เหงื่อ เป็นชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน
เหงื่อประกอบด้วย น้ำ(H2O) 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์(NaCl) ยูเรีย (CO(NH2)2) น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม(K) แมกนีเซียม(Mg) สังกะสี(Zn)
ชนิดของเหงื่อ
เหงื่อที่ผลิตจาก Eccrine Sweat Glands
ต่อมเหงื่อชนิดนี้พบทั่วตามร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง ซึ่งจะผลิตเหงื่อที่มีลักษณะใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น เพราะร่างกายจะขับเหงื่อชนิดนี้ออกมาเมื่อทำกิจกรรมหนักๆ หรืออยู่ในสภาวะอากาศร้อน
เหงื่อที่ผลิตจาก Apocrine Sweat Glands
ต่อมเหงื่อชนิดนี้กระจายตัวอยู่บางแห่งของร่างกาย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ทวารหนัก หัวหน่าว ก้น แผ่นหลัง เหงื่อที่ได้จะมีลักษณะเหนียวใสและมีส่วนผสมของไขมันอยู่มากจึงทำให้เหงื่อชนิดนี้มีกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำหน้าที่ในการกระตุ้นอารมณ์เพศจึงเป็นคนละกลิ่นที่เกิดจากการหมักหมมของขี้ไคล
การขับเหงื่อ
เหงื่อจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นกับ "ความร้อน" และ "อารมณ์" ซึ่งทำให้สมองหลั่งสารเคมีชื่อ แอซีทิลโคลีน (Acetylcholine) ที่อยู่บริเวณออกมากกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ผลิตเหงื่อ
ปริมาณเหงื่อของแต่ละคนขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ อากาศ ความผันผวนของอากาศ ซึ่งอากาศร้อนมีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้เหงื่อออกมากกว่าวันที่ฝนตกซึ่งมีความชื้นในอากาศต่ำ
กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน หากต้องออกแรงมากจะทำให้เหงื่อออกมากซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่ไม่ค่อยจะออกแรง
โรคบางชนิดสามารถทำให้ปริมาณของเหงื่อเปลี่ยนแปลงได้ เช่น โรคเครียด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือคอพอก วัณโรค เบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะใกล้หมดประจำเดือน สิ่งเหล่านี้ทำให้เหงื่อออกมาก ส่วนโรคผิวหนังไม่ว่าจะเป็นผด ผื่น สะเก็ดเงิน ผิวหนังแตกหยาบ ไมเกรนจะทำให้เหงื่อออกน้อย
อ้างอิง
- นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พศจิกายน 2551
แหล่งข้อมูลอื่น
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ehngux epnchnidhnungthirangkaykhbxxkmainrupkhxngehlw aelacakhbxxkmathangphiwhnnghruxtamsxktangkhxngrangkay mkmirsekhmephraamiekluxepnswnprakxb karxxkkalngkayhruxewlaxakasrxnkmiehnguxidechnknhydehnguxbnibhna ehnguxprakxbdwy na H2O 99 swnxik 1 idaek osediymkhlxird NaCl yueriy CO NH2 2 natal ikhmn krdxamionbangchnid ophaethsesiym K aemkniesiym Mg sngkasi Zn chnidkhxngehnguxehnguxthiphlitcak Eccrine Sweat Glands txmehnguxchnidniphbthwtamrangkay idaek phiwhnng sungcaphlitehnguxthimilksnaisehmuxnna immiklin ephraarangkaycakhbehnguxchnidnixxkmaemuxthakickrrmhnk hruxxyuinsphawaxakasrxn ehnguxthiphlitcak Apocrine Sweat Glands txmehnguxchnidnikracaytwxyubangaehngkhxngrangkay echn rkaer khahnib thwarhnk hwhnaw kn aephnhlng ehnguxthiidcamilksnaehniywisaelamiswnphsmkhxngikhmnxyumakcungthaihehnguxchnidnimiklin sungklinehlanithahnathiinkarkratunxarmnephscungepnkhnlaklinthiekidcakkarhmkhmmkhxngkhiikhlkarkhbehnguxehnguxcaekidkhunemuxrangkaykhxngerasmphskbsingkratunkb khwamrxn aela xarmn sungthaihsmxnghlngsarekhmichux aexsithilokhlin Acetylcholine thixyubriewnxxkmakkratuntxmehnguxihphlitehngux primanehnguxkhxngaetlakhnkhunxyukb 3 pccy khux xakas khwamphnphwnkhxngxakas sungxakasrxnmikhwamchuninxakassungcathaihehnguxxxkmakkwawnthifntksungmikhwamchuninxakasta kickrrmthithainaetlawn haktxngxxkaerngmakcathaihehnguxxxkmaksungtrngkhamkbphuthiimkhxycaxxkaerng orkhbangchnidsamarththaihprimankhxngehnguxepliynaeplngid echn orkhekhriyd txmithrxydepnphishruxkhxphxk wnorkh ebahwan orkhhwic phawaiklhmdpracaeduxn singehlanithaihehnguxxxkmak swnorkhphiwhnngimwacaepnphd phun saekdengin phiwhnngaetkhyab imekrncathaihehnguxxxknxyxangxingnitysarchiwcit chbbwnthi 16 phscikayn 2551aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb ehngux bthkhwamaephthysastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk