โคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง
ความเป็นมาของโคลง
...[โคลงนั้น] จะคิดแต่งเมื่อครั้งไรไม่ปรากฏ มีเค้าเงื่อนแต่ว่าโคลงนั้นดูเหมือนจะเป็นของพวกไทยข้างฝ่ายเหนือคิดขึ้น มีกำหนดอักษรนับเป็นบาทสองบาท สามบาท สี่บาท เป็นบทเรียกว่าโคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ โคลงเก่า ๆ มีที่รับสัมผัสและที่กำหนดใช้อักษรสูงต่ำน้อยแห่ง แต่มามีบังคับมากขึ้นภายหลัง เห็นจะเป็นพวกไทยข้างฝ่ายใต้ได้รับอย่างมาแต่งประดิษฐ์เติมขึ้น...
จากพระราชาธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าชาวไทยล้านนาเป็นผู้ประดิษฐ์โคลงขึ้น และชาวไทยทางใต้คือชาวกรุงศรีอยุธยารับไปดัดแปลงจนพิสดารขึ้น
โคลงของชาวล้านนานั้นเรียก “ครรโลง” “คะโลง” หรือ “กะโลง” มีสามประเภทคือ 1) ครรโลงสี่ห้อง 2) ครรโลงสามห้อง และ 3) ครรโลงสองห้อง กับทั้งยังมีกลวิธีแต่งที่ปลีกย่อยมากมาย เช่น โคลงบทหนึ่งว่า “กรนารายณ์ หมายกงรถ บทสังขยา สราสังวาล...”
หลักฐานที่แสดงว่าชาวล้านนาสนใจและนิยมแต่งโคลงมาแต่โบราณแล้วคือ จินดามณี ซึ่งกล่าวถึงโคลงลาวประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ 1) พระยาลืมงายโคลงลาว 2) อินทร์เกี้ยวกลอนโคลงลาว 3) พวนสามชั้นโคลงลาว 4) ไหมยุ่งพันน้ำโคลงลาว และ 5) อินทร์หลงห้องโคลงลาว
คำว่า “ลาว” ข้างต้น หมายถึง ชาวล้านนา ชาวอยุธยาแต่ก่อนเรียกรวมทั้งชาวล้านนาและชาวล้านช้างว่า ลาว
วรรณคดีของชาวไทยฝ่ายใต้เรื่องแรกที่ปรากฏโคลงคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันแต่งด้วยโคลงห้าและร่ายดั้นสลับกัน กับทั้งยังเป็นวรรณคดีเรื่องเดียวที่ปรากฏโคลงห้าอีกด้วย ต่อมาปรากฏเป็นรูปโคลงสี่ดั้นใน ลิลิตยวนพ่าย โคลงสุภาพ (โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่) ในลิลิตพระลอ ส่วนโคลงสองดั้นและโคลงสามดั้นเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางวรรณกรรมอาจกล่าวได้ว่ากวีนิยมแต่งโคลงดั้นมาก่อนโคลงสุภาพ
การจำแนกโคลง
โคลงในวรรณกรรมไทย แบ่งได้ดังนี้ คือ
- โคลงสอง
- โคลงสองสุภาพ
- โคลงสองดั้น
- โคลงสาม
- โคลงสามสุภาพ
- โคลงสามดั้น
- โคลงสี่
- โคลงสี่สุภาพ
- โคลงสี่ดั้น
- โคลงห้า
หมายเหตุ:- โคลงห้านั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ) สิทธา พินิจภูวดล และประทีป วาทิกทินกร จัดให้เป็นโคลงโบราณ แต่กำชัย ทองหล่อ จัดให้เป็นโคลงสุภาพ ขณะที่ สุภาพร มากแจ้ง แยกออกมาต่างหาก ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะมีวรรณกรรมเรื่องเดียวที่แต่งด้วยโคลงห้า ในยุคยังไม่สามารถแยกโคลงดั้นและโคลงสุภาพอย่างชัดเจน
โคลงสอง
โคลงสองสุภาพ
หนึ่งบทมี 14 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค 5 - 5 - 4 คำ ตามลำดับ และอาจเพิ่มสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสส่งจากท้ายวรรคแรกไปยังท้ายวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ เอก ๐ ๐ โท | |
เอก โท ๐ ๐ | (๐ ๐) |
๏ โคลงสองเป็นอย่างนี้ | แสดงแก่กุลบุตรชี้ | |
เช่นให้เห็นเลบง | แบบนา ๚ะ |
หากแต่งหลาย ๆ บท นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท จากท้ายบทแรกไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทต่อไป ตัวอย่าง
๏ ไก่ขันเขียวผูกช้าง | มาเทียมทั้งสองข้าง | |
แนบข้างเกยนาง ๚ะ |
๏ ไป่ทันสางสั่งให้ | พระแต่งจงสรรพไว้ | |
เยียวปู่เจ้าเรามา ๚ะ |
๏ เผือจักลาแม่ ณ เกล้า | อยู่เยียวเจียนรุ่งเช้า | |
จักช้าทางไกล ๚ะ | ||
— ลิลิตพระลอ |
กวีบางท่านก็ไม่นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท อย่างเช่น น.ม.ส. ในพระนิพนธ์ สามกรุง เป็นต้น
โคลงสองดั้น
หนึ่งบทมี 12 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 2 คำ ตามลำดับ และอาจมีสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ ส่งสัมผัสแบบเดีวกับโคลงสองสุภาพ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพแต่ต่างตำแหน่ง หากแต่งหลายบทมีการส่งสัมผัสเช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ เอก ๐ โท โท | |
เอก ๐ | (๐ ๐) |
๏ โคลงสองเรียกอย่างดั้น | โดยว่าวรรคท้ายนั้น | |
เปลี่ยนแปลง ๚ะ |
๏ แสดงแบบแยบยลให้ | กุลบุตรจำไว้ใช้ | |
แต่งตาม ๚ะ |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสองดั้น โดยบังคับเอก 3 โท 2 (ลดโท) ในลิลิตนารายณ์สิบปาง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ ๐ ๐ เอก โท | |
เอก ๐ | (๐ ๐) |
๏ ทูลคดีแด่ไท้ | อีกขอพระจุ่งได้ | |
ดับเข็ญ ๚ะ |
๏ พระเป็นเจ้าจึ่งได้ | ตรัสตอบว่าท่านไซร้ | |
ทุกข์เหลือ ๚ะ |
๏ อยากเอื้อมและช่วยแท้ | แต่เรานี้สุดแก้ | |
พระพรหม ๚ะ |
๏ อับบรมราชผู้ | เป็นหริสิรู้ | |
อุบาย ๚ะ |
๏ จงผันผายและเฝ้า | วอนพระวิษณุเจ้า | |
หริพลัน | เถิดนา ๚ะ |
การใช้โคลงสองในวรรณกรรม
ไม่มีวรรณคดีไทยเรื่องใดที่ใช้โคลงสองแต่งทั้งเรื่อง โดยทั่วไปมักแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ ในลักษณะลิลิต อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งใช้ลงท้ายร่าย โดยโคลงสองสุภาพลงท้ายร่ายสุภาพ และโคลงสองดั้นลงท้ายร่ายดั้น
โคลงสาม
โคลงสามสุภาพ
บทหนึ่งมี 19 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 4 คำตามลำดับ และอาจมีสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง ส่งสัมผัสเพิ่มจากโคลงสองอีกหนึ่งแห่งจากท้ายวรรคแรกไปยังวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ ๐ ๐ เอก โท | |
๐ เอก ๐ ๐ โท | เอก โท ๐ ๐ (๐ ๐) |
๏ ล่วงลุด่านเจดีย์ | สามองค์มีแห่งหั้น | |
แดนต่อแดนกันนั้น | เพื่อรู้ราวทาง ๚ะ |
๏ ขับพลวางเข้าแหล่ง | แห่งอยุธเยศหล้า | |
แลธุลีฟุ้งฟ้า | มืดคลุ้มมัวมล ยิ่งนา ๚ะ | |
— ลิลิตตะเลงพ่าย |
โคลงสามดั้น
บทหนึ่งมี 17 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 2 คำตามลำดับ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสเหมือนโคลงสามสุภาพ ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ ๐ ๐ เอก โท | |
๐ เอก ๐ โท โท | เอก ๐ (๐ ๐) |
๏ พุทธศกสองพันปี | เศษมีแปดสิบเข้า | |
เหตุรุ่มรุมร้อนเร้า | ย่ำยี ๚ะ |
๏ มีเมืองทิศตกไถง | คือม่านภัยมุ่งร้าย | |
เตลงคั่นบต้านได้ | เด็ดลง ๚ะ | |
— ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ |
เช่นเดียวกับโคลงสองดั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โคลงสามดั้น โดยบังคับเอก 3 โท 2 ตำแหน่งเดียวกับโคลงสองดั้น ตัวอย่างจากลิลิตนารายณ์สิบปาง
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ ๐ ๐ เอก โท | |
๐ ๐ ๐ เอก โท | เอก ๐ (๐ ๐) |
๏ มุ่งตรงสู่สรยุ | บรรลุถึงฝั่งใต้ | |
เดินเลียบฝั่งนั่นไซร้ | ไป่นาน ๚ะ |
๏ ประมาณได้โยชน์หนึ่ง | จึงพระดาบสเถ้า | |
สั่งสองโอรสเจ้า | หยุดพลัน ๚ะ |
การใช้โคลงสามในวรรณกรรม
กวีไม่นิยมใช้โคลงสามแต่งวรรณกรรมตลอดเรื่อง นิยมแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งนิยมแต่งน้อยกว่าโคลงสองมาก อนึ่ง โคลงสามดั้นเริ่มปรากฏในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง มีหลักฐานอยู่ในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์ ซึ่งแต่งโดย พระรัตนมุนี วัดราชสิทธาราม ในสมัยรัชกาลที่ 2
โคลงสี่
โคลงสี่ เป็นโคลงที่กวีนิยมแต่งมากที่สุดในกระบวนโคลง สามารถจำแนกโคลงสี่ออกได้หลายประเภท ดังนี้
โคลงสี่ในจินดามณี
ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กล่าวถึงวิธีการแต่งโคลงสี่ไว้หลายชนิดด้วยกัน คือ โคลงสี่สุภาพ โคลงตรีเพชรทัณฑี โคลงจัตวาทัณฑี โคลงขับไม้ โคลงในกาพย์ห่อโคลง โคลงดั้น ฯลฯ
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ x (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ ๐ x | เอก โท | |
๐ ๐ เอก ๐ x | ๐ เอก (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ ๐ โท | เอก โท ๐ ๐ |
หนึ่งบทมี 30 คำ แบ่งเป็น 4 บาท 3 บาทแรก บาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ แต่ละบาทแบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เว้นบาทสุดท้าย 4 คำ มีสร้อยได้ 2 แห่ง โคลงบังคับเอก 7 โท 4 ตามตำแหน่ง สัมผัสคำที่ 7 บาทแรกกับคำที่ 5 ของบาทที่สองและบาทที่สาม กับสัมผัสคำที่ 7 บาทที่สองกับคำที่ 5 บาทที่สี่ เอกโทในบาทแรกอาจสลับที่กันได้ และอนุโลมให้ใช้คำตายแทนเอกได้ ดังตัวอย่าง
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง | อันใด พี่เอย | |
เสียงย่อมยอยศใคร | ทั่วหล้า | |
สองเขือพี่หลับไหล | ลืมตื่น ฤๅพี่ | |
สองพี่คิดเองอ้า | อย่าได้ถามเผือ ๚ะ | |
— ลิลิตพระลอ |
โคลงตรีเพชรทัณฑี
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ x (๐ ๐) | |
๐ เอก x ๐ ๐ | เอก โท | |
๐ ๐ เอก ๐ x | ๐ เอก (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ ๐ โท | เอก โท ๐ ๐ |
