ต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์และปรัชญาจากปี 1844 (เยอรมัน: Ökonomisch-philosophische Manuskripte aus dem Jahre 1844) หรือเรียกในอีกชื่อว่า Paris Manuscripts (Pariser Manuskripte หรือต้นฉบับปารีส) หรือ 1844 Manuscripts (ต้นฉบับ ค.ศ. 1844) เป็นบันทึกชุดหนึ่งที่คาร์ล มาคส์ เขียนขึ้นระหว่างเดือนเมษายนและสิงหาคม ค.ศ. 1844 และตีพิมพ์ออกมาใน ค.ศ. 1932 ภายหลังเขาเสียชีวิต
ต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์และปรัชญาจากปี 1844 | |
---|---|
บรรณาธิการ | (David Riazanov) |
ผู้ประพันธ์ | คาร์ล มาคส์ |
ผู้แปล | มาร์ติน มิลลิแกน |
ประเทศ | เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี |
ภาษา | ภาษาเยอรมัน |
ประเภท | เศรษฐศาสตร์สำนักมากซ์ |
พิมพ์ | ค.ศ. 1932 |
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ | ค.ศ. 1959 (มอสโก: Progress Publishers) |
นักวิจัยจาก (Marx–Engels–Lenin Institute) ที่มอสโก สหภาพโซเวียต ได้รวบรวมสมุดบันทึกต้นฉบับภาษาเยอรมันเล่มนี้ขึ้นหลายสิบปีหลังมาคส์เสียชีวิต โดยเผยแพร่ออกมาเป็นครั้งแรกที่เบอร์ลินใน ค.ศ. 1932 และตามมาด้วยการเผยแพร่งานชิ้นนี้อีกครั้งภายในสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1933 (มอสโกและเลนินกราด) เป็นภาษาเยอรมันเช่นกัน การเผยแพร่งานชิ้นนี้ทำให้การตอบรับต่อมาคส์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยการวางชิ้นงานของเขาอยู่ภายในโครงสร้างทางทฤษฎีที่จวบจนขณะนั้นผู้ที่ติดตามเขาไม่เคยพบเห็นมาก่อน
บริบท
ต้นฉบับฯ ถูกเขียนขึ้นในฤดูร้อน ค.ศ. 1844 ขณะมาคส์อายุ 25 หรือ 26 ปี มาคส์ในขณะนั้นอาศัยอยู่ที่ปารีส เมืองศูนย์กลางทางความคิดของสังคมนิยมในยุคสมัยนั้น สมาชิกหลายคนในกลุ่มปรัชญาที่เขาอยู่ด้วย กล่าวคือ (Young Hegelians) ได้ย้ายมาอยู่ที่ปารีสเมื่อปีก่อนเพื่อก่อตั้งวารสารฉบับหนึ่ง นามว่า (Deutsch–Französische Jahrbücher) ("หนังสือรายปีเยอรมัน-ฝรั่งเศส") มาคส์อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 38 ถนน (Rue Vaneau) ที่ (Rive Gauche) ของเมืองในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1843 ที่ปารีส เขาได้พบกับช่างฝีมือปฏิวัติชาวเยอรมัน (artisan) และเข้าร่วมประชุมลับของสมาคมกรรมาชีพในฝรั่งเศส ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ มาคส์ได้รู้จักกับ (Pierre-Joseph Proudhon), (Louis Blanc), (Heinrich Heine), (Georg Herwegh), มีฮาอิล บาคูนิน, (Pierre Leroux) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟรีดริช เอ็งเงิลส์
ต้นฉบับฯ พัฒนามาจากข้อเสนอของมาคส์ในหนังสือรายปีว่าจะเขียนจุลสารแยกต่างหากเพื่อวิจารณ์แนวคิดต่าง ๆ ในนิติปรัชญาของเกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล กล่าวคือกฎหมาย จริยธรรม การเมือง ฯลฯ และจบด้วยศาสตรนิพนธ์ทั่วไปที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างพวกมัน บันทึกเหล่านั้นเป็นงานเขียนที่กระจัดกระจายไม่ครบถ้วน ซึ่งมีตั้งแต่ข้อความคัดลอกจากหนังสือต่าง ๆ และข้อคิดเห็น บันทึกและข้อความไตร่ตรองถึงหัวข้อต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันอย่างหลวม ๆ จนถึงงานเขียนประเมินปรัชญาของเฮเกิลอย่างเบ็ดเสร็จ งานชิ้นนี้เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากการแสดงการให้เหตุผลของมาคส์ที่กล่าวว่าสภาวะของสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ส่งผลให้เกิด (Marx's theory of alienation) ของคนงานรับจ้างจากผลผลิตของตน จากงานของตน และเหตุนั้น จากตนเองและจากผู้อื่น
งานเขียนชิ้นนี้เป็นการปรากฏตัวด้วยกันครั้งแรกของสิ่งที่เอ็งเงิลส์กล่าวว่าเป็นองค์ประกอบสามประการในแนวคิดของมาคส์: ปรัชญา (German idealism) สังคมนิยมฝรั่งเศส และเศรษฐศาสตร์อังกฤษ นอกจากเฮเกิลแล้ว มาคส์ยังได้กล่าวถึงงานของนักเขียนสังคมนิยมหลายคน และงานของบรรดาบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์การเมือง: (Francois Quesnay), อดัม สมิธ, (David Ricardo), (Jean-Baptiste Say) และ (James Mill) อีกแหล่งสำคัญคือ Die Bewegung der Produktion ของ (Friedrich Wilhelm Schulz) แนวคิดมนุษยนิยมของ เป็นหนึ่งในอิทธิพลซึ่งเป็นฐานค้ำยันของบันทึกทั้งหมดของมาคส์
เพราะงานเขียนต้นฉบับฯ แสดงถึงแนวคิดของมาคส์เมื่อแรกเริ่ม การตีพิมพ์ออกมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ส่งผลอย่างมากต่องานวิเคราะห์เกี่ยวกับมาคส์และลัทธิมากซ์ ในช่วงที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรก ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดคือความแตกต่างจากปรัชญา (dialectical materialism) ทางการของสหภาพโซเวียตกับพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปต้นฉบับฯ เป็นงานวิเคราะห์เฮเกิลที่แหลมคมที่ยากและซับซ้อนกว่าของเอ็งเงิลส์ ซึ่งกล่าวถึงเรื่องอย่างเช่นความแปลกแยก ซึ่งไม่มีอยู่ในงานของเอ็งเงิลส์ (Georgi Plekhanov) หรือเลนิน
คำศัพท์
(István Mészáros (philosopher)) กล่าวว่าภาษาและคำศัพท์ของต้นฉบับฯ เป็นหนึ่งในความยากหลัก ๆ ของชิ้นงานนี้ เขากล่าวว่าศัพท์ที่สำคัญอย่าง "Aufhebung" สามารถแปลจากภาษาเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษได้ทั้งคำว่า "transcendence" (การอยู่เหนือ/อุตรภาพ) "suppression" (การกำจัด/การปราบ) "preserving" (การรักษา/การสงวนไว้) และ "overcoming" (การก้าวข้าม) คริสโตเฟอร์ เจ. อาร์เธอร์ (Christopher J. Arthur) ให้ความเห็นว่าคำศัพท์นั้น ซึ่งปรากฏในงาน ของเฮเกิล มีความหมายสองแง่ในภาษาทั่วไปทั้ง "การยกเลิก" และ "การสงวนไว้" อาร์เธอร์แปลศัพท์คำนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า "supersede" เมื่อเน้นการยกเลิกมากกว่า และแปลเป็นคำว่า "sublate" เมื่อเน้นการสงวนไว้มากกว่า เกรกอรี เบนตัน (Gregory Benton) แปลศัพท์คำนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า "transcendence" กับ "supersession" และกล่าวว่าแนวคิดเรื่อง "critique" ของมาคส์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเคลื่อนไหวคู่แบบนี้
ความยากลำบากในการแปลคำศัพท์กรณีที่สองคือคำว่า "Entäusserung" และ "Entfremdung" แม้ว่าทั้งสองแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "alienation" เหมือนกัน แต่ "Entfremdung" มักแปลเป็นคำว่า "estrangement" (ความเหินห่าง) และ "Entäusserung" เป็นคำว่า "alienation" (ความแปลกแยก) เพื่อแยกแยะระหว่างแนวคิดทั้งสอง คริสโตเฟอร์ เจ. อาร์เธอร์ กล่าวว่า "Entäusserung" เป็นศัพท์ภาษาเยอรมันที่แปลกอีกคำหนึ่งที่สามารถแปลได้เป็นทั้งคำว่า "renunciation" (การสละ), "parting with" (การจาก), "relinquishment" (การปลดเปลื้อง), "externalization" (การผันสู่ภายนอก), "divestiture" (การถอดถอนสิทธิ์ในทรัพย์สิน) และ "surrender" (การยอมแพ้) เขาเชื่อว่า "externalization" เป็นคำแปลที่ใกล้เคียงที่สุด แต่เขาเลี่ยงไม่ใช้คำนี้เพราะอาจสับสนได้กับอีกคำหนึ่งที่มาคส์ใช้ในที่อื่น: "Vergegenständlichung" หรือ "objectification" (การทำให้เป็นวัตถุ) อาร์เธอร์กล่าวว่า "Entfremdung" เป็นแนวคิดที่แคบกว่า "Entäusserung" ในแง่ที่ใช้ได้ในกรณีของความเหินห่างระหว่างบุคคลเท่านั้น เขามองว่าความเหินห่างเป็นสถานะ ในขณะที่ความแปลกแยกเป็นกระบวนการ
โครงสร้างวิภาษวิธีของทฤษฎีของมาคส์เป็นอีกความยากหนึ่งของงานเขียน และผู้ที่ศึกษาในธรรมเนียมปรัชญาแบบและอาจทำความเข้าใจในนิยามของแนวคิดที่สำคัญบางประการได้อย่างยากลำบาก นอกจากนั้น มาคส์มักเปลี่ยนความหมายของคำบางคำซึ่งยืมมาจากผู้อื่นในยุคสมัยเดียวกันเวลานำมาใช้
ใจความ
ในต้นฉบับฯ มาคส์เชื่อมโยงระหว่างหมวดหมู่ทางเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ กับการตีความทางปรัชญาถึงตำแหน่งแห่งหนของมนุษย์ในธรรมชาติ บันทึกของมาคส์แสดงการวิเคราะห์เชิงปรัชญาโดยทั่วไปเกี่ยวกับมโนทัศน์พื้นฐานต่าง ๆ ของเศรษฐศาสตร์การเมือง ประกอบด้วยทุน, (Economic rent), (labor economics), ทรัพย์สิน, เงินตรา, โภคภัณฑ์ (commodity), ความต้องการ และค่าจ้าง มโนทัศน์ที่สำคัญของพวกมันปรากฏเมื่อมาคส์ใช้ศัพท์เชิงปรัชญาในการรุดหน้าการวิพากษ์สังคมทุนนิยมบนฐานของแนวคิดเรื่อง "" ทฤษฎีของมาคส์เป็นการปรับและดัดแปลงมาจากงานเขียนของเฮเกิล (1807) กับฟ็อยเออร์บัค (1841) ความแปลกแยกดังกล่าวไม่ใช่มโนทัศน์ที่ใช้บรรยายอย่างเดียว แต่เป็นการเรียกร้องให้ลดความแปลกแยกด้วยการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างมูลวิวัติ
แรงงานแปลกแยก
เอกสารต้นฉบับชิ้นแรกของมาคส์ส่วนมากประกอบด้วยข้อความที่คัดลอกหรือถอดความจากงานเขียนของนัก (Classical economics) แต่ละคนที่มาคส์อ่านอยู่ขณะที่เขียนต้นฉบับฯ ขึ้นมา เช่นอดัม สมิธ ในส่วนนี้ มาคส์แสดงข้อวิจารณ์หลายข้อถึงเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิก เขากล่าวว่ามโนทัศน์ทางเศรษฐศาสตร์ไม่ปฏิบัติกับผู้คนในฐานะมนุษย์ แต่ทำเหมือนอย่างที่ทำกับบ้านกับสินค้าโภคภัณฑ์ คือการลดทอนให้มนุษยชาติส่วนใหญ่กลายเป็นแรงงานนามธรรม มาคส์ใช้นิยามของทุนแบบเดียวกับสมิธว่าทุนเป็นอำนาจที่บังคับบัญชาแรงงานและผลผลิตของแรงงาน แต่เขาเห็นต่างจากสมิธว่า (landlord) กับนายทุนไม่มีความแตกต่างกัน โดยอ้างว่าลักษณะของอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนไปจากยุคสมัยเจ้าขุนมูลนายแล้ว สังคมจึงแบ่งออกได้เป็นสองชนชั้นเท่านั้น กล่าวคือคนงานและนายทุน มาคส์วิจารณ์มโนทัศน์เกี่ยวกับแรงงานของนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกว่าตื้นเขินและเป็นนามธรรม มาคส์กล่าวว่านักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกเริ่มต้นการให้เหตุผลด้วยสภาวะเริ่มแรกที่พวกเขาประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ที่มองว่าแนวคิดประเภททรัพย์สินส่วนบุคคล การแลกเปลี่ยน และการแข่งขันเสมือนเป็นข้อเท็จจริง โดยไม่สนใจที่จะอธิบายพวกมันเลย มาคส์เชื่อว่าเขาได้ให้คำอธิบายที่เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่าซึ่งอธิบายความเชื่อมโยงกันและประวัติศาสตร์ของปัจจัยเหล่านั้น
มาคส์อ้างว่าทุนนิยมทำให้มนุษย์แปลกแยกจาก (human nature) คุณลักษณะพื้นฐานของมนุษย์คือแรงงาน หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างเขากับธรรมชาติ ในสังคมยุคก่อน มนุษย์สามารถพึ่งพาธรรมชาติเพื่อสนอง "ความต้องการตามธรรมชาติ" ได้ แต่ในสังคมสมัยใหม่ เมื่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินตกอยู่ใต้กฎของเศรษฐกิจระบบตลาด เงินตราเป็นหนทางเดียวในการเอาชีวิตรอด แรงงานและผลผลิตของคนงานแปลกแยกจากตัวคนงาน พลังการผลิตของเขากลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันที่ราคาตลาดเหมือนสินค้าชนิดอื่น ๆ ซึ่งกำหนดด้วยต้นทุนในการบำรุงรักษาขั้นต่ำ กรรมกรมานะบากบั่นใช่เพื่อสนองความจำเป็นต้องทำงานแต่ทำไปเพื่อเอาชีวิตรอดเท่านั้น: "เขาได้รับวัตถุของแรงงาน กล่าวคือในการที่เขาได้รับงาน และประการที่สอง ในการที่เขาได้รับปัจจัยการยังชีพ เหล่านี้ทำให้เขาดำรงอยู่ได้ ประการแรกในฐานะกรรมกร และในประการที่สองในฐานะกัตตาทางกายภาพ จุดสูงสุดของภาวะทาสเช่นนี้คือการที่เขาจะคงอยู่ในฐานะกัตตาทางกายภาพได้ด้วยการเป็นกรรมกรเท่านั้น และเขาจะเป็นกรรมกรได้ด้วยการเป็นกัตตาทางกายภาพเท่านั้น" แม้ว่างานของกรรมกรผลิตความมั่งคั่งให้กับชนชั้นนายทุน แต่ตัวเขาเองกลับถูกลดทอนอยู่ในระดับเดียวกับสัตว์ เมื่อความมั่งคั่งของสังคมลดลง ก็เป็นกรรมกรที่ต้องทนทุกข์มากที่สุด แต่หากมันกำลังเพิ่มขึ้น ทุนก็จะเพิ่มขึ้น แล้วผลผลิตของแรงงานก็จะแปลกแยกจากกรรมกรยิ่งขึ้น
กระบวนการผลิตสมัยใหม่ไม่ส่งเสริมการพัฒนาและแสดงขีดความสามารถขั้นสารัตถะของมนุษย์ ประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ปัจเจกจึงไร้ซึ่งความหมายและความเติมเต็ม มนุษย์รู้สึก "แปลกแยก" หรือไม่สุขสบายท่ามกลางโลกสังคมสมัยใหม่ มาคส์ระบุถึงความแปลกแยก 4 ชนิดที่เกิดขึ้นกับกรรมกร อันได้แก่:
- ความแปลกแยกจากผลผลิตที่เขาผลิต
- ความแปลกแยกจากกิจของเขาในการผลิตผลผลิต
- ความแปลกแยกจากและตัวเขาเอง
- ความแปลกแยกจากมนุษย์ด้วยกันเอง
ความสัมพันธ์ระหว่าง (object (philosophy)) ของการผลิตของกรรมกรกับตัวเขาเองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความยากแค้นและการลดทอนความเป็นมนุษย์วัตถุที่แรงงานของกรรมกรผลิตขึ้นมาปรากฏเป็นสิ่งที่แปลกแยก เป็นอำนาจที่เป็นอิสระจากผู้ที่ผลิตมันขึ้นมา ยิ่งกรรมกรผลิตเท่าใด เขายิ่งเข้าใกล้การเสียการงานและความอดอยากปากแห้งแต่เพียงเท่านั้น มนุษย์ไม่ใช่ผู้ริเริ่มการแลกเปลี่ยนระหว่างโลกภายนอกกับตัวเขาอีกต่อไป เขาเสียการควบคุมการวิวัฒนาการของตัวเอง มาคส์วางแนวเทียบกับศาสนาว่าในศาสนา พระเป็นเจ้าเป็น (subject (philosophy)) ของกระบวนการทางประวัติศาสตร์ และมนุษย์ตกอยู่ในสภาวะพึ่งพา ยิ่งมนุษย์ให้สิทธิ์แก่พระเจ้าเท่าใด สิ่งที่หลงเหลืออยู่ในตัวเขายิ่งน้อยลงเท่านั้น ในทางเดียวกัน เมื่อกรรมกรแปลกแยกชีวิตของเขาลงในวัตถุชิ้นหนึ่ง ชีวิตของเขาก็จะตกเป็นของวัตถุนั้น ไม่ใช่ของตัวเอง วัตถุชิ้นนั้นจึงปรากฏต่อเขาเหมือนเป็นสิ่งที่เป็นปรปักษ์และแปลกแยก ธรรมชาติของเขาตกเป็นสิทธิ์ของบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น
กิจในการผลิตวัตถุเป็นมิติของความแปลกแยกชนิดที่สอง แรงงานเป็นแบบบังคับไม่ใช่สมัครใจ แรงงานไปอยู่ภายนอกกรรมกรและไม่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของเขา กิจกรรมของกรรมกรตกเป็นของผู้อื่น เป็นเหตุให้สูญเสียตัวตนของเขาไป คนงานได้ผ่อนคลายในภารกิจสัตว์ของเขาเท่านั้น คือการกิน ดื่ม และร่วมเพศ แต่ในภารกิจมนุษย์ที่ชัดเจน เขาถูกทำให้รู้สึกเหมือนเป็นสัตว์
มิติที่สามของความแปลกแยกที่มาคส์กล่าวคือความแปลกแยกของมนุษย์จากสปีชีส์ของเขา มาคส์ใช้ศัพท์แบบฟ็อยเออร์บัคที่บรรยายว่ามนุษย์เป็น "" (Gattungswesen)
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มี (Self-consciousness) ที่สามารถใช้ธรรมชาติอนินทรีย์ทั้งมวลเพื่อประโยชน์ของตน แม้ว่าสัตว์ชนิดอื่นจะผลิตเหมือนกัน แต่พวกมันผลิตสิ่งที่จำเป็นเฉพาะหน้าเท่านั้น ทว่ามนุษย์ผลิตโดยสากลและอย่างเสรี เขาสามารถผลิตตามมาตรฐานของสปีชีส์ใดก็ได้ และรู้เสมอที่จะใช้มาตรฐานจากภายในตัวเขากับวัตถุนั้น ดังนั้น มนุษย์สรรค์สร้างตามกฎแห่งความงาม การแปลงสภาพธรรมชาติอนินทรีย์เช่นนี้เป็นสิ่งที่มาคส์เรียกว่า "กิจกรรมชีวิต" (Lebenstätigkeit) ของมนุษย์ และเป็นสารัตถะของมนุษย์ มนุษย์สูญเสียสารัตถะสปีชีส์ไปเพราะกิจกรรมชีวิตของเขาถูกเปลี่ยนให้เป็นเพียงปัจจัยเพื่อการดำรงอยู่เท่านั้น
มิติที่สี่และประการสุดท้ายของความแปลกแยกดึงเอามาจากทั้งสามมิติก่อนหน้านี้ มาคส์เชื่อว่ามนุษย์แปลกแยกจากมนุษย์ตนอื่น มาคส์กล่าวว่าผลผลิตของแรงงานของกรรมกรคนหนึ่งแปลกแยกและกลายเป็นของคนอื่น กิจกรรมการผลิตของกรรมกรเป็นความทรมานของกรรมกร และมันจึงต้องเป็นความสุขของคนอื่น มาคส์ตั้งคำถามว่าคนอื่นนี้เป็นใคร ในเมื่อผลผลิตของแรงงานมนุษย์ไม่ได้ตกเป็นของธรรมชาติหรือของทวยเทพ ข้อเท็จจริงทั้งสองจึงชี้ไปที่มนุษย์อีกพวกหนึ่งซึ่งควบคุมผลผลิตและกิจกรรมของมนุษย์อยู่
The emancipation of the workers will be the achievement of universal human emancipation, because the whole of human servitude is involved in the relation of the worker to production.[44]
จากบทวิเคราะห์เรื่องความแปลกแยก มาคส์ตั้งข้อสรุปว่ากรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากแรงงานแปลกแยก ไม่ใช่ในทางตรงกันข้าม ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมกรกับแรงงานของเขาคือสิ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนกับแรงงาน มาคส์จึงพยายามเสนอว่าแรงงานทางสังคมนั่นเองเป็นแหล่งกำเนิดของมูลค่าทั้งมวลและการกระจายความมั่งคั่ง เขากล่าวว่าในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกจัดให้แรงงานเป็นรากฐานของการผลิต แต่พวกเขากลับไม่ให้อะไรกับแรงงานแต่ให้ทุกอย่างกับกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล สำหรับมาคส์ ค่าจ้างและกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะทั้งสองเป็นผลพวงจาก การเพิ่มค่าจ้างจึงไม่ได้คืนความหมายและนัยแบบมนุษย์กลับสู่แรงงาน การปลดปล่อยกรรมกรจึงจะเป็นการบรรลุซึ่งการปลดปล่อยมนุษย์โดยสากล เพราะความเป็นทาสของมนุษย์ทั้งมวลมีส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างกรรมกรกับการผลิต
ลัทธิคอมมิวนิสต์
The second form of communism that Marx sees as incomplete is of two sorts: "(a) still of a political nature, democratic or despotic; (b) with the abolition of the state, but still essentially incomplete and influenced by private property, i.e. by the alienation of man."[49] David McLellan takes Marx to here refer to the utopian communism of Etienne Cabet as democratic, the despotic communism to be the dictatorship of the proletariat advocated by the followers of Gracchus Babeuf, and the abolition of the state to be the communism of Théodore Dézamy.[45] มาคส์เขียนถึงแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ของเขาในเอกสารต้นฉบับชิ้นที่สาม ลัทธิคอมมิวนิสต์สำหรับมาคส์คือ "การแสดงออก เชิงบวกของการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล" ในส่วนนี้ มาคส์กล่าวว่านักเขียนสังคมนิยมหลายคนก่อนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการก้าวข้ามความแปลกแยกที่ไม่น่าพึงพอใจและไม่สมบูรณ์ มาคส์เขียนถึงที่สนับสนุนให้ยกเลิกทุน ที่สนับสนุนให้ย้อนกลับไปหาแรงงานเกษตรกรรม และ (Henri de Saint-Simon) ที่สนับสนุนให้จัดระเบียบแรงงานอุตสาหกรรมในแบบที่ถูกต้อง มาคส์เขียนถึงลัทธิคอมมิวนิสต์สองแบบที่เขามองว่าไม่เพียงพอ แบบแรกคือ "ลัทธิคอมมิวนิสต์ดิบ" (rohe Kommunismus) หรือการทำให้ทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นสากล ลัทธิคอมมิวนิสต์รูปแบบนี้ "ลบล้างความเป็นบุคคลของมนุษย์โดยหมดสิ้น" เพราะมันไม่ได้ยกเลิกชนชั้นคนงาน แต่ขยายมันให้ครอบคลุมมนุษย์ทุกคนแทน และเป็น "การลบล้างเชิงนามธรรมของโลกทางวัฒนธรรมและอารยธรรมจนหมดสิ้น" ประชาคมหนึ่งเดียวที่คงเหลืออยู่มีเพียงประชาคมของแรงงาน (แปลกแยก) และความเท่าเทียมประการเดียวที่จะเกิดขึ้นคือความเท่าเทียมของค่าจ้างที่จ่ายโดยประชาคมในฐานะนายทุนสากล ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบที่สองที่มาคส์มองว่าไม่สมบูรณ์มีอยู่สองประเภท: "(a) ยังเป็นแบบการเมือง ไม่ว่าประชาธิปไตยหรือเผด็จการ (b) มีการยกเลิกรัฐ แต่โดยหลักยังคงไม่สมบูรณ์และยังได้รับผลจากทรัพย์สินส่วนบุคคล กล่าวคือความแปลกแยกของมนุษย์" (David McLellan (political scientist)) ตีความว่าประชาธิปไตยนั้นมาคส์หมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ของ (Etienne Cabet) ลัทธิคอมมิวนิสต์เผด็จการหมายถึง (dictatorship of the proletariat) ของผู้ติดตามของ (Gracchus Babeuf) และการยกเลิกรัฐหมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ของ (Théodore Dézamy)
เมื่อกล่าวถึงลักษณะของ "ลัทธิคอมมิวนิสต์ดิบ" แล้ว มาคส์บรรยายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ในความคิดของเขา:
ลัทธิคอมมิวนิสต์คือการยกเลิกเชิงบวกของกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ในฐานะที่เป็นการแปลกแยกตัวเองของมนุษย์ และดังนั้นจึงเป็นการถือเอาสารัตถะของมนุษย์อย่างแท้จริงผ่านและเพื่อมนุษย์ การคืนสู่มนุษย์ทางสังคม กล่าวคือมนุษย์ที่เป็นมนุษย์ ภายในความอุดมสมบูรณ์ของพัฒนาการที่ผ่านมาทั้งหมดโดยเจตนาและโดยสมบูรณ์ของมนุษย์ด้วยตัวมันเอง ลัทธิคอมมิวนิสต์นี้เป็นมนุษยนิยมในแง่ที่เป็นธรรมชาตินิยมที่สมบูรณ์ยิ่งกว่า และเป็นธรรมชาตินิยมในแง่ที่เป็นมนุษยนิยมที่สมบูรณ์ยิ่งกว่า เป็นการแก้ปมปรปักษ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและกับมนุษย์อย่างแท้จริง เป็นการแก้ปมความขัดแย้งระหว่างการดำรงอยู่กับการเป็นอย่างแท้จริง ระหว่างการทำให้กลายเป็นวัตถุกับการยืนยันตนเอง ระหว่างเสรีภาพกับความจำเป็น ระหว่างปัจเจกกับสายพันธุ์ มันเป็นปริศนาของประวัติศาสตร์ที่ถูกไขแล้วและตระหนักรู้ว่าตนคือคำตอบนั้น
มาคส์เขียนถึงสามแง่มุมของลัทธิคอมมิวนิสต์ในความคิดของเขาลงในรายละเอียด เกี่ยวกับรากฐานทางประวัติศาสตร์ ลักษณะทางสังคม และว่าด้วยเรื่องของปัจเจก
ประการแรก มาคส์ชี้ถึงความแตกต่างระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์ของเขากับลัทธิคอมมิวนิสต์รูปแบบอื่น ๆ ที่ "ยังไม่พัฒนา" โดยยกตัวอย่างลัทธิคอมมิวนิสต์ของกาแบกับฟร็องซัว วีลการ์แดล (Francois Villegardelle) ว่ามันอาศัยรูปแบบต่าง ๆ ของประชาคมในประวัติศาสตร์ที่ต่อต้านทรัพย์สินส่วนบุคคลเพื่ออ้างตนเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ลัทธิคอมมิวนิสต์รูปแบบนี้อาศัยแง่มุมหรือยุคสมัยที่เป็นเอกเทศในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แต่มาคส์กล่าวว่าลัทธิคอมมิวนิสต์ของตนมีพื้นฐานเป็น "ความเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ทั้งปวง" โดยมี "พื้นฐานทางทฤษฎีและเชิงประจักษ์อยู่ในความเคลื่อนไหวของกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล หรือกล่าวได้ว่าของเศรษฐกิจ" ความแปลกแยกขั้นพื้นฐานที่สุดของชีวิตมนุษย์แสดงออกเป็นการมีอยู่ของกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และความแปลกแยกนี้เกิดขึ้นในชีวิตจริงของมนุษย์ นั่นคือในเศรษฐกิจ ความแปลกแยกทางศาสนาเกิดขึ้นในของมนุษย์เท่านั้น การก้าวข้ามกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลจึงจะเป็นการก้าวข้ามความแปลกแยกทั้งปวง อาทิศาสนา ครอบครัว รัฐ ฯลฯ
ประการที่สอง มาคส์อ้างว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับตนเอง กับมนุษย์ตนอื่น กับสิ่งที่เขาผลิต ภายใต้สภาวะที่ไม่มีความแปลกแยก แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดของแรงงานคือคุณลักษณะเชิงสังคมของมัน มาคส์เชื่อว่ามนุษย์กับสังคมมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สังคมเป็นผู้ผลิตมนุษย์และเป็นผลผลิตของมนุษย์ และเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติก็เป็นเช่นนั้น มาคส์กล่าวว่า "ดังนั้น สังคมจึงเป็นเอกภาพสมบูรณ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เป็นการคืนชีพอย่างแท้จริงของธรรมชาติ เป็นธรรมชาตินิยมที่กลายเป็นจริงของมนุษย์ และเป็นมนุษยนิยมที่กลายเป็นจริงของธรรมชาติ" ความสามารถขั้นสารัตถะของมนุษย์เกิดขึ้นในปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เมื่อมนุษย์ทำงานเป็นเอกเทศ เขากระทำกิจทางสังคมโดยการดำรงอยู่ในฐานะมนุษย์ และแม้แต่การคิด ซึ่งใช้ภาษา ก็เป็นกิจกรรมทางสังคม
ประการที่สาม การเน้นย้ำในลักษณะทางสังคมของมนุษย์ไม่ได้ทำลายความเป็นปัจเจกของมนุษย์ "มนุษย์ ตราบเท่าใดที่เขาเป็นปัจเจกจำเพาะหนึ่ง และด้วยความจำเพาะนี้เองทำให้เขาเป็นปัจเจกตนหนึ่ง และเป็นประชาคมปัจเจกที่แท้จริง เขาเป็นองค์รวมตราบเท่านั้น เป็นองค์รวมของจิต เป็นการดำรงอยู่ทางอัตวิสัยของสังคมที่ถูกคิดและถูกรู้สึกโดยตัวมันเอง"
ส่วนที่เหลือของเอกสารต้นฉบับชิ้นที่สามของมาคส์อธิบายถึงมโนทัศน์เกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่แปลกแยก รอบด้าน และสมบูรณ์ มาคส์เชื่อว่าการก้าวข้ามกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลจะเป็นการปลดปล่อยสมรรถภาพมนุษย์ทั้งปวงโดยสมบูรณ์ การมอง การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส การคิด การสังเกต การรู้สึก การต้องการ การกระทำ และการรัก ล้วนแล้วจะกลายเป็นปัจจ้ยในการถือเอาความเป็นจริง มนุษย์ซึ่งแปลกแยกยากที่จะจินตนาการถึงสิ่งนี้ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลได้วางเงื่อนไขให้มนุษย์สามารถจินตนาการถึงการเป็นเจ้าของวัตถุชิ้นหนึ่งก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้สอยมันจริง ๆ เท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้น วัตถุนั้นถูกใช้สอยในฐานะปัจจัยการยังชีพเพียงอย่างเดียว กล่าวคือที่ประกอบด้วยแรงงานและการสร้างทุน มาคส์เชื่อว่ามโนและกายสัมผัสทั้งปวงได้ถูกแทนที่ด้วยความแปลกแยกอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือการมี มาคส์กล่าวว่า "การก้าวข้ามกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลจึงเป็นการปลดปล่อยสัมผัสและคุณลักษณะของมนุษย์โดยสมบูรณ์" และ "ความต้องการหรือการใช้สอยจึงสูญสิ้นธรรมชาติความเป็นอัตตาไป และธรรมชาติก็จะสูญสิ้นประโยชน์ใช้สอยแต่เพียงอย่างเดียวของมันไป ในการที่การใช้สอยของมันได้กลายเป็นการใช้สอยแบบมนุษย์" เมื่อมนุษย์เลิกหลงอยู่ในวัตถุ วิธีการที่อวัยวะของเขาถือเอาวัตถุได้กลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งโดยสิ้นเชิง วัตถุที่มนุษย์ซึ่งไม่แปลกแยกถือเอานั้นจะสอดคล้องกับธรรมชาติของเขา มนุษย์ที่หิวโหยจะเห็นคุณค่าในอาหารเปรียบได้กับสัตว์เท่านั้น และผู้ค้าแร่เห็นเพียงแต่มูลค่า ใช่ความงาม ในสินค้าของเขา การก้าวข้ามกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลจะปลดปล่อยสมรรถภาพของมนุษย์ให้กลายเป็นสมรรถภาพแบบมนุษย์ จะเกิดการพัฒนาศักยภาพทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่สมบูรณ์และกลมเกลียวกัน โดยที่ความเป็นปฏิปักษ์ทางปัญญาของนามธรรม อย่าง "อัตวิสัยนิยมและปรวิสัยนิยม และวัตถุนิยม กิจกรรมและความเจ็บไข้" จะสลายไป "พลังงานเชิงปฏิบัติของมนุษย์" จะเป็นสิ่งที่จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตแทน
ในส่วนถัดไปซึ่งปูทางให้กับคำอธิบายเกี่ยวกับ มาคส์กล่าวว่าสิ่งที่จะเปิดเผยสมรรถภาพขั้นสารัตถะของมนุษย์ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของศาสนา การเมือง หรือศิลปะ แต่เป็นประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเปิดเผยความสามารถและจิตวิทยาของมนุษย์ และจึงเป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม การเติบโตอย่างยิ่งยวดของอุตสาหกรรมได้ทำให้วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเปลี่ยนสภาพชีวิตของมนุษย์ไป เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ว่ามีความสัมพันธ์แบบซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอยู่ มาคส์เชื่อว่าสักวันหนึ่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจะรวมถึงวิทยาศาสตร์มนุษย์ และวิทยาศาสตร์มนุษย์จะรวมถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มาคส์เชื่อว่าประสบการณ์ทางผัสสะของมนุษย์ตามแบบที่ฟ็อยเออร์บัคอธิบายสามารถเป็นรากฐานให้กับวิทยาศาสตร์อันหนึ่งอันเดียวที่ครอบคลุมทุกสิ่งอย่างได้
บทวิพากษ์เฮเกิล
ต้นฉบับฯ ส่วนถัดจากอรรถาธิบายลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นบทวิพากษ์เฮเกิลของมาคส์ มาคส์มองว่าเขาจำเป็นต้องกล่าวถึงวิภาษวิธีแบบเฮเกิลเพราะเฮเกิลได้จับความเกี่ยวกับสารัตถะของแรงงานมนุษย์ในแบบที่นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิกมองไม่เห็น แม้เฮเกิลจะทำความเข้าใจแรงงานในแบบนามธรรมและทางจิต แต่เขามองเห็นว่าแรงงานคือสิ่งที่สร้างมูลค่า โครงสร้างปรัชญาของเฮเกิลสะท้อนความแปลกแยกทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการทำงานของมนุษย์ มาคส์เชื่อว่าการค้นพบของเฮเกิลเป็นเรื่องจริงอย่างยิ่ง แต่เขาทำให้มันกลายเป็นสิ่ง "เร้นลับ" มาคส์กล่าวว่ามีฟ็อยเออร์บัคเพียงคนเดียวที่วิจารณ์เฮเกิลด้วยเจตคติที่สร้างสรรค์ ทว่ามาคส์ก็ใช้เฮเกิลเพื่อชี้ถึงจุดอ่อนในแนวทางของฟ็อยเออร์บัคด้วย
วิภาษวิธีของเฮเกิลมองว่าความแปลกแยกเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในวิวัฒนาการของมนุษยชาติ มนุษยชาติสรรค์สร้างตัวเองขึ้นมาผ่านกระบวนการแปลกแยกสลับกับการก้าวข้ามความแปลกแยก เฮเกิลมองว่าแรงงานเป็นหนึ่งในกระบวนการแปลกแยกซึ่งทำให้สารัตถะของมนุษย์กลายเป็นจริง โดยการผันพลังขั้นสารัตถะของมนุษย์ออกมาภายนอกผ่านภาวะที่เป็นวัตถุ แล้วกลืนมันกลับเข้าไปภายในฃ เฮเกิลมองว่าวัตถุซึ่งดูเหมือนกำลังควบคุมชีวิตของมนุษย์อยู่ กล่าวคือศาสนาและความมั่งมี แท้จริงแล้วเป็นของมนุษย์ และเป็นผลผลิตของความสามารถขั้นสารัตถะของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มาคส์วิจารณ์เฮเกิลที่เปรียบให้แรงงานเท่ากับกิจกรรมทางจิตวิญญาณ และความแปลกแยกเท่ากับวัตถุวิสัย มาคส์เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่เฮเกิลเข้าใจผิดคือการทำให้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งปรากฏต่อมนุษย์ในทางวัตถุและทางผัสสะกลายเป็นสิ่งทางจิต เพราะสำหรับเฮเกิล การก้าวข้ามความแปลกแยกคือการก้าวข้าม กล่าวคือการกลืนมันกลับเข้าไปยังธรรมชาติทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ในระบบของเฮเกิล การถือเอาสิ่งแปลกแยกกลายเป็นเพียงการถือเอาในเชิงนามธรรมซึ่งเกิดขึ้นในระดับของจิตสำนึกเท่านั้น ในขณะที่มนุษย์ทนทุกข์จากความแปลกแยกทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่เฮเกิลสนใจเพียงแนวคิดของเศรษฐกิจและการเมือง เพราะเฮเกิลมองว่าบูรณาการระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเกิดขึ้นในระดับจิตวิญญาณ มาคส์จึงมองว่านี่เป็นเพียงสิ่งนามธรรมและภาพลวงตา
มาคส์นับว่าฟ็อยเออร์บัคเป็นหนึ่งในศิษย์ของเฮเกิลคนเดียวที่เข้าใจปรัชญาของอาจารย์ของเขาอย่างแท้จริง ฟ็อยเออร์บัคแสดงให้เห็นว่าเฮเกิลเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรม จากมุมมองที่เป็นอนันต์ของศาสนากับเทววิทยา แล้วก้าวข้ามมันด้วยมุมมองที่เป็นอันตะและจำเพาะของปรัชญา แต่ก็เพียงเพื่อก้าวข้ามมุมมองนี้ผ่านการฟื้นฟูสิ่งที่เป็นนามธรรมตามปกติของเทววิทยา ฟ็อยเออร์บัคมองว่าขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเดินถอยหลัง ซึ่งมาคส์เห็นด้วย
เฮเกิลเชื่อว่าความเป็นจริงคือ (Geist) ซึ่งทำให้ตนเองกลายเป็นจริงขึ้นมา และความแปลกแยกเกิดจากความล้มเหลวของมนุษย์ที่ไม่เข้าใจว่าสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของพวกเขาเป็นการฟุ้งออกมาของจิต จิตดำรงอยู่ภายในและผ่านกิจกรรมการผลิตของตัวเองเท่านั้น จิตในกระบวนการทำให้ตนกลายเป็นจริงจึงสร้างโลกขึ้นมา ซึ่งในตอนแรกเชื่อว่าเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกมัน แต่ค่อย ๆ ทำความเข้าใจว่ามันเป็นผลผลิตของตัวเอง เป้าหมายของประวัติศาสตร์คือเสรีภาพ และเสรีภาพคือการที่มนุษย์สำนึกรู้ตนโดยสมบูรณ์
มาคส์ปฏิเสธแนวคิดเรื่องจิตของเฮเกิล โดยมองว่ากิจกรรมทางจิตหรือมโนคติของมนุษย์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะอธิบายความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมได้ มาคส์กล่าวว่าในขณะที่เฮเกิลพูดว่าธรรมชาติมนุษย์เป็นเพียงลักษณะหนึ่งของความสำนึกรู้ตน แต่ในความเป็นจริงความสำนึกรู้ตนก็เป็นเพียงหนึ่งในลักษณะของธรรมชาติมนุษย์เท่านั้น เฮเกิลเชื่อว่าสามารถจับมนุษย์ให้เท่ากับความสำนึกรู้ตนได้ เพราะความสำนึกรู้ตนมีเพียงตนเท่านั้นที่เป็นวัตถุ และนอกจากนั้น มุมมองว่าด้วยความแปลกแยกของเฮเกิลประกอบด้วยวัตถุวิสัยและการก้าวข้ามความแปลกแยกโดยหลัก ๆ แล้วประกอบด้วยการก้าวข้ามวัตถุวิสัย มาคส์แย้งมุมมองนี้ว่าหากมนุษย์เป็นเพียงความสำนึกรู้ตน สิ่งที่เขาจะทำให้เกิดขึ้นภายนอกตัวเขาก็จะมีเพียงวัตถุนามธรรมซึ่งไม่ได้เป็นอิสระแต่อย่างใดจากความสำนึกรู้ตนของเขา หากความแปลกแยกทั้งหมดมีเพียงความแปลกแยกของความสำนึกรู้ตน เช่นนั้นแล้วความแปลกแยกที่เป็นจริง กล่าวคือความแปลกแยกที่เกิดขึ้นกับวัตถุในธรรมชาติ ก็กลายเป็นเพียงภาพปรากฏ
มาคส์มองว่ามนุษย์เป็นสัตทางธรรมชาติทางวัตถุวิสัย ซึ่งมีวัตถุทางธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของตน มาคส์เรียกมุมมองของเขาว่า "ธรรมชาตินิยม" และ "มนุษยนิยม" ซึ่งเขาแยกจากและวัตถุนิยม แต่อ้างว่าเป็นการประสานกันของสิ่งที่เป็นจริงในทั้งสองมุมมองนั้น ในมุมมองของมาคส์ ธรรมชาติเป็นปฏิปักษ์กับมนุษย์แต่มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในระบบของธรรมชาติ ธรรมชาติมนุษย์ประกอบขึ้นจากความต้องการและแรงขับของมนุษย์ และมนุษย์สนองความต้องการกับแรงขับขั้นพื้นฐานเหล่านี้ผ่านธรรมชาติ ดังนั้น มนุษย์จำเป็นต้องมีวัตถุที่เป็นอิสระจากตัวเขาในการที่เขาจะสามารถแสดงธรรมชาติทางวัตถุวิสัยของเขาได้ สัตซึ่งไม่ใช่ทั้งวัตถุหรือมีวัตถุจึงจะเป็นสัตเพียงตนเดียวที่จะมีอยู่ได้ เป็นสิ่งนามธรรมซึ่งไม่เป็นวัตถุวิสัย
ถัดจากส่วนที่กล่าวถึงธรรมชาติมนุษย์ มาคส์ให้ความเห็นเกี่ยวกับบทสุดท้ายในงานเขียนของเฮเกิล Phenomenology โดยวิจารณ์เฮเกิลที่จับความแปลกแยกมาเท่ากับวัตถุวิสัย และที่อ้างว่าจิตสำนึกได้ก้าวข้ามความแปลกแยกแล้ว มาคส์กล่าวว่าเฮเกิลมองว่าจิตสำนึกรู้ว่าวัตถุของมันคือความแปลกแยกของตัวมันเอง ว่าวัตถุของจิตสำนึกกับจิตสำนึกเองไม่มีความแตกต่างกัน มนุษย์จะก้าวข้ามความแปลกแยกได้เมื่อเขารู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับโลกทางจิตวิญญาณในรูปแปลกแยก โดยเชื่อว่ามันเป็นหนึ่งในสมบัติของการดำรงอยู่ที่แท้จริงของเขา ความหมายของคำว่า "การก้าวข้าม" (Aufhebung) ของมาคส์แตกต่างจากของเฮเกิล ซึ่งในขณะที่กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล จริยธรรม ครอบครัว ประชาสังคม รัฐ ฯลฯ จะถูก "ก้าวข้าม" แล้วในระดับความคิด แต่มันยังคงหลงเหลืออยู่ในความเป็นจริง เฮเกิลได้ทำความเข้าใจกระบวนการแปลกแยกและการก้าวข้ามมันจริง อเทวนิยมก้าวข้ามพระเป็นเจ้าเพื่อผลิตมนุษยนิยมในทางทฤษฎี และลัทธิคอมมิวนิสต์ก้าวข้ามกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเพื่อผลิตมนุษยนิยมในทางปฏิบัติ ทว่าในมุมมองของมาคส์ ความพยายามในการบรรลุมนุษยนิยมเองนั้นจะต้องถูกก้าวข้ามเพื่อสร้างมนุษยนิยมเชิงบวกที่จะสร้างตัวเองขึ้นมา
ความต้องการ การผลิต การแบ่งงาน และเงินตรา
ในส่วนสรุปของต้นฉบับฯ มาคส์เขียนถึงจริยธรรมของกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและความหมายของเงินตรา ส่วนนี้อยู่ในกรอบเดียวกันกับส่วนแรกว่าด้วยค่าจ้าง ค่าเช่า และกำไร มาคส์กล่าวว่ากรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลประดิษฐ์ความต้องการขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์ตกอยู่ในสภาวะพึ่งพา เมื่อมนุษย์และความต้องการตกอยู่ใต้ความควบคุมของตลาด ความยากจนเพิ่มขึ้นและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ย่ำแย่ลงยิ่งกว่าของสัตว์ และในแนวเดียวกัน เศรษฐศาสตร์การเมืองพร่ำสอนให้ละเว้นกายิกสุขและลดทอนความต้องการของคนงานให้เหลือเพียงสิ่งที่จำเป็นอันน่าสังเวชในชีวิต เศรษฐศาสตร์การเมืองมีกฎเกณฑ์เป็นของตัวเอง เพราะความแปลกแยกได้แบ่งแยกกิจกรรมต่าง ๆ เป็นหลากหลายสาขา ซึ่งหลายครั้งมีบรรทัดฐานที่ต่างกันและขัดแย้งกัน มาคส์กล่าวว่านักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิกต้องการจำกัดจำนวนประชากรและคิดว่าแม้แต่การมีผู้คนเองก็เป็นสิ่งฟุ่มเฟือยแล้ว แล้วเขากลับไปยังหัวข้อว่าด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ เขาอ้างว่าสถานการณ์ในประเทศอังกฤษมีรากฐานที่พร้อมสำหรับการก้าวข้ามความแปลกแยกยิ่งกว่าในประเทศเยอรมนีหรือฝรั่งเศส เพราะรูปแบบของความแปลกแยกในประเทศอังกฤษมีฐานอยู่ในความต้องการในทางปฏิบัติ ในขณะที่ลัทธิคอมมิวนิสต์เยอรมันมีฐานอยู่ในความพยายามสร้างความสำนึกรู้ตนโดยสากล และความเท่าเทียมของลัทธิคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสนั้นมีรากฐานเป็นด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว
มาคส์ย้อนกลับไปกล่าวถึงการลดทอนความเป็นมนุษย์อันเป็นผลจากทุนในครึ่งหลังของส่วนนี้ เขาพูดถึงอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและการยกเลิกค่าเช่าที่ดิน และปัญหาว่าด้วย (division of labor) ในส่วนต่อไปที่กล่าวถึงเงินตรา มาคส์ยกคำพูดของเชกสเปียร์และเกอเทอมาให้เหตุผลว่าเงินตราเป็นหายนะของสังคม เพราะเงินตราสามารถซื้อได้ทุกสิ่ง มันจึงสามารถบรรเทาความขลาดแคลนทั้งมวลได้ มาคส์เชื่อว่าในสังคมที่ทุกสิ่งมีมูลค่าแบบมนุษย์ที่ชัดเจน มีเพียงความรักเท่านั้นที่แลกเปลี่ยนกับความรักได้ ฯลฯ
การตีพิมพ์และการตอบรับ
ต้นฉบับฯ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกที่มอสโกใน ค.ศ. 1932 เป็นส่วนหนึ่งของฉบับ (Marx-Engels-Gesamtausgabe) มี เป็นบรรณาธิการ (György Lukács) ได้ทำงานถอดความงานชิ้นนี้ภายใต้ความดูแลของเขา ซึ่งต่อมาลุกาชกล่าวว่าประสบการณ์ครั้งนี้ได้เปลี่ยนการตีความลัทธิมากซ์ของเขาไปอย่างถาวร หลังถูกตีพิมพ์ออกมา (Herbert Marcuse) และอ็องรี เลอแฟฟวร์ ได้ให้ความยอมรับในความสำคัญของงานชิ้นนี้ มาร์คูเซอกล่าวว่าต้นฉบับฯ แสดงให้เห็นถึงรากฐานทางปรัชญาของลัทธิมากซ์ โดยเป็นการวาง "ทฤษฎี 'สังคมนิยมวิทยาศาสตร์' ทั้งหมดอยู่บนฐานรากใหม่" เลอแฟฟวร์และ (Norbert Guterman) เป็นคนแรก ๆ ที่แปลต้นฉบับฯ เป็นภาษาต่างชาติ โดยได้ตีพิมพ์ฉบับภาษาฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1933 งานเขียนของเลอแฟฟวร์ Le matérialisme dialectique ซึ่งเขียนขึ้นใน ค.ศ. 1934–1935 เป็นการรุดหน้าการประกอบเนื้องานของมาคส์ทั้งหมดขึ้นใหม่โดยพิจารณาถึงงานต้นฉบับฯ ด้วย แม้ว่าจะได้รับความสนใจอย่างมาก แต่สำเนาของต้นฉบับฯ ฉบับนี้ต่อมากลายเป็นงานที่หายาก เพราะโครงการมาคส์-เอ็งเงิลส์-เกอซัมท์เอาส์กาเบอถูกยกเลิกไปในเวลาไม่นานหลังจากนั้น
งานชิ้นนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยปรากฏฉบับมาตรฐานในภาษาอังกฤษใน ค.ศ. 1956 และภาษาฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1962 ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้นฉบับฯ ถูกแปลและพูดถึงในภาษาอิตาลีเป็นครั้งแรกโดย (Galvano Della Volpe) ซึ่งเสนอการตีความที่ต่างไปจากของลุกาช มาร์คูเซอ หรือเลอแฟฟวร์อย่างมาก และได้ให้กำเนิดสำนักคิดของตัวเองขึ้นมา นักเขียนคาทอลิกหลายคน โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศส ให้ความสนใจกับต้นฉบับในช่วงเวลาเดียวกัน ลัทธิมากซ์อัตถิภาวะ (existential Marxism) ของ (Maurice Merleau-Ponty) และฌ็อง-ปอล ซาทร์ ก็ได้ดึงเอามาจากงานต้นฉบับฯ อย่างมาก ในสหรัฐ ต้นฉบับฯ ได้รับการยอมรับอย่างมากในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และช่วงต้น 1960 จากกระแสปัญญาชนที่เรียกว่า (New Left) ประกอบกับการตีพิมพ์ฉบับซึ่งมีคำนำโดยเอริช ฟร็อม () ออกมาใน ค.ศ. 1961
เพราะคำว่าความแปลกแยกไม่มีปรากฏอยู่ในรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ ในผลงานชิ้นเอกของมาคส์ Das Kapital การตีพิมพ์ของต้นฉบับฯ ได้ก่อให้เกิดการโต้เถียงอย่างมากถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "" (Young Marx) กับ "มาคส์วัยผู้ใหญ่"ต้นฉบับฯ เป็นแหล่งอ้างอิงสำคัญของแนวคิด "" (Marxist humanism) ซึ่งมองว่ามนุษยนิยมเชิงปรัชญาแบบเฮเกิลมีความต่อเนื่องกันกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในภายหลังของมาคส์ แต่ในทางตรงกันข้าม สหภาพโซเวียตโดยส่วนมากเมินเฉยต่อต้นฉบับฯ เพราะเชื่อว่าเป็น "งานเขียนเริ่มแรก" ของมาคส์ซึ่งแสดงถึงแนวความคิดที่ไม่ได้นำให้เขาไปยังจุดใดเลย (structural Marxism) ของ (Louis Althusser) รับเอาคำตัดสินงานเขียนเริ่มแรกของมาคส์จากสหภาพโซเวียตมา อาลตูว์แซร์เชื่อว่ามี "รอยแยก" อยู่ในช่วงพัฒนาการของมาคส์ โดยเป็นรอยแยกที่แบ่งความคิดของมาคส์ออกเป็นยุคสมัยเชิง "อุดมการณ์" ก่อน ค.ศ. 1845 กับยุคสมัยเชิงวิทยาศาสตร์หลังจากนั้น บุคคลอื่น ๆ ซึ่งสันนิษฐานรอยแยกนี้เช่นกันสรรเสริญงานต้นฉบับฯ และเชื่อว่ามาคส์วัยเยาว์คือมาคส์ตัวจริง นักเศรษฐศาสตร์สำนักมากซ์ (Ernest Mandel) แบ่งทั้งสามสำนักคิดนี้ออกจากกันโดยพิจารณาถึงข้อขัดแย้งนี้:
(1) จุดยืนของผู้ที่พยายามปฏิเสธว่า ต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์และปรัชญา กับ ทุน ไม่มีความแตกต่างกันเลย และมองว่าพื้นฐานของนิพนธ์ใน ทุน มีอยู่ใน ต้นฉบับฯ อยู่แล้ว
(2) จุดยืนของผู้ที่มองว่ามาคส์ใน ต้นฉบับฯ เมื่อเทียบกับมาคส์ใน ทุน ได้แสดงปัญหาของแรงงานแปลกแยกในรูปแบบที่ "สมบูรณ์" และ "ครบถ้วน" มากกว่า โดยเฉพาะผ่านการแสดงมิติทางจริยศาสตร์ มานุษยวิทยา และแม้แต่ทางปรัชญาของมโนทัศน์นี้ คนกลุ่มนี้แยกมาคส์ทั้งสองคนออกจากกันหรือไม่อย่างนั้น ทุน ก็จะถูก "ประเมินใหม่" โดยพิจารณา ต้นฉบับฯ ร่วมด้วย
(3) จุดยืนของผู้ที่มองว่าแนวความคิดว่าด้วยแรงงานแปลกแยกของมาคส์วัยเยาว์ใน ต้นฉบับฯ ไม่ได้เพียงขัดแย้งกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของ ทุน เท่านั้น แต่ยังเป็นอุปสรรคที่ทำให้มาคส์วัยเยาว์ยอมรับทฤษฎีมูลค่าแรงงานได้อย่างยากลำบาก สำหรับตัวแทนสุดโต่งในสำนักนี้ แนวคิดเรื่องความแปลกแยกเป็นแนวคิด "ก่อนลัทธิมากซ์" ที่มาคส์จำต้องก้าวข้ามเสียก่อนจะมาถึงการวิเคราะห์เศรษฐกิจทุนนิยมแบบวิทยาศาสตร์ได้
— แอร์เน็สท์ มันเด็ล, The Formation of the Economic Thought of Karl Marx, p. 164
ดูเพิ่ม
- โดย
- โดย (Ernst Bloch)
อ้างอิง
- Arthur 1991, p. 165.
- Arthur 1991, p. 165; Colletti 1992, p. 8.
- McLellan 1980, p. 162.
- Colletti 1992, p. 15.
- McLellan 1980, pp. 130–131.
- McLellan 1980, p. 131.
- Garaudy 1967, p. 49.
- Garaudy 1967, p. 50.
- Mészáros 1970, p. 12.
- Mészáros 1970, pp. 14–15.
- McLellan 1980, p. 216.
- Kołakowski 1978, p. 132.
- Levine 2006, p. 223.
- Sperber 2013, p. 144.
- McLellan 1980, p. 165.
- Colletti 1992, p. 16.
- Mészáros 1970, pp. 12–13.
- Arthur 1986b.
- Benton 1992, p. 432.
- Arthur 1986b; Benton 1992, pp. 429-430.
- Mészáros 1970, pp. 13.
- Petrovic 1991, p. 12.
- Petrovic 1991, p. 11.
- McLellan 1980, p. 166.
- McLellan 1980, p. 167.
- McLellan 1980, pp. 167–168.
- McLellan 1980, p. 168.
- Kołakowski 1978, p. 134.
- Kołakowski 1978, p. 138.
- Marx 1992, p. 325: "he receives an object of labor, i.e., in that he receives work, and, secondly, in that he receives means of subsistence. This enables him to exist, first as a worker; and second, as a physical subject. The height of this servitude is that it is only as a worker that he can maintain himself as a physical subject and that it is only as a physical subject that he is a worker."
- Marx 1992, p. 23-24: "We have considered the act of estranging practical human activity, labor, in two of its aspects. (1) The relation of the worker to the product of labor as an alien object exercising power over him. [...] (2) The relation of labor to the act of production within the labor process. [...] (3) Man’s species-being, both nature and his spiritual species-property, into a being alien to him, into a means of his individual existence. [...] (4) An immediate consequence of the fact that man is estranged from the product of his labor, from his life activity, from his species-being, is the estrangement of man from man."
- McLellan 1980, p. 170.
- McLellan 1980, pp. 168–169.
- McLellan 1980, p. 169.
- McLellan 1980, pp. 169–170.
- McLellan 1980, pp. 170–171.
- McLellan 1980, p. 171.
- Marx 1992, p. 327.
- McLellan 1980, pp. 171–172.
- McLellan 1980, p. 172.
- McLellan 1980, p. 173.
- McLellan 1980, pp. 172–173.
- McLellan 1980, pp. 173–174.
- McLellan 1980, p. 174.
- McLellan 1980, pp. 174–175.
- McLellan 1980, p. 181.
- Marx 1992, pp. 345–346.
- Marx 1992, p. 346.
- McLellan 1980, p. 182.
- Marx 1992, p. 347.
- Marx 1992, p. 348: "Communism is the positive supersession of private property as human self-estrangement, and therefore as the true appropriation of the human essence through and for man; it is the complete restoration of man to himself as a social, i.e., human, being, a restoration which has become conscious and which takes place within the entire wealth of previous periods of development. This communism, as fully developed naturalism, equals humanism, and as fully developed humanism equals naturalism; it is the genuine resolution of the conflict between man and nature, and between man and man, the true resolution of the conflict between existence and being, between objectification and self-affirmation, between freedom and necessity, between individual and species. It is the solution of the riddle of history and knows itself to be the solution."
- McLellan 1980, pp. 184–185.
- McLellan 1980, p. 185.
- Marx 1992, p. 348.
- McLellan 1980, p. 186.
- Marx 1992, pp. 349–350.
- Marx 1992, p. 351: "Man, much as he may therefore be a particular individual (and it is precisely his particularity which makes him an individual, and a real individual social being), is just as much the totality – the ideal totality – the subjective existence of imagined and experienced society for itself;"
- McLellan 1980, p. 187.
- Marx 1992, p. 352: "The supersession of private property is therefore the complete emancipation of all human senses and attributes"
- Marx 1992, p. 352: "Need or employment have therefore lost their egoistic nature, and nature has lost its mere utility in the sense that its use has become human use."
- McLellan 1980, p. 188.
- Marx 1992, p. 354: "subjectiveness and objectivism, spiritualism and materialism, activity and passivity [Leiden]"
- Marx 1992, p. 354.
- McLellan 1980, p. 189.
- McLellan 1980, p. 190.
- McLellan 1980, p. 192.
- McLellan 1980, pp. 192–193.
- McLellan 1980, p. 193.
- McLellan 1980, p. 196.
- McLellan 1980, p. 195.
- McLellan 1980, p. 194.
- McLellan 1980, p. 197.
- McLellan 1980, p. 198.
- McLellan 1980, p. 199.
- McLellan 1980, pp. 199–200.
- McLellan 1980, p. 200.
- McLellan 1980, p. 201.
- McLellan 1980, pp. 201–202.
- McLellan 1980, p. 202.
- McLellan 1980, p. 204.
- McLellan 1980, pp. 204–205.
- McLellan 1980, p. 205.
- McLellan 1980, pp. 205–206.
- McLellan 1980, p. 206.
- Leopold 2007, p. 4.
- Anderson 1976, p. 50.
- Marcuse 1972, p. 1: "the entire theory of 'scientific socialism' on a new footing"
- Anderson 1976, pp. 50–51.
- Anderson 1976, p. 51.
- Berman 2018; Leopold 2007, p. 6.
- Arthur 1991, p. 165; Fromm 1966.
- Arthur 1991, p. 165; Mészáros 1970, p. 217; Petrovic 1967, pp. 31-34.
- Fromm 1966, pp. 69-79; Petrovic 1967, pp. 35-51.
- Colletti 1992, p. 18.
- Althusser 2005, p. 34.
- Mészáros 1970, p. 217; Petrovic 1967, pp. 31-32.
- Mandel 1971, p. 164: "(1) The position of those who try to deny that there is any difference between the Economic and Philosophic Manuscripts and Capital, and find the essentials of the theses of Capital already present in the Manuscripts.
(2) The position of those who consider that compared to the Marx of Capital, the Marx of the Manuscripts sets out in a more "total" and "integral" way the problem of alienated labor, especially by giving an ethical, anthropological, and even philosophical dimension to the idea; these people either contrast the two Marxs or else "re-evaluate" Capital in the light of the Manuscripts.
(3) The position of those who consider that the conceptions of the young Marx of the Manuscripts on alienated labor not only contradict the economic analysis of Capital but were an obstacle that made it difficult for the young Marx to accept the labor theory of value. For the extreme representatives of this school, the concept of alienation is a "pre-Marxist" concept which Marx had to overcome before he could arrive at a scientific analysis of capitalist economy."
บรรณานุกรม
- Althusser, Louis (2005) [1965]. "Introduction: Today". For Marx. แปลโดย Brewster, Ben. London: Verso. pp. 21–40. ISBN .
- Anderson, Perry (1976). Considerations on Western Marxism. Bristol: New Left Books. ISBN .
- Arthur, Christopher J. (1986a). Dialectics of Labour: Marx and his Relation to Hegel. Oxford: Basil Blackwell. จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ธันวาคม 2022.
- Arthur, Christopher J. (1986b). "Appendix". Dialectics of Labour: Marx and his Relation to Hegel. Oxford: Basil Blackwell. จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2022.
- Arthur, Christopher J. (1991). "Economic and Philosophical Manuscripts". ใน Bottomore, Tom; Harris, Laurence; Kiernan, V.G.; Miliband, Ralph (บ.ก.). The Dictionary of Marxist Thought (Second ed.). Blackwell Publishers. p. 165. ISBN .
- Benton, Gregory (1992) [1974]. "Glossary of Key Terms". Early Writings. โดย Marx, Karl. แปลโดย Livingstone, Rodney; Benton, Gregory. London: Penguin Classics. pp. 429–432. ISBN .
- Berman, Marshall (5 พฤษภาคม 2018) [1999]. "Adventures in Marxism". Jacobin. จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2020.
- Colletti, Lucio (1992) [1974]. Introduction. Early Writings. โดย Marx, Karl. แปลโดย Livingstone, Rodney; Benton, Gregory. London: Penguin Classics. pp. 7–56. ISBN .
- Fromm, Erich (1966) [1961]. Marx's Concept of Man. New York: Frederick Ungar Publishing Co. ISBN . 7910951M.
- Garaudy, Roger (1967) [1964]. Karl Marx: The Evolution of his Thought. Open Library. New York: International Publishers. ISBN . 5548413M. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2020.
- Kołakowski, Leszek (1978). Main Currents of Marxism, Vol. 1: The Founders. Oxford: Clarendon Press. ISBN .
- Levine, Norman (2006). Divergent Paths: The Hegelian foundations of Marx's method. Lexington Books. ISBN .
- Leopold, David (2007). The Young Karl Marx: German Philosophy, Modern Politics and Human Flourishing. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN .
- Mandel, Ernest (1971). The Formation of the Economic Thought of Karl Marx: 1843 to Capital. แปลโดย Pearce, Brian. London: Monthly Review Press. ISBN .
- Marcuse, Herbert (1972) [1932]. "The Foundation of Historical Materialism". Studies in Critical Philosophy. Beacon Press Boston. pp. 1–48. ISBN . สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2020.
- Marx, Karl (1992) [1844]. "Economic and Philosophical Manuscripts". Early Writings. แปลโดย Livingstone, Rodney; Benton, Gregory. London: Penguin Classics. pp. 279–400. ISBN .
- McLellan, David (1980) [1970]. Marx Before Marxism (Second ed.). London: The Macmillan Press Ltd. ISBN .
- Mészáros, Istvan (1970). Marx's Theory of Alienation. London: Merlin Press. ISBN .
- Petrovic, Gajo (1967). Marx in the mid-twentieth century. Open Library. Garden City, New York: Anchor Books. 20663426M. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2020.
- Petrovic, Gajo (1991) [1983]. "Alienation". ใน Bottomore, Tom; Harris, Laurence; Kiernan, V.G.; Miliband, Ralph (บ.ก.). The Dictionary of Marxist Thought (Second ed.). Blackwell Publishers Ltd. pp. 11–15. ISBN .
- Sperber, Jonathan (2013). Karl Marx: A Nineteenth-Century Life. W. W. Norton & Company. ISBN .
อ่านเพิ่ม
- Arthur, Chris. 1982. "Objectification and Alienation in Marx and Hegel." 30.
- —— 1983. "Hegel, Feuerbach, Marx and Negativity." Radical Philosophy 35.
- —— 1986. Dialectics of Labour: Marx and His Relation to Hegel. Oxford: Basil Blackwell.
- Berman, Marshall. [1999] 2018. "Adventures in Marxism. Jacobin 05.05.2018.
- Fromm, Erich. [1961] 1966. "Marx's Concept of Man. New York: Frederick Ungar Publishing Co.
- Marcuse, Herbert. [1932] 1972. "The Foundation of Historical Materialism." In Studies in Critical Philosophy. Boston: Beacon Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
- รูปแบบ HTML: ต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์และปรัชญาจากปี 1844
- รูปแบบ PDF: ต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์และปรัชญาจากปี 1844
- ต้นฉบับภาษาเยอรมัน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
tnchbbthangesrsthsastraelaprchyacakpi 1844 eyxrmn Okonomisch philosophische Manuskripte aus dem Jahre 1844 hruxeriykinxikchuxwa Paris Manuscripts Pariser Manuskripte hruxtnchbbparis hrux 1844 Manuscripts tnchbb kh s 1844 epnbnthukchudhnungthikharl makhs ekhiynkhunrahwangeduxnemsaynaelasinghakhm kh s 1844 aelatiphimphxxkmain kh s 1932 phayhlngekhaesiychiwittnchbbthangesrsthsastraelaprchyacakpi 1844 brrnathikar David Riazanov phupraphnthkharl makhsphuaeplmartin milliaeknpraethsebxrlin praethseyxrmniphasaphasaeyxrmnpraephthesrsthsastrsankmaksphimphkh s 1932phimphinphasaxngkvskh s 1959 mxsok Progress Publishers nkwicycak Marx Engels Lenin Institute thimxsok shphaphosewiyt idrwbrwmsmudbnthuktnchbbphasaeyxrmnelmnikhunhlaysibpihlngmakhsesiychiwit odyephyaephrxxkmaepnkhrngaerkthiebxrlinin kh s 1932 aelatammadwykarephyaephrnganchinnixikkhrngphayinshphaphosewiytin kh s 1933 mxsokaelaelninkrad epnphasaeyxrmnechnkn karephyaephrnganchinnithaihkartxbrbtxmakhsepliynaeplngipxyangmak dwykarwangchinngankhxngekhaxyuphayinokhrngsrangthangthvsdithicwbcnkhnannphuthitidtamekhaimekhyphbehnmakxnbribthtnchbb thukekhiynkhuninvdurxn kh s 1844 khnamakhsxayu 25 hrux 26 pi makhsinkhnannxasyxyuthiparis emuxngsunyklangthangkhwamkhidkhxngsngkhmniyminyukhsmynn smachikhlaykhninklumprchyathiekhaxyudwy klawkhux Young Hegelians idyaymaxyuthiparisemuxpikxnephuxkxtngwarsarchbbhnung namwa Deutsch Franzosische Jahrbucher hnngsuxraypieyxrmn frngess makhsxasyxyuthibanelkhthi 38 thnn Rue Vaneau thi Rive Gauche khxngemuxngineduxntulakhm kh s 1843 thiparis ekhaidphbkbchangfimuxptiwtichaweyxrmn artisan aelaekharwmprachumlbkhxngsmakhmkrrmachiphinfrngess inchwngewlaediywknni makhsidruckkb Pierre Joseph Proudhon Louis Blanc Heinrich Heine Georg Herwegh mihaxil bakhunin Pierre Leroux aelaodyechphaaxyangying fridrich exngengils tnchbb phthnamacakkhxesnxkhxngmakhsinhnngsuxraypiwacaekhiynculsaraeyktanghakephuxwicarnaenwkhidtang innitiprchyakhxngekxxrkh wilehlm fridrich ehekil klawkhuxkdhmay criythrrm karemuxng l aelacbdwysastrniphnththwipthicaaesdngthungkhwamsmphnththiechuxmoyngknrahwangphwkmn bnthukehlannepnnganekhiynthikracdkracayimkhrbthwn sungmitngaetkhxkhwamkhdlxkcakhnngsuxtang aelakhxkhidehn bnthukaelakhxkhwamitrtrxngthunghwkhxtang thiechuxmtxknxyanghlwm cnthungnganekhiynpraeminprchyakhxngehekilxyangebdesrc nganchinniepnthiruckmakthisudcakkaraesdngkarihehtuphlkhxngmakhsthiklawwasphawakhxngsngkhmxutsahkrrmsmyihmsngphlihekid Marx s theory of alienation khxngkhnnganrbcangcakphlphlitkhxngtn cakngankhxngtn aelaehtunn caktnexngaelacakphuxun nganekhiynchinniepnkarprakttwdwyknkhrngaerkkhxngsingthiexngengilsklawwaepnxngkhprakxbsamprakarinaenwkhidkhxngmakhs prchya German idealism sngkhmniymfrngess aelaesrsthsastrxngkvs nxkcakehekilaelw makhsyngidklawthungngankhxngnkekhiynsngkhmniymhlaykhn aelangankhxngbrrdabidaaehngesrsthsastrkaremuxng Francois Quesnay xdm smith David Ricardo Jean Baptiste Say aela James Mill xikaehlngsakhykhux Die Bewegung der Produktion khxng Friedrich Wilhelm Schulz aenwkhidmnusyniymkhxng epnhnunginxiththiphlsungepnthankhaynkhxngbnthukthnghmdkhxngmakhs ephraanganekhiyntnchbb aesdngthungaenwkhidkhxngmakhsemuxaerkerim kartiphimphxxkmainkhriststwrrsthi 20 idsngphlxyangmaktxnganwiekhraahekiywkbmakhsaelalththimaks inchwngthitiphimphxxkmaepnkhrngaerk lksnathioddednthisudkhuxkhwamaetktangcakprchya dialectical materialism thangkarkhxngshphaphosewiytkbphrrkhkhxmmiwnistinyuorptnchbb epnnganwiekhraahehekilthiaehlmkhmthiyakaelasbsxnkwakhxngexngengils sungklawthungeruxngxyangechnkhwamaeplkaeyk sungimmixyuinngankhxngexngengils Georgi Plekhanov hruxelninkhasphth Istvan Meszaros philosopher klawwaphasaaelakhasphthkhxngtnchbb epnhnunginkhwamyakhlk khxngchinnganni ekhaklawwasphththisakhyxyang Aufhebung samarthaeplcakphasaeyxrmnepnphasaxngkvsidthngkhawa transcendence karxyuehnux xutrphaph suppression karkacd karprab preserving karrksa karsngwniw aela overcoming karkawkham khrisotefxr ec xarethxr Christopher J Arthur ihkhwamehnwakhasphthnn sungpraktinngan khxngehekil mikhwamhmaysxngaenginphasathwipthng karykelik aela karsngwniw xarethxraeplsphthkhaniepnphasaxngkvswa supersede emuxennkarykelikmakkwa aelaaeplepnkhawa sublate emuxennkarsngwniwmakkwa ekrkxri ebntn Gregory Benton aeplsphthkhaniepnphasaxngkvswa transcendence kb supersession aelaklawwaaenwkhideruxng critique khxngmakhsepntwxyanghnungkhxngkarekhluxnihwkhuaebbni khwamyaklabakinkaraeplkhasphthkrnithisxngkhuxkhawa Entausserung aela Entfremdung aemwathngsxngaeplepnphasaxngkvsidwa alienation ehmuxnkn aet Entfremdung mkaeplepnkhawa estrangement khwamehinhang aela Entausserung epnkhawa alienation khwamaeplkaeyk ephuxaeykaeyarahwangaenwkhidthngsxng khrisotefxr ec xarethxr klawwa Entausserung epnsphthphasaeyxrmnthiaeplkxikkhahnungthisamarthaeplidepnthngkhawa renunciation karsla parting with karcak relinquishment karpldepluxng externalization karphnsuphaynxk divestiture karthxdthxnsiththiinthrphysin aela surrender karyxmaeph ekhaechuxwa externalization epnkhaaeplthiiklekhiyngthisud aetekhaeliyngimichkhaniephraaxacsbsnidkbxikkhahnungthimakhsichinthixun Vergegenstandlichung hrux objectification karthaihepnwtthu xarethxrklawwa Entfremdung epnaenwkhidthiaekhbkwa Entausserung inaengthiichidinkrnikhxngkhwamehinhangrahwangbukhkhlethann ekhamxngwakhwamehinhangepnsthana inkhnathikhwamaeplkaeykepnkrabwnkar okhrngsrangwiphaswithikhxngthvsdikhxngmakhsepnxikkhwamyakhnungkhxngnganekhiyn aelaphuthisuksainthrrmeniymprchyaaebbaelaxacthakhwamekhaicinniyamkhxngaenwkhidthisakhybangprakaridxyangyaklabak nxkcaknn makhsmkepliynkhwamhmaykhxngkhabangkhasungyummacakphuxuninyukhsmyediywknewlanamaichickhwamintnchbb makhsechuxmoyngrahwanghmwdhmuthangesrsthsastrtang kbkartikhwamthangprchyathungtaaehnngaehnghnkhxngmnusyinthrrmchati bnthukkhxngmakhsaesdngkarwiekhraahechingprchyaodythwipekiywkbmonthsnphunthantang khxngesrsthsastrkaremuxng prakxbdwythun Economic rent labor economics thrphysin engintra ophkhphnth commodity khwamtxngkar aelakhacang monthsnthisakhykhxngphwkmnpraktemuxmakhsichsphthechingprchyainkarrudhnakarwiphakssngkhmthunniymbnthankhxngaenwkhideruxng thvsdikhxngmakhsepnkarprbaeladdaeplngmacaknganekhiynkhxngehekil 1807 kbfxyexxrbkh 1841 khwamaeplkaeykdngklawimichmonthsnthiichbrryayxyangediyw aetepnkareriykrxngihldkhwamaeplkaeykdwykarepliynaeplngolkxyangmulwiwti aerngnganaeplkaeyk exksartnchbbchinaerkkhxngmakhsswnmakprakxbdwykhxkhwamthikhdlxkhruxthxdkhwamcaknganekhiynkhxngnk Classical economics aetlakhnthimakhsxanxyukhnathiekhiyntnchbb khunma echnxdm smith inswnni makhsaesdngkhxwicarnhlaykhxthungesrsthsastrkaremuxngkhlassik ekhaklawwamonthsnthangesrsthsastrimptibtikbphukhninthanamnusy aetthaehmuxnxyangthithakbbankbsinkhaophkhphnth khuxkarldthxnihmnusychatiswnihyklayepnaerngngannamthrrm makhsichniyamkhxngthunaebbediywkbsmithwathunepnxanacthibngkhbbychaaerngnganaelaphlphlitkhxngaerngngan aetekhaehntangcaksmithwa landlord kbnaythunimmikhwamaetktangkn odyxangwalksnakhxngxsngharimthrphyepliynipcakyukhsmyecakhunmulnayaelw sngkhmcungaebngxxkidepnsxngchnchnethann klawkhuxkhnnganaelanaythun makhswicarnmonthsnekiywkbaerngngankhxngnkesrsthsastrkhlassikwatunekhinaelaepnnamthrrm makhsklawwankesrsthsastrkhlassikerimtnkarihehtuphldwysphawaerimaerkthiphwkekhapradisthkhunmaexng thimxngwaaenwkhidpraephththrphysinswnbukhkhl karaelkepliyn aelakaraekhngkhnesmuxnepnkhxethccring odyimsnicthicaxthibayphwkmnely makhsechuxwaekhaidihkhaxthibaythiepneruxngepnrawmakkwasungxthibaykhwamechuxmoyngknaelaprawtisastrkhxngpccyehlann makhsxangwathunniymthaihmnusyaeplkaeykcak human nature khunlksnaphunthankhxngmnusykhuxaerngngan hruxkaraelkepliynrahwangekhakbthrrmchati insngkhmyukhkxn mnusysamarthphungphathrrmchatiephuxsnxng khwamtxngkartamthrrmchati id aetinsngkhmsmyihm emuxkrrmsiththiinthidintkxyuitkdkhxngesrsthkicrabbtlad engintraepnhnthangediywinkarexachiwitrxd aerngnganaelaphlphlitkhxngkhnnganaeplkaeykcaktwkhnngan phlngkarphlitkhxngekhaklayepnsinkhathisuxkhayknthirakhatladehmuxnsinkhachnidxun sungkahnddwytnthuninkarbarungrksakhnta krrmkrmanabakbnichephuxsnxngkhwamcaepntxngthanganaetthaipephuxexachiwitrxdethann ekhaidrbwtthukhxngaerngngan klawkhuxinkarthiekhaidrbngan aelaprakarthisxng inkarthiekhaidrbpccykaryngchiph ehlanithaihekhadarngxyuid prakaraerkinthanakrrmkr aelainprakarthisxnginthanakttathangkayphaph cudsungsudkhxngphawathasechnnikhuxkarthiekhacakhngxyuinthanakttathangkayphaphiddwykarepnkrrmkrethann aelaekhacaepnkrrmkriddwykarepnkttathangkayphaphethann aemwangankhxngkrrmkrphlitkhwammngkhngihkbchnchnnaythun aettwekhaexngklbthukldthxnxyuinradbediywkbstw emuxkhwammngkhngkhxngsngkhmldlng kepnkrrmkrthitxngthnthukkhmakthisud aethakmnkalngephimkhun thunkcaephimkhun aelwphlphlitkhxngaerngngankcaaeplkaeykcakkrrmkryingkhun krabwnkarphlitsmyihmimsngesrimkarphthnaaelaaesdngkhidkhwamsamarthkhnsartthakhxngmnusy prasbkarnchiwitkhxngmnusypceckcungirsungkhwamhmayaelakhwametimetm mnusyrusuk aeplkaeyk hruximsukhsbaythamklangolksngkhmsmyihm makhsrabuthungkhwamaeplkaeyk 4 chnidthiekidkhunkbkrrmkr xnidaek khwamaeplkaeykcakphlphlitthiekhaphlit khwamaeplkaeykcakkickhxngekhainkarphlitphlphlit khwamaeplkaeykcakaelatwekhaexng khwamaeplkaeykcakmnusydwyknexng khwamsmphnthrahwang object philosophy khxngkarphlitkhxngkrrmkrkbtwekhaexngepnsaehtuhlkthithaihekidkhwamyakaekhnaelakarldthxnkhwamepnmnusywtthuthiaerngngankhxngkrrmkrphlitkhunmapraktepnsingthiaeplkaeyk epnxanacthiepnxisracakphuthiphlitmnkhunma yingkrrmkrphlitethaid ekhayingekhaiklkaresiykarnganaelakhwamxdxyakpakaehngaetephiyngethann mnusyimichphurierimkaraelkepliynrahwangolkphaynxkkbtwekhaxiktxip ekhaesiykarkhwbkhumkarwiwthnakarkhxngtwexng makhswangaenwethiybkbsasnawainsasna phraepnecaepn subject philosophy khxngkrabwnkarthangprawtisastr aelamnusytkxyuinsphawaphungpha yingmnusyihsiththiaekphraecaethaid singthihlngehluxxyuintwekhayingnxylngethann inthangediywkn emuxkrrmkraeplkaeykchiwitkhxngekhalnginwtthuchinhnung chiwitkhxngekhakcatkepnkhxngwtthunn imichkhxngtwexng wtthuchinnncungprakttxekhaehmuxnepnsingthiepnprpksaelaaeplkaeyk thrrmchatikhxngekhatkepnsiththikhxngbukhkhlxunhruxsingxun kicinkarphlitwtthuepnmitikhxngkhwamaeplkaeykchnidthisxng aerngnganepnaebbbngkhbimichsmkhric aerngnganipxyuphaynxkkrrmkraelaimepnswnhnungkhxngthrrmchatikhxngekha kickrrmkhxngkrrmkrtkepnkhxngphuxun epnehtuihsuyesiytwtnkhxngekhaip khnnganidphxnkhlayinpharkicstwkhxngekhaethann khuxkarkin dum aelarwmephs aetinpharkicmnusythichdecn ekhathukthaihrusukehmuxnepnstw mitithisamkhxngkhwamaeplkaeykthimakhsklawkhuxkhwamaeplkaeykkhxngmnusycakspichiskhxngekha makhsichsphthaebbfxyexxrbkhthibrryaywamnusyepn Gattungswesen mnusyepnstwthimi Self consciousness thisamarthichthrrmchatixninthriythngmwlephuxpraoychnkhxngtn aemwastwchnidxuncaphlitehmuxnkn aetphwkmnphlitsingthicaepnechphaahnaethann thwamnusyphlitodysaklaelaxyangesri ekhasamarthphlittammatrthankhxngspichisidkid aelaruesmxthicaichmatrthancakphayintwekhakbwtthunn dngnn mnusysrrkhsrangtamkdaehngkhwamngam karaeplngsphaphthrrmchatixninthriyechnniepnsingthimakhseriykwa kickrrmchiwit Lebenstatigkeit khxngmnusy aelaepnsartthakhxngmnusy mnusysuyesiysartthaspichisipephraakickrrmchiwitkhxngekhathukepliynihepnephiyngpccyephuxkardarngxyuethann mitithisiaelaprakarsudthaykhxngkhwamaeplkaeykdungexamacakthngsammitikxnhnani makhsechuxwamnusyaeplkaeykcakmnusytnxun makhsklawwaphlphlitkhxngaerngngankhxngkrrmkrkhnhnungaeplkaeykaelaklayepnkhxngkhnxun kickrrmkarphlitkhxngkrrmkrepnkhwamthrmankhxngkrrmkr aelamncungtxngepnkhwamsukhkhxngkhnxun makhstngkhathamwakhnxunniepnikhr inemuxphlphlitkhxngaerngnganmnusyimidtkepnkhxngthrrmchatihruxkhxngthwyethph khxethccringthngsxngcungchiipthimnusyxikphwkhnungsungkhwbkhumphlphlitaelakickrrmkhxngmnusyxyu The emancipation of the workers will be the achievement of universal human emancipation because the whole of human servitude is involved in the relation of the worker to production 44 cakbthwiekhraaheruxngkhwamaeplkaeyk makhstngkhxsrupwakrrmsiththiswnbukhkhlepnphlphlitthiekidkhuncakaerngnganaeplkaeyk imichinthangtrngknkham khwamsmphnthrahwangkrrmkrkbaerngngankhxngekhakhuxsingthithaihekidkhwamsmphnthrahwangnaythunkbaerngngan makhscungphyayamesnxwaaerngnganthangsngkhmnnexngepnaehlngkaenidkhxngmulkhathngmwlaelakarkracaykhwammngkhng ekhaklawwainkhnathinkesrsthsastrkhlassikcdihaerngnganepnrakthankhxngkarphlit aetphwkekhaklbimihxairkbaerngnganaetihthukxyangkbkrrmsiththiswnbukhkhl sahrbmakhs khacangaelakrrmsiththiswnbukhkhlepnsingediywkn ephraathngsxngepnphlphwngcak karephimkhacangcungimidkhunkhwamhmayaelanyaebbmnusyklbsuaerngngan karpldplxykrrmkrcungcaepnkarbrrlusungkarpldplxymnusyodysakl ephraakhwamepnthaskhxngmnusythngmwlmiswninkhwamsmphnthrahwangkrrmkrkbkarphlit lththikhxmmiwnist The second form of communism that Marx sees as incomplete is of two sorts a still of a political nature democratic or despotic b with the abolition of the state but still essentially incomplete and influenced by private property i e by the alienation of man 49 David McLellan takes Marx to here refer to the utopian communism of Etienne Cabet as democratic the despotic communism to be the dictatorship of the proletariat advocated by the followers of Gracchus Babeuf and the abolition of the state to be the communism of Theodore Dezamy 45 makhsekhiynthungaenwkhidlththikhxmmiwnistkhxngekhainexksartnchbbchinthisam lththikhxmmiwnistsahrbmakhskhux karaesdngxxk echingbwkkhxngkarykelikkrrmsiththiswnbukhkhl inswnni makhsklawwankekhiynsngkhmniymhlaykhnkxnidaesdngkhwamkhidehnekiywkbwithikarkawkhamkhwamaeplkaeykthiimnaphungphxicaelaimsmburn makhsekhiynthungthisnbsnunihykelikthun thisnbsnunihyxnklbiphaaerngnganekstrkrrm aela Henri de Saint Simon thisnbsnunihcdraebiybaerngnganxutsahkrrminaebbthithuktxng makhsekhiynthunglththikhxmmiwnistsxngaebbthiekhamxngwaimephiyngphx aebbaerkkhux lththikhxmmiwnistdib rohe Kommunismus hruxkarthaihthrphysinswnbukhkhlepnsakl lththikhxmmiwnistrupaebbni lblangkhwamepnbukhkhlkhxngmnusyodyhmdsin ephraamnimidykelikchnchnkhnngan aetkhyaymnihkhrxbkhlummnusythukkhnaethn aelaepn karlblangechingnamthrrmkhxngolkthangwthnthrrmaelaxarythrrmcnhmdsin prachakhmhnungediywthikhngehluxxyumiephiyngprachakhmkhxngaerngngan aeplkaeyk aelakhwamethaethiymprakarediywthicaekidkhunkhuxkhwamethaethiymkhxngkhacangthicayodyprachakhminthananaythunsakl lththikhxmmiwnistaebbthisxngthimakhsmxngwaimsmburnmixyusxngpraephth a yngepnaebbkaremuxng imwaprachathipityhruxephdckar b mikarykelikrth aetodyhlkyngkhngimsmburnaelayngidrbphlcakthrphysinswnbukhkhl klawkhuxkhwamaeplkaeykkhxngmnusy David McLellan political scientist tikhwamwaprachathipitynnmakhshmaythunglththikhxmmiwnistkhxng Etienne Cabet lththikhxmmiwnistephdckarhmaythung dictatorship of the proletariat khxngphutidtamkhxng Gracchus Babeuf aelakarykelikrthhmaythunglththikhxmmiwnistkhxng Theodore Dezamy emuxklawthunglksnakhxng lththikhxmmiwnistdib aelw makhsbrryaythunglththikhxmmiwnistinkhwamkhidkhxngekha lththikhxmmiwnistkhuxkarykelikechingbwkkhxngkrrmsiththiswnbukhkhl inthanathiepnkaraeplkaeyktwexngkhxngmnusy aeladngnncungepnkarthuxexasartthakhxngmnusyxyangaethcringphanaelaephuxmnusy karkhunsumnusythangsngkhm klawkhuxmnusythiepnmnusy phayinkhwamxudmsmburnkhxngphthnakarthiphanmathnghmdodyectnaaelaodysmburnkhxngmnusydwytwmnexng lththikhxmmiwnistniepnmnusyniyminaengthiepnthrrmchatiniymthismburnyingkwa aelaepnthrrmchatiniyminaengthiepnmnusyniymthismburnyingkwa epnkaraekpmprpksrahwangmnusykbthrrmchatiaelakbmnusyxyangaethcring epnkaraekpmkhwamkhdaeyngrahwangkardarngxyukbkarepnxyangaethcring rahwangkarthaihklayepnwtthukbkaryunyntnexng rahwangesriphaphkbkhwamcaepn rahwangpceckkbsayphnthu mnepnprisnakhxngprawtisastrthithukikhaelwaelatrahnkruwatnkhuxkhatxbnn makhsekhiynthungsamaengmumkhxnglththikhxmmiwnistinkhwamkhidkhxngekhalnginraylaexiyd ekiywkbrakthanthangprawtisastr lksnathangsngkhm aelawadwyeruxngkhxngpceck prakaraerk makhschithungkhwamaetktangrahwanglththikhxmmiwnistkhxngekhakblththikhxmmiwnistrupaebbxun thi yngimphthna odyyktwxyanglththikhxmmiwnistkhxngkaaebkbfrxngsw wilkaraedl Francois Villegardelle wamnxasyrupaebbtang khxngprachakhminprawtisastrthitxtanthrphysinswnbukhkhlephuxxangtnepnlththikhxmmiwnist inkhnathilththikhxmmiwnistrupaebbnixasyaengmumhruxyukhsmythiepnexkethsinprawtisastrthiphanma aetmakhsklawwalththikhxmmiwnistkhxngtnmiphunthanepn khwamekhluxnihwkhxngprawtisastrthngpwng odymi phunthanthangthvsdiaelaechingpracksxyuinkhwamekhluxnihwkhxngkrrmsiththiswnbukhkhl hruxklawidwakhxngesrsthkic khwamaeplkaeykkhnphunthanthisudkhxngchiwitmnusyaesdngxxkepnkarmixyukhxngkrrmsiththiswnbukhkhl aelakhwamaeplkaeykniekidkhuninchiwitcringkhxngmnusy nnkhuxinesrsthkic khwamaeplkaeykthangsasnaekidkhuninkhxngmnusyethann karkawkhamkrrmsiththiswnbukhkhlcungcaepnkarkawkhamkhwamaeplkaeykthngpwng xathisasna khrxbkhrw rth l prakarthisxng makhsxangwakhwamsmphnthrahwangmnusykbtnexng kbmnusytnxun kbsingthiekhaphlit phayitsphawathiimmikhwamaeplkaeyk aesdngihehnthungsingthiepnphunthanthisudkhxngaerngngankhuxkhunlksnaechingsngkhmkhxngmn makhsechuxwamnusykbsngkhmmikhwamsmphnthsungknaelakn sngkhmepnphuphlitmnusyaelaepnphlphlitkhxngmnusy aelaechnediywkbkhwamsmphnthsungknaelaknrahwangmnusykbsngkhm khwamsmphnthrahwangmnusykbthrrmchatikepnechnnn makhsklawwa dngnn sngkhmcungepnexkphaphsmburnrahwangmnusykbthrrmchati epnkarkhunchiphxyangaethcringkhxngthrrmchati epnthrrmchatiniymthiklayepncringkhxngmnusy aelaepnmnusyniymthiklayepncringkhxngthrrmchati khwamsamarthkhnsartthakhxngmnusyekidkhuninptismphnththangsngkhm emuxmnusythanganepnexkeths ekhakrathakicthangsngkhmodykardarngxyuinthanamnusy aelaaemaetkarkhid sungichphasa kepnkickrrmthangsngkhm prakarthisam karennyainlksnathangsngkhmkhxngmnusyimidthalaykhwamepnpceckkhxngmnusy mnusy trabethaidthiekhaepnpceckcaephaahnung aeladwykhwamcaephaaniexngthaihekhaepnpcecktnhnung aelaepnprachakhmpceckthiaethcring ekhaepnxngkhrwmtrabethann epnxngkhrwmkhxngcit epnkardarngxyuthangxtwisykhxngsngkhmthithukkhidaelathukrusukodytwmnexng swnthiehluxkhxngexksartnchbbchinthisamkhxngmakhsxthibaythungmonthsnekiywkbmnusythiimaeplkaeyk rxbdan aelasmburn makhsechuxwakarkawkhamkrrmsiththiswnbukhkhlcaepnkarpldplxysmrrthphaphmnusythngpwngodysmburn karmxng karidyin karidklin karlimrs karsmphs karkhid karsngekt karrusuk kartxngkar karkratha aelakarrk lwnaelwcaklayepnpccyinkarthuxexakhwamepncring mnusysungaeplkaeykyakthicacintnakarthungsingniid ephraakrrmsiththiswnbukhkhlidwangenguxnikhihmnusysamarthcintnakarthungkarepnecakhxngwtthuchinhnungktxemuxekhaidichsxymncring ethann aetthungxyangnn wtthunnthukichsxyinthanapccykaryngchiphephiyngxyangediyw klawkhuxthiprakxbdwyaerngnganaelakarsrangthun makhsechuxwamonaelakaysmphsthngpwngidthukaethnthidwykhwamaeplkaeykxnhnungxnediyw klawkhuxkarmi makhsklawwa karkawkhamkrrmsiththiswnbukhkhlcungepnkarpldplxysmphsaelakhunlksnakhxngmnusyodysmburn aela khwamtxngkarhruxkarichsxycungsuysinthrrmchatikhwamepnxttaip aelathrrmchatikcasuysinpraoychnichsxyaetephiyngxyangediywkhxngmnip inkarthikarichsxykhxngmnidklayepnkarichsxyaebbmnusy emuxmnusyelikhlngxyuinwtthu withikarthixwywakhxngekhathuxexawtthuidklayepnxikrupaebbhnungodysineching wtthuthimnusysungimaeplkaeykthuxexanncasxdkhlxngkbthrrmchatikhxngekha mnusythihiwohycaehnkhunkhainxaharepriybidkbstwethann aelaphukhaaerehnephiyngaetmulkha ichkhwamngam insinkhakhxngekha karkawkhamkrrmsiththiswnbukhkhlcapldplxysmrrthphaphkhxngmnusyihklayepnsmrrthphaphaebbmnusy caekidkarphthnaskyphaphthangwthnthrrmkhxngmnusythismburnaelaklmekliywkn odythikhwamepnptipksthangpyyakhxngnamthrrm xyang xtwisyniymaelaprwisyniym aelawtthuniym kickrrmaelakhwamecbikh caslayip phlngnganechingptibtikhxngmnusy caepnsingthicdkarkbpyhathiekidkhuncringinchiwitaethn inswnthdipsungputhangihkbkhaxthibayekiywkb makhsklawwasingthicaepidephysmrrthphaphkhnsartthakhxngmnusyimichprawtisastrkhxngsasna karemuxng hruxsilpa aetepnprawtisastrkhxngxutsahkrrm xutsahkrrmepidephykhwamsamarthaelacitwithyakhxngmnusy aelacungepnphunthankhxngwithyasastrkhxngmnusyimwachnididktam karetibotxyangyingywdkhxngxutsahkrrmidthaihwithyasastrthrrmchatiepliynsphaphchiwitkhxngmnusyip echnediywkbthiklawiwwamikhwamsmphnthaebbsungknaelaknrahwangmnusykbthrrmchatixyu makhsechuxwaskwnhnungwithyasastrthrrmchaticarwmthungwithyasastrmnusy aelawithyasastrmnusycarwmthungwithyasastrthrrmchati makhsechuxwaprasbkarnthangphssakhxngmnusytamaebbthifxyexxrbkhxthibaysamarthepnrakthanihkbwithyasastrxnhnungxnediywthikhrxbkhlumthuksingxyangid bthwiphaksehekil tnchbb swnthdcakxrrthathibaylththikhxmmiwnistepnbthwiphaksehekilkhxngmakhs makhsmxngwaekhacaepntxngklawthungwiphaswithiaebbehekilephraaehekilidcbkhwamekiywkbsartthakhxngaerngnganmnusyinaebbthinkesrsthsastraebbkhlassikmxngimehn aemehekilcathakhwamekhaicaerngnganinaebbnamthrrmaelathangcit aetekhamxngehnwaaerngngankhuxsingthisrangmulkha okhrngsrangprchyakhxngehekilsathxnkhwamaeplkaeykthangesrsthkicthiekidkhuncringinkrabwnkarthangankhxngmnusy makhsechuxwakarkhnphbkhxngehekilepneruxngcringxyangying aetekhathaihmnklayepnsing ernlb makhsklawwamifxyexxrbkhephiyngkhnediywthiwicarnehekildwyectkhtithisrangsrrkh thwamakhskichehekilephuxchithungcudxxninaenwthangkhxngfxyexxrbkhdwy wiphaswithikhxngehekilmxngwakhwamaeplkaeykepnkhntxnthicaepninwiwthnakarkhxngmnusychati mnusychatisrrkhsrangtwexngkhunmaphankrabwnkaraeplkaeykslbkbkarkawkhamkhwamaeplkaeyk ehekilmxngwaaerngnganepnhnunginkrabwnkaraeplkaeyksungthaihsartthakhxngmnusyklayepncring odykarphnphlngkhnsartthakhxngmnusyxxkmaphaynxkphanphawathiepnwtthu aelwklunmnklbekhaipphayinkh ehekilmxngwawtthusungduehmuxnkalngkhwbkhumchiwitkhxngmnusyxyu klawkhuxsasnaaelakhwammngmi aethcringaelwepnkhxngmnusy aelaepnphlphlitkhxngkhwamsamarthkhnsartthakhxngmnusy xyangirktam makhswicarnehekilthiepriybihaerngnganethakbkickrrmthangcitwiyyan aelakhwamaeplkaeykethakbwtthuwisy makhsechuxwasinghnungthiehekilekhaicphidkhuxkarthaihsingtang sungprakttxmnusyinthangwtthuaelathangphssaklayepnsingthangcit ephraasahrbehekil karkawkhamkhwamaeplkaeykkhuxkarkawkham klawkhuxkarklunmnklbekhaipyngthrrmchatithangcitwiyyankhxngmnusy inrabbkhxngehekil karthuxexasingaeplkaeykklayepnephiyngkarthuxexainechingnamthrrmsungekidkhuninradbkhxngcitsanukethann inkhnathimnusythnthukkhcakkhwamaeplkaeykthangesrsthkicaelakaremuxng aetehekilsnicephiyngaenwkhidkhxngesrsthkicaelakaremuxng ephraaehekilmxngwaburnakarrahwangmnusykbthrrmchatiekidkhuninradbcitwiyyan makhscungmxngwaniepnephiyngsingnamthrrmaelaphaphlwngta makhsnbwafxyexxrbkhepnhnunginsisykhxngehekilkhnediywthiekhaicprchyakhxngxacarykhxngekhaxyangaethcring fxyexxrbkhaesdngihehnwaehekilerimtncaksingthiepnnamthrrm cakmummxngthiepnxnntkhxngsasnakbethwwithya aelwkawkhammndwymummxngthiepnxntaaelacaephaakhxngprchya aetkephiyngephuxkawkhammummxngniphankarfunfusingthiepnnamthrrmtampktikhxngethwwithya fxyexxrbkhmxngwakhnsudthayniepnkaredinthxyhlng sungmakhsehndwy ehekilechuxwakhwamepncringkhux Geist sungthaihtnexngklayepncringkhunma aelakhwamaeplkaeykekidcakkhwamlmehlwkhxngmnusythiimekhaicwasphaphaewdlxmaelawthnthrrmkhxngphwkekhaepnkarfungxxkmakhxngcit citdarngxyuphayinaelaphankickrrmkarphlitkhxngtwexngethann citinkrabwnkarthaihtnklayepncringcungsrangolkkhunma sungintxnaerkechuxwaepnsingthixyuphaynxkmn aetkhxy thakhwamekhaicwamnepnphlphlitkhxngtwexng epahmaykhxngprawtisastrkhuxesriphaph aelaesriphaphkhuxkarthimnusysanukrutnodysmburn makhsptiesthaenwkhideruxngcitkhxngehekil odymxngwakickrrmthangcithruxmonkhtikhxngmnusyephiyngxyangediywimephiyngphxthicaxthibaykhwamepliynaeplngthangsngkhmaelawthnthrrmid makhsklawwainkhnathiehekilphudwathrrmchatimnusyepnephiynglksnahnungkhxngkhwamsanukrutn aetinkhwamepncringkhwamsanukrutnkepnephiynghnunginlksnakhxngthrrmchatimnusyethann ehekilechuxwasamarthcbmnusyihethakbkhwamsanukrutnid ephraakhwamsanukrutnmiephiyngtnethannthiepnwtthu aelanxkcaknn mummxngwadwykhwamaeplkaeykkhxngehekilprakxbdwywtthuwisyaelakarkawkhamkhwamaeplkaeykodyhlk aelwprakxbdwykarkawkhamwtthuwisy makhsaeyngmummxngniwahakmnusyepnephiyngkhwamsanukrutn singthiekhacathaihekidkhunphaynxktwekhakcamiephiyngwtthunamthrrmsungimidepnxisraaetxyangidcakkhwamsanukrutnkhxngekha hakkhwamaeplkaeykthnghmdmiephiyngkhwamaeplkaeykkhxngkhwamsanukrutn echnnnaelwkhwamaeplkaeykthiepncring klawkhuxkhwamaeplkaeykthiekidkhunkbwtthuinthrrmchati kklayepnephiyngphaphprakt makhsmxngwamnusyepnstthangthrrmchatithangwtthuwisy sungmiwtthuthangthrrmchatisungsxdkhlxngkbthrrmchatikhxngtn makhseriykmummxngkhxngekhawa thrrmchatiniym aela mnusyniym sungekhaaeykcakaelawtthuniym aetxangwaepnkarprasanknkhxngsingthiepncringinthngsxngmummxngnn inmummxngkhxngmakhs thrrmchatiepnptipkskbmnusyaetmnusykepnswnhnunginrabbkhxngthrrmchati thrrmchatimnusyprakxbkhuncakkhwamtxngkaraelaaerngkhbkhxngmnusy aelamnusysnxngkhwamtxngkarkbaerngkhbkhnphunthanehlaniphanthrrmchati dngnn mnusycaepntxngmiwtthuthiepnxisracaktwekhainkarthiekhacasamarthaesdngthrrmchatithangwtthuwisykhxngekhaid stsungimichthngwtthuhruxmiwtthucungcaepnstephiyngtnediywthicamixyuid epnsingnamthrrmsungimepnwtthuwisy thdcakswnthiklawthungthrrmchatimnusy makhsihkhwamehnekiywkbbthsudthayinnganekhiynkhxngehekil Phenomenology odywicarnehekilthicbkhwamaeplkaeykmaethakbwtthuwisy aelathixangwacitsanukidkawkhamkhwamaeplkaeykaelw makhsklawwaehekilmxngwacitsanukruwawtthukhxngmnkhuxkhwamaeplkaeykkhxngtwmnexng wawtthukhxngcitsanukkbcitsanukexngimmikhwamaetktangkn mnusycakawkhamkhwamaeplkaeykidemuxekharusukepnhnungediywkbolkthangcitwiyyaninrupaeplkaeyk odyechuxwamnepnhnunginsmbtikhxngkardarngxyuthiaethcringkhxngekha khwamhmaykhxngkhawa karkawkham Aufhebung khxngmakhsaetktangcakkhxngehekil sunginkhnathikrrmsiththiswnbukhkhl criythrrm khrxbkhrw prachasngkhm rth l cathuk kawkham aelwinradbkhwamkhid aetmnyngkhnghlngehluxxyuinkhwamepncring ehekilidthakhwamekhaickrabwnkaraeplkaeykaelakarkawkhammncring xethwniymkawkhamphraepnecaephuxphlitmnusyniyminthangthvsdi aelalththikhxmmiwnistkawkhamkrrmsiththiswnbukhkhlephuxphlitmnusyniyminthangptibti thwainmummxngkhxngmakhs khwamphyayaminkarbrrlumnusyniymexngnncatxngthukkawkhamephuxsrangmnusyniymechingbwkthicasrangtwexngkhunma khwamtxngkar karphlit karaebngngan aelaengintra inswnsrupkhxngtnchbb makhsekhiynthungcriythrrmkhxngkrrmsiththiswnbukhkhlaelakhwamhmaykhxngengintra swnnixyuinkrxbediywknkbswnaerkwadwykhacang khaecha aelakair makhsklawwakrrmsiththiswnbukhkhlpradisthkhwamtxngkarkhunmaephuxihmnusytkxyuinsphawaphungpha emuxmnusyaelakhwamtxngkartkxyuitkhwamkhwbkhumkhxngtlad khwamyakcnephimkhunaelasphaphkhwamepnxyukhxngmnusyyaaeylngyingkwakhxngstw aelainaenwediywkn esrsthsastrkaremuxngphrasxnihlaewnkayiksukhaelaldthxnkhwamtxngkarkhxngkhnnganihehluxephiyngsingthicaepnxnnasngewchinchiwit esrsthsastrkaremuxngmikdeknthepnkhxngtwexng ephraakhwamaeplkaeykidaebngaeykkickrrmtang epnhlakhlaysakha sunghlaykhrngmibrrthdthanthitangknaelakhdaeyngkn makhsklawwankesrsthsastraebbkhlassiktxngkarcakdcanwnprachakraelakhidwaaemaetkarmiphukhnexngkepnsingfumefuxyaelw aelwekhaklbipynghwkhxwadwylththikhxmmiwnist ekhaxangwasthankarninpraethsxngkvsmirakthanthiphrxmsahrbkarkawkhamkhwamaeplkaeykyingkwainpraethseyxrmnihruxfrngess ephraarupaebbkhxngkhwamaeplkaeykinpraethsxngkvsmithanxyuinkhwamtxngkarinthangptibti inkhnathilththikhxmmiwnisteyxrmnmithanxyuinkhwamphyayamsrangkhwamsanukrutnodysakl aelakhwamethaethiymkhxnglththikhxmmiwnistfrngessnnmirakthanepndankaremuxngephiyngxyangediyw makhsyxnklbipklawthungkarldthxnkhwamepnmnusyxnepnphlcakthuninkhrunghlngkhxngswnni ekhaphudthungxtradxkebiythildlngaelakarykelikkhaechathidin aelapyhawadwy division of labor inswntxipthiklawthungengintra makhsykkhaphudkhxngechksepiyraelaekxethxmaihehtuphlwaengintraepnhaynakhxngsngkhm ephraaengintrasamarthsuxidthuksing mncungsamarthbrrethakhwamkhladaekhlnthngmwlid makhsechuxwainsngkhmthithuksingmimulkhaaebbmnusythichdecn miephiyngkhwamrkethannthiaelkepliynkbkhwamrkid lkartiphimphaelakartxbrbtnchbb idrbkartiphimphkhrngaerkthimxsokin kh s 1932 epnswnhnungkhxngchbb Marx Engels Gesamtausgabe mi epnbrrnathikar Gyorgy Lukacs idthanganthxdkhwamnganchinniphayitkhwamduaelkhxngekha sungtxmalukachklawwaprasbkarnkhrngniidepliynkartikhwamlththimakskhxngekhaipxyangthawr hlngthuktiphimphxxkma Herbert Marcuse aelaxxngri elxaeffwr idihkhwamyxmrbinkhwamsakhykhxngnganchinni markhuesxklawwatnchbb aesdngihehnthungrakthanthangprchyakhxnglththimaks odyepnkarwang thvsdi sngkhmniymwithyasastr thnghmdxyubnthanrakihm elxaeffwraela Norbert Guterman epnkhnaerk thiaepltnchbb epnphasatangchati odyidtiphimphchbbphasafrngessin kh s 1933 nganekhiynkhxngelxaeffwr Le materialisme dialectique sungekhiynkhunin kh s 1934 1935 epnkarrudhnakarprakxbenuxngankhxngmakhsthnghmdkhunihmodyphicarnathungngantnchbb dwy aemwacaidrbkhwamsnicxyangmak aetsaenakhxngtnchbb chbbnitxmaklayepnnganthihayak ephraaokhrngkarmakhs exngengils ekxsmthexaskaebxthukykelikipinewlaimnanhlngcaknn nganchinniepnthiaephrhlaymakkhunphayhlngsngkhramolkkhrngthisxng odypraktchbbmatrthaninphasaxngkvsin kh s 1956 aelaphasafrngessin kh s 1962 inchwngewlaediywkn tnchbb thukaeplaelaphudthunginphasaxitaliepnkhrngaerkody Galvano Della Volpe sungesnxkartikhwamthitangipcakkhxnglukach markhuesx hruxelxaeffwrxyangmak aelaidihkaenidsankkhidkhxngtwexngkhunma nkekhiynkhathxlikhlaykhn odyechphaainpraethsfrngess ihkhwamsnickbtnchbbinchwngewlaediywkn lththimaksxtthiphawa existential Marxism khxng Maurice Merleau Ponty aelachxng pxl sathr kiddungexamacakngantnchbb xyangmak inshrth tnchbb idrbkaryxmrbxyangmakinchwngplaykhristthswrrs 1950 aelachwngtn 1960 cakkraaespyyachnthieriykwa New Left prakxbkbkartiphimphchbbsungmikhanaodyexrich frxm xxkmain kh s 1961 ephraakhawakhwamaeplkaeykimmipraktxyuinrupaebbxyangminysakhyid inphlnganchinexkkhxngmakhs Das Kapital kartiphimphkhxngtnchbb idkxihekidkarotethiyngxyangmakthungkhwamsmphnthrahwang Young Marx kb makhswyphuihy tnchbb epnaehlngxangxingsakhykhxngaenwkhid Marxist humanism sungmxngwamnusyniymechingprchyaaebbehekilmikhwamtxenuxngknkbthvsdithangesrsthsastrinphayhlngkhxngmakhs aetinthangtrngknkham shphaphosewiytodyswnmakeminechytxtnchbb ephraaechuxwaepn nganekhiynerimaerk khxngmakhssungaesdngthungaenwkhwamkhidthiimidnaihekhaipyngcudidely structural Marxism khxng Louis Althusser rbexakhatdsinnganekhiynerimaerkkhxngmakhscakshphaphosewiytma xaltuwaesrechuxwami rxyaeyk xyuinchwngphthnakarkhxngmakhs odyepnrxyaeykthiaebngkhwamkhidkhxngmakhsxxkepnyukhsmyeching xudmkarn kxn kh s 1845 kbyukhsmyechingwithyasastrhlngcaknn bukhkhlxun sungsnnisthanrxyaeykniechnknsrresriyngantnchbb aelaechuxwamakhswyeyawkhuxmakhstwcring nkesrsthsastrsankmaks Ernest Mandel aebngthngsamsankkhidnixxkcakknodyphicarnathungkhxkhdaeyngni 1 cudyunkhxngphuthiphyayamptiesthwa tnchbbthangesrsthsastraelaprchya kb thun immikhwamaetktangknely aelamxngwaphunthankhxngniphnthin thun mixyuin tnchbb xyuaelw 2 cudyunkhxngphuthimxngwamakhsin tnchbb emuxethiybkbmakhsin thun idaesdngpyhakhxngaerngnganaeplkaeykinrupaebbthi smburn aela khrbthwn makkwa odyechphaaphankaraesdngmitithangcriysastr manusywithya aelaaemaetthangprchyakhxngmonthsnni khnklumniaeykmakhsthngsxngkhnxxkcakknhruximxyangnn thun kcathuk praeminihm odyphicarna tnchbb rwmdwy 3 cudyunkhxngphuthimxngwaaenwkhwamkhidwadwyaerngnganaeplkaeykkhxngmakhswyeyawin tnchbb imidephiyngkhdaeyngkbkarwiekhraahthangesrsthsastrkhxng thun ethann aetyngepnxupsrrkhthithaihmakhswyeyawyxmrbthvsdimulkhaaerngnganidxyangyaklabak sahrbtwaethnsudotnginsankni aenwkhideruxngkhwamaeplkaeykepnaenwkhid kxnlththimaks thimakhscatxngkawkhamesiykxncamathungkarwiekhraahesrsthkicthunniymaebbwithyasastrid aexrensth mnedl The Formation of the Economic Thought of Karl Marx p 164duephimody ody Ernst Bloch xangxingArthur 1991 p 165 Arthur 1991 p 165 Colletti 1992 p 8 McLellan 1980 p 162 Colletti 1992 p 15 McLellan 1980 pp 130 131 McLellan 1980 p 131 Garaudy 1967 p 49 Garaudy 1967 p 50 Meszaros 1970 p 12 Meszaros 1970 pp 14 15 McLellan 1980 p 216 Kolakowski 1978 p 132 Levine 2006 p 223 Sperber 2013 p 144 McLellan 1980 p 165 Colletti 1992 p 16 Meszaros 1970 pp 12 13 Arthur 1986b Benton 1992 p 432 Arthur 1986b Benton 1992 pp 429 430 Meszaros 1970 pp 13 Petrovic 1991 p 12 Petrovic 1991 p 11 McLellan 1980 p 166 McLellan 1980 p 167 McLellan 1980 pp 167 168 McLellan 1980 p 168 Kolakowski 1978 p 134 Kolakowski 1978 p 138 Marx 1992 p 325 he receives an object of labor i e in that he receives work and secondly in that he receives means of subsistence This enables him to exist first as a worker and second as a physical subject The height of this servitude is that it is only as a worker that he can maintain himself as a physical subject and that it is only as a physical subject that he is a worker Marx 1992 p 23 24 We have considered the act of estranging practical human activity labor in two of its aspects 1 The relation of the worker to the product of labor as an alien object exercising power over him 2 The relation of labor to the act of production within the labor process 3 Man s species being both nature and his spiritual species property into a being alien to him into a means of his individual existence 4 An immediate consequence of the fact that man is estranged from the product of his labor from his life activity from his species being is the estrangement of man from man McLellan 1980 p 170 McLellan 1980 pp 168 169 McLellan 1980 p 169 McLellan 1980 pp 169 170 McLellan 1980 pp 170 171 McLellan 1980 p 171 Marx 1992 p 327 McLellan 1980 pp 171 172 McLellan 1980 p 172 McLellan 1980 p 173 McLellan 1980 pp 172 173 McLellan 1980 pp 173 174 McLellan 1980 p 174 McLellan 1980 pp 174 175 McLellan 1980 p 181 Marx 1992 pp 345 346 Marx 1992 p 346 McLellan 1980 p 182 Marx 1992 p 347 Marx 1992 p 348 Communism is the positive supersession of private property as human self estrangement and therefore as the true appropriation of the human essence through and for man it is the complete restoration of man to himself as a social i e human being a restoration which has become conscious and which takes place within the entire wealth of previous periods of development This communism as fully developed naturalism equals humanism and as fully developed humanism equals naturalism it is the genuine resolution of the conflict between man and nature and between man and man the true resolution of the conflict between existence and being between objectification and self affirmation between freedom and necessity between individual and species It is the solution of the riddle of history and knows itself to be the solution McLellan 1980 pp 184 185 McLellan 1980 p 185 Marx 1992 p 348 McLellan 1980 p 186 Marx 1992 pp 349 350 Marx 1992 p 351 Man much as he may therefore be a particular individual and it is precisely his particularity which makes him an individual and a real individual social being is just as much the totality the ideal totality the subjective existence of imagined and experienced society for itself McLellan 1980 p 187 Marx 1992 p 352 The supersession of private property is therefore the complete emancipation of all human senses and attributes Marx 1992 p 352 Need or employment have therefore lost their egoistic nature and nature has lost its mere utility in the sense that its use has become human use McLellan 1980 p 188 Marx 1992 p 354 subjectiveness and objectivism spiritualism and materialism activity and passivity Leiden Marx 1992 p 354 McLellan 1980 p 189 McLellan 1980 p 190 McLellan 1980 p 192 McLellan 1980 pp 192 193 McLellan 1980 p 193 McLellan 1980 p 196 McLellan 1980 p 195 McLellan 1980 p 194 McLellan 1980 p 197 McLellan 1980 p 198 McLellan 1980 p 199 McLellan 1980 pp 199 200 McLellan 1980 p 200 McLellan 1980 p 201 McLellan 1980 pp 201 202 McLellan 1980 p 202 McLellan 1980 p 204 McLellan 1980 pp 204 205 McLellan 1980 p 205 McLellan 1980 pp 205 206 McLellan 1980 p 206 Leopold 2007 p 4 Anderson 1976 p 50 Marcuse 1972 p 1 the entire theory of scientific socialism on a new footing Anderson 1976 pp 50 51 Anderson 1976 p 51 Berman 2018 Leopold 2007 p 6 Arthur 1991 p 165 Fromm 1966 Arthur 1991 p 165 Meszaros 1970 p 217 Petrovic 1967 pp 31 34 Fromm 1966 pp 69 79 Petrovic 1967 pp 35 51 Colletti 1992 p 18 Althusser 2005 p 34 Meszaros 1970 p 217 Petrovic 1967 pp 31 32 Mandel 1971 p 164 1 The position of those who try to deny that there is any difference between the Economic and Philosophic Manuscripts and Capital and find the essentials of the theses of Capital already present in the Manuscripts 2 The position of those who consider that compared to the Marx of Capital the Marx of the Manuscripts sets out in a more total and integral way the problem of alienated labor especially by giving an ethical anthropological and even philosophical dimension to the idea these people either contrast the two Marxs or else re evaluate Capital in the light of the Manuscripts 3 The position of those who consider that the conceptions of the young Marx of the Manuscripts on alienated labor not only contradict the economic analysis of Capital but were an obstacle that made it difficult for the young Marx to accept the labor theory of value For the extreme representatives of this school the concept of alienation is a pre Marxist concept which Marx had to overcome before he could arrive at a scientific analysis of capitalist economy brrnanukrm Althusser Louis 2005 1965 Introduction Today For Marx aeplody Brewster Ben London Verso pp 21 40 ISBN 978 1 84467 052 9 Anderson Perry 1976 Considerations on Western Marxism Bristol New Left Books ISBN 9780902308671 Arthur Christopher J 1986a Dialectics of Labour Marx and his Relation to Hegel Oxford Basil Blackwell cakaehlngedimemux 7 thnwakhm 2022 Arthur Christopher J 1986b Appendix Dialectics of Labour Marx and his Relation to Hegel Oxford Basil Blackwell cakaehlngedimemux 5 tulakhm 2022 Arthur Christopher J 1991 Economic and Philosophical Manuscripts in Bottomore Tom Harris Laurence Kiernan V G Miliband Ralph b k The Dictionary of Marxist Thought Second ed Blackwell Publishers p 165 ISBN 978 0 631 16481 4 Benton Gregory 1992 1974 Glossary of Key Terms Early Writings ody Marx Karl aeplody Livingstone Rodney Benton Gregory London Penguin Classics pp 429 432 ISBN 0 14 044574 9 Berman Marshall 5 phvsphakhm 2018 1999 Adventures in Marxism Jacobin cakaehlngedimemux 8 kumphaphnth 2023 subkhnemux 24 tulakhm 2020 Colletti Lucio 1992 1974 Introduction Early Writings ody Marx Karl aeplody Livingstone Rodney Benton Gregory London Penguin Classics pp 7 56 ISBN 0 14 044574 9 Fromm Erich 1966 1961 Marx s Concept of Man New York Frederick Ungar Publishing Co ISBN 0 8044 6161 9 7910951M Garaudy Roger 1967 1964 Karl Marx The Evolution of his Thought Open Library New York International Publishers ISBN 0837190444 5548413M subkhnemux 24 tulakhm 2020 Kolakowski Leszek 1978 Main Currents of Marxism Vol 1 The Founders Oxford Clarendon Press ISBN 0 19 824547 5 Levine Norman 2006 Divergent Paths The Hegelian foundations of Marx s method Lexington Books ISBN 9780739110478 Leopold David 2007 The Young Karl Marx German Philosophy Modern Politics and Human Flourishing Cambridge Cambridge University Press ISBN 0 511 28935 9 Mandel Ernest 1971 The Formation of the Economic Thought of Karl Marx 1843 toCapital aeplody Pearce Brian London Monthly Review Press ISBN 9780853451877 Marcuse Herbert 1972 1932 The Foundation of Historical Materialism Studies in Critical Philosophy Beacon Press Boston pp 1 48 ISBN 0 8070 1528 8 subkhnemux 21 knyayn 2020 Marx Karl 1992 1844 Economic and Philosophical Manuscripts Early Writings aeplody Livingstone Rodney Benton Gregory London Penguin Classics pp 279 400 ISBN 0 14 044574 9 McLellan David 1980 1970 Marx Before Marxism Second ed London The Macmillan Press Ltd ISBN 978 0 333 27883 3 Meszaros Istvan 1970 Marx s Theory of Alienation London Merlin Press ISBN 9780850361193 Petrovic Gajo 1967 Marx in the mid twentieth century Open Library Garden City New York Anchor Books 20663426M subkhnemux 22 tulakhm 2020 Petrovic Gajo 1991 1983 Alienation in Bottomore Tom Harris Laurence Kiernan V G Miliband Ralph b k The Dictionary of Marxist Thought Second ed Blackwell Publishers Ltd pp 11 15 ISBN 978 0 631 16481 4 Sperber Jonathan 2013 Karl Marx A Nineteenth Century Life W W Norton amp Company ISBN 9780871404671 xanephimArthur Chris 1982 Objectification and Alienation in Marx and Hegel 30 1983 Hegel Feuerbach Marx and Negativity Radical Philosophy 35 1986 Dialectics of Labour Marx and His Relation to Hegel Oxford Basil Blackwell Berman Marshall 1999 2018 Adventures in Marxism Jacobin 05 05 2018 Fromm Erich 1961 1966 Marx s Concept of Man New York Frederick Ungar Publishing Co Marcuse Herbert 1932 1972 The Foundation of Historical Materialism In Studies in Critical Philosophy Boston Beacon Press aehlngkhxmulxunrupaebb HTML tnchbbthangesrsthsastraelaprchyacakpi 1844 rupaebb PDF tnchbbthangesrsthsastraelaprchyacakpi 1844 tnchbbphasaeyxrmn