ภาษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; มลายู: Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملايو فطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (มลายูปัตตานี: บาซอ ยาวี, บอซอ ยาวี, อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล)
ภาษามลายูปัตตานี | |
---|---|
บาซอ 'นายู 'ตานิง แกแจะ 'นายู بهاس ملايو ڤطاني | |
ออกเสียง | /baˈsɔ ˈnːaju ˈtːaniŋ/ |
ประเทศที่มีการพูด | ไทย, มาเลเซีย |
ภูมิภาค | ประเทศไทย: จังหวัดปัตตานี, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดยะลา, จังหวัดสงขลา (อำเภอสะบ้าย้อย, อำเภอจะนะ, อำเภอนาทวี, อำเภอเทพา), กรุงเทพมหานคร (เขตมีนบุรี, เขตคลองสามวา, เขตหนองจอก) ประเทศมาเลเซีย: รัฐกลันตัน รัฐปะหัง และ รัฐตรังกานู และปาดังเตอรัป รัฐเกอดะฮ์ อำเภอฮูลูเปรัก (และ) รัฐเปรัก |
ชาติพันธุ์ | มลายูปัตตานี มลายูบางกอก |
จำนวนผู้พูด | 3 ล้านคนในประเทศไทย (2549) 2 ล้านคนในประเทศมาเลเซีย[] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
ระบบการเขียน | อักษรยาวี, อักษรไทย, อักษรรูมี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | mfa |
ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตันและในอำเภอฮูลูเปรัก รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมกันเป็นภาษาเดียวกันว่า ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู กือลาแต-'ตานิง; กลันตัน: Baso nayu Kelate-Taning)
ระบบเสียง
พยัญชนะ
ลักษณะการออกเสียง | ตำแหน่งเกิดเสียง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | m | n | ɲ | ŋ | ||||
เสียงกึ่งนาสิก | mb | nd | ɲɟ | ŋg | ||||
เสียงหยุด | ก้อง | b | d | ɟ | g | |||
ไม่ก้อง | ไม่พ่นลม | p | t | c | k | ʔ | ||
พ่นลม | (pʰ) | (tʰ) | (cʰ) | (kʰ) | ||||
ก้อง | (z) | ɣ | ||||||
ไม่ก้อง | (f) | s | (x) | h | ||||
r | ||||||||
l | ||||||||
w | j |
- หน่วยเสียงที่อยู่ในวงเล็บคือหน่วยเสียงที่ปรากฏในคำยืม เช่น /kʰeʔ/ 'เค้ก', /tʰorasaʔ/ 'โทรศัพท์'
- หน่วยเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์มี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/, /ʔ/ และ /h/ เช่น /tɨpoŋ/ 'ขนม', /kɔtɔʔ/ 'กล่อง', /panah/ 'ร้อน'
- หน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิกเป็นหน่วยเสียงที่ไม่พบทั้งในภาษามาเลเซียและภาษาไทย เกิดจากการรวบเสียงพยัญชนะนาสิกเข้ากับเสียงพยัญชนะกักซึ่งใช้ฐานกรณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันจนกลมกลืนเป็นเสียงเดียว โดยเกิดเฉพาะในตำแหน่งกลางคำเท่านั้น ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /kɨmæ/ 'ไมยราบ' - /kɨmbæ/ 'บาน', /kanæ/ 'ขวา' - /kandæ/ 'คอก' และ /tuŋa/ 'ไร' - /tuŋga/ 'โทน, โดด'
- นอกจากหน่วยเสียงพยัญชนะข้างต้นแล้ว ภาษามลายูปัตตานียังมีหน่วยเสียงพยัญชนะเสียงยาว ซึ่งก็คือเสียงพยัญชนะต้นที่ถูกยืดให้ยาวกว่าปกติเล็กน้อยเนื่องมาจากการลดรูปของคำ การยืดเสียงเช่นนี้เกิดได้กับพยัญชนะทุกหน่วยเสียง ยกเว้น /ʔ/, /h/ และหน่วยเสียงพยัญชนะกึ่งนาสิก ตัวอย่างคู่เทียบเสียงได้แก่ /buŋɔ/ 'ดอกไม้' - /bːuŋɔ/ 'ออกดอก' และ /malæ/ 'กลางคืน' - /mːalæ/ 'ค้างคืน'
สระ
ระดับลิ้น | ตำแหน่งลิ้น | ||
---|---|---|---|
หน้า | กลาง | หลัง | |
สูง | i | ɨ | u, ũ |
กึ่งสูง | e | o | |
กึ่งต่ำ | æ, æ̃ | ɔ, ɔ̃ | |
ต่ำ | a, ã |
คำยืม
นอกจากคำศัพท์พื้นฐานของภาษามลายูแล้ว ภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมจากภาษาอื่นหลายภาษา ได้แก่
- ภาษาสันสกฤต เข้ามาพร้อมกับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ฮินดู เช่น ภาษา เป็น บาฮาซอ หรือ บาซอ; หฤทยะ ('ใจ') เป็น ฮาตี ('ตับ, ใจ'); คช ('ช้าง') เป็น กฺาเยฺาะฮ; ชัย ('ชัยชนะ') เป็น จายอ ('เจริญ'); โทษ ('ความชั่ว') เป็น ดอซอ ('บาป'); วาจา ('คำพูด') เป็น บาจอ ('อ่าน'); นคร ('เมือง') เป็น เนฆือรฺ ('ประเทศ')
- ภาษาอาหรับ เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม เช่น قَلَم /เกาะลัม/ ('ปากกา') เป็น กาแล; تَمْر /ตัมร์/ ('อินทผลัม') เป็น ตามา; عَالَم /อาลัม/ ('โลก') เป็น อาแล; تُفَّاح /ตุฟฟาห์/ ('แอปเปิล') เป็น ตอเปาะฮ; وَقْت /วักต์/ ('เวลา') เป็น วะกือตู; كِتَاب /กิตาบ/ ('หนังสือ') เป็น กีตะ ("คัมภีร์ทางศาสนาอิสลาม"); دُنْيَا /ดุนยา/ ('โลก') เป็น ดุนิยอ
- ภาษาจีน เช่น กุยช่าย เป็น กูจา
- ภาษาเปอร์เซีย เช่น แมฮ์ทอบ ('แสงจันทร์') เป็น มะตับ; แกนโดม ('แป้ง') เป็น กฺานง
- ภาษาฮินดี เช่น โรตี เป็น รอตี
- ภาษาทมิฬ เช่น มานิกัม ('เพชร') เป็น มานิแก
- ภาษาอังกฤษ เช่น glass ('แก้ว') เป็น กฺือละฮ; free ('ฟรี') เป็น ปือรี; motorcycle ('จักรยานยนต์') เป็น มูตูซีกา
- ภาษาไทย เช่น นายก เป็น นาโยฺะ; ปลัด เป็น บือละ; มักง่าย เป็น มะงา; โทรศัพท์ เป็น โทราซะ
ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามาเลเซีย
ความแตกต่างระหว่างภาษามลายูปัตตานีกับภาษามลายูกลางหรือภาษามาเลเซียมีดังนี้
การใช้คำ
บางคำทั้งสองภาษาใช้คำต่างกัน เช่น 'ฉัน' ภาษามาเลเซียใช้ saya ภาษามลายูปัตตานีใช้ อามอ หรือ ซายอ บางคำใช้พยัญชนะสลับกัน เช่น 'มันเทศ' ภาษามาเลเซียใช้ ubi keledek ภาษามลายูปัตตานีใช้ อูบี กือแตลอ หรือ อูบี แตลอ; 'พูด' ภาษามาเลเซียใช้ cakap ภาษามลายูปัตตานีใช้ แกแจะ นอกจากนี้ ยังมีการใช้คำภาษาไทยปะปนเข้ามาในบางส่วน
การออกเสียง
- ออกเสียงสระต่างกัน ได้แก่
- เสียง /a/ + พยัญชนะนาสิกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /æ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น ayam ('ไก่') เป็น อาแย; makan ('กิน') เป็น มาแก
- เสียง /a/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น nama ('ชื่อ') เป็น นามอ; sila ('เชิญ') เป็น ซีลอ
- เสียง /a/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔʔ/ ในภาษามลายูปัตตานี (บางส่วน) เช่น bawa ('พา') เป็น บอเวาะ; minta ('ขอ') เป็น มีเตาะ
- เสียง /ah/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔh/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น rumah ('บ้าน') เป็น รฺูเมาะฮ
- เสียง /aj/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /a/ หรือ /æ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น sungai ('คลอง') เป็น ซูงา หรือ ซูแง; kedai ('ตลาด') เป็น กือดา หรือ กือแด (การแปรเป็นเสียง /æ/ พบในบางท้องถิ่นเท่านั้น)