โคลงตรีเพชรทัณฑีนี้แสดงไว้แต่ตัวอย่าง แต่อาจสังเกตไว้ว่าเหมือนโคลงสี่สุภาพ แต่เลื่อนสัมผัสในบาทที่สอง จากเดิมคำที่ 5 ไปเป็นคำที่ 3 แทน ดังตัวอย่าง
๏ ปางนั้นสองราชไท้ | ดาบศ | |
สาพิมตไปมา | กล่าวแก้ว | |
ประทานราชเอารส | สองราช | |
เวนแต่ชูชกแล้ว | จึ่งไท้ชมทาน ๚ะ | |
— (มหาชาติคำหลวง:สักกบรรพ) |
ในจินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท เรียกโคลงแบบนี้ว่า โคลงตรีพิธพรรณ
โคลงจัตวาทัณฑี
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ x (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ x ๐ | เอก โท | |
๐ ๐ เอก ๐ x | ๐ เอก (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ ๐ โท | เอก โท ๐ ๐ |
โคลงจัตวาทัณฑี ก็คือโคลงสี่สุภาพที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาที่สองจากคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4 นั่นเองตามตัวอย่าง
๏ โคลงหนึ่งนามแจ้งจัต- | วาทัณ ฑีฤๅ | |
บังคับรับกันแสดง | อย่างพร้อง | |
ขบวรแบบแยบยลผัน | แผกชนิด อื่นเอย | |
ที่สี่บทสองคล้อง | ท่อนท้ายบทปถม ๚ะ |
โคลงขับไม้
๐ ๐ ๐ ๐ โท | ๐ x (๐ ๐) | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ โท | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ (๐ ๐) | |
๐ ๐ ๐ ๐ โท | ๐ โท ๐ ๐ |
โคลงขับไม้ เป็นโคลงสี่สุภาพที่ไม่บังคับเอก บังคับแต่โทสี่แห่ง บาทแรกโทจะอยู่คำที่ 4 หรือ 5 ก็ได้ ให้แต่งครั้งละ 2 บท มีสัมผัสระหว่างบทด้วย ตัวอย่าง
๏ พระเกียรติรุ่งฟุ้งเฟื่อง | ฦๅชา | |
ทั่วท่วนทุกทิศา | นอบน้อม | |
ทรงนามไท้เอกา | ทศรถ | |
กระษัตรมาขึ้นพร้อม | บ่เว้นสักคน ๚ะ |
๏ เดชพระบารมีล้น | อนันต์ | |
จักนับด้วยกัปกัลป์ | ฤๅได้ | |
สมภารภูลแต่บรรพ์ | นาเนก | |
ยิ่งบำเพ็งเพิ่มไว้ | กราบเกล้าโมทนา ๚ะ |
โคลงกระทู้
โคลงกระทู้ เป็นลักษณะพิเศษของการแต่งโคลง โดยบังคับคำขึ้นต้นแต่ละบาทของโคลงส่วนมากมักใช้แต่งกับโคลงสี่ ซึ่งกำชัย ระบุว่า โคลงกระทู้คือโคลงสี่สุภาพนั่นเอง
- บาทละหนึ่งคำ เรียกว่า กระทู้เดี่ยว
- บาทละสองคำ เรียกว่า กระทู้คู่
- บาทละสามคำ เรียกว่า กระทู้สาม
- บาทละสี่คำ เรียกว่า กระทู้สี่
ลักษณะการใช้กระทู้อาจใช้คำเดียวกันทุกบาท หรือคำต่างชุดกันก็ได้ ถ้าเป็นคำเดียวกันเรียกว่า กระทู้ยืน คำที่นำมาเป็นกระทู้อาจจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ เช่น ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู อาจเป็นคำคล้องจองก็ได้ เช่น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น หรืออาจมีข้อความอื่นใดตามความประสงค์ของผู้ประพันธ์
ตัวอย่างโคลงกระทู้ ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู
๏ ทะ แกล้วซากเกลื่อนฟื้น | อยุธยา | |
ลุ่ม แห่งเลือดน้ำตา | ท่วมหล้า | |
ปุ่ม อิฐฝุ่นทรายสา- | มารถกล่าว | |
ปู แผ่สัจจะกล้า | ป่าวฟ้าดินฟัง ๚ะ | |
— กระทู้พม่า |
โคลงกระทู้กวีมักใช้แต่งท้ายเรื่อง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการแต่งหรือชื่อผู้แต่ง นอกนั้นแต่งแทรกไว้ในวรรณกรรมเพื่อเพิ่มความไพเราะ แสดงความสามารถของผู้แต่ง นอกจากนี้กวีอาจจะดัดแปลงโคลงกระทู้ให้พิศดารตามความประสงค์ก็ได้ เช่น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงแต่งกาพย์สุรางค์คนางค์ 28 จำนวน 5 บท แล้วนำคำในกาพย์แต่ละวรรคแยกเป็นกระทู้เดี่ยวในโคลงกระทู้ 35 บท หรือนายชิต บุรทัต แต่งวิชชุมาลาฉันท์ 4 บท แล้วนำคำในแต่ละวรรคไปแยกเป็นกระทู้เดี่ยวเป็นโคลง 32 บท เป็นต้น
โคลงสี่ดั้น
ในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี เรียกว่า "ฉันทจรรโลงกลอนดั้น" และมิได้อธิบายอะไร เพียงแต่ยกตัวอย่างโคลงไว้เท่านั้น ต่อมาในจินดามณีฉบับหลวงวงศาธิราชสนิทจึงปรากฏแผนผังสมบูรณ์ และจำแนกโคลงดั้นออกเป็น 2 ชนิด คือ โคลงดั้นวิวิธมาลี และโคลงดั้นบาทกุญชร ตามลักษณะการส่งสัมผัสระหว่างบท ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ x (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ ๐ ๐ | เอก โท | |
๐ ๐ เอก ๐ x | ๐ เอก (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ โท โท | เอก y |
๐ ๐ ๐ เอก โท | ๐ x (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ ๐ y | เอก โท | |
๐ ๐ เอก ๐ x | ๐ เอก (๐ ๐) | |
๐ เอก ๐ โท โท | เอก ๐ |
- โคลงดั้นวิวิธมาลี หนึ่งบทมี 28 คำ 4 บาท บาทละ 7 คำ แบ่งเป็นบาทละ 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เอก 7 โท 4 เหมือนโคลงสี่สุภาพ ต่างกันที่ตำแหน่งเอกโทในบาทสุดท้าย คำที่ 4 -5 เป็นโทคู่ ส่งสัมผัสระหว่างบทแห่งเดียว คือ คำสุดท้ายบทแรกไปยังคำที่ 5 ในบาทที่สองของบทต่อไป ดังตัวอย่าง
๏ เชลงกลโคลงอย่างดั้น | บรรยาย | |
เสนอชื่อวิวิธมาลี | เล่ห์นี้ | |
ปวงปราชญ์ทั่วทวยหลาย | นิพนธ์เล่น เทอญพ่อ | |
ยลเยี่ยงฉบับพู้นชี้ | เช่นแถลง ๚ะ |
๏ เป็นอาภรณ์แก้วก่อง | กายกระวี ชาติเอย | |
อาตมโอ่โอภาสแสง | สว่างหล้า | |
เถกิลเกียรติเกริ่นธรณี | ทุกแหล่ง หล้านา | |
ฦๅทั่วดินฟ้าฟุ้ง | เฟื่องคุณ ๚ะ |
- โคลงดั้นบาทกุญชร บังคับเหมือนวิวิธมาลี แต่ส่งสัมผัสระหว่างบท 2 แห่ง จากคำสุดท้ายบาทที่ 3 บทแรกไปยังคำที่ 4 หรือ 5 (คำเอก) ของบทต่อไป กับคำสุดท้ายบาทที่ 4 บทแรกไปคำที่ 5 บาทที่สองของบทต่อไป ดังตัวอย่าง
๏ อีกโคลงดั้นหนึ่ง | พึงยล | |
บอกเช่นบาทกุญชร | ชื่ออ้าง | |
วิธีที่เลบงกล | แปลกก่อน | |
ยากกว่าบรรพ์แสร้งสร้าง | อื่นแปลง ๚ะ |
๏ สองรวดกลอนห่อนพลั้ง | ผิดพจน์ | |
เฉกสี่เชิงสารแสดง | ย่างผ้าย | |
สัมผัสทั่วทุกบท | ฤๅเคลื่อน คลายเอย | |
บงดั่งบาทข้างย้าย | ต่อตาม ๚ะ |
โคลงสี่ในตำรากาพย์
เนื่องจากโคลงจากตำรากาพย์ไม่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องใดเลย มีอยู่แต่ในตำราแต่งคำประพันธ์เท่านั้น ปราชญ์รุ่นก่อนมักเรียกโคลงเหล่านี้ว่า โคลงโบราณ
กาพย์สารวิลาสินี
ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินีมีโคลงอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ วิชชุมาลี มหาวิชชุมาลี จิตรลดา มหาจิตรลดา สินธุมาลี มหาสินธุมาลี นันททายี และมหานันททายี มีลักษณะเด่นคือ ไม่บังคับเอกโท บังคับแต่จำนวนคำ และสัมผัส
โคลง 8 ชนิดที่ดัดแปลงมาจากกาพย์สารวิลาสินีดังกล่าวยังอาจแบ่งได้อีกเป็นสองกลุ่ม ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่หนึ่ง เป็นโคลงที่มียี่สิบแปดคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ รวมเป็นยี่สิบแปดคำ) ได้แก่ 1) โคลงวิชชุมาลี 2) โคลงจิตรลดา 3) โคลงสินธุมาลี และ 4) โคลงนันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสองคำ
กลุ่มที่สอง เป็นโคลงที่มีสามสิบคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายของบทมีสี่คำ รวมเป็นสามสิบคำ) ได้แก่ 1) โคลงมหาวิชชุมาลี 2) โคลงมหาจิตรลดา 3) โคลงมหาสินธุมาลี และ 4) โคลงมหานันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสี่คำ และมีคำ “มหา” นำหน้าชื่อ
โคลงวิชชุมาลี และโคลงมหาวิชชุมาลี
- วิชชุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าสายฟ้าแลบ
- มหาวิชชุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าสายฟ้าแลบใหญ่
|
|
โคลงจิตรลดา และโคลงมหาจิตรลดา
- จิตรลดา แปลว่า มีระเบียบคำเกี่ยวพันกันประหนึ่งว่าเครือเถาอันงาม
- มหาจิตรลดา แปลว่า มีระเบียบคำเกี่ยวพันกันประหนึ่งว่าเครือเถาอันงามยิ่ง
|
|
โคลงสินธุมาลี และโคลงมหาสินธุมาลี
- สินธุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าระเบียบคลื่นในแม่น้ำ
- มหาสินธุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าระเบียบคลื่นในแม่น้ำใหญ่
|
|
โคลงนันททายี และโคลงมหานันททายี
- นันททายี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวเป็นที่ให้ซึ่งความเพลิดเพลินแก่บุคคลผู้ฟัง
- มหานันททายี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวเป็นที่ให้ซึ่งความเพลิดเพลินแก่บุคคลผู้ฟังยิ่ง
|
|
กาพย์คันถะ
ในคัมภีร์กาพย์คันถะ มีโคลงสี่อยู่ 2 ชนิด คือ ทีฆปักข์ และรัสสปักข์ มีลักษณะเด่นเช่นเดียวกับโคลงในกาพย์สารวิลาสีนี คือ ไม่บังคับเอกโท กำหนดแต่จำนวนคำและสัมผัส
โคลงทีฆปักข์
- ทีฆปักข์ แปลว่า มีฝักฝ่ายยาว เพราะคำรับสัมผัสผ่อนยาวออกไปทุกบาท ตั้งแต่คำที่ 5 - 4 - 3 ตามลำดับ
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ ๐ | |
๐ ๐ y ๐ ๐ | ๐ ๐ |
๏ หญิงดำขำเกลี้ยงยิ่ง | มีสี | |
ธรรมอื่นเทียมขันตี | ไป่ได้ | |
คำชาวบุรีไพ | เราะพ่อ | |
สัตว์สบใกล้สีหลี้ | หลบแสยง ๚ะ |
โคลงรัสสปักข์
- รัสสปักข์ แปลว่า มีฝักฝ่ายสั้น เพราะคำรับสัมผัสคงที่คำรับคำที่ 5 ทุกบาท
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ ๐ ๐ |
๏ ชนใดหลงเล่ห์เกื้อ | กลกาม | |
ลุเล่ห์กิเลสราม | รื่นเร้า | |
ชนนั้นจะพ้นความ | ทุกข์ฤๅ | |
กระวีพึงเว้นข้าม | แห่งห้วงกามา ๚ะ |
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้โคลงชนิดต่าง ๆ ในคัมภีร์กาพย์จะบอกว่ามิได้บังคับเอกโท แต่ตัวอย่างที่ให้ไว้ส่วนใหญ่มักมีเอกโท ตามตำแหน่งที่เด่นของโคลงสี่เสมอ
โคลงสี่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดัดแปลงสัมผัสของโคลงในตำรากาพย์สารวิลาสีนีทั้ง 4 ชนิด แล้วทรงเรียกว่า โคลงโบราณแผลง ดังตัวอย่าง
โคลงวิชชุมาลีแผลง
- เปลี่ยนการรับสัมผัสจากคำที่ 5 บาทที่สี่เป็นคำที่ 4 บาทที่สี่แทน
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ y ๐ | ๐ ๐ |
๏ ข้าแต่พระพุทธเกล้า | มุนินทร์ | |
ลายลักษณะบาทหัตถ์ | วิจิตร | |
ชนนิกรไหว้อาจิณ | คืนค่ำ | |
ตั้งกระหม่อมนิตย์ข้า | ดุษฎี ๚ะ |
โคลงจิตรลดาแผลง
- เปลี่ยนการรับสัมผัสในบาทที่สี่ จากคำที่ 4 มาเป็นคำที่ 5
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ ๐ y | ๐ ๐ |
๏ พระจันทรเพ็ญแผ้ว | สรัทกาล | |
ชะช่วงโชติพรายงาม | รุ่งฟ้า | |
ให้คนชื่นบานนิตย์ | ทุกหมู่ | |
รัศมีเรืองโรจน์กล้า | เวหา ๚ะ |
โคลงสินธุมาลีแผลง
- เปลี่ยนคำสัมผัสในบาทที่สี่ จากเดิมคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ y ๐ | ๐ ๐ |
๏ ข้าแต่พระพุทธเจ้า | ใจปราชญ์ | |
รัศมีองค์โอภาส | รุ่งฟ้า | |
พระสุรเสียงเพราะฉลาด | โลมโลก | |
สัตบุรุษส้าเสก | ชมนิตย์ ๚ะ |
โคลงนันททายีแผลง
- เปลี่ยนคำสัมผัสในบาทที่สี่ จากเดิมคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ y ๐ | ๐ ๐ |
๏ พระสุริยะทรงเดช | เสด็จฉาย | |
หาวหนพรายพรายเรือง | รุ่งเร้า | |
ปทุมิกรผายกลีบ | รสคลี่ | |
เฉกพระเป็นเจ้าตรัส | เตือนโลก ๚ะ |
นอกจากนี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงการส่งสัมผัส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์โคลงเลียนแบบโคลงในตำรากาพย์ คือไม่บังคับเอกโท อีก 4 แบบ ใช้ในพระราชนิพนธ์กถานมัสการพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และพระรัตนตรัย คือ โคลงวชิระมาลี โคลงมุกตะมาลี โคลงรัตนะมาลี และโคลงจิตระมาลี ดังตัวอย่าง
โคลงวชิระมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ ๐ y | ๐ ๐ |
๏ องค์พระพุทธเจ้า | โคบาล | |
สอนธรรมสมานจิต | สัตบุรุษ | |
นำแน่วสู่นิรพาณ | พ้นทุกข์ | |
พระนราสภสุทธิ์ | ศาสดา ๚ะ |
โคลงมุกตะมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ y ๐ | ๐ ๐ |
๏ ธรรมชาติดิเรกรุ้ง | ชวลิต | |
น้อมนำดวงจิตรจร | สู่ชอบ | |
สละไตรทุจริต | เห็นโทษ | |
ธรรมะดั่งกอบแก้ว | โกยทอง ๚ะ |
โคลงรัตนะมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ ๐ y | ๐ ๐ |
๏ อีกผองสาวกเจ้า | ทรงจำ | |
กำหนดบทพระธรรม | สอนโลก | |
สงฆ์ประดุจนำทาง | รอดบาป | |
เหมือนช่วยให้ส่างโศก | สุดภัย ๚ะ |
โคลงจิตระมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐ | ๐ x | |
๐ ๐ ๐ ๐ x | ๐ y | |
๐ ๐ ๐ x ๐ | ๐ ๐ | |
๐ ๐ ๐ y ๐ | ๐ ๐ |
๏ ไตรรัตน์ชงัดยิ่ง | เทวัญ | |
ใครพึ่งพึงสู่สวรรค์ | แม่นแท้ | |
ไตรรัตน์ย่อมกันภัย | อุบาทว์ | |
ใครพึ่งถึงแม้ทุกข์ | เสื่อมสูญ ๚ะ |
ความแตกต่างของโคลงสี่ในวรรณกรรมกับโคลงสี่ในตำราคำประพันธ์
โคลงสี่ปรากฏในวรรณกรรมตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่องคือ ลิลิตพระลอ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ โคลงดั้นมี 1 เรื่องคือ ลิลิตยวนพ่าย
สมัยอยุธยาตอนกลางโคลงสี่เป็นที่นิยมที่สุด มีวรรณกรรมแต่งด้วยโคลงสี่ถึง 9 เรื่อง ได้แก่ โคลงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์ กำศรวลโคลงดั้น โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ และโคลงทวาทศมาส ในจำนวนนี้เป็นโคลงสี่สุภาพ 7 เรื่อง โคลงสี่ดั้น 2 เรื่อง
สมัยธนบุรีมี 2 เรื่องคือ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ กวีนิยมแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอน วรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงเด่น ๆ ได้แก่ โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย ลิลิตตะเลงพ่าย โคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ โคลงนิราศนรินทร์ ลิลิตนารายณ์สิบปาง และสามกรุง เป็นต้น
โคลงสี่ที่กวีนิยมใช้ในวรรณกรรมคือโคลงสี่สุภาพและโคลงดั้นที่ปรากฏอยู่ในจินดามณี ส่วนโคลงสี่ในตำรากาพย์ไม่พบว่ากวีใช้แต่งวรรณกรรม นอกจากงานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น
วรรณกรรมในแต่ละสมัย กวีใช้โคลงที่มีลักษณะบังคับแตกต่างจากตำราฉันทลักษณ์สรุปได้ 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
1.การบังคับเอก-โท
มีการใช้ลักษณะ เอก 7 โท 5 และใช้โทคู่ในโคลงสี่สุภาพ เช่น ลิลิตพระลอ มหาชาติคำหลวง โคลงมังทรารบเชียงใหม่ และโคลงนิราศหริภุญชัย
32 ๏ ความคิดผิดรีตได้ | ความอาย พี่เอย | |
หญิงสื่อชักชวนชาย | สู่หย้าว | |
เจ็บเผือว่าแหนงตาย | ดีกว่า ไสร้นา | |
เผือหากรักท้าวท้าว | ไม่รู้จักเผือ ๚ะ |
33 ๏ ไป่ห่อนเหลือคิดข้า | คิดผิด แม่นา | |
คิดสิ่งเป็นกลชิด | ชอบแท้ | |
มดหมอแห่งใดสิทธิ์ | จักสู่ ธแม่ | |
ให้ลอบลองท้าวแล้ | อยู่ได้ฉันใด ๚ะ | |
— ลิลิตพระลอ |
มีการใช้เอก 7 โท 3 และไม่ใช้โทคู่ในโคลงสี่ดั้น เช่น ลิลิตยวนพ่าย โคลงทวาทศมาส กำสรวลโคลงดั้น และโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
7 ๏ พระมล้างท้าวทั่ว | ธรณี | |
อันอาจเอากลเอา | ฬ่อเลี้ยง | |
พระมาก่อภูมี | ศวรราช | |
อันอยู่โดยยุคติเพี้ยง | พ่างอารย ๚ะ |
8 ๏ พระมาแมนสาธุส้อง | ถวายพร เพิ่มแฮ | |
มาสำแดงชัยชาญ | เชี่ยวแกล้ว | |
พระมารบาลบร | ทุกทวีป ไส้แฮ | |
มาสำแดงฤทธิแผ้ว | แผ่นดิน ๚ะ | |
— ลิลิตยวนพ่าย |
ดังนั้น หากนับจากข้อมูลในวรรณกรรม โคลงสี่ จึงควรมี 4 รูปแบบคือ
- โคลงสี่สุภาพ เอก 7 โท 4
- โคลงสี่สุภาพ เอก 7 โท 5 (โทคู่)
- โคลงสี่ดั้น เอก 7 โท 4
- โคลงสี่ดั้น เอก 7 โท 3 (โทเดี่ยว)
2.การส่งสัมผัส
สัมผัสระหว่างบาท ในตำราฉันทลักษณ์กำหนดสัมผัสระหว่างบาทของโคลงไว้ 4 แบบคือ แบบโคลงสี่สุภาพ แบบโคลงตรีเพชรทัณฑี(หรือโคลงตรีพิธพรรณ) แบบโคลงจัตวาทัณฑี และแบบโคลงสี่ดั้น
ทั้งนี้การกำหนดตรีพิธพรรณ หรือ จัตวาทัณฑีกำหนดที่คำรับสัมผัสในบาทที่สอง ส่วนบาทอื่น ๆ บังคับรับสัมผัสคำที่ 5 แต่เท่าที่ปรากฏในวรรณกรรม กวีมีอิสระที่จะรับสัมผัสในคำที่ 3, 4 หรือ 5 ของทุกบาทในโคลงดั้น และเรียกตามลักษณะคำรับสัมผัสว่า ตรีพิธพรรณหรือจัตวาทัณฑีด้วย เช่น
ตรีพิธพรรณในบาที่สาม จัตวาทัณฑีในบาทที่ 4
๏ เร่งหมั้นเหลือหมั้นยิ่ง | เวียงเหล็ก | |
มีกำแพงแลงเลือน | ต่อต้าย | |
หัวเมืองเต็กเสียงกล่าว | แก่บ่าว | |
ทังขวาทังซ้ายถ้วน | หมู่หมาย ๚ะ | |
— กำสรวลโคลงดั้น |
จัตวาทัณฑี รับสัมผัสคำที่ 4 บาทสามและสี่
๏ ทสพิธธรรมโมชแท้ | ทศสกนธ | |
ทศพัสดุแสดงทส | เกลศกลั้ว | |
ทศกายพลทศ | พลภาคย ก็ดี | |
ทศอศุภหมั้วห้อม | ห่อสกนธ์ ๚ะ | |
— ลิลิตยวนพ่าย |
สัมผัสระหว่างบท
โดยทั่วไปการส่งสัมผัสระหว่างบทของโคลงสี่ในวรรณกรรมมี 3 แบบ คือ
- แบบที่ 1 ส่งจากคำสุดท้ายของบทแรก ไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทต่อไป มักใช้กับโคลงสี่สุภาพ
- แบบที่ 2 ส่งจากคำสุดท้ายบทแรกไปยังคำที่ 4 หรือ 5 บาทที่สองในบทต่อไป ใช้กับโคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี
- แบบที่ 3 ส่งจากคำสุดท้ายบาท 3 ในบทแรกไปยังคำที่ 3, 4 หรือ 5 ในวรรคแรกบทต่อไป กับจากคำสุดท้ายบาท 4 ในบทแรก ไปยังคำที่ 4, 5 ในวรรคแรกบาทสองของบทต่อไป ใช้กับโคลงสี่ดั้นบาทกุญชร
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีวรรณกรรมบางเรื่องส่งสัมผัสระหว่างบทออกไป เช่น ในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน มีโคลงสี่สุภาพและโคลงตรีพิธพรรณส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงบาทกุญชร ในจิดามณี มีโคลงขับไม้ส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงวิวิธมาลี ในลิลิตนารายณ์สิบปาง และพระนลคำหลวง มีโคลงสี่ดั้น และโคลงในตำรากาพย์ ส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงสี่สุภาพ
3.การใช้คำสร้อย
ตามตำราฉันทลักษณ์กำหนดไว้ว่า โคลงสี่มีสร้อยได้สองแห่งคือท้ายวรรคแรก และท้ายวรรคที่สาม แต่ในวรรณกรรมกวีทุกสมัยตั้งแต่อยุธยาจนกระทั่งถึงรัชการที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งโคลงสี่โดยมีสร้อย 3 แห่ง คือ มีสร้อยในบาที่ 4 ด้วย ทั้งโคลงดั้น และโคลงสี่สุภาพ ตัวอย่าง
๏ โฉมแม่จักฝากฟ้า | เกรงอินทร หยอกนา | |
อินทรท่านเทอกโฉมเอา | สู่ฟ้า | |
โฉมแม่จักฝากดิน | ดินท่าน แล้วแฮ | |
ดินฤขัดเจ้าหล้า | สู่สมสองสม ๚ะ |
๏ โฉมแม่ฝากน่านน้ำ | อรรณพ แลฤๅ | |
เยียวนาคเชยชมอก | พี่ไหม้ | |
โฉมแม่รำพึงจบ | จอมสวาสดิ์ กูเอย | |
โฉมแม่ใครสงวนได้ | เท่าเจ้าสงวนเอง ๚ะ | |
— กำสรวลโคลงดั้น |
๏ ตีอกโอ้ลูกแก้ว | กลอยใจ แม่เฮย | |
เจ้าแม่มาเป็นใด | ดั่งนี้ | |
สมบัติแต่มีใน | ภาพแผ่น เรานา | |
อเนกบรู้กี้ | โกฏิไว้จักยา พ่อนา ๚ะ | |
— ลิลิตพระลอ |
๏ จรุงพจน์จรดถ้อยห่าง | ทางกวี | |
ยังทิวาราตรี | ไม่น้อย | |
เทพใดหฤทัยมี | มาโนชญ์ | |
เชิญช่วยอวยให้ข้อย | คล่องถ้อยคำแถลง เถิดรา ๚ะ | |
— สามกรุง |
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โคลงสี่วรรณคดีมีการใช้สร้อยทั้ง 3 แห่ง คือ บาทแรก บาทที่สาม และบาทที่สี่
โคลงห้า
โคลงห้า เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเพียงเรื่องเดียว คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นวรรณกรรมร้อยกรองยุคแรกของไทย และไม่ปรากฏว่าต่อมามีกวีใช้โคลงห้าแต่งวรรณกรรมเรื่องใดอีกเลย
ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กล่าวถึงโคลงห้าไว้เพียงยกตัวอย่างคำประพันธ์ชื่อ มณฑกคติโคลงห้า โดยไม่มีคำอธิบาย แต่ยกตัวอย่างที่สองว่าเป็น อย่างโคลงแช่งน้ำพระพัฒน์ ซึ่งก็คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ นั่นเอง มีผู้พยายามอธิบายฉันทลักษณ์ของโคลงห้าอยู่หลายคนได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (พ.ณ ประมวญมารค) พระยาอุปกิตศิลปสาร และจิตร ภูมิศักดิ์
คำอธิบายของ จิตร ภูมิศักดิ์ ค่อนข้างจะมีน้ำหนักมากกว่าข้อสันนิษฐานของคนอื่น โดยมีข้อสนับสนุนจากลักษณะโคลงลาวที่ปรากฏในวรรณคดีล้านช้างเรื่อง โดยจิตร อธิบายว่า โคลงห้าเป็นโคลงดั้นชนิดหนึ่ง มีบาทละ 5 คำ นิยมแต่งในอาณาจักรลาวล้านช้างยุคโบราณ ส่งสัมผัสแบบโคลงบาทกุญชร และอาจเพิ่มคำต้นบาท รวมทั้งมีสร้อยได้ทุกบาท ทั้งยังสามารถตัดใช้เพียงบทละ 2 - 3 บาท ได้เช่นเดียวกับโคลงลาวด้วย อีกทั้งเมื่อจัดวางรูปแบบฉันทลักษณ์ตามที่จิตรเสนอ มีความเป็นไปได้ค่อยข้างมาก
ตัวอย่างโคลงห้า จากลิลิตโองการแช่งน้ำ (จัดตามรูปแบบที่จิตรแนะนำ)
๏ นานา | อเนกน้าว | เดิมกัลป์ |
จักร่ำ | จักราพาฬ | เมื่อไหม้ |
กล่าวถึง | ตระวันเจ็ด | อันพลุ่ง |
น้ำแล้งไข้ | ขอดหาย ๚ะ | |
๏ เจ็ดปลา | มันพุ่งหล้า | เป็นไฟ |
วาบ | จตุราบาย | แผ่นคว่ำ |
ชักไตรตรึงส์ | เป็นเผ้า | |
แลบ่ล้ำ | สีลอง ๚ะ | |
๏ สมรรถญาณ | ควรเพราะเกล้า | ครองพรหม |
ฝูงเทพ | นองบนปาน | เบียดแป้ง |
สรลมเต็ม | พระสุธาวาส | |
ฟ้าแจ้งจอด | นิโรโธ ๚ะ | |
๏ กล่าวถึง | น้ำฟ้าฟาด | ฟองหาว |
ดับเดโช | ฉ่ำหล้า | |
ปลาดินดาว | เดือนแอ่น | |
ลมกล้าป่วน | ไปมา ๚ะ |
พัฒนาการของโคลง
กวีในแต่ละสมัยได้สอดแทรกประดิษฐการต่างๆ ไว้ในการแต่งโคลง เพื่อให้งานของตนมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษขึ้นกว่าธรรมดา จากการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำโคลงในแต่ละสมัยพบว่ามีลักษณะร่วมสมัยบางประการที่ได้พัฒนามาเป็นขนบการแต่งโคลง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่เพิ่มความไพเราะแก่โคลงนอกเหนือจากฉันทลักษณ์ปกติ ได้แก่
พัฒนาการใช้คำ
การนับคำในร้อยกรองทำได้ 2 แบบ คือ นับแยกหนึ่งพยางเป็นหนึ่งคำ กับนับรวมหลายพยางค์เป็นหนึ่งคำ ซึ่งแต่ละแบบจะให้รสของโคลงที่ต่างกัน
การแต่งโคลงโดยนับแยกหนึ่งพยางค์เป็นหนึ่งคำ
ทำให้เสียงของโคลงมีน้ำหนักชัดเจน พบในงานสมัยต้นอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ โดยกวีเพิ่มความไพเราด้วยการซ้ำคำหรือซ้ำเสียงพยัญชนะ การเลือกใช้คำหนักเบาเพื่อสื่ออารมณ์ ตัวอย่างเช่น
๏ รบินรเบียบท้าว | เบาราณ | |
รบอบรบับยล | ยิ่งผู้ | |
ระเบียบรบิการย | เกลากาพย ก็ดี | |
รเบอดรบัดรู้ | รอบสรรพ ๚ะ | |
— ลิลิตยวนพ่าย |
๏ เสียงโหยเสียงไห้มี่ | เรือนหลวง | |
ขุนหมื่นมนตรีปวง | ป่วยซ้ำ | |
เรือนราษฎร์ร่ำตีทรวง | ทุกข์ทั่ว กันนา | |
เมืองจะเย็นเป็นน้ำ | ย่อมน้ำตาครวญ ๚ะ | |
— ลิลิตพระลอ |
การแต่งโคลงโดยนับรวมหลายพยางค์เป็นหนึ่งคำ
จะทำให้เสียงของโคลงสะบัดไหว มีจังหวะหนัก-เบา เกิดความไพเราะแปลกหู กวีผู้ชอบแต่งโคลงลักษณะนี้ ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ สุนทรภู่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ น.ม.ส. ตัวอย่าง
๏ พระอนุชาข้าแกล้งกล่าว | กลอนถวาย | |
พยัญชนะคลาดบาทกลายหลาย | แห่งพลั้ง | |
ผิดอรรถะขจัดขจายปลาย | สลายสล่ำ | |
แม้นพลาดประมาทประมาณยั้ง | โทษะร้ายขจายเสีย ๚ะ | |
— สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ |
๏ มหาสดำคำไก่ต้น | ทนดี | |
หางตะเค่เนระภูศรี | ซ่มกุ้ง | |
ชาเลือดเหมือดคนมี | สมอพิเภพ เอกเอย | |
ลมป่วนทวนหอมฟุ้ง | เปลือกไม้ใบยา ๚ะ | |
— โคลงนิราศสุพรรณ |
๏ การเวกหรือวิเวกร้อง | ระงมสวรรค์ | |
เสนาะมิเหมือนเสนาะฉันท์ | เสนาะซึ้ง | |
ประกายฟ้าสุริยาจันทร์ | แจร่มโลก ไฉนฤๅ | |
เมฆพยับอับแสงสะอึ้ง | อร่ามแพ้ประพนธ์เฉลย ๚ะ | |
— กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ |
๏ สมบัติขัติยผู้ | ผดุงขัณฑ์ | |
เครื่องราชกกุธภัณฑ์ | คู่แคว้น | |
ฉัตรตั้งดั่งไอศวรรย์ | เสวยราชย์ | |
คนก็ยับทรัพย์แร้น | สุดหล้าหาไหน ๚ะ | |
— สามกรุง |
พัฒนาการด้านการใช้สัมผัสใน
การใช้สัมผัสอักษร
โคลงที่แต่งโดยใช้สัมผัสอักษรจะให้น้ำเสียงหนักแน่นชัดเจนกว่าโคลงที่ใช้สัมผัสสระ และไพเราะกว่าโคลงที่ไม่ใช้สัมผัสเลย
๏ เสร็จพระทางเครื่องต้น | แต่งกาย ท่านนา | |
สวมสอดสนับเพลาพราย | อะเคื้อ | |
ภูษิตพิจิตรลาย | แลเลิศ แล้วแฮ | |
ทรงสุภาภรณ์เสื้อ | เกราะแก้วก่องศรี ๚ะ | |
— ลิลิตตะเลงพ่าย |
พระยาตรังคภูมิบาล และกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นผู้นำแบบแผนการใส่สัมผัสอักษรในคำที่ 5 กับ 6 ทุกบาท
๏ เบญจศีลทรงสฤษฎิส้อง | เสพย์นิพัทธ์ กาลนา | |
บาปเบื่อฤๅรางรคน | ขาดแท้ | |
เบญจาวิธเวรสงัด | สงบระงับ เหือดเฮย | |
ทั่วทุจริตเว้นแว้ | ว่างาม ๚ะ | |
— ประชุมจากรึกวัดพระเชตุพนฯ |
การใช้สัมผัสสระ
นิยมใช้เฉพาะในโคลงสี่สุภาพเพราะช่วยทำให้เสียงของโคลงอ่อนหวานขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ โดยกำหนดสัมผัสสระอย่างเป็นระบบในคำที่ 2 - 3 หรือ 3 - 4 ของทุกบาท ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในงานของพระศรีมโหสถ และพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ด้วย ตัวอย่าง
๏ ราตรีศรีส่องฟ้า | แสดงโฉม | |
แสงสว่างกลางโพยม | แจ่มฟ้า | |
มหรสพจบการโลม | ใจโลกย | |
เปียนบ่ายรายเรียงหน้า | นั่งล้อมเล็งแล ๚ะ | |
— กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ |
สุนทรภู่ รับอิทธิพลการแต่งโคลงแบบมีสัมผัสสระเช่นนี้มาใช้ในโคลงนิราศสุพรรณ แล้วเพิ่มสัมผัสสระอีกแห่งในคำที่ 7 -8 ของบาทที่สาม และคำที่ 8 - 9 ของบาทสุดท้าย รวมทั้งเพิ่มสัมผัสอักษรในคำที่ 5 - 6 และสัมผัสในอื่น ๆ ตามอัตลักษณ์อีกด้วย ตัวอย่าง
๏ รอกแตแลโลดเลี้ยว | โลดโผน | |
นกหกจกจิกโจน | จับไม้ | |
ยางเจ่าเหล่ายางโทน | ท่องเที่ยว เหยี่ยวเอย | |
โฉบฉาบคาบปลาได้ | ด่วนขึ้นกลืนกิน ๚ะ | |
— โคลงนิราศสุพรรณ |
พัฒนาการด้านฉันทลักษณ์
จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เสนอฉันทลักษณ์ โดยปรับปรุงจากฉันทลักษณ์โคลงห้าในโองการแช่งน้ำ โดยกำหนดให้หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีห้าคำ แบ่งเป็นสองวรรค วรรหน้าสามคำ วรรคหลังสองคำ บังคับเอก 4 โท 4 สัมผัสเหมือนโคลงสี่สุภาพ สร้อยเหมือนสร้อยโคลงดั้น เอกโทวรรคแรกอาจสลับที่กันได้ และโทคู่วรรคที่สี่อาจอยู่แยกกันได้ ดังตัวอย่าง
๐ เอก โท | ๐ x (๐ ๐) | |
๐ ๐ x | เอก โท | |
๐ ๐ x | ๐ เอก (๐ ๐) | |
๐ โท โท | เอก ๐ (๐ ๐) |
๏ กรุงเทพคลุ้ง | คาวหืน | |
ควันกามกลืน | กลบไหม้ | |
ดาวกลางคืน | คลุมทาบ | |
เมืองร้องไห้ | เหือดขวัญ ๚ะ |
๏ น้ำฟ้าฟาด | ฟองหาว | |
คือกามฉาว | ชุ่มฟ้า | |
กลิ่นสาบสาว | กำซาบ | |
กามย้อมหล้า | แหล่งสยาม ๚ะ | |
— ดาวกลางคืน |
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ กวีรางวัลซีไรต์ ได้บิดฉันทลักษณ์ เพิ่มสัมผัสใหม่ให้กับโคลงสี่ โดยเพิ่มสัมผัสคำที่ ๗ กับคำที่ ๕ ของบาทถัดไป อย่างสม่ำเสมอ (คล้ายกับร่าย) ตัวอย่างโคลงจากหนังสือรวมบทกวี มือนั้นสีขาว
๏ พี่ชายสวมหน้ากาก | ผีร้าย | |
น้องสาวหวีดวี้ดว้าย | วุ่นวิ่ง | |
พี่โยนหน้ากากทิ้ง | แย้มแฉ่ง | |
น้องน้อยวิ่งรี่แย่ง | ฉกหน้ากากสวม ๚ะ |
๏ เด็กน้อยสวมหน้ากาก | ยอดมนุษย์ | |
เหินฟากฟ้าเร่งรุด | โลดลิ่ว | |
แต่เท้ายังเฉียดฉิว | ยอดหญ้า | |
เด็กน้อยครั้งถอดหน้า | เจอะหน้าเนื้อหนอ ๚ะ |
ข้อมูลเกี่ยวกับโคลงที่นำเสนอมานี้ จะช่วยผู้ศึกษากวีนิพนธ์ของไทยเข้าใจฉันทลักษณ์ของโคลงชนิดต่าง ๆ และลักษณะพิเศษของโคลงในแต่ละสมัยที่พัฒนามาเป็นขนบการแต่งโคลงที่ถือว่าไพเราะในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเข้าใจว่ากวีทุกสมัยได้ใช้เสรีภาพในการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ในกรอบของฉันทลักษณ์แต่ละประเภทตลอดมา
อ้างอิง
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2475, 5 มิถุนายน). ตำนานโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. บันทึกสมาคมวรรณคดี. ม.ป.ท.
- มณี พยอมยงค์. (2513). ประวัติและวรรณคดีล้านนา. มปท. หน้า 196.
