วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เป็นกระบวนการที่ดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในตามลำดับไปในช่วงอายุของมัน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามขนาดของมวลของดาวฤกษ์นั้น ๆ อายุของดาวฤกษ์มีตั้งแต่ไม่กี่ล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก ๆ) ไปจนถึงหลายล้านล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย) ซึ่งอาจจะมากกว่าอายุของเอกภพเสียอีก
การศึกษาวิวัฒนาการของดาวฤกษ์มิได้ทำเพียงการเฝ้าสังเกตดาวดวงหนึ่งดวงใด ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้ามากจนยากจะตรวจจับได้แม้เวลาจะผ่านไปหลายศตวรรษ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำความเข้าใจกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์โดยการสังเกตการณ์ดาวจำนวนมาก โดยที่แต่ละดวงอยู่ที่ช่วงอายุแตกต่างกัน แล้วทำการจำลองออกมาโดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ช่วย
กำเนิดของดาวฤกษ์
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การพังทลายของแรงโน้มถ่วงของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ (GMC) เมฆโมเลกุลโดยมากจะมีขนาดกว้างประมาณ 100 ปีแสง และมีมวลประมาณ 6,000,000 มวลดวงอาทิตย์ เมื่อแรงโน้มถ่วงพังทลายลง เมฆโมเลกุลขนาดยักษ์จะแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แก๊สจากเศษเมฆแต่ละส่วนจะปล่อยพลังงานศักย์จากแรงโน้มถ่วงออกมากลายเป็นความร้อน เมื่ออุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น เศษซากจะอัดแน่นมากขึ้นกลายเป็นรูปทรงกลมหมุนของแก๊สที่ร้อนจัด รู้จักกันในชื่อว่า ดาวฤกษ์ก่อนเกิด (protostar)
ดาวฤกษ์ก่อนเกิดที่มีมวลน้อยกว่า 0.08 มวลดวงอาทิตย์จะไม่สามารถทำอุณหภูมิได้สูงพอให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของไฮโดรเจนได้ ดาวเหล่านี้จะกลายเป็นดาวแคระน้ำตาล ดาวแคระน้ำตาลที่มีมวลมากกว่า 13 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี (ประมาณ 2.5 × 1028 กก.) จะสามารถทำให้ดิวเทอเรียมหลอมละลายได้ นักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งจะเรียกเฉพาะวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวว่าเป็นดาวแคระน้ำตาล วัตถุที่มวลต่ำแบบนี้ซึ่งรวมถึงดาวแคราะน้ำตาลด้วยจะเรียกรวมว่าเป็นวัตถุมวลต่ำกว่าดาวฤกษ์ (substellar object) แต่ไม่ว่าจะเป็นดาวประเภทใด ดิวเทอเรียมจะหลอมเหลวได้หรือไม่ ต่างก็ส่องแสงเพียงริบหรี่และค่อย ๆ ตายไปอย่างช้า ๆ อุณหภูมิของมันลดลงเรื่อย ๆ ตลอดช่วงเวลาหลายร้อยล้านปี
สำหรับดาวฤกษ์ก่อนเกิดที่มีมวลมากกว่า อุณหภูมิที่แกนกลางสามารถขึ้นไปได้สูงถึง 10 เมกะเคลวิน ทำให้เริ่มต้น และทำให้ไฮโดรเจนสามารถหลอมเหลวดิวเทอเรียมและฮีเลียมได้ สำหรับมวลมากกว่า 1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ กระบวนการวงจร CNO จะทำให้เกิดองค์ประกอบสำคัญในการสร้างพลังงาน และทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันดำเนินไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะสมดุลอุทกสถิต คือการที่พลังงานที่ปลดปล่อยจากแกนกลางทำให้เกิด "แรงดันการแผ่รังสี" ที่สมดุลกับมวลของดาวฤกษ์ ซึ่งจะป้องกันการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์นั้นก็จะเข้าสู่สภาวะที่เสถียร และเริ่มดำเนินไปตามแถบลำดับหลักของมันบนเส้นทางวิวัฒนาการ
