พระเจ้าแทโจ (เกาหลี: 태조; ฮันจา: 太祖; อาร์อาร์: Taejo; เอ็มอาร์: T'aejo ค.ศ. 1335 - ค.ศ. 1408) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซ็อนของเกาหลี (ค.ศ. 1392 - ค.ศ. 1398) พระนามเดิมว่า อี ซ็องกเย (เกาหลี: 이성계; ฮันจา: 李成桂; อาร์อาร์: Yi Seonggye; เอ็มอาร์: I Sŏnggye) ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เปลี่ยนพระบรมนามาภิไธยของพระองค์เป็น อีทัน (이단) โดยครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1392 จนกระทั่งสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1398 พระองค์เป็นบุคคลสำคัญในการล้มล้างราชวงศ์โครยอ พระเจ้าแทโจสละราชบัลลังก์เป็นแทซังวังท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างพระราชโอรสก่อนที่พระองค์จะสวรรคตในปี ค.ศ. 1408
พระเจ้าแทโจ | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระเจ้าหลวง พระบรมราชชนก | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน | |||||
ครองราชย์ | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 1935 - 5 กันยายน พ.ศ. 1941 (5 ปี 353 วัน) | ||||
ราชาภิเษก | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 1935 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าคงยาง (ราชวงศ์โครยอ) | ||||
ถัดไป | พระเจ้าช็องจง | ||||
พระราชสมภพ | 14 ตุลาคม พ.ศ. 1879 | ||||
สวรรคต | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1951 (71 ปี 222 วัน) | ||||
ฝังพระศพ | สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน | ||||
คู่อภิเษก | พระนางชินอึย พระนางชินด็อก | ||||
พระราชบุตร | พระเจ้าช็องจง พระเจ้าแทจง | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โชซ็อน | ||||
พระราชบิดา | อี จา-ชุน | ||||
พระราชมารดา | พระนางอึยฮเย |
Korean name | |
ฮันกึล | 태조 |
---|---|
ฮันจา | 太祖 |
อาร์อาร์ | Taejo |
เอ็มอาร์ | T'aejo |
นามปากกา | |
ฮันกึล | 송헌 |
ฮันจา | 松軒 |
อาร์อาร์ | Songheon |
เอ็มอาร์ | Songhŏn |
ชื่อเกิด | |
ฮันกึล | 이성계, ต่อมา 이단 |
ฮันจา | 李成桂, ต่อมา 李旦 |
อาร์อาร์ | I Seonggye, ต่อมา I Dan |
เอ็มอาร์ | Yi Sŏnggye, ต่อมา Yi Tan |
ฮันกึล | 중결 |
ฮันจา | 仲潔 |
อาร์อาร์ | Junggyeol |
เอ็มอาร์ | Chunggyŏl |
ราชวงศ์ที่พระองค์สถาปนาขึ้นนั้นถูกครอบงำโดยพระราชวงศ์และขุนนางที่เคยรับใช้ราชวงศ์ก่อนหน้านี้คือราชวงศ์โครยอ พระองค์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ฉันมิตรกับญี่ปุ่นขึ้นใหม่และปรับปรุงความสัมพันธ์กับราชวงศ์หมิง
ก้าวสู่อำนาจ
อี ซ็องกเย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ ค.ศ. 1335 ในมณฑลซังซ็อง (쌍성총관부, 雙城摠管府) ซึ่งเป็นดินแดนของเกาหลีที่ถูกมองโกลราชวงศ์หยวนผนวกไป บิดาคืออี จา-ชุน (이자춘, 李子春) หรืออูลูสบุคา (Ulus Bukha) เป็นนายพลเกาหลีที่รับใช้มองโกลบังคับบัญชามณฑลซังซ็อง ในปี ค.ศ. 1350 พระเจ้าคงมิน (공민왕, 恭愍王) แห่งราชวงศ์โครยอทรงส่งทัพไปยึดมณฑลซังซ็องคืน อี จา-ชุนและครอบครัวก็ย้ายมาอยู่ที่เมืองฮัมฮึง (함흥, 咸興) ในมณฑลฮัมกย็อง อี ซ็องกเย ได้รับใช้พระเจ้าคงมินเป็นขุนพลที่มีผลงานโดดเด่น ได้แก่ การยึดเมืองแคซ็องคืนจากกบฏโพกผ้าแดง (紅巾之亂, Red Turban Rebellion) ในค.ศ. 1361 การยึดมณฑลทงนย็อง (동녕부, 東寧府) คืนในค.ศ. 1370 รวมทั้งการปราบ (Wokou)
จักรพรรดิหงหวู่ (洪武帝) ล้มราชวงศ์หยวนตั้งราชวงศ์หมิง ในปี ค.ศ. 1368 พระเจ้าคงมินถูกลอบปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1354 โดยกลุ่มขุนนางที่สนับสนุนพวกมองโกล และในค.ศ. 1388 อี ซ็องกเย ได้ร่วมมือกับชเวย็อง (최영, 崔瑩) ยึดอำนาจจากขุนนางฝ่ายมองโกล ในปีเดียวกันนั้นเองพระจักรพรรดิหงหวู่มีรับสั่งจะส่งทัพจีนมาตั้งมั่นที่มณฑลซังซอง ชเวย็องและพระเจ้าอู (우왕, 禑王) เห็นว่าควรส่งทัพไปรุกรานราชวงศ์หมิงเป็นการต่อต้าน แต่อี ซ็องกเย เห็นว่าไม่ควรทำ เพราะราชวงศ์หมิงขณะนั้นมีความแข็งแกร่ง เกาหลีไม่อาจจะสู้ได้ เมื่อเดินทัพถึงเกาะวีฮวา (위화도, 威化島) บนแม่น้ำยาลู อี ซ็องกเย ก็เปลี่ยนใจ หันทัพกลับมาเมืองแคซ็องกระทำรัฐประหารสังหารชเวย็องเสีย แล้วตั้งพระเจ้าชาง (창왕, 昌王) พระโอรสของพระเจ้าอูเป็นกษัตริย์แทน แต่ในปี ค.ศ. 1389 ก็ถอดพระเจ้าชางลงแล้วสำเร็จโทษไปพร้อมกับพระเจ้าอูด้วยข้อหาเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ไม่แท้จริง แล้วยกพระเจ้าคงยาง (공양왕, 恭讓王) ขึ้นเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดแทน
ตั้งราชวงศ์ใหม่
อี ซ็องกเย เมื่อได้อำนาจแม้แล้วก็ทำการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ โดยยึดที่ดินจากกลุ่มขุนนางมองโกลเก่ามาทั้งหมดให้กลายเป็นของราชสำนักผ่านทางกฎหมายที่ดินใหม่เพื่อกำจัดอำนาจของกลุ่มขุนนางมองโกลเก่าซึ่งมีที่ดินในครอบครองเป็นฐานอำนาจจำนวนมาก ขุนนางจะมีที่ดินต่อเมื่อราชสำนักให้มาเท่านั้น และอี ซ็องกเย ยังยกเลิกศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำอาณาจักร และยกลัทธิขงจื๊อขึ้นมาแทนที่ อี ซ็องกเย ต้องเผชิญกับการต่อต้านของขุนนางและปราชญ์ขงจื๊อที่ต่อต้านการเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ นำโดย จองมงจู (정몽주, 鄭夢周) ซึ่งอี ซ็องกเย ก็ได้ส่งบุตรชายของตน คือ ลีบังวอน (이방원, 李芳遠) ไปทำการลอบสังหารในค.ศ. 1392
ในที่สุดด้วยการรบเร้าของสภาองคมนตรีและขุนนางทั้งหลาย ในค.ศ. 1392 อี ซ็องกเย ก็บังคับให้พระเจ้าคงยางสละราชบัลลังก์แล้วเนรเทศไปเมืองวอนจู ประกาศล้มเลิกราชวงศ์โครยอ ปราบดาภิเษกตนเองเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ อี ซ็องกเย ได้อาศัยหลักอาณัติสวรรค์ (Mandate of Heaven) ของจีนมาอธิบายการสิ้นสุดของราชวงศ์โครยอและการปราบดาภิเษกของตนเอง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในเกาหลี ในค.ศ. 1393 พระเจ้าแทโจทรงส่งทูตไปยังกรุ่งปักกิ่งเพื่อขอพระราชทานการรับรองจากพระจักรพรรดิหงหวู่ และให้ทรงเลือกชื่อราชวงศ์ใหม่ระหว่าง ฮวาย็อง และ โชซ็อน ซึ่งพระจักรพรรดิหมิงก็ทรงเลือกชื่อ "โชซ็อน" อย่างไรก็ตาม ราชวงศ์หมิงยังคงไม่รับรองราชวงศ์ใหม่นี้ของเกาหลีจนกระทั่งรัชสมัยของพระเจ้าแทจงใน ค.ศ. 1394 พระเจ้าแทโจก็สำเร็จโทษพระเจ้าคงยางพร้อมกับพระราชวงศ์ที่เหลือ
เป็นธรรมเนียมของราชวงศ์ใหม่ของเกาหลีที่จะย้ายเมืองหลวง ด้วยความช่วยเหลือของพระภิกษุมูฮัก (무학, 無學) พระสหายแต่พระเยาว์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮวงจุ้ย พระเจ้าแทโจจึงย้ายไปเมืองฮันยัง (한양, 漢陽) และเริ่มสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่เมื่อค.ศ. 1394 ดำเนินการก่อสร้างกำแพงสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งออกแบบโดยช็อง โด-จ็อน (정도전, 鄭道傳) ปราชญ์ขงจื๊อและขุนนางคนสำคัญของพระเจ้าแทโจ ในค.ศ. 1395 พระเจ้าแทโจเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นฮันซ็อง (한성, 漢城) ช็อง โด-จ็อนตั้งชื่อพระราชวังแห่งใหม่ให้ว่า พระราชวังคย็องบก (경복궁, 景福宮) ซึ่งสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1394 และย้ายราชสำนักไปอยู่ที่เมืองฮันซ็องเป็นการถาวรในปีนั้นเอง
สละบัลลังก์
พระเจ้าแทโจเมื่อครั้งยังเป็นขุนพลอี ซ็องกเย นั้นมีภรรยาอยู่คนหนึ่งมาจากตระกูลฮัน (한씨, 韓氏) มีลูกชายหกคน แต่นางเสียชีวิตไปก่อนในค.ศ. 1391 เมื่อพระเจ้าแทโจปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัตินั้น ได้อภิเษกใหม่กับพระมเหสีชินด็อก ตระกูลคัง (신덕왕후 강씨, 神德王后 康氏) และตั้งพระชายาเก่าตระกูลฮันเป็นพระมเหสีชินอี (신의왕후, 神懿王后) พระเจ้าแทโจมีพระโอรสกับพระมเหสีชินด็อกสองพระองค์ พระเจ้าแทโจสถาปนาเจ้าชายอีอัน (의안대군, 宜安大君) ลีบังซอก (이방석, 李芳碩) พระโอรสของพระนางชินด็อกเป็นรัชทายาท สร้างความไม่พอใจแก่พระโอรสทั้งหลายที่ประสูติแต่พระมเหสีฮันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเจ้าชายจองอัน (정안대군, 靖安大君) ลีบังวอน ซึ่งมีความทะเยอทะยานและที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือพระบิดาอย่างมาก
พระมเหสีชินด็อกสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1397 เกิดข่าวลือว่าพระเจ้าแทโจหมายจะยกย่องพระโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสีใหม่ให้เหนือกว่าพระโอรสที่ประสูติจากพระมเหสีเก่า ในค.ศ. 1398 ลีบังวอนจึงตัดสินใจลอบสังหารลีบังบอน (이방번, 李芳蕃) และลีบังซอก พระโอรสของพระมเหสีชินด็อกทั้งสองพระองค์ รวมทั้งสังหารช็อง โด-จ็อนที่ให้การสนับสนุนเจ้าชายลีบังซอกเป็นรัชทายาท เรียกว่า เหตุการณ์จลาจลของเจ้าชาย (왕자의난, 王子-亂) ครั้งที่หนึ่ง เจ้าชายลีบังวอนตั้งพระเชษฐาเจ้าชายยองอัน (영안대군, 永安大君) ลีบังกวา (이방과, 李芳果) เป็นรัชทายาทแทน
หลังจากที่สูญเสียพระมเหสีและพระโอรสเข่นฆ่ากันเอง พระเจ้าแทโจก็หมดอาลัยตายอยากกับพระชนม์ชีพแล้วจึงสละราชสมบัติในปีค.ศ. 1398 แล้วเสด็จไปประทับที่เมืองฮัมฮึงหรือฮัมนุงบ้านเกิด องค์ชายลีบังกวาขึ้นครองราชสมบัติต่อเป็น พระเจ้าช็องจง (정종, 定宗) แต่ความทะเยอทะยานของเจ้าชายลีบังวอนและการนองเลือดยังไม่จบสิ้น
ปั้นปลายพระชนม์ชีพ
พระเจ้าแทโจสละบัลลังก์แล้วดำรงพระยศเป็น แทซังวัง (태상왕, 太上王) พระเจ้าช็องจงหวั่นเกรงอิทธิพลของพระอนุชาเจ้าชายลีบังวอน จนในค.ศ. 1400 ก็สละบัลลังก์ให้แก่ลีบังวอน ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแทจง แต่ทว่าตราพระราชลัญจกรอันเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจนั้นแทซังวังได้นำติดพระองค์ไปด้วยแต่กลับไม่มอบให้พระเจ้าแทจง พระเจ้าแทจงได้ส่งทูตมาหาพระราชบิดาหลายครั้งเพื่อขอพระราชทานตราแผ่นดินกลับไป แต่พระเจ้าแทโจก็สังหารทูตของพระโอรสทุกคน จนกระทั่งครั้งสุดท้ายพระเจ้าแทจงได้ส่งพระภิกษุมูฮัก พระสหายของพระเจ้าแทโจมา พระเจ้าแทโจจึงยอมให้พระโอรสเข้าเฝ้า พระเจ้าแทโจขว้างตราแผ่นดินใส่พระพักตร์ของพระเจ้าแทจง แล้วตรัสว่า เอาไปเสียไอ้ลูกชั่ว เจ้าอยากได้มันนักมิใช่ฤๅ[][]
พระเจ้าแทโจเนรเทศพระองค์เองอยู่ที่บ้านเกิดอยู่หลายปี จนด้วยการขอร้องของพระภิกษุมูฮักแทซังวังจึงเสด็จกลับมาประทับที่พระราขวังคยองบกในค.ศ. 1405 ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสวดมนต์สงบพระราชหฤทัย กระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1408 พระสุสานชื่อว่า คังวอนนึง (건원릉, 建元陵)
พระนามเต็ม
- พระเจ้าแทโจ จีอิน คเยอึน ซองมุน ซินมู มหาราชแห่งโชซ็อน
- 태조지인계운성문신무대왕
- 太祖至仁啓運聖文神武大王
- พระเจ้าแทโจ คังฮอน จีอิน คเยอึน ซองมุน ซินมู มหาราชแห่งโชซ็อน
- 태조강헌지인계운성문신무대왕
- 太祖康獻至仁啓運聖文神武大王
- จักรพรรดิแทโจ จีอิน คเยอึน อึงชอง โจท็อง ควางฮุน ยองมยอง ซองมุน ซินมู จองอึย ควางด็อก แห่งจักรวรรดิเกาหลี
- 태조지인계운응천조통광훈영명성문신무정의광덕고황제
- 太祖至仁啓運應天肇統廣勳永命聖文神武正義光德高皇帝
พระบรมวงศานุวงศ์
- พระราชบิดา: อี จา-ชุน (이자춘)
- พระราชมารดา: พระนางอึยฮเย พระพันปีหลวง ตระกูลชอย แห่งยองฮึง (의혜왕후 최씨)
พระอัครมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา
- พระนางชินอึย ตระกูลฮัน แห่งอันพยอน (신의왕후 한씨, 神懿王后韓氏)
- อี พังอู, เจ้าชายจินอัน(이방우 진안대군)
- อี พังกวา, พระเจ้าช็องจง
- อี พังอึย, (이방의 익안대군)
- อี พังกาน, (이방간 회안대군)
- อี พังวอน, พระเจ้าแทจง
- อี พังยอน, (이방연 덕안대군)
- (경신공주)
- (경선공주)
- พระนางชินด็อก ตระกูลคัง แห่งกุกซาน (신덕왕후 강씨, 神德王后康氏)
- อี พังบอน, เจ้าชายมูอัน (이방번 무안대군)
- อี พังซ็อก, เจ้าชายอึยอัน (이방석 의안대군)
- (경순공주)
พระสนม พระราชโอรส พระราชธิดา
- พระสนมซองบิน ตระกูลวอน แห่งวอนจู (성비 원씨)
- พระสนมจองคยอง ตระกูลยู (정경궁주 유씨)
- ชิลจอมซอน,เจ้าหญิงฮวาอึย (김칠점선 화의옹주)
- เจ้าหญิงซุกชิน (숙신옹주)
- ซังกุง ตระกูลจู (찬덕 주씨) นามเดิม จู ชานด็อก
- เจ้าหญิงอึยรยอง (의령옹주)
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Seth, Michael J. (3 December 2019). A Brief History of Korea: Isolation, War, Despotism and Revival: The Fascinating Story of a Resilient But Divided People (ภาษาอังกฤษ). Tuttle Publishing.
- . Wayback Machine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2009. สืบค้นเมื่อ 8 November 2022.
{{}}
: CS1 maint: unfit URL () - Hussain, Tariq (2006). Diamond Dilemma: Shaping Korea for the 21st Century (ภาษาอังกฤษ). Seoul Selection USA. p. 45.
- Hodge, Carl Cavanagh (2008). Encyclopedia of the Age of Imperialism, 1800–1914 (ภาษาอังกฤษ). Vol. II. . p. 401.
- http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C07/E0705.htm
- Jae-un Kang, Jae-eun Kang, Suzanne Lee. The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism.
- Michael J. Seth. A concise history of Korea: from the neolithic period through the nineteenth century.
- http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C08/E0801.htm
- http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C08/E0803.htm
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-31. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- Taejong of Joseon Sillok vol.16, August 7, 1408, entry 3.
- Preface to Taejo Sillok, entry 1. The posthumous title "Kangheon" (강헌 康獻) was bestowed from Ming, and was added to Taejo's posthumous name [Taejong Sillok vol.16, October 13, 1408, entry 1].
- Gojong Sillok vol.39, December 23, 1899, entry 1. Gojong notably omitted the posthumous title China bestowed on Taejo as a sign of the Empire's "independence" from Qing
ก่อนหน้า | พระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าคงยาง (ราชวงศ์โครยอ) | พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน (พ.ศ. 1935 - พ.ศ. 1941) | พระเจ้าช็องจง |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phraecaaethoc ekahli 태조 hnca 太祖 xarxar Taejo exmxar T aejo kh s 1335 kh s 1408 epnpthmkstriyaehngrachwngsochsxnkhxngekahli kh s 1392 kh s 1398 phranamedimwa xi sxngkey ekahli 이성계 hnca 李成桂 xarxar Yi Seonggye exmxar I Sŏnggye phayhlngesdckhunkhrxngrachy phraxngkhidepliynphrabrmnamaphiithykhxngphraxngkhepn xithn 이단 odykhrxngrachytngaetpi kh s 1392 cnkrathngslarachbllngkinpi kh s 1398 phraxngkhepnbukhkhlsakhyinkarlmlangrachwngsokhryx phraecaaethocslarachbllngkepnaethsngwngthamklangkhwamkhdaeyngrahwangphrarachoxrskxnthiphraxngkhcaswrrkhtinpi kh s 1408phraecaaethocphraecahlwng phrabrmrachchnkphramhakstriyaehngochsxnkhrxngrachy17 krkdakhm ph s 1935 5 knyayn ph s 1941 5 pi 353 wn rachaphiesk17 krkdakhm ph s 1935kxnhnaphraecakhngyang rachwngsokhryx thdipphraecachxngcngphrarachsmphph14 tulakhm ph s 1879swrrkht24 phvsphakhm ph s 1951 71 pi 222 wn fngphrasphsusanhlwngrachwngsochsxnkhuxphieskphranangchinxuy phranangchindxkphrarachbutrphraecachxngcng phraecaaethcngphraxaramnamaethoc 태조 太祖 rachwngsochsxnphrarachbidaxi ca chunphrarachmardaphranangxuyheyKorean namehnkul태조hnca太祖xarxarTaejoexmxarT aejonampakkahnkul송헌hnca松軒xarxarSongheonexmxarSonghŏnchuxekidhnkul이성계 txma 이단hnca李成桂 txma 李旦xarxarI Seonggye txma I DanexmxarYi Sŏnggye txma Yi Tanhnkul중결hnca仲潔xarxarJunggyeolexmxarChunggyŏl rachwngsthiphraxngkhsthapnakhunnnthukkhrxbngaodyphrarachwngsaelakhunnangthiekhyrbichrachwngskxnhnanikhuxrachwngsokhryx phraxngkhidsthapnakhwamsmphnthchnmitrkbyipunkhunihmaelaprbprungkhwamsmphnthkbrachwngshmingkawsuxanacxi sxngkey esdcphrarachsmphphemux kh s 1335 inmnthlsngsxng 쌍성총관부 雙城摠管府 sungepndinaednkhxngekahlithithukmxngoklrachwngshywnphnwkip bidakhuxxi ca chun 이자춘 李子春 hruxxulusbukha Ulus Bukha epnnayphlekahlithirbichmxngoklbngkhbbychamnthlsngsxng inpi kh s 1350 phraecakhngmin 공민왕 恭愍王 aehngrachwngsokhryxthrngsngthphipyudmnthlsngsxngkhun xi ca chunaelakhrxbkhrwkyaymaxyuthiemuxnghmhung 함흥 咸興 inmnthlhmkyxng xi sxngkey idrbichphraecakhngminepnkhunphlthimiphlnganoddedn idaek karyudemuxngaekhsxngkhuncakkbtophkphaaedng 紅巾之亂 Red Turban Rebellion inkh s 1361 karyudmnthlthngnyxng 동녕부 東寧府 khuninkh s 1370 rwmthngkarprab Wokou ckrphrrdihnghwu 洪武帝 lmrachwngshywntngrachwngshming inpi kh s 1368 phraecakhngminthuklxbplngphrachnminpi kh s 1354 odyklumkhunnangthisnbsnunphwkmxngokl aelainkh s 1388 xi sxngkey idrwmmuxkbchewyxng 최영 崔瑩 yudxanaccakkhunnangfaymxngokl inpiediywknnnexngphrackrphrrdihnghwumirbsngcasngthphcinmatngmnthimnthlsngsxng chewyxngaelaphraecaxu 우왕 禑王 ehnwakhwrsngthphiprukranrachwngshmingepnkartxtan aetxi sxngkey ehnwaimkhwrtha ephraarachwngshmingkhnannmikhwamaekhngaekrng ekahliimxaccasuid emuxedinthphthungekaawihwa 위화도 威化島 bnaemnayalu xi sxngkey kepliynic hnthphklbmaemuxngaekhsxngkratharthpraharsngharchewyxngesiy aelwtngphraecachang 창왕 昌王 phraoxrskhxngphraecaxuepnkstriyaethn aetinpi kh s 1389 kthxdphraecachanglngaelwsaercothsipphrxmkbphraecaxudwykhxhaepnechuxphrawngsthiimaethcring aelwykphraecakhngyang 공양왕 恭讓王 khunepnkstriyhunechidaethntngrachwngsihmxi sxngkey emuxidxanacaemaelwkthakarptirupkarpkkhrxngesiyihm odyyudthidincakklumkhunnangmxngoklekamathnghmdihklayepnkhxngrachsankphanthangkdhmaythidinihmephuxkacdxanackhxngklumkhunnangmxngoklekasungmithidininkhrxbkhrxngepnthanxanaccanwnmak khunnangcamithidintxemuxrachsankihmaethann aelaxi sxngkey yngykeliksasnaphuththepnsasnapracaxanackr aelayklththikhngcuxkhunmaaethnthi xi sxngkey txngephchiykbkartxtankhxngkhunnangaelaprachykhngcuxthitxtankarepliynrachwngsihm naody cxngmngcu 정몽주 鄭夢周 sungxi sxngkey kidsngbutrchaykhxngtn khux libngwxn 이방원 李芳遠 ipthakarlxbsngharinkh s 1392 inthisuddwykarrberakhxngsphaxngkhmntriaelakhunnangthnghlay inkh s 1392 xi sxngkey kbngkhbihphraecakhngyangslarachbllngkaelwenrethsipemuxngwxncu prakaslmelikrachwngsokhryx prabdaphiesktnexngepnkstriyrachwngsihm xi sxngkey idxasyhlkxantiswrrkh Mandate of Heaven khxngcinmaxthibaykarsinsudkhxngrachwngsokhryxaelakarprabdaphieskkhxngtnexng sungimekhymimakxninekahli inkh s 1393 phraecaaethocthrngsngthutipyngkrungpkkingephuxkhxphrarachthankarrbrxngcakphrackrphrrdihnghwu aelaihthrngeluxkchuxrachwngsihmrahwang hwayxng aela ochsxn sungphrackrphrrdihmingkthrngeluxkchux ochsxn xyangirktam rachwngshmingyngkhngimrbrxngrachwngsihmnikhxngekahlicnkrathngrchsmykhxngphraecaaethcngin kh s 1394 phraecaaethocksaercothsphraecakhngyangphrxmkbphrarachwngsthiehlux epnthrrmeniymkhxngrachwngsihmkhxngekahlithicayayemuxnghlwng dwykhwamchwyehluxkhxngphraphiksumuhk 무학 無學 phrashayaetphraeyawphuechiywchaydanhwngcuy phraecaaethoccungyayipemuxnghnyng 한양 漢陽 aelaerimsrangemuxnghlwngaehngihmemuxkh s 1394 daeninkarkxsrangkaaephngsingpluksrangtang sungxxkaebbodychxng od cxn 정도전 鄭道傳 prachykhngcuxaelakhunnangkhnsakhykhxngphraecaaethoc inkh s 1395 phraecaaethocepliynchuxemuxngepnhnsxng 한성 漢城 chxng od cxntngchuxphrarachwngaehngihmihwa phrarachwngkhyxngbk 경복궁 景福宮 sungsrangesrcin kh s 1394 aelayayrachsankipxyuthiemuxnghnsxngepnkarthawrinpinnexngslabllngkphraecaaethocemuxkhrngyngepnkhunphlxi sxngkey nnmiphrryaxyukhnhnungmacaktrakulhn 한씨 韓氏 milukchayhkkhn aetnangesiychiwitipkxninkh s 1391 emuxphraecaaethocprabdaphieskkhunkhrxngrachsmbtinn idxphieskihmkbphramehsichindxk trakulkhng 신덕왕후 강씨 神德王后 康氏 aelatngphrachayaekatrakulhnepnphramehsichinxi 신의왕후 神懿王后 phraecaaethocmiphraoxrskbphramehsichindxksxngphraxngkh phraecaaethocsthapnaecachayxixn 의안대군 宜安大君 libngsxk 이방석 李芳碩 phraoxrskhxngphranangchindxkepnrchthayath srangkhwamimphxicaekphraoxrsthnghlaythiprasutiaetphramehsihnepnxyangmak odyechphaaecachaycxngxn 정안대군 靖安大君 libngwxn sungmikhwamthaeyxthayanaelathiphanmaidchwyehluxphrabidaxyangmak phramehsichindxksinphrachnminkh s 1397 ekidkhawluxwaphraecaaethochmaycaykyxngphraoxrsthiprasutiaetphramehsiihmihehnuxkwaphraoxrsthiprasuticakphramehsieka inkh s 1398 libngwxncungtdsiniclxbsngharlibngbxn 이방번 李芳蕃 aelalibngsxk phraoxrskhxngphramehsichindxkthngsxngphraxngkh rwmthngsngharchxng od cxnthiihkarsnbsnunecachaylibngsxkepnrchthayath eriykwa ehtukarnclaclkhxngecachay 왕자의난 王子 亂 khrngthihnung ecachaylibngwxntngphraechsthaecachayyxngxn 영안대군 永安大君 libngkwa 이방과 李芳果 epnrchthayathaethn hlngcakthisuyesiyphramehsiaelaphraoxrsekhnkhaknexng phraecaaethockhmdxalytayxyakkbphrachnmchiphaelwcungslarachsmbtiinpikh s 1398 aelwesdcipprathbthiemuxnghmhunghruxhmnungbanekid xngkhchaylibngkwakhunkhrxngrachsmbtitxepn phraecachxngcng 정종 定宗 aetkhwamthaeyxthayankhxngecachaylibngwxnaelakarnxngeluxdyngimcbsinpnplayphrachnmchiphphraecaaethocslabllngkaelwdarngphraysepn aethsngwng 태상왕 太上王 phraecachxngcnghwnekrngxiththiphlkhxngphraxnuchaecachaylibngwxn cninkh s 1400 kslabllngkihaeklibngwxn khunkhrxngrachyepnphraecaaethcng aetthwatraphrarachlyckrxnepnsylksnkhxngphrarachxanacnnaethsngwngidnatidphraxngkhipdwyaetklbimmxbihphraecaaethcng phraecaaethcngidsngthutmahaphrarachbidahlaykhrngephuxkhxphrarachthantraaephndinklbip aetphraecaaethocksngharthutkhxngphraoxrsthukkhn cnkrathngkhrngsudthayphraecaaethcngidsngphraphiksumuhk phrashaykhxngphraecaaethocma phraecaaethoccungyxmihphraoxrsekhaefa phraecaaethockhwangtraaephndinisphraphktrkhxngphraecaaethcng aelwtrswa exaipesiyixlukchw ecaxyakidmnnkmiichvi ikhr txngkarxangxing phraecaaethocenrethsphraxngkhexngxyuthibanekidxyuhlaypi cndwykarkhxrxngkhxngphraphiksumuhkaethsngwngcungesdcklbmaprathbthiphrarakhwngkhyxngbkinkh s 1405 ichewlaswnihyipkbkarswdmntsngbphrarachhvthy krathngswrrkhtin kh s 1408 phrasusanchuxwa khngwxnnung 건원릉 建元陵 phranametmphraecaaethoc cixin kheyxun sxngmun sinmu mharachaehngochsxn태조지인계운성문신무대왕 太祖至仁啓運聖文神武大王 phraecaaethoc khnghxn cixin kheyxun sxngmun sinmu mharachaehngochsxn태조강헌지인계운성문신무대왕 太祖康獻至仁啓運聖文神武大王 ckrphrrdiaethoc cixin kheyxun xungchxng octhxng khwanghun yxngmyxng sxngmun sinmu cxngxuy khwangdxk aehngckrwrrdiekahli태조지인계운응천조통광훈영명성문신무정의광덕고황제 太祖至仁啓運應天肇統廣勳永命聖文神武正義光德高皇帝phrabrmwngsanuwngsphrarachbida xi ca chun 이자춘 phrarachmarda phranangxuyhey phraphnpihlwng trakulchxy aehngyxnghung 의혜왕후 최씨 phraxkhrmehsi phrarachoxrs phrarachthida phranangchinxuy trakulhn aehngxnphyxn 신의왕후 한씨 神懿王后韓氏 xi phngxu ecachaycinxn 이방우 진안대군 xi phngkwa phraecachxngcng xi phngxuy 이방의 익안대군 xi phngkan 이방간 회안대군 xi phngwxn phraecaaethcng xi phngyxn 이방연 덕안대군 경신공주 경선공주 phranangchindxk trakulkhng aehngkuksan 신덕왕후 강씨 神德王后康氏 xi phngbxn ecachaymuxn 이방번 무안대군 xi phngsxk ecachayxuyxn 이방석 의안대군 경순공주 phrasnm phrarachoxrs phrarachthida phrasnmsxngbin trakulwxn aehngwxncu 성비 원씨 phrasnmcxngkhyxng trakulyu 정경궁주 유씨 chilcxmsxn ecahyinghwaxuy 김칠점선 화의옹주 ecahyingsukchin 숙신옹주 sngkung trakulcu 찬덕 주씨 namedim cu chandxk ecahyingxuyryxng 의령옹주 sthaniyxypraethsekahlisthaniyxyprawtisastrsthaniyxyphramhakstriyaelaphrabrmwngsanuwngsphngsawliphngsawlikhxngphraecaaethocaehngochsxn 2 xi ca chun 1 phraecaaethocaehngochsxn 3 phranangxuyhey duephimwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb phraecaaethocaehngochsxn rachwngsochsxn pratunmaed pratudngaedxangxingSeth Michael J 3 December 2019 A Brief History of Korea Isolation War Despotism and Revival The Fascinating Story of a Resilient But Divided People phasaxngkvs Tuttle Publishing Wayback Machine khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 28 October 2009 subkhnemux 8 November 2022 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint unfit URL Hussain Tariq 2006 Diamond Dilemma Shaping Korea for the 21st Century phasaxngkvs Seoul Selection USA p 45 Hodge Carl Cavanagh 2008 Encyclopedia of the Age of Imperialism 1800 1914 phasaxngkvs Vol II p 401 http www koreanhistoryproject org Ket C07 E0705 htm Jae un Kang Jae eun Kang Suzanne Lee The land of scholars two thousand years of Korean Confucianism Michael J Seth A concise history of Korea from the neolithic period through the nineteenth century http www koreanhistoryproject org Ket C08 E0801 htm http www koreanhistoryproject org Ket C08 E0803 htm khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 07 31 subkhnemux 2010 08 16 Taejong of Joseon Sillok vol 16 August 7 1408 entry 3 Preface to Taejo Sillok entry 1 The posthumous title Kangheon 강헌 康獻 was bestowed from Ming and was added to Taejo s posthumous name Taejong Sillok vol 16 October 13 1408 entry 1 Gojong Sillok vol 39 December 23 1899 entry 1 Gojong notably omitted the posthumous title China bestowed on Taejo as a sign of the Empire s independence from Qing kxnhna phraecaaethocaehngochsxn thdipphraecakhngyang rachwngsokhryx phramhakstriyaehngochsxn ph s 1935 ph s 1941 phraecachxngcng bthkhwamchiwprawtiniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk