พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน เป็นพระที่นั่งเดิมภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นครั้งแรกโดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ต่อมารื้อสร้างใหม่โดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน | |
---|---|
พระที่นั่งศิวโมกขพิมานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
ประเภท | พระที่นั่ง |
ที่ตั้ง | แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
สร้างโดย | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท |
การใช้งานดั้งเดิม | ท้องพระโรงสำหรับพระราชวังบวรสถานมงคล |
บูรณะ | พ.ศ. 2402 |
บูรณะโดย | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ |
สถานะ | ยังมีอยู่ |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมไทย |
ผู้ดูแล | กรมศิลปากร |
ขึ้นเมื่อ | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | พระราชวังบวรสถานมงคล |
เลขอ้างอิง | 0000015 |
ประวัติ
พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน หรือ พระที่นั่งศิวโมกขสถาน ซึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าคงเป็นนามเดิมของพระที่นั่งองค์นี้ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ชื่อที่สอดคล้องกับนาม "พระพิมานดุสิตา" เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นด้วยไม้ทั้งหลัง โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้ใช้เป็นท้องพระโรงเสด็จออกขุนนาง และทรงบำเพ็ญพระราชกุศล การสร้างพระที่นั่งองค์นี้ถ่ายแบบพระที่นั่งมาจากพระที่นั่งทรงปืนที่พระราชวังหลวง สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น จึงมีบางคนเรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า "พระที่นั่งทรงปืน" อย่างไรก็ตาม เมื่อพระราชมณเฑียรสร้างแล้วเสร็จ พระที่นั่งองค์นี้ก็ใช้เป็นเพียงสถานที่เสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า "พระที่นั่งทรงธรรม" พระที่นั่งแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่ตั้งพระศพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทด้วย
ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้รื้อพระที่นั่งศิวโมกขพิมานที่สร้างขึ้นจากไม้เปลี่ยนมาเป็นพระที่นั่งที่ก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง และได้ขยายขนาดให้พระที่นั่งใหญ่โตขึ้น เมื่อสร้างแล้วเสร็จพระที่นั่งองค์นี้ยังคงใช้เป็นที่เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลเช่นเดิม และยังใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกงเต็กในงานพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
เดิมพระที่นั่งแห่งนี้เป็นพระที่นั่งโถง ต่อมา เมื่อใช้พระที่นั่งแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปี พ.ศ. 2430 จึงได้สร้างผนังขึ้นมา ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
อ้างอิง
- ประชุมพงศาวดาร - เล่มที่ 11, https://books.google.co.th/ .สืบค้นเมื่อ 03/01/2561
- ราชบัณฑิตยสถาน (2548). พจนานุกรมวิสามานยนามไทย: วัง วัด ถนน สะพาน ป้อม (2 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 346-347.
- ราชบัณฑิตยสภา, อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณและพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร, พ.ศ. 2470
- แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หม่อมราชวงศ์. พระราชวังและวังในกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2325-2525). [ม.ป.ท.] : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525.
ดูเพิ่ม
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phrathinngsiwomkkhphiman epnphrathinngedimphayinphrarachwngbwrsthanmngkhl srangkhunkhrngaerkody smedcphrabwrrachecamhasursinghnath txmaruxsrangihmody smedcphrabwrrachecamhaskdiphlesph pccubnepnswnhnungkhxng phiphithphnthsthanaehngchati phrankhrphrathinngsiwomkkhphimanphrathinngsiwomkkhphimanineduxnthnwakhm ph s 2566praephthphrathinngthitngaekhwngphrabrmmharachwng ekhtphrankhr krungethphmhankhrsrangodysmedcphrabwrrachecamhasursinghnathkarichngandngedimthxngphraorngsahrbphrarachwngbwrsthanmngkhlburnaph s 2402burnaodysmedcphrabwrrachecamhaskdiphlesphsthanayngmixyusthaptykrrmsthaptykrrmithyphuduaelkrmsilpakrobransthanthikhunthaebiynodykrmsilpakrkhunemux9 phvscikayn ph s 2519epnswnhnungkhxngphrarachwngbwrsthanmngkhlelkhxangxing0000015prawtiphrathinngsiwomkkhphiman hrux phrathinngsiwomkkhsthan sung smedc krmphrayadarngrachanuphaph thrngsnnisthanwakhngepnnamedimkhxngphrathinngxngkhnithitngkhunephuxihchuxthisxdkhlxngkbnam phraphimandusita epnphrathinngthisrangkhundwyimthnghlng odysmedcphrabwrrachecamhasursinghnathoprdihichepnthxngphraorngesdcxxkkhunnang aelathrngbaephyphrarachkusl karsrangphrathinngxngkhnithayaebbphrathinngmacakphrathinngthrngpunthiphrarachwnghlwng smykrungsrixyuthya dngnn cungmibangkhneriykphrathinngxngkhniwa phrathinngthrngpun xyangirktam emuxphrarachmnethiyrsrangaelwesrc phrathinngxngkhnikichepnephiyngsthanthiesdcthrngbaephyphrarachkusl dngnn bangkhrngcungeriykphrathinngxngkhniwa phrathinngthrngthrrm phrathinngaehngniyngichepnsthanthitngphrasphkhxngsmedcphrabwrrachecamhasursinghnathdwy txma smedcphrabwrrachecamhaskdiphlesphoprdihruxphrathinngsiwomkkhphimanthisrangkhuncakimepliynmaepnphrathinngthikxxiththuxpunthnghlng aelaidkhyaykhnadihphrathinngihyotkhun emuxsrangaelwesrcphrathinngxngkhniyngkhngichepnthiesdcbaephyphrarachkuslechnedim aelayngichepnsthanthisahrbprakxbphithikngetkinnganphrabrmsphkhxngphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhwxikdwy edimphrathinngaehngniepnphrathinngothng txma emuxichphrathinngaehngniepnswnhnungkhxngphiphithphnthsthanaehngchati phrankhr inpi ph s 2430 cungidsrangphnngkhunma pccubn phrathinngxngkhniepnsthanthicdaesdngobranwtthu silpwtthu thiepnhlkthanthangprawtisastrkhxngpraethsithyxangxingprachumphngsawdar elmthi 11 https books google co th subkhnemux 03 01 2561 rachbnthitysthan 2548 phcnanukrmwisamanynamithy wng wd thnn saphan pxm 2 ed krungethph rachbnthitysthan p 346 347 rachbnthityspha xthibaywadwyhxphrasmudwchiryanaelaphiphithphnthsthansahrbphrankhr orngphimphosphnphiphrrthnakr ph s 2470 aenngnxy skdisri hmxmrachwngs phrarachwngaelawnginkrungethph ph s 2325 2525 m p th orngphimphculalngkrnmhawithyaly 2525 duephimphiphithphnthsthanaehngchati phrankhr