Representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) เป็นฮิวริสติกคือทางลัดทางความคิดที่ใช้ตัดสินว่าสิ่งหนึ่งที่กำลังประสบ เหมือนกับต้นแบบที่เป็นตัวแทนของหมวดหรือประเภทหนึ่งๆ เท่าไร โดยถ้าเหมือนก็อาจจะจัดสิ่งที่ประสบเข้าในหมวดนั้น ฮิวริสติกทำการโดยเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งๆ กับต้นแบบของหมวดหรือประเภทที่มีอยู่ในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าเราเห็นคนใส่เสื้อกาวน์สีขาว มีเครื่องฟังตรวจคือหูฟังหัวใจและปอด เราก็อาจคิดว่าคนนี้เป็นแพทย์ ทั้งๆ ที่ก็ยังอาจเป็นพยาบาล นักเรียนแพทย์ หรือคนใส่เสื้อผ้าของแพทย์ได้ ฮิวริสติกนี้เป็น "ทางลัดในการประเมินที่โดยทั่วไปช่วยให้เราไปถึงที่หมายได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีราคาคือบางครั้งส่งเราไปผิดที่" เพราะการประเมินโดยวิธีนี้อาจจะทำให้เราละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate) และ/หรือเกิดความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) อื่นๆ
ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนเป็นหนึ่งในกลุ่มฮิวริสติก (คือกฎง่ายๆ ที่เราใช้เพื่อประเมินและตัดสินใจตามธรรมชาติ) ที่เสนอโดยนักจิตวิทยา แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ฮิวริสติกมีประโยชน์เพราะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องคิดหรือพิจารณามาก คำว่า "ความเป็นตัวแทน" (representativeness) ในบทความนี้อาจหมายถึง
- ความที่ต้นแบบหรือตัวอย่าง (prototype) เป็นตัวแทนของประเภท (category) นั้นๆ
- ความสัมพันธ์ระหว่างตัวอย่างกับสิ่งที่เปรียบเทียบ (คือเหมือนกันแค่ไหน)
การใช้ฮิวริสติกนี้ อาจทำให้ประเมินความน่าจะเป็นผิดพลาดเพราะสิ่งที่เป็นตัวแทนดีกว่าคือเหมือนกันมากกว่า ไม่ได้หมายความว่ามันน่าจะเกิดขึ้นหรือมีมากกว่า มีการอธิบายฮิวริสติกนี้อย่างง่ายๆ ว่า เป็นการประเมินความคล้ายคลึงกันของวัตถุแล้วจัดแจงวัตถุนั้นโดยเทียบกับตัวอย่างของประเภท (category prototype) เช่นจัดประเภทของที่คล้ายคลึงกันเข้าด้วยกันหรือคิดว่าเหตุและผลควรจะคล้ายๆ กัน เราใช้ฮิวริสติกนี้เพราะเป็นการคำนวณที่ง่าย แต่ปัญหาก็คือ เราเชื่อถือสมรรถภาพในการประเมินความน่าจะเป็นของเหตุการณ์โดยวิธีนี้มากเกินไป ซึ่งอาจก่อเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน (base rate fallacy) และความเอนเอียงทางประชานประเภทอื่นๆ
ตัวกำหนดการใช้ฮิวริสติก
องค์ประกอบบางอย่างของการประเมินและการตัดสินใจ จะทำให้โอกาสที่จะใช้ฮิวริสติกนี้มีมากขึ้น
ความคล้ายคลึงกัน
เมื่อประเมินความเป็นตัวแทนของสิ่งเร้า/เหตุการณ์ใหม่ เรามักจะใส่ใจในระดับความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งเร้า/เหตุการณ์ใหม่ กับรูปแบบตัวอย่าง/ขบวนการที่นำมาสู่การปรากฏของสิ่งเร้า/เหตุการณ์ แต่ก็มีความสำคัญว่าลักษณะที่ใช้เปรียบเทียบจะต้องเป็นสิ่งที่ชัด (salient) งานวิจัยปี ค.ศ. 2008 พบว่า การมีตัวอย่างของประเภทที่ชัดแจ้งในความทรงจำ จะมีผลต่อการประเมินความคล้ายคลึงกัน คือสิ่งเร้า/เหตุการณ์ใหม่จะได้รับการประเมินว่า "เป็นตัวแทน" ถ้ามีความคล้ายคลึงกันในระดับสูงกับตัวอย่างของประเภท และถ้าประสบบ่อย ๆ
งานวิจัยทางฮิวริสติกได้พบความคล้ายคลึงกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่นในเรื่องความเชื่อทางการแพทย์ เรามักจะเชื่อว่าอาการของโรคควรที่จะเหมือนกับเหตุและวิธีการรักษาของโรค ยกตัวอย่างเช่น เชื่อกันมานานแล้วว่า แผลในกระเพาะเกิดจากความเครียด นี่เป็นความเชื่อที่อาศัยฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน เพราะว่าจริง ๆ แล้ว แผลเกิดจากแบคทีเรีย อีกประการหนึ่ง ในแนวคิดคล้าย ๆ กัน ในการแพทย์ทางเลือกบางประเภท จะมีการให้คนไข้ทานอวัยวะของสัตว์เพื่อรักษาโรคที่อวัยวะนั้นของตน การใช้ฮิวริสติกนี้เห็นได้แม้ในความเชื่อที่ง่าย ๆ เช่น ความเชื่อว่าการทานอาหารมัน จะทำให้อ้วน แม้แต่แพทย์เองก็อาจจะเอนเอียงไปตามฮิวริสติกนี้ได้เมื่อประเมินความคล้ายคลึงกัน เช่นในการวินิจฉัยเป็นต้น คือ งานวิจัยพบว่า แพทย์รักษาใช้ฮิวริสติกนี้ในการทำการวินิจฉัย โดยประเมินว่าคนไข้ที่กำลังวินิจฉัยเหมือนกับคนไข้รูปแบบตัวอย่างของโรคหนึ่ง ๆ มากแค่ไหน
ความสุ่ม
รูปแบบที่ดูไม่ปกติ และความเป็นตัวแทนในลำดับสั้น ๆ สามารถมีอิทธิพลต่อการประเมินความสุ่ม คือ มีการพิจารณาลำดับที่ไม่มีรูปแบบว่า เป็นตัวแทนของกระบวนการสุ่ม และดังนั้นเราจะประเมินผิด ๆ ว่า ลำดับเช่นนั้นจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สำหรับเหรียญสมดุลที่ออกผลเป็นหัว (ห) และก้อย (ก) การออกเป็นลำดับ กหกหกห จะไม่ได้รับพิจารณาว่าเป็นตัวแทนของการโยนเหรียญที่เป็นไปโดยสุ่ม เพราะว่าลำดับมีรูปแบบในระดับสูงเกินไป
ความเป็นตัวแทนแม้ในลำดับสั้น ๆ เป็นข้อสมมุติอย่างหนึ่งที่เรามีเพราะเราอาศัยกฎการมีตัวอย่างน้อย (law of small numbers) คือเราคิดว่าตัวอย่างจำนวนน้อยจะมีระดับความเป็นตัวแทนของทั้งกลุ่ม เท่า ๆ กับเมื่อมีตัวอย่างมาก ตัวอย่างจำนวนน้อยที่ดูเหมือนว่าเป็นไปโดยสุ่มจะเพิ่มกำลังให้กับความเชื่อว่าตัวอย่างทั้งกลุ่มจะเป็นไปโดยสุ่ม โดยมีเหตุจากข้อสมมุติเกี่ยวกับความเป็นตัวแทนในลำดับสั้น ๆ ในนัยตรงกันข้ามกัน ตัวอย่างจำนวนน้อยที่ดูไม่เหมือนสุ่มจะลดกำลังความเชื่อนี้ เช่น ถ้ามีการโยนเหรียญหลาย ๆ ครั้งและส่วนมากออกหัว ข้อสมมุติเกี่ยวกับความเป็นตัวแทนในลำดับสั้น ๆ จะทำให้เราเชื่อว่าเหรียญนี้มี้ความโน้มเอียงที่จะออกหัว
ผลงานคลาสสิกของคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้
ทอม
ในงานวิจัยปี ค.ศ. 1973คาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้แบ่งผู้ร่วมการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มอัตราพื้นฐาน (Base-rate) มีการบอกผู้ร่วมการทดลองว่า "จงพิจารณานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาปีแรกในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน กรุณาเขียนค่าเปอร์เซ็นต์เดาที่ดีที่สุด ของนักศึกษาที่เข้ารับการศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะทาง 9 สาขาดังต่อไปนี้" สาขาวิชาที่ให้ก็คือ (1) การบริหารธุรกิจ (2) วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (3) วิศวกรรมศาสตร์ (4) มนุษยศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (5) นิติศาสตร์ (6) บรรณารักษศาสตร์ (7) แพทยศาสตร์ (8) วิทยาศาสตร์ และ (9) สังคมศาสตร์
