เซลล์ประสาทรับกลิ่น (อังกฤษ: olfactory receptor neuron ตัวย่อ ORN, olfactory sensory neuron ตัวย่อ OSN) เป็นเซลล์ที่ถ่ายโอนกลิ่นเป็นกระแสประสาทภายในระบบรับกลิ่น เป็นเซลล์ที่อยู่ภายในเยื่อรับกลิ่นที่บุบางส่วนของโพรงจมูก (ประมาณ 5 ซม2 ในมนุษย์) บริเวณยอดเซลล์จะมีเส้นขนเล็ก ๆ (olfactory cilia) ที่ทำหน้าที่จับโมเลกุลกลิ่นจากสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาภายในรูจมูก เซลล์จะถ่ายโอนกลิ่นเป็นกระแสประสาทแล้วส่งผ่านเส้นประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve) ซึ่งวิ่งผ่านรูในกระดูก cribriform plate เหนือโพรงจมูกขึ้นไปยังป่องรับกลิ่นในสมอง การรับกลิ่นของมนุษย์จะไม่พัฒนาเทียบเท่ากับสัตว์บางชนิดเช่นสุนัข ซึ่งมีประสาทรับกลิ่นที่ดีเยี่ยม
เซลล์ประสาทรับกลิ่น (Olfactory receptor neuron) | |
---|---|
รายละเอียด | |
ที่ตั้ง | เยื่อรับกลิ่นในจมูก |
รูปร่าง | ปลายประสาทรับความรู้สึกแบบสองขั้ว (Bipolar sensory receptor) |
หน้าที่ | ตรวจจับร่องรอยสารเคมีในอากาศที่สูดเข้า (เพื่อได้กลิ่น) |
สารส่งผ่านประสาท | กลูตาเมต |
การเชื่อมก่อนจุดประสานประสาท | ไม่มี |
การเชื่อมหลังจุดประสานประสาท | ป่องรับกลิ่น (Olfactory bulb) |
ตัวระบุ | |
MeSH | D018034 |
นิวโรเล็กซ์ ID | nifext_116 |
H3.11.07.0.01003 | |
FMA | 67860 |
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ] |
โครงสร้างและการทำงาน
มนุษย์มีเซลล์ประสาทรับกลิ่นประมาณ 12 ล้านตัว ซึ่งจะเปลี่ยนทุก ๆ 30-60 วันทดแทนด้วยเซลล์ต้นกำเนิดชั้นฐาน (basal stem cell) ที่พัฒนากลายเป็นเซลล์ประสาทรับกลิ่น เทียบกับหนูที่มี 15 ล้านตัว กับสุนัขทั่วไปที่มี 125-220 ล้านตัว และกับสุนัขบลัดฮาวด์ที่มีถึง 300 ล้านตัว
เซลล์จะเป็นแบบเซลล์ประสาทสองขั้วโดยมีเดนไดรต์งอกออกจากส่วนยอดและหันออกจากแผ่นกระดูกพรุน (cribriform plate) และมีแอกซอนซึ่งไม่หุ้มปลอกไมอีลินและงอกออกจากส่วนฐานแล้ววิ่งผ่านรูแผ่นกระดูกขึ้นไปสุดที่ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb) ซีกร่างกายเดียวกันในสมอง ตัวเซลล์จะอยู่ที่เยื่อรับกลิ่น (olfactory epithelium) ในช่องจมูก โดยกระจายไปตามชั้นทั้งสามของเนื้อเยื่อ แอกซอนจากฐานจะรวมตัวกันเป็นมัดใยประสาทจำนวนมากที่รวม ๆ กันเรียกว่า ฆานประสาท (olfactory nerve, CN I) ก่อนจะวิ่งผ่านรูกระดูกพรุน
ไม่เหมือนกับเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอื่น ๆ เช่น เซลล์รับแสงในจอตา และเซลล์ขนในคอเคลีย เซลล์ประสาทรับกลิ่นเองมีแอกซอนคือสามารถส่งศักยะงานไปยังระบบประสาทส่วนกลางโดยไม่ต้องอาศัยเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง นอกจากนั้น เซลล์ยังส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนกลางคือป่องรับกลิ่นโดยไม่ผ่านทาลามัสเหมือนกับระบบรับความรู้สึกอื่น ๆ อีกด้วย โดยป่องรับกลิ่นจะทำหน้าที่นี้แทนทาลามัส
เซลล์รับกลิ่นแต่ละตัวจะแสดงออกหน่วยรับกลิ่นเพียงแค่ชนิดเดียว แต่เซลล์หลายตัวจะแสดงออกหน่วยรับกลิ่นชนิดเดียวกันซึ่งจับกับโมเลกุลกลิ่นแบบเดียวกัน เซลล์รับกลิ่นที่มีหน่วยรับกลิ่นประเภทเดียวกันนี้จะอยู่จำกัดภายในโซนหลายโซนของเยื่อรับกลิ่นโดยกระจายไปอย่างสุ่มในโซนนั้น ๆ แอกซอนของเซลล์รับกลิ่นต่าง ๆ ที่มีหน่วยรับกลิ่นชนิดเดียวกัน จะวิ่งรวมเข้าที่โกลเมอรูลัส (glomerulus) โดยเฉพาะ ๆ ของป่องรับกลิ่นในซีกร่างกายเดียวกัน และปกติจะส่งแอกซอนไปยังโกลเมอรูลัสเป็นคู่ในป่องรับกลิ่น โกลเมอรูลัสแต่ละอันจะอยู่ด้านตรงข้ามของป่องโดยมีเส้นแบ่งข้างวิ่งผ่านป่องในแนวทแยง
ซีเลีย
ซีเลียที่คล้ายขนเล็ก ๆ จำนวนมากจะยื่นออกจากเดนไดรต์อันเดียวของเซลล์รับกลิ่นส่วนยอด เข้าไปในชั้นเมือกหนาที่ปกคลุมผิวของเยื่อรับกลิ่น ผิวของซิเลียจะปกคลุมด้วยโปรตีนหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor, ตัวย่อ OR) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ G protein-coupled receptor หน่วยรับกลิ่นจะมีกลไกในการขยายสัญญาณกลิ่นและถ่ายโอนกลิ่นเป็นกระแสประสาท
ซีเลียของเซลล์รับกลิ่นไม่มีโครงสร้างเหมือนกับซีเลียที่เคลื่อนที่ได้ (คือที่เป็นไมโครทิวบูลแบบ 9+2) แม้รูปอาจจะเหมือน แต่ซีเลียของเซลล์กลับสมบูรณ์ไปด้วยแอกตินและเหมือนกับ microvilli ของเยื่อบุผิวอื่น ๆ มากกว่า เช่นดังที่พบในปอดหรือในลำไส้ เป็นโครงสร้างที่ช่วยขยายขนาดพื้นที่ในการรับกลิ่นเป็นอย่างมาก มีโปรตีนหน่วยรับกลิ่นหลายอย่างที่จำเป็นในการถ่ายโอนสัญญาณกลิ่นเป็นกระแสประสาท และพบอย่างหนาแน่นหรือโดยส่วนเดียวที่ซีเลียของเซลล์รับกลิ่น
หน่วยรับกลิ่นและกลไกการทำงาน
หน่วยรับกลิ่นซึ่งอยู่ที่เยื่อหุ้มซีเลีย ได้ระบุแล้วว่าเป็นช่องไอออนแบบ ligand-gated metabotropic channels มียีนประมาณ 1,000 ยีนที่เข้ารหัสตัวรับความรู้สึกในมนุษย์ ทำให้เป็นกลุ่มยีนขนาดใหญ่ที่สุดในดีเอ็นเอมนุษย์ โมเลกุลกลิ่นจะละลายในเมือกของเยื่อรับความรู้สึกแล้วจับกับหน่วยรับความรู้สึก โดยแต่ละหน่วยสามารถจับกับโมเลกุลกลิ่นได้หลายชนิด แม้จะมีสัมพรรคภาพต่อกลิ่นต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ความต่าง ๆ ทางสัมพรรคภาพเช่นนี้ จะเป็นเหตุเกิดการตอบสนองในรูปแบบต่าง ๆ โดยเป็นโปรไฟล์การตอบสนองต่อกลิ่นโดยเฉพาะ ๆ
