แคแทบอลิซึม(อังกฤษ:Catabolism) หรือ วิถีแคแทบอลิซึม(อังกฤษ:Catabolic pathway) เป็นกลุ่มวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งสลายโมเลกุลเป็นหน่วยขนาดเล็กและปลดปล่อยพลังงาน ในแคแทบอลิซึม โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ ลิพิด กรดนิวคลีอิกและโปรตีนถูกสลายเป็นหน่วยขนาดเล็กกว่า เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ กรดไขมัน นิวคลีโอไทด์และกรดอะมิโนตามลำดับ โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วยหน่วยสายยาวนี้ เรียกว่า พอลิเมอร์
เซลล์ใช้มอโนเมอร์ที่ปลดปล่อยจากการสลายพอลิเมอร์เพื่อสร้างโมเลกุลพอลิเมอร์ใหม่ หรือย่อยมอโนเมอร์นั้นอีกจนเหลือผลิตภัณฑ์ของเสียที่มีโครงสร้างเรียบง่าย และปลดปล่อยพลังงานออกมา ของเสียในเซลล์รวมถึง กรดอะซีติก คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนียและยูเรีย การสร้างของเสียเหล่านี้โดยปกติเป็นขบวนการออกซิเดชันเกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยพลังงานเคมีอิสระ ซึ่งบางส่วนสูญเสียไปในรูปความร้อน แต่ส่วนที่เหลือถูกใช้เพื่อขับเคลื่อนการสังเคราะห์อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) โมเลกุลนี้ทำหน้าที่เป็นหนทางที่เซลล์ขนส่งพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแคแทบอลิซึมไปยังปฏิกิริยาที่ต้องการพลังงานซึ่งประกอบเป็นแอแนบอลิซึม ฉะนั้น แคแทบอลิซึมจึงให้พลังงานเคมีซึ่งจำเป็นต่อการคงสภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ ตัวอย่างของขบวนการแคแทบอลิซึม เช่น ไกลโคไลสิส วัฏจักรเครปส์ การสลายโปรตีนกล้ามเนื้อเพื่อใช้กรดอะมิโนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูโคส และการสลายไขมันในเป็นกรดไขมัน
มีหลายสัญญาณซึ่งควบคุมแคแทบอลิซึม สัญญาณที่ทราบกันส่วนมากเป็นฮอร์โมนและโมเลกุลที่เกี่ยวข้องในเมแทบอลิซึมเอง นักวิทยาต่อมไร้ท่อเดิมจำแนกฮอร์โมนจำนวนมากเป็นฮอร์โมนแอแนบอลิกหรือแคแทบอลิกขึ้นอยู่กับส่วนของเมแทบอลิซึมที่มันไปกระตุ้น ฮอร์โมนแคแทบอลิกดั้งเดิมที่ทราบกันตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ คอร์ติซอล กลูคากอนและอะดรีนาลีน ตลอดจนแคทีโคลามีนอื่น ๆ ในทศวรรษหลัง ๆ มีการค้นพบฮอร์โมนมากขึ้นที่มีผลเชิงแคแทบอลิซึมอยู่บ้าง รวมทั้งไซโคไคน์ โอรีซิน (ไฮโปเครติน) และเมลาโทนิน
ฮอร์โมนแคแทบอลิกเหล่านี้จำนวนมากแสดงผลต่อต้านแคแทบอลิซึมในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ การศึกษาหนึ่งพบว่า การจัดการเอพิเนฟริน (อะดรีนาลิน) มีผลยับยั้งการสลายโปรตีน และอันที่จริง ยับยั้งแคแทบอลิซึมมากกว่ากระตุ้น อีกการศึกษาหนึ่งพบว่า แคทีโคลามีนโดยรวม (คือ นอร์อะดรีนาลินและอะดรีนาลิน) ลดอัตราแคแทบอลิซึมในกล้ามเนื้ออย่างมาก
อ้างอิง
- . AJP Endochrinology and Metabolism. January 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-08.
- PMID 11500299 (PMID 11500299)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
aekhaethbxlisum xngkvs Catabolism hrux withiaekhaethbxlisum xngkvs Catabolic pathway epnklumwithiemaethbxlisumsungslayomelkulepnhnwykhnadelkaelapldplxyphlngngan inaekhaethbxlisum omelkulkhnadihy echn phxliaeskkhaird liphid krdniwkhlixikaelaoprtinthukslayepnhnwykhnadelkkwa echn mxonaeskkhaird krdikhmn niwkhlioxithdaelakrdxamiontamladb omelkulkhnadihy echn phxliaeskkhaird oprtinaelakrdniwkhlixik sungprakxbdwyhnwysayyawni eriykwa phxliemxraephnphaphaekhaethbxlisumkhxngsarxaharinrangkay esllichmxonemxrthipldplxycakkarslayphxliemxrephuxsrangomelkulphxliemxrihm hruxyxymxonemxrnnxikcnehluxphlitphnthkhxngesiythimiokhrngsrangeriybngay aelapldplxyphlngnganxxkma khxngesiyinesllrwmthung krdxasitik kharbxnidxxkisd aexmomeniyaelayueriy karsrangkhxngesiyehlaniodypktiepnkhbwnkarxxksiedchnekiywkhxngkbkarpldplxyphlngnganekhmixisra sungbangswnsuyesiyipinrupkhwamrxn aetswnthiehluxthukichephuxkhbekhluxnkarsngekhraahxadionsinitrfxseft ATP omelkulnithahnathiepnhnthangthiesllkhnsngphlngnganthipldplxyxxkmacakaekhaethbxlisumipyngptikiriyathitxngkarphlngngansungprakxbepnaexaenbxlisum chann aekhaethbxlisumcungihphlngnganekhmisungcaepntxkarkhngsphaphaelakarecriyetibotkhxngesll twxyangkhxngkhbwnkaraekhaethbxlisum echn iklokhilsis wtckrekhrps karslayoprtinklamenuxephuxichkrdxamionepnsartngtninkarsrangkluokhs aelakarslayikhmninepnkrdikhmn mihlaysyyansungkhwbkhumaekhaethbxlisum syyanthithrabknswnmakepnhxromnaelaomelkulthiekiywkhxnginemaethbxlisumexng nkwithyatxmirthxedimcaaenkhxromncanwnmakepnhxromnaexaenbxlikhruxaekhaethbxlikkhunxyukbswnkhxngemaethbxlisumthimnipkratun hxromnaekhaethbxlikdngedimthithrabkntngaettnkhriststwrrsthi 20 idaek khxrtisxl klukhakxnaelaxadrinalin tlxdcnaekhthiokhlaminxun inthswrrshlng mikarkhnphbhxromnmakkhunthimiphlechingaekhaethbxlisumxyubang rwmthngisokhikhn oxrisin ihopekhrtin aelaemlaothnin hxromnaekhaethbxlikehlanicanwnmakaesdngphltxtanaekhaethbxlisuminenuxeyuxklamenux karsuksahnungphbwa karcdkarexphienfrin xadrinalin miphlybyngkarslayoprtin aelaxnthicring ybyngaekhaethbxlisummakkwakratun xikkarsuksahnungphbwa aekhthiokhlaminodyrwm khux nxrxadrinalinaelaxadrinalin ldxtraaekhaethbxlisuminklamenuxxyangmakxangxing AJP Endochrinology and Metabolism January 1995 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 08 26 subkhnemux 2012 09 08 PMID 11500299 PMID 11500299 Citation will be completed automatically in a few minutes Jump the queue or expand by hand