ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (อังกฤษ: Mahidol Wittayanusorn School) เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 และเปลี่ยนสถานภาพเป็นองค์การมหาชนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ในอดีตเคยตั้งอยู่ ณ วัดไร่ขิง ในปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยอยู่ในอาณาเขตของมหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และเป็นโรงเรียนที่มีเครือข่ายกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำในประเทศอื่น ๆ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีการใช้ระบบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนเอง โดยปกติมีอัตราการรับเข้าประมาณร้อยละ 1.5 (240 คนจากนักเรียนที่สมัครแต่ละปีประมาณ 20,000 คน) โดยนักเรียนทุกคนได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนตลอดระยะเวลาที่เรียนอยู่ในโรงเรียน
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) Mahidol Wittayanusorn School (Public Organization) | |
---|---|
ป้ายทางเข้าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | |
ที่ตั้ง | |
บ้านเลขที่ 364 หมู่ที่ 5 บ้านศาลายา ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ 73170 ประเทศไทย | |
พิกัด | 13°48′2″N 100°19′8″E / 13.80056°N 100.31889°E |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
คำขวัญ | ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ (คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา) |
ก่อตั้ง | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 (สังกัดกรมสามัญศึกษา) (33 ปี 48 วัน) 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (องค์การมหาชน) (23 ปี 305 วัน) |
ผู้อำนวยการ | ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช |
ผู้บริหาร | ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอน: |
สี | สีน้ำเงิน-สีเหลือง |
เพลง | มาร์ชมหิดลวิทยานุสรณ์ |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นศรีตรัง |
ตัวอักษรย่อ | มวส./ MWIT |
รหัสโรงเรียน | 1573072001 |
เว็บไซต์ | www.mwit.ac.th |
ประวัติ
แนวคิดริเริ่ม
มหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีความคิดที่จะผลิตบุคลากรที่มีความชำนาญในทางสาขาวิชานี้ เพื่อป้อนให้กับประเทศ ทั้งนี้บุคลากรเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับพื้นฐานที่ดีก่อนที่จะมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในการนี้ทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อันเป็นวิชาพื้นฐานสำคัญดีอยู่แล้ว จึงได้ร่วมมือกับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อสร้างนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษา และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ รูปแบบดังกล่าวนี้ หากขยายนำไปใช้ได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ก็จะผลิตกำลังคนได้สอดคล้อง กับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรงเรียนในช่วงแรก
ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้พื้นที่ 35 ไร่ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ให้กรมสามัญศึกษาใช้เป็นพื้นที่จัดตั้งโรงเรียน โดยทางมหาวิทยาลัยจะให้ความร่วมมือสนับสนุนทางด้านวิชาการ รูปแบบการเรียนการสอนว่าควรจะเป็นไปในรูปแบบใดเพื่อให้เหมาะสมในการพัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้ และพฤติกรรมของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคต
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรกในปีการศึกษา 2534 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระธรรมมหาธีรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงให้ใช้บริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรมของทางวัดเป็นสถานที่เรียนชั่วคราวไปจนกว่าอาคารเรียนของทางโรงเรียนในบริเวณของมหาวิทยาลัยจะเสร็จเรียบร้อย ในช่วงนั้นทางวัดไร่ขิงได้ให้ความอนุเคราะห์โรงเรียนใช้บริเวณวัดทำการเรียนการสอน บริการเรื่องสาธารณูปโภค โดยไม่คิดมูลค่า ให้ใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์ของทางวัดทำการเรียนการสอน อนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ของวัดมาสอนวิชาพระพุทธศาสนา ทั้งยังมอบเงินทุนส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนทุกๆ ปีและยังได้รับความอุปการะจากนายแพทย์บุญ วนาสิน ในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนเรื่อยมาได้จ้างครูต่างชาติมาสอนวิชาภาษาอังกฤษปีละ 2 คนทุกปี จัดสร้างหอพักนักเรียนชายและหญิง ณ บริเวณโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ศาลายา
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการลงนามร่วมกันอีกครั้งหนึ่งโดยนายบรรจง พงศ์ศาสตร์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาและ ศาสาตราจารย์ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยเปลี่ยนแปลงมาให้ใช้พื้นที่ 25 ไร่ จำนวนระยะเวลา 30 ปี และตกลงให้ความร่วมมือสนับสนุนการเรียนการสอน รวมทั้งให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสมปีการศึกษา 2538 โรงเรียนได้ย้ายสถานที่เรียนชั่วคราวที่วัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มาตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลจนถึงปัจจุบัน
โรงเรียนในสถานภาพองค์การมหาชน
ปี 2542 รัฐบาลในสมัยนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยขณะนั้นมีนโยบายจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พัฒนาโครงการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีลักษณะพิเศษต่างจากโรงเรียนทั่วไป ต่อมาจึงมีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2543 ให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2543 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จุดมุ่งหมายของโรงเรียนตามที่กล่าวไว้ตามพระราชกฤษฎีกาเป็นดังนี้
ให้โรงเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กที่มีศักยภาพสูงทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ต่อมาในปีพ.ศ. 2544 ได้มีแต่งตั้งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน คือ ดร. ธงชัย ชิวปรีชา อดีตผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานในระบบองค์การมหาชนนี้ โรงเรียนได้รับการบริหารที่ยืดหยุ่นกว่าในระบบเดิมและได้รับงบประมาณที่มากขึ้น จึงสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
ความคาดหวังให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนนำร่อง ได้ส่งผลให้ในปีพ.ศ. 2551 มีการขยายห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไปสู่กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่งและจัดตั้งโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) อีก 5 แห่งโดยใช้หลักสูตรอ้างอิงจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะนำหลักสูตรไปดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของมหาวิทยาลัย และยังมีแผนจะจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อีกจำนวน 207 โรงเรียน
จากการประเมินองค์การมหาชนของสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อปี พ.ศ. 2558 พบว่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับการประเมินในระดับดีเด่น เป็นต้นแบบทางด้านวิธีการทำงาน กลไกการทำงาน หลักการดำเนินกิจการเพื่อประสบความสำเร็จ
ปัจจุบันนาย ไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นประธานกรรมการ
ผลงานและเกียรติประวัติของโรงเรียน
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ก่อตั้ง International Student Science Fair (ในอดีตเรียกว่า Thailand International Science Fair) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนชั้นนำทางวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งนักเรียนในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน สืบเนื่องจากความสำเร็จในการจัดครั้งแรกจึงได้รับการสานต่อโดยโรงเรียนต่าง ๆ และในปีพ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ได้เวียนมาจัดที่โรงเรียนมหิดลวิทยานสุรณ์อีกครั้งหนึ่ง รายชื่อโรงเรียนที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดงาน เช่น Ritsumeikan High School, Korea Science Academy, City Montessori School, National Junior College และ Australian Science and Mathematics School นอกจากงานนี้แล้ว โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนต่าง ๆ จากทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ เยอรมัน ออสเตรเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น จีน สหราชอาณาจักร เป็นต้น
ทางด้านผลงานของนักเรียนและศิษย์เก่า นักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันเพชรยอดมงกุฎ การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศและระดับนานาชาติ การแข่งขันประลองความรู้ในหลากหลายสาขาวิชาเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า World Scholar's Cup ทางโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนได้เข้ารับการศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของโลก ศิษย์เก่าของโรงเรียนได้รับทุนการศึกษาทั้งจากการสมัครสอบผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และมีอีกจำนวนมากได้สมัครเข้าเรียนโดยตรงผ่านทางมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งที่มีความร่วมมือโดยตรงกับโรงเรียน เช่น KSA of KAIST และที่ไม่ได้มีความร่วมมือโดยตรงกับโรงเรียน เช่น Stanford University Purdue University และ University of Illinois at Urbana-Champaign เป็นต้น
หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เป็นการเฉพาะกับนักเรียนของโรงเรียนมีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 3 - 4 ปี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหลักสูตร โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียน รอบด้าน ทั้งพุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา รายวิชาพื้นฐานครอบคลุมหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการนอกจากนี้ยังจัดสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมให้หลากหลาย สอดคล้องกับ ศักยภาพ ความถนัดและความสนใจของนักเรียนเป็นรายบุคคลมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและ ภายนอกห้องเรียน เพื่อมุ่งสร้างความเป็นพหุปัญญาสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลของ นักเรียน และ เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม
ปัจจุบันโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2562 ซึ่งเป็นการปรับปรุงหลักสูตรครั้งที่ 6 โดยปรับปรุงหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นตอบสนองความต้องการของนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพนักเรียนรายบุคคล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เพิ่มรายวิชาทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในหอพักและทำให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคลากรที่มีความสามารถและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และเพิ่มรายวิชาสัมมนาวิทยาศาสตร์ รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และกระบวนการสืบเสาะค้นหาองค์ความรู้ หาคำตอบของข้อสงสัย ของปัญหาที่อยากรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Methods) เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักประดิษฐ์คิดค้นใช้ในกระบวนการทำงานของตนเอง รวมถึงการพัฒนาทักษะในการทำวิจัย (โครงงาน) อย่างครบวงจร และปลูกฝังจิตวิญญาณและความรู้ความสามารถในการเป็นนักคิดค้น นักวิจัยในภายภาคหน้า โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลักสูตรนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางภาษาต่างประเทศ คือภาษาอังกฤษ โดยมีการสอนแบบแบ่งกลุ่มนักเรียนตามคะแนนสอบและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถ รวมถึงเปิดการสอนภาษาอื่น ๆ อีกอย่างน้อย 4 ภาษา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี โดยในบางครั้งหากมีบุคลากรที่เหมาะสมจะเปิดการเรียนการสอนภาษาอื่น ๆ ด้วย เช่น ในอดีตเคยมีการเปิดสอนภาษารัสเซีย การสอนภาษาต่างประเทศนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นสากลให้เกิดขึ้นในบุคลากรของชาติในอนาคตและเพื่อยกระดับความเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ให้ทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก (World Class)
ระบบคัดเลือกนักเรียน
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีระบบการคัดเลือกนักเรียน ที่ดำเนินการโดยบุคลากรของโรงเรียนเอง เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเป้าหมายของโรงเรียน ในอดีต การสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าโรงเรียนทำควบคู่ไปกับการคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ พสวท. จนถึงรุ่นที่ 16 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษา พ.ศ. 2549 โดยมีการสอบแบ่งเป็น 2 รอบ โดยในรอบแรกเป็นข้อสอบประเภทข้อเขียน ซึ่งมีทั้งข้อสอบประเภทปรนัยและอัตนัย ส่วนในรอบที่สองนั้น จนถึงรุ่น 17 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษาพ.ศ. 2550 เป็นการสอบพร้อมกับการเข้าค่ายที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยมีทั้งการสอบข้อเขียนแบบอัตนัย และการฟังบรรยายแล้วสอบจากเรื่องที่บรรยาย รวมถึงมีการให้นักเรียนได้เข้าใช้ห้องปฏิบัติการของทั้งสาขาวิชาชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ ทั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนหอพัก เพื่อช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงเป็นการวัดความสามารถในการเรียนรู้ ที่ไม่สามารถเตรียมมาล่วงหน้าได้ อย่างไรก็ตาม จากรุ่น 18 หรือรุ่นที่เข้าปีการศึกษาพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป เนื่องจากได้ปรับเปลี่ยนระบบการคัดเลือกนักเรียน ให้สามารถใช้ร่วมกับการคัดเลือกนักเรียนเข้าโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง และโครงการ วมว. จึงมีการปรับใช้การอ่านบทความแทนการฟังบรรยาย และเปลี่ยนให้การเข้าร่วมค่ายที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นไปตามความสมัครใจแทน
การคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ถือว่ามีความเข้มข้นสูงมาก โดยปกติแล้วตั้งแต่รุ่น 17 เป็นต้นมา มีนักเรียนมาสมัครเข้ารับการคัดเลือกประมาณ 20,000 คน สถิตินักเรียนสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์สำหรับรุ่นที่เข้าปีการศึกษา พ.ศ. 2562 มีจำนวน 22,321 คน โดยโรงเรียนจะทำการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนเป็นจำนวน 240 คน โดยนักเรียนที่ได้คะแนนเท่ากันเป็นอันดับสุดท้าย ทางโรงเรียนจะรับเข้าศึกษาด้วย
อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม บนพื้นที่ 25 ไร่ของมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ภายในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ยังมีศูนย์วิทยบริการที่ทันสมัยมาก ศูนย์กีฬามาตรฐาน 4 ชั้น และห้องฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์เสมือนจริง 3 มิติ ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวในประเทศไทยที่มีห้องฉายภาพยนตร์ดาราศาสตร์เสมือนจริง 3 มิติ
ศูนย์วิทยบริการและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป็นแหล่งวิทยาการที่มีสื่อความรู้หลากหลายรูปแบบครบถ้วนทุกสาขาวิชา จัดบริการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ การค้นคว้าวิจัย จนถึงเวลา 21.00 น. ทุกวันในช่วงเปิดภาคเรียน ภายในมีให้บริการหนังสือและคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้โรงเรียนได้เดินสายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงทุกอาคารภายในโรงเรียน มีจุดเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มากกว่า 400 จุด นอกจากนั้นยังได้ติดตั้งระบบสัญญาณเครือข่ายไร้สายทั่วบริเวณโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการศึกษาเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นักเรียนและครูอาจารย์สามารถใช้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนติดต่อสื่อสาร และสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีให้บริการในศูนย์วิทยบริการ ห้องเรียน และห้องทำงาน หรือสามารถเข้าถึงได้จากหอพัก ห้องอาหาร สนามกีฬา หรือที่อื่น ๆ ที่สัญญาณเครือข่ายกระจายไปถึง
ห้องฉายภาพเสมือนจริงดาราศาสตร์ 3 มิติ
จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ The Centre for Astrophysics & Supercomputing, Swinburne University of Technology, Australia เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนดาราศาสตร์ที่จะช่วยจุดประกายเด็กและเยาวชน ให้เกิดความรักและสนใจในดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญมาก ช่วยในการเสริมสร้างจินตนาการให้สนใจศึกษาและค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งภาพยนตร์ดาราศาสตร์ 3 มิตินี้โรงเรียนอนุญาตให้ชุมชนภายนอกสามารถเข้ามาใช้ได้ โดยต้องนัดหมายล่วงหน้า หรือใช้บริการในวัน MWIT Science Fair ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ภาพยนตร์แต่ละเรื่องมีความยาวตั้งแต่ 9-19 นาที
หอพักสำหรับนักเรียนและบุคลากร
เนื่องจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนประจำ จึงจำเป็นต้องมีหอพักไว้สำหรับนักเรียน โดยจะแยกเป็นหอพักชาย 9 ชั้น 1 แห่ง (หอ 9) และหอพักหญิง 2 แห่ง (หอ 7 และ หอ 8) นอกจากนั้นยังมีหอพักสำหรับครูและบุคลากรเพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินกิจกรรมหลังจากเลิกเรียนได้ ในทุกวันหอพักนักเรียนจะเปิดตั้งแต่เวลา 05.00 ถึง 22.00 และจะตัดไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าตั้งแต่เวลา 24.00 ยกเว้นเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งยังมีหอพักสำหรับรองรับนักเรียนแลกเปลี่ยนอีกด้วย (หอ 14)
ห้องปฏิบัติการ
โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การค้นคว้า ทดลอง และฝึกปฏิบัติต่าง ๆ อันได้แก่ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการเขียนแบบ ห้องปฏิบัติการช่างกลโรงงาน ห้องปฏิบัติการเครื่องปั้นดินเผา และห้องปฏิบัติการทัศนศิลป์ เป็นต้น ในส่วนของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์นั้นได้แบ่งออกเป็น 3 สาขาคือ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา นักเรียนที่ต้องการใช้บริการสามารถขอใช้บริการทั้งในและนอกเวลาได้ที่อาจารย์ของแต่ละสาขาวิชา
ศูนย์กีฬาและสนามกีฬากลางแจ้ง
โรงเรียนมีสถานที่สำหรับเล่นกีฬาและออกกำลังกายหลากหลายประเภท ได้แก่ ฟุตบอล แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส สควอช บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เซปัคตะกร้อ ว่ายน้ำ ลีลาศ แอโรบิค ศิลปะการป้องกันตัว หรือฟิตเนส ศูนย์กีฬาและสนามกีฬากลางแจ้งเปิดให้บริการ ถึงเวลา 20.00 น. ทุกวัน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬา
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กิจกรรมฝึกงานในศูนย์วิจัยในช่วงปิดภาคเรียน: ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกงานและเรียนรู้กับนักวิจัยในสถานที่จริง
- กิจกรรม MWIT Science Fair: นิทรรศการทางวิทยาศาสตร์และเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ได้มีโอกาสนำเสนอโครงงานที่ตนเองทำต่อสาธารณชน
กิจกรรมวิชาการอื่น ๆ
- กิจกรรมค่ายวิชาการ: ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนโดยจัดบูรณาการระหว่างสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มีการทำโครงงานขนาดเล็กที่เรียกกันว่า Miniproject และพักอาศัยในค่ายพักแรมตามธรรมชาติ
- กิจกรรมบรรยายพิเศษ: โรงเรียนได้เชิญบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านต่างๆมาบรรยายเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อเติมองค์ความรู้ใหม่ๆให้นักเรียนและให้ได้แนวคิดใหม่ๆในการทำโครงงานหรืองานวิจัยในอนาคต
- กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่: ให้นักเรียนได้ศึกษาดูงานตามสถานที่และศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม
กิจกรรมทางนันทนาการและสังคม
- กิจกรรม MWIT Sports Day: ทุกวันอังคาร โรงเรียนจะสนับสนุนให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย รวมทั้งยังมีการตรวจสุขภาพประจำปี การทดสอบสมรรถภาพ และโครงการ MWIT วัยใส ใส่ใจสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนได้รับทราบถึงสุขภาพของตนเองและพัฒนาให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
- กิจกรรมค่ายบำเพ็ญประโยชน์: ส่งเสริมให้นักเรียนได้ช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดโอกาสเพื่อปลูกฝังจิตวิญญาณในการพัฒนาประเทศ
- กิจกรรมค่าย Pre-MWIT: ค่ายสำหรับนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์รอบแรก มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเข้าเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และให้นักเรียนได้มาพบประสบการณ์จริงในโรงเรียน
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนกับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์และโรงเรียนเครือข่ายในต่างประเทศ: สร้างประสบการณ์ในการใช้ภาษาต่างประเทศและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเรียนรู้การใช้ชีวิตในต่างแดน
รายนามผู้อำนวยการโรงเรียน
รายนามผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ กรมสามัญศึกษา | |
---|---|
ผู้อำนวยการ | ดำรงตำแหน่ง |
1. นางสาวสมจิตต์ บุตรดีมี | 3 มิถุนายน 2534 – 27 พฤศจิกายน 2534 |
2. นายนิพนธ์ นุตพงษ์ | 28 พฤศจิกายน 2534 – 9 มิถุนายน 2542 |
3. ดร.อ่องจิตต์ เมธยะประภาส | 10 มิถุนายน 2542 – 9 ธันวาคม 2542 |
4. นายสมพงษ์ รุจิรวรรธน์ | 20 มกราคม 2542 – 25 ตุลาคม 2543 |
5. นายนพพร สุวรรณรุจิ | 27 ตุลาคม 2543 – 18 กุมภาพันธ์ 2544 |
รายนามผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) | |
ผู้อำนวยการ | ดำรงตำแหน่ง |
6. ดร.ธงชัย ชิวปรีชา | 19 กุมภาพันธ์ 2544 – 16 มีนาคม 2552 |
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. | 17 มีนาคม 2552 – 16 มีนาคม 2560 |
8. รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ เรืองเลิศปัญญากุล | 17 มีนาคม 2560 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 |
9. ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช | 1 มีนาคม 2565 – ปัจจุบัน |
รายชื่อสาขาวิชาและฝ่าย
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดระบบการบริหารโดยหลัก ๆ เป็น 2 ส่วนคือ บุคลากรกลุ่มครูสังกัดสาขาวิชา และบุคลากรกลุ่มปฏิบัติการสังกัดฝ่าย ดังต่อไปนี้
สายวิชาการ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- สาขาวิชาศิลปศาสตร์
- สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ
สายสนับสนุน
- ฝ่ายบริหารการเรียนรู้และระบบโรงเรียนประจำ
- ฝ่ายบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
- ฝ่ายบริหารทรัพยากรและความปลอดภัย
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
เหตุการณ์สำคัญ
- วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ณ สถานที่ปฏิบัติธรรมของวัดไร่ขิง
- วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2537 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังแรก บริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2538 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ย้ายมาบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลจนกระทั่งปัจจุบัน
- วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีสถานภาพเป็นองค์การมหาชน เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2544 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารหอพัก และทรงเปิดอาคารเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 3
- วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารศูนย์วิทยบริการ ห้องฉายภาพยนตร์เสมือนจริงดาราศาสตร์ 3 มิติ และอาคารศูนย์กีฬา
- วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานทรงเปิดในประเทศไทย ครั้งที่ 1 () ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับฟังการบรรยาย และเสด็จทอดพระเนตรการเสนอโครงงานในรูปแบบโปสเตอร์ของนักเรียน พระองค์ได้ทรงซักถามนักเรียนทุกโครงงานด้วยความสนพระทัย ยังความปลื้มปีติให้แก่นักเรียน ครู ผู้จัดงาน และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาททั้งชาวไทยและต่างประเทศโดยถ้วนหน้า เป็นกำลังใจให้นักเรียน ครู และผู้จัดงาน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะรังสรรค์ผลงานของโรงเรียนให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
- วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอประชุมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ห้องประชุมศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ห้องประชุม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ห้องประชุม ซึ่งห้องประชุมเหล่านี้ได้ตั้งชื่อตามผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียนเพื่อเป็นต้นแบบให้นักเรียนในการแสดงออกถึงการตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ และทรงร่วมกิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง "การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์"
- วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ในช่วงเวลาเช้ามืด ได้เกิดเหตุวางเพลิงอาคาร ๒ ของโรงเรียน ห้องสมุดชั้น 1-2 เสียหายทั้งหมด ในส่วนชั้น 3 และอาคารใกล้เคียงเสียหายบางส่วน โรงเรียนได้ประกาศปิดการเรียนการสอนเป็นเวลา 7 วัน โดยมีกำหนดเปิดเรียนใหม่อีกครั้งในวันที่ 14 มิถุนายน
- วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553 นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เดินทางเข้าหอพักเพื่อเตรียมพร้อมเปิดเรียนในวันที่ 14 มิถุนายน ในค่ำวันนั้นนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ, หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม, ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ ประธานกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เดินทางไปให้กำลังใจคณะครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ให้ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อรักษามาตรฐานของโรงเรียนและร่วมมือกันปฏิบัติตามอุดมการณ์ที่โรงเรียนได้ปลูกฝังเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบไป ภายในเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา โรงเรียนได้ปรับสภาพห้องต่าง ๆ ภายในโรงเรียนให้เป็นห้องเรียนชั่วคราว ปรับห้องประชุมดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ให้เป็นห้องสมุดชั่วคราว ได้รับบริจาคหนังสือและโต๊ะเรียนจากหลายองค์กร อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งได้สั่งซื้อหนังสือใหม่จากศูนย์หนังสือจุฬา ได้รับพระราชทานหนังสือหลักสูตรสอวน.และหนังสือวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้ได้รับงบฉุกเฉินจากทางกระทรวงศึกษาธิการและได้รับเงินบริจาคจากสมาคมผู้ปกครองและศิษย์เก่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การดำเนินการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะครูอาจารย์เจ้าหน้าที่ และศิษย์เก่าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เพื่อให้โรงเรียนกลับมาอยู่ในสภาวะปกติโดยเร็วที่สุด
- วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7 หรือ The 7th International Student Science Fair 2011 (ISSF) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยโรงเรียนวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมงานรวม 47 โรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนจากต่างประเทศ 29 แห่ง ในประเทศ 18 แห่ง มีการนำเสนอโครงงานภาคโปสเตอร์ 158 โครงงาน ภาคบรรยาย 101 โครงงาน ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบไปด้วย กิจกรรม Science Show, Science Labs, Science and Mathematics Rally, Robotic Show, Astronomy night รวมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติของนักเรียนที่เข้าร่วมงานจากแต่ละประเทศ การศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเยี่ยมชมโบราณสถานซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมไทย
อ้างอิง
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- เปิดผลประเมิน 35 องค์การมหาชน
- สรุปข่าวมติคณะรัฐมนตรี 21 กุมภาพันธ์ 2566
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- "World Scholar's Cup Success". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21. สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562[]
- http://www.mwit.ac.th/~astronomy/ 2009-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MWIT astronomy
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมต้อนรับ ดร. วรวรงค์ รักเรืองเดช ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดงานแสดงกตเวทิตาจิต แด่ รองศาสตราจารย์ ดร. วิวัฒน์ เรืองเลิศปัญญากุล เนื่องในโอกาสครบวาระการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2017-01-30.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-09. สืบค้นเมื่อ 2010-06-08.
- อึ้ง! จับแล้วเด็กม.5 เผาหอสมุด รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-14. สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.