หน่วยรับกลิ่นที่จับกับโมเลกุลกลิ่นจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณเป็นลำดับภายในเซลล์ ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เซลล์ลดขั้วแล้วส่งศักยะงานไปยังป่องรับกลิ่น โดยรายละเอียดก็คือ เมื่อจับกับกลิ่นแล้ว หน่วยรับกลิ่นจะเปลี่ยนโครงสร้างแล้วเริ่มการทำงานของ G protein ภายในเซลล์รับกลิ่นซึ่งอยู่ที่ปลาย carboxyl ของหน่วยรับกลิ่น G protein (Golf และ/หรือ Gs) ซึ่งเป็นประเภทที่เฉพาะต่อระบบรับกลิ่น ก็จะเริ่มการทำงานของเอนไซม์ adenylate cyclase III (ACIII) ซึ่งเป็นเอนไซม์เฉพาะในระบบรับกลิ่นเช่นกัน และเพิ่มการปล่อย cyclic AMP (cAMP) ซึ่งทำหน้าที่เป็น second messenger โดยอาศัยอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) แล้ว cAMP ก็จะเปิดช่องไอออน cyclic nucleotide-gated ion channel ทำให้ไอออนแคลเซียม (Na+) และโซเดียม (Ca2+) ซึมเข้ามาในเซลล์ได้ แล้วทำให้เซลล์รับกลิ่นลดขั้ว (depolarized) นอกจากนั้น Ca2+ ที่เพิ่มขึ้นก็จะเปิดช่องไอออน Ca2+-gated Cl- channel ซึ่งขยายการลดขั้วของเซลล์ที่แพร่กระจายไปตามตัวเซลล์อย่างแพสซิฟจนถึงส่วน axon hillock ของตัวเซลล์ ซึ่งเป็นจุดที่สร้างศักยะงานอาศัยช่องไอออน voltage-regulated Na+ channel เพื่อส่งไปยังป่องรับกลิ่น
การลดการตอบสนองของเซลล์รับกลิ่น
เซลล์ประสาทรับกลิ่นได้การป้อนกลับเชิงลบที่มีผลอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการลดขั้ว คือเมื่อเซลล์กำลังลดขั้ว ช่อง cyclic nucleotide-gated ion channel ก็จะเปิดให้ไอออนโซเดียมและแคลเซียมไหลเข้าไปในเซลล์ การไหลเข้าของแคลเซียมจะเริ่มการทำงานเป็นลำดับภายในเซลล์ คือ ในขั้นแรก แคลเซียมจะเข้ายึดกับ calmodulin รวมเป็น CaM ซึ่งก็จะเข้ายึดกับ cyclic nucleotide-gated ion channel แล้วปิดช่อง ซึ่งหยุดการไหลเข้าของโซเดียมและแคลเซียม CaM ก็จะเริ่มการทำงานของ CaMKII ซึ่งจะเพิ่มกลุ่ม Phosphoryl ให้กับ ACIII และลดการผลิต cAMP CaMKII ยังเริ่มการทำงานของ phosphodiesterase ซึ่งจะสลาย cAMP ด้วยน้ำ กระบวนการป้อนกลับเชิงลบจะมีผลยับยั้งไม่ให้เซลล์ตอบสนองเมื่อมีโมเลกุลกลิ่นเข้ามาอีก
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Berkowicz, D. A.; Trombley, P. Q.; Shepherd, G. M. (1994). "Evidence for glutamate as the olfactory receptor cell neurotransmitter". Journal of Neurophysiology. 71 (6): 2557–61. PMID 7931535.[]
- Vermeulen, A; Rospars, J. P. (1998). "Dendritic integration in olfactory sensory neurons: A steady-state analysis of how the neuron structure and neuron environment influence the coding of odor intensity". Journal of computational neuroscience. 5 (3): 243–66. PMID 9663551.
- Buck & Bargmann 2013, A Large Number of Olfactory Receptor Proteins Initiate the Sense of Smell, 713-716
- Purves et al 2008a, Figure 15.2 Odorant perception in mammals., p. 366
- Coren, Stanley (2004). How Dogs Think. First Free Press, Simon & Schuster. pp. 0-7432–2232-6.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Cunningham, A.M.; Manis, P.B.; Reed, R.R.; Ronnett, G.V. (1999). "Olfactory receptor neurons exist as distinct subclasses of immature and mature cells in primary culture". Neuroscience. 93 (4): 1301–12. doi:10.1016/s0306-4522(99)00193-1. PMID 10501454.
- Purves et al 2008a, Figure 15.1-Organization of the human olfactory system, p. 364
- Purves et al 2008a, The Olfactory Bulb, pp. 378-381
- Purves et al 2008a, The Organization of the Olfactory System, pp. 363-365
- McEwen, D. P (2008). "Olfactory cilia: our direct neuronal connection to the external world". Curr. Top. Dev. Biol. 85: 333–370. doi:10.1016/S0070-2153(08)00812-0.
- Buck & Bargmann 2013a, Sensory Inputs in the Olfactory Bulb Are Arranged by Receptor Type, pp. 717-719
- Purves et al 2008a, Olfactory Epithelium and Olfactory Receptor Neurons, pp. 369-372
- Touhara, Kazushige (2009). "Insect Olfactory Receptor Complex Functions as a Ligand-gated Ionotropic Channel". Annals of the New York Academy of Sciences. 1170: 177–80. Bibcode:2009NYASA1170..177T. doi:10.1111/j.1749-6632.2009.03935.x. PMID 19686133.
- Bieri, S.; Monastyrskaia, K; Schilling, B (2004). "Olfactory Receptor Neuron Profiling using Sandalwood Odorants". Chemical Senses. 29 (6): 483–7. doi:10.1093/chemse/bjh050. PMID 15269120.
- Fan, Jinhong; Ngai, John (2001). "Onset of Odorant Receptor Gene Expression during Olfactory Sensory Neuron Regeneration". Developmental Biology. 229 (1): 119–27. doi:10.1006/dbio.2000.9972. PMID 11133158.
- Buck & Bargmann 2013, Mammals Share a Large Family of Odorant Receptors, 714-715
- Jones, DT; Reed, RR (May 1989). "Golf: an olfactory neuron specific-G protein involved in odorant signal transduction". Science. 244 (4906): 790–5. Bibcode:1989Sci...244..790J. doi:10.1126/science.2499043. PMID 2499043.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Purves et al 2008a, The Transduction of Olfactory Signals, pp. 375-378
- Bradley, J; Reuter, D; Frings, S (2001). "Facilitation of calmodulinmediated odor adaptation by cAMP-gated channel subunits". Science. 294: 2176–2178. doi:10.1126/science.1063415. PMID 11739960.
- Wei, J; Zhao, AZ; Chan, GC; Baker, LP; Impey, S; Beavo, JA; Storm, DR (1998). "Phosphorylation and inhibition of olfactory adenylyl cyclase by CaM kinase II in Neurons: a mechanism for attenuation of olfactory signals". Neuron. 21: 495–504. doi:10.1016/s0896-6273(00)80561-9. PMID 9768837.
- Yan, C; Zhao, AZ; Bentley, JK; Loughney, K; Ferguson, K; Beavo, JA (1995). "Molecular cloning and characterization of a calmodulin-dependent phosphodiesterase enriched in olfactory sensory neurons". Proc Natl Acad Sci USA. 92: 9677–9681. doi:10.1073/pnas.92.21.9677.
แหล่งข้อมูลอื่น
- NIF Search - Olfactory receptor neuron[] via the Neuroscience Information Framework
- Insect olfaction
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
esllprasathrbklin xngkvs olfactory receptor neuron twyx ORN olfactory sensory neuron twyx OSN epnesllthithayoxnklinepnkraaesprasathphayinrabbrbklin epnesllthixyuphayineyuxrbklinthibubangswnkhxngophrngcmuk praman 5 sm2 inmnusy briewnyxdesllcamiesnkhnelk olfactory cilia thithahnathicbomelkulklincaksingaewdlxmthiekhamaphayinrucmuk esllcathayoxnklinepnkraaesprasathaelwsngphanesnprasathrbklin olfactory nerve sungwingphanruinkraduk cribriform plate ehnuxophrngcmukkhunipyngpxngrbklininsmxng karrbklinkhxngmnusycaimphthnaethiybethakbstwbangchnidechnsunkh sungmiprasathrbklinthidieyiymesllprasathrbklin Olfactory receptor neuron raylaexiydthitngeyuxrbklinincmukruprangplayprasathrbkhwamrusukaebbsxngkhw Bipolar sensory receptor hnathitrwccbrxngrxysarekhmiinxakasthisudekha ephuxidklin sarsngphanprasathklutaemtkarechuxmkxncudprasanprasathimmikarechuxmhlngcudprasanprasathpxngrbklin Olfactory bulb twrabuMeSHD018034niworelks IDnifext 116H3 11 07 0 01003FMA67860 aekikhbnwikisneths aephnphaphkhxngesllprasathrbklinokhrngsrangaelakarthanganmnusymiesllprasathrbklinpraman 12 lantw sungcaepliynthuk 30 60 wnthdaethndwyeslltnkaenidchnthan basal stem cell thiphthnaklayepnesllprasathrbklin ethiybkbhnuthimi 15 lantw kbsunkhthwipthimi 125 220 lantw aelakbsunkhbldhawdthimithung 300 lantw esllcaepnaebbesllprasathsxngkhwodymiednidrtngxkxxkcakswnyxdaelahnxxkcakaephnkradukphrun cribriform plate aelamiaexksxnsungimhumplxkimxilinaelangxkxxkcakswnthanaelwwingphanruaephnkradukkhunipsudthipxngrbklin olfactory bulb sikrangkayediywkninsmxng twesllcaxyuthieyuxrbklin olfactory epithelium inchxngcmuk odykracayiptamchnthngsamkhxngenuxeyux aexksxncakthancarwmtwknepnmdiyprasathcanwnmakthirwm kneriykwa khanprasath olfactory nerve CN I kxncawingphanrukradukphrun imehmuxnkbesllprasathrbkhwamrusukxun echn esllrbaesngincxta aelaesllkhninkhxekhliy esllprasathrbklinexngmiaexksxnkhuxsamarthsngskyanganipyngrabbprasathswnklangodyimtxngxasyesllprasathxiktwhnung nxkcaknn esllyngsngsyyanipyngrabbprasathswnklangkhuxpxngrbklinodyimphanthalamsehmuxnkbrabbrbkhwamrusukxun xikdwy odypxngrbklincathahnathiniaethnthalams esllrbklinaetlatwcaaesdngxxkhnwyrbklinephiyngaekhchnidediyw aetesllhlaytwcaaesdngxxkhnwyrbklinchnidediywknsungcbkbomelkulklinaebbediywkn esllrbklinthimihnwyrbklinpraephthediywknnicaxyucakdphayinosnhlayosnkhxngeyuxrbklinodykracayipxyangsuminosnnn aexksxnkhxngesllrbklintang thimihnwyrbklinchnidediywkn cawingrwmekhathioklemxruls glomerulus odyechphaa khxngpxngrbklininsikrangkayediywkn aelapkticasngaexksxnipyngoklemxrulsepnkhuinpxngrbklin oklemxrulsaetlaxncaxyudantrngkhamkhxngpxngodymiesnaebngkhangwingphanpxnginaenwthaeyng sieliy sieliythikhlaykhnelk canwnmakcayunxxkcakednidrtxnediywkhxngesllrbklinswnyxd ekhaipinchnemuxkhnathipkkhlumphiwkhxngeyuxrbklin phiwkhxngsieliycapkkhlumdwyoprtinhnwyrbklin olfactory receptor twyx OR sungepnrupaebbhnungkhxng G protein coupled receptor hnwyrbklincamiklikinkarkhyaysyyanklinaelathayoxnklinepnkraaesprasath sieliykhxngesllrbklinimmiokhrngsrangehmuxnkbsieliythiekhluxnthiid khuxthiepnimokhrthiwbulaebb 9 2 aemrupxaccaehmuxn aetsieliykhxngesllklbsmburnipdwyaexktinaelaehmuxnkb microvilli khxngeyuxbuphiwxun makkwa echndngthiphbinpxdhruxinlais epnokhrngsrangthichwykhyaykhnadphunthiinkarrbklinepnxyangmak mioprtinhnwyrbklinhlayxyangthicaepninkarthayoxnsyyanklinepnkraaesprasath aelaphbxyanghnaaennhruxodyswnediywthisieliykhxngesllrbklin hnwyrbklinaelaklikkarthangan hnwyrbklinsungxyuthieyuxhumsieliy idrabuaelwwaepnchxngixxxnaebb ligand gated metabotropic channels miyinpraman 1 000 yinthiekharhstwrbkhwamrusukinmnusy thaihepnklumyinkhnadihythisudindiexnexmnusy omelkulklincalalayinemuxkkhxngeyuxrbkhwamrusukaelwcbkbhnwyrbkhwamrusuk odyaetlahnwysamarthcbkbomelkulklinidhlaychnid aemcamismphrrkhphaphtxklintang imethakn khwamtang thangsmphrrkhphaphechnni caepnehtuekidkartxbsnxnginrupaebbtang odyepnopriflkartxbsnxngtxklinodyechphaa hnwyrbklinthicbkbomelkulklincathaihekidkarsngsyyanepnladbphayinesll sunginthisudkthaihesllldkhwaelwsngskyanganipyngpxngrbklin odyraylaexiydkkhux emuxcbkbklinaelw hnwyrbklincaepliynokhrngsrangaelwerimkarthangankhxng G protein phayinesllrbklinsungxyuthiplay carboxyl khxnghnwyrbklin G protein Golf aela hrux Gs sungepnpraephththiechphaatxrabbrbklin kcaerimkarthangankhxngexnism adenylate cyclase III ACIII sungepnexnismechphaainrabbrbklinechnkn aelaephimkarplxy cyclic AMP cAMP sungthahnathiepn second messenger odyxasyxadionsinitrfxseft ATP aelw cAMP kcaepidchxngixxxn cyclic nucleotide gated ion channel thaihixxxnaekhlesiym Na aelaosediym Ca2 sumekhamainesllid aelwthaihesllrbklinldkhw depolarized nxkcaknn Ca2 thiephimkhunkcaepidchxngixxxn Ca2 gated Cl channel sungkhyaykarldkhwkhxngesllthiaephrkracayiptamtwesllxyangaephssifcnthungswn axon hillock khxngtwesll sungepncudthisrangskyanganxasychxngixxxn voltage regulated Na channel ephuxsngipyngpxngrbklin karldkartxbsnxngkhxngesllrbklin karpxnklbinechinglbsungldkarthayoxnklinkhxngesllprasathrbklin klawxikxyangkkhux ldkartxbsnxngtxklin esllprasathrbklinidkarpxnklbechinglbthimiphlxyangrwderwemuxekidkarldkhw khuxemuxesllkalngldkhw chxng cyclic nucleotide gated ion channel kcaepidihixxxnosediymaelaaekhlesiymihlekhaipinesll karihlekhakhxngaekhlesiymcaerimkarthanganepnladbphayinesll khux inkhnaerk aekhlesiymcaekhayudkb calmodulin rwmepn CaM sungkcaekhayudkb cyclic nucleotide gated ion channel aelwpidchxng sunghyudkarihlekhakhxngosediymaelaaekhlesiym CaM kcaerimkarthangankhxng CaMKII sungcaephimklum Phosphoryl ihkb ACIII aelaldkarphlit cAMP CaMKII yngerimkarthangankhxng phosphodiesterase sungcaslay cAMP dwyna krabwnkarpxnklbechinglbcamiphlybyngimiheslltxbsnxngemuxmiomelkulklinekhamaxikduephimtwrbrusarekhmi twrbkhwamrusukechingxrrthaelaxangxingBerkowicz D A Trombley P Q Shepherd G M 1994 Evidence for glutamate as the olfactory receptor cell neurotransmitter Journal of Neurophysiology 71 6 2557 61 PMID 7931535 lingkesiy Vermeulen A Rospars J P 1998 Dendritic integration in olfactory sensory neurons A steady state analysis of how the neuron structure and neuron environment influence the coding of odor intensity Journal of computational neuroscience 5 3 243 66 PMID 9663551 Buck amp Bargmann 2013 A Large Number of Olfactory Receptor Proteins Initiate the Sense of Smell 713 716harvnb error no target CITEREFBuckBargmann2013 Purves et al 2008a Figure 15 2 Odorant perception in mammals p 366harvnb error no target CITEREFPurves et al2008a Coren Stanley 2004 How Dogs Think First Free Press Simon amp Schuster pp 0 7432 2232 6 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Cunningham A M Manis P B Reed R R Ronnett G V 1999 Olfactory receptor neurons exist as distinct subclasses of immature and mature cells in primary culture Neuroscience 93 4 1301 12 doi 10 1016 s0306 4522 99 00193 1 PMID 10501454 Purves et al 2008a Figure 15 1 Organization of the human olfactory system p 364harvnb error no target CITEREFPurves et al2008a Purves et al 2008a The Olfactory Bulb pp 378 381harvnb error no target CITEREFPurves et al2008a Purves et al 2008a The Organization of the Olfactory System pp 363 365harvnb error no target CITEREFPurves et al2008a McEwen D P 2008 Olfactory cilia our direct neuronal connection to the external world Curr Top Dev Biol 85 333 370 doi 10 1016 S0070 2153 08 00812 0 Buck amp Bargmann 2013a Sensory Inputs in the Olfactory Bulb Are Arranged by Receptor Type pp 717 719harvnb error no target CITEREFBuckBargmann2013a Purves et al 2008a Olfactory Epithelium and Olfactory Receptor Neurons pp 369 372harvnb error no target CITEREFPurves et al2008a Touhara Kazushige 2009 Insect Olfactory Receptor Complex Functions as a Ligand gated Ionotropic Channel Annals of the New York Academy of Sciences 1170 177 80 Bibcode 2009NYASA1170 177T doi 10 1111 j 1749 6632 2009 03935 x PMID 19686133 Bieri S Monastyrskaia K Schilling B 2004 Olfactory Receptor Neuron Profiling using Sandalwood Odorants Chemical Senses 29 6 483 7 doi 10 1093 chemse bjh050 PMID 15269120 Fan Jinhong Ngai John 2001 Onset of Odorant Receptor Gene Expression during Olfactory Sensory Neuron Regeneration Developmental Biology 229 1 119 27 doi 10 1006 dbio 2000 9972 PMID 11133158 Buck amp Bargmann 2013 Mammals Share a Large Family of Odorant Receptors 714 715harvnb error no target CITEREFBuckBargmann2013 Jones DT Reed RR May 1989 Golf an olfactory neuron specific G protein involved in odorant signal transduction Science 244 4906 790 5 Bibcode 1989Sci 244 790J doi 10 1126 science 2499043 PMID 2499043 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Purves et al 2008a The Transduction of Olfactory Signals pp 375 378harvnb error no target CITEREFPurves et al2008a Bradley J Reuter D Frings S 2001 Facilitation of calmodulinmediated odor adaptation by cAMP gated channel subunits Science 294 2176 2178 doi 10 1126 science 1063415 PMID 11739960 Wei J Zhao AZ Chan GC Baker LP Impey S Beavo JA Storm DR 1998 Phosphorylation and inhibition of olfactory adenylyl cyclase by CaM kinase II in Neurons a mechanism for attenuation of olfactory signals Neuron 21 495 504 doi 10 1016 s0896 6273 00 80561 9 PMID 9768837 Yan C Zhao AZ Bentley JK Loughney K Ferguson K Beavo JA 1995 Molecular cloning and characterization of a calmodulin dependent phosphodiesterase enriched in olfactory sensory neurons Proc Natl Acad Sci USA 92 9677 9681 doi 10 1073 pnas 92 21 9677 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb esllrbklin NIF Search Olfactory receptor neuron lingkesiy via the Neuroscience Information Framework Insect olfaction