ดาวฤกษ์เกิดใหม่จะเข้ามาอยู่ในช่วงหนึ่งช่วงใดบนแถบลำดับหลักตามแผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล โดยที่(ประเภทสเปกตรัม)ของแถบลำดับหลักขึ้นอยู่กับมวลของดาวฤกษ์ดวงนั้น ดาวแคระแดงมวลน้อยที่มีขนาดเล็กและอุณหภูมิค่อนข้างต่ำจะเผาผลาญไฮโดรเจนอย่างช้า ๆ และอยู่บนแถบลำดับหลักได้นานเป็นเวลาหลายแสนล้านปี ขณะที่ดาวยักษ์อุณหภูมิสูงและมีมวลมากจะออกจากแถบลำดับหลักไปในเวลาเพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้น ดาวฤกษ์ขนาดกลางเช่นดวงอาทิตย์ของเราจะอยู่บนแถบลำดับหลักได้ประมาณ 1 หมื่นล้านปี เชื่อว่าปัจจุบันดวงอาทิตย์อยู่ในช่วงกึ่งกลางของอายุของมันแล้ว แต่อย่างไรก็ยังคงอยู่บนแถบลำดับหลักอยู่
สภาวะทั่วไป
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ซากดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ เมื่อพลังงานความร้อนภายในดวงดาวจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเริ่มหมดไป ดาวฤกษ์จะมีแรงดันลดลงจนถึงจุดวิกฤต เมื่อแรงดันมีค่าน้อยกว่าแรงดึงดูดซึ่งเกิดจากมวลของดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์จะเริ่มยุบตัวลงจนกลายเป็นดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน หรือ หลุมดำในที่สุด ในระหว่างการยุบตัวหากแกนกลางดาวดาวฤกษ์ไม่เสถียรและแตกออก จะเกิดการยุบตัวและปลดปล่อยแรงกระแทกสู่ชั้นอื่น ๆ ของดาวฤกษ์ เกิดเป็นมหานวดาราปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา เศษซากดาวจะกระจายออกเป็นวงกว้างกลายเป็นกลุ่มเมฆแก๊สขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าเนบิวลา
อ้างอิง
- Dina Prialnik (2000). An Introduction to the Theory of Stellar Structure and Evolution. Cambridge University Press. pp. chapter 10. ISBN .
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
wiwthnakarkhxngdawvks epnkrabwnkarthidawvksepliynaeplngxngkhprakxbphayintamladbipinchwngxayukhxngmn sungcamilksnaaetktangkntamkhnadkhxngmwlkhxngdawvksnn xayukhxngdawvksmitngaetimkilanpi sahrbdawvksthimimwlmak ipcnthunghlaylanlanpi sahrbdawvksthimimwlnxy sungxaccamakkwaxayukhxngexkphphesiyxikesnewlaaesdngxayukhxngdwngxathity karsuksawiwthnakarkhxngdawvksmiidthaephiyngkarefasngektdawdwnghnungdwngid dawvksswnihymikarepliynaeplngxyangchamakcnyakcatrwccbidaemewlacaphaniphlaystwrrs nkfisiksdarasastrthakhwamekhaickbwiwthnakarkhxngdawvksodykarsngektkarndawcanwnmak odythiaetladwngxyuthichwngxayuaetktangkn aelwthakarcalxngxxkmaodyichaebbcalxngkhxmphiwetxrchwykaenidkhxngdawvksyankaeniddawvkskhnadyksindarackrsamehliym wiwthnakarkhxngdawvkserimtnkhuntngaetkarphngthlaykhxngaerngonmthwngkhxngemkhomelkulkhnadyks GMC emkhomelkulodymakcamikhnadkwangpraman 100 piaesng aelamimwlpraman 6 000 000 mwldwngxathity emuxaerngonmthwngphngthlaylng emkhomelkulkhnadykscaaetkxxkepnchinelkchinnxy aekscakessemkhaetlaswncaplxyphlngnganskycakaerngonmthwngxxkmaklayepnkhwamrxn