxynkyunghangkrasn thungemkhmnbeciymtwnxy tatxyediyrchan aelaekhaaetngtxbwa hahaykratayetn chmaekhsungsngsudtaael sufaraduvdiaed stwsu knnaxyawaeraecakha xyuphundinediyw eruxngrawdngklawrabuwa nanginkhnnn khux thawsriculalksn aecm snmexkkhxngsmedcphranarayn odyechuxmoyngkb kasrwlsriprachy thiechuxwa ekhaaetngihhyingnam sriculalksn karlwnglaemidnanginepnkhwamphidthungtay aetsmedcphranaraynthrngenrethsekhaipnkhrsrithrrmrachaethn tamthithrngrbpakiwkbbidakhxngekha ekhathukenrethsipineduxnyi thinkhrsrithrrmrach sriprachythukklawhawa mismphnthkbxnuphrryakhxngecaemuxng aelathukpraharchiwitin ph s 2226 kxntayekhaekhiynokhlngsapaechngiwbnphundinwa thrninini epnphyaneraksisymixacary hnungbangeraphidthanprahar erachxberabphidthanmlang dabnikhunsnxng bangaehlngrabu 2 bathaerkkhxngokhlngdngklawiwaetktangxxkipdngni thrniphphniephng thiphyan hnungraeraklukxacary hnungbang txma smedcphranaraynthrngralukthungekha cungrbsngiheriyktwekhaklbkrungsrixyuthya aetemuxthrngthrabwa ekhathukecaemuxngnkhrsrithrrmrachpraharaelw cungrbsngihexadabthiichpraharekhannpraharecaemuxngtaytktamknsmdngkhasapaechngkhxngekha miphuechuxwa thipraharsriprachy pccubnkhux orngeriynxnubalnkhrsrithrrmrach n nkhrxuthis aelasralangdabthiichpraharnn pccubnkhux orngeriynklyanisrithrrmrach karnaesnx eruxngrawkhxngsriprachyidrbkarphlitsainthanakwiexkaelabukhkhlsakhykhxngchatiithy thngyngpraktinaebberiyn cnehmuxnepnbukhkhlthimitwtncringinprawtisastr mummxngthangprawtisastr nkprawtisastrehnwa eruxngrawkhxngsriprachyepn cintnakar makkwaepnkhwamcring ephraaimekhymikarbnthukthinaechuxthuxid krmphrayadarngrachanuphaphthrngehnwa exksarphmamxykhangtnmihlayswnthielxaethxakhladekhluxn rbsngwa wiekhraahduenuxeruxngtxnphngsawdarekhaicwa khngcaepnkhaihkartamthiphwkithycaidkhnlaelklanxychwyknpatidpatx imidmihnngsuxphngsawdarithytidipdwy xikprakarhnung caepndwyphwkithythithukphmathamprasngkhcarksaekiyrtimiihphmakhasukrueruxngxnidcungcaepnehtuihhminpramathchatiithy imidtngiccaaesdngeruxngrawinphrarachphngsawdaraemthicaidihaekphmathukxyangip eruxngphngsawdartamkhaihkarnicungekhluxnkhladnk echnediywkbsucitt wngseths thiklawwa khaihkarchawkrungeka epnhnngsuxkhaihkarkhxngechlychawkrungsrixyuthyahlaykhnthithukphmakwadtxnipemuxkhrawkrungaetk ph s 2310 aelwihkarepnphasaithy aetaeplepnphasamxyaelaphma aelwthayklbmaepnphasaithyxikthihnung eruxngrawtang cungelxaeluxn issiisikh cnsbsniphmd sucittyngehnwa eruxngkhxngsriprachyepnephiyngnithanelakhanthanxngediywkbsrithnychy odysriprachyepntwaethnkhxngkhwamklahay suxtrng aekhngkraw aelarkkhwamepnthrrm swnsrithnychyepntwaethnkhxngkhwamkalxn plinplxn ecaelh khiokng aelaexardexaepriyb sucittesnxwa eruxngthngkhxngsriprachyaelasrithnychynacaidrbmacakwthnthrrmxinodniesiyhruxepxresiyiwelasuknfngkhlaykhwamtungekhriydinchiwitpracawntamrabxbcaritpraephniphlngankasrwlsriprachy edimechuxwa sriprachyepnecakhxngbthpraphntheruxng kasrwlsriprachy ephraaerimdwyokhlngbthni kasrwlsriprachyrang aermsmresaaaetpangnkhr lmaelwipphbipphanklxn okhlngthan cbaehcwbaettnplayaekhlw hnungnxyyumthway aetlksnathangphasathiekaaek rupaebbkhapraphnth tlxdcnenuxhathibrryay echn esnthanglxngerux silpkrrm sthanthi aelakhwamsmphnthrahwangphupraphnthkbphuthiklawthunginkhapraphnth thaihnkwichakarinpccubnehnwa kasrwlsriprachy praphnthkhuninsmykrungsrixyuthyatxntn imichtxnplayxnepnyukhkhxngsriprachy aelaimichphlngankhxngsriprachythiimnamitwtncring hmxmecacnthrcirayuwthn rchni trwcsxbhlkthanthangobrankhdiaelwesnxemux ph s 2502 wa kasrwlsriprachy epnphlngankhxngphrabrmrachathi 3 phraoxrskhxngsmedcphrabrmitrolknath thithrngpraphnththungthawsriculalksn strisungskdiaehngxanackrsuokhthy inkhrawthitxngcakkn ephraathawsriculalksntxngtamesdcsmedcphrabrmitrolknathkhunipphisnuolk emuxnghlwngkhxngxanackrsuokhthy emux ph s 2006 