ในสถิติศาสตร์ การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย (อังกฤษ: regression toward the mean, reversion to the mean, reversion to mediocrity) เป็นปรากฏการณ์ที่ถ้าตัวอย่างหนึ่งของตัวแปรสุ่มมีค่าสุดขีด ตัวอย่างต่อไปของตัวแปรสุ่มเดียวกันก็จะมีโอกาสมีค่าใกล้กับค่าเฉลี่ยของตัวแปรยิ่งกว่าเดิม อีกความหมายหนึ่งก็คือ ถ้าชักตัวอย่างตัวแปรสุ่มจำนวนมาก แล้วเลือกเอาตัวแปรที่ชักได้ค่าขีดสุดส่วนหนึ่ง การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยหมายถึงเมื่อชักตัวอย่างตัวแปรที่เลือกออกมาเป็นครั้งที่สอง ค่าตัวอย่างที่ได้โดยมากจะถดถอยจากค่าสุดขีดเดิม เข้าไปใกล้ค่าเฉลี่ยเดิมของตัวแปรทั้งหมด
ตามหลักคณิตศาสตร์แล้ว กำลังของปรากฏการณ์จะขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรสุ่มทั้งหมดมีการแจกแจงความน่าจะเป็นเหมือนกันหรือไม่ ถ้ามี ปรากฏการณ์นี้ก็มีโอกาสเกิดทางสถิติ ถ้าไม่มี ก็จะเกิดอย่างอ่อนกำลังกว่าหรือไม่เกิดเลย
แนวคิดนี้มีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์เมื่อพิจารณาออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการทดสอบ ที่ตั้งใจเลือกข้อมูลที่มี ซึ่งก็คือ ควรจะเช็คข้อมูลต่อไปด้วยเพื่อเลี่ยงการสรุปข้อมูลผิด ๆ คืออาจจะเป็นข้อมูลที่มีค่าขีดสุดจริง ๆ หรืออาจเป็นค่ากวนทางสถิติ หรืออาจจะมีทั้งสองอย่าง
ตัวอย่าง
นักเรียนทำข้อสอบ
สมมุติว่ามีนักเรียนชั้นหนึ่ง ที่กำลังทำข้อสอบร้อยข้อเป็นแบบเลือกตอบถูกหรือผิด สมมุติว่านักเรียนเลือกตอบคำถามทุกข้อโดยสุ่ม ดังนั้น นักเรียนแต่ละคนก็จะเป็นเหมือนกับตัวแปรสุ่ม ที่มีการแจกแจงอันเป็นอิสระกับกันและกันแต่เหมือนกัน โดยมีค่าเฉลี่ยที่คาดหมายที่ 50 นักเรียนบางคนจะได้คะแนนสูงกว่า 50 มากและบางคนก็จะได้ต่ำกว่า 50 มากซึ่งเป็นไปโดยสุ่ม
ถ้าเลือกเอานักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุด 10% แล้วให้สอบอีกโดยเลือกคำตอบโดยสุ่มเหมือนกัน คะแนนเฉลี่ยที่คาดหมายก็จะอยู่ที่ 50 ดังนั้น คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่เลือกออกมา จึงเรียกว่า "ถดถอย" กลับไปสู่ค่าเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้ทำข้อสอบดั้งเดิม ไม่ว่าจะได้คะแนนแค่ไหนในการสอบแรก โดยคะแนนพยากรณ์ของนักเรียนแต่ละคนที่ดีสุดจะอยู่ที่ 50
แต่ถ้านักเรียนไม่ได้เลือกคำตอบโดยสุ่ม ไม่ได้อาศัย "โชค" เพื่อทำคะแนน นักเรียนที่สอบได้คะแนนดีครั้งแรกก็คาดหมายได้ว่าจะสอบได้ดีในครั้งที่สองด้วย โดยจะไม่มีการถดถอยไปยังค่าเฉลี่ย
แต่สถานการณ์จริงจะอยู่ในระหว่าง ๆ คือการได้คะแนนจะขึ้นอยู่กับทั้งความรู้และโชค ในกรณีนี้ นักเรียนที่ได้คะแนนมากกว่าเฉลี่ย ก็มีทั้งผู้มีความรู้และไม่ได้โชคร้าย กับทั้งผู้ไม่มีความรู้แต่โชคดีมาก ในการสอบครั้งที่สอง ผู้ไม่มีความรู้ไม่น่าจะได้คะแนนเหมือนกับครั้งแรก ส่วนผู้มีความรู้ก็จะได้ทดสอบโชคเป็นครั้งที่สอง ดังนั้น คนที่ได้คะแนนดีมากในครั้งแรก ก็ไม่น่าจะสอบได้ดีเท่า ๆ กันในครั้งที่สอง
ส่วนตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นความหมายอีกอย่างหนึ่งของการถดถอยไปสู่ค่าเฉลี่ย นักเรียนห้องหนึ่งสอบวิชาเดียวกันสองชุด สองวันต่อกัน มักจะพบว่า คนที่สอบได้แย่สุดในวันแรก มักจะดีขึ้นในวันที่สอง และคนที่สอบดีสุดในวันแรก มักจะแย่ลงในวันที่สอง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคะแนนมักจะขึ้นอยู่กับความรู้และโชคเป็นบางส่วน ในการสอบครั้งแรก บางคนก็จะโชคดีแล้วได้คะแนนยิ่งกว่าความรู้ที่มี บางคนก็จะโชคร้ายแล้วสอบได้คะแนนน้อยกว่าความรู้ นักเรียนที่โชคดีบางคนในวันแรกก็จะโชคดีอีกในวันที่สอง แต่นักเรียนโดยมากก็จะได้คะแนนใกล้กับค่าเฉลี่ย ดังนั้น นักเรียนที่โชคดีและได้คะแนนยิ่งกว่าความรู้ในวันแรก จึงมีโอกาสได้คะแนนแย่กว่าในวันที่สอง และเช่นเดียวกัน นักเรียนที่โชคร้ายได้คะแนนน้อยกว่าความรู้ในวันแรก ก็มักจะได้คะแนนดีกว่าในวันที่สอง โชคคือความสุ่มยิ่งมีอิทธิพลเท่าไรในเหตุการณ์ที่มีค่าขีดสุด ก็จะมีโอกาสน้อยกว่าเท่านั้นที่จะได้ค่าเช่นเดียวกันในเหตุการณ์ต่อ ๆ ไป
ตัวอย่างอื่น ๆ
ถ้าทีมกีฬาโปรดของเราชนะได้เป็นแชมป์ปีที่แล้ว คำถามก็คือ จะมีโอกาสชนะเท่าไร่ในปีต่อไป ถ้าชนะเพราะทักษะความสามารถ เช่นทีมดี โค้ชดี ก็จะมีโอกาสชนะอีกในปีต่อไป แต่ถ้าชนะเพราะโชค เช่น ทีมอื่น ๆ มีปัญหาเรื่องยาเป็นต้น ก็จะมีโอกาสชนะน้อยกว่าในปีต่อไป
ถ้าบริษัทได้กำไรมากในไตรมาสหนึ่ง แม้จริง ๆ เหตุที่เป็นพื้นฐานให้บริษัทได้กำไรไม่ได้เปลี่ยนไป ไตรมาสต่อไปก็จะมีโอกาสได้กำไรน้อยกว่า
นักกีฬาเบสบอลใหม่ที่แข่งได้ดีในปีแรก มักจะเล่นแย่กว่าในปีที่สอง ภาษาอังกฤษเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า "sophomore slump" นักกีฬาอเมริกันบางพวกเชื่อว่า การได้ขึ้นปกนิตยสาร Sports Illustrated จะนำโชคร้ายมาให้ แต่นี่เป็นผลของการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย คือ นักกีฬาปกติจะได้ขึ้นปกก็ต่อเมื่อแข่งกีฬาได้ดีมาก ต่อจากนั้น ก็จะแข่งได้แย่ลงโดยกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ย ทำให้ดูเหมือนว่า การขึ้นปกเป็นเหตุให้เล่นกีฬาได้แย่ลง
ประวัติ
แนวคิดเรื่องการถดถอยมาจากสาขาพันธุศาสตร์ เซอร์ฟราซิส กอลตัน ได้เริ่มใช้คำว่า regression ในงานศึกษาปี 1885 ชื่อว่า "Regression Toward Mediocrity in Hereditary Stature" (การกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ยของความสูงทางกรรมพันธุ์) เขาได้แสดงว่าความสูงของลูกที่เกิดจากพ่อแม่ซึ่งสูงมากหรือเตี้ยมาก มักจะอยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยของประชากรยิ่งกว่า จริง ๆ แล้ว ในสถานการณ์ที่ค่าตัวแปรสองตัวไม่มีสหสัมพันธ์ที่สมบูรณ์ ค่าพิเศษที่พบในตัวแปรหนึ่งก็อาจจะไม่พบในอีกตัวแปรหนึ่ง สหสัมพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก (เพราะความสูงไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว) จึงหมายความว่า การแจกแจงความสูงของลูก ๆ จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระหว่างความสูงเฉลี่ยของพ่อแม่ กับความสูงเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด ดังนั้น แม้ความสูงของลูกคนเดียวยังอาจจะพิเศษยิ่งกว่าพ่อแม่ แต่ก็มีโอกาสน้อย
ความสำคัญ
การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อออกแบบการทดลอง
สมมุติว่ามีตัวอย่างบุคคลพันคนผู้มีอายุใกล้ ๆ กัน ที่ได้ตรวจแล้วให้คะแนนในเรื่องความเสี่ยงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โดยวิธีการตรวจจะมีความไม่แน่นอนเป็นบางส่วน แล้วเลือก 50 คนที่เสี่ยงสูงสุดเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของการรักษา ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกาย หรือการรักษาด้วยยา แม้การรักษาจะไม่มีผลอะไร แต่กลุ่มทดลองก็คาดหวังได้ว่าจะดีขึ้นในการตรวจครั้งต่อไปเพราะปรากฏการณ์นี้ ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาที่ดีสุดก็คือการแบ่งอาสาสมัครเป็นกลุ่ม ๆ โดยสุ่ม กลุ่มหนึ่งได้การรักษา อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ การรักษาจะจัดว่าได้ผลก็ต่อเมื่อกลุ่มที่ได้การรักษาดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้
สมมุติอีกว่า จะตรวจสอบเด็กด้อยโอกาสเพื่อหาคนที่มีโอกาสสำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมากที่สุด โดยจะให้เด็กที่ได้คะแนนสูงสุด 1% ได้การศึกษาเสริม ผู้สอนพิเศษ คำแนะนำ และคอมพิวเตอร์ แต่ถึงโปรแกรมจะมีประสิทธิผล แต่คะแนนโดยเฉลี่ยก็อาจจะน้อยกว่าเมื่อทดสอบในปีต่อไป แต่ในกรณีนี้ ก็จะไม่สามารถแบ่งกลุ่มโดยสุ่มเหมือนกรณีที่แล้ว เพราะการจัดเด็กด้อยโอกาสเข้าในกลุ่มควบคุมโดยไม่ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม จัดว่าไม่ถูกจริยธรรม วิธีการคำนวณทางสถิติที่เรียกว่า shrinkage สามารถใช้แก้ปัญหานี้ แม้จะไม่แน่นอนเท่ากับการมีกลุ่มควบคุม
ปรากฏการณ์นี้ยังสามารถใช้เพื่อการอนุมานหรือการประเมินค่าโดยทั่วไป เช่น บริเวณที่ร้อนที่สุดในประเทศวันนี้ น่าจะเย็นลงในวันพรุ่งนี้ จะไม่ร้อนยิ่งขึ้น สำหรับดาราดังที่สุดในปีนี้ ภาพยนตร์เรื่องต่อไปน่าจะได้รายได้น้อยกว่า
ความเข้าใจผิด
ประเด็นต่าง ๆ ในเรื่องการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยอาจเข้าใจผิดได้ ในตัวอย่างการทดสอบนักเรียนที่ผ่านมา มีข้อสมมุติโดยปริยายว่า สิ่งที่วัดไม่เปลี่ยนในระหว่างการทดสอบทั้งสอง แต่ถ้านักเรียนจัดว่าผ่าน/ตกวิชาโดยต้องสอบให้ได้คะแนนอย่างน้อย 70 ขึ้นไปในการสอบทั้งสองเพื่อจะผ่าน นักเรียนที่ได้คะแนนน้อยกว่า 70 ในการสอบครั้งแรก ก็จะไม่มีแรงจูงใจแล้วอาจสอบได้แย่กว่าค่าเฉลี่ยในครั้งที่สอง ส่วนผู้ที่ได้คะแนนอย่างน้อย 70 ครั้งแรก ก็จะมีแรงจูงใจในการดูหนังสือและสอบให้ได้ดี ในกรณีเช่นนี้ ก็อาจจะเห็นคะแนนที่เคลื่อนไปจาก 70 คือคะแนนที่ครั้งแรกน้อยกว่า 70 ก็จะน้อยลงอีกในครั้งที่สอง และคะแนนที่เหนือกว่าก็จะสูงขึ้น ๆ ไปอีก ดังนั้น ปัจจัยบางอย่างสามารถเปลี่ยนแนวโน้มทางสถิติของการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย
การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยเป็นปรากฏการณ์ทางสถิติ ไม่ใช่เหตุ นักเรียนที่ได้คะแนนแย่สุดในการสอบครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องได้คะแนนสูงขึ้นอย่างสำคัญในวันที่สองเนื่องกับปรากฏการณ์นี้ คือโดยทั่วไปแล้ว คะแนนที่แย่สุดจะดีขึ้น เพราะผู้ที่ได้คะแนนแย่สุดน่าจะโชคร้ายมากกว่าโชคดี คะแนนที่ได้ยิ่งขึ้นอยู่กับความสุ่มเท่าไร ปรากฏการณ์นี้ก็มีโอกาสเกิดยิ่งขึ้นเท่านั้น ไม่เหมือนกับเมื่อนักเรียนได้คะแนนเนื่องกับการดูหนังสือ เป็นการวัดความสามารถจริง ๆ
ความเข้าใจผิดคลาสสิกในเรื่องนี้เป็นเรื่องการศึกษา นักเรียนที่ได้คำชมเพราะทำคะแนนได้ดี มักจะได้คะแนนแย่กว่าในครั้งต่อไป ส่วนนักเรียนที่ถูกลงโทษเพราะทำคะแนนได้แย่ ก็มักจะได้คะแนนดีกว่าในครั้งต่อไป ดังนั้น ครูอาจารย์อาจจะตัดสินใจไม่ชมนักเรียนแต่ยังลงโทษนักเรียนต่อไปเพราะเห็นเหตุการณ์เช่นนี้ ซึ่งเป็นความผิดพลาด เพราะนักเรียนอาจสอบได้ดีขึ้นหรือแย่ลงเนื่องกับปรากฏการณ์นี้ คำชมคำติไม่ใช่เหตุ
แม้ค่าขีดสุดจะถดถอยไปยังค่าเฉลี่ย ก็ไม่ได้หมายความว่าค่าตัวอย่างครั้งที่สองทั้งหมดจะเข้าไปใกล้ค่าเฉลี่ยเทียบกับการวัดครั้งแรก มาดูเรื่องนักเรียนกันใหม่ สมมุติว่าคะแนนที่มีค่าขีดสุด มักจะถดถอย 10% เข้าไปหาค่าเฉลี่ยที่ 80 ดังนั้น นักเรียนที่ได้คะแนนเต็ม 100 ในวันแรกก็คาดได้ว่าจะได้คะแนน 98 ในวันที่สอง และนักเรียนที่ได้คะแนน 70 ในวันแรกก็คาดได้ว่าจะได้คะแนน 71 ในวันที่สอง ซึ่งล้วนแต่เข้าไปใกล้ค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับคะแนนวันที่หนึ่ง แต่จริง ๆ คะแนนวันที่สองทั้งหมด จะอยู่รอบ ๆ ค่าเฉลี่ย บางส่วนจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย บางส่วนก็จะต่ำกว่า แม้สำหรับคะแนนค่าขีดสุด คะแนนวันที่สองจะเข้าใกล้ค่าเฉลี่ยเทียบกับคะแนนวันแรก แต่สำหรับคะแนนอื่น ๆ ทั้งหมดก็คาดได้ว่า การแจกแจงคะแนนโดยความต่างกับค่าเฉลี่ยก็จะเหมือนกันทั้งสองวัน
การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยจะเกิดในทิศทางทั้งสองทาง คาดได้ว่านักเรียนที่ได้คะแนนดีสุดในวันที่สองจะได้คะแนนแย่กว่าในวันแรก แต่ถ้าเราเปรียบเทียบคะแนนที่ดีสุดในวันแรกกับคะแนนดีสุดในวันที่สอง ก็จะไม่มีการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย คือเราคาดได้ว่าคะแนนที่ดีสุดทั้งสองวัน จะไกลจากค่าเฉลี่ยเท่า ๆ กัน
เหตุผลวิบัติเพราะการคืนสภาพ
มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่มักจะให้เหตุผลผิด ๆ เมื่อไม่ได้พิจารณาการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย ตัวอย่างสุด ๆ อย่างหนึ่งก็คือหนังสือปี 1933 ชื่อว่า The Triumph of Mediocrity in Business (ชัยชนะของความเป็นธรรมดา ๆ ในธุรกิจ) ที่ศาสตราจารย์ทางสถิติ ได้เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ว่า กำไรของธุรกิจที่มีความแข่งขันสูง มักจะมีอัตราผลกำไรที่ไปสู่ค่าเฉลี่ยในระยะยาว แต่จริง ๆ ก็ไม่มีปรากฏการณ์เช่นนี้ เพราะความผันแปรของอัตราผลกำไร ค่อนข้างจะคงที่ในระยะยาว ดังนั้น ศาสตราจารย์คนนี้จึงได้อธิบายเพียงปรากฏการณ์การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยธรรมดา ๆ นักรีวิวคนหนึ่งได้เทียบหนังสืออย่างหงุดหงิดกับ "การพิสูจน์ตารางสูตรคูณโดยการจัดช้างเป็นแถวเป็นสดมภ์ แล้วก็พิสูจน์ด้วยวิธีเดียวกันอีกด้วยสัตว์มากมายหลายประเภทอื่น ๆ"
การคำนวณและการตีความ "คะแนนที่ดีขึ้น" สำหรับการสอบวัดผลการศึกษาแบบมาตรฐานในรัฐแมสซาชูเซตส์ น่าจะเป็นตัวอย่างอีกอย่างเกี่ยวกับเหตุผลวิบัติเพราะการคืนสภาพ[] ในปี 1999 มีการตั้งเป้าหมายปรับปรุงคะแนนสอบของโรงเรียนต่าง ๆ โดยสำหรับโรงเรียนแต่ละแห่ง กระทรวงการศึกษาได้คำนวณความต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่นักเรียนได้ในระหว่างปี 1999 กับปี 2000 แล้วจึงพบว่า โรงเรียนซึ่งแย่ที่สุดได้ทำเข้าเป้า กระทรวงจึงใช้เป็นข้อยืนยันนโยบายว่ามีประสิทธิผล แต่ก็ปรากฏว่าโรงเรียนซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดในรัฐ เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งที่มีนักเรียนได้รางวัลระดับชาติเป็นสิบ กลับถูกจัดว่าล้มเหลว ต่อมาจึงพบว่าสิ่งที่พบเป็นเพียงแค่การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย
นักจิตวิทยาแดเนียล คาฮ์นะมันผู้ได้รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2002 ชี้ว่า การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยอาจอธิบายได้ว่า ทำไมการลงโทษจึงดูเหมือนจะทำให้ดีขึ้น แต่การกล่าวชมดูเหมือนจะทำให้แย่ลง
“ | ผมมีประสบการณ์ยูเรก้าซึ่งเยี่ยมที่สุดในชีวิตการทำงานของผมเมื่อสอนครูสอนขับเครื่องบินว่า คำชมมีประสิทธิผลดีกว่าการลงโทษในการเรียนวิชา เมื่อผมได้จบคำพูดที่ได้กล่าวอย่างกระตือรือร้น ก็มีครูสอนขับเครื่องบินผู้มีประสบการณ์มากที่สุดในบรรดาผู้ฟัง ได้ยกมือแล้วกล่าวคำพูดของตนเองอย่างสั้น ๆ ซึ่งเริ่มโดยยอมรับว่า การชมหรือการให้รางวัลอาจจะดีสำหรับนก แล้วจึงปฏิเสธต่อไปว่ามันเป็นวิธีที่ดีสุดสำหรับนักเรียนหัดขับเครื่องบิน โดยกล่าวว่า "หลายครั้งหลายหนที่ผมกล่าวชมนักเรียนขับเครื่องบินว่าทำการบินบางรูปแบบได้เป็นอย่างดี แต่โดยทั่วไปเมื่อพยายามทำอีก เขาก็จะทำได้แย่ลง แต่เมื่อผมพูดด่านักเรียนว่าทำการบินได้แย่มาก โดยทั่วไป ก็จะทำได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป เพราะฉะนั้นอย่ามาบอกพวกผมว่า การกล่าวชมหรือการให้รางวัลได้ผล และการลงโทษไม่ได้ผล เพราะสิ่งที่ตรงกันข้ามกันเป็นจริง" นี่เป็นจุดที่ผมประทับใจมาก ที่ผมเข้าใจความจริงสำคัญอย่างหนึ่งของโลก เพราะเรามักจะให้รางวัลแก่คนอื่นเมื่อเขาทำดี และลงโทษคนอื่นเพราะเขาทำไม่ดี แต่เพราะมีการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย มันจึงเป็นส่วนของชีวิตว่า เราจะได้ผลลบเมื่อให้รางวัล แต่ได้ผลดีเมื่อลงโทษผู้อื่น ผมจึงจัดการพิสูจน์ให้ดูทันที ที่อาสาสมัครแต่ละคนโยนเหรียญสองอันไปที่เป้าข้างหลังของตนโดยไม่มีการบอกหรือแนะนำอะไร ๆ แล้ววัดความห่างจากเป้า เพื่อให้เห็นว่าคนที่ทำได้ดีสุดครั้งแรก โดยมากจะทำได้แย่ลงในครั้งที่สอง โดยนัยตรงกันข้ามก็จริงเช่นกัน แต่ผมก็รู้ว่าการพิสูจน์นี้จะไม่สามารถแก้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องบังเอิญที่ไม่จริง ที่คนอื่น ๆ ได้ประสบมาตลอดชีวิต | ” |
นโยบายบังคับใช้กฎหมายของสหราชอาณาจักร ได้สนับสนุนให้ตั้งกล้องจับความเร็วที่จุดมักเกิดอุบัติเหตุ โดยให้เหตุผลว่า อุบัติเหตุร้ายแรงมักจะลดลงหลังจากที่ติดตั้งกล้อง แต่นักสถิติก็ได้ชี้แจงแล้วว่า แม้กล้องจะช่วยรักษาชีวิตของคนได้จริง ๆ แต่การไม่พิจารณาผลของการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยก็จะทำให้กล่าวว่ากล้องมีประโยชน์เกินจริง
นักกีฬาอเมริกันบางพวกเชื่อว่า การได้ขึ้นปกนิตยสาร Sports Illustrated จะนำโชคร้ายมาให้ แต่นี่เป็นผลของการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย คือ นักกีฬาปกติจะได้ขึ้นปกก็ต่อเมื่อแข่งกีฬาได้ดีมาก ต่อจากนั้น ก็จะแข่งได้แย่ลงโดยกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ย การคิดว่าการขึ้นปกนำความโชคร้ายมาให้ เป็นเหตุผลวิบัติเพราะการกลับคืนสภาพ
ถึงแม้จุดสนใจมักจะอยู่ที่นักกีฬาที่ปีหนึ่งเล่นได้ดีแล้วปีต่อไปเล่นได้แย่ลง แต่จริง ๆ ปรากฏการณ์นี้ก็เกิดขึ้นในนัยตรงกันข้ามด้วย คือนักกีฬาที่เล่นแย่ปีนี้ ปีต่อไปจะมีโอกาสเล่นได้ดีขึ้น เช่นถ้าดูค่าเฉลี่ยการตีเบสบอลของนักกีฬาเมเจอร์ลีกเบสบอลในปีหนึ่ง คนที่ตีได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย มักจะได้คะแนนน้อยลงในปีต่อไป และคนที่ตีได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ย ก็จะมักจะดีขึ้นในปีต่อไป
ปรากฏการณ์ทางสถิติอื่น ๆ
การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยหมายความว่า เมื่อมีเหตุการณ์สุ่มที่เกิดค่าขีดสุด เหตุการณ์สุ่มครั้งต่อไปมักจะได้ค่าที่น้อยกว่า ไม่ควรคิดว่า เหตุการณ์ในอนาคตจะต้องหักล้างเหตุการณ์ในอดีต เพราะความคิดเช่นนี้เป็นเหตุผลวิบัติของนักการพนัน เช่นเดียวกัน กฎค่าการทดลองเป็นจำนวนมาก (law of large numbers) ระบุว่าในระยะยาว ค่าเฉลี่ยที่ได้จะมุ่งไปสู่ค่าคาดหมาย แม้กฎนี้จะไม่ได้ระบุว่า ค่าในแต่ละครั้ง ๆ จะต้องเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าได้โยนเหรียญที่เป็นธรรมโดยออกหัว 10 ครั้ง (ซึ่งเกิดน้อยมาก เป็นค่าขีดสุด) กฎการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยระบุว่า การทดลองรอบต่อไปน่าจะออกหัวน้อยกว่า 10 ส่วนกฎค่าการทดลองเป็นจำนวนมากระบุว่า ในระยะยาว ค่าเฉลี่ยที่ได้จะมุ่งไปสู่ค่าเฉลี่ยโดยรวม คือ ส่วนสัดการออกหัวที่ได้จะมุ่งไปสู่ 1/2 ส่วนผู้ที่มีเหตุผลวิบัติของนักการพนันก็จะคิดว่า "ถึงวาระ" ที่เหรียญจะออกก้อยต่อ ๆ กัน เพื่อจะให้สมดุล
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- "regression", Longdo Dict, อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน, สืบค้นเมื่อ 2023-12-01,
๑. การถดถอย, การถอยกลับ, การกลับคืน, การถอยหลัง๒. การทุเลา [ มีความหมายเหมือนกับ abatement; subsidence ๒ ]๓. การเสื่อม [ มีความหมายเหมือนกับ degeneration; depravation; deterioration; retrogression ]๔. การฝ่อ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔]
- Everitt, B. S. (2002-08-12). The Cambridge Dictionary of Statistics (2 ed.). Cambridge University Press. ISBN .
- Upton, Graham; Cook, Ian (2008-08-21). Oxford Dictionary of Statistics. Oxford University Press. ISBN .
- Stigler, Stephen M (1997). "Regression toward the mean, historically considered". Statistical Methods in Medical Research. 6 (2): 103–114. doi:10.1191/096228097676361431. PMID 9261910.
- Chiolero, A; Paradis, G; Rich, B; Hanley, JA (2013). "Assessing the Relationship between the Baseline Value of a Continuous Variable and Subsequent Change Over Time". Frontiers in Public Health. 1: 29. doi:10.3389/fpubh.2013.00029. PMC 3854983. PMID 24350198.
- "A statistical review of 'Thinking, Fast and Slow' by Daniel Kahneman". Burns Statistics. 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01.
- "What is regression to the mean? Definition and examples". conceptually.org. สืบค้นเมื่อ 2017-10-25.
- Goldacre, Ben (2009-04-04). Bad Science. Fourth Estate. p. 39. ISBN .
- Galton, F. (1886). "Regression towards mediocrity in hereditary stature". The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. 15: 246–263. doi:10.2307/2841583. JSTOR 2841583.
- Kahneman, Daniel (2011-10-01). Thinking Fast and Slow. Farrar, Straus and Giroux. ISBN .
- Secrist, Horace; Hotelling, Harold; Rorty, M. C.; Gini, Corrada; King, Wilford I. (June 1934). "Open Letters". Journal of the American Statistical Association. 29 (186): 196–205. doi:10.1080/01621459.1934.10502711. JSTOR 2278295.
- Defulio, Anthony (2012). "Quotation: Kahneman on Contingencies". Journal of the Experimental Analysis of Behavior. 97 (2): 182. doi:10.1901/jeab.2012.97-182. PMC 3292229.
- Webster, Ben (2005-12-16). "Speed camera benefits overrated". The Times. สืบค้นเมื่อ 2022-01-01.[](ต้องรับบริการ)
- Mountain, L. (2006). "Safety cameras: Stealth tax or life-savers?". Significance. 3 (3): 111–113. doi:10.1111/j.1740-9713.2006.00179.x.
- Maher, Mike; Mountain, Linda (2009). "The sensitivity of estimates of regression to the mean". Accident Analysis & Prevention. 41 (4): 861–8. doi:10.1016/j.aap.2009.04.020. PMID 19540977.
- Gilovich, Thomas (1991). How we know what isn't so: The fallibility of human reason in everyday life. New York: The Free Press. pp. 26–27. ISBN .
- Plous, Scott (1993). The Psychology of Judgment and Decision making. New York: McGraw-Hill. p. 118. ISBN .
- For an illustration see Nate Silver, "Randomness: Catch the Fever!", Baseball Prospectus, May 14, 2003.
แหล่งข้อมูลอื่น
หนังสือและวารสาร
- Bland, J M; Altman, D G (1994-06-04). "Statistic Notes: Regression towards the mean". BMJ. 308 (6942): 1499–1499. doi:10.1136/bmj.308.6942.1499. ISSN 0959-8138. PMC 2540330. PMID 8019287.
{{}}
: CS1 maint: PMC format () Article, including a diagram of Galton's original data. - Dudewicz, Edward J.; Mishra, Satya N. (1988-01-18). "Section 14.1: Estimation of regression parameters; Linear models". Modern Mathematical Statistics. New York: Wiley. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: date and year () - Francis Galton (1886). "Regression towards mediocrity in hereditary stature" (PDF). The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. 15: 246–263. doi:10.2307/2841583. JSTOR 2841583.
- Donald F. Morrison (1967). "Chapter 3: Samples from the Multivariate Normal Population". Multivariate Statistical Methods. McGraw-Hill. ISBN .
- Stephen M. Stigler (1999). "Chapter 9". Statistics on the Table. Harvard University Press.
- Myra L. Samuels (November 1991). "Statistical Reversion Toward the Mean: More Universal than Regression Toward the Mean". The American Statistician. 45 (4): 344–346. doi:10.2307/2684474. JSTOR 2684474.
- Senn, Stephen (1990). "Regression: A New Mode for an Old Meaning?". The American Statistician. 44 (2): 181. doi:10.2307/2684164.
ลิงก์และเว็บไซต์
- Regression Toward the Mean and the Study of Change เก็บถาวร 2017-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Psychological Bulletin
- A non-mathematical explanation of regression toward the mean.
- A simulation of regression toward the mean.
- Amanda Wachsmuth, Leland Wilkinson, Gerard E. Dallal. Galton's Bend: An Undiscovered Nonlinearity in Galton's Family Stature Regression Data and a Likely Explanation Based on Pearson and Lee's Stature Data (A modern look at Galton's analysis.)
- Massachusetts standardized test scores, interpreted by a statistician as an example of regression: see discussion in sci.stat.edu and its continuation.
- Gary Smith, What the Luck: The Surprising Role of Chance in Our Everyday Lives, New York: Overlook, London: Duckworth.
แหล่งข้อมูลอื่น
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha insthitisastr karthdthxysukhaechliy xngkvs regression toward the mean reversion to the mean reversion to mediocrity epnpraktkarnthithatwxyanghnungkhxngtwaeprsum mikhasudkhid twxyangtxipkhxngtwaeprsumediywknkcamioxkasmikhaiklkbkhaechliykhxngtwaepryingkwaedim xikkhwamhmayhnungkkhux thachktwxyangtwaeprsumcanwnmak aelweluxkexatwaeprthichkidkhakhidsudswnhnung karthdthxysukhaechliyhmaythungemuxchktwxyangtwaeprthieluxkxxkmaepnkhrngthisxng khatwxyangthiidodymakcathdthxycakkhasudkhidedim ekhaipiklkhaechliyedimkhxngtwaeprthnghmd tamhlkkhnitsastraelw kalngkhxngpraktkarncakhunxyukbwa twaeprsumthnghmdmikaraeckaecngkhwamnacaepnehmuxnknhruxim thami praktkarnnikmioxkasekidthangsthiti thaimmi kcaekidxyangxxnkalngkwahruximekidely aenwkhidnimipraoychnthangwithyasastremuxphicarnaxxkaebbkarthdlxng karwiekhraahkhxmul hruxkarthdsxb thitngiceluxkkhxmulthimi sungkkhux khwrcaechkhkhxmultxipdwyephuxeliyngkarsrupkhxmulphid khuxxaccaepnkhxmulthimikhakhidsudcring hruxxacepnkhakwnthangsthiti hruxxaccamithngsxngxyangtwxyangnkeriynthakhxsxb smmutiwaminkeriynchnhnung thikalngthakhxsxbrxykhxepnaebbeluxktxbthukhruxphid smmutiwankeriyneluxktxbkhathamthukkhxodysum dngnn nkeriyn aetlakhnkcaepnehmuxnkbtwaeprsum thimikaraeckaecngxnepnxisrakbknaelaknaetehmuxnkn odymikhaechliythikhadhmaythi 50 nkeriynbangkhncaidkhaaennsungkwa 50 makaelabangkhnkcaidtakwa 50 maksungepnipodysum thaeluxkexankeriynthiidkhaaennsungsud 10 aelwihsxbxikodyeluxkkhatxbodysumehmuxnkn khaaennechliythikhadhmaykcaxyuthi 50 dngnn khaaennechliykhxngnkeriynthieluxkxxkma cungeriykwa thdthxy klbipsukhaechliykhxngnkeriynthnghmdthiidthakhxsxbdngedim imwacaidkhaaennaekhihninkarsxbaerk odykhaaennphyakrnkhxngnkeriynaetlakhnthidisudcaxyuthi 50 aetthankeriynimideluxkkhatxbodysum imidxasy ochkh ephuxthakhaaenn nkeriynthisxbidkhaaenndikhrngaerkkkhadhmayidwacasxbiddiinkhrngthisxngdwy odycaimmikarthdthxyipyngkhaechliy aetsthankarncringcaxyuinrahwang khuxkaridkhaaenncakhunxyukbthngkhwamruaelaochkh inkrnini nkeriynthiidkhaaennmakkwaechliy kmithngphumikhwamruaelaimidochkhray kbthngphuimmikhwamruaetochkhdimak inkarsxbkhrngthisxng phuimmikhwamruimnacaidkhaaennehmuxnkbkhrngaerk swnphumikhwamrukcaidthdsxbochkhepnkhrngthisxng dngnn khnthiidkhaaenndimakinkhrngaerk kimnacasxbiddietha kninkhrngthisxng swntwxyangtxipni epnkhwamhmayxikxyanghnungkhxngkarthdthxyipsukhaechliy nkeriynhxnghnungsxbwichaediywknsxngchud sxngwntxkn mkcaphbwa khnthisxbidaeysudinwnaerk mkcadikhuninwnthisxng aelakhnthisxbdisudinwnaerk mkcaaeylnginwnthisxng thiepnechnnikephraakhaaennmkcakhunxyukbkhwamruaelaochkhepnbangswn inkarsxbkhrngaerk bangkhnkcaochkhdiaelwidkhaaennyingkwakhwamruthimi bangkhnkcaochkhrayaelwsxbidkhaaennnxykwakhwamru nkeriynthiochkhdibangkhninwnaerkkcaochkhdixikinwnthisxng aetnkeriynodymakkcaidkhaaenniklkbkhaechliy dngnn nkeriynthiochkhdiaelaidkhaaennyingkwakhwamruinwnaerk cungmioxkasidkhaaennaeykwainwnthisxng aelaechnediywkn nkeriynthiochkhrayidkhaaennnxykwakhwamruinwnaerk kmkcaidkhaaenndikwainwnthisxng ochkhkhuxkhwamsumyingmixiththiphlethairinehtukarnthimikhakhidsud kcamioxkasnxykwaethannthicaidkhaechnediywkninehtukarntx ip twxyangxun thathimkilaoprdkhxngerachnaidepnaechmppithiaelw khathamkkhux camioxkaschnaethairinpitxip thachnaephraathksakhwamsamarth echnthimdi okhchdi kcamioxkaschnaxikinpitxip aetthachnaephraaochkh echn thimxun mipyhaeruxngyaepntn kcamioxkaschnanxykwainpitxip thabristhidkairmakinitrmashnung aemcring ehtuthiepnphunthanihbristhidkairimidepliynip itrmastxipkcamioxkasidkairnxykwa nkkilaebsbxlihmthiaekhngiddiinpiaerk mkcaelnaeykwainpithisxng phasaxngkvseriykpraktkarnechnniwa sophomore slump nkkilaxemriknbangphwkechuxwa karidkhunpknitysar Sports Illustrated canaochkhraymaih aetniepnphlkhxngkarthdthxysukhaechliy khux nkkilapkticaidkhunpkktxemuxaekhngkilaiddimak txcaknn kcaaekhngidaeylngodyklbkhunsukhaechliy thaihduehmuxnwa karkhunpkepnehtuihelnkilaidaeylngprawtiphaphngansuksapi 1886 khxngesxrfrasis kxltn thiaesdngshsmphnthrahwangkhwamsungkhxngphuihykbkhxngphxaem khxsngektwakhwamsungkhxnglukmkcatangkbkhwamsungechliykhxngprachakrnxykwakhwamsungkhxngphxaem epnkhxaesdngpraktkarnnikhux karthdthxysukhaechliy sungihchuxaekwithikarwiekhraahkhxmulkhux karwiekhraahkarthdthxy regression analysis aenwkhideruxngkarthdthxymacaksakhaphnthusastr esxrfrasis kxltn iderimichkhawa regression inngansuksapi 1885 chuxwa Regression Toward Mediocrity in Hereditary Stature karklbkhunsukhaechliykhxngkhwamsungthangkrrmphnthu ekhaidaesdngwakhwamsungkhxnglukthiekidcakphxaem sungsungmakhruxetiymak mkcaxyuiklkhaechliykhxngprachakryingkwa cring aelw insthankarnthikhatwaeprsxngtwimmishsmphnththismburn khaphiessthiphbintwaeprhnungkxaccaimphbinxiktwaeprhnung shsmphnththiimsmburnrahwangphxaemkbluk ephraakhwamsungimidkhunxyukbkrrmphnthuephiyngxyangediyw cunghmaykhwamwa karaeckaecngkhwamsungkhxngluk camisunyklangxyuthirahwangkhwamsungechliykhxngphxaem kbkhwamsungechliykhxngprachakrthnghmd dngnn aemkhwamsungkhxnglukkhnediywyngxaccaphiessyingkwaphxaem aetkmioxkasnxykhwamsakhykarthdthxysukhaechliy epnsingthitxngphicarnaemuxxxkaebbkarthdlxng smmutiwamitwxyangbukhkhlphnkhnphumixayuikl kn thiidtrwcaelwihkhaaennineruxngkhwamesiyngekidklamenuxhwictayehtukhadeluxd odywithikartrwccamikhwamimaennxnepnbangswn aelweluxk 50 khnthiesiyngsungsudephuxtrwcsxbprasiththiphlkhxngkarrksa sungxacepnkarepliynxahar karxxkkalngkay hruxkarrksadwyya aemkarrksacaimmiphlxair aetklumthdlxngkkhadhwngidwacadikhuninkartrwckhrngtxipephraapraktkarnni dngnn withiaekpyhathidisudkkhuxkaraebngxasasmkhrepnklum odysum klumhnungidkarrksa xikklumhnungimid karrksacacdwaidphlktxemuxklumthiidkarrksadikhunkwaklumthiimid smmutixikwa catrwcsxbedkdxyoxkasephuxhakhnthimioxkassaerckarsuksaradbmhawithyalymakthisud odycaihedkthiidkhaaennsungsud 1 idkarsuksaesrim phusxnphiess khaaenana aelakhxmphiwetxr aetthungopraekrmcamiprasiththiphl aetkhaaennodyechliykxaccanxykwaemuxthdsxbinpitxip aetinkrnini kcaimsamarthaebngklumodysumehmuxnkrnithiaelw ephraakarcdedkdxyoxkasekhainklumkhwbkhumodyimihkhwamchwyehluxephimetim cdwaimthukcriythrrm withikarkhanwnthangsthitithieriykwa shrinkage samarthichaekpyhani aemcaimaennxnethakbkarmiklumkhwbkhum praktkarnniyngsamarthichephuxkarxnumanhruxkarpraeminkhaodythwip echn briewnthirxnthisudinpraethswnni nacaeynlnginwnphrungni caimrxnyingkhun sahrbdaradngthisudinpini phaphyntreruxngtxipnacaidrayidnxykwa khwamekhaicphid praedntang ineruxngkarthdthxysukhaechliyxacekhaicphidid intwxyangkarthdsxbnkeriynthiphanma mikhxsmmutiodypriyaywa singthiwdimepliyninrahwangkarthdsxbthngsxng aetthankeriyncdwaphan tkwichaodytxngsxbihidkhaaennxyangnxy 70 khunipinkarsxbthngsxngephuxcaphan nkeriynthiidkhaaennnxykwa 70 inkarsxbkhrngaerk kcaimmiaerngcungicaelwxacsxbidaeykwakhaechliyinkhrngthisxng swnphuthiidkhaaennxyangnxy 70 khrngaerk kcamiaerngcungicinkarduhnngsuxaelasxbihiddi inkrniechnni kxaccaehnkhaaennthiekhluxnipcak 70 khuxkhaaennthikhrngaerknxykwa 70 kcanxylngxikinkhrngthisxng aelakhaaennthiehnuxkwakcasungkhun ipxik dngnn pccybangxyangsamarthepliynaenwonmthangsthitikhxngkarthdthxysukhaechliy karthdthxysukhaechliyepnpraktkarnthangsthiti imichehtu nkeriynthiidkhaaennaeysudinkarsxbkhrngaerk imcaepntxngidkhaaennsungkhunxyangsakhyinwnthisxngenuxngkbpraktkarnni khuxodythwipaelw khaaennthiaeysudcadikhun ephraaphuthiidkhaaennaeysudnacaochkhraymakkwaochkhdi khaaennthiidyingkhunxyukbkhwamsumethair praktkarnnikmioxkasekidyingkhunethann imehmuxnkbemuxnkeriynidkhaaennenuxngkbkarduhnngsux epnkarwdkhwamsamarthcring khwamekhaicphidkhlassikineruxngniepneruxngkarsuksa nkeriynthiidkhachmephraathakhaaenniddi mkcaidkhaaennaeykwainkhrngtxip swnnkeriynthithuklngothsephraathakhaaennidaey kmkcaidkhaaenndikwainkhrngtxip dngnn khruxacaryxaccatdsinicimchmnkeriynaetynglngothsnkeriyntxipephraaehnehtukarnechnni sungepnkhwamphidphlad ephraankeriynxacsxbiddikhunhruxaeylngenuxngkbpraktkarnni khachmkhatiimichehtu aemkhakhidsudcathdthxyipyngkhaechliy kimidhmaykhwamwakhatwxyangkhrngthisxngthnghmdcaekhaipiklkhaechliyethiybkbkarwdkhrngaerk madueruxngnkeriynknihm smmutiwakhaaennthimikhakhidsud mkcathdthxy 10 ekhaiphakhaechliythi 80 dngnn nkeriynthiidkhaaennetm 100 inwnaerkkkhadidwacaidkhaaenn 98 inwnthisxng aelankeriynthiidkhaaenn 70 inwnaerkkkhadidwacaidkhaaenn 71 inwnthisxng sunglwnaetekhaipiklkhaechliyemuxethiybkbkhaaennwnthihnung aetcring khaaennwnthisxngthnghmd caxyurxb khaechliy bangswncasungkwakhaechliy bangswnkcatakwa aemsahrbkhaaennkhakhidsud khaaennwnthisxngcaekhaiklkhaechliyethiybkbkhaaennwnaerk aetsahrbkhaaennxun thnghmdkkhadidwa karaeckaecngkhaaennodykhwamtangkbkhaechliykcaehmuxnknthngsxngwn karthdthxysukhaechliycaekidinthisthangthngsxngthang khadidwankeriynthiidkhaaenndisudinwnthisxngcaidkhaaennaeykwainwnaerk aetthaeraepriybethiybkhaaennthidisudinwnaerkkbkhaaenndisudinwnthisxng kcaimmikarthdthxysukhaechliy khuxerakhadidwakhaaennthidisudthngsxngwn caiklcakkhaechliyetha kn ehtuphlwibtiephraakarkhunsphaph mipraktkarnhlayxyangthimkcaihehtuphlphid emuximidphicarnakarthdthxysukhaechliy twxyangsud xyanghnungkkhuxhnngsuxpi 1933 chuxwa The Triumph of Mediocrity in Business chychnakhxngkhwamepnthrrmda inthurkic thisastracarythangsthiti idekbkhxmulepncanwnmakephuxphisucnwa kairkhxngthurkicthimikhwamaekhngkhnsung mkcamixtraphlkairthiipsukhaechliyinrayayaw aetcring kimmipraktkarnechnni ephraakhwamphnaeprkhxngxtraphlkair khxnkhangcakhngthiinrayayaw dngnn sastracarykhnnicungidxthibayephiyngpraktkarnkarthdthxysukhaechliythrrmda nkriwiwkhnhnungidethiybhnngsuxxyanghngudhngidkb karphisucntarangsutrkhunodykarcdchangepnaethwepnsdmph aelwkphisucndwywithiediywknxikdwystwmakmayhlaypraephthxun karkhanwnaelakartikhwam khaaennthidikhun sahrbkarsxbwdphlkarsuksaaebbmatrthaninrthaemssachuests nacaepntwxyangxikxyangekiywkbehtuphlwibtiephraakarkhunsphaph txngkarxangxing inpi 1999 mikartngepahmayprbprungkhaaennsxbkhxngorngeriyntang odysahrborngeriynaetlaaehng krathrwngkarsuksaidkhanwnkhwamtangrahwangkhaechliythinkeriynidinrahwangpi 1999 kbpi 2000 aelwcungphbwa orngeriynsungaeythisudidthaekhaepa krathrwngcungichepnkhxyunynnoybaywamiprasiththiphl aetkpraktwaorngeriynsungmichuxesiyngthisudinrth echn orngeriynaehnghnungthiminkeriynidrangwlradbchatiepnsib klbthukcdwalmehlw txmacungphbwasingthiphbepnephiyngaekhkarthdthxysukhaechliy nkcitwithyaaedeniyl khahnamnphuidrangwlonebl sakhaesrsthsastrpi 2002 chiwa karthdthxysukhaechliyxacxthibayidwa thaimkarlngothscungduehmuxncathaihdikhun aetkarklawchmduehmuxncathaihaeylng phmmiprasbkarnyuerkasungeyiymthisudinchiwitkarthangankhxngphmemuxsxnkhrusxnkhbekhruxngbinwa khachmmiprasiththiphldikwakarlngothsinkareriynwicha emuxphmidcbkhaphudthiidklawxyangkratuxruxrn kmikhrusxnkhbekhruxngbinphumiprasbkarnmakthisudinbrrdaphufng idykmuxaelwklawkhaphudkhxngtnexngxyangsn sungerimodyyxmrbwa karchmhruxkarihrangwlxaccadisahrbnk aelwcungptiesthtxipwamnepnwithithidisudsahrbnkeriynhdkhbekhruxngbin odyklawwa hlaykhrnghlayhnthiphmklawchmnkeriynkhbekhruxngbinwathakarbinbangrupaebbidepnxyangdi aetodythwipemuxphyayamthaxik ekhakcathaidaeylng aetemuxphmphuddankeriynwathakarbinidaeymak odythwip kcathaiddikhuninkhrngtxip ephraachannxyamabxkphwkphmwa karklawchmhruxkarihrangwlidphl aelakarlngothsimidphl ephraasingthitrngknkhamknepncring niepncudthiphmprathbicmak thiphmekhaickhwamcringsakhyxyanghnungkhxngolk ephraaeramkcaihrangwlaekkhnxunemuxekhathadi aelalngothskhnxunephraaekhathaimdi aetephraamikarthdthxysukhaechliy mncungepnswnkhxngchiwitwa eracaidphllbemuxihrangwl aetidphldiemuxlngothsphuxun phmcungcdkarphisucnihduthnthi thixasasmkhraetlakhnoynehriyysxngxnipthiepakhanghlngkhxngtnodyimmikarbxkhruxaenanaxair aelwwdkhwamhangcakepa ephuxihehnwakhnthithaiddisudkhrngaerk odymakcathaidaeylnginkhrngthisxng odynytrngknkhamkcringechnkn aetphmkruwakarphisucnnicaimsamarthaekkhwamehnekiywkberuxngbngexiythiimcring thikhnxun idprasbmatlxdchiwit noybaybngkhbichkdhmaykhxngshrachxanackr idsnbsnunihtngklxngcbkhwamerwthicudmkekidxubtiehtu odyihehtuphlwa xubtiehturayaerngmkcaldlnghlngcakthitidtngklxng aetnksthitikidchiaecngaelwwa aemklxngcachwyrksachiwitkhxngkhnidcring aetkarimphicarnaphlkhxngkarthdthxysukhaechliykcathaihklawwaklxngmipraoychnekincring nkkilaxemriknbangphwkechuxwa karidkhunpknitysar Sports Illustrated canaochkhraymaih aetniepnphlkhxngkarthdthxysukhaechliy khux nkkilapkticaidkhunpkktxemuxaekhngkilaiddimak txcaknn kcaaekhngidaeylngodyklbkhunsukhaechliy karkhidwakarkhunpknakhwamochkhraymaih epnehtuphlwibtiephraakarklbkhunsphaph thungaemcudsnicmkcaxyuthinkkilathipihnungelniddiaelwpitxipelnidaeylng aetcring praktkarnnikekidkhuninnytrngknkhamdwy khuxnkkilathielnaeypini pitxipcamioxkaselniddikhun echnthadukhaechliykartiebsbxlkhxngnkkilaemecxrlikebsbxlinpihnung khnthitiidkhaaennsungkwakhaechliy mkcaidkhaaennnxylnginpitxip aelakhnthitiidnxykwakhaechliy kcamkcadikhuninpitxip praktkarnthangsthitixun karthdthxysukhaechliyhmaykhwamwa emuxmiehtukarnsumthiekidkhakhidsud ehtukarnsumkhrngtxipmkcaidkhathinxykwa imkhwrkhidwa ehtukarninxnakhtcatxnghklangehtukarninxdit ephraakhwamkhidechnniepnehtuphlwibtikhxngnkkarphnn echnediywkn kdkhakarthdlxngepncanwnmak law of large numbers rabuwainrayayaw khaechliythiidcamungipsukhakhadhmay aemkdnicaimidrabuwa khainaetlakhrng catxngepnxyangiremuxethiybkbkhrngthiaelw yktwxyangechn thaidoynehriyythiepnthrrmodyxxkhw 10 khrng sungekidnxymak epnkhakhidsud kdkarthdthxysukhaechliyrabuwa karthdlxngrxbtxipnacaxxkhwnxykwa 10 swnkdkhakarthdlxngepncanwnmakrabuwa inrayayaw khaechliythiidcamungipsukhaechliyodyrwm khux swnsdkarxxkhwthiidcamungipsu 1 2 swnphuthimiehtuphlwibtikhxngnkkarphnnkcakhidwa thungwara thiehriyycaxxkkxytx kn ephuxcaihsmdulduephimkhwamsmehtusmphlphayin xkhtithiekidcakkareluxktwxyangxangxing regression Longdo Dict xngkvs ithy sphthbyytirachbnthitysthan subkhnemux 2023 12 01 1 karthdthxy karthxyklb karklbkhun karthxyhlng2 karthuela mikhwamhmayehmuxnkb abatement subsidence 2 3 karesuxm mikhwamhmayehmuxnkb degeneration depravation deterioration retrogression 4 karfx aephthysastr 6 s kh 2544 Everitt B S 2002 08 12 The Cambridge Dictionary of Statistics 2 ed Cambridge University Press ISBN 978 0521810999 Upton Graham Cook Ian 2008 08 21 Oxford Dictionary of Statistics Oxford University Press ISBN 978 0 19 954145 4 Stigler Stephen M 1997 Regression toward the mean historically considered Statistical Methods in Medical Research 6 2 103 114 doi 10 1191 096228097676361431 PMID 9261910 Chiolero A Paradis G Rich B Hanley JA 2013 Assessing the Relationship between the Baseline Value of a Continuous Variable and Subsequent Change Over Time Frontiers in Public Health 1 29 doi 10 3389 fpubh 2013 00029 PMC 3854983 PMID 24350198 A statistical review of Thinking Fast and Slow by Daniel Kahneman Burns Statistics 2013 11 11 subkhnemux 2022 01 01 What is regression to the mean Definition and examples conceptually org subkhnemux 2017 10 25 Goldacre Ben 2009 04 04 Bad Science Fourth Estate p 39 ISBN 978 0007284870 Galton F 1886 Regression towards mediocrity in hereditary stature The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland 15 246 263 doi 10 2307 2841583 JSTOR 2841583 Kahneman Daniel 2011 10 01 Thinking Fast and Slow Farrar Straus and Giroux ISBN 978 0 374 27563 1 Secrist Horace Hotelling Harold Rorty M C Gini Corrada King Wilford I June 1934 Open Letters Journal of the American Statistical Association 29 186 196 205 doi 10 1080 01621459 1934 10502711 JSTOR 2278295 Defulio Anthony 2012 Quotation Kahneman on Contingencies Journal of the Experimental Analysis of Behavior 97 2 182 doi 10 1901 jeab 2012 97 182 PMC 3292229 Webster Ben 2005 12 16 Speed camera benefits overrated The Times subkhnemux 2022 01 01 lingkesiy txngrbbrikar Mountain L 2006 Safety cameras Stealth tax or life savers Significance 3 3 111 113 doi 10 1111 j 1740 9713 2006 00179 x Maher Mike Mountain Linda 2009 The sensitivity of estimates of regression to the mean Accident Analysis amp Prevention 41 4 861 8 doi 10 1016 j aap 2009 04 020 PMID 19540977 Gilovich Thomas 1991 How we know what isn t so The fallibility of human reason in everyday life New York The Free Press pp 26 27 ISBN 0029117054 Plous Scott 1993 The Psychology of Judgment and Decision making New York McGraw Hill p 118 ISBN 0070504776 For an illustration see Nate Silver Randomness Catch the Fever Baseball Prospectus May 14 2003 aehlngkhxmulxunhnngsuxaelawarsar Bland J M Altman D G 1994 06 04 Statistic Notes Regression towards the mean BMJ 308 6942 1499 1499 doi 10 1136 bmj 308 6942 1499 ISSN 0959 8138 PMC 2540330 PMID 8019287 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint PMC format lingk Article including a diagram of Galton s original data Dudewicz Edward J Mishra Satya N 1988 01 18 Section 14 1 Estimation of regression parameters Linear models Modern Mathematical Statistics New York Wiley ISBN 978 0 471 81472 6 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date and year lingk Francis Galton 1886 Regression towards mediocrity in hereditary stature PDF The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland 15 246 263 doi 10 2307 2841583 JSTOR 2841583 Donald F Morrison 1967 Chapter 3 Samples from the Multivariate Normal Population Multivariate Statistical Methods McGraw Hill ISBN 978 0 534 38778 5 Stephen M Stigler 1999 Chapter 9 Statistics on the Table Harvard University Press Myra L Samuels November 1991 Statistical Reversion Toward the Mean More Universal than Regression Toward the Mean The American Statistician 45 4 344 346 doi 10 2307 2684474 JSTOR 2684474 Senn Stephen 1990 Regression A New Mode for an Old Meaning The American Statistician 44 2 181 doi 10 2307 2684164 lingkaelaewbist Regression Toward the Mean and the Study of Change ekbthawr 2017 04 15 thi ewyaebkaemchchin Psychological Bulletin A non mathematical explanation of regression toward the mean A simulation of regression toward the mean Amanda Wachsmuth Leland Wilkinson Gerard E Dallal Galton s Bend An Undiscovered Nonlinearity in Galton s Family Stature Regression Data and a Likely Explanation Based on Pearson and Lee s Stature Data A modern look at Galton s analysis Massachusetts standardized test scores interpreted by a statistician as an example of regression see discussion in sci stat edu and its continuation Gary Smith What the Luck The Surprising Role of Chance in Our Everyday Lives New York Overlook London Duckworth aehlngkhxmulxun