พลเสือป่า คะนัง กิราตกะ (หรือสะกดว่า คนัง) เป็นเงาะป่าที่มีชื่อเสียงด้วยได้รับการชุบเลี้ยงจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์สยาม ให้อยู่ในพระบรมมหาราชวังเพื่อถวายตัวเป็นมหาดเล็ก
พลเสือป่า คะนัง กิราตกะ | |
---|---|
รูปภาพของคะนังในวัยเด็ก | |
เกิด | คะนัง ไม่ทราบ ป่าในจังหวัดพัทลุง มณฑลนครศรีธรรมราช ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ ประเทศสยาม |
อาชีพ | มหาดเล็ก |
มีชื่อเสียงจาก | แรงบันดาลใจในเรื่อง เงาะป่า |
บิดามารดา |
|
จากการที่คนังเล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตของชาวซาไกถวายพระพุทธเจ้าหลวง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า โดยให้ "คนัง" เป็นตัวเอกของเรื่อง
ประวัติ
พื้นเพเดิม
คะนัง หรือ คนัง เกิดปีใดไม่ปรากฏชัด ในงานเขียนของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ว่าน่าจะเกิดในปีระกา พ.ศ. 2440 บางแห่งก็ว่าเกิดในปี พ.ศ. 2442 เกิดในครอบครัวเงาะป่าในจังหวัดพัทลุง บิดาชื่อดำขาว ส่วนมารดาชื่อนางควาก มีพี่น้องคือ งอด, แค, ดิน และคะนังเป็นคนสุดท้อง ต่อมาบิดาและมารดาได้ถึงแก่กรรม บุตรทั้งหมดรวมทั้งคะนังจึงกำพร้า และอยู่กันตามยถากรรม
ถูกคัดเลือก
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ทางเมืองได้นำเงาะป่าจากพัทลุงมาถวายให้ทอดพระเนตรได้ทรงถ่ายภาพเงาะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชายหญิงไว้หลายรูป หลังจากทอดพระเนตรภาพดังกล่าวพระองค์ก็มีความสนพระทัยในเงาะป่า ทรงพระราชดำริที่จะลองเลี้ยงเงาะดูบ้าง จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต สมุหเทศภิบาลสำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช ให้หาลูกเงาะป่าสักคนหนึ่งไม่จำกัดว่าชายหรือหญิง มีพระราชประสงค์เพียงแค่ให้เด็กมีขนาดพอเลี้ยงไม่ถึงขั้นเด็กอ่อน และทรงกำชับว่าให้เกลี้ยกล่อมอย่างละมุนละม่อมต่อบิดามารดา มิใช่การบังคับ ต่อมาจึงมีการคัดเลือกเงาะจากจังหวัดพัทลุงซึ่งมีผู้นำคือ เงาะยัง โดยเงาะยังได้ให้ข้อมูลว่าในกลุ่มมีเงาะกำพร้าสี่คนซึ่งเป็นบุตรของดำขาวกับนางควาก แต่สองคนแรกคือ งอดและแค เป็นหนุ่มและออกไปที่อื่นแล้ว เหลือเพียง ดินกับคะนัง และเสนออุบายให้จัดมโนราห์ให้เงาะชมจนหลับและค่อยอุ้มเด็กเงาะคนใดคนหนึ่งออกมาขณะหลับ แต่เมื่อทำตามแผนดังกล่าวคะนังก็รู้สึกตัวไม่ยอมและร้องไห้งอแง จนต้องให้คนที่พูดภาษาซาไกได้ไปปลอบและเอาดอกไม้แดงให้จึงสงบลง
เมื่อพาคะนังออกจากพัทลุงมายังเมืองสงขลา ก็ให้ท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ) ทำการดูแล ทำการอบรมสั่งสอน คนังเองก็สามารถปรับตัวได้รวดเร็วและเรียกเจ้าพระยาและท่านผู้หญิงยมราชว่า "คุณพ่อ-คุณแม่ที่บ้าน" เมื่อนำตัวไปยังเมืองหลวงก็ใช้เวลาแรมเดือนระหว่างนั้นก็ทำการปลอบโยนไปด้วยจนกระทั่ง "เมื่อราบกว่าแต่ก่อนหย่อนตื่นเต้น" ก็พาเข้ากรุงเตรียมถวายตัว
เข้าวังหลวง
เมื่อเข้าสู่วังหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏทรงรับเลี้ยง เมื่อคะนังถึงห้องรับแขกที่พระตำหนักพระวิมาดาเธอฯ คะนังก็นอนหงายลงกับพื้น และทำตีนงุ้มกำมือแน่น จนทุกคนที่เข้ามาชมนั้นต่างตกใจ ฝ่ายกรมขุนสุทธาสินีนาฏทรงรู้ทัน รับสั่งให้เอาของกินคือที่กล้วยที่เตรียมไว้มาตั้งให้ เมื่อคะนังเห็นดังนั้นก็ลุกขึ้นมากินทันที แรกเริ่มคนังก็ดูหงอยแต่เมื่อเริ่มคุ้นชินมากขึ้นก็เริ่มประจบเอาใจจึงเป็นที่โปรดปรานมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยายมราชว่า "...อ้ายคนังตั้งแต่มายังไม่เจ็บเลย เจ้าสาย (พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ) นั้นหลงรักเหลือเกินทีเดียว เพราะมันไม่ได้ไปเที่ยวข้างไหนเลย อยู่แต่บนเรือน ช่างประจบด้วยความรู้ความประมาณตัวเองในสันดาน ทั้งถือตัวว่าเป็นลูก ก็พูดอยู่เสมอว่าลูกข้า ไม่ได้ไว้ตัวเทียบเจ้านายลูกเธอ รักแลนับถือไม่เลือกว่าใคร ไว้ตัวเองเสมอหม่อมเจ้า ไม่มีใครสั่งสอนเลย" ด้วยความสนิทสนมกับเจ้านาย คะนังจึงเรียกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าว่า "คุณพ่อหลวง" เรียกพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏว่า "คุณแม่" และเรียกสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดีว่า "คุณพี่"
คะนังในวังหลวงเองก็มีชีวิตที่สุขสบาย มีพี่เลี้ยงคอยดูแลรักษาความสะอาดให้ แต่คะนังเองกลับไม่คุ้นชินกับชีวิตในวังมากนัก ในเรื่องการขับถ่าย ก็นั่งขับถ่ายในหม้อ พอเมื่อถ่ายเสร็จจะให้ล้างน้ำหรือกระดาษเช็ดก็ไม่ยอมต้องใช้ไม้เช็ดเท่านั้น
เมื่อเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กคะนังก็ทำงานสนองพระเดชพระคุณ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตื่นจากบรรทม คะนังก็รีบแต่งตัวสวย ๆ เพื่อมาเข้าเฝ้า และเมื่อถึงเวลาเสวยพระกระยาหารร่วมกับเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ คะนังก็ได้นั่งใกล้ชิดพระยี่ภู่ที่ประทับ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงซักถามเรื่องต่าง ๆ เช่น ความเป็นอยู่ของพวกเงาะป่าในพัทลุง และพระราชดำรัสถามประจำก็คือ "เมื่อเช้านี้กินข้าวกับอะไรบ้าง" และทรงซักถามคำศัพท์ของเงาะสำหรับพระราชนิพนธ์ เงาะป่า ด้วย
จุดจบของคะนัง
หลังสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงรับคะนังไว้ในราชการเป็นพลเสือป่า กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ และประจำกรมพิณพาทย์หลวง และพระราชทานนามสกุลให้ด้วยว่า กิราตกะ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2457
แต่เรื่องราวชีวิตหลังจากนี้ไม่ใคร่มีข้อมูลนัก แต่จากข้อเขียนของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ในอนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ได้ความเพียงว่า "...ก่อนสวรรคตราว 1 ปี คนังก็ออกไปอยู่กับพวกมหาดเล็กทางฝ่ายหน้า ถึงรัชกาลที่ 6 ก็เลยหายสาบสูญไป ได้ยินแต่ว่าเพื่อนชวนเที่ยวจนเป็นโรคตาย... หมอไรท์เตอร์อธิบายว่า คนพวกนี้มักจะฉลาดเมื่อเล็ก ๆ แต่ปัญญาทึบเมื่อโตขึ้น"
อุปนิสัย
แม้คะนังจะมีชาติกำเนิดมาจากคนป่าที่ถูกดูแคลนว่าไร้ความเจริญ แต่คะนังก็ทำให้ทราบเป็นที่ประจักษ์ว่าคะนังก็เป็นเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลม มีไหวพริบ รู้จักประจบประแจงมากเป็นที่สุด มีโวหารดีและมีความจำแม่นยำ แต่เดิมเมื่อแรกเข้าวังคะนังจะกินเพียงข้าวสุกกับกล้วยน้ำว้า ต่อมาพระวิมาดาเธอฯ ก็ให้ลองทานอาหารอื่นบ้าง เมื่อมีอาหารแปลก ๆ ก็จะถามชื่อไว้ เพื่อที่คราวหลังจะได้กราบบังคมทูลถูกว่าอาหารนั้นชื่ออะไร และแต่เดิมคะนังไม่ชอบสวมเสื้อผ้า ไม่ว่าจะหนาวหรือร้อน ภายหลังจึงให้หัดสวม และเมื่อสวมใส่เป็นแล้วก็มีเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งชุดลำลอง, ชุดตามเสด็จ หรือชุดเต็มยศ โดยมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริออกแบบพระราชทานทั้งสิ้น
ทั้งนี้คะนังมีความสามารถด้านละครไทย แม้แต่ท่ายากก็สามารถทำได้ดี เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "เงาะป่า" โดยมีคนังเป็นตัวเอก จึงให้หม่อมเพื่อน บุนนาค เป็นผู้ฝึกสอน แต่คะนังเองก็สามารถทำการแสดงได้ดีถูกจังหวะจะโคนแม่นยำทั้ง ๆ ที่มีเวลาฝึกน้อยก่อนออกแสดง
แม้ว่าตัวจะอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์สยามแล้ว แต่คะนังก็ยังไม่เคยลืมพี่น้องหรือพวกพ้อง จึงกราบบังคมทูลขอให้ส่งรูปเขาไปให้พี่น้องบ้าง
ความนิยม
เดือนธันวาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายรูปคะนังพิมพ์ขายที่ร้านถ่ายรูปหลวงในงานวัดเบญจมบพิตร ราคาขายแผ่น 3 บาท ซึ่งขณะนั้นถือว่าสูงมาก แต่ปรากฏว่าขายดีจนไม่พอขาย แต่เดิมพิมพ์รูปไว้เพียง 230 รูป ต้องพิมพ์เพิ่มอีก ได้เงินจากรูปเกือบ 1,200 บาท รายได้แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ถวายวัดส่วนหนึ่ง, ค่ากระดาษน้ำยาพิมพ์รูปส่วนหนึ่ง และพระราชทานแก่คะนังส่วนหนึ่ง
อ้างอิง
- . พระราชวังพญาไท. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557.
๒๑๐๙ กิราตกะ (Kirataka)
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - ประวิทย์ สุวณิชย์ (4 เมษายน 2531). "ซาไก ครอบครัวศรีธารโต...เมื่อคนป่ามาอยู่เมือง". สารคดี. (38:4), หน้า 69-71
- . ลักษณะไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-17. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - "ตามรอยนายคนัง". สนุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - . รักสยามหนังสือเก่า. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - โรม บุนนาค (12 ตุลาคม 2558). . ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-18. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2558.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help))
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phlesuxpa khanng kiratka hruxsakdwa khnng epnengaapathimichuxesiyngdwyidrbkarchubeliyngcakphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw phramhakstriysyam ihxyuinphrabrmmharachwngephuxthwaytwepnmhadelkphlesuxpa khanng kiratkarupphaphkhxngkhannginwyedkekidkhanng imthrab paincnghwdphthlung mnthlnkhrsrithrrmrach praethssyamesiychiwitimthrab praethssyamxachiphmhadelkmichuxesiyngcakaerngbndalicineruxng engaapabidamardadakhaw bida khwak marda cakkarthikhnngelaeruxngrawkhxngwithichiwitkhxngchawsaikthwayphraphuththecahlwng cungepnaerngbndalicihthrngphrarachniphnthbthlakhreruxng engaapa odyih khnng epntwexkkhxngeruxngprawtiphunephedim khanng hrux khnng ekidpiidimpraktchd innganekhiynkhxnghmxmecaphunphismy diskul wanacaekidinpiraka ph s 2440 bangaehngkwaekidinpi ph s 2442 ekidinkhrxbkhrwengaapaincnghwdphthlung bidachuxdakhaw swnmardachuxnangkhwak miphinxngkhux ngxd aekh din aelakhanngepnkhnsudthxng txmabidaaelamardaidthungaekkrrm butrthnghmdrwmthngkhanngcungkaphra aelaxyukntamythakrrm thukkhdeluxk ecaphrayaymrach pn sukhum kbthanphuhyingtlb ymrach emuxkhrngthiphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw esdc emuxngnkhrsrithrrmrach rahwangwnthi 3 thung 8 krkdakhm r s 124 ph s 2448 thangemuxngidnaengaapacakphthlungmathwayihthxdphraentridthrngthayphaphengaathngedkaelaphuihychayhyingiwhlayrup hlngcakthxdphraentrphaphdngklawphraxngkhkmikhwamsnphrathyinengaapa thrngphrarachdarithicalxngeliyngengaadubang cungmiphrarachkraaesrbsngihecaphrayaymrach pn sukhum sungkhnannyngepnphrayasukhumnywinit smuhethsphibalsaercrachkaremuxngnkhrsrithrrmrach ihhalukengaapaskkhnhnungimcakdwachayhruxhying miphrarachprasngkhephiyngaekhihedkmikhnadphxeliyngimthungkhnedkxxn aelathrngkachbwaihekliyklxmxyanglamunlamxmtxbidamarda miichkarbngkhb txmacungmikarkhdeluxkengaacakcnghwdphthlungsungmiphunakhux engaayng odyengaayngidihkhxmulwainklummiengaakaphrasikhnsungepnbutrkhxngdakhawkbnangkhwak aetsxngkhnaerkkhux ngxdaelaaekh epnhnumaelaxxkipthixunaelw ehluxephiyng dinkbkhanng aelaesnxxubayihcdmonrahihengaachmcnhlbaelakhxyxumedkengaakhnidkhnhnungxxkmakhnahlb aetemuxthatamaephndngklawkhanngkrusuktwimyxmaelarxngihngxaeng cntxngihkhnthiphudphasasaikidipplxbaelaexadxkimaedngihcungsngblng emuxphakhanngxxkcakphthlungmayngemuxngsngkhla kihthanphuhyingymrach tlb thakarduael thakarxbrmsngsxn khnngexngksamarthprbtwidrwderwaelaeriykecaphrayaaelathanphuhyingymrachwa khunphx khunaemthiban emuxnatwipyngemuxnghlwngkichewlaaermeduxnrahwangnnkthakarplxboynipdwycnkrathng emuxrabkwaaetkxnhyxntunetn kphaekhakrungetriymthwaytw ekhawnghlwng phraxrrkhchayaethx phraxngkhecasayswliphirmy krmkhunsuththasininat emuxekhasuwnghlwng phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwthrngphrakrunaoprdekla ihphraxrrkhchayaethx phraxngkhecasayswliphirmy krmkhunsuththasininatthrngrbeliyng emuxkhanngthunghxngrbaekhkthiphratahnkphrawimadaethx khanngknxnhngaylngkbphun aelathatinngumkamuxaenn cnthukkhnthiekhamachmnntangtkic faykrmkhunsuththasininatthrngruthn rbsngihexakhxngkinkhuxthiklwythietriymiwmatngih emuxkhanngehndngnnklukkhunmakinthnthi aerkerimkhnngkduhngxyaetemuxerimkhunchinmakkhunkerimpracbexaiccungepnthioprdpranmak phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwkthrngmiphrarachhtthelkhathungecaphrayaymrachwa xaykhnngtngaetmayngimecbely ecasay phraxrrkhchayaethx phraxngkhecasayswliphirmy krmkhunsuththasininat nnhlngrkehluxekinthiediyw ephraamnimidipethiywkhangihnely xyuaetbneruxn changpracbdwykhwamrukhwampramantwexnginsndan thngthuxtwwaepnluk kphudxyuesmxwalukkha imidiwtwethiybecanaylukethx rkaelnbthuximeluxkwaikhr iwtwexngesmxhmxmeca immiikhrsngsxnely dwykhwamsnithsnmkbecanay khanngcungeriykphrabathsmedcphraculcxmeklawa khunphxhlwng eriykphraxrrkhchayaethx phraxngkhecasayswliphirmy krmkhunsuththasininatwa khunaem aelaeriyksmedcphraecalukethx ecafaniphanphdl wimlpraphawdiwa khunphi khannginwnghlwngexngkmichiwitthisukhsbay miphieliyngkhxyduaelrksakhwamsaxadih aetkhanngexngklbimkhunchinkbchiwitinwngmaknk ineruxngkarkhbthay knngkhbthayinhmx phxemuxthayesrccaihlangnahruxkradasechdkimyxmtxngichimechdethann emuxekharbrachkarepnmhadelkkhanngkthangansnxngphraedchphrakhun emuxphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwtuncakbrrthm khanngkribaetngtwswy ephuxmaekhaefa aelaemuxthungewlaeswyphrakrayaharrwmkbehlaphrabrmwngsanuwngs khanngkidnngiklchidphrayiphuthiprathb odyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwcathrngskthameruxngtang echn khwamepnxyukhxngphwkengaapainphthlung aelaphrarachdarsthampracakkhux emuxechanikinkhawkbxairbang aelathrngskthamkhasphthkhxngengaasahrbphrarachniphnth engaapa dwy cudcbkhxngkhanng hlngsinrchsmykhxngphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw phramhakstriyxngkhtxmakhuxphrabathsmedcphramngkuteklaecaxyuhw kthrngrbkhanngiwinrachkarepnphlesuxpa krmesuxpaphranhlwngrksaphraxngkh aelapracakrmphinphathyhlwng aelaphrarachthannamskulihdwywa kiratka emuxwnthi 23 minakhm ph s 2457 aeteruxngrawchiwithlngcakniimikhrmikhxmulnk aetcakkhxekhiynkhxnghmxmecaphunphismy diskul inxnusar x s th pithi 3 chbbthi 4 eduxnphvscikayn ph s 2505 idkhwamephiyngwa kxnswrrkhtraw 1 pi khnngkxxkipxyukbphwkmhadelkthangfayhna thungrchkalthi 6 kelyhaysabsuyip idyinaetwaephuxnchwnethiywcnepnorkhtay hmxirthetxrxthibaywa khnphwknimkcachlademuxelk aetpyyathubemuxotkhun xupnisykhannginwyedkchwngthiyngimchxbswmesuxpha aemkhanngcamichatikaenidmacakkhnpathithukduaekhlnwairkhwamecriy aetkhanngkthaihthrabepnthiprackswakhanngkepnedkthimikhwamchladhlkaehlm miihwphrib ruckpracbpraaecngmakepnthisud miowhardiaelamikhwamcaaemnya aetedimemuxaerkekhawngkhanngcakinephiyngkhawsukkbklwynawa txmaphrawimadaethx kihlxngthanxaharxunbang emuxmixaharaeplk kcathamchuxiw ephuxthikhrawhlngcaidkrabbngkhmthulthukwaxaharnnchuxxair aelaaetedimkhanngimchxbswmesuxpha imwacahnawhruxrxn phayhlngcungihhdswm aelaemuxswmisepnaelwkmiekhruxngaetngkayephimkhunepncanwnmak thngchudlalxng chudtamesdc hruxchudetmys odymiphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwthrngphrarachdarixxkaebbphrarachthanthngsin thngnikhanngmikhwamsamarthdanlakhrithy aemaetthayakksamarththaiddi emuxkhrngthiphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwthrngphrarachniphntheruxng engaapa odymikhnngepntwexk cungihhmxmephuxn bunnakh epnphufuksxn aetkhanngexngksamarththakaraesdngiddithukcnghwacaokhnaemnyathng thimiewlafuknxykxnxxkaesdng aemwatwcaxyuphayitphrabrmophthismpharkhxngphramhakstriysyamaelw aetkhanngkyngimekhylumphinxnghruxphwkphxng cungkrabbngkhmthulkhxihsngrupekhaipihphinxngbangkhwamniymeduxnthnwakhm r s 124 ph s 2448 phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwthrngoprdekla ihthayrupkhanngphimphkhaythiranthayruphlwnginnganwdebycmbphitr rakhakhayaephn 3 bath sungkhnannthuxwasungmak aetpraktwakhaydicnimphxkhay aetedimphimphrupiwephiyng 230 rup txngphimphephimxik idengincakrupekuxb 1 200 bath rayidaebngxxkepnsamswnkhux thwaywdswnhnung khakradasnayaphimphrupswnhnung aelaphrarachthanaekkhanngswnhnungxangxing phrarachwngphyaith khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 07 12 subkhnemux 6 minakhm 2557 2109 kiratka Kirataka a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help prawithy suwnichy 4 emsayn 2531 saik khrxbkhrwsritharot emuxkhnpamaxyuemuxng sarkhdi 38 4 hna 69 71 lksnaithy khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2014 08 17 subkhnemux 6 minakhm 2557 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help tamrxynaykhnng snukdxtkhxm subkhnemux 6 minakhm 2557 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help rksyamhnngsuxeka khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 03 04 subkhnemux 6 minakhm 2557 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help orm bunnakh 12 tulakhm 2558 phucdkarxxniln khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 10 18 subkhnemux 3 thnwakhm 2558 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help