- นพดล จันทร์เพ็ญ และคนอื่น ๆ. (2520). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ธเนศวรการพิมพ์. หน้า 41.
- กรมศิลปากร. (2512). จินดามณี เล่ม 1-2 กับบันทึกหนังสือจินดามณี และจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา. หน้า 37-40.
- ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (1 พฤษภาคม 2551).
- วราภรณ์ บำรุงกุล. (2542). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999. หน้า 50-51.
- สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2535.
- พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ). (2514). ชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
- สิทธิ พินิจภูวดล และคนอื่น ๆ. (2515). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.
- ประทีป วาทิกทินกร และสิทธา พินิจภูวดล. (2516). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- กำชัย ทองหล่อ. (2519). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : เจริญรัตน์การพิมพ์.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ร้อยกรองไทย: โคลง
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
okhlng epnkhapraphnththibngkhbwrrnyukt khux exk oth aelabngkhbsmphs mihlkthanxnkhwrechuxwaepnkhapraphnthphunemuxngithythangehnuxaelaxisankxncaaephrhlaymayngphakhklangkhwamepnmakhxngokhlng okhlngnn cakhidaetngemuxkhrngirimprakt miekhaenguxnaetwaokhlngnnduehmuxncaepnkhxngphwkithykhangfayehnuxkhidkhun mikahndxksrnbepnbathsxngbath sambath sibath epnbtheriykwaokhlngsxng okhlngsam okhlngsi okhlngeka mithirbsmphsaelathikahndichxksrsungtanxyaehng aetmamibngkhbmakkhunphayhlng ehncaepnphwkithykhangfayitidrbxyangmaaetngpradisthetimkhun smedcphraecabrmwngsethx phraxngkhecadiswrkumar krmphrayadarngrachanuphaph cakphrarachathibaykhxngsmedcphraecabrmwngsethx phraxngkhecadiswrkumar krmphrayadarngrachanuphaph snnisthanwachawithylannaepnphupradisthokhlngkhun aelachawithythangitkhuxchawkrungsrixyuthyarbipddaeplngcnphisdarkhun okhlngkhxngchawlannanneriyk khrrolng khaolng hrux kaolng misampraephthkhux 1 khrrolngsihxng 2 khrrolngsamhxng aela 3 khrrolngsxnghxng kbthngyngmiklwithiaetngthiplikyxymakmay echn okhlngbthhnungwa krnarayn hmaykngrth bthsngkhya srasngwal hlkthanthiaesdngwachawlannasnicaelaniymaetngokhlngmaaetobranaelwkhux cindamni sungklawthungokhlnglawpraephthtang xnidaek 1 phrayalumngayokhlnglaw 2 xinthrekiywklxnokhlnglaw 3 phwnsamchnokhlnglaw 4 ihmyungphnnaokhlnglaw aela 5 xinthrhlnghxngokhlnglaw khawa law khangtn hmaythung chawlanna chawxyuthyaaetkxneriykrwmthngchawlannaaelachawlanchangwa law wrrnkhdikhxngchawithyfayiteruxngaerkthipraktokhlngkhux lilitoxngkaraechngna xnaetngdwyokhlnghaaelaraydnslbkn kbthngyngepnwrrnkhdieruxngediywthipraktokhlnghaxikdwy txmapraktepnrupokhlngsidnin lilitywnphay okhlngsuphaph okhlngsxng okhlngsam aelaokhlngsi inlilitphralx swnokhlngsxngdnaelaokhlngsamdnekidkhuninsmyrtnoksinthrniexng xyangirktamcakhlkthanthangwrrnkrrmxacklawidwakwiniymaetngokhlngdnmakxnokhlngsuphaphkarcaaenkokhlngokhlnginwrrnkrrmithy aebngiddngni khux okhlngsxng okhlngsxngsuphaph okhlngsxngdn okhlngsam okhlngsamsuphaph okhlngsamdn okhlngsi okhlngsisuphaph okhlngsidn okhlngha hmayehtu okhlnghann phrayaxupkitsilpsar nim kaycnchiwa siththa phinicphuwdl aelaprathip wathikthinkr cdihepnokhlngobran aetkachy thxnghlx cdihepnokhlngsuphaph khnathi suphaphr makaecng aeykxxkmatanghak sungnacaehmaasmkwa ephraamiwrrnkrrmeruxngediywthiaetngdwyokhlngha inyukhyngimsamarthaeykokhlngdnaelaokhlngsuphaphxyangchdecn okhlngsxng okhlngsxngsuphaph hnungbthmi 14 kha aebngepn 3 wrrkh 5 5 4 kha tamladb aelaxacephimsrxythaybthidxik 2 kha bngkhbexk 3 aehng oth 3 aehng smphssngcakthaywrrkhaerkipyngthaywrrkhthisxng dngtwxyang 0 0 0 exk oth 0 exk 0 0 othexk oth 0 0 0 0 okhlngsxngepnxyangni aesdngaekkulbutrchiechnihehnelbng aebbna a hakaetnghlay bth niymsngsmphsrahwangbth cakthaybthaerkipyngkhaidkhahnunginwrrkhaerkkhxngbthtxip twxyang ikkhnekhiywphukchang maethiymthngsxngkhangaenbkhangekynang a ipthnsangsngih phraaetngcngsrrphiweyiywpuecaerama a ephuxcklaaem n ekla xyueyiyweciynrungechackchathangikl a lilitphralx kwibangthankimniymsngsmphsrahwangbth xyangechn n m s inphraniphnth samkrung epntn okhlngsxngdn hnungbthmi 12 kha aebngepn 3 wrrkh wrrkhla 5 5 2 kha tamladb aelaxacmisrxythaybthidxik 2 kha sngsmphsaebbediwkbokhlngsxngsuphaph bngkhbexk 3 aehng oth 3 aehng echnediywkbokhlngsxngsuphaphaettangtaaehnng hakaetnghlaybthmikarsngsmphsechnediywkbokhlngsxngsuphaph dngtwxyang 0 0 0 exk oth 0 exk 0 oth othexk 0 0 0 okhlngsxngeriykxyangdn odywawrrkhthaynnepliynaeplng a aesdngaebbaeybylih kulbutrcaiwichaetngtam a phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw thrngphrarachniphnthokhlngsxngdn odybngkhbexk 3 oth 2 ldoth inlilitnaraynsibpang dngtwxyang 0 0 0 exk oth 0 0 0 exk othexk 0 0 0 thulkhdiaedith xikkhxphracungiddbekhy a phraepnecacungid trstxbwathanisrthukkhehlux a xyakexuxmaelachwyaeth aeteranisudaekphraphrhm a xbbrmrachphu epnhrisiruxubay a cngphnphayaelaefa wxnphrawisnuecahriphln ethidna akarichokhlngsxnginwrrnkrrm immiwrrnkhdiithyeruxngidthiichokhlngsxngaetngthngeruxng odythwipmkaetngslbkbrayaelaokhlngchnidxun inlksnalilit xyanghnung aelaxikxyanghnungichlngthayray odyokhlngsxngsuphaphlngthayraysuphaph aelaokhlngsxngdnlngthayraydn okhlngsam okhlngsamsuphaph bthhnungmi 19 kha aebngepn 4 wrrkh wrrkhla 5 5 5 4 khatamladb aelaxacmisrxythaybthidxik 2 kha echnediywkbokhlngsxngsuphaph bngkhbexk 3 aehng oth 3 aehng sngsmphsephimcakokhlngsxngxikhnungaehngcakthaywrrkhaerkipyngwrrkhthisxng dngtwxyang 0 0 0 0 0 0 0 0 exk oth0 exk 0 0 oth exk oth 0 0 0 0 lwngludanecdiy samxngkhmiaehnghnaedntxaednknnn ephuxrurawthang a khbphlwangekhaaehlng aehngxyutheyshlaaelthulifungfa mudkhlummwml yingna a lilittaelngphayokhlngsamdn bthhnungmi 17 kha aebngepn 4 wrrkh wrrkhla 5 5 5 2 khatamladb bngkhbexk 3 aehng oth 3 aehng smphsehmuxnokhlngsamsuphaph dngtwxyang 0 0 0 0 0 0 0 0 exk oth0 exk 0 oth oth exk 0 0 0 phuththsksxngphnpi essmiaepdsibekhaehturumrumrxnera yayi a miemuxngthistkithng khuxmanphymungrayetlngkhnbtanid eddlng a phunaephniphthnila aehlngkhun echnediywkbokhlngsxngdn phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhwthrngphrarachniphnthokhlngsamdn odybngkhbexk 3 oth 2 taaehnngediywkbokhlngsxngdn twxyangcaklilitnaraynsibpang 0 0 0 0 0 0 0 0 exk oth0 0 0 exk oth exk 0 0 0 mungtrngsusryu brrluthungfngitedineliybfngnnisr ipnan a pramanidoychnhnung cungphradabsethasngsxngoxrseca hyudphln akarichokhlngsaminwrrnkrrm kwiimniymichokhlngsamaetngwrrnkrrmtlxderuxng niymaetngslbkbrayaelaokhlngchnidxun rwmthngniymaetngnxykwaokhlngsxngmak xnung okhlngsamdnerimpraktinwrrnkrrmsmyrtnoksinthrniexng mihlkthanxyuinmhachatikhahlwng knththanknth sungaetngody phrartnmuni wdrachsiththaram insmyrchkalthi 2 okhlngsi okhlngsi epnokhlngthikwiniymaetngmakthisudinkrabwnokhlng samarthcaaenkokhlngsixxkidhlaypraephth dngni okhlngsiincindamni incindamni chbbphraohrathibdi klawthungwithikaraetngokhlngsiiwhlaychniddwykn khux okhlngsisuphaph okhlngtriephchrthnthi okhlngctwathnthi okhlngkhbim okhlnginkaphyhxokhlng okhlngdn l okhlngsisuphaph 0 0 0 exk oth 0 x 0 0 0 exk 0 0 x exk oth0 0 exk 0 x 0 exk 0 0 0 exk 0 0 oth exk oth 0 0 hnungbthmi 30 kha aebngepn 4 bath 3 bathaerk bathla 7 kha baththisi 9 kha aetlabathaebngepn 2 wrrkh wrrkhaerk 5 kha wrrkhhlng 2 kha ewnbathsudthay 4 kha misrxyid 2 aehng okhlngbngkhbexk 7 oth 4 tamtaaehnng smphskhathi 7 bathaerkkbkhathi 5 khxngbaththisxngaelabaththisam kbsmphskhathi 7 baththisxngkbkhathi 5 baththisi exkothinbathaerkxacslbthiknid aelaxnuolmihichkhatayaethnexkid dngtwxyang esiyngluxesiyngelaxang xnid phiexyesiyngyxmyxysikhr thwhlasxngekhuxphihlbihl