กถาวัตถุอรรถกถา เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในกถาวัตถุปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งกถาวัตถุ มีลักษณะเป็นการถามตอบระหว่างนิกายเถรวาทและนิกายอื่น ๆ ที่แตกออกไปจากนิกายเถรวาท อันเป็นพุทธศาสนาดั้งเดิม ที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ รวมถึงการถามตอบระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาท และลัทธิศาสนาอื่น ๆ โดยอรรถกถาระบุว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงมาติกา หรือบทตั้ง หรือคำเริ่มต้นไว้เพียงเล็ก น้อยต่อจากนั้น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้เรียบเรียงขึ้นจนจบในสังคายนาครั้งที่ 3 มีข้อความอันเป็นคำตอบคำถามตั้งแต่ ต้นจนจบ
กถาวัตถุปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งในปรมัตถทีปนีหรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา หรือ อรรถกถาปัญจปกรณ์ หรือบางทีก็เรียกว่า "ปรมัตถทีปนี ปัญจปกรณัฏฐกถา กถาวัตถุวัณณา" เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งตามคำอาราธนาของพระจุลลพุทธโฆสะชาวลังกา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1000 - 1,100 ซึ่งปรมัตถทีปนี หรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา นั้นเป็นการอธิบายเนื้อความในปกรณ์ทั้ง 5 ของพระพระอภิธรรมปิฎก 5 คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน โดยกถาวัตถุปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม และใหญ่โตมโหมาร
เนื้อหา
เนื้อหาเริ่มต้นของกถาวัตถุอรรถกถา กล่าวถึงต้นเหตุของการทื่พุทธศาสนาดั้งเดิม หรือฝ่ายเถรวาทแตกเป็นนิกายต่างๆ ไปจนถึงมูลเหตุที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระแสดงกถาวัตถุ และการทำตติยสังคีติ หรือการสังคายนาครั้งที่ 3 เพื่อชำระพระศาสนาให้บริสุทธ์จากทิษฐิที่แปลกแยกต่างๆ โดยในอรรถกถาได้เล่าไว้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราช หรือ "พระราชาผู้ทรงตั้งอยู่ในธรรมทรงพระนามว่า พระเจ้าอโศก" ทรงจัดให้มีการแยกพระสงฆ์ที่นับถือทิษฐิแตกต่างจากฝ่ายเถรวาท หรือสาวกลัทธิอื่นที่แอบแฝงเข้ามาในพระศาสนา โดยทรงใช้กุสโลบายการคัดเลือกลัทธิที่เป็นธรรมวาที ด้วยการตั้งคำถามว่า "ภนฺเต กึวาที สมฺมาสมฺพุทฺโธ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร ?" เมื่อได้สดับคำตอบที่ผิดของคนนอกศาสนา จึงทราบว่า "เป็นอัญเดียรถีย์ ไม่ใช่พระภิกษุ"
"จึงทรงพระราชทานผ้าขาวแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นให้สึกไปเสีย อัญญเดียรถีย์ทั้งหมดที่สึกออกไปมีถึง 60,000 คน.พระราชารับสั่งให้ภิกษุพวกอื่นเข้าเฝ้า แล้วรับสั่งถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะอย่างไร ? ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นวิภัชชวาที เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาทีหรือ ? พระเถระทูลว่าใช่แล้ว มหาบพิตร.ลำดับนั้น พระราชารับสั่งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระ-ศาสนาบริสุทธิ์แล้ว ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิด ทรงพระราชทานอารักขาแล้วเสด็จเข้าสู่พระนคร. พระสงฆ์ได้พร้อมเพรียงประชุมกัน" เพื่อเริ่มกระทำสังคายนาครั้งที่ 3 โดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน
จากนั้นเข้าเรื่องพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระแสดงกถาวัตถุ ด้วยการโต้วาทะทางธรรมกับทิษฐิต่างๆ ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ผู้รจนากถาวัตถุอรรถกถา ได้ทำการขยายความการถามตอบแต่ละข้อ โดยอธิบายทั้งในนัยยะทางธรรมและนัยยะทางไวยากรณ์ มีการอธิบายคำศัพท์ที่สำคัญ และข้อธรรมที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กถาวัตถุนี้เป็นการโต้วาทะทางธรรม เพื่อรักษาความบริสุทธ์ของพระศาสนา อีกทั้งยังเป็นคำถามที่ยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับปรมัตถธรรม หรือธรรมชั้นสูง คำอธิบายจึงจำเป็นจะต้องมีความชัดเจนและลึกซึ้ง นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติมรายละเอียดของการถามตอบให้พิสดารยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเนื้อหา
ตัวอย่างเช่น การอธิบายความหมายของคำให้กระจ่างยิ่งขึ้นใน มหาวรรค ปุคคลกถา อนุโลมปัญจกะ หครือคำถามแรกในกถาวัตถุที่ว่า "ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฐ ปรมฏฺเฐน สกวาที ถามว่าท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถะ คือ อรรถอันเป็นจริง และปรมัตถะ คือ อรรถอย่างยิ่งหรือ ?" อันเป็นคำถามที่ว่าด้วยเรื่องลักษณะของความตัวเป็นตนของบุคคล ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายคำศัพท์สำคัญของคำถามนี้ก็คือคำว่า สัจฉิถัตถะ หมายถึง อรรถอันเป็นจริง และปรมัตถะ คือ อรรถอย่างยิ่ง นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ถามคำถามนี้คือ "พวกภิกษุวัชชีปุตตกะ ภิกษุนิกายสมิตยะในพระพุทธศาสนา และอัญญเดียรถีย์เป็นอันมาก ภายนอกพระพุทธศาสนา"
ทั้งนี้ คำถามดังกล่าวไม่ใช่เพียงแสดงถึงหลักธรรมขั้นสูงเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นมาติกา หรือแม่บทของคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ระบุไว้ว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ ดังความว่า
"พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา คือ หัวข้อธรรมไว้สำหรับเป็นแบบฉบับ เพื่อชำระล้างลัทธิอันเห็นผิดทั้งหลายมีประการต่าง ๆ. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ท่านตั้งมาติกานี้ตามนัยที่พระศาสดาทรงประทานไว้ และแล้วก็จำแนกความตามแบบที่พระองค์ทรงแสดงไว้นั้น."
โดยหลักการสำคัญของคำถามนี้ก็คือ การชี้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสอน 2 อย่าง คือสอนตามสมติ คือตามที่โลกนัดหมายกันเรียกขาน กับสอนตามปรมัตถ์ คือสอนตามความจริงอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น เมื่อเอ่ยถึงเรื่องบุคคล ถ้ากล่าวตามความจริงโดยสมติก็มีอยู่ เวลาสอนเพื่อให้คนทั่วไปรู้และเข้าใจ ก็ต้องใช้สานวนสมมติในทางโลก เรียก ว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แต่เมื่อสอนให้รู้ซึ้งถึงสภาพความจริง เพื่อจะได้ไม่ติดไม่ยึดถือในเรื่องสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ก็สอนความจริงโดยปรมัตถ์ คือสอนให้เห็นว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเพียงสิ่งสมมติตามโวหารโลก ประกอบขึ้นจากส่วนย่อย ต่าง ๆ ไม่ควรยึดถือเป็นจริงเป็นจัง
จะเห็นได้ว่า กถาวัตถุอรรถกถามีความลึกซึ้ง กว้างขวาง เกี่ยวข้องกับหลักพระธรรมคำสอนอันเป็นปรมัตถ์ จำเป็นต้องศึกษาอย่างระมัดระวัง แม้เพียงคำถามแรกก็ยังต้องใช้อรรถธิบายอย่างละเอียดในทุกมิติ เพื่อให้อนุชนและผู้ศึกษาธรรมได้เข้าใจในพระธรรมวินัยที่แท้จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถ่องแท้
อ้างอิง
- พระไตรปิฎกฉบับประชาชน หน้า 59
- ประวัติคัมภีร์บาลี หน้า 105
- วรรณคดีบาลี หน้า 78
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปรมัตถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์ อรรถกถากถาวัตถุปกรณ์. พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม 4 ภาค 1 หน้าที่ 15
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปรมัตถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์ อรรถกถากถาวัตถุปกรณ์. พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม 4 ภาค 1 หน้าที่ 19
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปรมัตถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์ อรรถกถากถาวัตถุปกรณ์. พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม 4 ภาค 1 หน้าที่ 22
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปรมัตถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์ อรรถกถากถาวัตถุปกรณ์. พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม 4 ภาค 1 หน้าที่ 28
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปรมัตถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์ อรรถกถากถาวัตถุปกรณ์. พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม 4 ภาค 1 หน้าที่ 27
- ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. (2550). อภิธรรม ๗ คัมภีร์ หน้า 2 - 3
บรรณานุกรม
- Bimala Charan Law. (1923). The Life and Work of Buddhaghosa. Calcutta : Thacker, Spink & Co.
- Bhikkhu Nyanatusita. (2008). Reference Table of Pali Literature. electronic publication by author
- คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). วรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
- พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2543). ประวัติคัมภีร์บาลี. กรุงเทพมหานคร. มหามกุฏราชวิทยาลัย.
- พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปรมัตถทีปนี อรรถกถาปัญจปกรณ์ อรรถกถากถาวัตถุปกรณ์.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ . กรมการศาสนา พระทรวงวัฒนธรรม.
- ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. (2550). อภิธรรม ๗ คัมภีร์ : ศึกษาคัมภีร์กถาวัตถุ สรุปคัมภีร์อรรถกถากถาวัตถุ. มูลนิธิเบญจนิกาย
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
kthawtthuxrrthktha epnkhmphirxrrthkthaxthibaykhwaminkthawtthupkrn inphraxphithrrmpidkkhxngphraitrpidkphasabali sungkthawtthu milksnaepnkarthamtxbrahwangnikayethrwathaelanikayxun thiaetkxxkipcaknikayethrwath xnepnphuththsasnadngedim thiphraethrachnphuihyidrwbrwmiwtngaet rwmthungkarthamtxbrahwangphuththsasnanikayethrwath aelalththisasnaxun odyxrrthktharabuwa phraphumiphraphakhthrngklawthungmatika hruxbthtng hruxkhaerimtniwephiyngelk nxytxcaknn phraomkhkhllibutrtissethra ideriyberiyngkhuncncbinsngkhaynakhrngthi 3 mikhxkhwamxnepnkhatxbkhathamtngaet tncncb kthawtthupkrnxrrthktha epnswnhnunginprmtththipnihruxpycppkrntthktha hrux xrrthkthapycpkrn hruxbangthikeriykwa prmtththipni pycpkrntthktha kthawtthuwnna epnphlngankhxngphraphuththokhsa aetngtamkhaxarathnakhxngphracullphuththokhsachawlngka emuxrawphuththstwrrsthi 1000 1 100 sungprmtththipni hruxpycppkrntthktha nnepnkarxthibayenuxkhwaminpkrnthng 5 khxngphraphraxphithrrmpidk 5 khmphir khux thatuktha pukhkhlbyyti kthawtthu ymk aelaptthan odykthawtthupkrnxrrthktha epnswnhnungkhxngkhmphirprmtththipni sungmienuxhakhrxbkhlum aelaihyotmohmarenuxhaenuxhaerimtnkhxngkthawtthuxrrthktha klawthungtnehtukhxngkarthuphuththsasnadngedim hruxfayethrwathaetkepnnikaytang ipcnthungmulehtuthiphraomkhkhllibutrtissethraaesdngkthawtthu aelakarthattiysngkhiti hruxkarsngkhaynakhrngthi 3 ephuxcharaphrasasnaihbrisuththcakthisthithiaeplkaeyktang odyinxrrthkthaidelaiwwaphraecaxoskmharach hrux phrarachaphuthrngtngxyuinthrrmthrngphranamwa phraecaxosk thrngcdihmikaraeykphrasngkhthinbthuxthisthiaetktangcakfayethrwath hruxsawklththixunthiaexbaefngekhamainphrasasna odythrngichkusolbaykarkhdeluxklththithiepnthrrmwathi dwykartngkhathamwa phn et kuwathi sm masm phuth oth aeplwa phrasmmasmphuththecathrngmiwathaxyangir emuxidsdbkhatxbthiphidkhxngkhnnxksasna cungthrabwa epnxyediyrthiy imichphraphiksu cungthrngphrarachthanphakhawaekphwkediyrthiyehlannihsukipesiy xyyediyrthiythnghmdthisukxxkipmithung 60 000 khn phraracharbsngihphiksuphwkxunekhaefa aelwrbsngthamwa khaaetthanphuecriy phrasmmasmphuththeca thrngmiwathaxyangir khxthwayphraphr phrasmmasmphuththeca thrngepnwiphchchwathi emuxphiksuthnghlaythulxyangniaelw phrarachacungtrsthamphraomkhkhllibutrtissethrawa phrasmmasmphuththecathrngepnwiphchchwathihrux phraethrathulwaichaelw mhabphitr ladbnn phraracharbsngwa khaaetthanphuecriy bdni phra sasnabrisuththiaelw khxphiksusngkhcngthaxuobsthethid thrngphrarachthanxarkkhaaelwesdcekhasuphrankhr phrasngkhidphrxmephriyngprachumkn ephuxerimkrathasngkhaynakhrngthi 3 odyphraomkhkhllibutrtissethraepnprathan caknnekhaeruxngphraomkhkhllibutrtissethraaesdngkthawtthu dwykarotwathathangthrrmkbthisthitang sungphraxrrthkthacaryphurcnakthawtthuxrrthktha idthakarkhyaykhwamkarthamtxbaetlakhx odyxthibaythnginnyyathangthrrmaelanyyathangiwyakrn mikarxthibaykhasphththisakhy aelakhxthrrmthiluksung odyechphaaxyangying kthawtthuniepnkarotwathathangthrrm ephuxrksakhwambrisuththkhxngphrasasna xikthngyngepnkhathamthiyakthikhnthwipcaekhaic enuxngcakekiywkhxngkbprmtththrrm hruxthrrmchnsung khaxthibaycungcaepncatxngmikhwamchdecnaelaluksung nxkcakni yngmikarephimetimraylaexiydkhxngkarthamtxbihphisdaryingkhuntwxyangenuxhatwxyangechn karxthibaykhwamhmaykhxngkhaihkracangyingkhunin mhawrrkh pukhkhlktha xnuolmpycka hkhruxkhathamaerkinkthawtthuthiwa pukh khol xuplph phti sc chiktth prmt ethn skwathi thamwathanhyngehnbukhkhlidodyscchikttha khux xrrthxnepncring aelaprmttha khux xrrthxyangyinghrux xnepnkhathamthiwadwyeruxnglksnakhxngkhwamtwepntnkhxngbukhkhl sungphraxrrthkthacaryidxthibaykhasphthsakhykhxngkhathamnikkhuxkhawa scchithttha hmaythung xrrthxnepncring aelaprmttha khux xrrthxyangying nxkcakni phraxrrthkthacary yngxthibayephimetimwa phuthithamkhathamnikhux phwkphiksuwchchiputtka phiksunikaysmityainphraphuththsasna aelaxyyediyrthiyepnxnmak phaynxkphraphuththsasna thngni khathamdngklawimichephiyngaesdngthunghlkthrrmkhnsungethann aetyngmikhwamsakhyxyangying ephraathuxepnmatika hruxaembthkhxngkhmphirkthawtthu sungphraxrrthkthacaryrabuiwwa smedcphrasmmasmphuththecathrngprathaniw dngkhwamwa phraphumiphraphakhecathrngtngmatika khux hwkhxthrrmiwsahrbepnaebbchbb ephuxcharalanglththixnehnphidthnghlaymiprakartang phraomkhkhllibutrtissethra thantngmatikanitamnythiphrasasdathrngprathaniw aelaaelwkcaaenkkhwamtamaebbthiphraxngkhthrngaesdngiwnn odyhlkkarsakhykhxngkhathamnikkhux karchiwa phraphuththecathrngethsnasxn 2 xyang khuxsxntamsmti khuxtamthiolkndhmaykneriykkhan kbsxntamprmtth khuxsxntamkhwamcringxyangying twxyangechn emuxexythungeruxngbukhkhl thaklawtamkhwamcringodysmtikmixyu ewlasxnephuxihkhnthwipruaelaekhaic ktxngichsanwnsmmtiinthangolk eriyk wastw bukhkhl twtn eraekha aetemuxsxnihrusungthungsphaphkhwamcring ephuxcaidimtidimyudthuxineruxngstw bukhkhl twtn eraekha ksxnkhwamcringodyprmtth khuxsxnihehnwastw bukhkhl twtn epnephiyngsingsmmtitamowharolk prakxbkhuncakswnyxy tang imkhwryudthuxepncringepncng caehnidwa kthawtthuxrrthkthamikhwamluksung kwangkhwang ekiywkhxngkbhlkphrathrrmkhasxnxnepnprmtth caepntxngsuksaxyangramdrawng aemephiyngkhathamaerkkyngtxngichxrrththibayxyanglaexiydinthukmiti ephuxihxnuchnaelaphusuksathrrmidekhaicinphrathrrmwinythiaethcringkhxngxngkhsmedcphrasmmasmphuththecaidxyangthxngaethxangxingphraitrpidkchbbprachachn hna 59 prawtikhmphirbali hna 105 wrrnkhdibali hna 78 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly prmtththipni xrrthkthapycpkrn xrrthkthakthawtthupkrn phraxphithrrmpidk kthawtthu elm 4 phakh 1 hnathi 15 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly prmtththipni xrrthkthapycpkrn xrrthkthakthawtthupkrn phraxphithrrmpidk kthawtthu elm 4 phakh 1 hnathi 19 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly prmtththipni xrrthkthapycpkrn xrrthkthakthawtthupkrn phraxphithrrmpidk kthawtthu elm 4 phakh 1 hnathi 22 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly prmtththipni xrrthkthapycpkrn xrrthkthakthawtthupkrn phraxphithrrmpidk kthawtthu elm 4 phakh 1 hnathi 28 phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly prmtththipni xrrthkthapycpkrn xrrthkthakthawtthupkrn phraxphithrrmpidk kthawtthu elm 4 phakh 1 hnathi 27 thirws baephybuybarmi 2550 xphithrrm 7 khmphir hna 2 3brrnanukrmBimala Charan Law 1923 The Life and Work of Buddhaghosa Calcutta Thacker Spink amp Co Bhikkhu Nyanatusita 2008 Reference Table of Pali Literature electronic publication by author khnacarymhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly 2550 wrrnkhdibali krungethph kxngwichakar mhawithyalymhaculalngkrnrachwithyaly phramhaxdisr thirsiol 2543 prawtikhmphirbali krungethphmhankhr mhamkutrachwithyaly phraitrpidkchbbmhamkutrachwithyaly prmtththipni xrrthkthapycpkrn xrrthkthakthawtthupkrn suchiph puyyanuphaph 2550 phraitrpidkchbbprachachn krungethph krmkarsasna phrathrwngwthnthrrm thirws baephybuybarmi 2550 xphithrrm 7 khmphir suksakhmphirkthawtthu srupkhmphirxrrthkthakthawtthu mulnithiebycnikay