- เสียง /aw/ ท้ายคำในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /a/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น pisau ('มีด') เป็น ปีซา
- เสียง /i/ ท้ายคำที่ประสมกับพยัญชนะนาสิกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /iŋ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น sini ('ที่นี่') เป็น ซีนิง
- เสียง /ia/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /i.jæ/ หรือ /i.jɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น Siam ('สยาม') เป็น ซีแย, manusia ('มนุษย์') เป็น มะนูซียอ
- เสียง /ia/ พยางค์แรกในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /æ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น biasa ('เคย') เป็น แบซอ
- เสียง /ua/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɔ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น puasa ('บวช,ถือศีลอด') เป็น ปอซอ
- ออกเสียงพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น
- เสียง /r/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ɣ/ ในภาษามลายูปัตตานี (บางส่วน) เช่น orang ('คน') เป็น ออแรฺ, rantai ('โซ่') เป็น รฺาตา ในขณะที่ roti ('ขนมปัง, โรตี') ยังคงเป็น รอตี
- ออกเสียงตัวสะกดต่างกัน เช่น
- ตัวสะกดที่เป็นเสียงเสียดแทรก /s/, /f/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียงที่เกิดจากคอหอย /h/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น malas ('เกียจคร้าน') เป็น มาละฮ
- ตัวสะกด /n/, /m/ ในภาษามาเลเซีย แปรเป็นเสียง /ŋ/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น hakim ('ตุลาการ') เป็น ฮาเก็ง
โครงสร้างประโยค
ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลเซียใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามลายูใช้ ตูวัน ดีเปอรานากัน ตีมานา ('ท่านถูกเกิดที่ไหน') ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ ('ท่านเกิดที่ไหน')
ความต่างของไวยากรณ์และคำศัพท์
- ภาษามลายูปัตตานีตัดคำอุปสรรคที่ไม่จำเป็นออก เช่น berjalan (เดิน) ในภาษามาเลเซีย เป็น 'ยฺาแล ในภาษามลายูปัตตานี และเสียงพยัญชนะตัวแรกยาวขึ้น
- ภาษามลายูปัตตานีมีการย่อหรือกร่อนคำหลายคำรวมเป็นคำเดียว เช่น ดาโตะ อากี เป็น โตะกี, ตือรฺายฺู เป็น ตายฺู, ดี มานอ เป็น ดานอ, ซือแอกอ เป็น แซกอ เป็นต้น ในขณะที่ภาษามาเลเซียมีน้อยมาก
- ภาษามลายูปัตตานีใช้คำง่ายกว่า เช่น มาแก หมายถึงทั้ง 'กินข้าว' 'ดื่มน้ำ' และ 'สูบบุหรี่' แต่ภาษามาเลเซียแยกเป็น makan ('กิน'), minum ('ดื่ม') และ hisap ('สูบ')
- ภาษามาเลเซียมีการแยกระดับของคำมากกว่า เช่น 'ผู้ชาย' ใช้ laki-laki 'สัตว์ตัวผู้' ใช้ jantan ส่วนภาษามลายูปัตตานีใช้ ยฺาแต กับทั้งคนและสัตว์ ส่วน ลือลากี มีใช้น้อย
- ภาษามลายูปัตตานีมีการเรียงคำแบบภาษาไทยมากกว่า เช่น 'ทำนา' ใช้ บูวะ บือแน
อ้างอิง
- ภาษามลายูปัตตานี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ราชบัณฑิตยสถาน. คู่มือระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 20.
- ราชบัณฑิตยสถาน. คู่มือระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 24.
- ประพนธ์, 2540
- ประพนธ์, 2540
บรรณานุกรม
- Nawanit, Yupho (1986). "Consonant Clusters and Stress Rules in Pattani Malay" (PDF). The Mon-Khmer Studies Journal. 15: 125–138.
- ประพนธ์ เรืองณรงค์. บุหงาปัตตานี: คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : มติชน, 2540.
- Ishii, Yoneo. (1998). The Junk Trade from Southeast Asia: Translations from the Tôsen Fusesu-gaki 1674–1723. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN .
- Cummings, Joe et al. (2005). Thailand Lonely Planet. ISBN .
- Laver, John. (1994). Principles of Phonetics. Cambridge University Press. ISBN .
- (1994). Linguistic Diversity and National Unity: Language Ecology in Thailand. Chicago: University of Chicago Press. ISBN Abdul Aziz, A. Y. (2010). Inventori vokal dialek Melayu Kelantan: Satu penilaian semula. Persatuan Linguistik Malaysia.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phasamlayupttani hrux phasamlayuptani mlayupttani basx nayu taning mlayu Bahasa Melayu Patani xksryawi بهاس ملايو فطاني hruxniymeriykxyangimepnthangkarwa phasayawi mlayupttani basx yawi bxsx yawi xksryawi بهاس جاوي epnphasaklumxxsotrniesiynthiphudodychawithyechuxsaymlayuincnghwdpttani cnghwdnrathiwas cnghwdyala rwmthnginxaephxnathwi xaephxcana xaephxethpha aelaxaephxsabayxy thangthistawnxxkkhxngcnghwdsngkhla imrwmcnghwdstul phasamlayupttanibasx nayu taning aekaeca nayu بهاس ملايو ڤطانيxxkesiyng baˈsɔ ˈnːaju ˈtːaniŋ praethsthimikarphudithy maelesiyphumiphakhpraethsithy cnghwdpttani cnghwdnrathiwas cnghwdyala cnghwdsngkhla xaephxsabayxy xaephxcana xaephxnathwi xaephxethpha krungethphmhankhr ekhtminburi ekhtkhlxngsamwa ekhthnxngcxk praethsmaelesiy rthklntn rthpahng aela rthtrngkanu aelapadngetxrp rthekxdah xaephxhulueprk aela rtheprkchatiphnthumlayupttani mlayubangkxkcanwnphuphud3 lankhninpraethsithy 2549 2 lankhninpraethsmaelesiy txngkarxangxing trakulphasaxxsotrniesiyn malaoy ophlienesiymaelyxikphasamlayupttanirabbkarekhiynxksryawi xksrithy xksrrumirhsphasaISO 639 3mfabthkhwamnimisylksnsthxksrsakl hakrabbkhxngkhunimrxngrbkaraesdngphlthithuktxng khunxacehnprsni klxng hruxsylksnxyangxunaethnthixkkhrayuniokhd inpraethsithymiprachakrthiphudphasanimakkwa 1 lankhn phasaniiklekhiyngmakkbphasamlayuthininrthklntnaelainxaephxhulueprk rtheprk praethsmaelesiy sungepnphasathinthiaetktangcakswnthiehluxkhxngpraethsmaelesiy bangkhrngkmikareriykrwmknepnphasaediywknwa phasamlayuklntn pttani mlayupttani basx nayu kuxlaaet taning klntn Baso nayu Kelate Taning rabbesiyngphyychna hnwyesiyngphyychnaphasamlayupttani lksnakarxxkesiyng taaehnngekidesiyngesiyngnasik m n ɲ ŋesiyngkungnasik mb nd ɲɟ ŋgesiynghyud kxng b d ɟ gimkxng imphnlm p t c k ʔphnlm pʰ tʰ cʰ kʰ kxng z ɣimkxng f s x hrlw j hnwyesiyngthixyuinwngelbkhuxhnwyesiyngthipraktinkhayum echn kʰeʔ ekhk tʰorasaʔ othrsphth hnwyesiyngthipraktintaaehnngthayphyangkhmi 3 hnwyesiyng idaek ŋ ʔ aela h echn tɨpoŋ khnm kɔtɔʔ klxng panah rxn hnwyesiyngphyychnakungnasikepnhnwyesiyngthiimphbthnginphasamaelesiyaelaphasaithy ekidcakkarrwbesiyngphyychnanasikekhakbesiyngphyychnakksungichthankrnediywknhruxiklekhiyngkncnklmklunepnesiyngediyw odyekidechphaaintaaehnngklangkhaethann twxyangkhuethiybesiyngidaek kɨmae imyrab kɨmbae ban kanae khwa kandae khxk aela tuŋa ir tuŋga othn odd nxkcakhnwyesiyngphyychnakhangtnaelw phasamlayupttaniyngmihnwyesiyngphyychnaesiyngyaw sungkkhuxesiyngphyychnatnthithukyudihyawkwapktielknxyenuxngmacakkarldrupkhxngkha karyudesiyngechnniekididkbphyychnathukhnwyesiyng ykewn ʔ h aelahnwyesiyngphyychnakungnasik twxyangkhuethiybesiyngidaek buŋɔ dxkim bːuŋɔ xxkdxk aela malae klangkhun mːalae khangkhun sra hnwyesiyngsraediywphasamlayupttani radblin taaehnnglinhna klang hlngsung i ɨ u ũkungsung e okungta ae ae ɔ ɔ ta a akhayumnxkcakkhasphthphunthankhxngphasamlayuaelw phasamlayupttanimikhayumcakphasaxunhlayphasa idaek phasasnskvt ekhamaphrxmkbsasnaphuththaelasasnaphrahmnhindu echn phasa epn bahasx hrux basx hvthya ic epn hati tb ic khch chang epn k aey aah chy chychna epn cayx ecriy oths khwamchw epn dxsx bap waca khaphud epn bacx xan nkhr emuxng epn enkhuxr praeths phasaxahrb ekhamaphrxmkbsasnaxislam echn ق ل م ekaalm pakka epn kaael ت م ر tmr xinthphlm epn tama ع ال م xalm olk epn xaael ت ف اح tuffah aexpepil epn txepaah و ق ت wkt ewla epn wakuxtu ك ت اب kitab hnngsux epn kita khmphirthangsasnaxislam د ن ي ا dunya olk epn duniyx phasacin echn kuychay epn kuca phasaepxresiy echn aemhthxb aesngcnthr epn matb aeknodm aepng epn k anng phasahindi echn orti epn rxti phasathmil echn manikm ephchr epn maniaek phasaxngkvs echn glass aekw epn k uxlah free fri epn puxri motorcycle ckryanynt epn mutusika phasaithy echn nayk epn naoy a pld epn buxla mkngay epn manga othrsphth epn othrasakhwamaetktangrahwangphasamlayupttanikbphasamaelesiykhwamaetktangrahwangphasamlayupttanikbphasamlayuklanghruxphasamaelesiymidngni karichkha bangkhathngsxngphasaichkhatangkn echn chn phasamaelesiyich saya phasamlayupttaniich xamx hrux sayx bangkhaichphyychnaslbkn echn mneths phasamaelesiyich ubi keledek phasamlayupttaniich xubi kuxaetlx hrux xubi aetlx phud phasamaelesiyich cakap phasamlayupttaniich aekaeca nxkcakni yngmikarichkhaphasaithypapnekhamainbangswn karxxkesiyng xxkesiyngsratangkn idaek esiyng a phyychnanasikinphasamaelesiy aeprepnesiyng ae inphasamlayupttani echn ayam ik epn xaaey makan kin epn maaek esiyng a thaykhainphasamaelesiy aeprepnesiyng ɔ inphasamlayupttani echn nama chux epn namx sila echiy epn silx esiyng a inphasamaelesiy aeprepnesiyng ɔʔ inphasamlayupttani bangswn echn bawa pha epn bxewaa minta khx epn mietaa esiyng ah inphasamaelesiy aeprepnesiyng ɔh inphasamlayupttani echn rumah ban epn r uemaah esiyng aj thaykhainphasamaelesiy aeprepnesiyng a hrux ae inphasamlayupttani echn sungai khlxng epn sunga hrux suaeng kedai tlad epn kuxda hrux kuxaed karaeprepnesiyng ae phbinbangthxngthinethann esiyng aw thaykhainphasamaelesiy aeprepnesiyng a inphasamlayupttani echn pisau mid epn pisa esiyng i thaykhathiprasmkbphyychnanasikinphasamaelesiy aeprepnesiyng iŋ inphasamlayupttani echn sini thini epn sining esiyng ia inphasamaelesiy aeprepnesiyng i jae hrux i jɔ inphasamlayupttani echn Siam syam epn siaey manusia mnusy epn manusiyx esiyng ia phyangkhaerkinphasamaelesiy aeprepnesiyng ae inphasamlayupttani echn biasa ekhy epn aebsx esiyng ua inphasamaelesiy aeprepnesiyng ɔ inphasamlayupttani echn puasa bwch thuxsilxd epn pxsx xxkesiyngphyychnatntangkn echn esiyng r inphasamaelesiy aeprepnesiyng ɣ inphasamlayupttani bangswn echn orang khn epn xxaer rantai os epn r ata inkhnathi roti khnmpng orti yngkhngepn rxti xxkesiyngtwsakdtangkn echn twsakdthiepnesiyngesiydaethrk s f inphasamaelesiy aeprepnesiyngthiekidcakkhxhxy h inphasamlayupttani echn malas ekiyckhran epn malah twsakd n m inphasamaelesiy aeprepnesiyng ŋ inphasamlayupttani echn hakim tulakar epn haekngokhrngsrangpraoykh phasamlayupttaniniymeriyngpraoykhaebbphasaithykhuxichrupprathankratha swnphasamaelesiyichpraoykhaebbprathanthukkratha echn phasamlayuich tuwn diepxranakn timana thanthukekidthiihn phasamlayupttaniich tuaew buxraenaa dimanx thanekidthiihn khwamtangkhxngiwyakrnaelakhasphth phasamlayupttanitdkhaxupsrrkhthiimcaepnxxk echn berjalan edin inphasamaelesiy epn y aael inphasamlayupttani aelaesiyngphyychnatwaerkyawkhun phasamlayupttanimikaryxhruxkrxnkhahlaykharwmepnkhaediyw echn daota xaki epn otaki tuxr ay u epn tay u di manx epn danx suxaexkx epn aeskx epntn inkhnathiphasamaelesiyminxymak phasamlayupttaniichkhangaykwa echn maaek hmaythungthng kinkhaw dumna aela subbuhri aetphasamaelesiyaeykepn makan kin minum dum aela hisap sub phasamaelesiymikaraeykradbkhxngkhamakkwa echn phuchay ich laki laki stwtwphu ich jantan swnphasamlayupttaniich y aaet kbthngkhnaelastw swn luxlaki miichnxy phasamlayupttanimikareriyngkhaaebbphasaithymakkwa echn thana ich buwa buxaenxangxingphasamlayupttani thi Ethnologue 18th ed 2015 txngsmkhrsmachik rachbnthitysthan khumuxrabbekhiynphasamlayupatanixksrithy chbbrachbnthitysthan krungethph rachbnthitysthan 2553 hna 20 rachbnthitysthan khumuxrabbekhiynphasamlayupatanixksrithy chbbrachbnthitysthan krungethph rachbnthitysthan 2553 hna 24 praphnth 2540 praphnth 2540 brrnanukrm Nawanit Yupho 1986 Consonant Clusters and Stress Rules in Pattani Malay PDF The Mon Khmer Studies Journal 15 125 138 praphnth eruxngnrngkh buhngapttani khtichnithymuslimchayaednphakhit krungethph mtichn 2540 Ishii Yoneo 1998 The Junk Trade from Southeast Asia Translations from the Tosen Fusesu gaki 1674 1723 Institute of Southeast Asian Studies ISBN 981 230 022 8 Cummings Joe et al 2005 Thailand Lonely Planet ISBN 1 74059 697 8 Laver John 1994 Principles of Phonetics Cambridge University Press ISBN 0 521 45655 X 1994 Linguistic Diversity and National Unity Language Ecology in Thailand Chicago University of Chicago Press ISBN 978 0226762890Abdul Aziz A Y 2010 Inventori vokal dialek Melayu Kelantan Satu penilaian semula Persatuan Linguistik Malaysia mikarthdsxb phasamlayupttani khxngwikiphiediy thiwikimiediy xinkhiwebetxr