การเหมารวม (อังกฤษ: Stereotype) คือ หรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย
การเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรม (Meme) จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ การเหมารวมไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับ (Social recognition) การเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้
การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมารวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน
ที่มาของคำ
คำว่า “stereotype” มาจากภาษากรีก “στερεότυπος” ที่แปลตรงตัวว่า “สิ่งที่แข็ง” ที่เกิดจากการรวมคำว่า “στερεός” (“stereos”) ที่แปลว่าแข็งหรือแน่น กับคำว่า “τύπος” (“tupos”) ที่แปลว่าประทับเป็นรอย ซึ่งเป็นคำที่คิดขึ้นโดยช่างพิมพ์ชาวฝรั่งเศส (Firmin Didot) ที่หมายถึงภาพที่พิมพ์จากต้นฉบับที่นำมาใช้ในการพิมพ์แทนที่จะใช้ตัวต้นฉบับเป็นตัวแบบโดยตรง ต่อมานักหนังสือพิมพ์อเมริกัน (Walter Lippmann) เป็นผู้ริเริ่มนำคำนี้มาใช้เป็นอุปมา โดยบรรยายการเหมารวมว่าเป็น “ภาพพจน์ในสมอง” และกล่าวว่า “ไม่ว่าจะถูกหรือผิด, ...จินตนาการเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจากสิ่งที่ประสบ... ผลคือการเหมารวมที่เกิดขึ้นที่ยากที่จะกำจัด” (, 1922, 95-156) อันที่จริงแล้วทั้ง “สำนวนจำเจ” (cliché) และ การเหมารวม มาจากคำที่ใช้ในวงการการพิมพ์ และมีความหมายเดียวกัน “สำนวนจำเจ” มาจากภาษาฝรั่งเศสสำหรับพื้นผิวสำหรับการพิมพ์ด้วย “stereotype”
ตัวอย่างของการเหมารวมก็ได้แก่ตัวละครไชล็อกในบทละคร The Merchant of Venice โดยวิลเลียม เชกสเปียร์ที่ถ้าอ่านอย่างผ่าน ๆ ก็จะมีบุคลิกต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นการเหมารวมอันเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมที่มีต่อชาวยิวเป็นต้น
สาเหตุ
นักสังคมวิทยาเชื่อว่าการจัดกลุ่มทางจิตวิทยา (หรือ) เป็นสิ่งจำเป็นและสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทัศนคติหนึ่งในการทำความเข้าใจในกระบวนการสร้างการเหมารวม คือการเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “กลุ่มใน” (Ingroup) และ “กลุ่มนอก” (Outgroup) ผู้อยู่ “กลุ่มใน” จะถือว่าเป็นผู้ปกติและมีคุณสมบัติเหนือกว่า และโดยทั่วไปแล้วจะเป็นกลุ่มที่มีผู้ที่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของหรือมีผู้ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ส่วน “กลุ่มนอก” หมายความง่าย ๆ ว่าเป็นผู้คนที่อยู่นอกกลุ่ม ที่มักจะเห็นกันว่าด้อยกว่าผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของ “กลุ่มใน”
อีกทัศนะหนึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และ โดยมิได้จงใจ การสร้างการเหมารวมโดยอัตโนมัติหรือจากจิตใต้สำนึกเป็นการกระทำที่ทำกันทุกคนโดยไม่ได้สังเกต กระบวนการนี้มักจะตามมาจากการสังเกตจากสิ่งแวดล้อมโดยการรวบรวมข้อมูลและการแก้ไขข้อมูลก่อนที่จะทำการสรุปเป็นการเหมารวม การสร้างการเหมารวมโดยอัตโนมัติเป็นผลมาจากการสังเกตพฤติกรรมจากสิ่งแวดล้อมที่กลายมาเป็นความคิดที่พัฒนาไปเป็นการเหมารวมของจิตใต้สำนึก
ทัศนะที่สามในการทำความเข้าใจความคิดเกี่ยวกับการเหมารวมคือการจัดเป็นประเภททั่วไป และประเภทรอง การเหมารวมประกอบด้วยระบบระดับชั้นที่ประกอบด้วยกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเฉพาะตามลำดับ กลุ่มทั่วไปอาจจะหมายถึงกลุ่มกว้าง ๆ ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ขณะที่กลุ่มรองจะเป็นหนึ่งในกลุ่มย่อยภายในกลุ่มทั่วไป กลุ่มรองจะเป็นกลุ่มที่เฉพาะเจาะจง และทัศนคติที่มีต่อกลุ่มก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ทัศนคติของแต่ละมุมมอง
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสร้างการเหมารวมคือการที่จะเข้าใจความซับซ้อนของระบบสังคมทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แม้ว่าการเหมารวมจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกตรงต่อความจริง แต่เป็นสิ่งที่สะดวกต่อสมอง การจัดกลุ่มเป็นความสามารถอันสำคัญของมนุษย์เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้เราเข้าใจ สามารถทำนายพฤติกรรมของสังคมได้ และจัดระบบต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ เมื่อจัดเข้าเป็นกลุ่ม ๆ แล้วเราก็มักจะหลีกเลี่ยงการวิจัยข้อมูลใหม่หรือข้อมูลที่เข้ามาโดยไม่ได้คาดล่วงหน้าของบุคคลแต่ละคน การจัดลักษณะที่เป็นของกลุ่มทั่วไปให้แก่สมาชิกของกลุ่มเป็นโครงสร้างทางความคิดที่ช่วยในการประหยัดเวลาในการที่จะเข้าใจสังคม และทำให้สามารถทำให้ทำนายพฤติกรรมของสังคมได้ง่ายขึ้น
โดยทั่วไปแล้วมนุษย์ส่วนใหญ่มักจะใช้การเหมารวมเพื่อสนองความต้องการทางจิตวิทยาที่จะต้องสร้างความรู้สึกดีให้แก่ตนเอง (Self) การเหมารวมพิทักษ์อัตตาจากความกังวลและส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem) การจัดตนเองให้อยู่ในกลุ่มที่ถือกันว่าเป็นกลุ่มมาตรฐานหรือกลุ่มปกติ และจัดผู้อื่นให้อยู่ในกลุ่มที่ถือว่าด้อยกว่าหรือผิดปกติทำให้ผู้นั้นมีความรู้สึกว่าตนเองมีค่า (sense of self worth)
อิทธิพลจากประสบการณ์เมื่อยังเป็นเด็กเป็นปัจจัยอันมีอิทธิพลและอันซับซ้อนต่อการพัฒนาการเหมารวม แม้ว่าการเหมารวมจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้แต่มักจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กตอนต้นภายใต้อิทธิพลของบิดามารดา, ครูบาอาจารย์, เพื่อน และ มีเดีย เมื่อฝังใจแล้วก็จะกลายมาเป็นความเชื่อของตนเองต่อมา
ทฤษฎีหลายททฤษฎีทางวิทยาศาสตร์พัฒนามาจากการศึกษาทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับการสร้างการเหมารวมและการสร้างอคติ (prejudice) การศึกษาในสมัยแรก ๆ เชื่อกันว่าหรือเสนอว่าการเหมารวมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่ผู้มีระเบียบวินัย/เคร่งครัด/ชอบใช้อำนาจ (authoritarian) และขาดความยืดหยุ่น เก็บกด นักสังคมวิทยาสรุปว่ามีสาเหตุมาจากความขัดแย้ง, การมาจากครอบครัวที่ได้รับความกดดันจากบิดามารดา และ ความขาดการพัฒนาทางสมองและทางอารมณ์อันเพียงพอ แต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ล้าสมัย นักวิทยาศาสตร์และนักทฤษฎีในปัจจุบันสรุปว่าการเหมารวมไม่แต่จะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้นในกระบวนการคิดของมนุษย์
สถานภาพแวดล้อมบางอย่างก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสร้างการเหมารวมของแต่ละบุคคล ตัวอย่างเช่นงานศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าสตรีสร้างการเหมารวมในทางลบมากกว่าชาย และสตรีจะอ่านลักษณะรูปร่างหน้าตามากกว่าชาย นักทฤษฎีบางท่านค้านและสนับสนุนความเชื่อมโยงของความคิด/ประสบการณ์ และเชื่อว่าความคิดเชิงลำเอียงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็เป็นการเพียงพอที่จะสร้างทัศนคติต่อบุคคลนั้น นักทฤษฎีท่านอื่นกล่าวว่าอย่างน้อยที่สุดก็จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสถานะทางจิตใจและพฤติกรรมในการที่จะสร้างทัศนคติหรือสร้างการเหมารวมขึ้นมาได้ การสร้างการเหมารวมเป็นแต่เพียงทฤษฎีที่มิได้มีรากฐานมาจากเหตุการณ์แวดล้อมที่พิสูจน์ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการเหมารวมคือการสรุปอย่างไม่ถูกต้องของลักษณะภายในจากลักษณะรูปร่างหน้าตาที่เห็นภายนอก คำอธิบายของพฤติกรรมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดจากภายใน (ที่รวมทั้งวัตถุประสงค์, ความรู้สึก, บุคลิก, ลักษณะเฉพาะตัว, เหตุผล, ค่านิยม และ ความรู้สึกชั่วแล่น (impulses)) มิใช่มาจากลักษณะรูปร่างหน้าตาที่มองเห็นจากภายนอก
นักสังคมวิทยาชาร์ลส์ อี. เฮิร์สท์แห่งวิทยาลัยวูสเตอร์กล่าวว่า “สาเหตุหนึ่งของการเหมารวมมาจากการขาดความสัมพันธ์โดยตรง หรือ ความรู้ที่เป็นชิ้นเป็นอันเกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มชาติพันธ์ การขาดความสัมพันธ์โดยตรงทำให้ผู้เหมารวมจัดรวมบุคคลที่ไม่รู้จักดีเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มบุคคลที่ขาดความเป็นเอกบุคคล” สาขาการศึกษาแต่ละสาขาก็มีทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาของการเหมารวมที่แตกต่างกันออกไป: นักจิตวิทยาจะเน้นประสบการณ์ของบุคคลที่มีต่อกลุ่มบุคคล, แบบแผนการสื่อสารติดต่อกับกลุ่มบุคคล และ ความขัดแย้งภายในกลุ่ม ส่วนนักสังคมวิทยาจะมองในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และตำแหน่งของแต่ละกลุ่มในโครงสร้างของสังคม นักมนุษยนิยมเชิงวิจัยจิตวิทยา (Psychoanalytically-oriented humanists) เช่นแซนเดอร์ กิลแมนก็จะมีความเห็นว่าการเหมารวม “ตามความหมาย” เป็นสัญลักษณ์ (representation) ของกลุ่มที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงแต่เป็นความคิด (projection) ของกลุ่มที่มีต่อกัน
การเหมารวมเป็นสัญลักษณ์ (representation) ของกลุ่มที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการให้คำอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่ม หรือ (system justification) ฐานะทางสังคม หรือ ตำแหน่งของกลุ่มเป็นเครื่องแสดงเนื้อหาของการเหมารวม มิใช่ลักษณะของบุคคลแต่ละคน หรือของสมาชิกแต่ละคนของกลุ่มที่แท้จริง กลุ่มที่มีสิทธิทางสังคมและทางเศรษฐกิจน้อยกว่ากลุ่มอื่นจะเป็นกลุ่มที่ได้รับการเหมารวมที่เป็นการสนับสนุนเหตุผลถึงสาเหตุที่เป็นกลุ่มที่ถือกันว่าด้อยกว่าผู้อื่น เช่นเป็นกลุ่มที่มีผู้มีงานทำน้อยกว่ากลุ่มอื่น สาเหตุที่สมาชิกในกลุ่มที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่ด้อยกว่าประสบกับความยากลำบากในการหางานทำอาจจะอาจจะเกิดจากความลำเอียงที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม, จากการถือผิว หรือจากปัจจัยทางอำนาจทางสังคมที่เกี่ยวข้อง แต่กระนั้นสมาชิกในกลุ่มนี้ก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ที่ 'ขาดความกระตือรือร้น' เช่นในความเห็นที่ว่า 'ถ้าจะพยายามหาจริง ๆ ก็จะหาได้', 'ขาดความมีสติปัญญา' เช่นในความเห็นที่ว่า 'คงฉลาดไม่พอที่จะทำงานได้' และ 'เกียจคร้าน' เช่นในความเห็นที่ว่า 'คงจะชอบของเขากินแทนที่จะทำงาน'
การเหมารวมจะเน้นความความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างเกินเลยจากความเป็นจริง นอกจากนั้นในการจัดลำดับของกลุ่มแต่ละกลุ่ม ก็ยังเป็นเครื่องมือในการลดลักษณะความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่ม และจะเพิ่มการมองหาข้อแตกต่าง และเน้นความแตกต่างยิ่งขึ้นไปอีก กรณีที่ว่านี้ดูเหมือนว่ากลุ่มที่ดูจะแตกต่างกันมากอันที่จริงแล้วเป็นกลุ่มที่คล้ายคลึงกันมากกว่าที่จะแตกต่าง ตัวอย่างเช่นในบรรดาชาวแอฟริกันอเมริกัน ที่ความเป็นพลเมืองอเมริกันจะเด่นชัดกว่าความแตกต่างของผิวซึ่งหมายความว่าชาวแอฟริกันอเมริกันมีความเป็นชาวอเมริกันมากกว่าที่จะเป็นชาวแอฟริกัน แต่กระนั้นภายในวัฒนธรรมอเมริกันชาวอเมริกันผิวดำ และชาวอเมริกันผิวขาวก็ยิ่งมองเห็นกันว่าเป็นชนสองกลุ่มที่แทบจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
ผลกระทบ, ความตรงต่อความเป็นจริง, ความหมาย
การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้งแนวคิดทางบวกและทางลบที่มีต่อบุคคล โจชัว อารอนสัน และ คลอด เอ็ม. สตีลผู้ทำการศึกษาผลกระทบกระเทือนทางจิตวิทยาต่อชาวแอฟริกันอเมริกันและสตรี กล่าวว่าการค้นคว้าทางจิตวิทยาพบว่าบุคคลในสองกลุ่มนี้มีความสามารถในการโต้ตอบกับสถานการณ์และความสัมพันธ์กับผู้อื่นสูง อารอนสัน และ สตีลกล่าวถึงตัวอย่างหนึ่งที่พบว่าการให้ป้อนข้อมูลกลับ (feedback) ที่ไม่ตรงต่อความจริงต่อนักศึกษาวิทยาลัยมีผลต่อคะแนนการทดสอบระดับเชาวน์ปัญญาอย่างผิดปกติ และอีกข้อหนึ่งเมื่อนักศึกษาได้รับการชมเชยว่าเป็นผู้มีสติปัญญา เป็นผู้มีมานะ หรือ เป็นผู้ทำคะแนนได้สูง คะแนนของกลุ่มที่ได้รับการชมเชยว่าเป็นผู้มีสติปัญญาจะต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด อารอนสัน และ สตีลเชื่อว่ามีสาเหตุมาจาก “ความลำเอียงเกี่ยวกับความสามารถโดยกำเนิด” (innate ability bias) ผลกระทบกระเทือนดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่กับกลุ่มชนกลุ่มน้อย นักศึกษาชายผิวขาวผู้มีความสามารถเชิงคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ได้รับการทดสอบคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างยาก กลุ่มหนึ่งได้รับการบอกว่าวัตถุประสงค์ของการทดสอบก็เพื่อหาคำตอบถึงสาเหตุที่นักศึกษาชาวเอเชียได้คะแนนสูงกว่า กลุ่มที่ว่านี้ทำคะแนนต่ำกว่าอีกกลุ่มหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความความลำเอียงของการเหมารวมอาจจะมาจาก:
- การให้เหตุผลสนับสนุนความลำเอียงอันไม่พื้นฐาน หรือ ความขาดความรู้
- การไม่เต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมที่มีต่อกลุ่มที่ถูกเหมารวม
- การกีดกันบุคคลบางคนจากกลุ่มที่ถูกเหมารวมจากการเข้าเป็นส่วนหนึ่ง หรือ จากการประสบความสำเร็จของกิจกรรมหรือสาขา
ผลของการใช้การเหมารวมอาจจะผันผวน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะออกไปในทางลบ และจะเป็นสิ่งที่ไม่แจ่มแจ้งจนกระทั่งเวลาผ่านไปชั่วขณะหนึ่ง ในชั่วเวลาที่ผ่านไปเหยื่อของการเหมารวมบางคนก็จะมีพฤติกรรมตามที่เหมารวมไว้ เนื่องมาจากความเห็นที่ว่าการเหมารวมเป็นพฤติกรรมปกติในการเลียนแบบ ผลในทางลบก็รวมทั้งการสร้างทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกลุ่มคน, การเป็นแพะรับบาป, การสรุปความเห็นอย่างผิดผิด, การป้องกันตนเองจากการทำความเข้าใจทางอารมณ์ และ การทำให้ประสิทธิภาพของการทำกิจการลดถอยลง การใช้การเหมารวมเป็นเครื่องเตือนสติผู้ถูกเดียดฉันท์ถึงทัศนคติของสังคมที่มีต่อตน
กฎในศิลปะและวัฒนธรรม
การเหมารวมปรากฏโดยทั่วไปในระบบการสื่อทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ในรูปแบบของการสร้าง (Stock character) ตัวละครประเภทนี้พบในงานเขียนบทละครของ, ดาริโอ โฟ และ ผู้สร้างนักแสดงการเหมารวมเพื่อเพิ่มความเป็นนาฏกรรมให้มากยิ่งขึ้น ใน (Commedia dell'arte) ก็เช่นกัน การเหมารวมที่สร้างภาพพจน์ที่เป็นที่เข้าใจโดยผู้รับ/ผู้ชมได้ทันทีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการใช้ในการโฆษณา และ ละครหรรษา (Situation comedy) การเหมารวมเหล่านี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่นในปัจจุบันตัวละครเชิงการเหมารวมเพียงสองสามตัวเท่านั้นในงาน “” (The Pilgrim's Progress) โดย ที่ยังเป็นที่รู้จักและเข้าใจโดยผู้อ่าน
ทางด้านวรรณกรรม และ ศิลปะ การเหมารวมคือตัวละครหรือสถานการณ์ที่ “ดาษดื่น” หรือทำนายได้ ตลอดมาในประวัติศาสตร์นักเล่าเรื่อง (Storyteller) มักจะเล่าเรื่องที่มีพื้นฐานมาจากตัวละครหรือสถานการณ์เชิงการเหมารวมเพื่อเป็นเครื่องสร้างความสัมพันธ์อันรวดเร็วกับผู้ฟัง บางครั้งการเหมารวมบางอย่างก็จะเป็นการเหมารวมที่ซับซ้อนและชั้นสูง (complex and sophisticated) เช่นในตัวละครไชล็อกในบทละคร “เวนิสวาณิช” โดยวิลเลียม เชกสเปียร์ แต่ก็กล่าวได้ว่าเมื่อการเหมารวมกลายเป็นการเหมารวมที่ซับซ้อนและชั้นสูงก็อาจจะทำให้ยุติความเป็นการเหมารวม โดยตรง เพราะความที่กลายมามีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองแทนที่จะเป็นลักษณะดาษดื่นโดยทั่วไป แม้ว่าตัวละครไชล็อกยังคงถือว่าเป็นตัวละครที่ถือว่าไม่ถูกต้องทางการเมือง (politically unstable) เพราะเป็นตัวละครที่สร้างภาพพจน์แบบการเหมารวมของชาวยิว แต่หัวเรื่องของการแสดงการเยาะเย้ยเดียดฉันท์ (prejudice) ชาวยิวในสมัยของเชกสเปียร์ และรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับไชล็อกเป็นการยกฐานะตัวละครขึ้นจากความเป็นการเหมารวมโดยทั่วไปมาเป็นตัวละครที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่ควรค่าแก่การแสดงในสมัยปัจจุบัน ลักษณะของตัวละครที่อาจจะถือว่าเป็นลักษณะดาษดื่นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวละครที่เป็นการเหมารวมเสมอไป
แม้ว่ารากศัพท์ระหว่าง “การเหมารวม” และ “cliché” จะใกล้เคียงกันแต่คำสองคำนี้จะไม่ใช้สลับกันในเชิงวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่นการใช้สำนวนจำเจดื่นจะได้รับการวิจารณ์ใน (narratology) ขณะที่ การจัดประเภท (genre) และการจัดกลุ่ม (categorization) จะหมายถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่เป็นที่รู้จัก การบรรยายสถานการณ์และตัวละครในเรื่องว่ามี “ลักษณะทั่วไป” (typical) ก็เท่ากับว่าเหมาะกับประเภทใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ถ้าผู้เล่าเรื่องใช้ “cliche” ในการเล่าเรื่องก็เท่ากับเป็นการใช้ลักษณะที่ผิวเผิน ไม่มีความซับซ้อน และทำให้เรื่องที่เล่าขาดความเป็นขาดความเป็นต้นฉบับ การวิจารณ์การหลบหนีที่ดูท่าทีไม่น่าจะเป็นได้ของเจมส์ บอนด์โดยเอียน เฟลมมิ่งว่าเป็น “การเหมารวม” เป็นสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจ แต่จะเป็นการเหมาะสมกว่าถ้ากล่าวการหลบหนีที่ว่าเป็นลักษณะ “ดาษดื่น” เพราะเป็นการหลบหนีที่ใช้บ่อยและเลียนแบบกันไปจนเกินไป การเล่าเรื่องมักจะขึ้นอยู่กับการใช้ “ลักษณะทั่วไป” (typical) เพื่อให้ผู้อ่าน/ผู้ชมรู้จักหรือเข้าใจได้ทันที
ซิทคอมเกี่ยวกัยวัยรุ่น “” ประกอบด้วยต่าง ๆ ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นเช่นตัวตลก (class clown), ดาว (jock), เนิร์ด (nerd), เชียร์ลีดเดอร์, สตรีนิยม (feminist) และ สาวแฟชั่น นอกจากนั้นก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่านอกจากจะสร้างตัวละครเป็นเชิงการเหมารวมแล้วซิทคอมนี้ยังสร้างการเหมารวมของสถาบันไฮสกูลเองด้วย การเหมารวมไฮสกูลทางโทรทัศน์มักจะเป็น “ลักษณะทั่วไป” ของโรงเรียนอเมริกันที่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอเมริกันฟุตบอล, แฟชั่น, ความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นหญิงชาย และมักจะไม่กล่าวถึงการศึกษา นอกจากนั้นแล้วกรีนวอลด์และบานาจีในนิตยสาร “Psychological Review” ก็ยังอธิบายว่าในภาพยนตร์หรือสื่ออื่น ๆ จะมีการใช้ ลักษณะเทิดทูน (Halo effect) เช่นในการสรุปอย่างกว้าง ๆ ว่าหญิงและชายที่มีรูปร่างหน้าตาดีจะเป็นผู้ที่มีความสุข, มีความแข็งแรง และมีบุคลิกดีกว่าผู้อื่น
การเหมารวมชาติพันธุ์และเชื้อชาติ
ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา
ในสหรัฐความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยที่ต่างชาติพันธุ์มีรากฐานมาตั้งแต่เมื่อเริ่มการก่อตั้งเป็นอาณานิคมแล้ว เริ่มตั้งแต่เมื่อนักอาณานิคมเริ่มมีการติดต่อเป็นครั้งแรกกับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา การเหมารวม “คนป่าเถื่อน” (the savage) ก็เริ่มขึ้น ในสมัยแรกชาวยุโรปก็ยกย่องว่าเป็น “อนารยชนที่มีอารยธรรม” (noble savages) เพราะความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากตามสายตาของชาวยุโรปได้ แต่ต่อมาเมื่อการตั้งถิ่นฐานขยายตัวออกไปทางตะวันตกมากขึ้น ชนพื้นเมืองก็กลายมาเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัว ภาพพจน์จึงกลายเป็นภาพพจน์ทางลบ สื่อมีเดียก็สร้างภาพพจน์ของชนพื้นเมืองว่าเป็นผู้ป่าเถื่อน ไร้วัฒนธรรม และโหดร้าย และมักจะบุกเข้ามาโจมตีผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาว, คาวบอย และรถม้า และกู่โหยหวนโดยเอามือป้องปาก เวลาสนทนาก็จะพูดด้วยเสียงห้าวต่ำและใช้คำเช่น “How” หรือ “Ugh”
ในการ์ตูน หรือ ภาพยนตร์การ์ตูนชนพื้นเมืองอเมริกันมักจะวาดเป็นสีแดงจัด และจะเรียกกันโดยทั่วไปในตะวันตกว่า “อินเดียน” ตัวอย่างของการเหมารวมของชนพื้นเมืองอเมริกันพบได้ในมีเดียต่าง ๆ ของตะวันตกมาจนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 การเหมารวมอื่นก็เป็นผู้สูบกล้อง ผู้ที่ทาสีเป็นลวดลายบนใบหน้า ผู้ที่เต้นรำรอบเสาโทเท็มที่มักจะมีเชลยมัดอยู่กับเสา, ผู้ส่งสัญญาณที่ทำด้วยควัน, ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในกระโจม, ผู้สวมเครื่องประดับศีรษะที่เป็นขนนก และ ผุ้จะถลกหนังหัวศัตรูเป็นต้น
หลังจากการขยายอาณานิคมดำเนินต่อไปในสหรัฐอเมริกาชนพื้นเมืองอเมริกันก็ถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกเช่น “คริสเตียน” หรือ “ฮีเธน” (ผู้นับถือศาสนาคริสต์), “ผู้มีอารยธรรม” และ “คนป่าเถื่อน” แนวคิดเหล่านี้ใช้เวลาเพียงราวสิบปีก็กลายเป็นหลักความคิดของชาวอเมริกันอย่างแน่นหนา การเหมารวมชนพื้นเมืองอเมริกันจึงมีรากฐานมาจากความคิดที่เริ่มขึ้นโดยนักล่าอาณานิคมที่สร้างภาพพจน์ไว้ในทางลบเช่นเป็นผู้ป่าเถื่อนและดุร้าย
คนผิวขาวหลายคนมีทัศนคติว่าชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาปราศจากการควบคุมตนเองและไม่สามารถรักษาความรับผิดชอบได้ มัลคอล์ม ดี. โฮล์มส์ และ จูดิธ เอ. อันเทลล์ตั้งทฤษฎีว่าทัศนคติต่อชนพื้นเมืองเช่นนั้นเป็นรากฐานของปรัชญาที่ใช้กันในปัจจุบันในการหาเหตุผลสนับสนุนความแตกต่างระหว่างชาวอเมริกันผิวขาวและชนพื้นเมือง
ในปัจจุบันการเหมารวมของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกายังคงเป็นทัศนคติที่ถืออยู่ในกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลสหรัฐออกกฎหมายใหม่เพื่อเป็นการชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปของชนพื้นเมืองอเมริกันโดยการอนุญาตให้มีการสร้างคาซิโนและการหารายได้จากคาซิโนที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายสหรัฐ การเหมารวมใหม่จึงเป็นผู้เป็นเจ้าของหรือญาติของผู้เป็นเจ้าของคาซิโน
การแสดงภาพพจน์ของชนพื้นเมืองสมัยใหม่จึงแทบจะไม่ปรากฏในวัฒนธรรมสมัยนิยมนอกไปจากเป็นตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง “” ที่เป็นการเหมารวมของผู้รักอิสระ หรือ ภาพยนตร์เรื่อง “” ที่เป็นการเหมารวมของผู้มีวัฒนธรรม, รักสงบ และผู้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ
การเหมารวมชาวอินิวอิท
การเหมารวมชาว (Inuit) หรือ (Eskimo) มักจะเป็นผู้แต่งตัวด้วย (Anorak) ซึ่งเป็นเสื้อคลุมหนาทำด้วยหนังสัตว์ที่มีที่คลุมศีรษะ, สวมเครื่องตกแต่ง, อาศัยอยู่ใน (บ้านน้ำแข็ง), ล่าปลาด้วย, เดินทางด้วยที่ดึงด้วย , กิน และผู้ชายจะชื่อ (Nanook) (: ᓇᓄᖅที่แปลว่าหมีขาวจากภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “” เด็กเอสกิโมก็มักจะมีแมวน้ำเป็นเพื่อนคู่ใจ และมักจะเชื่อกันว่าชาวมีคำที่ใช้สำหรับคำว่าหิมะเป็นจำนวนมากมายซึ่งเป็นตำนานชาวเมือง (Urban legend)
บางครั้งก็จะแสดงเป็นภาพของผู้ที่จะเอาจมูกมาสีกันเมื่อพบปะกัน และมักจะล้อมรอบด้วยหมีขาว, วอลรัส และเพ็นกวิน ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะนกเพนกวินอยู่เฉพาะใน ไม่ใช่ขั้วโลกเหนือ หรือบางครั้งก็จะแสดงภาพว่าเอสกิโมพำนักอยู่ที่ขั้วโลกใต้ซึ่งไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลเดียวกัน และจะกล่าวกันว่าขี้อาย
การเหมารวมชนผิวดำ
การเหมารวมชนผิวดำในยุคแรก
ในคริสต์ศตวรรษก่อนหน้านี้และระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวแอฟริกันอเมริกันมักจะแสดงเป็นภาพของผู้ที่งี่เง่า, ขี้โกง, เกียจคร้าน, มีกลิ่นไม่ดี, ขาดวัฒนธรรม และไม่เป็นคริสเตียน นักอาณานิคมรุ่นแรก ๆ ของอังกฤษนำทัศนคติที่ว่าชนผิวดำเป็นผู้ที่ด้อยกว่าชนผิวขาวติดตัวมาเมื่อมาตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกา ทัศนคตินี้เท่ากับเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าการเป็นทาสของชนผิวดำและการออกกฎหมายหลายฉบับที่สนับสนุนการลงโทษอันขาดมนุษยธรรมเป็นสิ่งที่เหมาะสม และเป็นเหตุผลที่ใช้ในการกดขี่ชนผิวดำในอยู่ในสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมที่ต่ำกว่าอยู่เป็นเวลานาน
ชนผิวดำมักจะแสดงเป็นภาพของผู้เป็นทาส หรือผู้รับใช้, ทำงานในไร่ อ้อย หรือแบกกระสอบฝ้าย, ผู้เคร่งครัดในศาสนาคริสต์และมักจะไปโบสถ์เป็นประจำ และจะร้องเพลงกอสเปล ใน (vaudeville), ที่นักแสดงจะทาหน้าดำ, การ์ตูน และภาพยนตร์การ์ตูนของยุคนี้ชนผิวดำจะเป็นการเหมารวมผู้ที่เศร้า, เกียจคร้าน, ขี้เท่อ ที่มีปากหนาและรองเพลงบลูส์ และเต้นรำเก่ง แต่จะตื่นเต้นถ้าเห็นการเล่นลูกเต๋า, ตีไก่ หรือ กินแตงโม
ลักษณะการเหมารวมอีกอย่างหนึ่งของชนผิวดำจะเป็นผู้มีความสุขรักสนุกอยู่ตลอดเวลา เช่นในตัวละครเช่น, หรือ บุคลิกบนเวที่ของผู้มีความสนุกของหลุยส์ อาร์มสตรอง การเหมารวมที่เป็นที่นิยมกันอีกอันหนึ่งจากสมัยนี้คือชนผิวดำกลัวผี (และจะกลัวจนตัวขาว) ก็มักจะเป็นคนผิวดำ หรือแม่บ้านก็มักจะเป็นสตรีวัยกลางอ้วนใหญ่สวมกระโปรงบาน เช่นเมื่อไม่นานมานี้ในภาพยนตร์เรื่อง “” (Big Momma's House) เด็กผิวดำมักจะเป็นเด็กไม่มีกิริยา การพูดก็จะเป็นสำเนียงภาษาเฉพาะกลุ่ม
ชนผิวดำในแอฟริกามักจะเป็นการเหมารวมผู้ที่ยังเป็นบรรพกาล (primitive), ไร้เดียงสาเหมือนเด็ก, ดุร้าย และอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นเผ่า, ถือหอก, มีความเชื่อในเรื่องพ่อมดหมอผี (witchcraft) และนับถือพ่อมด นักล่าอาณานิคมผิวขาวก็จะเป็นภาพของผู้ที่ล่อลวงชนผิวดำโดยการหลอกขายของกระจุกกระจิกเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิ่งมีค่า และ/หรือทำให้หวาดผวากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือตัวละครใน “” เมื่อชนผิวขาวถูกจับได้โดยชนผิวดำก็มักจะถูกนำไปไว้ในหม้อดำใหญ่เพื่อจะเอาไปต้มกิน หรือบางครั้งก็จะเป็นภาพพจน์ที่เป็นที่มีพฤติกรรมเหมือนเด็กเพื่อจะได้ล้อเลียนได้ว่ามีลักษณะเหมือนเด็ก
การเหมารวมอีกอย่างหนึ่งคือชายผิวดำที่ตกแต่งใบหน้าด้วยแป้นบนริมฝีปาก (lip plates) หรือกระดูกสอดบนสันจมูก ส่วนหญิงผิวดำก็จะเป็นหญิงที่เปลือยหน้าอกที่มีขนาดใหญ่ และก้นที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรือสตรีชาว ที่ใส่วงแหวนซ้อนกันสูงบนคอที่ยาวเหมือนยีราฟ (เช่นเดียวกับสตรีกะยันในพม่า)
รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริการกล่าวสนับสนุนในประเด็นเรื่องการมีทาสในปี ค.ศ. 1844 ว่า “[การศึกษาทางวิทยาศาสตร์]เป็นสิ่งที่พิสูจน์และถึงความจำเป็นในการมีทาส แอฟริกันไม่มีสมรรถภาพในการดูแลตนเองและตกอยู่ในภาวะวิกลจริตเมื่อได้รับภาระของการมีเสรีภาพ การให้การพิทักษ์และป้องกันจากความตายทางจิตวิทยาจึงถือว่าเป็นกรุณาคุณ”
แม้ว่าหลังจากการเลิกทาสแล้วเชาว์ปัญญาของชนผิวดำก็ยังคงเป็นสิ่งที่เป็นข้อสงสัยกันอยู่ หลุยส์ เทอร์แมนเขียนใน “The Measurement of Intelligence” (การวัดเชาว์ปัญญา) 1916 ว่า:
[เยาวชนผิวดำและชนกลุ่มน้อยต่างชาติพันธุ์อื่น ๆ] ไม่สามารถที่จะรับการศึกษาแม้จะขั้นต่ำที่สุดได้ ไม่มีปริมาณของความพยายามในการที่จะสอนเท่าใดที่สามารถจะทำให้กลายเป็นผู้มีเสียงเลือกตั้งที่มีปัญญาได้ หรือเป็นพลเมืองที่มีสมรรถภาพได้ตามมาตรฐานโดยทั่วไป…ความซึมเซื่องดูเหมือนจะมาจากเผ่าพันธุ์ หรืออย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่มาจากครอบครัว…เยาวชนในกลุ่มนี้ควรจะได้รับการแยกเป็นชั้นพิเศษ และให้การศึกษาที่เป็นรูปธรรมและใช้งานได้ เยาวชนเหล่านี้ไม่มีสมรรถภาพในการเรียนรู้ทางนามธรรมแต่สามารถทำให้เป็นคนงานที่มีประสิทธิภาพได้…ในปัจจุบันการที่จะหว่านล้อมสังคมให้ยอมรับความคิดที่ว่าพวกเขาเหล่านี้ไม่ควรที่จะได้รับการอนุญาตให้สืบพันธุ์ต่อไปนั้นเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าจากมุมมองทางด้านสุพันธุศาสตร์ (Eugenics) จะกลายเป็นปัญหาหนักเพราะการสืบพันธุ์อันดกผิดปกติ[ของชนกลุ่มนี้]
การเหมารวมชนผิวดำในปัจจุบัน
ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมาการเหมารวมเกี่ยวกับชนผิวดำก็เปลี่ยนไปในมีเดียบางประเภทที่ออกไปในเชิงบวก โดยการแสดงภาพพจน์ของชนผิวดำและชาวแอฟริกันอเมริกันว่าเป็นผู้มีความถนัดทางด้านการกีฬา, การร้องเพลง และ การเต้นรำ ในภาพยนตร์หลายเรื่องหรือรายการต่อเนื่องทางโทรทัศน์ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ชนผิวดำจะปรากฏเป็นผู้ที่มีอัธยาศัย/อุปนิสัยดี, มีกรุณาคุณ, ซื่อสัตย์สุจริต และมีสติปัญญา และโดยทั่วไปจะเป็นตัวรองที่เป็นเพื่อนที่ดีของตัวเอกของเรื่อง (เช่นในภาพยนตร์เรื่อง “” (Miami Vice), “ริกก์สคนมหากาฬ” (Lethal Weapon) หรือ “” (Magnum Force))
นักวิจารณ์บางท่านมีความเชื่อว่าความถูกต้องทางการเมือง (political correctness) เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างการเหมารวมชนผิวดำไปในทางบวกจนเกินไป ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวแอฟริกันอเมริกันสไปค์ ลีใช้คำว่า “” (Magical negro) ที่กลายมาเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบรรยายการเหมารวมดังว่า ลีกล่าวเป็นเชิงเยาะถึง (archetype) ของการเหมารวมชนผิวดำที่แสดงชนผิวดำแบบ “super-duper magical negro” (นิโกรเลิศลอยฟ้า) เมื่อถกเถียงเรื่องการสร้างภาพยนตร์กับนักศึกษาที่ และที่ มหาวิทยาลัยเยล
จากการสำรวจมีเดียในปี ค.ศ. 1989 พบว่าชนผิวดำมากกว่าชนผิวขาวจะได้รับความบรรยายในเชิงเหยียดในเรื่องเชาว์ปัญญา นักต่อสู้การเมืองและนักเทศน์ชาวแอฟริกันอเมริกันกล่าวในปี ค.ศ. 1985 ว่าข่าวสื่อสารมวลชนมักจะแสดงชนผิวดำในรูปแบบที่มีความ “ด้อยทางสติปัญญากว่าความเป็นจริง” ผู้กำกับภาพยนตร์สไปค์ ลีให้คำอธิบายว่าภาพพจน์ดังว่านี้มีผลกระทบกระเทือนในทางลบ “ในชุมชนของผม เราเทิดทูนนักกีฬา, ผู้ชายที่หาได้ผู้หญิง และ ผู้มีสติปัญญา” แต่ภาพพจน์ที่เป็นที่นิยมกันจะเป็นการเหมารวมชนผิวดำที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง (inner-city), มีรายได้ต่ำ และ มีการศึกษาน้อยกว่าชนผิวขาว
แม้แต่ภาพพจน์ที่เรียกกันว่าภาพพจน์ทางบวกของชนผิวดำก็ยังทำให้เกิดการเหมารวมระดับเชาว์ปัญญา ในหนังสือ “Darwin's Athletes: how sport has damaged Black America and preserved the myth of race” (ไทย: นักกีฬาของดาร์วิน: วิธีที่การกีฬาสร้างความเสียหายต่อชนผิวดำอเมริกัน และรักษาความลึกลับของชาติพันธุ์) กล่าวว่านักกีฬาผู้มีชื่อเสียงชาวแอฟริกันอเมริกันสนับสนุนปรัชญาของการลดความสำคัญของความสำเร็จทางการศึกษาในประชาคมชนผิวดำเอง
ในปี ค.ศ. 1997 การศึกษาเรื่องการเหมารวมในวงการกีฬา นักค้นคว้าแสดงภาพนักบาสเกตบอลผิวขาว และนักบาสเกตบอลผิวดำให้ผู้ร่วมในการศึกษาได้ดู จากนั้นก็ให้ฟังการกระจายเสียงที่อัดไว้ล่วงหน้าของกีฬาบาสเกตบอล ภาพนักบาสเกตบอลผิวขาวได้รับการจัดลำดับว่าแสดงความมีเชาว์ปัญญาในการเล่นเกมสูงกว่าภาพนักบาสเกตบอลผิวดำมาก แม้ว่าผู้บรรยายการเล่นและรูปนักกีฬาจะเป็นรูปเดิมตลอดการทดลองก็ตาม นักประพันธ์หลายท่านกล่าวว่าการบรรยายการเล่นกีฬาที่เน้น 'ความสามารถโดยธรรมชาติของชนผิวดำทางด้านการเล่นกีฬา' มีผลที่เป็นนัยยะว่าชนผิวขาวมีความสามารถในด้านอื่น ๆ สูงกว่า เช่นในด้านเชาว์ปัญญา
แพทริเชีย เจ. วิลเลียมส์ นักเขียนสำหรับ “” กล่าวถึงจาร์ จาร์ บิงคส์ตัวละครใน “สตาร์ วอร์ส” ว่า: “ไม่ว่าจะเป็นการจงใจหรือไม่ ความพลาดพลั้งหรือการเป็นผู้นำโชคร้ายมาให้แก่ผู้อื่นของจาร์ จาร์ บิงคส์ก็เป็นลักษณะที่นำมาจาก “” เป็นอย่างมากโดยตรง แม้ว่า[จาร์ จาร์ บิงคส์]จะสามารถแก้สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ลักษณะเชิงเซ่อซ่าของผู้เป็นผู้ใหญ่กึ่งเด็กเป็นลักษณะที่ถอดมาจากซิทคอมของคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยตรง”)
การเหมารวมชาวแอฟริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง และ มุสลิม
การเหมารวมมุสลิมมักจะเกี่ยวกับข้องกับความโหดเหี้ยมและอำมหิต ทัศนคติดังว่าจะเห็นได้จากการแสดงว่ามุสลิมเกี่ยวข้องกับวางแผนระเบิดและการเป็นผู้ก่อการร้าย และ เป็นภาพของผู้มีฐานะยากจน หรืออาจจะเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่อสตรี, เกย์ หรือ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเหมารวมมุสลิมคืออาการกลัวชาวมุสลิม (Islamophobia) ซึ่งเป็นความกลัว, ชิงชัง และ ไม่ชอบผู้ที่เป็นมุสลิม
การเหมารวมชนผิวขาว
ตัวอย่างของการเหมารวมเกี่ยวกับชนผิวขาวในทางลบจะเห็นได้ชัดจากตัวการ์ตูนโฮเมอร์ ซิมป์สันซึ่งเป็นชายวัยกลางคนจากมิดอเมริกาท้วม, ขี้เกียจ และ ขี้เท่อ ในการ์ตูน “เดอะ ซิมป์สันส์” ซึ่งรายการเองก็เป็น ของด้านต่าง ๆ ของชีวิต, วัฒนธรรม และสังคมอเมริกัน หรือการเหมารวมของ “” (Ugly American) ที่จะเป็นชาวอเมริกันที่มีเสียงดัง, ชอบเรียกร้อง, ขาดความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และ แต่งตัวเชย แต่ก็มักจะชดเชยด้วยการเป็นคนใจกว้าง
การเหมารวมชาวไอริช
การวิจัยทัศนคติของชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย และบรอนเวน วอลเตอร์กล่าวว่า 'ไอริชคาทอลิก' คือผู้ที่เป็น “คนนอก” (other) หรือเป็นเผ่าพันธุ์ที่แยกออกไปต่างหากในมุมมองของปรัชญาชาตินิยมอังกฤษ ส่วนชาวไอริชก็เช่นกันที่ถือว่าชาวอังกฤษเป็น “คนนอก” และพยายามที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการปกครองตนเอง ที่ในที่สุดก็ได้มาในคริสต์ทศวรรษ 1920
การเหมารวมที่ใช้สำหรับชาวไอริชไม่รุนแรงหรือหยาบคายเมื่อเทียบกับการเหมารวมที่ใช้สำหรับชาติพันธุ์อื่น ๆ แต่กระนั้นก็เป็นมุมมองที่ไม่ตรงต่อความจริงโดยกล่าวหาว่าชาวไอริชเป็นคนหุนหันพลันแล่น ชอบทะเลาะเบาะแว้ง และขี้เมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักเขียนการ์ตูนชาวอังกฤษคนหนึ่งเขียนภาพผู้อพยพเข้ามาชาวไอริชเป็นลิงใหญ่และมีความแตกต่างจากแองโกล-แซ็กซอน นายแพทย์ชาวอเมริกันคนหนึ่งในคริสต์ทศวรรษ 1850 กล่าวว่า “ลักษณะใบหน้า” (facial angle) เป็นสัญญาณของความเฉลียวฉลาดและบุคลิก และเปรียบเทียบ (Physiognomy) ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กับสัตว์ และกล่าวว่าเมื่อดูลักษณะใบหน้าของชาวไอริชแล้วก็จะคลายคลึงกับสุนัข, แยงกี้คลายคลึงกับหมี, เยอรมันกับสิงโต, ชนผิวดำเหมือนช้าง และชาวอังกฤษเหมือนวัว ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การการเหมารวมรูปทรงยังคงใช้กันมาจนถึงราวคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยมีตัวละครเช่น มัทท์, เจฟฟ์ และ จิกส์ และ แม็กกีที่ยังปรากฏในหนังสือพิมพ์หลายร้อยฉบับทุกวัน
การเหมารวมสำหรับชาวไอริชอื่น ๆ ก็รวมทั้งการเป็นผู้ขาดสติปัญญา และเป็นตัวตลกที่ผู้อื่นล้อเลียน ตัวอย่างก็ได้แก่ การล้อเลียนเกี่ยวกับ “ชาวอังกฤษ, ชาวไอริช และ ชาวสกอต” ที่มักจะจบลงด้วยการที่ชาวไอริชทำอะไรที่งี่เง่า
การเหมารวมชาวอิตาลี
การเหมารวมชาวอิตาลีที่นิยมกันมักจะเป็นความคิดที่ว่าชาวอิตาลีส่วนใหญ่จะเป็นคนรุนแรงโดยธรรมชาติ, ขาดความรู้, ขาดมารยาท และมักจะเกี่ยวข้องกับมาเฟีย ตัวอย่างของการใช้การเหมารวมเกี่ยวกับชาวอิตาลีปรากฏในละครโทรทัศน์ซีรีส์ “” ที่ถูกกล่าวหาโดยชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลีว่าเป็นการเผยแพร่การเหมารวมเกี่ยวกับชาวอิตาลี
การเหมารวมชาวโปแลนด์
การเหมารวมเกี่ยวกับชาวโปแลนด์จะออกมาในรูปของเรื่องตลกล้อเลียนเชิงเหยียดหยาม ซึ่งอาจจะมาจากตลกล้อเลียนชาวเยอรมันเชื้อสายโปแลนด์ที่หนีบรรยากาศของความเป็นอคติต่อชาวเซมิติคก่อนหน้าและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปราวปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ตลกล้อเลียนเหล่านี้มาจากความเดียดฉันท์ที่พรรคแนเชันนัลโซเซียลลิสต์ของเยอรมันพยายามเผยแพร่เพื่อที่จะเป็นการสนับสนุนว่าการทำร้ายหรือเข่นฆ่าชาวโปแลนด์เป็นสิ่งที่เหมาะที่ควร โดยการแสดงภาพพจน์ว่าชาวโปแลนด์ “dreck” — สกปรก, โง่ และ ด้อยกว่า และอาจจะเป็นไปได้ว่าตลกถากถาง
นอกจากนั้นก็ยังเป็นไปได้ว่าการล้อเลียนถากถาง (Polack) อเมริกันจากเยอรมนีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่สองใช้กันในบริเวณที่มีปัญหาชายแดนในไซลีเชีย
ชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์เป็นเหยื่อของความรู้สึกต่อต้านชาวโปแลนด์ในในรูปแบบของการใช้การเหมารวมมาเป็นเวลาหลายสิบปีตั้งแต่ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1920 ระหว่างการแบ่งแยกโปแลนด์ ชาวโปแลนด์เป็นจำนวนมากอพยพต่อไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อจะหนีการเบียดเบียนกันขนานใหญ่ที่เกิดขึ้นในโปแลนด์ เมื่อมาถึงสหรัฐอเมริกาก็จะมาทำงานทุกอย่างที่มีให้ทำซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานกรรมกร ฉะนั้นการเหมารวมชาวโปแลนด์จึงเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่เกี่ยวกับการงาน และยังคงดำรงต่อมาแม้จะก้าวเข้ามาเป็นคนชั้นกลางแล้วในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเหมารวมเชิงดูหมิ่นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชาวโปแลนด์ในทางลบ การเยาะเย้ยดังกล่าวโดยสื่อมวลชนทำให้ชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์เกิดปัญหาในความกังขาของความเป็นอัตตา (identity crises), การมีความรู้สึกว่าตนบกพร่อง และ การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง การเหมารวมเชิงลบต่อชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์ยังคงดำเนินต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน
การเหมารวมชาวยิว
ชาวยิวถูกเหมารวมตลอดในฐานะของปัญหาสังคมต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายร้อยปี ลัทธิความเป็นอคติต่อชาวเซมิติคดำเนินต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปีจนมาถึงจุดสุดยอดในสมัยที่นาซีปกครองเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ชายยิวยังคงมีการเหมารวมที่เป็นผู้มีความโลภ, ความจุกจิก และ ความใจแคบ ภาพที่แสดงก็มักจะเป็นภาพของคนนับเงินหรือสะสมเพชร ภาพยนตร์ในสมัยแรกมักแสดงชาวยิวเป็น “พ่อค้าเจ้าเล่ห์”.
ในการ์ตูนหรือการ์ตูนล้อเลียนชาวยิวมักจะเป็นภาพของผู้ที่มีผมหยิก, จมูกขอใหญ่, ปากหนา และสวม (Kippah) หรือหมวกปิดกระหม่อม วัตถุ, วลี หรือธรรมเนียมที่เน้นหรือเย้ยหยันความเป็นยิวก็ได้แก่, ผู้กำลังเล่นไวโอลิน, การทำสุหนัต, การต่อรอง และวลีเช่น “Mazel tov” (โชคดี), “Shalom” (สวัสดี) และ “Oy Vey” (อุแม่เจ้า) การเหมารวมอื่นก็ได้แก่รับบี, การบ่นและความคิดที่รู้สึกผิดเกี่ยวกับแม่ชาวยิว, (Jewish-American Princess) ที่หมายถึงผู้ที่ถูกตามใจและเป็นผู้นิยมวัตถุ และ (Nice Jewish Boy) ซึ่งจะขี้อาย
การเหมารวมชาวเอเชียตะวันออกและชาวเอเชียใต้
เป็นการเหมารวมชาติพันธุ์ (ethnic stereotype) ที่พบในวัฒนธรรมตะวันตก การเหมารวมโดยเฉพาะเกี่ยวกับชาวเอเชียตะวันออกก็เช่นเดียวกับการเหมารวมเกี่ยวกับชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่มักจะเผยแพร่โดยสื่อมวลชน, วรรณกรรม, ละครและงานสร้างสรรค์อื่น ๆ ในหลายกรณีสื่อมวลชนจะสร้างภาพพจน์ของชาวเอเชียที่มีอิทธิพลมาจากมุมมองจาก (Eurocentrism) ที่มีต่อชาวเอเชียแทนที่จะเป็นทัศนคติที่สะท้อนความเป็นจริงของวัฒนธรรม, ประเพณี และ พฤติกรรมของชาวเอเชียที่แท้จริง การเหมารวมนี้จึงมีผลสะท้อนในทางลบต่อการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นของชาวเอเชียผู้อพยพ, เหตุการณ์ปัจจุบัน, และ กฎหมาย ชาวเอเชียตะวันออกต้องประสบกับการการเลือกปฏิบัติ และตกเป็นเหยื่อของ (Hate crime) ที่มีสาเหตุมาจากการเหมารวมชาติพันธุ์เพราะการเหมารวมดังว่าส่งเสริมภาวะความเป็นอคติต่อชาวต่างชาติ (Xenophobia)
การเหมารวมชาวสเปนและละติน
การเหมารวมชาวสเปนและละตินมักจะปรากฏในสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ แต่มักจะถูกละเลยในสื่อมวลชนของสหรัฐ ถ้าจะปรากฏก็มักจะเป็นภาพพจน์ที่ไม่ถูกต้อง และเป็นลูกครึ่ง ถ้าเป็นลาติโนก็มักจะปรากฏเป็นผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่และไม่มีลักษณะเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ถ้ามีการอ้างอิงไปถึงประเทศที่มาก็มักจะเป็นเม็กซิโกหรือเปอร์โตริโกไม่ว่าจะมาจากที่ใดก็ตาม
การเหมารวมเกี่ยวกับเพศ
การเหมารวมเกี่ยวกับเพศหลัก
การเหมารวมความเป็นชาย
การเหมารวมความเป็นหญิง
การเหมารวมเพศทัศนะ
โดยทั่วไปและทัศนคติที่มีต่อเกย์, เลสเบี้ยน และ คนข้ามเพศ จะเป็นการเหมารวมทางลบที่สนับสนุนว่าการโจมตีหรือทำร้ายบุคคลในกลุ่มดังกล่าวเป็นการกระทำอันสมควรต่อเหตุผล หรือบางครั้งก็จะเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าว (Violence against LGBT people) กล่าวว่า “ผู้รณงค์สนับสนุนเกย์มักจะวิจารณ์การสื่อข่าวเกี่ยวกับการเดินพาเหรดเพื่อแสดงความภูมิใจในการเป็นเกย์ว่าสื่อมวลชนมักจะเน้นความสนใจในกรณีที่นอกรูปนอกแบบ (extreme) คือผู้ที่ชายที่เป็นสตรีจนเกินตัว หรือ สตรีที่เป็นชายจัด แต่จะไม่รายงานเกี่ยวกับเรา ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเพียงคนธรรมดาเหมือนกับผู้อื่นโดยทั่วไป”
เกย์
เกย์มักจะถูกเหมารวมว่าเป็นผู้ที่นิยมเรื่องเพศเชิงสำส่อน (promiscuous), ติดสุรา, ชอบเฮฮาและใช้ยาเสพติด และ เป็นผู้มีฐานะดี และมักจะเน้นความมีลักษณะที่กระเดียดไปในทางที่เป็นสตรี (Effeminacy)
เลสเบียน
หญิงรักร่วมเพศหรือสตรีผู้นิยมรักเพศเดียวกันแบ่งเป็นสองกลุ่ม “เลสเบี้ยนเชิงบุรุษ” หรือ “ทอม” (Butch) และ “เลสเบี้ยนเชิงสตรี” หรือ “ดี้” (Lipstick lesbians) ความสัมพันธ์มักจะเป็นรูปแบบของ “Butch and femme” หรือคนหนึ่งเป็นบุรุษ และ อีกคนหนึ่งเป็นสตรี
รักร่วมสองเพศ
รักร่วมสองเพศหรือผู้ชอบทั้งสองเพศจะเหมารวมว่าเป้นผู้ที่นิยมเรื่องเพศเชิงสำส่อน (promiscuous) และไม่ชอบที่จะมีความสัมพันธ์แบบผูกมัดกับผู้ใดโดยเฉพาะ
คนใคร่เด็ก
ผู้เป็นโรคจิตที่เรียกว่าโรคใคร่เด็กจะเป็นการเหมารวมผู้นิยมเรื่องเพศเชิงรุนแรงและจะสนใจที่จะร่วมเพศโดยเฉพาะกับเยาวชน
คนข้ามเพศ
การเรียกบุคคลว่าเป็นคนข้ามเพศ (Transgender) เป็นทั้งการขวางการเลือกเพศใดเพศหนึ่งและในขณะเดียวกันก็เป็นการประทับตาบุคคลดังกล่าวไปด้วยในตัว (self stigmatizing) ผู้ที่ไม่ได้เป็นอยู่ในกลุ่มเพศหลักสองเพศมักจะถูกเหมารวมว่าเป็นผู้ที่นิยมเรื่องเพศเชิงสำส่อน, เป็นโสเภณี และ ผู้ติดสุรา
คนแปลงเพศ
การเหมารวมคนแปลงเพศ (Transsexual) พบเป็นครั้งแรกในราวปี ค.ศ. 1850 ที่เป็นคำนามที่หมายความว่า “ภาพที่คงตัวโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง”
การเหมารวมภาวะด้านสังคมเศรษฐกิจ
การเหมารวมผู้ไร้ที่อยู่อาศัย
การเหมารวม (Homeless) มักจะเป็นผู้ที่มีปัญหาทางพฤติกรรม, ติดยาหรือติดสุรา, เกียจคร้าน, มีภาวะผิดปกติทางจิต และสกปรกและมีกลิ่น
อ้างอิง
- ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2553, หน้า 285
- Stereos, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, at Perseus
- Tupos, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, at Perseus
- Ewen and Ewen, Typecasting: On the Arts and Sciences of Human Inequality, 2006, 3-10.
- <Merriam-Webster's Dictionary of English Usage.> Springfield, Illinois: Merriam-Webster, Inc., 1994. p. 250.
- Hurst, Charles E. Social Inequality: Forms, Causes, and Consequences. 6. Boston: Pearson Education, Inc, 2007
- Jost, JT; Banaji, MB. (1994). "The role of stereotyping in system-justification and the production of false consciousness". British Journal of Social Psychology. 33: 1–27.
- Brewer, M (1979). "In-group bias in the minimal intergroup situation: A cognitive-motivational analysis". Psychological Bulletin. 86: 307–324. doi:10.1037/0033-2909.86.2.307.
- McAndrew, FT; Akande, A (1995). "African perceptions of Americans of African and European descent". Journal of Social Psychology. 135 (5): 649–655.
- Steele CM, Aronson J (November 1995). "Stereotype threat and the intellectual test performance of African Americans". J Pers Soc Psychol. 69 (5): 797–811. doi:10.1037/0022-3514.69.5.797. PMID 7473032.
- Aronson J, Steele CM. (2005). Chapter 24:Stereotypes and the Fragility of Academic Competence, Motivation, and Self-Concept. In Handbook of Competence, [ p. 436].
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
- "nanuq". Asuilaak Living Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2007-11-17.
- "ᓇᓄᖅ". Asuilaak Living Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2007-11-17.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
- Okorafor-Mbachu, Nnedi (2004-10-25). . Strange Horizons. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-14. สืบค้นเมื่อ 2006-12-03.
- Gonzalez, Susan (2001-03-02). . Yale Bulletin & Calendar. Yale University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-21. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-26. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
- Jackson Assails Press On Portrayal of Blacks (NYT)
- Darwin's Athletes: how sport has damaged Black America and preserved the myth of race By John Milton Hoberman
- "White Men Can't Jump": Evidence for the Perceptual Confirmation of Racial Stereotype Following a Basketball Game Jeff Stone, W. Perry, John M. Darley. Basic and Applied Social Psychology 1997, Vol. 19, No. 3, Pages 291-306
- The Ball Curve: Calculated Racism and the Stereotype of African American Men Ronald E. Hall Journal of Black Studies, Vol. 32, No. 1 (Sep., 2001), pp. 104-119
- Patricia J. Williams: "Racial Ventriloquism". The Nation. June 17, 1999. สืบค้นเมื่อ June 11, 2006.
- Kelly Whiteside; Andy Gardiner (2006-08-20). "USA needs to find the net". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
- Turner, p. 78
- http://news.bbc.co.uk/2/hi/8143780.stm
- Deconstructing Whiteness: Irish Women in Britain Mary J. Hickman, Bronwen Walter Feminist Review, No. 50, The Irish Issue: The British Question (Summer, 1995), pp. 5-19 doi:10.2307/1395487
- [1][]
- Kerry Soper, "Performing 'Jiggs': Irish Caricature and Comedic Ambivalence toward Asøsimilation and the American Dream in George McManus's Bringing Up Father." Journal of the Gilded Age and Progressive Era 4.2 (2005) : 72 pars. 30 Mar. 2007 online[].
- Tomasz Szarota, Goebbels: 1982 (1939-41) : 16, 36-7, 274; 1978. Also: Tomasz Szarota: Stereotyp Polski i Polaków w oczach Niemców podczas II wojny światowej; Bibliografia historii polskiej - 1981. Page 162.
- Christie Davies, The Mirth of Nations. Page 176.
- Dominic Pulera, Sharing the Dream: White Males in Multicultural America Published 2004 by Continuum International Publishing Group, 448 pages. . Page 99.
- The Movies, Race, and Ethnicity: Jews
- Kashiwabara, Amy, Vanishing Son: The Appearance, Disappearance, and Assimilation of the Asian-American Man in American Mainstream Media, UC Berkeley Media Resources Center
- Richard Rodrigue. "A CULTURAL IDENTITY".
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-11. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
- "Gay Stereotypes: Are They True?". ABC News. September 15, 2006.
- Online Etymology Dictionary
บรรณานุกรม
- Stuart Ewen, Elizabeth Ewen, Typecasting: On the Arts and Sciences of Human Inequality. New York (Seven Stories Press) 2006
- Stereotype & Society A Major Resource: Constantly updated and archived
- Social Psychology Network Stereotyping
- Media Awareness Network. What is a stereotype? 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Definition, role of stereotyping in the media, more links
- Regenberg, Nina (11 June 2007), , in mind (magazine) (3), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-30, สืบค้นเมื่อ 2009-10-17
{{}}
: CS1 maint: date and year () - Are Stereotypes True? 2009-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Stereotype Susceptibility: Identity Salience and Shifts in Quantitative Performance, Margaret Shih, Todd L. Pittinsky, Nalini Ambady 2018-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Research about the effects of 'positive' and negative stereotypes on encouraging/discouraging performance.
- Turner, Chris (2004). Planet Simpson: How a Cartoon Masterpiece Documented an Era and Defined a Generation. Toronto: Random House Canada. ISBN .
- Crawford, M. & Unger, R. (2004). Women and Gender: A Feminist Psychology. McGraw Hill New York. New York. 45-49.*
- Spitzer, B.L., Henderson, K, A., & Zavian, M. T. (1999). Gender differences in population versus media body sizes: A comparison over four decades. Sex Roles, 40, 545-565.*
- Terracciano A, Abdel-Khalek AM, Adám N; และคณะ (Oct 2005). "National character does not reflect mean personality trait levels in 49 cultures". Science. 310 (5745): 96–100. doi:10.1126/science.1117199. PMID 16210536.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list ()
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- Social Psychology Network Stereotyping
- Understanding Stereotypes 2008-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Educational information about stereotypes.
- SEPARATING the GOLD from the DROSS: a guide to multicultural literature 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Media Awareness Network. What is a stereotype? 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Definition, role of stereotyping in the media, more links
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karehmarwm xngkvs Stereotype khux hruxthsnkhtikhxngsngkhmthwipthimitxklumkhnxun chatixun hruxlksnakhxngbukhkhlbangpraephthcnklayepnmatrthan miphunthanmacakkarsrupexacakkhxsmmutiphunthanthimiaenwonmthiepnxtwisyecahnathitarwcsuxodnthkbkaaef epnhnungintwxyangkhxngkarehmarwmphvtikrrminthwipxemrikaehnux karehmarwmekidkhuncakkhwamkhidthikhunekhythangmonthrrm echn cakphvtikrrmbangxyang hruxlksnaphiessxnaetktangcakphuxunthipraktaelaepnthisngektxyuchwrayaewlaxnyawphxpraman karthiaenwkhidthangwthnthrrm Meme caklaymaepnsingthiyxmrbknodysngkhmodythwipid karehmarwmimxaccaepnaenwkhidthiphidipthnghmd aelacatxngmixngkhprakxbthisngkhmyxmrb Social recognition karehmarwmmiidichaetechphaaklumkhnaetxaccaichinsthanakarnthiekidkhunxyangsmaesmxcnsamarththanayphlthicaxxkmaid karehmarwmxaccaepnidthng di aela imdi aetaenwkhidthangkhxngkarehmarwmswnihyaelwyakthicaesnxphaphphcnthangbwkkhxngklumchnthimakhxngkhakhawa stereotype macakphasakrik stereotypos thiaepltrngtwwa singthiaekhng thiekidcakkarrwmkhawa stereos stereos thiaeplwaaekhnghruxaenn kbkhawa typos tupos thiaeplwaprathbepnrxy sungepnkhathikhidkhunodychangphimphchawfrngess Firmin Didot thihmaythungphaphthiphimphcaktnchbbthinamaichinkarphimphaethnthicaichtwtnchbbepntwaebbodytrng txmankhnngsuxphimphxemrikn Walter Lippmann epnphurierimnakhanimaichepnxupma odybrryaykarehmarwmwaepn phaphphcninsmxng aelaklawwa imwacathukhruxphid cintnakarepnrupepnrangkhunmacaksingthiprasb phlkhuxkarehmarwmthiekidkhunthiyakthicakacd 1922 95 156 xnthicringaelwthng sanwncaec cliche aela karehmarwm macakkhathiichinwngkarkarphimph aelamikhwamhmayediywkn sanwncaec macakphasafrngesssahrbphunphiwsahrbkarphimphdwy stereotype twxyangkhxngkarehmarwmkidaektwlakhrichlxkinbthlakhr The Merchant of Venice odywileliym echksepiyrthithaxanxyangphan kcamibukhliktang thithuxwaepnkarehmarwmxnepnthinarngekiyckhxngsngkhmthimitxchawyiwepntnsaehtunksngkhmwithyaechuxwakarcdklumthangcitwithya hrux epnsingcaepnaelasingthihlikeliyngimid thsnkhtihnunginkarthakhwamekhaicinkrabwnkarsrangkarehmarwm khuxkarekhaickhwamaetktangrahwang klumin Ingroup aela klumnxk Outgroup phuxyu klumin cathuxwaepnphupktiaelamikhunsmbtiehnuxkwa aelaodythwipaelwcaepnklumthimiphuthimikhwamrusukwaepnswnhnungkhxnghruxmiphutxngkarthicaepnswnhnungkhxngklum swn klumnxk hmaykhwamngay waepnphukhnthixyunxkklum thimkcaehnknwadxykwaphuthiepnswnhnungkhxng klumin xikthsnahnungepnkrabwnkarthiekidkhunodyxtonmti aela odymiidcngic karsrangkarehmarwmodyxtonmtihruxcakcititsanukepnkarkrathathithaknthukkhnodyimidsngekt krabwnkarnimkcatammacakkarsngektcaksingaewdlxmodykarrwbrwmkhxmulaelakaraekikhkhxmulkxnthicathakarsrupepnkarehmarwm karsrangkarehmarwmodyxtonmtiepnphlmacakkarsngektphvtikrrmcaksingaewdlxmthiklaymaepnkhwamkhidthiphthnaipepnkarehmarwmkhxngcititsanuk thsnathisaminkarthakhwamekhaickhwamkhidekiywkbkarehmarwmkhuxkarcdepnpraephththwip aelapraephthrxng karehmarwmprakxbdwyrabbradbchnthiprakxbdwyklumthwipaelaklumechphaatamladb klumthwipxaccahmaythungklumkwang thiepnthiruckaelaepnthiyxmrbknodythwip khnathiklumrxngcaepnhnunginklumyxyphayinklumthwip klumrxngcaepnklumthiechphaaecaacng aelathsnkhtithimitxklumkcaaetktangknxxkiptamaetthsnkhtikhxngaetlamummxng saehtuhnungthithaihekidkarsrangkarehmarwmkhuxkarthicaekhaickhwamsbsxnkhxngrabbsngkhmthnghmdepnsingthithaidyak aemwakarehmarwmcaepnsingthiimthuktrngtxkhwamcring aetepnsingthisadwktxsmxng karcdklumepnkhwamsamarthxnsakhykhxngmnusyephraaepnekhruxngmuxthichwythaiheraekhaic samarththanayphvtikrrmkhxngsngkhmid aelacdrabbtang khxngsingaewdlxmrxbtwid emuxcdekhaepnklum aelwerakmkcahlikeliyngkarwicykhxmulihmhruxkhxmulthiekhamaodyimidkhadlwnghnakhxngbukhkhlaetlakhn karcdlksnathiepnkhxngklumthwipihaeksmachikkhxngklumepnokhrngsrangthangkhwamkhidthichwyinkarprahydewlainkarthicaekhaicsngkhm aelathaihsamarththaihthanayphvtikrrmkhxngsngkhmidngaykhun odythwipaelwmnusyswnihymkcaichkarehmarwmephuxsnxngkhwamtxngkarthangcitwithyathicatxngsrangkhwamrusukdiihaektnexng Self karehmarwmphithksxttacakkhwamkngwlaelasngesrimkhwamechuxmnintnexng self esteem karcdtnexngihxyuinklumthithuxknwaepnklummatrthanhruxklumpkti aelacdphuxunihxyuinklumthithuxwadxykwahruxphidpktithaihphunnmikhwamrusukwatnexngmikha sense of self worth xiththiphlcakprasbkarnemuxyngepnedkepnpccyxnmixiththiphlaelaxnsbsxntxkarphthnakarehmarwm aemwakarehmarwmcaepnsingthiekidkhunemuxidkidaetmkcaerimekidkhuntngaetwyedktxntnphayitxiththiphlkhxngbidamarda khrubaxacary ephuxn aela miediy emuxfngicaelwkcaklaymaepnkhwamechuxkhxngtnexngtxma thvsdihlayththvsdithangwithyasastrphthnamacakkarsuksathangsngkhmwithyaekiywkbkarsrangkarehmarwmaelakarsrangxkhti prejudice karsuksainsmyaerk echuxknwahruxesnxwakarehmarwmepnsingthiekidkhunechphaainhmuphumiraebiybwiny ekhrngkhrd chxbichxanac authoritarian aelakhadkhwamyudhyun ekbkd nksngkhmwithyasrupwamisaehtumacakkhwamkhdaeyng karmacakkhrxbkhrwthiidrbkhwamkddncakbidamarda aela khwamkhadkarphthnathangsmxngaelathangxarmnxnephiyngphx aetinpccubnkhwamechuxniepnkhwamechuxthilasmy nkwithyasastraelankthvsdiinpccubnsrupwakarehmarwmimaetcaekidkhunethann aetepnsingthidarngxyuxyangimcbimsininkrabwnkarkhidkhxngmnusy sthanphaphaewdlxmbangxyangkxaccaepnxikpccyhnungthimiphltxkarsrangkarehmarwmkhxngaetlabukhkhl twxyangechnngansuksathiaesdngihehnwastrisrangkarehmarwminthanglbmakkwachay aelastricaxanlksnarupranghnatamakkwachay nkthvsdibangthankhanaelasnbsnunkhwamechuxmoyngkhxngkhwamkhid prasbkarn aelaechuxwakhwamkhidechinglaexiyngtxbukhkhlidbukhkhlhnungkepnkarephiyngphxthicasrangthsnkhtitxbukhkhlnn nkthvsdithanxunklawwaxyangnxythisudkcatxngmikhwamsmphnthrahwangsthanathangciticaelaphvtikrrminkarthicasrangthsnkhtihruxsrangkarehmarwmkhunmaid karsrangkarehmarwmepnaetephiyngthvsdithimiidmirakthanmacakehtukarnaewdlxmthiphisucnid twxyangthiehnidchdkhxngkarehmarwmkhuxkarsrupxyangimthuktxngkhxnglksnaphayincaklksnarupranghnatathiehnphaynxk khaxthibaykhxngphvtikrrmkhxngbukhkhlepnsingthiekidcakphayin thirwmthngwtthuprasngkh khwamrusuk bukhlik lksnaechphaatw ehtuphl khaniym aela khwamrusukchwaeln impulses miichmacaklksnarupranghnatathimxngehncakphaynxk nksngkhmwithyacharls xi ehirsthaehngwithyalywusetxrklawwa saehtuhnungkhxngkarehmarwmmacakkarkhadkhwamsmphnthodytrng hrux khwamruthiepnchinepnxnekiywkbbukhkhlhruxklumchatiphnth karkhadkhwamsmphnthodytrngthaihphuehmarwmcdrwmbukhkhlthiimruckdiekhadwyknepnklumbukhkhlthikhadkhwamepnexkbukhkhl sakhakarsuksaaetlasakhakmithvsdiekiywkbkarphthnakhxngkarehmarwmthiaetktangknxxkip nkcitwithyacaennprasbkarnkhxngbukhkhlthimitxklumbukhkhl aebbaephnkarsuxsartidtxkbklumbukhkhl aela khwamkhdaeyngphayinklum swnnksngkhmwithyacamxnginaengkhxngkhwamsmphnthrahwangklumtang aelataaehnngkhxngaetlakluminokhrngsrangkhxngsngkhm nkmnusyniymechingwicycitwithya Psychoanalytically oriented humanists echnaesnedxr kilaemnkcamikhwamehnwakarehmarwm tamkhwamhmay epnsylksn representation khxngklumthiimtrngtxkhwamepncringaetepnkhwamkhid projection khxngklumthimitxkn karehmarwmepnsylksn representation khxngklumthiimtrngtxkhwamepncringthiekidkhunephuxepnekhruxngmuxinkarihkhaxthibaythungkhwamaetktangrahwangklum hrux system justification thanathangsngkhm hrux taaehnngkhxngklumepnekhruxngaesdngenuxhakhxngkarehmarwm miichlksnakhxngbukhkhlaetlakhn hruxkhxngsmachikaetlakhnkhxngklumthiaethcring klumthimisiththithangsngkhmaelathangesrsthkicnxykwaklumxuncaepnklumthiidrbkarehmarwmthiepnkarsnbsnunehtuphlthungsaehtuthiepnklumthithuxknwadxykwaphuxun echnepnklumthimiphuminganthanxykwaklumxun saehtuthismachikinklumthithuxwaepnklumthidxykwaprasbkbkhwamyaklabakinkarhanganthaxaccaxaccaekidcakkhwamlaexiyngthiekidkhunphayinklum cakkarthuxphiw hruxcakpccythangxanacthangsngkhmthiekiywkhxng aetkrannsmachikinklumnikcathukklawhawaepnphuthi khadkhwamkratuxruxrn echninkhwamehnthiwa thacaphyayamhacring kcahaid khadkhwammistipyya echninkhwamehnthiwa khngchladimphxthicathanganid aela ekiyckhran echninkhwamehnthiwa khngcachxbkhxngekhakinaethnthicathangan karehmarwmcaennkhwamkhwamaetktangrahwangklumxyangekinelycakkhwamepncring nxkcaknninkarcdladbkhxngklumaetlaklum kyngepnekhruxngmuxinkarldlksnakhwamkhlaykhlungknrahwangklum aelacaephimkarmxnghakhxaetktang aelaennkhwamaetktangyingkhunipxik krnithiwaniduehmuxnwaklumthiducaaetktangknmakxnthicringaelwepnklumthikhlaykhlungknmakkwathicaaetktang twxyangechninbrrdachawaexfriknxemrikn thikhwamepnphlemuxngxemrikncaednchdkwakhwamaetktangkhxngphiwsunghmaykhwamwachawaexfriknxemriknmikhwamepnchawxemriknmakkwathicaepnchawaexfrikn aetkrannphayinwthnthrrmxemriknchawxemriknphiwda aelachawxemriknphiwkhawkyingmxngehnknwaepnchnsxngklumthiaethbcaimmikhwamekiywkhxngknphlkrathb khwamtrngtxkhwamepncring khwamhmaykarehmarwmxaccaepnidthngaenwkhidthangbwkaelathanglbthimitxbukhkhl occhw xarxnsn aela khlxd exm stilphuthakarsuksaphlkrathbkraethuxnthangcitwithyatxchawaexfriknxemriknaelastri klawwakarkhnkhwathangcitwithyaphbwabukhkhlinsxngklumnimikhwamsamarthinkarottxbkbsthankarnaelakhwamsmphnthkbphuxunsung xarxnsn aela stilklawthungtwxyanghnungthiphbwakarihpxnkhxmulklb feedback thiimtrngtxkhwamcringtxnksuksawithyalymiphltxkhaaennkarthdsxbradbechawnpyyaxyangphidpkti aelaxikkhxhnungemuxnksuksaidrbkarchmechywaepnphumistipyya epnphumimana hrux epnphuthakhaaennidsung khaaennkhxngklumthiidrbkarchmechywaepnphumistipyyacatakwaklumxunxyangehnidchd xarxnsn aela stilechuxwamisaehtumacak khwamlaexiyngekiywkbkhwamsamarthodykaenid innate ability bias phlkrathbkraethuxndngklawmiidekidkhunechphaaaetkbklumchnklumnxy nksuksachayphiwkhawphumikhwamsamarthechingkhnitsastrswnihyepnnksuksakhnitsastraelawiswkrrmsastridrbkarthdsxbkhnitsastrthikhxnkhangyak klumhnungidrbkarbxkwawtthuprasngkhkhxngkarthdsxbkephuxhakhatxbthungsaehtuthinksuksachawexechiyidkhaaennsungkwa klumthiwanithakhaaenntakwaxikklumhnungxyangehnidchd pccythithaihekidkhwamkhwamlaexiyngkhxngkarehmarwmxaccamacak karihehtuphlsnbsnunkhwamlaexiyngxnimphunthan hrux khwamkhadkhwamru karimetmicthicaepliynaeplngthsnkhtihruxphvtikrrmthimitxklumthithukehmarwm karkidknbukhkhlbangkhncakklumthithukehmarwmcakkarekhaepnswnhnung hrux cakkarprasbkhwamsaerckhxngkickrrmhruxsakha phlkhxngkarichkarehmarwmxaccaphnphwn aetswnihyaelwcaxxkipinthanglb aelacaepnsingthiimaecmaecngcnkrathngewlaphanipchwkhnahnung inchwewlathiphanipehyuxkhxngkarehmarwmbangkhnkcamiphvtikrrmtamthiehmarwmiw enuxngmacakkhwamehnthiwakarehmarwmepnphvtikrrmpktiinkareliynaebb phlinthanglbkrwmthngkarsrangthsnkhtithiimthuktxngekiywkbklumkhn karepnaepharbbap karsrupkhwamehnxyangphidphid karpxngkntnexngcakkarthakhwamekhaicthangxarmn aela karthaihprasiththiphaphkhxngkarthakickarldthxylng karichkarehmarwmepnekhruxngetuxnstiphuthukediydchnththungthsnkhtikhxngsngkhmthimitxtnkdinsilpaaelawthnthrrmkarehmarwmpraktodythwipinrabbkarsuxthangwthnthrrmtang inrupaebbkhxngkarsrang Stock character twlakhrpraephthniphbinnganekhiynbthlakhrkhxng dariox of aela phusrangnkaesdngkarehmarwmephuxephimkhwamepnnatkrrmihmakyingkhun in Commedia dell arte kechnkn karehmarwmthisrangphaphphcnthiepnthiekhaicodyphurb phuchmidthnthiepnekhruxngmuxthimiprasiththiphaphinkarichinkarokhsna aela lakhrhrrsa Situation comedy karehmarwmehlaniepnsingthiepliynaeplngiptamkalewla echninpccubntwlakhrechingkarehmarwmephiyngsxngsamtwethanninngan The Pilgrim s Progress ody thiyngepnthiruckaelaekhaicodyphuxan thangdanwrrnkrrm aela silpa karehmarwmkhuxtwlakhrhruxsthankarnthi dasdun hruxthanayid tlxdmainprawtisastrnkelaeruxng Storyteller mkcaelaeruxngthimiphunthanmacaktwlakhrhruxsthankarnechingkarehmarwmephuxepnekhruxngsrangkhwamsmphnthxnrwderwkbphufng bangkhrngkarehmarwmbangxyangkcaepnkarehmarwmthisbsxnaelachnsung complex and sophisticated echnintwlakhrichlxkinbthlakhr ewniswanich odywileliym echksepiyr aetkklawidwaemuxkarehmarwmklayepnkarehmarwmthisbsxnaelachnsungkxaccathaihyutikhwamepnkarehmarwm odytrng ephraakhwamthiklaymamikhwamepnexklksnkhxngtnexngaethnthicaepnlksnadasdunodythwip aemwatwlakhrichlxkyngkhngthuxwaepntwlakhrthithuxwaimthuktxngthangkaremuxng politically unstable ephraaepntwlakhrthisrangphaphphcnaebbkarehmarwmkhxngchawyiw aethweruxngkhxngkaraesdngkareyaaeyyediydchnth prejudice chawyiwinsmykhxngechksepiyr aelaraylaexiydxun ekiywkbichlxkepnkarykthanatwlakhrkhuncakkhwamepnkarehmarwmodythwipmaepntwlakhrthimiexklksnepnkhxngtnexngthikhwrkhaaekkaraesdnginsmypccubn lksnakhxngtwlakhrthixaccathuxwaepnlksnadasdunimcaepntxngepntwlakhrthiepnkarehmarwmesmxip aemwaraksphthrahwang karehmarwm aela cliche caiklekhiyngknaetkhasxngkhanicaimichslbkninechingwthnthrrm twxyangechnkarichsanwncaecduncaidrbkarwicarnin narratology khnathi karcdpraephth genre aelakarcdklum categorization cahmaythungeruxngrawthiekiywkhxngkbklumthiepnthiruck karbrryaysthankarnaelatwlakhrineruxngwami lksnathwip typical kethakbwaehmaakbpraephthidhruxklumidklumhnung aetthaphuelaeruxngich cliche inkarelaeruxngkethakbepnkarichlksnathiphiwephin immikhwamsbsxn aelathaiheruxngthielakhadkhwamepnkhadkhwamepntnchbb karwicarnkarhlbhnithiduthathiimnacaepnidkhxngecms bxndodyexiyn eflmmingwaepn karehmarwm epnsingthiphuxanhruxphufngekhaic aetcaepnkarehmaasmkwathaklawkarhlbhnithiwaepnlksna dasdun ephraaepnkarhlbhnithiichbxyaelaeliynaebbknipcnekinip karelaeruxngmkcakhunxyukbkarich lksnathwip typical ephuxihphuxan phuchmruckhruxekhaicidthnthi sithkhxmekiywkywyrun prakxbdwytang inklumedkwyrunechntwtlk class clown daw jock enird nerd echiyrlidedxr striniym feminist aela sawaefchn nxkcaknnkmiphutngkhxsngektwanxkcakcasrangtwlakhrepnechingkarehmarwmaelwsithkhxmniyngsrangkarehmarwmkhxngsthabnihskulexngdwy karehmarwmihskulthangothrthsnmkcaepn lksnathwip khxngorngeriynxemriknthicaepneruxngekiywkbxemriknfutbxl aefchn khwamsmphnthrahwangwyrunhyingchay aelamkcaimklawthungkarsuksa nxkcaknnaelwkrinwxldaelabanaciinnitysar Psychological Review kyngxthibaywainphaphyntrhruxsuxxun camikarich lksnaethidthun Halo effect echninkarsrupxyangkwang wahyingaelachaythimirupranghnatadicaepnphuthimikhwamsukh mikhwamaekhngaerng aelamibukhlikdikwaphuxunkarehmarwmchatiphnthuaelaechuxchatichnphunemuxnginthwipxemrika inshrthkhwamaetktangkhxngklumchatiphnthutang odyechphaachnklumnxythitangchatiphnthumirakthanmatngaetemuxerimkarkxtngepnxananikhmaelw erimtngaetemuxnkxananikhmerimmikartidtxepnkhrngaerkkbchnphunemuxnginthwipxemrika karehmarwm khnpaethuxn the savage kerimkhun insmyaerkchawyuorpkykyxngwaepn xnarychnthimixarythrrm noble savages ephraakhwamsamarthinkardarngchiwitxyuinsphawathiyaklabaktamsaytakhxngchawyuorpid aettxmaemuxkartngthinthankhyaytwxxkipthangtawntkmakkhun chnphunemuxngkklaymaepnxupsrrkhtxkarkhyaytw phaphphcncungklayepnphaphphcnthanglb suxmiediyksrangphaphphcnkhxngchnphunemuxngwaepnphupaethuxn irwthnthrrm aelaohdray aelamkcabukekhamaocmtiphutngthinthanphiwkhaw khawbxy aelarthma aelakuohyhwnodyexamuxpxngpak ewlasnthnakcaphuddwyesiynghawtaaelaichkhaechn How hrux Ugh inkartun hrux phaphyntrkartunchnphunemuxngxemriknmkcawadepnsiaedngcd aelacaeriykknodythwipintawntkwa xinediyn twxyangkhxngkarehmarwmkhxngchnphunemuxngxemriknphbidinmiediytang khxngtawntkmacnthungtnkhristthswrrs 1960 karehmarwmxunkepnphusubklxng phuthithasiepnlwdlaybnibhna phuthietnrarxbesaothethmthimkcamiechlymdxyukbesa phusngsyyanthithadwykhwn phudarngchiwitxyuinkraocm phuswmekhruxngpradbsirsathiepnkhnnk aela phucathlkhnnghwstruepntn hlngcakkarkhyayxananikhmdaenintxipinshrthxemrikachnphunemuxngxemriknkthukaebngepnklumyxylngipxikechn khrisetiyn hrux hiethn phunbthuxsasnakhrist phumixarythrrm aela khnpaethuxn aenwkhidehlaniichewlaephiyngrawsibpikklayepnhlkkhwamkhidkhxngchawxemriknxyangaennhna karehmarwmchnphunemuxngxemrikncungmirakthanmacakkhwamkhidthierimkhunodynklaxananikhmthisrangphaphphcniwinthanglbechnepnphupaethuxnaeladuray khnphiwkhawhlaykhnmithsnkhtiwachnphunemuxnginthwipxemrikaprascakkarkhwbkhumtnexngaelaimsamarthrksakhwamrbphidchxbid mlkhxlm di ohlms aela cudith ex xnethlltngthvsdiwathsnkhtitxchnphunemuxngechnnnepnrakthankhxngprchyathiichkninpccubninkarhaehtuphlsnbsnunkhwamaetktangrahwangchawxemriknphiwkhawaelachnphunemuxng inpccubnkarehmarwmkhxngkhriststwrrsthi 19 txchnphunemuxnginthwipxemrikayngkhngepnthsnkhtithithuxxyuinklumkhnepncanwnmak aetemuximnanmanirthbalshrthxxkkdhmayihmephuxepnkarchdechysingthisuyesiyipkhxngchnphunemuxngxemriknodykarxnuyatihmikarsrangkhasionaelakarharayidcakkhasionthiimxyuphayitkarkhwbkhumkhxngkdhmayshrth karehmarwmihmcungepnphuepnecakhxnghruxyatikhxngphuepnecakhxngkhasion karaesdngphaphphcnkhxngchnphunemuxngsmyihmcungaethbcaimpraktinwthnthrrmsmyniymnxkipcakepntwlakhrinphaphyntreruxng thiepnkarehmarwmkhxngphurkxisra hrux phaphyntreruxng thiepnkarehmarwmkhxngphumiwthnthrrm rksngb aelaphuxyurwmkbthrrmchati karehmarwmchawxiniwxith karehmarwmchaw Inuit hrux Eskimo mkcaepnphuaetngtwdwy Anorak sungepnesuxkhlumhnathadwyhnngstwthimithikhlumsirsa swmekhruxngtkaetng xasyxyuin bannaaekhng lapladwy edinthangdwythidungdwy kin aelaphuchaycachux Nanook ᓇᓄᖅthiaeplwahmikhawcakphaphyntrsarkhdieruxng edkexskiomkmkcamiaemwnaepnephuxnkhuic aelamkcaechuxknwachawmikhathiichsahrbkhawahimaepncanwnmakmaysungepntananchawemuxng Urban legend bangkhrngkcaaesdngepnphaphkhxngphuthicaexacmukmasiknemuxphbpakn aelamkcalxmrxbdwyhmikhaw wxlrs aelaephnkwin sungimthuktxng ephraankephnkwinxyuechphaain imichkhwolkehnux hruxbangkhrngkcaaesdngphaphwaexskiomphankxyuthikhwolkitsungimthuktxngdwyehtuphlediywkn aelacaklawknwakhixay karehmarwmchnphiwda karehmarwmchnphiwdainyukhaerk Early Minstrel show aesdngphaphphcnkhxngchawaexfriknxemriknwaepnphuimmistipyya raylaexiydcakhnapk The Celebrated Negro Melodies as Sung by the Virginia Minstrels kh s 1843 inkhriststwrrskxnhnaniaelarahwangkhrungaerkkhxngkhriststwrrsthi 20 chawaexfriknxemriknmkcaaesdngepnphaphkhxngphuthingienga khiokng ekiyckhran miklinimdi khadwthnthrrm aelaimepnkhrisetiyn nkxananikhmrunaerk khxngxngkvsnathsnkhtithiwachnphiwdaepnphuthidxykwachnphiwkhawtidtwmaemuxmatngthinthaninthwipxemrika thsnkhtiniethakbepnehtuphlsnbsnunwakarepnthaskhxngchnphiwdaaelakarxxkkdhmayhlaychbbthisnbsnunkarlngothsxnkhadmnusythrrmepnsingthiehmaasm aelaepnehtuphlthiichinkarkdkhichnphiwdainxyuinsthanphaphthangesrsthkicsngkhmthitakwaxyuepnewlanan chnphiwdamkcaaesdngepnphaphkhxngphuepnthas hruxphurbich thanganinir xxy hruxaebkkrasxbfay phuekhrngkhrdinsasnakhristaelamkcaipobsthepnpraca aelacarxngephlngkxsepl in vaudeville thinkaesdngcathahnada kartun aelaphaphyntrkartunkhxngyukhnichnphiwdacaepnkarehmarwmphuthiesra ekiyckhran khiethx thimipakhnaaelarxngephlngblus aelaetnraekng aetcatunetnthaehnkarelnluketa tiik hrux kinaetngom lksnakarehmarwmxikxyanghnungkhxngchnphiwdacaepnphumikhwamsukhrksnukxyutlxdewla echnintwlakhrechn hrux bukhlikbnewthikhxngphumikhwamsnukkhxnghluys xarmstrxng karehmarwmthiepnthiniymknxikxnhnungcaksmynikhuxchnphiwdaklwphi aelacaklwcntwkhaw kmkcaepnkhnphiwda hruxaembankmkcaepnstriwyklangxwnihyswmkraoprngban echnemuximnanmaniinphaphyntreruxng Big Momma s House edkphiwdamkcaepnedkimmikiriya karphudkcaepnsaeniyngphasaechphaaklum chnphiwdainaexfrikamkcaepnkarehmarwmphuthiyngepnbrrphkal primitive irediyngsaehmuxnedk duray aelaxyuknepnklumepnepha thuxhxk mikhwamechuxineruxngphxmdhmxphi witchcraft aelanbthuxphxmd nklaxananikhmphiwkhawkcaepnphaphkhxngphuthilxlwngchnphiwdaodykarhlxkkhaykhxngkracukkracikepnkaraelkepliynkbsingmikha aela hruxthaihhwadphwakbkhwamkawhnathangethkhonolyi twxyangthiehnidchdkhux twxyangthiehnidchdkhuxtwlakhrin emuxchnphiwkhawthukcbidodychnphiwdakmkcathuknaipiwinhmxdaihyephuxcaexaiptmkin hruxbangkhrngkcaepnphaphphcnthiepnthimiphvtikrrmehmuxnedkephuxcaidlxeliynidwamilksnaehmuxnedk karehmarwmxikxyanghnungkhuxchayphiwdathitkaetngibhnadwyaepnbnrimfipak lip plates hruxkraduksxdbnsncmuk swnhyingphiwdakcaepnhyingthiepluxyhnaxkthimikhnadihy aelaknthimikhnadihykwapkti hruxstrichaw thiiswngaehwnsxnknsungbnkhxthiyawehmuxnyiraf echnediywkbstrikayninphma rthmntrikrathrwngtangpraethskhxngshrthxemrikarklawsnbsnuninpraedneruxngkarmithasinpi kh s 1844 wa karsuksathangwithyasastr epnsingthiphisucnaelathungkhwamcaepninkarmithas aexfriknimmismrrthphaphinkarduaeltnexngaelatkxyuinphawawiklcritemuxidrbpharakhxngkarmiesriphaph karihkarphithksaelapxngkncakkhwamtaythangcitwithyacungthuxwaepnkrunakhun aemwahlngcakkarelikthasaelwechawpyyakhxngchnphiwdakyngkhngepnsingthiepnkhxsngsyknxyu hluys ethxraemnekhiynin The Measurement of Intelligence karwdechawpyya 1916 wa eyawchnphiwdaaelachnklumnxytangchatiphnthuxun imsamarththicarbkarsuksaaemcakhntathisudid immiprimankhxngkhwamphyayaminkarthicasxnethaidthisamarthcathaihklayepnphumiesiyngeluxktngthimipyyaid hruxepnphlemuxngthimismrrthphaphidtammatrthanodythwip khwamsumesuxngduehmuxncamacakephaphnthu hruxxyangnxykepnsingthimacakkhrxbkhrw eyawchninklumnikhwrcaidrbkaraeykepnchnphiess aelaihkarsuksathiepnrupthrrmaelaichnganid eyawchnehlaniimmismrrthphaphinkareriynruthangnamthrrmaetsamarththaihepnkhnnganthimiprasiththiphaphid inpccubnkarthicahwanlxmsngkhmihyxmrbkhwamkhidthiwaphwkekhaehlaniimkhwrthicaidrbkarxnuyatihsubphnthutxipnnepnipimid aemwacakmummxngthangdansuphnthusastr Eugenics caklayepnpyhahnkephraakarsubphnthuxndkphidpkti khxngchnklumni karehmarwmchnphiwdainpccubn tngaetkhristthswrrs 1960 epntnmakarehmarwmekiywkbchnphiwdakepliynipinmiediybangpraephththixxkipinechingbwk odykaraesdngphaphphcnkhxngchnphiwdaaelachawaexfriknxemriknwaepnphumikhwamthndthangdankarkila karrxngephlng aela karetnra inphaphyntrhlayeruxnghruxraykartxenuxngthangothrthsntngaetkhristthswrrs 1970 chnphiwdacapraktepnphuthimixthyasy xupnisydi mikrunakhun suxstysucrit aelamistipyya aelaodythwipcaepntwrxngthiepnephuxnthidikhxngtwexkkhxngeruxng echninphaphyntreruxng Miami Vice rikkskhnmhakal Lethal Weapon hrux Magnum Force nkwicarnbangthanmikhwamechuxwakhwamthuktxngthangkaremuxng political correctness epnekhruxngmuxthinaipsukarsrangkarehmarwmchnphiwdaipinthangbwkcnekinip phukakbphaphyntrchawaexfriknxemriknsipkh liichkhawa Magical negro thiklaymaepnkhathiichknxyangaephrhlayinkarbrryaykarehmarwmdngwa liklawepnechingeyaathung archetype khxngkarehmarwmchnphiwdathiaesdngchnphiwdaaebb super duper magical negro niokrelislxyfa emuxthkethiyngeruxngkarsrangphaphyntrkbnksuksathi aelathi mhawithyalyeyl cakkarsarwcmiediyinpi kh s 1989 phbwachnphiwdamakkwachnphiwkhawcaidrbkhwambrryayinechingehyiydineruxngechawpyya nktxsukaremuxngaelankethsnchawaexfriknxemriknklawinpi kh s 1985 wakhawsuxsarmwlchnmkcaaesdngchnphiwdainrupaebbthimikhwam dxythangstipyyakwakhwamepncring phukakbphaphyntrsipkh liihkhaxthibaywaphaphphcndngwanimiphlkrathbkraethuxninthanglb inchumchnkhxngphm eraethidthunnkkila phuchaythihaidphuhying aela phumistipyya aetphaphphcnthiepnthiniymkncaepnkarehmarwmchnphiwdathixasyxyuintwemuxng inner city mirayidta aela mikarsuksanxykwachnphiwkhaw aemaetphaphphcnthieriykknwaphaphphcnthangbwkkhxngchnphiwdakyngthaihekidkarehmarwmradbechawpyya inhnngsux Darwin s Athletes how sport has damaged Black America and preserved the myth of race ithy nkkilakhxngdarwin withithikarkilasrangkhwamesiyhaytxchnphiwdaxemrikn aelarksakhwamluklbkhxngchatiphnthu klawwankkilaphumichuxesiyngchawaexfriknxemriknsnbsnunprchyakhxngkarldkhwamsakhykhxngkhwamsaercthangkarsuksainprachakhmchnphiwdaexng inpi kh s 1997 karsuksaeruxngkarehmarwminwngkarkila nkkhnkhwaaesdngphaphnkbasektbxlphiwkhaw aelankbasektbxlphiwdaihphurwminkarsuksaiddu caknnkihfngkarkracayesiyngthixdiwlwnghnakhxngkilabasektbxl phaphnkbasektbxlphiwkhawidrbkarcdladbwaaesdngkhwammiechawpyyainkarelnekmsungkwaphaphnkbasektbxlphiwdamak aemwaphubrryaykarelnaelarupnkkilacaepnrupedimtlxdkarthdlxngktam nkpraphnthhlaythanklawwakarbrryaykarelnkilathienn khwamsamarthodythrrmchatikhxngchnphiwdathangdankarelnkila miphlthiepnnyyawachnphiwkhawmikhwamsamarthindanxun sungkwa echnindanechawpyya aephthriechiy ec wileliyms nkekhiynsahrb klawthungcar car bingkhstwlakhrin star wxrs wa imwacaepnkarcngichruxim khwamphladphlnghruxkarepnphunaochkhraymaihaekphuxunkhxngcar car bingkhskepnlksnathinamacak epnxyangmakodytrng aemwa car car bingkhs casamarthaeksthankarnidxyangrwderw aetlksnaechingesxsakhxngphuepnphuihykungedkepnlksnathithxdmacaksithkhxmkhxngkhristthswrrs 1920 odytrng karehmarwmchawaexfrikaehnux tawnxxkklang aela muslim karehmarwmmuslimmkcaekiywkbkhxngkbkhwamohdehiymaelaxamhit thsnkhtidngwacaehnidcakkaraesdngwamuslimekiywkhxngkbwangaephnraebidaelakarepnphukxkarray aela epnphaphkhxngphumithanayakcn hruxxaccaekiywkbwithiptibtitxstri eky hrux phuthiimichmuslim hwkhxthiekiywkhxngkbkarehmarwmmuslimkhuxxakarklwchawmuslim Islamophobia sungepnkhwamklw chingchng aela imchxbphuthiepnmuslim karehmarwmchnphiwkhaw twxyangkhxngkarehmarwmekiywkbchnphiwkhawinthanglbcaehnidchdcaktwkartunohemxr simpsnsungepnchaywyklangkhncakmidxemrikathwm khiekiyc aela khiethx inkartun edxa simpsns sungraykarexngkepn khxngdantang khxngchiwit wthnthrrm aelasngkhmxemrikn hruxkarehmarwmkhxng Ugly American thicaepnchawxemriknthimiesiyngdng chxberiykrxng khadkhwamekhaickhwamrusukkhxngphuxun aela aetngtwechy aetkmkcachdechydwykarepnkhnickwang karehmarwmchawixrich karthuxphiwthangsuksacaknitysarxemrikn thiklawwachawixrichmilksnakhlaykhlungkb chawniokr karwicythsnkhtikhxngchawxngkvsinkhriststwrrsthi 19 ody aelabrxnewn wxletxrklawwa ixrichkhathxlik khuxphuthiepn khnnxk other hruxepnephaphnthuthiaeykxxkiptanghakinmummxngkhxngprchyachatiniymxngkvs swnchawixrichkechnknthithuxwachawxngkvsepn khnnxk aelaphyayamthicatxsuephuxihidmasungsiththiinkarpkkhrxngtnexng thiinthisudkidmainkhristthswrrs 1920 karehmarwmthiichsahrbchawixrichimrunaernghruxhyabkhayemuxethiybkbkarehmarwmthiichsahrbchatiphnthuxun aetkrannkepnmummxngthiimtrngtxkhwamcringodyklawhawachawixrichepnkhnhunhnphlnaeln chxbthaelaaebaaaewng aelakhiema inkhriststwrrsthi 19 nkekhiynkartunchawxngkvskhnhnungekhiynphaphphuxphyphekhamachawixrichepnlingihyaelamikhwamaetktangcakaexngokl aesksxn nayaephthychawxemriknkhnhnunginkhristthswrrs 1850 klawwa lksnaibhna facial angle epnsyyankhxngkhwamechliywchladaelabukhlik aelaepriybethiyb Physiognomy khxngklumchatiphnthutang kbstw aelaklawwaemuxdulksnaibhnakhxngchawixrichaelwkcakhlaykhlungkbsunkh aeyngkikhlaykhlungkbhmi eyxrmnkbsingot chnphiwdaehmuxnchang aelachawxngkvsehmuxnww inkhriststwrrsthi 20 karkarehmarwmrupthrngyngkhngichknmacnthungrawkhristthswrrs 1950 odymitwlakhrechn mthth ecff aela ciks aela aemkkithiyngpraktinhnngsuxphimphhlayrxychbbthukwn karehmarwmsahrbchawixrichxun krwmthngkarepnphukhadstipyya aelaepntwtlkthiphuxunlxeliyn twxyangkidaek karlxeliynekiywkb chawxngkvs chawixrich aela chawskxt thimkcacblngdwykarthichawixrichthaxairthingienga karehmarwmchawxitali karehmarwmchawxitalithiniymknmkcaepnkhwamkhidthiwachawxitaliswnihycaepnkhnrunaerngodythrrmchati khadkhwamru khadmaryath aelamkcaekiywkhxngkbmaefiy twxyangkhxngkarichkarehmarwmekiywkbchawxitalipraktinlakhrothrthsnsiris thithukklawhaodychawxemriknechuxsayxitaliwaepnkarephyaephrkarehmarwmekiywkbchawxitali karehmarwmchawopaelnd karehmarwmekiywkbchawopaelndcaxxkmainrupkhxngeruxngtlklxeliynechingehyiydhyam sungxaccamacaktlklxeliynchaweyxrmnechuxsayopaelndthihnibrryakaskhxngkhwamepnxkhtitxchawesmitikhkxnhnaaelarahwangsngkhramolkkhrngthisxnginyuorprawplaykhristthswrrs 1940 tlklxeliynehlanimacakkhwamediydchnththiphrrkhaenechnnlosesiyllistkhxngeyxrmnphyayamephyaephrephuxthicaepnkarsnbsnunwakartharayhruxekhnkhachawopaelndepnsingthiehmaathikhwr odykaraesdngphaphphcnwachawopaelnd dreck skprk ong aela dxykwa aelaxaccaepnipidwatlkthakthang nxkcaknnkyngepnipidwakarlxeliynthakthang Polack xemrikncakeyxrmniedimkxnsngkhramolkkhrngthisxngichkninbriewnthimipyhachayaedninisliechiy chawxemriknechuxsayopaelndepnehyuxkhxngkhwamrusuktxtanchawopaelndininrupaebbkhxngkarichkarehmarwmmaepnewlahlaysibpitngaetkxnkhristthswrrs 1920 rahwangkaraebngaeykopaelnd chawopaelndepncanwnmakxphyphtxipyngshrthxemrikaephuxcahnikarebiydebiynknkhnanihythiekidkhuninopaelnd emuxmathungshrthxemrikakcamathanganthukxyangthimiihthasungswnihyepnngankrrmkr channkarehmarwmchawopaelndcungepnsylksnkhxngsingthiekiywkbkarngan aelayngkhngdarngtxmaaemcakawekhamaepnkhnchnklangaelwinklangkhriststwrrsthi 20 karehmarwmechingduhminepnsingthimixiththiphltxchawopaelndinthanglb kareyaaeyydngklawodysuxmwlchnthaihchawxemriknechuxsayopaelndekidpyhainkhwamkngkhakhxngkhwamepnxtta identity crises karmikhwamrusukwatnbkphrxng aela karkhadkhwamechuxmnintnexng karehmarwmechinglbtxchawxemriknechuxsayopaelndyngkhngdaenintxmacnkrathngpccubn karehmarwmchawyiw twkartunthimacakkarehmarwmchawyiwinlththikhwamepnxkhtitxchawesmitikh kh s 1873 chawyiwthukehmarwmtlxdinthanakhxngpyhasngkhmtang maepnewlahlayrxypi lththikhwamepnxkhtitxchawesmitikhdaenintxmaepnewlahlayrxypicnmathungcudsudyxdinsmythinasipkkhrxngeyxrmnirahwangsngkhramolkkhrngthisxng chayyiwyngkhngmikarehmarwmthiepnphumikhwamolph khwamcukcik aela khwamicaekhb phaphthiaesdngkmkcaepnphaphkhxngkhnnbenginhruxsasmephchr phaphyntrinsmyaerkmkaesdngchawyiwepn phxkhaecaelh inkartunhruxkartunlxeliynchawyiwmkcaepnphaphkhxngphuthimiphmhyik cmukkhxihy pakhna aelaswm Kippah hruxhmwkpidkrahmxm wtthu wli hruxthrrmeniymthiennhruxeyyhynkhwamepnyiwkidaek phukalngelniwoxlin karthasuhnt kartxrxng aelawliechn Mazel tov ochkhdi Shalom swsdi aela Oy Vey xuaemeca karehmarwmxunkidaekrbbi karbnaelakhwamkhidthirusukphidekiywkbaemchawyiw Jewish American Princess thihmaythungphuthithuktamicaelaepnphuniymwtthu aela Nice Jewish Boy sungcakhixay karehmarwmchawexechiytawnxxkaelachawexechiyit epnkarehmarwmchatiphnthu ethnic stereotype thiphbinwthnthrrmtawntk karehmarwmodyechphaaekiywkbchawexechiytawnxxkkechnediywkbkarehmarwmekiywkbchatiphnthuxun thimkcaephyaephrodysuxmwlchn wrrnkrrm lakhraelangansrangsrrkhxun inhlaykrnisuxmwlchncasrangphaphphcnkhxngchawexechiythimixiththiphlmacakmummxngcak Eurocentrism thimitxchawexechiyaethnthicaepnthsnkhtithisathxnkhwamepncringkhxngwthnthrrm praephni aela phvtikrrmkhxngchawexechiythiaethcring karehmarwmnicungmiphlsathxninthanglbtxkarsrangkhwamsmphnthkbphuxunkhxngchawexechiyphuxphyph ehtukarnpccubn aela kdhmay chawexechiytawnxxktxngprasbkbkarkareluxkptibti aelatkepnehyuxkhxng Hate crime thimisaehtumacakkarehmarwmchatiphnthuephraakarehmarwmdngwasngesrimphawakhwamepnxkhtitxchawtangchati Xenophobia karehmarwmchawsepnaelalatin karehmarwmchawsepnaelalatinmkcapraktinsuxmwlchnpraephthtang aetmkcathuklaelyinsuxmwlchnkhxngshrth thacapraktkmkcaepnphaphphcnthiimthuktxng aelaepnlukkhrung thaepnlationkmkcapraktepnphuthiepnswnhnungkhxngsngkhmihyaelaimmilksnaexklksnepnkhxngtnexng thamikarxangxingipthungpraethsthimakmkcaepnemksiokhruxepxrotriokimwacamacakthiidktamkarehmarwmekiywkbephskarehmarwmekiywkbephshlk karehmarwmkhwamepnchay karehmarwmkhwamepnhying karehmarwmephsthsna odythwipaelathsnkhtithimitxeky elsebiyn aela khnkhamephs caepnkarehmarwmthanglbthisnbsnunwakarocmtihruxtharaybukhkhlinklumdngklawepnkarkrathaxnsmkhwrtxehtuphl hruxbangkhrngkcaepnchnwnthikxihekidehtukarnrunaerngtxklumbukhkhldngklaw Violence against LGBT people klawwa phurnngkhsnbsnunekymkcawicarnkarsuxkhawekiywkbkaredinphaehrdephuxaesdngkhwamphumiicinkarepnekywasuxmwlchnmkcaennkhwamsnicinkrnithinxkrupnxkaebb extreme khuxphuthichaythiepnstricnekintw hrux strithiepnchaycd aetcaimraynganekiywkbera sungphwkeraswnihyaelwkepnephiyngkhnthrrmdaehmuxnkbphuxunodythwip eky ekymkcathukehmarwmwaepnphuthiniymeruxngephsechingsasxn promiscuous tidsura chxbehhaaelaichyaesphtid aela epnphumithanadi aelamkcaennkhwammilksnathikraediydipinthangthiepnstri Effeminacy elsebiyn hyingrkrwmephshruxstriphuniymrkephsediywknaebngepnsxngklum elsebiynechingburus hrux thxm Butch aela elsebiynechingstri hrux di Lipstick lesbians khwamsmphnthmkcaepnrupaebbkhxng Butch and femme hruxkhnhnungepnburus aela xikkhnhnungepnstri rkrwmsxngephs rkrwmsxngephshruxphuchxbthngsxngephscaehmarwmwaepnphuthiniymeruxngephsechingsasxn promiscuous aelaimchxbthicamikhwamsmphnthaebbphukmdkbphuidodyechphaa khnikhredk phuepnorkhcitthieriykwaorkhikhredkcaepnkarehmarwmphuniymeruxngephsechingrunaerngaelacasnicthicarwmephsodyechphaakbeyawchn khnkhamephs kareriykbukhkhlwaepnkhnkhamephs Transgender epnthngkarkhwangkareluxkephsidephshnungaelainkhnaediywknkepnkarprathbtabukhkhldngklawipdwyintw self stigmatizing phuthiimidepnxyuinklumephshlksxngephsmkcathukehmarwmwaepnphuthiniymeruxngephsechingsasxn epnosephni aela phutidsura khnaeplngephs karehmarwmkhnaeplngephs Transsexual phbepnkhrngaerkinrawpi kh s 1850 thiepnkhanamthihmaykhwamwa phaphthikhngtwodyimmikarepliynaeplng karehmarwmphawadansngkhmesrsthkickarehmarwmphuirthixyuxasy karehmarwm Homeless mkcaepnphuthimipyhathangphvtikrrm tidyahruxtidsura ekiyckhran miphawaphidpktithangcit aelaskprkaelamiklinxangxingrachbnthitysthan phcnanukrmsphthcitwithya chbbrachbnthitysthan rachbnthitysthan 2553 hna 285 Stereos Henry George Liddell Robert Scott A Greek English Lexicon at Perseus Tupos Henry George Liddell Robert Scott A Greek English Lexicon at Perseus Ewen and Ewen Typecasting On the Arts and Sciences of Human Inequality 2006 3 10 lt Merriam Webster s Dictionary of English Usage gt Springfield Illinois Merriam Webster Inc 1994 p 250 Hurst Charles E Social Inequality Forms Causes and Consequences 6 Boston Pearson Education Inc 2007 Jost JT Banaji MB 1994 The role of stereotyping in system justification and the production of false consciousness British Journal of Social Psychology 33 1 27 Brewer M 1979 In group bias in the minimal intergroup situation A cognitive motivational analysis Psychological Bulletin 86 307 324 doi 10 1037 0033 2909 86 2 307 McAndrew FT Akande A 1995 African perceptions of Americans of African and European descent Journal of Social Psychology 135 5 649 655 Steele CM Aronson J November 1995 Stereotype threat and the intellectual test performance of African Americans J Pers Soc Psychol 69 5 797 811 doi 10 1037 0022 3514 69 5 797 PMID 7473032 Aronson J Steele CM 2005 Chapter 24 Stereotypes and the Fragility of Academic Competence Motivation and Self Concept In Handbook of Competence p 436 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 07 15 subkhnemux 2009 12 29 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 07 15 subkhnemux 2009 12 29 nanuq Asuilaak Living Dictionary subkhnemux 2007 11 17 ᓇᓄᖅ Asuilaak Living Dictionary subkhnemux 2007 11 17 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 07 15 subkhnemux 2009 12 29 Okorafor Mbachu Nnedi 2004 10 25 Strange Horizons khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 11 14 subkhnemux 2006 12 03 Gonzalez Susan 2001 03 02 Yale Bulletin amp Calendar Yale University khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 01 21 subkhnemux 2008 12 29 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 11 26 subkhnemux 2009 12 29 Jackson Assails Press On Portrayal of Blacks NYT Darwin s Athletes how sport has damaged Black America and preserved the myth of race By John Milton Hoberman ISBN 0 395 82292 0 White Men Can t Jump Evidence for the Perceptual Confirmation of Racial Stereotype Following a Basketball Game Jeff Stone W Perry John M Darley Basic and Applied Social Psychology 1997 Vol 19 No 3 Pages 291 306 The Ball Curve Calculated Racism and the Stereotype of African American Men Ronald E Hall Journal of Black Studies Vol 32 No 1 Sep 2001 pp 104 119 Patricia J Williams Racial Ventriloquism The Nation June 17 1999 subkhnemux June 11 2006 Kelly Whiteside Andy Gardiner 2006 08 20 USA needs to find the net USA Today subkhnemux 2008 05 09 Turner p 78 http news bbc co uk 2 hi 8143780 stm Deconstructing Whiteness Irish Women in Britain Mary J Hickman Bronwen Walter Feminist Review No 50 The Irish Issue The British Question Summer 1995 pp 5 19 doi 10 2307 1395487 1 lingkesiy Kerry Soper Performing Jiggs Irish Caricature and Comedic Ambivalence toward Asosimilation and the American Dream in George McManus s Bringing Up Father Journal of the Gilded Age and Progressive Era 4 2 2005 72 pars 30 Mar 2007 online lingkesiy Tomasz Szarota Goebbels 1982 1939 41 16 36 7 274 1978 Also Tomasz Szarota Stereotyp Polski i Polakow w oczach Niemcow podczas II wojny swiatowej Bibliografia historii polskiej 1981 Page 162 Christie Davies The Mirth of Nations Page 176 Dominic Pulera Sharing the Dream White Males in Multicultural America Published 2004 by Continuum International Publishing Group 448 pages ISBN 0 8264 1643 8 Page 99 The Movies Race and Ethnicity Jews Kashiwabara Amy Vanishing Son The Appearance Disappearance and Assimilation of the Asian American Man in American Mainstream Media UC Berkeley Media Resources Center Richard Rodrigue A CULTURAL IDENTITY khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 02 11 subkhnemux 2009 12 29 Gay Stereotypes Are They True ABC News September 15 2006 Online Etymology DictionarybrrnanukrmStuart Ewen Elizabeth Ewen Typecasting On the Arts and Sciences of Human Inequality New York Seven Stories Press 2006 Stereotype amp Society A Major Resource Constantly updated and archived Social Psychology Network Stereotyping Media Awareness Network What is a stereotype 2010 03 24 thi ewyaebkaemchchin Definition role of stereotyping in the media more links Regenberg Nina 11 June 2007 in mind magazine 3 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 09 30 subkhnemux 2009 10 17 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Citation title aemaebb Citation citation a CS1 maint date and year lingk Are Stereotypes True 2009 06 04 thi ewyaebkaemchchin Stereotype Susceptibility Identity Salience and Shifts in Quantitative Performance Margaret Shih Todd L Pittinsky Nalini Ambady 2018 12 15 thi ewyaebkaemchchin Research about the effects of positive and negative stereotypes on encouraging discouraging performance Turner Chris 2004 Planet Simpson How a Cartoon Masterpiece Documented an Era and Defined a Generation Toronto Random House Canada ISBN 0 679 31318 4 Crawford M amp Unger R 2004 Women and Gender A Feminist Psychology McGraw Hill New York New York 45 49 Spitzer B L Henderson K A amp Zavian M T 1999 Gender differences in population versus media body sizes A comparison over four decades Sex Roles 40 545 565 Terracciano A Abdel Khalek AM Adam N aelakhna Oct 2005 National character does not reflect mean personality trait levels in 49 cultures Science 310 5745 96 100 doi 10 1126 science 1117199 PMID 16210536 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk duephimxtwisy xkhti khwamthuktxngthangkaremuxng ehtuphlwibtiaehlngkhxmulxunSocial Psychology Network Stereotyping Understanding Stereotypes 2008 09 05 thi ewyaebkaemchchin Educational information about stereotypes SEPARATING the GOLD from the DROSS a guide to multicultural literature 2011 03 12 thi ewyaebkaemchchin Media Awareness Network What is a stereotype 2010 03 24 thi ewyaebkaemchchin Definition role of stereotyping in the media more links