- กลุ่มเหมือน (Similarity) มีการบอกผู้ร่วมการทดลองลักษณะนิสัยของชายสมมุติคือ "ทอมเป็นคนฉลาดมาก แม้จะขาดความคิดสร้างสรรค์ เขาชอบความเป็นระเบียบและความชัดเจน และชอบระบบระเบียบที่ทุก ๆ อย่างมีการจัดไว้เป็นที่ สิ่งที่เขาเขียนมักจะจืดชืดและเขียนเหมือนหุ่นยนต์ แม้ว่าบางครั้งจะมีสีสันขึ้นมาบ้างโดยเล่นคำที่ใช้กันซ้ำ ๆ ซาก ๆ และโดยจินตนาการประเภทไซไฟ เขามีความมุ่งมั่นที่จะเป็นคนเก่งกาจ เขาดูเหมือนจะมีความเห็นใจผู้อื่นน้อย และไม่ชอบปฏิสัมพันธ์กับใคร ถึงเขาจะยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง แต่เขาก็ยังเป็นคนมีศีลธรรมสูง" มีการให้ผู้ร่วมการทดลองในกลุ่มนี้ให้คะแนนว่า ทอมมีความคล้ายคลึงกับนักศึกษาในสาขาวิชา 9 สาขาที่พูดถึงในกลุ่มแรกแค่ไหน
- กลุ่มพยากรณ์ (Prediction) มีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านข้อความเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของทอมเหมือนในกลุ่ม 2 และให้ข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย "นักจิตวิทยาเป็นผู้เขียนลักษณะนิสัยของทอมดังที่กล่าว ในช่วงที่ทอมอยู่ชั้น ม.6 โดยอาศัยการทดสอบนิสัย ในปัจจุบัน ทอมเป็นนักศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา กรุณาให้คะแนนสาขาวิชาเฉพาะทางทั้ง 9 ดังต่อไปนี้ ตามลำดับโอกาสที่ทอมจะเป็นนักศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษาของสาขาแต่ละสาขานั้น"
การประเมินค่าความน่าจะเป็น (กลุ่ม 3) ปรากฏว่าใกล้เคียงกับการประเมินความคล้ายคลึงกัน (กลุ่ม 2) มากกว่าการประเมินอัตราพื้นฐาน (กลุ่ม 1) ซึ่งสนับสนุนคำพยากรณ์ของนักวิจัยทั้งสองว่า เราประเมินค่าความน่าจะเป็นอาศัยความเป็นตัวแทน (คือความคล้ายคลึงกัน) มากกว่าจะอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราพื้นฐาน (base rate) ยกตัวอย่างเช่น ผู้ร่วมการทดลองกว่า 95 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าทอมมีโอกาสที่จะเข้าศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มากกว่าการศึกษาหรือมนุษยศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่การประเมินค่าอัตราพื้นฐานของทั้งสาขามนุษยศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สูงกว่าของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ปัญหารถแท็กซี่
ในอีกงานศึกษาหนึ่งของคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ มีการให้ผู้ร่วมการทดลองแก้ปัญหาดังต่อไปนี้
รถแท็กซี่คันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุชนแล้วหนีในเวลากลางคืน มีบริษัทรถแท็กซี่ 2 บริษัท คือบริษัทเขียวและบริษัทน้ำเงิน ที่ให้บริการแท็กซี่ในเมือง แท็กซี่ร้อยละ 85 ในเมืองมีสีเขียว และร้อยละ 15 มีสีน้ำเงิน
พยานคนหนึ่งระบุว่ารถแท็กซี่ (ที่เกิดอุบัติเหตุ) เป็นของบริษัทน้ำเงิน ศาลได้ทดสอบความน่าเชื่อถือของพยานภายใต้สถานการณ์เดียวกับที่เกิดขึ้นในคืนอุบัติเหตุ แล้วสรุปว่า พยานสามารถระบุสีแต่ละสีถูกต้องได้ร้อยละ 80 และระบุผิดร้อยละ 20
อะไรเป็นความน่าจะเป็นที่แท็กซี่ที่ก่ออุบัติเหตุเป็นสีน้ำเงิน ไม่ใช่สีเขียว เมื่อรู้อยู่ว่า พยานได้ระบุรถว่าเป็นสีน้ำเงิน
ผู้ร่วมการทดลองโดยมากให้ความน่าจะเป็นว่าเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ บางคนให้คำตอบมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ คำตอบที่ถูกต้อง โดยใช้ Bayes' theorem จะต่ำกว่าคำตอบเหล่านี้ คือ
- มีโอกาส 12% (15% คูณ 80%) ว่าพยานระบุแท็กซี่สีน้ำเงินอย่างถูกต้อง
- มีโอกาส 17% (85% คูณ 20%) ว่าพยานระบุแท็กซี่สีเขียวอย่างผิด ๆ ว่าเป็นสีน้ำเงิน
- ดังนั้น จึงมีโอกาส 29% (12% บวก 17%) ที่พยานจะระบุรถว่าเป็นสีน้ำเงิน
- ดังนั้น ผลก็คือมีโอกาส 41% (12% หารโดย 29%) ว่าแท็กซี่ที่ระบุว่าเป็นสีน้ำเงินจะเป็นสีน้ำเงินจริง ๆ
มีการอ้างฮิวริสติกความเป็นตัวแทนว่าเป็นเหตุของเหตุผลวิบัติประเภทต่าง ๆ คือ เหตุผลวิบัติของนักการพนัน (gambler's fallacy), regression fallacy (เหตุผลวิบัติเพราะการถดถอย), และ conjunction fallacy (เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม)
ความเอนเอียงที่เกิด
เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน
การใช้ฮิวริสติกโดยความน่าจะเป็นจะนำไปสู่การละเมิด Bayes' Theorem ซึ่งกล่าวว่า
ซึ่งในกรณีแท็กซี่มีความหมายดังนี้
- P (H|D) = ความน่าจะเป็นที่จะเป็นสีน้ำเงิน ถ้าพยานกล่าวว่าเป็นสีน้ำเงิน (คำตอบที่ถูกต้องคือ 41%)
- P (D|H) = ความน่าจะเป็นที่พยานกล่าวว่าเป็นสีน้ำเงิน ถ้าเป็นสีน้ำเงิน (80%)
- P (H) = ความน่าจะเป็นที่จะเป็นสีน้ำเงิน (15%)
- P (D) = ความน่าจะเป็นที่พยานกล่าวว่าเป็นสีน้ำเงิน (29%)
แต่ว่า การประเมินโดยใช้ฮิวริสติกเพียงแต่พิจารณาความคล้ายคลึงกันระหว่างสมมติฐาน (ที่จะให้คำตอบ) ของตน กับข้อมูลที่มี ดังนั้น ผู้ร่วมการทดลองจึงสมมติว่า ความน่าจะเป็นกับความน่าจะเป็นผกผันมีค่าเท่ากัน คือ
ดังที่เห็น อัตราพื้นฐาน (base rate) คือ P(H) ไม่ได้รับความสนใจในสมมติฐานนี้ ซึ่งนำไปสู่เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน (base rate fallacy) อัตราพื้นฐานก็คืออัตราการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์โดยพื้นฐาน ดังนั้น เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐานหมายถึงความที่เราไม่ใช้อัตราพื้นฐานของเหตุการณ์ในการคำนวณความน่าจะเป็น ในปี ค.ศ. 1993 มีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ทดสอบเหตุผลวิบัตินี้อย่างชัดแจ้ง ที่ให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินอัตราพื้นฐานของคนที่มีนิสัยแต่ละอย่าง และความน่าจะเป็นที่คนหนึ่งที่มีนิสัยอย่างหนึ่ง จะมีนิสัยอีกอย่างหนึ่งด้วย ยกตัวอย่างเช่น มีการให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินว่า จากคน 100 คน จะมีกี่คนที่บอกว่า "ข้าพเจ้าเป็นคนเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง" และถ้าบุคคลหนึ่งบอกอย่างนี้แล้ว ในจำนวนนั้น จะมีอีกกี่คนที่บอกว่ามีนิสัยอย่างอื่นอีกด้วย นักวิจัยพบว่า ผู้ร่วมการทดลองสมมติว่า ความน่าจะเป็นกับความน่าจะเป็นผกผันมีค่าเท่ากัน คือ P(เป็นคนเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง|เป็นคนอ่อนไหวง่าย) = P(เป็นคนอ่อนไหวง่าย|เป็นคนเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง) แม้ว่าจะชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่สามารถที่จะเท่ากันได้จริง ๆ (ในการทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองตอบคำถามทันทีต่อ ๆ กัน)
นักวิชาการท่านหนึ่งได้ยกตัวอย่างทางการแพทย์อย่างหนึ่งไว้ คือ แพทย์ได้ทำการทดสอบที่มีความแม่นยำในระดับ 99% แสดงว่าเรามีโรคอย่างหนึ่ง แต่ว่า ความชุกของโรคอยู่ที่ 1/10,000 ดังนั้น โอกาสที่เรามีจะมีโรคนี้จริง ๆ มีเพียงแค่ 1% เพราะว่า กลุ่มประชากรทั้งหมดมีอัตราพื้นฐานของความไม่มีโรค มากกว่าความมีโรคมาก ผลนี้ทำให้หลาย ๆ คนแแปลกใจ โดยมีเหตุจากเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน เพราะว่า เราอาจจะไม่ได้ใช้อัตราการเกิดเหตุการณ์พื้นฐานในการประเมินค่าความน่าจะเป็น มีงานวิจัยในปี ค.ศ. 1980 ที่แสดงว่า ความรู้สึกว่าข้อมูลนั้นเข้าประเด็นหรือไม่ มีความสำคัญอย่างยิ่งในปรากฏการณ์นี้ คือ อัตราพื้นฐานจะมีการใช้ในการประเมินถ้าเรารู้สึกว่า เป็นข้อมูลที่เข้าประเด็นเท่า ๆ กันกับข้อมูลอื่น ๆ
มีงานวิจัยที่สำรวจปรากฏการณ์นี้ในเด็ก เพื่อเพิ่มความเข้าใจว่า ฮิวริสติกที่ใช้ในการประเมินมีพัฒนาการอย่างไร งานวิจัยหนึ่งต้องการที่จะทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของฮิวริสติก ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ระหว่างการประเมินทางสังคม (social judgment) และการประเมินแบบอื่น ๆ และว่า เด็กจะใช้อัตราพื้นฐานหรือไม่เมื่อไม่ได้ใช้ฮิวริสติกนี้ นักวิจัยพบว่า การใช้ฮิวริสติกนี้เป็นกลยุทธ์ทางความคิด ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก ๆ และที่เกิดขึ้นอย่างคงเส้นคงวา นักวิจัยพบว่า เด็ก ๆ จะใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันแต่ละบุคคล เมื่อทำการประเมินทางสังคมในเบื้องต้น และจะเริ่มใช้อัตราพื้นฐานมากขึ้นเมื่อโตขึ้น แต่ก็จะใช้ฮิวริสติกนี้ในทางสังคมมากขึ้นเมื่อโตขึ้น นักวิจัยพบว่า ในบรรดาเด็กที่สำรวจ อัตราพื้นฐานจะใช้ในการประเมินวัตถุมากกว่าการประเมินทางสังคม ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 มีงานวิจัยที่สำรวจว่า ฮิวริสติกนี้และ conjunction fallacy (เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม) มีความสัมพันธ์กับการเหมารวมของเด็กอย่างไร ผลงานวิจัยสอดคล้องกับงานวิจัยที่ผ่านมา คือ เด็กจะใช้อัตราพื้นฐานในปัญหาที่มีข้อมูลที่ไม่มีลักษณะที่สามารถเหมารวม หรือว่าเมื่อเด็กโตขึ้น นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังพบหลักฐานว่าเด็กก็มีเหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อมด้วย และเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กจะใช้ฮิวริสติกนี้ในปัญหาที่มีข้อมูลที่สามารถเหมารวม และดังนั้นจะทำการประเมินที่สอดคล้องกับการเหมารวมนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีหลักฐานที่แสดงว่า แม้เด็กก็ยังใช้ฮิวริสติกนี้ มีเหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม และละเลยอัตราพื้นฐาน
มีงานวิจัยที่เสนอว่า การใช้หรือการมองข้ามอัตราพื้นฐาน มีอิทธิพลมาจากวิธีที่เสนอปัญหา ซึ่งบอกเราว่า ฮิวริสติกนี้ไม่ใช่เป็น "ฮิวริสติกทั่วไป ใช้ได้ในทุกสถานการณ์" แต่อาจจะมีองค์ประกอบต่าง ๆ หลายอย่าง อัตราพื้นฐานมักจะมองข้ามบ่อยกว่าเมื่อข้อมูลที่เสนอไม่ปรากฏว่าเป็นเหตุ (คือดูเหมือนจะไม่เข้าประเด็น) และมักจะใช้น้อยกว่า ถ้ามีข้อมูลอื่นที่ทำให้บุคคล/วัตถุนั้น แยกส่วนออกจากกลุ่ม นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มบุคคลมักจะมองข้ามอัตราพื้นฐานมากกว่าแต่ละบุคคล การใช้อัตราพื้นฐานจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้อัตราพื้นฐานไม่ค่อยลงรอยกัน ทำให้นักวิชาการบางท่านเสนอว่า การสร้างแบบจำลองใหม่ (เพื่อที่จะนำแนวทางงานวิจัย) เป็นสิ่งที่จำเป็น
เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม (conjunction fallacy)
นักศึกษาปริญญาตรีกลุ่มหนึ่งได้รับคำพรรณนาถึงหญิงสมมุติชื่อลินดา ซึ่งสมมุติให้คล้ายกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมขบวนการเพื่อสิทธิของสตรี แล้วก็ให้นักศึกษาประเมินความน่าจะเป็นของลินดาว่า (ก) เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมขบวนการเพื่อสิทธิของสตรี (ข) เป็นพนักงานรับฝากถอนเงินในธนาคาร และ (ก และ ข) เป็นพนักงานรับฝากถอนเงินในธนาคารและเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมขบวนการเพื่อสิทธิของสตรี ทฤษฎีความน่าจะเป็นกำหนดว่า ความน่าจะเป็นที่จะเป็นทั้ง ก และ ข (คือการเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ของเซต 2 เซต) ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับความน่าจะเป็นของ ก หรือ ข ทั้งสอง คือ ประพจน์ที่เชื่อมกันจะไม่สามารถมีความน่าจะเป็นสูงกว่าประพจน์แต่ละตัว แต่ว่า ผู้ร่วมการทดลองกับประเมินประพจน์เชื่อม คือเป็นทั้ง ก และ ข ว่ามีโอกาสสูงกว่าเป็น ข (พนักงานรับฝากถอนเงินในธนาคาร) อย่างเดียว งานวิจัยงานหนึ่งเสนอว่า ความผิดพลาดจากประพจน์เชื่อมอาจจะมีอิทธิพลทางภาษาที่ละเอียดบางอย่าง เช่นการใช้คำที่ไม่ชัดเจน หรือว่าการเข้าใจความหมายของคำว่า "ความน่าจะเป็น" นักวิจัยงานนั้นเสนอว่า ทั้งการใช้ตรรกะและการใช้ภาษาอาจมีความสัมพันธ์กับความผิดพลาด และควรที่จะมีการศึกษาองค์ประกอบเหล่านี้เพิ่มยิ่งขึ้น
เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เลือก (disjunction fallacy)
ในทฤษฎีความน่าจะเป็น ประพจน์เลือกของเหตุการณ์สองเหตุการณ์ จะมีความน่าจะเป็นอย่างน้อยเท่ากับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์แต่ละอย่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การมีฟิสิกส์หรือชีววิทยาเป็นวิชาเอก มีความน่าจะเป็นอย่างน้อยเท่ากับการมีฟิสิกส์เป็นวิชาเอกอย่างเดียว ถ้าไม่มากกว่า ในงานวิจัยหนึ่ง ถ้าคำพรรณนาถึงนิสัยบุคคล (ข้อมูล) ดูเหมือนจะเป็นตัวแทนของผู้มีวิชาเอกเป็นฟิสิกส์ (เช่น ใช้อุปกรณ์ป้องกันกระเป๋าเสื้อ ซึ่งเป็นอุปกรณ์นิยมของนักศึกษาในบางสาขาวิชาในยุคหนึ่ง) มากกว่าของผู้มีชีววิทยาเป็นวิชาเอก ผู้ร่วมการทดลองจะประเมินว่า คนนี้มีโอกาสที่จะมีฟิสิกส์เป็นวิชาเอกมากกว่ามีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นวิชาเอก (แต่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติรวมเอาฟิสิกส์เข้าด้วย) คือถ้ามีคำถามสองคำถามว่า "คนนี้มีความน่าจะเป็นที่จะมีฟิสิกส์เป็นวิชาเอกเท่าไร" และว่า "คนนี้มีความน่าจะเป็นที่จะมีวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นวิชาเอกเท่าไร" ความน่าจะเป็นที่ให้สำหรับคำตอบที่สองควรจะมากกว่าหรือเท่ากันกับคำตอบที่หนึ่ง เพราะว่า คำถามที่สองเป็นคำถามความน่าจะเป็นของประพจน์เลือก ซึ่งรวมการมีฟิสิกส์เป็นวิชาเอกเข้าด้วย
งานวิจัยปี ค.ศ. 1993 แสดงหลักฐานว่า ฮิวริสติกนี้อาจเป็นเหตุของเหตุผลวิบัติโดยประพจน์เลือก คือ นักวิจัยพบว่า ผู้ร่วมการทดลองประเมินว่า คนที่มีความเป็นตัวแทนของผู้มีสถิติศาสตร์เป็นวิชาเอก (เช่น ฉลาดมาก เข้าการแข่งขันคิดเลข) ระดับสูง มีโอกาสที่จะมีสถิติศาสตร์เป็นวิชาเอกมากกว่ามีสังคมศาสตร์เป็นวิชาเอก (ซึ่งรวมสถิติศาสตร์เข้าไว้ด้วย) แต่จะไม่คิดว่า คนนี้มีโอกาสที่จะมีภาษาฮีบรูเป็นวิชาเอก สูงกว่ามีมนุษย์ศาสตร์เป็นวิชาเอก (ซึ่งรวมภาษาฮีบรูไว้ด้วย) ดังนั้น เมื่อบุคคลเป้าหมายมีความเป็นตัวแทนในระดับสูงกับประเภทนั้น ๆ เท่านั้น ที่ประเภทนั้นจะรับการประเมินว่า มีความน่าจะเป็นสูงกว่าประเภทใหญ่ที่รวมเอาประเภทนั้นเข้าไว้ด้วย การประเมินที่ผิดผลาดเหล่านี้ ดำรงอยู่แม้ว่าผู้ร่วมการทดลองจะเสียเงินจริง ๆ เมื่อทายค่าความน่าจะเป็นผิดพลาด
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Kahneman & Tversky 1972
- Cherry, Kendra (2012-11-06). "How Does Representativeness Affect Your Decisions?". Verywell Mind. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-28. สืบค้นเมื่อ 2023-12-05.
- Gilovich, Thomas; Savitsky, Kenneth (1996). (PDF). Skeptical Inquirer. 20 (2): 34–40. doi:10.1017/CBO9780511808098.036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-11-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
- Shah, Anuj K.; Oppenheimer, Daniel M. (2008). "Heuristics made easy: An effort-reduction framework". Psychological Bulletin. 134 (2): 207–222. doi:10.1037/0033-2909.134.2.207.
- Tversky & Kahneman 1974
- Plous 1993, pp. 109–120
- ในผลงานปี ค.ศ. 1972 (Kahneman & Tversky 1972) คาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ให้คำนิยามของคำว่า "representativeness" (ความเป็นตัวแทน) ว่า "the degree to which [an event] (i) is similar in essential characteristics to its parent population, and (ii) reflects the salient features of the process by which it is generated" ซึ่งอาจแปลว่า "ระดับที่[เหตุการณ์หนึ่ง] (ก) คล้ายคลึงโดยลักษณะสำคัญกับกลุ่มเหตุการณ์ที่เป็นบรรพบุรุษ (โดยที่เหตุการณ์ต่างๆ ในกลุ่มเหตุการณ์บรรพบุรุษมีลักษณะสำคัญเหมือนกัน) และ (ข) สะท้อนลักษณะเด่น (salient feature) ของกระบวนการที่ก่อเหตุการณ์ขึ้น (คือเหตุการณ์ที่เป็นผลมีลักษณะคล้ายกับกระบวนการที่เป็นเหตุ)"
- Tversky & Kahneman 1982
- Fortune, Erica E.; Goodie, Adam S. (2012). "Cognitive distortions as a component and treatment focus of pathological gambling: A review". Psychology of Addictive Behaviors. 26 (2): 298–310. doi:10.1037/a0026422.
- Tversky & Kahneman 1974.
- Nisbett, Richard E.; Ross, Lee (1980). Human inference: strategies and shortcomings of social judgment. Prentice-Hall. pp. 115–118. ISBN .
- Nilsson, Håkan; Juslin, Peter; Olsson, Henrik (2008). "Exemplars in the mist: The cognitive substrate of the representativeness heuristic". Scandinavian Journal of Psychology. 49 (3): 201–212. doi:10.1111/j.1467-9450.2008.00646.x.
- Garb, Howard N. (1996). "The representativeness and past-behavior heuristics in clinical judgment". Professional Psychology: Research and Practice. 27 (3): 272–277. doi:10.1037/0735-7028.27.3.272.
- Tversky & Kahneman 1971
- Kahneman & Tversky 1973.
- Axelsson, Stefan (2000). "The base-rate fallacy and the difficulty of intrusion detection". ACM Transactions on Information and System Security. 3 (3): 186–205. doi:10.1145/357830.357849.
- Dawes, Robyn M.; Mirels, Herbert L.; Gold, Eric; Donahue, Eileen (1993). "Equating inverse probabilities in implicit personality judgments". Psychological Science. 4 (6): 396–400. doi:10.1111/j.1467-9280.1993.tb00588.x.
- (.99x1/10,000)/ (.99x1/10,000+.01x9,999/10,000)=.01
- Bar-Hillel, Maya (1980). "The base-rate fallacy in probability judgments". Acta Psychologica. 44 (3): 211–233. doi:10.1016/0001-6918(80)90046-3.
- Davidson, Denise (1995). "The representativeness heuristic and the conjunction fallacy effect in children's decision making". Merrill-Palmer Quarterly. 41 (3): 328–346. JSTOR 23087893.
- Jacobs, Janis E.; Potenza, Maria (1991). "The Use of Judgement Heuristics to Make Social and Object Decisions: A Developmental Perspective". Child Development. 62 (1): 166–178. doi:10.1111/j.1467-8624.1991.tb01522.x.
- ทฤษฎีการประเมินทางสังคม (Social judgment theory) เป็นทฤษฎีการโน้มน้าวจิตใจของผู้อื่น ที่ "การประเมินทางสังคม" มีคำนิยามว่า เป็นการรับรู้และการประเมินไอเดียโดยเทียบกับทัศนคติในปัจจุบัน
- Gigerenzer, Gerd; Hell, Wolfgang; Blank, Hartmut (1988). "Presentation and content: The use of base rates as a continuous variable". Journal of Experimental Psychology: Human Perception and Performance. 14 (3): 513–525. doi:10.1037/0096-1523.14.3.513.
- Ajzen, Icek (1977). "Intuitive theories of events and the effects of base-rate information on prediction". Journal of Personality and Social Psychology. 35 (5): 303–314. doi:10.1037/0022-3514.35.5.303.
- Koehler, Jonathan J. (1996). "The base rate fallacy reconsidered: Descriptive, normative, and methodological challenges". Behavioral and Brain Sciences. 19 (01): 1–17. doi:10.1017/S0140525X00041157.
- Argote, Linda; Seabright, Mark A; Dyer, Linda (1986). "Individual versus group use of base-rate and individuating information". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 38 (1): 65–75. doi:10.1016/0749-5978(86)90026-9.
- Zukier, Henri; Pepitone, Albert (1984). "Social roles and strategies in prediction: Some determinants of the use of base-rate information". Journal of Personality and Social Psychology. 47 (2): 349–360. doi:10.1037/0022-3514.47.2.349.
- Medin, Douglas L.; Edelson, Stephen M. (1988). "Problem structure and the use of base-rate information from experience". Journal of Experimental Psychology: General. 117 (1): 68–85. doi:10.1037/0096-3445.117.1.68.
- Tversky & Kahneman 1983.
- Fiedler, Klaus (1988). "The dependence of the conjunction fallacy on subtle linguistic factors". Psychological Research. 50 (2): 123–129. doi:10.1007/BF00309212.
- Politzer, Guy; Noveck, Ira A. (1991). "Are conjunction rule violations the result of conversational rule violations?". Journal of Psycholinguistic Research. 20 (2): 83–103. doi:10.1007/BF01067877.
- Bar-Hillel, Maya; Neter, Efrat (1993). "How alike is it versus how likely is it: A disjunction fallacy in probability judgments". Journal of Personality and Social Psychology. 65 (6): 1119–1131. doi:10.1037/0022-3514.65.6.1119.
ผลงานของคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้
- Tversky, Amos; Kahneman, Daniel (1971). "Belief in the law of small numbers". Psychological Bulletin. 76 (2): 105–110. doi:10.1037/h0031322.
- Kahneman, Daniel; Tversky, Amos (1972). (PDF). Cognitive Psychology. 3 (3): 430–454. doi:10.1016/0010-0285(72)90016-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
- Kahneman, Daniel; Tversky, Amos (1973). "On the psychology of prediction". Psychological Review. 80 (4): 237–251. doi:10.1037/h0034747.
- Tversky, Amos; Kahneman, Daniel (1974). (PDF). Science. 185 (4157): 1124–1131. doi:10.1126/science.185.4157.1124. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-28. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
- Tversky, Amos; Kahneman, Daniel (1982). "Evidential Impact of Base Rates". ใน Kahneman, Daniel; Slovic, Paul; Tversky, Amos (บ.ก.). Judgment Under Uncertainty: Heuristics and Biases. Cambridge University Press. pp. 153–163. ISBN .
- Tversky, Amos; Kahneman, Daniel (1983). "Extensional versus intuitive reasoning: The conjunction fallacy in probability judgment". Psychological Review. 90 (4): 293–315. doi:10.1037/0033-295X.90.4.293.
ทั่วไป
แหล่งข้อมูลอื่น
- Powerpoint presentation on the representativeness heuristic (with further links to presentations of classical experiments) 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
Representativeness heuristic hiwristikodykhwamepntwaethn epnhiwristikkhuxthangldthangkhwamkhidthiichtdsinwasinghnungthikalngprasb ehmuxnkbtnaebbthiepntwaethnkhxnghmwdhruxpraephthhnung ethair odythaehmuxnkxaccacdsingthiprasbekhainhmwdnn hiwristikthakarodyepriybethiybsinghnung kbtnaebbkhxnghmwdhruxpraephththimixyuinicxyuaelw echn thaeraehnkhnisesuxkawnsikhaw miekhruxngfngtrwckhuxhufnghwicaelapxd erakxackhidwakhnniepnaephthy thng thikyngxacepnphyabal nkeriynaephthy hruxkhnisesuxphakhxngaephthyid hiwristikniepn thangldinkarpraeminthiodythwipchwyiheraipthungthihmayidxyangrwderw aetkmirakhakhuxbangkhrngsngeraipphidthi ephraakarpraeminodywithinixaccathaiheralaelyxtraphunthan base rate aela hruxekidkhwamexnexiyngthangprachan cognitive bias xun hiwristikodykhwamepntwaethnepnhnunginklumhiwristik khuxkdngay thieraichephuxpraeminaelatdsinictamthrrmchati thiesnxodynkcitwithya aedeniyl khahnamn aelaxamxs thewxrskiintnkhristthswrrs 1970 hiwristikmipraoychnephraachwyihtdsinicidngaykhunodyimtxngkhidhruxphicarnamak khawa khwamepntwaethn representativeness inbthkhwamnixachmaythung khwamthitnaebbhruxtwxyang prototype epntwaethnkhxngpraephth category nn khwamsmphnthrahwangtwxyangkbsingthiepriybethiyb khuxehmuxnknaekhihn karichhiwristikni xacthaihpraeminkhwamnacaepnphidphladephraasingthiepntwaethndikwakhuxehmuxnknmakkwa imidhmaykhwamwamnnacaekidkhunhruxmimakkwa mikarxthibayhiwristiknixyangngay wa epnkarpraeminkhwamkhlaykhlungknkhxngwtthuaelwcdaecngwtthunnodyethiybkbtwxyangkhxngpraephth category prototype echncdpraephthkhxngthikhlaykhlungknekhadwyknhruxkhidwaehtuaelaphlkhwrcakhlay kn eraichhiwristikniephraaepnkarkhanwnthingay aetpyhakkhux eraechuxthuxsmrrthphaphinkarpraeminkhwamnacaepnkhxngehtukarnodywithinimakekinip sungxackxehtuphlwibtiodyxtraphunthan base rate fallacy aelakhwamexnexiyngthangprachanpraephthxuntwkahndkarichhiwristikxngkhprakxbbangxyangkhxngkarpraeminaelakartdsinic cathaihoxkasthicaichhiwristiknimimakkhun khwamkhlaykhlungkn emuxpraeminkhwamepntwaethnkhxngsingera ehtukarnihm eramkcaisicinradbkhwamkhlaykhlungknrahwangsingera ehtukarnihm kbrupaebbtwxyang khbwnkarthinamasukarpraktkhxngsingera ehtukarn aetkmikhwamsakhywalksnathiichepriybethiybcatxngepnsingthichd salient nganwicypi kh s 2008 phbwa karmitwxyangkhxngpraephththichdaecnginkhwamthrngca camiphltxkarpraeminkhwamkhlaykhlungkn khuxsingera ehtukarnihmcaidrbkarpraeminwa epntwaethn thamikhwamkhlaykhlungkninradbsungkbtwxyangkhxngpraephth aelathaprasbbxy nganwicythanghiwristikidphbkhwamkhlaykhlungkninrupaebbtang echnineruxngkhwamechuxthangkaraephthy eramkcaechuxwaxakarkhxngorkhkhwrthicaehmuxnkbehtuaelawithikarrksakhxngorkh yktwxyangechn echuxknmananaelwwa aephlinkraephaaekidcakkhwamekhriyd niepnkhwamechuxthixasyhiwristikodykhwamepntwaethn ephraawacring aelw aephlekidcakaebkhthieriy xikprakarhnung inaenwkhidkhlay kn inkaraephthythangeluxkbangpraephth camikarihkhnikhthanxwywakhxngstwephuxrksaorkhthixwywannkhxngtn karichhiwristikniehnidaeminkhwamechuxthingay echn khwamechuxwakarthanxaharmn cathaihxwn aemaetaephthyexngkxaccaexnexiyngiptamhiwristikniidemuxpraeminkhwamkhlaykhlungkn echninkarwinicchyepntn khux nganwicyphbwa aephthyrksaichhiwristikniinkarthakarwinicchy odypraeminwakhnikhthikalngwinicchyehmuxnkbkhnikhrupaebbtwxyangkhxngorkhhnung makaekhihn khwamsum rupaebbthiduimpkti aelakhwamepntwaethninladbsn samarthmixiththiphltxkarpraeminkhwamsum khux mikarphicarnaladbthiimmirupaebbwa epntwaethnkhxngkrabwnkarsum aeladngnneracapraeminphid wa ladbechnnncungmioxkasthicaekidkhunmakkwa yktwxyangechn sahrbehriyysmdulthixxkphlepnhw h aelakxy k karxxkepnladb khkhkh caimidrbphicarnawaepntwaethnkhxngkaroynehriyythiepnipodysum ephraawaladbmirupaebbinradbsungekinip khwamepntwaethnaeminladbsn epnkhxsmmutixyanghnungthieramiephraaeraxasykdkarmitwxyangnxy law of small numbers khuxerakhidwatwxyangcanwnnxycamiradbkhwamepntwaethnkhxngthngklum etha kbemuxmitwxyangmak twxyangcanwnnxythiduehmuxnwaepnipodysumcaephimkalngihkbkhwamechuxwatwxyangthngklumcaepnipodysum odymiehtucakkhxsmmutiekiywkbkhwamepntwaethninladbsn innytrngknkhamkn twxyangcanwnnxythiduimehmuxnsumcaldkalngkhwamechuxni echn thamikaroynehriyyhlay khrngaelaswnmakxxkhw khxsmmutiekiywkbkhwamepntwaethninladbsn cathaiheraechuxwaehriyynimikhwamonmexiyngthicaxxkhwphlngankhlassikkhxngkhahnamnaelathewxrskithxm innganwicypi kh s 1973khahnamnaelathewxrskiaebngphurwmkarthdlxngxxkepn 3 klum khux klumxtraphunthan Base rate mikarbxkphurwmkarthdlxngwa cngphicarnanksuksaradbbnthitsuksapiaerkinshrthxemrikainpccubn krunaekhiynkhaepxresntedathidithisud khxngnksuksathiekharbkarsuksainsakhawichaechphaathang 9 sakhadngtxipni sakhawichathiihkkhux 1 karbriharthurkic 2 withyasastrkhxmphiwetxr 3 wiswkrrmsastr 4 mnusysastr suksasastr 5 nitisastr 6 brrnarkssastr 7 aephthysastr 8 withyasastr aela 9 sngkhmsastr klumehmuxn Similarity mikarbxkphurwmkarthdlxnglksnanisykhxngchaysmmutikhux thxmepnkhnchladmak aemcakhadkhwamkhidsrangsrrkh ekhachxbkhwamepnraebiybaelakhwamchdecn aelachxbrabbraebiybthithuk xyangmikarcdiwepnthi singthiekhaekhiynmkcacudchudaelaekhiynehmuxnhunynt aemwabangkhrngcamisisnkhunmabangodyelnkhathiichknsa sak aelaodycintnakarpraephthisif ekhamikhwammungmnthicaepnkhnekngkac ekhaduehmuxncamikhwamehnicphuxunnxy aelaimchxbptismphnthkbikhr thungekhacayudtwexngepnthitng aetekhakyngepnkhnmisilthrrmsung mikarihphurwmkarthdlxnginklumniihkhaaennwa thxmmikhwamkhlaykhlungkbnksuksainsakhawicha 9 sakhathiphudthunginklumaerkaekhihn klumphyakrn Prediction mikarihphurwmkarthdlxngxankhxkhwamekiywkblksnanisykhxngthxmehmuxninklum 2 aelaihkhxmuldngtxipnidwy nkcitwithyaepnphuekhiynlksnanisykhxngthxmdngthiklaw inchwngthithxmxyuchn m 6 odyxasykarthdsxbnisy inpccubn thxmepnnksuksachnbnthitsuksa krunaihkhaaennsakhawichaechphaathangthng 9 dngtxipni tamladboxkasthithxmcaepnnksuksachnbnthitsuksakhxngsakhaaetlasakhann karpraeminkhakhwamnacaepn klum 3 praktwaiklekhiyngkbkarpraeminkhwamkhlaykhlungkn klum 2 makkwakarpraeminxtraphunthan klum 1 sungsnbsnunkhaphyakrnkhxngnkwicythngsxngwa erapraeminkhakhwamnacaepnxasykhwamepntwaethn khuxkhwamkhlaykhlungkn makkwacaxasykhxmulekiywkbxtraphunthan base rate yktwxyangechn phurwmkarthdlxngkwa 95 epxresntklawwathxmmioxkasthicaekhasuksasakhawithyasastrkhxmphiwetxr makkwakarsuksahruxmnusysastr thng thikarpraeminkhaxtraphunthankhxngthngsakhamnusysastr suksasastr sungkwakhxngwithyasastrkhxmphiwetxr pyharthaethksi sifakhuxphyanehnrthsinaengin aelarthkepnsinaengincring mithnghmd 48 chxng siekhiywkhuxphyanehnrthsinaengin aetrthcring epnsiekhiyw mithnghmd 68 chxng dngnn 48 48 68 41 inxikngansuksahnungkhxngkhahnamnaelathewxrski mikarihphurwmkarthdlxngaekpyhadngtxipni rthaethksikhnhnungekidxubtiehtuchnaelwhniinewlaklangkhun mibristhrthaethksi 2 bristh khuxbristhekhiywaelabristhnaengin thiihbrikaraethksiinemuxng aethksirxyla 85 inemuxngmisiekhiyw aelarxyla 15 misinaengin phyankhnhnungrabuwarthaethksi thiekidxubtiehtu epnkhxngbristhnaengin salidthdsxbkhwamnaechuxthuxkhxngphyanphayitsthankarnediywkbthiekidkhuninkhunxubtiehtu aelwsrupwa phyansamarthrabusiaetlasithuktxngidrxyla 80 aelarabuphidrxyla 20 xairepnkhwamnacaepnthiaethksithikxxubtiehtuepnsinaengin imichsiekhiyw emuxruxyuwa phyanidraburthwaepnsinaengin phurwmkarthdlxngodymakihkhwamnacaepnwaekin 50 epxresnt bangkhnihkhatxbmakkwa 80 epxresnt khatxbthithuktxng odyich Bayes theorem catakwakhatxbehlani khux mioxkas 12 15 khun 80 waphyanrabuaethksisinaenginxyangthuktxng mioxkas 17 85 khun 20 waphyanrabuaethksisiekhiywxyangphid waepnsinaengin dngnn cungmioxkas 29 12 bwk 17 thiphyancaraburthwaepnsinaengin dngnn phlkkhuxmioxkas 41 12 harody 29 waaethksithirabuwaepnsinaengincaepnsinaengincring mikarxanghiwristikkhwamepntwaethnwaepnehtukhxngehtuphlwibtipraephthtang khux ehtuphlwibtikhxngnkkarphnn gambler s fallacy regression fallacy ehtuphlwibtiephraakarthdthxy aela conjunction fallacy ehtuphlwibtiodypraphcnechuxm khwamexnexiyngthiekidehtuphlwibtiodyxtraphunthan karichhiwristikodykhwamnacaepncanaipsukarlaemid Bayes Theorem sungklawwa P H D P D H P H P D displaystyle P H D frac P D H P H P D sunginkrniaethksimikhwamhmaydngni P H D khwamnacaepnthicaepnsinaengin thaphyanklawwaepnsinaengin khatxbthithuktxngkhux 41 P D H khwamnacaepnthiphyanklawwaepnsinaengin thaepnsinaengin 80 P H khwamnacaepnthicaepnsinaengin 15 P D khwamnacaepnthiphyanklawwaepnsinaengin 29 aetwa karpraeminodyichhiwristikephiyngaetphicarnakhwamkhlaykhlungknrahwangsmmtithan thicaihkhatxb khxngtn kbkhxmulthimi dngnn phurwmkarthdlxngcungsmmtiwa khwamnacaepnkbkhwamnacaepnphkphnmikhaethakn khux P H D P D H displaystyle P H D P D H dngthiehn xtraphunthan base rate khux P H imidrbkhwamsnicinsmmtithanni sungnaipsuehtuphlwibtiodyxtraphunthan base rate fallacy xtraphunthankkhuxxtrakarekidkhunkhxngpraktkarnodyphunthan dngnn ehtuphlwibtiodyxtraphunthanhmaythungkhwamthieraimichxtraphunthankhxngehtukarninkarkhanwnkhwamnacaepn inpi kh s 1993 mixiknganwicyhnungthithdsxbehtuphlwibtinixyangchdaecng thiihphurwmkarthdlxngpraeminxtraphunthankhxngkhnthiminisyaetlaxyang aelakhwamnacaepnthikhnhnungthiminisyxyanghnung caminisyxikxyanghnungdwy yktwxyangechn mikarihphurwmkarthdlxngpraeminwa cakkhn 100 khn camikikhnthibxkwa khaphecaepnkhneluxkthasingthithuktxng aelathabukhkhlhnungbxkxyangniaelw incanwnnn camixikkikhnthibxkwaminisyxyangxunxikdwy nkwicyphbwa phurwmkarthdlxngsmmtiwa khwamnacaepnkbkhwamnacaepnphkphnmikhaethakn khux P epnkhneluxkthasingthithuktxng epnkhnxxnihwngay P epnkhnxxnihwngay epnkhneluxkthasingthithuktxng aemwacachdecnxyuaelwwa imsamarththicaethaknidcring inkarthdlxngni phurwmkarthdlxngtxbkhathamthnthitx kn nkwichakarthanhnungidyktwxyangthangkaraephthyxyanghnungiw khux aephthyidthakarthdsxbthimikhwamaemnyainradb 99 aesdngwaeramiorkhxyanghnung aetwa khwamchukkhxngorkhxyuthi 1 10 000 dngnn oxkasthieramicamiorkhnicring miephiyngaekh 1 ephraawa klumprachakrthnghmdmixtraphunthankhxngkhwamimmiorkh makkwakhwammiorkhmak phlnithaihhlay khnaeaeplkic odymiehtucakehtuphlwibtiodyxtraphunthan ephraawa eraxaccaimidichxtrakarekidehtukarnphunthaninkarpraeminkhakhwamnacaepn minganwicyinpi kh s 1980 thiaesdngwa khwamrusukwakhxmulnnekhapraednhruxim mikhwamsakhyxyangyinginpraktkarnni khux xtraphunthancamikarichinkarpraeminthaerarusukwa epnkhxmulthiekhapraednetha knkbkhxmulxun minganwicythisarwcpraktkarnniinedk ephuxephimkhwamekhaicwa hiwristikthiichinkarpraeminmiphthnakarxyangir nganwicyhnungtxngkarthicathakhwamekhaicthungphthnakarkhxnghiwristik wamikhwamaetktangknhruximrahwangkarpraeminthangsngkhm social judgment aelakarpraeminaebbxun aelawa edkcaichxtraphunthanhruximemuximidichhiwristikni nkwicyphbwa karichhiwristikniepnklyuthththangkhwamkhid thiekidkhuntngaetedk aelathiekidkhunxyangkhngesnkhngwa nkwicyphbwa edk caichklyuththtang thiimehmuxnknaetlabukhkhl emuxthakarpraeminthangsngkhminebuxngtn aelacaerimichxtraphunthanmakkhunemuxotkhun aetkcaichhiwristikniinthangsngkhmmakkhunemuxotkhun nkwicyphbwa inbrrdaedkthisarwc xtraphunthancaichinkarpraeminwtthumakkwakarpraeminthangsngkhm txmainpi kh s 1995 minganwicythisarwcwa hiwristikniaela conjunction fallacy ehtuphlwibtiodypraphcnechuxm mikhwamsmphnthkbkarehmarwmkhxngedkxyangir phlnganwicysxdkhlxngkbnganwicythiphanma khux edkcaichxtraphunthaninpyhathimikhxmulthiimmilksnathisamarthehmarwm hruxwaemuxedkotkhun nxkcaknnaelw nkwicyyngphbhlkthanwaedkkmiehtuphlwibtiodypraphcnechuxmdwy aelaemuxedkotkhun edkcaichhiwristikniinpyhathimikhxmulthisamarthehmarwm aeladngnncathakarpraeminthisxdkhlxngkbkarehmarwmnn ephraachann cungmihlkthanthiaesdngwa aemedkkyngichhiwristikni miehtuphlwibtiodypraphcnechuxm aelalaelyxtraphunthan minganwicythiesnxwa karichhruxkarmxngkhamxtraphunthan mixiththiphlmacakwithithiesnxpyha sungbxkerawa hiwristikniimichepn hiwristikthwip ichidinthuksthankarn aetxaccamixngkhprakxbtang hlayxyang xtraphunthanmkcamxngkhambxykwaemuxkhxmulthiesnximpraktwaepnehtu khuxduehmuxncaimekhapraedn aelamkcaichnxykwa thamikhxmulxunthithaihbukhkhl wtthunn aeykswnxxkcakklum nxkcaknnaelw klumbukhkhlmkcamxngkhamxtraphunthanmakkwaaetlabukhkhl karichxtraphunthancaaetktangknipkhunxyukbsthankarn nganwicyekiywkbkarichxtraphunthanimkhxylngrxykn thaihnkwichakarbangthanesnxwa karsrangaebbcalxngihm ephuxthicanaaenwthangnganwicy epnsingthicaepn ehtuphlwibtiodypraphcnechuxm conjunction fallacy nksuksapriyyatriklumhnungidrbkhaphrrnnathunghyingsmmutichuxlinda sungsmmutiihkhlaykbphuekharwmkickrrmkhbwnkarephuxsiththikhxngstri aelwkihnksuksapraeminkhwamnacaepnkhxnglindawa k epnphuekharwmkickrrmkhbwnkarephuxsiththikhxngstri kh epnphnknganrbfakthxnengininthnakhar aela k aela kh epnphnknganrbfakthxnengininthnakharaelaepnphuekharwmkickrrmkhbwnkarephuxsiththikhxngstri thvsdikhwamnacaepnkahndwa khwamnacaepnthicaepnthng k aela kh khuxkarechuxmechingtrrksastrkhxngest 2 est txngnxykwahruxethakbkhwamnacaepnkhxng k hrux kh thngsxng khux praphcnthiechuxmkncaimsamarthmikhwamnacaepnsungkwapraphcnaetlatw aetwa phurwmkarthdlxngkbpraeminpraphcnechuxm khuxepnthng k aela kh wamioxkassungkwaepn kh phnknganrbfakthxnengininthnakhar xyangediyw nganwicynganhnungesnxwa khwamphidphladcakpraphcnechuxmxaccamixiththiphlthangphasathilaexiydbangxyang echnkarichkhathiimchdecn hruxwakarekhaickhwamhmaykhxngkhawa khwamnacaepn nkwicyngannnesnxwa thngkarichtrrkaaelakarichphasaxacmikhwamsmphnthkbkhwamphidphlad aelakhwrthicamikarsuksaxngkhprakxbehlaniephimyingkhun ehtuphlwibtiodypraphcneluxk disjunction fallacy inthvsdikhwamnacaepn praphcneluxkkhxngehtukarnsxngehtukarn camikhwamnacaepnxyangnxyethakbkhwamnacaepnkhxngehtukarnaetlaxyang yktwxyangechn karmifisikshruxchiwwithyaepnwichaexk mikhwamnacaepnxyangnxyethakbkarmifisiksepnwichaexkxyangediyw thaimmakkwa innganwicyhnung thakhaphrrnnathungnisybukhkhl khxmul duehmuxncaepntwaethnkhxngphumiwichaexkepnfisiks echn ichxupkrnpxngknkraepaesux sungepnxupkrnniymkhxngnksuksainbangsakhawichainyukhhnung makkwakhxngphumichiwwithyaepnwichaexk phurwmkarthdlxngcapraeminwa khnnimioxkasthicamifisiksepnwichaexkmakkwamiwithyasastrthrrmchatiepnwichaexk aetwithyasastrthrrmchatirwmexafisiksekhadwy khuxthamikhathamsxngkhathamwa khnnimikhwamnacaepnthicamifisiksepnwichaexkethair aelawa khnnimikhwamnacaepnthicamiwithyasastrthrrmchatixyanghnungepnwichaexkethair khwamnacaepnthiihsahrbkhatxbthisxngkhwrcamakkwahruxethaknkbkhatxbthihnung ephraawa khathamthisxngepnkhathamkhwamnacaepnkhxngpraphcneluxk sungrwmkarmifisiksepnwichaexkekhadwy nganwicypi kh s 1993 aesdnghlkthanwa hiwristiknixacepnehtukhxngehtuphlwibtiodypraphcneluxk khux nkwicyphbwa phurwmkarthdlxngpraeminwa khnthimikhwamepntwaethnkhxngphumisthitisastrepnwichaexk echn chladmak ekhakaraekhngkhnkhidelkh radbsung mioxkasthicamisthitisastrepnwichaexkmakkwamisngkhmsastrepnwichaexk sungrwmsthitisastrekhaiwdwy aetcaimkhidwa khnnimioxkasthicamiphasahibruepnwichaexk sungkwamimnusysastrepnwichaexk sungrwmphasahibruiwdwy dngnn emuxbukhkhlepahmaymikhwamepntwaethninradbsungkbpraephthnn ethann thipraephthnncarbkarpraeminwa mikhwamnacaepnsungkwapraephthihythirwmexapraephthnnekhaiwdwy karpraeminthiphidphladehlani darngxyuaemwaphurwmkarthdlxngcaesiyengincring emuxthaykhakhwamnacaepnphidphladduephimhiwristikinkarlngkhwamehnaelakartdsinic hiwristikodykhwamekhathungidngayechingxrrthaelaxangxingKahneman amp Tversky 1972 Cherry Kendra 2012 11 06 How Does Representativeness Affect Your Decisions Verywell Mind cakaehlngedimemux 2023 05 28 subkhnemux 2023 12 05 Gilovich Thomas Savitsky Kenneth 1996 PDF Skeptical Inquirer 20 2 34 40 doi 10 1017 CBO9780511808098 036 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2014 11 04 subkhnemux 2015 03 20 Shah Anuj K Oppenheimer Daniel M 2008 Heuristics made easy An effort reduction framework Psychological Bulletin 134 2 207 222 doi 10 1037 0033 2909 134 2 207 Tversky amp Kahneman 1974 Plous 1993 pp 109 120 inphlnganpi kh s 1972 Kahneman amp Tversky 1972 khahnamnaelathewxrskiihkhaniyamkhxngkhawa representativeness khwamepntwaethn wa the degree to which an event i is similar in essential characteristics to its parent population and ii reflects the salient features of the process by which it is generated sungxacaeplwa radbthi ehtukarnhnung k khlaykhlungodylksnasakhykbklumehtukarnthiepnbrrphburus odythiehtukarntang inklumehtukarnbrrphburusmilksnasakhyehmuxnkn aela kh sathxnlksnaedn salient feature khxngkrabwnkarthikxehtukarnkhun khuxehtukarnthiepnphlmilksnakhlaykbkrabwnkarthiepnehtu Tversky amp Kahneman 1982 Fortune Erica E Goodie Adam S 2012 Cognitive distortions as a component and treatment focus of pathological gambling A review Psychology of Addictive Behaviors 26 2 298 310 doi 10 1037 a0026422 Tversky amp Kahneman 1974 Nisbett Richard E Ross Lee 1980 Human inference strategies and shortcomings of social judgment Prentice Hall pp 115 118 ISBN 978 0 13 445073 5 Nilsson Hakan Juslin Peter Olsson Henrik 2008 Exemplars in the mist The cognitive substrate of the representativeness heuristic Scandinavian Journal of Psychology 49 3 201 212 doi 10 1111 j 1467 9450 2008 00646 x Garb Howard N 1996 The representativeness and past behavior heuristics in clinical judgment Professional Psychology Research and Practice 27 3 272 277 doi 10 1037 0735 7028 27 3 272 Tversky amp Kahneman 1971 Kahneman amp Tversky 1973 Axelsson Stefan 2000 The base rate fallacy and the difficulty of intrusion detection ACM Transactions on Information and System Security 3 3 186 205 doi 10 1145 357830 357849 Dawes Robyn M Mirels Herbert L Gold Eric Donahue Eileen 1993 Equating inverse probabilities in implicit personality judgments Psychological Science 4 6 396 400 doi 10 1111 j 1467 9280 1993 tb00588 x 99x1 10 000 99x1 10 000 01x9 999 10 000 01 Bar Hillel Maya 1980 The base rate fallacy in probability judgments Acta Psychologica 44 3 211 233 doi 10 1016 0001 6918 80 90046 3 Davidson Denise 1995 The representativeness heuristic and the conjunction fallacy effect in children s decision making Merrill Palmer Quarterly 41 3 328 346 JSTOR 23087893 Jacobs Janis E Potenza Maria 1991 The Use of Judgement Heuristics to Make Social and Object Decisions A Developmental Perspective Child Development 62 1 166 178 doi 10 1111 j 1467 8624 1991 tb01522 x thvsdikarpraeminthangsngkhm Social judgment theory epnthvsdikaronmnawcitickhxngphuxun thi karpraeminthangsngkhm mikhaniyamwa epnkarrbruaelakarpraeminixediyodyethiybkbthsnkhtiinpccubn Gigerenzer Gerd Hell Wolfgang Blank Hartmut 1988 Presentation and content The use of base rates as a continuous variable Journal of Experimental Psychology Human Perception and Performance 14 3 513 525 doi 10 1037 0096 1523 14 3 513 Ajzen Icek 1977 Intuitive theories of events and the effects of base rate information on prediction Journal of Personality and Social Psychology 35 5 303 314 doi 10 1037 0022 3514 35 5 303 Koehler Jonathan J 1996 The base rate fallacy reconsidered Descriptive normative and methodological challenges Behavioral and Brain Sciences 19 01 1 17 doi 10 1017 S0140525X00041157 Argote Linda Seabright Mark A Dyer Linda 1986 Individual versus group use of base rate and individuating information Organizational Behavior and Human Decision Processes 38 1 65 75 doi 10 1016 0749 5978 86 90026 9 Zukier Henri Pepitone Albert 1984 Social roles and strategies in prediction Some determinants of the use of base rate information Journal of Personality and Social Psychology 47 2 349 360 doi 10 1037 0022 3514 47 2 349 Medin Douglas L Edelson Stephen M 1988 Problem structure and the use of base rate information from experience Journal of Experimental Psychology General 117 1 68 85 doi 10 1037 0096 3445 117 1 68 Tversky amp Kahneman 1983 Fiedler Klaus 1988 The dependence of the conjunction fallacy on subtle linguistic factors Psychological Research 50 2 123 129 doi 10 1007 BF00309212 Politzer Guy Noveck Ira A 1991 Are conjunction rule violations the result of conversational rule violations Journal of Psycholinguistic Research 20 2 83 103 doi 10 1007 BF01067877 Bar Hillel Maya Neter Efrat 1993 How alike is it versus how likely is it A disjunction fallacy in probability judgments Journal of Personality and Social Psychology 65 6 1119 1131 doi 10 1037 0022 3514 65 6 1119 phlngankhxngkhahnamnaelathewxrski Tversky Amos Kahneman Daniel 1971 Belief in the law of small numbers Psychological Bulletin 76 2 105 110 doi 10 1037 h0031322 Kahneman Daniel Tversky Amos 1972 PDF Cognitive Psychology 3 3 430 454 doi 10 1016 0010 0285 72 90016 3 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2019 12 14 subkhnemux 2015 03 20 Kahneman Daniel Tversky Amos 1973 On the psychology of prediction Psychological Review 80 4 237 251 doi 10 1037 h0034747 Tversky Amos Kahneman Daniel 1974 PDF Science 185 4157 1124 1131 doi 10 1126 science 185 4157 1124 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2019 05 28 subkhnemux 2015 03 20 Tversky Amos Kahneman Daniel 1982 Evidential Impact of Base Rates in Kahneman Daniel Slovic Paul Tversky Amos b k Judgment Under Uncertainty Heuristics and Biases Cambridge University Press pp 153 163 ISBN 978 0 521 28414 1 Tversky Amos Kahneman Daniel 1983 Extensional versus intuitive reasoning The conjunction fallacy in probability judgment Psychological Review 90 4 293 315 doi 10 1037 0033 295X 90 4 293 thwip Baron Jonathan 2000 Thinking and Deciding 3rd ed Cambridge University Press ISBN 978 0 521 65972 7 Plous Scott 1993 The Psychology of Judgment and Decision Making McGraw Hill Education ISBN 978 0 07 050477 6 aehlngkhxmulxunPowerpoint presentation on the representativeness heuristic with further links to presentations of classical experiments 2016 03 03 thi ewyaebkaemchchin