พระราชพรหมเถร นามเดิม วีระ อุตตรนที ฉายา คณุตฺตโม เป็นรองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ
พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 (96 ปี) |
มรณภาพ | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 |
นิกาย | มหานิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 |
พรรษา | 61 |
ตำแหน่ง | รองเจ้าอาวาส และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ |
ประวัติ
ก่อนบวช
พระราชพรหมเถร มีนามเดิมว่า วีระ อุตตรนที และในภาษาญี่ปุ่นว่า คูนิโอ คาวาคิตะ (ญี่ปุ่น: 河北国雄; โรมาจิ: Kawakita Kunio) บิดาท่านเป็นชาวญี่ปุ่นนามว่า เอตะ คาวาคิตะ มารดาท่านเป็นชาวไทยนามว่า นางสน อุตตรนที ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ที่ข้างวัดมอญ ตำบลท่าข้าม อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันล้วนเป็นชาย 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 พี่น้องร่วมบิดามารดาประกอบด้วยดังนี้
- นายสนิท อุตตรนที (เสียชีวิตแล้ว)
- พระราชพรหมเถร
- นายณรงค์ อุตตรนที (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตรธิดา 3 คนคือ
- นส.อภิษฎา อุตตรนที
- นายวรพจน์ อุตตรนที
- ดร.ฑกลชัย อุตตรนที
- นายหาญ อุตตรนที (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตรคนเดียวคือนายธีรพจน์ อุตตรนที (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตร 2คน บุตรนายธีรพจน์ยังมีชีวิตอยู่
- รศ.ดร.เดโช อุตตรนที (เสียชีวิตแล้ว)
การศึกษาเมื่อเยาว์วัย
ครอบครัวของเด็กชายวีระ อยู่ที่บางขุนเทียนได้ไม่นานนัก ก็ย้ายไปอยู่สี่พระยา เมื่อเจริญวัยเข้าเกณฑ์การเรียน บิดามารดาก็ส่งไปเข้าเรียนในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นของ เรียนอยู่ได้ 6 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2474 ก็เรียนจบชั้นประถมปีที่ 6 ของโรงเรียน มีความสามารถอ่าน เขียน และพูดภาษาญี่ปุ่นได้ดี ด้วยความขยันหมั่นเพียรมาตั้งแต่เด็ก จึงไม่มีอุปสรรคใดๆ ต่อจากนั้นก็ได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2481 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าเรียนต่อเตรียมปริญญาธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 2 จนถึง พ.ศ. 2483 จากนั้นจึงเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียนในสาขานิติศาสตร์ สอบได้ที่ 1 ใน พ.ศ. 2484 ขณะเรียนอยู่นั้นก็ได้ทำงานไปด้วยในสถานทูตญี่ปุ่น
แต่ชีวิตการศึกษาในมหาวิทยาลัยของคฤหัสถ์วีระ ต้องยุติลงภายหลังจากขึ้นปีการศึกษาที่ 2 เมื่อสหรัฐประกาศสงครามกับประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 อันเป็นการเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคตะวันออกไกล
การอาชีพ
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลงแล้ว คฤหัสถ์วีระไม่ได้กลับเข้าไปศึกษาต่อ แต่ได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย สั่งและส่งสินค้าเข้าและออกจากประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ด้วยความขยันขันแข็ง เอาใจใส่ในหน้าที่ การค้าขายจึงเจริญขึ้นเป็นลำดับ ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีนั้น
พบหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ครั้งที่คฤหัสถ์วีระจะได้พบหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น เป็นปี พ.ศ. 2496 ขณะนั้นอายุได้ 34 ปี วันหนึ่งได้ขึ้นรถเมล์สายตลาดพลู นั่งไปเพลิน ๆ ไม่ได้มีจุดหมาย และได้ปรารภกับตนเองว่า "ในชีวิตนี้คนเราต้องการอะไรกัน" คำตอบคือ "ความสุข" ก็แล้วความสุขนั้นคืออย่างไร จะให้มีจะให้รู้เห็นเป็นได้อย่างไร ปรารภอยู่ดังนั้น รถเมล์ก็วิ่งมาถึงตลาดพลู ที่นั่นคฤหัสถ์วีระได้ลงเรือจ้างที่แล่นไปตามคลองบางกอกน้อย เรือจ้างคิดว่า คฤหัสถ์วีระจะไปรับพระของขวัญของหลวงพ่อที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ จึงได้พาขึ้นท่าเรือที่เรียกกันว่า ท่าไฟไหม้ ข้างวัดปากน้ำ
เมื่อเรือจอดเทียบท่า คฤหัสถ์วีระก็ขึ้นจากเรือ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบว่าขึ้นไปทำไม และก็ได้เดินชมวัดอยู่ แล้วคฤหัสถ์วีระก็ได้เห็นพระภิกษุท่านหนึ่ง ดูน่าเลื่อมใส กำลังฉันภัตตาหารเพลอยู่ ความสง่า องอาจ และบุญราศีของท่าน ทำให้ต้องคิดว่าพระภิกษุท่านนั้นคงจะเป็นพระนักปฏิบัติผู้เคร่งครัดอย่างแน่นอน เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านก็นั่งสนทนากับญาติโยมทั้งหลายที่ไปหานั้น ด้วยปฏิสันถารอันดี พูดจาฉะฉาน โต้ตอบธรรมะได้ลึกซึ้งเป็นพิเศษ
หลวงพ่อพระราชพรหมเถรสนใจในเรื่องวิปัสสนากัมมัฏฐานมาตั้งแต่เด็ก ฟังธรรมที่วัดหัวลำโพง วัดแก้วแจ่มฟ้า วัดมหาพฤฒาราม มีความสนใจในเรื่องนรก สวรรค์ นิพพาน ว่ามีจริงหรือไม่ จะไปดูด้วยวิธีใด ปรารถนาจะพิสูจน์ในเรื่องนี้ ก็ประจวบเหมาะในครั้งนี้ ได้ถือโอกาสขึ้นไปนั่งคุยกับพระอาจารย์ท่านนั้น จึงได้รู้ว่าท่านคือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้ค้นพบพระสัทธรรมวิชชาธรรมกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะนั้นท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระภาวนาโกศลเถร ท่านก็ได้บอกว่า หากสนใจเรื่องนี้ให้มานั่งกัมมัฏฐาน และท่านได้แนะนำหลายอย่างเกี่ยวกับวิธีนั่งภาวนา
เป็นอันว่าคฤหัสถ์วีระในวันนั้นได้ทราบวิธีปฏิบัติจากท่านโดยละเอียด ก่อนจะกราบลาท่านกลับ ท่านบอกว่าให้มาวันพฤหัสบดี ด้วยความต้องการจะพิสูจน์ทดลอง คฤหัสถ์วีระก็ได้กลับไปพบท่านใหม่อีก
บรรลุธรรมกาย
คฤหัสถ์วีระได้มาปฏิบัติพระกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อวัดปากน้ำอยู่ 18 วัน ก็ได้เห็นตามที่อยากรู้นั้น แต่ในขณะนั้น ยังสงสัยอยู่ในใจว่า ที่เห็นนั้นเป็นจริงหรือว่าเป็นมโนภาพ คิดเอาเอง ก็พลันได้ยินหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านว่า "ถ้าเราไปคิดเอาเอง เรานึกเท่าไหร่มันก็ไม่เห็น แต่นี่เราเป็นสมาธิ แล้วมันเป็นวิปัสสนา ถ้าเรานั่งมันก็จะเห็นขึ้นมาเอง" หลวงพ่อวัดปากน้ำได้สอนศิษย์คนใหม่ของท่านในพระสัทธรรมและแก่นแห่งพระศาสนา เมื่อได้เห็นแล้ว ท่านพระอาจารย์ก็ได้กล่าวกับศิษย์ของท่านว่า
ที่บรรพบุรุษของเราได้อุตส่าห์เสียสละเลือดเนื้อก็เพื่อจะปกป้องพุทธศาสนา ซึ่งมีของจริงอย่างนี้
คฤหัสถ์วีระเมื่อได้มาปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใสมากขึ้นตามลำดับ เมื่อใจสบายแล้วจึงได้นึกทบทวนว่า "ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจเรานี้เอง เมื่อใจหยุดก็เกิดความสงบ ครั้นสงบแล้วก็เป็นสุข ดังพระพุทธภาษิตที่ว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าการหยุดนิ่งไม่มี"