lumtun viphisxngphikhidexngxa xyaidthamephux a lilitphralxokhlngtriephchrthnthi 0 0 0 exk oth 0 x 0 0 0 exk x 0 0 exk oth0 0 exk 0 x 0 exk 0 0 0 exk 0 0 oth exk oth 0 0 okhlngtriephchrthnthiniaesdngiwaettwxyang aetxacsngektiwwaehmuxnokhlngsisuphaph aeteluxnsmphsinbaththisxng cakedimkhathi 5 ipepnkhathi 3 aethn dngtwxyang pangnnsxngrachith dabssaphimtipma klawaekwprathanrachexars sxngrachewnaetchuchkaelw cungithchmthan a mhachatikhahlwng skkbrrph incindamni chbbhlwngwngsathirachsnith eriykokhlngaebbniwa okhlngtriphithphrrn okhlngctwathnthi 0 0 0 exk oth 0 x 0 0 0 exk 0 x 0 exk oth0 0 exk 0 x 0 exk 0 0 0 exk 0 0 oth exk oth 0 0 okhlngctwathnthi kkhuxokhlngsisuphaphthieluxnkharbsmphsinbathisxngcakkhathi 5 maepnkhathi 4 nnexngtamtwxyang okhlnghnungnamaecngct wathn thivibngkhbrbknaesdng xyangphrxngkhbwraebbaeybylphn aephkchnid xunexythisibthsxngkhlxng thxnthaybthpthm aokhlngkhbim 0 0 0 0 oth 0 x 0 0 0 0 0 0 x 0 oth0 0 0 0 x 0 0 0 0 0 0 0 0 oth 0 oth 0 0 okhlngkhbim epnokhlngsisuphaphthiimbngkhbexk bngkhbaetothsiaehng bathaerkothcaxyukhathi 4 hrux 5 kid ihaetngkhrngla 2 bth mismphsrahwangbthdwy twxyang phraekiyrtirungfungefuxng lichathwthwnthukthisa nxbnxmthrngnamithexka thsrthkrastrmakhunphrxm bewnskkhn a edchphrabarmiln xnntcknbdwykpklp viidsmpharphulaetbrrph naenkyingbaephngephimiw krabeklaomthna aokhlngkrathu okhlngkrathu epnlksnaphiesskhxngkaraetngokhlng odybngkhbkhakhuntnaetlabathkhxngokhlngswnmakmkichaetngkbokhlngsi sungkachy rabuwa okhlngkrathukhuxokhlngsisuphaphnnexng bathlahnungkha eriykwa krathuediyw bathlasxngkha eriykwa krathukhu bathlasamkha eriykwa krathusam bathlasikha eriykwa krathusi dd dd lksnakarichkrathuxacichkhaediywknthukbath hruxkhatangchudknkid thaepnkhaediywkneriykwa krathuyun khathinamaepnkrathuxaccamikhwamhmayhruximkid echn tha lum pum pu xacepnkhakhlxngcxngkid echn hwlanidhwi tabxdidaewn hruxxacmikhxkhwamxunidtamkhwamprasngkhkhxngphupraphnth twxyangokhlngkrathu tha lum pum pu tha aeklwsakekluxnfun xyuthyalum aehngeluxdnata thwmhlapum xithfunthraysa marthklawpu aephsccakla pawfadinfng a krathuphma okhlngkrathukwimkichaetngthayeruxng ephuxbxkcudmunghmayinkaraetnghruxchuxphuaetng nxknnaetngaethrkiwinwrrnkrrmephuxephimkhwamipheraa aesdngkhwamsamarthkhxngphuaetng nxkcaknikwixaccaddaeplngokhlngkrathuihphisdartamkhwamprasngkhkid echn krmhlwngwngsathirachsnith thrngaetngkaphysurangkhkhnangkh 28 canwn 5 bth aelwnakhainkaphyaetlawrrkhaeykepnkrathuediywinokhlngkrathu 35 bth hruxnaychit burtht aetngwichchumalachnth 4 bth aelwnakhainaetlawrrkhipaeykepnkrathuediywepnokhlng 32 bth epntn okhlngsidn incindamnichbbphraohrathibdi eriykwa chnthcrrolngklxndn aelamiidxthibayxair ephiyngaetyktwxyangokhlngiwethann txmaincindamnichbbhlwngwngsathirachsnithcungpraktaephnphngsmburn aelacaaenkokhlngdnxxkepn 2 chnid khux okhlngdnwiwithmali aelaokhlngdnbathkuychr tamlksnakarsngsmphsrahwangbth dngtwxyang 0 0 0 exk oth 0 x 0 0 0 exk 0 0 0 exk oth0 0 exk 0 x 0 exk 0 0 0 exk 0 oth oth exk y0 0 0 exk oth 0 x 0 0 0 exk 0 0 y exk oth0 0 exk 0 x 0 exk 0 0 0 exk 0 oth oth exk 0okhlngdnwiwithmali hnungbthmi 28 kha 4 bath bathla 7 kha aebngepnbathla 2 wrrkh wrrkhaerk 5 kha wrrkhhlng 2 kha exk 7 oth 4 ehmuxnokhlngsisuphaph tangknthitaaehnngexkothinbathsudthay khathi 4 5 epnothkhu sngsmphsrahwangbthaehngediyw khux khasudthaybthaerkipyngkhathi 5 inbaththisxngkhxngbthtxip dngtwxyang echlngklokhlngxyangdn brryayesnxchuxwiwithmali elhnipwngprachythwthwyhlay niphntheln ethxyphxyleyiyngchbbphunchi echnaethlng a epnxaphrnaekwkxng kaykrawi chatiexyxatmoxoxphasaesng swanghlaethkilekiyrtiekrinthrni thukaehlng hlanalithwdinfafung efuxngkhun a okhlngdnbathkuychr bngkhbehmuxnwiwithmali aetsngsmphsrahwangbth 2 aehng cakkhasudthaybaththi 3 bthaerkipyngkhathi 4 hrux 5 khaexk khxngbthtxip kbkhasudthaybaththi 4 bthaerkipkhathi 5 baththisxngkhxngbthtxip dngtwxyang xikokhlngdnhnung phungylbxkechnbathkuychr chuxxangwithithielbngkl aeplkkxnyakkwabrrphaesrngsrang xunaeplng a sxngrwdklxnhxnphlng phidphcnechksiechingsaraesdng yangphaysmphsthwthukbth viekhluxn khlayexybngdngbathkhangyay txtam aokhlngsiintarakaphy enuxngcakokhlngcaktarakaphyimpraktxyuinwrrnkrrmeruxngidely mixyuaetintaraaetngkhapraphnthethann prachyrunkxnmkeriykokhlngehlaniwa okhlngobran kaphysarwilasini inkhmphirkaphysarwilasinimiokhlngxyu 8 chnid idaek wichchumali mhawichchumali citrlda mhacitrlda sinthumali mhasinthumali nnththayi aelamhannththayi milksnaednkhux imbngkhbexkoth bngkhbaetcanwnkha aelasmphs okhlng 8 chnidthiddaeplngmacakkaphysarwilasinidngklawyngxacaebngidxikepnsxngklum dngtxipni klumthihnung epnokhlngthimiyisibaepdkha hnungbthmisibath hnungbathmisxngwrrkh wrrkhhnamihakha wrrkhhlngmisxngkha rwmepnyisibaepdkha idaek 1 okhlngwichchumali 2 okhlngcitrlda 3 okhlngsinthumali aela 4 okhlngnnththayi okhlngklumnisngektidcakkarthimiwrrkhsudthaykhxngbthephiyngsxngkha klumthisxng epnokhlngthimisamsibkha hnungbthmisibath hnungbathmisxngwrrkh wrrkhhnamihakha wrrkhhlngmisxngkha ykewnwrrkhsudthaykhxngbthmisikha rwmepnsamsibkha idaek 1 okhlngmhawichchumali 2 okhlngmhacitrlda 3 okhlngmhasinthumali aela 4 okhlngmhannththayi okhlngklumnisngektidcakkarthimiwrrkhsudthaykhxngbthephiyngsikha aelamikha mha nahnachux okhlngwichchumali aelaokhlngmhawichchumali wichchumali aeplwa miraebiybkhaklawprahnungwasayfaaelb mhawichchumali aeplwa miraebiybkhaklawprahnungwasayfaaelbihy dd twxyangokhlngwichchumali dd khaphraphuththekla muninthrlaylksnphrabathhtth wicitrchnnikrihwxacin khunkhatngkrahmxmkhanity ethamrn a twxyangokhlngmhawichchumali dd khaphraphuththekla muninthrlaylksnphrabathhtth wicitrchnnikrihwxacin khunkhatngkrahmxmkhanity txethaemuxmrn a okhlngcitrlda aelaokhlngmhacitrlda citrlda aeplwa miraebiybkhaekiywphnknprahnungwaekhruxethaxnngam mhacitrlda aeplwa miraebiybkhaekiywphnknprahnungwaekhruxethaxnngamying dd twxyangokhlngcitrlda dd phracnthrephngphakhaephw srthkalchchwngochtiphrayngam rungfaihkhnchunbannity thukhmursmieruxngklaaehlng ewha a twxyangokhlngmhacitrlda dd dd phracnthrephngphakhaephw srthkalchchwngochtiphrayngam rungfaihkhnchunbannity thukhmursmieruxngklaaehlng aehnghwngewha a okhlngsinthumali aelaokhlngmhasinthumali sinthumali aeplwa miraebiybkhaklawprahnungwaraebiybkhluninaemna mhasinthumali aeplwa miraebiybkhaklawprahnungwaraebiybkhluninaemnaihy dd twxyangokhlngsinthumali dd khaaetphraphuththeca icprachyrsmixngkhoxphas rungfaphrasuresiyngephraachlad olmolkstburusthwhla chmnity a twxyangokhlngmhasinthumali dd khaaetphraphuththeca icprachyrsmixngkhoxphas rungfaphrasuresiyngephraachlad olmolkstburusthwhla chmnitychunthrrm a okhlngnnththayi aelaokhlngmhannththayi nnththayi aeplwa miraebiybkhaklawepnthiihsungkhwamephlidephlinaekbukhkhlphufng mhannththayi aeplwa miraebiybkhaklawepnthiihsungkhwamephlidephlinaekbukhkhlphufngying dd twxyangokhlngnnththayi dd phrasuriythrngedch esdcchayhawhnphrayphrayeruxng rungerapthumikrphayklib rskhliechkphraphuththecatrs etuxnolk a twxyangokhlngmhannththayi dd phrasuriythrngedch esdcchayhawhnphrayphrayeruxng rungerapthumikrphayklib rskhliechkphraphuththecatrs etuxnolkehnthrrm a kaphykhntha inkhmphirkaphykhntha miokhlngsixyu 2 chnid khux thikhpkkh aelarsspkkh milksnaednechnediywkbokhlnginkaphysarwilasini khux imbngkhbexkoth kahndaetcanwnkhaaelasmphs okhlngthikhpkkh thikhpkkh aeplwa mifkfayyaw ephraakharbsmphsphxnyawxxkipthukbath tngaetkhathi 5 4 3 tamladb dd 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 0 x 0 y0 0 0 x 0 0 00 0 y 0 0 0 0 hyingdakhaekliyngying misithrrmxunethiymkhnti ipidkhachawburiiph eraaphxstwsbiklsihli hlbaesyng a