หลิว เปี้ยน (จีนตัวย่อ: 刘辩; จีนตัวเต็ม: 劉辯; สำเนียงฮกเกี้ยนว่า "เล่าเปียน"; ค.ศ. 176 – 6 มีนาคม ค.ศ. 190) เป็นเจ้าชายในราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน เป็นที่รู้จักด้วยพระนาม "หฺวังจื่อเปี้ยน" (皇子辯; ฮกเกี้ยนว่า "หองจูเปียน"; แปลว่า "ราชบุตรเปี้ยน/เปียน")
หฺวังจื่อเปี้ยน (มาตรฐาน) หองจูเปียน (ฮกเกี้ยน) 皇子辯 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก | |||||||||
จักรพรรดิจีน | |||||||||
ครองราชย์ | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 189 – 28 กันยายน ค.ศ. 189 | ||||||||
ก่อนหน้า | ฮั่นหลิงตี้ (漢靈帝) | ||||||||
ถัดไป | หฺวังจื่อเสีย (皇子協) | ||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | เหอ จิ้น (何進) ต่ง จั๋ว (董卓) | ||||||||
หงหนงหวัง (弘農王; "เจ้าชายแห่งหงหนง") | |||||||||
ดำรงพระยศ | 28 กันยายน ค.ศ. 189 – 6 มีนาคม ค.ศ. 190 | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 176 | ||||||||
สวรรคต | 6 มีนาคม ค.ศ. 190 (อายุ 13–14) | ||||||||
พระชายา | ถังชื่อ (唐氏) | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ฮั่น | ||||||||
พระบิดา | จักรพรรดิฮั่นหลิง | ||||||||
พระมารดา | เหอชื่อ (何氏) | ||||||||
ช่วงเวลา |
หฺวังจื่อเปี้ยนเป็นพระโอรสของฮั่นหลิงตี้ (漢靈帝; ฮกเกี้ยนว่า "ฮั่นเลนเต้") จักรพรรดิพระองค์ที่ 12 ของราชวงศ์ กับเหอหฺวังโฮ่ว (何皇后; ฮกเกี้ยนว่า "โฮฮองเฮา"; แปลว่า "ราชเทวีเหอ/โฮ") เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว หฺวังจื่อเปี้ยนขึ้นครองราชย์ต่อเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 13 ของราชวงศ์ ทรงพระนาม "ฮั่นเช่าตี้" (漢少帝; แปลว่า "จักรพรรดิเช่าแห่งฮั่น") และทรงอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 189 จนถึงวันที่ 28 กันยายน ปีเดียวกัน เนื่องจากทรงถูกขุนพลต่ง จั๋ว (董卓; ฮกเกี้ยนว่า "ตั๋งโต๊ะ") ถอดจากราชสมบัติลงเป็น "หงหนงหวัง" (弘農王; แปลว่า "เจ้าชายแห่งหงหนง") แล้วตั๋งโต๊ะก็ตั้งพระอนุชาร่วมพระบิดา คือ หฺวังจื่อเสีย (皇子協; ฮกเกี้ยนว่า "หองจูเหียบ"; แปลว่า "ราชบุตรเสีย/เหียบ") ขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่แทน
ภูมิหลัง
หองจูเปียนประสูติใน ค.ศ. 176 พระบิดา คือ หลิว หง (劉宏) ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นหลิงตี้ พระมารดา คือ เหอชื่อ (何氏; ฮกเกี้ยนว่า "โฮสี"; แปลว่า "นางเหอ/โฮ") ในเวลาที่ประสูตินั้น หองจูเปียนเป็นพระโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้าฮั่นเลนเต้ เพราะพระองค์อื่น ๆ สิ้นพระชนม์ไปแต่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งเป็นเหตุให้พระเจ้าเลนเต้รับสั่งให้นักบวชในลัทธิเต๋านาม ฉื่อ จื๋อเหมี่ยว (史子眇) นำหองจูเปียนไปเลี้ยงไว้ เพื่อป้องกันโชคร้ายเหมือนพระโอรสพระองค์ก่อน ๆ และพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่หฺวังจื่อเปี้ยนว่า "ฉื่อโหว" (史侯; แปลว่า "โหว(แซ่)")
การประสูติของหฺวังจื่อเปี้ยน ทำให้พระมารดา คือ เหอชื่อ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดินีมเหสี ตำแหน่ง "หฺวังโฮ่ว" (皇后; ฮกเกี้ยนว่า "ฮองเฮา"; แปลว่า "ราชเทวี") เรียกว่า "เหอหฺวังโฮ่ว" (ราชเทวีเหอ) การสถาปนามีขึ้นใน ค.ศ. 180
ต่อมาใน ค.ศ. 181 พระสนมพระองค์หนึ่งของฮั่นหลิงตี้ คือ หวังชื่อ (王氏; ฮกเกี้ยนว่า "อองสี"; แปลว่า "นางหวัง/ออง") ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ว่า "หวังเหฺม่ย์เหริน" (王美人; ฮกเกี้ยนว่า "อองบิหยิน"; แปลว่า "(แซ่)หวัง/ออง") ประสูติพระโอรสอีกพระองค์ให้แก่พระเจ้าฮั่นเลนเต้ คือ หองจูเหียบ ทำให้พระนางโฮเฮาริษยา และวางยาพิษหวังเหฺม่ย์เหรินจนหวังเหฺม่ย์เหรินถึงแก่ความตาย พระมารดาของฮั่นหลิงตี้ คือ ต่งไท่โฮ่ว (董太后; ฮกเกี้ยนว่า "ตังไทเฮา/ไทฮอ"; แปลว่า "มหาเทวีต่ง/ตัง") จึงทรงนำหองจูเปียนผู้เป็นหลานไปเลี้ยงดูแทน เป็นเหตุให้พระเจ้าเลนเต้พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่หฺวังจื่อเสียว่า "ต่งโหว" (董侯; แปลว่า "โหว(แซ่)")
เมื่อผู้คนเรียกร้องให้พระเจ้าเลนเต้ทรงกำหนดรัชทายาท ฮั่นหลิงตี้ทรงลังเลระหว่างหองจูเปียน กับหองจูเหียบ เพราะหองจูเปียนทรงด้อยความสามารถ มีพระนิสัยเหลาะแหละ ไม่อาจเป็นที่เคารพนับถือของราษฎรได้ พระเจ้าเลนเต้มีพระประสงค์จะให้หองจูเหียบได้เป็นรัชทายาทมากกว่า แต่ก็ทรงพระวิตกว่า ถ้าทรงเลือกหองจูเปียน พระมารดาของหฺวังจื่อเปี้ยน คือ พระนางโฮเฮา กับพระเชษฐาของพระนาง คือ เหอ จิ้น (何進; ฮกเกี้ยนว่า "โฮจิ๋น") ซึ่งคุมกองทัพในตำแหน่ง "ต้าเจียงจฺวิน" (大將軍; แปลว่า "แม่ทัพใหญ่") จะต้องเข้ามาก้าวก่ายเป็นแน่ สุดท้ายแล้ว พระเจ้าเลนเต้จึงทรงปล่อยให้ตำแหน่งรัชทายาทว่างไว้เช่นนั้น
การครองราชสมบัติ
ใน ค.ศ. 189 ฮั่นหลิงตี้ประชวรหนัก ทรงฝากฝังหฺวังจื่อเสียไว้กับขันทีคนสนิท คือ เจี่ยน ชั่ว (蹇碩; ฮกเกี้ยนว่า "เกียนสิด") ให้เจี่ยน ชั่ว ช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูด้วย ครั้นสิ้นฮั่นหลิงตี้แล้ว เจี่ยน ชั่ว พยายามล่อลวงให้เหอ จิ้น เข้ามาในพระราชวัง จะได้ฆ่าเหอ จิ้น เปิดทางสะดวกให้หฺวังจื่อเสียได้ขึ้นครองราชย์ แต่ไม่สำเร็จ เหอ จิ้น ชิงสถาปนาหฺวังจื่อเปี้ยน พระชันษา 13 ปี ขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ได้ก่อน โดยมีเหอ จิ้น ในฐานะต้าเจียงจฺวิน (แม่ทัพใหญ่) กับ (袁隗) ในฐานะไท่ฟู่ (太傅; แปลว่า "ครูใหญ่" เป็นชื่อตำแหน่งชั้นสูงในราชสำนัก) ช่วยกันสำเร็จราชการแทนพระองค์ ส่วนน้องสาวของเหอ จิ้น คือ เหอหฺวังโฮ่ว ผู้เป็นสมเด็จพระชนนี ช่วยทำนุบำรุงประคองราชการแผ่นดิน
เหอ จิ้น เอง เมื่อทราบว่า เจี่ยน ชั่ว ประสงค์จะเอาชีวิตตนแล้ว ในฤดูร้อน ค.ศ. 189 เหอ จิ้น ก็จับเจี่ยน ชั่ว ประหาร หลายเดือนให้หลัง ยฺเหวียน เช่า (袁紹; ฮกเกี้ยนว่า "อ้วนเสี้ยว") เสนอให้เหอ จิ้น ปราบปรามกลุ่มขันทีในราชสำนัก เพื่อรวบอำนาจ แต่เหอหฺวังโฮ่วทรงคัดค้าน เหอ จิ้น จึงเลื่อนแผนการออกไปก่อน แล้วเรียกขุนพลในภูมิภาคให้นำทัพเข้าพระนครลั่วหยาง (洛阳; ฮกเกี้ยนว่า "ลกเอี๋ยง") มาปราบปรามขันทีแทน ด้วยหวังว่า กลุ่มอำนาจจากภูมิภาคจะทำให้เหอหฺวังโฮ่วจะทรงเลิกคัดค้านได้ แต่เหอหฺวังโฮ่วก็ยังทรงอยู่ฝ่ายขันที ส่วนกลุ่มขันที เมื่อทราบถึงเจตนาของเหอ จิ้น แล้ว ก็ปลอมพระเสาวนีย์เหอหฺวังโฮ่วเรียกเหอ จิ้น เข้ามาในพระราชฐาน และซุ่มทำร้ายเหอ จิ้น จนเหอ จิ้น ถึงแก่ความตาย
เมื่อเหอ จิ้น ถูกลอบฆ่าเช่นนั้น ผู้ใต้บัญชาของเหอ จิ้น คือ ยฺเหวียน เช่า, ยฺเหวียน ชู่ (袁術; ฮกเกี้ยนว่า "อ้วนสุด"), (吳匡), (張璋), และคนอื่น ๆ นำสรรพกำลังบุกเข้าพระราชวังไปประหารขันทีทั้งสิ้น แต่ก็ได้ประหารบุคคลอื่น ๆ ที่คล้ายขันทีไปด้วย เช่น บุรุษที่ไม่ไว้เครา ทำให้หลาย ๆ คนต้องเปลื้องกางเกงต่อหน้าทหารที่กำลังโกรธเกรี้ยว เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้ถูกตอนอวัยวะเพศ มิได้เป็นขันที ในเวลาชุลมุนนั้นเอง ขันทีจับเหอหฺวังโฮ่ว หฺวังจื่อเปี้ยน และหฺวังจื่อเสีย เป็นองค์ประกัน และพยายามหลบหนีออกจากพระราชวัง ขุนพลหลู จี๋ (盧植; ฮกเกี้ยนว่า "โลติด") สกัดขันทีตฺวั้น กุย (段珪) และช่วยเหอหฺวังโฮ่วไว้ได้ ส่วนหฺวังจื่อเปี้ยนและหฺวังจื่อเสียถูกพาออกนอกพระราชวัง นอกจากนี้ เหอ เหมียว (何苗) น้องชายของเหอจิ้น ที่เห็นใจขันที ถูกขุนพลอู๋ ควง กับต่ง หมิน (董旻) ฆ่าทิ้งเสีย และในคราวนั้น มีผู้ล้มตายกว่า 2,000 คน
ขุนพลหลู จี๋ กับหมิ่น ก้ง (閔貢) ติดตามไปพบหฺวังจื่อเปี้ยนและหฺวังจื่อเสียริมลำน้ำ จึงอารักขากลับพระราชวัง ขบวนเสด็จมาพบกองทัพภูมิภาค (涼州) ของต่ง จั๋ว ที่กำลังเดินทางเข้าพระนครตามคำสั่งของเหอ จิ้น หฺวังจื่อเปี้ยนตกพระทัยจนมิอาจตรัสเป็นภาษาได้ แต่หฺวังจื่อเสียตรัสอธิบายสถานการณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว และทรงมีขวัญกำลังใจดี สมจะเป็นผู้นำได้ ทำให้ต่ง จั๋ว ประทับใจ และเริ่มคิดจะถอดหฺวังจื่อเปี้ยนออกจากราชบัลลังก์ แล้วยกหฺวังจื่อเสียขึ้นแทน
การพ้นจากราชสมบัติ
เมื่อต่ง จั๋ว นำพาขบวนเสด็จกลับพระนครแล้ว ต่ง จั๋ว อาศัยโอกาสที่ราชสำนักวุ่นวาย เข้ายึดอำนาจการปกครอง ถอดหฺวังจื่อเปี้ยนออกจากราชสมบัติ ยกหฺวังจื่อเสียขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน ทรงพระนาม "ฮั่นเซี่ยนตี้" (漢獻帝; แปลว่า "จักรพรรดิเซี่ยนแห่งฮั่น") ส่วนหฺวังจื่อเปี้ยนนั้น ให้เป็น "หงหนงหวัง" (เจ้าชายแห่งหงหนง) ต่อมาในปีนั้นเอง ต่ง จั๋ว ส่งคนไปวางยาพิษฆ่าเหอหฺวังโฮ่วตายอยู่ในวังหย่งอัน (永安宮)
ต้นปี ค.ศ. 190 ขุนพลรวมกำลังกันมาปราบปรามต่ง จั๋ว เพื่อปลดปล่อยราชสำนักจากเงื้อมมือต่ง จั๋ว ต่ง จั๋ว เริ่มวิตกว่า ขุนพลเหล่านั้นจะยกหฺวังจื่อเปี้ยนกลับสู่ราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นการสั่นคลอนความชอบธรรมของตนในฐานะผู้สถาปนาจักรพรรดิพระองค์ใหม่ เมื่อการรวมกำลังเริ่มแล้วหนึ่งเดือน ต่ง จั๋ว ส่งคนสนิท คือ หลี่ หรู (李儒; ฮกเกี้ยนว่า "ลิยู") ไปบีบให้หฺวังจื่อเปี้ยนเสวยยาพิษปลงพระชนม์พระองค์เอง พระศพฝังไว้ ณ สุสานซึ่งทำไว้สำหรับขันทีจ้าว จง (趙忠; ฮกเกี้ยนว่า "เตียวต๋ง") และภายหลังมีการเฉลิมพระนามเป็น "หงหนงหฺวายหวัง" (弘農懷王; แปลว่า "เจ้าชายหฺวายแห่งหงหนง")
รัชศก
- "เจาหนิง" (昭寧) กินเวลาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 189 จนถึงวันที่ 28 กันยายน ปีเดียวกัน
พงศาวลี
- พระบิดา: หลิว หง (劉宏; ค.ศ. 156–189) ขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นหลิงตี้ (漢靈帝; ฮกเกี้ยนว่า "ฮั่นเลนเต้")
- พระมารดา: เหอชื่อ (何氏; ฮกเกี้ยนว่า "โฮสี"; แปลว่า "นางเหอ/โฮ"; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 189) พระมเหสีตำแหน่ง "หฺวังโฮ่ว" (皇后; ฮกเกี้ยนว่า "ฮองเฮา"; แปลว่า "ราชเทวี") เรียกว่า "เหอหฺวังโฮ่ว" (ราชเทวีเหอ)
- พระชายา: ถังชื่อ (唐氏; แปลว่า "นางถัง") ดำรงตำแหน่ง "หวังเฟย์" (王妃; แปลว่า "วรชายา")
อ้างอิง
- (長七尺一寸。生皇子辯,養於史道人家,號曰史侯。) Houhanshu vol. 10 (Part 2).
- (道人謂道術之人也。獻帝春秋曰:「靈帝數失子,不敢正名,養道人史子眇家,號曰史侯。」) Annotation in Houhanshu vol. 10 (Part 2).
- (光和三年,立為皇后。) Houhanshu vol. 10 (Part 2).
- (四年,生皇子恊,后遂酖殺美人。 ... 董太后自養協,號曰董侯。) Houhanshu vol. 10 (Part 2).
- (初,何皇后生皇子辯,王貴人生皇子協。羣臣請立太子,帝以辯輕佻無威儀,不可為人主,然皇后有寵,且進又居重權,故乆不決。) Houhanshu vol. 69.
- (六年,帝疾篤,屬協於蹇碩。碩旣受遺詔,且素輕忌於進兄弟,及帝崩,碩時在內,欲先誅進而立協。及進從外入,碩司馬潘隱與進早舊,迎而目之。進驚,馳從儳道歸營,引兵入屯百郡邸,因稱疾不入。碩謀不行,皇子辯乃即位,何太后臨朝,進與太傅袁隗輔政,錄尚書事。) Houhanshu vol. 69.
- (中平六年,帝崩,皇子辯即位,尊后為皇太后。太后臨朝。) Houhanshu vol. 10 (Part 2).
- (進素知中官天下所疾,兼忿蹇碩圖己,及秉朝政,陰規誅之。 ... 進乃使黃門令收碩,誅之,因領其屯兵。) Houhanshu vol. 69.
- (袁紹復說進曰:「前竇武欲誅內寵而反為所害者, ... 我柰何楚楚與士人對共事乎?」進難違太后意,且欲誅其放縱者。紹以為中官親近至尊,出入號令,今不悉廢,後必為患。 ... 紹等又為畫策,多召四方猛將及諸豪傑,使並引兵向京城,以脅太后。進然之。 ... 進謀積日,頗泄,中官懼而思變。 ... 子婦言於舞陽君,入白太后,乃詔諸常侍皆復入直。) Houhanshu vol. 69.
- (八月,進入長樂白太后,請盡誅諸常侍以下,選三署郎入守宦官廬。諸宦官相謂曰:「大將軍稱疾不臨喪,不送葬,今欻入省,此意何為?竇氏事竟復起邪?」又張讓等使人潛聽,具聞其語,乃率常侍段珪、畢嵐等數十人,持兵竊自側闥入,伏省中。及進出,因詐以太后詔召進。入坐省闥,讓等詰進曰:「天下憒憒,亦非獨我曹罪也。先帝甞與太后不快,幾至成敗,我曹涕泣救解,各出家財千萬為禮,和恱上意,但欲託卿門戶耳。今乃欲滅我曹種族,不亦太甚乎?卿言省內穢濁,公卿以下忠清者為誰?」於是尚方監渠穆拔劔斬進於嘉德殿前。讓、珪等為詔,以故太尉樊陵為司隷校尉,少府許相為河南尹。尚書得詔板,疑之,曰:「請大將軍出共議。」中黃門以進頭擲與尚書,曰:「何進謀反,已伏誅矣。」) Houhanshu vol. 69.
- (進部曲將吳匡、張璋,素所親幸,在外聞進被害,欲將兵入宮,宮閤閉。袁術與匡共斫攻之,中黃門持兵守閤。會日暮,術因燒南宮九龍門及東西宮,欲以脅出讓等。讓等入白太后,言大將軍兵反,燒宮,攻尚書闥,因將太后、天子及陳留王,又劫省內官屬,從複道走北宮。尚書盧植執戈於閣道䆫下,仰數段珪。段珪等懼,乃釋太后。太后投閣得免。) Houhanshu vol. 69.
- (匡遂引兵與董卓弟奉車都尉旻攻殺苗,弃其屍於苑中。紹遂閉北宮門,勒兵捕宦者,無少長皆殺之。或有無須而誤死者,至自發露然後得免。死者二千餘人。) Houhanshu vol. 69.
- (張讓、段珪等困迫,遂將帝與陳留王數十人步出穀門,奔小平津。公卿並出平樂觀,無得從者,唯尚書盧植夜馳河上,王允遣河南中部掾閔貢隨植後。貢至,手劔斬數人,餘皆投河而死。明日,公卿百官乃奉迎天子還宮,以貢為郎中,封都亭侯。) Houhanshu vol. 69.
- (董卓遂廢帝,又迫殺太后,殺舞陽君,何氏遂亡,而漢室亦自此敗亂。) Houhanshu vol. 69.
- (并州牧董卓被徵,將兵入洛陽,陵虐朝庭,遂廢少帝為弘農王而立協,是為獻帝。 ... 董卓又議太后踧迫永樂宮,至令憂死,逆婦姑之禮,乃遷於永安宮,因進酖,弒而崩。) Houhanshu vol. 10 (Part 2).
บรรณานุกรม
- (5th century). (Houhanshu).
- (1084). , Volume 59.
ก่อนหน้า | หองจูเปียน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิฮั่นหลิงตี้ (พระเจ้าเลนเต้) | จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 189) | จักรพรรดิฮั่นเซี่ยนตี้ (หองจูเหียบ) |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
hliw epiyn cintwyx 刘辩 cintwetm 劉辯 saeniynghkekiynwa elaepiyn kh s 176 6 minakhm kh s 190 epnecachayinrachwngshntawnxxkkhxngpraethscin epnthiruckdwyphranam h wngcuxepiyn 皇子辯 hkekiynwa hxngcuepiyn aeplwa rachbutrepiyn epiyn h wngcuxepiyn matrthan hxngcuepiyn hkekiyn 皇子辯ckrphrrdiaehngrachwngshntawnxxkckrphrrdicinkhrxngrachy15 phvsphakhm kh s 189 28 knyayn kh s 189kxnhnahnhlingti 漢靈帝 thdiph wngcuxesiy 皇子協 phusaercrachkarehx cin 何進 tng cw 董卓 hnghnnghwng 弘農王 ecachayaehnghnghnng darngphrays28 knyayn kh s 189 6 minakhm kh s 190prasutikh s 176swrrkht6 minakhm kh s 190 xayu 13 14 phrachayathngchux 唐氏 phranametmchuxskul hliw 劉 chuxtw epiyn 辯 phramrnnamhnghnngh wayhwng 弘農懷王 ecachayh wayaehnghnghnng rachwngshnphrabidackrphrrdihnhlingphramardaehxchux 何氏 chwngewla h wngcuxepiynepnphraoxrskhxnghnhlingti 漢靈帝 hkekiynwa hnelnet ckrphrrdiphraxngkhthi 12 khxngrachwngs kbehxh wngohw 何皇后 hkekiynwa ohhxngeha aeplwa rachethwiehx oh emuxphrabidaswrrkhtaelw h wngcuxepiynkhunkhrxngrachytxepnckrphrrdiphraxngkhthi 13 khxngrachwngs thrngphranam hnechati 漢少帝 aeplwa ckrphrrdiechaaehnghn aelathrngxyuintaaehnngtngaetwnthi 15 phvsphakhm kh s 189 cnthungwnthi 28 knyayn piediywkn enuxngcakthrngthukkhunphltng cw 董卓 hkekiynwa tngota thxdcakrachsmbtilngepn hnghnnghwng 弘農王 aeplwa ecachayaehnghnghnng aelwtngotaktngphraxnucharwmphrabida khux h wngcuxesiy 皇子協 hkekiynwa hxngcuehiyb aeplwa rachbutresiy ehiyb khunepnckrphrrdiphraxngkhihmaethnphumihlnghxngcuepiynprasutiin kh s 176 phrabida khux hliw hng 劉宏 sungkhunkhrxngrachyepnhnhlingti phramarda khux ehxchux 何氏 hkekiynwa ohsi aeplwa nangehx oh inewlathiprasutinn hxngcuepiynepnphraoxrsphraxngkhediywkhxngphraecahnelnet ephraaphraxngkhxun sinphrachnmipaetyngthrngphraeyaw sungepnehtuihphraecaelnetrbsngihnkbwchinlththietanam chux cuxehmiyw 史子眇 nahxngcuepiynipeliyngiw ephuxpxngknochkhrayehmuxnphraoxrsphraxngkhkxn aelaphrarachthanbrrdaskdiihaekh wngcuxepiynwa chuxohw 史侯 aeplwa ohw aes karprasutikhxngh wngcuxepiyn thaihphramarda khux ehxchux idrbkarsthapnakhunepnckrphrrdinimehsi taaehnng h wngohw 皇后 hkekiynwa hxngeha aeplwa rachethwi eriykwa ehxh wngohw rachethwiehx karsthapnamikhunin kh s 180 txmain kh s 181 phrasnmphraxngkhhnungkhxnghnhlingti khux hwngchux 王氏 hkekiynwa xxngsi aeplwa nanghwng xxng sungmithanndrskdiwa hwngeh myehrin 王美人 hkekiynwa xxngbihyin aeplwa aes hwng xxng prasutiphraoxrsxikphraxngkhihaekphraecahnelnet khux hxngcuehiyb thaihphranangoheharisya aelawangyaphishwngeh myehrincnhwngeh myehrinthungaekkhwamtay phramardakhxnghnhlingti khux tngithohw 董太后 hkekiynwa tngitheha ithhx aeplwa mhaethwitng tng cungthrngnahxngcuepiynphuepnhlanipeliyngduaethn epnehtuihphraecaelnetphrarachthanbrrdaskdiaekh wngcuxesiywa tngohw 董侯 aeplwa ohw aes emuxphukhneriykrxngihphraecaelnetthrngkahndrchthayath hnhlingtithrnglngelrahwanghxngcuepiyn kbhxngcuehiyb ephraahxngcuepiynthrngdxykhwamsamarth miphranisyehlaaaehla imxacepnthiekharphnbthuxkhxngrasdrid phraecaelnetmiphraprasngkhcaihhxngcuehiybidepnrchthayathmakkwa aetkthrngphrawitkwa thathrngeluxkhxngcuepiyn phramardakhxngh wngcuxepiyn khux phranangoheha kbphraechsthakhxngphranang khux ehx cin 何進 hkekiynwa ohcin sungkhumkxngthphintaaehnng taeciyngc win 大將軍 aeplwa aemthphihy catxngekhamakawkayepnaen sudthayaelw phraecaelnetcungthrngplxyihtaaehnngrchthayathwangiwechnnnkarkhrxngrachsmbtiin kh s 189 hnhlingtiprachwrhnk thrngfakfngh wngcuxesiyiwkbkhnthikhnsnith khux eciyn chw 蹇碩 hkekiynwa ekiynsid iheciyn chw chwyxupthmphkhachudwy khrnsinhnhlingtiaelw eciyn chw phyayamlxlwngihehx cin ekhamainphrarachwng caidkhaehx cin epidthangsadwkihh wngcuxesiyidkhunkhrxngrachy aetimsaerc ehx cin chingsthapnah wngcuxepiyn phrachnsa 13 pi khunepnckrphrrdiphraxngkhihmidkxn odymiehx cin inthanataeciyngc win aemthphihy kb 袁隗 inthanaithfu 太傅 aeplwa khruihy epnchuxtaaehnngchnsunginrachsank chwyknsaercrachkaraethnphraxngkh swnnxngsawkhxngehx cin khux ehxh wngohw phuepnsmedcphrachnni chwythanubarungprakhxngrachkaraephndin ehx cin exng emuxthrabwa eciyn chw prasngkhcaexachiwittnaelw invdurxn kh s 189 ehx cin kcbeciyn chw prahar hlayeduxnihhlng y ehwiyn echa 袁紹 hkekiynwa xwnesiyw esnxihehx cin prabpramklumkhnthiinrachsank ephuxrwbxanac aetehxh wngohwthrngkhdkhan ehx cin cungeluxnaephnkarxxkipkxn aelweriykkhunphlinphumiphakhihnathphekhaphrankhrlwhyang 洛阳 hkekiynwa lkexiyng maprabpramkhnthiaethn dwyhwngwa klumxanaccakphumiphakhcathaihehxh wngohwcathrngelikkhdkhanid aetehxh wngohwkyngthrngxyufaykhnthi swnklumkhnthi emuxthrabthungectnakhxngehx cin aelw kplxmphraesawniyehxh wngohweriykehx cin ekhamainphrarachthan aelasumtharayehx cin cnehx cin thungaekkhwamtay emuxehx cin thuklxbkhaechnnn phuitbychakhxngehx cin khux y ehwiyn echa y ehwiyn chu 袁術 hkekiynwa xwnsud 吳匡 張璋 aelakhnxun nasrrphkalngbukekhaphrarachwngippraharkhnthithngsin aetkidpraharbukhkhlxun thikhlaykhnthiipdwy echn burusthiimiwekhra thaihhlay khntxngepluxngkangekngtxhnathharthikalngokrthekriyw ephuxaesdngihehnwa imidthuktxnxwywaephs miidepnkhnthi inewlachulmunnnexng khnthicbehxh wngohw h wngcuxepiyn aelah wngcuxesiy epnxngkhprakn aelaphyayamhlbhnixxkcakphrarachwng khunphlhlu ci 盧植 hkekiynwa oltid skdkhnthit wn kuy 段珪 aelachwyehxh wngohwiwid swnh wngcuxepiynaelah wngcuxesiythukphaxxknxkphrarachwng nxkcakni ehx ehmiyw 何苗 nxngchaykhxngehxcin thiehnickhnthi thukkhunphlxu khwng kbtng hmin 董旻 khathingesiy aelainkhrawnn miphulmtaykwa 2 000 khn khunphlhlu ci kbhmin kng 閔貢 tidtamipphbh wngcuxepiynaelah wngcuxesiyrimlana cungxarkkhaklbphrarachwng khbwnesdcmaphbkxngthphphumiphakh 涼州 khxngtng cw thikalngedinthangekhaphrankhrtamkhasngkhxngehx cin h wngcuxepiyntkphrathycnmixactrsepnphasaid aeth wngcuxesiytrsxthibaysthankarnidxyangkhlxngaekhlw aelathrngmikhwykalngicdi smcaepnphunaid thaihtng cw prathbic aelaerimkhidcathxdh wngcuxepiynxxkcakrachbllngk aelwykh wngcuxesiykhunaethnkarphncakrachsmbtiemuxtng cw naphakhbwnesdcklbphrankhraelw tng cw xasyoxkasthirachsankwunway ekhayudxanackarpkkhrxng thxdh wngcuxepiynxxkcakrachsmbti ykh wngcuxesiykhunepnckrphrrdiaethn thrngphranam hnesiynti 漢獻帝 aeplwa ckrphrrdiesiynaehnghn swnh wngcuxepiynnn ihepn hnghnnghwng ecachayaehnghnghnng txmainpinnexng tng cw sngkhnipwangyaphiskhaehxh wngohwtayxyuinwnghyngxn 永安宮 tnpi kh s 190 khunphlrwmkalngknmaprabpramtng cw ephuxpldplxyrachsankcakenguxmmuxtng cw tng cw erimwitkwa khunphlehlanncaykh wngcuxepiynklbsurachbllngk sungepnkarsnkhlxnkhwamchxbthrrmkhxngtninthanaphusthapnackrphrrdiphraxngkhihm emuxkarrwmkalngerimaelwhnungeduxn tng cw sngkhnsnith khux hli hru 李儒 hkekiynwa liyu ipbibihh wngcuxepiyneswyyaphisplngphrachnmphraxngkhexng phrasphfngiw n susansungthaiwsahrbkhnthicaw cng 趙忠 hkekiynwa etiywtng aelaphayhlngmikarechlimphranamepn hnghnngh wayhwng 弘農懷王 aeplwa ecachayh wayaehnghnghnng rchsk ecahning 昭寧 kinewlatngaetwnthi 15 phvsphakhm kh s 189 cnthungwnthi 28 knyayn piediywknphngsawliphrabida hliw hng 劉宏 kh s 156 189 khunkhrxngrachyepnhnhlingti 漢靈帝 hkekiynwa hnelnet phramarda ehxchux 何氏 hkekiynwa ohsi aeplwa nangehx oh sinphrachnm kh s 189 phramehsitaaehnng h wngohw 皇后 hkekiynwa hxngeha aeplwa rachethwi eriykwa ehxh wngohw rachethwiehx phrachaya thngchux 唐氏 aeplwa nangthng darngtaaehnng hwngefy 王妃 aeplwa wrchaya xangxing 長七尺一寸 生皇子辯 養於史道人家 號曰史侯 Houhanshu vol 10 Part 2 道人謂道術之人也 獻帝春秋曰 靈帝數失子 不敢正名 養道人史子眇家 號曰史侯 Annotation in Houhanshu vol 10 Part 2 光和三年 立為皇后 Houhanshu vol 10 Part 2 四年 生皇子恊 后遂酖殺美人 董太后自養協 號曰董侯 Houhanshu vol 10 Part 2 初 何皇后生皇子辯 王貴人生皇子協 羣臣請立太子 帝以辯輕佻無威儀 不可為人主 然皇后有寵 且進又居重權 故乆不決 Houhanshu vol 69 六年 帝疾篤 屬協於蹇碩 碩旣受遺詔 且素輕忌於進兄弟 及帝崩 碩時在內 欲先誅進而立協 及進從外入 碩司馬潘隱與進早舊 迎而目之 進驚 馳從儳道歸營 引兵入屯百郡邸 因稱疾不入 碩謀不行 皇子辯乃即位 何太后臨朝 進與太傅袁隗輔政 錄尚書事 Houhanshu vol 69 中平六年 帝崩 皇子辯即位 尊后為皇太后 太后臨朝 Houhanshu vol 10 Part 2 進素知中官天下所疾 兼忿蹇碩圖己 及秉朝政 陰規誅之 進乃使黃門令收碩 誅之 因領其屯兵 Houhanshu vol 69 袁紹復說進曰 前竇武欲誅內寵而反為所害者 我柰何楚楚與士人對共事乎 進難違太后意 且欲誅其放縱者 紹以為中官親近至尊 出入號令 今不悉廢 後必為患 紹等又為畫策 多召四方猛將及諸豪傑 使並引兵向京城 以脅太后 進然之 進謀積日 頗泄 中官懼而思變 子婦言於舞陽君 入白太后 乃詔諸常侍皆復入直 Houhanshu vol 69 八月 進入長樂白太后 請盡誅諸常侍以下 選三署郎入守宦官廬 諸宦官相謂曰 大將軍稱疾不臨喪 不送葬 今欻入省 此意何為 竇氏事竟復起邪 又張讓等使人潛聽 具聞其語 乃率常侍段珪 畢嵐等數十人 持兵竊自側闥入 伏省中 及進出 因詐以太后詔召進 入坐省闥 讓等詰進曰 天下憒憒 亦非獨我曹罪也 先帝甞與太后不快 幾至成敗 我曹涕泣救解 各出家財千萬為禮 和恱上意 但欲託卿門戶耳 今乃欲滅我曹種族 不亦太甚乎 卿言省內穢濁 公卿以下忠清者為誰 於是尚方監渠穆拔劔斬進於嘉德殿前 讓 珪等為詔 以故太尉樊陵為司隷校尉 少府許相為河南尹 尚書得詔板 疑之 曰 請大將軍出共議 中黃門以進頭擲與尚書 曰 何進謀反 已伏誅矣 Houhanshu vol 69 進部曲將吳匡 張璋 素所親幸 在外聞進被害 欲將兵入宮 宮閤閉 袁術與匡共斫攻之 中黃門持兵守閤 會日暮 術因燒南宮九龍門及東西宮 欲以脅出讓等 讓等入白太后 言大將軍兵反 燒宮 攻尚書闥 因將太后 天子及陳留王 又劫省內官屬 從複道走北宮 尚書盧植執戈於閣道䆫下 仰數段珪 段珪等懼 乃釋太后 太后投閣得免 Houhanshu vol 69 匡遂引兵與董卓弟奉車都尉旻攻殺苗 弃其屍於苑中 紹遂閉北宮門 勒兵捕宦者 無少長皆殺之 或有無須而誤死者 至自發露然後得免 死者二千餘人 Houhanshu vol 69 張讓 段珪等困迫 遂將帝與陳留王數十人步出穀門 奔小平津 公卿並出平樂觀 無得從者 唯尚書盧植夜馳河上 王允遣河南中部掾閔貢隨植後 貢至 手劔斬數人 餘皆投河而死 明日 公卿百官乃奉迎天子還宮 以貢為郎中 封都亭侯 Houhanshu vol 69 董卓遂廢帝 又迫殺太后 殺舞陽君 何氏遂亡 而漢室亦自此敗亂 Houhanshu vol 69 并州牧董卓被徵 將兵入洛陽 陵虐朝庭 遂廢少帝為弘農王而立協 是為獻帝 董卓又議太后踧迫永樂宮 至令憂死 逆婦姑之禮 乃遷於永安宮 因進酖 弒而崩 Houhanshu vol 10 Part 2 brrnanukrm 5th century Houhanshu 1084 Volume 59 kxnhna hxngcuepiyn thdipckrphrrdihnhlingti phraecaelnet ckrphrrdicin kh s 189 ckrphrrdihnesiynti hxngcuehiyb