นับแต่นั้นมา คฤหัสถ์วีระก็ได้ไปนมัสการหาหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยสม่ำเสมอ บางครั้งก็พำนักค้างแรมที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม บางวันหลวงพ่อก็เรียกเข้าไปนั่งภาวนากับท่าน และสอนการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานอย่างละเอียด คฤหัสถ์วีระปฏิบัติจนได้ธรรมกาย ผ่านครบทั้ง 18 กายแล้ว หลวงพ่อก็ได้สอนวิชชาธรรมกายขั๊นสูงให้ ซึ่งท่านก็สามารถปฏิบัติได้
อุปสมบท
คฤหัสถ์วีระเมื่อได้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเช่นนี้แล้ว จึงได้ตัดสินใจสละเพศคฤหัสถ์เข้าครองผ้ากาสาวพัสตร์ เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 โดยมีพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นที่พระภาวนาโกศลเถร เป็นองค์อุปัชฌาย์ และมีพระครูปัญญาภิรัต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระครูพิพัฒน์ธรรมคณี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า คณุตฺตโม
เผยแผ่วิชชาธรรมกาย
เมื่อท่านได้บวชเรียนแล้ว ก็ได้ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานตามแนววิชชาธรรมกาย กับหลวงพ่อวัดปากน้ำมาโดยตลอด ได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระศาสนาให้เจริญถาวรสืบไป ทั้งในและนอกประเทศ
พระราชพรหมเถรเป็นผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายโดยตรงจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านได้ทำหน้าที่เผยแพร่พระสัทธรรมวิชชาธรรมกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ ทั้งในวัดปากน้ำภาษีเจริญ ที่หอสังเวชนียมงคลเทพนิรมิต ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์ควบคุมการปฏิบัติพระกรรมฐานอยู่ และดำเนินการอยู่อย่างเข้มแข็ง
พระราชพรหมเถร เป็นครูอาจารย์ผู้ประเสริฐของศิษยานุศิษย์ และท่านได้สอนอบรมตักเตือนศิษย์ทั้งหลายด้วยความเมตตาโดยตลอด ท่านสอนหลักธรรมให้ปฏิบัติเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของทุกคน ทั้งในระหว่างการเรียนปฏิบัติพระกรรมฐานและในชีวิตประจำวัน
เผยแผ่พระศาสนาสู่ต่างประเทศ
โดยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมเถร มีความชำนาญในด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส จึงทำให้งานเผยแพร่พระสัทธรรมวิชชาธรรมกายได้ดำเนินไปด้วยดี พร้อมกับมีการจัดพิมพ์การปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิชชาธรรมกายเป็นภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน เผยแพร่ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน และญี่ปุ่น ซึ่งได้มีการดำเนินงานสอนพระสัทธรรมวิชชาธรรมกาย และจัดตั้งวัดไทยขึ้นเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาแพร่หลายสู่พลโลกอย่างกว้างขวาง
ตำแหน่งและสมณศักดิ์
- พ.ศ. 2508
- ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ พระครูภาวนาภิรม,วิ.
- ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- พ.ศ. 2513
- ปรับพัดยศสมณศักดิ์ให้ตรงตามตำแหน่ง เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามเดิม
- ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้ง เป็นรองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์
- พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาโกศลเถร,สย.วิ.
- พ.ศ. 2522 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
- พ.ศ. 2546 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชพรหมเถร,วิ. สมถวิปัสสนาธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
มรณภาพ
- พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) มรณภาพเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลาประมาณ 21.19 น. ณ โรงพยาบาลเลิดสิน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
- ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 89, ตอนที่ 202, 31 ธันวาคม2515, ฉบับพิเศษ หน้า 5
- ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอนที่ 3 ข, 29 กุมภาพันธ์ 2547, หน้า 10
- พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) 2011-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติสังเขป พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
- หนังสือชีวประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมเถร พระมหาเถระ ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม (พิมพ์แจกในวันครบรอบวันมรณภาพ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙) 2011-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phrarachphrhmethr namedim wira xuttrnthi chaya khnut tom epnrxngecaxawasaelaphraxacaryihyfaywipssnathura wdpaknaphrarachphrhmethr wira khnut tom khanahnachuxphraedchphrakhunswnbukhkhlekid16 kumphaphnth ph s 2462 96 pi mrnphaph18 mithunayn ph s 2558nikaymhanikaytaaehnngchnsungthixyuwdpakna krungethphmhankhrxupsmbth7 phvsphakhm ph s 2497phrrsa61taaehnngrxngecaxawas aelaphraxacaryihyfaywipssnathura wdpaknaprawtikxnbwch phrarachphrhmethr minamedimwa wira xuttrnthi aelainphasayipunwa khuniox khawakhita yipun 河北国雄 ormaci Kawakita Kunio bidathanepnchawyipunnamwa exta khawakhita mardathanepnchawithynamwa nangsn xuttrnthi thanekidemuxwnthi 16 kumphaphnth ph s 2462 thikhangwdmxy tablthakham xaephxbangkhunethiyn cnghwdthnburi miphinxngrwmbidamardaediywknlwnepnchay 5 khn thanepnbutrkhnthi 2 phinxngrwmbidamardaprakxbdwydngni naysnith xuttrnthi esiychiwitaelw phrarachphrhmethr naynrngkh xuttrnthi esiychiwitaelw mibutrthida 3 khnkhux ns xphisda xuttrnthi naywrphcn xuttrnthi dr thklchy xuttrnthi nayhay xuttrnthi esiychiwitaelw mibutrkhnediywkhuxnaythirphcn xuttrnthi esiychiwitaelw mibutr 2khn butrnaythirphcnyngmichiwitxyu rs dr edoch xuttrnthi esiychiwitaelw karsuksaemuxeyawwy khrxbkhrwkhxngedkchaywira xyuthibangkhunethiynidimnannk kyayipxyusiphraya emuxecriywyekhaeknthkareriyn bidamardaksngipekhaeriyninorngeriynsxnphasayipunkhxng eriynxyuid 6 pi cnthungpi ph s 2474 keriyncbchnprathmpithi 6 khxngorngeriyn mikhwamsamarthxan ekhiyn aelaphudphasayipuniddi dwykhwamkhynhmnephiyrmatngaetedk cungimmixupsrrkhid txcaknnkidekhaeriynchnmthymsuksapithi 1 cncbchnmthymsuksapithi 6 emuxpi ph s 2481 thiorngeriynswnkuhlabwithyaly aelaekhaeriyntxetriympriyyathrrmsastr runthi 2 cnthung ph s 2483 caknncungekhaepnnksuksakhxngmhawithyalythrrmsastr eriyninsakhanitisastr sxbidthi 1 in ph s 2484 khnaeriynxyunnkidthanganipdwyinsthanthutyipun aetchiwitkarsuksainmhawithyalykhxngkhvhsthwira txngyutilngphayhlngcakkhunpikarsuksathi 2 emuxshrthprakassngkhramkbpraethsyipun inwnthi 8 thnwakhm ph s 2484 xnepnkarerimsngkhramolkkhrngthisxnginphumiphakhtawnxxkikl karxachiph emuxsngkhramolksinsudlngaelw khvhsthwiraimidklbekhaipsuksatx aetidchwybidamardaprakxbxachiphkhakhay sngaelasngsinkhaekhaaelaxxkcakpraethsithykbpraethsyipun dwykhwamkhynkhnaekhng exaicisinhnathi karkhakhaycungecriykhunepnladb inrayaewlapraman 10 pinn phbhlwngphxwdpakna khrngthikhvhsthwiracaidphbhlwngphxwdpaknann epnpi ph s 2496 khnannxayuid 34 pi wnhnungidkhunrthemlsaytladphlu nngipephlin imidmicudhmay aelaidprarphkbtnexngwa inchiwitnikhneratxngkarxairkn khatxbkhux khwamsukh kaelwkhwamsukhnnkhuxxyangir caihmicaihruehnepnidxyangir prarphxyudngnn rthemlkwingmathungtladphlu thinnkhvhsthwiraidlngeruxcangthiaelniptamkhlxngbangkxknxy eruxcangkhidwa khvhsthwiracaiprbphrakhxngkhwykhxnghlwngphxthiwdpaknaphasiecriy cungidphakhunthaeruxthieriykknwa thaifihm khangwdpakna emuxeruxcxdethiybtha khvhsthwirakkhuncakerux thng thiyngimthrabwakhunipthaim aelakidedinchmwdxyu aelwkhvhsthwirakidehnphraphiksuthanhnung dunaeluxmis kalngchnphttaharephlxyu khwamsnga xngxac aelabuyrasikhxngthan thaihtxngkhidwaphraphiksuthannnkhngcaepnphrankptibtiphuekhrngkhrdxyangaennxn emuxchnphttaharesrcaelw thanknngsnthnakbyatioymthnghlaythiiphann dwyptisntharxndi phudcachachan ottxbthrrmaidluksungepnphiess hlwngphxphrarachphrhmethrsnicineruxngwipssnakmmtthanmatngaetedk fngthrrmthiwdhwlaophng wdaekwaecmfa wdmhaphvtharam mikhwamsnicineruxngnrk swrrkh niphphan wamicringhruxim caipdudwywithiid prarthnacaphisucnineruxngni kpracwbehmaainkhrngni idthuxoxkaskhunipnngkhuykbphraxacarythannn cungidruwathankhux hlwngphxwdpakna phukhnphbphrasththrrmwichchathrrmkaykhxngsmedcphrasmmasmphuththeca khnannthanmismnskdiepnphraphawnaokslethr thankidbxkwa haksniceruxngniihmanngkmmtthan aelathanidaenanahlayxyangekiywkbwithinngphawna epnxnwakhvhsthwirainwnnnidthrabwithiptibticakthanodylaexiyd kxncakrablathanklb thanbxkwaihmawnphvhsbdi dwykhwamtxngkarcaphisucnthdlxng khvhsthwirakidklbipphbthanihmxik brrluthrrmkay khvhsthwiraidmaptibtiphrakmmtthankbhlwngphxwdpaknaxyu 18 wn kidehntamthixyakrunn aetinkhnann yngsngsyxyuinicwa thiehnnnepncringhruxwaepnmonphaph khidexaexng kphlnidyinhlwngphxwdpaknathanwa thaeraipkhidexaexng eranukethaihrmnkimehn aetnieraepnsmathi aelwmnepnwipssna thaeranngmnkcaehnkhunmaexng hlwngphxwdpaknaidsxnsisykhnihmkhxngthaninphrasththrrmaelaaeknaehngphrasasna emuxidehnaelw thanphraxacarykidklawkbsisykhxngthanwathibrrphburuskhxngeraidxutsahesiyslaeluxdenuxkephuxcapkpxngphuththsasna sungmikhxngcringxyangni khvhsthwiraemuxidmaptibtithrrmkbhlwngphxwdpaknaaelw kekidkhwameluxmismakkhuntamladb emuxicsbayaelwcungidnukthbthwnwa khwamsukhthiaethcringxyuthiiceraniexng emuxichyudkekidkhwamsngb khrnsngbaelwkepnsukh dngphraphuththphasitthiwa nt thi sn tipr sukh sukhxunyingkwakarhyudningimmi nbaetnnma khvhsthwirakidipnmskarhahlwngphxwdpaknaodysmaesmx bangkhrngkphankkhangaermthiwdephuxptibtithrrm bangwnhlwngphxkeriykekhaipnngphawnakbthan aelasxnkarptibtiphrakmmtthanxyanglaexiyd khvhsthwiraptibticnidthrrmkay phankhrbthng 18 kayaelw hlwngphxkidsxnwichchathrrmkaykhnsungih sungthanksamarthptibtiid xupsmbth khvhsthwiraemuxidehnkhxngcringinphraphuththsasnaechnniaelw cungidtdsinicslaephskhvhsthekhakhrxngphakasawphstr ekhabrrphchaxupsmbth n phththsimawdpakna phasiecriy emuxwnthi 9 phvsphakhm ph s 2497 odymiphramngkhlethphmuni sd cn thsor hlwngphxwdpakna sungkhnannmismnskdiepnthiphraphawnaokslethr epnxngkhxupchchay aelamiphrakhrupyyaphirt epnphrakrrmwacacary kbphrakhruphiphthnthrrmkhni epnphraxnusawnacary idrbchayanamwa khnut tom ephyaephwichchathrrmkay emuxthanidbwcheriynaelw kidptibtiphrakmmtthantamaenwwichchathrrmkay kbhlwngphxwdpaknamaodytlxd idepnkalngsakhyinkarephyaephrphrasasnaihecriythawrsubip thnginaelanxkpraeths phrarachphrhmethrepnphusubthxdwichchathrrmkayodytrngcakphraedchphrakhunhlwngphxwdpakna thanidthahnathiephyaephrphrasththrrmwichchathrrmkaykhxngsmedcphrasmmasmphuththecaxyangetmthi thnginwdpaknaphasiecriy thihxsngewchniymngkhlethphnirmit inokhrngkarthrrmptibtiephuxprachachn wdpakna phasiecriy aelathiwdhlwngphxsdthrrmkayaram xaephxdaeninsadwk cnghwdrachburi sungthanepnphraxacarykhwbkhumkarptibtiphrakrrmthanxyu aeladaeninkarxyuxyangekhmaekhng phrarachphrhmethr epnkhruxacaryphupraesrithkhxngsisyanusisy aelathanidsxnxbrmtketuxnsisythnghlaydwykhwamemttaodytlxd thansxnhlkthrrmihptibtiephuxkhwamecriyrungeruxngkhxngthukkhn thnginrahwangkareriynptibtiphrakrrmthanaelainchiwitpracawn ephyaephphrasasnasutangpraeths odythiphraedchphrakhunhlwngphxphrarachphrhmethr mikhwamchanayindanphasatangpraeths echn phasaxngkvs yipun aelafrngess cungthaihnganephyaephrphrasththrrmwichchathrrmkayiddaeninipdwydi phrxmkbmikarcdphimphkarptibtismthwipssnakrrmthantamaenwwichchathrrmkayepnphasaxngkvs yipun cin ephyaephrinhlaypraeths echn shrth enethxraelnd eyxrmni swiedn aelayipun sungidmikardaeninngansxnphrasththrrmwichchathrrmkay aelacdtngwdithykhunephuxsubthxdphraphuththsasnaaephrhlaysuphlolkxyangkwangkhwangtaaehnngaelasmnskdiph s 2508 idrbphrarachthantngsmnskdi epnphrakhrusyyabtr phuchwyecaxawasphraxaramhlwng chnexk faywipssnathura inrachthinnamthi phrakhruphawnaphirm wi idrbphrabychasmedcphrasngkhrachaetngtngihepnphuchwyecaxawasphraxaramhlwng wdpakna phasiecriy ph s 2513 prbphdyssmnskdiihtrngtamtaaehnng epnphrakhrusyyabtr rxngecaxawasphraxaramhlwng chnoth faywipssnathura inrachthinnamedimidrbphrabychasmedcphrasngkhrachaetngtng epnrxngecaxawasaelaphraxacaryihyfaywipssnathura wdpakna phasiecriy idrbkaraetngtngepnphrakrrmwacacaryph s 2515 idrbphrarachthansyyabtrtngsmnskdikhun epnphrarachakhnachnsamyyk faywipssnathura thi phraphawnaokslethr sy wi ph s 2522 idrbphrabychasmedcphrasngkhrachaetngtngepnphraxupchchay praephthwisamyph s 2546 idrbphrarachthantngsmnskdikhun epnphrarachakhnachnrach faywipssnathura thi phrarachphrhmethr wi smthwipssnathurathr mhakhnissr bwrsngkharam khamwasimrnphaphphrarachphrhmethr wira khnut tom mrnphaphemuxwnthi 18 mithunayn ph s 2558 ewlapraman 21 19 n n orngphyabalelidsin ekhtbangrk krungethphmhankhrxangxingrachkiccanuebksa aecngkhwamsanknaykrthmntri eruxng phrarachthansyyabtrtngsmnskdi elm 89 txnthi 202 31 thnwakhm2515 chbbphiess hna 5 rachkiccanuebksa prakassanknaykrthmntri eruxng phrarachthansyyabtrtngsmnskdi 2015 09 30 thi ewyaebkaemchchin elm 121 txnthi 3 kh 29 kumphaphnth 2547 hna 10 phrarachphrhmethr wira khnut tom 2011 09 30 thi ewyaebkaemchchin prawtisngekhp phrarachphrhmethr wira khnut tom hnngsuxchiwprawtihlwngphxphrarachphrhmethr phramhaethra phuepiymdwyphrhmwiharthrrm phimphaeckinwnkhrbrxbwnmrnphaph 1 pi ph s 2559 2011 09 08 thi ewyaebkaemchchin