okhlngrsspkkh rsspkkh aeplwa mifkfaysn ephraakharbsmphskhngthikharbkhathi 5 thukbath dd 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 0 x 0 00 0 0 0 x 0 00 0 0 0 x 0 0 0 0 chnidhlngelhekux klkamluelhkielsram runerachnnncaphnkhwam thukkhvikrawiphungewnkham aehnghwngkama a epnthinasngektwa aemokhlngchnidtang inkhmphirkaphycabxkwamiidbngkhbexkoth aettwxyangthiihiwswnihymkmiexkoth tamtaaehnngthiednkhxngokhlngsiesmx okhlngsithiphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhwthrngpradisthkhun phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw thrngddaeplngsmphskhxngokhlngintarakaphysarwilasinithng 4 chnid aelwthrngeriykwa okhlngobranaephlng dngtwxyang okhlngwichchumaliaephlng epliynkarrbsmphscakkhathi 5 baththisiepnkhathi 4 baththisiaethn dd 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 0 0 0 y0 0 0 0 x 0 00 0 0 y 0 0 0 khaaetphraphuththekla muninthrlaylksnabathhtth wicitrchnnikrihwxacin khunkhatngkrahmxmnitykha dusdi a okhlngcitrldaaephlng epliynkarrbsmphsinbaththisi cakkhathi 4 maepnkhathi 5 dd 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 0 0 0 y0 0 0 x 0 0 00 0 0 0 y 0 0 phracnthrephyaephw srthkalchachwngochtiphrayngam rungfaihkhnchunbannity thukhmursmieruxngorcnkla ewha a okhlngsinthumaliaephlng epliynkhasmphsinbaththisi cakedimkhathi 5 maepnkhathi 4 dd 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 0 x 0 y0 0 0 0 x 0 00 0 0 y 0 0 0 khaaetphraphuththeca icprachyrsmixngkhoxphas rungfaphrasuresiyngephraachlad olmolkstburussaesk chmnity a okhlngnnththayiaephlng epliynkhasmphsinbaththisi cakedimkhathi 5 maepnkhathi 4 dd 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 x 0 0 y0 0 0 x 0 0 00 0 0 y 0 0 0 phrasuriyathrngedch esdcchayhawhnphrayphrayeruxng rungerapthumikrphayklib rskhliechkphraepnecatrs etuxnolk a nxkcakni dwykarepliynaeplngkarsngsmphs phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw thrngpradisthokhlngeliynaebbokhlngintarakaphy khuximbngkhbexkoth xik 4 aebb ichinphrarachniphnthkthanmskarphraphuthth phrathrrm phrasngkh aelaphrartntry khux okhlngwchiramali okhlngmuktamali okhlngrtnamali aelaokhlngcitramali dngtwxyang okhlngwchiramali 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 x 0 0 y0 0 0 0 x 0 00 0 0 0 y 0 0 xngkhphraphuththeca okhbalsxnthrrmsmancit stburusnaaenwsunirphan phnthukkhphranrasphsuththi sasda aokhlngmuktamali 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 x 0 0 y0 0 0 0 x 0 00 0 0 y 0 0 0 thrrmchatidierkrung chwlitnxmnadwngcitrcr suchxbslaitrthucrit ehnothsthrrmadngkxbaekw okythxng a okhlngrtnamali 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 0 x 0 y0 0 0 x 0 0 00 0 0 0 y 0 0 xikphxngsawkeca thrngcakahndbthphrathrrm sxnolksngkhpraducnathang rxdbapehmuxnchwyihsangosk sudphy a okhlngcitramali 0 0 0 0 0 0 x0 0 0 0 x 0 y0 0 0 x 0 0 00 0 0 y 0 0 0 itrrtnchngdying ethwyikhrphungphungsuswrrkh aemnaethitrrtnyxmknphy xubathwikhrphungthungaemthukkh esuxmsuy a khwamaetktangkhxngokhlngsiinwrrnkrrmkbokhlngsiintarakhapraphnth okhlngsipraktinwrrnkrrmtngaetsmyxyuthya odyinsmyxyuthyatxntn epnokhlngsisuphaph 3 eruxngkhux lilitphralx okhlngnirashriphuychy okhlngmngthratiechiyngihm okhlngdnmi 1 eruxngkhux lilitywnphay smyxyuthyatxnklangokhlngsiepnthiniymthisud miwrrnkrrmaetngdwyokhlngsithung 9 eruxng idaek okhlngeruxngphalisxnnxng okhlngthsrthsxnphraram okhlngrachswsdi kasrwlokhlngdn okhlngechlimphraekiyrtiphranaraynmharach okhlngnirasnkhrswrrkh kaphyhxokhlngaelaokhlngxksrsamkhxngphrasrimohsth aelaokhlngthwathsmas incanwnniepnokhlngsisuphaph 7 eruxng okhlngsidn 2 eruxng smythnburimi 2 eruxngkhux okhlngyxphraekiyrtiphraecakrungthnburi aelalilitephchrmngkud smyrtnoksinthr kwiniymaetngkhapraphnthpraephthklxn wrrnkrrmthiaetngdwyokhlngedn idaek okhlngdnechlimphraekiyrtiphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly okhlngnirastamesdclananxy lilittaelngphay okhlngdnptisngkhrnwdphraechtuphn okhlngnirasnrinthr lilitnaraynsibpang aelasamkrung epntn okhlngsithikwiniymichinwrrnkrrmkhuxokhlngsisuphaphaelaokhlngdnthipraktxyuincindamni swnokhlngsiintarakaphyimphbwakwiichaetngwrrnkrrm nxkcakngankhxngphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhwethann wrrnkrrminaetlasmy kwiichokhlngthimilksnabngkhbaetktangcaktarachnthlksnsrupid 3 khxihy khux 1 karbngkhbexk oth mikarichlksna exk 7 oth 5 aelaichothkhuinokhlngsisuphaph echn lilitphralx mhachatikhahlwng okhlngmngthrarbechiyngihm aelaokhlngnirashriphuychy 32 khwamkhidphidritid khwamxay phiexyhyingsuxchkchwnchay suhyawecbephuxwaaehnngtay dikwa isrnaephuxhakrkthawthaw imruckephux a33 iphxnehluxkhidkha khidphid aemnakhidsingepnklchid chxbaethmdhmxaehngidsiththi cksu thaemihlxblxngthawael xyuidchnid a lilitphralx mikarichexk 7 oth 3 aelaimichothkhuinokhlngsidn echn lilitywnphay okhlngthwathsmas kasrwlokhlngdn aelaokhlngdnechlimphraekiyrtiphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly 7 phramlangthawthw thrnixnxacexaklexa lxeliyngphramakxphumi swrrachxnxyuodyyukhtiephiyng phangxary a8 phramaaemnsathusxng thwayphr ephimaehmasaaedngchychay echiywaeklwphramarbalbr thukthwip isaehmasaaedngvththiaephw aephndin a lilitywnphay dngnn haknbcakkhxmulinwrrnkrrm okhlngsi cungkhwrmi 4 rupaebbkhux okhlngsisuphaph exk 7 oth 4 okhlngsisuphaph exk 7 oth 5 othkhu okhlngsidn exk 7 oth 4 okhlngsidn exk 7 oth 3 othediyw 2 karsngsmphs smphsrahwangbath intarachnthlksnkahndsmphsrahwangbathkhxngokhlngiw 4 aebbkhux aebbokhlngsisuphaph aebbokhlngtriephchrthnthi hruxokhlngtriphithphrrn aebbokhlngctwathnthi aelaaebbokhlngsidn thngnikarkahndtriphithphrrn hrux ctwathnthikahndthikharbsmphsinbaththisxng swnbathxun bngkhbrbsmphskhathi 5 aetethathipraktinwrrnkrrm kwimixisrathicarbsmphsinkhathi 3 4 hrux 5 khxngthukbathinokhlngdn aelaeriyktamlksnakharbsmphswa triphithphrrnhruxctwathnthidwy echn triphithphrrninbathisam ctwathnthiinbaththi 4 ernghmnehluxhmnying ewiyngehlkmikaaephngaelngeluxn txtayhwemuxngetkesiyngklaw aekbawthngkhwathngsaythwn hmuhmay a kasrwlokhlngdn ctwathnthi rbsmphskhathi 4 bathsamaelasi thsphiththrrmomchaeth thssknththsphsduaesdngths eklsklwthskayphlths phlphakhy kdithsxsuphhmwhxm hxsknth a lilitywnphay smphsrahwangbth odythwipkarsngsmphsrahwangbthkhxngokhlngsiinwrrnkrrmmi 3 aebb khux aebbthi 1 sngcakkhasudthaykhxngbthaerk ipyngkhaidkhahnunginwrrkhaerkkhxngbthtxip mkichkbokhlngsisuphaph aebbthi 2 sngcakkhasudthaybthaerkipyngkhathi 4 hrux 5 baththisxnginbthtxip ichkbokhlngsidnwiwithmali aebbthi 3 sngcakkhasudthaybath 3 inbthaerkipyngkhathi 3 4 hrux 5 inwrrkhaerkbthtxip kbcakkhasudthaybath 4 inbthaerk ipyngkhathi 4 5 inwrrkhaerkbathsxngkhxngbthtxip ichkbokhlngsidnbathkuychr aetxyangirktam yngmiwrrnkrrmbangeruxngsngsmphsrahwangbthxxkip echn inmhachatikhahlwng knthmhaphn miokhlngsisuphaphaelaokhlngtriphithphrrnsngsmphsrahwangbthaebbokhlngbathkuychr incidamni miokhlngkhbimsngsmphsrahwangbthaebbokhlngwiwithmali inlilitnaraynsibpang aelaphranlkhahlwng miokhlngsidn aelaokhlngintarakaphy sngsmphsrahwangbthaebbokhlngsisuphaph 3 karichkhasrxy tamtarachnthlksnkahndiwwa okhlngsimisrxyidsxngaehngkhuxthaywrrkhaerk aelathaywrrkhthisam aetinwrrnkrrmkwithuksmytngaetxyuthyacnkrathngthungrchkarthi 6 aehngkrungrtnoksinthr aetngokhlngsiodymisrxy 3 aehng khux misrxyinbathi 4 dwy thngokhlngdn aelaokhlngsisuphaph twxyang ochmaemckfakfa ekrngxinthr hyxknaxinthrthanethxkochmexa sufaochmaemckfakdin dinthan aelwaehdinvkhdecahla susmsxngsm a ochmaemfaknanna xrrnph aelvieyiywnakhechychmxk phiihmochmaemraphungcb cxmswasdi kuexyochmaemikhrsngwnid ethaecasngwnexng a kasrwlokhlngdn tixkoxlukaekw klxyic aemehyecaaemmaepnid dngnismbtiaetmiin phaphaephn eranaxenkbruki oktiiwckya phxna a lilitphralx crungphcncrdthxyhang thangkwiyngthiwaratri imnxyethphidhvthymi maonchyechiychwyxwyihkhxy khlxngthxykhaaethlng ethidra a samkrung dngnncungsrupidwa okhlngsiwrrnkhdimikarichsrxythng 3 aehng khux bathaerk baththisam aelabaththisi okhlngha okhlngha epnkhapraphnththipraktxyuinwrrnkrrmephiyngeruxngediyw khux lilitoxngkaraechngna sungepnwrrnkrrmrxykrxngyukhaerkkhxngithy aelaimpraktwatxmamikwiichokhlnghaaetngwrrnkrrmeruxngidxikely incindamni chbbphraohrathibdi klawthungokhlnghaiwephiyngyktwxyangkhapraphnthchux mnthkkhtiokhlngha odyimmikhaxthibay aetyktwxyangthisxngwaepn xyangokhlngaechngnaphraphthn sungkkhux lilitoxngkaraechngna nnexng miphuphyayamxthibaychnthlksnkhxngokhlnghaxyuhlaykhnidaek phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw hmxmecacnthrcirayuwthn rchni ph n pramwymarkh phrayaxupkitsilpsar aelacitr phumiskdi khaxthibaykhxng citr phumiskdi khxnkhangcaminahnkmakkwakhxsnnisthankhxngkhnxun odymikhxsnbsnuncaklksnaokhlnglawthipraktinwrrnkhdilanchangeruxng odycitr xthibaywa okhlnghaepnokhlngdnchnidhnung mibathla 5 kha niymaetnginxanackrlawlanchangyukhobran sngsmphsaebbokhlngbathkuychr aelaxacephimkhatnbath rwmthngmisrxyidthukbath thngyngsamarthtdichephiyngbthla 2 3 bath idechnediywkbokhlnglawdwy xikthngemuxcdwangrupaebbchnthlksntamthicitresnx mikhwamepnipidkhxykhangmak twxyangokhlngha caklilitoxngkaraechngna cdtamrupaebbthicitraenana nana xenknaw edimklpckra ckraphal emuxihmklawthung trawnecd xnphlungnaaelngikh khxdhay a ecdpla mnphunghla epnifwab cturabay aephnkhwachkitrtrungs epnephaaelbla silxng a smrrthyan khwrephraaekla khrxngphrhmfungethph nxngbnpan ebiydaepngsrlmetm phrasuthawasfaaecngcxd nioroth a klawthung nafafad fxnghawdbedoch chahlapladindaw eduxnaexnlmklapwn ipma aphthnakarkhxngokhlngkwiinaetlasmyidsxdaethrkpradisthkartang iwinkaraetngokhlng ephuxihngankhxngtnmilksnaednepnphiesskhunkwathrrmda cakkarsuksawiekhraahwrrnkrrmkhaokhlnginaetlasmyphbwamilksnarwmsmybangprakarthiidphthnamaepnkhnbkaraetngokhlng sungthuxwaepnlksnathiephimkhwamipheraaaekokhlngnxkehnuxcakchnthlksnpkti idaek phthnakarichkha karnbkhainrxykrxngthaid 2 aebb khux nbaeykhnungphyangepnhnungkha kbnbrwmhlayphyangkhepnhnungkha sungaetlaaebbcaihrskhxngokhlngthitangkn karaetngokhlngodynbaeykhnungphyangkhepnhnungkha thaihesiyngkhxngokhlngminahnkchdecn phbinngansmytnxyuthyaepnswnihy odykwiephimkhwamipheradwykarsakhahruxsaesiyngphyychna kareluxkichkhahnkebaephuxsuxxarmn twxyangechn rbinrebiybthaw ebaranrbxbrbbyl yingphuraebiybrbikary eklakaphy kdirebxdrbdru rxbsrrph a lilitywnphay esiyngohyesiyngihmi eruxnhlwngkhunhmunmntripwng pwysaeruxnrasdrratithrwng thukkhthw knnaemuxngcaeynepnna yxmnatakhrwy a lilitphralxkaraetngokhlngodynbrwmhlayphyangkhepnhnungkha cathaihesiyngkhxngokhlngsabdihw micnghwahnk eba ekidkhwamipheraaaeplkhu kwiphuchxbaetngokhlnglksnani idaek smedcphranaraynmharach smedcphraecaxyuhwbrmoksth sunthrphu krmphranrathippraphnthphngs aela n m s twxyang phraxnuchakhaaeklngklaw klxnthwayphyychnakhladbathklayhlay aehngphlngphidxrrthakhcdkhcayplay slayslaaemnphladpramathpramanyng othsaraykhcayesiy a smedcphraecaxyuhwbrmoksth mhasdakhaiktn thndihangtaekhenraphusri smkungchaeluxdehmuxdkhnmi smxphiephph exkexylmpwnthwnhxmfung epluxkimibya a okhlngnirassuphrrn karewkhruxwiewkrxng rangmswrrkhesnaamiehmuxnesnaachnth esnaasungprakayfasuriyacnthr aecrmolk ichnviemkhphybxbaesngsaxung xramaephpraphnthechly a krmphranrathippraphnthphngs smbtikhtiyphu phdungkhnthekhruxngrachkkuthphnth khuaekhwnchtrtngdngixswrry eswyrachykhnkybthrphyaern sudhlahaihn a samkrungphthnakardankarichsmphsin karichsmphsxksr okhlngthiaetngodyichsmphsxksrcaihnaesiynghnkaennchdecnkwaokhlngthiichsmphssra aelaipheraakwaokhlngthiimichsmphsely esrcphrathangekhruxngtn aetngkay thannaswmsxdsnbephlaphray xaekhuxphusitphicitrlay aelelis aelwaehthrngsuphaphrnesux ekraaaekwkxngsri a lilittaelngphay phrayatrngkhphumibal aelakrmsmedcphraprmanuchitchionrs epnphunaaebbaephnkarissmphsxksrinkhathi 5 kb 6 thukbath ebycsilthrngsvsdisxng esphyniphthth kalnabapebuxvirangrkhn khadaethebycawithewrsngd sngbrangb ehuxdehythwthucritewnaew wangam a prachumcakrukwdphraechtuphnkarichsmphssra niymichechphaainokhlngsisuphaphephraachwythaihesiyngkhxngokhlngxxnhwankhun smedcphranaraynmharachthrngphrarachniphnthokhlngsisuphaph odykahndsmphssraxyangepnrabbinkhathi 2 3 hrux 3 4 khxngthukbath lksnaechnnipraktinngankhxngphrasrimohsth aelaphraecaxyuhwbrmoksthdwy twxyang ratrisrisxngfa aesdngochmaesngswangklangophym aecmfamhrsphcbkarolm icolkyepiynbayrayeriynghna nnglxmelngael a kaphyhxokhlngphrasrimohsth sunthrphu rbxiththiphlkaraetngokhlngaebbmismphssraechnnimaichinokhlngnirassuphrrn aelwephimsmphssraxikaehnginkhathi 7 8 khxngbaththisam aelakhathi 8 9 khxngbathsudthay rwmthngephimsmphsxksrinkhathi 5 6 aelasmphsinxun tamxtlksnxikdwy twxyang rxkaetaeloldeliyw oldophnnkhkckcikocn cbimyangecaehlayangothn thxngethiyw ehyiywexyochbchabkhabplaid dwnkhunklunkin a okhlngnirassuphrrnphthnakardanchnthlksn citr phumiskdi idesnxchnthlksn odyprbprungcakchnthlksnokhlnghainoxngkaraechngna odykahndihhnungbthmisibath hnungbathmihakha aebngepnsxngwrrkh wrrhnasamkha wrrkhhlngsxngkha bngkhbexk 4 oth 4 smphsehmuxnokhlngsisuphaph srxyehmuxnsrxyokhlngdn exkothwrrkhaerkxacslbthiknid aelaothkhuwrrkhthisixacxyuaeykknid dngtwxyang 0 exk oth 0 x 0 0 0 0 x exk oth0 0 x 0 exk 0 0 0 oth oth exk 0 0 0 krungethphkhlung khawhunkhwnkamklun klbihmdawklangkhun khlumthabemuxngrxngih ehuxdkhwy a nafafad fxnghawkhuxkamchaw chumfaklinsabsaw kasabkamyxmhla aehlngsyam a dawklangkhun skdisiri mismsub kwirangwlsiirt idbidchnthlksn ephimsmphsihmihkbokhlngsi odyephimsmphskhathi 7 kbkhathi 5 khxngbaththdip xyangsmaesmx khlaykbray twxyangokhlngcakhnngsuxrwmbthkwi muxnnsikhaw phichayswmhnakak phiraynxngsawhwidwidway wunwingphioynhnakakthing aeymaechngnxngnxywingriaeyng chkhnakakswm a edknxyswmhnakak yxdmnusyehinfakfaerngrud oldliwaetethayngechiydchiw yxdhyaedknxykhrngthxdhna ecxahnaenuxhnx a khxmulekiywkbokhlngthinaesnxmani cachwyphusuksakwiniphnthkhxngithyekhaicchnthlksnkhxngokhlngchnidtang aelalksnaphiesskhxngokhlnginaetlasmythiphthnamaepnkhnbkaraetngokhlngthithuxwaipheraainpccubniddiyingkhun rwmthngekhaicwakwithuksmyidichesriphaphinkarsrangsrrkhkwiniphnthinkrxbkhxngchnthlksnaetlapraephthtlxdmaxangxingsmedcphraecabrmwngsethx phraxngkhecadiswrkumar krmphrayadarngrachanuphaph 2475 5 mithunayn tananokhlng chnth kaphy klxn bnthuksmakhmwrrnkhdi m p th mni phyxmyngkh 2513 prawtiaelawrrnkhdilanna mpth hna 196 nphdl cnthrephy aelakhnxun 2520 rxykrxng krungethph thenswrkarphimph hna 41 krmsilpakr 2512 cindamni elm 1 2 kbbnthukhnngsuxcindamni aelacindamnichbbphraecabrmoks krungethph orngphimphrungwthna hna 37 40 rachbnthitysthan 2546 phcnanukrmchbbrachbnthitysthan ph s 2542 xxniln ekhathungidcak http rirs3 royin go th dictionary asp 2009 03 03 thi ewyaebkaemchchin 1 phvsphakhm 2551 wraphrn barungkul 2542 rxykrxng krungethph tnxx 1999 hna 50 51 suphaphr makaecng kwiniphnthithy 1 krungethph oxediynsotr 2535 phrayaxupkitsilpsar nim kaycnchiwa 2514 chumnumniphnth x n k krungethph orngphimphkhuruspha siththi phinicphuwdl aelakhnxun 2515 khwamruthwipthangwrrnkrrmithy krungethph orngphimphswnthxngthin krmkarpkkhrxng prathip wathikthinkr aelasiththa phinicphuwdl 2516 rxykrxng krungethph mhawithyalyramkhaaehng kachy thxnghlx 2519 hlkphasaithy krungethph ecriyrtnkarphimph aehlngkhxmulxunrxykrxngithy okhlngbthkhwamwrrnkrrmniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk