ฎีกาออกศึก หรือ ชูชือเปี่ยว (จีนตัวย่อ: 出师表; จีนตัวเต็ม: 出師表; พินอิน: Chū Shī Biǎo) หมายถึงฎีกาสองฉบับที่เขียนโดยจูกัดเหลียง อัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน จูกัดเหลียงถวายฎีกาให้เล่าเสี้ยน จักรพรรดิองค์ที่สองของจ๊กก๊ก ฎีกาออกศึกฉบับแรกถวายในปี ค.ศ. 227 ก่อนที่จูกัดเหลียงจะเริ่มดำเนินการการบุกขึ้นเหนือครั้งแรกกับรัฐวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก ฎีกาออกศึกฉบับหลัง คาดว่าน่าจะถวายในปี ค.ศ. 228 ก่อนที่จูกัดเหลียงจะยกทัพบุกเหนือครั้งที่สอง
ฎีกาออกศึก | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 出師表 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 出师表 | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ฎีกาออกศึก | ||||||||||||
|
ใจความหลักที่กล่าวถึงในฎีกาออกศึกได้แก่เหตุผลของการยกทัพบุกขึ้นเหนือ และคำแนะนำของจูกัดเหลียงที่ทูลถวายพระเจ้าเล่าเสี้ยนเกี่ยวกับวิธีการปกครองรัฐ
ฎีกาออกศึกฉบับหลังเป็นที่ถกเถียงกันถึงเรื่องความน่าเชื่อถือ และนักวิชาการหลายคนเชื่อว่าจูกัดเหลียงไม่ได้เขียนขึ้น
ฎีกาออกศึกฉบับแรก
ฎีกาออกศึกฉบับแรกเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 227 และบันทึกไว้ในชีวประวัติของจูกัดเหลียงในจดหมายเหตุสามก๊ก
เวลานั้นนั้น จ๊กก๊กกำลังฟื้นตัวจากความพ่ายแพ้ครั้งก่อนในยุทธการที่อิเหลง ในปี ค.ศ. 222 และจากการการบุกลงใต้เพื่อต่อต้านกองกำลังฝ่ายตรงข้ามในภาคใต้ในปี ค.ศ. 225 จูกัดเหลียงเห็นว่าจ๊กก๊กอ่อนแอ จึงต้องดำเนินกลวิธีแข็งกร้าวต่อศัตรูเพื่อให้จ๊กก๊กคงอยู่ จูกัดเหลียงตัดสินใจเริ่มการบุกขึ้นเหนือต่อต้านรัฐวุยก๊กทางเหนืออันเป็นรัฐคู่อริของจ๊กก๊ก ก่อนออกเดินทัพ จูกัดเหลียงได้เขียนฎีกาออกศึกฉบับแรก ถึงเล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก เพื่ออธิบายเหตุผลของยกทัพบุกเหนือและให้คำแนะนำแก่เล่าเสี้ยนในเรื่องการปกครอง
ซูชื่อ กวีในยุคราชวงศ์ซ่ง แสดงความคิดเห็นใน เยฺว่เฉฺวียนเซียนเชิงเหวินจี๋ซฺวี่ (樂全先生文集敘) ว่า ฎีกาออกศึก (ฉบับแรก) ของจูกัดเหลียงนั้น "เรียบง่ายและรัดกุม ตรงไปตรงมา แต่ไม่เป็นการดูหมิ่น"
เนื้อหา
ต่อไปนี้เป็นคำแปลโดยคร่าว ๆ ของฎีกาออกศึกฉบับแรก ดูส่วนหมายเหตุสำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมของรายละเอียดบางส่วนในเนื้อหา
ข้าพระพุทธเจ้าเหลียงขอทูลว่า จักรพรรดิองค์ก่อนยังไม่สำเร็จการใหญ่กลับสวรรคตเสียก่อน นี่เป็นภาวะวิกฤต แผ่นดินแบ่งออกเป็นสาม และเอ๊กจิ๋วอ่อนแอ แต่เสนาบดีในนครหลวงไม่ได้ถอดใจ นักรบนอกนครหลวงไม่กลัวความตาย ทั้งนี้เพราะพวกเขาสำนึกในพระกรุณาที่ได้รับจากจักรพรรดิองค์ก่อน และพวกเขาหวังจะได้ตอบแทนพระกรุณาโดยการรับใช้ฝ่าบาทเช่นกัน ฝ่าบาทควรรับฟังความคิดเห็นของพวกเขา ส่งเสริมคุณธรรมของจักรรพรรดิองค์ก่อน ปลุกขวัญเหล่าทหารกล้า และอย่าดูแคลนตัวเองหรือกล่าววาจาไม่เหมาะสมอันจะเป็นการกีดกันคำแนะนำที่มีประโยชน์
ไม่ว่าพวกเขาจะรับราชการในพระราชวังหลวงหรือในสำนักอัครมหาเสนาบดี ขุนนางทุกคนล้วนขึ้นตรงต่อรัฐ ดังนั้นพวกเขาควรได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน ทั้งแง่ของการให้รางวัลและการลงโทษ บุคคลใด ๆ กระทำความผิดหรือสร้างผลงานความชอบแก่รัฐ ควรถูกส่งไปยังผู้มีอำนาจเหมาะสมผู้ซึ่งจะตัดสินใจว่าจะลงโทษหรือให้รางวัลใด ๆ การทำเช่นนี้จะเป็นแบบอย่างแก่ฝ่าบาทในฐานะผู้ปกครองผู้ทรงปัญญาและความยุติธรรม จะเป็นการดีที่สุดหากฝ่าบาทไม่ทรงแสดงอคติหรือความลำเอียงใด ๆ อันจะบิดเบือนหลักการของความเป็นธรรม
ขุนนางมหาดเล็ก กุยฮิวจี๋ บิฮุย และตั๋งอุ๋นเป็นตัวอย่างของเสนาบดีที่ดีและไว้ใจได้ พวกเขาภักดีและซื่อสัตย์ นั่นคือเหตุผลที่จักรรพรรดิองค์ก่อนทรงเลือกพวกเขาให้ช่วยเหลือฝ่าบาท ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าฝ่าบาทควรปรึกษาราชการน้อยใหญ่ทั้งปวงกับพวกเขาก่อนจะดำเนินนโยบายใด ๆ เพราะจะช่วยป้องกันข้อบกพร้องและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขุนพลเฮียงทงเป็นผู้มีลักษณะดีและเชี่ยวชาญด้านการทหาร ในอดีตเมื่อเขาได้รับมอบหมายความรับผิดชอบ จักรพรรดิองค์ก่อนยกย่องเขาว่าเป็นผู้มีความสามารถ ทุกคนจึงเสนอชื่อเขาให้เป็นแม่ทัพทัพกลาง ข้าพระพุทธเจ้ามีความเห็นว่าฝ่าบาทอาจทรงหารือในเรื่องการทหารทั้งหมดกับเขาได้ เช่นนี้จึงจะช่วยส่งเสริมความสมัครสมานในกองทัพ และทุกคนจะได้รับมอบหมายหน้าที่ตามความสามารถของตน
ราชวงศ์ฮั่นยุคต้นเจริญรุ่งเรืองเพราะผู้ปกครองนิยมชมชอบเสนาบดีผู้ทรงคุณธรรมและห่างเหินจากขุนนางฉ้อโกง ราชวงศ์ฮั่นยุคหลังเสื่อมถอยเพราะผู้ปกครองนิยมชมชอบขุนนางฉ้อโกงและห่างเหินจากเสนาบดีผู้ทรงคุณธรรม เมื่อจักรพรรดิองค์ก่อนยังทรงพระชนมชีพอยู่ พระองค์มักทรงมีปฏิสันถารในเรื่องนี้กับข้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรู้สึกเสียพระทัยทุกครั้งที่ตรัสถึงหวนและเลน ขุนนางมหาดเล็ก ราชเลขาธิการ หัวหน้าเลขานุการ และที่ปรึกษาทางการทหารล้วนแล้วแต่เป็นข้าราชบริพารผู้จงรักภักดีและมีความสามารถผู้ยอมสละชีพเพื่อฝ่าบาท ข้าพระพุทธเจ้าหวังว่าฝ่าบาทจะใกล้ชิดพวกใจและไว้วางพระทัยพวกเขา ด้วยวิถีเช่นนี้ราชวงศ์ฮั่นจักฟื้นคืนในไม่ช้า
ข้าพระพุทธเจ้ามีพื้นเพต้อยต่ำ เคยทำนาในลำหยง ในคร้งนั้นข้าพระพุทธเจ้าหวังแต่เพียงจะอยู่รอดในกลียุค ไม่มุ่งปรารถนาจะมีชื่อเสียงในหมู่ขุนนาง จักรพรรดิองค์ก่อนมิได้ดูแคลนพื้นเพของข้าพระพุทธเจ้า โน้มพระวรกายเสด็จมาเยี่ยมข้าพระพุทธเจ้าที่กระท่อมหญ้าสามคราเพื่อปรึกษาข้าพระพุทธเจ้าในเรื่องสถานการณ์ในแผ่นดินครั้งนั้น ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกตื้นตันอย่างยิ่งจึงให้สัตย์ว่าจะทำสุดความสามารถเพื่อจักรพรรดิองค์ก่อน เราได้ประสบช่วงเวลาอันยากลำบากและความล้มเหลวหลายคราในภายหลัง ข้าพระพุทธเจ้าได้รับมอบหมายความรับผิดชอบใหญ่หลวงเมื่อเราเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้ ข้าพระพุทธเจ้าได้รับหน้าที่อันสำคัญในสถานการณ์ที่อันตรายและยากลำบาก ตั้งแต่เวลานั้นก็ผ่านมา 21 ปีแล้ว
จักรพรรดิองค์ก่อนทรงทราบว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รอบคอบและระมัดระวัง ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตจึงทรงไว้วางพระทัยฝากฝังหน้าที่ให้ข้าพระพุทธเจ้าเพื่อบรรลุการใหญ่ นับแต่ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้รับความรับผิดชอบอันหนักหน่วงนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็รู้สึกไม่สบายใจทั้งกลางคืนกลางคืน เพราะข้าพระพุทธเจ้าเกรงว่าจะอาจจะไม่สำเร็จภารกิจด้วยดีและทำให้ความเชื่อมั่นต่อข้าพระพุทธเจ้าของจักรพรรดิองค์ก่อนมัวหมอง ในเดือนห้า ข้าพระพุทธเจ้าข้ามลกเข้าดินแดนแห้งแล้งกันดาร บัดนี้กบฏทางใต้ได้ถูกสยบแล้ว และเราก็มีทรัพยากรทางทหารอย่างเพียงพอ ถึงเวลาแล้วที่จะเพิ่มขวัญกำลังใจของทหารและนำทัพบุกขึ้นเหนือเพื่อยึดที่ราบภาคกลางคืนมา ข้าพระพุทธเจ้าหวังเพียงจะใช้ความสามารถให้ดีที่สุดในการกำจัดศัตรูชั่วร้ายเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น และกลับคืนสู่นครหลวงเก่า เป็นหน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าที่ต้องตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของจักรพรรดิองค์ก่อนและพิสูจน์ความจงรักภักดีของข้าพุทธเจ้าต่อฝ่าบาท ความรับผิดชอบของกุยฮิวจี๋ บิฮุย ตั๋งอุ๋น และคนอื่น ๆ คือการช่วยเหลือฝ่าบาทในการบริหารราชการของรัฐและถวายคำแนะนำที่ดี
ข้าพระพุทธเจ้าหวังว่าฝ่าบาทจะมอบหมายภารกิจแก่ข้าพระพุทธเจ้าในการกำจัดโจรกบฏ และฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น หากข้าพระพุทธเจ้าทำไม่สำเร็จ ฝ่าบาทควรลงอาญาข้าพระพุทธเจ้าเพื่อตอบแทนจักรพรรดิองค์ก่อน หากฝ่าบาทไม่ได้รับคำแนะนำที่ซื่อสัตย์และภักดี โปรดทรงลงอาญากุยฮิวจี๋ บิฮุย และตั๋งอุ๋นฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีเพื่อเน้นย้ำถึงข้อผิดพลาดของพวกเขา ฝ่าบาทควรวางแผนสำหรับฝ่าบาทเองเช่นกัน ค้นหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปกครองรัฐและรับคำแนะนำที่ดี ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างมากที่สามารถทำตามพระประสงค์สุดท้ายของจักรพรรดิองค์ก่อนได้
ข้าพระพุทธเจ้ากำลังจะจากฝ่าบาทไปในไม่ช้า บัดนี้เมื่อข้าพระพุทธเจ้าอ่านฎีกาฉบับนี้ก็ไม่สามารถกลั้นน้ำตาไว้ได้ และไม่รู้ว่าจะทูลอะไรอีก
ฎีกาออกศึกฉบับหลัง
ฎีกาออกศึกฉบับหลังเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 228 และไม่ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุสามก๊กฉบับดั้งเดิมโดยตันซิ่ว เมื่อเผย์ ซงจือเขียนอรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก ได้เขียนว่าฎีกาออกศึกฉบับหลังมาจากมั่วจี้ (默記) ที่เขียนโดยจาง เหยี่ยน (張儼) ต่อมาเนื้อความของฎีกาออกศึกฉบับหลังได้รวมอยู่ในฮั่นจิ้นชุนชิว (漢晉春秋) โดย
นักวิชาการหลายคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการประพันธ์ของฎีกาออกศึกฉบับหลัง และเชื่อว่าไม่ได้เขียนโดยจูกัดเหลียง นักวิชาการยุคราชวงศ์ชิงชื่อ เฉียน ต้าจัว (錢大昭) แสดงข้อสงสัยของตนในหนังสือ ซันกั๋วจื่อเปี้ยนอี๋ (三國志辨疑; ข้อสงสัยต่อจดหมายเหตุสามก๊ก) ภายหลังฎีกาออกศึกฉบับหลังไม่ได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของรวมงานเขียนโดยจูกัดเหลียง และปรากกฏเฉพาะในมั่วจี้โดยจาง เหยี่ยนเท่านั้น นอกจากนี้ลักษณะสำนวนของฎีกาออกศึกฉบับหลังยังแตกต่างอย่างมากจากฎีกาออกศึกฉบับแรก ฎีกาออกศึกฉบับหลังมีสำนวนภาษาที่มีลักษณะบีบบังคับ ในขณะที่ฎีกาออกศึกฉบับแรกมีสำนวนภาษาที่จริงใจและถ่อมตนมากกว่า ฎีกาออกศึกฉบับหลังยังรวมถึงการอุปมาและยกตัวอย่างในประวัติศาสตร์ในย่อหน้าที่สามเพื่อกระตุ้นให้ทำสงคราม นอกจากนี้ยังมีความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเตียวจูล่ง เตียวจูล่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 229 แต่ ฎีกาออกศึกฉบับหลังซึ่งอ้างว่าเขียนในปี ค.ศ. 228 ได้กล่าวถึงการเสียชีวิตของเตียวจูล่งแล้ว
เนื้อหา
ต่อไปนี้เป็นคำแปลโดยคร่าว ๆ ของฎีกาออกศึกฉบับหลัง ดูส่วนหมายเหตุสำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมของรายละเอียดบางส่วนในเนื้อหา
จักรพรรดิองค์ก่อน เห็นว่าฮั่นกับโจรกบฏไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ และรัฐของเราก็ไม่อาจพอใจเพียงความมั่นคงภายในเท่านั้น ดังนั้นพระองค์จึงทรงมอบหมายให้ข้าพระพุทธเจ้าให้โจมตีโจรกบฏ จากการประเมินความสามารถของข้าพระพุทธเจ้าโดยจักรพรรดิองค์ก่อน พระองค์ทรงตระหนักอยู่ว่าข้าพระพุทธเจ้าอ่อนแอและไม่สามารถยืนหยัดต่อรบด้วยข้าศึกที่แข็งแกร่งได้ แต่หากเราไม่โจมตีข้าศึก รัฐของเราก็จะตกอยู่ในอันตรายมากยิ่งขึ้น เราควรจะรอความตายหรือควรชิงตีข้าศึกเสียก่อน จักรพรรดิองค์ก่อนไม่ทรงลังเลพระทัยที่จะมอบหมายความรับผิดชอบให้ข้าพระพุทธเจ้า
แรกเริ่มเมื่อข้าพเจ้าได้รับมอบหมายภารกิจ ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจกินได้นอนหลับอย่างเป็นสุข เมื่อข้าพระพุทธเจ้าคิดจะโจมตีภาคเหนือ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าเราควรสยบภาคใต้ก่อนเป็นขั้นต้น ในเดือนห้า ข้าพระพุทธเจ้าข้ามลกเข้าดินแดนแห้งแล้งกันดาร ข้าพระพุทธเจ้ารับประทานอาหารเพียงทุก ๆ สองวัน ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าข้าพระพุทธเจ้าไม่รักตัวเอง เราไม่อาจคาดหวังความปลอดภัยได้เพียงแค่อยู่ในจ๊ก ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องเสี่ยงอันตรายเพื่อสานต่อปณิธานของจักรพรรดิองค์ก่อน แต่ก็ยังมีผู้โต้แย้งว่านี่ไม่ใช่แผนที่ดีที่สุด บัดนี้ข้าศึกกำลังวุ่นวายอยู่ทางตะวันตก และถูกยึดครองพื้นที่ทางตะวันออก ตามหลักพิชัยยุทธ์แล้ว เวลาที่ดีที่สุดที่จะโจมตีข้าศึกคือเวลาที่ข้าศึกเหนื่อยล้า บัดนี้เป็นเวลาอันเหมาะแล้วที่จะเคลื่อนทัพเข้าโจมตี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำกล่าวที่มีชื่อเสียง
วลี "ฮั่นกับโจรกบฏไม่อาจยืนด้วยกัน" (จีนตัวย่อ: 汉贼不两立; จีนตัวเต็ม: 漢賊不兩立; พินอิน: Hàn zéi bù liǎng lì) จาก ฎีกาออกศึกฉบับหลัง ใช้เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ที่ขั้วอำนาจสองฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกันไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้
อีกวลีหนึ่ง "ทุ่มเทสติปัญญาความสามารถ จนกว่าชีวิตจะหาไม่" (จีนตัวย่อ: 鞠躬盡瘁,死而後已; จีนตัวเต็ม: 鞠躬尽瘁,死而后已; พินอิน: jū gōng jìn cuì, sǐ ér hòu yǐ) จากฎีกาออกศึกฉบับหลัง ภายหลังใช้เพื่ออธิบายถึงความมุ่งมั่นของบุคคลหนึ่งในการพยายามอย่างเต็มที่
หมายเหตุ
- "เหลียง" หมายถึงจูกัดเหลียง
- "จักรพรรดิองค์ก่อน"หมายถึงเล่าปี่ จักพรรดิผู้สถาปนาจ๊กก๊ก ฎีกาฉบับนี้ถวายให้เล่าเสี้ยน ซึ่งเป็นโอรสและผู้สืบทอดของเล่าปี่ ในฎีกาจึงกล่าวถึงเล่าปี่ในฐานะ "จักรพรรดิองค์ก่อน"
- "การใหญ่" หมายถึงเป้าหมายของจ๊กก๊กในการปราบวุยก๊กที่เป็นรัฐอริ และฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น เมื่อจ๊กก๊กได้รับการสถาปนาในปี ค.ศ. 221 เล่าปี่ถือว่ารัฐจ๊กก๊กของตนเป็นผู้สืบทอดโดยชอบธรรมของราชวงศ์ฮั่น เพราะตัวเล่าปี่สืบเชื่อสายจากราชตระกูลของราชวงศ์ฮั่น เล่าปี่มองว่าผู้ปกครองวุยก๊กเป็น "วายร้าย" ผู้แย่งชิงบัลลังก์จากราชวงศ์ฮั่น ภารกิจหลักของจ๊กก๊กจึงเป็นการปราบวุยก๊กและฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น
- ประเทศจีนปกครองโดยราชวงศ์ฮั่นถึงปี ค.ศ. 220 เมื่อโจผีชิงบัลลังก์จากพระเจ้าเหี้ยนเต้และทำให้ราชวงศ์ฮั่นสิ้นสุดลง จากนั้นโจผีจึงสถาปนาวุยก๊ก เป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊ก ปีถัดมาเล่าปี่สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก และในปี ค.ศ. 229 ซุนกวนสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊ก อดีต "จักรวรรดิ" ของราชวงศ์ฮั่นจึงแบ่งออกเป็นสามรัฐคือวุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก
- จ๊กก๊กเป็นรัฐที่อ่อนแอที่สุดในรัฐทั้งสามในเวลานั้น (ราวปี ค.ศ. 228) เพราะขาดแคลนทรัพยากรและกำลังคน จากการที่มีอำนาจปกครองเพียงมณฑลเดียวคือมณฑลเอ๊กจิ๋ว ส่วนอีกสองรัฐต่างก็มีมณฑลใต้ปกครองมากกว่าหนึ่งมณฑล จูกัดเหลียงดำเนินนโยบายแข็งกร้าวกับวุยก๊กซึ่งเป็นรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐทั้งสาม เพราะเชื่อว่าจำเป็นต่อการอยู่รอดของจ๊กก๊ก
- "พระราชวังหลวง" และ "สำนักอัครมหาเสนาบดี" กล่าวถึงสำนักสองสำนักที่เป็นเอกเทศกันในรัฐบาลกลางของจ๊กก๊กในเซงโต๋ ผู้ที่รับราชการในพระราชวังหลวงรายงานจักรพรรดิโดยตรง ส่วนผู้ที่รับราชการในสำนักอัครมหาเสนาบดีรายงานกับจูกัดเหลียงผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี
- "หวน" และ "เลน" หมายถึงพระเจ้าหวนเต้และพระเจ้าเลนเต้ตามลำดับ จักรพรรดิทั้งสองพระองค์นี้มีส่วนอย่างมากต่อการเสื่อมถอยของราชวงศ์ฮั่น ซึ่งในที่สุดก็ล่มสลาย
- "ลำหยง" หมายถึงเมืองลำหยง (南陽 หนานหยาง) ซึ่งตั้งอนู่ในบริเวณนคร มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน
- เล่าปี่เดินทางไปเยี่ยมจูกัดเหลียงที่บ้าน ("กระท่อมหญ้า") สามครั้ง บทสนทนาของทั้งคู่นำไปสู่แผนหลงจง ดูเพิ่มที่(รายการนิยายแต่งในสามก๊ก#เล่าปี่เยือนกระท่อมหญ้าสามครั้ง)
- "ลก" (瀘 หลู) หมายถึงพื้นที่บริเวณในมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ข้าราชการท้องถิ่นบางคนในพื้นที่นั้นก่อกบฏต่อต้านจ๊กก๊ก และชนเผ่า (ซึ่งรู้จักในคำเรียกว่าลำมันหรือหนานหมาน) มักจะบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ ในปี ค.ศ. 225 จูกัดเหลียงนำการทัพบุกใต้เพื่อปราบปรามกบฏและทำให้ภูมิภาคกลับมาสงบ เพราะจูกัดเหลียงเห็นว่าต้องทำให้เกิดความเสถียรภาพภายในของจ๊กก๊กเสียก่อนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมุ่งทำศึกโจมตีวุยก๊ก
- "ศัตรูชั่วร้าย" หมายถึงวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก
- "นครหลวงเก่า" หมายถึงลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) อดีตราชธานีของราชวงศ์ฮั่น
- "โจรกบฏ" หมายถึงรัฐวุยก๊ก ซึ่งสถาปนาในปี ค.ศ. 220 หลังโจผีชิงบัลลังก์จากพระเจ้าเหี้ยนเต้ผู้เป็นจักรพรรดิลำดับสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น จ๊กก๊กถือว่าวุยก๊กเป็น "โจรกบฏ" ที่ชิงอำนาจจากราชวงศ์ฮั่น
- "ฮั่น" หมายถึงราชวงศ์ฮั่น เมื่อจ๊กก๊กก่อตั้งในปี ค.ศ. 222 ก็ถือว่าตนผู้สืบทอดโดยชอบธรรมของราชวงศ์ฮั่น เพราะเล่าปี่ผู้ก่อตั้งจ๊กก๊กเป็นทายาทของราชตระกูลแห่งราชวงศ์ฮั่น
- "ข้าศึกกำลังวุ่นวายอยู่ทางตะวันตก" หมายถึงสถานการณ์ในปี ค.ศ. 228 เมื่อสามเมืองในภูมิภาค (อยู่ใกล้ชายแดนด้านตะวันตกของวุยก๊ก) คือลำอั๋น เทียนซุน และฮันเต๋ง ก่อกบฏและแปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊ก (ดู การก่อการกำเริบที่เทียนซุย) ราชสำนักวุยก๊กส่งเตียวคับให้นำกองกำลังมาปราบกบฏ
- The ถูกยึดครองพื้นที่ทางตะวันออก" หมายถึงสถานการณ์ในปี ค.ศ. 228 เมื่อทัพวุยก๊กและง่อก๊กปะทะกันในยุทธการที่เซ็กเต๋งทางชายแดนด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวุยก๊ก
อ้างอิง
- (五年,率諸軍北駐漢中,臨發,上疏曰: ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 35.
- (至《出师表》简而尽,直而不肆,大哉言乎,与《伊训》、《说命》相表里,非秦汉以来以事君为悦者所能至也。) Su Shi Collection vol. 34. See here.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3) จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้่อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5) อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้)
แหล่งข้อมูลอื่น
- ฎีกาออกศึกฉบับแรก ในวิกิซอร์ซภาษาจีน (ในภาษาจีน)
- ฎีกาออกศึกฉบับหลัง ในวิกิซอร์ซภาษาจีน (ในภาษาจีน)
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
dikaxxksuk hrux chuchuxepiyw cintwyx 出师表 cintwetm 出師表 phinxin Chu Shi Biǎo hmaythungdikasxngchbbthiekhiynodycukdehliyng xkhrmhaesnabdiaehngrthckkkinyukhsamkkkhxngcin cukdehliyngthwaydikaihelaesiyn ckrphrrdixngkhthisxngkhxngckkk dikaxxksukchbbaerkthwayinpi kh s 227 kxnthicukdehliyngcaerimdaeninkarkarbukkhunehnuxkhrngaerkkbrthwuykkthiepnrthxrikhxngckkk dikaxxksukchbbhlng khadwanacathwayinpi kh s 228 kxnthicukdehliyngcaykthphbukehnuxkhrngthisxngdikaxxksukdikaxxksukchbbaerk carukin nkhrechingtu mnthleschwnxksrcintwetm出師表xksrcintwyx出师表khwamhmaytamtwxksrdikaxxksukkarthxdesiyngphasacinklangmatrthanhny hwiphinxinChu Shi Biǎoewd iclsChu Shih Piaophasakwangtungmatrthany hwidephngCeot1 Si1 Biu2 ickhwamhlkthiklawthungindikaxxksukidaekehtuphlkhxngkarykthphbukkhunehnux aelakhaaenanakhxngcukdehliyngthithulthwayphraecaelaesiynekiywkbwithikarpkkhrxngrth dikaxxksukchbbhlngepnthithkethiyngknthungeruxngkhwamnaechuxthux aelankwichakarhlaykhnechuxwacukdehliyngimidekhiynkhundikaxxksukchbbaerkdikaxxksukchbbaerkekhiynkhuninpi kh s 227 aelabnthukiwinchiwprawtikhxngcukdehliyngincdhmayehtusamkk ewlannnn ckkkkalngfuntwcakkhwamphayaephkhrngkxninyuththkarthixiehlng inpi kh s 222 aelacakkarkarbuklngitephuxtxtankxngkalngfaytrngkhaminphakhitinpi kh s 225 cukdehliyngehnwackkkxxnaex cungtxngdaeninklwithiaekhngkrawtxstruephuxihckkkkhngxyu cukdehliyngtdsinicerimkarbukkhunehnuxtxtanrthwuykkthangehnuxxnepnrthkhuxrikhxngckkk kxnxxkedinthph cukdehliyngidekhiyndikaxxksukchbbaerk thungelaesiynckrphrrdiaehngckkk ephuxxthibayehtuphlkhxngykthphbukehnuxaelaihkhaaenanaaekelaesiynineruxngkarpkkhrxng suchux kwiinyukhrachwngssng aesdngkhwamkhidehnin ey wech wiynesiynechingehwincis wi 樂全先生文集敘 wa dikaxxksuk chbbaerk khxngcukdehliyngnn eriybngayaelardkum trngiptrngma aetimepnkarduhmin enuxha txipniepnkhaaeplodykhraw khxngdikaxxksukchbbaerk duswnhmayehtusahrbkhaxthibayephimetimkhxngraylaexiydbangswninenuxha khaphraphuththecaehliyngkhxthulwa ckrphrrdixngkhkxnyngimsaerckarihyklbswrrkhtesiykxn niepnphawawikvt aephndinaebngxxkepnsam aelaexkciwxxnaex aetesnabdiinnkhrhlwngimidthxdic nkrbnxknkhrhlwngimklwkhwamtay thngniephraaphwkekhasanukinphrakrunathiidrbcakckrphrrdixngkhkxn aelaphwkekhahwngcaidtxbaethnphrakrunaodykarrbichfabathechnkn fabathkhwrrbfngkhwamkhidehnkhxngphwkekha sngesrimkhunthrrmkhxngckrrphrrdixngkhkxn plukkhwyehlathharkla aelaxyaduaekhlntwexnghruxklawwacaimehmaasmxncaepnkarkidknkhaaenanathimipraoychn imwaphwkekhacarbrachkarinphrarachwnghlwnghruxinsankxkhrmhaesnabdi khunnangthukkhnlwnkhuntrngtxrth dngnnphwkekhakhwridrbkarptibtiodyethaethiymkn thngaengkhxngkarihrangwlaelakarlngoths bukhkhlid krathakhwamphidhruxsrangphlngankhwamchxbaekrth khwrthuksngipyngphumixanacehmaasmphusungcatdsinicwacalngothshruxihrangwlid karthaechnnicaepnaebbxyangaekfabathinthanaphupkkhrxngphuthrngpyyaaelakhwamyutithrrm caepnkardithisudhakfabathimthrngaesdngxkhtihruxkhwamlaexiyngid xncabidebuxnhlkkarkhxngkhwamepnthrrm khunnangmhadelk kuyhiwci bihuy aelatngxunepntwxyangkhxngesnabdithidiaelaiwicid phwkekhaphkdiaelasuxsty nnkhuxehtuphlthickrrphrrdixngkhkxnthrngeluxkphwkekhaihchwyehluxfabath khaphraphuththecaehnwafabathkhwrpruksarachkarnxyihythngpwngkbphwkekhakxncadaeninnoybayid ephraacachwypxngknkhxbkphrxngaeladaeninkaridxyangmiprasiththiphaphyingkhun khunphlehiyngthngepnphumilksnadiaelaechiywchaydankarthhar inxditemuxekhaidrbmxbhmaykhwamrbphidchxb ckrphrrdixngkhkxnykyxngekhawaepnphumikhwamsamarth thukkhncungesnxchuxekhaihepnaemthphthphklang khaphraphuththecamikhwamehnwafabathxacthrngharuxineruxngkarthharthnghmdkbekhaid echnnicungcachwysngesrimkhwamsmkhrsmaninkxngthph aelathukkhncaidrbmxbhmayhnathitamkhwamsamarthkhxngtn rachwngshnyukhtnecriyrungeruxngephraaphupkkhrxngniymchmchxbesnabdiphuthrngkhunthrrmaelahangehincakkhunnangchxokng rachwngshnyukhhlngesuxmthxyephraaphupkkhrxngniymchmchxbkhunnangchxokngaelahangehincakesnabdiphuthrngkhunthrrm emuxckrphrrdixngkhkxnyngthrngphrachnmchiphxyu phraxngkhmkthrngmiptisntharineruxngnikbkhaphraphuththeca phraxngkhthrngrusukesiyphrathythukkhrngthitrsthunghwnaelaeln khunnangmhadelk rachelkhathikar hwhnaelkhanukar aelathipruksathangkarthharlwnaelwaetepnkharachbripharphucngrkphkdiaelamikhwamsamarthphuyxmslachiphephuxfabath khaphraphuththecahwngwafabathcaiklchidphwkicaelaiwwangphrathyphwkekha dwywithiechnnirachwngshnckfunkhuninimcha khaphraphuththecamiphunephtxyta ekhythanainlahyng inkhrngnnkhaphraphuththecahwngaetephiyngcaxyurxdinkliyukh immungprarthnacamichuxesiynginhmukhunnang ckrphrrdixngkhkxnmiidduaekhlnphunephkhxngkhaphraphuththeca onmphrawrkayesdcmaeyiymkhaphraphuththecathikrathxmhyasamkhraephuxpruksakhaphraphuththecaineruxngsthankarninaephndinkhrngnn khaphraphuththecarusuktuntnxyangyingcungihstywacathasudkhwamsamarthephuxckrphrrdixngkhkxn eraidprasbchwngewlaxnyaklabakaelakhwamlmehlwhlaykhrainphayhlng khaphraphuththecaidrbmxbhmaykhwamrbphidchxbihyhlwngemuxeraephchiyhnakbkhwamphayaeph khaphraphuththecaidrbhnathixnsakhyinsthankarnthixntrayaelayaklabak tngaetewlannkphanma 21 piaelw ckrphrrdixngkhkxnthrngthrabwakhaphraphuththecaepnphurxbkhxbaelaramdrawng kxnthiphraxngkhcaswrrkhtcungthrngiwwangphrathyfakfnghnathiihkhaphraphuththecaephuxbrrlukarihy nbaetthikhaphraphuththecaidrbkhwamrbphidchxbxnhnkhnwngnn khaphraphuththecakrusukimsbayicthngklangkhunklangkhun ephraakhaphraphuththecaekrngwacaxaccaimsaercpharkicdwydiaelathaihkhwamechuxmntxkhaphraphuththecakhxngckrphrrdixngkhkxnmwhmxng ineduxnha khaphraphuththecakhamlkekhadinaednaehngaelngkndar bdnikbtthangitidthuksybaelw aelaerakmithrphyakrthangthharxyangephiyngphx thungewlaaelwthicaephimkhwykalngickhxngthharaelanathphbukkhunehnuxephuxyudthirabphakhklangkhunma khaphraphuththecahwngephiyngcaichkhwamsamarthihdithisudinkarkacdstruchwrayephuxfunfurachwngshn aelaklbkhunsunkhrhlwngeka epnhnathikhxngkhaphraphuththecathitxngtxbaethnphramhakrunathikhunkhxngckrphrrdixngkhkxnaelaphisucnkhwamcngrkphkdikhxngkhaphuththecatxfabath khwamrbphidchxbkhxngkuyhiwci bihuy tngxun aelakhnxun khuxkarchwyehluxfabathinkarbriharrachkarkhxngrthaelathwaykhaaenanathidi khaphraphuththecahwngwafabathcamxbhmaypharkicaekkhaphraphuththecainkarkacdocrkbt aelafunfurachwngshn hakkhaphraphuththecathaimsaerc fabathkhwrlngxayakhaphraphuththecaephuxtxbaethnckrphrrdixngkhkxn hakfabathimidrbkhaaenanathisuxstyaelaphkdi oprdthrnglngxayakuyhiwci bihuy aelatngxunthanimptibtihnathikhxngtnihdiephuxennyathungkhxphidphladkhxngphwkekha fabathkhwrwangaephnsahrbfabathexngechnkn khnhawithithangthidithisudinkarpkkhrxngrthaelarbkhaaenanathidi khaphraphuththecarusukepnekiyrtiaelayindixyangmakthisamarththatamphraprasngkhsudthaykhxngckrphrrdixngkhkxnid khaphraphuththecakalngcacakfabathipinimcha bdniemuxkhaphraphuththecaxandikachbbnikimsamarthklnnataiwid aelaimruwacathulxairxikdikaxxksukchbbhlngdikaxxksukchbbhlngekhiynkhuninpi kh s 228 aelaimidbnthukiwincdhmayehtusamkkchbbdngedimodytnsiw emuxephy sngcuxekhiynxrrthathibaycdhmayehtusamkk idekhiynwadikaxxksukchbbhlngmacakmwci 默記 thiekhiynodycang ehyiyn 張儼 txmaenuxkhwamkhxngdikaxxksukchbbhlngidrwmxyuinhncinchunchiw 漢晉春秋 ody nkwichakarhlaykhntngkhxsngsyekiywkbkarpraphnthkhxngdikaxxksukchbbhlng aelaechuxwaimidekhiynodycukdehliyng nkwichakaryukhrachwngschingchux echiyn tacw 錢大昭 aesdngkhxsngsykhxngtninhnngsux snkwcuxepiynxi 三國志辨疑 khxsngsytxcdhmayehtusamkk phayhlngdikaxxksukchbbhlngimidthukrwmepnswnhnungkhxngrwmnganekhiynodycukdehliyng aelaprakktechphaainmwciodycang ehyiynethann nxkcaknilksnasanwnkhxngdikaxxksukchbbhlngyngaetktangxyangmakcakdikaxxksukchbbaerk dikaxxksukchbbhlngmisanwnphasathimilksnabibbngkhb inkhnathidikaxxksukchbbaerkmisanwnphasathicringicaelathxmtnmakkwa dikaxxksukchbbhlngyngrwmthungkarxupmaaelayktwxyanginprawtisastrinyxhnathisamephuxkratunihthasngkhram nxkcakniyngmikhwamkhladekhluxnekiywkbkaresiychiwitkhxngetiywculng etiywculngesiychiwitinpi kh s 229 aet dikaxxksukchbbhlngsungxangwaekhiyninpi kh s 228 idklawthungkaresiychiwitkhxngetiywculngaelw enuxha txipniepnkhaaeplodykhraw khxngdikaxxksukchbbhlng duswnhmayehtusahrbkhaxthibayephimetimkhxngraylaexiydbangswninenuxha ckrphrrdixngkhkxn ehnwahnkbocrkbtimxacxyurwmknid aelarthkhxngerakimxacphxicephiyngkhwammnkhngphayinethann dngnnphraxngkhcungthrngmxbhmayihkhaphraphuththecaihocmtiocrkbt cakkarpraeminkhwamsamarthkhxngkhaphraphuththecaodyckrphrrdixngkhkxn phraxngkhthrngtrahnkxyuwakhaphraphuththecaxxnaexaelaimsamarthyunhydtxrbdwykhasukthiaekhngaekrngid aethakeraimocmtikhasuk rthkhxngerakcatkxyuinxntraymakyingkhun erakhwrcarxkhwamtayhruxkhwrchingtikhasukesiykxn ckrphrrdixngkhkxnimthrnglngelphrathythicamxbhmaykhwamrbphidchxbihkhaphraphuththeca aerkerimemuxkhaphecaidrbmxbhmaypharkic khaphraphuththecaimxackinidnxnhlbxyangepnsukh emuxkhaphraphuththecakhidcaocmtiphakhehnux khaphraphuththecaehnwaerakhwrsybphakhitkxnepnkhntn ineduxnha khaphraphuththecakhamlkekhadinaednaehngaelngkndar khaphraphuththecarbprathanxaharephiyngthuk sxngwn thngniimichwakhaphraphuththecaimrktwexng eraimxackhadhwngkhwamplxdphyidephiyngaekhxyuinck khaphraphuththecacungtxngesiyngxntrayephuxsantxpnithankhxngckrphrrdixngkhkxn aetkyngmiphuotaeyngwaniimichaephnthidithisud bdnikhasukkalngwunwayxyuthangtawntk aelathukyudkhrxngphunthithangtawnxxk tamhlkphichyyuththaelw ewlathidithisudthicaocmtikhasukkhuxewlathikhasukehnuxyla bdniepnewlaxnehmaaaelwthicaekhluxnthphekhaocmti swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkhaklawthimichuxesiyngwli hnkbocrkbtimxacyundwykn cintwyx 汉贼不两立 cintwetm 漢賊不兩立 phinxin Han zei bu liǎng li cak dikaxxksukchbbhlng ichephuxxthibaythungsthankarnthikhwxanacsxngfaythixyutrngkhamknimsamarthxyurwmknid xikwlihnung thumethstipyyakhwamsamarth cnkwachiwitcahaim cintwyx 鞠躬盡瘁 死而後已 cintwetm 鞠躬尽瘁 死而后已 phinxin ju gōng jin cui sǐ er hou yǐ cakdikaxxksukchbbhlng phayhlngichephuxxthibaythungkhwammungmnkhxngbukhkhlhnunginkarphyayamxyangetmthihmayehtu ehliyng hmaythungcukdehliyng ckrphrrdixngkhkxn hmaythungelapi ckphrrdiphusthapnackkk dikachbbnithwayihelaesiyn sungepnoxrsaelaphusubthxdkhxngelapi indikacungklawthungelapiinthana ckrphrrdixngkhkxn karihy hmaythungepahmaykhxngckkkinkarprabwuykkthiepnrthxri aelafunfurachwngshn emuxckkkidrbkarsthapnainpi kh s 221 elapithuxwarthckkkkhxngtnepnphusubthxdodychxbthrrmkhxngrachwngshn ephraatwelapisubechuxsaycakrachtrakulkhxngrachwngshn elapimxngwaphupkkhrxngwuykkepn wayray phuaeyngchingbllngkcakrachwngshn pharkichlkkhxngckkkcungepnkarprabwuykkaelafunfurachwngshn praethscinpkkhrxngodyrachwngshnthungpi kh s 220 emuxocphichingbllngkcakphraecaehiynetaelathaihrachwngshnsinsudlng caknnocphicungsthapnawuykk epncuderimtnkhxngyukhsamkk pithdmaelapisthapnatnepnckrphrrdiaehngckkk aelainpi kh s 229 sunkwnsthapnatnepnckrphrrdiaehngngxkk xdit ckrwrrdi khxngrachwngshncungaebngxxkepnsamrthkhuxwuykk ckkk aelangxkk ckkkepnrththixxnaexthisudinrththngsaminewlann rawpi kh s 228 ephraakhadaekhlnthrphyakraelakalngkhn cakkarthimixanacpkkhrxngephiyngmnthlediywkhuxmnthlexkciw swnxiksxngrthtangkmimnthlitpkkhrxngmakkwahnungmnthl cukdehliyngdaeninnoybayaekhngkrawkbwuykksungepnrththimixanacmakthisudinrththngsam ephraaechuxwacaepntxkarxyurxdkhxngckkk phrarachwnghlwng aela sankxkhrmhaesnabdi klawthungsanksxngsankthiepnexkethskninrthbalklangkhxngckkkinesngot phuthirbrachkarinphrarachwnghlwngraynganckrphrrdiodytrng swnphuthirbrachkarinsankxkhrmhaesnabdirayngankbcukdehliyngphuepnxkhrmhaesnabdi hwn aela eln hmaythungphraecahwnetaelaphraecaelnettamladb ckrphrrdithngsxngphraxngkhnimiswnxyangmaktxkaresuxmthxykhxngrachwngshn sunginthisudklmslay lahyng hmaythungemuxnglahyng 南陽 hnanhyang sungtngxnuinbriewnnkhr mnthlehxhnaninpccubn elapiedinthangipeyiymcukdehliyngthiban krathxmhya samkhrng bthsnthnakhxngthngkhunaipsuaephnhlngcng duephimthiraykarniyayaetnginsamkk elapieyuxnkrathxmhyasamkhrng lk 瀘 hlu hmaythungphunthibriewninmnthlyunnaninpccubn sungtngxyuthangitkhxngckkkinyukhsamkk kharachkarthxngthinbangkhninphunthinnkxkbttxtanckkk aelachnepha sungruckinkhaeriykwalamnhruxhnanhman mkcabukrukekhamainphunthi inpi kh s 225 cukdehliyngnakarthphbukitephuxprabpramkbtaelathaihphumiphakhklbmasngb ephraacukdehliyngehnwatxngthaihekidkhwamesthiyrphaphphayinkhxngckkkesiykxnepnxndbaerkkxnthicamungthasukocmtiwuykk struchwray hmaythungwuykkthiepnrthxrikhxngckkk nkhrhlwngeka hmaythunglkexiyng 洛陽 lwhyang xditrachthanikhxngrachwngshn ocrkbt hmaythungrthwuykk sungsthapnainpi kh s 220 hlngocphichingbllngkcakphraecaehiynetphuepnckrphrrdiladbsudthaykhxngrachwngshn ckkkthuxwawuykkepn ocrkbt thichingxanaccakrachwngshn hn hmaythungrachwngshn emuxckkkkxtnginpi kh s 222 kthuxwatnphusubthxdodychxbthrrmkhxngrachwngshn ephraaelapiphukxtngckkkepnthayathkhxngrachtrakulaehngrachwngshn khasukkalngwunwayxyuthangtawntk hmaythungsthankarninpi kh s 228 emuxsamemuxnginphumiphakh xyuiklchayaedndantawntkkhxngwuykk khuxlaxn ethiynsun aelahnetng kxkbtaelaaeprphktrekhadwyckkk du karkxkarkaeribthiethiynsuy rachsankwuykksngetiywkhbihnakxngkalngmaprabkbt The thukyudkhrxngphunthithangtawnxxk hmaythungsthankarninpi kh s 228 emuxthphwuykkaelangxkkpathakninyuththkarthiesketngthangchayaedndantawnxxkechiyngitkhxngwuykkxangxing 五年 率諸軍北駐漢中 臨發 上疏曰 cdhmayehtusamkk elmthi 35 至 出师表 简而尽 直而不肆 大哉言乎 与 伊训 说命 相表里 非秦汉以来以事君为悦者所能至也 Su Shi Collection vol 34 See here brrnanukrm tnsiw stwrrsthi 3 cdhmayehtusamkk snkwcux ephy sngcux stwrrsthi 5 xrrthathibaycdhmayehtusamkk snkwcuxcu aehlngkhxmulxundikaxxksukchbbaerk inwikisxrsphasacin inphasacin dikaxxksukchbbhlng inwikisxrsphasacin inphasacin