swnphrabrmrachatxngthrngrngkrungsrixyuthya imxactidtamkhunipdwy Note 1 hmxmecacnthrcirayuwthnyngesnxiheriyk kasrwlsriprachy wa kasrwlsmuthr ephraanacaepnchuxthithuktxngkwa thngni kasrwlsmuthr epnchuxthixangthungintara cindamni xun yngmiphlnganxun thiechuxknwa epnfimuxkhxngsriprachy echn xniruththkhachnth aela aetkyngepnthithkethiyngknxyuwa epnngankhxngekhacringhruxim subenuxngcakthvsdithiwa ekhaimnamitwtncringinprawtisastrinwthnthrrmprachaniymeruxngkhxngsriprachycdthaepnphaphyntrchux emux ph s 2500 phukakb khux nkaesdngna khux aela sriprachyyngepntwlakhrinnwniyayeruxng buphephsnniwas khxngrxmaephng phimphkhrngaerkin ph s 2552 odyepnbutrchaykhxngphraohrathibdi aelaepnphichaykhxngkhunsriwisarwaca twexkfaychaykhxngeruxng inkarddaeplngepnlakhrothrthsnemux ph s 2561 phurbbthsriprachy khux nthnph chunhiryechingxrrth phrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith wa skrach 825 maaemsk ph s 2006 smedcphrabrmitrolkecaipeswyrachsmbtiemuxngphidnuolk aeltrsihphraecaaephndineswyrachsmbtiphrankhrsrixyuththya thrngphranam smedcbrmracha xangxingphrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaexksarxun 2553 545 546 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaexksarxun 2553 741 742 piyany ektuthxng 2561 xxniln sucitt wngseths 2561 xxniln phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaexksarxun 2553 429 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaexksarxun 2553 693 694 smphnth kxngsmuthr 2527 134 sanwn aesngephng 2527 138 thnakit 2545 116 smphnth kxngsmuthr 2527 135 136 thnakit 2545 116 117 smphnth kxngsmuthr 2527 136 137 thnakit 2545 118 thnakit 2545 119 smphnth kxngsmuthr 2527 141 thnakit 2545 119 120 smphnth kxngsmuthr 2527 142 thnakit 2545 120 sanwn aesngephng 2527 139 smphnth kxngsmuthr 2527 133 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaexksarxun 2553 434 sucitt wngseths 2540 30 sriprachy 2500 m p p xxniln phlikpum sriprachy kwiexkkhxngkhunhlwngnarayn 2561 xxniln prachumphngsawdar chbbkaycnaphiesk elm 1 2542 216 brrnanukrmthnakit 2545 wirburus wirstri aelabukhkhlsakhyinprawtisastrithy krungethph piramid ISBN 974 298 102 7 prachumphngsawdar chbbkaycnaphiesk elm 1 krungethph krmsilpakr 2542 ISBN 9744192151 piyany ektuthxng 2561 03 12 nkwichakardanprawtisastrchichd sriprachy mhakwiexkphuodngdng immitwtncring tnews co th krungethph Tnews co th subkhnemux 2561 04 07 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaexksarxun krungethph sripyya 2553 ISBN 978 616 7146 08 9 phlikpum sriprachy kwiexkkhxngkhunhlwngnarayn phichaykhxng khunphihmun khaosod co th krungethph khawsd 2561 04 04 subkhnemux 2561 04 07 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help sriprachy 2500 library mju ac th krungethph klumpharkicethkhonolyithangkarsuksa sankhxsmud mhawithyalyaemoc m p p subkhnemux 2561 04 07 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate aela date help lingkesiy smphnth kxngsmuthr 2527 wirburus wirstri krungethph oxediynsotr ISBN 974 275 883 2 sucitt wngseths 2540 thawsrisudacnthr aemhywemuxng ikhrwahlxnchw krungethph mtichn ISBN 974 7311 70 4 sucitt wngseths 2561 03 12 sriprachyimmicring aetepnnithankhukbsrithnychy matichon co th krungethph mtichn subkhnemux 2561 04 07 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help sanwn aesngephng 2546 bnthukkrungsrixyuthyainsaytafrng krungethph aemkh ISBN 974 9610 77 6 xanephimkhmthwn khnthnu 2530 wiekhraahwrrnkrrm wicarnwrrnkr wiekhraahkasrwl sriprachy suksa 200 pisunthrphucakphlngan krungethph dxkhya lxm ephngaekw 2549 sucitt wngseths b k kasrwlsmuthr hruxkasrwlsriprachy epnphrarachniphnthyukhtnkrungsrixyuthya krungethph mtichn ISBN 978 974 323 608 2 aehlngkhxmulxunwikisxrsmingantnchbbsungepnphlngankhxnghruxekiywkhxngkb sriprachy