ดูเพิ่ม
- กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
- โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2543
แหล่งข้อมูลอื่น
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisudewbyxMWIT orngeriynmhidlwithyanusrn xngkvs Mahidol Wittayanusorn School epnorngeriynwithyasastraehngaerkkhxngpraethsithy mithanaepnxngkhkarmhachn phayitkarkakbduaelkhxngrthmntriwakarkrathrwngsuksathikar kxtngemuxwnthi 8 phvsphakhm ph s 2534 aelaepliynsthanphaphepnxngkhkarmhachnemuxwnthi 25 singhakhm ph s 2543 inxditekhytngxyu n wdirkhing inpccubntngxyu n tablsalaya xaephxphuththmnthl cnghwdnkhrpthm odyxyuinxanaekhtkhxngmhawithyalymhidl orngeriynmhidlwithyanusrnepnorngeriynthikxtngkhunephuxphlitnkwicy nkwithyasastr aelaepnorngeriynthimiekhruxkhaykborngeriynwithyasastrchnnainpraethsxun orngeriynmhidlwithyanusrnmikarichrabbkhdeluxknkeriynekhaeriynexng odypktimixtrakarrbekhapramanrxyla 1 5 240 khncaknkeriynthismkhraetlapipraman 20 000 khn odynkeriynthukkhnidrbthunkarsuksaetmcanwntlxdrayaewlathieriynxyuinorngeriynorngeriynmhidlwithyanusrn xngkhkarmhachn Mahidol Wittayanusorn School Public Organization paythangekhaorngeriynmhidlwithyanusrnthitngbanelkhthi 364 hmuthi 5 bansalaya tablsalaya xaephxphuththmnthl cnghwdnkhrpthm rhsiprsniy 73170 praethsithyphikd13 48 2 N 100 19 8 E 13 80056 N 100 31889 E 13 80056 100 31889khxmulpraephthorngeriynmthymsuksatxnplaykhakhwypy yay prisuch chti khnyxmbrisuththidwypyya kxtng8 phvsphakhm ph s 2534 sngkdkrmsamysuksa 33 pi 48 wn 25 singhakhm ph s 2543 xngkhkarmhachn 23 pi 305 wn phuxanwykardr wrwrngkh rkeruxngedchphubrihardr iphrinthr chuochtithawrphasathiichepnsuxkarsxnphasathimikareriynkarsxn phasaithy phasaxngkvs phasayipun phasacin phasafrngess phasaeyxrmn phasasepnsi sinaengin siehluxngephlngmarchmhidlwithyanusrntnimpracaorngeriyntnsritrngtwxksryxmws MWITrhsorngeriyn1573072001ewbistwww mwit ac thprawtiaenwkhidrierim mhawithyalymhidlidelngehnthungpyhathiekidcakkhwamkhadaekhlnbukhlakrthangdanwithyasastraelaethkhonolyi cungmikhwamkhidthicaphlitbukhlakrthimikhwamchanayinthangsakhawichani ephuxpxnihkbpraeths thngnibukhlakrehlanncaepntxngidrbphunthanthidikxnthicamasuksatxinmhawithyaly inkarnithangmhawithyaly sungmikhwamthndthangdanwithyasastr khnitsastr xnepnwichaphunthansakhydixyuaelw cungidrwmmuxkbkrmsamysuksa krathrwngsuksathikarcdtngorngeriynmthymsuksathiennkareriynkarsxnthangdanwichawithyasastr khnitsastr aelakhxmphiwetxrodyechphaa ephuxsrangnkeriynthicbchnmthymsuksa aelasuksatxinmhawithyaly insaywithyasastr aelaethkhonolyikhxngpraeths rupaebbdngklawni hakkhyaynaipichidthwthukphumiphakhkhxngpraeths kcaphlitkalngkhnidsxdkhlxng kbkhwamtxngkaridxyangmiprasiththiphaph orngeriyninchwngaerk inwnthi 28 singhakhm ph s 2533 sastracary dr nth phmrprawti xthikarbdimhawithyalymhidl aeladr okwith wrphiphthn xthibdikrmsamysuksaidrwmlngnaminokhrngkarkhwamrwmmuxcdtngorngeriynmthymsuksa odyichphunthi 35 ir khxngmhawithyalymhidl tablsalaya xaephxphuththmnthl cnghwdnkhrpthm ihkrmsamysuksaichepnphunthicdtngorngeriyn odythangmhawithyalycaihkhwamrwmmuxsnbsnunthangdanwichakar rupaebbkareriynkarsxnwakhwrcaepnipinrupaebbidephuxihehmaasminkarphthnahlksutr kareriynru aelaphvtikrrmkhxngkarepnnkwithyasastrthidiinxnakht orngeriynmhidlwithyanusrnepidthakarsxnradbmthymsuksatxnplayrunaerkinpikarsuksa 2534 emuxwnthi 3 mithunayn ph s 2534 odyidrbkhwamxnuekhraahcakphrathrrmmhathiranuwtr ecaxawaswdirkhingihichbriewnsthanthiptibtithrrmkhxngthangwdepnsthanthieriynchwkhrawipcnkwaxakhareriynkhxngthangorngeriyninbriewnkhxngmhawithyalycaesrceriybrxy inchwngnnthangwdirkhingidihkhwamxnuekhraahorngeriynichbriewnwdthakareriynkarsxn brikareruxngsatharnupophkh odyimkhidmulkha ihichsunykhxmphiwetxrkhxngthangwdthakareriynkarsxn xnuekhraahphraphiksusngkhkhxngwdmasxnwichaphraphuththsasna thngyngmxbenginthunswnhnungepnthunkarsuksaaeknkeriynthuk piaelayngidrbkhwamxupkaracaknayaephthybuy wnasin indanekhruxngmuxxupkrn thicaepntxkareriynkarsxneruxymaidcangkhrutangchatimasxnwichaphasaxngkvspila 2 khnthukpi cdsranghxphknkeriynchayaelahying n briewnorngeriynmhidlwithyanusrn salaya emuxwnthi 18 singhakhm ph s 2536 idmikarlngnamrwmknxikkhrnghnungodynaybrrcng phngssastr xthibdikrmsamysuksaaela sasatracary nayaephthy pradisth ecriyithythwi xthikarbdimhawithyalymhidlinokhrngkarkhwamrwmmuxcdtngorngeriynmhidlwithyanusrn odyepliynaeplngmaihichphunthi 25 ir canwnrayaewla 30 pi aelatklngihkhwamrwmmuxsnbsnunkareriynkarsxn rwmthngihbrikaraelasingxanwykhwamsadwktang ethathicaepntamkhwamehmaasmpikarsuksa 2538 orngeriynidyaysthanthieriynchwkhrawthiwdirkhing tablirkhing xaephxsamphran cnghwdnkhrpthm matngepnorngeriynexkeths n tablsalaya xaephxphuththmnthl cnghwdnkhrpthm sungxyuphayinbriewnmhawithyalymhidlcnthungpccubn orngeriyninsthanphaphxngkhkarmhachn wikisxrs mingantnchbbekiywkb phrarachkvsdikacdtngorngeriynmhidlwithyanusrn ph s 2543 pi 2542 rthbalinsmynaykrthmntrichwn hlikphykhnannminoybaycdkarsuksaihkbedkaelaeyawchnthimikhwamsamarthphiessthangdanwithyasastraelakhnitsastridphthnaxyangetmskyphaphtamphrarachbyytikarsuksaaehngchati cungidmxbhmayihsthabnsngesrimkarsxnwithyasastraelaethkhonolyi sswth phthnaokhrngkarcdtngorngeriynwithyasastr thimilksnaphiesstangcakorngeriynthwip txmacungmiphrarachkvsdika cdtngorngeriynmhidlwithyanusrn ph s 2543 ihorngeriynmhidlwithyanusrnepnorngeriynwithyasastraehngaerkkhxngpraethsithy misthanphaphepnxngkhkarmhachn emuxwnthi 25 singhakhm 2543 phayitkarkakbduaelkhxngrthmntriwakarkrathrwngsuksathikar cudmunghmaykhxngorngeriyntamthiklawiwtamphrarachkvsdikaepndngniihorngeriynmiwtthuprasngkhephuxbriharcdkar aeladaeninkarcdkareriynkarsxninradbmthymsuksathimungennkhwamepnelisdankhnitsastraelawithyasastrsahrbedkthimiskyphaphsungthangkhnitsastraelawithyasastr txmainpiph s 2544 idmiaetngtngphuxanwykarkhnaerkkhxngorngeriynmhidlwithyanusrn xngkhkarmhachn khux dr thngchy chiwpricha xditphuxanwykarsthabnsngesrimkarsxnwithyasastraelaethkhonolyi phayitkardaeninnganinrabbxngkhkarmhachnni orngeriynidrbkarbriharthiyudhyunkwainrabbedimaelaidrbngbpramanthimakkhun cungsamarthphthnaipidxyangrwderw khwamkhadhwngihorngeriynmhidlwithyanusrnepnorngeriynnarxng idsngphlihinpiph s 2551 mikarkhyayhxngeriynwithyasastripsuklumorngeriynwithyasastrculaphrnrachwithyaly 12 aehngaelacdtngokhrngkarsnbsnunkarcdtnghxngeriynwithyasastrinorngeriyn odykarkakbduaelkhxngmhawithyaly okhrngkar wmw xik 5 aehngodyichhlksutrxangxingcakorngeriynmhidlwithyanusrn odyaetlamhawithyalycanahlksutripddaeplngaelaprbprungephuxihehmaasmkbskyphaphkhxngmhawithyaly aelayngmiaephncacdtnghxngeriynwithyasastrinorngeriynsngkdsankngankhnakrrmkarkarsuksakhnphunthan sphth xikcanwn 207 orngeriyn cakkarpraeminxngkhkarmhachnkhxngsankngan k ph r emuxpi ph s 2558 phbwaorngeriynmhidlwithyanusrn idrbkarpraemininradbdiedn epntnaebbthangdanwithikarthangan klikkarthangan hlkkardaeninkickarephuxprasbkhwamsaerc pccubnnay iphrinthr chuochtithawr epnprathankrrmkarphlnganaelaekiyrtiprawtikhxngorngeriynorngeriynmhidlwithyanusrn idkxtng International Student Science Fair inxditeriykwa Thailand International Science Fair odymicudprasngkhephuxihnkeriyninorngeriynchnnathangwithyasastrcakpraethstang rwmthngnkeriyninorngeriynmhidlwithyanusrnidnaesnxphlnganaelaaelkepliyneriynrukn subenuxngcakkhwamsaercinkarcdkhrngaerkcungidrbkarsantxodyorngeriyntang aelainpiph s 2554 sungepnkhrngthi 7 idewiynmacdthiorngeriynmhidlwithyansurnxikkhrnghnung raychuxorngeriynthiekhyepnecaphaphcdngan echn Ritsumeikan High School Korea Science Academy City Montessori School National Junior College aela Australian Science and Mathematics School nxkcaknganniaelw orngeriynmhidlwithyanusrnyngmiokhrngkaraelkepliynnkeriynkborngeriyntang cakthwolk echn singkhopr eyxrmn xxsetreliy ekahli yipun cin shrachxanackr epntn thangdanphlngankhxngnkeriynaelasisyeka nkeriynkhxngorngeriynmhidlwithyanusrnidrbrangwlcakkaraekhngkhnthngradbpraethsaelaradbnanachati echn karaekhngkhnephchryxdmngkud karaekhngkhnoxlimpikwichakarradbpraethsaelaradbnanachati karaekhngkhnpralxngkhwamruinhlakhlaysakhawichaepnphasaxngkvschuxwa World Scholar s Cup thangorngeriynmhidlwithyanusrnidtngepahmayihnkeriynidekharbkarsuksathisthabnxudmsuksachnnakhxngolk sisyekakhxngorngeriynidrbthunkarsuksathngcakkarsmkhrsxbphanthangsankngankhnakrrmkarkharachkarphleruxn aelamixikcanwnmakidsmkhrekhaeriynodytrngphanthangmhawithyalytang thngthimikhwamrwmmuxodytrngkborngeriyn echn KSA of KAIST aelathiimidmikhwamrwmmuxodytrngkborngeriyn echn Stanford University Purdue University aela University of Illinois at Urbana Champaign epntnhlksutrorngeriynmhidlwithyanusrnorngeriynphthnahlksutrkhunichepnkarechphaakbnkeriynkhxngorngeriynmikarprbprunghlksutrthuk 3 4 pi odymiphuthrngkhunwuthisakhatang caksthabnxudmsuksaepnthipruksainkarphthnahlksutr odymungennkarphthnankeriyn rxbdan thngphuththisuksa criysuksa phlsuksa aelahtthsuksa raywichaphunthankhrxbkhlumhlksutrkarsuksakhn phunthankhxngkrathrwngsuksathikarnxkcakniyngcdsarakareriynruraywichaephimetimihhlakhlay sxdkhlxngkb skyphaph khwamthndaelakhwamsnickhxngnkeriynepnraybukhkhlmikarcdkickrrmphthnaphueriynthngphayinaela phaynxkhxngeriyn ephuxmungsrangkhwamepnphhupyyasrangesrimprasbkarnkareriynru epidolkthsnthikwangiklkhxng nkeriyn aela ephuxihekidkhwamsmdulthngkhwamru khwamkhid khwamdingam aelakhwamrbphidchxbtxsngkhm pccubnorngeriynmhidlwithyanusrnichhlksutrorngeriynmhidlwithyanusrn phuththskrach 2562 sungepnkarprbprunghlksutrkhrngthi 6 odyprbprunghlksutrihmikhwamyudhyuntxbsnxngkhwamtxngkarkhxngnkeriyn rwmthngsngesrimskyphaphnkeriynraybukhkhl orngeriynmhidlwithyanusrnidephimraywichathksachiwit ephuxphthnathksakarichchiwitinhxphkaelathaihnkeriynetibotepnbukhlakrthimikhwamsamarthaelaxyurwmkninsngkhmxyangmikhwamsukh aelaephimraywichasmmnawithyasastr raywichaokhrngnganwithyasastr ephuxphthnakrabwnkarkhid aelakrabwnkarsubesaakhnhaxngkhkhwamru hakhatxbkhxngkhxsngsy khxngpyhathixyakru odyichkrabwnkarthangwithyasastr Scientific Methods echnediywkbthinkwithyasastr nkwicy hruxnkpradisthkhidkhnichinkrabwnkarthangankhxngtnexng rwmthungkarphthnathksainkarthawicy okhrngngan xyangkhrbwngcr aelaplukfngcitwiyyanaelakhwamrukhwamsamarthinkarepnnkkhidkhn nkwicyinphayphakhhna odyidrbkhwamrwmmuxcakbukhlakrchnnathnginpraethsaelatangpraeths hlksutrniyngsngesrimkarphthnathksathangphasatangpraeths khuxphasaxngkvs odymikarsxnaebbaebngklumnkeriyntamkhaaennsxbaelacdkareriynkarsxnihehmaasmkbradbkhwamsamarth rwmthungepidkarsxnphasaxun xikxyangnxy 4 phasa khux phasacin phasayipun phasafrngess phasaeyxrmn phasaekahli odyinbangkhrnghakmibukhlakrthiehmaasmcaepidkareriynkarsxnphasaxun dwy echn inxditekhymikarepidsxnphasarsesiy karsxnphasatangpraethsni micudprasngkhephuxsrangkhwamepnsaklihekidkhuninbukhlakrkhxngchatiinxnakhtaelaephuxykradbkhwamepnorngeriynwithyasastrihthdethiymkborngeriynwithyasastrchnnakhxngolk World Class rabbkhdeluxknkeriynorngeriynmhidlwithyanusrnmirabbkarkhdeluxknkeriyn thidaeninkarodybukhlakrkhxngorngeriynexng ephuxkhdeluxknkeriynthiehmaasmthisudsahrbepahmaykhxngorngeriyn inxdit karsxbkhdeluxknkeriynekhaorngeriynthakhwbkhuipkbkarkhdeluxknkeriynekhaokhrngkar phswth cnthungrunthi 16 hruxrunthiekhapikarsuksa ph s 2549 odymikarsxbaebngepn 2 rxb odyinrxbaerkepnkhxsxbpraephthkhxekhiyn sungmithngkhxsxbpraephthprnyaelaxtny swninrxbthisxngnn cnthungrun 17 hruxrunthiekhapikarsuksaph s 2550 epnkarsxbphrxmkbkarekhakhaythiorngeriynmhidlwithyanusrn odymithngkarsxbkhxekhiynaebbxtny aelakarfngbrryayaelwsxbcakeruxngthibrryay rwmthungmikarihnkeriynidekhaichhxngptibtikarkhxngthngsakhawichachiwwithya ekhmi aelafisiks thngni micudprasngkhephuxihnkeriynidekhaicthungchiwitkhwamepnxyukhxngnkeriynhxphk ephuxchwyinkartdsinic rwmthungepnkarwdkhwamsamarthinkareriynru thiimsamarthetriymmalwnghnaid xyangirktam cakrun 18 hruxrunthiekhapikarsuksaph s 2551 epntnip enuxngcakidprbepliynrabbkarkhdeluxknkeriyn ihsamarthichrwmkbkarkhdeluxknkeriynekhaorngeriynwithyasastrculaphrnrachwithyalythng 12 aehng aelaokhrngkar wmw cungmikarprbichkarxanbthkhwamaethnkarfngbrryay aelaepliynihkarekharwmkhaythiorngeriynmhidlwithyanusrnepniptamkhwamsmkhricaethn karkhdeluxknkeriynekhaeriynthiorngeriynmhidlwithyanusrnthuxwamikhwamekhmkhnsungmak odypktiaelwtngaetrun 17 epntnma minkeriynmasmkhrekharbkarkhdeluxkpraman 20 000 khn sthitinkeriynsmkhrekhaeriynthiorngeriynmhidlwithyanusrnsahrbrunthiekhapikarsuksa ph s 2562 micanwn 22 321 khn odyorngeriyncathakarkhdeluxkephuxekhaeriynepncanwn 240 khn odynkeriynthiidkhaaennethaknepnxndbsudthay thangorngeriyncarbekhasuksadwyxakharsthanthiaelasingaewdlxmorngeriynmhidlwithyanusrn tngxyuthitablsalaya xaephxphuththmnthl cnghwdnkhrpthm bnphunthi 25 irkhxngmhawithyalymhidl nxkcakniphayinorngeriynmhidlwithyanusrnyngmisunywithybrikarthithnsmymak sunykilamatrthan 4 chn aelahxngchayphaphyntrdarasastresmuxncring 3 miti sungepnorngeriynediywinpraethsithythimihxngchayphaphyntrdarasastresmuxncring 3 miti xakharmhidlwithyanusrnsunywithybrikaraelarabbekhruxkhaykhxmphiwetxr epnaehlngwithyakarthimisuxkhwamruhlakhlayrupaebbkhrbthwnthuksakhawicha cdbrikarsnbsnunaelasngesrimkarsuksaeriynru karkhnkhwawicy cnthungewla 21 00 n thukwninchwngepidphakheriyn phayinmiihbrikarhnngsuxaelakhxmphiwetxr nxkcakniorngeriynidedinsaysyyanekhruxkhaykhxmphiwetxrechuxmoyngthukxakharphayinorngeriyn micudechuxmtxkhxmphiwetxrmakkwa 400 cud nxkcaknnyngidtidtngrabbsyyanekhruxkhayirsaythwbriewnorngeriyn ephuxxanwykhwamsadwkaeknkeriynihsamarthekhathungkhxmulephuxkarsuksaeriynruidthukthi thukewla phanekhruxkhayxinethxrentkhwamerwsung nkeriynaelakhruxacarysamarthichbrikarhxngsmudxielkthrxniks tlxdcntidtxsuxsar aelasubkhnkhxmulthangxinethxrentidcakekhruxngkhxmphiwetxrthimiihbrikarinsunywithybrikar hxngeriyn aelahxngthangan hruxsamarthekhathungidcakhxphk hxngxahar snamkila hruxthixun thisyyanekhruxkhaykracayipthung hxngchayphaphesmuxncringdarasastr 3 miti cdtngkhuncakkhwamrwmmuxrahwangorngeriynmhidlwithyanusrn aela The Centre for Astrophysics amp Supercomputing Swinburne University of Technology Australia ephuxichepnsuxinkareriynkarsxndarasastrthicachwycudprakayedkaelaeyawchn ihekidkhwamrkaelasnicindarasastr sungepnsastraekhnnghnungthimikhwamsakhymak chwyinkaresrimsrangcintnakarihsnicsuksaaelakhnkhwathangdanwithyasastraelaethkhonolyimakkhun sungphaphyntrdarasastr 3 mitiniorngeriynxnuyatihchumchnphaynxksamarthekhamaichid odytxngndhmaylwnghna hruxichbrikarinwn MWIT Science Fair sungcdepnpracathukpi phaphyntraetlaeruxngmikhwamyawtngaet 9 19 nathi hxphksahrbnkeriynaelabukhlakr enuxngcakorngeriynmhidlwithyanusrnepnorngeriynpraca cungcaepntxngmihxphkiwsahrbnkeriyn odycaaeykepnhxphkchay 9 chn 1 aehng hx 9 aelahxphkhying 2 aehng hx 7 aela hx 8 nxkcaknnyngmihxphksahrbkhruaelabukhlakrephuxihorngeriynsamarthdaeninkickrrmhlngcakelikeriynid inthukwnhxphknkeriyncaepidtngaetewla 05 00 thung 22 00 aelacatdifekhruxngichiffatngaetewla 24 00 ykewnekhruxngprbxakas xikthngyngmihxphksahrbrxngrbnkeriynaelkepliynxikdwy hx 14 hxngptibtikar orngeriynmihxngptibtikarechphaasakhawichathiidmatrthan mixupkrnthithnsmy ephuxichinkareriynkarsxn karkhnkhwa thdlxng aelafukptibtitang xnidaek hxngptibtikarwithyasastr hxngptibtikarphasa hxngptibtikariffaxielkthrxniksaelakhxmphiwetxr hxngptibtikarekhiynaebb hxngptibtikarchangklorngngan hxngptibtikarekhruxngpndinepha aelahxngptibtikarthsnsilp epntn inswnkhxnghxngptibtikarwithyasastrnnidaebngxxkepn 3 sakhakhux fisiks ekhmi aelachiwwithya nkeriynthitxngkarichbrikarsamarthkhxichbrikarthnginaelanxkewlaidthixacarykhxngaetlasakhawicha sunykilaaelasnamkilaklangaecng orngeriynmisthanthisahrbelnkilaaelaxxkkalngkayhlakhlaypraephth idaek futbxl aebdmintn ethebilethnnis skhwxch basektbxl wxlelybxl espkhtakrx wayna lilas aexorbikh silpakarpxngkntw hruxfitens sunykilaaelasnamkilaklangaecngepidihbrikar thungewla 20 00 n thukwn ephuxepnkarsngesrimihnkeriyn khruaelaecahnathikhxngorngeriynidxxkkalngkayaelaelnkilakickrrmesrimhlksutrkickrrmthangwithyasastraelaethkhonolyi kickrrmfuknganinsunywicyinchwngpidphakheriyn sngesrimihnkeriynidfuknganaelaeriynrukbnkwicyinsthanthicring kickrrm MWIT Science Fair nithrrskarthangwithyasastraelaepidoxkasihnkeriynchnmthymsuksapithi 5 6 idmioxkasnaesnxokhrngnganthitnexngthatxsatharnchnkickrrmwichakarxun kickrrmkhaywichakar sngesrimihnkeriynideriynrunxkhxngeriynodycdburnakarrahwangsakhawichathangwithyasastraelasastrxun mikarthaokhrngngankhnadelkthieriykknwa Miniproject aelaphkxasyinkhayphkaermtamthrrmchati kickrrmbrryayphiess orngeriynidechiybukhlakrphumikhwamechiywchaythangdantangmabrryayepnpracathukspdah ephuxetimxngkhkhwamruihmihnkeriynaelaihidaenwkhidihminkarthaokhrngnganhruxnganwicyinxnakht kickrrmsuksadungannxksthanthi ihnkeriynidsuksadungantamsthanthiaelasunywicythangwithyasastraelaethkhonolyi rwmthngsthanthisakhythangprawtisastr sasnaaelawthnthrrmkickrrmthangnnthnakaraelasngkhm kickrrm MWIT Sports Day thukwnxngkhar orngeriyncasnbsnunihnkeriynidxxkkalngkay rwmthngyngmikartrwcsukhphaphpracapi karthdsxbsmrrthphaph aelaokhrngkar MWIT wyis isicsukhphaph ephuxihnkeriynidrbthrabthungsukhphaphkhxngtnexngaelaphthnaihepnphuthimisukhphaphaekhngaerngthngrangkayaelacitic kickrrmkhaybaephypraoychn sngesrimihnkeriynidchwyehluxnkeriyninorngeriynthikhadoxkasephuxplukfngcitwiyyaninkarphthnapraeths kickrrmkhay Pre MWIT khaysahrbnkeriynthiphankarkhdeluxkekhaorngeriynmhidlwithyanusrnrxbaerk micudprasngkhephuxihkhxmulprakxbkartdsinicekhaeriynorngeriynmhidlwithyanusrnaelaihnkeriynidmaphbprasbkarncringinorngeriyn kickrrmaelkepliynkbnkeriynorngeriynwithyasastraelaorngeriynekhruxkhayintangpraeths srangprasbkarninkarichphasatangpraethsaelaesrimsrangkhwamsmphnthrahwangpraethsaelaeriynrukarichchiwitintangaednraynamphuxanwykarorngeriynraynamphuxanwykarorngeriynmhidlwithyanusrn krmsamysuksaphuxanwykar darngtaaehnng1 nangsawsmcitt butrdimi 3 mithunayn 2534 27 phvscikayn 25342 nayniphnth nutphngs 28 phvscikayn 2534 9 mithunayn 25423 dr xxngcitt emthyapraphas 10 mithunayn 2542 9 thnwakhm 25424 naysmphngs rucirwrrthn 20 mkrakhm 2542 25 tulakhm 25435 naynphphr suwrrnruci 27 tulakhm 2543 18 kumphaphnth 2544raynamphuxanwykarorngeriynmhidlwithyanusrn xngkhkarmhachn phuxanwykar darngtaaehnng6 dr thngchy chiwpricha 19 kumphaphnth 2544 16 minakhm 25527 phuchwysastracary dr 17 minakhm 2552 16 minakhm 25608 rxngsastracary dr wiwthn eruxngelispyyakul 17 minakhm 2560 28 kumphaphnth 25659 dr wrwrngkh rkeruxngedch 1 minakhm 2565 pccubnraychuxsakhawichaaelafayorngeriynmhidlwithyanusrncdrabbkarbriharodyhlk epn 2 swnkhux bukhlakrklumkhrusngkdsakhawicha aelabukhlakrklumptibtikarsngkdfay dngtxipni saywichakar sakhawichakhnitsastraelawithyakarkhanwn sakhawichafisiks sakhawichaekhmi sakhawichachiwwithyaaelawithyasastrsukhphaph sakhawichasilpsastr sakhawichaphasatangpraethssaysnbsnun faybriharkareriynruaelarabborngeriynpraca faybriharethkhonolyiaelanwtkrrmdicithl faybriharthrphyakraelakhwamplxdphy faybriharnganthwipehtukarnsakhywnthi 31 mkrakhm ph s 2537 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari thrngphrakrunaoprdekla esdcphrarachdaeninthrngeyiymorngeriynmhidlwithyanusrn n sthanthiptibtithrrmkhxngwdirkhing wnthi 30 singhakhm ph s 2537 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari esdcphrarachdaeninthrngwangsilavksxakhareriynhlngaerk briewnmhawithyalymhidl tablsalaya xaephxphuththmnthl cnghwdnkhrpthm ph s 2538 orngeriynmhidlwithyanusrnidyaymabriewnmhawithyalymhidlcnkrathngpccubn wnthi 25 singhakhm ph s 2543 prakasphrarachkvsdikacdtngorngeriynmhidlwithyanusrnepnorngeriynwithyasastraehngaerkkhxngpraethsithy misthanphaphepnxngkhkarmhachn epidsxninradbmthymsuksaphayitkarkakbduaelkhxngrthmntriwakarkrathrwngsuksathikar wnthi 6 mithunayn ph s 2544 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari esdcphrarachdaeninthrngeyiymchmkarcdkareriynkarsxnkhxngorngeriynmhidlwithyanusrn wnthi 16 singhakhm ph s 2546 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari esdcphrarachdaeninthrngwangsilavks xakharhxphk aelathrngepidxakhareriynmhidlwithyanusrn 3 wnthi 18 mithunayn ph s 2548 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari esdcphrarachdaeninthrngepidxakharsunywithybrikar hxngchayphaphyntresmuxncringdarasastr 3 miti aelaxakharsunykila wnthi 24 phvscikayn ph s 2548 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari miphramhakrunathikhun esdcphrarachdaenin epnxngkhprathanthrngepidinpraethsithy khrngthi 1 n orngeriynmhidlwithyanusrn smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari thrngrbfngkarbrryay aelaesdcthxdphraentrkaresnxokhrngnganinrupaebbopsetxrkhxngnkeriyn phraxngkhidthrngskthamnkeriynthukokhrngngandwykhwamsnphrathy yngkhwamplumpitiihaeknkeriyn khru phucdngan aelaphuekhaefathullaxxngphrabaththngchawithyaelatangpraethsodythwnhna epnkalngicihnkeriyn khru aelaphucdngan mikhwammungmn tngicthicarngsrrkhphlngankhxngorngeriynihkawhnamakyingkhun wnthi 11 mithunayn ph s 2552 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari miphramhakrunathikhun esdcphrarachdaeninthrngepidhxprachumphraxubalikhunupmacary pyya xin thpy oy xditecaxawaswdirkhing phraxaramhlwng hxngprachumsastracary dr sippnnth ektutht hxngprachum sastracaryekiyrtikhun nayaephthy dr nth phmrprawti hxngprachum sunghxngprachumehlaniidtngchuxtamphumixupkarkhuntxorngeriynephuxepntnaebbihnkeriyninkaraesdngxxkthungkartxbaethntxphumiphrakhun aelathrngrwmkickrrmptibtikar eruxng karsubesaathangwithyasastr aelathrrmchatikhxngwithyasastr wnthi 6 mithunayn ph s 2553 inchwngewlaechamud idekidehtuwangephlingxakhar 2 khxngorngeriyn hxngsmudchn 1 2 esiyhaythnghmd inswnchn 3 aelaxakhariklekhiyngesiyhaybangswn orngeriynidprakaspidkareriynkarsxnepnewla 7 wn odymikahndepideriynihmxikkhrnginwnthi 14 mithunayn wnthi 13 mithunayn ph s 2553 nkeriynorngeriynmhidlwithyanusrnedinthangekhahxphkephuxetriymphrxmepideriyninwnthi 14 mithunayn inkhawnnnnangsawnrisra chwaltnphiphthth rthmntrichwykrathrwngsuksathikar hmxmhlwngpndda diskul phuwarachkarcnghwdnkhrpthm sastracary dr khunhying suchada kirannthn prathankrrmkarbriharorngeriynmhidlwithyanusrn edinthangipihkalngickhnakhru xacary ecahnathiaelankeriynorngeriynmhidlwithyanusrnihthukkhnthahnathikhxngtnexngxyangetmthiephuxrksamatrthankhxngorngeriynaelarwmmuxknptibtitamxudmkarnthiorngeriynidplukfngephuxpraoychnkhxngpraethschatisubip phayinewla 1 spdahthiphanma orngeriynidprbsphaphhxngtang phayinorngeriynihepnhxngeriynchwkhraw prbhxngprachumdr okwith wrphiphthn ihepnhxngsmudchwkhraw idrbbricakhhnngsuxaelaotaeriyncakhlayxngkhkr xathi mhawithyalythrrmsastr mhawithyalymhidl phrxmthngidsngsuxhnngsuxihmcaksunyhnngsuxcula idrbphrarachthanhnngsuxhlksutrsxwn aelahnngsuxwithyasastrcaktangpraethscaksmedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari thngniidrbngbchukechincakthangkrathrwngsuksathikaraelaidrbenginbricakhcaksmakhmphupkkhrxngaelasisyekaorngeriynmhidlwithyanusrn kardaeninkardngklawekidcakkhwamrwmmuxkhxngkhnakrrmkarbriharorngeriyn khnakhruxacaryecahnathi aelasisyekaorngeriynmhidlwithyanusrnephuxihorngeriynklbmaxyuinsphawapktiodyerwthisud wnthi 11 tulakhm ph s 2554 smedcphraknisthathiracheca krmsmedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari miphramhakrunathikhun esdcphrarachdaeninthrngepidngankarnaesnxokhrngnganwithyasastrkhxngnkeriyn radbnanachati khrngthi 7 hrux The 7th International Student Science Fair 2011 ISSF sungcdkhunrahwangwnthi 11 tulakhm thung 15 tulakhm ph s 2554 odyorngeriynwithyasastrthnginaelatangpraethsekharwmnganrwm 47 orngeriyn caaenkepnorngeriyncaktangpraeths 29 aehng inpraeths 18 aehng mikarnaesnxokhrngnganphakhopsetxr 158 okhrngngan phakhbrryay 101 okhrngngan swnkickrrmxun prakxbipdwy kickrrm Science Show Science Labs Science and Mathematics Rally Robotic Show Astronomy night rwmthngkaraesdngsilpwthnthrrmpracachatikhxngnkeriynthiekharwmngancakaetlapraeths karsuksadungannxksthanthidanwithyasastr thrrmchatiaelasingaewdlxm aelakareyiymchmobransthansungepnsilpwthnthrrmithyxangxing khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 10 20 subkhnemux 2019 05 27 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 05 27 subkhnemux 27 phvsphakhm 2562 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 04 21 subkhnemux 2019 05 27 PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2019 05 27 subkhnemux 2019 05 27 epidphlpraemin 35 xngkhkarmhachn srupkhawmtikhnarthmntri 21 kumphaphnth 2566 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 05 27 subkhnemux 2019 05 27 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 05 27 subkhnemux 2019 05 27 World Scholar s Cup Success khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 12 21 subkhnemux 11 January 2012 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 05 27 subkhnemux 2019 05 27 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 04 21 subkhnemux 2019 05 27 hlksutrorngeriynmhidlwithyanusrn xngkhkarmhachn ph s 2562 lingkesiy http www mwit ac th astronomy 2009 04 16 thi ewyaebkaemchchin MWIT astronomy orngeriynmhidlwithyanusrnrwmtxnrb dr wrwrngkh rkeruxngedch inoxkasekharbtaaehnngphuxanwykarorngeriynmhidlwithyanusrn orngeriynmhidlwithyanusrncdnganaesdngktewthitacit aed rxngsastracary dr wiwthn eruxngelispyyakul enuxnginoxkaskhrbwarakardarngtaaehnngphuxanwykarorngeriynmhidlwithyanusrn PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2021 06 25 subkhnemux 2017 01 30 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 06 09 subkhnemux 2010 06 08 xung cbaelwedkm 5 ephahxsmud rr mhidlwithyanusrn khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 04 14 subkhnemux 11 January 2012 duephimklumorngeriynwithyasastrculaphrnrachwithyaly okhrngkarsnbsnunkarcdtnghxngeriynwithyasastrinorngeriyn odykarkakbduaelkhxngmhawithyaly wikisxrsminganthiekiywkhxngkb phrarachkvsdikacdtngorngeriynmhidlwithyanusrn ph s 2543aehlngkhxmulxunorngeriynmhidlwithyanusrn