จันเสน เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ที่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ผังเมืองมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้าง 700 เมตร ยาว 800 เมตร เนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ มุมบนสร้างล้อมเห็นดินตามธรรมชาติ มีคูเมืองกว้าง 20 เมตร ไม่มีคันดินเพราะขุดคูเมืองล้อมรอบเนินดินตามธรรมชาติ ด้านในคูเมืองจึงมีลักษณะสูงตามธรรมชาติอยู่แล้ว
เมืองจันเสน เป็นเมืองที่มีคนอาศัยต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดี มีพัฒนาการและวิทยาการที่ซับซ้อน รู้จักการชลประทานระบายน้ำเข้าเมือง เลี้ยงสัตว์และเกษตรกรรม มีความสามารถในการทำเครื่องปั้นดินเผา รู้จักการถลุงโลหะ และมีการคมนาคมทำการค้าติดต่อกับชุมชนและเมืองอื่นในระยะเวลาเดียวกัน นับว่าเป็นชุมชนแรกเริ่มในสุวรรณภูมิที่มีการติดต่อกับอินเดียร่วมสมัยกับเมืองอู่ทองในลุ่มน้ำท่าจีน และเมืองฟูนันใกล้ปากแม่น้ำโขงดังเห็นได้จากโบราณวัตถุที่เป็นตราดินเผา เศษภาชนะประดับลักษณะเดียวกับที่พบในอินเดียและแคว้นฟูนัน จันเสนกลับกลายเป็นชุมชนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการคมนาคมทางเรือไฟเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน มีการทำนาทำไร่ เกิดวัด บ้าน ตลาด โรงสีขึ้น
ที่ตั้ง
เมืองจันเสนตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยโบราณเคยมีลำน้ำ เช่น คลองบ้านคลอง เข้ามาเลี้ยงตัวเมืองโดยเชื่อมกับแนวคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านทิศตะวันออก ภายในเมืองมีสระหรือบึงขุดขนาดใหญ่ เรียกว่า บึงจันเสน มีความลึกมาก มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ คาดว่าเป็นสระประจำเมือง ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของบึง มีคันดินโบราณกว้าง 20 เมตร มีความยาวเท่าที่พบประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ มีลักษณะแนวตรงผ่านเข้าไปในทุ่ง เมื่อถึงบ้านหนองกระจอกแนวคันดินจะเลือนหายไป ไม่ชัดเจน ทางด้านเหนือของคันดิน มีคูน้ำเลียบเกือบตลอดแนว เรียก ลำคูหนุมาน คาดว่าใช้เป็นเขื่อนน้ำ สำหรับกั้นน้ำและรับน้ำจากพื้นที่ลุ่มทางตะวันออกเฉียงเหนือ
หลักฐานทางโบราณคดี
นายเบนเนต บรอนซัน ได้จัดทำลำดับเวลา ดังนี้
- ระยะที่ 1 (พ.ศ. 344 ถึง 543 ยุคโลหะตอนปลาย)
เริ่มมีการตั้งรกรากในจันเสน เป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ มีการทำเกษตรกรรมใช้เครื่องมือเหล็ก สำริดและทำเครื่องปั้นดินเผา มีพิธีกรรมในการฝังศพ
- ระยะที่ 2 (พ.ศ. 543 ถึง 743)
พบเครื่องปั้นดินเผาแบบเรียบมีสีแดง เหมือนกับเครื่องปั้นดินเผาของอินเดีย ยังพบหวีงาช้าง มีการตกแต่งลวดลายสลักเป็นรูปม้า 2 ตัว หงส์และมีสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาอยู่เป็นแถว ซึ่งเป็นแบบอมราวดีของอินเดีย ยุคสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยว่า ศาสนาพุทธเข้ามาในประเทศไทยเกือบ 2,000 ปีแล้ว ในชุมชนยังเริ่มมีการเผาศพมากกว่าการฝัง
- ระยะที่ 3 (พ.ศ. 793 ถึง 993 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมฟูนันตอนต้น)
พบโบราณวัตถุ เช่น กระดิ่งสำริด ต่างหูดีบุกเป็นห่วง ดินเผาสำหรับทำลวดลาย ภาชนะเนื้อแกร่ง และเคลือบสีน้ำตาลอมเขียว ซึ่งถือเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่มากที่พบในประเทศไทย
- ระยะที่ 4 (พ.ศ. 993 ถึง 1143 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมฟูนันตอนปลาย)
พบเครื่องปั้นดินเผามากกว่าระยะที่ 3 และมีเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่าง ๆ มากขึ้น บางชนิดก็จะมีเหมือนกับบริเวณอื่น เช่น อู่ทอง แต่มีหลายแบบที่พบที่จันเสนเท่านั้น ชุมชนจันเสนมีการขยายตัวใหญ่ขึ้น มีการติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ เช่นเดียวกับระยะที่ 3
- ระยะที่ 5 (พ.ศ. 1143 ถึง 1343 สมัยทวารวดี)
เป็นช่วงเจริญที่สุด มีการขุดคูน้ำคันดินเพื่อกันศัตรู และขุดบึงขึ้นทางด้านนอกคูเมืองไปทางตะวันออกเพื่อจ่ายน้ำเข้าเมือง สร้างเขื่อนกั้นน้ำทำการชลประทานในระยะที่ 5 ได้พบโบราณวัตถุมากมาย เช่น สิงโตดินเผา รูปปั้นดินเผาขนาดเล็กเป็นรูปพระนางลักษมีหรือพระนางสิริมหามายา ชิ้นส่วนรูปปั้นขนาดเล็กรูปผู้ชายกับลิงมีลักษณะเหมือนที่พบที่อู่ทอง ยังพบเครื่องปั้นเผาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็น 2 ลักษณะพิเศษคือ เป็นไหตกแต่งด้วยลวดลายที่ประทับลงไป พบที่จันเสนและลพบุรีเท่านั้น อีกแบบคือ พบไหที่มีปากผาย และที่รอบ ๆ ปากมีแถบสีแดงและขาว นอกจากนั้นก็เป็นเครื่องปั้นชนิดเดียวกับที่พบในบริเวณอื่น ๆ อย่าง นครปฐม อู่ทอง อู่ตะเภา โคกไม้เดน หรือเกือบทุก ๆ บริเวณซึ่งเป็นเมืองสมัยทวารวดี
- ระยะที่ 6 (พ.ศ. 1343 ถึง 1543 สมัยทวารวดีตอนปลาย)
เริ่มมีประชากรน้อยลงและร้างไปในภายหลัง ไม่ทราบเวลาชัดเจนว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด พบของสมัยลพบุรีไม่มากนักที่จันเสน สันนิษฐานได้ว่า เมืองจันเสนได้ร้างไปภายหลังที่ได้ตั้งเมืองข้าหลวงขอมขึ้นที่ลพบุรีในระหว่าง พ.ศ. 1634–2343 ต่อมาในสมัยปัจจุบันนี้เอง จึงมีคนเข้าไปอาศัยอยู่ในบริเวณเมืองโบราณจันเสนอีกครั้งหนึ่ง โบราณวัตถุที่พบ มีไม่มากเท่าระยะ 5 แต่ฝีมือในการประดิษฐ์มีมากขึ้น
ปัจจุบัน
เมืองจันเสนถูกค้นพบครั้งแรกจากภาพถ่ายทางอากาศและสำรวจเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยอาจารย์ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์จันเสนในวัดจันเสน ที่มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองจันเสน
อ้างอิง
- "พิพิธภัณฑ์จันเสน". มิวเซียมสยาม. 8 ธันวาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022.
- "คำจารึกที่ฐานพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. 26 กุมภาพันธ์ 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022.
- สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. 1999. p. 1429. ISBN .
- เที่ยว "เมืองจันเสน" แหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดีของไทย ไม่ใกล้ ไม่ไกล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์. มติชน. 20 มกราคม 2017.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
cnesn epnemuxngobran tngxyuthi xaephxtakhli cnghwdnkhrswrrkh phngemuxngmilksnaepnrupsiehliym kwang 700 emtr yaw 800 emtr enuxthipraman 300 iress mumbnsranglxmehndintamthrrmchati mikhuemuxngkwang 20 emtr immikhndinephraakhudkhuemuxnglxmrxbenindintamthrrmchati daninkhuemuxngcungmilksnasungtamthrrmchatixyuaelw emuxngcnesn epnemuxngthimikhnxasytxenuxngmatngaetsmykxnprawtisastrtxnplaycnthungsmythwarwdi miphthnakaraelawithyakarthisbsxn ruckkarchlprathanrabaynaekhaemuxng eliyngstwaelaekstrkrrm mikhwamsamarthinkarthaekhruxngpndinepha ruckkarthlungolha aelamikarkhmnakhmthakarkhatidtxkbchumchnaelaemuxngxuninrayaewlaediywkn nbwaepnchumchnaerkeriminsuwrrnphumithimikartidtxkbxinediyrwmsmykbemuxngxuthxnginlumnathacin aelaemuxngfunniklpakaemnaokhngdngehnidcakobranwtthuthiepntradinepha essphachnapradblksnaediywkbthiphbinxinediyaelaaekhwnfunn cnesnklbklayepnchumchnkhunmaxikkhrnghnung emuxmikarkhmnakhmthangeruxifemuxsmyrchkalthi 5 miphukhnekhamatngthinthan mikarthanathair ekidwd ban tlad orngsikhunthitngemuxngcnesntngxyuinthirablumthangtawnxxkkhxngaemnaecaphraya insmyobranekhymilana echn khlxngbankhlxng ekhamaeliyngtwemuxngodyechuxmkbaenwkhuemuxngthangdanthistawntkechiyngit thangdanthistawnxxk phayinemuxngmisrahruxbungkhudkhnadihy eriykwa bungcnesn mikhwamlukmak mienuxthipraman 25 ir khadwaepnsrapracaemuxng swnthangdanthistawnxxkkhxngbung mikhndinobrankwang 20 emtr mikhwamyawethathiphbpraman 4 kiolemtress milksnaaenwtrngphanekhaipinthung emuxthungbanhnxngkracxkaenwkhndincaeluxnhayip imchdecn thangdanehnuxkhxngkhndin mikhunaeliybekuxbtlxdaenw eriyk lakhuhnuman khadwaichepnekhuxnna sahrbknnaaelarbnacakphunthilumthangtawnxxkechiyngehnuxhlkthanthangobrankhdinayebnent brxnsn idcdthaladbewla dngni rayathi 1 ph s 344 thung 543 yukholhatxnplay erimmikartngrkrakincnesn epnkhnklumelk mikarthaekstrkrrmichekhruxngmuxehlk saridaelathaekhruxngpndinepha miphithikrrminkarfngsph rayathi 2 ph s 543 thung 743 phbekhruxngpndinephaaebberiybmisiaedng ehmuxnkbekhruxngpndinephakhxngxinediy yngphbhwingachang mikartkaetnglwdlayslkepnrupma 2 tw hngsaelamisylksnthangphuththsasnaxyuepnaethw sungepnaebbxmrawdikhxngxinediy yukhsmyniidrbxiththiphlcakxinediy epnkarphbhlkthanthangprawtisastrithywa sasnaphuththekhamainpraethsithyekuxb 2 000 piaelw inchumchnyngerimmikarephasphmakkwakarfng rayathi 3 ph s 793 thung 993 rwmsmykbwthnthrrmfunntxntn phbobranwtthu echn kradingsarid tanghudibukepnhwng dinephasahrbthalwdlay phachnaenuxaekrng aelaekhluxbsinatalxmekhiyw sungthuxepnekhruxngpndinephathiekaaekmakthiphbinpraethsithy rayathi 4 ph s 993 thung 1143 rwmsmykbwthnthrrmfunntxnplay phbekhruxngpndinephamakkwarayathi 3 aelamiekhruxngpndinephachnidtang makkhun bangchnidkcamiehmuxnkbbriewnxun echn xuthxng aetmihlayaebbthiphbthicnesnethann chumchncnesnmikarkhyaytwihykhun mikartidtxkbchumchnxun echnediywkbrayathi 3 rayathi 5 ph s 1143 thung 1343 smythwarwdi epnchwngecriythisud mikarkhudkhunakhndinephuxknstru aelakhudbungkhunthangdannxkkhuemuxngipthangtawnxxkephuxcaynaekhaemuxng srangekhuxnknnathakarchlprathaninrayathi 5 idphbobranwtthumakmay echn singotdinepha ruppndinephakhnadelkepnrupphrananglksmihruxphranangsirimhamaya chinswnruppnkhnadelkrupphuchaykblingmilksnaehmuxnthiphbthixuthxng yngphbekhruxngpnephaepncanwnmak sungepn 2 lksnaphiesskhux epnihtkaetngdwylwdlaythiprathblngip phbthicnesnaelalphburiethann xikaebbkhux phbihthimipakphay aelathirxb pakmiaethbsiaedngaelakhaw nxkcaknnkepnekhruxngpnchnidediywkbthiphbinbriewnxun xyang nkhrpthm xuthxng xutaepha okhkimedn hruxekuxbthuk briewnsungepnemuxngsmythwarwdi rayathi 6 ph s 1343 thung 1543 smythwarwditxnplay erimmiprachakrnxylngaelarangipinphayhlng imthrabewlachdecnwaerimtnaelasinsudlngemuxid phbkhxngsmylphburiimmaknkthicnesn snnisthanidwa emuxngcnesnidrangipphayhlngthiidtngemuxngkhahlwngkhxmkhunthilphburiinrahwang ph s 1634 2343 txmainsmypccubnniexng cungmikhnekhaipxasyxyuinbriewnemuxngobrancnesnxikkhrnghnung obranwtthuthiphb miimmaketharaya 5 aetfimuxinkarpradisthmimakkhunpccubnemuxngcnesnthukkhnphbkhrngaerkcakphaphthaythangxakasaelasarwcepnkhrngaerkemux ph s 2509 odyxacary aehlngthxngethiywthisakhyinpccubnkhux phiphithphnthcnesninwdcnesn thimikarcdaesdngprawtikhwamepnmakhxngemuxngcnesnxangxing phiphithphnthcnesn miwesiymsyam 8 thnwakhm 2015 ekbcakaehlngedimemux 29 krkdakhm 2022 khacarukthithanphramhathatuecdiysricnesn phramhathatuecdiysricnesn mulnithielk praiph wiriyaphnthu 26 kumphaphnth 2016 ekbcakaehlngedimemux 29 krkdakhm 2022 saranukrmwthnthrrmithy phakhklang krungethph mulnithisaranukrmwthnthrrmithy thnakharithyphanichy 1999 p 1429 ISBN 9748365301 ethiyw emuxngcnesn aehlngeriynruthangobrankhdikhxngithy imikl imikl x takhli c nkhrswrrkh mtichn 20 mkrakhm 2017