emuxxunhphumiaelakhwamdnephimsungkhun esssakcaxdaennmakkhunklayepnrupthrngklmhmunkhxngaeksthirxncd ruckkninchuxwa dawvkskxnekid protostar dawvkskxnekidthimimwlnxykwa 0 08 mwldwngxathitycaimsamarththaxunhphumiidsungphxihekidptikiriyaniwekhliyrfiwchnkhxngihodrecnid dawehlanicaklayepndawaekhranatal dawaekhranatalthimimwlmakkwa 13 ethakhxngmwldawphvhsbdi praman 2 5 1028 kk casamarththaihdiwethxeriymhlxmlalayid nkdarasastrcanwnhnungcaeriykechphaawtthuthangdarasastrthimikhunsmbtidngklawwaepndawaekhranatal wtthuthimwltaaebbnisungrwmthungdawaekhraanataldwycaeriykrwmwaepnwtthumwltakwadawvks substellar object aetimwacaepndawpraephthid diwethxeriymcahlxmehlwidhruxim tangksxngaesngephiyngribhriaelakhxy tayipxyangcha xunhphumikhxngmnldlngeruxy tlxdchwngewlahlayrxylanpi sahrbdawvkskxnekidthimimwlmakkwa xunhphumithiaeknklangsamarthkhunipidsungthung 10 emkaekhlwin thaiherimtn aelathaihihodrecnsamarthhlxmehlwdiwethxeriymaelahieliymid sahrbmwlmakkwa 1 ethakhxngmwldwngxathity krabwnkarwngcr CNO cathaihekidxngkhprakxbsakhyinkarsrangphlngngan aelathaihptikiriyaniwekhliyrfiwchndaeniniptxenuxngxyangrwderwcnkrathngekhasusphawasmdulxuthksthit khuxkarthiphlngnganthipldplxycakaeknklangthaihekid aerngdnkaraephrngsi thismdulkbmwlkhxngdawvks sungcapxngknkaryubtwcakaerngonmthwng dawvksnnkcaekhasusphawathiesthiyr aelaerimdaeniniptamaethbladbhlkkhxngmnbnesnthangwiwthnakar dawvksekidihmcaekhamaxyuinchwnghnungchwngidbnaethbladbhlktamaephnphaphkhxngaehrtsprxng rsesil odythipraephthsepktrmkhxngaethbladbhlkkhunxyukbmwlkhxngdawvksdwngnn dawaekhraaedngmwlnxythimikhnadelkaelaxunhphumikhxnkhangtacaephaphlayihodrecnxyangcha aelaxyubnaethbladbhlkidnanepnewlahlayaesnlanpi khnathidawyksxunhphumisungaelamimwlmakcaxxkcakaethbladbhlkipinewlaephiyngimkilanpiethann dawvkskhnadklangechndwngxathitykhxngeracaxyubnaethbladbhlkidpraman 1 hmunlanpi echuxwapccubndwngxathityxyuinchwngkungklangkhxngxayukhxngmnaelw aetxyangirkyngkhngxyubnaethbladbhlkxyusphawathwipswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidsakdawvksdawvks emuxphlngngankhwamrxnphayindwngdawcakptikiriyaniwekhliyrfiwchnerimhmdip dawvkscamiaerngdnldlngcnthungcudwikvt emuxaerngdnmikhanxykwaaerngdungdudsungekidcakmwlkhxngdawvks dawvkscaerimyubtwlngcnklayepndawaekhrakhaw dawniwtrxn hrux hlumdainthisud inrahwangkaryubtwhakaeknklangdawdawvksimesthiyraelaaetkxxk caekidkaryubtwaelapldplxyaerngkraaethksuchnxun khxngdawvks ekidepnmhanwdarapldplxyphlngnganmhasalxxkma esssakdawcakracayxxkepnwngkwangklayepnklumemkhaekskhnadihyhruxthieriykwaenbiwlaxangxingDina Prialnik 2000 An Introduction to the Theory of Stellar Structure and Evolution Cambridge University Press pp chapter 10 ISBN 0521650658 bthkhwamdarasastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk