พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในเขตพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น นอกจากเป็นที่ตั้งของคณะต่าง ๆ แล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ตามคณะต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์ นอกจากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในส่วนภูมิภาคด้วย ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน จังหวัดชลบุรี
พิพิธภัณฑ์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิต และทรัยากรธรรมชาติ อาทิเช่น โครงกระดูกของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ตัวอย่างเปลือกหอยต่างๆ ของไทย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย ชีววิทยาของผึ้ง ตัวอย่างปลาในวรรณคดี ตัวอย่างตะพาบม่านลายซึ่งพบในประเทศไทยแห่งเดียวในโลก นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและปูเจ้าฟ้า โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของภาควิชาชีววิทยา
พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา
พิพิธภัณฑสถานธรณีวิทยา จัดตั้งขึ้นโดยภาควิชาธรณีวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับความรู้และตัวอย่างทางธรณีวิทยา อาทิเช่น วัฎจักรของหิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ และที่พบภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเพื่อแสดงผลงานวิจัย และการประยุกต์ใช้วิชาธรณีวิทยาด้วย
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีภาพถ่ายและการพิมพ์ ตั้งอยู่ที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียที่จัดแสดงกล้องถ่ายภาพ ภาพถ่าย การพิมพ์และเทคโนโลยีทางภาพอื่นๆ เป็นการเฉพาะและครบวงจร
พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวะตะพันธุ์
พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวะตะพันธุ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2525 เพื่อระลึกถึงศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานพืช ภายในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บรักษาตัวอย่างพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดในสภาพต่าง ๆ ทั้งตัวอย่างแห้ง ตัวอย่างรักษาสภาพโดยการดอง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดแสดงสมุดบันทึกการสำรวจ จดหมายโต้ตอบของนักพฤกษศาสตร์ รายงานหรือข้อเขียน หนังสือ ตำราเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ทั้งทางด้านอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยา ธรรมชาติวิทยา พฤกษศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นต้น
พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย
พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ย้ายมาที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอัญมณีตั้งแต่จุดกำเนิดจนเป็นเครื่องประดับ โดยแบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ การจัดแสดงแบบจำลองการเกิดอัญมณีและเหมืองอัญมณี การจัดแสดงตัวอย่างแร่และอัญมณี การจัดแสดงการเจียระไนเพชรและการเจียระไนอัญมณี การจัดแสดงตัวอย่างโลหะมีค่า และวิธีการผลิตเครื่องประดับทองคำ แพลทินัม และเงิน ส่วนสุดท้าย คือ การจัดแสดงตัวอย่างเพชร อัญมณีสังเคราะห์ และอัญมณีเลียนแบบ
คณะแพทยศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานกายวิภาคศาสตร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิพิธภัณฑสถานออร์โธปิดิกส์
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดง เนื้องอกและมะเร็งกระดูก หุ่นกระดูกสันหลังและกายอุปกรณ์หลายชนิด ตั้งอยู่ที่ตึกเจริญ – สมศรี เจริญรัชต์ภาคย์ ชั้น 2 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสร้างขึ้นเนื่องจาก สภากาชาดไทยรับบริจาคเงินจากคุณหญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์ จำนวน 2 ล้านบาท รวมกับงบประมาณแผ่นดินจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสมทบอีก 3 ล้านบาท ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบอีกจำนวนหนึ่ง นำมาจัดสร้างตึกเจริญ – สมศรี เจริญรัชต์ภาคย์ เป็นอาคาร 7 ชั้น บริเวณชั้น 2 ของตึกนี้ จึงได้จัดสร้างเป็นห้องสมุดและเก็บรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เลิกใช้แล้ว ต่อมาก็ได้ทำการสะสมชิ้นเนื้อโรคมะเร็งกระดูก ชิ้นส่วนมือจริงที่แสดงการทำผ่าตัดย้ายเอ็นกล้ามเนื้อแบบต่าง ๆ โลหะดามกระดูกและกายอุปกรณ์ เมื่อสิ่งของต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จึงจัดเป็นพิพิธภัณฑสถานทางออร์โธปิดิกส์ขึ้นในภาควิชาออร์โธปิดิกส์ เปิดทำการ ระหว่างเวลา 08.30 – 16.00 น. ทุกวันเว้นวันหยุดราชการ โทรศัพท์/ โทรสาร 02-2564230 โทรสาร 02-2541931
พิพิธภัณฑสถานกุมารศัลยศาสตร์
ตั้งอยู่ที่ตึกสิรินธร ชั้นล่าง ข้างห้องบรรยายพาหุรัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดทำการในโอกาสพิเศษเป็นครั้งคราว ผู้สนใจติดต่อขอเข้าชมล่วงหน้า พิพิธภัณฑสถานกุมารศัลยศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาด้วยตนเองในด้านศัลยศาสตร์และกุมารศัลยศาสตร์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดเก็บอุปกรณ์สำหรับแสดงประวัติความเป็นมาในด้านกุมารศัลยศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนที่หนึ่ง เป็นสถานที่สำหรับจัดแสดงตัวอย่างพร้อมการบรรยายในเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การตรวจโรค การวินิจฉัยโรคในระดับต้น และระดับใช้กล้องจุลทรรศน์ รวมทั้งการรักษาโรคด้วย
ส่วนที่สอง เป็นสถานที่สำหรับจัดแสดงอุปกรณ์ด้านการวิสัญญี โคมไฟ และเครื่องมือสำหรับการผ่าตัด เตียงผ่าตัด ซึ่งใช้มาเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้จึงถูกเก็บในพิพิธภัณฑ์ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นเครื่องกรองน้ำรุ่นแรกของโรงพยาบาล
คณะทันตแพทยศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์
ตั้งอยู่ที่ตึกวาจวิทยาวัฑฒน์ ชั้น 1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการ ทุกวันพุธ และผู้สนใจติดต่อขอเข้าชมล่วงหน้าได้ทุกวันทำการ พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ คณบดีคนแรกผู้ก่อตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งเพื่อร่วมเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ 200 ปี โดยมุ่งที่จะรวบรวมประวัติ รูปภาพอาจารย์และนิสิต รุ่นแรกๆ รวมทั้งเอกสาร เครื่องมือ เครื่องใช้ทางทันตกรรม
เนื้อหาที่จัดแสดง ประกอบด้วย เครื่องมือ เครื่องใช้ทางทันตกรรม ลักษณะของฟันที่ผิดปกติที่เกิดจากโรคและฟันผุ นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่นับเป็นประวัติศาสตร์ และเป็นสมบัติที่ล้ำค่าไม่สามารถประเมินราคาได้ คือ ยูนิตทำฟัน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยทรงทำพระทนต์ เครื่องมือตรวจ กระจกส่องปาก คีม แก้วน้ำทำด้วยเงิน หลอดยาสีพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ชิ้นส่วนวัสดุและอุปกรณ์ทางทันตกรรม ฯลฯ เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษา แหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการทางการแพทย์แก่ทันตแพทย์ ประชาชนทั่วไปและชาวต่างประเทศที่สนใจ
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ ตั้งอยู่ที่อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแสดงร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ที่ได้รับการบริจาคจากนายคัทสุมิ คาตามูระ ประธานบริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮาส์ จำกัด ซึ่งนับเป็น 1 ใน 11 พิพิธภัณฑ์ของโลกและเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ด้วยเทคนิค plastinated human bodies ที่ใช้สารพลาสติกเหลวแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อของมนุษย์ ดังนั้น ร่างกายมนุษย์ที่นำมาจัดแสดงจึงไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา ไม่มีการเน่าสลาย และสามารถคงสภาพอยู่ได้นาน
คณะเภสัชศาสตร์
พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
พิพิธภัณฑ์สมุนไพร[1] ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารโอสถศาลา คณะเภสัชศาสตร์ (ตรงข้ามมาบุญครอง)โดยจัดแสดงตัวอย่างสมุนไพร เครื่องมือในการผลิตยา การใช้ยา และการพิสูจน์เอกลักษณ์ของตัวยาสุมนไพร ที่ทางคณะได้สะสมไว้เพื่อการเรียนการสอนของภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ เป็นเวลามากกว่า 60 ปี พิพิธภัณฑ์สมุนไพรเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 9.00 - 12.00 น. เว้นวันหยุดราชการ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
พิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์
ตึกเก่ารูปตัวยู คณะสัตวแพทยศาสตร์ เก็บรวบรวมตัวอย่างปรสิตภายในและภายนอกของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มาเป็นเป็นเวลายาวนานทำให้เก็บตัวอย่างได้หลากหลายและหลายประเภท เช่น หนอนพยาธิ แมลง ไร เห็บ และโปรโตซัว อันมีประโยชน์ต่อการศึกษาด้านสัตวแพทย์
พิพิธภัณฑ์ในส่วนภูมิภาค
นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค ได้แก่
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ตั้งอยู่ ณ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ของที่ทรงได้รับพระราชทาน รวมทั้ง พระราชหัตถเลขา ระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรักระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ฝ่ายเหนือ ที่ได้ทรงดำรงพระอิสริยยศ "พระราชชายา" อันเป็นพระฐานันดรศักดิ์พระมเหสีเทวีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ไทย
พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน ตั้งอยู่ ณ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี อดีตเคยเป็นพระราชวังฤดูร้อนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเหตุการณ์ ร.ศ.112 ก็สิ้นสุดการเป็นเขตพระราชฐาน และมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาขอใช้พื้นที่ โดยปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอใช้พื้นที่บางส่วนเพื่อเป็นสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต และได้เริ่มทำการปรับปรุงพระราชฐานขึ้นใหม่ เพื่อจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน และสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน
พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน ตั้งอยู่ ณ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี อยู่ในความดูแลของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับทะเลโดยจัดแสดงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลบริเวณหมู่เกาะสีชัง
อ้างอิง
- หนุ่มลูกทุ่ง, เที่ยวพิพิธภัณฑ์อัญมณี ชมคริสตัลใหญ่ที่สุดในโลก 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์, 14 สิงหาคม 2550
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-30. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-30. สืบค้นเมื่อ 2015-12-31.
- พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์[]
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3596 2018-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
- พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน
แหล่งข้อมูลอื่น
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พิพิธภัณฑ์ในจุฬาฯ 2015-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พิพิธภัณฑ์สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2007-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2007-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phiphithphnthinculalngkrnmhawithyaly phayinekhtphunthikhxngculalngkrnmhawithyalynn nxkcakepnthitngkhxngkhnatang aelw yngmiphiphithphnththitngxyutamkhnatang ephuxepnaehlngthaythxdkhwamruthnginechingwichakaraelakarxnurks nxkcaknn culalngkrnmhawithyalyyngidrbmxbhmayihepnphuduaelphiphithphnththixyuinswnphumiphakhdwy idaek phiphithphnthphratahnkdaraphirmy cnghwdechiyngihm aelaphiphithphnthphracuthathuchrachthan cnghwdchlburiphiphithphnthphayinculalngkrnmhawithyalykhnawithyasastr phiphithphnthsthanthrrmchatiwithya phiphithphnthsthanthrrmchatiwithyaepnphiphithphnththicdaesdngtwxyangsingmichiwit aelathryakrthrrmchati xathiechn okhrngkradukkhxngsingmichiwittang twxyangepluxkhxytang khxngithy sakdukdabrrphthiphbinpraethsithy chiwwithyakhxngphung twxyangplainwrrnkhdi twxyangtaphabmanlaysungphbinpraethsithyaehngediywinolk nkecafahyingsirinthraelapuecafa odyphiphithphnthaehngnixyuphayitkarduaelkhxngphakhwichachiwwithya phiphithphnthsthanthrniwithya phiphithphnthsthanthrniwithya cdtngkhunodyphakhwichathrniwithya emux ph s 2510 odyepnphiphithphnththicdaesdngekiywkbkhwamruaelatwxyangthangthrniwithya xathiechn wdckrkhxnghin aer sakdukdabrrphtang aelathiphbphayinpraeths nxkcakni yngmikarcdaesdngnithrrskarhmunewiynephuxaesdngphlnganwicy aelakarprayuktichwichathrniwithyadwy phiphithphnthethkhonolyithangphaph phiphithphnthethkhonolyithangphaph phiphithphnthethkhonolyithangphaph epnphiphithphnthekiywkbethkhonolyiphaphthayaelakarphimph tngxyuthiphakhwichawithyasastrthangphaphthayaelaethkhonolyithangkarphimph khnawithyasastr culalngkrnmhawithyaly nbepnphiphithphnthaehngaerkkhxngpraethsithyaelaphumiphakhexechiythicdaesdngklxngthayphaph phaphthay karphimphaelaethkhonolyithangphaphxun epnkarechphaaaelakhrbwngcr phiphithphnthphuch sastracaryksin suwataphnthu phiphithphnthphuch sastracaryksin suwataphnthu epnphiphithphnththiphakhwichaphvkssastridcdtngkhunemuxwnthi 1 emsayn ph s 2525 ephuxralukthungsastracaryksin suwtaphnthu sungepnphuechiywchaydanxnukrmwithanphuch phayinphiphithphnthepnthiekbrksatwxyangphnthuimhlakhlaychnidinsphaphtang thngtwxyangaehng twxyangrksasphaphodykardxng epntn nxkcakni yngcdaesdngsmudbnthukkarsarwc cdhmayottxbkhxngnkphvkssastr raynganhruxkhxekhiyn hnngsux taraekiywkbphnthuimthngthangdanxnukrmwithan niewswithya thrrmchatiwithya phvkssastresrsthkic epntn phiphithphnthxymniaelaekhruxngpradbithy phiphithphnthxymniaelaekhruxngpradbithy sthabnwicyaelaphthnaxymniaelaekhruxngpradbaehngchati xngkhkarmhachn yaymathi sthabnwicyaelaphthnaxymniaelaekhruxngpradbaehngchati xngkhkarmhachn xakharixthiexf thawewxr chn 2 thnnsilm aekhwngsuriywngs ekhtbangrk krungethph 10500epnphiphithphnththicdaesdngkhwamrutang thiekiywkbxymnitngaetcudkaenidcnepnekhruxngpradb odyaebngphunthicdaesdngxxkepn 5 swn idaek karcdaesdngaebbcalxngkarekidxymniaelaehmuxngxymni karcdaesdngtwxyangaeraelaxymni karcdaesdngkareciyrainephchraelakareciyrainxymni karcdaesdngtwxyangolhamikha aelawithikarphlitekhruxngpradbthxngkha aephlthinm aelaengin swnsudthay khux karcdaesdngtwxyangephchr xymnisngekhraah aelaxymnieliynaebb khnaaephthysastr phiphithphnthsthankaywiphakhsastr swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidphiphithphnthsthanxxrothpidiks epnphiphithphnththicdaesdng enuxngxkaelamaerngkraduk hunkraduksnhlngaelakayxupkrnhlaychnid tngxyuthitukecriy smsri ecriyrchtphakhy chn 2 phakhwichaxxrothpidiks khnaaephthysastr culalngkrnmhawithyaly odysrangkhunenuxngcak sphakachadithyrbbricakhengincakkhunhyingsmsri ecriyrchtphakhy canwn 2 lanbath rwmkbngbpramanaephndincakkhnaaephthysastr culalngkrnmhawithyalysmthbxik 3 lanbath rwmkbphumicitsrththabricakhenginsmthbxikcanwnhnung namacdsrangtukecriy smsri ecriyrchtphakhy epnxakhar 7 chn briewnchn 2 khxngtukni cungidcdsrangepnhxngsmudaelaekbrksaxupkrnthangkaraephthythielikichaelw txmakidthakarsasmchinenuxorkhmaerngkraduk chinswnmuxcringthiaesdngkarthaphatdyayexnklamenuxaebbtang olhadamkradukaelakayxupkrn emuxsingkhxngtang ephimkhun cungcdepnphiphithphnthsthanthangxxrothpidikskhuninphakhwichaxxrothpidiks epidthakar rahwangewla 08 30 16 00 n thukwnewnwnhyudrachkar othrsphth othrsar 02 2564230 othrsar 02 2541931 phiphithphnthsthankumarslysastr tngxyuthituksirinthr chnlang khanghxngbrryayphahurd orngphyabalculalngkrn sphakachadithy epidthakarinoxkasphiessepnkhrngkhraw phusnictidtxkhxekhachmlwnghna phiphithphnthsthankumarslysastrkxtngkhunemuxpi ph s 2535 odymiwtthuprasngkhephuxihbrikarthangkarsuksa odyechphaaxyangyingkarsuksadwytnexngindanslysastraelakumarslysastr phiphithphnthaehngniepnsthanthicdekbxupkrnsahrbaesdngprawtikhwamepnmaindankumarslysastr odyaebngxxkepn 2 swnkhux swnthihnung epnsthanthisahrbcdaesdngtwxyangphrxmkarbrryayinechingwiekhraah idaek kartrwcorkh karwinicchyorkhinradbtn aelaradbichklxngculthrrsn rwmthngkarrksaorkhdwy swnthisxng epnsthanthisahrbcdaesdngxupkrndankarwisyyi okhmif aelaekhruxngmuxsahrbkarphatd etiyngphatd sungichmaepnrayaewlanankwa 20 pi sunginpccubnidmixupkrnthangkaraephthysmyihmekhamaaethnthi dngnnxupkrnehlanicungthukekbinphiphithphnthrwmkbxupkrnxun echnekhruxngkrxngnarunaerkkhxngorngphyabal khnathntaephthysastr phiphithphnthsthanwacwithyawththn tngxyuthitukwacwithyawththn chn 1 khnathntaephthysastr culalngkrnmhawithyaly epidthakar thukwnphuth aelaphusnictidtxkhxekhachmlwnghnaidthukwnthakar phiphithphnthsthanwacwithyawththn kxtngkhunemuxpi ph s 2525 ephuxepnthiralukthunghlwngwacwithyawththn khnbdikhnaerkphukxtngkhnathntaephthysastr rwmthngephuxrwmechlimchlxngkrungethphmhankhrkhrb 200 pi odymungthicarwbrwmprawti rupphaphxacaryaelanisit runaerk rwmthngexksar ekhruxngmux ekhruxngichthangthntkrrm enuxhathicdaesdng prakxbdwy ekhruxngmux ekhruxngichthangthntkrrm lksnakhxngfnthiphidpktithiekidcakorkhaelafnphu nxkcakniyngmisingsakhythinbepnprawtisastr aelaepnsmbtithilakhaimsamarthpraeminrakhaid khux yunitthafn thiphrabathsmedcphraecaxyuhw ekhythrngthaphrathnt ekhruxngmuxtrwc kracksxngpak khim aekwnathadwyengin hlxdyasiphrathntkhxngphrabathsmedcphraecaxyuhw rchkalthi 9 chinswnwsduaelaxupkrnthangthntkrrm l ephuxepnpraoychnthangkarsuksa aehlngxangxingthangprawtisastr aelawiwthnakarthangkaraephthyaekthntaephthy prachachnthwipaelachawtangpraethsthisnic phiphithphnthrangkaymnusy phiphithphnthrangkaymnusy tngxyuthixakharthntaephthysastrechlimnwmrach 80 khnathntaephthysastr culalngkrnmhawithyaly cdaesdngrangkayaelachinswnxwywakhxngmnusythiidrbkarbricakhcaknaykhthsumi khatamura prathanbristhemdikhldxketxrsxfthehas cakd sungnbepn 1 in 11 phiphithphnthkhxngolkaelaepnphiphithphnthaehngaerkinexechiytawnxxkechiyngitthicdaesdngrangkaymnusydwyethkhnikh plastinated human bodies thiichsarphlastikehlwaethnthinaaelaikhmninenuxeyuxkhxngmnusy dngnn rangkaymnusythinamacdaesdngcungimmiklinehmnkhxngnaya immikarenaslay aelasamarthkhngsphaphxyuidnan khnaephschsastr phiphithphnthsmuniphr phiphithphnthsmuniphr 1 tngxyuthichn 3 xakharoxsthsala khnaephschsastr trngkhammabuykhrxng odycdaesdngtwxyangsmuniphr ekhruxngmuxinkarphlitya karichya aelakarphisucnexklksnkhxngtwyasumniphr thithangkhnaidsasmiwephuxkareriynkarsxnkhxngphakhwichaephschewthaelaephschphvkssastr epnewlamakkwa 60 pi phiphithphnthsmuniphrepidihekhachmidthukwnphvhsbdi rahwangewla 9 00 12 00 n ewnwnhyudrachkar khnastwaephthysastr phiphithphnthsthanprsitwithyainstw tukekaruptwyu khnastwaephthysastr ekbrwbrwmtwxyangprsitphayinaelaphaynxkkhxngstwchnidtang maepnepnewlayawnanthaihekbtwxyangidhlakhlayaelahlaypraephth echn hnxnphyathi aemlng ir ehb aelaoprotsw xnmipraoychntxkarsuksadanstwaephthyphiphithphnthinswnphumiphakhnxkcakni culalngkrnmhawithyalyyngmihnathiduaelphiphithphnththicdtngkhuninswnphumiphakh idaek phiphithphnthphratahnkdaraphirmy phiphithphnthphratahnkdaraphirmy tngxyu n xaephxaemrim cnghwdechiyngihm cdaesdngphrarachprawtiaelaphrarachwngsfayehnux ekhruxngichswnphraxngkh khxngthithrngidrbphrarachthan rwmthng phrarachhtthelkha rahwangphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw aela phrarachchayaecadararsmi sungaesdngihehnthungkhwamrkrahwangphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw aela ecahyingaehngrachwngsfayehnux thiidthrngdarngphraxisriyys phrarachchaya xnepnphrathanndrskdiphramehsiethwiphraxngkhediywinprawtisastrithy phiphithphnthphracuthathuchrachthan phiphithphnthphracuthathuchrachthan tngxyu n ekaasichng cnghwdchlburi xditekhyepnphrarachwngvdurxninphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw hlngcakehtukarn r s 112 ksinsudkarepnekhtphrarachthan aelamihnwynganrachkartang makhxichphunthi odypccubn culalngkrnmhawithyalykhxichphunthibangswnephuxepnsthaniwicywithyasastrthangthaelaelasunyfuknisit aelaiderimthakarprbprungphrarachthankhunihm ephuxcdaesdngepnphiphithphnth obransthan aelasthanthithxngethiywthangprawtisastr phiphithphnthchlthsnsthan phiphithphnthchlthsnsthan tngxyu n xaephxekaasichng cnghwdchlburi xyuinkhwamduaelkhxngsthabnwicythrphyakrthangna culalngkrnmhawithyaly epnphiphithphnththrrmchatithiekiywkhxngkbthaelodycdaesdngkhxmulphunthanekiywkbthrphyakrthrrmchatiaelasingaewdlxmthangthaelbriewnhmuekaasichngxangxinghnumlukthung ethiywphiphithphnthxymni chmkhristlihythisudinolk 2012 11 07 thi ewyaebkaemchchin phucdkarxxniln 14 singhakhm 2550 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 08 04 subkhnemux 2015 12 31 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 01 30 subkhnemux 2015 12 31 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 01 30 subkhnemux 2015 12 31 phiphithphnthrangkaymnusy lingkesiy culalngkrnmhawithyaly phiphithphnthsthanprsitwithyainstw 2558 http www chula ac th th archive museum 3596 2018 03 12 thi ewyaebkaemchchin 1 knyayn 2559 thiekhathung phiphithphnthchlthsnsthanaehlngkhxmulxunculalngkrnmhawithyaly phiphithphnthincula 2015 12 01 thi ewyaebkaemchchin phiphithphnthsmuniphr khnaephschsastr culalngkrnmhawithyaly phiphithphnthphuch s ksin suwtaphnthu khnawithyasastr culalngkrnmhawithyaly 2007 10 25 thi ewyaebkaemchchin phiphithphnthsthanprsitwithyainstw khnastwaephthysastr culalngkrnmhawithyaly 2007 08 20 thi ewyaebkaemchchin bthkhwamxakhar hrux sthanthisakhyniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldk