ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ (บัลแกเรีย: Иван Александър, ถ่ายตัวอักษรได้ว่า Ivan Aleksandǎr, สะกดอย่างดั้งเดิม: ІѠАНЪ АЛЄѮАНдРЪ) หรือในบางครั้งแผลงเป็นอังกฤษได้ว่า จอห์น อเล็กซานเดอร์ เป็นจักรพรรดิ (ซาร์) แห่งจักรวรรดิบัลแกเรียตั้งแต่ ค.ศ. 1331–1371 วันเสด็จพระราชสมภพของพระองค์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยทราบเพียงวันสวรรคตซึ่งตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1371 ช่วงระยะเวลาการครองราชสมบัติที่ยาวนานของพระองค์เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประวัติศาสตร์บัลแกเรียในยุคกลาง ซึ่งพระองค์ทรงต้องจัดการกับปัญหาภายในและภัยคุกคามจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิเซอร์เบีย ซึ่งเป็นดินแดนเพื่อนบ้านของบัลแกเรีย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ศิลปะและการศาสนาของบัลแกเรียอีกด้วย
อีวัน อาแลกซันเดอร์ | |
---|---|
ภาพเหมือนของซาร์จากต้นฉบับในยุคกลาง, พระวรสารซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ | |
ซาร์แห่งบัลแกเรีย | |
ครองราชย์ | 1331 – 17 กุมภาพันธ์ 1371 |
ก่อนหน้า | ซาร์อีวัน สแตฟัน |
ถัดไป | ซาร์อีวัน ชิชมัน ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์ |
สวรรคต | 17 กุมภาพันธ์ 1371 |
คู่อภิเษก | ซารีนาแตออดอราแห่งวอเลเคีย ซารีนาซารา–แตออดอรา |
พระราชบุตร | ดูด้านล้าง |
ราชวงศ์ | สรัตซีมีร์ |
พระราชบิดา | สรัตซีมีร์แห่งเกริน |
พระราชมารดา | เจ้าหญิงแกรัตซา แปตริตซา |
ศาสนา | อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ |
อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ทรงไม่สามารถรับมือกับปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยจากกาฬมรณะ การรุกรานของจักรวรรดิออตโตมันและการรุกรานบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโดยราชอาณาจักรฮังการี การเผชิญหน้าอย่างไร้ผลกับปัญหาเหล่านี้ พระองค์ได้ทรงแบ่งดินแดนให้พระราชโอรส 2 พระองค์ ซึ่งนำไปสู่ความอ่อนแอและการแบ่งแยกของจักรวรรดิบัลแกเรีย พร้อมกับการเผชิญหน้ากับขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน
ระยะแรกของการครองราชย์
ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ ทรงเป็นพระราชโอรสของสรัตซีมีร์ เดสเปิต (Despot) แห่งเกริน ซึ่งมีบรรพบุรษสืบเชื้อสายจากราชวงศ์อาแซน และเจ้าหญิงแกรัตซา แปตริตซา พระขนิษฐาของซาร์มีคาอิล ชิชมันแห่งบัลแกเรีย ดังนั้นซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์จึงมีความสัมพันธ์เป็นพระภาคิไนยขอซาร์มีคาอิล ชิชมันด้วย ใน ค.ศ. 1330 พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเดสเปิตแห่งเมืองโลเวช ในขณะที่พระองค์ดำรงตำแหน่งเดสเปิต พระองค์ได้ร่วมรบในยุทธการที่แวลเบิชด์ ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณเมือง เพื่อต่อต้านเซอร์เบียใน ค.ศ. 1330 ร่วมกับพระราชบิดาและบาซารับที่ 1 แห่งวอเลเคีย พระสัสสุระของพระองค์ ซึ่งในยุทธการครั้งนี้ฝ่ายเซอร์เบียได้รับชัยชนะ และการพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ของบัลแกเรีย พร้อมกับปัญหาภายในที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการรุกรานของจักรวรรดิไบแซนไทน์จากความสัมพันธ์ที่เลวร้ายระหว่างกัน นำไปสู่การก่อการรัฐประหารขับไล่ซาร์อีวัน สแตฟันออกจากเมืองหลวงแวลีโกเตอร์โนโวใน ค.ศ. 1331 และกลุ่มผู้ก่อการได้ทูลเชิญให้อีวัน อาแลกซันเดอร์ขึ้นครองราชบัลลังก์
ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์มีพระราชดำริในการยึดดินแดนที่สูญเสียให้กับจักรวรรดิไบแซนไทน์กลับคืนมาเพื่อสร้างความมั่นคงในตำแหน่งของพระองค์ ดังนั้นใน ค.ศ. 1331 ซาร์อีวันจึงทำการศึกในบริเวณเอดีร์แนและสามารถยึดดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของเธรซกลับคืนมาได้ ในขณะเดียวกันพระเจ้าสแตฟัน อูรอสที่ 4 แห่งเซอร์เบียได้ปลดพระราชบิดาของพระองค์ () ออกจากราชบัลลังก์และสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบีย ส่งผลให้ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายของบัลแกเรียและเซอร์เบียกลับมาดีขึ้น พระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์สัญญาเป็นพันธมิตรต่อกัน โดยกำหนดให้มีการอภิเษกสมรสระหว่างพระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบียและแอแลนาแห่งบัลแกเรีย ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ในวันอีสเตอร์ ของ ค.ศ. 1332
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันแบลาอูร์ ซึ่งเป็นพระอนุชาของซาร์มีคาอิล ชิชมันได้ก่อการกบฎขึ้นที่วีดีน โดยการก่อกบฎครั้งนี้อาจเป็นไปเพื่อช่วยให้ซาร์อีวัน สแตฟัน พระภาคิไนยของพระองค์กลับสู่ราชบัลลังก์อีกครั้ง การปราบปรามกลุ่มกบฎต้องเลื่อนออกไป เมื่อในช่วงฤดูร้อนของ ค.ศ. 1332 จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 พาลาโอโลกอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์รุกรานบัลแกเรีย กองทัพของไบแซนไทน์ได้รุกคืบเข้าสู่พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของเธรซ โดยซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ทรงรีบนำกองกำลังขนาดเล็กมุ่งลงใต้ไปทันกองทัพของจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 ที่รูซอกัสตรอ
ไม่มีซาร์พระองค์ใดที่จะเหมือนกับซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ ในเชิงความสามารถทางการทหาร พระองค์เปรียบเสมือนเป็นอเล็กซานเดอร์มหาราช พระองค์ที่ 2 ในเชิงความเชื่อและความศรัทธา พระองค์เปรียบเสมือนเป็นนักบุญคอนสแตนติน พระองค์ทรงจับศัตรูของพระองค์ไว้ใต้เข่าและได้สร้างสันติภาพที่มั่นคงในจักรวาลนี้
— บทสรรเสริญอีวัน อาแลกซันเดอร์โดยผู้แต่งนิรนามร่วมสมัย
หลังจากที่พระองค์แสดงทรงแสดงท่าทีลวงว่าจะเจรจา ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์พร้อมด้วยกองกำลังเสริมจากกองทัพม้าของชาวมองโกล ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์จึงโจมตีกองทัพไบแซนไทน์ ส่งผลให้กองกำลังของไบแซนไทน์ที่ถึงแม้ว่าจะมีการจัดกระบวนทัพที่ดีกว่า แต่ด้วยจำนวนที่น้อยกว่าประสบกับความพ่ายแพ้ บรรดาเมืองโดยรอบหลายเมืองได้ยอมแพ้ต่อซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ ในขณะที่จักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 ต้องหลบหนีเข้าไปอยู่ในกำแพงเมืองรูซอกัสตรอ สงครามครั้งนี้จบลงเมื่อทั้งสองฝ่ายเจรจาสงบศึก โดยทั้งสองฝ่ายยอมรับ (status quo) และเพื่อสร้างพันธมิตรระหว่างกันซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้ขอให้มีการหมั้นหมายระหว่างมาเรีย พระธิดาของจักรพรรดิอันโดรนิคอสที่ 3 กับมีคาอิล อาแซน พระโอรสของพระองค์ และนำไปสู่การอภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์ใน ค.ศ. 1339 เมื่อจบสงครามกับไบแซนไทน์ พระองค์จึงเริ่มให้ความสำคัญกับการจัดการกับแบลาอูร์ และสามารถปราบฐานที่มั่นสุดท้ายของกบฎทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือได้สำเร็จในประมาณ ค.ศ. 1336 หรือ 1337
ใน ค.ศ. 1332 ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้สถาปนาพระโอรสองค์โตมีคาอิล อาแซนที่ 4 ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วม (Co–Emperor) และพระองค์ได้ดำเนินแนวทางเช่นนี้ในเวลาต่อมาด้วยการสถาปนาพระโอรสองค์รองอย่างอีวัน สรัตซีมีร์และอีวัน อาแซนที่ 5 ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมเช่นกันใน ค.ศ. 1337 ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่าการกระทำเช่นนี้เป็นไปเพื่อรักษาราชบัลลังก์ไว้ในราชตระกูลของพระองค์ นอกจากนี้ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์อาจมีความตั้งพระทัยที่จะควบคุมเมืองสำคัญภายในดินแดนผ่านการตั้งตำแหน่งจักรพรรดิร่วม ซึ่งพบว่าอีวัน สรัตซีมีร์ได้รับมอบหมายให้ปกครองวีดีน ในขณะที่อีวัน อาแซนที่ 4 อาจได้รับมอบหมายให้ปกครองแปรสลัฟ อย่างไรก็ตามการกระทำเช่นนี้เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของธรรมเนียมบัลแกเรียกับไบแซนไทน์ในการแต่งตั้งตำแหน่ง despotēs เนื่องจากตามธรรมเนียมของไบแซนไทน์ พระโอรสองค์รองจะได้รับการแต่งตั้งเป็น despotēs ไม่ว่าจะมีดินแดนภายใต้การปกครองหรือไม่ก็ตาม
ความสัมพันธ์กับจักรวรรดิไบแซนไทน์
ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1340 ความสัมพันธ์กับไบแซนไทน์เลวร้ายลงชั่วคราว เมื่อซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้เรียกร้องให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ส่งตัว หนึ่งในพระโอรสของซาร์มีคาอิลที่ 3 ชิชมันกลับสู่บัลแกเรีย พร้อมทั้งขู่ประกาศสงครามหากนิ่งเฉย การขู่ใช้กำลังครั้งนี้ของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ในครั้งนี้ได้ผลตรงกันข้าม เนื่องจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ทราบเจตนาที่แท้จริงของพระองค์ จึงได้นำกองทัพเรือพันธมิตรชาวตุรกีจาก ซึ่งได้ขึ้นฝั่งที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบและปล้นสะดมพื้นที่ชนบท พร้อมทั้งเข้าโจมตีนครของบัลแกเรียที่อยู่ใกล้เคียง ด้วยการถูกบังคับให้ระงับข้อเรียกร้อง ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์จึงรุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์อีกครั้งใน ค.ศ. 1341 โดยอ้างว่าชาวเอเดรียโนเปิลเรียกหาพระองค์ อย่างไรก็ตามกองกำลังพันธมิตรของไบแซนไทน์สามารถเอาชนะกองทัพของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ในการรบใกล้กับนครเอเดรียโนเปิลได้ถึง 2 ครั้ง
ใน ค.ศ. 1341–1347 จักรวรรดิไบแซนไทน์ต้องเผชิญกับปัญหาที่กินระยะเวลายาวนาน เพื่อแย่งชิงสิทธิ์การเป็นผู้ปกครองของ ซึ่งยังทรงพระเยาว์ ระหว่างกลุ่มของผู้สำเร็จราชการภายใต้การนำของและกลุ่มของ ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่หมายมั่นไว้ ประเทศเพื่อนบ้านของไบแซนไทน์ต่างฉวยโอกาสจากสงครามกลางเมืองครั้งนี้ โดยพระเจ้าสแตฟัน อูรอสที่ 4 แห่งเซอร์เบียทรงสนับสนุนจอห์นที่ 6 คันตาคูเซนอส ในขณะที่ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ทรงสนับสนุนจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอสและคณะผู้สำเร็จราชการ แม้ว่าทั้งสองประเทศจะให้การสนับสนุนขั้วอำนาจที่แตกต่างกันในสงครามกลางเมือง ทั้งสองฝ่ายยังคงสถานะเป็นพันธมิตรต่อกัน ซึ่งใน ค.ศ. 1344 ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้ดินแดนนครฟิลิปโปโปลิส (ปลอฟดิฟ) รวมไปถึงป้อมปราการสำคัญ 9 แห่งบริเวณจากการที่พระองค์สนับสนุนกลุ่มของผู้สำเร็จราชการ จากการพลิกกลับอย่างสันตินี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของการดำเนินนโยบายการต่างประเทศในรัชสมัยซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์
ความรุ่งเรืองของเซอร์เบียและภัยจากออตโตมัน
การเข้าไปมีส่วนร่วมของเซอร์เบียในสงครามกลางเมืองไบแซนไทน์ ส่งผลให้เซอร์เบียได้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการได้ดินแดนมาซิโดเนีย พื้นที่เกือบทั้งหมดของแอลเบเนียและตอนเหนือของกรีซ ใน ค.ศ. 1345 พระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบียเริ่มเรียกพระองค์เองเป็น "จักรพรรดิของชาวเซิร์บและกรีก" พร้อมทั้งราชาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นจักรพรรดิโดยได้รับการสวมมงกุฎจาก ซึ่งเป็นตำแหน่งตั้งใหม่ใน ค.ศ. 1346 การกระทำเช่นนี้แม้เป็นการสร้างความไม่ขุ่นเคืองให้กับไบแซนไทน์ แต่พบว่าบัลแกเรียเป็นผู้สนับสนุนการกระทำเช่นนั้น โดยอัครบิดรซีแมออนแห่งบัลแกเรียมีส่วนร่วมในการสถาปนาเขตอัครบิดรแปชี (Serbian Patriarchate of Peć) และร่วมงานบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิของพระเจ้าสแตฟัน อูรอสที่ 4
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1340 ความสำเร็จระยะแรกของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์เริ่มเหลือน้อยเต็มที บัลแกเรียซึ่งเผชิญกับความเสียหายจากกาฬมรณะ ยิ่งอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการปล้นสะดมในพื้นที่เธรซช่วง ค.ศ. 1346, 1347, 1349, 1352 และ 1354 โดยกองกำลังพันธมิตรชาวตุรกีของจอห์นที่ 6 คันตาคูเซนอส บัลแกเรียพยายามที่จะขับไล่ผู้รุกรานออกไป แต่ประสบกับความล้มเหลว พร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระโอรสพระองค์ที่ 3 อีวัน อาแซนที่ 4 ใน ค.ศ. 1349 และพระโอรสองค์โต มีคาอิล อาแซนที่ 4 ใน ค.ศ. 1355 หรือก่อนหน้านั้นเพียงเล็กน้อย
สงครามกลางเมืองไบแซนไทน์ได้จบสิ้นลงใน ค.ศ. 1351 และจอห์นที่ 6 คันตาคูเซนอสได้ตระหนักถึงภัยอันตรายจากออตโตมันต่อดินแดนในคาบสมุทรบอลข่าน ดังนั้นพระองค์จึงหันไปสร้างพันธมิตรกับเซอร์เบียและบัลแกเรีย เพื่อร่วมมือกันต่อต้านกองกำลังชาวตุรกี ในการนี้ไบแซนไทน์ได้ร้องขอเงินจากซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์เพื่อนำไปต่อเรือรบ อย่างไรก็ตามการสร้างพันธมิตรระหว่างกันดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ไว้วางใจในเจตนาของไบแซนไทน์ ความพยายามครั้งใหม่ที่จะแสวงหาความร่วมมือระหว่างบัลแกเรียและไบแซนไทน์เกิดขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1355 เมื่อจักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอสทรงบังคับให้จักรพรรดิจอห์นที่ 6 คันตาคูเซนอสสละราชสมบัติ ส่งผลให้จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอสทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดของจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียว พระองค์ได้สร้างพันธมิตรกับบัลแกเรีย เพื่อให้สัญญาการเป็นพันธมิตรมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการกำหนดให้พระราชโอรสของพระองค์ อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแกรัตซา พระธิดาของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ แต่การสร้างพันธมิตรระหว่างกันในครั้งนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญแต่ประการใด
ปัญหาความมั่นคงภายในและความขัดแย้งจากภายนอก
ประมาณ ค.ศ. 1349 ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ทรงหย่ากับซารีนาแตออดอราแห่งวอเลเคียพระชายาพระองค์แรกด้วยเหตุผลการรักษาความมั่นคงภายใน และอภิเษกสมรสใหม่กับซารีนาซารา–แตออดอรา ซึ่งเคยนับถือศาสนายูดาย และเปลี่ยนมานับถืออีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในภายหลัง การอภิเษกสมรสใหม่ครั้งนี้ ส่งผลให้ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ทรงมีพระราชบุตรเพิ่มขึ้น และได้แต่งตั้งพระราชบุตรเหล่านี้ให้ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิร่วม ประกอบด้วย อีวัน ชิชมัน ใน ค.ศ. 1365 และอีวัน อาแซนที่ 5 ใน ค.ศ. 1359 อย่างไรก็ตามพระโอรสที่ประสูติแต่ซารีนาแตออดอราแห่งวอเลเคีย ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิร่วมในวีดินคือ อีวัน สรัตซีมีร์ เปลี่ยนเป็นผู้ปกครองดินแดนอย่างอิสระใน ค.ศ. 1356 ส่วนซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์เป็นผู้ควบคุมผู้ปกครองใต้อาณัติที่เข้มแข็ง อย่างและ ซึ่งผู้ปกครองเหล่านี้ได้พยายามที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยตนเองมากขึ้น
ตั้งแต่ช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นไป บัลแกเรียประสบปัญหากับการขยายอำนาจของแห่ง ซึ่งได้ควบรวมดินแดนมอลเดเวียไว้ในอำนาจใน ค.ศ. 1352 และสถาปนาพื้นที่แห่งนั้นขึ้นเป็นราชรัฐภายใต้อาณัติของพระองค์ นอกจากนี้พระองค์ยังนำกองกำลังฮังการีเข้ายึดครองเมืองวีดินใน ค.ศ. 1365 และจับตัวซาร์อีวัน สรัตซีมีร์และพระบรมวงศานุวงศ์เป็นเชลย
ใน ค.ศ. 1364 บัลแกเรียและไบแซนไทน์เริ่มมีปัญหาการกระทบกระทั่งระหว่างกันอีกครั้ง และใน ค.ศ. 1366 ความขัดแย้งนี้เริ่มรุนแรงขึ้น เมื่อกำลังเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสพื้นที่ทางภาคตะวันตก แต่บัลแกเรียปฏิเสธไม่ให้ไบแซนไทน์เดินทางผ่านดินแดนของบัลแกเรีย การกระทำเช่นนี้ของบัลแกเรียก่อให้เกิดผลย้อนกลับ เมื่อซึ่งเป็นพันธมิตรกับไบแซนไทน์ ได้นำกองกำลังครูเสด ยึดเมืองชายทะเลหลายแห่งของบัลแกเรีย เช่น อันคีอาลอส (ปอมอรีแอ) และเมเซมเบรีย () เป็นการตอบโต้ รวมไปถึงได้พยายามยึดเมืองวาร์นา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ท้ายที่สุดซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์จำยอมต้องเจรจาสันติภาพ
ผลของการตกลงสันติภาพในครั้งนี้ จักรพรรดิจอห์นที่ 5 พาลาโอโลกอส ตกลงจ่ายเงินให้บัลแกเรียเป็นจำนวน 180,000 ฟลอริน ในขณะที่เมืองที่กองกำลังครูเสดยึดได้ตกเป็นของไบแซนไทน์ ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์นำเงินที่ได้และการยอมตกลงมอบดินแดนบางส่วนให้เพื่อจูงใจให้ผู้ปกครองดินแดนภายใต้อาณัติโดยนิตินัยอย่างแห่งโดบรูยา และ ช่วยเหลือในการช่วงชิงวีดินกลับคืนมาจากฮังการี สงครามครั้งนี้ประสบความสำเร็จ และใน ค.ศ. 1369 ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์ได้กลับมาปกครองวีดินอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์แห่งฮังการีจะบังคับให้ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์ยอมรับว่าอยู่ภายใต้อำนาจของฮังการีก็ตาม
แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ความสำเร็จนี้ไม่สามารถช่วยให้ดินแดนที่สูญเสียไปทางภาคตะวันออกเฉียงใต้กลับคืนมาได้ สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้นเมื่อสุลต่านมูรัดที่ 1 แห่งออตโตมันทำสงครามรุกรานพื้นที่บริเวณเธรซใน ค.ศ. 1361 และสามารถยึดอเดรียโนเปิลได้สำเร็จใน ค.ศ. 1369 และสถาปนาเมืองแห่งนี้เป็นเมืองหลวงเพื่อใช้ในการขยายอำนาจต่อไป นอกจากนี้ออตโตมันยังเข้ายึดเมืองฟิลิปโปโปลิสและแบรอแอ () ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของบัลแกเรีย ระหว่างที่เหล่าเจ้าชายในบัลแกเรียและเซอร์เบียในมาซีโดเนียกำลังร่วมมือกันเพื่อต่อต้านออตโตมัน ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์เสด็จสวรรคตในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1371 พระโอรสของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ทั้งสองพระองค์เป็นผู้สืบพระอิสริยยศ ซาร์แห่งบัลแกเรีย โดยอีวัน สรัตซีมีร์ขึ้นครองราชย์ในวีดิน ส่วนอีวัน ชิชมันขึ้นครองราชย์ในเตอร์นอวอ ขณะที่ผู้ปกครองของโดบรูยาและวอเลเคียมีอิสระในการปกครองมากยิ่งขึ้น
วัฒนธรรมและศาสนา
ในรัชสมัยของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เข้าสู่ยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูวัฒนธรรม หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของวัฒนธรรมบัลแกเรียครั้งที่ 2 โดยยุคทองครั้งแรกเกิดขึ้นในรัชสมัยของ ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างและซ่อมแซมอารามและโบสถ์หลายแห่ง โดยพบภาพเหมือนผู้อุทิศของพระองค์ปรากฏอยู่ในออสชัวรีของและใน นอกจากนี้เอกสารการบริจาคของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอและหลักฐานอื่นช่วยพิสูจน์ให้ทราบว่ามีศาสนสถานหลายแห่งได้รับการบูรณะหรือสร้างใหม่ในรัชสมัยของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ เช่น มหาวิหารพระมารดาแห่งพระเจ้าเอเลอูซาและโบสถ์เซนต์นิโคลัสที่เมือง และ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองเป็นต้น นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างและอารามในเมืองอีกด้วย
นอกจากการสร้างและบูรณะศาสนสถานหลายแห่งแล้ว ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์มีพระบรมราโชบายในการเสริมสร้างสถานะของคริสตจักรบัลแกเรียออร์ทอดอกซ์ให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ด้วยการไล่ล่าและจับกุมกลุ่มนอกรีตและยิว นอกจากนี้พระองค์ยังจัดการประชุมทางศาสนา ซึ่งมีการตำหนิกลุ่มนิกายนอกรีต เช่น ลัทธิบอกอมิล แอดาไมต์และ เป็นจำนวน 2 ครั้ง ใน ค.ศ. 1350 และ ค.ศ. 1359–1360
ในรัชสมัยของพระองค์ แตออดอซีย์แห่งเตอร์นอวอเป็นผู้แทนชาวบัลแกเรียคนสำคัญในขบวนการฝึกจิตวิญญาณที่เรียกว่าเฮซิแคซึม ซึ่งเป็นวิธีการสวดภาวนารูปแบบหนึ่งที่เน้นการภาวนาในความเงียบสงบและจิตจดจ่ออยู่กับการภาวนา เป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมทั่วไปในดินแดนที่นับถืออีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในช่วงคริสต์ศวรรษที่ 14
นอกจากกิจกรรมทางด้านศาสนาแล้ว กิจกรรมทางด้านวรรณกรรมก็เฟื่องฟูเช่นกัน โดยพบงานวรรณกรรมสำคัญหลายชิ้นที่เขียนขึ้นในสมัยนี้ เช่น การแปล (ค.ศ. 1344–1345) เป็นภาษาบัลแกเรีย ปัจจุบันงานแปลชิ้นนี้ถูกเก็บรักษาไว้ในพระวรสารซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หนังสือเพลงสวดสดุดีตอมีชอฟ (ค.ศ. 1360) ปัจจุบันเก็บรักษาที่มอสโคว และหนังสือเพลงสวดสดุดีโซเฟีย (ค.ศ. 1337) เป็นต้น
ด้านกิจกรรมทางการค้า จักรวรรดิบัลแกเรียมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับมหาอำนาจทางการค้าในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐเจนัวและ โดยใน ค.ศ. 1353 ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้ออกกฎบัตรอนุญาตให้พ่อค้าชาวเวนิสสามารถซื้อหรือขายสินค้าในดินแดนบัลแกเรียได้ หลังจากที่ดอเจอันเดรอา ดานโดโลยืนยันจะเคารพสนธิสัญญาที่ทั้ง 2 ประเทศได้ทำร่วมกันไว้
ซึ่งเป็นกวีและนักประพันธ์ของบัลแกเรียในยุคสมัยใหม่ ได้แรงบันดาลใจจากยุคสมัยของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ โดยแต่งนิยายสั้นเรื่อง Ivan–Aleksandǎr และบทนาฏกรรม Kǎm propast (สู่ห้วงลึก) ซึ่งงานทั้งสองชิ้นนี้มีซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์เป็นตัวละครหลัก
ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการค้นพบชิ้นส่วนของเสื้อผ้า ซึ่งลงพระนามโดยซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์และถูกร้อยเข้าด้วยทองคำในสุสานของชนชั้นสูงใกล้กับเมือง ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ในเบลเกรด โดยการค้นพบในครั้งนี้ช่วยยืนยันธรรมเนียมที่เกิดขึ้นในยุคกลางของผู้ปกครองออร์ทอดอกซ์ที่จะพระราชทานเสื้อผ้าที่เคยสวมใส่ให้กับบุคคลสำคัญ
ชื่อสถานที่ในปัจจุบัน ซึ่งตั้งตามพระนามของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ได้แก่ แหลมอีวัน อาแลกซันเดอร์บนในของทวีปแอนตาร์กติกา
พระราชบุตร
ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์อภิเษกสมรสครั้งแรกกับซารีนาแตออดอราแห่งวอเลเคีย พระธิดาของบาซารับที่ 1 แห่งวอเลเคีย มีพระโอรสธิดาหลายพระองค์ ซึ่งรวมถึงซาร์อีวัน สรัตซีมีร์ ซึ่งเป็นซาร์แห่งบัลแกเรียในวีดินระหว่าง ค.ศ. 1356–1397 เจ้าชายมีคาอิล อาแซนที่ 4 และเจ้าชายอีวัน อาแซนที่ 4
ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 กับซารีนาซารา–แตออดอรา มีพระโอรสธิดาหลายพระองค์ ซึ่งรวมถึงจักรพรรดินีแกรัตซา ซึ่งอภิเษกสมรสกับ จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ ซาร์อีวัน ชิชมันซึ่งสืบราชสมบัติในฐานะซาร์แห่งบัลแกเรียในเตอร์นอวอ เจ้าชายอีวัน อาแซนที่ 5 เจ้าหญิงแกรา ตามาราซึ่งครั้งแรกอภิเษกสมรสครั้งแรกกับเดิสเปิตกอนสตันตินและครั้งที่ 2 กับสุลต่านมูรัดที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน รวมไปถึงพระธิดา 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงแดซิสลาวาและเจ้าหญิงวาซีลีซา
สรัตซีมีร์แห่งเกริน | เจ้าหญิงแกรัตซา แปตริตซา | ||||||||
1 | 2 | ||||||||
ซารีนาแตออดอราแห่งวอเลเคีย | ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ (สวรรคต 1371 ครองราชย์ 1331–1371) | ซารีนาซารา-แตออดอรา | |||||||
1 | 1 | 1 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | |
เจ้าชายมีคาอิล อาแซนที่ 4 | ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์ (ประสูติ 1324 สวรรคต 1397, ครองราชย์ 1356–1397) | จักรพรรดินีแกรัตซา-มารียา (ประสูติ 1348, สิ้นพระชนม์ 1390) | เจ้าชายอีวัน อาแซนที่ 5 | เจ้าหญิงวาซีลีซา | |||||
เจ้าชายอีวัน อาแซนที่ 4 | เจ้าหญิงแกรา ตามารา | ซาร์อีวัน ชิชมัน (ประสูติ 1350–1351, สวรรคต 1395, ครองราชย์ 1371–1395) | เจ้าหญิงแดซิสลาวา |
อ้างอิง
เชิงอรรถ
- พบการสะกดแบบนี้ในกฎบัตรของบัลแกเรียในยุคกลาง Daskalova, Angelina; Marija Rajkova (2005). Gramoti na bǎlgarskite care (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Bulgarian Academy of Sciences. pp. 58–59. ISBN .
- For example in "John Alexander (emperor of Bulgaria)". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- Lalkov, Rulers of Bulgaria, pp. 42–43.
- Bǎlgarite i Bǎlgarija, 2.1
- Delev, Istorija i civilizacija za 11. klas
- Castellan, Georges (1999). Histoire des Balkans, XIVe–XXe siècle (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Fayard. p. 42. ISBN .
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 273.
- Bozhilov, Familiyata na Asenevtsi, pp. 192–235.
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 273.
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 274.
- ดั้งเดิมมาจาก Sofia Psalter, folios 311a–312b. Adapted by Canev, Bǎlgarski hroniki, pp. 459–460.
- บทความดั้งเมฉบับเต็มในภาษาบัลแกเรียกลาง ค้นได้จาก Arhangelskij, A. S. (1897). "Bolgarskij "pěsnivec" 1337 goda. "Pohvala" i otryvok psaltyrnago teksta". Izvestija ORJAS IAN (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2007-02-11.
- Božilov, Familijata na Asenevci, pp. 192–197.
- Andreev, Bǎlgarija prez vtorata četvǎrt na XIV v., pp. 33–41.
- Andreev, Balgariya prez vtorata chetvart na XIV v., pp. 23–52.
- Based on Lalkov, Rulers of Bulgaria
- Bakalov, Istorija na Bǎlgarija, "Esenta, 1341 g."
- Fine, Late Medieval Balkans, pp. 292–293.
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 304.
- Fine, Late Medieval Balkans, pp. 309–310.
- Fine, Late Medieval Balkans, pp. 322, 325, 328.
- Andreev, Bǎlgarija prez vtorata četvǎrt na XIV v., pp. 67–75.
- Bǎlgarite i Bǎlgarija, 2.2
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 325.
- Bakalov, Istorija na Bǎlgarija, "1355 g."
- Božilov, Ivan; Vasil Gjuzelev (2006). Istorija na srednovekovna Bǎlgarija VII–XIV vek (tom 1) (ภาษาบัลแกเรีย). Anubis. ISBN .
- Božilov, Familijata na Asenevci, pp. 218–224.
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 366.
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 367.
- Bakalov, Istorija na Bǎlgarija, "Dobrotica (neizv.–okolo 1385)"
- Koledarov, Petǎr (1989). Političeska geografija na srednovekovnata bǎlgarska dǎržava 2 (1186–1396) (ภาษาบัลแกเรีย). Bulgarian Academy of Sciences. pp. 13–25, 102.
- Miletič, Ljubomir (1896). "Dako-romǎnite i tjahnata slavjanska pismenost. Novi vlaho-bǎlgarski gramoti ot Brašov". Sbornik Za Narodni Umotvorenija, Nauka I Knižnina (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia. 2 (13): 47. สืบค้นเมื่อ 2007-02-11.
- Bakalov, Istorija na Bǎlgarija, "Esenta, 1369 g."
- Fine, Late Medieval Balkans, pp. 367–368.
- Tjutjundžiev and Pavlov, Bǎlgarskata dǎržava i osmanskata ekspanzija
- Fine, Late Medieval Balkans, p. 368.
- Čavrǎkov, Georgi (1974). "Bǎlgarski manastiri" (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Nauka i izkustvo. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- Kǎnev, Petǎr (2002). . South-East Europe Review (1): 81. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-29. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
- . Bǎlgarite i Bǎlgarija (ภาษาบัลแกเรีย). Ministry of Foreign Affairs of Bulgaria, Trud, Sirma. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-07.
- Sinodik na Car Boril, additions from the 13th and 14th century, cited in Canev, Bǎlgarski hroniki, p. 456.
- "Izobraženijata na Ivan Aleksandǎr ot XIV vek" (ภาษาบัลแกเรีย). สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- (ภาษาบัลแกเรีย). Infotel.bg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- "The Virtual Jewish History Tour Bulgaria". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- Canev, Bǎlgarski hroniki, p. 457.
- Karamihaleva, Aleksandra. (ภาษาบัลแกเรีย). Cǎrkoven vestnik. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-01. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- "Sv. prepodobni Teodosij Tǎrnovski" (ภาษาบัลแกเรีย). Pravoslavieto.com. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- Gjuzelev, Vasil (1963). (ภาษาบัลแกเรีย). Kosmos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 24, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- . British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-03-25.
- Miltenova, Anisava (June 2005). "ИЗЛОЖБИ" [Exhibitions]. Informacionen Bjuletin Na BAN (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Bulgarian Academy of Sciences (89): 24. ISSN 1312-5311.
- glaven red.: Evgeni Golovinski (2005). "Ivan Aleksandǎr Asen (?–1371)". Bǎlgarska enciklopedija A–JA – treto osǎvremeneno izdanie (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Trud, Sirma. ISBN .
- Bakalov, Istorija na Bǎlgarija, "Venecianska gramota"
- "Biografični beležki – Ivan Vazov" (ภาษาบัลแกเรีย). Slovoto. สืบค้นเมื่อ 2007-01-19.
- Beniševa, Daniela (2002-11-18). (ภาษาบัลแกเรีย). Bǎlgarska armija. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-02-03.
- Composite Gazetteer of Antarctica: Ivan Alexander Point.
- Sugar, Pete (1983). Southeastern Europe Under Ottoman Rule, 1354–1804. University of Washington Press. p. 16. ISBN .
บรรณานุกรม
- Andreev, Jordan; Ivan Lazarov; Plamen Pavlov (1999). Koj koj e v srednovekovna Bǎlgarija (ภาษาบัลแกเรีย) (2nd ed.). Sofia: Petǎr Beron. ISBN .
- Andreev, Jordan (1993). Bǎlgarija prez vtorata četvǎrt na XIV v. (ภาษาบัลแกเรีย). Veliko Tǎrnovo: Sv. Kliment Ohridski. OCLC 69163573.
- Angelov, Petǎr (1982) [1978]. Bǎlgaro-srǎbskite otnošenija pri caruvaneto na Ivan Aleksandǎr (1331–1371) i Stefan Dušan (1331–1355) (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Sofia University Press.
- Bakalov, Georgi; Milen Kumanov (2003). Elektronno izdanie – Istorija na Bǎlgarija (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Trud, Sirma. ISBN .
- Božilov, Ivan (1985). Familijata na Asenevci (1186–1460) (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia: Bulgarian Academy of Sciences. OCLC 14378091.
- Canev, Stefan (2006). "11 Kǎm propast. Car Ivan Aleksandǎr, Momčil". Bǎlgarski hroniki (ภาษาบัลแกเรีย). Sofia, Plovdiv: Trud, Žanet 45. ISBN .
- Delev, Petǎr; Valeri Kacunov; Plamen Mitev; Evgenija Kalinova; Iskra Baeva; Bojan Dobrev (2006). "19 Bǎlgarija pri Car Ivan Aleksandǎr". Istorija i civilizacija za 11. klas (ภาษาบัลแกเรีย). Trud, Sirma.
- Fine, Jr., John V.A. (1987). The Late Medieval Balkans. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN .
- Lalkov, Milčo (1997). "Tsar Ivan Alexander (1331–1371)". Rulers of Bulgaria. Sofia: Kibea. ISBN .
- Tjutjundžiev, Ivan; Plamen Pavlov (1992). Bǎlgarskata dǎržava i osmanskata ekspanzija 1369–1422 (ภาษาบัลแกเรีย). Veliko Tǎrnovo. OCLC 29671645.
- . Bǎlgarite i Bǎlgarija (ภาษาบัลแกเรีย). Ministry of Foreign Affairs of Bulgaria, Trud, Sirma. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-07.
- . Bǎlgarite i Bǎlgarija (ภาษาบัลแกเรีย). Ministry of Foreign Affairs of Bulgaria, Trud, Sirma. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
- รายละเอียดผู้ปกครองบัลแกเรีย 2015-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพวาดของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ในสมัยศตวรรษที่ 14
ก่อนหน้า | ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์แห่งบัลแกเรีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ซาร์อีวัน สแตฟันแห่งบัลแกเรีย | ซาร์แห่งบัลแกเรีย (ราชวงศ์สรัตซีมีร์) (ค.ศ. 1331–1371) | ซาร์อีวัน ชิชมันแห่งบัลแกเรีย ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์แห่งบัลแกเรีย |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sarxiwn xaaelksnedxr blaekeriy Ivan Aleksandr thaytwxksridwa Ivan Aleksandǎr sakdxyangdngedim IѠAN ALYeѮANdR hruxinbangkhrngaephlngepnxngkvsidwa cxhn xelksanedxr epnckrphrrdi sar aehngckrwrrdiblaekeriytngaet kh s 1331 1371 wnesdcphrarachsmphphkhxngphraxngkhimepnthithrabaenchd odythrabephiyngwnswrrkhtsungtrngkbwnthi 17 kumphaphnth kh s 1371 chwngrayaewlakarkhrxngrachsmbtithiyawnankhxngphraxngkhepnchwngepliynphanthisakhykhxngprawtisastrblaekeriyinyukhklang sungphraxngkhthrngtxngcdkarkbpyhaphayinaelaphykhukkhamcakphaynxk odyechphaaxyangyingcakckrwrrdiibaesnithnaelackrwrrdiesxrebiy sungepndinaednephuxnbankhxngblaekeriy nxkcakniphraxngkhyngthrngmibthbathsakhyinkarfunfuesrsthkic silpaaelakarsasnakhxngblaekeriyxikdwyxiwn xaaelksnedxrphaphehmuxnkhxngsarcaktnchbbinyukhklang phrawrsarsarxiwn xaaelksnedxrsaraehngblaekeriykhrxngrachy1331 17 kumphaphnth 1371kxnhnasarxiwn saetfnthdipsarxiwn chichmn sarxiwn srtsimirswrrkht17 kumphaphnth 1371khuxphiesksarinaaetxxdxraaehngwxelekhiy sarinasara aetxxdxraphrarachbutrdudanlangrachwngssrtsimirphrarachbidasrtsimiraehngekrinphrarachmardaecahyingaekrtsa aeptritsasasnaxisethirnxxrthxdxks xyangirktaminchwnghlng sarxiwn xaaelksnedxrthrngimsamarthrbmuxkbpyhahlayxyangthiekidkhunid odyechphaaxyangyingphycakkalmrna karrukrankhxngckrwrrdixxtotmnaelakarrukranbriewntawntkechiyngehnuxkhxngpraethsodyrachxanackrhngkari karephchiyhnaxyangirphlkbpyhaehlani phraxngkhidthrngaebngdinaednihphrarachoxrs 2 phraxngkh sungnaipsukhwamxxnaexaelakaraebngaeykkhxngckrwrrdiblaekeriy phrxmkbkarephchiyhnakbkhyayxanackhxngckrwrrdixxtotmnrayaaerkkhxngkarkhrxngrachysarxiwn xaaelksnedxr thrngepnphrarachoxrskhxngsrtsimir edsepit Despot aehngekrin sungmibrrphburssubechuxsaycakrachwngsxaaesn aelaecahyingaekrtsa aeptritsa phrakhnisthakhxngsarmikhaxil chichmnaehngblaekeriy dngnnsarxiwn xaaelksnedxrcungmikhwamsmphnthepnphraphakhiinykhxsarmikhaxil chichmndwy in kh s 1330 phraxngkhthrngdarngtaaehnngepnedsepitaehngemuxngolewch inkhnathiphraxngkhdarngtaaehnngedsepit phraxngkhidrwmrbinyuththkarthiaewlebichd sungpccubnkhuxbriewnemuxng ephuxtxtanesxrebiyin kh s 1330 rwmkbphrarachbidaaelabasarbthi 1 aehngwxelekhiy phrasssurakhxngphraxngkh sunginyuththkarkhrngnifayesxrebiyidrbchychna aelakarphayaephinsngkhramkhrngnikhxngblaekeriy phrxmkbpyhaphayinthiephimmakkhun rwmipthungkarrukrankhxngckrwrrdiibaesnithncakkhwamsmphnththielwrayrahwangkn naipsukarkxkarrthpraharkhbilsarxiwn saetfnxxkcakemuxnghlwngaewlioketxronowin kh s 1331 aelaklumphukxkaridthulechiyihxiwn xaaelksnedxrkhunkhrxngrachbllngk phaphcitrkrrmfaphnngrwmsmykhxngsarxiwn xaaelksnedxr sarxiwn xaaelksnedxrmiphrarachdariinkaryuddinaednthisuyesiyihkbckrwrrdiibaesnithnklbkhunmaephuxsrangkhwammnkhngintaaehnngkhxngphraxngkh dngnnin kh s 1331 sarxiwncungthakarsukinbriewnexdiraenaelasamarthyuddinaedntawnxxkechiyngehnuxkhxngethrsklbkhunmaid inkhnaediywknphraecasaetfn xurxsthi 4 aehngesxrebiyidpldphrarachbidakhxngphraxngkh xxkcakrachbllngkaelasthapnaphraxngkhkhunepnphramhakstriyaehngesxrebiy sngphlihkhwamsmphnththielwraykhxngblaekeriyaelaesxrebiyklbmadikhun phramhakstriythng 2 phraxngkhsyyaepnphnthmitrtxkn odykahndihmikarxphiesksmrsrahwangphramhakstriyaehngesxrebiyaelaaexaelnaaehngblaekeriy sungepnphrakhnisthakhxngsarxiwn xaaelksnedxrinwnxisetxr khxng kh s 1332 inchwngewlaiklekhiyngknaeblaxur sungepnphraxnuchakhxngsarmikhaxil chichmnidkxkarkbdkhunthiwidin odykarkxkbdkhrngnixacepnipephuxchwyihsarxiwn saetfn phraphakhiinykhxngphraxngkhklbsurachbllngkxikkhrng karprabpramklumkbdtxngeluxnxxkip emuxinchwngvdurxnkhxng kh s 1332 ckrphrrdixnodrnikhxsthi 3 phalaoxolkxsaehngckrwrrdiibaesnithnrukranblaekeriy kxngthphkhxngibaesnithnidrukkhubekhasuphunthitawnxxkechiyngehnuxkhxngethrs odysarxiwn xaaelksnedxrthrngribnakxngkalngkhnadelkmunglngitipthnkxngthphkhxngckrphrrdixnodrnikhxsthi 3 thirusxkstrx immisarphraxngkhidthicaehmuxnkbsarxiwn xaaelksnedxrphuyingihyphraxngkhni inechingkhwamsamarththangkarthhar phraxngkhepriybesmuxnepnxelksanedxrmharach phraxngkhthi 2 inechingkhwamechuxaelakhwamsrththa phraxngkhepriybesmuxnepnnkbuykhxnsaetntin phraxngkhthrngcbstrukhxngphraxngkhiwitekhaaelaidsrangsntiphaphthimnkhnginckrwalni bthsrresriyxiwn xaaelksnedxrodyphuaetngnirnamrwmsmy hlngcakthiphraxngkhaesdngthrngaesdngthathilwngwacaecrca sarxiwn xaaelksnedxrphrxmdwykxngkalngesrimcakkxngthphmakhxngchawmxngokl sarxiwn xaaelksnedxrcungocmtikxngthphibaesnithn sngphlihkxngkalngkhxngibaesnithnthithungaemwacamikarcdkrabwnthphthidikwa aetdwycanwnthinxykwaprasbkbkhwamphayaeph brrdaemuxngodyrxbhlayemuxngidyxmaephtxsarxiwn xaaelksnedxr inkhnathickrphrrdixnodrnikhxsthi 3 txnghlbhniekhaipxyuinkaaephngemuxngrusxkstrx sngkhramkhrngnicblngemuxthngsxngfayecrcasngbsuk odythngsxngfayyxmrb status quo aelaephuxsrangphnthmitrrahwangknsarxiwn xaaelksnedxridkhxihmikarhmnhmayrahwangmaeriy phrathidakhxngckrphrrdixnodrnikhxsthi 3 kbmikhaxil xaaesn phraoxrskhxngphraxngkh aelanaipsukarxphiesksmrskhxngthngsxngphraxngkhin kh s 1339 emuxcbsngkhramkbibaesnithn phraxngkhcungerimihkhwamsakhykbkarcdkarkbaeblaxur aelasamarthprabthanthimnsudthaykhxngkbdthangphakhtawntkechiyngehnuxidsaercinpraman kh s 1336 hrux 1337 in kh s 1332 sarxiwn xaaelksnedxridsthapnaphraoxrsxngkhotmikhaxil xaaesnthi 4 khunepnckrphrrdirwm Co Emperor aelaphraxngkhiddaeninaenwthangechnniinewlatxmadwykarsthapnaphraoxrsxngkhrxngxyangxiwn srtsimiraelaxiwn xaaesnthi 5 khunepnckrphrrdirwmechnknin kh s 1337 sungxacphicarnaidwakarkrathaechnniepnipephuxrksarachbllngkiwinrachtrakulkhxngphraxngkh nxkcaknisarxiwn xaaelksnedxrxacmikhwamtngphrathythicakhwbkhumemuxngsakhyphayindinaednphankartngtaaehnngckrphrrdirwm sungphbwaxiwn srtsimiridrbmxbhmayihpkkhrxngwidin inkhnathixiwn xaaesnthi 4 xacidrbmxbhmayihpkkhrxngaeprslf xyangirktamkarkrathaechnniepntwxyangsakhythiaesdngihehnthungkhwamaetktangkhxngthrrmeniymblaekeriykbibaesnithninkaraetngtngtaaehnng despotes enuxngcaktamthrrmeniymkhxngibaesnithn phraoxrsxngkhrxngcaidrbkaraetngtngepn despotes imwacamidinaednphayitkarpkkhrxnghruximktamkhwamsmphnthkbckrwrrdiibaesnithnxanaekhtkhxngblaekeriyinsmysarxiwn xaaelksnedxr inchwngtnkhristthswrrs 1340 khwamsmphnthkbibaesnithnelwraylngchwkhraw emuxsarxiwn xaaelksnedxrideriykrxngihckrwrrdiibaesnithnsngtw hnunginphraoxrskhxngsarmikhaxilthi 3 chichmnklbsublaekeriy phrxmthngkhuprakassngkhramhakningechy karkhuichkalngkhrngnikhxngsarxiwn xaaelksnedxrinkhrngniidphltrngknkham enuxngcakckrwrrdiibaesnithnthrabectnathiaethcringkhxngphraxngkh cungidnakxngthpheruxphnthmitrchawturkicak sungidkhunfngthibriewndindxnsamehliympakaemnadanubaelaplnsadmphunthichnbth phrxmthngekhaocmtinkhrkhxngblaekeriythixyuiklekhiyng dwykarthukbngkhbihrangbkhxeriykrxng sarxiwn xaaelksnedxrcungrukranckrwrrdiibaesnithnxikkhrngin kh s 1341 odyxangwachawexedriyonepileriykhaphraxngkh xyangirktamkxngkalngphnthmitrkhxngibaesnithnsamarthexachnakxngthphkhxngsarxiwn xaaelksnedxrinkarrbiklkbnkhrexedriyonepilidthung 2 khrng in kh s 1341 1347 ckrwrrdiibaesnithntxngephchiykbpyhathikinrayaewlayawnan ephuxaeyngchingsiththikarepnphupkkhrxngkhxng sungyngthrngphraeyaw rahwangklumkhxngphusaercrachkarphayitkarnakhxngaelaklumkhxng sungepnphupkkhrxngthihmaymniw praethsephuxnbankhxngibaesnithntangchwyoxkascaksngkhramklangemuxngkhrngni odyphraecasaetfn xurxsthi 4 aehngesxrebiythrngsnbsnuncxhnthi 6 khntakhuesnxs inkhnathisarxiwn xaaelksnedxrthrngsnbsnunckrphrrdicxhnthi 5 phalaoxolkxsaelakhnaphusaercrachkar aemwathngsxngpraethscaihkarsnbsnunkhwxanacthiaetktangkninsngkhramklangemuxng thngsxngfayyngkhngsthanaepnphnthmitrtxkn sungin kh s 1344 sarxiwn xaaelksnedxriddinaednnkhrfilipopoplis plxfdif rwmipthungpxmprakarsakhy 9 aehngbriewncakkarthiphraxngkhsnbsnunklumkhxngphusaercrachkar cakkarphlikklbxyangsntinixacklawidwaepnkhwamsaerckhrngihykhrngsudthaykhxngkardaeninnoybaykartangpraethsinrchsmysarxiwn xaaelksnedxrkhwamrungeruxngkhxngesxrebiyaelaphycakxxtotmnehriyyenginkhxngxiwn xaaelksnedxr blaekeriy 1331 1371 karekhaipmiswnrwmkhxngesxrebiyinsngkhramklangemuxngibaesnithn sngphlihesxrebiyidpraoychncaksthankarndngklaw dwykariddinaednmasiodeniy phunthiekuxbthnghmdkhxngaexlebeniyaelatxnehnuxkhxngkris in kh s 1345 phramhakstriyaehngesxrebiyerimeriykphraxngkhexngepn ckrphrrdikhxngchawesirbaelakrik phrxmthngrachaphieskphraxngkhexngkhunepnckrphrrdiodyidrbkarswmmngkudcak sungepntaaehnngtngihmin kh s 1346 karkrathaechnniaemepnkarsrangkhwamimkhunekhuxngihkbibaesnithn aetphbwablaekeriyepnphusnbsnunkarkrathaechnnn odyxkhrbidrsiaemxxnaehngblaekeriymiswnrwminkarsthapnaekhtxkhrbidraepchi Serbian Patriarchate of Pec aelarwmnganbrmrachaphieskkhunepnckrphrrdikhxngphraecasaetfn xurxsthi 4 inchwngkhrunghlngkhxngkhristthswrrs 1340 khwamsaercrayaaerkkhxngsarxiwn xaaelksnedxrerimehluxnxyetmthi blaekeriysungephchiykbkhwamesiyhaycakkalmrna yingxyuinsphawathielwraymakkhun odyechphaaxyangyingcakkarplnsadminphunthiethrschwng kh s 1346 1347 1349 1352 aela 1354 odykxngkalngphnthmitrchawturkikhxngcxhnthi 6 khntakhuesnxs blaekeriyphyayamthicakhbilphurukranxxkip aetprasbkbkhwamlmehlw phrxmkbkarsinphrachnmkhxngphraoxrsphraxngkhthi 3 xiwn xaaesnthi 4 in kh s 1349 aelaphraoxrsxngkhot mikhaxil xaaesnthi 4 in kh s 1355 hruxkxnhnannephiyngelknxy sngkhramklangemuxngibaesnithnidcbsinlngin kh s 1351 aelacxhnthi 6 khntakhuesnxsidtrahnkthungphyxntraycakxxtotmntxdinaedninkhabsmuthrbxlkhan dngnnphraxngkhcunghnipsrangphnthmitrkbesxrebiyaelablaekeriy ephuxrwmmuxkntxtankxngkalngchawturki inkarniibaesnithnidrxngkhxengincaksarxiwn xaaelksnedxrephuxnaiptxeruxrb xyangirktamkarsrangphnthmitrrahwangkndngklawimprasbkhwamsaerc enuxngcakpraethsephuxnbanimiwwangicinectnakhxngibaesnithn khwamphyayamkhrngihmthicaaeswnghakhwamrwmmuxrahwangblaekeriyaelaibaesnithnekidkhunxikkhrngin kh s 1355 emuxckrphrrdicxhnthi 5 phalaoxolkxsthrngbngkhbihckrphrrdicxhnthi 6 khntakhuesnxsslarachsmbti sngphlihckrphrrdicxhnthi 5 phalaoxolkxsthrngepnphupkkhrxngsungsudkhxngckrwrrdiaetephiyngphuediyw phraxngkhidsrangphnthmitrkbblaekeriy ephuxihsyyakarepnphnthmitrmikhwammnkhngmakyingkhun cungidmikarkahndihphrarachoxrskhxngphraxngkh xphiesksmrskbecahyingaekrtsa phrathidakhxngsarxiwn xaaelksnedxr aetkarsrangphnthmitrrahwangkninkhrngniimidkxihekidphllphththisakhyaetprakaridpyhakhwammnkhngphayinaelakhwamkhdaeyngcakphaynxkehriyyaesdngphaphkhxngsarxiwn xaaelksnedxraelamikhaxil xaaesnthi 4 khwa praman kh s 1349 sarxiwn xaaelksnedxrthrnghyakbsarinaaetxxdxraaehngwxelekhiyphrachayaphraxngkhaerkdwyehtuphlkarrksakhwammnkhngphayin aelaxphiesksmrsihmkbsarinasara aetxxdxra sungekhynbthuxsasnayuday aelaepliynmanbthuxxisethirnxxrthxdxksinphayhlng karxphiesksmrsihmkhrngni sngphlihsarxiwn xaaelksnedxrthrngmiphrarachbutrephimkhun aelaidaetngtngphrarachbutrehlaniihdarngtaaehnngckrphrrdirwm prakxbdwy xiwn chichmn in kh s 1365 aelaxiwn xaaesnthi 5 in kh s 1359 xyangirktamphraoxrsthiprasutiaetsarinaaetxxdxraaehngwxelekhiy sungdarngtaaehnngepnckrphrrdirwminwidinkhux xiwn srtsimir epliynepnphupkkhrxngdinaednxyangxisrain kh s 1356 swnsarxiwn xaaelksnedxrepnphukhwbkhumphupkkhrxngitxantithiekhmaekhng xyangaela sungphupkkhrxngehlaniidphyayamthicadaeninnoybaytangpraethsdwytnexngmakkhun tngaetchwngklangkhxngkhriststwrrsthi 14 epntnip blaekeriyprasbpyhakbkarkhyayxanackhxngaehng sungidkhwbrwmdinaednmxledewiyiwinxanacin kh s 1352 aelasthapnaphunthiaehngnnkhunepnrachrthphayitxantikhxngphraxngkh nxkcakniphraxngkhyngnakxngkalnghngkariekhayudkhrxngemuxngwidinin kh s 1365 aelacbtwsarxiwn srtsimiraelaphrabrmwngsanuwngsepnechly karthasngkhramkhxngxmaedxusthi 6 inblaekeriy 1366 67 in kh s 1364 blaekeriyaelaibaesnithnerimmipyhakarkrathbkrathngrahwangknxikkhrng aelain kh s 1366 khwamkhdaeyngnierimrunaerngkhun emuxkalngesdcklbcakkaresdcpraphasphunthithangphakhtawntk aetblaekeriyptiesthimihibaesnithnedinthangphandinaednkhxngblaekeriy karkrathaechnnikhxngblaekeriykxihekidphlyxnklb emuxsungepnphnthmitrkbibaesnithn idnakxngkalngkhruesd yudemuxngchaythaelhlayaehngkhxngblaekeriy echn xnkhixalxs pxmxriaex aelaemesmebriy epnkartxbot rwmipthungidphyayamyudemuxngwarna aetimprasbkhwamsaerc thaythisudsarxiwn xaaelksnedxrcayxmtxngecrcasntiphaph phlkhxngkartklngsntiphaphinkhrngni ckrphrrdicxhnthi 5 phalaoxolkxs tklngcayenginihblaekeriyepncanwn 180 000 flxrin inkhnathiemuxngthikxngkalngkhruesdyudidtkepnkhxngibaesnithn sarxiwn xaaelksnedxrnaenginthiidaelakaryxmtklngmxbdinaednbangswnihephuxcungicihphupkkhrxngdinaednphayitxantiodynitinyxyangaehngodbruya aela chwyehluxinkarchwngchingwidinklbkhunmacakhngkari sngkhramkhrngniprasbkhwamsaerc aelain kh s 1369 sarxiwn srtsimiridklbmapkkhrxngwidinxikkhrnghnung thungaemwaphramhakstriyaehnghngkaricabngkhbihsarxiwn srtsimiryxmrbwaxyuphayitxanackhxnghngkariktam aemwacaprasbkhwamsaercinkaraekikhwikvtthiekidkhunthangtawntkechiyngehnux aetkhwamsaercniimsamarthchwyihdinaednthisuyesiyipthangphakhtawnxxkechiyngitklbkhunmaid sthankarnyingelwraymakyingkhunemuxsultanmurdthi 1 aehngxxtotmnthasngkhramrukranphunthibriewnethrsin kh s 1361 aelasamarthyudxedriyonepilidsaercin kh s 1369 aelasthapnaemuxngaehngniepnemuxnghlwngephuxichinkarkhyayxanactxip nxkcaknixxtotmnyngekhayudemuxngfilipopoplisaelaaebrxaex sungepnemuxngsakhykhxngblaekeriy rahwangthiehlaecachayinblaekeriyaelaesxrebiyinmasiodeniykalngrwmmuxknephuxtxtanxxtotmn sarxiwn xaaelksnedxresdcswrrkhtinwnthi 17 kumphaphnth kh s 1371 phraoxrskhxngsarxiwn xaaelksnedxrthngsxngphraxngkhepnphusubphraxisriyys saraehngblaekeriy odyxiwn srtsimirkhunkhrxngrachyinwidin swnxiwn chichmnkhunkhrxngrachyinetxrnxwx khnathiphupkkhrxngkhxngodbruyaaelawxelekhiymixisrainkarpkkhrxngmakyingkhunwthnthrrmaelasasnaphaphehmuxnphuxuthisrwmsmyincitrkrrmfaphnngkhxngsarxiwn xaaelksnedxr inrchsmykhxngsarxiwn xaaelksnedxr ckrwrrdiblaekeriythi 2 ekhasuyukhsmyaehngkarfunfuwthnthrrm hruxxacklawidwaepnyukhthxngkhxngwthnthrrmblaekeriykhrngthi 2 odyyukhthxngkhrngaerkekidkhuninrchsmykhxng sarxiwn xaaelksnedxridmiphrabrmrachoxngkarihsrangaelasxmaesmxaramaelaobsthhlayaehng odyphbphaphehmuxnphuxuthiskhxngphraxngkhpraktxyuinxxschwrikhxngaelain nxkcakniexksarkarbricakhkhxngsarxiwn xaaelksnedxaelahlkthanxunchwyphisucnihthrabwamisasnsthanhlayaehngidrbkarburnahruxsrangihminrchsmykhxngsarxiwn xaaelksnedxr echn mhawiharphramardaaehngphraecaexelxusaaelaobsthesntniokhlsthiemuxng aela sungtngxyuiklemuxngepntn nxkcakniphraxngkhyngepnphurierimkarkxsrangaelaxaraminemuxngxikdwy nxkcakkarsrangaelaburnasasnsthanhlayaehngaelw sarxiwn xaaelksnedxrmiphrabrmraochbayinkaresrimsrangsthanakhxngkhristckrblaekeriyxxrthxdxksihmikhwammnkhngmakyingkhun dwykarillaaelacbkumklumnxkritaelayiw nxkcakniphraxngkhyngcdkarprachumthangsasna sungmikartahniklumnikaynxkrit echn lththibxkxmil aexdaimtaela epncanwn 2 khrng in kh s 1350 aela kh s 1359 1360 inrchsmykhxngphraxngkh aetxxdxsiyaehngetxrnxwxepnphuaethnchawblaekeriykhnsakhyinkhbwnkarfukcitwiyyanthieriykwaehsiaekhsum sungepnwithikarswdphawnarupaebbhnungthiennkarphawnainkhwamengiybsngbaelacitcdcxxyukbkarphawna epnaenwthangthiidrbkhwamniymthwipindinaednthinbthuxxisethirnxxrthxdxksinchwngkhristswrrsthi 14 nxkcakkickrrmthangdansasnaaelw kickrrmthangdanwrrnkrrmkefuxngfuechnkn odyphbnganwrrnkrrmsakhyhlaychinthiekhiynkhuninsmyni echn karaepl kh s 1344 1345 epnphasablaekeriy pccubnnganaeplchinnithukekbrksaiwinphrawrsarsarxiwn xaaelksnedxr sungpccubnekbrksaiwthihnngsuxephlngswdsduditxmichxf kh s 1360 pccubnekbrksathimxsokhw aelahnngsuxephlngswdsdudiosefiy kh s 1337 epntn dankickrrmthangkarkha ckrwrrdiblaekeriymikhwamsmphnththangkarkhakbmhaxanacthangkarkhainaethbthaelemdietxrereniyn idaeksatharnrthewnis satharnrthecnwaela odyin kh s 1353 sarxiwn xaaelksnedxridxxkkdbtrxnuyatihphxkhachawewnissamarthsuxhruxkhaysinkhaindinaednblaekeriyid hlngcakthidxecxnedrxa danodolyunyncaekharphsnthisyyathithng 2 praethsidtharwmkniw sungepnkwiaelankpraphnthkhxngblaekeriyinyukhsmyihm idaerngbndaliccakyukhsmykhxngsarxiwn xaaelksnedxr odyaetngniyaysneruxng Ivan Aleksandǎr aelabthnatkrrm Kǎm propast suhwngluk sungnganthngsxngchinnimisarxiwn xaaelksnedxrepntwlakhrhlk chwngkhristthswrrs 1970 mikarkhnphbchinswnkhxngesuxpha sunglngphranamodysarxiwn xaaelksnedxraelathukrxyekhadwythxngkhainsusankhxngchnchnsungiklkbemuxng sungpccubnekbrksaiwthiineblekrd odykarkhnphbinkhrngnichwyyunynthrrmeniymthiekidkhuninyukhklangkhxngphupkkhrxngxxrthxdxksthicaphrarachthanesuxphathiekhyswmisihkbbukhkhlsakhy chuxsthanthiinpccubn sungtngtamphranamkhxngsarxiwn xaaelksnedxridaek aehlmxiwn xaaelksnedxrbninkhxngthwipaexntarktikaphrarachbutrsarxiwn xaaelksnedxrxphiesksmrskhrngaerkkbsarinaaetxxdxraaehngwxelekhiy phrathidakhxngbasarbthi 1 aehngwxelekhiy miphraoxrsthidahlayphraxngkh sungrwmthungsarxiwn srtsimir sungepnsaraehngblaekeriyinwidinrahwang kh s 1356 1397 ecachaymikhaxil xaaesnthi 4 aelaecachayxiwn xaaesnthi 4 sarxiwn xaaelksnedxrxphiesksmrskhrngthi 2 kbsarinasara aetxxdxra miphraoxrsthidahlayphraxngkh sungrwmthungckrphrrdiniaekrtsa sungxphiesksmrskb ckrphrrdiaehngibaesnithn sarxiwn chichmnsungsubrachsmbtiinthanasaraehngblaekeriyinetxrnxwx ecachayxiwn xaaesnthi 5 ecahyingaekra tamarasungkhrngaerkxphiesksmrskhrngaerkkbedisepitkxnstntinaelakhrngthi 2 kbsultanmurdthi 1 aehngckrwrrdixxtotmn rwmipthungphrathida 2 phraxngkh khux ecahyingaedsislawaaelaecahyingwasilisa phngsawlikhxngsarxiwn xaaelksnedxrsrtsimiraehngekrin ecahyingaekrtsa aeptritsa1 2sarinaaetxxdxraaehngwxelekhiy sarxiwn xaaelksnedxr swrrkht 1371 khrxngrachy 1331 1371 sarinasara aetxxdxra1 1 1 2 2 2 2 2 2ecachaymikhaxil xaaesnthi 4 sarxiwn srtsimir prasuti 1324 swrrkht 1397 khrxngrachy 1356 1397 ckrphrrdiniaekrtsa mariya prasuti 1348 sinphrachnm 1390 ecachayxiwn xaaesnthi 5 ecahyingwasilisaecachayxiwn xaaesnthi 4 ecahyingaekra tamara sarxiwn chichmn prasuti 1350 1351 swrrkht 1395 khrxngrachy 1371 1395 ecahyingaedsislawaxangxingechingxrrth phbkarsakdaebbniinkdbtrkhxngblaekeriyinyukhklang Daskalova Angelina Marija Rajkova 2005 Gramoti na bǎlgarskite care phasablaekeriy Sofia Bulgarian Academy of Sciences pp 58 59 ISBN 954 322 034 4 For example in John Alexander emperor of Bulgaria Encyclopaedia Britannica Online subkhnemux 2007 01 19 Lalkov Rulers of Bulgaria pp 42 43 Bǎlgarite i Bǎlgarija 2 1 Delev Istorija i civilizacija za 11 klas Castellan Georges 1999 Histoire des Balkans XIVe XXe siecle phasafrngess Paris Fayard p 42 ISBN 2 213 60526 2 Fine Late Medieval Balkans p 273 Bozhilov Familiyata na Asenevtsi pp 192 235 Fine Late Medieval Balkans p 273 Fine Late Medieval Balkans p 274 dngedimmacak Sofia Psalter folios 311a 312b Adapted by Canev Bǎlgarski hroniki pp 459 460 bthkhwamdngemchbbetminphasablaekeriyklang khnidcak Arhangelskij A S 1897 Bolgarskij pesnivec 1337 goda Pohvala i otryvok psaltyrnago teksta Izvestija ORJAS IAN phasarsesiy subkhnemux 2007 02 11 Bozilov Familijata na Asenevci pp 192 197 Andreev Bǎlgarija prez vtorata cetvǎrt na XIV v pp 33 41 Andreev Balgariya prez vtorata chetvart na XIV v pp 23 52 Based on Lalkov Rulers of Bulgaria Bakalov Istorija na Bǎlgarija Esenta 1341 g Fine Late Medieval Balkans pp 292 293 Fine Late Medieval Balkans p 304 Fine Late Medieval Balkans pp 309 310 Fine Late Medieval Balkans pp 322 325 328 Andreev Bǎlgarija prez vtorata cetvǎrt na XIV v pp 67 75 Bǎlgarite i Bǎlgarija 2 2 Fine Late Medieval Balkans p 325 Bakalov Istorija na Bǎlgarija 1355 g Bozilov Ivan Vasil Gjuzelev 2006 Istorija na srednovekovna Bǎlgarija VII XIV vek tom 1 phasablaekeriy Anubis ISBN 954 426 204 0 Bozilov Familijata na Asenevci pp 218 224 Fine Late Medieval Balkans p 366 Fine Late Medieval Balkans p 367 Bakalov Istorija na Bǎlgarija Dobrotica neizv okolo 1385 Koledarov Petǎr 1989 Politiceska geografija na srednovekovnata bǎlgarska dǎrzava 2 1186 1396 phasablaekeriy Bulgarian Academy of Sciences pp 13 25 102 Miletic Ljubomir 1896 Dako romǎnite i tjahnata slavjanska pismenost Novi vlaho bǎlgarski gramoti ot Brasov Sbornik Za Narodni Umotvorenija Nauka I Kniznina phasablaekeriy Sofia 2 13 47 subkhnemux 2007 02 11 Bakalov Istorija na Bǎlgarija Esenta 1369 g Fine Late Medieval Balkans pp 367 368 Tjutjundziev and Pavlov Bǎlgarskata dǎrzava i osmanskata ekspanzija Fine Late Medieval Balkans p 368 Cavrǎkov Georgi 1974 Bǎlgarski manastiri phasablaekeriy Sofia Nauka i izkustvo subkhnemux 2007 01 19 Kǎnev Petǎr 2002 South East Europe Review 1 81 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 07 29 subkhnemux 2020 06 19 Bǎlgarite i Bǎlgarija phasablaekeriy Ministry of Foreign Affairs of Bulgaria Trud Sirma 2005 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 09 07 Sinodik na Car Boril additions from the 13th and 14th century cited in Canev Bǎlgarski hroniki p 456 Izobrazenijata na Ivan Aleksandǎr ot XIV vek phasablaekeriy subkhnemux 2007 01 19 phasablaekeriy Infotel bg khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux January 17 2007 subkhnemux 2007 01 19 The Virtual Jewish History Tour Bulgaria Jewish Virtual Library subkhnemux 2007 01 19 Canev Bǎlgarski hroniki p 457 Karamihaleva Aleksandra phasablaekeriy Cǎrkoven vestnik khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 01 01 subkhnemux 2007 01 19 Sv prepodobni Teodosij Tǎrnovski phasablaekeriy Pravoslavieto com subkhnemux 2007 01 19 Gjuzelev Vasil 1963 phasablaekeriy Kosmos khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux February 24 2007 subkhnemux 2007 01 19 British Library khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux February 13 2006 subkhnemux 2006 03 25 Miltenova Anisava June 2005 IZLOZhBI Exhibitions Informacionen Bjuletin Na BAN phasablaekeriy Sofia Bulgarian Academy of Sciences 89 24 ISSN 1312 5311 glaven red Evgeni Golovinski 2005 Ivan Aleksandǎr Asen 1371 Bǎlgarska enciklopedija A JA treto osǎvremeneno izdanie phasablaekeriy Sofia Trud Sirma ISBN 954 528 519 2 Bakalov Istorija na Bǎlgarija Venecianska gramota Biograficni belezki Ivan Vazov phasablaekeriy Slovoto subkhnemux 2007 01 19 Beniseva Daniela 2002 11 18 phasablaekeriy Bǎlgarska armija khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux September 30 2007 subkhnemux 2007 02 03 Composite Gazetteer of Antarctica Ivan Alexander Point Sugar Pete 1983 Southeastern Europe Under Ottoman Rule 1354 1804 University of Washington Press p 16 ISBN 0 295 96033 7 brrnanukrm Andreev Jordan Ivan Lazarov Plamen Pavlov 1999 Koj koj e v srednovekovna Bǎlgarija phasablaekeriy 2nd ed Sofia Petǎr Beron ISBN 954 402 047 0 Andreev Jordan 1993 Bǎlgarija prez vtorata cetvǎrt na XIV v phasablaekeriy Veliko Tǎrnovo Sv Kliment Ohridski OCLC 69163573 Angelov Petǎr 1982 1978 Bǎlgaro srǎbskite otnosenija pri caruvaneto na Ivan Aleksandǎr 1331 1371 i Stefan Dusan 1331 1355 phasablaekeriy Sofia Sofia University Press Bakalov Georgi Milen Kumanov 2003 Elektronno izdanie Istorija na Bǎlgarija phasablaekeriy Sofia Trud Sirma ISBN 954528613X Bozilov Ivan 1985 Familijata na Asenevci 1186 1460 phasablaekeriy Sofia Bulgarian Academy of Sciences OCLC 14378091 Canev Stefan 2006 11 Kǎm propast Car Ivan Aleksandǎr Momcil Bǎlgarski hroniki phasablaekeriy Sofia Plovdiv Trud Zanet 45 ISBN 954 528 610 5 Delev Petǎr Valeri Kacunov Plamen Mitev Evgenija Kalinova Iskra Baeva Bojan Dobrev 2006 19 Bǎlgarija pri Car Ivan Aleksandǎr Istorija i civilizacija za 11 klas phasablaekeriy Trud Sirma Fine Jr John V A 1987 The Late Medieval Balkans Ann Arbor University of Michigan Press ISBN 0 472 08260 4 Lalkov Milco 1997 Tsar Ivan Alexander 1331 1371 Rulers of Bulgaria Sofia Kibea ISBN 954 474 334 0 Tjutjundziev Ivan Plamen Pavlov 1992 Bǎlgarskata dǎrzava i osmanskata ekspanzija 1369 1422 phasablaekeriy Veliko Tǎrnovo OCLC 29671645 Bǎlgarite i Bǎlgarija phasablaekeriy Ministry of Foreign Affairs of Bulgaria Trud Sirma 2005 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 09 07 Bǎlgarite i Bǎlgarija phasablaekeriy Ministry of Foreign Affairs of Bulgaria Trud Sirma 2005 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 09 07 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb sarxiwn xaaelksnedxraehngblaekeriy raylaexiydphupkkhrxngblaekeriy 2015 10 16 thi ewyaebkaemchchin phaphwadkhxngsarxiwn xaaelksnedxrinsmystwrrsthi 14kxnhna sarxiwn xaaelksnedxraehngblaekeriy thdipsarxiwn saetfnaehngblaekeriy saraehngblaekeriy rachwngssrtsimir kh s 1331 1371 sarxiwn chichmnaehngblaekeriy sarxiwn srtsimiraehngblaekeriy